Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 15

รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม

สถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ประทีป นานคงแนบ *
ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข **
ผศ.ดร. พัลลภ พิรยิ ะสุรวงศ์ **

บทคัดย่อ

รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษาสังกัด


สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดในการผสมผสานการนิเทศออนไลน์
เข้ากับการนิเทศแบบดั้งเดิมหรือการนิเทศแบบพบหน้า ในบริบทของการฝึกงานของนักศึกษาช่าง
อุตสาหกรรม โดยใช้วิธีระดมความคิดเห็นด้วยเทคนิคเดลฟายกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีสาระสนเทศ จำนวน 19 คน รูปแบบพัฒนาขึน้ มี 9 ขัน้ ตอนหลัก
33 ขัน้ ตอนย่อย โดยมีขน้ั ตอนหลัก ดังนี้ คือ ขัน้ การวางแผน ขัน้ การลงทะเบียน ขัน้ การปฐมนิเทศ
ขัน้ จัดนักศึกษาฝึกงาน ขัน้ การนำและให้คำปรึกษา ขัน้ การควบคุม ขัน้ การประเมิน ขัน้ การรายงาน และ
ขัน้ การให้ขอ้ มูลป้อนกลับ ในส่วนของขัน้ ตอนย่อย ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยการนิเทศฝึกงาน
แบบปกติรอ้ ยละ 45 และองค์ประกอบย่อยการนิเทศฝึกงานแบบออนไลน์รอ้ ยละ 55

คำสำคัญ : การนิเทศฝึกงานแบบผสม การนิเทศฝึกงานแบบออนไลน์ การนิเทศฝึกงานแบบปกติ


นักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

* นักศึกษาปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า


พระนครเหนือ
** อาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อตุ สาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
164
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

Abstract
A hybrid supervision model on apprenticed training of vocational industrial students in
Institutes under Office of Vocational Education Commission is developed on the idea of
integrating online supervision and traditional supervision or face-to-face supervision in the
context of vocational industrial training using Delphi technique with 19 of vocational education
experts, educational technology experts and information technology experts. This developed
model comprised 9 major steps, and 33 sub-steps. The major steps were made up of planning,
registration, orientation, staffing, leading and counseling, controlling, assessing, reporting, and
feedback. This model consisted of 45% of sub-steps on traditional supervision, and 55% of
sub-steps on online supervision.

Keywords: a hybrid supervision of apprenticed training, online supervision of apprenticed


training, traditional supervision of apprenticed training, vocational industrial
students, Office of Vocational Education Commission

บทนำ
การฝึกงาน เป็นสิง่ ทีส่ ำคัญสำหรับการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ เป็นการส่งเสริมให้ผเู้ รียน
ได้เพิม่ ทักษะ สร้างเสริมประสบการณ์ และพัฒนาวิชาชีพตามสภาพความเป็นจริงในสถานประกอบการ
หลังจากการฝึกพืน้ ฐานการปฏิบตั งิ านในสถานศึกษาแล้ว การฝึกงานช่วยให้นกั ศึกษาได้รบั ประสบการณ์ตรง
และสามารถทำงานได้จริง มีโอกาสได้ทำงานและใช้เครือ่ งจักรเครือ่ งมือสำหรับปฏิบตั งิ านอย่างแท้จริง
นอกจากนีย้ งั เป็นการเรียนรูถ้ งึ สภาพปัญหา และวิธกี ารแก้ปญ
ั หาทีเ่ กิดขึน้ ในขณะฝึกงานอย่างมีเหตุผล
ตลอดจนเป็นการฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ มีวินัย และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติที่ดี
ในการทำงาน และมีความภูมิใจในอาชีพ (สอศ,2551) นอกจากนี้การฝึกงานในสถานประกอบการ
ยังเป็นการแก้ปญ ั หาเกีย่ วกับระบบการศึกษาและฝึกอบรมขาดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และไม่เชือ่ มโยง
ดังที่คณะทำงานวิชาการกำหนดทิศทางการพัฒนาศักยภาพของการอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน
ได้กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบศึกษาด้านอาชีวศึกษาไว้ว่า การศึกษาและฝึกอบรมไม่ตอบสนอง
กับความต้องการของผูป้ ระกอบการ ดังนัน้ จึงให้ความสำคัญในการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษา
โดยเน้นการบูรณาการทฤษฏีและปฏิบัติและการประยุกต์ โดยเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงใน
สถานประกอบการและโลกของงานอย่างแท้จริง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548 )
การนิเทศฝึกงานเป็นกระบวนการซึ่งคู่กับการฝึกงาน การฝึกงานจะมีประสิทธิภาพต้องมี
การแนะนำ หรือควบคุมโดยผูช้ ำนาญงาน โดยการนิเทศฝึกงานจะเป็นกระบวนการทีเ่ ป็นความสัมพันธ์
ระหว่างทีผ่ มู้ ปี ระสบการณ์ในการทำงานจะเข้าไปช่วยผูด้ อ้ ยประสบการณ์ ในการประเมิน พัฒนาฝีมอื
165
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

สอดส่องดูแล จนสามารถบรรลุวตั ถุประสงค์การฝึกงาน นักศึกษาได้ปฏิบตั งิ านในสถานการณ์จริง และ


เมือ่ จบการศึกษาแล้วสามารถทำงานได้ นอกจากนีย้ งั มีคณ ุ สมบัตทิ พ่ี งึ ประสงค์ตรงกับความต้องการ
ของสถานประกอบการอีกด้วย การนิเทศฝึกงานทีผ่ า่ นมาส่วนใหญ่เป็นแบบดัง้ เดิม (Traditional
Supervision) มีลักษณะเป็นพบหน้ากัน (Face-to-Face Supervision) ซึ่งมีส่วนดีในเรื่องการได้
พบกันระหว่างผูน้ เิ ทศก์และผูถ้ กู นิเทศก์ ได้รว่ มกันแก้ปญั หา ตลอดจนซักถามและปฏิสมั พันธ์กนั ในระดับสูง
ในการจัดการศึกษาวิชาชีพ ซึ่งมีการจัดการฝึกงานในสถานประกอบการผู้ที่เหมาะสมในการนิเทศ
แบบดั้งเดิมได้แก่ ครูฝึก หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าผู้นิเทศก์จากสถานประกอบการ และผู้นิเทศก์
จากสถานศึกษาก็ยงั มีความจำเป็นอยู่ ส่วนการนิเทศอีกแบบหนึง่ เป็นการนิเทศแบบออนไลน์ ซึง่ เป็น
การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการนิเทศ โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้ห้องสนทนา
(Stoke,2006 and Stofle and Hamilton,1998) นอกจากนีย้ งั นำกระดานสนทนา (Web board)
ซึง่ จะช่วยในการให้ออกความเห็นโต้แย้ง (Discuss) การให้เนือ้ หาความรูต้ า่ งๆ (Content) เป็นต้น
ส่วนดีของการนิเทศแบบนีค้ อื ช่วยแก้ปญ ั หาผูน้ เิ ทศก์และผูถ้ กู นิเทศซึง่ อยูห่ า่ งกัน อีกทัง้ เป็นการประหยัด
เวลา และค่าใช้จา่ ยในการเดินทางมานิเทศในกรณีอยูห่ า่ งกัน ตลอดจนเป็นการนำเทคโนโลยีทเ่ี หมาะสม
เข้ามาใช้งานและพัฒนางาน ส่วนผูท้ เ่ี หมาะสมในการนิเทศแบบนีค้ อื ครูนเิ ทศก์จากสถานศึกษา หัวหน้างาน
อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และผูบ้ ริหารสถานศึกษา
จากข้อดี ข้อจำกัด ของการนิเทศทัง้ 2 แบบ ผนวกกับแนวคิดทีต่ อ้ งการนำเทคโนโลยีการศึกษา
เข้ามาบูรณาการในการจัดการศึกษาเกีย่ วกับการจัดการฝึกงาน ดังนัน้ จึงเกิดรูปแบบการนิเทศฝึกงาน
แบบผสม (Hybrid Supervision) ขึน้ ซึง่ รูปแบบการฝึกงานแบบนี้ เป็นการผสมผสานการนิเทศ
ฝึกงานแบบดัง้ เดิมเข้ากับการนิเทศฝึกงานออนไลน์ นัน่ คือ ในการนิเทศจะมีทง้ั การพบหน้ากัน และ
นิเทศผ่านระบบออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นฐานการนิเทศฝึกงานแบบผสม มีแนวคิด
พืน้ ฐาน ดังภาพ

นิเทศแบบ นิเทศแบบ นิเทศแบบ


ดัง้ เดิม ออนไลน ผสม
(Traditional (Online (Hybrid
Supervision) Supervision) Supervision)

ภาพที่ 1 แนวคิดพืน้ ฐาน การนิเทศฝึกงานแบบผสม


166
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

วัตถุประสงค์
เพือ่ พัฒนารูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษา
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

วิธกี ารวิจยั
การศึกษาวิจยั ครัง้ นี้ เป็นรูปแบบการวิจยั และพัฒนา (Research and Development)

ขัน้ ตอนการดำเนินการวิจยั
ขัน้ ตอนการดำเนินการวิจยั ตามวัตถุประสงค์ขา้ งต้น ดำเนินการดังนี้
ขัน้ ตอนที่ 1 การสังเคราะห์รปู แบบการนิเทศฝึกงานจากรูปแบบการนิเทศแบบต่าง ๆ ขัน้ ตอนนี้
มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบหลักของการนิเทศฝึกงานแบบผสม โดยได้พิจารณา
องค์ประกอบหลักของแต่ละรูปแบบการนิเทศทีจ่ ำเป็นและสอดคล้องกับงานทีท่ ำ และยุบรวม ตลอดจน
เพิม่ เติมองค์ประกอบเพือ่ ให้เกิดความสมบูรณ์ ผลจากสังเคราะห์รปู แบบการนิเทศ จากการวางกรอบ
การพิจารณา 3 กรอบ คือ กรอบวางแผนการนิเทศ กรอบดำเนินการนิเทศ และกรอบประเมิน
การนิเทศ ผลทีไ่ ด้จากการสังเคราะห์ ได้องค์ประกอบหลัก แต่ละกรอบดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1)
กรอบการวางแผนนิเทศ ได้แก่ การวางแผน การลงทะเบียน การปฐมนิเทศ (2) กรอบดำเนินการ
นิเทศ ได้แก่ จัดนักศึกษาฝึกงาน การนำและให้คำปรึกษา การควบคุม และ (3) กรอบประเมินการ
นิเทศ ได้แก่ การประเมิน การรายงาน และการให้ขอ้ มูลป้อนกลับ ตามแนวของระบบ
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความต้องการการนิเทศฝึกงานของนักศึกษาฝึกงาน ครูฝึกใน
สถานประกอบการ และครูนเิ ทศก์ในสถานศึกษา ทัง้ แบบปกติ และแบบออนไลน์ ขัน้ ตอนนีม้ วี ตั ถุประสงค์
เพือ่ ศึกษาความต้องการ และความเป็นไปได้ ในการพัฒนารูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบ โดยการนำ
องค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ ที่ได้จากการสังเคราะห์ ไปออกแบบข้อคำถามความคิดเห็น
ความต้องการ การนิเทศแบบปกติ (แบบพบหน้า) และการนิเทศแบบออนไลน์ ไปสอบถามความคิดเห็น
ของผู ้ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ การฝึ ก งานดั ง กล่ า วข้ า งต้ น กั บ สถานศึ ก ษาสั ง กั ด สำนั ก งานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษากลุม่ ภาคกลาง 38 สถานศึกษา ผลการศึกษา พบว่า ผูเ้ กีย่ วข้องทัง้ 3 กลุม่ มีความต้องการ
การนิเทศแบบปกติ ในระดับมาก และมีความต้องการการนิเทศแบบออนไลน์ในระดับมาก นัน่ หมาย
ถึงว่า ผู้เกี่ยวข้องไม่ปฏิเสธการนิเทศฝึกงานแบบออนไลน์ และมีความต้องการการนิเทศทั้ง 2 แบบ
ในระดับเดียวกัน
ขัน้ ตอนที่ 3 ออกแบบระบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ขัน้ ตอนนี้ มีวตั ถุประสงค์ เพือ่ กำหนดองค์ประกอบย่อย
และรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบย่อย โดยศึกษาจากเอกสาร ทฤษฏี บริบทของการนิเทศฝึกงาน
และประสบการณ์ของผูว้ จิ ยั ซึง่ ในขัน้ ตอนนี้ ได้องค์ประกอบย่อยการนิเทศฝึกงาน 40 องค์ประกอบย่อย
พร้อมทัง้ รายละเอียด
167
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

ขัน้ ตอนที่ 4 การระดมความคิดเห็นผูท้ รงคุณวุฒโิ ดยใช้เทคนิคเดลฟาย วัตถุประสงค์ของ


ขัน้ ตอนนี้ คือการนำร่างรูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม ไประดมความเห็นผูเ้ ชีย่ วชาญ 3 กลุม่ คือ
นักเทคโนโลยีการศึกษา นักเทคโนโลยีสารสนเทศ และนักการอาชีวศึกษา จำนวน 19 คน การดำเนินการ
แบ่งเป็น 3 รอบ คือ เดลฟายรอบที่ 1 นำร่างรูปแบบ ขอระดมความเห็นผูเ้ ชีย่ วชาญ ผลทีไ่ ด้นำมา
ปรับปรุง ปรับเปลีย่ น ขัน้ ตอนย่อย และรายละเอียดต่าง ๆ เดลฟายรอบที่ 2 ออกแบบสอบถาม
ตามมาตราวัดของลิเคิรท์ โดยการนำขัน้ ตอนย่อยซึง่ ปรับปรุงจากรอบที่ 1 มาสอบถามความคิดเห็น
ของผูเ้ ชีย่ วชาญ ผลทีไ่ ด้นำมาหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสยั ระหว่างควอไทล์เดลฟายรอบที่ 3
นำผลการระดมความคิดเห็นที่ได้จากเดลฟายรอบที่ 2 โดยระบุ ค่ามัธยฐานของกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ
ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และระบุคะแนนที่ผู้เชี่ยวชาญตอบในแต่ละคน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน
ความคิดเห็น และแสดงความคิดเห็นเพิม่ เติม
ผลทีไ่ ด้จากการการระดมความคิดเห็นโดยใช้เทคนิคเดลฟายทัง้ 3 รอบ ผูเ้ ชีย่ วชาญเห็นชอบ
กับองค์ประกอบหลักทัง้ 9 องค์ประกอบ ในส่วนขององค์ประกอบย่อย มีการปรับเปลีย่ น ตัดบางองค์ประกอบ
ย่อยบางองค์ประกอบ รวมองค์ประกอบ ปรับปรุงรายละเอียด ผูว้ จิ ยั ขอนำเสนอรูปแบบการนิเทศ
ฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา ดังนี้
168
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

รูป แบบการนิ เทศฝกงานแบบผสม


สําหรับ นั กศึกษาชางอุตสาหกรรม สถานศึกษาสัง กัด สํา นั กงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
1.สถานศึกษาและสถานประกอบการรวมกัน ขั้น วางแผน 3. สถานศึกษานํา แนวปฏิ บั ติก ารนิเทศและ
กํา หนดแนวปฏิ บั ติการนิเทศ แผนการนิเทศเขาระบบออนไลน
2. สถานศึกษากํา หนดแผนการนิเทศ
(Planning)

1.นัก ศึกษาลงทะเบี ยนรายวิช าฝก งานกับ ขั้น ลงทะเบี ยน 2. ผูดูแลระบบของสถานศึก ษาเพิ่ ม รายชื่อ
สถานศึก ษา ครูนิเทศก ครูฝก และผูบ ริห ารเขาในระบบ
(Registration) 3. ครูนิเทศก และครูฝก ลงทะเบียนออนไลน
4. ครูนิเทศกเพิ่ ม รายชื่อ นัก ศึก ษาในระบบ
5. นัก ศึก ษาลงทะเบีย นออนไลน

1.สถานศึกษาจัดปฐมนิเทศนักศึก ษาฝกงาน ขั้นปฐมนิ เทศ(Orientation) 2. สถานศึกษานํา เนื้อหาการปฐมนิเทศเขาสู


ระบบออนไลน

1.นัก ศึกษารายงานตัวเขาฝกงาน ขั้น จัด นั กศึกษาฝกงาน 4. นักศึกษาบั นทึ กขอมูลตํา แหนงงาน


2. สถานประกอบการจัดนักศึกษาลงฝกงาน 5. ครูฝกยืนยันขอมูลตํา แหนงงาน
(Staffing)
3. สถานประกอบการแนะนํา นักศึกษา 6. ครูนิเทศกรับ ทราบขอมูลตํา แหนงงาน

1.ครูฝกสาธิตการปฏิ บั ติงานใหแกนักศึกษา ขั้น การนํา 3. ครูนิเทศกใหขอ เสนอแนะ ใหคํา ปรึกษา


ฝกงาน ผานระบบออนไลน
และ ให คํา ปรึกษา
2. ครูฝกและครูนิเทศกใ หคํา ปรึกษาและ
ขอเสนอแนะแกนักศึกษาฝกงาน (Leading&Counselling)

1. นักศึก ษาลงเวลาปฏิบัติงานในสถาน ขั้นการควบคุม 3. นักศึกษาลงเวลาฝกงาน และบั นทึ กการ


ประกอบการ ปฏิ บั ติงานทุ กสัป ดาห
(Controlling)
2. ครูฝกและครูนิเทศใหก ารเสริมแรงและ 4. ครูฝกยืนยันการลงเวลาฝกงานและ บันทึ ก
ลงโทษนัก ศึกษาฝกงาน (ถา มี) การปฏิ บั ติงานของนักศึกษาฝกงาน
5. ครูนิเทศกรับ ทราบการลงเวลาฝกงานและ
บั นทึ กการปฏิ บั ติงานของนักศึก ษาฝกงาน
7. นักศึก ษาสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ 6. นักศึกษาฝกงานจัดทํา กระดานแลกเปลี่ยน
การทํา งาน เรีย นรู

1.ครูฝกและครูนิเทศกเก็บ ขอมูลการ ขั้น ประเมิน 2. ครูฝกและครูนิเทศกป ระเมินผลงานของ


ปฏิ บั ติงานของนัก ศึกษาฝกงาน นักศึกษาฝกงานในระบบออนไลน
(Assessing)
3. ครูฝก ครูนิเทศก และนักศึกษาฝกงาน
ประเมินความพึงพอใจตอระบบนิเทศฝกงาน

2.ครูนิเทศกสรุป รายงานผลการฝกงาน ขั้นการรายงาน 1. ระบบประมวลผลการปฏิ บั ติงาน และ


นํา เสนอผูบ ริหาร ความพึงพอใจตอการใชงานระบบ
(Reporting)

1. หัวหนา งานอาชีว ศึกษาทวิภาคี นํา ขอ มูล ขั้น การให ขอมูลป อนกลับ 2. หัว หนางานอาชีวศึกษาทวิภาคี นํา ขอ มูล
การนิเทศเตรีย มปรับ ปรุงงานในสว นของ การนิเทศเตรียมปรับ ปรุงงานในสว นของ
(Feedback) การนิเทศฝกงานแบบออนไลน
การนิเทศฝก งานแบบปกติ

นิ เทศฝกงานแบบปกติ นิ เทศฝกงานแบบออนไลน
ภาพที่ 2 รูป แบบการนิ เทศฝก งานแบบผสม สํา หรับนั ก ศึ ก ษาชางอุ ตสาหกรรม สถานศึ ก ษาสั งกัด สอศ.
169
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

ขัน้ วางแผน (Planning)


ขัน้ การวางแผนนับเป็นขัน้ ตอนทีม่ คี วามสำคัญมากในการนิเทศฝึกงาน เพราะ เป็นขัน้ ตอน
ทีต่ อ้ งวางแผนร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษา มีขน้ั ตอนทีส่ ำคัญ 3 ขัน้ ตอน คือ
1. สถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันกำหนดแนวปฏิบตั กิ ารนิเทศ ขัน้ ตอนนีอ้ ยู่
ในส่วนของการนิเทศฝึกงานแบบปกติ เป็นการกำหนดแนวปฏิบตั ใิ นการนิเทศแบบผสม ประกอบ
ด้วยการนิเทศแบบปกติรว่ มกับการนิเทศแบบออนไลน์ ซึง่ มีลกั ษณะดังนี้
1.1 การนิเทศแบบปกติ ดังนี้ (1) ครูนเิ ทศก์จากสถานศึกษาขอเข้าพบผูจ้ ดั การโรงงาน
หรือครูฝึกโดยการประสานแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หรือตามตารางหรือแผนการนิเทศ (2) ครูฝึก
แสดงความเห็น และบอกผลการฝึกโดยรวมของนักศึกษาฝึกงานและการแก้ไขปัญหาทีผ่ า่ นมา (3) ครูฝกึ
นำครูนเิ ทศก์จากสถานศึกษาเข้าพบนักศึกษาฝึกงาน (4) ครูนเิ ทศก์ให้คำปรึกษา คำแนะนำ การให้
แรงจูงใจในการทำงานแก่นกั ศึกษา เป็นต้น (5) ครูนเิ ทศก์มอบหมายงานเพิม่ เติม และนัดหมาย
เกีย่ วกับการส่งงาน หรือการหาความรูเ้ พิม่ เติมจากแหล่งความรูต้ า่ ง ๆ และ (6) ครูนเิ ทศก์ลาครูฝกึ
หรือผูจ้ ดั การโรงงานแล้วเดินทางกลับ
1.2 การนิเทศออนไลน์ ดังนี้ (1) การออนไลน์ในการพูดคุยกันระหว่างครูนิเทศก์
กับนักศึกษาฝึกงานในช่วงเวลาทีก่ ำหนดในตารางการนิเทศ โดยใช้หอ้ งสนทนา (Chat room) (2)
ส่งเรือ่ งคำขอปรึกษา หรือตอบรับ เมือ่ มีการติดต่อสือ่ สารซึง่ กันและกันระหว่างครูนเิ ทศก์ และนักศึกษา
ฝึกงาน เกีย่ วกับการฝึกงาน และงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย ในรูปของไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ (E-mail)
และ (3)การประเมินผลการปฏิบตั งิ านของนักศึกษาแบบออนไลน์
2. สถานศึกษากำหนดแผนการนิเทศ
ขัน้ ตอนนี้ อยูใ่ นส่วนของการนิเทศฝึกงานแบบปกติ เป็นการจัดปฏิทนิ หรือ ตารางการนิเทศ
โดยกำหนดวัน เวลาในการออกนิเทศ ของแต่ละแผนกวิชา โดยกำหนดให้การนิเทศแบบปกติ เดือนละ
1 ครัง้ และการนิเทศแบบออนไลน์ ไม่ตำ่ กว่า สัปดาห์ละ 1 ครัง้ ทัง้ นี้ ตลอดจนการกำหนดสิง่ สนับสนุน
การนิเทศ เช่น พาหนะในการเดินทางเพื่อใช้ในการนิเทศแบบปกติ ทรัพยากรในการออนไลน์
ทัง้ ในช่วงประสานเวลา และไม่ประสานเวลา เป็นต้น แผนการนิเทศมีขน้ั ตอนในการดำเนินการดังต่อไปนี้
คือ (1) ประชุมจัดแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา (2) จัดทำรายละเอียดในการนิเทศ และ (3)
แจ้งนักศึกษาฝึกงาน สถานประกอบการ และครูนเิ ทศก์ และผูเ้ กีย่ วข้องอืน่ ให้ทราบตรงกัน
3. สถานศึกษานำแนวปฏิบัติการนิเทศและแผนการนิเทศเข้าระบบออนไลน์ ขั้นตอนนี้
อยู่ในส่วนของการนิเทศฝึกงานออนไลน์ เป็นการนำข้อมูลเกี่ยวกับแนวการปฏิบัติการนิเทศและ
แผนนิเทศ เข้าสู่ระบบออนไลน์ เพื่อประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องกับการฝึกงาน ได้แก่ นักศึกษาฝึกงาน
ครูฝึก ครูนิเทศก์ ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษา เป็นข้อมูลในการนิเทศติดตาม แผนการนิเทศ
จะแยกตามสถานศึกษา และสาขางาน
170
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

ขัน้ การลงทะเบียน (Registration)


ขัน้ การลงทะเบียนจะเป็นขัน้ ตอนทีผ่ เู้ กีย่ วข้องในการฝึกงานลงทะเบียนเข้าใช้ระบบ มีรายละเอียด
ดังนี้
1. นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาฝึกงานกับสถานศึกษา ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของการนิเทศ
แบบปกติ เป็นขั้นตอนที่น ักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชาต่างๆ คือการลงทะเบียน
ในรายวิชาฝึกงาน หรือรายวิชาทีเ่ รียน/ฝึกในสถานประกอบการ
2. ผู้ดูแลระบบของสถานศึกษาเพิ่มรายชื่อครูนิเทศก์ ครูฝึก และผู้บริหารเข้าในระบบ
ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของการนิเทศออนไลน์ ผูด้ แู ลระบบของสถานศึกษา (Sub admin) คือหัวหน้างาน
อาชีวศึกษาทวิภาคีหรือผูท้ ไ่ี ด้รบั มอบหมาย จะทำหน้าทีใ่ นการดูแลระบบโดยทัว่ ไป เพิม่ รายชือ่ สถาน
ประกอบการ เพิ ่ ม รายชื ่ อ ครู ฝ ึ ก ครู น ิ เ ทศก์ ตลอดจนผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา โดยมอบรายชื ่ อ
ผูใ้ ช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เพือ่ นำไปเข้าระบบ
3. ครูนเิ ทศก์ และครูฝกึ ลงทะเบียนออนไลน์ ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของการนิเทศออนไลน์
เมือ่ ครูนเิ ทศก์และครูฝกึ ได้รบั รายชือ่ ผูใ้ ช้งาน และรหัสผ่านแล้ว ให้นำมาใช้ในการเข้าระบบ และกรอกข้อมูล
ส่วนตัว เช่นชือ่ ทีอ่ ยู่ เป็นต้น และใช้ในการติดต่อสือ่ สาร ให้คำ ปรึกษาแนะนำ ตรวจงาน ตลอดจน
การประเมินการปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงาน ในส่วนของครูนเิ ทศก์ จะต้องเพิม่ มอบรายชือ่ ผูใ้ ช้งาน
และรหัสผ่าน ให้กบั นักศึกษา เพือ่ ให้นกั ศึกษาได้เข้าไปใช้งานระบบต่อไป
4. ครูนเิ ทศก์เพิม่ รายชือ่ นักศึกษาเข้าในระบบ ขัน้ ตอนนี้ อยูใ่ นส่วนของการนิเทศออนไลน์
โดยครูนเิ ทศก์ทไ่ี ด้รบั มอบหมายจะทำการเพิม่ รายชือ่ นักศึกษาทีจ่ ะฝึกงานในแต่ละสาขางาน นักศึกษา
ทีไ่ ด้รบั การเพิม่ รายชือ่ จะมีสทิ ธิล์ งทะเบียนในระบบออนไลน์
5. นักศึกษาลงทะเบียนออนไลน์ ขัน้ ตอนนีย้ งั อยูใ่ นส่วนของนิเทศออนไลน์ เมือ่ นักศึกษา
ได้รับรายชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านจากครูนิเทศก์แล้ว (ตัวแทนของครูนิเทศก์ที่ได้รับมอบหมาย)
นักศึกษาจะเข้าระบบเพือ่ กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชือ่ ทีอ่ ยู่ รหัสประจำตัวนักศึกษา ระดับชัน้ สาขางาน
รายวิชาฝึกงาน รหัสวิชา ครูนเิ ทศก์ในแต่ละรายวิชา เมือ่ นักศึกษาลงทะเบียนแล้วสามารถใช้ระบบ
ในการติดต่อสือ่ สาร และทำกิจกรรมเกีย่ วกับการนิเทศฝึกงานต่างๆ

ขัน้ ปฐมนิเทศ (Orientation)


ขัน้ การปฐมนิเทศ เป็นขัน้ ตอนในการชีแ้ จงทำความเข้าใจ การกำหนดทิศทางในการฝึกงาน
ในสถานประกอบการ ตลอดจนการนิเทศติดตามนักศึกษาฝึกงาน แบ่งเป็น 2 ขัน้ ตอนย่อย คือ
1. ปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงาน ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนนิเทศปกติ เป็นการพบปะนักศึกษา
ทีจ่ ะฝึกงาน และแนะนำแนวทางตลอดจนให้ความรูใ้ นการออกฝึกงาน โดยคณะทำงาน ซึง่ ประกอบด้วย
ผูบ้ ริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาชีวระบบทวิภาคี ครูนเิ ทศก์ ตัวแทนจากสถานประกอบการ หรือ
ผูท้ รงคุณวุฒิ โดยแบ่งเนือ้ หาในการปฐมนิเทศเป็น 2 เรือ่ ง คือ แนวทางการฝึกงานในสถานประกอบการ
และแนวทางในการใช้ระบบนิเทศติดตาม
171
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

- แนวทางการฝึกงานในสถานประกอบการ ได้แก่ (1) การเตรียมความพร้อมด้านความรู้


พื้นฐานของนักศึกษาฝึกงาน (2) ศึกษากฎระเบียบในการปฏิบัติตนของนักศึกษาฝึกงานในสถาน
ประกอบการ เวลาในการฝึกงาน การแต่งกาย เป็นต้น (3) เตรียมเอกสารรายงานตัว เอกสาร
การฝึกงาน บันทึกการฝึกงาน เป็นต้น และ(4) แนวการรายงานตัวในสถานประกอบการ
- แนวทางการใช้ระบบนิเทศฝึกงาน (ตามคู่มือการใช้ระบบนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ)
ได้แก่ (1) การลงทะเบียนระบบออนไลน์ (2) การบันทึกข้อมูลการฝึกงาน (3) การติดต่อสือ่ สาร
กับครูนเิ ทศก์ เพือ่ ขอคำปรึกษา ทัง้ ในการออนไลน์ และพบปะกันตามปกติ (4) การนำเสนอรายงาน
(5) การจัดทำกระดาน แลกเปลีย่ นเรียนรู้
2. สถานศึกษานำเนื้อหาการปฐมนิเทศเข้าสู่ระบบออนไลน์ ขั้นตอนนี้อยู่ในส่วนของ
การนิเทศออนไลน์ เป็นการนำข้อมูลการปฐมนิเทศเข้าสูร่ ะบบออนไลน์ เพือ่ เป็นข้อมูลให้ผเู้ กีย่ วข้อง
ได้เป็นแนวทางในการดำเนินการนิเทศติดตามต่อไป

จัดนักศึกษาฝึกงาน (Staffing)
การจัดบุคคลเข้าทำงาน เป็นไปตามพันธะกรณีทไ่ี ด้จากการวางแผนการฝึกงาน ระหว่างสถานศึกษา
กับสถานประกอบการ ครอบคลุม หลักสูตร รายวิชา ทักษะทีน่ กั ศึกษาคาดว่าจะได้รบั ตลอดจน
สภาพของสถานประกอบการทีเ่ อือ้ ต่อการฝึกประสบการณ์วชิ าชีพ ขัน้ การจัดนักศึกษาเข้าฝึกงานแบ่ง
ได้เป็น 6 ขัน้ ตอนย่อย คือ
1. นักศึกษารายงานตัวเข้าฝึกงาน ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศปกติ เป็นขัน้ ตอนทีน่ กั ศึกษา
จากสถานศึกษา รายงานตัวเข้าฝึกงานกับสถานประกอบการ โดยฝ่ายบุคคล หรือผูท้ ไ่ี ด้รบั มอบหมาย
จากสถานประกอบการเป็นผูด้ แู ลรับผิดชอบ
2. สถานประกอบการจัดนักศึกษาลงฝึกงาน ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศปกติเป็นขัน้ ตอน
ทีส่ ถานประกอบการจัดนักศึกษาลงฝึกงานในตำแหน่งตามทีต่ กลงกัน
3. สถานประกอบการแนะนำนักศึกษา ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศปกติ โดยสถานประกอบการ
จะแนะนำ บุคลากร สถานที่ โครงสร้างตำแหน่งหน้าทีข่ องนักศึกษาฝึกงาน การทำงานในหน้าทีท่ ต่ี อ้ ง
รับผิดชอบ ให้แก่นักศึกษาฝึกงาน พร้อมแนะนำกฎระเบียบของสถานประกอบการที่รับนักศึกษา
เข้าฝึกงาน
4. นักศึกษาบันทึกข้อมูลตำแหน่งงาน ขั้นตอนนี้อยู่ในส่วนของนิเทศออนไลน์ โดย
นักศึกษาฝึกงานจะต้อง กรอกข้อมูล บันทึกตำแหน่งหน้าที่ แผนกทีฝ่ กึ งาน ขอบเขตหน้าทีใ่ นการปฏิบตั งิ าน
สายงานการบังคับบัญชา ลงในระบบออนไลน์
5. ครูฝกึ ยืนยันข้อมูลตำแหน่งงาน ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศออนไลน์ เป็นขัน้ ตอน
ทีค่ รูฝกึ ในสถานประกอบการตรวจสอบข้อมูลทีน่ กั ศึกษาฝึกงานบันทึกลงในระบบออนไลน์ และถ้าข้อมูล
ถูกต้อง ให้ยนื ยันข้อมูล
172
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

6. ครูนิเทศก์รับทราบข้อมูลตำแหน่งงาน ขั้นตอนนี้อยู่ในส่วนของนิเทศออนไลน์ โดย


ครูนเิ ทศก์ในสถานศึกษา รับทราบข้อมูลทีน่ กั ศึกษาฝึกงานบันทึกในระบบออนไลน์และผ่านการยืนยัน
จากครูฝกึ ในสถานประกอบการแล้ว

ขัน้ การนำและให้คำปรึกษา(Leading&Counseling)
ขัน้ การนำและให้คำปรึกษา เป็นหัวใจของการนิเทศ เพราะเป็นการชีแ้ นะบอกช่องทางให้ผู้
รับการนิเทศ ทำงานจนประสบความสำเร็จ ขัน้ การนำและให้คำปรึกษานี้ มีทง้ั การออนไลน์ และการ
เผชิญหน้าตามปกติ มีขน้ั ตอนย่อย ดังต่อไปนี้
1. ครูฝกึ สาธิตการปฏิบตั งิ านแก่นกั ศึกษาฝึกงาน มีลักษณะที่ครูฝึก สาธิต หรือทำเป็น
ตัวอย่าง ให้นกั ศึกษาฝึกงานดูและให้ทำตาม การสาธิตทำได้โดย การสาธิตสดโดยครูฝกึ การสาธิต
โดยใช้สอ่ื ต่างๆ เช่น วีดทิ ศั น์ เป็นต้น
2. ครูฝึกและครูนิเทศก์ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะแก่นักศึกษาฝึกงาน ขั้นตอนนี้
อยูใ่ นการนิเทศปกติ เป็นขัน้ ตอนทีผ่ นู้ เิ ทศก์ ให้คำชีแ้ นะ หรือแนะนำให้ผนู้ เิ ทศก์ดำเนินการ การให้
ข้อเสนอแนะอาจให้เป็นคำพูด สือ่ เอกสาร สือ่ ภาพนิง่ เป็นต้น การเสนอแนะอาจกล่าวถึงการทำงาน
ตามปกติ หรือเสนอแนะวิธแี ก้ปญ ั หา โดยผูน้ เิ ทศก์เป็นผูน้ ำเสนอด้วยตนเอง การให้คำปรึกษา มี 2 แบบ
คือ (1) ครูฝกึ หรือครูนเิ ทศก์ชท้ี าง โดยใช้วธิ ตี ง้ั ประเด็นคำถามเกีย่ วกับปัญหาแก่นกั ศึกษาฝึกงาน
เมือ่ นักศึกษาเข้าใจปัญหาแล้ว นักศึกษาฝึกงานจะนำเสนอแนวทางในการแก้ปญ ั หาเอง (2) นักศึกษา
ฝึกงานจะเป็นผูร้ เิ ริม่ หาทางแก้ปญ ั หาเอง โดยครูฝกึ หรือครูนเิ ทศก์รบั ฟังเป็นส่วนใหญ่ ตลอดจนคอยให้
กำลังใจ และสนับสนุนในการแก้ปญ ั หานัน้
3. ครูนเิ ทศก์ให้ขอ้ เสนอแนะ ให้คำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์ ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศ
ออนไลน์ โดยครูนิเทศก์จะให้ข้อเสนอแนะ คำปรึกษาเมื่อได้รับคำร้องขอจากนักศึกษาฝึกงาน
ผ่านแบบฟอร์มขอคำปรึกษาออนไลน์ ซึง่ เป็นการขอคำปรึกษาแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous)
และการเข้าห้องสนทนา (Chat Room) ตามเวลาทีแ่ สดงในแผนการนิเทศ โดยครูนเิ ทศก์จะต้องเข้าระบบ
เพื่อรอการสนทนา กับนักศึกษา ส่วนนักศึกษาที่มีปัญหาจะเข้ามาในห้องสนทนาเพื่อขอคำปรึกษา
แบบประสานเวลา (Synchronous)

ขัน้ ควบคุม (Controlling)


การควบคุม เป็นการตรวจดูวา่ งานทีท่ ำอยูต่ รงกับสิง่ ทีค่ าดหวัง หรือวัตถุประสงค์ทต่ี ง้ั ไว้หรือ
ไม่ การควบคุมจะช่วยปรับทิศทางให้งานดำเนินไปอย่างถูกต้อง การควบคุมตามรูปแบบนี้ แบ่งเป็น
หัวข้อย่อย 7 หัวข้อย่อย คือ
1.นักศึกษาลงเวลาปฏิบตั งิ านในสถานประกอบการ ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศปกติ
เป็นการควบคุมนักศึกษาฝึกงานในการลงเวลาปฏิบตั งิ าน การเข้าออกสถานประกอบการ ซึง่ อาจใช้
173
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

วิธกี ารเซ็นชือ่ ทำงาน ตอกบัตร หรือวิธกี ารใด ๆ ขึน้ อยูก่ บั สถานประกอบการ


2. ครูฝกึ และครูนเิ ทศก์ให้การเสริมแรงและลงโทษนักศึกษาฝึกงาน (ถ้ามี) ขัน้ ตอนนี้
อยูใ่ นส่วนของนิเทศปกติ เป็นการควบคุมให้นกั ศึกษาฝึกงานอยูใ่ นกรอบของวินยั ในการฝึกงาน โดยใช้
วิธกี ารสร้างแรงจูงใจ และการลงโทษ ดังนี้ (1) การสร้างแรงจูงใจ เป็นสิง่ ทีส่ ำคัญมากในการกระตุน้
หรือสร้างแรงเสริม ให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนือ่ งตามแนวพฤติกรรมนิยม การสร้างแรงจูงใจสามารถ
ทำได้โดยตรงโดยผูน้ เิ ทศก์ การสร้างแรงจูงใจในการนิเทศ ในทีน่ ใ้ี ช้การกล่าวชืน่ ชมผลการปฏิบตั งิ าน
ทีบ่ รรลุวตั ถุประสงค์ และการให้รางวัลโดยการประกาศเกียรติคณ ุ แก่ผปู้ ฏิบตั งิ านยอดเยีย่ ม (2) การลงโทษ
จะใช้ในกรณี ผูร้ บั การนิเทศไม่ปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบ เงือ่ นไข และทำงานผิดพลาดอยูเ่ ป็นเนืองนิตย์
การลงโทษนักศึกษาฝึกงาน เริม่ ตัง้ แต่การตักเตือน การภาคทัณฑ์ และส่งกลับสถานศึกษาต้นสังกัด
ส่วนการลงโทษอีกแบบเป็นการลงโทษในกรณีทท่ี ำความผิดกฎหมายบ้านเมือง โดยการลงโทษใดๆ
ให้เป็นความเห็นร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษา
3. นักศึกษาลงเวลาฝึกงาน และบันทึกการปฏิบตั งิ านทุกสัปดาห์ ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของ
นิเทศปกติ โดยนักศึกษาต้องลงเวลาในการฝึกงานด้วยระบบออนไลน์ โดยไม่จำกัดเวลาในการบันทึก
การลงเวลาฝึกงานเพื่อเป็นการควบคุมการเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ตลอดจนนักศึกษา
ต้องมีการบันทึกการปฏิบตั งิ านว่าแต่ละวันปฏิบตั งิ านอะไรบ้าง ผลเป็นอย่างไร งานเสร็จหรือไม่ ตลอดจน
มีปญ ั หาอะไรหรือไม่ อย่างไร ในแต่ละสัปดาห์
4. ครูฝกึ ยืนยันการลงเวลาฝึกงานและ บันทึกการปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงาน ขัน้ ตอนนี้
อยูใ่ นส่วนของนิเทศออนไลน์ โดยครูฝกึ ในสถานประกอบการเข้าระบบออนไลน์ เพือ่ ยืนยันการลงเวลา
ปฏิบตั งิ านและรับทราบรายงานการฝึกงานของนักศึกษา สัปดาห์ละ 1 ครัง้
5. ครูนเิ ทศก์รบั ทราบการลงเวลาฝึกงานและบันทึกการปฏิบตั งิ านของนักศึกษา ขัน้ ตอนนี้
อยูใ่ นส่วนของนิเทศออนไลน์ โดยครูนเิ ทศก์จากสถานศึกษาเข้าระบบออนไลน์ เพือ่ รับทราบการลงเวลา
และการรายงานการฝึกงานของนักศึกษาฝึกงาน
6. นักศึกษาฝึกงานจัดทำกระดานแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศออนไลน์
โดยนักศึกษาแต่ละคนพิจารณาผลงานทีเ่ กิดจากประสบการณ์การฝึกงานในสถานประกอบการของตนเอง
ทีน่ า่ สนใจ นำเสนอในรูปของกระดานแลกเปลีย่ นเรียนรู้ เพือ่ เป็นการแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั นักศึกษา
ในกลุม่ และผูส้ นใจทัว่ ไป
7. นักศึกษาสัมมนาแลกเปลีย่ นประสบการณ์การทำงาน ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศปกติ
โดยนักศึกษาคัดเลือกผลงานของตนเอง อาจเป็นงานทีน่ ำเสนอในกระดานแลกเปลีย่ นเรียนรู้ มานำเสนอ
ในทีป่ ระชุมสัมมนาเพือ่ เป็นการฝึกการพูด และกล้าทีจ่ ะนำเสนอรายงานต่อทีป่ ระชุม ช่วงเวลาการจัดสัมมนา
จะจัดในช่วงสุดท้ายหลังจากฝึกงานเสร็จแล้ว คะแนนการนำเสนอประสบการณ์ในครั้งนี้ครูนิเทศก์
เป็นผูร้ วบรวมและนำไปประเมินโดยกรอกคะแนนประเมินออนไลน์ เพือ่ นำไปรวมกับคะแนนของครูฝกึ
174
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

ขัน้ ประเมิน (Assessing)


การประเมินในรูปแบบนี้ มีขน้ั ตอนย่อย 3 ขัน้ ตอน คือ
1. ครูฝกึ และครูนเิ ทศก์เก็บข้อมูลการปฏิบตั งิ านของนักศึกษาฝึกงาน ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วน
ของนิเทศปกติ โดยครูฝกึ ใช้วธิ สี งั เกต บันทึกการปฏิบตั งิ าน เก็บเป็นข้อมูลเพือ่ นำไปประเมินในระบบ
ออนไลน์ ส่วนครูนเิ ทศใช้วธิ สี งั เกตการณ์ปฏิบตั งิ าน ในขณะทีม่ านิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ
และจากการตรวจความสมํา่ เสมอในการลงเวลาปฏิบตั งิ าน การบันทึกการปฏิบตั งิ าน การติดต่อสือ่ สาร
และนำไปประเมินในระบบออนไลน์ตอ่ ไป
2. ครูฝกึ และครูนเิ ทศก์ประเมินผลงานของนักศึกษาฝึกงานในระบบออนไลน์ ขัน้ ตอนนี้
อยู่ในส่วนของนิเทศออนไลน์ โดย (1) ครูฝึกประเมินผลงานตามสภาพจริงตามเกณฑ์กำหนด
เป็นการประเมินในระบบออนไลน์ โดยเป็นการประเมินกระบวนการ (Formative Evaluation) และผลผลิต
(Summative Evaluation) โดยกำหนดให้ประเมินสัปดาห์ละ 1 ครัง้ หัวข้อประเมินเกีย่ วกับทักษะ
ทางวิชาชีพ และคุณธรรม และมีการประเมินรวมเมื่อสิ้นสุดการฝึกงานโดยจัดให้มีการสัมมนา
ให้นกั ศึกษานำเสนอผลงาน และประเมินในภาพรวมและ (2) ครูนเิ ทศก์ประเมินผลการปฏิบตั งิ านและ
การนิเทศ เป็นการประเมินผลการปฏิบตั ิ งานและผลการดำเนินการตามกระบวนการนิเทศในระบบออนไลน์
โดยดูจาก การติดต่อ สือ่ สาร ทัง้ แบบปกติ และแบบออนไลน์ ผลงานทีบ่ นั ทึกในแต่ละสัปดาห์ ผลงาน
ที่นำเสนอในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นการประเมินผลงานของ
นักศึกษาทางอ้อม โดยดูจากผลการบันทึกการฝึกงานของนักศึกษาว่าตรงกับความต้องการ หรือมาตรฐาน
รายวิชาฝึกงานหรือไม่ การลงเวลาปฏิบัติงาน การขาด การลา การร่วมมือในกระบวนการนิเทศ
ทัง้ แบบปกติ และระบบออนไลน์
3. ครูฝกึ ครูนเิ ทศก์ และนักศึกษาฝึกงานประเมินความพึงพอใจต่อระบบนิเทศฝึกงาน
เป็นกระบวนการประเมินออนไลน์ที่กระทำเมื่อสิ้นสุดการฝึกงาน เพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจของ
ผูเ้ กีย่ วข้องหลักทัง้ 3 ฝ่าย เพือ่ เป็นแนวทางการในพัฒนาปรับปรุงการนิเทศต่อไป โดยประเมินครอบ
คลุมองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ การวางแผน การลงทะเบียน การปฐมนิเทศ การจัดนักศึกษาฝึกงาน
การให้คำแนะนำ/ ให้คำปรึกษา การควบคุม การประเมิน และการรายงานผล

ขัน้ การรายงาน (Reporting)


ขัน้ นีเ้ ป็นการรายงานผลในการฝึกงานของนักศึกษา ผลของการปฏิบตั งิ านของผูน้ เิ ทศก์ ปัญหา
อุปสรรค เพือ่ นำเสนอต่อผูร้ บั ผิดชอบและผูบ้ ริหารสถานศึกษา มี 2 ขัน้ ตอน คือ
1. ระบบประมวลผลการปฏิบตั งิ าน และความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ ขัน้ ตอนนี้
อยูใ่ นส่วนนิเทศออนไลน์ เป็นการสรุปประมวลผลข้อมูลจากขัน้ ตอนการประเมินผล ดังนี้ (1) ระบบ
นำผลคะแนนของนักศึกษาฝึกงาน ซึง่ เป็นผลรวมระหว่าง ครูฝกึ และครูนเิ ทศก์เอง ซึง่ ได้จากการประเมินผล
อย่างต่อเนือ่ งทัง้ ภาคเรียน นักศึกษาและผูเ้ กีย่ วข้องสามารถดูผลคะแนนได้ทนั ที (2) ระบบประมวล
175
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

ผลคะแนน ความพึงพอใจในกระบวนการฝึกงานของผูเ้ กีย่ วข้องหลัก 3 ฝ่าย นักศึกษาและผูเ้ กีย่ วข้อง


สามารถดูผลคะแนนในภาพรวมได้ทนั ที
2. ครูนเิ ทศก์สรุปรายงานผลการฝึกงานนำเสนอผูบ้ ริหาร ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของนิเทศปกติ
เป็นการพิมพ์ขอ้ มูลในการประเมินออนไลน์ลงในเอกสารเพือ่ นำเสนอเพือ่ พิจารณาโดยดำเนินการดังนี้ คือ
(1) ครูนเิ ทศก์แต่ละรายวิชานำผลคะแนนลงในสมุดประเมินผลของสถานศึกษา เพือ่ ออกเกรดให้
นักศึกษา ต่อไป (2) หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี นำผลคะแนนการประเมินความพึงพอใจ
ในกระบวนการฝึกงาน เสนอต่อผูบ้ ริหารสถานศึกษา และเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบทัง้ ในส่วนของ
นิเทศแบบปกติและนิเทศแบบออนไลน์

ขัน้ การให้ขอ้ มูลป้อนกลับ (Feedback)


ขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาระบบการนิเทศ เป็นการนำผลที่ได้
จากการสรุปรายงานนำไปพิจารณา เพือ่ หาทางปรับปรุงระบบให้ดยี ง่ิ ขึน้ ให้มเี สถียรภาพยิง่ ขึน้ โดยจะป้อน
กลับไปปรับปรุงทัง้ ระบบนิเทศแบบดัง้ เดิม และนิเทศออนไลน์
1. หัวหน้างานอาชีวศึกษาทวิภาคี นำข้อมูลการนิเทศเตรียมปรับปรุงงานในส่วนของการ
นิเทศฝึกงานแบบปกติ ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของการนิเทศปกติ เป็นการนำข้อมูล ปัญหา อุปสรรค
ความพึงพอใจในกระบวนการนิเทศฝึกงาน ในส่วนของการดำเนินงานนิเทศฝึกงานตามปกติ ครอบคลุม
องค์ประกอบ การวางแผน การปฐมนิเทศ การจัดนักศึกษาฝึกงาน การแนะนำให้คำปรึกษา การควบคุม
การประเมิน และการรายงาน แล้วนำไปปรับปรุงการดำเนินการนิเทศฝึกงานแบบปกติในภาคเรียน
ต่อไป
2. หัวหน้างานอาชีวศึกษาทวิภาคี นำข้อมูลการนิเทศเตรียมปรับปรุงงานในส่วนของ
การนิเทศฝึกงานแบบปกติ ขัน้ ตอนนีอ้ ยูใ่ นส่วนของการนิเทศออนไลน์ เป็นการนำข้อมูล ปัญหา อุปสรรค
ความพึงพอใจในกระบวนการนิเทศฝึกงาน ในส่วนของการดำเนินงานนิเทศฝึกงานตามปกติ ครอบคลุม
องค์ประกอบ การวางแผน การปฐมนิเทศ การจัดนักศึกษาฝึกงาน การแนะนำให้คำปรึกษา การควบคุม
การประเมิน และการรายงาน แล้วนำไปปรับปรุงการดำเนินการนิเทศฝึกงานแบบออนไลน์ในภาคเรียน
ต่อไป

เงือ่ นไขการนำรูปแบบไปใช้
รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษาสังกัด
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีเงือ่ นไขการนำไปใช้งานดังต่อไปนี้
1. ใช้กบั การจัดการฝึกงานของนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม ในระดับ ประกาศ นียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชัน้ สูง (ปวส.) สถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2. สถานศึกษาและสถานประกอบการทีร่ ว่ มกันจัดการฝึกงานให้กบั นักศึกษา มีอปุ กรณ์พน้ื ฐาน
176
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

สามารถใช้อนิ เทอร์เน็ตได้
3. นักศึกษา ครูฝกึ ครูนเิ ทศก์ หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และผูบ้ ริหารสถานศึกษา
มีความสามารถใช้อนิ เตอร์เน็ตเบือ้ งต้นได้
4. รูปแบบนีจ้ ะถูกนำไปสร้างระบบสารสนเทศ เช่น เพือ่ การจัดการในระบบออนไลน์ (Online
Management Information System : Online MIS) หรือระบบสารสนเทศที่มีความสามารถสูงกว่า
ในรูปแบบของเวบไซต์การนิเทศฝึกงาน

ผลทีค่ าดว่าจะได้รบั จากการใช้รปู แบบ


1. ผูฝ้ กึ งานได้รบั การนิเทศ 2 รูปแบบทัง้ การนิเทศพบปะหน้ากันแบบปกติ และการนิเทศ
แบบออนไลน์ ซึง่ มีขอ้ ดี ข้อด้อยแตกต่างกัน
2. แก้ปญ ั หาการจัดตารางสอน ตารางการนิเทศฝึกงาน ในสถานศึกษาทีม่ ผี สู้ อนน้อย และ
ไม่มเี วลาว่างในการออกนิเทศแบบดัง้ เดิม
3. แก้ปญ ั หาพาหนะของสถานศึกษาไม่เพียงพอ ในการพาครูนเิ ทศก์จากสถานศึกษาเข้านิเทศ
การฝึกงานในสถานประกอบการ
4. เป็นการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศ และการออนไลน์ เข้ามาใช้ในกระบวนการนิเทศการฝึกงาน
เช่นการเก็บข้อมูลประวัตสิ ว่ นตัว ประวัตกิ ารฝึกงาน การให้เนือ้ หา การสนทนาออนไลน์ ไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์ กระดานสนทนา ตลอดจนการประเมินผลการฝึกงาน ประเมินความพึงพอใจการใช้ระบบ
5. มีการแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ผ่านกระดานแลกเปลีย่ นเรียนรู้ (กระดานสนทนา ; กระทู)้ เป็นการ
แลกเปลีย่ นเรียนรูข้ องการฝึกงานในหลายๆ สถานประกอบการ ซึง่ มีบริบทการฝึกงานทีแ่ ตกต่างกัน และ
นำมาซึง่ ข้อสรุปเป็นองค์ความรูใ้ นการทำงานได้
6. เพิม่ การปฏิสมั พันธ์ระหว่างครูฝกึ จากสถานประกอบการ และครูนเิ ทศก์จากสถานศึกษา
เพือ่ ประโยชน์ในการดูแลนักศึกษาฝึกงาน ให้บรรลุวตั ถุประสงค์
7. ผูบ้ ริหารสถานศึกษาสามารถตรวจสอบข้อมูลการฝึกงานได้

สรุป
การนิเทศฝึกงานเป็นสิง่ ทีม่ คี วามสำคัญมากในกระบวนการฝึกงานอาชีพ การนิเทศทีด่ จี ะต้อง
ส่งเสริมให้การฝึกงานหรือการปฏิบตั งิ านบรรลุวตั ถุประสงค์ และต้องไม่ให้เกิดความเสียหายขึน้ ในสถานที่
ทีน่ กั ศึกษาฝึกงาน การฝึกงานตามรูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ในส่วนของนิเทศปกติ
หรือนิเทศแบบพบหน้า จะมีลักษณะที่พบเห็นกันโดยทั่วไป ในส่วนของการนิเทศออนไลน์จะต้องใช้
เทคโนโลยีสาระสนเทศระบบออนไลน์ โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐาน เข้ามามีบทบาท ตลอดจนต้องมี
ฐานข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องและผู้บริหารสถานศึกษาต้องดูข้อมูลต่าง ได้ เพื่อการพัฒนา
ด้านการศึกษาต่อไป
177
วารสารวิทยบริการ รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสมฯ
ปีท่ี ๒๒ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔ ประทีป นานคงแนบ และคณะ

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบตั ิ การในการขับเคลือ่ นการปฏิรปู การ


อาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2541). แนวปฏิบตั กิ ารดำเนินการฝึกงานอาชีวศึกษา.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Anne Stokes. (2008). Supervision in Cyberspace Retrieved March 6,2008,
from http:// counseling atwork.org.uk/ journal_pdf/acw_winter06_b.pdf
Rue & Byars. (2007). Supervision Key Link to Productivity. 9 th ed. New York:
McGraw-Hill International.
Stofle and Hamillton. (2008). Online Supervision for Social Workers. Retrieved March
6,2008,from http://www. ocialworker.com /onlineesu.htm

ประวัตผิ วู้ จิ ยั
ชือ่ -สกุล นายประทีป นานคงแนบ
สถานทีเ่ กิด อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
การศึกษา ค.อ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีการศึกษา 2538
ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสือ่ สารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปีการศึกษา 2544
ปร.ด. (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีการศึกษา 2553
สถานทีท่ ำงาน ครู วิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี พ.ศ. 2528-ปัจจุบนั
การติดต่อ ทีท่ ำงาน 0-3452-0586 มือถือ 08-1297-7671
e-mail pratheep06@hotmail.com

***************************************

You might also like