RT Brochure

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 19

คู่มือ

การดูแลผู้ป่วยฉายรังสี
บริเวณศีรษะและลาคอ
1

คำนำ

การฉายรังสี เป็ นหนึ่งวิธีในการรักษาโรคมะเร็งบริ เวณศีรษะและลาคอ เพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อ


งอกหรื อทาลายเซลล์มะเร็ง การรักษาไม่วา่ วิธีใดย่อมต้องมีประโยชน์และมีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงที่ไม่
พึงประสงค์ ทาให้ผปู ้ ่ วยเกิดการกังวลต่อการรักษา บางรายอาจจะหยุดการรักษาหรื อไปรับการรักษาที่ผิดวิธี
ห้องตรวจรังสี รักษา จึงได้จดั ทาคู่มือการดูแลผูป้ ่ วยฉายรังสี บริ เวณศีรษะและลาคอ เพื่อเผยแพร่ ให้
ผูป้ ่ วยโรคมะเร็งและประชาชนรับทราบ เพื่อลดความวิตกกังวล และสามารถปฏิบตั ิตนได้อย่างถูกต้อง

อารยา ปานพรม
30 มีนาคม 2564
2

มะเร็งศีรษะและลาคอ
หมายถึง มะเร็งที่เกิดขึ ้นบริเวณทางเดินหายใจและทางเดินอาหารส่วนต้ น เช่น ช่องปาก, คอ,
ต่อมไทรอยด์, ต่อมน ้าลาย, หลังโพรงจมูก

สาเหตุและปั จจัยเสี่ยง
การดื่มเหล้ า
การสูบบุหรี่
การเคี ้ยวหมาก
การได้ รับมลภาวะทางอากาศ
ความผิดปกติทางพันธุกรรม

อาการมะเร็งศีรษะและลาคอ
➢ มีแผลในปากเรื อ้ รัง เจ็บปาก เจ็บคอ
➢ ก้ อนโตขึ ้นที่บริเวณลาคอ
➢ หายใจลาบาก
➢ เคี ้ยวหรื อกลืนลาบาก กลืนอาหารไม่ลง
➢ เสียงเปลี่ยน เสียงแหบ
➢ มีกลิ่นปาก หรื อลมหายใจมีกลิ่น
➢ ปวดฟั น/กราม
➢ หูอื ้อ ปวดหู
➢ น ้าหนักลด
การวินิจฉัยโรคมะเร็งศีรษะและลาคอ
✓ การซักประวัติ, ตรวจร่างกาย
✓ ส่องกล้ อง, ตรวจชิ ้นเนื ้อโดยการเจาะดูดเซลล์/ตัดชิ ้นเนื ้อ
3

✓ CT , MRI
การรักษา
▪ การผ่าตัด
▪ การให้ ยาเคมีบาบัด
▪ การฉายรังสี
การปฏิบตั ิตวั ก่อนการฉายรังสี
1.ด้ านร่างกาย
รับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะเนื ้อสัตว์ เป็ นสิ่งสาคัญที่จะช่วยฟื น้ ฟูซ่อมแซมร่างกาย
ให้ ผ่านพ้ นการรักษาไปได้ ด้วยดี

นอนหลับพักผ่อนให้ เพียงพออย่างน้ อย 6-8 ชัว่ โมง/วัน


งดดื่มเครื่ องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดและงดสูบบุหรี่

เตรียมช่องปากและฟั น โดยจะต้ องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนฉายรังสีเพื่อประเมินและรักษา หากมี


การถอนฟั นจะต้ องรอให้ แผลหายสนิทอย่างน้ อย 2 สัปดาห์ก่อนเริ่มฉายรังสี
4

ผู้รับบริ การที่มีโรคประจาตัว เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ ให้ รับประทานยา


สม่าเสมอและไปตรวจตามนัด *ไม่ต้องงดยา*

เตรียมแผนการเดินทางหรื อที่พกั ระหว่างมารับการฉายรังสี เนื่องจากต้ องฉายรังสีประมาณ 30-35


ครัง้ โดยฉายรังสีวนั ละ 1 ครัง้ ครัง้ ละ 15-30 นาที ต่อเนื่องสัปดาห์ละ 5 วัน หยุดพักเสาร์ -อาทิตย์
และวันหยุดราชการ ใช้ เวลาในการรักษาประมาณ 6-8 สัปดาห์

เตรียมใบรับรองสิทธิ กรณีสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลอื่น
▪ หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลต้ นสังกัด สาคัญมาก ใช้ เพื่อเปิ ดสิทธิการรักษา ณ โรงพยาบาล
ปลายทาง
▪ ใบสรุปประวัติจากแพทย์ผ้ รู ักษา
▪ ผลชิ ้นเนื ้อไม่ว่าจะเป็ นการตัดชิ ้นเนื ้อตรวจ หรื อการใช้ เข็มเจาะดูด
▪ Block slide ของชิ ้นเนื ้อ
▪ ภาพทางรังสีวิทยาทังหมด ้ ควรให้ โรงพยาบาลต้ นสังกัดบันทึกมาในรูปแบบแผ่นซีดี หากได้ รับ
การรักษาไปแล้ ว (เช่น ผ่าตัด, เคมีบาบัด,ฉายรังสี) ต้ องนาภาพก่อนรักษามาด้ วยเสมอ
▪ ผลอ่านการตรวจทางรังสีวิทยาทังหมด ้ ที่อ่านและแปลผลโดยรังสีแพทย์
▪ บันทึกการผ่าตัด (กรณีผ่าตัดไปแล้ ว)
▪ บันทึกสูตรยาเคมีบาบัด ที่มีรายละเอียดปริมาณยา, ชนิดยา, วัน/เดือน/ปี ที่ได้ รับ, (กรณีได้ รับ
ยาเคมีบาบัดแล้ ว)
5

▪ ประวัติการฉายรังสี (กรณีเคยเคยได้ รับรังสีแล้ ว) วัน/เดือน/ปี ที่ได้ รับรังสี, ปริมาณรังสี, ภาพที่


แสดงถึงขอบเขตลารังสี, ปริ มาณรังสีที่อวัยวะข้ างเคียงได้ รับ ข้ อมูลนี ้สาคัญและจาเป็ นมาก
สาหรับแพทย์รังสีรักษา ณ โรงพยาบาลปลายทาง เพื่อเลือกการฉายรังสีที่เหมาะสมให้ ผ้ ปู ่ วย
▪ ประวัติโรคประจาตัวและยาที่ใช้ ในปั จจุบนั
2.ด้ านจิตใจ
❖ กาลังใจเป็ นสิ่งสาคัญ ทาใจให้ สบาย ปฏิบตั ิกิจกรรมประจาวันตามปกติ ทาจิตใจให้ เข้ มแข็ง อย่า
เก็บความทุกข์ ความกังวล สอบถามข้ อมูลจากแพทย์ผ้ รู ักษา บุคลากรที่เกี่ยวข้ อง
❖ อย่าปล่อยเวลาให้ ว่าง หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทาเพื่อผ่อนคลาย เช่น การออกกาลังกาย, การ
อ่านหนังสือ
❖ ปรึกษากับครอบครัว คนใกล้ ชิดในการเตรี ยมความพร้ อม
ช่วยเหลือสนับสนุนเรื่ องต่าง ๆ

การปฏิบัติตัวระหว่ างฉายรังสี
1.ผิวหนัง
อาจจะมีอาการแห้ ง ตึง และคัน มักจะเกิดขึ ้นเมื่อฉายรังสีประมาณสัปดาห์ที่ 3-4 ต่อมาจะมีการ
อักเสบเป็ นสีแดงเรื่อ ๆ และสีคล ้าขึ ้น หรือหลุดลอก บางรายมีแผลเปี ยกหรือพุพองคล้ ายแผลไฟไหม้
การดูแลผิวหนังควรปฏิบตั ิดงั นี ้
▪ ระวังดูแลเส้ นที่ขีดไว้ อย่าให้ เส้ นลบหายไป รักษาความสะอาดผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
ให้ แห้ งและสะอาดอยู่เสมอ ห้ ามถูและเกา อาบน ้าได้ ใช้ ผ้าขนหนูน่มุ ๆ ซับเบา ๆ ให้ แห้ ง
▪ ไม่ควรใช้ สารที่ก่อให้ เกิดการระคายเคืองผิว เช่น แอลกอฮอล์ ยาหม่อง ครีมนวดต่าง ๆ
แป้ง สบู่ กระเป๋ าน ้าร้ อน ในบริเวณที่ฉายรังสี
▪ ควรเลือกใส่เสื ้อผ้ าที่หลวม ใส่สบาย ไม่รัดแน่น เนื ้อผ้ าอ่อนนุ่ม ระบายอากาศได้ ดี ลดการ
ใส่เสื ้อคอปก ไม่ควรใส่เครื่ องประดับ สร้ อยคอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดสีผิวหนังบริเวณที่
ฉายรังสี
▪ กรณีเป็ นแผลพุพอง ให้ ล้างแผลด้ วยน ้าเกลือ ห้ ามปิ ดพลาสเตอร์ บริเวณผิวหนังที่ฉายรังสี
เพราะจะทาให้ แผลมีขนาดกว้ างขึ ้น และควรแจ้ งแพทย์เพื่อรับยาทา
▪ หากผิวหนังแห้ ง คันมาก ควรแจ้ งแพทย์เพื่อให้ ยาและครีมทา สามารถใช้ ครีม โลชัน่ ทา
บาง ๆ ก่อนนอนเพื่อลดอาการตึงและแห้ งคันได้
6

2.การรับประทานอาหาร
• ควรรับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่ เน้ นอาหารประเภทโปรตีน เนื ้อสัตว์ นม ไข่ โปรตีนจะช่วย
ซ่อมแซมและสร้ างเนื ้อเยื่อ
• การรับรสจะเปลี่ยนแปลง มีอาการคอแห้ ง ปากแห้ งจากการฉายรังสี ควรรับประทานอาหารอ่อน
อาหารเหลว เช่น ข้ าวต้ ม, โจ๊ ก, ซุป, แกงจืด จะช่วยให้ กลืนง่ายขึ ้น
• หลีกเลี่ยงอาหารร้ อนจัด, รสจัด, รสเปรีย้ ว, เผ็ดร้ อน รับประทานไอศกรีม เจลลี่แช่เย็น, อมน ้าแข็ง
ความเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปาก เจ็บคอ เจ็บแผลในปาก จากการฉายรังสี
• ดื่มน ้าอย่างน้ อยประมาณ 2 ลิตร ต่อวัน เพื่อลดอาการปากแห้ ง คอแห้ ง อาจพกขวดน ้าสาหรับจิบ
บ่อย ๆ
• หากมีอาการเบื่ออาหาร ทานได้ น้อย หรื อไม่ได้ เลย น ้าหนักลงมาก อ่อนเพลีย ให้ แจ้ งแพทย์ทราบ
อาจจะจาเป็ นต้ องให้ อาหารทางสายยางผ่านจมูก หรื อผ่านทางหน้ าท้ อง หมัน่ สังเกต และชัง่
น ้าหนักอย่างน้ อยสัปดาห์ละ 1 ครัง้ ถ้ าน ้าหนักตัวลดลง ควรปรับเพิ่มปริมาณอาหารมื ้อหลัก และ
ทานอาหารเสริม เช่น นม ระหว่างมื ้ออาหาร

3. การดูแลช่องปาก
7

เยื่อบุช่องปากจะมีการอักเสบ เป็ นแผลร้ อนในจากการฉายรังสี โดยจะเริ่มอาการหลังจากได้ รับการ


ฉายรังสีไปแล้ ว 2-3 สัปดาห์ โดยจะเป็ นมากขึ ้นเรื่อย ๆ จนกระทัง่ ฉายรังสีครบจะค่อย ๆ ฟื น้ ฟู
กลับมาเป็ นปกติ
ดูแลความสะอาดช่องปาก แปรงฟั นให้ ถกู วิธี หลังอาหารทุกมื ้อเนื่องจากฟั นที่ได้ รับการฉายรังสีจะ
ผุง่ายกว่าฟั นปกติ โดยใช้ แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม ยาสีฟันที่มีสว่ นผสมฟลูออไรด์ รสไม่เผ็ด เช่น
ยาสีฟันเด็ก
หลีกเลี่ยงน ้ายาบ้ วนปากที่มีสว่ นผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทาให้ ระคายเคืองช่องปาก ให้ ทา
น ้ายาบ้ วนปากได้ เองโดยใช้ น ้าสะอาดต้ มสุก 1 ลิตร ผสมเกลือป่ น 1 ช้ อนชา และผงฟู
(โซเดียมไบคาร์ บอนเนต หรื อเบกกิ ้งโซดา) 1 ช้ อนชา บ้ วนบ่อย ๆ ทุกๆ 1 ชัว่ โมง
งดสารระคายเคืองต่างๆ เช่น เหล้ า บุหรี่

หมัน่ สังเกตความผิดปกติในช่องปาก เช่น การเกิดคราบฝ้าขาว หรือหนองในปาก เจ็บปากมาก


ควรแจ้ งแพทย์ เนื่องจากอาจมีภาวะติดเชื ้อ จาเป็ นต้ องใช้ ยาระงับอาการปวด
กรณีใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ ควรงดใส่ฟันปลอม
ทาวาสลีนหรือลิปมันในกรณีเจ็บริมฝี ปากและปากแห้ ง
8

การปฏิบตั ิตวั หลังฉายรังสีครบ


1.ดูแลผิวหนัง ยังต้ องดูแลรักษาผิวหนังให้ แห้ งและสะอาด ไม่ควรแกะเกาผิวหนัง อย่าพยายามขัดถู
เนื่องจากผิวหนังยังคงอักเสบ และบอบบางอยู่ เส้ นที่ขีดไว้ จะค่อยๆ จางหายไปเอง
✓ ทาครีมหรื อโลชัน่ เป็ นประจา ทุกวัน เพื่อลดความแห้ งตึงของหนัง
✓ นวดผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี เพื่อป้องกันอาการคอบวมจากต่อมน ้าเหลืองอุดตัน และป้องกัน
พังผืดยึดติดที่คอ ควรนวดทุกวัน วันละ 10-15 นาที อาจใช้ ครีมหรื อโลชัน่ ร่วมระหว่างนวดจะทาให้
นวดได้ สะดวกขึ ้น ดังนี ้
o ใช้ มือทัง้ 2 ข้ างวางแนบบนแก้ ม ลงน ้าหนักบนผิวหนัง แล้ วหมุนมือเคลื่อนเป็ นวงกลมจาก
มุมปากโค้ งไปยังหู แล้ วกลับมายังตาแหน่งเดิมให้ นวดจนรู้สกึ ถึงความอุ่นบนใบหน้ า

o ใช้ มือนวดบริเวณคอและใต้ คางทัง้ 2 ข้ าง เช่นเดียวกับบริเวณใบหน้ า


9

o บริหารลาคอเป็ นประจาทุกวัน วันละ 10-15 นาที เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดยึดติดที่คอ


ดังนี ้

▪ ท่าที่ 1 หันหน้ าไปทางซ้ ายจนสุดแล้ วค่อยๆ หันไปทางขวาจนสุด ทาซ ้าประมาณ


20 ครัง้

▪ ท่าที่ 2 ก้ มศีรษะจนคางชิดอก แล้ วค่อยๆ แหงนศีรษะขึ ้นจนสุด ทาซ ้าประมาณ


20 ครัง้

▪ ท่าที่ 3 เอียงศีรษะให้ ชิดไหล่ จนรู้สกึ คอตึง ทาสลับข้ างซ้ ายและขวา ประมาณ 20


ครัง้
10

o บริหารปากและขากรรไกรเป็ นประจาทุกวัน เพื่อป้องกันอาการขากรรไกรยึดจากการฉาย


รังสี ดังนี ้

▪ ท่าที่ 1 อ้ าปากกว้ างๆ และหุบปาก ประมาณ 20 ครัง้ โดยอ้ าปากให้ กว้ างจน
เท่ากับความกว้ างนิ ้วมือ 3 นิ ้ว วางตัวในแนวตัง้

▪ ท่าที่ 2 อมท่อพลาสติก หรือขวดนมเปรีย้ ว ที่มีขนาดใหญ่พอให้ อ้าปากจน


กล้ ามเนื ้อรู้สึกตึง ครัง้ ละ 1 นาที อย่างน้ อย 5 ครัง้

2.มาตรวจติดตามอาการตามนัดอย่างสม่าเสมอเพื่อเฝ้าระวังการกลับเป็ นซ ้าของโรคหรือเมื่อมี
อาการผิดปกติให้ มาพบแพทย์ก่อนนัดได้ โดยต้ องโทรนัดหมายล่วงหน้ า และปฏิบตั ิตามคาแนะนา
ของแพทย์ทกุ สาขาที่เกี่ยวข้ อง
3.การรับประทานอาหารควรให้ ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารโปรตีน จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
4.ควรดื่มน ้าในปริมาณเหมาะสม อย่างน้ อยวันละ 8-10 แก้ ว
11

การดูแลสุขภาพช่ องปากผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลาคอที่ได้ รับการฉายรั งสีรักษา

การฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งนัน้ นอกจากรังสีจะไปทาลายเนื ้อมะเร็งแล้ ว ยังส่งผลต่อเนื ้อเยื่อปกติ


และกระดูกบริเวณที่ได้ รับรังสี ทาให้ เนื ้อเยื่อบริเวณดังกล่าวมีเลือดมาเลี ้ยงน้ อยลง เกิดผลข้ างเคียงบริเวณ
ใบหน้ า คอและช่องปาก ดังนี ้
1. ผิวหนังบริ เวณที่ได้ รับรังสี จะแห้ งเป็ นขุย และมีรอยดาคล้ ายรอยไหม้
2. มีอาการตึงบริ เวณใบหน้ า คอ และอ้ าปากได้ น้อยลง
3. เนื ้อเยื่อในช่องปากแดงอักเสบ เป็ นแผล และมีอาการแสบ
4. มีอาการปากแห้ ง จากภาวะที่ต่อมน ้าลายผลิตน ้าลายได้ น้อยลง
5. มีการรับรสเปลี่ยนแปลงไป
6. มีฟันผุ เนื่องจากเนื ้อฟั นขาดเลือดมาเลี ้ยง ฟั นจะค่อยๆสึกกร่อนและหักได้ ง่าย
7. แผลถอนฟั นภายหลังได้ รับรังสีรักษาจะหายยาก หรื ออาจไม่หายเลย
8. อาจมีกระดูกตายโผล่ออกมานอกเหงือก เนื่องจากเลือดมาเลี ้ยงน้ อยลง และอาจติดเชื ้อลุกลาม
เป็ นบริเวณกว้ าง
9. มีภาวะการขาดสารอาหารร่วมด้ วย

รูปที่ 1 ผิวหนังแห้ ง มีรอยดาคล้ ายรอยไหม้ รูปที่ 2 เนื ้อเยื่อในช่องปากแดงอักเสบ เป็ นแผล


12

รูปที่ 3 ฟั นผุ สึกกร่อน และหักได้ ง่าย รูปที่ 4 แผลถอนฟั นไม่หาย มีกระดูกตายโผล่

ออกมานอกเหงือก อาจติดเชื ้อลุกลามได้

** การเตรี ยมสภาพช่ องปากก่ อนได้ รับรั งสีรักษา และการดูแลช่ องปากระหว่ างและภายหลัง


ได้ รับรังสีรักษาจึงมีความสาคัญมาก **

การเตรียมสภาพช่ องปากก่ อนได้ รับรังสีรักษา


ก่อนได้ รับการฉายรังสีมะเร็งบริเวณศีรษะ คอและช่องปากนัน้ ผู้ป่วยต้ องได้ รับการตรวจรักษา
สุขภาพช่องปากจากทันตแพทย์ ได้ รับคาแนะนาให้ ตระหนักถึงความสาคัญในการดูแลรักษาสุขภาพช่อง
ปากให้ ดีตลอดชีวิต เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปั ญหาที่อาจเกิดขึ ้นโดย
1. ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าให้ ถอนฟั นหรื อเก็บรักษาฟั นซี่ใด ทังนี ้ ้ขึ ้นกับสุขภาพช่องปาก สภาพฟั น
ของผู้ป่วย แผนการผ่าตัดและการฉายรังสี
2. กรณีต้องถอนฟั น จาเป็ นต้ องรอให้ แผลถอนฟั นหายดีประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่ มฉายรังสีได้
ดังนันผู
้ ้ ป่วยควรได้ รับการถอนฟั นอย่างเร่งด่วน และใช้ เวลาให้ น้อยที่สดุ เพื่อผู้ป่วยจะได้ รับรังสี
รักษาโดยเร็วก่อนที่มะเร็งจะกระจายมากขึ ้น
3. ฟั นที่เหลือในช่องปาก ควรได้ รับการบูรณะให้ อยู่ในสภาพปกติ ก่อนรับการฉายรังสี
13

คาแนะนาการดูแลสุขภาพช่ องปากระหว่ างได้ รับรั งสีรักษา


ปั ญหาที่อาจเกิดขึ ้นในระหว่างได้ รับรังสีรักษามะเร็งบริเวณศีรษะ คอ และช่องปาก คือ เนื ้อเยื่อใน
ช่องปากแดงอักเสบ เป็ นแผล และมีอาการแสบ มีอาการปากแห้ ง อ้ าปากได้ น้อยลง และอาจมีการติดเชื ้อ
ในช่องปากแบบเฉียบพลัน ดังนัน้ ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพช่องปากเป็ นอย่างดีเพื่อลดปั ญหาที่อาจเกิดขึ ้น
ดังนี ้
1. รักษาสุขภาพช่องปากให้ สะอาดที่สดุ งดใส่ฟันปลอม เพื่อลดการระคายเคืองในช่องปาก
2. ทานอาหารอ่อนๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่ างกาย
3. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์, ชา, กาแฟ และอาหารรสจัด
4. จิบน ้าบ่อยๆ
5. ฝึ กอ้ าปากเป็ นประจาทุกวัน
6. หมัน่ ตรวจดูภายในช่องปาก ถ้ าพบความผิดปกติ เช่น มีแผล มีกระดูกตายโผล่ หรื อมี อาการปวด
บวม อักเสบติดเชื ้อเกิดขึ ้นให้ แจ้ งแพทย์ทราบทันที

รูปที่ 5 เหงือกบวม อักเสบ ติดเชื ้อภายในช่องปาก


14

คาแนะนาการดูแลสุขภาพช่ องปากภายหลังการฉายรั งสี

1. รักษาช่องปากให้ สะอาดที่สดุ โดยการแปรงฟั น ใช้ ผ้าชุบน ้าเช็ดฟั น และเหงือกให้ สะอาดทุกครัง้


หลังรับประทานอาหาร
2. รักษาริมฝี ปากให้ ช่มุ ชื ้นโดยการใช้ ลิปมันหรื อขี ้ผึ ้งทาริมฝี ปากบ่อยๆ
3. รักษาภายในช่องปากให้ ช่มุ ชื ้นโดยการอมหรื อจิบน ้าบ่อยๆ ไม่ควรอมลูกอมที่มีน ้าตาล จะทาให้ ฟัน
ผุง่ายขึ ้น
4. ฝึ กอ้ าปากให้ สม่าเสมอ เป็ นประจาทุกวัน
5. งดบุหรี่ สุรา หมาก น ้ายาบ้ วนปากที่มีแอลกอฮอล์ และอาหารรสจัด
6. หากมีฟันเหลือในช่องปาก ควรเคลือบฟลูออไรด์ หรืออมน ้ายาฟลูออไรด์เป็ นประจาหลังแปรงฟั น
วันละ 1 ครัง้ ตอนเช้ า หรื อ ก่อนนอน ตามคาแนะนาของทันตแพทย์
7. กลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูสภาพภายในช่องปาก และรับฟลูออไรด์ เป็ นประจาทุกเดือนหรือ
ตามที่ทนั ตแพทย์นดั
8. หมัน่ ตรวจดูภายในช่องปาก หากพบความผิดปกติ เช่น ฟั นหัก มีแผลหรื อรอยขาวในช่องปาก ให้
มาพบทันตแพทย์ทนั ที
9. หากต้ องถอนฟั น ต้ องแจ้ งให้ ทนั ตแพทย์ทราบว่าเคยได้ รับรังสีรักษามาก่อน เพื่อพิจารณารับการ
รักษาด้ วยตู้ความดันออกซิเจน ช่วยปรับสภาพเหงือกและกระดูกให้ มีเลือดมาเลี ้ยงก่อนถอนฟั น
10. การใส่ฟันปลอม ทันตแพทย์จะเป็ นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสม โดยดูจากสภาพภายในช่องปาก
และความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย ภายหลังได้ รับรังสีรักษาแล้ วเป็ น
ระยะเวลา 1 ปี

รูปที่ 6 ฟลูออไรด์เจล และ ถาดเคลือบฟลูออไรด์

รูปที่ 7-8 เคลือบฟลูออไรด์วนั ละ 1 ครัง้ หลังแปรงฟั นตอนเช้ า หรือ ก่อนนอน


15

ช่องทางและรูปแบบการให้บริการ :
ประเภทช่องทาง : วันที่เปิดให้บริการ :
1. ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์
ห้องตรวจรังสีรักษา วันเสาร์ วันอาทิตย์
2. ติดต่อด้วยตนเอง ณ ศูนย์ให้บริการ วันหยุดราชการ
(ถ้ามี สาขา) - เวลาที่เปิดให้บริการ :
3. สถานที่ ที่ตั้งหน่วยงาน (ถ้ามีสาขาให้ใส่ บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ด้วย) 08.30 -12.00 น. 08.30 – 16.30 น.
4. รูปแบบการให้บริการ (ใน/นอกเวลา) พักเที่ยง 12.00 – 13.00 น.
5. เว็บไซต์และช่องทางออนไลน์ (ระบุชื่อ 16.30 – 20.00 น.
เว็บไซต์ /เฟสบุ๊ค /ไลน์)
6. โทรศัพท์ 02-2062900 ต่อ 62967
7. ไปรษณีย์ เลขที่ 2 โรงพยาบาลราชวิถี ห้อง
ตรวจรังสีรักษา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพฯ 10400
หมายเหตุ : -

ค่ำบริกำร ช่ องทำงรับชำระค่ำบริกำร

- เบิกได้ตามสิ ทธิการรักษา - ชาระด้วยตนเองที่หอ้ งบริ การ


(กรมบัญชีกลาง, ประกันสังคม, ฝ่ ายการเงิน
บัตรประกันสุขภาพ)
- จ่ายเงินเอง : ชาระค่าบริ การด้วย
บัตรเครดิตขั้นต่า 500 บาทขึ้นไป
เอกสำรและหลักฐำนประกอบกำรยื่นคำขอใช้ บริกำร
1. บัตรประชาชน
2. ใบนัดตรวจ
3. ใบส่งต่อการรักษา
16

ค่ำธรรมเนียม
เบิกได้ตามสิ ทธิการรักษา จ่ายตรง บัตรประกันสุขภาพ ประกันสังคม พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช
และสิ ทธิอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง
ช่ องทำงกำรร้ องเรียน
ถ้าการให้บริ การไม่เป็ นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ขา้ งต้นสามารถติดต่อเพื่อร้องเรี ยนได้ที่
1. จดหมายร้องเรี ยนผ่านผูบ้ ริ หาร
2. ตูร้ ับคาร้องเรี ยนภายในโรงพยาบาลราชวิถี
ระดับกำรให้ บริกำร
ระยะเวลำ
✓ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้ นไม่เกิน 2 ชัว่ โมง โดยเริ่ มนับระยะเวลาตั้งแต่การยืน่ เอกสารที่ ครบถ้วนจนถึง รับ
ใบนัด
คุณภำพ
➢ ผูป้ ่ วยได้รับบริ การดูแลรักษา ถูกต้อง ครบถ้วน และปลอดภัย
➢ ผลการสารวจความพึงพอใจผูม้ ารับบริ การได้คะแนนความพึงพอใจดีเยีย่ มไม่นอ้ ยกว่า 80 %
17
18

ด้วยควำมปรำรถนำดีจำก ห้ องตรวจรังสีรักษำ โรงพยำบำลรำชวิถี

จัดทำโดย
นำงอำรยำ ปำนพรม
พยำบำลวิชำชีพชำนำญกำร

ขอขอบคุณสนับสุ นนข้ อมูลโดย


ทันตแพทย์หญิงวัชรียำ ทองรัตนำศิริ
ผศ(พิเศษ)ทันตแพทย์หญิงพัชรี กัมพลำนนท์
แพทย์หญิง ศศิพไิ ล นัยวิกุล

You might also like