Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

บทที่ 2

อันนา คาเรนินา

2.1 ชีวประวัติผู้แต่งโดยย่อ

เคานต์เลียฟ นิโคเลเยวิช ตอลสตอย (Лев Николаевич Толстой) หรือที่คุ้นหูกัน


ในนาม ลีโ อ ตอลสตอย เกิ ดเมื่ อ วันที่ 9 กั นยายน 1828 ณ ยาสนายา โปลี นา (Ясная Поляна)
เมืองตูลา (Тула) ประเทศรัสเซีย เป็นบุตรคนที่สี่ในบรรดาบุตรธิดาห้าคนของเคานต์นิโคเล อิลยิด
ตอลสตอย (Граф Николай Ильич Толстой) กั บ เจ้ า หญิ ง มาเรีย นิ โ คเลฟนา ตอลสตอยา
(Княгиня Мария Николаевна Толстая) โดยตระกูลทางฝ่ายบิดาและมารดาต่างเป็นตระกู ล
เก่ าแก่ ที่ ได้รับ การยกย่อ งอย่างมากในรัสเซียช่วงเวลานั้น เนื่องจากเกิดในตระกู ลขุนนางจึงทาให้
ตอลสตอยได้ รั บ การศึ ก ษาที่ ดี โ ดยการจ้ า งครู ม าสอนหนั ง สือ ที่ บ้า นดั ง เช่ น ชนชั้ น สู ง ตระกู ล อื่น
ตอลสตอยในวัยเด็กเป็นคนอ่อนโยน ช่างคิด และมักจะทาอะไรไม่เหมือนเด็กคนอื่น ตอลสตอยเริ่ม
จดบันทึกประจาวันเกี่ยวกับชีวิตของตัวเองตั้งแต่อายุ 17 ปี ต่อมาในปี 1844 ตอลสตอยสมัครเข้า
ศึก ษาที่ คณะวิชาภาษาอารบิก และเตอกิ ชที่ ม หาวิท ยาลัย คาซาน ซึ่ง เป็นมหาวิท ยาลัยใหญ่และ
มี ชื่ อ เสี ย งมากที่ สุด แห่ ง หนึ่ ง ในเวลานั้ น แม้ จ ะดู ถู ก การเรีย นการสอนวิ ช าการในมหาวิท ยาลัย
แต่ ต อลสตอยยั ง ให้ ค วามสนใจที่ จ ะเข้ า เรี ย นวิ ช ากฎหมายอย่ า งสม่ าเสมอ ซึ่ ง ได้ ย้ า ยมาเรี ย น
คณะนิติศาสตร์อยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยทั้งที่ยังไม่สาเร็จการศึกษา
และกลับมาอาศัยอยู่ที่บ้านเกิดของเขา ตอลสตอยตั้งใจจะทาไร่นา และอุทิศชีวิตปรับปรุงความเป็นอยู่
ของชาวนาในความดู แ ล แต่ ก ลั บ ล้ ม เลิ ก ความคิ ด ที่ ไ ด้ ตั้ ง ใจไว้ เ มื่ อ ชาวนาแสดงท่ า ที ไ ม่ ไ ว้ ใ จใน
การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่ เ ขานามาปรับ ใช้ ตอลสตอยจึ งตั้ง ใจจะกลับไปศึกษาต่อโดยเลือกเรียน
กฎหมายที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นเวลา 2 ปี จากนั้นเขาออกจากมหาวิทยาลัยอีกครั้งทั้ง
ที่ ยัง ไม่ ส าเร็จการศึกษาอี กเช่นเดิม ระหว่างที่ตอลสตอยอาศัยอยู่ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเขาใช้ชีวิต
อย่างสนุกสนานเต็มที่ ในปี 1848 ตอลสตอยเดินทางไปยังมอสโกใช้ชีวิตเสเพลตามแบบฉบับ ของ
ลูกผู้ดีเวลานั้น อาทิเช่น การพนัน เป็นต้น ขณะอยู่ที่นี่ตอลสตอยสังเกตวิถีชีวิตของชาวมอสโกรอบข้าง
จนเกิ ด แรงบั น ดาลใจที่ จ ะเขี ย นหนั ง สื อ ซึ่ ง ผลงานสองเล่ ม แรกที่ เ ขี ย นในช่ ว งนั้ น คื อ วั ย เยาว์
(Childhood; Детство) และวัยหนุ่ม (Adolescence; Юность) ในปี 1852 ตอลสตอยรับราชการ
ในกองทัพ สังกัดหน่วยทหารปืนใหญ่ ซึ่งประจาการอยู่ที่เขตคอเคซัสกับพี่ชาย และเขาได้มีส่วนร่วมใน
การสู้ร บกั บ ชนพื้ นเมื อ งที่ พ ยายามก่ อกบฏแยกตัว ออกจากการปกครองของรัส เซีย 1 ในปี 1853

1
เลียฟ ตอลสตอย, อันนา คาเรนินา, แปลโดย สดใส, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก, 2544), (17)-(21).
16

ตอลสตอยเริ่มเขียนนิยายเรื่อง คอสแซค (The Cossacks; Казаки) ซึ่งได้ตีพิมพ์ในปี 1863 เขายังคง


ชอบล่าสัตว์และติดการพนันอยู่เช่นเดิม อย่างไรก็ตามสานึกดีชั่วที่อยู่ภายในจิตใจของเขาได้ทาให้เขา
หันมาศรัทธาในพระเจ้าอย่างจริงจัง เขาตีความศาสนาตามแนวทางของตน เขาหลงใหลในชีวิตอิสระ
และสีสันอารมณ์ตามธรรมชาติของชาวพื้นเมืองเขตภูเขาคอเคซัส จนอยากจะหันหลังให้สังคมซับซ้อน
ศิวิไลซ์ของเมืองใหญ่ซึ่งเขามองว่ามีแต่ความฉาบฉวยหลอกลวง2
ในปี 1854 ตอลสตอยได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารไปประจาการรบในสงครามไครเมีย
เขาได้ เ ก็ บ เกี่ ยวประสบการณ์ ใ นขณะนั้ น และถ่ า ยทอดออกมาทางผลงานที่ ชื่ อว่ า เซวัส โตโปล
(Sevastopal Stories; Севастопольские рассказы) โดยเนื้อหากล่าวถึงการรบอย่างกล้าหาญ
ของทหารรัสเซียในการป้องกันเมืองเซวัสโตโปลท่ามกลางวงล้อมของพันธมิตรฝ่ายตุรกี จากผลงาน
เรื่ อ งนี้ ไ ด้ ท าให้ ต อลสตอยกลายเป็ น บุ ค คลที่ มี ชื่ อ เสี ย งโด่ ง ดั ง ไปทั่ ว ประเทศในฐานะนั ก เขี ย น
ในปี 1855 ตอลสตอยเดินทางไปเซนต์ปีเ ตอร์ส เบิร์ก เขาพบปะกั บ บุคคลในแวดวงวรรณกรรม
หลากหลายคน ในปีต่อมาตอลสตอยตัดสินใจลาออกจากการเป็นทหาร และหันมาให้ความสาคัญกับ
อาชี พ นั ก เขี ย นแทน ในปี 1857 ตอลสตอยเดิ น ทางไปฝรั่ ง เศส เยอรมนี และสวิ ต เซอร์ แ ลนด์
ประสบการณ์ที่ได้พบเห็นจากประเทศต่าง ๆ ที่เขาเดินทางไปทาให้ตอลสตอยมีทัศนะต่อต้านองค์กร
และอารยธรรมสมัยใหม่อย่างรุนแรง เมื่อกลับจากต่างประเทศเขาเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่
ลูกชาวนาที่ยาสนายา โปลียานา บ้านเกิดของเขา โดยมีความประสงค์ที่จะเสริมเสรีภาพส่วนบุคคล
และการรู้จัก ตนเองเพื่อ ความก้ าวหน้าในอนาคตของเด็ก แต่ข่าวการป่วยไข้ของพี่ชายท าให้งาน
ด้านการศึก ษาของเขาชะงัก ความตายของพี่ชายส่ง ผลกระทบต่อจิตใจของตอลสตอยอย่างมาก
เขาจึงต้องอาศัยการทางานเป็นเครื่องบรรเทาความเศร้าโศกและความรู้สึกอ้างว้างในจิตใจของเขา 3
ต่ อ มาในปี 1862 ตอลสตอยแต่ ง งานกั บ โซเฟี ย อั ง เดรเยฟนา เบอห์ (Софья
Андреевна Берс) มีบุตรธิดาด้วยกันทั้งหมด 13 คน ในช่วงเวลา 15 ปีหลังจากแต่งงานตอลสตอย
สร้างสรรค์ผลงานออกมามากมายซึ่งรวมไปถึงผลงานสาคัญต่าง ๆ อาทิเช่น สงครามและสันติภาพ
(War and Peace; Война и мир) และอั น นา คาเรนิ น า (Anna Karenina; Анна Каренина)
โดยภรรยาของตอลสตอยเป็นผู้คัดลอกต้นฉบับให้ เขา ระหว่างเขียน อันนา คาเรนินา ตอลสตอย
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณอย่างมากตามที่เขาได้สะท้อนไว้ในผลงานชิ้นนี้ที่ว่า “ความหมาย
ของชี วิ ต อยู่ ที่ ก ารด าเนิน ชี วิ ต ให้ส อดคล้องกั บ ความดี ง ามทางจิต วิ ญ ญาณ”4 เขามี ค วามเห็นว่า
การจะพบความจริงคนเราต้องซื่อตรงต่อศาสนาและอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง มนุษย์ต้องอยู่ให้

2
เรื่องเดียวกัน.
3
เรื่องเดียวกัน.
4
เรื่องเดียวกัน.
17

สอดคล้องกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ปฏิเสธความดัดจริต จอมปลอมของสังคม อีกทั้งยังเชื่อว่าการ


ปล่อยชีวิตไปตามอาเภอใจเป็นต้นเหตุความเสื่อมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นกิเลสทางเนื้อหนัง เสื้อผ้า
เครื่องประดับ การกินอยู่ที่ฟุ่มเฟือยเกินความจาเป็น สิ่งเหล่านี้ต่างเป็นอาการแห่งความเสื่อมของ
อารยธรรมมนุษย์ทั้ ง สิ้น ตอลสตอยประกาศไม่ รับ ค่าสิขสิท ธิ์ของผลงานที่ เ ขาเขี ยนหลัง ปี 1881
เขาจัดการแบ่งทรัพย์สินต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกในครอบครัว ส่วนตัวตอลสตอยนั้นหันมาสวนเสื้อผ้าตาม
แบบของชาวนา กินมังสวิรัติ เลิกดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ทางานใช้แรงกายต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แต่เขา
กลับต้องขมขื่นกับชีวิตเนื่องจากชีวิตจริงไม่เป็นไปตามอุดมคติที่ตั้งไว้ ภรรยาและลูกต่างไม่เห็นด้วยกับ
ปรัชญาชีวิตของเขาส่งผลให้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในครอบครัว 5 ในปี 1901 ตอลสตอยถูกขับออก
จากศาสนา เนื่องจากเขาเขียนผลงานแสดงทัศนะคัดค้านและต่อต้านความไม่ยุติธรรมในสังคม ต่อมา
ในปี 1910 ตอลสตอยรู้สึกกดดันจากปัญหาภายในครอบครัว และมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับภรรยาจึง
ตัดสินใจหนีออกจากบ้าน แต่เกิดล้มป่วยระหว่างทางจึงเสียชีวิตที่สถานีรถไฟอัสตาโปโว (Астапово)
ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน ขณะอายุได้ 82 ปี

2.2 เรื่องย่อ

วรรณกรรมเรื่องอันนา คาเรนินา แบ่งออกเป็น 8 ภาค ซึ่งทาการสรุปเป็นภาคดังต่อไปนี้

2.2.1 ภาคหนึ่ง

อันนา คาเรนินา6 เป็นสาวในสังคมชนชั้นสูงของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เธอแต่งงาน


กับอเลกเซ คาเรนิน ข้าราชการระดับสูงที่อายุมากกว่า ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันคนหนึ่งชื่อว่า เซร์ยอชา
อายุ 8 ปี อันนามีความจาเป็นที่จะต้องเดินทางไปมอสโกเพื่อเยี่ยมสตีวา โอบลอนสกี้ พี่ชายของเธอ
เพื่อช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวของโอบลอนสกี้ เนื่องจากว่าดอลลี่ ภรรยา
ของโอบลอนสกี้ทราบความจริงว่าสามีของเธอลอบคบชู้กับคุณครูสอนพิเศษของลูก ๆ เมื่อเดินทางถึง
มอสโกอันนาได้พบกับ อเลกเซ วรอนสกี้ นายทหารหนุ่มรูปงามมีชาติตระกูล ณ สถานีรถไฟนั้นเอง
ด้วยเหตุที่ว่าวรอนสกี้มารอรับมารดาที่นั่งรถไฟมาขบวนเดียวกันกับอันนา ซึ่ง เผอิญว่ามารดาของเขา
นั่งตู้เดียวกันกับอันนา และยังนั่งติดกับเธออีกด้วย ขณะเดียวกันทางฝั่งของ คิตตี้ น้องสาวของดอลลี่

5
เรื่องเดียวกัน.
6
ชื่อตัวละครภาษาไทยทั้ง หมดที่กล่าวถึงในภาคนิพนธ์ฉบับนี้คัดลอกมาจากหนังสือนิยายเรื่อง อันนา คาเรนินา ฉบับ
แปลเป็นภาษาไทยของสดใส ซึ่งอาจมีการสะกดคาแตกต่างจากเอกสารภาษาไทยฉบับอื่น ๆ
18

ก าลัง เฝ้าฝันถึง วรอนสกี้ ชายหนุ่ม ที่ ติดพันเธอในช่วงเวลานี้ เธอก าลัง รอคอยคาขอแต่ง งานจาก
ปากของวรอนสกี้ แต่ทันใดนั้นคอนสแตนติน เลวิน เพื่อนของโอบลอนสกี้ และเป็นเพื่อนของพี่ชาย
ของคิ ต ตี้ ก ลับ ปรากฏตัว ขึ้ น เลวิ น หลงรัก คิต ตี้ ม านานแล้ว ดั ง นั้ น การมาเยื อนมอสโกครั้ง นี้จึง มี
จุดประสงค์ เ พื่อ ที่จะขอเธอแต่งงาน แต่เ ขากลับ ถูกเธอปฏิเ สธ เลวินรู้สึก ผิดหวังอย่างมาก เขาจึง
ต้องการที่จะลืมเธอ และกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านในชนบทอันเงียบสงบ ส่วนวรอนสกี้เกิดตกหลุมรักอันนา
หลังจากที่ได้พบกับเธอแม้นรู้ว่าเธอมีสามีอยู่แล้วก็ตามที วรอนสกี้ จึงทาตัวเย็นชากับคิตตี้ และตีตัว
ออกหากจากเธอ การกระทาดังกล่าวของวรอนสกี้สร้างความปวดร้าวขึ้นในใจของหญิงสาว ส่วนอันนา
เมื่อเธอสามารถทาหน้าที่เป็นกาวประสานรอยร้าวในครอบครัวของโอบลอนสกี้ได้สาเร็จ จึงตัดสินใจ
เดินทางกลับเซนต์ปีเตอร์สเบิรก์ โดยทันที วรอนสกี้เมื่อทราบข่าวจึงแอบตามมาส่งเธอด้วยความห่วงใย
ซึ่งอันนารับรู้ถึงความรู้สึกที่เขามอบให้ แต่เธอเองพยายามที่จะปฏิเสธความรู้สึกของวรอนสกี้

2.2.2 ภาคสอง

คิตตี้ตรอมใจและเกิดอาการป่วยหลังจากที่วรอนสกี้ตีตัวออกหากจากเธอ บิดา
มารดาจึงพาเธอไปรักษาตัวที่เยอรมนี เมื่ออาการดีขึ้นจึงเดินทางกลับ มายังรัสเซีย ส่วนเลวินยังคง
อาศัยอยู่ในชนบทเพื่อดูแลไร่นาของตน การทางานช่วยทาให้เขาเลิกหมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวความรัก
เมื่อเขาได้พบกับโอบลอนสกี้ที่เดินทางมาเยี่ยมเขาจึงทราบข่าวว่า คิตตี้ไม่ได้ตกลงปลงใจกับวรอนสกี้
อย่างที่ได้คาดเดา แต่ เขายังไม่สามารถทาใจที่จะพบหน้าเธออีกครั้ง ได้ ในขณะเดียวกันทางฝั่งของ
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก อันนาและวรอนสกี้เริ่มที่จะสานสัมพันธ์กันอย่างลับ ๆ อันนารู้สึกทุกข์ทรมานจาก
ความสัม พันธ์ที่ต้อ งคอยหลบซ่อนเช่นนี้ จนกระทั่งเธอรู้ว่าตัวเองท้องกั บวรอนสกี้ เธอจึงตัดสินใจ
สารภาพกับคาเรนิน ผู้เป็นสามี เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเธอกับวรอนสกี้ คาเรนินไม่ต้องการหย่า
และไม่ชอบการใช้กาลังตัดสินปัญหา จนในที่สุดเขาพบหนทางแก้ปัญหาในเรื่องนี้โดยกักตัวเธอให้อยู่
แต่ในบ้านเท่านั้น เพื่อตัดปัญหาเรื่องซุบซิบนินทาเกี่ยวกับข่าวของภรรยากับชายชู้

2.2.3 ภาคสาม

การที่คาเรนินไม่ต้องการหย่า และพยายามกีดกันไม่ให้อันนาพบกับวรอนสกี้ไม่ได้
ทาไปเพราะความหึงหวงแต่อย่างใด เขาเพียงแต่ไม่ต้องการให้ภรรยาที่ทรยศสามีอย่างเธอได้สิ่งที่เ ธอ
ต้องการ โดยการไปมีความสุขกับชายชู้ อันนาทรมานจากการที่ถูกกักตัวให้อยู่แต่บ้าน และถูกห้าม
ไม่ให้พบกับวรอนสกี้ชายอันเป็นที่รัก ของเธอ หากเป็นไปได้เธอต้องการที่จะหย่าขาดจากคาเรนิน
แต่ในขณะเดียวกันนั้นเธอกลับรู้สึกกลัวที่จะหย่า เพราะถ้าหากหย่าขาดกันจริงสามีจะไม่ให้เธอพบ
19

หน้าลูกชายสุดที่รักของเธออีกเลย ส่วนฝ่ายของโอบลอนสกี้ยังคงอาศัยอยู่ร่วมกันกับดอลลี่และลูก ๆ
ในบ้านหลังเดิม แต่ชีวิตสมรสของสามีภรรยาคู่นี้กลับไร้ซึ่งความสุข ดอลลี่รู้ว่าโอบลอนสกี้ไม่ได้รักเธอ
อีกต่อไป เธอจึงพยายามทาตัวให้ยุ่งเข้าไว้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคิดถึงเรื่องของสามี ในขณะที่เลวินยังคง
ดูแลกิจการไร่นาของเขาอยู่เช่นเดิม เขาเริ่มปรับเปลี่ยนระบบการทางานใหม่ให้กับเกษตรกรในไร่นา
แม้ในตอนแรกชาวนาจะไม่เชื่อใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาเริ่มคุ้นเคยกับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น

2.2.4 ภาคสี่

เหตุการณ์ระหว่างอันนาและคาเรนินเริ่มตึงเครียดมากยิ่งขึ้น คาเรนินมีความคิดที่
จะยุติความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากับอันนาด้วยการฟ้องหย่าแต่ได้ชะลอไว้ก่อนเพราะโอบลอนสกี้
มาขอร้องเขา จนกระทั่งคาเรนิน ทราบข่าวว่า อันนาให้กาเนิดบุตรสาวของเธอกับวรอนสกี้ ซึ่ง เธอตั้ง
ชื่อ ให้ ว่า แอนนี่ คาเรนินเห็นว่า อั นนามี อาการป่วยหลัง จากการคลอดบุตร กรปรกั บ การที่หมอ
ทาคลอดบอกกับเขาว่า เธออาจจะมีโอกาศรอดน้อยมากจากอาการป่วยที่เ ผชิญอยู่ เมื่อเห็นดังนั้น
คาเรนินจึงตัดสินใจที่จะให้อภัยอันนากับวรอนสกี้ แต่หลังจากนั้นปรากฏว่า อันนาเริ่มมีอาการที่ดีขึ้น
และย้ายไปอยู่ด้วยกั น กั บ วรอนสกี้ และลูก สาวของเธอที่ ต่างประเทศ ส่วนคาเรนินและเซร์ยอชา
บุตรชายยังคงอาศัยอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กดังเดิม ขณะเดียวกัน คิตตี้และเลวินได้พบกันอีกครั้งใน
งานเลี้ยงอาหารค่าที่บ้านของโอบลอนสกี้ คิตตี้ก ล่าวขอโทษเลวินที่เธอได้ปฏิเสธเขาในคราวก่อน
ส่วนตัวเลวินนั้นไม่ได้ถือโทษโกรธเคืองอะไรเธอแล้ว ในวันต่อมาเลวินจึงขอโอกาสจากคิตตี้อีกครั้ง
คราวนี้คิตตี้ตอบตกลงอย่างสมัครใจ และได้แต่งงานกันในที่สุด

2.2.5 ภาคห้า

ภายหลังจากการแต่งงานคิตตี้และเลวินตัดสินใจที่จะย้ายไปอยู่บ้านของเลวิน
ในชนบท ทั้ ง คู่ มี ป ากเสี ย งกั น บ่ อ ยครั้ ง ในช่ ว ง 3 เดื อ นแรก แต่ ใ นที่ สุ ด เมื่ อ ทั้ ง คู่ เ ริ่ ม ปรั บ ตั ว ได้
ความสัม พั นธ์จึงเริ่ม ดีขึ้น หลัง จากนั้นคิตตี้ได้ตั้งท้ องบุตรคนแรกของครอบครัว ส่วนทางด้านของ
อันนาและวรอนสกี้ เ ดินทางไปยุโ รปพร้อมด้วยลูก สาวตัวน้อยของเขา พวกเขาอาศัยอยู่ในอิตาลี
ระยะเวลาหนึ่งจึงเดินทางกลับรัสเซีย เมื่อกลับมาถึงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอันนาแอบลอบเข้าบ้านของ
คาเรนินเพื่อพบหน้าเซร์ยอชา แม้คาเรนินจะสั่งห้ามไม่ให้สองแม่ลูกได้พบกันก็ตาม การกลับมายั ง
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในครั้งนีอ้ ันนารู้สึกเหมือนว่า ถูกขับไล่ออกจากสังคมชนชั้นสูง ซึ่งครั้งหนึ่งเธอเคย
เฉิดฉายและโดดเด่นกว่าใคร เธอและวรอนสกี้เริ่มมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกัน เนื่องมาจากความ
หึงหวงของอันนาที่มีต่อคนรักของเธอ ต่อมาทั้งสองจึงย้ายจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไปอาศัยอยู่ในชนบท
20

2.2.6 ภาคหก

คนในครอบครัวเชอร์บัตสกี้ และครอบครัวโอบลอนสกี้ ต่างเดินทางไปที่บ้า นใน


ชนบทของเลวิน เนื่องจากต้องการไปเยี่ยมคิตตี้ที่ท้องแก่ใกล้คลอด ดอลลี่จึงถือโอกาสเดินทางไปเยี่ยม
อันนาซึ่งมาอาศัยอยู่ที่บ้านพักในชนบทของวรอนสกี้พร้อมลูกสาวตัวน้อย วรอนสกี้ขอให้ดอลลี่ช่วยพูด
กับอันนาในเรื่องที่เขามีความประสงค์ที่จะให้อันนาหย่าขาดจากคาเรนินโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ใช้
ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาอย่างถูกต้อง และให้แอนนี่ได้ใช้นามสกุลวรอนสกี้เช่นเดียวกับเขา

2.2.7 ภาคเจ็ด

คิตตี้และเลวินย้ายมาอยู่ที่มอสโกเพื่อเตรียมพร้อมในการคลอดบุตร คิตตี้คลอด
บุตรชาย โดยตั้งชื่อให้ว่า ดมิตรี แม้ทั้งคู่จะทะเลาะกันบ้างบางคราวแต่ทั้งคู่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกั น
อย่างมีความสุข ความสัมพันธ์ของอันนาและวรอนสกี้แย่ลงเรื่อย ๆ เนื่องจากความหึงหวงของอันนาที่
มี ต่อ วรอนสกี้ และปัญ หาจากการที่ เธอยัง ไม่ ได้ห ย่าขาดจากคาเรนินให้เสร็จสิ้น ซึ่ง ทางฝ่ายของ
คาเรนินปฏิเสธการหย่าร้างครั้งนี้ ทาให้วรอนสกี้และอันนามีปากเสียงกันอย่างหนัก อันนากลัวว่า
วันหนึ่ง วรอนสกี้ จะทิ้ งเธอไป กอปรกั บในช่วงเวลานั้นเธอไม่ ได้รับการยอมรับจากสังคมชนชั้นสูง
อีกต่อไป ความทุกข์จากปัญหาที่รุมเร้าต่างถาโถมเข้าใส่เธอ จนเธออดคิดไม่ได้ว่า ความตายอาจเป็น
หนทางเดียวที่จะทาให้เธอหลุดพ้นจากความทุกข์ในจิตใจ อันนาจึงตัดสินใจกระโดดออกจากสถานี
เพื่อให้รถไฟที่กาลังจะเทียบชานชาลาจบชีวิตของเธอ

2.2.8 ภาคแปด

หลังจากการจากไปของอันนา ทุกชีวิต ที่ยังคงอยู่จาต้องเดินหน้าต่อไป วรอนสกี้


เลือกที่จะเป็นอาสาสมัครออกรบในสงครามระหว่างเซอร์เบียกับตุรกี คาเรนินรับแอนนี่ไปดูแลในฐานะ
บุตรอี ก คนของเขา คิตตี้และเลวินใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในที่ ดินของพวกเขาพร้อมกั บการเลี้ยงดู
บุตรชาย ส่วนโอบลอนสกี้ได้ทางานในตาแหน่งที่ตนเฝ้าปรารถนา
21

2.3 ตัวละครสาคัญของเรื่อง

2.3.1 อันนา อาร์คัดเยฟนา คาเรนิ นา7 (Анна Аркадьевна Каренина) หญิงสาว


สังคมชนชั้นสูงของเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เธอมักเป็นที่รักและเป็นที่สนใจในแวดวงสังคมเสมอ
2.3.2 เคานต์อเลกเซ คีริโลวิช วรอนสกี้ (Граф Алексей Кириллович Вронский)
ทหารหนุ่มจากตระกูลชนชั้นสูงในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เขาดารงตาแหน่งเป็นราชองครักษ์
2.3.3 อเลกเซ อเลกซานโดรวิช คาเรนิน (Алексей Александрович Каренин)
ข้าราชการระดับสูงในกระทรวงแห่งหนึ่ง สามีของอันนา เขาเป็นที่นับหน้าถือตาอย่างยิ่งในสังคม
2.3.4 คอนสแตนติ น ดมิ ต ริ ช เลวิ น (Константин Дмитриевич Левин) อดี ต
สมาชิกสภาจังหวัด เป็นคนหนุ่มหัวก้าวหน้า เพื่อนของโอบลอนสกี้
2.3.5 คิ ต ตี้ หรื อ เยคาทารี น า อเลกซานดรอฟนา เชอร์ บั ต สกายา (Кити หรื อ
Екатерина Александровна Щербацкая) ลูกสาวคนสุดท้องของตระกูลเชอร์บั ตสกี้ น้องสาว
ของดอลลี่
2.3.6 สตี ว า หรื อ สเตฟาน อาร์ คั ด เยวิ ช โอบลอนส กี้ (Стива หรื อ Степан
Аркадьевич Облонский) พี่ชายของอันนา เขาเป็นหัวหน้าส่วนราชการแห่งหนึ่งในมอสโกภายใต้
สังกัดกระทรวงที่คาเรนินดูแลอยู่
2.3.7 ดอลลี่ หรือ ดาเรีย อเลกซานดรอฟนา โอบลอนสกายา (Долли หรือ Дарья
Александровна Облонская) ลูกสาวคนโตของตระกูลเชอร์บัตสกี้ พี่สาวของคิตตี้ และเป็นภรรยา
ของโอบลอนสกี้
2.3.8 เจ้าหญิงเบตซี่ หรือ เอลิซานเวียตา ฟิโอโรฟนา เวอร์ สกายา (Княгиня Бетси
หรือ Княгиня Елизавета Федоровна Тверская) ภรรยาของลูกพี่ลูกน้องของอันนา อีกทั้งเธอ
ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับวรอนสกี้
2.3.9 เคาน์เตสลีเดีย อีวานอฟนา (Графиня Лидия Ивановна) เพื่อนของคาเรนิน

7
ชื่อของคนรัสเซียจะประกอบด้วย ชื่อจริง ชื่อกลาง ซึ่งมาจากชื่อของบิดา และสกุล เรียงตามลาดับ โดยชื่อกลางและ
สกุลของคนรัสเซียจะมีการผันตัวสะกดตามเพศของเจ้าของชื่อจึงทาให้ชื่อกลางและสกุลของผู้หญิงและผู้ชายมีความแตกต่างกัน
ดังเช่นในกรณีสกุลของ อันนา คาเรนินา กับ อเลกเซ คาเรนิน เป็นต้น
22

2.4 บทวิเคราะห์

2.4.1 โครงเรื่อง

โครงเรื่อ งของ อันนา คาเรนินา มี ลัก ษณะเป็นเหตุก ารณ์ที่ ดาเนินเรื่องไปใน


ทิศทางที่ไม่ดี และจบเรื่องด้วยความโศกเศร้า หรือที่เรียกว่า โศกนาฏกรรม นิยายเรื่องนี้มีลักษณะของ
โครงเรื่องเชิงซ้อน กล่าวคือ มีหลายโครงเรื่องร้อยเรียงเข้าด้วยกันโดยมีโครงเรื่องหลักเป็นแนวเรื่อง
ส าคัญ ซึ่ง ในเรื่อ ง อั นนา คาเรนินา นั้นปรากฏโครงเรื่องหลักให้เ ห็นด้วยกั นถึง 2 โครงเรื่อง คือ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของอันนา คาเรนิน และวรอนสกี้ และเรื่องราวความสัมพันธ์ของเลวินกับคิตตี้
อีกทั้งยังมีโครงเรื่องรองเป็นเรื่องปลีกย่อยที่แทรกอยู่ในโครงเรื่องหลักเพื่อ เพิ่มความซับซ้อนแก่เนื้อหา
มากยิ่งขึ้น เนื้อหาของเรื่องให้ความสาคัญกับตัวละครมากกว่าเหตุการณ์ และมีบทบรรยายที่แสดงถึง
ความคิด หรือ ความรู้สึกของตัวละครเป็นส่วนใหญ่
ตอลสตอยบอกเล่าเรื่องราวที่เกิ ดขึ้นในนิยายให้ผู้อ่านได้ท ราบโดยใช้วิธีสร้าง
บทบาทให้ผู้เขียนอยู่ทุกหนทุกแห่ง และสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวใดก็ได้ มองฉากเหตุการณ์จาก
จุ ด ใดก็ ไ ด้ และในฉากเดีย วกั น นั้น สามารถเปลี่ยนผู้ม อง หรื อ มุ ม มองได้ ตามต้ อ งการ บางครั้ง
ตอลสตอยจะให้ตัวละครครุ่นคิดและถกเถียงกับตัวเอง บางครั้งเป็นการวิเคราะห์หยั่งลึกเข้าไปในจิตใจ
ของตัวละครโดยบุคคลที่สาม ตอลสตอยสร้างเอกภาพของสถานที่ ตัวละคร และความประจวบเหมาะ
ได้อย่างดีทาให้เกิดความเข้มข้นของเนื้อหา8
ตอลสตอยใช้ วิ ธี ก ารเปิ ด เรื่ อ งด้ ว ยความขั ด แย้ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ครอบครั ว ของ
โอบลอนสกี้มาเป็นประเด็นหลักเพือ่ ที่จะเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่เหตุการณ์สาคัญของเรื่อง และเป็นการ
เกริ่นนาถึงความเชื่อมโยงไปสู่ตัวละครหลักอื่น ๆ ดาเนินเรื่องด้วยการบอกเล่าเรื่องชีวิตความเป็นมา
และความเป็น อยู่ ข องตั ว ละครหลัก ที ล ะตัว ประกอบกั บ ขมวดปมปั ญ หาให้แน่ น ยิ่ง ขึ้ นเพื่อให้มี
ผลกระทบต่อโครงเรื่องหลักโดยตรง ตัวอย่างเช่น การพบกันครั้งแรกของอันนาและวรอนสกี้ที่สถานี
รถไฟซึ่งเปรียบเป็นจุดเริ่มความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่ และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือ การที่คิตตี้ปฏิเสธคาขอ
แต่งงานของเลวินเพราะเธอคาดหวังที่จะแต่งงานกั บวรอนสกี้จึงเป็นเหตุให้ทั้งสองไม่ได้แต่งงานกัน
และนับเป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของเลวินกับคิตตี้ จุดวิกฤตของเรื่องอยู่ในช่วงที่
อันนาได้รับความทุกข์ทรมานจากการความสัมพันธ์ที่ได้ก่อตัวขึ้น รวมถึงปัญหาการหย่าร้างกับคาเรนิน

8
เรื่องเดียวกัน, (11).
23

อีกทั้งยังถูกปฏิเสธจากสังคมชนชั้นสูงนาพาไปสู่จุดคลี่คลายของเรื่องเมื่ออันนาตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อ
หนีจากปัญหาที่ตามรุมเร้าเธอ และจบเรื่องด้วยการที่ทกุ ตัวละครที่ยังคงอยู่ต่างใช้ชีวิตของตัวเองต่อไป
ตามทางของตนซึ่งมีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกัน

2.4.2 แก่นเรื่อง

อันนา คาเรนินา เป็นนวนิยายแนวสัจนิยมที่สะท้อนความเป็นจริงที่เกิ ดขึ้ นใน


สังคม ดังนั้นตอลสตอยจึงหยิบจับเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวของเขามาเรียบเรียงและถ่ายออกมาผ่าน
วรรณกรรมเรื่อ งดังกล่าว โดยตอลสตอยยืมเรื่องราวของอันนาจากโศกนาฏกรรมที่เกิ ดขึ้นจริงซึ่ง
เกี่ยวกับชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ อันนา สเตปานอฟนา ผู้ซึ่งฆ่าตัวตายเพราะอกหักในชีวิตรั กโดย
การกระโดดให้รถไฟทับ ที่สถานีรถไฟใกล้กับ คฤหาสน์ของตอลสตอย 9 และยืม เรื่องราวของเลวิน
และคิตตี้จากชีวประวัติของตัวเองกับ ภรรยา ซึ่งหากพิจารณาจากเนื้อหาแล้วสามารถวิเ คราะห์ ถึง
แก่นเรื่องที่สอดคล้องกับสังคมชนชั้นสูงในประเด็นดังต่อไปนี้

2.4.2.1 ครอบครัว

ครอบครั ว ถื อ เป็ น ส่ ว นส าคั ญ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ โครงเรื่ อ งและตั ว ละคร


ในขณะเดียวกันก็เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดทางสังคม เมื่อเป็นเช่นนั้นคนส่วนใหญ่จึงมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
ครอบครัวได้ใกล้ชิดและบ่อ ยครั้งกว่าสังคมในรูปแบบอื่น ประกอบกับ สังคมครอบครัวเป็นสิ่งที่มี
รูปแบบโครงสร้างคล้ายคลึงกัน เมื่อรวมเข้ากับภาษา ค่านิยม และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันในสังคม
จึงทาให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจถึงสภาพสังคมครอบครัวนั้น ดังนั้นตอลสตอยจึงเลือกเปิดประเด็นและ
แนะนาตัวละครโดยเริ่มจากการกล่าวถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของตัวละครนั้น ตัวอย่างเช่น
การเกริ่นด้วยการพูดถึงปัญหาการนอกใจภรรยาของโอบลอนสกี้ก่อนที่จะเริ่มแนะนาตัวละครที่ชื่อ
โอบลอนสกี้ เป็นต้น จากที่พิจารณาพบว่าแต่ละครอบครัวที่ตอลสตอยสร้างขึ้น อาทิเช่น ครอบครัว
คาเรนิน ครอบครัวโอบลอนสกี้ ครอบครัวเชอร์บัตสกี้ ซึ่งแต่จัดอยู่ในกลุ่มครอบครัวที่เป็นชนชั้นสูงของ
รัสเซียต่างมีความเหมือนและความต่างผสมผสานกันอยู่ เช่น เรื่องความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
สภาพความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน ค่านิยม การอบรมเลี้ยงดูลกู
อีกทั้งยังรวมถึงความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครอบครัว โดยสามารถสรุปเป็นประโยคสั้น ๆ

9
เรื่องเดียวกัน, (9).
24

ดั ง เช่ น ค ากล่ า วเปิ ด ของนิ ย ายเรื่ อ งนี้ ที่ ก ล่า วว่ า “ครอบครั ว ที่ มี ค วามสุ ข ล้ ว นสุ ข เหมื อ น ๆ กั น
แต่ครอบครัวที่มีทุกข์ ย่อมทุกข์ตามวิถีของตน”10

2.4.2.2 การเปลีย่ นแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในรัสเซียช่วงศตวรรษที่ 19

ฉากหลังของ อันนา คาเรนินา อยู่ในสมัยของจักรวรรดิรัสเซี ยช่วงปลาย


ศตวรรษที่ 19 ซึ่ง เป็นช่วงเวลาที่เ กิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้ง ใหญ่ในยุโ รปตะวันตก กอปรกับ
การรับแนวคิด ค่านิยม และวัฒนธรรมตามแบบยุโรปตะวันตกเข้ามาในรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในเรื่องของแนวคิดเสรีนิยม และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลต่าง ๆ ซึ่ งหากพิจารณาจาก
เนื้อเรื่อ งแล้วจะพบว่าตอลสตอยได้ใส่แนวคิดที่ ก ล่าวมาสอดแทรกลงไปในเนื้อหาของเรื่องด้วย
โดยตัวละครเอกของเรื่องทั้งอันนาและเลวินต่างมีความคิดที่ค่อนข้างโน้มเอียงไปทางเสรีนิยม และ
แนวความคิดเสรีนิยมดังกล่าวเป็นเสมือนตัวช่วยผลักดันให้ตัวละครทั้งสองตัดสินใจทาในสิ่งที่แตกต่าง
ออกไปจากสิ่งที่สังคมได้ตีกรอบไว้เดิม นั่นคือ อันนาเลือกที่จะลอบคบชู้กับวรอนสกี้ ส่วนเลวินเลือกที่
จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการไร่นาตามแบบของตน และในตอนที่คาเรนินเริ่มระแคะระคายถึง
ความสัมพันธ์ที่ไม่ชอบมาพากลของภรรยากับวรอนสกี้ สิ่ งที่คาเรนินเลือกที่จะทาคือ การพูดคุยกับ
อันนาโดยการตักเตือนเธอถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งคาเรนินแสดงเจตนา
อย่างชัดเจนในเรื่องของการให้เกียรติภรรยาของเขา และเคารพการตัดสินใจของเธอ ซึ่งการกระทา
ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของภรรยา แม้ว่าคาเรนินจะมีแนวคิดโน้มเอียงไป
ทางอนุรักษ์นิยมก็ตาม

2.4.3 ตัวละคร

นิยายเรื่องนี้แบ่งตัวเอกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกประกอบไปด้วย อันนากับสามีที่


ชื่อคาเรนิน และคู่รัก ของอั นนาชื่อวรอนสกี้ ส่วนคิตตี้และเลวินจัดอยู่อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่ง ทั้ งสองกลุ่ม
มีความเกี่ยวโยงกัน โดยพี่สาวของคิตตี้ไปแต่งงานกับพี่ชายของอันนา11

10
เรื่องเดียวกัน, 6.
11
เรื่องเดียวกัน, (10).
25

ตัวละครของตอลลสตอยมิใช่โ ดดเด่นอยู่โดยลาพัง หากแวดล้อมด้วยสมาชิก


ครอบครัว เพื่อนฝูงในสังคม และบรรยากาศร่วมสมัย ตัวละครจึงไม่มีเพียงมิติเดียวที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
โดยตรงเช่นเดียวกับคนในชีวิตจริง เมื่ออ่านนิยายของตอลสตอยแล้วเรามักจะรู้ว่าตัวละครของเขา
ใช้ชีวิตประจาวันอย่างไร มีรายได้อย่างไร มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมือง ตัวละครของเขามีชีวิตชีวาเหมือนกับเป็นคนคนหนึ่งที่เรารู้จักและมีชีวิตอยู่จริง 12 ซึ่งจะเลือก
วิเคราะห์บุคลิกและลักษณะนิสัยของตัวละครเอกที่มีความสาคัญ ต่อเนือ้ เรื่องดังนี้

2.4.3.1 อันนา อาร์คัดเยฟนา คาเรนินา

หญิ ง สาวจากตระกู ล ที่ สู ง ศั ก ดิ์ ดาวเด่ น แห่ ง สั ง คมชนชั้ น สู ง ของ


เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภรรยาของคาเรนิน อันนาเป็นคนสวยที่มี เสน่ห์และน่าหลงใหล ทาให้เธอมักจะ
เป็นจุดสนใจของผู้คนในสังคมเสมอ แม้จะมีสามีแล้วแต่เธอยังคงเป็นที่ต้องตาของบรรดาชายหนุ่ม
อันนาเป็นคนอ่อนโยน จิตใจดี มีความอดทน มีความสามารถในการโน้มน้าวใจ เธอจึงเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
ปั ญ หาที่ ดี มี ค วามโรแมนติ ก อยู่ ใ นตั ว มี ค วามอ่ อ นไหวต่ อ อารมณ์ แ ละความรู้ สึ ก สู ง ลู ก ชาย
เปรี ย บเสมื อ นกั บ แก้ ว ตาดวงใจของเธอ แต่ โ ดยลึ ก ๆ แล้ ว นั้ น อั น นากลั บ รู้ สึ ก โหยหาความรัก
เนื่องมาจากคาเรนินผู้เป็นสามีไม่สามารถสนองความรักให้แก่เธอได้ และเธอมองว่าสิ่งที่สามีของเธอ
ปฏิบัติต่อ เธอนั้ นไม่ ใช่ความรัก ด้วยซ้า จากที่ ก ล่าวมาจึง เสมื อนเป็นแรงผลัก ดันให้อันนาท าตาม
ความต้องการของตัวเองด้วยการลอบคบชู้กับวรอนสกี้ ผู้ชายที่สามารถมอบความรักที่เธอปรารถนา
โดยวรอนสกี้แสดงออกถึงความรักของเขาที่มีต่อเธอผ่านทางการกระทาและคาพูดเสมอ การกระทา
ดังกล่าวของอันนาแสดงให้เห็นว่า เธอเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ที่กล้าที่จะทาตามเสียงเรียกร้องจากส่วนลึก
ภายในจิตใจ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ผิดต่อศีลธรรม และเป็นที่ครหาในสังคมก็ตาม

2.4.3.2 เคานต์อเลกเซ คีริโลวิช วรอนสกี้

ชายหนุ่มผู้เพียบพร้อมทั้งหน้าตาและฐานะ โดยตระกูลวรอนสกี้จัดอยู่ใน
แวดวงชนชั้ น สูง ของเซนต์ ปีเ ตอร์ส เบิร์ ก วรอนสกี้ มี รูป ร่า งล่าสัน ตั ว ไม่ สู ง มาก ผิ ว คล้ า หน้ า ตา
เกลี้ยงเกลา มี ท่ วงท่ าที่ ส ง่างาม มี กิ ริยามารยาท อั ธยาศัยดี จิตใจดี ฉลาดทั้ ง ความคิดและคาพูด
เป็นชายหนุ่ม อนาคตไกล เจ้าส าราญ สนุก กั บ ชีวิตชายโสด ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ไม่ จ ริง จัง กั บ ชีวิต
ไม่ชอบชีวิตแบบครอบครัว จนกระทั่งได้พบกับอันนา เขาตกหลุมรักเธอตั้งแต่แรกพบจึงเริ่มเห็นถึง

12
เรื่องเดียวกัน, (11).
26

ความสาคัญและจริงจังกับความรัก เขามี ความซื่อสัตย์ต่อหัวใจของตัวเอง ค่อนข้างเป็นคนเปิดเผย


รู้สึก อย่างไรก็ แสดงออกไปเช่นนั้น ดัง ที่เ ห็นได้จากการที่ วรอนสกี้ ทาตามความต้องการของหัวใจ
ด้วยการพยายามแสดงออกถึงความรู้สึกของเขาให้อันนาได้รู้ แม้จะรู้ดีอยู่แก่ใจว่าเธอมีสามีอยู่แล้ว
จนถึงขั้นยอมละทิ้งตาแหน่งหน้าที่ที่จะได้รับเพื่อแลกกับการที่ไม่ต้องแยกจากหญิงอันเป็นที่รัก และ
ตัดสินใจย้ายไปอยู่กับอั นนาเพื่ อเริ่มต้นชีวิตรักของพวกเขา แต่ถึง กระนั้นวรอนสกี้มี ความกังวลใจ
เป็นอย่างมากในเรื่องความสัมพันธ์ที่ถูกสังคมตราหน้าว่าผิดศีลธรรมครั้งนี้

2.4.3.3 อเลกเซ อเลกซานโดรวิช คาเรนิน

ชายวัยกลางคนผู้มีตาแหน่ง สูงในรัฐบาล เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม


ชนชั้นสูง คาเรนินเป็นคนมีเกียรติ เจ้าระเบียบ เข้มงวด เคร่งขรึม จริงจัง ฉลาด เคร่งศาสนา ยึดมั่นใน
หลักการและเหตุผล เขาให้ความสนใจในประเด็นการเมืองเป็นพิเศษ ไม่ค่อยชอบงานเลี้ยงสังสรรค์
หรือ งานเต้นรา ตรงต่อเวลาโดยสังเกตได้จากการที่เขามักจะใช้ชีวิ ตประจาวันตามตารางเวลาเดิม
ในทุก ๆ วัน คาเรนินทาหน้าที่เป็นสามีที่ดีและให้เกียรติภรรยาเสมอ แต่มักทาตัวเย็นชา ไม่แสดงออก
ถึงความรู้สึกของตน อีกทั้งคาเรนินยังให้ความสาคัญในเรื่องหน้าที่การงานเป็นสาคัญจึงเป็ นเหตุให้
ไม่ค่อยสนิทสนมกับลูกชาย และยังให้ความสาคัญกับชื่อเสียงและเกียรติของตนมากกว่าทุกสิ่งและ
ไม่ได้ให้ความสาคัญกับความรักในชีวิตสมรส คาเรนินมีแนวคิดในเชิงอนุรักษ์นิยมค่อนข้างชัดเจน และ
มีความคิดดังเช่นชายชั้นสูงในสังคมรัสเซียที่มองว่า ผู้ชายเป็นใหญ่ในสังคม

2.4.3.4 คอนสแตนติน ดมิตริช เลวิน

ผู้ ดี ห นุ่ ม ที่ ร่ ารวยแต่ ก ลับ ปรารถนาที่ จ ะใช้ ชี วิ ต อย่ า งสมถะในชนบท


เลวินมีรูปร่างล่าสัน ไหล่กว้าง เคราหยักศก เป็นเพื่อนสนิทของโอบลอนสกี้ เขาเป็นคนหัวก้าวหน้า
สุภาพ ให้เกียรติผู้อื่น จริงใจ ยึดมั่นในอุดมการณ์ของตัวเอง ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง ขี้อาย ค่อนข้าง
อ่อนไหวต่ออารมณ์และความรู้สึก ซื่อสัตย์และมั่นคงในความรัก ต่อคิตตี้ ไม่ยึดติดกับชื่อเสียงและ
เงินทอง เขาไม่ ชอบสัง คมในแวดวงชนชั้นสูงเนื่องจากเขามองว่าสิ่งที่ คนเหล่านั้นกระทาเป็ นสิ่งที่
ฟุ่มเฟือยและไม่มีความจริงใจต่อกัน เลวินไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง เขาทาสิ่งแตกต่างไปจากคนอื่น ๆ
นั่นคือ เขาลงมือทาไร่นาด้วยตัวเองเคียงข้างกับลูกจ้างของเขา ซึ่งไม่มีเจ้านายคนไหนทาเช่นนี้
27

2.4.3.5 คิตตี้ หรือ เยคาทารีนา อเลกซานดรอฟนา เชอร์บัตสกายา

หญิงสาวจากตระกูลที่สูงศักดิ์เช่นเดียวกับอันนา เป็นน้องสาวของดอลลี่
คิตตี้มี รูป ร่างหน้าตาน่ารัก สมวัย ด้วยความที่ เ ธอเป็นคนร่าเริง สดใส มี ชีวิตชีวา มี จิตใจที่ ง ดงาม
มองโลกโลกในแง่ดี มี กิ ริยามารยาทที่อ่อนหวาน จึง ท าให้เธอกลายเป็นที่หมายปองของชายหนุ่ม
หลายต่อหลายคนในวงสังคมชนชั้นสูง คิตตี้เ ปรียบได้กับเด็กสาววัยแรกแย้มทั่วไปที่มักจะมีนิยาม
เกี่ยวกับความรักและการแต่งงานที่หอมหวาน สวยงาม เธอหลงรักวรอนสกี้ และเฝ้ารอวันที่เขาจะ
ขอเธอแต่ง งาน แต่แล้วเหตุก ารณ์ก ลับ ไม่ เ ป็นไปดัง คาด คิตตี้โ ศกเศร้าเสียใจราวกั บ คนเสียศูนย์
ที่ไร้ซึ่งความสุขใดใดในชีวิต ความผิดหวังจากความรักแปรเปลี่ยนหญิงสาวที่ไร้เดียงสาให้กลายเป็น
คนป่วยที่ตรอมใจ เข็ดหลาบจากความรักและไม่อยากจะรักใครอีก แต่แล้วระยะเวลาและความจริงใจ
ของเลวินทาให้เธอเลือกที่จะเปิดใจอีกครัง้ จนในท้ายที่สุดคิตตี้ได้ค้นพบความสุขและความรักที่แท้จริง
จากการแต่งงานกับเลวิน

2.4.3.6 สตีวา หรือ สเตฟาน อาร์คัดเยวิช โอบลอนสกี้

หนุ่มใหญ่ในแวดวงสังคมชนชั้นสูง พี่ชายของอันนา ความที่โอบลอนสกี้


เป็นคนเจ้าสาราญ ร่าเริง อัธยาศัยดี มีไมตรีจิต ใส่ใจผู้อื่น ฉลาดพูด ประกอบกับมีลักษณะท่าทางที่
เป็นมิตร จึงทาให้เขามีเพื่อนฝูงมาก และกลายเป็นที่รักใคร่ของคนที่ได้พูดคุยด้วย รวมถึงยังเป็นที่รัก
และเคารพของลูกน้อง โอบลอนสกี้เป็นคนที่มีความสามารถ สมองไว แต่มักเกียจคร้าน มีความมั่นใจ
ในตัวเองสูงและเชื่อ มั่นในความคิดของตนเอง ด้วยความที่ เ ป็นคนชอบเข้าสังคมจึงทาให้เ ขาต้อง
เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องที่ฟุ่มเฟือยไปมาก

2.4.3.7 ดอลลี่ หรือ ดาเรีย อเลกซานดรอฟนา โอบลอนสกายา

พี่สาวคนโตของตระกูลเชอร์บัตสกี้ซึ่งเป็นตระกูลที่มีหน้าตาและฐานะใน
แวดวงสังคมชนชั้นสูงรัสเซีย ดอลลี่เป็นคนเรียบร้อย จิตใจดี มีความเป็นแม่บ้านแม่เรือน เธอมักจะ
ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูแลลูก ๆ ทาให้ไม่ค่อยได้ออกไปไหน เธอรักและซื่อสัตย์ต่อสามี แต่เธอรู้ดี
ว่าสามีไม่ได้รักเธออีกต่อไปแล้ว จึงเป็นเหตุให้ชีวิตแต่งงานของเธอไม่มีความสุข
28

2.4.4 ฉาก

ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมเป็นช่วงประมาณทศวรรษ 1870 ส่วนสถานที่ที่


ใช้ป ระกอบในเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นประเทศรัสเซียในช่วงเวลาดัง ที่ก ล่าวไป ตัวอย่างเช่น มอสโก
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และชนบทในรัสเซีย และมีบางตอนที่เปลี่ยนสถานที่เป็นประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
คือ เยอรมนี และอิตาลี เนื่องตอลสตอยเขียนวรรณกรรมแนวสัจนิยมที่เปรียบเป็นกระจกส ะท้ อน
ความเป็นจริงในสังคมดังนั้นการเลือกช่วงเวลาและสถานที่ที่ใช้ประกอบในวรรณกรรมเรื่อง อันนา
คาเรนินา จึงต้องอิงตามหลักความเป็นจริงโดยตอลสตอยเลือกช่วงเวลาคาบเกี่ยวกับช่วงที่เริ่มเขียน
วรรณกรรมเรื่องนี้ในช่วงปี 1873-1877 และเลือกสถานที่เป็นเมืองที่กลุ่มชนชั้น สูงในรัสเซียช่วงเวลา
นั้นพักอาศัยอยู่ ซึ่งชนชั้นสูงในรัสเซียขณะนั้นมักจะมีที่ดินและบ้านพักตากอากาศประจาตระกูล หรือ
ที่เรียกเป็นภาษารัสเซีย ว่า ดาช่า (Дача) อยู่บริเวณชานเมือง หรือ แถบชนบทของรัสเซียสาหรับ
พักผ่อนในช่วงฤดูร้อน อีกทั้งชนชั้นสูงของรัสเซียยังนิยมไปพักผ่อนต่างประเทศในแถบยุโรปเช่นกัน

You might also like