Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 38

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์

พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar)
ประเทศไทยได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในปริมาณที่พอเพียงกับการนาไปใช้เป็นพลังงานทดแทน
(Renewable Energy) ประมาณ 4 – 5 ชั่วโมงต่อวัน พื้นที่ 1 ตารางเมตร จะได้รับพลังงานแสงอาทิตย์
ประมาณ 1,000 วัตต์ หรือ 4 – 5 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน (kWh/m2/day) ถ้าเรามีเซลล์
แสงอาทิตย์พื้นที่ 1 ตารางเมตร ที่มีประสิทธิภาพเพียง 10 % จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 100 วัตต์ หรือ
เฉลี่ย 400 – 500 วัตต์-ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงาน
ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ การนาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยใช้โซล่าเซลล์ (Solar Cell) จะสามารถผลิต
กระแสไฟฟ้าทดแทนกระแสไฟฟ้าจากระบบสายไฟฟ้าหรือที่เรียกว่าโครงข่ายไฟฟ้า (Power Grid) สามารถ
นาไปใช้ในพื้นที่การเกตตร พื้นที่ที่ไม่สะดวกในการติดตั้งระบบสายไฟฟ้า จนถึงขั้นที่สามารถขายกระแสไฟฟ้า
ให้กับการไฟฟ้า ดังนั้นการเลือกใช้งานแผงโซล่าเซลล์ และอุปกรณ์ต่างๆ จะต้องคานึงถึงชนิดและขนาดของ
การใช้งานให้เหมาะสม และคุ้มค่าในการลงทุน

โซล่าเซลล์ (Solar Cell)


เป็นสิ่งประดิตฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์หรือแสงจากหลอดไฟฟ้าให้
เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ไฟฟ้าที่ได้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) โซลาเซลล์ประดิตฐ์ขึ้นจากการ
นาสารกึ่งตัวนา 2 ชนิด คือ P-Type และ N-Type มาต่อกันทาให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าเมื่อได้รับ
พลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ที่ทาจากสารกึ่งตัวนาประเภทซิลิกอน จะใช้สารซิลิกอนมาทาให้ไม่บริสุทธิ์
(Dope) โดยการเติมธาตุในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 5 ในตารางธาตุลงไป P-Type มีคุณสมบัติของอะตอมเป็น
ช่องว่างซึ่งเรียกว่า โฮล (Hole) ส่วน N-Type มีคุณสมบัติของอะตอมเป็นอิเล็กตรอนเกินขึ้นมา 1 ตัว เรียกว่า
อิเล็กตรอนอิสระซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในก้อนผลึก เมื่อนาสารกึ่งตัวนา P-Type และ N-Type
ทีม่ าต่อกันแล้วทาให้รอยต่อได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ จะทาให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า

Cr. http://www.epcinter.co.th
รูปแสดงการทางานของแผงโซล่าเซลล์

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ เรียบเรียง


2

Cr. http://www3.egat.co.th
รูปแสดงส่วนประกอบของแผงโซล่าเซลล์
ประเภทของโซล่าเซลล์
1. แผงโซล่าเซลล์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิกอน/โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
ทามาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เป็นผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็
เรียกว่า Single Crystalline (single-Si) โดยเริ่มมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก จากนั้นจึงนามาตัดให้
เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก เพื่อที่จะทาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ทาให้มีลักตณะเป็นสี่เหลี่ยมตัด
มุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม

Cr. http://www.klcbright.com
รูปแสดง แผงโซล่าเซลล์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิกอน/โมโนคริสตัลไลน์ (mono-Si)

ข้อดี ของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิด โมโนคริสตัลไลน์


 มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20% เพราะผลิตมาจาก ซิลิคอนเกรดดีที่สุด

 ใช้เนื้อที่ในการติดตั้งน้อย และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 4 เท่า ของชนิดฟิล์มบาง (thin film)

 มีอายุการใช้งานยาวนานโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป

 ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากว่าชนิดโพลีคริสตัลไลน์ เมื่ออยู่ในภาวะแสงน้อย

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


3

ข้อเสีย ของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิด โมโนคริสตัลไลน์


 มีราคาแพงที่สุด ในบางครั้งการติดตั้งด้วย แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ หรือชนิด thin film

อาจมีความคุ้มค่ามากกว่า
 ถ้ามีความสกปรกหรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทาให้วงจรหรือ inverter ไหม้ได้ เพราะ

อาจจะทาให้เกิดโวลต์สูงเกินไป แต่ปัจจุบันมีการแก้ไขปัญหานี้ในการผลิตแล้ว

2. แผงโซล่าเซลล์ชนิดผลึกรวม/โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)


เป็นแผงโซล่าเซลล์์ที่ทามาจากผลึกรวมจากซิลิคอนบริสุทธิ์รวมถึงแท่งซิลิกอนที่เหลือทิ้งจาก
การผลิต นามาหลอมรวมในเบ้าสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นนามาตัดเป็นแผ่นๆ (Wafer) แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยม
จัตุรัส ไม่มีการตัดมุม ทาให้มีราคาถูกกว่าแบบผลึกเดี่ยว โดยทั่วไปเรียกว่าผลึกรวม หรือ โพลีคริสตัลไลน์
(polycrystalline,p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline,mc-Si) สีของแผงจะ
ออก น้าเงิน ไม่เข้มมาก

Cr. http://www.klcbright.com
รูปแสดง แผงโซล่าเซลล์แบบผลึกรวม/โพลีคริสตัลไลน์ (p-Si)

ข้อดี ของ แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์


 ราคาถูกกว่าโมโนคริสตัลไลน์

 มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่อุณหภูมิสูงดีกว่า ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ เล็กน้อย

ข้อเสีย ของ แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์


 มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16% ซึง่ ต่ากว่า เมือ
่ เทียบกับชนิด โมโนคริสตัลไลน์
 ใช้เนื้อที่ในการติดตั้งมากกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ เมื่อต้องการประสิทธิภาพเท่ากัน

 มีสีน้าเงิน ทาให้บางครั้งอาจดูไม่สวยงาม ไม่เข้ากับสีของสภาพแวดล้อม

3. แผงโซล่าเซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส (Amorphous silicon : a-Si)


หลักการโดยทั่วไปของการผลิต โซล่าเซลล์ชนิดชนิดอะมอร์ฟัส หรือฟิล์มบาง (Thin Film
Solar Cell, TFSC) คือ การนาเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็น

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


4

ฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น เช่น สารประกอบซิลิคอนและสารอื่นๆที่อยู่ในสถานะก๊าซ มา


เคลือบเป็นฟิล์มบางบนแผ่นฐาน เช่น แก้วหรือพลาสติก จึงเรียก โซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ
thin film ซึ่งสารฉาบที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายชนิด ชื่อเรียกของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบางจึง
แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่นามาใช้ ได้แก่ อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (a-Si) บาง
ชนิด เช่น Hydrogenated amorphous silicon (a-Si:H) ทาให้โปร่งแสงได้ ปัจจุบันแผ่นโซล่าเซลล์
ชนิดฟิล์มบางมีพัฒนาการด้านการผลิตมากมายหลายแบบ และสามารถนาไปใช้ในอุปกรณ์ได้
หลากหลาย และสามารถใช้สารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแคดเมียมเทลลูไรด์
(Cadmium Telluride, CdTe) เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดคอปเปอร์อินเดียมแกลเลียมเซเลไนด์ (Copper
Indium Gallium Selenide, CIGS) และเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแกลเลียมอาเซไนด์ (Gallium
Arsenide, GaAs) เป็นต้น บางชนิดสามารถทาให้บิดงอ โค้ง ได้ตามการติดตั้ง ด้านประสิทธิภาพของ
แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบางนั้น มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% มีต้นทุนการผลิตต่ามาก แต่
ประสิทธิภาพต่า และอายุการใช้งานสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นามาทาเป็นฟิล์มฉาบ

Cr. http://www.klcbright.com
รูปแสดง แผงโซล่าเซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส/ฟิล์มบาง
ข้อดี ของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง
 มีราคาถูกกว่า เพราะสามารถผลิตจานวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน และใช้งานหลากหลาย

 ในที่อากาศร้อนมากๆ แผงโซล่าเซลล์ ชนิด ฟิล์มบาง มีผลกระทบน้อยกว่า

 ไม่มีปัญหาเรื่อง เมื่อแผงสกปรกแล้วจะทาให้วงจรไหม้

 นาไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย

ข้อเสีย ของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง


 มีประสิทธิภาพต่า

 แผงโซล่าเซลล์ ชนิด ฟิล์มบาง มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่า

 ไม่เหมาะนามาใช้ตามหลังคาบ้าน เพราะมีพื้นที่จากัด

 การรับประกันสั้นกว่าชนิด ผลึกซิลิคอน

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


5

ตัวแปรที่สาคัญของโซล่าเซลล์
ตัวแปรที่สาคัญที่มีส่วนทาให้เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพการทางานในแต่ละพื้นที่ต่างกัน และมี
ความสาคัญในการพิจารณานาไปใช้ในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการนาไปคานวณระบบหรือคานวณจานวนแผง
แสงอาทิตย์ที่ต้องใช้ในแต่ละพื้นที่ มีดังนี้
1. ความเข้มของแสง
กระแสไฟ (Current) จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มของแสง หมายความว่าเมื่อ
ความเข้มของแสงสูง กระแสที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ก็จะสูงขึ้น ในขณะที่แรงดันไฟฟ้าหรือ
โวลต์แทบจะไม่แปรไปตามความเข้มของแสงมากนัก ความเข้มของแสงที่ใช้วัดเป็นมาตรฐาน
คือ ความเข้มของแสงที่วัดบนพื้นโลกในสภาพอากาศปลอดโปร่ง ปราศจากเมฆหมอกและวัด
ที่ระดับน้าทะเลในสภาพที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งความเข้ม ของแสงจะมีค่าเท่ากับ
100 mW ต่อ ตร.ซม. หรือ 1,000 W ต่อ ตร.เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ AM 1.5 (Air Mass 1.5)
และถ้าแสงอาทิตย์ทามุม 60 องศากับพื้นโลกความเข้มของแสง จะมีค่าเท่ากับประมาณ 75
mW ต่อ ตร.ซม. หรือ 750 W ต่อ ตร.เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ AM2 กรณีของแผงเซลล์
แสงอาทิตย์นั้นจะใช้ค่า AM 1.5 เป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพของแผง
2. อุณหภูมิ
กระแสไฟ (Current) จะไม่แปรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แรงดันไฟฟ้า
(โวลท์) จะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ 1 องศาที่เพิ่มขึ้น จะทาให้
แรงดันไฟฟ้าลดลง 0.5% และในกรณีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาตรฐานที่ใช้กาหนด
ประสิทธิภาพของแผงแสงอาทิตย์คือ ณ อุณหภูมิ 25 องศา C เช่น กาหนดไว้ว่าแผง
แสงอาทิตย์มีแรงดันไฟฟ้าที่วงจรเปิด (Open Circuit Voltage หรือ V oc) ที่ 21 V ณ
อุณหภูมิ 25 องศา C ก็จะหมายความว่า แรงดันไฟฟ้าที่จะได้จากแผงแสงอาทิตย์ เมื่อยัง
ไม่ได้ต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ณ อุณหภูมิ 25 องศา C จะเท่ากับ 21 V ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 25
องศา C เช่น อุณหภูมิ 30 องศา C จะทาให้แรงดันไฟฟ้าของแผงแสงอาทิตย์ลดลง 2.5%
(0.5% x 5 องศา C) นั่นคือ แรงดันของแผงแสงอาทิตย์ที่ V oc จะลดลง 0.525 V (21 V x
2.5%) เหลือเพียง 20.475 V (21V) แผงชนิดโมโนและโพลีจะมีแรงดันกระแส และขนาดไม่
แตกต่างกัน แต่แผงชนิดโมโนจะมีค่า Temperature coefficients of Pmax น้อยกว่าแผง
แบบโพลี ทาให้มีราคาแพงกว่า 10-15%

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


6

Cr. http://www.happyplanetsolution.com
รูปแสดง ตัวอย่างขนาดแผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (mono-Si)

การต่อโซล่าเซลล์ไปใช้งาน
เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ได้จากโซล่าเซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง และกระแสไฟฟ้าไม่คงที่มีการ
แปรเปลี่ยนตามตัวแปรความเข้มของแสงอาทิตย์ การนาไปใช้งานจะแบ่งตามการใช้งาน ดังนี้
1. โซล่าเซลล์ต่อกับโหลด
เป็นการใช้โซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าเมื่อมีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการต่อ
กระแสไฟฟ้าตรงจากแผงโซล่าเซลล์เข้ากับภาระหรืออุปกรณ์โดยตรง ซึ่งเป็นการต่อขั้น
พื้นฐานที่ใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด มีราคาถูก แต่จะใช้งานได้เฉพาะตอนที่แสงอาทิตย์มีความเข้ม
แสงเพียงพอให้โซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าให้ภาระหรืออุปกรณ์สามารถทางานได้ เหมาะกับ
อุปกรณ์ประเภทมอเตอร์กระแสตรง เพราะมอเตอร์ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงกระแสและ
แรงดันได้ดี เช่นการสูบน้าเพื่อการเกตตร ต่อกับพัดลมระบายอากาศในยานยนต์หรือในบ้าน
เป็นต้น

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


7

Cr. http://www.nsthai.com/
รูปแสดง โซล่าเซลล์ต่อตรงกับปั๊มสูบน้ากระแสตรง

2. โซล่าเซลล์ต่อกับแบตเตอรี่สารองไฟ
เป็นการใช้โซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าตรง และมีการเก็บสารองกระแสไฟฟ้าโดยใช้
แบตเตอรี เพื่อให้ไฟฟ้าที่จ่ายออกไปมีต่อเนื่องแม้ไม่มีแสงอาทิตย์ ระยะเวลาการใช้ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของแบตเตอรี การประจุ (Charge) และภาระ กระแสไฟฟ้าที่ได้มีความสม่าเสมอ
เหมาะกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
การต่อเข้ากับแบตเตอรีต้องมีเครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller)
เพราะบางครั้งแสงที่ตกกระทบแผงโซล่าเซลล์อาจจะไม่สม่าเสมอกันตลอดทั้งวันจึงทาให้
กระแสและแรงดันที่ผลิตได้จากแผงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาบางช่วงก็สูงบางช่วงก็ต่าทาให้
แรงดันและกระแสไฟฟ้าไม่คงที่ ดังนั้นการชาร์จประจุไฟฟ้าของแผงโดยตรงกับแบตเตอรี่จึง
ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและที่สาคัญคือจะทาให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะสั้นในลง
เครื่องควบคุมการชาร์จจึงถูกออกแบบมาเพื่อทาให้การชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่นั้นมี
ประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังป้องกันการเสียหายที่เกิดจากการชาร์จแบตเตอรี่

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


8

Cr. www.cssckmutt.in.th
รูปแสดง โซล่าเซลล์ต่อกับเครื่องควบคุมการประจุแบตเตอรี
3. โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ
เป็นการใช้โซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าสลับเพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าสลับ 220 โวลต์
(Volt AC) โดยมีเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ (Inverter) ทาหน้าที่
แปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึง่ ต้องมีการประจุแบตเตอรีเพื่อให้เครื่อง
อินเวอร์เตอร์ทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Cr. www.cssckmutt.in.th
รูปแสดงโซล่าเซลล์ต่อกับเครื่องอินเวอร์เตอร์
การต่อโซล่าเซลล์เข้ากับระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid)
การใช้โซล่าเซลล์ต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า จะต้องมีการขออนุญาตจากการไฟฟ้า ตาม
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกาหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ.2551 ทั้งนี้อุปกรณ์
ต่างๆ โดยเฉพาะกริดอินเวอร์เตอร์ต้องได้รับการตรวจอนุญาตจากการไฟฟ้า แบ่งได้ ดังนี้
1. เพื่อขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าตามนโยบายกระทรวงพลังงานรับซื้อไฟฟ้าราคาพิเศต Feed In
Tariff หรือ FiT ซึ่งเป็นมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จะต้องมี

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


9

การขออนุญาตผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์ ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Grid Inverter หรือ


Grid Tie Inverter เปลี่ยนกระแสตรงเป็นกระแสสลับทีส่ ามารถเชื่อมต่อกับระบบโครงข่าย
ของการไฟฟ้า และผ่านเครื่องวัดวัดปริมาณไฟฟ้า (Meter) ที่จาหน่ายให้การไฟฟ้า
2. เพื่อลดค่ากระแสไฟฟ้า จะต้องขออนุญาตเป็น “ผู้ขอใช้บริการเชื่อมต่อกับระบบจาหน่าย”
และจะต้องเปลี่ยนมิเตอร์วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าให้เป็นแบบหมุนกลับไม่ได้ นั่นคือหากมี
ปริมาณไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน จะไม่สามารถขายให้กับการไฟฟ้าได้
การนาโซล่าเซลล์ไปใช้งานหากคิดเรื่องความคุ้มทุนอาจไม่คุ้มเท่าไร แต่หากนาไปใช้ในที่ระบบสายส่ง
ของการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง พื้นที่การเกตตร ฯลฯ จะสามารถทดแทนไฟฟ้าจากระบบได้

อุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์
แบตเตอรี (Battery)
แบตเตอรี่ที่ใช้เก็บสารองไฟฟ้าในระบบโซล่าเซลล์ จะต้องเป็นแบบที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเก็บ
ประจุไฟฟ้าได้มาก สามารถจ่ายไฟฟ้าออกได้เป็นเวลานาน มีความทนทาน แบตเตอรีที่เหมาะสมคือแบบ
Deep-Cycle Battery ซึง่ แบตเตอรี่ที่ออกแบบมา ให้สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าได้มาก ประมาณ 60-80
เปอร์เซนต์ ของประจุไฟฟ้าทั้งหมด ก่อนจะทาการชาร์จประจุใหม่ ส่วนใหญ่จะนามาใช้กับ ระบบผลิตพลังงาน
ไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย แบตเตอรี่ชนิดนี้ จะมีราคาที่สูงกว่าแบตเตอรีที่ใช้ในรถยนต์ทั่วไป มีอายุการใช้งาน 4- 5
ปี

Cr. https://solarsmileknowledge.com
รูปแสดง ส่วนประกอบภายในของแบตเตอรีแบบ Deep Cycle

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


10

แบตเตอรี่ deep cycle แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


1. ชนิดน้า หรือ Flooded type deep cycle battery เป็นชนิดมีใช้งานมากที่สุด ในระบบโซ
ล่าเซลล์ คุ้มค่าต่อการลงทุน แต่ก็เป็นชนิดที่ต้องการการบารุงรักตาอย่างสม่าเสมอ เช่น การ
เติมน้ากลั่นหรือ การทาความสะอาดขั้วแบตฯ
2. ชนิดแห้ง หรือชนิดมีวาล์วปรับแรงดันภายใน (Valve Regulated Lead Acid : VRLA) เป็น
แบตเตอรี่ที่มีโครงสร้างเป็นระบบปิด ไม่ต้องการการบารุงรักตา (Free Maintenance)
ควบคุมแรงดันของสารละลายด้วยวาล์วปรับแรงดันที่อยู่ภายใน
ค่าของแบตเตอรีที่ต้องนามาคานวณ
1. ขนาดความจุของแบตเตอรี่ เรียกว่าแอมแปร์อาว ( Ampereminute/hour : Ah) ซึง่ ผู้ผลิต
แจ้งไว้เป็นค่าที่วัดการคายประจุ ที่ในอัตราการคายกระแสเป็นเวลาชั่วโมง เช่น แบตเตอรี่
12V 100Ah หมายถึง แบตเตอรี่ลูกนี้ สามารถจ่ายไฟที่อัตรา 10 A ได้นาน 10 ชั่วโมง (เป็น
การคานวณแบบง่ายๆ อัตรที่แน่นอนต้องพิจารณาที่กราพคุณสมบัติ) ค่าแอมแปร์อาวที่
บริตัทแจ้งจะเป็นค่าที่คิดจากการประจุที่ 20 ชั่วโมง
2. ค่าในการนาเอาความจุที่มีอยู่ออกมาใช้งาน (Depth Of Discharge : DOD) ค่าที่บอกถึง
ความสามารถของแบตเตอรี่ คือ อาจจะบอกเป็นเปอร์เซนต์ หรือ Ah ก็ได้ ยกตัวอย่าง เช่น
แบตเตอรี่เต็มความจุคือ 100% แต่สามารถนาเอาออกมาใช้งานได้เพียง 35% ที่เหลือ 65%
เก็บสารองไว้เพื่อรักตาแบตฯเอาไว้ นั่นคือแบตเตอรี่ลูกนี้มี DOD 35% ค่านี้มีการกาหนดได้
ถึง 60 % เพื่อให้ได้ขนาดของแบตเตอรีน้อย แต่จะมีผลกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
(Use Cycle)

Cr. http://www.champbizshop.com
รูปแสดง ตัวอย่างขนาดแบตเตอรี่แบบ Deep Cycle
อาการที่ทาให้แบตเตอรี่เสื่อม
1. ได้รับการประจุเกิน (Over Charge)
2. จ่ายกระแสไฟฟ้ามากเกิน (Over Discharge)
3. ลัดวงจรไฟฟ้า (Short Curcuit)

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


11

เครื่องควบคุมการประจุแบตเตอรี่ของโซล่าเซลล์ (Solar Charge Controller)


ทาหน้าที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เพื่อประจุให้กับแบตเตอรี่ และทาหน้าที่ตัดต่อ
วงจรการจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่ให้กับโหลด หากแบตเตอรี่มีระดับแรงดันไฟฟ้าต่าเครื่องจะตัด
วงจรโหลดออก และจะต่อวงจรการประจุ

http://www.premiumsolarcell.com/
รูปแสดงชาร์คอนโทรลเลอร์
ชาร์จคอนโทรลเลอร์ จะต่อวงจรระหว่างแผงโซล่าเซลล์กับแบตเตอรี่และโหลด หากแรงดันไฟฟ้าที่อยู่ใน
แบตเตอรี่ต่ากว่าที่ตั้งไว้ เครื่องจะทาการปลดโหลดออกจากระบบโดยทันที (Load disconnect) เพื่อป้องกัน
แบตเตอรี่เสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น ปกติจะตั้งค่าแรงดันการปลดโหลดไว้ที่ประมาณ 11.5 โวลท์(สาหรับแรงดันระบบที่
12 โวลท์) เครื่องควบคุมการชาร์จก็จะต่อการทางานของโหลดใหม่ (Load reconnect) ถ้าแบตเตอรี่มีค่าแรงดันที่
เพิ่มขึ้นตามที่ตั้งไว้ ปกติจะตั้งไว้ที่ 12.6โวลท์ (สาหรับแรงดันระบบ 12 โวลท์) ส่วนแรงดันควบคุมในการประจุ
แบตเตอรี่ (Regulation Voltage) ปกติจะมีค่า 14.3 โวลท์(สาหรับระบบ 12 โวลท์) เมื่อแบตเตอรี่ประจุจนเต็ม
ชาร์จคอนโทรลเลอร์ มี 2 ประเภท คือ PWM (Pulse Width Modulation) และ MPPT (Maximum Power
Point Tracking) มีตั้งแต่ขนาดกระแส 10A – 60A และ แรงดัน 12V 24V 48V หรือ 96V มีราคาตั้งแต่ 300-
30,000 บาท
ข้อควรระวังในการเลือกซื้อคอนโทรลชาร์จโซล่าเซลล์
 ไม่ควรเลือกขนาดของคอนโทรลชาร์จโซล่าเซลล์ใหญ่เกินกว่าที่ระบบต้องการ เพราะมีราคาไม่คุ้มทุน

 แรงดันตรงกับระบบที่เลือกใช้ เช่น 12 V หรือ 24 V

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


12

 ขนาดกระแสของชาร์จคอนโทรลเลอร์ต้องเหมาะสมกับขนาดรวมของแผงโซล่าเซลล์ มิฉะนั้นอาจทาให้
เครื่องควบคุมการชาร์จหรือแบตเตอรี่เสียหายได้ เช่น ชาร์จคอนโทรลเลอร์ ขนาด 12V./10A. จะสามารถใช้
ประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่ 12V. ส่วน 10A. เป็นขนาดของแผงโซล่าร์ที่ใช้ได้โดยสังเกตุจากค่า Imp ของแผง
โซล่าเซลล์

เครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในระบบ (Grid Inverter)


อินเวอร์เตอร์ในที่นี้จะกล่าวถึงเป็นชนิดที่แปลงกระแสไฟฟ้าตรงจากแผงโซล่าเซลล์ หรือไฟฟ้ากระแสตรง
จากแบตเตอรี่ ให้เป็นไฟกระแสสลับที่มีลักตณะเช่นเดียวกับของการไฟฟ้า คือไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ ความถี่
50 เฮิรต์ส (Hz) เพราะต้องการจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้งาน ราคาของอินเวอร์เตอร์จะขึ้นอยู่กับ
ความสามารถ ถ้าสามารถต่อจากแผงโซล่าเซลล์ได้โดยตรงโดยจะมีราคาสูง จะแบ่งได้ 2 ระบบ ดังนี้
1. ระบบสแตนอโลน (Stand-Alone System) หรือระบบอิสระที่ไม่ต่อเข้ากับการไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์
แบบนี้รับพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ในตอนกลางวัน และรับไฟฟ้า
กระแสตรงจากแบตเตอรี่ในเวลากลางคืนจากพลังงานที่ชาร์จไว้โดยแผงโซล่าเซลล์ในเวลากลางวัน
แล้วแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ จ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับต่อไป
2. ระบบออนกริต (On-grid System) หรือระบบที่สามารถต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า มีชื่อ
เรียกอินเวอร์เตอร์ชนิดนี้โดยทั่วไปว่า กริตไทน์อินเวอร์เตอร์(Grid-Tied Inverter) ลักตณะการ
ทางานของอินเวอร์เตอร์ระบบนี้จะเหมือนกับอินเวอร์เตอร์โดยปกติทั่วไปแต่จะต้องมีแรงดันไฟฟ้า
กระแสสลับจากการไฟฟ้าป้อนให้กับอินเวอร์เตอร์อีกทางหนึ่งด้วย ตัวอินเวอร์เตอร์แบบนี้ถึงจะ
ทางาน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์จะถูกใช้ไปกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้าน(สาหรับ
ระบบออนกริตแบบลดภาระค่าไฟฟ้า) หรืออาจจะแปลงไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ป้อนตรง
ให้กับสายส่งเพื่อขายไฟให้กับการไฟฟ้าตามโครงการ VSPP ได้ กริตไทน์อินเวอร์เตอร์ในปัจจุบันจะ
ตัดการทางานตัวมันเองทันทีที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับเพื่อป้องกันไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์
ผ่านไปยังสายไฟของการไฟฟ้าซึ่งจะเป็นอันตรายต่อช่างไฟฟ้าที่จะมาซ่อมได้

Cr. http://www.solar-greenpower.com
รูปแสดง อินเวอร์เตอร์

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


13

อุปกรณ์สาหรับต่อวงจรระบบโซล่าเซลล์
1. สายไฟฟ้าโซล่าเซลล์
การเชื่อมต่อระบบโซล่าเซลล์ ต้องใช้สายไฟฟ้า สาย PV / PV1-F เป็นสายไฟสาหรับไฟ DC
ออกแบบมาเพื่อระบบโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ เป็นสายที่ทาจากทองแดงเคลือบดีบุก หุ้มฉนวน 2 ชั้น
ทดความร้อนสูง มีความสามารถทนอุณหภูมิได้ไม่น้อยกว่า 80 องศาเซลเซียส ซึ่งเรียกสายสาหรับ
โซลาร์เซลล์ ภายในสาย PV1-F ประกอบด้วยสายเส้นเล็กๆ จานวนมาก ทาให้เหมาะกับไฟฟ้า
กระแสตรง (DC) กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี เพราะไฟฟ้าระบบกระแสตรง จะวิ่งที่ขอบของสายไฟเส้น
เล็กๆ มีค่าความสูญเสียการไฟฟ้าน้อยกว่า การเลือกใช้สายจะต้องพิจารณากระแส แรงดัน และ
ระยะทาง การใช้สายยาวมากเกินไปจะทาให้เกิดการสูญเสีย ดังนั้นการติดตัง้ ระบบจะต้องคานวณค่า
การสูญเสียที่ไม่ควรเกิน 0.6 โวลต์ สีของสายที่ใช้ในระบบสายสีแดงใช้เป็นสายไฟบวก ส่วนสายสีดา
หรือสีอื่นๆใช้เป็นสายไฟกราวด์หรือไฟลบ
แรงดันที่สูญเสีย=กระแสไฟฟ้า x [0.02 x ความยาว(ม) / พื้นที่หน้าตัด (มม.2)]

Cr. http://solarcellthailand96.com
รูปแสดง สายไฟฟ้า PV1-F
การเลือกขนาดของสายไฟกระแสตรง DC หรือ PV Cable
กระแส แอมป์ รองรับแรงดันไฟฟ้า ขนาดสาย Sq.mm
30A AC 0.6/1kV; DC 1.8kV PV1-F 1*1.52 mm
41A AC 0.6/1kV; DC 1.8kV PV1-F 1*2.52 mm
55A AC 0.6/1kV; DC 1.8kV PV1-F 1*4.02 mm
70A AC 0.6/1kV; DC 1.8kV PV1-F 1*6.02 mm
98A AC 0.6/1kV; DC 1.8kV PV1-F 1*102 mm
132A AC 0.6/1kV; DC 1.8kV PV1-F 1*162 mm
218A AC 0.6/1kV; DC 1.8kV PV1-F 1*352 mm

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


14

2. ขั้วต่อสายโซล่าเซลล์ MC4 Connector

Cr. https://www.nyxcable.com
รูปแสดง ขั้วต่อสายโซล่าเซลล์
MC4 Connector เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อไฟฟ้า ประกอบด้วยขั้วต่อที่เป็นเต้าเสียบ (plug) กับ
ขั้วต่อที่เป็นเต้ารับ (socket) นิยมใช้สาหรับเชื่อมสายไฟของแผงโซล่าเซลล์เข้าด้วยกัน MC4 นั้นมีชื่อ
ย่อจากชื่อบริตัทผู้ผลิต นั่นคือ บริตัท Multi-Contact ประเทศสหรัฐอเมริกา และ เลข 4 คือ ขนาด
ของหมุดตัวเชื่อม 4 mm2 MC4 เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้สายไฟของแผงโซล่าเซลล์นั้น เชื่อมต่อกันได้
อย่างง่ายดาย เพียงดันตัว Connector ของแผงที่อยู่ติดกันด้วยมือเท่านั้นเอง เพียงแต่ว่าตัว
Connector นี้ ก็จะมีกลไกการล็อคการเชื่อมต่อเข้ากันของสายไฟ เพื่อป้องกันในกรณีที่สายไฟถูกดึง
โดยไม่ตั้งใจ

Cr. https://www.nyxcable.com
รูปแสดง ขั้วต่อ MC4 ตัวเมีย

เต้าเสียบ และเต้ารับนี้จะถูกวางไว้ภายในวัสดุหุ้มที่เป็นพลาสติกที่จะเป็นเพศตรงข้ามกัน โดยเต้าเสียบ


จะใส่ไปในวัสดุหุ้มรูปทรงกระบอกที่คล้ายกับ connector ตัวเมีย แต่เรียกว่าตัวผู้ ส่วนเต้ารับใส่ในหัว
รูปสี่เหลี่ยมที่คล้าย connector ตัวผู้ แต่เรียกว่าตัวเมีย

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


15

Cr. https://www.nyxcable.com
รูปแสดง ขั้วต่อ MC4 ตัวผู้

สาหรับ Connector ตัวเมียนั้น จะมีนิ้วพลาสติก 2 อัน ที่เวลาใส่ต้องกดตรงกลางเล็กน้อย เพื่อที่จะ


แทรกเข้าไปในรูด้านหน้าของ Connector ตัวผู้ เมื่อดันขั้วต่อสายโซล่าเซลล์ทั้งตัวผู้และตัวเมียเข้า
ด้วยกันจะเข้าด้วยกันพอดี การเข้าหัวหมุด (Pin) จะต้องใช้คีมบีบ MC4 โดยเฉพาะเพื่อให้
กระแสไฟฟ้าไหลได้สะดวก

Cr. http://www.thaisolarmarket.com
รูปแสดง การใช้คีมบีบหมุดของ MC4

Cr. http://www.sunnergysolar.com
รูปแสดง ตัวอย่างการใช้ MC4 และชุดฟิวส์

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


16

อุปกรณ์ตัดตอนของระบบโซล่าเซลล์
อุปกรณ์ต่างๆที่เป็นไฟฟ้ากระแสตรงจะต้องใช้อุปกรณ์ที่ผลิตสาหรับไฟฟ้ากระแสตรง โดยเฉพาะ
อุปกรณ์ตัดตอน (Circuit Breaker) AC Circuit Breaker หากนามาใช้กับวงจรระบบของกระแสตรงจะทาให้
เกิดอันตราย การตัดวงจรจะช้ากว่าปกติ จะทาให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์

Cr. http://www.dencosolar.com
รูปแสดง ดีซีเซอร์กิตเบรกเกอร์

การออกแบบเพื่อนาโซล่าเซลล์ไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
การออกแบบเพื่อนาโซล่าเซลล์ไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า จะต้องคานึงถึงตัวแปร ดังนี้
1. กาลังไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์เป็นกาลังไฟฟ้าต่อชั่วโมง เช่นแผงโซล่าเซลล์ 60 วัตต์ รับแสงอาทิตย์ 5
ชั่วโมง(ค่าปกติในประเทศไทย) จะได้พลังงานรวม 300 วัตต์
2. พลังงานจะต้องมีค่าสูญเสีย (Loss) การติดตั้งระบบโดยปกติจะมีค่าสูญเสีย 30 %
3. พลังงานที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จะต้องพิจารณาทั้งขนาดของแผงและสภาพภูมิอากาศของ
สถานที่ติดตั้งแผง เพราะกาลังสูงสุด (วัตต์สูงสุด หรือ Wp) ที่ผลิตจากแผงไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของ
แผงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความสว่างของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบแผงด้วย ดังนั้น การวัดพลังงานที่ได้
จากแผงขนาดใดๆ ต่อวันต้องนาวัตต์สูงสุดของแผงนั้นๆ คูณค่าแฟคเตอร์ของพลังงานที่ผลิตจากแผง
(Panel generation factor : PGF) ซึ่งค่าแฟคเตอร์นี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพภูมิอากาศ
โดยทั่วไปจะใช้ค่า 3.43
ตัวอย่างค่า PGF กับสภาพภูมิอากาศ
 ภูมิอากาศระดับ 1 มีแสงอาทิตย์มากกว่าภูมิอากาศระดับ 2 ค่าแฟคเตอร์เป็น 3.86
 ภูมิอากาศระดับ 2 ภูมิอากาศแบบชายฝั่งเขตร้อน ค่าแฟคเตอร์เป็น 3.43

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


17

 ภูมิอากาศระดับ 3 จะมีเมฆ 5-7 วันเสมอและตามด้วยท้องฟ้าโปร่งอีก 3 วัน ค่าแฟคเตอร์เป็น 3


 ภูมิอากาศระดับ 4 จะมีเมฆ 10 วันขึ้นไปเสมอและมีท้องฟ้าโปร่งนานๆ ครั้ง ค่าแฟคเตอร์เป็น 2.57
การกาหนดขนาดของแผงโซล่าเซลล์
1. คานวณพลังงานรวมที่อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละเครื่องต้องการใช้ใน 1 วัน โดยการนากาลังไฟฟ้า
ของโหลดแต่ละตัวคูณกับระยะเวลาที่ต้องใช้แต่ละตัว
2. คานวณผลรวมของข้อ 1 จะได้ค่าพลังงานทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
3. ค่าจากข้อ 2 x 1.3 (ค่าสูญเสียของระบบ) จะได้พลังงานที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะต้องผลิต
4. ค่าจากข้อ 3 หารด้วยค่าแฟคเตอร์ของพลังงานที่ผลิตได้จากแผง จะได้วัตต์สูงสุดที่ต้องการ
5. พิจารณาแผงโซล่าเซลล์ที่มีอยู่ให้มากกว่าวัตต์สูงสุด
ตัวอย่าง การกาหนดขนาดของแผงโซล่าเซลล์
ต้องการนาปั๊มน้ากระแสตรงขนาด 500 GPH (Gallon Per Hour) วัตต์ 12 โวลต์ กระแส
2.2 แอมป์ ไปใช้ในฟาร์มเลี้ยงปลา เพื่อสูบน้าเข้าถังน้าเฉพาะช่วงกลางวันต้องการหาซื้อแผงโซล่า
เซลล์
1) พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า = 12 โวลต์ x 2.2 แอมป์ x 5 ชั่วโมง
2) = 132 วัตต์-อาว
3) คิดเผื่อค่าสูญเสียระบบแล้ว = 132 วัตต์-อาว x 1.3(ค่าสูญเสียของระบบ) = 171.6 วัตต์-อาว
4) พลังงานที่ต้องการจากแผงโซล่าเซลล์ = 171.6 วัตต์-อาว = 49 วัตต์สูงสุด
3.5 (ค่าแฟคเตอร์ของพลังงาน)
5) เลือกใช้แผงโซล่าเซลล์แบบโมโน ขนาด 50 วัตต์
การกาหนดขนาดของแบตเตอรี่
1. คานวณพลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละเครื่องต้องการใช้ใน 1 วัน
2. คานวณผลรวมของข้อ 1
3. ค่าจากข้อ 2 หารด้วยแรงดันของแบตเตอรี่ หารด้วย 0.40 ซึ่งเป็น % การใช้งานกระแสไฟฟ้า
ที่อยู่ในแบตเตอรี่หรือค่า DOD และหารด้วย 0.85 ซึ่งเป็นประสิทธิภาพของ Inverter (ถ้าใช้
Inverter)
ตัวอย่างต้องการนาโซล่าเซลล์มาใช้จ่ายไฟฟ้า 220 โวลต์ ให้กับหลอดไฟฟ้าขนาด 20 วัตต์
จานวน 2 หลอด เป็นเวลานาน 6 ชั่วโมง ค่าพลังงานรวมคือ 20x2 วัตต์ x 6 ชั่วโมง = 240 วัตต์-อาว
ดังนั้นขนาดของแบตเตอรี่(Ah) = ค่าพลังงานรวม / [แรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่ X 0.40(% การใช้งาน
กระแสไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่) X 0.85 (ประสิทธิภาพของ Inverter)]
= [( 20W X 2 ดวง) X 6 ชั่วโมง] / [12 โวลต์ X 0.35 X 0.85]
= 67.22 Ah
ดังนั้นขนาดของแบตเตอรี่ 12 โวลต์ ทีใ่ ช้ควรจะเป็นขนาดมากกว่า 67.22 Ah ซึ่งควรใช้ 80 Ah

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


18

 ค่า DOD Factor โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 40% - 60% ซึ่งเป็นค่าของแบตเตอรี่แบบน้าถึงแบบ


Free Maintenance

การกาหนดขนาดของเครื่องควบคุมการประจุ (Solar Charge Controller)


ขนาดของชาร์จคอนโทรลเลอร์จะขึ้นอยู่กับขนาดของแผงโซล่าเซลล์ เพราะเราต้องคานวณ
ขนาดของแผงโซล่าเซลล์ก่อน เพราะจะทาให้สามารถใช้ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ได้สูงสุดในการ
ประจุแบตเตอรี แต่เนื่องจากชาร์จคอนโทรลเลอร์จะมีโหลดมาต่ออยู่ด้วยจึงคานึงถึงความปลอดภัยใน
การเริ่มเดินเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าซึง่ ส่วนใหญ่ใช้กระแสมากกว่าขณะทางาน โดยเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้า
ดังนั้นชาร์จคอนโทรลเลอร์ต้องมีขนาดเท่ากับหรือมากกว่ากระแสสูงสุดที่จ่ายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่
ต้องการ รวมถึงกระแสที่เพิ่มขึ้นตอนเริ่มเดินเครื่องด้วย ซึ่งขนาดของชาร์จคอนโทรลเลอร์หาได้จากการ
นาวัตต์สูงสุด ของแผงเซลล์แสงอาทิตย์หารด้วยแรงดันที่แบตเตอรี่ แล้วคูณด้วยค่า Safety Factor ปกติ
จะใช้ค่า ที่ 25%
ระบบที่ไม่มีมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเครื่องควบคุมการประจุควรเท่ากับผลรวมของกระแส
จากอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดคูณด้วย 1.25 (Safety Factor
25%)
ระบบที่มีมอเตอร์ไฟฟ้า กระแสที่มอเตอร์ต้องการตอนเริ่มเดินเครื่องควรเป็น 3 เท่าของ
กระแสที่ใช้ปกติ
ขนาดของชาร์จคอนโทรลเลอร์ = วัตต์สูงสุดของแผงเซลล์แสงอาทิตย์x1.25 (Safety Factor 25%)
ค่าแรงดันของแบตเตอรี่
จากข้อแบตเตอรี่ พลังงานรวม = 240 วัตต์-อาว
พลังงานสูงสุดของแผงโซล่าเซลล์ = 240 x 1.3 = 89.14 (คานวณ) = 90 วัตต์(ขนาดแผง)
3.5
กระแสของชาร์จคอนโทรลเลอร์ = 90 วัตต์ x 1.25 = 9.375 แอมป์
12
ดังนั้น ขนาดของชาร์จคอนโทรลเลอร์จะเป็น 10 แอมป์ เลือกใช้แบบ PWM เพราะโหลด
เป็นหลอดไฟแสงสว่าง

การกาหนดขนาดของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)
แรงดันของอินเวอร์เตอร์จะต้องตรงกับขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้ เช่น 12 หรือ 24 โวลต์ ฯลฯ ที่
ถูกคานวณและออกแบบมาจากกาลังไฟฟ้าที่ต้องใช้มาแล้ว ส่วนขนาดกาลังไฟฟ้าต้องมากกว่าขนาด
กาลังไฟฟ้ารวมที่อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดใช้จากระบบ ถ้ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความเหนี่ยวนา (เช่น มอเตอร์
ไฟฟ้า, ปั๊มน้าและเครื่องซักผ้า ฯลฯ) ให้รวมกาลังไฟฟ้าของไฟกระชากด้วย (มักกาหนดเป็น 2 เท่าหรือ

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


19

มากกว่ากาลังไฟฟ้ารวมที่อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดใช้ในเวลาเดียวกัน) จะได้อัตรากาลังไฟฟ้าที่สามารถนาไป
เลือกขนาดของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมกับระบบได้
ตัวอย่างการคานวณขนาดอินเวอร์เตอร์
ไฟฟลูออเรสเซนต์ จานวน 4 ดวง (18W x 4) เป็นเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน และโทรทัศน์สี
21 นิ้ว (120 W) ใช้ 4 ชั่วโมงต่อวัน
= (4 x 18 x 6) + (120 x 4)
= 912 วัตต์
ควรใช้อินเวอร์เตอร์ขนาด 1,000 วัตต์
 กรณีนี้เป็นโหลดทั่วไปแต่ถ้าพิจารณาแล้วโหลดมีค่าตัวประกอบกาลังเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) เช่น
โหลดที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า จะต้องนาผลที่ได้หารด้วย 0.85 ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์
การบารุงรักษาระบบโซล่าเซลล์
1. การบารุงรักษาแผงโซล่าเซลล์
 ทาความสะอาดคราบสกปรกและฝุ่นที่เกาะบนแผงพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการล้างด้วยน้าสะอาด
และเช็ดคราบสกปรกออก บางครั้งคราบสกปรกจะเป็นพวกยางหรือมูลนกให้ใช้น้าเย็นล้างและขัด
ด้วยฟองน้า ข้อควรระวังในการทาความสะอาดแผงพลังงานแสงอาทิตย์คือ ห้ามใช้แปรงที่มีขนเป็น
โลหะทาความสะอาดผิวของแผงพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ผงซักฟอกและน้ายาใดๆก็ไม่ควรใช้
ในการทาความสะอาดเพราะอุปกรณ์และน้ายาทาความสะอาดดังกล่าวจะทาให้เกิดรอยที่ผิวแผง
พลังงานแสงอาทิตย์ได้ ควรหมั่นล้างทาความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เป็นประจาเพื่อกาจัดฝุ่นผง ขี้นก
หรือวัสดุอื่นๆ ซึ่งมาลดทอนแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบตัวแผง ทาให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้น้อยลงเกือบ
20 เปอร์เซนต์ การล้างทาความสะอาดควรทาเวลาเช้า ไม่ควรทาเวลากลางวัน เพราะเมื่อกระจก
แผงที่ร้อนเจอกับน้าเย็น อาจจะทาให้กระจกแตกได้ นอกจากนี้ไม่ควรใช้วัสดุที่เป็นฝอยมาขัดคราบ
สกปรกบนกระจกแผงเพราะอาจจะทาให้กระจกเป็นรอยได้

Cr. http://www.greenenergy.co.th
รูปแสดง การล้างทาความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ ต้องใช้น้าสะอาดเท่านั้น

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


20

 ตรวจสอบดูสภาพแผงพลังงานแสงอาทิตย์ว่ายังมีสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ เช่น รอยร้าว, รอยแตก,


รอยฝ้าบริเวณผิว, มีรอยรั่วของน้าภายในผิวแผงพลังงานแสงอาทิตย์ และ สีของแผงเปลี่ยน เป็นต้น
ให้มีการจดบันทึกและสังเกตการณ์สิ่งผิดปรกติต่าง ๆ ถ้าประสิทธิภาพลดลง อาจจะมีการซ่อมบารุง
หรือเปลี่ยนแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีปัญหาดังกล่าว
 ควรตรวจเช็คระบบโซล่าเซลล์ว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติ ตรวจเช็คทุกวัน หรืออย่างน้อย
สัปดาห์ละครั้ง
 ควรตรวจสอบส่วนที่ยึดโซล่าเซลล์ โครงเหล็ก น๊อตและสกรูต่างๆให้แน่นหนาดีอยู่เสมอ
 ควรตรวจเช็คขั้วต่อและจุดเชื่อมของสายไฟจุดต่างๆว่ามีการคลายตัวของขั้วต่อหรือไม่ ถ้ามีควรขัน
สกรูเชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าให้แน่น(ถ้าจะขันสกรูจาเป็นต้องปิดไฟฟ้าในระบบเสียก่อน หรือใช้
เครื่องมือที่มีฉนวนสามารถป้องกันไฟฟ้า)
 ตรวจตรารอบๆและเช็คดูว่าสายไฟที่อยู่ในระบบมีการชารุดเสียหายหรือไม่ ถ้ามีให้ดาเนินการ
เปลี่ยนทันที เพราะสายไฟฟ้าที่เสียหายอาจทาให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้

Cr.http://essgllc.com
รูปแสดง แผงโซล่าเซลล์ร้าวเพราะสะเก็ดหินตกใส่

2. การบารุงรักษาตัวแปลงกระแสไฟฟ้าและระบบควบคุมต่างๆ (Inverter and Controller)


ระบบแปลงกระแสไฟฟ้าและระบบควบคุมต่าง ๆ ควรมีสภาพที่สะอาดปราศจากฝุ่นเกาะสะสม ฉะนั้น
ควรใช้ผ้าแห้งเช็คทาความสะอาดฝุ่นที่เกาะอุปกรณ์เหล่านี้ และใช้ไฟฉาย LED ส่องดูในช่องที่ตรวจสอบได้ยาก
เช่น รอยต่อต่างๆ ภายในอุปกรณ์ว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ หากมีสภาพที่ไม่พร้อมใช้งานหรือชารุด เช่น
สายไฟมีการหลุดออกมา ถ้าตรวจพบให้ทาการแก้ไขให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ต้องตรวจสอบกล่องที่ครอบอุปกรณ์
ควบคุมต่าง ๆ นี้ต้องไม่มีแมลงหรือหนูมาทารัง หากมีให้กาจัดทิ้งเพื่อป้องกันแมลงและหนูมาทาให้ระบบมีปัญหา
3. การบารุงรักษาระบบสายไฟและระบบเชื่อมต่อต่างๆ (Wiring and Connections)
การตรวจสอบระบบสายไฟและระบบเชื่อมต่อต่าง ๆ นั้นควรตรวจสอบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีสภาพที่บ่ง
บอกถึงความไม่สมบูรณ์หรือชารุดหรือไม่ เช่น รอยร้าว รอยแตก ความเสื่อมสภาพของฉนวนและท่อ รอยกัด

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


21

กร่อนต่าง ๆ รอยไหม้ การเกิดประกายไฟตอนสับสวิตช์ไฟ สภาพของสายดิน เป็นต้น หากเกิดปัญหาดังกล่าวให้


แจ้งผู้ที่มาติดตั้งมาซ่อมบารุงให้เร็วที่สุดเท่าที่ทาได้
4. การบารุงรักษาแบตเตอรี่ (Battery, The system with Battery Back-up)
แบตเตอรี่ใช้ในระบบที่ต้องการสารองไฟฟ้าเอาไว้ใช้งานนั้น ต้องมีการตรวจสอบสภาพแบตเตอรี่ เช่น
ปริมาณสารละลายอิเล็กโทรไลท์ รอยแตกร้าวบริเวณก้อนแบตเตอรี่ รอยกัดกร่อนบริเวณขั้วแบตเตอรี่ ระดับ
แรงดันของแบตเตอรี่ เป็นต้น แบตเตอรี่ที่มีสภาพดีควรสะอาด ไม่มีฝุ่นหรือคราบสกปรก และไม่ควรมีรอยกัด
กร่อน และการรั่วของสารละลายอิเล็กโทรไลท์ การเกิดปัญหาที่กล่าวมาให้ทาการซ่อมบารุงดังนี้
 หากปริมาณสารละลายอิเล็กโทรไลท์น้อยเกินไปให้ทาการเติมสารละลายเข้าไปเพิ่มให้อยู่ในระดับที่
ใช้งานปรกติ
 การเกิดรอยกัดกร่อนบริเวณขั้วให้ทาความสะอาดซึ่งลักตณะการกัดกร่อนบริเวณขั้วจะเป็นคราบสี
ขาว โดยปรกติให้ทาความสะอาดเดือนละครั้ง
 ระดับแรงดันของแบตเตอรี่ควรมีการตรวจสอบระดับแรงดันไฟฟ้าอย่างสม่าเสมอ เมื่อมีความ
ผิดปรกติให้ทาการตรวจสอบ ซ่อมบารุง หรือเปลี่ยนก้อนแบตเตอรี่นั้น

Cr.https://solarsmileknowledge.com
รูปแสดง การเติมน้ากลั่นแบตเตอรี่ (ห้ามใช้น้าดื่ม) ในสถานีผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์

 ตรวจเช็คสายไฟฟ้าตรงขั้วแบตเตอรี่ให้แน่นอยู่เสมอ ถ้ามีการคลายตัว ควรขันให้แน่น


 สาหรับแบตเตอรี่แบบ Seal Lead-Acid(หรือแบบไม่ต้องเติมน้ากลั่น) ช่วงระยะเวลาหนึ่งควรจะมี
การใช้ไฟฟ้าที่เก็บอยู่ในแบตเตอรี่บ้าง ถ้าแบตเตอรี่ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นเวลานานๆจะทาให้แบตเตอรี่
ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
 สาหรับแบตเตอรี่แบบ Flooded Lead-Acid (หรือแบตเตอรี่ที่ต้องเติมน้ากลั่น) ควรเติมน้ากลั่น
เป็นประจาอย่างน้อยทาๆ 1เดือน อย่าให้น้ากลั่นในแบตเตอรี่แห้ง อายุการใช้งานจะสั้นลง และ
ทุกๆ 3-4 เดือนควรจะมีการกระตุ้นแบตเตอรี่โดยวิธีการที่เรียกว่า Equalization(การชาร์จ
แบตเตอรี่ด้วยแรงดันไฟฟ้าที่มากกว่าปกติ ซึ่งค่าแรงดันไฟฟ้าจะขึ้นอยู่ที่ผู้ผลิตแบตเตอรี่แต่ละราย)
เพื่อจะทาให้ประจุแบตเตอรี่แบบน้ามีการแลกเปลี่ยนปฏิกิริยาทางเคมีภายใน ทาให้กลับมาคง
สถานะสมดุลอีกครั้ง ช่วยยืดอายุแบตให้ยาวนานขึ้น

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


22

เครื่องมือวัด
เครื่องมือวัดที่นิยมใช้ในงานช่างที่มีราคาถูกและทนทานคือมัลติมิเตอร์(Multimeter) เกิดจากคา 2 คาผสม
กัน นั่นคือ Multi ซึ่งแปลว่า หลากหลาย มากมาย ส่วน Meter หมายถึง เครื่องวัด เมื่อนาสองคามารวมกันคือ
เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ซึ่งสามารถวัดได้หลายค่า เช่น ค่าแรงดัน(Voltage) ค่ากระแส (Current) ค่าความต้านทาน
(Resistance) บางรุ่นสามารถวัด frequency,ค่า Diod หรือค่าอื่นๆภายในเครื่องเดียวได้ด้วย
การแสดงผลของมัลติมิเตอร์แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters) กับ มัล
ติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeters) แต่ที่นิยมใช้คือมัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters)
เพราะจะให้มิติในการแสดงผลได้ดีกว่า โดยทั่วไปแล้วมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณต่อไปนี้ ความต่างศักย์
กระแสตรง (DC voltage)- ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage)- ปริมาณกระแสตรง (DC current)- ความ
ต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance) อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์บางแบบสามารถใช้วัดปริมาณอื่น ๆ ได้อีก เช่น
กาลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (AF output) การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC current
amplification, hFE) กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (leakage current, lCEO) ความจุทางไฟฟ้า (capacitance) ฯลฯ
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม มีลักตณะดังภาพข้างล่าง

Cr.https://www.pballtechno.com
รูปแสดง มัลติมิเตอร์แบบเข็ม

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


23

หมายเลข 1 indicator Zero Conector มีหน้าที่ตั้งค่าเข็มให้อยู่ตาแหน่ง 0 หรือตาแหน่งอื่นๆที่


ต้องการ
หมายเลข 2 Indicator Pointer หรือ เข็มชี้บ่ง มีหน้าที่ชี้บ่งปริมาณต่างๆ
หมายเลข 3 Indicator Scale สเกลต่างที่อยู่บนหน้าปัดของมิเตอร์
หมายเลข 4 Continuity Indicating LED ( CONTINUITY ) เป็นหลอด Led ที่เปล่งแสงบ่งบอกความ
ต่อเนื่อง
หมายเลข 5 Range Selector Switch knob ลูกบิดปรับเลือกค่าที่ต้องการวัด
หมายเลข 6 0-ohms adjusting knob /0- centering meter ปุ่มปรับตั้งค่าความต้านทานให้อยู่
ตาแหน่ง 0 หรือตาแหน่งที่ต้องการ
หมายเลข 7 Measuring Terminal + เทอร์มินอลไฟบวก
หมายเลข 8 Measuring - COM เทอร์มินอลไฟลบ หรือ common
หมายเลข 9 Series Terminal Capacitor OUTPUT ใช้วดั ค่าแรงดันกระแสสลับ
หมายเลข 10 Panel หรือ หน้าปัดมิเตอร์
หมายเลข 11 Rear Case หรือ กรอบมิเตอร์

หน่วยวัดทางไฟฟ้า
1. โวลท์ ใช้ตัว V (มาจากคาว่า Volt) คือหน่วยของ “แรงดันไฟฟ้า” หรือ “แรงเคลื่อนไฟฟ้า” หรือ
“ความต่างศักย์ไฟฟ้า” ใช้ตัวอักตร “E” แทนสูตรในการคานวณ การวัดค่าแรงดันไฟฟ้า ใช้โวลต์
มิเตอร์วัดคร่อมอุปกรณ์ที่จะวัด

Cr.http://www.electron.rmutphysics.com
รูปแสดง การใช้โวลต์มิเตอร์วัดค่าแรงดันไฟฟ้า
2. แอมป์ ใช้ตัว A (มาจากคาว่า Ampere) คือหน่วยของ “กระแสไฟฟ้า” ใช้ตัวอักตร “I” แทนสูตร
ในการคานวณ การวัดค่ากระแสไฟฟ้า ใช้แอมป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้า

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


24

Cr.http://www.electron.rmutphysics.com
รูปแสดง การใช้แอมป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้า

3. โอมห์ ใช้ตัว  (มาจากคาว่า Ohm) คือหน่วยของ “ความต้านทานไฟฟ้า” ใช้ตัวอักตร “R”


แทนสูตรในการคานวณ การวัดค่าความต้านทาน ใช้โอห์มมิเตอร์วัดคร่อมในขณะไม่มีการจ่ายไฟ
และต้องไม่มีวงจรอื่นๆเกี่ยวข้อง

Cr.http://www.electron.rmutphysics.com
รูปแสดง การใช้โอมห์มิเตอร์วัดค่าความต้านทาน

4. วัตต์ ใช้ตัว W (มาจากคาว่า Watt) คือหน่วยของ “กาลังไฟฟ้า” ใช้ตัวอักตร “P” แทนสูตรในการ


คานวณ การวัดค่า ใช้เครื่องวัดที่ต้องต่อแรงดันและกระแส

สูตรคานวณทางไฟฟ้า
แรงดัน (โวลท์) = กระแส (แอมป์) X ความต้านทาน(โอห์ม) หรือ E = I x R
กาลังไฟฟ้า (วัตต์) = กระแส (แอมป์) X แรงดัน (โวลท์) หรือ P = E x I
กาลังไฟฟ้า (วัตต์) = พลังงานไฟฟ้า (จูล;วัตต์-วินาที) / เวลา (วินาที) หรือ P = W/t

 VSPP ย่อมาจาก Very Small Power Producer คือ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก สาหรับในประเทศไทยเราก็


กาหนดเอาไว้ที่กาลังผลิตน้อยกว่า 10 MW
 ผู้ขอใช้บริการเชื่อมต่อกับระบบจาหน่าย 1 เฟส สามารถจ่ายไฟหรือรับไฟจากระบบได้ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


25

บรรณานุกรม

1. การดูแลและบารุงรักตาระบบอุปกรณ์ต่างๆในระบบโซล่าเซลล์. [ระบบออนไลน์]. แหล่งทีม่ า


https://solarsmileknowledge.com (18 กุมภาพันธ์ 2560).
2. การบารุงรักตาระบบโซล่า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://ienergyguru.com (18 กุมภาพันธ์
2560).
3. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเซลล์แสงอาทิตย์. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.thaisolarfuture.com/ (18 กุมภาพันธ์ 2560).
4. ดูแลรักตา โซล่าเซลล์ แบบ ออนกริด. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
https://www.madguidepower.com (18 กุมภาพันธ์ 2560).
5. สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (SOLARTEC) . [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.solartec.or.th (18 กุมภาพันธ์ 2560).
6. ศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลแสงอาทิตย์ สจล. . [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
www.cssckmutt.in.th/cssc/cssc_training/doc/Designer_CH1toCH5.pdf (18 กุมภาพันธ์
2560).
7. พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักต์พลังงาน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา www.dede.go.th (18
กุมภาพันธ์ 2560).

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


26

โจทย์การนาแผงโซล่าเซลล์ไปใช้งาน
1. หาขนาดและชนิดของแผงโซล่าเซลล์เพื่อนาไปใช้ต่อตรงกับปั๊มน้าดีซี 24 โวลต์ ขนาด 180 วัตต์ เพื่อต่อปั๊ม
น้าการเกตตร

Cr.http://www.pajonpai.com
2. ออกแบบไฟถนนหรือไฟในสวน กาลังส่องสว่าง 20 วัตต์ ให้ส่องสว่างโดยอัตโนมัติ โดยใช้แบตเตอรี่แบบ
Free Maintenance

Cr. http://www.ledhomesolar.com
3. ออกแบบระบบไฟสาหรับป้ายโฆตณาที่ต้องไปนาติดตั้งในที่ไม่สามารถต่อไฟฟ้าใช้ได้

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


27

4. ออกแบบระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่สายส่งของการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

Cr. http://www.solarcellcity.com

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


28

ภาคผนวก

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


29

ใบงานที่ 1
การใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์

1. จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือวัดชนิดมัลติมิเตอร์วัดค่าแรงดันไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ในสภาพความเข้มแสง
ต่างๆ
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1) แสดงการใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงได้ถูกต้อง
2) ตั้งย่านวัดมัลติมิเตอร์ได้ถูกต้อง
3) วัดขั้วบวกและลบได้ถูกต้อง
4) อ่าน และบันทึกค่าแรงดันไฟฟ้าได้ถูกต้อง
5) ตั้งองศาของแผงโซล่าเซลล์ให้มีแรงดันไฟฟ้าสูงสุด
3. สมรรถนะรายหน่วย
ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซล่าเซลล์
4. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
1) มัลติมิเตอร์
2) แผงโซล่าเซลล์
3) สาย และขั้วต่อของระบบโซล่าเซลล์
4) เครื่องมือของโซล่าเซลล์

CR. http://ebook.pc-lover.com
รูปแสดง สวิตช์ปรับย่านวัดของมัลติมิเตอร์

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


30

5. ลาดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1) ปรับย่านวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่ย่าน DCV Volt เลือกย่านวัดให้เหมาะสม
2) นาสายวัดขั้วบวก และขั้วลบ วัดที่ขั้วบวก และขั้วลบของกล่องขั้วสายของแผงโซล่าเซลล์
3) อ่านค่าแรงดันไฟฟ้าที่ได้ ............................ โวลท์
4) ปรับมุมแผงโซล่าเซลล์ให้ได้แรงดันไฟฟ้าสูงที่สุด เท่ากับ ................... โวลท์
6. ข้อควรระวัง
1) การปรับย่านวัดไม่ถูกต้องอาจทาให้มัลติมิเตอร์เสียหาย
2) ขั้วบวก-ลบสลับกันจะทาให้เข็มของมัลติมิเตอร์ตีกลับ

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


31

ใบงานที่ 2
การต่อแผงโซล่าเซลล์กับโหลดปั๊มน้า

1. จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้สามารถต่อวงจรแผงโซล่าเซลล์กับโหลด
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1) แสดงการต่อแผงโซล่าเซลล์กับโหลด
2) ต่อวงจรแผงโซล่าเซลล์กับโหลดปั๊มน้ากระแสตรง
3) อ่านค่าแรงดันไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์เมื่อไม่ต่อโหลด และต่อโหลด
4) อ่านค่า บันทึก และวิเคราะห์ค่าแรงดันและค่ากระแสไฟฟ้า
3. สมรรถนะรายหน่วย
1) ต่อแผงโซล่าเซลล์กับโหลดกระแสตรงให้โหลดสามารถทางานได้เมื่อมีความเข้มแสงอาทิตย์เพียงพอ
2) วิเคราะห์แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า เมื่อต่อโหลดให้สามารถทางานได้
4. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
1) แผงโซล่าเซลล์
2) ปั๊มน้ากระแสตรง (DC Pump)
3) มัลติมิเตอร์
4) แอมป์มิเตอร์
5) สาย และขั้วต่อของระบบโซล่าเซลล์
6) เครื่องมือของโซล่าเซลล์

Cr. http://www.nsthai.com/
รูปแสดงการต่อแผงโซล่าเซลล์กับโหลดปั๊มน้า

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


32

5. ลาดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1) ต่อวงจรแผงโซล่าเซลล์เข้ากับปั๊มน้า
2) ใช้มัลติมิเตอร์ต่อวัดแรงดันไฟฟ้าสูงที่สุด เท่ากับ ................... โวลท์
3) ต่อแผงโซล่าเซลล์เข้ากับโหลดโดยต่อผ่านแอมป์มิเตอร์
4) ใช้มัลติมิเตอร์ต่อวัดแรงดันไฟฟ้าขณะต่อโหลด เท่ากับ ................... โวลท์
5) อ่านค่าแอมป์มิเตอร์ได้ เท่ากับ............................ แอมป์
6) วิเคราะห์แรงดัน และกระแสที่วัดได้
6. ข้อควรระวัง
1) การต่อขั้วบวก-ลบของแผงโซล่าเซลล์กับโหลดไม่ถูกต้องอาจทาให้โหลดเสียหาย
2) การปรับย่านวัดไม่ถูกต้องอาจทาให้มัลติมิเตอร์เสียหาย
3) การต่อขั้วบวก-ลบของมัลติมิเตอร์สลับกันจะทาให้เข็มของมัลติมิเตอร์ตีกลับ

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


33

ใบงานที่ 3
การต่อแผงโซล่าเซลล์กับแบตเดอรี่ผ่านชาร์จคอนโทรลเลอร์

2. จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้สามารถต่อวงจรแผงโซล่าเซลล์กับแบตเตอรี่โดยผ่านตัวควบคุมได้อย่างถูกต้อง
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1) แสดงการต่อแผงโซล่าเซลล์กับแบตเตอรี่โดยผ่านตัวควบคุม
2) ต่อวงจรแผงโซล่าเซลล์กับแบตเตอรี่โดยผ่านชาร์จคอนโทรลเลอร์ได้ถูกต้อง
3) ปรับค่าชาร์จคอนโทรลเลอร์ได้ถูกต้อง
4. สมรรถนะรายหน่วย
1) ต่อแผงโซล่าเซลล์กับแบตเดอรี่ผ่านชาร์จคอนโทรลเลอร์ได้อย่างถูกต้อง
2) ปรับตั้งค่าชาร์จคอนโทรลเลอร์ให้แบตเตอรี่มีการชาร์จอย่างปลอดภัย
5. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
1) แผงโซล่าเซลล์
2) ชาร์จคอนโทรลเลอร์
3) แบตเตอรี่
4) มัลติมิเตอร์
5) สาย และขั้วต่อของระบบโซล่าเซลล์
6) เครื่องมือของโซล่าเซลล์

Cr. http://m.pchome.co.th
รูปแสดงการต่อชาร์จคอนโทรลเลอร์

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


34

6. ลาดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1) ต่อวงจรแผงโซล่าเซลล์เข้ากับชาร์จคอนโทรลเลอร์
2) ต่อแบตเตอรี่เข้ากับชาร์จคอนโทรลเลอร์
3) ต่อหลอดไฟฟ้ากระแสตรงเข้ากับชาร์จคอนโทรลเลอร์
4) ปรับตั้งค่าชาร์จคอนโทรลเลอร์
5) สังเกตุการทางานของชาร์จคอนโทรลเลอร์
6) วิเคราะห์การทางานของชาร์จคอนโทรลเลอร์
7. ข้อควรระวัง
1) การต่อขั้วบวก-ลบของแผงโซล่าเซลล์กับชาร์จคอนโทรลเลอร์ไม่ถูกต้องอาจทาให้เกิดการเสียหาย
2) การต่อขั้วบวก-ลบของแบตเตอรี่กับชาร์จคอนโทรลเลอร์ไม่ถูกต้องอาจทาให้เกิดการเสียหาย

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


35

ใบงานที่ 4
การต่ออินเวอร์เตอร์กับวงจรระบบแผงโซล่าเซลล์

1. จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้สามารถต่ออินเวอร์เตอร์กับวงจรระบบแผงโซล่าเซลล์ได้อย่างถูกต้อง
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1) แสดงการต่ออินเวอร์เตอร์กับวงจรระบบแผงโซล่าเซลล์
2) ต่ออินเวอร์เตอร์กับแบตเตอรี่ได้ถูกต้อง
3) ต่อโหลดเข้ากับอินเวอร์เตอร์ได้อย่างถูกต้อง
3. สมรรถนะรายหน่วย
ต่ออินเวอร์เตอร์กับวงจรระบบแผงโซล่าเซลล์ให้โหลดทางานได้
4. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
1) แผงโซล่าเซลล์
2) ชาร์จคอนโทรลเลอร์
3) แบตเตอรี่
4) อินเวอร์เตอร์
5) มัลติมิเตอร์
6) สาย และขั้วต่อของระบบโซล่าเซลล์
7) เครื่องมือของโซล่าเซลล์

Cr. http://infinityelectricpower.blogspot.com
รูปแสดงการต่ออินเวอร์กับระบบโซล่าเซลล์เพื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


36

5. ลาดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1) ต่อวงจรแผงโซล่าเซลล์เข้ากับชาร์จคอนโทรลเลอร์
2) ต่อแบตเตอรี่เข้ากับชาร์จคอนโทรลเลอร์
3) ต่อหลอดไฟฟ้ากระแสตรงเข้ากับชาร์จคอนโทรลเลอร์
4) ปรับตั้งค่าชาร์จคอนโทรลเลอร์
5) ต่ออินเวอร์เตอร์กับแบตเตอรี่
6) ต่อโหลดเข้ากับอินเวอร์เตอร์
7) วิเคราะห์การทางานของต่ออินเวอร์เตอร์
6. ข้อควรระวัง
1) การต่อขั้วบวก-ลบของแผงโซล่าเซลล์กับชาร์จคอนโทรลเลอร์ไม่ถูกต้องอาจทาให้เกิดการเสียหาย
2) การต่อขั้วบวก-ลบของแบตเตอรี่กับชาร์จคอนโทรลเลอร์ไม่ถูกต้องอาจทาให้เกิดการเสียหาย
3) การต่อขั้วบวก-ลบระหว่างแบตเตอรี่กับอินเวอร์เตอร์ไม่ถูกต้องอาจทาให้อินเวอร์เตอร์เสียหาย
4) การต่อโหลดที่ใช้กาลังไฟฟ้ามากกว่ากาลังของอินเวอร์เตอร์จะทาให้อิเวอร์เตอร์เสียหาย

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


37

ใบงานที่ 5
การออกแบบระบบแผงโซล่าเซลล์

1. จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้สามารถออกแบบระบบแผงโซล่าเซลล์
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1) แสดงการออกแบบระบบโซล่าเซลล์
2) คานวณหาขนาดของแผงโซล่าเซลล์
3) คานวณหาขนาดของแบตเตอรี่
4) คานวณหาขนาดของชาร์จคอนโทรเลอร์
5) คานวณหาขนาดของอินเวอร์เตอร์
3. สมรรถนะรายหน่วย
1) ออกแบบระบบโซล่าเซลล์ให้สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ได้
2) ประมาณการรายการวัสดุ อุปกรณ์ และค่าติดตั้ง เพื่อเสนอลูกค้า
4. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
1) เครื่องคิดเลข
2) รายการและราคาของแผงโซล่าเซลล์
3) รายการและราคาของแบตเตอรี่
4) รายการและราคาของชาร์จคอนโทรเลอร์
5) รายการและราคาของอินเวอร์เตอร์
6) รายการและราคาของระบบโซล่าเซลล์
5. ลาดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1) สารวจหาความต้องการ
2) กาหนดโหลด
3) คานวณหาขนาดของแผงโซล่าเซลล์
4) คานวณหาขนาดของแบตเตอรี่
5) คานวณหาขนาดของชาร์จคอนโทรเลอร์
6) คานวณหาขนาดของอินเวอร์เตอร์
7) กาหนดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในระบบ
8) จัดทาประมาณการรายการวัสดุ อุปกรณ์ และค่าติดตั้ง

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง


38

6. ข้อควรระวัง
1) การเลือกชนิด ขนาด และราคาของอุปกรณ์ที่สูงหรือต่าเกินไป
2) การเลือกวัสดุ อุปกรณ์ ไม่มีคุณภาพ จะทาให้ในระยะยาวระบบจะเกิดความเสียหาย

การใช้งานแผงโซล่าเซลล์ สุบิน แพทย์รัตน์ (subinpet@gmail.com). เรียบเรียง

You might also like