Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 23

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม

แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
การกลั่น
เวลา 4 ชั่วโมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ว. 2.1 ม.2/1 อธิบายการแยกสารผสมโดยการระเหยแห้ง การตกผลึก
การกลั่นอย่างง่าย โครมาโท-กราฟี แบบกระดาษ การ
สกัดด้วยตัวทำละลาย โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ม.2/2 แยกสารโดยการระเหยแห้ง การตกผลึก การกลั่นอย่าง
ง่าย โครมาโทกราฟี แบบกระดาษ การสกัดด้วยตัว
ทำละลาย

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการแยกสารโดยการกลั่นได้ (K)
2. เปรียบเทียบการแยกสารโดยการกลั่นแบบธรรมดา การกลั่นแบบไอ
น้ำ และการกลั่นลำดับส่วนได้ (K)
3. ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้การกลั่นในการแยกสารในชีวิตประจำวัน
ได้ (K)
4. แยกสารโดยการกลั่นแบบธรรมดาได้ (P)
5. ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง (P)
6. สนใจใฝ่ รู้ในการศึกษา (A)

3. สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
- การแยกสารผสมให้เป็ นสาร พิจารณาตามหลักสูตรของ

137
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

บริสุทธิ์ทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับ สถานศึกษา


สมบัติของสารนั้น ๆ การระเหย
แห้งใช้แยกสารละลายซึ่ง
ประกอบด้วยตัวละลายที่เป็ น
ของแข็งในตัวทำละลายที่เป็ น
ของเหลว โดยใช้ความร้อนระเหย
ตัวทำละลายออกไปจนหมด
เหลือแต่ตัวละลาย การตกผลึกใช้
แยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัว
ละลายที่เป็ นของแข็งในตัวละลาย
ที่เป็ นของเหลว โดยทำให้
สารละลายอิ่มตัว แล้วปล่อย
ให้ตัวทำละลายระเหยออกไปบาง
ส่วน ตัวละลายจะตกผลึกแยก
ออกมา การกลั่นอย่างง่ายใช้แยก
สารละลายที่ประกอบด้วยตัว
ละลายและตัวทำละลายที่เป็ น
ของเหลวที่มีจุดเดือดต่างกันมาก
วิธีนี้จะแยกของเหลวบริสุทธิ์ออก
จากสารละลายโดยให้ ความร้อน
กับสารละลาย ของเหลวจะเดือด
และกลายเป็ นไอแยกจาก
สารละลายแล้วควบแน่นกลับเป็ น
ของเหลวอีกครั้ง ขณะที่ของเหลว
เดือด อุณหภูมิของไอจะคงที่

138
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

โครมาโทกราฟี แบบกระดาษเป็ น
วิธีการแยกสารผสมที่มีปริมาณ
น้อยโดยใช้แยกสารที่มีสมบัติการ
ละลายในตัวทำละลายและการ
ถูกดูดซับด้วย ตัวดูดซับแตก
ต่างกัน ทำให้สารแต่ละชนิด
เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้ต่างกัน
สารจึงแยกออกจากกันได้
อัตราส่วนระหว่างระยะทางที่สาร
องค์ประกอบแต่ละชนิดเคลื่อนที่
ได้บนตัวดูดซับกับระยะทางที่ตัว
ทำละลายเคลื่อนที่ได้เป็ นค่า
เฉพาะตัวของสารแต่ละชนิดในตัว
ทำละลายและตัวดูดซับหนึ่ง ๆ
การสกัดด้วยตัวทำละลายเป็ นวิธี
การแยกสารผสมที่มีสมบัติการ
ละลายในตัวทำละลายที่ต่างกัน
โดยชนิดของตัวทำละลายมีผลต่อ
ชนิดและปริมาณของสารที่สกัดได้
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำใช้
แยกสารที่ระเหยง่าย ไม่ละลาย
น้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำออก
จากสารที่ระเหยยากโดยใช้ ไอ
น้ำเป็ นตัวพา

139
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การกลั่นเป็ นการแยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายและตัว
ทำละลายที่เป็ นของเหลว แบ่งออกเป็ น 3 ประเภท ได้แก่
- การกลั่นแบบธรรมดา เป็ นการแยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัว
ทำละลายที่เป็ นสารระเหยง่ายและมีจุดเดือดต่ำออกจากตัว
ละลายที่เป็ นสารระเหยยากและมีจุดเดือดสูง ซึ่งจุดเดือดควร
ต่างกันตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป เช่น การกลั่นแยกเกลือ
ออกจากน้ำทะเล
- การกลั่นแบบไอน้ำ เป็ นการแยกสารที่มีจุดเดือดต่ำ ระเหยง่าย
และไม่ละลายน้ำออกจากสารที่ระเหยยาก โดยอาศัยความดันไอ
น้ำทำให้สารเดือดกลายเป็ นไอและถูกกลั่นออกมาพร้อมกับ
ไอน้ำ แต่สารที่ถูกกลั่นออกมาจะแยกชั้นกับน้ำ เช่น การกลั่น
น้ำมันหอมระเหย
- การกลั่นลำดับส่วน เป็ นการแยกสารละลายที่ประกอบด้วยสาร
ที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกัน หรือแยกสารละลายที่มีตัวทำละลาย
และตัวละลายเป็ นสารที่ระเหยง่าย เช่น การกลั่นแยกเอทิล-
แอลกอฮอล์ออกจากน้ำ การกลั่นน้ำมันดิบ
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ความสามารถในการสื่อสาร 1. มีวินัย
2. ความสามารถในการคิด 2. ใฝ่ เรียนรู้
1) ทักษะการสังเกต 3. มุ่งมั่นในการทำงาน
2) ทักษะสำรวจค้นหา

140
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

3) ทักษะการทดลอง
4) ทักษะการเปรียบเทียบ
5) ทักษะการลงความเห็น
จากข้อมูล
3. ความสามารถในการใช้
เทคโนโลยี

6. กิจกรรมการเรียนรู้
 แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้
(5Es Instructional Model)

ชั่วโมงที่ 1-

ขั้นนำ

กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. นักเรียนทำ Understanding Check จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์
ม.2 เล่ม 1 เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตนเองก่อนเรียน
2. ถามคำถาม Prior Knowledge จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2
เล่ม 1 เพื่อทบทวนความรู้เดิมกับนักเรียนว่า สารที่มีสถานะเดียวกันจะ
สามารถระบุตัวทำละลายและตัวละลายของสารละลายได้อย่างไร
(แนวตอบ สารละลายที่เกิดจากสารที่มีสถานะเดียวกันผสมกัน สารที่มี
ปริมาณมากกว่าเป็ นตัวทำละลาย ส่วนสารที่มีปริมาณน้อยกว่าเป็ นตัว
ละลาย)

141
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

3. เกริ่นให้นักเรียนฟั งว่า การระเหยแห้งสามารถแยกเกลือออกจากน้ำ


ทะเลได้ แล้วถามนักเรียนว่า นักเรียนคิดว่ามีการแยกเกลือออกจากน้ำ
ทะเลด้วยวิธีอื่นอีกหรือไม่
(แนวตอบ การกลั่น)

ขั้น
สำรวจค้นหา (Explore)
1. นักเรียนศึกษาการหลักการกลั่น จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2
เล่ม 1
2. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ทำกิจกรรม การกลั่นแบบธรรมดา
เพื่อแยกน้ำออกจากสารละลาย เกลือแกง จากหนังสือเรียน
วิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
3. นักเรียนศึกษาการแยกสารโดยการกลั่นแบบธรรมดาและตัวอย่างการก
ลั่นแบบธรรมดา เช่น การกลั่นน้ำออกจากน้ำเกลือ จากหนังสือเรียน
วิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หรือจาก QR Code เรื่อง การกลั่นแบบ
ธรรมดา หรือวีดิทัศน์จากสื่อออนไลน์ เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา เช่น
- https://www.youtube.com/watch?v=xxNfJLMNS4E
- https://www.youtube.com/watch?v=tUabxsvfuPk

อธิบายความรู้ (Explain)
1. สุ่มเลือกกลุ่มนักเรียนอย่างน้อย 5 กลุ่ม นำเสนอผลการทำกิจกรรม
การกลั่นแบบธรรมดา
2. ถามคำถามท้ายกิจกรรมกับนักเรียน โดยใช้คำถามต่อไปนี้

142
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

- เมื่อต้มสารละลายจนเกือบแห้ง หลอดทดลองทั้ง 2 หลอด มีการ


เปลี่ยนแปลงอย่างไร
(แนวตอบ หลอดทดลองขนาดใหญ่เหลือของแข็งสีขาว ส่วนหลอด
ทดลองขนาดกลางมีของเหลวที่ถูกกลั่นออกมา)
- เมื่อการกลั่นสิ้นสุดลง หลอดทดลองแต่ละหลอดประกอบด้วยสาร
ชนิดใด
(แนวตอบ เมื่อการกลั่นสิ้นสุดลง หลอดทดลองขนาดใหญ่เหลือผลึก
เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ ส่วนหลอดทดลองขนาดกลางมีน้ำ
ที่ถูกกลั่นออกมา)
- น้ำเย็นที่อยู่ในบีกเกอร์ทำหน้าที่ใด
(แนวตอบ น้ำเย็นทำหน้าที่เป็ นเครื่องควบแน่น เมื่อน้ำระเหยออกมา
จากสารละลายโซเดียมคลอไรด์จะเกิดการควบแน่นเมื่ออุณหภูมิของสิ่ง
แวดล้อมลดลง)
3. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายกิจกรรม การกลั่นแบบธรรมดา เพื่อ
ให้ได้ข้อสรุป ดังนี้ เมื่อต้มสารละลายโซเดียมคลอไรด์ในหลอดทดลอง
จนเกือบแห้ง หลอดทดลองขนาดใหญ่เหลือของแข็งสีขาว คือ
เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ ส่วนหลอดทดลองขนาดกลางมีของเหลว
ใส ไม่มีสี คือ น้ำ เนื่องจากน้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส ซึ่งน้อย
กว่าโซเดียมคลอไรด์ที่มีจุดเดือด 1,413 องศาเซลเซียส น้ำจึงระเหย
กลายเป็ นไอออกมาก่อน และควบแน่นกลับเป็ นน้ำอีกครั้ง
4. ถามคำถามนักเรียน โดยใช้คำถามต่อไปนี้
- การกลั่นแบบธรรมดาใช้แยกสารละลายประเภทใด

143
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

(แนวตอบ การกลั่นแบบธรรมดาใช้แยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัวทำ
ละลายเป็ นสารระเหยง่ายและมี จุดเดือดต่ำ ออกจากตัวละลายที่เป็ น
สารระเหยยากและมีจุดเดือดสูง)
- สารที่ถูกแยกออกจากกันโดยการกลั่นแบบธรรมดา ควรมีจุดเดือด
แตกต่างกันอย่างน้อยเท่าใด
(แนวตอบ ตัวทำละลายและตัวละลายควรมีจุดเดือดต่างกัน 30 องศา
เซลเซียสขึ้นไป)
- การกลั่นน้ำเกลือเหลือสารชนิดใดอยู่ในขวดกลั่น และสารชนิดใดถูก
กลั่นออกมา
(แนวตอบ สารที่อยู่ในขวดกลั่น คือ เกลือหรือโซเดียมคลอไรด์ ส่วนสาร
ที่ถูกกลั่นออกมา คือ น้ำ เนื่องจากน้ำมีจุดเดือดต่ำกว่าเกลือ จึงระเหย
กลายเป็ นไอออกมาก่อนและควบแน่นกลับเป็ นน้ำอีกครั้ง)
5. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการกลั่นแบบธรรมดาเพื่อ
ให้ได้ข้อสรุป ดังนี้ การกลั่นแบบธรรมดาเป็ นการแยกสารละลายที่
ประกอบด้วยตัวทำละลายเป็ นสารระเหยง่ายและมีจุดเดือดต่ำ ออก
จากตัวละลายที่เป็ นสารระเหยยากและมีจุดเดือดสูง ซึ่งตัวละลายและ
ตัวทำละลายควรมีจุดเดือดต่างกันตั้งแต่ 30 องศา-เซลเซียสขึ้นไป
การกลั่นแบบธรรมดาถูกนำมาใช้กลั่นแยกน้ำออกจากสารละลายน้ำ
เกลือแกง

ชั่วโมงที่ 3

ขั้น

สำรวจค้นหา (Explore)

144
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

1. ทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขปว่า การก
ลั่นแบบธรรมดาใช้แยกสารที่ ตัวทำละลายเป็ นสารระเหยง่าย
และมีจุดเดือดต่ำ ออกจากตัวละลายที่เป็ นสารระเหยยากและมี
จุดเดือดสูง ซึ่งตัวละลายและตัวทำละลายควรมีจุดเดือดต่างกันตั้งแต่
30 องศาเซลเซียสขึ้นไป
2. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ร่วมกันศึกษาการกลั่นแบบไอน้ำและ
ตัวอย่างการกลั่นแบบไอน้ำ เช่น การกลั่นน้ำมันหอมระเหย จาก
หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หรือวีดิทัศน์จากสื่อออนไลน์
เรื่อง การกลั่นแบบไอน้ำ เช่น
- https://www.youtube.com/watch?v=OVQC-6qIq-Y
และศึกษาการกลั่นลำดับส่วนและตัวอย่างการกลั่นแบบลำดับส่วน เช่น
การกลั่นเอทิลแอลกอฮอล์ออกจากน้ำ และการกลั่นน้ำมันดิบ จาก
หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม หรือวีดิทัศน์จากสื่อออนไลน์ เรื่อง
การกลั่นลำดับส่วน เช่น
- https://www.youtube.com/watch?v=FTYAS9LDqII

อธิบายความรู้ (Explain)
1. สุ่มเลือกกลุ่มนักเรียน 2 กลุ่ม อธิบายหลักการกลั่นแบบไอน้ำ และ
กลุ่มนักเรียนอีก 2 กลุ่ม อธิบายหลัก การกลั่นลำดับส่วน
2. ถามคำถามนักเรียน โดยใช้คำถามต่อไปนี้
- การกลั่นแบบไอน้ำใช้แยกสารประเภทใด
(แนวตอบ การกลั่นแบบไอน้ำใช้แยกสารที่มีจุดเดือดต่ำ ระเหยง่าย
และไม่ละลายน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก โดยอาศัยความดันจากไอ
น้ำทำให้สารเดือดกลายเป็ นไอ แล้วถูกกลั่นออกมาพร้อมกับไอน้ำ)

145
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

- สารจากใบพืชถูกกลั่นออกมาได้อย่างไร
(แนวตอบ สารจากใบพืชถูกกลั่นออกมาโดยอาศัยความดันจากไอน้ำ
ทำให้สารเดือดกลายเป็ นไอและกลั่นออกมาพร้อมกับไอน้ำ)

- สารที่ถูกกลั่นออกมาโดยการกลั่นแบบไอน้ำมีลักษณะอย่างไร
(แนวตอบ สารที่ถูกกลั่นออกมาพร้อมกับไอน้ำ เมื่อควบแน่นกลับเป็ น
ของเหลวจะแบ่งออกเป็ น 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นล่างเป็ นสารที่ถูกกลั่น และ
ชั้นบนเป็ นน้ำ)
- การกลั่นลำดับส่วนใช้แยกสารประเภทใด
(แนวตอบ การกลั่นลำดับส่วนใช้แยกสารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มี
จุดเดือดใกล้เคียงกัน หรือแยกสารละลายที่มีตัวละลายและตัวทำ
ละลายเป็ นสารระเหยง่ายทั้งคู่)
- การกลั่นลำดับส่วนแตกต่างจากการกลั่นแบบธรรมดาอย่างไร
(แนวตอบ การกลั่นลำดับส่วนมีลักษณะเหมือนการกลั่นแบบธรรมดา
แต่จะผ่านการกลั่นแบบธรรมดาซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง)
- เพราะเหตุใดการแยกน้ำมันชนิดต่าง ๆ ออกจากน้ำมันดิบจึงใช้การก
ลั่นลำดับส่วน
(แนวตอบ เนื่องจากน้ำมันดิบประกอบด้วยน้ำมันต่าง ๆ หลายชนิด
เช่น น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน แก๊สปิ โตรเลียม ซึ่งน้ำมัน
แต่ละชนิดมีจุดเดือดใกล้เคียงกัน จึงถูกกลั่นออกมาที่ระดับอุณหภูมิ
แตกต่างกัน)
3. ถามคำถามท้าทายการคิดขั้นสูงกับนักเรียนว่า สารละลายประกอบ
ด้วยตัวละลายที่มีจุดเดือด 172 องศา-เซลเซียส และตัวทำละลายที่มี

146
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

จุดเดือด 150 องศาเซลเซียส หากต้องการแยกตัวละลายออกจากตัว


ทำ-ละลาย ควรเลือกใช้การกลั่นแบบใด เพราะเหตุใด และส่วนที่แยก
ออกมาคือตัวทำละลายหรือตัวละลาย เพราะเหตุใด
(แนวตอบ การกลั่นลำดับส่วน เนื่องจากสารละลายประกอบด้วยตัวทำ
ละลายและตัวละลายที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกัน (ต่างกันน้อยกว่า 30
องศาเซลเซียส) ซึ่งสารที่ถูกกลั่นออกมาก่อน คือ ตัวทำละลาย
เนื่องจากมีจุดเดือดต่ำกว่าตัวละลาย จึงระเหยกลายเป็ นไอออกมาก่อน)
4. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการกลั่นแบบไอน้ำและการก
ลั่นลำดับส่วนเพื่อให้ได้ข้อสรุป ดังนี้ การกลั่นแบบไอน้ำใช้แยกสารที่มี
จุดเดือดต่ำ ระเหยง่าย และไม่ละลายน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก โดย
อาศัยความดันจากไอน้ำทำให้สารที่ต้องการแยกเดือดกลายเป็ นไอ และ
ถูกกลั่นออกมาพร้อมกับไอน้ำ ส่วนการกลั่นลำดับส่วนใช้แยกสารที่
ประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวละลายที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกัน หรือ
เป็ นสารระเหยง่ายทั้งคู่ ซึ่งการกลั่นลำดับส่วนมีลักษณะเหมือนการกลั่น
แบบธรรมดา แต่จะผ่านการกลั่นแบบธรรมดาซ้ำ ๆ กัน หลายครั้ง

ชั่วโมงที่ 4

ขั้น

147
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

ขยายความเข้าใจ (Elaborate)
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็ น 3 กลุ่ม จับสลากเลือกการกลั่นแต่ละแบบ
ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การกลั่นแบบธรรมดา กลุ่มที่ 2 การกลั่นแบบไอน้ำ
กลุ่มที่ 3 การกลั่นลำดับส่วน
ร่วมกันวิเคราะห์การกลั่นที่จับสลากได้ เขียนแผนผังแสดงอุปกรณ์ที่ใช้
กลั่นและอธิบายกระบวนการกลั่น ลงในกระดาษฟลิปชาร์ต เพื่อนำ
เสนอหน้าชั้นเรียน
2. นักเรียนเปรียบเทียบการกลั่นแบบธรรมดา การกลั่นแบบไอน้ำ และ
การกลั่นลำดับส่วน ลงกระดาษ A4 ส่งครูผู้สอน
3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน สืบค้นข้อมูล เรื่อง การกลั่นน้ำมันดิบ
โดยกล่าวถึงกระบวนการกลั่น สารที่ถูกกลั่นออกมาในแต่ละส่วน และ
การนำสารที่ถูกกลั่นแต่ละชนิดมาใช้ประโยชน์ จัดทำรูปเล่มรายงาน
และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. นักเรียนทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง การกลั่น
5. นักเรียนทำ Topic Question ท้ายหัวข้อ เรื่อง การกลั่น
6. นักเรียนทำแบบฝึ กหัดในแบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1

ขั้นสรุป

ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุป เรื่อง การกลั่น โดยมีประเด็น ดังนี้
- หลักการตกผลึก
- ประเภทของการกลั่น
- การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากการกลั่น

148
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

นักเรียนเขียนสรุปลงในสมุดบันทึกของนักเรียน
2. ตรวจสอบผลจากรายงาน เรื่อง การกลั่นน้ำมันดิบ
3. ประเมินผลจากจากแผนผังและการนำเสนอแผนผัง เรื่อง การกลั่น
4. ตรวจสอบผลจากการเปรียบเทียบการกลั่นแบบธรรมดา การกลั่นแบบ
ไอน้ำ และการกลั่นลำดับส่วน
5. ตรวจสอบผลจากการสรุป เรื่อง การกลั่น
6. ตรวจสอบผลจากใบงานที่ 2.1 เรื่อง การกลั่น
7. ประเมินผลจากการทำกิจกรรม การกลั่นแบบธรรมดา
8. ตรวจสอบผลจากการทำ Topic Question ท้ายหัวข้อ เรื่อง การก
ลั่น
9. ตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึ กหัดในแบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2
เล่ม 1

7.การวัดและประเมินผล
รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ
ประเมิน
7.1 การประเมิน - ตรวจการสรุป - แบบประเมิน - ระดับ
ชิ้นงาน/ เรื่อง ชิ้นงาน คุณภาพ 2
ภาระงาน การกลั่น ผ่านเกณฑ์
(รวบยอด) - ตรวจแผนผัง - แบบประเมิน - ระดับ
เรื่อง การกลั่น ชิ้นงาน คุณภาพ 2
- ตรวจรายงาน ผ่านเกณฑ์
เรื่อง การกลั่น - แบบประเมิน - ระดับ
น้ำมันดิบ รายงาน คุณภาพ 2

149
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
ผ่านเกณฑ์
7.2 ประเมิน
ระหว่าง
การจัด
กิจกรรม - ตรวจใบงานที่ - ใบงานที่ 2.1 - ร้อยละ 60
การเรียนรู้ 2.1 ผ่านเกณฑ์
1) การก - Topic - ร้อยละ 60
ลั่น - ตรวจ Topic Question ผ่านเกณฑ์
Question - ร้อยละ 60
- ตรวจแบบ - แบบฝึ กหัด ผ่านเกณฑ์
ฝึ กหัด
2) - ประเมิน - แบบประเมิน - ระดับ
การนำ การนำเสนอ การนำเสนอ คุณภาพ 2
เสนอผล ผลงาน ผ่านเกณฑ์
งาน
3)การปฏิบัติ - ประเมินการ - แบบประเมิน - ระดับ
การ ปฏิบัติการ การปฏิบัติการ คุณภาพ 2
ผ่านเกณฑ์
4) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับ
พฤติกรรม พฤติกรรม พฤติกรรม คุณภาพ 2
การ การทำงาน การทำงาน ผ่านเกณฑ์
ทำงาน ราย รายบุคคล รายบุคคล

150
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
บุคคล
5) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับ
พฤติกรรม พฤติกรรม พฤติกรรม คุณภาพ 2
การ การทำงาน การทำงาน ผ่านเกณฑ์
ทำงานกลุ่ม กลุ่ม กลุ่ม
6) - สังเกตความมี - แบบ - ระดับ
คุณลักษณะ วินัย ประเมิน คุณภาพ 2
อันพึง ใฝ่ เรียนรู้ และ คุณลักษณะ ผ่านเกณฑ์
ประสงค์ มุ่งมั่น อันพึงประสงค์
ในการทำงาน

8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การ
แยกสารผสม
2) แบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การ
แยกสารผสม
3) PowerPoint เรื่อง การก
ลั่น
4)ภาพยนตร์สารคดีสั้น Twig
151
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

5) QR Code เรื่อง การกลั่นแบบธรรมดา

8.2 แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องเรียน
2) ห้องสมุด
3)แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

152
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

ใบงานที่ 2.1
เรื่อง การกลั่น

คำชี้แจง : จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงอธิบายหลักการแยกสารโดยการกลั่นประเภทต่าง ๆ ต่อไปนี้
- การกลั่นแบบธรรมดา
................................................................................................................
........................................................
................................................................................................................
........................................................
................................................................................................................
........................................................
- การกลั่นแบบไอน้ำ
................................................................................................................
........................................................
................................................................................................................
........................................................
................................................................................................................
........................................................
- การกลั่นลำดับส่วน
................................................................................................................
........................................................
................................................................................................................
........................................................
153
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

................................................................................................................
........................................................
2. จากภาพที่กำหนดให้เป็ นการกลั่นประเภทใด และหมายเลข 1-6 คือ
อะไร
…………………………………………………
2
…………………………
…………………………………………………
3
4 …………………………
1 5 …………………………………………………

6
…………………………
…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………
3. จงเรียงลำดับสารที่ถูกแยกโดยการกลั่นลำดับส่วน จากส่วนล่างของ
หอกลั่นไปยังส่วนบนของหอกลั่น ดังนี้

154
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น แก๊ส


ปิ โตรเลียม น้ำมันเตา
...................................................................................................................
...........................................................
...................................................................................................................
...........................................................
...................................................................................................................
...........................................................
...................................................................................................................
...........................................................
ใบงานที่ 2.1
เฉลย
เรื่อง การกลั่น

คำชี้แจง : จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงอธิบายหลักการแยกสารโดยการกลั่นประเภทต่าง ๆ ต่อไปนี้
- การกลั่นแบบธรรมดา
ใช้แยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัวทำละลายเป็ นสารระเหยง่ายและ
................................................................................................................
มีจุดเดือดต่ำ ออกจากตัวทำละลายที่เป็ นสารระเหยยากและมี
........................................................
จุดเดือดสูง ซึ่งจุดเดือดควรต่างกันอย่างน้อย 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป
................................................................................................................
........................................................
................................................................................................................
........................................................
- การกลั่นแบบไอน้ำ
ใช้แยกสารที่มีจุดเดือดต่ำ ระเหยง่าย และไม่ละลายน้ำ ออกจากสาร
................................................................................................................
ที่ระเหยยาก โดยอาศัยความดันจากไอน้ำทำให้สารเดือดกลายเป็ นไอ
........................................................
ซึ่งสารจะถูกกลั่นและควบแน่นออกมาพร้อมกับไอน้ำ แต่สารที่ได้จาก
155
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

................................................................................................................
........................................................
................................................................................................................
........................................................
- การกลั่นลำดับส่วน
ใช้แยกสารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกัน หรือ
................................................................................................................
แยกสารละลายที่มีตัวทำละลายและตัวละลายเป็ นสารระเหยง่ายทั้งคู่
........................................................
เช่น การกลั่นแยกเอทิลแอลกอฮอล์ออกจากน้ำ การกลั่นน้ำมันดิบ
................................................................................................................
........................................................
................................................................................................................
........................................................
2. จากภาพที่กำหนดให้เป็ นการกลั่นประเภทใด และหมายเลข 1-6 คือ
การกลั่นแบบธรรมดา ซึ่งสารที่มี
อะไร
จุดเดือดต่ำจะระเหยกลายเป็ นไอ
…………………………………………………
2
ออกมาก่อน และควบแน่นกลับเป็ น
…………………………
ของเหลวอีกครั้ง ซึ่งเป็ นการกลั่นที่
…………………………………………………
3
เกิดขึ้นครั้งเดียว โดยหมายเลข 1 คือ
4 …………………………
1 ขวดกลั่นบรรจุสารที่ต้องการกลั่น
5 …………………………………………………
หมายเลข 2 คือ เทอร์มอมิเตอร์
6
…………………………
…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………

156
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………
…………………………………………………
…………………………
3. จงเรียงลำดับสารที่ถูกแยกโดยการกลั่นลำดับส่วน จากส่วนล่างของ
หอกลั่นไปยังส่วนบนของหอกลั่น ดังนี้
น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น แก๊ส
สารที่ถูกกลั่นออกมาจากส่วนล่างของหอกลั่นเป็ นสารที่มีจุดเดือดสูง ส่วน
ปิ โตรเลียม น้ำมันเตา
สารที่ถูกกลั่นออกมาจากส่วนบนของหอกลั่นเป็ นสารที่มีจุดเดือดต่ำกว่า
...................................................................................................................
ซึ่งสามารถเรียงลำดับสารที่ถูกกลั่นจากส่วนล่างของหอกลั่นไปยังส่วนบน
...........................................................
ของหอกลั่นได้ ดังนี้
...................................................................................................................
...........................................................
...................................................................................................................
...........................................................
...................................................................................................................
...........................................................

9. ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อเสนอแนะ

157
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

ลงชื่อ
.................................
(
................................ )
ตำแหน่ง
.......

10. บันทึกผลหลังการสอน

Ÿ ด้านความรู้

Ÿ ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

Ÿ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

Ÿ ด้านความสามารถทางวิทยาศาสตร์

Ÿ ด้านอื่น ๆ (พฤติกรรมเด่น หรือพฤติกรรมที่มีปั ญหาของนักเรียน


เป็ นรายบุคคล (ถ้ามี))

Ÿ ปั ญหา/อุปสรรค

Ÿ แนวทางการแก้ไข

158
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 3 การกลั่น

159

You might also like