0.พรฎ-กำหนดลักษณะกิจการ ยกเว้น PDPA มาบังคับ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 7

หนา้ ๔๕

เลม่ ๑๔๐ ตอนที่ ๔๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖

พระราชกฤษฎีกา
กาหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงาน
ที่ได้รบั การยกเว้นไม่ให้นาพระราชบัญญัตคิ ุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
บางส่วนมาใช้บังคับ
พ.ศ. ๒๕๖๖

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖6
เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ เ ป็ น การสมควรก าหนดลั ก ษณะ กิ จ การ หรื อ หน่ ว ยงานที่ ไ ด้ รั บ การยกเว้ น
ไม่ให้นาพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ บางส่วนมาใช้บังคับ
อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๔
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎี ก านี้ เ รี ย กว่ า “พระราชกฤษฎี ก าก าหนดลั ก ษณะ กิ จ การ
หรื อ หน่ ว ยงานที่ ไ ด้ รับการยกเว้น ไม่ใ ห้ น าพระราชบัญญั ติคุ้ม ครองข้อ มูล ส่ วนบุ คคล พ.ศ. ๒๕๖๒
บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. ๒๕๖๖”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วนั ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หนา้ ๔๖
เลม่ ๑๔๐ ตอนที่ ๔๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖

มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“หน่ ว ยงานของรั ฐ ” หมายความว่ า หน่ ว ยงานที่ เ ป็ น ของรั ฐ ไม่ ว่ า จะเป็ น ส่ ว นราชการ
รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือในรูปแบบอื่นใด และไม่ว่าจะเป็นองค์กรในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระหรือองค์กรอัยการ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
มาตรา ๔ พระราชกฤษฎีกานี้มุ่งหมายให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม ใช้
หรื อ เปิ ด เผยข้อมู ลส่ ว นบุ คคลตามที่ร ะบุไว้ใ นแต่ละมาตราในพระราชกฤษฎี กานี้ ได้ รั บการยกเว้น
ไม่ให้นาพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ บางส่วนมาใช้บังคับภายใต้เงื่อนไข
ที่กาหนด โดยมีหลักการสาคัญดังต่อไปนี้
(๑) การร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ตามวัตถุประสงค์และขอบเขตซึ่งกฎหมายที่ให้อานาจหน่วยงานของรัฐกาหนดไว้ โดยไม่สร้างภาระเกินสมควร
แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
(๒) หน้ า ที่ ของผู้ ควบคุ มข้อมูล ส่วนบุ คคลในการเปิด เผยข้อมู ลส่ วนบุคคลโดยไม่ต้องได้รับ
ความยินยอมจากเจ้า ของข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อได้รับการร้องขอข้อมูลดังกล่าวจากหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งมีกฎหมายให้อานาจในการร้องขอข้อมูลนั้น โดยหน่วยงานของรัฐได้ระบุบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่ให้อานาจในการร้องขอ เพื่อปฏิบัติงานตามหน้าที่และอานาจของหน่วยงานของรัฐที่ร้องขอนั้น
(๓) การรับรองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกร้องขอ
ข้อมูลส่วนบุคคลในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือขอให้คณะกรรมการตีความหรือวินิจฉัยชี้ขาด
แล้วแต่กรณี
(๔) การยกเว้นความผิดและโทษอาญาตามพระราชกฤษฎีกานี้ ไม่คุ้มครองการดาเนิ นการ
โดยมิชอบด้วยพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๕ ผู้ ค วบคุ ม ข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลที่ ไ ด้ รั บ การยกเว้ น โดยพระราชกฤษฎี ก านี้
ยังคงมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อมิให้กระทบกับ
หลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจนเกินสมควร
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ที่คณะกรรมการประกาศกาหนด
หนา้ ๔๗
เลม่ ๑๔๐ ตอนที่ ๔๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖

มาตรา ๖ เมื่ อ ผู้ ค วบคุ ม ข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลได้ รั บ การร้ อ งขอข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลจาก
คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ หรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมาย
ให้ดาเนินการจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คณะกรรมการป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ต ในภาครั ฐ หรื อ ส านั ก งานคณะกรรมการป้ อ งกั น
และปราบปรามการทุ จ ริ ต ในภาครั ฐ หรื อ หน่ ว ยงานของรั ฐ ที่ ค ณะกรรมการประกาศก าหนด
บรรดาที่ มี ก ฎหมายให้ อ านาจขอข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลเพื่ อ ด าเนิ น การตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ห รื อ ภารกิ จ
ตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวย่อมได้รบั
การยกเว้น การปฏิบัติต ามบทบัญญัติหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๗ เมื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลจากกรมสรรพากร
กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต บรรดาที่มีกฎหมายให้อานาจขอข้อมูลส่วนบุ คคลเพื่อดาเนินการ
ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ห รื อ ภารกิ จ ตามกฎหมายที่ อ ยู่ ใ นความรั บ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ การจั ด เก็ บ ภาษี อ ากร
การดาเนินการใด ๆ อันเกี่ยวกับการบังคับแก่บรรดาค่าธรรมเนียมทางภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม
หรือค่าอากรใด ๆ รวมทั้งการดาเนินการตามพันธกรณีหรือความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องดังกล่าว
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวย่อมได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามบทบัญญัติหมวด ๒ และหมวด ๓
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะรู้ว่าหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งเก็บข้อมูลใดเกี่ยวกับตนไว้
และมีสิทธิขอให้หน่วยงานของรัฐนั้นแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน แต่ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ
ได้รับข้อมูลมาจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น การแก้ไขข้อมูลให้ ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเป็นหน้าที่
และอานาจของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้เก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลนั้น และให้ผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวส่งข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันให้กับหน่วยงานของรัฐที่ร้องขอตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๘ เมื่ อ ผู้ ค วบคุ ม ข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลได้ รั บ การร้ อ งขอข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลจาก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งคณะกรรมการประกาศกาหนด บรรดาที่มีกฎหมายให้อานาจขอข้อมูล
ส่วนบุคคลเพื่อดาเนินการตามวัตถุประสงค์หรือภารกิจตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
การจัด เก็บภาษีตามกฎหมายว่าด้ว ยภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
ย่อมได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามบทบัญญัติหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
หนา้ ๔๘
เลม่ ๑๔๐ ตอนที่ ๔๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖

ก่ อ นที่ ค ณะกรรมการจะประกาศก าหนดองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ตามวรรคหนึ่ ง


คณะกรรมการต้องจัดให้ มีการประเมินความพร้อมในการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูล
ส่ว นบุคคลขององค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่นแต่ละแห่งตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ของข้อมูลส่วนบุคคลก่อน
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะรู้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งเก็บข้อมูลใด
เกี่ยวกับตนไว้ และมีสิทธิขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
แต่ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับข้อมูลมาจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น การแก้ไขข้อมูล
ให้ ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเป็นหน้าที่และอานาจของผู้ควบคุมข้ อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้เก็บรวบรวม
และเปิดเผยข้อมูลนั้น และให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวส่งข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ร้องขอตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๙ เมื่ อ ผู้ ค วบคุ ม ข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลได้ รั บ การร้ อ งขอข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลจาก
ส านั ก เลขาธิ ก ารคณะรั ฐ มนตรี เพื่ อ ด าเนิ น การตามวั ต ถุ ป ระสงค์ห รือ ภารกิ จ ตามกฎหมายที่ อ ยู่ใน
ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสถาปนาสมณศักดิ์ การแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการ บุคคลหรือคณะบุคคล
ซึ่งเป็นพระราชอานาจของพระมหากษัตริย์ หรือที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี และการขอพระราชทาน
หรือเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฎีกาซึ่งมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย หรือการขอพระราชทานพระมหากรุณา
ในเรื่องต่าง ๆ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวย่อมได้รบั การยกเว้นการปฏิบัตติ ามบทบัญญัติหมวด ๒
และหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะรู้ว่าสานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเก็บข้อมูลใดเกี่ยวกับตนไว้
และมี สิ ท ธิ ข อให้ ส านั ก เลขาธิ ก ารคณะรั ฐ มนตรี แ ก้ ไ ขข้ อ มู ล ให้ ถู ก ต้ อ งและเป็ น ปั จ จุ บั น แต่ ใ นกรณี
ที่ ส านั ก เลขาธิ ก ารคณะรัฐ มนตรี ไ ด้ รับ ข้อ มู ล มาจากผู้ ค วบคุ มข้ อมู ล ส่ วนบุค คลอื่น การแก้ ไ ขข้อมูล
ให้ ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเป็นหน้าที่และอานาจของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้เก็บรวบรวม
และเปิด เผยข้อมูลนั้น และให้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวส่งข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
ให้แก่สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ร้องขอตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๑๐ เมื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐ
ที่ มี ก ฎหมายให้ อ านาจในการขอข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลเพื่ อ ด าเนิ น การตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ห รื อ ภารกิ จ
ตามกฎหมายเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะที่ สาคัญซึ่งคณะกรรมการประกาศกาหนด ผู้ควบคุมข้อมูล
ส่ ว นบุ ค คลดั ง กล่ า วย่ อ มได้ รั บ การยกเว้ น การปฏิ บั ติ ต ามบทบั ญ ญั ติ ห มวด ๒ และหมวด ๓
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
หนา้ ๔๙
เลม่ ๑๔๐ ตอนที่ ๔๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖

การประกาศกาหนดหน่วยงานของรัฐซึง่ มีหน้าที่และอานาจเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะที่สาคัญ
ตามวรรคหนึ่ ง คณะกรรมการอาจก าหนดหลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร หรื อ เงื่ อ นไขที่ จ าเป็ น และสมควร
ให้หน่วยงานของรัฐนัน้ ปฏิบัติ เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วยก็ได้
การดาเนินการตามวรรคหนึ่งต้องสอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุ โดยไม่สร้างขั้นตอน
ที่ไม่จาเป็นหรือสร้างภาระจนเกินสมควร และได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับกับสิทธิเสรีภาพ
และประโยชน์ที่บุคคลต้องเสียไป
มาตรา ๑๑ การเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ในการดาเนินการเกี่ยวกั บการเนรเทศ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับ
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา การป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
ความร่วมมืออื่นทางศาล หรือกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
ย่อมได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามบทบัญญัติหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๒ การเก็ บ รวบรวม ใช้ และเปิ ด เผยข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลของหน่ ว ยงานของรั ฐ
ตามพระราชกฤษฎีกานี้ บรรดาที่มีกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกานี้ให้อานาจในการขอข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อดาเนิ นการตามหน้ าที่และอานาจที่กฎหมายกาหนดไว้ หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อมูล
ส่ ว นบุ ค คลดั ง กล่ า วย่ อ มได้ รั บ การยกเว้ น การปฏิ บั ติ ต ามบทบั ญ ญั ติ ห มวด ๒ และหมวด ๓
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
คณะกรรมการอาจประกาศกาหนดหลั กเกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่อ นไขให้หน่วยงานของรัฐ
ตามวรรคหนึ่ ง หน่ ว ยงานใดหน่ ว ยงานหนึ่ ง ถื อ ปฏิ บั ติ เพื่ อ คุ้ ม ครองสิ ท ธิ ขั้ น พื้ น ฐานและประโยชน์
ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วยก็ได้
มาตรา ๑๓ ในกรณี ที่ มี ปั ญ หาว่ า ลั ก ษณะ กิ จ การ หรื อ หน่ ว ยงานใดอยู่ ภ ายใต้ บั ง คั บ
แห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องอาจขอให้คณะกรรมการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา
ที่เกิดขึ้นได้
ให้คณะกรรมการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน
และแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบ
คณะกรรมการอาจขยายระยะเวลาตามวรรคสองออกไปอีกได้ไม่เกินสามสิบวัน
ให้คณะกรรมการประกาศการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาตามวรรคสองให้ทราบเป็นการทั่วไป
หนา้ ๕๐
เลม่ ๑๔๐ ตอนที่ ๔๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖

ในกรณี ที่ ค ณะกรรมการตี ค วามและวิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดปั ญ หาในเรื่ อ งใดแล้ ว หากผู้ เ กี่ ย วข้ อ ง
ขอให้ ค ณะกรรมการตี ค วามและวิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดปั ญ หาเรื่ อ งในลั ก ษณะหรื อ ท านองเดี ย วกั น
สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจส่งคาวินิจฉัยในเรื่องนั้นให้ผู้นั้นถือปฏิบัติได้
มาตรา ๑๔ เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการคุ้ ม ครองข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลและเป็ น ไปตามเจตนารมณ์
ของมาตรา ๔ ให้ ค ณะกรรมการคุ้ ม ครองข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลประกาศก าหนดมาตรฐานการรั ก ษา
ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่จะให้มีผลใช้บังคับก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับมิได้ ทั้งนี้
เพื่อให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ให้นาพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๒ มาใช้บังคับ และตามพระราชกฤษฎีกานี้ ถือปฏิบัติ
ผู้ ค วบคุ ม ข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งจั ด ให้ มี ก ารรั ก ษาความมั่ น คงปลอดภั ย
ของข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลตามมาตรฐานที่ ก าหนดตามวรรคหนึ่ ง ให้ แ ล้ ว เสร็ จ ภายในระยะเวลา
ที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกาหนด
มาตรา ๑๕ ให้ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงดิ จิ ทั ล เพื่ อ เศรษฐกิ จ และสั ง คมรั ก ษาการ
ตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หนา้ ๕๑
เลม่ ๑๔๐ ตอนที่ ๔๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖
หมายเหตุ :- เหตุ ผ ลในการประกาศใช้ พ ระราชกฤษฎี ก าฉบั บ นี้ คื อ โดยที่ ม าตรา ๔ วรรคสอง
แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คล พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้ อ านาจตราพระราชกฤษฎี ก ายกเว้ น
ไม่ให้ น าพระราชบั ญญัตินี้ ทั้งหมดหรือแต่บ างส่วนมาใช้บังคับแก่ผู้ ควบคุมข้อมูล ส่ว นบุคคลในบางลักษณะ
บางกิจการ หรือบางหน่วยงาน เช่นเดียวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง
และให้อานาจยกเว้นไม่ให้นาพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่ บางส่วนมาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ดาเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่น ใด สมควรกาหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานบางประเภท
ได้รับการยกเว้นไม่ให้นาพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาใช้บังคับ ภายใต้เงื่อนไข
ที่กาหนดในแต่ละกรณี โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ ยังคงมีหน้าที่
ต้ อ งจั ด ให้ มี ก ารรั ก ษาความมั่ น คงปลอดภั ย ของข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลตามที่ ก าหนดในมาตรา ๔ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ด้วย ทั้งนี้ เพื่อมิให้กระทบกับหลักการคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคลจนเกินสมควร จึงจาเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

You might also like