Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

๓๔

บทที่ ๓
การประกันคุณภาพการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารเรือ
สาหรับสถานศึกษาของกองทัพเรือ ระดับต่ากว่าปริญญา
.................................
ความเป็นมาและความสาคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาของกองทัพเรือ
หลังจากที่มีการประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติ
การศึกษาแหงชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ดังกล่าว กระทรวงกลาโหมได้มี
คาสั่ง กระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๒๒๐/๔๕ แสดงเจตนารมณ์แ ละก าหนดนโยบายด้ านการจั ด
การศึกษาขึ้น โดยมุ่งเน้นให้สถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม เร่งรัดดาเนินงานตามนโยบาย
การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา รวมทั้ง พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่าง
ต่อเนื่อง และให้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อการประกันคุณภาพภายนอก กองทัพเรือจึง ได้กาหนด
นโยบายเร่งด่วน ให้หน่วยควบคุมการศึกษาของส่วนการศึกษาต่าง ๆ ศึกษาและเตรียมการในเรื่อง
มาตรฐานการศึกษา และจัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อให้ผู้สาเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาของกองทัพเรือ สามารถเทียบโอนผลการเรียน
สาหรับการศึกษาต่อ รวมทั้งจะทาให้การจัดการศึกษาของกองทัพเรือ ให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน
และได้อนุมัติหลักการให้หน่วยควบคุมการศึกษา จัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
ต่าง ๆ รวมทั้งได้แต่งตั้งคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในส่วนการศึกษา
ที่สองและส่วนการศึกษาที่สี่ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๓ โดยมีเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น
ประธานกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการมีหน้าที่กาหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของส่วน
การศึกษาที่สองและส่วนการศึกษาที่สี่ ให้สอดคล้องกับนโยบายของกองทัพเรือ กาหนดแนวทางปฏิบัติ
ในการประกันคุณภาพการศึกษาให้สถานศึกษาในส่วนการศึกษาดังกล่าว รวมทั้งติดตามและประเมินผล
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตลอดจนพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้มี
ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้มีการปรับปรุงการจัดส่วนราชการในกองทัพเรือใหม่ จึงทาให้ต้อง
ยกเลิกคาสั่งเดิม และแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาใหม่ ดังนี้
๑. คาสั่งกองทัพเรือ (เฉพาะ) ที่ ๕๐/๒๕๕๓ เรื่อง แต่ง ตั้ง คณะกรรมการประกันคุณภาพ
การศึกษาสถานศึกษาของกองทัพเรือ ลง ๒๙ ม.ค.๕๓ โดยมีรองเสนาธิการทหารเรือ (รับผิดชอบงาน
การกาลังพล) เป็นประธาน และผู้อานวยการกองการศึกษา กรมกาลังพลทหารเรือ เป็นเลขานุการ
๒. คาสั่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาของกองทัพเรือ ที่ ๑/๒๕๕๓
เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาคในส่วน
การศึกษาที่สองและส่วนการศึกษาที่สี่ ลง ๒๙ มิ.ย.๕๓ โดยมีเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นประธาน
และผู้อานวยการกองประกันคุณภาพการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นเลขานุการ
๓๕

๓. คาสั่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาของกองทัพเรือ ที่ ๒/๒๕๕๓


เรื่อง แต่ง ตั้งคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งมิไ ด้จัดการศึกษาเป็นภาค
ในส่วนการศึกษาที่สองและส่วนการศึกษาที่สี่ ลง ๒๙ มิ.ย.๕๓ โดยมีเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น
ประธาน และผู้อานวยการกองประกันคุณภาพการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นเลขานุการ
๔. คาสั่ง ยศ.ทร. (เฉพาะ) ที่ ๗๓/๒๕๕๓ เรื่ อง แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการประกั นคุ ณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษาในส่วนการศึกษาที่หนึ่ง ลง ๕ ก.พ.๕๓ โดยมีเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น
ประธาน และผู้อานวยการกองประกันคุณภาพการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นเลขานุการ
ต่ อ มาในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ได้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง การจั ด ส่ ว นราชการในกองทั พ เรื อ ใหม่ อี ก ครั้ ง
จึงทาให้ต้องยกเลิกคาสั่งเดิม และแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาใหม่ ดังนี้
๑. คาสั่งกองทัพเรือ (เฉพาะ) ที่ ๑๕๐/๒๕๕๘ ลง ๕ มี.ค.๕๘ เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการ
ประกันคุณภาพการศึกษาและการฝึกอบรมของกองทัพเรือ โดยมีรองเสนาธิการทหารเรือ (สายงานการ
กาลังพล) เป็นประธาน และผู้อานวยการกองวิทยาการ สานักพัฒนากาลังพล กรมกาลังพลทหารเรือ
เป็นเลขานุการ
๒. คาสั่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาและการฝึกอบรมของกองทัพเรือ ที่ ๑/๒๕๕๘
ลง ๒๓ ก.ย.๕๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาของกองทัพเรือ
ระดับปริญญา โดยมีเจ้ากรมกาลังพลทหารเรือ เป็นประธาน และผู้อานวยการกองวิทยาการ สานัก
พัฒนากาลังพล กรมกาลังพลทหารเรือ เป็นเลขานุการ
๓. คาสั่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาและการฝึกอบรมของกองทัพเรือ ที่ ๒/๒๕๕๘
ลง ๒๓ ก.ย.๕๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาของกองทัพเรือ
ระดับต่ากว่าปริญญา โดยมีเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นประธาน และผู้อานวยการกองประกัน
คุณภาพการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นเลขานุการ
๔. คาสั่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาและการฝึกอบรมของกองทัพเรือ ที่ ๓/๒๕๕๘
ลง ๒๓ ก.ย.๕๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการฝึกอบรมของกองทัพเรือ โดยมี
ผู้อานวยการสานักพัฒนากาลังพล กรมกาลังพลทหารเรือ เป็นประธาน และผู้อานวยการกองวิทยาการ
สานักพัฒนากาลังพล กรมกาลังพลทหารเรือ เป็นเลขานุการ
การประกันคุณภาพการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารเรือ
จากการที่ ก องทั พ เรื อ ได้ ก าหนดให้ ห น่ ว ยควบคุ ม การศึ ก ษาของส่ ว นการศึ ก ษาต่ า ง ๆ
ซึ่งประกอบด้วย สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง (สรส.) กรมยุทธศึกษาทหารเรือ (ยศ.ทร.) และโรงเรียน
นายเรือ (รร.นร.) ศึก ษาและเตรี ยมการในเรื่อ งมาตรฐานการศึก ษา และจั ดให้ มีร ะบบการประกั น
คุณภาพการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อให้ผู้สาเร็จการศึกษาจาก
สถานศึกษาของกองทัพเรือ สามารถเทียบโอนผลการเรียน สาหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และ
ทาให้สถานศึกษาของกองทัพเรือ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนได้
ดังนั้น กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้เริ่มมีการวางระบบประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นภายใน
สถานศึกษาซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาคในส่วนการศึกษาที่สองและส่วนการศึกษาที่สี่ ซึ่งเป็นสถานศึกษาใน
๓๖

สังกัดและในความควบคุมของ ยศ.ทร. ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๔ โดยให้แต่ละสถานศึกษาบริหารจัดการและ


ดาเนินกิจกรรมตามภารกิจของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ตามประกาศกรมยุทธศึกษา
ทหารเรือ เรื่อง นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดและในความควบคุมของ
ยศ.ทร. ลง ๑๒ ก.ค.๒๕๔๔
และตามระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วยการศึกษา พ.ศ.๒๕๓๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๕
พ.ศ.๒๕๔๐ ได้แบ่งส่วนการศึกษาออกเป็น ๔ ส่วน ดังโครงสร้างการแบ่งส่วนการศึกษา ได้แก่
ส่วนการศึกษาที่หนึ่ง คือ สถานศึกษาที่ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของสถาบันวิชาการทหารเรือ
ชั้นสูง โดยสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูงเป็นหน่วยควบคุมการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยการทัพเรือ
โรงเรียนนายทหารอาวุโส โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ โรงเรียนนายทหารพรรคนาวิน และโรงเรียน
นายทหารพรรคกลิน ซึ่งในปัจจุบันสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง (สรส.) ได้ ยุบรวมกับกรมยุทธศึกษา
ทหารเรือ ทาให้สถานศึกษาในส่วนการศึกษาที่หนึ่ง เป็นสถานศึกษาในบังคับบัญชาของกรมยุทธศึกษา
ทหารเรือ ประกอบด้วย วิทยาลัยการทัพเรือ (วทร.ยศ.ทร.) โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ (รร.สธ.ทร.
ยศ.ทร.) และโรงเรียนนายทหารเรือชั้นต้น (รร.ชต.ยศ.ทร.)
ส่วนการศึกษาที่สอง คือ สถานศึกษาที่ขึ้นอยู่ในบังคับบัญ ชาของกรมยุทธศึกษาทหารเรือ
โดยกรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นหน่วยควบคุมการศึกษา ประกอบด้วย สถานศึกษาซึ่ง จัดการศึกษา
เป็นภาค คือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ (รร.ชุมพลฯ ยศ.ทร.) และสถานศึกษาซึ่งมิได้จัดการศึกษาเป็นภาค
คือ โรงเรียนพันจ่า (รร.พจ.ยศ.ทร.) ศูนย์ฝึกทหารใหม่ (ศฝท.ยศ.ทร.) และศูนย์ภาษา (ศภษ.ยศ.ทร.)
ส่วนการศึกษาที่สาม คือ โรงเรียนนายเรือ โดยโรงเรียนนายเรือ (รร.นร.) เป็นหน่วยควบคุม
การศึกษา
ส่วนการศึกษาที่สี่ คือ สถานศึกษาที่ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของหน่วยอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวไว้
ในส่วนการศึกษาที่หนึ่ง ส่วนการศึกษาที่สอง และส่วนการศึกษาที่สาม แต่มีกรมยุทธศึกษาทหารเรือ
เป็นหน่วยควบคุมการศึกษา ประกอบด้วย
๑. สถานศึกษาซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาค มี ๒ ระดับ คือ
๑.๑ สถานศึ ก ษาระดับ ปริ ญ ญาตรี มี ๑ สถาบัน คือ วิ ทยาลัย พยาบาลกองทั พ เรื อ
ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ (วพร.ศวก.พร.)
๑.๒ สถานศึกษาระดับต่ากว่าปริญญาตรี มี ๘ สถาบัน คือ
- โรงเรี ย นสื่ อ สารและเทคโนโลยี ส ารสนเทศ กองวิ ท ยาการ ส านั ก สนั บ สนุ น
กรมสื่อสารและเทคโนโลยีทหารเรือ (รร.สสท.กวก.สสน.สสท.ทร.)
- โรงเรี ย นทหารนาวิ ก โยธิ น ศู น ย์ ก ารฝึ ก หน่ ว ยบั ญ ชาการนาวิ ก โยธิ น
(รร.นย.ศฝ.นย.)
- โรงเรี ย นดุ ริ ย างค์ ท หารเรื อ กองดุ ริ ย างทหารเรื อ ฐานทั พ เรื อ กรุ ง เทพ
(รร.ดย.ดย.ทร.ฐท.กท.)
- โรงเรียนช่างกรมอู่ทหารเรือ กองการศึกษา กรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ
(รร.ชอร.กศษ.กพช.อร.)
๓๗

- โรงเรี ย นอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ กองวิ ท ยาการ กรมอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ท หารเรื อ


(รร.อล.กวก.อล.ทร.)
- โรงเรียนพลาธิการ กรมพลาธิการทหารเรือ (รร.พธ.พธ.ทร)
- โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ (รร.นวก.ศวก.พร.)
- โรงเรียนการขนส่ง กองวิทยาการ กรมการขนส่งทหารเรือ (รร.ขส.กวก.ขส.ทร.)
๒. สถานศึกษาซึ่งมิได้จัดการศึกษาเป็นภาค คือ สถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เหลือใน
กองทัพเรือ ที่มีการจัดหลักสูตรระยะสั้นต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากรในกองทัพเรือ
ได้แก่ โรงเรียนสารบรรณ กรมสารบรรณทหารเรือ โรงเรียนการเงิน กรมการเงินทหารเรือ ศูนย์วิทยาการ
กรมแพทย์ทหารเรือ กองการฝึกกองเรือยุทธการ และกองวิทยาการของหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือ
เป็นต้น
ซึ่งสถานศึกษาในส่วนการศึกษาที่หนึ่ง ในส่วนการศึกษาที่สองและส่วนการศึกษาที่สี่ซึ่งจัด
การศึกษาเป็นภาค และในส่วนการศึกษาที่สาม ได้จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไ ขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ สาหรับ
สถานศึกษาในส่วนการศึกษาที่สองและส่วนการศึ กษาที่สี่ซึ่งมิได้จัดการศึกษาเป็นภาค ได้จัดให้มีระบบ
ประกันคุณ ภาพการฝึ กอบรม ตามระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) แทนการจั ดทาประกั น
คุณภาพการศึกษา
๓๘

โครงสร้างการจัดส่วนการศึกษา

ทร.

รร.นร. (ส่วนการศึกษาที่สาม) ยศ.ทร.

สถานศึกษาในบังคับบัญชา สถานศึกษาในกากับ

ส่วนการศึกษาที่หนึ่ง ส่วนการศึกษาที่สอง ส่วนการศึกษาที่สี่

วทร.ยศ.ทร. ซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาค ซึ่งมิได้จัดการศึกษาเป็นภาค ซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาค

รร.สธ.ทร.ยศ.ทร. รร.ชุมพลฯ ยศ.ทร. รร.พจ.ยศ.ทร.* วพร.ศวก.พร.


รร.สสท.กวก.สสน.สสท.ทร.
รร.ชต.ยศ.ทร. ศฝท.ยศ.ทร.*
รร.นย.ศฝ.นย.
ศภษ.ยศ.ทร.*
รร.อล.กวก.อล.ทร.
ซึ่งมิได้จัดการศึกษาเป็นภาค
รร.พธ.พธ.ทร.
สถานศึกษาที่เหลืออื่น ๆ ใน
นขต.ทร.* รร.นวก.ศวก.พร.
รร.ขส.กวก.ขส.ทร.
รร.ดย.ดย.ทร.ฐท.กท.

รร.ชอร.กศษ.กพช.อร.

ภาพที่ ๑
โครงสร้างการจัดส่วนการศึกษาของกองทัพเรือ
๓๙

โครงสร้างประกันคุณภาพการศึกษาและการฝึกอบรมของกองทัพเรือ

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาและการฝึกอบรมของ ทร.
กพ.ทร.
ยศ.ทร.

คณะอนุกรรมการประกัน คณะอนุกรรมการประกัน คณะอนุกรรมการประกัน คณะกรรมการประกัน


คุณภาพการศึกษา คุณภาพการฝึกอบรม คุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษา
สถานศึกษาของ ทร. ของ ทร. สถานศึกษาของ ทร. สถานศึกษาในส่วน
ระดับปริญญา มี ผอ.สพพ.กพ.ทร. ระดับต่ากว่าปริญญา การศึกษาที่หนึ่ง
มี จก.กพ.ทร. เป็นประธาน เป็นประธาน มี จก.ยศ.ทร. เป็นประธาน มี จก.ยศ.ทร. เป็นประธาน

รร.นร. วทร.ยศ.ทร.
สถานศึกษาซึ่งมิได้จัด สถานศึกษาซึ่งจัด
การศึกษาเป็นภาค การศึกษาเป็นภาค
วพร.ศวก.พร. รร.สธ.ทร.ยศ.ทร.

ส่วนการศึกษา ส่วนการศึกษา ส่วนการศึกษา ส่วนการศึกษา รร.ชต.ยศ.ทร.


ที่สอง ที่สี่ ที่สอง ที่สี่

รร.พจ.ยศ.ทร. ฝวก.ยศ.ทร.
ศ.ทร.
รร.ชุมพลฯ ยศ.ทร. รร.สสท.กวก.สสน.สสท.ทร.
ศฝท.ยศ.ทร.
รร.นย.ศฝ.นย.
ศภษ.ยศ.ทร.
รร.อล.กวก.อล.ทร.
หลักสูตร
ข้าราชการ รร.พธ.พธ.ทร.
กห.พลเรือน*
รร.นวก.ศวก.พร.

รร.ขส.กวก.ขส.ทร.

รร.ดย.ดย.ทร.ฐท.กท.

รร.ชอร.กศษ.กพช.อร.
ภาพที่ ๒
โครงสร้างประกันคุณภาพการศึกษาและการฝึกอบรมของกองทัพเรือ
๔๐

จากโครงสร้างที่แสดงให้เห็นดังภาพที่ ๑ และภาพที่ ๒ จะเห็นได้ว่ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ


มีสถานศึกษาที่อยู่ในบังคับบัญชาและในกากับ จานวน ๑๖ สถานศึกษา โดยมีสถานศึกษาที่ต้องประกัน
คุณภาพการศึกษาและประกันคุณภาพการฝึกอบรม ดังนี้
๑. สถานศึกษาที่จัดทาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยอยู่ในความควบคุมของ ยศ.ทร.
๑.๑ สถานศึกษาของกองทัพเรือ ระดับต่ากว่าปริญญา มี ๙ สถานศึกษา คือ รร.สสท.
กวก.สสน.สสท.ทร. รร.นย.ศฝ.นย รร.ดย.ดย.ทร.ฐท.กท. รร.ชอร.กศษ.กพช.อร. รร.อล.กวก.อล.ทร.
รร.พธ.พธ.ทร. รร.ขส.กวก.ขส.ทร. รร.นวก.ศวก.พร. และ รร.ชุมพลฯ ยศ.ทร.
๑.๒ สถานศึ ก ษาของกองทั พเรื อ ในส่ ว นการศึก ษาที่ ห นึ่ง (หรื อสถานศึ กษาสาหรั บ
นายทหารสัญญาบัตร) มี ๓ สถานศึกษา คือ วทร.ยศ.ทร. รร.สธ.ทร.ยศ.ทร. และ รร.ชต.ยศ.ทร. และได้
พิ จ ารณาหน่ ว ยที่ ต้ อ งจั ด ท าประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา เพิ่ ม เติ ม อี ก ๑ หน่ ว ย คื อ ฝ่ า ยวิ ช าการ
กรมยุทธศึกษาทหารเรือ (ฝวก.ยศ.ทร.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานโดยตรงที่กากับดูแลสถานศึกษาในส่วน
การศึกษาที่หนึ่ง
๒. สถานศึกษาที่จัดทาระบบประกันคุณภาพการฝึกอบรม โดยอยู่ในความควบคุมของ
กพ.ทร. มี ๓ สถานศึกษา คือ รร.พจ.ยศ.ทร. ศฝท.ยศ.ทร. ศภษ.ยศ.ทร. กับอีก ๑ หลักสูตร คือ หลักสูตร
ข้าราชการกลาโหมพลเรือนต่ากว่าชั้นสัญญาบัตร
๔๑

โครงสร้างประกันคุณภาพการศึกษากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

ยศ.ทร.

คณะอนุกรรมการประกัน คณะกรรมการประกัน
คุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษา
สถานศึกษาของ ทร. สถานศึกษาในส่วน
ระดับต่ากว่าปริญญา การศึกษาที่หนึ่ง
มี จก.ยศ.ทร. เป็นประธาน มี จก.ยศ.ทร. เป็นประธาน

สถานศึกษาซึ่งมิได้จัด สถานศึกษาซึ่งจัด วทร.ยศ.ทร.


การศึกษาเป็นภาค การศึกษาเป็นภาค
รร.สธ.ทร.ยศ.ทร.
ส่วนการศึกษา
ส่วนการศึกษา ส่วนการศึกษา
ที่สอง รร.ชต.ยศ.ทร.
ที่สอง ที่สี่

รร.พจ.ยศ.ทร. ฝวก.ยศ.ทร.
ศ.ทร.
รร.ชุมพลฯ ยศ.ทร. รร.สสท.กวก.สสน.สสท.ทร.
ศฝท.ยศ.ทร.
รร.นย.ศฝ.นย.
ศภษ.ยศ.ทร.
รร.อล.กวก.อล.ทร.
หลักสูตร
ข้าราชการ รร.พธ.พธ.ทร.
กห.พลเรือน*
รร.นวก.ศวก.พร.

รร.ขส.กวก.ขส.ทร.

รร.ดย.ดย.ทร.ฐท.กท.

รร.ชอร.กศษ.กพช.อร.

ภาพที่ ๓
โครงสร้างประกันคุณภาพการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารเรือ
๔๒

จากภาระงานดังกล่าว ดังนั้น กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จึง ได้กาหนดให้กองประกันคุณภาพ


การศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ (กปภ.ยศ.ทร.) มีหน้าที่กากับดูแล วางระบบประกันคุณภาพภายใน
ให้กับสถานศึกษาในบังคับบัญชาและในกากับของกรมยุทธศึกษาทหารเรือ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โดยสถานศึกษาจะต้องจัดทารายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report :
SAR) ทุกสิ้นปีการศึกษา เสนอต่อหน่วยงานต้นสัง กัดและกรมยุทธศึกษาทหารเรือ และกองประกั น
คุณภาพการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จะทาการติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายใน
สถานศึกษาในบังคับบัญชาและในกากับของกรมยุทธศึกษาทหารเรือ อย่างต่อเนื่องตามวงรอบที่กาหนด
สถานศึกษาซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาคในส่วนการศึกษาที่สองและส่วนการศึกษาที่สี่ (ระดับ
ต่ากว่าปริญญา) นับว่าเป็นสถานศึกษาเฉพาะทาง ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาตามความต้องการและความ
ชานาญของหน่วยงานนั้น ดังนั้น การจัดทาประกันคุณภาพการศึกษา จึงต้องคานึงถึงอุดมการณ์ของ
การจัดการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาของชาติ ด้วย และตามพระราชบัญ ญัติการศึกษาแห่ง ชาติ
พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๒๑ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และ
หน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชานาญของหน่วยนั้นได้
โดยคานึงถึง นโยบายและมาตรฐานการศึกษาแห่ง ชาติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดใน
กฎกระทรวง ดังนั้น กรมยุทธศึกษาทหารเรือจึงได้กาหนดกรอบที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
เป็นไปตามกรอบการประเมินคุณภาพรอบสี่ (พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๓) ที่กองทัพ และสานักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กาหนด ซึ่งได้มีการพิจารณา
กลั่นกรองอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานชาติ ตามที่กล่าวไว้ในบทที่ ๑
๔๓

ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสาหรับสถานศึกษาของ ทร. ระดับต่ากว่าปริญญา


รอบสี่ (พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๓)
กลุ่มตัวบ่งชี้ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ค่าน้าหนัก
มิติที่ ๑ ๑. ด้านคุณภาพ ๑. ผู้เรียนเป็นคนดี ๕
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ศิษย์ ๒. ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร ๕
๓. ผู้เรียนมีผลงานที่นาไปใช้ประโยชน์ ๕
(สาหรับ รร.นวก.ฯ รร.ดย.ฯ รร.ชอร.ฯ และ รร.อล.ฯ)
๓.*ผู้เรียนมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
(สาหรับ รร.ชุมพลฯ รร.สสท.ฯ รร.นย.ฯ รร.พธ.ฯ และ รร.ขส.ฯ)
๔. ศิษย์เก่าทาประโยชน์ให้กับสถานศึกษา ๕
๓๓.* ผลประเมินความพึงพอใจของหน่วยผู้ใช้ที่มีต่อ ๕
ผู้สาเร็จการศึกษา
รวมน้าหนัก ๒๕
๒. ด้านคุณภาพครู/ ๕. ครู/อาจารย์มีความรู้ความสามารถ ๕
อาจารย์ ๖. ครู/อาจารย์สร้างสรรค์ห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้คุณภาพ ๕
๗. ครู/อาจารย์มีผลงานนาไปใช้ประโยชน์ ๕
๘. ครู/อาจารย์ได้รับการเพิ่มพูนความรู้/ประสบการณ์ ๕
๙. ครู/อาจารย์ปฏิบัติตามระเบียบ วินัยทหาร และจรรยาบรรณ ๕
วิชาชีพครู/ครูทหาร
รวมน้าหนัก ๒๕
๓. ด้านหลักสูตร ๑๐. การบริหารและพัฒนาหลักสูตร ๕
และการเรียน ๑๑. กระบวนการจัดการเรียนการสอน ๕
การสอน ๑๒. การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ๕
๑๓. ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ๕
รวมน้าหนัก ๒๐
๔. ด้านการปลูกฝัง ๑๔. ระดับคุณภาพในการปลูกฝังจิตสานึกด้านการรักชาติฯ ๕
จิตสานึกความเป็น ๑๕. ระดับคุณภาพในการส่งเสริมการฝึกอบรมทางทหารฯ ๕
ทหาร เสริมสร้าง ๑๖. ระดับคุณภาพในการปลูกฝังจิตสานึกด้านปรัชญาเศรษฐกิจ ๕
ความเป็นพลเมือง พอเพียง
ไทยและพลโลก ๑๗. ระดับคุณภาพในการปลูกฝังจิตสานึกด้านการอนุรักษ์ ๕
สิ่งแวดล้อม
๑๘. ระดับคุณภาพในการส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ ๕
รวมน้าหนัก ๒๕
๕. ด้านการบริหาร ๑๙. การดาเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษา/สภาโรงเรียน ๕
และธรรมาภิบาล ๒๐. การดาเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษา ๕
ของสถานศึกษา ๒๑. การบริหารความเสี่ยง ๕
๒๒. การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ๕
รวมน้าหนัก ๒๐
๔๔

กลุ่มตัวบ่งชี้ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ค่าน้าหนัก


๖. ด้านความ ๒๓. การให้บริการวิชาการ/วิชาชีพที่ส่งผลต่อชุมชน/สังคม/ ๕
สัมพันธ์กับชุมชน/ กองทัพ
สังคม ๒๔. การให้บริการวิชาการ/วิชาชีพที่ส่งผลต่อสถานศึกษา ๕
รวมน้าหนัก ๑๐
๗. ด้านการทานุ ๒๕. การส่งเสริมสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม ๕
บารุงศิลปะและ ๒๖. การพัฒนาสุนทรียภาพ ๕
วัฒนธรรม รวมน้าหนัก ๑๐
๘. ด้านการประกัน ๒๗. ผลการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในโดย ๕
คุณภาพการศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด
ภายใน ๒๘. การพัฒนาสถานศึกษาจากผลการตรวจสอบและประเมิน ๕
คุณภาพการศึกษาภายใน
รวมน้าหนัก ๑๐
มิติที่ ๒ ๙. ด้านอัตลักษณ์/ ๒๙. อัตลักษณ์ผู้เรียน ๕
ตัวบ่งชี้ เอกลักษณ์ ๓๐. เอกลักษณ์สถานศึกษา ๕
อัตลักษณ์ รวมน้าหนัก ๑๐
มิติที่ ๓ ๑๐. ด้านมาตรการ ๓๑. มาตรการส่งเสริม (ภายในสถานศึกษา) ๕
ตัวบ่งชี้ ส่งเสริม ๓๒. มาตรการส่งเสริม (ภายนอกสถานศึกษา) ๕
มาตรการส่งเสริม รวมน้าหนัก ๑๐
รวม ๓ กลุ่มตัวบ่งชี้ มาตรฐาน ๑๐ ด้าน ๓๓ ตัวบ่งชี้ และค่าน้าหนัก ๑๖๕ คะแนน

หมายเหตุ
๑. ตัวบ่งชี้ที่ ๓ แยกเป็น ๒ กรณี
๑.๑ กรณี ที่ ๑ ตั ว บ่ ง ชี้ ที่ ๓ ผู้ เ รี ย นมี ผ ลงานที่ น าไปใช้ ป ระโยชน์ ใช้ ส าหรั บ รร.นวก.ศวก.พร.
รร.ดย.ดย.ทร. ฐท.กท. รร.ชอร.กศษ.กพช.อร. และ รร.อล.กวก.อล.ทร.
๑.๒ กรณีที่ ๒ ตัวบ่งชี้ที่ ๓* ผู้เรียนมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ ใช้สาหรับ รร.ชุมพลฯ ยศ.ทร.
รร.สสท.กวก.สสน.สสท.ทร. รร.นย.ศฝ.นย. รร.พธ.พธ.ทร. และ รร.ขส.กวก.ขส.ทร.
๒. ตัวบ่งชี้ที่ ๓๓* เป็นตัวบ่งชี้ที่ ยศ.ทร. เพิ่มเติมจากที่กองทัพกาหนด

You might also like