SUITE Proposal

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 54

1.

หลักการและเหตุผล

การลงทุนในต่างประเทศนั้นมีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนยังประเทศตลาดใหม่ อย่างไรก็ตาม ไทย
จำเป็ นต้องมีแผนในการลงทุนยังประเทศตลาดใหม่ที่เหมาะสม และคุ้มค่า
เฉกเช่นที่หลายประเทศ อาทิ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ได้ดำเนินมาก่อนหน้า
ไทยในสมัยที่ทั้ง 3 ประเทศนี้อยู่ในภาวะทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับไทยใน
ปั จจุบัน อนึ่ง การลงทุนยังต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดใหม่นั้น ข้อมูล
เป็ นสิ่งสำคัญ ซึ่งทุกประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมการออกไปลงทุนยังต่าง
ประเทศนั้น ต่างก็ให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งสิ้น ดังจะกล่าวต่อไป ดังนี้

ความสำคัญของการลงทุนต่างประเทศ
การลงทุนต่างประเทศมีความจำเป็ นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
เพราะเป็ นการสร้างภูมิคุ้มกันและความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจไทย กล่าว
คือ เป็ นเครื่องมือในการขยับขยายหาตลาดใหม่เพื่อนำรายได้จากต่าง
ประเทศกลับสู่มาตุภูมิ ซึ่งตลาดใหม่เป็ นที่ที่เศรษฐกิจเริ่มตั้งตัวจึงมีการ
แข่งขันไม่เข้มข้น และสินค้าและบริการหลากหลายรายการยังต้องพึ่งพา
การนำเข้า ส่วนข้อดีอีกประการ คือ สามารถสร้างเสถียรภาพให้กับภาค
การผลิตของไทย โดยทำให้ภาคเอกชนสามารถรับมือกับการขยับตัวสูงขึ้น
ของต้นทุนการผลิตภายในประเทศซึ่งกำลังเป็ นปั ญหาที่ไทยเผชิญ อัน
สะท้อนจากการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตจากไทยไปสู่ประเทศใกล้เคียง
ของทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติ อย่างไรก็ตาม การออกไปลงทุนใน
ประเทศตลาดใหม่ไม่ใช่สิ่งที่พึงกระทำได้ทันทีทันใด เนื่องจากไทยไม่ใช่
ประเทศขนาดใหญ่ที่สามารถเลือกลงทุนแบบลองผิดลองถูกดั่งสำนวน “โ
ยนหินถามทาง” ได้ ฉะนั้น แนวทางการลงทุนของไทยจึงต้องอาศัยการ
ศึกษาข้อมูลของประเทศเหล่านั้นอย่างถี่ถ้วนเพื่อทราบแนวทางการลงทุน
ที่เหมาะสมกับธุรกิจของไทยอย่างแท้จริง
กล่าวในอีกแนวทางหนึ่ง คือ เมื่อเศรษฐกิจเติบโตถึงจุดอิ่มตัวจะส่ง
ผลให้สินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นภายในประเทศไม่เป็ นที่ต้องการ
และ/หรือมีการแข่งขันที่สูง ราคาของสินค้าและบริการนั้นๆ ก็ลดต่ำลง
กระทั่งส่วนต่างรายได้ไม่เป็ นที่น่าพึงพอใจสำหรับผู้ประกอบการ ครั้นจะ
นำสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ราคาก็แพงเกินเอื้อมสำหรับ
ประชาชนในประเทศนั้นๆ เพราะต้นทุนการผลิตและการขนส่งที่สูง แต่
การออกไปลงทุนประชิดหรืออยู่ภายในตลาดจะทำให้การบริหารจัดการ
ทรัพยากรเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือ อยู่ใกล้วัตถุดิบ และแรงงาน
เป็ นต้น ทำให้สินค้าและบริการมีราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดนั้นๆ
รวมไปถึงตลาดใกล้เคียง แต่ความท้าทายในการออกไปลงทุน คือ ความ
เข้าใจต่อตลาดอย่างถ่องแท้เพราะแต่ละตลาดย่อมมีคุณสมบัติเฉพาะ ซึ่ง
หากเข้าใจคลาดเคลื่อนจะทำให้ตลาดใหม่ที่เป็ นโอกาสต่อการขยายธุรกิจ
พลิกเป็ นอุปสรรคโดยปริยาย ดังนั้น ไทยเป็ นประเทศที่มีขนาด GDP
ประมาณ 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในลำดับที่ 27 ของโลก ในปี
2015 จากการจัดอันดับของธนาคารโลก หากจะลงทุนแบบสุ่มพื้นที่อาจ
ไม่เหมาะสม ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปลงทุนยังตลาดใหม่จึงต้องมีการจัด
ทำข้อมูลที่มีความพร้อมที่สุด

สำหรับแนวโน้มการออกไปลงทุนต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องนับจากปี 2006 ถึง 2015 แต่อาจผันผวนเล็กน้อยในปี 2014
จากสถานการณ์เศรษฐกิจในยุโรป ณ ขณะนั้น ดังปรากฎในรูปภาพที่ 1
โดยความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ประชาชาติต่อหัวกับการออกไปลงทุนต่าง
ประเทศเป็ นไปในทิศทางบวก

รูปภาพที่ 1: ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนโดยตรงยังต่างประเทศ
และรายได้ประชาชาติต่อหัว
15,000.00 8,000.00
การลงทุนโดยตรงยังต่าง
10,000.00
4,000.00 ประเทศ
5,000.00
- - (แกนตั้งด้านซ้ายมือ
06 08 10 12 14 หน่วย: ล้านดอลล...
20 20 20 20 20
ที่มา: ธนาคารโลก (2016)

ในส่วนของการพิจารณารายอุตสาหกรรม สังเกตรูปภาพที่ 2 พบว่า


การลงทุนต่างประเทศของไทยส่วนใหญ่เป็ นการออกไปแสวงหาทรัพยากร
รองลงมาจึงเป็ นด้านการลงทุนในสินค้าขั้นกลางและขั้นปลาย เหล่านี้จึง
สามารถอนุมานได้ว่าผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมพอสมควรในการ
ออกไปแสวงหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ

รูปภาพที่ 2: มูลค่าการลงทุนสะสมในต่างประเทศของไทยจำแนกตาม
ประเภทของกิจการ ณ ปี 2012 (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
13,723
Finance 8,483
4,849
Wholesale and retail trade 4,581
2,810
Unspecified secondary 2,118
1,836
Machinery and equipment 1,532
1,173
Textiles, clothing and leather 586
- 5,000 10,000 15,000

ที่มา: UNCTAD (2012)

ทำไม emerging countries ?


ในการลงทุนยังต่างประเทศนั้น มีเหตุผลสำคัญอยู่ 5 ประการ คือ
ประสิทธิภาพ ทรัพยากร การเทคโนโลยีและองค์ความรู้ ตลาด และ
นโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งหากเปรียบเทียบระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว กับ
ประเทศตลาดใหม่นั้นจะพบข้อแตกต่างกล่าวคือ

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็ นตลาดเก่าของไทยนั้น การไปลงทุน


ยังประเทศเหล่านี้ อาจได้ เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงสิทธิบัตร
ต่างๆ จากการซื้อกิจการ ควบรวม หรือ อื่นๆ รวมถึงจะส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงขึ้นอันเกิดจากทั้งเทคโนโลยีใหม่ หรือ การ
จัดการที่มีประสิทธิภาพขึ้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม ประเทศตลาดเก่านั้น มัก
จะเป็ นตลาดเดิม ส่วนทรัพยากรต่างๆ ก็มักจะเริ่มร่อยหรอลง เฉกเช่น
เดียวกับไทยแล้ว จุดประสงค์ในการไปลงทุนยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่ง
เป็ นตลาดเก่าของไทย จึงไม่ใช่ด้าน ตลาด และทรัพยากร
ส่วนประเทศที่เป็ นตลาดใหม่นั้น แม้จะไม่มีเทคโนโลยีหรือองค์ความ
รู้ที่สูงกว่าไทย (ซึ่งโดยมากจะต่ำกว่าและต้องการจากไทย) การผลิตก็อาจ
มีการจัดการที่ต่ำกว่า แต่ทว่า ด้านทรัพยากรก็มักจะมีอย่างอุดมสมบูรณ์
นอกจากนั้น การลงทุนในประเทศเหล่านี้ก็มักจะเป็ นการขยายตลาด
ใหม่ๆให้แก่ไทยด้วย

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อมูลด้านประเภทกิจการที่ไทยไปลงทุนต่าง
ประเทศ ยิ่งจะเห็นได้ว่าความจำเป็ นที่ไทยเลือกออกไปนั้น จะอยู่ใน
อุตสาหกรรมที่ต้องการ “ทรัพยากร” และ “ตลาดใหม่” ดังนั้น การลงทุน
ในประเทศตลาดใหม่ จึงมีความเหมาะสมกับไทยเป็ นอย่างยิ่ง

เป้ าหมายการลงทุนในตลาดใหม่

หลายประเทศทั่วโลกต่างเห็นความสำคัญของการลงทุนยังต่าง
ประเทศ โดยเฉพาะตลาดเปิ ดใหม่ ไม่ว่าจะเป็ นจาก ยุโรป สหรัฐฯ
อเมริกาเหนือ หรือ จากเอเชียอย่าง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี อย่างไรก็ดี
แผนการลงทุนยังตลาดใหม่ โดยเฉพาะประเทศเป้ าหมาย ของแต่ละ
ประเทศนั้นล้วนมีความแตกต่างกันตามลักษณะของประเทศผู้ต้องการ
ออกไปลงทุน

สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น นั้น มียุทธศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน คือ ไม่


กำหนดประเทศยุทธศาสตร์ตายตัว ว่าจะต้องเข้าไปเพียงประเทศนี้
ประเทศนั้น หรือ เข้าไปในประเทศใดมากเป็ นพิเศษกว่าประเทศอื่น
กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า มียุทธศาสตร์ไม่เจาะจงประเทศเป้ าหมาย หรือ มี
แผนการลงทุนแบบ “เหวี่ยงแห” นั้นเอง เหตุผลสำคัญก็คือ ทั้ง 3
ประเทศมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ จึงสามารถกระจายการลงทุนทั่วโลกได้

แตกต่างกับประเทศในยุโรป ที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่าทั้ง 3
ประเทศ จึงมีความจำเป็ นต้องกำหนดประเทศเป้ าหมายในการลงทุน ซึ่ง
แม้ว่าจะมิได้ระบุอยู่ในยุทธศาสตร์ประเทศ แต่ก็มักจะเป็ นที่พึงทราบของ
นักลงทุนเอง โดยประเทศยุโรปจะมีเป้ าหมายส่วนใหญ่ในประเทศที่ตนเอง
เคยเป็ นเจ้าอาณานิคมอยู่ ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนรายใหญ่ในโมซัมบิกที่
เคยเป็ นเมืองของโปรตุเกส ก็คือโปรตุเกส ส่วนนักลงทุนรายใหญ่ในศรี
ลังกาก็คืออังกฤษที่เคยเป็ นเจ้าอาณานิคมเช่นกัน

สำหรับประเทศขนาดเล็กอย่างไทย ย่อมจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์
ในการลงทุนเพราะไม่อาจจะใช้การลงทุนเหวี่ยงแห แบบสหรัฐฯ จีน และ
ญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตาม ไทยก็ไม่อาจจะใช้รูปแบบเดียวกับยุโรปในปั จจุบัน
ได้เพราะไม่เคยมีประเทศในอาณานิคมเหมือนกับประเทศในยุโรปมาก่อน

แนวทางของไทยจึงควรศึกษาแนวทางการเลือกประเทศยุทธศาสตร์
จากประเทศยุโรปขนาดเล็ก ที่เลือกประเทศอาณานิคมที่เป็ นยุทธศาสตร์
ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศขนาดเล็กที่มีอาณานิคมของตัวเองในสมัยโบราณ
เช่น โปรตุเกส จะเลือกอาณานิคมที่มีความเป็ นไปได้ในการเป็ น Hub ใน
ภูมิภาค เช่น เลือกศรีลังกา เพราะมีท่าเรือที่สะดวก และสามารถขยาย
การค้าต่อไปยังอินเดีย และอาเซียนได้ แต่หาก Hub เป็ นประเทศขนาด
ใหญ่ที่ยากจะยึดครองทั้งประเทศอย่าง อินเดีย ก็จะเลือกเพียงเมืองสำคัญ
หรือ รัฐเพียงรัฐเดียว เช่น กัว ที่โปรตุเกสมองว่าเป็ น Hub ของอินเดีย
แทน

ประเทศที่เป็ น Hub

ประเทศตลาดใหม่จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้


สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปี ย สหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์ และสาธารณรัฐอินเดีย มีลักษณะเด่นที่เหมือนกัน คือ
เป็ นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคของตนเอง ดังปรากฎบนรูปภาพที่ 3
ดังนั้น หากไทยสามารถเจาะตลาดทั้ง 5 ประเทศได้ หมายความว่าไทยจะ
สามารถครอบยึดครองเศรษฐกิจในคาบสมุทรอินเดียได้ทั้งหมด ดังจะได้
ขยายความต่อไปนี้

รูปภาพที่ 3: สถานที่ตั้ง และความสำคัญของตลาดใหม่ทั้ง 5 ประเทศ

ที่มา: มูลนิธิ สวค. (2016)


แอฟริกาใต้มี GDP 312,797 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน
ประชากรประมาณ 55 ล้านคน ทั้งนี้ แอฟริกาใต้มีพื้นที่ 1,221,037
ตร.กม. ดังนั้น ประชากรแอฟริกาใต้จึงค่อนข้างเบาบาง และกระจุก
ตัว/อพยพอยู่ตามเมืองใหญ่ เช่น โจฮันเนสเบิร์ก เคปทาวน์ และเดอร์แบน
ซึ่งด้วยขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการขนส่งทาง
รางและอากาศ แอฟริกาใต้ได้มีการปรับปรุงเครือข่ายรางของประเทศเป็ น
ระยะทาง 20,247 กิโลเมตร ส่วนการขนส่งทางอากาศนั้น แอฟริกาใต้มี
ท่าอากาศยานกระจายอยู่ตามเมืองหลัก ในแต่ละปี มีผู้โดยสารเดินทาง
ทางอากาศจำนวน 10 ล้านคน จะเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างมี
ความพร้อม แต่สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ยังคงชะลอ
ตัวในระยะหลัง โดยมีอัตราการเติบโตในปี 2015 ที่ร้อยละ 1.28 สืบ
เนื่องจากตลาดโลกชะลอตัว รวมไปถึงความไม่มั่นคงทางการเมือง โดย
เฉพาะกรณีการทุจริตของประธานาธิบดีจาคอบ ซูม่า ในการนำงบ
1
ประมาณรัฐไปใช้จ่ายส่วนตัว
แทนซาเนียมีประชากรประมาณ 50 ล้านคน พื้นที่ประเทศ
947,303 ตร.กม. และ GDP 44,895 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีอัตรา
การเติบโตร้อยละ 6.77 ในปี 2015 ซึ่งแบ่ง GDP เป็ นภาคบริการร้อยละ
43.5 ภาคการเกษตรร้อยละ 31.5 และภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 25 ทั้งนี้
ในภาคบริการมีการท่องเที่ยวเป็ นกิจกรรมสร้างรายได้หลักเพราะมีภูเขา
คีรีมันจาโรที่สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา และเขตอุทยานเซเรนเกติ
(Serengeti) ที่มีสัตว์ป่ านานาพันธุ์ ส่วนภาคการเกษตรมีสินค้าเกษตรส่ง
ออกสำคัญ ได้แก่ กาแฟ ยาสูบ และฝ้ าย นอกจากนั้น ในภาค
อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ต่ำสุดใน GDP ยังได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล

1
http://edition.cnn.com/2016/04/29/africa/zuma-charges/
2
ด้วยแผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 2 (ปี งบประมาณ 2016/17 - 2020/21)
เพื่อให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในประเทศ\
เอธิโอเปี ยมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “นอของแอฟริกา” เพราะตั้งอยู่ใน
บริเวณที่คล้ายกับนอแรดของทวีป โดยมีพื้นที่ 1,104,300 ตร.กม.
จำนวนประชากร 99.47 ล้านคน และ GDP 61,537 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ซึ่งจะเห็นว่า GDP ต่อหัวต่ำกว่าไทย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2005 ถึงปี
2016 เอธิโอเปี ยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 10.6
ต่อปี โดยปั จจัยขับเคลื่อนหลักมาจากภาคบริการร้อยละ 43.4 ของ GDP
รองลงมาคือภาคการเกษตรซึ่งคิดเป็ นร้อยละ 41.9 ของ GDP และภาค
อุตสาหกรรมร้อยละ 14.7 ของ GDP ซึ่งอนาคตรัฐบาลมุ่งเป้ าที่จะเพิ่ม
สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ อันสะท้อนจากการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอาทิ ถนน ราง และท่าอากาศยาน เป็ นต้น
3
ตัวอย่าง คือ โครงการก่อสร้างถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ระบบรถไฟรางเบา
4
สายแรกของประเทศที่แอดดิส อบาบา ระบบรถไฟฟ้ าเชื่อมโยงไปยัง
5
จีบูติ อันจะช่วยให้สามารถขนถ่ายสินค้าระหว่างท่าเรือในจีบูติกับ
เอธิโอเปี ยสะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจากเอธิโอเปี ยเป็ นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่
ทะเล และการขยายท่าอากาศยานให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า
6
100 ล้านคนต่อปี อย่างไรก็ตาม ภัยธรรมชาติ และเสถียรภาพทางการ
เมืองยังเป็ นสิ่งที่น่ากังวล ซึ่งปี 2015 เอธิโอเปี ยประสบกับภัยแล้งใหญ่สุด

2
https://extranet.who.int/nutrition/gina/es/node/23824
3
http://www.globalconstructionreview.com/news/700m-ethiopian-high8w8a8y-
gets-started-after-four/
4
http://www.bbc.com/news/business-34549253
5
http://www.bbc.com/news/world-africa-37562177
6
http://www.ainonline.com/aviation-news/air-transport/2015-10-13/ethiopia-
prepares-build-major-hub-airport-africa
7
ในรอบ 50 ปี ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่เป็ นไปตามเป้ าและ
ประเทศขาดรายได้ ส่วนด้านการเมืองนั้น เอธิโอเปี ยเป็ นประเทศที่มีกลุ่ม
ชาติพันธุ์อยู่หลากหลาย แต่มีพรรคการเมืองชื่อ “Ethiopian People's
Revolutionary Democratic Front (EPRDF)” เป็ นพรรคการเมืองที่
8
ครองที่นั่งในสภาทั้งหมด โดยพรรค EPRDF เป็ นพรรคที่ฝั่ งใฝ่ กลุ่มทิเกร
ยาน (Tigrayan) ซึ่งมาจาก Tigray ทางตอนเหนือของประเทศ จำนวน
ประชากรของกลุ่มคิดเป็ นจำนวนเพียงร้อยละ 6 ของประชากรทั้งหมด
ของประเทศ เอธิโอเปี ยจึงมักเกิดเหตุการประท้วงและก่อความไม่สงบ
9
บ่อยครั้ง
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates: UAE) เป็ นเทศที่
ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง มีขนาดพื้นที่ 83,600 ตร.กม. และ
จำนวนประชากร 9.35 ล้านคน นับว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับไทยที่มีพื้นที่
513,120 ตร.กม. และจำนวนประชากร 67.01 ล้านคน สำหรับขนาด
เศรษฐกิจรวมใกล้เคียงกับไทย แต่เมื่อเทียบต่อหัวแล้ว UAE มี GDP ต่อ
หัวสูงถึง 70,237.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วย UAE เป็ นศูนย์กลางการค้า การ
บิน และการท่องเที่ยวในทะเลอาหรับ สาเหตุที่การค้าเฟื่ องฟูเพราะ UAE
ส่งเสริมการค้าเสรี โดยมีเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone) มากถึง 38
10
แห่ง และยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ตาม UAE จะเริ่ม
เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ร้อยละ 5 ตั้งแต่วันที่ 1

7
http://www.telegraph.co.uk/news/2016/04/23/ethiopia-struggles-with-worst-
drought-for-50-years-leaving-18-mi/
8
http://www.bbc.com/news/world-africa-33228207
9
https://www.hrw.org/report/2016/06/16/such-brutal-crackdown/killings-and-
arrests-response-ethiopias-oromo-protests
10
http://www.uaefreezones.me/
11
มกราคม 2018 สำหรับสาเหตุของการเป็ นศูนย์กลางทางการบิน
เนื่องจากภูมิประเทศตั้งอยู่ใจกลางระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
ส่วนการท่องเที่ยวสะท้อนจากการจัดอันดับเมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ
12
ไปเยือนมากที่สุดของ “Mastercards” ซึ่งดูไบอยู่ในลำดับที่ 4 ของโลก
ในปี 2016 โดยร้อยละ 20 ของนักเดินทางเดินทางเพื่อเหตุผลทางธุรกิจ
ส่วนอีกร้อยละ 80 เดินทางเพื่อการท่องเที่ยว
อินเดีย ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งนับว่าเป็ นภูมิภาคที่มี
ประชากรหนาแน่นเพราะมีเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศและปากีสถาน จึง
เหมาะแก่การใช้เป็ นจุดกระจายสินค้าเป็ นอย่างยิ่ง นอกจากนั้น นับเฉพาะ
อินเดียก็ถือเป็ นตลาดขนาดใหญ่ด้วยตนเอง โดยมี GDP 2 ล้านล้าน
ดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในลำดับที่ 7 ของโลก ปี 2015 อย่างไรก็ตาม ด้วย
ขนาดที่ใหญ่จึงทำให้แต่ละรัฐมีกฎระเบียบระเบียบที่แตกต่างกันไปเช่นกัน
การศึกษาอินเดียจึงจำเป็ นต้องมุ่งศึกษาเฉพาะรัฐที่ต้องการลงทุน ทั้งนี้
นโยบายส่งเสริมการลงทุนของของอินเดียในปั จจุบัน คือ “Make in
13
India ” ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายน ปี 2014 โดยเน้นการอำนวย
ความสะดวกต่อนักลงทุน ด้วยการสร้างช่องทางการติดต่อประสานงานที่
เป็ นมิตรต่อนักลงทุนผ่านเว็บไซต์ พร้อมทั้งเสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่ง
ประกอบไปด้วยสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น และ
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระดับสูงสุดเพื่อรองรับอุตสาหกรรม

แนวทางการลงทุนของไทยใน 5 ประเทศ

11
http://www.emirates247.com/business/uae-confirms-no-income-tax-yet-but-5-
vat-is-coming-2016-02-25-1.622208
12
https://newsroom.mastercard.com/wp-content/uploads/2016/09/FINAL-Global-
Destination-Cities-Index-Report.pdf
13
http://www.makeinindia.com/about
ประเทศทั้ง 5 เป็ นประเทศที่ควรเป็ นยุทธศาสตร์ของไทย อย่างไรก็
ดี คำถามสำคัญประการต่อมาคือ ไทยควรดำเนินการอย่างไรกับประเทศ
ทั้ง 5 นี้? การจะได้มาซึ่งคำตอบนั้นควรเริ่มจากการพิจารณาแนวทางของ
ประเทศที่ประสบความสำเร็จเสียก่อน โดยตารางที่ ได้แสดงให้เห็นถึง
นโยบายต่างๆ ที่จีน และญี่ปุ่นใช้ในการส่งเสริมเอกชนให้ออกไปลงทุนยัง
ต่างประเทศ

ตารางที่ : สรุปนโยบายสำคัญที่จีน และญี่ปุ่นใช้ในการส่งเสริมการ


ลงทุนต่างประเทศ

นโยบาย จีน ญี่ปุ่น


ให้ข้อมูล X X
ประกันความเสี่ยง X X
Mega Project X X
มาตรการภาษี X
ความตกลงกับต่าง
X
ประเทศ
เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ X X
ที่มา: มูลนิธิ สวค.

ในส่วนของญี่ปุ่นได้จัดตั้ง JETRO เพื่อจัดทำข้อมูลบริการแก่ภาค


ธุรกิจ รวมไปถึงมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ต้องการ
ออกไปลงทุนยังต่างประเทศพร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนประกันการล้มละลาย
อีกทั้ง ญี่ปุ่นได้มีการเจรจาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศต่างๆ โดย
กำหนดให้ต้องมีผู้ประกอบการของญี่ปุ่นเป็ นผู้จัดหาสินค้าและบริการ
ต่างๆ ให้กับโครงการ และรัฐมีการเจรจาเพื่อขจัดข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้น
กับประเทศเป้ าหมายอีกด้วย
สำหรับรูปการลงทุนต่างประเทศของจีน ค่อนข้างคล้ายคลึงกับ
ญี่ปุ่น แต่จีนเน้นการเข้าไปเจรจาโดยภาครัฐเพื่อให้เอกชนขนาดใหญ่
สามารถเข้าไปลงทุนได้ ทั้งนี้ จีนมีรูปแบบการจัดการผลประโยชน์ใน
ประเทศเป้ าหมาย 2 รูปแบบ คือ การแลกกับสัมปทานทรัพยากรในพื้นที่
นั้นๆ และ/หรือขอสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการรายย่อยของจีนเข้าไปมีส่วนร่วม
กับโครงการลงทุน นอกจากนั้น จีนยังมีมาตรการช่วยเหลือทางการเงินแก่
นักลงทุนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบจีนกับญี่ปุ่นจะเห็นจุดเริ่มที่เหมือน
กันคือ “การให้ข้อมูล” ซึ่งเป็ นจุดเริ่มของการกำหนดนโยบายอื่นๆ แก่
ภาครัฐตามมา ดังนั้น การ “ศึกษาข้อมูลเชิงลึก” ในประเทศทั้ง 5 (อาจ
รวมถึงประเทศอื่นๆในภูมิภาคในบางแง่มุมด้วย) จึงเป็ นสิ่งที่มีความจำเป็ น
ด้วยประการทั้งปวง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(สกท.) ซึ่งเป็ นหน่วยงานที่มีความสำคัญเสริมสร้างศักยภาพและให้บริการ
ข้อมูลการลงทุนต่างประเทศกับนักลงทุนไทย และมูลนิธิสถาบันวิจัย
นโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และ
ประสบการณ์ในการศึกษาข้อมูลเชิงลึกและการจัดทำแนวทางการลงทุน
ในกลุ่มประเทศตลาดใหม่อย่างดียิ่ง จึงเห็นควรให้ดำเนินการศึกษาภายใต้
โครงการ “โครงการศึกษาระเบียบการลงทุน/การทำธุรกิจ กลุ่มประเทศ
ตลาดใหม่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยเอธิโอเปี ย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสาธารณรัฐอินเดีย
ปี งบประมาณ 2560” เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมกับ
การลงทุนในประเทศตลาดใหม่ต่อไป
2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลเชิงลึกที่จะเป็ นประโยชน์ต่อนัก


ลงทุนไทย อันจะช่วยให้สำนักงานฯ สามารถให้คำปรึกษาแก่นัก
ลงทุนที่ประสงค์ไปลงทุนในประเทศตลาดใหม่ได้อย่างเป็ นรูป
ธรรม

2.2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนของนักลงทุนไทยในอุตสาหกรรม
เป้ าหมาย และในประเทศเป้ าหมายใหม่ๆ

2.3 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างงานส่งเสริมการลงทุนของ
ไทยและประเทศเป้ าหมาย

3. ขอบเขตการดำเนินงาน

จัดจ้างที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้และประสบการณ์ในการ
ลงทุนหรือทำธุรกิจในประเทศดังกล่าว ดำเนินการดังนี้

3.1 จัดทำแผนการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วย


3.1.1 ข้อมูลที่จะดำเนินการศึกษาและรวบรวม

3.1.2 วิธีการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล และแหล่งที่มาของ


ข้อมูล

3.1.3 โครงร่างหัวข้อรายงานศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่ง


โครงร่างรายงานดังกล่าวต้องครอบคลุมตามที่ระบุไว้ใน
TOR
3.1.4 ร่างแผนการจัดกิจกรรม Fact Finding เพื่อสำรวจ
ข้อมูล และร่างแผนการจัดสัมมนาเผยแพร่ข้อมูล

3.1.5 รายละเอียดบุคลากรประจำโครงการ

3.2 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ของประเทศ

แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย

3.2.1 ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ


โอกาสและศักยภาพ ซึ่งเนื้อหาต้องประกอบไปด้วย พื้นที่ที่
มีศักยภาพในการลงทุน อุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการไทย
ควรลงทุน นโยบายและสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน ค่า
ใช้จ่ายในการลงทุน ขั้นตอน
การลงทุน กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ปั ญหาและ
อุปสรรคในการเข้าไปลงทุน สถิติการลงทุนไทยและประเท
ศอื่นๆ ที่เข้าไปลงทุนในประเทศเป้ าหมาย รายชื่อบริษัท
ไทยที่เข้าไปลงทุนในแต่ละประเทศ รูปแบบการลงทุนที่
เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมและ/ประเทศเป้ าหมายและ
ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศเป้ าหมาย

3.2.2 ศึกษาและรวบรวมข้อมูลโดยจัดกิจกรรม Fact Finding


เพื่อสำรวจพื้นที่และอุตสาหกรรมที่นักลงทุนไทยมีศักยภาพ
ในการลงทุนในประเทศเป้ าหมาย ในรายสาขาอุตสาหกรรม
อย่างน้อย 2 สาขา ในแต่ละประเทศ อาทิเช่น อุตสาหกรรม
อาหารทะเลแปรรูป อุตสาหกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรม
พลังงานทดแทน เป็ นต้น โดยกำหนดให้มีการเข้าพบหน่วย
งานทั้งภาคราชการ และเอกชนของประเทศเป้ าหมาย การ
เยี่ยมชมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน สำหรับ
บางประเทศอาจมีการนำนักธุรกิจไทยที่มีศักยภาพและ
สนใจเข้าร่วมเดินทางไปศึกษาลู่ทางการลงทุนด้วย โดยนัก
ธุรกิจจะเป็ นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายใน
การเดินทางของตัวเอง ทั้งนี้แผนการเดินทางตามกิจกรรม
Fact Finding ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสำนักงานฯ นอกจากนี้ ในการเดินทางไป
เก็บข้อมูลของที่ปรึกษา จะมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะ
กรรมการส่งเสริมการลงทุนร่วมเดินทางไปด้วย โดยสำนัก
งานฯ เป็ นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเจ้า
หน้าที่

3.2.3 ปรับปรุงข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประเทศในด้าน
เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
การลงทุนในประเทศเป้ าหมาย

3.2.4 จัดทำรายงานผลการศึกษา ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์


จำนวนอย่างน้อย 20 ชุด และรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
จำนวนอย่างน้อย 20 ชุด

3.3 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโอกาสและการลงทุนของ
ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอธิโอเปี ย และอินเดีย
3.3.1ศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การลงทุนที่
เกี่ยวข้องด้านโอกาสและศักยภาพในการลงทุน ซึ่งจะต้อง
ประกอบด้วยเนื้อกาข้อมูลพื้นฐานของประเทศในด้าน
เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนทั้ง
เรื่องของนโยบายและสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน ค่า
ใช้จ่ายในการลงทุน ขั้นตอนการลงทุน กฎหมายและกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ปั ญหาและอุปสรรคในการเข้าไปลงทุน
อุตสาหกรรมที่น่าสนใจ และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุน
โดยใช้การเปรียบเทียบกับประเทศที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน
ในพื้นที่ใกล้กัน

3.3.2ศึกษาและรวบรวมข้อมูลโดยจัดกิจกรรม Fact Finding


โดยกำหนดให้มีการเข้าพบหน่วยงานทั้งภาคราชการ และ
เอกชน การเยี่ยมชมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้น
ฐาน ทั้งนี้แผนการเดินทางตามกิจกรรม Fact Finding ต้อง
ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานฯ นอกจากนี้ในการเดิน
ทางไปเก็บข้อมูลของที่ปรึกษา จะมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนร่วมเดินทางไปด้วย โดยสำ
นักงานฯ เป็ นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเจ้า
หน้าที่

3.3.3จัดทำรายงานผลการศึกษา ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์จำนวน
อย่างน้อย 20 ชุด และรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวน
อย่างน้อย 20 ชุด

3.4 จัดการสัมมนาในประเทศเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษา จำนวน


1 ครั้ง โดยที่ปรึกษาต้องเตรียมข้อมูลสำหรับสัมมนาในประเทศ ประสาน
การเชิญวิทยากร รวมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วม
การสัมมนาไม่น้อยกว่า 100 คน และการดำเนินการต่างๆ ต้องอยู่ภายใต้
ความเห็นชอบของสำนักงานฯ
3.5 จัดทำสรุปข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทาง
เศรษฐกิจของประเทศเป้ าหมายที่มีผลต่อการลงทุน เสนอต่อสำนัก
งานฯ อย่าน้องเดือนละ 2 ครั้ง (ครั้งละไม่น้อยกว่า 3 หน้ากระดาษ A4)
3.6 จัดทำสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และข้อเสนอแนะต่อ
สำนักงาน
4. วิธีการศึกษา

เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และกรอบการศึกษา การศึกษานี้มีวิธี
การศึกษาทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลัก โดย แบ่งบทการศึกษาออกเป็ น 5 บท
กล่าวคือ จะเริ่มจาก

(1)การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กฎระเบียบ และนโยบายสำคัญ โดย


เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีรายงานการศึกษาเดิมในเชิงลึกอยู่บ้าง
แล้ว ในส่วนนี้จะเน้นไปที่การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และจัด
ทำการสรุปให้อยู่ในรูปแบบที่กะทัดรัดและเข้าใจง่ายแทน การ
ศึกษาส่วนนี้จะแสดงใน บทที่ 1 และ บทที่ 2
(2)การคัดเลือกอุตสาหกรรมที่สนใจสำหรับไทยในประเทศเป้ าหมาย
โดย ใช้ข้อมูลทั้งจากในบทที่ 1 และ บทที่ 2 ข้อมูลเชิงปริมาณ และ
ข้อมูลเชิงคุณภาพ ร่วมกับการจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)
ในการคัดเลือก โดยจะแสดงในท้ายบทที่ 2
(3)การศึกษาเชิงลึกรายอุตสาหกรรม โดย จะทำการศึกษาข้อมูลใน
ระดับ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งจะดูรายละเอียดที่สำคัญ
อาทิ ประเภทสินค้า ผู้เล่นในตลาด ราคา ปริมาณ ต้นทุน และข้อ
จำกัดต่างๆ ของ อุตสาหกรรมย่อย ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ซึ่งจะแสดงในบทที่ 3 และบทที่ 4
(4)การจัดทำข้อเสนอแนะและยุทธศาสตร์ของแต่ละประเทศ ซึ่งจะนำ
ผลการศึกษา ทั้งจากภาพรวม ในบทที่ 1 และบทที่ 2 และข้อมูลเชิง
ลึกจากบทที่ 4 และ บทที่ 5 มาจัดทำเป็ นข้อเสนอแนะ และ
ยุทธศาสตร์ ผ่านเครื่องมือการวิเคราะห์ต่างๆ

บทที่ 1: ข้อมูลพื้นฐาน

ในส่วนนี้จะทำการวิเคราะห์ภาพรวมสถานการณ์การลงทุนใน
ประเทศ โดยใช้ PESIT Analysis ซึ่งเป็ นเครื่องมือที่อธิบายถึงความ
เคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ภาพรวม และสภาวะ
แวดล้อมในประเทศนั้นๆ โดยจะศึกษาใน 5 มิติ อันได้แก่ การเมือง
เศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยี ซึ่งมีรายละเอียดการ
ศึกษาแต่ละมิติ ดังนี้

(1)ด้านการเมือง (Political Factor) จะศึกษาและประเมิน


สถานการณ์การเมืองที่สำคัญในอดีตจวบจนยุคปั จจุบัน ระบอบ
การปกครอง เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล รูปแบบและวิธี
การประกาศและการบังคับใช้กฎหมาย

(2)ด้านเศรษฐกิจ (Economic Factor) วิเคราะห์สถานการณ์และ


แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงเสถียรภาพโครงสร้างเศรษฐกิจ
และประเทศคู่ค้าสำคัญ จากการประมวลผลข้อมูล/ดัชนีที่
เกี่ยวข้องต่างๆ GDP ดัชนีราคาผู้บริโภค ข้อมูลการค้า เป็ นต้น

(3)ด้านสังคม (Social Factor) ศึกษาข้อมูลด้านโครงสร้าง


ประชากร การศึกษา ภาษา ศาสนา รวมถึงวัฒนธรรมทั่วไปและ
ในเชิงธุกิจ ซึ่งเป็ นประเด็นที่มีผลกระทบต่อนักลงทุนเมื่อเข้าไป
ทำธุรกิจยังต่างประเทศ

(4)ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ศึกษาเส้นทางการ


ขนส่งและราคาค่าขนส่ง ทั้งจากประเทศเป้ าหมายมายังประเทศ
ข้างเคียง/ไทย ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้ า
ประปา และระบบสาธารณสุข เพื่อประเมินความพร้อมของ
ระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในประเทศ
(5)ด้านเทคโนโลยี (Technological Factor) ศึกษาข้อมูลและ
ประเมินความพร้อมของระบบโทรคมนาคมและอินเตอร์เน็ตและ
อัตราการเข้าถึงของประชาชน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ
เทคโนโลยี

ทั้งนี้ ในประเทศขนาดใหญ่ เช่น อินเดีย และแอฟริกาใต้ ซึ่งมีกฎ


เกณฑ์ในแต่ละรัฐ/เขตการปกครอง ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการ
ศึกษาภาพรวมสถานการณ์ของประเทศ ทางคณะผู้วิจัยจะแยก
ศึกษาข้อมูลตามแต่ละรัฐ/เขตการปกครอง เพิ่มเติมให้ด้วย

เมื่อศึกษาและประเมินผลใน 5 มิติดังกล่าวแล้ว ข้อมูลในแต่ละ


ประเทศจะถูกสรุปผลออกมาใน 2 รูปแบบคือ infograpic และตาราง
สรุปผลข้อมูล โดย Infographic จัดทำขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและ
การเผยแพร่ข้อมูล ส่วนตารางสรุปนั้น จัดทำขึ้นเพื่อชี้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน
โอกาส และภัยคุมคาม ทางธุรกิจแก่ผู้ที่สนใจไปลงทุนทำธุรกิจในประเทศ
นั้นๆ
รูปภาพที่ 1: Infographic สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย
ที่มา: มูลนิธิ สวค.
ตารางที่ 1.x: ประเมินผลกระทบจาก PESIT และวิเคราะห์
SWOT
IMPACT
NEGATIVE POSITIVE

Threats Weaknesses Factors Strengths Opportuni


ties
? ? ? ?
P
? ? ? ?

? ?
E ? ?
? ?
? ?

? ?
?
? ? S ?
?
?

? ? ? ?
I
? ? ? ?

? ? ? ?
T
? ? ?

ที่มา: ประมวลผลโดย มูลนิธิ สวค. (2016)

บทที่ 2 กฎระเบียบและนโยบาย
ด้านกฎระเบียบ และนโยบายนั้น จะมีรูปแบบการศึกษาใกล้เคียง
กับบทที่ 1 กล่าวคือ จะเป็ นการสรุปข้อมูลที่สำคัญ (ไม่ลงในรายละเอียด)
ซึ่งในประเทศที่มีการศึกษาอยู่แล้วจะเน้นไปที่การตรวจสอบข้อมูลให้ทัน
สมัย เป็ นหลัก โดย องค์ประกอบที่จะศึกษามีดังนี้

ด้านกฎระเบียบ จะพิจารณา

(1)ในแต่ละเรื่องจะพิจารณา ขั้นตอน จำนวน/ประเภทเอกสาร ระยะ


เวลา ค่าใช้จ่าย และข้อห้าม
(2)กฎระเบียบ ที่พิจารณาจะได้แก่ การส่งออกนำเข้า การจัดตั้งธุรกิจ
การขออนุญาตผลิตและจำหน่ายหรือให้บริการ

ซึ่งจะสรุปเป็ นตารางได้ดังนี้

ขั้นตอน จำนวน ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย ข้อห้าม


เอกสาร
จัดตั้ง 3 ขั้นตอน 10 ชุด 4 วัน 500 ความ
ธุรกิจ ได้แก่ ... ได้แก่ ... ดอลลาร์ มั่นคง ศีล
ไม่มี สหรัฐฯ ธรรม
ออนไลน์
ส่งออก 2 ขั้นตอน 4 ชุด 2 วัน 10 ความ
ได้แก่ ... ได้แก่ ... มี ดอลลาร์ มั่นคง ศีล
ออนไลน์ สหรัฐฯ ธรรม
นำเข้า 3 ขั้นตอน 7 ชุด 3 วัน ร้อยละ 0 ความ
ได้แก่ ... ได้แก่ ... มี ถึง ร้อยละ มั่นคง ศีล
ออนไลน์ 50 ธรรม สุข
อนามัย
ผลิตและ 3 ขั้นตอน 7 ชุด 3 วัน ค่า ความ
จำหน่าย ได้แก่ ... ได้แก่ ... มี ธรรมเนีย มั่นคง ศีล
ออนไลน์ ม3 ธรรม สุข
ดอลลาร์ อนามัย
สหรัฐฯ สิ่ง
VAT 10% แวดล้อม
นิติบุคคล
5%

ด้านนโยบาย จะพิจารณา (1) อุตสาหกรรมที่ส่งเสริม (2) พื้นที่


และ/หรือเงื่อนไขในการส่งเสริม และ (3) วิธีการส่งเสริม

สุดท้าย คือ ต้นทุนพื้นฐานในการทำธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย (1)


ค่าน้ำประปา (2) ค่าไฟฟ้ า (3) ภาษีหลัก (4) ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ (5) อัตราดอกเบี้ย และ ค่าธรรมเนียมโอน (6) ค่าขนส่งสินค้า
ในประเทศเฉลี่ย ต่อตู้ ต่อ กิโลเมตร (7) ค่าเช่าที่ (อาคาร ที่ดินเปล่า และ
ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม)
“การคัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมเป้ าหมาย”

จากขอบเขตการดำเนินงานข้อ 3.2 และ 3.3 มูลนิธิ สวค. ศึกษา


วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกรายสาขาอุตสาหกรรม สำหรับการลงทุนของนัก
14

ลงทุนไทยในแต่ละประเทศตลาดใหม่ อย่างน้อย 2 รายสาขาอุตสาหกรรม


ทั้งนี้ มูลนิธิ สวค. จะประยุกต์ใช้เกณฑ์และขั้นตอน ดังต่อไปนี้ เพื่อ
ประกอบการพิจารณาในการคัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศ
15
ตลาดใหม่ดังกล่าว

(1) สาขาอุตสาหกรรมและบริการที่ไทยมีศักยภาพในการ
แข่งขัน ซึ่งวัดได้จากดัชนีต่างๆ อาทิ
ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative
Advantage: RCA) ของกลุ่มสินค้าและบริการในระดับพิกัดศุลกากร
ระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System Code: HS Code) 2 หลัก
ซึ่งเขียนเป็ นสมการได้ดังนี้

X ij / X ¿
R CA j=
X wj / X wt

โดย X คือมูลค่าการส่งออก, i คือประเทศที่ต้องการศึกษา, j คือ


สินค้าหรือบริการในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการศึกษา, w คือ โลก และ t

สาขาอุตสาหกรรม ในข้อเสนอทางด้านเทคนิคฉบับนี้ มีความหมายรวมถึงภาคอุตสาหกรรม


14

และ/หรือ ภาคบริการ
15
สำหรับการสรุปเกณฑ์ ตัวชี้วัด การให้น้ำหนัก และขั้นตอนต่างๆ ในการคัดเลือกสาขา
อุตสาหกรรมในแต่ละประเทศตลาดใหม่ เพื่อคัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมเพื่อศึกษาเชิงลึกอย่าง
น้อย 2 สาขาอุตสาหกรรม จะมีการหารือร่วมกันกับทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ
ลงทุน หรือ BOI อีกครั้งหนึ่ง
คือสินค้าหรือบริการทั้งหมด หากค่า RCA มากกว่า 1 จะสะท้อนว่าสินค้า
นั้นๆ เป็ นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันเนื่องจากมีความสามารถในการ
ส่งออกไปยังตลาดโลกสูงกว่าคู่แข่งโดยเฉลี่ย ประเทศที่มีค่า RCA สำหรับ
สินค้าหนึ่งๆ สูงกว่าจะมีแนวโน้มว่ามีความสามารถในการแข่งขันสำหรับ
สินค้านั้นสูงกว่าประเทศที่มีค่า RCA ของสินค้านั้นต่ำกว่า

ดังนั้น สาขาอุตสาหกรรมที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองในขั้นตอนแรก
จะต้องมีค่า RCAth>1 ซึ่งแสดงถึงความพร้อมของนักลงทุนไทย สะท้อน
จากขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยรายสาขาอุตสาหกรรม
ดังอธิบายในตารางที่ XX

ตารางที่ XX: ตัวอย่างกรอบแนวคิดในการคัดเลือกสาขา


อุตสาหกรรมในขั้นตอนที่ (1)

ประเทศ A มีศักยภาพ ประเทศ A ไม่มีศักยภาพ


การแข่งขัน การแข่งขัน
(RCAA>1) (RCAA<1)

ไทย มีศักยภาพการ
Complement ไทยมี Competitive
แข่งขัน
(เชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่า) Advantage
(RCAth>1)
(ไทยได้เปรียบ)
ไทย ไม่มีศักยภาพการ
แข่งขัน ไทย ยังไม่พร้อม ไทย ยังไม่พร้อม
(RCAth<1)
ที่มา: มูลนิธิ สวค.
หมายเหตุ: ประเทศ A แสดงถึงประเทศตลาดใหม่ประเทศหนึ่งจาก 5 ประเทศ ตาม
โครงการฯ นี้

จากตารางที่ XX แสดงถึงกรอบแนวคิดในการคัดเลือกสาขา
อุตสาหกรรมในขั้นตอนที่ (1) โดยมุ่งเน้นที่ความพร้อมของนักลงทุนไทย
โดยรวม (Supply of Thailand’s FDI outflow) ในการเข้าไปลงทุนใน
แต่ละประเทศ ทั้ง 5 ประเทศ เมื่อพิจารณาสาขาอุตสาหกรรมที่ไทยมี
ศักยภาพการแข่งขัน (RCAth>1) ควบคู่กับศักยภาพการแข่งขันในสาขา
อุตสาหกรรมเดียวกันของประเทศ A พบว่า จะมี 2 นัยยะ โดยในนัยยะ
แรก สาขาอุตสาหกรรมที่ทั้งไทยและประเทศ A มีศักยภาพการแข่งขัน
(RCAth>1 และ RCAA>1) นักลงทุนไทยสามารถเข้าไปลงทุนเพื่อเชื่อมต่อ
ห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ได้ในบางสาขาอุตสาหกรรม (2-digit HS
Code หรือเทียบเท่า) ที่มีความสัมพันธ์ของห่วงโซ่มูลค่าในเชิงส่งเสริมกัน
(Complementary Relationship in Value Chains) หรือการลงทุน
เพื่อในสินค้า/บริการ ที่อาจทดแทนกันได้บ้าง หรือสินค้า/บริการ ที่แตก
ต่างกันในคุณลักษณะ (Differentiated products/services) ซึ่งทาง
มูลนิธิ สวค. จะมีเกณฑ์ในการวิเคราะห์เชิงลึก
(4-digit HS Code หรือเทียบเท่า) สำหรับส่วนนี้ในลำดับถัดไป สำหรับ
นัยยะที่สอง สาขาอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพการแข่งขัน ในขณะที่
ประเทศ A ไม่มีศักยภาพการแข่งขัน (RCAth>1 แต่ RCAA<1) ซึ่งสาขา
อุตสาหกรรมดังกล่าว ไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน กล่าวคือ ไทยมี
Competitive Advantage มากกว่าประเทศ A ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ความ
เหมาะสมเชิงลึกต่อไป ทั้งในด้านความต้องการภายในประเทศ A และใน
ภูมิภาค ตลอดจนนโยบาย/มาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ และสภาพ
แวดล้อมเอื้ออำนวยต่างๆ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลศักยภาพการแข่งขันรายสาขาอุตสาหกรรม
ปั จจุบัน (ปี ค.ศ. 2015) และย้อนหลังของไทย (ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี
(Average3Y) และ 5 ปี (Average5Y)) พบว่า ไทยมีขีดความสามารถการ
แข่งขันในตลาดโลกสำหรับสินค้าและบริการดังต่อไปนี้

ตารางที่ XX: RCA รายสาขาอุตสาหกรรมและบริการของไทย


ระดับ 2 หลัก (2 Digit)

สินค้า
Cod Average5 Average3 RCAth201
Product label
e Y Y 5
Fish and crustaceans,
03 molluscs and other aquatic 1.90 1.53 1.34
invertebrates
Edible vegetables and
07 1.97 2.12 2.14
certain roots and tubers
Edible fruit and nuts; peel of
08 0.99 0.98 1.02
citrus fruit or melons
10 Cereals 3.65 3.54 3.53
Products of the milling
11 industry; malt; starches; 5.59 5.97 6.07
inulin; wheat gluten
Preparations of meat, of fish
or of crustaceans, molluscs
16 11.72 11.01 10.40
or other aquatic
invertebrates
Sugars and sugar
17 5.62 5.31 5.61
confectionery

19 Preparations of cereals, 1.41 1.43 1.46


สินค้า
Cod Average5 Average3 RCAth201
Product label
e Y Y 5
flour, starch or milk;
pastrycooks products
Preparations of vegetables,
20 fruit, nuts or other parts of 2.82 2.83 2.96
plants
Miscellaneous edible
21 2.46 2.51 2.47
preparations
Beverages, spirits and
22 0.91 1.00 1.07
vinegar
Residues and waste from
23 the food industries; 1.48 1.55 1.63
prepared animal fodder
Salt; sulphur; earths and
25 stone; plastering materials, 1.68 1.76 1.85
lime and cement
29 Organic chemicals 1.10 1.09 0.86
Essential oils and resinoids;
33 perfumery, cosmetic or 1.39 1.34 1.23
toilet preparations
Soap, organic surface-active
agents, washing
34 1.04 1.05 1.02
preparations, lubricating
preparations, artificial ...
Albuminoidal substances;
35 modified starches; glues; 2.26 2.25 2.14
enzymes
39 Plastics and articles thereof 1.71 1.72 1.64
40 Rubber and articles thereof 6.49 6.20 5.71
Raw hides and skins (other
41 1.36 1.42 1.58
than furskins) and leather
สินค้า
Cod Average5 Average3 RCAth201
Product label
e Y Y 5
Wood and articles of wood;
44 1.34 1.35 1.32
wood charcoal
Printed books, newspapers,
pictures and other products
49 1.37 0.14 0.12
of the printing industry;
manuscripts, ...
Man-made filaments; strip
54 and the like of man-made 1.33 1.33 1.28
textile materials
55 Man-made staple fibres 2.73 2.55 2.34
Wadding, felt and
nonwovens; special yarns;
56 1.37 1.41 1.41
twine, cordage, ropes and
cables and articles thereof
Special woven fabrics;
tufted textile fabrics; lace;
58 1.35 1.36 1.33
tapestries; trimmings;
embroidery
69 Ceramic products 1.17 1.17 1.06
Natural or cultured pearls,
precious or semi-precious
71 1.27 1.16 1.37
stones, precious metals,
metals clad ...
73 Articles of iron or steel 1.10 1.14 1.22
80 Tin and articles thereof 4.05 3.62 2.16
Miscellaneous articles of
83 1.08 1.13 1.04
base metal
Machinery, mechanical
84 appliances, nuclear reactors, 1.45 1.49 1.49
boilers; parts thereof
สินค้า
Cod Average5 Average3 RCAth201
Product label
e Y Y 5
Electrical machinery and
equipment and parts
85 thereof; sound recorders 1.06 1.04 0.98
and reproducers,
television ...
Vehicles other than railway
or tramway rolling stock,
87 1.47 1.57 1.57
and parts and accessories
thereof
Miscellaneous manufactured
96 1.05 1.11 1.04
articles
บริการ
4 Travel 2.85 2.89 2.95

ที่มา: มูลนิธิ สวค. ประมวลจาก International Trade Centre


หมายเหตุ: แสดงผลเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมและบริการที่มีค่า RCAth>1 ในปี ค.ศ.
2015 หรือค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี หรือค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี อย่างน้อย 1 ช่อง
เท่านั้น

ทั้งนี้ ในการวิเคราะห์การคัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมในเบื้องต้น
มูลนิธิ สวค. จะพิจารณาอุตสาหกรรม และ/หรือบริการของไทย ที่มีค่า
RCA สูงที่สุด 20 อันดับแรก ในปี ที่มีข้อมูลปั จจุบันที่สุด (เช่น ปี ค.ศ.
2015) ดังแสดงในตาราง XX

ตารางที่ XX: สาขาอุตสาหกรรมและบริการของไทยที่มีค่า RCA


สูงสุด 20 อันดับแรก

Cod Product label RCAth2


e 015
Preparations of meat, of fish or of crustaceans, molluscs or other
16 10.4
aquatic invertebrates
Products of the milling industry; malt; starches; inulin; wheat
11 6.07
gluten
40 Rubber and articles thereof 5.71
17 Sugars and sugar confectionery 5.61
10 Cereals 3.53
20 Preparations of vegetables, fruit, nuts or other parts of plants 2.96
4 Travel (สาขาบริการ) 2.95
21 Miscellaneous edible preparations 2.47
55 Man-made staple fibres 2.34
80 Tin and articles thereof 2.16
7 Edible vegetables and certain roots and tubers 2.14
35 Albuminoidal substances; modified starches; glues; enzymes 2.14
Salt; sulphur; earths and stone; plastering materials, lime and
25 1.85
cement
39 Plastics and articles thereof 1.64
Residues and waste from the food industries; prepared animal
23 1.63
fodder
41 Raw hides and skins (other than furskins) and leather 1.58
Vehicles other than railway or tramway rolling stock, and parts
87 1.57
and accessories thereof
Machinery, mechanical appliances, nuclear reactors, boilers; parts
84 1.49
thereof
19 Preparations of cereals, flour, starch or milk; pastrycooks products 1.46
Wadding, felt and nonwovens; special yarns; twine, cordage, ropes
56 1.41
and cables and articles thereof
ที่มา: มูลนิธิ สวค. ประมวลจาก International Trade Centre

อย่างไรก็ตาม นอกจากเกณฑ์เชิงปริมาณดังอธิบายมาแล้วนี้ ยังอาจ


ใช้เกณฑ์เชิงคุณภาพ อาทิ อุตสาหกรรมที่แจ้งความจำนงกับหน่วยงานรัฐ
เช่น BOI ในการออกไปลงทุนยังต่างประเทศ หรือ เกณฑ์อื่นจากการจัด
ทำ Focus Group ร่วมด้วย ก็ได้

(2) เกณฑ์คัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมและบริการในระดับ 4
หลัก
จากเกณฑ์การคัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมในขั้นตอนที่ (1) โดย
พิจารณาความพร้อมและศักยภาพของไทย ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน
มากที่สุด 20 สาขาอุตสาหกรรม (RCAth รายสาขาอุตสาหกรรมที่มีค่า
สูงสุด 20 อันดับแรก) สำหรับเกณฑ์คัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมในขั้นที่
(2) จะพิจารณาสาขาอุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบดังกล่าว ควบคู่
กับการพิจารณาศักยภาพในการแข่งขันของแต่ละประเทศตลาดใหม่ (อา
ทิ ประเทศ A) ในเชิงห่วงโซ่มูลค่า โดยพิจารณาจากข้อมูลการค้า และ
ดัชนี RCA ในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ ระดับ
4 หลัก (4-digit HS Code หรือเทียบเท่า) จากนั้น จะพิจารณานัยยะ
(Implications) และ/หรือ ลำดับความสำคัญของการลงทุน โดยพิจารณา
จากดัชนีความเชี่ยวชาญในการส่งออก (Trade Specialization Index:
TSI) ดังแสดงในตาราง XX กล่าวคือ
16

ในขั้นที่ 1 จะทำการศึกษาดูในรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรมที่
ได้คัดเลือกแล้วว่าไทยมีศักยภาพนั้น มีลักษณะที่สามารถจะพึ่งพาพัฒนา
ความสัมพันธ์ระหว่างกันแบบเสริมจุดแข็งจุดอ่อนของกันและกันได้หรือ
ไม่ หรือ เป็ นกิจการที่เป็ นการแข่งขันกัน โดยจะพิจารณาจาก ความ
สามารถในการแข่งขันของไทยและประเทศเป้ าหมายในระดับต้นน้ำ
16
ดัชนี TSI จะสะท้อนให้เห็นดุลการค้ารายสินค้า หรือบริการ และเปรียบเทียบความสามารถใน
การส่งออกของแต่ละประเทศจากสถานะการเป็ นผู้ส่งออกสุทธิ (Net exporter) หรือการได้
เปรียบดุลการค้า ซึ่งดัชนี TSI มีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1 ถ้าดัชนี TSI มีค่ามากกว่า 0 แสดงว่าได้
เปรียบดุลการค้าและมีความสามารถในการส่งออกสินค้านั้น
กลางน้ำ และปลายน้ำ โดย “หากไทยมีความสามารถเพียงขั้นตอนใดขั้น
ตอนหนึ่งที่ประเทศเป้ าหมายไม่มี ก็จะถือว่าเป็ นอุตสาหกรรมที่สามารถ
เสริมจุดแข็งจุดอ่อนของกันและกันได้” แต่หากไม่มี เช่น ไทยมีศักยภาพ
ในขั้นตอนที่ประเทศเป้ าหมายมีอยู่แล้ว หรือ ประเทศเป้ าหมายไม่มี
ศักยภาพในขั้นตอนใดเลย ก็จะถือว่า ไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์แบบ
เสริมกันได้

ตารางที่ อธิบายลักษณะอุตสาหกรรมที่สามารถพัฒนาเสริม
(compliment) และ ไม่สามารถพัฒนาเสริม (no compliment)
ระหว่างกันได้

ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ บทสรุป


ไทยเก่ง A ไทยเก่ง A ไทยเก่ง A ไม่เสริม (No
เก่ง เก่ง เก่ง Compliment)
ไทยเก่ง A ไทยเก่ง A ไทยเก่ง A ไม่ เสริม
เก่ง เก่ง เก่ง (Compliment)
ไทยเก่ง A ไทยเก่ง A ไม่ ไทยเก่ง A ไม่ เสริม
เก่ง เก่ง เก่ง (Compliment)
ไทยเก่ง A ไทยเก่ง A ไม่ ไทยเก่ง A ไม่ ไม่เสริม (No
ไม่เก่ง เก่ง เก่ง Compliment)
ไทยเก่ง A ไทยเก่ง A ไทยไม่เก่ง A ไม่เสริม (No
เก่ง เก่ง เก่ง Compliment)
ไทยเก่ง A ไทยไม่เก่ง A ไทยไม่เก่ง A ไม่เสริม (No
เก่ง เก่ง ไม่เก่ง Compliment)
ไทยไม่เก่ง ไทยไม่เก่ง A ไทยไม่เก่ง A ไม่เสริม (No
A เก่ง ไม่เก่ง ไม่เก่ง Compliment)
ไทยเก่ง A ไทยไม่เก่ง A ไทยไม่เก่ง A เสริม
ไม่เก่ง ไม่เก่ง ไม่เก่ง (Compliment)

ในขั้นต่อไปหลังจากพิจารณาได้แล้วว่าอุตสาหกรรมใดเป็ น
compliment หรือ no compliment ในการศึกษาจะพิจารณาว่า
อุตสาหกรรมใดเป็ นอุตสาหกรรมที่จะผลิตเพื่อขายในประเทศนั้น และ
อุตสาหกรรมใดจะเป็ นมากกว่านั้น คือ สามารถเป็ นฐานในการส่งออกไป
ยังตลาดใหม่ต่อไปได้ด้วย ซึ่งดัชนีที่จะใช้พิจารณาคือ TSI ซึ่งจะระบุได้ว่า
ประเทศนั้นเป็ นผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าสุทธิ
ซึ่งเมื่อนำข้อมูล 2 มิติ คือ compliment หรือ no compliment
กับข้อมูลว่า เป็ นผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าสุทธิ มาประกอบกัน จะสามารถ
แบ่งกลุ่ม สินค้าได้เป็ น 4 กลุ่ม ได้ดังตาราง กล่าวคือ

- กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มที่เป็ น compliment และเป็ นฐานในการส่ง


ออกไปยังเพื่อนบ้านได้ด้วย กลุ่มนี้ จะเป็ นกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจ
มากที่สุด
- กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่เป็ น compliment แต่เป็ นฐานในการขาย
เฉพาะตลาดในประเทศ กลุ่มนี้ จะเป็ นกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจมาก
เป็ นอันดับที่ 2
- กลุ่มที่ 3 ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ compliment แต่เป็ นฐานในการส่งออก
ไปยังเพื่อนบ้านได้ด้วย กลุ่มนี้ จะเป็ นกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจเป็ น
อันดับที่ 3
- กลุ่มที่ 4 ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ compliment และเป็ นฐานในการขาย
เฉพาะตลาดในประเทศ กลุ่มนี้ จะเป็ นกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจเป็ น
อันดับสุดท้าย

ตาราง XX: ตัวอย่างการวิเคราะห์ดุลการค้ารายสาขาอุตสาหกรรมของ


ประเทศตลาดใหม่ และการเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่ากับไทย

ประเทศ A เป็ นผู้ส่งออก ประเทศ A เป็ นผู้นำเข้า


สุทธิ สุทธิ
(TSIA>0) (TSIA<0)

มีศักยภาพในการเชื่อม
1 2
โยง VC

มีไม่ศักยภาพในการเชื่อม
3 4
โยง VC

ที่มา: มูลนิธิ สวค.

(3) เกณฑ์สภาพแวดล้อมในการคัดเลือกสาขาอุตสาหกรรมเป้ า
หมาย
จากเกณฑ์การคัดกรองสาขาอุตสาหกรรมในประเทศตลาดใหม่ใน
ขั้นตอนที่ (2) ทำให้ทราบสาขาอุตสาหกรรมในประเทศ A ที่มีศักยภาพใน
การเชื่อมโยงเครือข่ายห่วงโซ่มูลค่ากับนักลงทุนไทย ในแต่ละลำดับความ
สำคัญ ในการคัดกรองสาขาอุตสาหกรรมในขั้นตอนที่ (3) นี้ จะพิจารณา
ในเชิงปริมาณ และคุณภาพจากสภาพแวดล้อมทั้ง 2 ด้าน ดังนี้

 สภาพแวดล้อมทางด้านอุปสงค์ อันสะท้อนได้จากปั จจัยที่บ่งชี้ความ


ต้องการการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสาขานั้นๆ ในประเทศ
ตลาดใหม่ (อาทิ ประเทศ A) ผ่านการสนับสนุนและแรงจูงใจต่างๆ
นอกจากนี้ ยังพิจารณารวมถึง การเอื้ออำนวย ข้อจำกัด อุปสรรค
ต่างๆ ในเชิง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐาน และ โลจิ
สติก (PESIL) มาประกอบการพิจารณาด้วย

 สภาพแวดล้อมทางด้านอุปทาน อันสะท้อนได้จากประโยชน์ที่ได้รับ
ทางฝั่ งนักลงทุนไทย อาทิ จะพิจารณาให้ความสำคัญกับการลงทุนใน
สาขาอุตสาหกรรมที่ SMEs ไทยมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าให้มากที่สุด
สุดท้าย จะพิจารณาความพร้อมและความกระตือรือร้นของนักลงทุน
ไทยรายสาขาอุตสาหกรรม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการ Focus
Group และการสัมภาษณ์นักลงทุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย

ตาราง XX: ตัวอย่างเกณฑ์และตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมในการคัดเลือก


สาขาอุตสาหกรรมเป้ าหมาย

Sectors Demand Supply คะแนน


(ประเทศ A’s (Thailand’s รวม
Conditions) Conditions) (ถ่วงน้ำ
Sensitiv
ความพร้อม/
e
นโยบาย ความ
PESIL/
ส่งเสริม Size กระตือรือร้น หนัก)
SWOT
(BOI) ของนัก
Conditio
ลงทุนไทย
ns
HS
SMEs/ ข้อมูลปฐม
Complem Code
ใหญ่/ ภูมิจาก
ent XX 0,1 0,1 XX
SMEs แล Focus/inter
(TSIA>0) XX
ะใหญ่ view
XX
SMEs/ ข้อมูลปฐม
Complem XX
ใหญ่/ ภูมิจาก
ent XX 0,1 0,1 XX
SMEs แล Focus/inter
(TSIA<0) XX
ะใหญ่ view
ที่มา: มูลนิธิ สวค.
หมายเหตุ: เกณฑ์ ตัวชี้วัด และการให้น้ำหนัก สำหรับการคัดเลือกสาขา
อุตสาหกรรมในแต่ละประเทศตลาดใหม่ในขั้นตอนนี้ จะมีการหารือร่วมกันกับทาง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI อีกครั้งหนึ่ง

บทที่ 3 และ บทที่ 4: อุตสาหกรรมสำคัญ

หลังจากทราบอุตสาหกรรมที่จะเข้าไปศึกษาเชิงลึกในแต่ละประเทศ
แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การศึกษา เชิงลึก ถึงอุตสาหกรรมแต่ละประเทศ
ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ 2 ขั้นตอน คือ การศึกษาห่วงโซ่มูลค่าของ
อุตสาหกรรม และ การศึกษาข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมดังกล่าวของ
แต่ละประเทศ
(1)การศึกษาห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรม

การศึกษาในส่วนนี้มีเป้ าหมายสำคัญเพื่อ “ระบุปั จจัยสำคัญ” ที่จะ


ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงลึก กล่าวคือ หากไม่มีการศึกษาถึงห่วงโซ่มูลค่า
ของอุตสาหกรรมก่อน ผู้ศึกษาจะไม่อาจทราบได้เลยว่า “องค์ประกอบใด
ในอุตสาหกรรม” ที่ต้องให้ความสำคัญในการจัดหาข้อมูล นอกจากนั้น
การศึกษาในส่วนนี้ยังเป็ นพื้นฐานเพื่อทำความเข้าใจต่อในการศึกษาต่อไป
ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าการศึกษาห่วงโซ่มูลค่า พบผลดังรูปภาพที่ จะ


เห็นว่า องค์ประกอบที่สำคัญใน อุตสาหกรรม “ข้าว” ได้แก่ ปั จจัยการ
ผลิต ชาวนา โรงสี ผู้ค้าในประเทศ ผู้ส่งออก ตลาด โกดัง สถาบันวิจัย
และรัฐบาล ข้อมูลของทั้ง 9 ก็จะต้องถูกนำมาศึกษาเชิงลึกต่อในขั้นตอนที่
2
(2)การศึกษาข้อมูลเชิงลึก

หลังจากระบุองค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมนั้นๆ ด้วยห่วงโซ่
มูลค่าได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป จะเป็ นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญของ
อุตสาหกรรมนั้น ได้แก่ ลักษณะผู้ผลิต ราคา ปริมาณ ต้นทุน ประเภท
สินค้า และข้อจำกัดอื่นๆ เพื่อนำไปใช้เป็ นข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์ข้อ
เสนอแนะและยุทธศาสตร์

ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรม “ข้าว” ใน ไทย อาจสรุปข้อมูลได้ดัง


ตาราง

ประเภทสินค้า ผู้ผลิต ปริมาณ ราคา ต้นทุน ข้อจำกัด


ปั จจัยการ ปุ๋ย สารเคมี -กรมการ -ปุ๋ยและสาร ปุ๋ย 800 ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ผลิต เมล็ดพันธุ์ ข้าวผลิต เคมีมีการ บาท ต่อ
เมล็ดพันธุ์ ผลิตและนำ 50 กิโล
-นำเข้าสาร เข้าเพียงพอ สารเคมี
ตั้งต้นมา -เมล็ดพันธุ์ 1 พัน
ผสมปุ๋ยใน ในปั จจุบัน บาทต่อ
ประเทศ เพียงพอ แต่ ลิตร
-สารเคมีนำ หากเพิ่มการ เมล็ด
เข้า ผลิตเพียง พันธุ์ 20
20% จะไม่ บาทต่อ
เพียงพอ กิโลกรัม
ชาวนา ข้าวหอมมะลิ แบ่งเป็ น ประมาณ 40 ตาม ร้อยละ ขนาด
ข้าวขาว และ รายใหญ่ ล้านตันข้าว ปกติ 8 40 ถึง พื้นที่นา
ข้าวพิเศษ รายเล็ก เปลือกต่อปี พันบาท ร้อยละ
และ ในเขต ข้าวนาปี ต่อตัน 60 แล้ว
ชลประทาน และนาปรัง สำหรับ แต่
กับนอก ใกล้เคียงกัน ข้าวขาว ประเภท
ชลประทาน 1.5 หมื่ ข้าว

สำหรับ
ข้าว
หอม
มะลิ
โรงสี ข้าวหอมมะลิ โรงสีใหญ่ 20 ล้านตัน 1.2 ร้อยละ ปริมาณ
ข้าวขาว ข้าว กลาง เล็ก ข้าวสารต่อปี หมื่น ถึง 80 ถึง ข้าว
นึ่ง แกลบ รำ ทั่วประเทศ (ชาวนามี 3 หมื่น ร้อยละ ชาวนา
ปลายข้าว ข้าวเท่าไร สี บาทต่อ 85 ผลิต
จมูกข้าว ได้เท่านั้น) ตัน
ข้าวสาร
(แล้วแต่
ชนิด
ข้าว)
ผู้ค้าใน ข้าวหอมมะลิ มีหลายเจ้า 10 ล้านตัน ใกล้ ร้อยละ ขนาด
ประเทศ ข้าวขาว ข้าว ข้าวสารต่อปี เคียง 90 โกดัง
นึ่ง ตลาด ขนาด
โลก ตลาด
ผู้ส่งออก ข้าวหอมมะลิ มี 5 เจ้า 10 ล้านตัน ตลาด ร้อยละ ขนาด
ข้าวขาว ข้าว ใหญ่ (5 ข้าวสารต่อปี โลก 90 โกดัง
นึ่ง เสือ) ขนาด
ตลาด
ตลาด ข้าวหอมมะลิ เอเชีย ในประเทศ เอเชีย
ข้าวขาว ข้าว อาหรับ และต่าง หอม
นึ่ง แอฟริกา ประเทศ มะลิ
อย่างละไม่ และข้าว
เกิน 11 ล้าน ขาว
ตันต่อปี อาหรับ
หอม
มะลิ
แอฟริก
า ข้าว
นึ่ง
โกดัง โกดัง รัฐ และ 8 ล้านตันต่อ เดือนละ ไม่ทราบ ไม่ทราบ
เอกชน ปี 500
บาทต่อ
ตัน
สถาบันวิจัย ปุ๋ย เครื่องจักร มหาวิทยาลั ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ย K และ T
รัฐบาล พันธุ์ข้าว กรมการ ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ทราบ
การสีข้าว ข้าว
กระทรวง
อุตสาหกรร

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ปั ญหาข้าวของไทยคือ ที่ดิน


การเกษตรขาดแคลน และปั ญหา ตลาดไม่ขยายตัว ในขณะที่ปั จจัยด้าน
อื่นของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก แนวทางการลงทุนหรือออกไปลงทุนจึง
ต้องเป็ นการเพิ่มเติม หรือ พัฒนา ด้านที่ดิน หรือ ตลาด โดย แลกกับ สิ่ง
ที่ไทยเป็ นจุดแข็ง คือ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และกำลังโรงสี

บทที่ 5 ข้อเสนอแนะ

ในส่วนนี้จะจัดทำข้อเสนอแนะใน 2 ลักษณะคือในภาพรวม และใน


รายอุตสาหกรรม โดย

ข้อเสนอแนะรายอุตสาหกรรม

เมื่อได้ผลข้อมูลเชิงลึก ของไทย (ซึ่งจะได้เพิ่มเติมจากการทำ


workshop) และประเทศ/รัฐ เป้ าหมาย รวมถึงกลุ่มประเทศที่เป้ าหมาย
เป็ นสมาชิกแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็ นการนำข้อมูลมาระบุเป็ นข้อเสนอแนะ ยก
ตัวอย่างเช่น หาก อุตสาหกรรมเป้ าหมายคือ ข้าว โดย พื้นที่เป้ าหมาย
ลงทุน คือ รัฐ T ในอินเดีย ซึ่งมีพื้นที่เกษตรมากมายและอุดมสมบูรณ์แต่
ขาดปั จจัยการผลิต องค์ความรู้ในการปลูก และโรงสี และมีตลาดเป้ า
หมาย คือ รัฐ B ในอินเดีย และประเทศ B ในเอเชียใต้ แล้ว

แนวทางข้อเสนอแนะจึงควรเป็ นการ ลงทุนสีข้าว สอนเกษตรกรใน


พื้นที่ให้ปลูก ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือเกษตรพันธสัญญา โดยอาจนำ
ชาวนาไทยที่มีความสามารถเข้าไปสอนการปลูก (แลกกับหุ้นในโรงสี) นำ
เข้าปั จจัยการผลิตบางอย่างจากไทยเข้าไปขาย ติดต่อบริษัทโลจิสติกส์เพื่อ
หาเส้นทางถูกและสั้นที่สุดในการขนส่งสินค้าไปยัง รัฐ B และประเทศ B
ตั้งศูนย์กระจายสินค้าและโฆษณาประชาสัมพันธ์ใน รัฐ และประเทศดัง
กล่าว

ดังนั้นก็จะได้ข้อเสนอแนะต่อ ภาคส่วนดังกล่าว คือ

- โรงสีรายใหญ่ จัดตั้งโรงสี ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ เกษตร


พันธสัญญา จัดหาบริษัทโลจิสติกส์ และศูนย์กระจายสินค้า
- ชาวนา ถือหุ้นในโรงสีแห่งใหม่ สอนอบรมให้ชาวนาในรัฐ T ปลูก
ข้าวเป็ น และปลูกได้ดี
- บริษัทที่ปรึกษา ร่างต้นแบบสัญญา ช่วยเรื่องเอกสาร กฎระเบียบ
บัญชี ฯลฯ ในการจัดตั้ง และดำเนินธุรกิจ
- บริษัทขายปั จจัยการผลิต ตั้งศูนย์กระจายสินค้า โดย นำเข้า
ผลิตภัณฑ์จากไทย ซึ่งในอนาคตอาจขยายเป็ นผลิตเองได้
- ภาครัฐ เป็ นพี่เลี้ยงดูแล รวมถึง ช่วยติดต่อกับรัฐในเรื่องเอกสาร
และกฎระเบียบ หากจำเป็ น

ข้อเสนอแนะภาพรวม

จะนำข้อมูลจากบทที่ 1 และ บทที่ 2 มาใช้ในการศึกษา ซึ่งจะเห็น


ได้ว่า ในบทที่ 1 และบทที่ 2 ได้มีวิเคราะห์ SWOT ของประเทศนั้นๆ ใน
เชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และกฎ
ระเบียบ ไว้อยู่แล้ว ซึ่งจะสามารถนำ SWOT ดังกล่าวมาสรุปเป็ นตาราง
TOWS เพื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในภาพรวม รวมถึง ขั้นตอน
แนะนำในการประกอบธุรกิจในประเทศเป้ าหมายต่อไปได้ด้วย

S W
กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์ป้ องกัน
O
จุดอ่อน
กลยุทธ์เพื่อลด กลยุทธ์ป้ องกัน
T
อุปสรรค หลบหลีก
5. การส่งมอบงาน

งบประมาณโครงการ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) โดยแบ่ง


จ่ายเป็ น 4 งวด ดังนี้

งวดที่ 1 จำนวนร้อยละ 15 ของค่าจ้างทั้งหมด ภายหลังจากที่


ปรึกษาส่งมอบแผนการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
1) ข้อมูลที่จะดำเนินการศึกษาและรวบรวม

2) วิธีการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล และแหล่งที่มาของข้อมูล

3) โครงร่างหัวข้อรายงานศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งโครงร่าง
รายงานดังกล่าวต้องครอบคลุมตามที่ระบุไว้ใน TOR

4) ร่างแผนการจัดกิจกรรม Fact Finding เพื่อสำรวจข้อมูล และ


ร่างแผนการจัดสัมมนาเผยแพร่ข้อมูล

5) รายละเอียดบุคลากรประจำโครงการ

งวดที่ 2 จำนวนร้อยละ 40 ของค่าจ้างทั้งหมด ภายหลังจากที่


ปรึกษาส่งมอบร่างรายงานผลการศึกษา โดยเนื้อหารายงานจะประกอบ
ด้วย
6) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน 9 ชุด

7) ดำเนินการศึกษาข้อมูลเชิงลึกแล้วเสร็จ อย่างน้อย 3 ประเทศ

8) ส่งมอบรายงานผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึก ตามขอบเขตการ
ดำเนินงานของที่ปรึกษา
9) จัดทำสรุปข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทาง
เศรษฐกิจของประเทศเป้ าหมายที่มีผลต่อการลงทุน เสนอต่อ
สำนักงานฯ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง (ครั้งละไม่น้อยกว่า 3
หน้ากระดาษ A4)

งวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 35 ของค่าจ้างทั้งหมด ภายหลังจากที่


ปรึกษาส่งมอบร่างรายงานผลการศึกษา โดยเนื้อหารายงานจะประกอบ
ด้วย
10) สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ จำนวน 9 ชุด

11) ดำเนินการศึกษาข้อมูลเชิงลึกแล้วเสร็จครบถ้วนตามที่
กำหนด

12) ส่งมอบรายงานการศึกษาข้อมูลเชิงลึก ตามขอบเขตการ


ดำเนินงานของที่ปรึกษาครบถ้วน
ทั้ง 5 ประเทศ

13) จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา โดยที่ปรึกษาต้องเตรียม


ข้อมูลสำหรับสัมมนาในประเทศ ประสานการเชิญวิทยากร
รวมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาไม่
น้อยกว่า 100 คน จำนวน 1 ครั้ง

14) จัดทำสรุปข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทาง
เศรษฐกิจของประเทศเป้ าหมายที่มีผลต่อการลงทุน เสนอต่อ
สำนักงานฯ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง (ครั้งละไม่น้อยกว่า 3
หน้ากระดาษ A4)
งวดที่ 4 จำนวนร้อยละ 10 ของค่าจ้างทั้งหมด ภายหลังจากที่
ปรึกษาส่งมอบร่างรายงานผลการศึกษา โดยเนื้อหารายงานจะประกอบ
ด้วย
15) สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ จำนวน 9 ชุด

16) ส่งมอบรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์เชิงลึกของ
ประเทศเป้ าหมายฉบับสมบูรณ์ทั้ง 5 ประเทศ ในรูปแบบสิ่ง
พิมพ์จำนวนอย่างน้อย 20 ชุด และรูปแบบข้อมูลอิเล็กมรอนิ
กส์ จำนวนอย่างน้อย 20 ชุด

17) สรุปผลการจัดสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา

18) จัดทำสรุปข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อไหวทาง
เศรษฐกิจของประเทศเป้ าหมายที่มีผลกระทบต่อการลงทุน
เสนอต่อสำนักงานฯ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง (ครั้งละไม่น้อย
กว่า 3 หน้ากระดาษ A4)

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 รวบรวมความรู้ และสร้างความเข้าใจในโอกาสการลงทุน


ในประเทศเป้ าหมาย ได้แก่ ประเทศแอฟริกาใต้ แทนซาเนีย
เอธิโอเปี ย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย ให้กับนักธุรกิจ
ไทยที่สนใจ

6.2 เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานฯ และหน่วย


งานภาครัฐและเอกชน ในประเทศเป้ าหมาย ได้แก่ ประเทศ
แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย เอธิโอเปี ย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ
อินเดีย
6.3 สร้างความสนใจแก่นักธุรกิจไทยในการไปลงทุนในประเทศ
เป้ าหมาย ได้แก่ ประเทศแอฟริกาใต้ แทนซาเนีย เอธิโอเปี ย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย

6.4 ขยายขอบเขตการลงทุนในประเทศตลาดใหม่

6. คณะทำงานโครงการและผลงานที่เกี่ยวข้อง

งานศึกษานี้ มูลนิธิ สวค. จะร่วมกับสำนักคณะกรรมการส่งเสริม


การลงทุน ในการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด โดย มูลนิธิ สวค. จะเป็ นทีมวิจัย
หลัก ภายใต้การชี้แนะแนวทาง รวมถึงให้ข้อมูลที่เป็ นประโยชน์กับทางทีม
วิจัย ทั้งนี้ บุคลากรหลักภายใต้โครงการนี้ของ มูลนิธิ สวค. ประกอบไป
ด้วยทีมวิจัย 7 ท่าน ได้แก่

รายละเอียดเกี่ยวกับบุคลากร
คุณสมบัติบุคลากร
รายชื่อ ตำแหน่ง ประสบการ
วุฒิการศึกษา ผลงานที่เกี่ยวข้อง
ณ์ (ปี )
ที่ปรึกษาโครงการ
ที่ปรึกษาโครงการด้าน
การค้า
1 ดร. ณรงค์ชัย อัคร ที่ปรึกษา ป. เอก มากกว่า 30
การลงทุนให้กระทรวง
. เศรณี โครงการ (เศรษฐศาสตร์) ปี
พาณิชย์
และ BOI
บุคลากรหลัก
2 ดร.รพีสุภา หวัง ผู้จัดการ ป. เอก () มากกว่า 20 บริหารจัดการโครงการ
. เจริญรุ่ง โครงการ ป. โท () ปี และทำวิจัยให้...

3 นายสุวิทย์ สรรพ ผู้ช่วยผู้ ป. โท มากกว่า 15 ผู้เชี่ยวชาญด้าน


เศรษฐกิจมหภาค
กระทรวงการคลัง รวม
ถึงเป็ น
จัดการ
. วิทยศิริ (เศรษฐศาสตร์) ปี ที่ปรึกษาด้าน
โครงการ
เศรษฐศาสตร์ให้กรม
บัญชีกลาง และหน่วย
งานอื่นๆ
ทำวิจัยให้กระทรวง
4 ดร.กวีพจน์ สัตต ป. เอก มากกว่า 10 พาณิชย์ กระทรวง
นักวิจัย
. วัฒนานนท์ (เศรษฐศาสตร์) ปี อุตสาหกรรม กรม
ศุลกากร BOI ฯลฯ
ช่วยทำวิจัยให้
5 นายสิทธิพร พูล ผู้ช่วยนัก ป. โท มากกว่า 7 กระทรวงการคลัง
. สวัสดิ์ วิจัย (เศรษฐศาสตร์) ปี สำนักงบประมาณ ADB
BOI ฯลฯ
ช่วยทำวิจัยให้
M.B.A.
6 นายพิเศษพร ว ผู้ช่วยนัก มากกว่า 7 กระทรวงพาณิชย์
ป. ตรี
. ศวงศ์ วิจัย ปี กระทรวงอุตสาหกรรม
(เศรษฐศาสตร์)
BOI ฯลฯ
บุคลากรสนับสนุน
ติดต่อประสานงาน
7 นายภัทร สริยาภ เลขานุการ มากกว่า 5 ดูแลเอกสารด้านการ
ป. ตรี (ทั่วไป)
. รณ์ โครงการ ปี วิจัย/จัดอบรม/เลขานุก
ารผู้บริหาร

You might also like