Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

LO 4- ประยุกต์และให้การดูแลสตรีในระยะคลอดที่เป็นเบาหวาน ทารกในครรภ์ และครอบครัว

1. การเฝ้าระวังและป้องกันความผิดปกติจากเบาหวาน
1. ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะตามแผนการรักษา บางรายมีการตรวจภาวะเลือดเป็น
กรดด้วยโดยเฉพาะในรายที่เป็นรุนแรง หรือมีการคลอดยาวนาน มีความอ่อนล้ามาก
2. ประเมินสัญญาณชีพ อาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น หน้ามืด ใจสั่น
เหงื่อออกมาก เป็นต้น ส่วนภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนัน้ อาจจะไม่มีอาการปรากฏ
3. ดูแลการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างถูกต้องพอเพียง ปรับปริมาณให้ถูกต้อง ระวังการ
ได้รับน้ำตาลมากเกินไป
4. ดูแลให้ได้รับอินสุลินและสารละลายทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
2. ส่งเสริมการคลอดและป้องกันการคลอดผิดปกติ
1. ประเมินขนาดทารก ท่าของทารก เพื่อคาดคะเนการคลอดยาก การคลอดไหล่ตดิ กรณีที่สงสัย
ว่าผิดปกติแพทย์อาจจะตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
2. ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดจากการหดรัดตัวของมดลูก ตามระยะของการคลอด คือ
ระยะปากมดลูกเปิดช้าประเมินทุก 1 ชั่วโมง และระยะปากมดลูกเปิดเร็วประเมินทุก 30 นาที แต่ในระยะ
เบ่งคลอดควรประเมินทุก 10-15 นาที
3. ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกตามระยะของการคลอดเช่นเดียวกับการประเมินการหด
รัดตัวของมดลูก แต่ในระยะเบ่งคลอดควรประเมินทุก 5 นาทีหรือประเมินทุกครั้งหลังมดลูกคลายตัว
4. บางรายที่สงสัยว่าทารกมีการเจริญเติบโตของปอดล่าช้า อาจจะมีการนำน้ำคร่ำไปตรวจดูความ
สมบูรณ์ของปอด
5. ส่งเสริมการบรรเทาปวดด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น เทคนิคการหายใจ การลูบหน้าท้อง การนวด
เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดซึ่งจะกดการหายใจของทารกแรกเกิดได้ รวมทั้งเพื่อลดการใช้พลังงาน ถ้าไม่
ได้ผลผูค้ ลอดเจ็บครรภ์มาก รายงานแพทย์เพื่อให้ยาแก้ปวดตามความจำเป็น
6. เตรียมอุปกรณ์การช่วยฟื้นคืนชีพทั้งของมารดาและทารกให้พร้อมใช้ พร้อมทั้งรายงานกุมาร
แพทย์เมื่อจะคลอด
7. เตรียมผูค้ ลอดและช่วยเหลือแพทย์ เมื่อมีการใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอด
8. เตรียมพร้อมในการช่วยเหลือเร่งด่วนเมื่อมีการคลอดไหล่ตดิ เมื่อทารกมีภาวะขาดออกซิจน

เว็บไซต์
การดูแลหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
https://coggle.it/diagram/XfhVA2j7x7ADsP7n/t/การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน

You might also like