กฎหมายและมาตรการในการจัดการและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของไทย

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 25

บทที่ 5 กฎหมายและมาตรการในการจัดการและคุ้มครองสิ่งแวดล้ อมของไทย

วัตถุประสงค์
เพื่ อให้ นักศึกษาได้ เข้ าใจถึงโครงสร้ างทางกฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้ อม และสภาพบังคับของ
กฎหมายดังกล่าว
เพื่อให้ นกั ศึกษาทราบถึงสาระสาคัญของกฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้ อม ประเภทต่าง ๆ
หัวข้ อบรรยาย
1. ลักษณะและโครงร่ างของกฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้ อมของประเทศไทย
2. กฎหมายที่เป็ นแกนกลางในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้ อม
3. กฎหมายในการจัดการทรัพยากร
4. กฎหมายในการคุ้มครองวิถีชีวิตของบุคคล
5. กฎหมายในการจัดการเกี่ยวกับการผลิต และพลังงาน
6 กฎหมายในการจัดการกับวัตถุอนั ตรายและการจัดการของเสีย
จานวนชั่วโมงที่สอน
9 ชัว่ โมง
กิจกรรมการเรี ยนการสอน
บรรยาย ประกอบสไลด์ และให้ นักศึกษาไปค้ นคว้ าเกี่ ย วกับบทบัญญัติข องกฎหมายในการจัดการ
สิ่งแวดล้ อมที่มีอยู่ในปั จจุบนั
สื่อการเรี ยนการสอน
สไลด์การบรรยาย เอกสารประกอบการสอน คลิปวิดีโอ

5.1 บทนา
การพิ จ ารณาถึ ง บทบั ญ ญั ติ ท างกฎหมายในการจั ด การสิ่ ง แวดล้ อม ทั ง้ ในด้ านของการจั ด การ
ทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการมลพิษนัน้ กฎหมายภายในที่เป็ นกฎหมายสูงสุด ซึง่ โดยพื ้นฐานแล้ ว กาหนดไว้
เพื่อรับรอง ให้ เป็ นหลักประกันว่าสิทธินนจะไม่
ั้ ถูกล่วงละเมิด ไม่วา่ จะโดยกฎหมาย โดยการกระทาของฝ่ ายบริ หาร
หรื อการตัดสินคดี ก็ต้องเคารพสิทธิ ที่รับรองไว้ ในรัฐธรรมนูญ ดังนัน้ อันดับแรกในบทนีท้ ี่จะต้ องพิจารณาคือ ใน
รั ฐธรรมนูญฉบับปั จจุบัน ได้ รับรองและคุ้มครองถึงสิทธิ ในทางสิ่งแวดล้ อมไว้ และกฎหมายพืน้ ฐานอันเป็ นหลัก
ทัว่ ไปของการใช้ กฎหมาย คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายที่ดิน นอกจากนี ้ ในบทนา
จะมีการแนะนาถึงข้ อสังเกตในการใช้ กฎหมาย เช่น หน่วยงานหลักในการมีหน้ าที่ดแู ลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้ อมและการ
บริ หารจัดการ เพื่อใช้ กฎหมายที่จดั การสิ่งแวดล้ อมจะมีประสิทธิภาพในการบั งคับใช้ กฎหมาย (compliance) ดัง
จะกล่าวเป็ นลาดับต่อไปนี ้

Page 1 of 25
5.1.1 รั ฐธรรมนูญ
ในรัฐธรรมนูญมีการกาหนดถึงการจัดการสิ่งแวดล้ อมครั ง้ แรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
1
2517 ในหมวดที่ 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 93 ว่า “รัฐพึงบำรุงรักษำสิ่ งแวดล้อมให้สะอำด และพึงขจัดสิ่ งเป็ น
พิ ษซึ่ งทำลำยสุข ภำพและอนำมัยของประชำชน” แต่ไม่ปรากฏในรั ฐธรรมนูญฉบับต่อมาในปี 2521 กลับมา
ปรากฎอีกครัง้ ในหมวดที่ 3 สิทธิและเสรี ภาพของชนชาวไทย ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 2 ใน
มาตรา 48 วรรค 2 เป็ นข้ อยกเว้ นของเสรี ภาพในการประกอบอาชี พ ว่าการจากัดสิทธิของบุคคลในการประกอบ
อาชีพจะกระทาได้ แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรื อสิ่งแวดล้ อม
และบัญญัติไว้ ในหมวด 4 หน้ าที่ของชนชาวไทย ในมาตรา 58 ว่า “บุคคลมี หน้ำที ่รักษำทรัพยำกรธรรมชำติ และ
สิ่ งแวดล้อมตำมที ก่ ฎหมำยบัญญัติ”
หลังจากกระแสการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้ อมจากโลกาภิวตั น์ การรณรงค์ถงึ สิทธิในสิ่งแวดล้ อมและการมีสว่ นร่ วม
ของประชาชน ท าให้ รั ฐ ธรรมนูญ ฉบับ ประชาชนที่ มีก ารรั บ ฟั งความคิดเห็ น ของประชาชนและกลุ่มสิ ท ธิ ท าง
สิ่งแวดล้ อม ทาให้ รัฐธรรมนูญฉบับต่อมาของไทย มีการรับรองถึงสิทธิทางสิ่งแวดล้ อมไว้ ในหลายมาตรา
รั ฐธรรมนูญแห่ งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25403
มำตรำ 46 “บุคคลซึ่ งรวมกันเป็ นชุมชนท้องถิ่ นดัง้ เดิ มย่อมมี สิทธิ อนุรกั ษ์ หรื อฟื ้ นฟูจำรี ตประเพณี ภูมิ
ปั ญญำท้องถิ่ น ศิ ลปะหรื อวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่ นและของชำติ และมี ส่วนร่ วมในกำรจัดกำร กำร
บำรุงรักษำ และกำรใช้ประโยชน์ จำกทรัพยำกรธรรมชำติ และสิ่ งแวดล้อมอย่ำงสมดุลและยัง่ ยื น ทัง้ นี ้
ตำมทีก่ ฎหมำยบัญญัติ”
มาตรา 46 นี ้เป็ นการรับรองถึงสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่ วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็ นครัง้ แรกใน
รั ฐธรรมนูญ มีการเสนอร่ างพระราชบัญญัติป่าชุมชน เพื่อกาหนดแนวทางในการจัดการป่ าชุมชนที่เกิดขึน้ ให้ มี
บทบัญ ญั ติ ข องกฎหมายรั บ รองอย่ า งชัด เจน แต่ ต ลอดระยะเวลาของการบัง คับ ใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบับ นี ้ ร่ า ง
พระราชบัญญัติดงั กล่าวไม่เคยได้ ผ่านสภานิติบญ ั ญัติแห่งชาติได้ เลย 4 อย่างไรก็ตาม แม้ ว่าร่ างพระราชบัญญัติป่า
ชุมชนจะไม่สามารถผ่านออกมาเป็ นกฎหมายได้ แต่การจัดการป่ าชุมชนที่เกิดขึ ้นก็ปรากฎอยู่ทวั่ ไปในพื ้นที่ป่าใน
รู ปแบบความร่ วมมือของชุมชน และหน่วยงานของรัฐบางแห่ง
นอกจากการรับรองถึงกระบวนการทางกฎหมายที่เป็ นการส่งเสริ มสิทธิทางสิ่งแวดล้ อม ได้ แก่
มำตรำ 56 “สิ ทธิ ของบุคคลที ่จะมี ส่วนร่ วมกับรัฐและชุมชนในกำรบำรุงรักษำ และกำรได้ประโยชน์
จำกทรัพ ยำกรธรรมชำติ แ ละควำมหลำกหลำยทำงชี วภำพ และในกำรคุ้มครอง ส่ ง เสริ ม และรักษำ
คุณภำพสิ่ งแวดล้อม เพือ่ ให้ดำรงชี พอยู่ได้อย่ำงปกติ และต่อเนือ่ ง ในสิ่ งแวดล้อมทีจ่ ะไม่ก่อให้เกิ ดอันตรำย

1
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 169. (9 ตุลาคม 2517).
2
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 216. (9 ธันวาคม 2534).
3
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. (11 ตุลาคม 2540).
4
บุญตา สืบประดิษฐ์ (บก.), 3 ทศวรรษป่ าชุมชน ท่ามกลางความสับสนของสังคมไทย: ประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของขบวนการกอบ
กู้ผืนป่ าและการต่อสู้ เพื่อประกาศสัจธรรม ของชุมชนท้ องถิ่นล้ านนาท่ามกลางความผันผวน ของนโยบายรัฐภายใต้ การรวมศูนย์อานาจ
ในการจัดการทรัพยากร (กรุงเทพฯ: บีเอสการพิมพ์, 2542).

Page 2 of 25
ต่อสุขภำพอนำมัย สวัสดิ ภำพ หรื อคุณภำพชี วิตของตน ย่อ มได้รับควำมคุ้มครอง ทัง้ นี ้ ตำมที ่กฎหมำย
บัญญัติ
กำรดำเนิ นโครงกำรหรื อกิ จกรรมที ่อำจก่อให้เกิ ดผลกระทบอย่ำงรุนแรงต่อคุณภำพสิ่ งแวดล้อม จะ
กระทำมิ ได้ เว้นแต่จะได้ศึกษำและประเมิ นผลกระทบต่อคุณภำพสิ่ งแวดล้อม รวมทัง้ ได้ ให้องค์ กำรอิ สระ
ซึ่ งประกอบด้วยผู้แทนองค์ กำรเอกชนด้ำนสิ่ งแวดล้อมและผู้แทนสถำบันอุดมศึกษำที ่จัดกำรศึกษำด้ำน
สิ่ งแวดล้อม ให้ควำมเห็นประกอบก่อนมี กำรดำเนิ นกำรดังกล่ำว ทัง้ นี ้ ตำมทีก่ ฎหมำยบัญญัติ
สิ ทธิ ของบุคคลที ่จะฟ้องหน่วยรำชกำร หน่วยงำนของรัฐ รัฐวิ สำหกิ จ รำชกำรส่วนท้องถิ่ น หรื อ
องค์ กรอื ่นของรัฐ เพือ่ ให้ปฏิ บตั ิ หน้ำที ่ตำมที ่บญ
ั ญัติไว้ในกฎหมำยตำมวรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมได้รบั
ควำมคุม้ ครอง”
จากการบั ง คั บ ใช้ มาตรา 56 นี ้ ขยายขอบเขตการรั ก ษาสิ ท ธิ ใ นสิ่ ง แวดล้ อมและการจั ด การ
ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนและประชาชนออกไปอย่างกว้ างขวาง รวมถึงสิทธิในการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารในมาตรา
59 ด้ วย
มำตร 59 “บุคคลย่อมมี สิทธิ ได้รับข้อมูล คำชี ้แจง และเหตุผล จำกหน่วยรำชกำร หน่วยงำนของรัฐ
รัฐวิ สำหกิ จ หรื อรำชกำรส่วนท้องถิ่ น ก่ อนกำรอนุญำตหรื อกำรดำเนิ นโครงกำรหรื อกิ จกรรมใดที ่อำจมี
ผลกระทบต่อคุณภำพสิ่ งแวดล้อม สุขภำพอนำมัย คุณภำพชี วิต หรื อส่วนได้เสียสำคัญอื ่นใดทีเ่ กี ่ยวกับตน
หรื อชุมชนท้องถิ่ น และมี สิทธิ แสดงควำมคิ ดเห็นของตนในเรื ่ องดังกล่ำว ทัง้ นี ้ ตำมกระบวนกำรรับฟัง
ควำมคิ ดเห็นของประชำชนทีก่ ฎหมำยบัญญัติ”
ในการกาหนดเป็ นสิทธิ ของปวงชนชาวไทย รั ฐธรรมนู ญกาหนดคู่ของสิทธิ ดงั กล่าวไว้ ในหมวดที่ 4 หน้ าที่
ของปวงชนชาวไทย ในมาตรา 69 ว่าบุคคลมีหน้ าที่ “...พิ ทกั ษ์ ปกป้อง และสื บสำนศิ ลปะวัฒนธรรมของชำติ และ
ภูมิปัญญำท้องถิ่ น และอนุรักษ์ ทรัพยำกรธรรมชำติ และสิ่ งแวดล้อม ทัง้ นี ้ ตำมที ่กฎหมำยบัญญัติ” และในหมวดที่
5 แนวนโยบายพื ้นฐานแห่งรัฐ เพื่อเป็ นการกากับการใช้ บงั คับกฎหมาย ในมาตรา 79
มำตรำ 79 “รัฐต้องส่งเสริ มและสนับสนุนให้ประชำชนมี ส่วนร่ วมในกำรสงวน บำรุงรักษำ และใช้
ประโยชน์จำกทรัพยำกรธรรมชำติ และควำมหลำกหลำยทำงชี วภำพอย่ำงสมดุล รวมทัง้ มี ส่วนร่ วมในกำร
ส่งเสริ ม บำรุงรักษำ และคุ้มครองคุณภำพสิ่ งแวดล้อมตำมหลักกำรกำรพัฒนำที ่ยงั่ ยื น ตลอดจนควบคุม
และกำจัดภำวะมลพิ ษทีม่ ี ผลต่อสุขภำพอนำมัย สวัสดิ ภำพ และคุณภำพชี วิตของประชำชน”
พร้ อมกับการกระจายอานาจให้ องค์กรส่วนท้ องถิ่นในหมวด 9 การปกครองส่วนท้ องถิ่น
มำตรำ 290 “เพือ่ ส่งเสริ มและรักษำคุณภำพสิ่ งแวดล้อม องค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่ นย่อมมี อำนำจ
หน้ำทีต่ ำมทีก่ ฎหมำยบัญญัติ
กฎหมำยตำมวรรคหนึ่งอย่ำงน้อยต้องมี สำระสำคัญดังต่อไปนี ้
(1) กำรจัดกำร กำรบำรุงรักษำ และกำรใช้ประโยชน์จำกทรัพยำกรธรรมชำติ และสิ่ งแวดล้อมทีอ่ ยู่ใน
เขตพืน้ ที ่
(2) กำรเข้ำไปมี ส่วนในกำรบำรุงรักษำทรัพยำกรธรรมชำติ และสิ่ งแวดล้อมที ่อยู่นอกเขตพืน้ ที ่ เฉพำะ
ในกรณีทีอ่ ำจมี ผลกระทบต่อกำรดำรงชี วิตของประชำชนในพืน้ ทีข่ องตน
(3) กำรมี ส่วนร่ วมในกำรพิ จำรณำเพือ่ ริ เริ่ มโครงกำรหรื อกิ จกรรมใดนอกเขตพืน้ ทีซ่ ึ่ งอำจมี ผลกระทบ
ต่อคุณภำพสิ่ งแวดล้อมหรื อสุขภำพอนำมัยของประชำชนในพื ้นที”่

Page 3 of 25
รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 นับเป็ นรัฐธรรมนูญที่รับรองถึงสิทธิในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้ อม พร้ อมทัง้
กาหนดกลไกในการใช้ บงั คับกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้ อมที่มากที่สดุ เท่าที่เคยมีมาในกฎหมายไทย
รั ฐธรรมนูญแห่ งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25505
รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ยังคงมาตราที่เกี่ยวข้ องกับกลไกในการใช้ สิทธิในสิ่งแวดล้ อม เช่น สิทธิในการรับรู้
ข้ อมูลข่าวสาร (มาตรา 57) หน้ าที่ในการพิทกั ษ์ สิ่งแวดล้ อม (มาตรา 73) และคงไว้ ในแนวนโยบายพื ้นฐานแห่งรัฐ
ในการส่ ง เสริ ม บ ารุ ง รั ก ษาและคุ้ม ครองคุณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม (มาตรา 85) และการจัด การทรั พ ยากรและ
สิ่งแวดล้ อมขององค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่น (มาตรา 290)
ที่เปลี่ยนแปลงอย่างสาคัญในรัฐธรรมนูญ 2550 คือการกาหนดสิทธิชมุ ชน เป็ นหมวดหนึง่ แยกต่างหาก
ส่วนที ่ 12 สิ ทธิ ชุมชน มำตรำ 66 “บุคคลซึ่ งรวมกันเป็ นชุมชน ชุมชนท้องถิ่ น หรื อชุมชนท้องถิ่ น
ดัง้ เดิ ม ย่อมมี สิทธิ อนุรกั ษ์ หรื อฟื ้ นฟูจำรี ตประเพณี ภูมิปัญญำท้องถิ่ น ศิ ลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่ นและ
ของชำติ และมี ส่วนร่ วมในกำรจัดกำร กำรบำรุ งรักษำ และกำรใช้ประโยชน์ จำกทรัพยำกรธรรมชำติ
สิ่ งแวดล้อม รวมทัง้ ควำมหลำกหลำยทำงชี วภำพอย่ำงสมดุลและยัง่ ยืน”
ในมาตราที่ รับรองถึงสิทธิ ชุมชน ตัดคาว่า “ทัง้ นีต้ ามที่กฎหมายบัญญัติ ” เพื่อจะยืนยันว่าสิทธิ ชุมชนตาม
รั ฐ ธรรมนูญ นี ้ ไม่จ าเป็ น ต้ องมีก ารบัญ ญัติกฎหมายขึน้ มาเพื่ อรั บ รองอีก ชัน้ หนึ่ง แต่ส ามารถบังคับ ใช้ ภ ายใต้
รัฐธรรมนูญได้ ทนั ที
มำตรำ 67 “สิ ทธิ ของบุคคลที ่จะมี ส่วนร่ วมกับรัฐและชุมชนในกำรอนุรักษ์ บำรุงรักษำ และกำรได้
ประโยชน์ จำกทรัพยำกรธรรมชำติ และควำมหลำกหลำยทำงชี วภำพ และในกำรคุ้มครอง ส่งเสริ ม และ
รักษำคุณภำพสิ่ งแวดล้อม เพื ่อให้ดำรงชี พอยู่ได้อย่ำงปกติ และต่อเนื ่องในสิ่ งแวดล้อมที ่จะไม่ ก่อให้เกิ ด
อันตรำยต่ อสุขภำพอนำมัย สวัสดิ ภำพ หรื อคุณภำพชี วิตของตน ย่ อมได้รับควำมคุ้มครองตำมควำม
เหมำะสม
กำรดำเนิ นโครงกำรหรื อกิ จกรรมทีอ่ ำจก่อให้เกิ ดผลกระทบต่อชุมชนอย่ำงรุนแรงทัง้ ทำงด้ำนคุณภำพ
สิ่ งแวดล้อม ทรัพยำกรธรรมชำติ และสุขภำพ จะกระทำมิ ได้ เว้นแต่จะได้ศึกษำและประเมิ นผลกระทบต่อ
คุณภำพสิ่ งแวดล้อมและสุขภำพของประชำชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนกำรรับฟังควำมคิ ดเห็นของ
ประชำชนและผู้มีส่วนได้เสี ยก่ อน รวมทัง้ ได้ให้องค์ กำรอิ สระซึ่ งประกอบด้วยผู้แทนองค์ กำรเอกชนด้ำน
สิ่ ง แวดล้ อ มและสุข ภำพ และผู้ แ ทนสถำบัน อุ ด มศึ ก ษำที ่ จั ด กำรกำรศึ ก ษำด้ ำ นสิ่ ง แวดล้ อ มหรื อ
ทรัพยำกรธรรมชำติ หรื อด้ำนสุขภำพ ให้ควำมเห็นประกอบก่อนมี กำรดำเนิ นกำรดังกล่ำว
สิ ทธิ ของชุมชนที ่จะฟ้องหน่วยรำชกำร หน่ว ยงำนของรัฐ รัฐวิ สำหกิ จ รำชกำรส่วนท้องถิ่ น หรื อ
องค์กรอืน่ ของรัฐทีเ่ ป็ นนิ ติบคุ คล เพือ่ ให้ปฏิ บตั ิ หน้ำทีต่ ำมบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รบั ควำมคุม้ ครอง”
มาตรา 67 เป็ นการสืบต่อการรับรองสิทธิในการจัดการสิ่งแวดล้ อม การจัดทารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้ อม
และความเชื่อมโยงกับองค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐ นับว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ยังคงพยายามสืบต่อเจตนารมณ์
ของสิทธิในสิ่งแวดล้ อมภายใต้ รัฐธรรมนูญ 2540 มาอย่างครบถ้ วน
รั ฐธรรมนูญแห่ งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25606

5
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. ( 24 สิงหาคม 2550).
6
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. ( 6 เมษายน 2560).

Page 4 of 25
“มำตรำ 43 บุคคลและชุมชนย่อมมี สิทธิ
(1) อนุรกั ษ์ ฟื ้ นฟู หรื อส่งเสริ มภูมิปัญญำ ศิ ลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจำรี ตประเพณี อนั
ดีงำมทัง้ ของท้องถิ่ นและของชำติ
(2) จัดกำร บำรุงรักษำ และใช้ประโยชน์จำกทรัพยำกรธรรมชำติ สิ่ งแวดล้อม และควำมหลำกหลำย
ทำงชี วภำพอย่ำงสมดุลและยัง่ ยืนตำมวิ ธีกำรทีก่ ฎหมำยบัญญัติ
(3) เข้ำชื ่อกันเพื ่อเสนอแนะต่อหน่วยงำนของรัฐให้ ดำเนิ นกำรใดอันจะเป็ นประโยชน์ต่อประชำชน
หรื อชุมชน หรื องดเว้นกำรดำเนิ นกำรใดอันจะกระทบต่อควำมเป็ นอยู่ อย่ำงสงบสุขของประชำชนหรื อ
ชุมชนและได้รับแจ้งผลกำรพิ จำรณำโดยรวดเร็ ว ทัง้ นี ้ หน่ วยงำนของรัฐต้องพิ จำรณำข้อเสนอแนะนัน้ โดย
ให้ประชำชนทีเ่ กี ่ยวข้องมี ส่วนร่ วมในกำรพิ จำรณำด้วยตำมวิ ธีกำรทีก่ ฎหมำยบัญญัติ
(4) จัดให้มีระบบสวัสดิ กำรของชุมชน
สิ ทธิ ของบุคคลและชุมชนตำมวรรคหนึ่ง หมำยควำมรวมถึ งสิ ทธิ ที่จะร่ วมกับองค์ กรปกครองส่วน
ท้องถิ่ นหรื อรัฐในกำรดำเนิ นกำรดังกล่ำวด้วย”
การรั บรองสิทธิ ในการจัดการ บารุ งรั กษา และใช้ ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม ทัง้ ที่
เป็ นปั จเจกบุคคล และที่เป็ นชุมชน ภายใต้ เงื่อนไขว่าต้ องเป็ นการดาเนินการอย่างสมดุลและยัง่ ยืน ตามที่กฎหมาย
บัญญัติ ซึง่ นากลับมาบัญญัติอีกครัง้ หนึง่ ในรัฐธรรมนูญ 2560 ภายหลังจากที่หายไปจากรัฐธรรมนูญ 2550
นอกจากนี ้ ยังมีสิทธิของผู้บริ โภค (มาตรา 46) และสิทธิในการที่จะได้ รับบริ การสาธารณสุขของรัฐ (มาตรา
47) ซึง่ นับเป็ นสิทธิในการดารงชีวิตอยู่อย่างมีคณ ุ ภาพ รวมถึงหลักประกันในการใช้ สิทธิในสิ่งแวดล้ อมเช่น สิทธิใน
การรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร เสนอเรื่ องราวร้ องทุกข์ รวมไปถึงการฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ ให้ รับเนื่องจากการกระทาหรื อ
ละเว้ นกระทาการ (มาตรา 41)

5.1.2 ประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์


เมื่อพิจารณาถึงรัฐธรรมนูญที่เป็ นหลักประกันสิทธิทางสิ่งแวดล้ อมแล้ ว การคุ้มครองสิทธิทางสิ่งแวดล้ อม
โดยหลักกฎหมายทั่วไป ได้ แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ ที่เป็ นกฎหมายในการจัดการทรั พยากรและ
สิ่ ง แวดล้ อมมาก่ อนที่ จ ะมีก ฎหมายคุ้ม ครองสิ่ งแวดล้ อ มเฉพาะขึน้ และแม้ ว่าจะมีก ฎหมายในการคุ้ม ครอง
สิ่งแวดล้ อมขึ ้นแล้ ว กฎหมายแพ่งนี ้ก็ยงั คงใช้ บงั คับเพื่อคุ้มครองสิทธิได้ อยู่ในฐานะของบทกฎหมายทัว่ ไป
กฎหมายแพ่งที่เป็ นหลักในการจัดการทรัพยากรและคุ้มครองสิทธิ ทางสิ่งแวดล้ อม ได้ แก่
- สาธารณสมบัตทิ ่ พ ี ลเมืองใช้ ร่วมกัน มาตรา 1304 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์7
มาตรา 1304 นัน้ มีการกาหนดประเภทของสาธารณสมบัติไว้ ดังนี ้
“สำธำรณสมบัติของแผ่นดิ นนัน้ รวมทรัพย์ สินทุกชนิ ดของแผ่นดิ นซึ่ งใช้เพือ่ สำธำรณประโยชน์หรื อ
สงวนไว้เพือ่ ประโยชน์ร่วมกัน เช่น
(1) ที ่ดินรกร้ำงว่ำงเปล่ำ และที ่ดินซึ่ งมี ผูเ้ วนคื นหรื อทอดทิ้ งหรื อกลับมำเป็ นของแผ่นดิ นโดยประกำร
อืน่ ตำมกฎหมำยทีด่ ิ น
(2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมื องใช้ร่วมกัน เป็ นต้นว่ำ ทีช่ ำยตลิ่ ง ทำงน้ำ ทำงหลวง ทะเลสำบ

7
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้ า 442 (18 มีนาคม 2473).

Page 5 of 25
(3) ทรัพย์ สินใช้เพื ่อประโยชน์ ของแผ่ นดิ นโดยเฉพำะ เป็ นต้นว่ำ ป้อมและโรงทหำร สำนักรำชกำร
บ้ำนเมื อง เรื อรบ อำวุธยุทธภัณฑ์ ”
ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แม่น ้า แหล่งน ้า พื ้นที่ท่งุ หญ้ า สาธารณะ จัดได้ ว่าเป็ นสาธารณสมบัติตามมาตรา
1304 (2) ที่ประชาชนทัว่ ไปสามารถเข้ าถึงและใช้ ประโยชน์ได้ พิจารณาถึงหลักการทางกฎหมายที่เป็ นพื ้นฐานใน
การใช้ กฎหมายในเรื่ องนี ้ มีหลักการของ Public Trust Doctrine และหลักการมีส่วนร่ วมในการจัดการสาธารณ
สมบัติที่พลเมืองใช้ ร่วมกัน Governing the Commons (ดังที่กล่าวไปแล้ วในบทที่ 3)
ข้ อสังเกตกรณีที่ดินที่รกร้ างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผ้ เู วนคืนหรื อทอดทิ ้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน “กลับมา
เป็ นของแผ่นดิน” เป็ นการสะท้ อนถึงหลักการภายใต้ ระบบการจัดการที่ดินแบบศักดินา ที่ดินเป็ นของ”แผ่นดิน” ซึง่
เทียบเคียงกับในระบบกฎหมายอังกฤษ หรื อระบบกฎหมาย Common Law ที่เรี ยกว่า Crown Land ซึง่ หลักการ
ข้ อนี ้ สอดคล้ องกับที่บญ
ั ญัติไว้ ในประมวลกฎหมายที่ดิน (ที่จะได้ กล่าวถึงต่อไป)
- ละเมิด ที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ 8 กาหนดหลักการพื น้ ฐานไว้ ที่ ผ้ ูกล่าวอ้ างต้ องพิ สูจน์ ถึง
เงื่อนไขในกฎหมาย มาตรา 420
“ผู้ใดจงใจหรื อประมำทเลิ นเล่ อ ทำต่ อบุคคลอื ่นโดยผิ ดกฎหมำยให้เขำเสี ยหำยถึ งแก่ ชีวิตก็ ดี แก่ ร่ำงกำยก็ ดี
อนำมัยก็ดี เสรี ภำพก็ดี ทรัพย์สินหรื อสิ ทธิ อย่ำงหนึ่งอย่ำงใดก็ดี ท่ำนว่ำผูน้ นั้ ทำละเมิ ดจำต้องใช้ค่ำสิ นไหมทดแทนเพื ่อกำร
นัน้ ”
จากหลักกฎหมายละเมิดที่เป็ นกฎหมายหลักทัว่ ไป ที่มีข้อจากัดในภาระการพิสจู น์ และหลักความสัมพันธ์
ระหว่างการกระทาและผล ทาให้ ผ้ เู สียหายต้ องพิสจู น์ว่าความเสียหายที่เกิดขึ ้นนันมาจากการกระท
้ าของผู้ละเมิด
ในคดีความเสียหายทางสิ่งแวดล้ อมการยืนยันเช่นนันพิ ้ สจู น์ได้ ยาก เช่น การเป็ นโรคทางเดินหายใจ เป็ นผลมาจาก
ภาวะหมอกควัน หรื อการเผาในที่โล่งของผู้ถกู กล่าวหา หรื อการเป็ นมะเร็ ง เป็ นสาเหตุมาจากการปล่อยมลพิษของ
โรงงานที่อยู่ในบริ เวณชุมชน รวมไปถึงความเสียหายจากมูลละเมิดนันต้ ้ องเกิดขึน้ แล้ ว ทาให้ ความเสียหายทาง
สิ่งแวดล้ อม เช่น การที่สตั ว์ป่าสูญพันธุ์ หรื อสภาพธรรมชาติถกู ทาลายไป เกิดความสามารถที่จะกลับคืนดังเดิมได้
อีก การปล่อยให้ เกิดความเสียหายขึ ้นจึงค่อยชดใช้ เยียวยา จึงเป็ นช่องว่างอย่างสาคัญของหลักกฎหมายละเมิดที่
ในกรณีความเสียหายทางสิ่งแวดล้ อม ดังจะได้ ยกตัวอย่างในบทที่ 6 เป็ นกรณีศกึ ษาทางสิ่งแวดล้ อม
นอกจากหลักกฎหมายละเมิดทั่วไปแล้ ว รวมถึงความเสียหายอันเกิ ดจากทรั พย์ ที่ในกฎหมายลักษณะ
ละเมิดได้ บญั ญัติไว้ หลายมาตรา เช่น ความเสียหายจากโรงเรื อน ในมาตรา 434
“ถ้ำควำมเสียหำยเกิ ดขึ้นเพรำะเหตุที่โรงเรื อนหรื อสิ่ งปลูกสร้ำงอย่ำงอืน่ ก่อสร้ำงไว้ชำรุดบกพร่ องก็ดี
หรื อบำรุงรักษำไม่เพียงพอก็ดี ท่ำนว่ำผูค้ รองโรงเรื อนหรื อสิ่ งปลูกสร้ำงนัน้ ๆ จำต้องใช้ค่ำสิ นไหมทดแทน
แต่ถำ้ ผูค้ รองได้ใช้ควำมระมัดระวังตำมสมควรเพือ่ ปัดป้องมิ ให้เกิ ดเสียหำยฉะนัน้ แล้ว ท่ำนว่ำผูเ้ ป็ นเจ้ำของ
จำต้องใช้ค่ำสิ นไหมทดแทน”
และการเกิดอันตรายจากทรัพย์ ที่เป็ นยานพาหนะ หรื อทรัพย์อนั ตราย ซึง่ บัญญัติไว้ ภายใต้ หลักการความ
รั บผิดเด็ดขาด โดยมีข้อสันนิษฐานความผิดไว้ ให้ ผ้ ู ละเมิดมีภาระในการพิสจู น์ว่าความเสียหายนันเกิ้ ดจากเหตุ
สุดวิสยั หรื อความผิดของผู้เสียหายเอง ในมาตรา 437

8
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42 หน้ า 1 (11 พฤศจิกายน 2468).

Page 6 of 25
“บุคคลใดครอบครองหรื อควบคุมดูแลยำนพำหนะอย่ำงใด ๆ อันเดิ นด้วยกำลังเครื ่องจักรกล บุคคล
นัน้ จะต้องรับผิ ดชอบเพือ่ กำรเสียหำยอันเกิ ดแต่ยำนพำหนะนัน้ เว้นแต่จะพิ สูจน์ได้ว่ำกำรเสียหำยนัน้ เกิ ด
แต่เหตุสดุ วิ สยั หรื อเกิ ดเพรำะควำมผิ ดของผูต้ อ้ งเสียหำยนัน้ เอง
ควำมข้อนีใ้ ห้ใช้บงั คับได้ตลอดถึงบุคคลผูม้ ี ไว้ในครอบครองของตน ซึ่ งทรัพย์อนั เป็ นของเกิ ดอันตรำย
ได้โดยสภำพ หรื อโดยควำมมุ่งหมำยทีจ่ ะใช้ หรื อโดยอำกำรกลไกของทรัพย์นนั้ ด้วย”
ในส่วนของการเรี ยกร้ องความเสียหายในมูลละเมิดนัน้ มีกาหนดอายุความในมาตรา 448 ไว้ คือ หนึ่งปี นบั
แต่ร้ ู หรื อสิบปี นบั แต่วนั ทาละเมิดนัน้ มีระยะเวลาที่สนมาก
ั้ เมื่อพิจารณาถึงความเสียหายในกรณีสิ่งแวดล้ อม ทังที ้ ่
เป็ นความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ หรื อจากกรณีมลพิษ เนื่องจากการปรากฏผลอาจกินเวลาระยะหนึง่ เช่น
การเป็ นอันตรายต่อสุขภาพ การสะสมในร่ างกายของสารพิษ หรื อการสะสมของสารเคมีที่มีผลต่อน ้าใต้ ดิน อาจจะ
ยังไม่ปรากฎผลออกมา
- เหตุเดือดร้ อนราคาญ (Nuisance) ในมาตรา 1337
“บุคคลใดใช้สิทธิ ของตนเป็ นเหตุให้เจ้ำของอสังหำริ มทรัพย์ ได้ รับควำมเสี ยหำย หรื อเดื อดร้ อนเกิ นที ่ควรคิ ดหรื อ
คำดหมำยได้ว่ำจะเป็ นไปตำมปกติ และเหตุอนั ควรในเมื ่อเอำสภำพและตำแหน่งทีอ่ ยู่แห่งทรัพย์สินนัน้ มำคำนึงประกอบไซร้
ท่ำนว่ำเจ้ำของอสังหำริ มทรัพย์ มีสิทธิ จะปฏิ บตั ิ กำรเพือ่ ยังควำมเสียหำยหรื อเดือดร้อนนัน้ ให้สิ้นไป ทัง้ นี ้ ไม่ลบล้ำงสิ ทธิ ที่
จะเรี ยกเอำค่ำทดแทน”
การนาเหตุเดือนร้ อนราคาญ อันเป็ นกฎหมายทัว่ ไปมาใช้ ในการขจัดให้ การก่อความราคาญให้ แก่เจ้ าของ
ทรัพย์สามารถนามาเป็ นเหตุในการใช้ สิทธิทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิต อยู่ในสิ่งแวดล้ อมที่ดีอีก
วิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็ นกรณีของแสง เสียง กลิ่น ความสัน่ สะเทือน หรื อความเดือนร้ อนใด ที่กฎหมายสิ่งแวดล้ อมจัด
อยู่ในกลยุทธ์ของการใช้ หลักกฎหมายเรื่ องทรัพย์ สินเพื่อจัดการสิ่งแวดล้ อม

5.1.3 ประมวลกฎหมายที่ดนิ
ในกฎหมายที่ดิน นับเป็ นกฎหมายหลัก ทัว่ ไปอีกฉบับหนึ่งในการจัดการที่ดิน ในฐานะทรัพยากรที่มนุ ษย์ใช้
เป็ นฐานการใช้ ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็ นที่อยู่อาศัยหรื อฐานการผลิต ไม่ว่าจะเป็ นเกษตรกรรม ที่ความอุดมสมบูรณ์
ของที่ดินสาคัญที่สดุ รองลงมาคือการผลิตภาคอุตสาหกรรม ที่ตาแหน่งที่ตงของที ั้ ่ดิน เป็ นส่วนสาคัญที่ จะทาให้
เข้ าถึงแหล่งวัตถุดิบและการขนส่งจาหน่ายสินค้ า นอกจากนี ้ หลักกฎหมายในการจัดการที่ดินจากประมวลที่ดิน
นามาเป็ นต้ นทางสาคัญในการจัดประเภทที่ ดิน เป็ นที่ดินของเอกชนหรื อที่ ดินของรั ฐหรื อของสาธารณสมบัติที่
พลเมืองใช้ ร่วมกัน (ซึ่งไม่อาจครอบครองปรปั กษ์ ได้ ) ในที่ นี ้ จะยกบทบัญญัติของกฎหมายในประมวลกฎหมาย
ที่ดิน9 มาเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้ อง ใน 2 ประเด็นคือ บทนิยาม และหลักการพื ้นฐานของที่ดินอันเป็ นของรัฐ
ในมาตรา 1 บทนิยามของคาว่าที่ดิน
“ที ่ดิน” หมำยควำมว่ำ พืน้ ที ่ดินทัว่ ไป และให้หมำยควำมรวมถึง ภูเขำ ห้วย หนอง คลอง บึง บำง
ลำน้ำ ทะเลสำบ เกำะ และทีช่ ำยทะเลด้วย
และในมาตรา 2 อันเป็ นหลักกฎหมายที่รับรองแนวคิดทางกฎหมายที่สาคัญ จากแนวคิดของระบบศักดินา
และเป็ นฐานสาหรับกฎหมายเฉพาะฉบับอื่น ๆ ตามมา บัญญัติวา่

9
ประมวลกฎหมายที่ดิน, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 71 ตอนที่ 78 ฉบับพิเศษ หน้ า 1 (30 พฤศจิกายน 2497).

Page 7 of 25
“ทีด่ ิ นซึ่ งมิ ได้ตกเป็ นกรรมสิ ทธิ์ ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่ำเป็ นของรัฐ”
เมื่อที่ดินที่ไม่ได้ เป็ นของบุคคลใดบุคคลหนึง่ (ที่เป็ นประชาชนทัว่ ไป หรื อเอกชน) ที่ดินนันย่
้ อมตกเป็ นของรัฐ
ซึง่ เป็ นกรอบและอุดมการณ์ ทางกฎหมายที่ครอบคลุมการใช้ และตีความในระบบกฎหมายของไทย ดังจะสะท้ อน
ให้ เห็นในกฎหมายเฉพาะหลายฉบับในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และเมื่ อพิจารณาเชื่อมโยงกับสิทธิ การมี
ส่วนร่ วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึง่ ที่ดินนับเป็ นทรัพยากรพื ้นฐาน ทาให้ เกิดความไม่สอดคล้ องในการ
จัดการที่ดิน ไม่เป็ นโอกาสในการจัดการแบบมีสว่ นร่ วมเท่าทีควร

5.1.4 ข้ อสังเกตและการพิจารณาถึงกฎหมายเฉพาะในการจัดการสิ่งแวดล้ อม
นอกเหนือจากกฎหมายทัว่ ไปที่ได้ กล่าวมาข้ างต้ นแล้ ว ส่วนสาคัญเที่ เป็ นบทบัญญัติทางกฎหมายที่จดั การ
สิ่งแวดล้ อมส่วนใหญ่เป็ นกฎหมายระดับในระดับพระราชบัญญัติ ซึง่ มีที่เกี่ยวข้ องกับการจัดการสิ่งแวดล้ อมที่ อยู่
รอบตัวเรา ในหลากหลายมิติ ดังนัน้ การศึกษากฎหมายที่จัดการสิ่งแวดล้ อมจะเป็ นการศึกษากฎหมายที่ต่างไป
จากการศึกษากฎหมายสี่มมุ เมือง ที่เป็ นกฎหมายหลักทัว่ ไป เช่น กฎหมายแพ่ง อาญา วิธีพิจารณาคดีแพ่งและวิธี
พิ จารณาคดีอาญา ซึ่งจะต้ องศึกษาและตีความตัวบท มีการใช้ คาพิพากษาของศาลมาเป็ นบรรทัดฐานในการ
ตีความ แต่การศึกษากฎหมายกับสิ่งแวดล้ อมนี ้จะเป็ นการศึกษาแบบ “อ่านกฎหมายรู้ ดูกฎหมายเป็ น ” คือการ
เข้ าใจว่ากฎหมายมีวตั ถุประสงค์อย่างไร และมีวิธีการจัดการให้ เป็ นไปตามเป้าหมายนันอย่ ้ างไร ดังนันการศึ
้ กษา
กฎหมายในลักษณะเช่นนี ้ ผู้ศกึ ษาต้ องมองโครงสร้ างของกฎหมายในลักษณะการบัญญัติแบบพระราชบัญญัติให้
เข้ าใจ
เพื่อความเข้ าใจในการอธิบายจะได้ จดั กลุม่ ของกฎหมายออกเป็ นมิติตา่ ง ๆ ดังนี ้
- กฎหมายที่เป็ นแกนกลางในการจัดการสิ่งแวดล้ อมโดยรวมอยู่เป็ นแกนหลักสาคัญ อยู่ตรงกลางต่อจากนัน้
จะเป็ นการจาแนกเป็ นกฎหมายเฉพาะประเภทต่าง ๆ ได้ แก่- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การจัดการเกี่ยวกับชีวิตความเป็ นอยู่
- การจัดการเกี่ยวกับระบบการผลิต
- การจัดการของเสียและวัตถุอนั ตราย
และท้ ายที่สดุ คือการกระจายอานาจในการจัดการไปสูท่ ้ องถิ่น

Page 8 of 25
ในการพิจารณาถึงการใช้ กฎหมายที่จดั การสิ่งแวดล้ อม ซึง่ เป็ นกฎหมายมหาชนประเภทหนึง่ มีข้อพิจารณา
เบื ้องต้ น ที่จะเป็ นเครื่ องช่วยให้ ผ้ ศู กึ ษาเข้ าใจถึงการใช้ กฎหมายได้ อย่างเชื่อมโยงเป็ นระบบได้
1 หน่ วยงานและองค์ กร ผู้มีอานาจหน้ าที่ในการดาเนินการ อาจจาแนกสถานะของผู้ดาเนินการออกเป็ น
- ราชการ – มีกฎหมายในการจัดส่วนราชการ พระราชบัญญัติปรับปรุ ง กระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2545 ใน
การกาหนดว่ามีส่วนราชการใด และส่วนราชการนันมี ้ อานาจหน้ า ที่อย่างไร เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมอุทยาน
กรมประมง กรมเจ้ าท่า หรื อส่วนราชการระดับกระทรวง เช่น กระทรวงทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม เป็ นต้ น
- รั ฐวิสาหกิจ – ทัง้ ที่เกิดขึน้ โดยการถือหุ้นในองค์กรนันเกิ้ นร้ อยละ 50 หรื อการจัดตังองค์ ้ กรโดยกฎหมาย
เฉพาะ เช่น การไฟฟ้าฝ่ ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค
- องค์การมหาชน – มีกฎหมายจัดตังให้ ้ เป็ นองค์การมหาชน เช่น องค์การก๊ าซเรื อนกระจก
ข้ อพิจารณาเกี่ยวกับ สถานะของหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้ กฎหมายอย่างน้ อยสองประการ คือ การ
พิจารณาถึงหน้ าที่ความรั บผิ ดชอบของหน่วยงานนัน้ ว่ามีขอบเขตความรั บผิ ดชอบอย่างไร เพื่อตรวจสอบการ
ปฏิบตั ิหน้ าที่ได้ อย่างถูกต้ อง และประการที่สองคือ เมื่อหน่วยงานมีสถานะเป็ นนิติบุคคล ย่อมเป็ นผู้ทรงสิทธิตาม
กฎหมาย (subject of law) ในการที่จะมีสิทธิ ดาเนินการตามกฎหมายทังที ้ ่เป็ นผู้ฟ้องร้ องคดี และอยู่ในขอบข่าย
ของการเป็ นผู้ถกู ล่าวหาด้ วย หน้ าที่ความรับผิดชอบจึงขึ ้นอยู่กับองค์กรและหน่วยงานผู้ปฏิบตั ิงาน
2. กระบวนการ – ผู้ปฏิบตั ิงาน งบประมาณ และระเบียบในการบริ หารจัดการ (คน เงิน ของ)
- แผนและนโยบายเป็ นแนวทางของการปฏิบตั ิงาน แม้ ว่า แผนนโยบายแห่งชาติสถานะจะเป็ น “แผน” แต่
สภาพการปฏิบัติงานที่มีลาดับการบังคับบัญชา การจัดทาแผนเป็ นแนวและกรอบการปฏิบัติงานที่สาคัญ อย่าง
หนึง่ – สภาพัฒนาเศรษฐกิจ และความมัน่ คงแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี Sustainable Development Goals
(SDGs)
- กาลังคน – บุคลากรสะท้ อนถึงประสิทธิภาพในการใช้ กฎหมายในทางหนึ่ง เช่น สถานของข้ าราชการพล
เรื อน (กพ.) รวมถึงกฎหมายจัดระเบียบข้ าราชการประเภทต่าง ๆ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- งบประมาณในการดาเนินการ – สานักงบประมาณ ภายใต้ กรอบของพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดิน
การบริ หารจัดการกองทุน การใช้ มาตรการทางภาษี และค่ าธรรมเนียม มาใช้ เพื่อประสิทธิ ภาพของการบังคับใช้
กฎหมายให้ มากยิ่งขึ ้น ในทางกลับกัน ข้ อจากัดทางงบประมาณเป็ นอุปสรรคสาคัญต่อการจัดการสิ่งแวดล้ อมที่ดี
- ของ – กฎหมายการจัดการซื ้อจัดจ้ างและการบริ หารพัสดุภาครั ฐ กรอบการใช้ เงินงบประมาณเพื่อเป็ น
หลักประกันถึงประสิทธิภาพและความถูกต้ องในการใช้ จ่ายเงินภาษี
3. สภาพบังคับของบทบัญญัติที่กาหนดไว้ คืออะไร อาจจะเป็ นมาตรการทางแพ่ง มาตรการทางอาญา
หรื อ มาตรการทางปกครอง รวมไปถึง ระบบการควบคุมตรวจสอบ และนอกจากนี ้ ยังต้ องพิ จ ารณาถึง ความ
เชื่อมโยงกับพันธกรณีระหว่างประเทศ
จากข้ อพิ จารณา 3 ประการที่ กล่าวมาข้ างต้ น เป็ นข้ อพิ จารณาพื น้ ฐานทั่วไป กฎหมายในรู ปแบบของ
พระราชบัญญัติ มักจะประกอบด้ วยโครงสร้ างของตัวกฎหมาย ดังต่อไปนี ้

Page 9 of 25
ก. บททั่วไป – ชื่อกฎหมาย เวลาในการประกาศใช้ บทนิยาม และผู้รักษาการตามกฎหมาย (เพื่อออก
กฎหมายลาดับรองลงไป – ข้ อสังเกต ปกติจะเป็ นรัฐมนตรี ประจากระทรวงต่าง ๆ แต่หากผู้รักษาการตามกฎหมาย
เป็ น นายกรัฐมนตรี แสดงว่ากฎหมายนันจ ้ าเป็ นต้ องอาศัยความร่ วมมือจากหลายๆกระทรวง)
ข. ส่ วนที่เกี่ยวกับอานาจหน้ าที่ – ส่วนใหญ่จะเป็ นการกาหนดว่ากฎหมายนันต้ ้ องการจะทาอะไร เช่น
การกาหนดว่ามีคณะกรรมการ เพื่อดาเนินการบางอย่าง – ที่มาของคณะกรรมการ อานาจหน้ าที่ของกรรมการนัน้
รวมถึงการกาหนดว่าห้ ามทา/ให้ ทาอะไร เพื่อให้ บรรลุวตั ถุประสงค์ของกฎหมายนัน้
ค. ส่ วนที่เป็ นสภาพบังคับ – การกาหนดโทษทางอาญา/แพ่ง/มาตรการทางปกครอง เพื่อให้ การละเมิด
กฎหมายนันมี ้ ผลทางกฎหมาย
ง. บทเฉพาะกาล – เป็ นการกาหนดระยะเปลี่ยนผ่านของกฎหมายว่าจาเป็ นต้ องสร้ างอานาจเฉพาะกิจ
เช่นให้ องค์กรเดิมยังมีหน้ าที่อยู่ การกาหนดให้ มีการออกกฎหมายลาดับรองในการกาหนดขันตอนรายละเอี
้ ยดต่าง
ๆ หรื อการกาหนดให้ มีบญ ั ชีแนบท้ ายกฎหมาย ในการกาหนดชนิดประเภทสิ่งต่าง ๆ ที่กฎหมายคุ้มครอง/ควบคุม
(กฎหมายบางฉบับอาจไม่มีระยะเปลี่ยนผ่านก็ได้ )

ในกลุม่ ของกฎหมายที่เข้ ามาจัดการสิ่งแวดล้ อมนัน้ มีบทบัญญัติของกฎหมายมากมายหลายฉบับ ในบทนี ้


จึงมีการจัดกลุ่ม ในเบือ้ งต้ นว่ามีกฎหมายฉบับใดเกี่ ยวข้ องกับการจัดการสิ่งแวดล้ อม โดยแบ่งกฎหมายเป็ น 3
รู ปแบบ คือ
1.กฎหมายที่เกี่ยวข้ องโดยตรงกับการคุ้มครองและจัดการสิ่งแวดล้ อม
2.กฎหมายที่เกี่ยวข้ อง เป็ นกฎหมายเฉพาะเรื่ อง ในสิ่งแวดล้ อมด้ านต่าง ๆ
3.กฎหมายที่สนับสนุนกระบวนการในการจัดการสิ่งแวดล้ อมอย่างกว้ าง

Page 10 of 25
5.2. กฎหมายว่ าด้ วยการส่ งเสริมและรั กษาคุณภาพสิ่งแวดล้ อม

5.2.1 พระราชบัญญัตสิ ่ งเสริม และรั กษาคุณภาพสิ่งแวดล้ อมแห่ งชาติ พ.ศ.2535


บททั่วไป โดยที่พระราชบัญญัติสง่ เสริ ม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้ อมแห่งชาติ พ.ศ.253510 นี ้ ได้ ให้ นิยาม
กับถ้ อยคาสาคัญ ในมาตรา 4 เช่น
"สิ่ งแวดล้อม หมำยควำมว่ำ สิ่ งต่ำง ๆ ที ่มีลกั ษณะทำงกำยภำพ ที ่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่ งเกิ ดขึ้ นโดย
ธรรมชำติ และสิ่ งทีม่ นุษย์ได้ทำขึ้น"
"คุ ณ ภำพสิ่ งแวดล้ อ ม หมำยควำมว่ ำ ดุ ล ยภำพของธรรมชำติ อั น ได้ แ ก่ สัต ว์ พื ช และ
ทรัพยำกรธรรมชำติ ต่ำง ๆ และสิ่ งทีม่ นุษย์ได้ทำขึ้น ทัง้ นี ้ เพือ่ ประโยชน์ต่อกำรดำรงชีพ ของประชำชน และ
ควำมสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชำติ ”
“มลพิ ษ” หมำยควำมว่ำ ของเสีย วัตถุอนั ตรำย และมลสำรอืน่ ๆ รวมทัง้ กำก ตะกอน หรื อสิ่ งตกค้ำง
จำกสิ่ ง เหล่ ำ นัน้ ที ่ถู ก ปล่ อ ยทิ้ ง จำกแหล่ ง กำเนิ ด มลพิ ษ หรื อ ที ่มี อ ยู่ ใ นสิ่ ง แวดล้อ มตำมธรรมชำติ ซึ่ ง
ก่อให้เกิ ดหรื ออำจก่อให้เกิ ดผลกระทบต่อคุณภำพสิ่ งแวดล้อม หรื อภำวะที ่เ ป็ นพิ ษภัยอันตรำยต่อสุขภำพ
อนำมัยของประชำชนได้ และให้หมำยควำมรวมถึง รังสี ควำมร้อน แสง เสียง กลิ่ น ควำมสัน่ สะเทือน หรื อ
เหตุรำคำญอืน่ ๆ ทีเ่ กิ ดหรื อถูกปล่อยออกจำกแหล่งกำเนิ ดมลพิ ษด้วย”
“วัตถุอนั ตรำย” หมำยควำมว่ ำ วัตถุระเบิ ดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิ ไดซ์ และวัตถุเ ปอร์ ออกไซด์
วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิ ดโรค วัตถุกมั มันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิ ดกำรเปลี ่ยนแปลงทำงพันธุกรรม วัตถุกดั
กร่ อน วัตถุที่ก่อให้เกิ ดกำรระคำยเคื อง วัตถุอย่ำงอื ่นไม่ว่ำจะเป็ นเคมี ภณ ั ฑ์ หรื อสิ่ งอื ่นใดที ่อำจทำให้เกิ ด
อันตรำยแก่บคุ คล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรื อสิ่ งแวดล้อม
นอกจากนี ้ ยังมีการเชื่อมโยงไปถึงกฎหมายอื่นด้ วย เช่น การใช้ คาว่า “เหตุราคาญ” ตามกฎหมายว่าด้ วย
สาธารณสุข “โรงงานอุตสาหกรรม” ตามกฎหมายโรงงาน “อาคาร” ตามกฎหมายอาคาร “เขตอนุรักษ์ ” หมายถึง
เขตรั กษาพันธุ์สตั ว์ป่า เขตสงวนเพื่อการท่องเที่ยว และเขตพืน้ ที่ค้ ุ มครองเพื่อสงวนรั กษาสภาพธรรมชาติตามที่
กฎหมายกาหนด เป็ นต้ น
ในบททัว่ ไป กาหนดให้ ผ้ รู ักษาการตามกฎหมายฉบับนี ้ คือ นายกรัฐมนตรี (ในกรณีสงั่ การในภาวะฉุกเฉิน
เมื่อเกิดภัยพิบตั ิจากธรรมชาติหรื อภาวะมลพิษ ในมาตรา 9)) และรัฐมนตรี วา่ การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้ อม
นอกจากนี ้ มีการกาหนดสิทธิและหน้ าที่ในทางสิ่งแวดล้ อม ไว้ ใน มาตรา 6 ดังนี ้
“มำตรำ 6 เพือ่ ประโยชน์ในกำรร่ วมกันส่งเสริ มและรักษำคุณภำพสิ่ งแวดล้อมของชำติ บุคคลอำจมี
สิ ทธิ และหน้ำที ่ ดังต่อไปนี ้
(1) กำรได้รบั ทรำบข้อมูลและข่ำวสำรจำกทำงรำชกำรในเรื ่องเกี ่ยวกับกำรส่งเสริ มและรักษำคุณภำพ
สิ่ งแวดล้อม เว้นแต่ข้อมูลหรื อข่ำวสำรที ่ทำงรำชกำรถื อว่ำเป็ นควำมลับเกี ่ยวข้องกับกำรรักษำควำมมัน่ คง
แห่งชำติ หรื อเป็ นควำมลับเกี ่ยวกับสิ ทธิ ส่วนบุคคล สิ ทธิ ในทรัพย์ สิน หรื อสิ ทธิ ในทำงกำรค้ำ หรื อกิ จกำร
ของบุคคลใดทีไ่ ด้รบั ควำมคุม้ ครองตำมกฎหมำย

10
พระราชบัญญัติสง่ เสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้ อมแห่งชาติ พ.ศ.2535, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 37 หน้ า 1 (4
เมษายน 2535).

Page 11 of 25
(2) กำรได้รับชดใช้ค่ำเสียหำย หรื อค่ำทดแทนจำกรัฐ ในกรณี ที่ได้รับ ควำมเสียหำยจำกภยันตรำยที ่
เกิ ดจำกกำรแพร่ กระจำยของมลพิ ษหรื อภำวะมลพิ ษ อันมี สำเหตุมำจำกกิ จกำรหรื อโครงกำรใดที ่ริเริ่ ม
สนับสนุน หรื อดำเนิ นกำร โดยส่วนรำชกำรหรื อรัฐวิ สำหกิ จ
(3) กำรร้องเรี ยนกล่ำวโทษผูก้ ระทำผิ ดต่อเจ้ำพนักงำนในกรณี ที่ได้พบเห็นกำรกระทำใด ๆ อันเป็ น
กำรละเมิ ด หรื อฝ่ ำฝื นกฎหมำยเกี ่ยวกับกำรควบคุมมลพิ ษ หรื อกำรอนุรกั ษ์ ทรัพยำกรธรรมชำติ
(4) กำรให้ควำมร่ วมมื อ และช่ วยเหลื อเจ้ำพนักงำนในกำรปฏิ บตั ิ หน้ำที ่ที่เกี ่ยวข้องกับกำรส่งเสริ ม
และรักษำคุณภำพสิ่ งแวดล้อม
(5) กำรปฏิ บตั ิ ตำมพระรำชบัญญัตินีห้ รื อกฎหมำยอื ่นทีเ่ กี ่ยวข้อ งกับกำรส่งเสริ มและรักษำคุณภำพ
สิ่ งแวดล้อมโดยเคร่ งครัด ทัง้ นี ้ ตำมทีพ่ ระรำชบัญญัตินีห้ รื อกฎหมำยว่ำด้วยกำรนัน้ บัญญัติไว้ ”
นอกจากจะกาหนดสิทธิและหน้ าที่ให้ แก่บคุ คลทัว่ ไปแล้ ว ยังสามารถจัดตังเป็ ้ นองค์ กร นิติบคุ คล (มาตรา 7)
เพื่ อ การคุ้ม ครองสิ่ ง แวดล้ อ มและอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ ไ ด้ ถื อ เป็ น ผู้ ก ระท า (actor) ในทางกฎหมาย
สิ่งแวดล้ อมได้ มีการรับรองการปฏิบตั ิการทางสิ่งแวดล้ อมได้ (มาตรา 8)
อานาจหน้ าที่ ในพระราชบัญญัติส่งเสริ มและรั กษาคุณภาพสิ่งแวดล้ อมนี ้ มีการจั ดตังคณะกรรมการ ้
สิ่งแวดล้ อมแห่ งชาติ ทาหน้ าที่กาหนดนโยบายและแผนสิ่งแวดล้ อม และดาเนินการดังต่อไปนี ้
1. การกาหนดมาตรฐานคุ ณภาพสิ่งแวดล้ อม โดยกาหนดให้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้ อมแห่งชาติ มี
อานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กาหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้ อมทัว่ ไป (มาตรา 32) ในเรื่ องต่อไปนี ้ได้
- คุณภาพน ้า ทังที
้ ่เป็ นน ้าท่า น ้าบาดาล และน ้าในทะเล
- อากาศ
- เสียงและความสัน่ สะเทือน
- ของเสียอันตราย
การควบคุมมลพิษดังกล่าว อาจเป็ นทังการก ้ าหนดมาตรฐานมลพิษจากแหล่งกาเนิด และการกาหนดเป็ น
เขตควบคุมมลพิษ ที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบต้ องดาเนินการเพื่อการขจัดมลพิษให้ หมดไป รวมถึงการตรวจสอบและ
ควบคุมไม่ให้ คา่ มลพิษเกิดกว่ามาตรฐานที่กาหนด
2. การกาหนดบริ หารจัดการกองทุนสิ่งแวดล้ อม ที่มาจากเงินหมุนเวียน เงินจากกองทุนน ้ามัน และ
ค่าปรับที่จดั เก็บจากกฎหมายฉบับนี ้ และสามารถนาเงินจากกองทุนนี ้ไปใช้ ในกรณีที่หน่วยงานราชการหรื อส่วน
ท้ องถิ่น จะดาเนินการเพื่อการบาบัดมลพิษ เช่น สร้ างระบบบาบัดน ้าเสีย ระบบกาจัดของเสีย ระบบบาบัดอากาศ
เสีย เป็ นต้ น อย่างไรก็ดี กองทุนนี ้โดยลักษณะของการบริ หารจัดการเป็ นเงินสาหรับหมุนเวียน เหมือนการยืมเงิน
และต้ องนามาคืนกองทุน เพื่อให้ เงินในกองทุนยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์ตอ่ การขอใช้ สาหรับรายต่อไปด้ วย
3. การกาหนดเขตพืน้ ที่ค้ ุมครองสิ่งแวดล้ อม เมื่อพบว่าพื ้นที่ใดเกิดปั ญหาในระบบนิเวศตามธรรมชาติ
ถูกทาลาย หรื อได้ รับผลกระทบจากกิ จกรรมของมนุษย์ อาจจะประกาศเป็ น เขตพื น้ ที่ ค้ ุมครองสิ่งแวดล้ อมได้
(มาตรา 43)
4. การวางแผนการจัดการคุ ณภาพสิ่งแวดล้ อม ในพระราชบัญญัตินี ้ กาหนดให้ รัฐมนตรี กระทรวง
ทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม โดยความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้ อมแห่งชาติ สามารถจัดทาแผน
จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้ อม ซึ่งจะมีผลให้ ส่วนราชการที่ มีอานาจหน้ าที่ ต้ องปฏิ บัติให้ เป็ นไปตามแผ นจัดการ

Page 12 of 25
คุณภาพ สิ่งแวดล้ อม โดยอาจขอให้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้ อง จัดทาแผนรองรับแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้ อมนัน้
ได้ (มาตรา 35) ซึง่ อาจรวมถึงราชการส่วนท้ องถิ่นด้ วย
เมื่อมีแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้ อมแล้ ว กฎหมายกาหนดให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดในท้ องที่ ที่เป็ น เขต
คุ้มครองสิ่งแวดล้ อม หรื อเขตควบคุมมลพิษ มีหน้ าที่จัดทาแผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้ อม
ระดับจังหวัดได้ (มาตรา 37)
5. การทารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้ อม รัฐมนตรี ผ้ รู ักษาการตามกฎหมาย โดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้ อมแห่งชาติ มีอานหน้ าที่ในการกาหนดประเภท และขนาดของโครงการ หรื อ
กิจการของส่วนราชการ หรื อรัฐวิสาหกิจ หรื อเอกชน ซึง่ ต้ องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ อม
(มาตรา 46) กรณีที่โครงการ หรื อกิจการ ซึง่ ต้ องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ อม เป็ นโครงการ
หรื อกิ จการที่ ต้องขออนุญาต จากทางราชการ ตามกฎหมายก่อนเริ่ มการก่อสร้ าง หรื อดาเนิ นการ ต้ องจัดทา
รายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสานักนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้ อมก่อน ซึง่ ผู้มีอานาจอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะ
นัน้ ต้ องรอการสัง่ อนุญาต จนกว่าผลการพิจารณารายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบฯ นัน้ จะเสร็ จสิ ้นเสีย ก่อนจึงจะ
ดาเนินโครงการได้
6. การควบคุมตรวจสอบ เพื่อให้ เป็ นไปตามกฎหมาย ให้ เจ้ าพนัก งานตามกฎหมายส่งเสริ มและคุ้มครอง
สิ่งแวดล้ อมนี ้ ให้ เจ้ าของหรื อผู้ครอบครองแหล่งกาเนิดมลพิษซึง่ มีระบบบาบัดมลพิษหรื อของเสียต่าง ๆ มีหน้ าที่
ต้ องเก็บสถิติและข้ อมูลซึง่ แสดงผลการทางานของระบบ หรื ออุปกรณ์และเครื่ องมือดังกล่าวในแต่ละวัน และจัดทา
บันทึกรายละเอียดเป็ นหลักฐานไว้ ณ สถานที่ ตงแหล่ ั ้ งกาเนิดมลพิ ษนัน้ และจะต้ องจัดทารายงานสรุ ปผลการ
ทางานของระบบ หรื ออุปกรณ์ และเครื่ องมือดังกล่าวเสนอต่อเจ้ าพนักงานท้ องถิ่นแห่งท้ องที่ที่แหล่งกาเนิดมลพิษ
นันตั
้ งอยู
้ ่อย่างน้ อยเดือนละหนึง่ ครัง้ (มาตรา 80)
7. การกาหนดความรั บผิดทางแพ่ ง ในกรณีที่แหล่งกาเนิดมลพิษใด ก่อให้ เกิดมลพิษขึ ้น ทาให้ ผ้ อู ื่นได้ รับ
อันตราย รวมถึงรั ฐได้ รับความเสียหาย เจ้ าของหรื อผู้ครอบครองแหล่งมลพิษนัน้ มีหน้ าที่ต้องรั บผิดชอบ ใช้ ค่า
สินไหมทดแทน รวมถึงค่าใช้ จ่าย ในการขจัดมลพิษด้ วย (มาตรา 96) เว้ นแต่กรณีการเกิดมลพิษมาจากเหตุสดุ วิสยั
หรื อสงคราม การกระทาตามคาสัง่ ของเจ้ าหน้ าที่ หรื อมลพิษที่เกิดขึ ้นเป็ นเพราะผู้เสียหายนันเอง

หากความเสียหายนัน้ เกิดขึน้ แก่ทรั พยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็ นของรั ฐหรื อของสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน
ผู้กระทาการนัน้ ต้ องใช้ คา่ เสียหายให้ แก่รัฐทังหมดของมู
้ ลค่าที่ทรัพยากรธรรมชาตินนถู ั ้ กทาลายไป (มาตรา 97)
โดยทั่วไป สภาพบังคับของกฎหมายคือการลงโทษจาคุกหรื อการปรั บซึ่งเป็ นโทษทางอาญา ซึ่งปั จจุบัน
แก้ ไขกฎหมายเพื่อเป็ นการเพิ่มโทษปรับ เช่น เป็ นไม่เกินหนึ่ งล้ านบาท และปรับอีกวันละหนึ่งแสนบาทจนกว่าจะ
แก้ ไขการกระทานันให้ ้ ถูกต้ อง (มาตรา 101) ในกรณีโครงการดาเนินการก่อนที่จะได้ รับความเห็นชอบต่อรายงาน
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้ อม เป็ นต้ น
บทเฉพาะกาล ในช่ วงระยะเปลี่ ย นผ่ านจากพระราชบัญ ญัติส่งเสริ มและรั ก ษาคุณ ภาพสิ่ งแวดล้ อม
แห่งชาติ พ.ศ. 2518 ให้ บรรดาผู้ดารงตาแหน่งและกฎข้ อบังคับต่าง ๆ ใช้ บงั คับได้ เท่าที่ไม่ขดั กับกฎหมายที่ออกมา
ใหม่

Page 13 of 25
พระราชบัญญัติสง่ เสริ มและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้ อม พ.ศ. 2535 นี ้ นับว่าเป็ นกฎหมายที่พยายามกาหนด
องค์กรและกระบวนการหลักในการคุ้มครองสิ่งแวดล้ อมให้ ครบถ้ วน เป็ นแกนกลางในการจัดการสิ่งแวดล้ อมได้
ประสานกับกฎหมายหลักทัว่ ไปที่มีอยู่ และกฎหมายเฉพาะสาหรั บการจัดการทรั พยากรธรรมชาติและมิติในการ
จัดการสิ่งแวดล้ อมอื่น ๆ ด้ วย

5.3 กฎหมายในการจัดการสิ่งแวดล้ อมเฉพาะด้ าน


จากช่วงเวลาที่ มีความเปลี่ยนแปลง พัฒนาหลักเกณฑ์ ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้ อมนับตัง้ แต่ทศวรรษที่
1970s เป็ นต้ นมา จนถึงช่วง 1990s กฎหมายเฉพาะในการจัดการสิ่งแวดล้ อม ทัง้ ทางด้ านทรั พยากรธรรมชาติ
และการจัดการสิ่งแวดล้ อมมิติต่าง ๆ ก็มีการปรับปรุ ง เพิ่มเติมแนวคิดในการจัดการสิ่งแวดล้ อมอย่างยัง่ ยืน รวมถึง
การพัฒนาทางเทคโนโลยี กฎหมายที่เข้ ามจัดการเฉพาะด้ านจึงมีอยู่จานวนมาก และกระจัดกระจาย ในการทา
ความเข้ าใจและสามารถมองเห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างเป็ นกลุ่มการจัดการ จึงจะอธิบายถึงกฎหมายออกเป็ น 4
กลุม่ ด้ วยกัน คือ
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การจัดการเกี่ยวกับชีวิตความเป็ นอยู่
- การจัดการเกี่ยวกับระบบการผลิต
- การจัดการของเสียและวัตถุอนั ตราย

5.3.1 กลุ่มของกฎหมายในการจัดการทรั พยากรธรรมชาติ


ในกลุ่มกฎหมายที่เข้ ามาจัดการทรัพยากรธรรมชาตินนั ้ มี การจัดการทรัพยากรออกเป็ น 4 กลุ่มด้ วยกัน คือ
การจัดการพื ้นที่ป่า การจัดการเพื่อใช้ ประโยชน์จากแร่ ธ าตุและปิ โตรเลียม การจัดการน ้า และการจัดการพืชและ
สัตว์ (ความหลากหลายทางชีวภาพ) ภายใต้ หลักการทางกฎหมายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่รัฐกาหนด
หน่วยงานที่มีอานาจหน้ าที่ในการดูแลทรัพยากรประเภทต่าง ๆ ในฐานะที่เป็ นทรัพยากรของแผ่นดิน หรื อรัฐเป็ น
ผู้ดแู ลแทนประชาชน รวมถึงแนวคิดการเปิ ดโอกาสให้ ประชาชนและชุมชนเข้ ามามีสว่ นร่ วมในการจัดการ

- กฎหมายในการจัดการพืน้ ที่ป่า
กฎหมายในการจัดการพื ้นที่ค้ มุ ครอง ในลักษณะพื ้นที่ป่า มีพระราชบัญญัติอยู่ 4 ฉบับ ได้ แก่
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 248411
พระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ. 2507 12
พระราชบัญญัติอทุ ยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 13
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 253514

11
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้ า 3437 (15 ตุลาคม 2484).
12
พระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ. 2507, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 38 หน้ า 263 (28 เมษายน 2507).
13
พระราชบัญญัติอทุ ยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอน 80 หน้ า 1071 (3 ตุลาคม 2504).
14
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 15 หน้ า 1 (28 กุมภาพันธ์ 2535).

Page 14 of 25
พื ้นที่ป่าแต่ละประเภท มีการประกาศกาหนดพื ้นที่และการจัดการป่ าที่มีความเข้ มข้ นของพื ้นที่ลดหลัน่ กันไป
ความหมายจากบทนิยามของคาว่า “ป่ า” ในกฎหมายป่ าไม้ แต่ละฉบับมีความแตกต่างกันดังนี ้
ในมาตรา 4 (1) พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 “ป่ ำ” หมำยควำมว่ำ ที ่ดินที ่ยงั ไม่ มีบุคคลได้มำตำม
กฎหมำยที ด่ ิ น” หมายความว่านับแต่ประกาศใช้ กฎหมายฉบับนี ้ พื ้นที่“ป่ า”ตามนิยามของกฎหมาย ส่งผลให้ มีพื ้นที่
ป่ าถาวรทัว่ ประเทศ จากที่ดินซึง่ ไม่มีผ้ ใู ดเป็ นเจ้ าของ และรวมถึงที่ดินที่ไม่ใช่ที่ของหลวง กล่าวคือที่ดินที่รกร้ างว่าง
เปล่าทัว่ ประเทศ กลายเป็ นที่”ป่ า”ทันที
ภายใต้ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กาหนดนิยามของคาว่า “ป่ ำ”หมำยควำมว่ำ ที ด่ ิ น รวม
ตลอดถึ ง ภู เขำ ห้วย หนอง คลอง บึ ง บำง ลำน้ ำทะเลสำบ เกำะ และที ่ชำยทะเลที ่ยงั มิ ได้มีบุคคลได้มำตำม
กฎหมำย” ซึ่งเป็ นนิ ยามคล้ ายคลึงกับที่ ดินตามประมวลกฎหมายที่ ดิน ที่ ป่าตามพระราชบัญญัติป่าสงวน จึง
หมายถึงพื ้นดินและพื ้นน ้าที่อยู่ในเขตป่ าสงวน ที่เพิ่มเติมแตกต่างขึ ้นมาคือ เป็ นพื ้นที่ซงึ่ ไม่มีผ้ ไู ด้ มาตามกฎหมาย
การจาเป็ นพื ้นที่ป่าสงวนต้ องประกาศเป็ นกฎกระทรวง โดยรัฐมนตรี ผ้ รู ักษาการตามกฎหมายเป็ นผู้เห็นสมควรให้ มี
การประการศเขต
พื ้นที่ป่าตามพระราชบัญญัติอทุ ยาน พ.ศ. 2504 กาหนดนิยามไว้ ในมาตรา 4 ว่า “อุทยำน” หมำยควำมว่ำ
ที ่ดินที ่ได้กำหนดให้เป็ นอุทยำนแห่ งชำติ ตำมพระรำชบัญญัติ นี ้” ซึ่งกระบวนการประกาศเขตพืน้ ที่อุทยาน เมื่อ
รัฐบาลเห็นสมควร และให้ ประกาศเป็ นพระราชกฤษฎีกา โดยต้ องมีการกันเขตพื ้นที่ซงึ่ เป็ นที่ดิน ของเอกชนออกไป
ก่อน “ที ด่ ิ นที จ่ ะกำหนดให้เป็ นอุทยำนแห่งชำติ นนั้ ต้องเป็ นที ด่ ิ นที ม่ ิ ได้อยู่ในกรรมสิ ทธิ์ หรื อครอบครองโดยชอบด้วย
กฎหมำยของบุคคลใดซึ่ งมิ ใช่ทบวงกำรเมื อ ง” (มาตรา 6 วรรค 2) ข้ อสังเกตจากการกันเขตพืน้ ที่ของประชาชน
ออกไปก่อนที่จะประกาศเป็ นเขตพืน้ ที่อุทยานนัน้ ต้ องมีพยานหลักฐานแสดงให้ แก่ทางราชการทราบ ปั ญหาคือ
กลุ่มชาติพนั ธุ์ที่อยู่ในพื ้นที่ป่ามาก่อนที่จะมีการประกาศเป็ นพื ้นที่ป่าเหล่านี ้ จะต้ องพิสจู น์สิทธิ ซึง่ หลักฐานที่เป็ น
การอ้ างอิงจากคาบอกเล่า เช่นอยู่ในพื ้นที่นนมาตั ั้ งแต่
้ สมัยปู่ ย่าตายาย ประเด็นหลักคือการรับฟั งพยานหลักฐาน
ซึง่ ทาให้ กระบวนการพิสจู น์สิทธิลา่ ช้ า และมีการอพยพคนออกจากป่ า
พืน้ ที่ป่าประเภทสุดท้ ายคือ เขตรั กษาพันธุ์สตั ว์ ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
2535 ที่ ก าหนดให้ ป ระกาศเป็ น กฎกระทรวง ในพื น้ ที่ ซึ่ง คณะกรรมการสงวนและคุ้ม ครองสัต ว์ ป่ าแห่ ง ชาติ
เห็นสมควร นอกจากนี ้ กฎหมายฉบับนี ้ยังกาหนดกฎกระทรวง เพื่อบัญชีแนบท้ ายระบุชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ป่า
คุ้มครอง และห้ ามล่า ห้ ามทาอันตราย ห้ ามค้ า พืชและสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าวด้ วย
การจัดการพื ้นที่ป่าไม้ ตาม และป่ าสงวน อยู่ภายใต้ การดูแลของกรมป่ าไม้ อธิบดีกรมป่ าไม้ มีอานาจในการ
อนุญาตให้ ใช้ ประโยชน์ จากป่ าได้ เช่น การของสัมปทานต่าง ๆ ส่วนพืน้ ที่อุทยานและเขตรั กษาพันธุ์สตั ว์ป่า อยู่
ภายใต้ การดูแลของกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึง่ การจะเข้ าไปในพื ้นที่ป่าอนุรักษ์ ดงั กล่าว ต้ องขออนุญาต
จากกรมอุทยาน โดยจากัดเป้าหมายของการเข้ าไปในพื ้นที่อทุ ยาน เพื่อการศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนหย่อยใจ
ส่วนเขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่านัน้ ต้ องเข้ าไปเพื่อการศึกษาวิจยั ทางวิชาการ และเพื่อการคุ้มครองดูแล รักษาเขตรักษา
พันธุ์สตั ว์ป่านันเท่้ านัน้ (พระราชบัญญัติสงสนและรักษาพันธุ์สตั ว์ป่า 2535, มาตรา 38) และต้ องไม่ทาอันตราย
ต่อระบบนิเวศในพื ้นที่ป่าเหล่านัน้ การฝ่ าฝื นกฎหมายมีโทษทางอาญากากับอยู่ รวมถึงการทาผิดเงื่อนไขของการ
ขอสัมปทาน สาหรับในพื ้นที่ป่าไม้ ถาวรหรื อป่ าสงวน หน่วยงานที่มีหน้ าที่ดแู ล สามารถเพิกถอนการให้ สมั ปทานนัน้

Page 15 of 25
ซึ่งนับว่าเป็ นมาตรการทางปกครอง และในปั จจุบัน ภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริ มและรักษาสิ่งแวดล้ อม พ.ศ.
2535 มาตรา 96 กรมป่ าไม้ มีการออกแนวทางปฏิบตั ิเพื่อเรี ยกค่ าเสียหายทางแพ่งจากผู้บุกรุ กแผ้ วถางป่ าไม้ ด้วย
ภายหลังจากการสิ ้นสุดคดีอาญาแล้ วจึงเรี ยกเก็บค่าเสียหายทางแพ่งในคดีโลกร้ อน (กรณีศกึ ษาอยู่ในบทที่ 6)
นอกจากนี ้ การจัดการพื ้นที่ป่าต้ นน ้า มีการกาหนดชันคุ ้ ณภาพลุม่ น ้าจาแนกตามมติคณะรัฐมนตรี แบ่งเป็ น
5 ระดับ คือ
พื น้ ที่ ลุ่มน า้ ชัน้ ที่ 1 เป็ น พื น้ ที่ ลุ่มน า้ ที่ ควรสงวนไว้ เป็ น พื น้ ที่ ต้น นา้ ล าธารโดยเฉพาะ เนื่ องจากว่าอาจมี
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ ที่ดินได้ ง่ายและรุ นแรง โดยมีการแบ่งออกเป็ น 2 ระดับชัน้
ย่อย คือ พื ้นที่ล่มุ น ้าชันที ้ ่ 1A, ได้ แก่ พื ้นที่ต้นน ้าลาธารที่ยงั มีสภาพป่ าสมบูรณ์ และพื ้นที่ลมุ่ น ้าชันที ้ ่ 1B, เป็ นพื ้นที่
ที่สภาพป่ าส่วนใหญ่ได้ ถกู ทาลาย ดัดแปลง หรื อเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาหรื อการใช้ ที่ดินรู ปแบบอื่นก่อน พ.ศ.
2525
พื น้ ที่ ลุ่มนา้ ชัน้ ที่ 2 เป็ นพื น้ ที่ ลุ่มนา้ ตามที่ เหมาะต่อการเป็ นต้ นนา้ ล าธารในระดับรองจากลุ่มนา้ ชัน้ ที่ 1
สามารถนาพื ้นที่ลมุ่ น ้าชันนี ้ ้ไปใช้ เพื่อประโยชน์ที่สาคัญอย่างอื่นได้ เช่น การทาเหมืองแร่ แต่ต้องมีการควบคุมการ
ใช้ ที่ดินอย่างเข้ มงวด และควรหลีกเลี่ยงการใช้ ที่ดินเพื่อกิจกรรมด้ านเกษตรกรรม
พืน้ ที่ลุ่มนา้ ชัน้ ที่ 3 เป็ นพืน้ ที่ที่สามารถใช้ ประโยชน์ได้ ทงการท ั้ าไม้ เหมืองแร่ และการปลูกพืช การเกษตร
ประเภทไม้ ยืนต้ น และต้ องมีการควบคุมวิธีการปฏิบตั ิอย่างเข้ มงวดให้ เป็ นไปตามหลักอนุรักษ์ ดินและน ้า
พื ้นที่ล่มุ น ้าชันที
้ ่ 4 โดยสภาพป่ าของลุม่ น ้าชันนี ้ ้ได้ ถกู บุกรุ กแผ้ วถางเป็ นที่ใช้ ประโยชน์ เพื่อกิจการพืชไร่ เป็ น
ส่วนใหญ่ และพื ้นที่ล่มุ น ้าชันที ้ ่ 5 พื ้นที่นี ้โดยทัว่ ไปเป็ นที่ราบหรื อที่ล่มุ หรื อเนินลาดเอียงเล็กน้ อย และส่วนใหญ่ป่า
ไม้ ได้ ถกู แผ้ วถางเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทานาและ กิจการอื่นไปแล้ ว

- กฎหมายในการจัดการแร่ และปิ โตรเลียม


ในกลุ่มนี ม้ ีพ ระราชบัญ ญัติแ ร่ พ.ศ. 2560 เป็ น กฎหมายที่ มีวัตถุป ระสงค์ ในการควบคุมการผลิต การ
จาหน่าย การกาหนดพื ้นที่สารวจแร่ การประทานบัตรอนุญาตให้ ขุดและทาการผลิตแร่ จากแหล่งผลิต รวมทังการ ้
กาหนดมาตรการต่างในการควบคุมมลพิษจากการทาเหมือง มีการกาหนดให้ ผ้ ขู อสัมปทานเหมืองแร่ ต้องวางเงิน
ประกัน และหากมีความเสียหายเกิ ดขึน้ จากการทาเหมืองแร่ นี ้ ผู้ขอสัมปทานฯจะต้ องรั บผิ ดชอบในการชดใช้
เยียวยาความเสียหายด้ วย
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เป็ นกฎหมายที่บญ ั ญัติขึ ้นในช่วงที่ประเทศไทยเริ่ มมีอตุ สาหกรรมที่
เกี่ ยวข้ องกับปิ โตรเลียม และการผลิตที่ ต่อเนื่ องจากการขุ ดเจาะนา้ มันในอ่าวไทย กฎหมายฉบับนี ต้ ราขึน้ เพื่อ
ส่งเสริ มกิจการปิ โตรเลียม เพื่อจัดการในการให้ สมั ปทานขุดเจาะน ้ามัน และการจาหน่ายปิ โตรเลียม

- กฎหมายในการจัดการนา้
การจัดการน ้าในที่นี ้แบ่งออกเป็ นพื ้นที่ต้นน ้า น ้าท่าหรื อน ้าผิวดิน และน ้าใต้ ดิน ซึง่ มีกฎหมายเข้ ามาจั ดการ
เฉพาะด้ าน อันดับแรก การจัดการพืน้ ที่ต้นนา้ ซึ่งจะเป็ นการจัดการที่ซ้อนกันอยู่กับการจัดการพื ้นที่ป่า โดยการ
จัดการพืน้ ที่ต้นน ้า มีการจัดลาดับพืน้ ที่ล่มุ น ้าทัง้ 25 ลุ่มนา้ ในประเทศไทย จาแนกออกเป็ นระดับ ต่าง ๆ ตามมติ

Page 16 of 25
คณะรัฐมนตรี ซึง่ จะมีผลบังคับใช้ กบั หน่วยงานราชการทุกหน่วยงานที่ต้องผูกพันทางกฎหมายให้ ปฏิบัติตามมติ
คณะรัฐมนตรี นี ้
การจัดการน ้าในพื ้นที่ทวั่ ประเทศโดยทัว่ ไป คือ การจัดการน ้าท่า หมายถึงแหล่งน ้าผิวดิน ทังที
้ ่เป็ นแม่น ้าลา
คลอง ที่เป็ นสาธารณสมบัติที่ประชาชนใช้ ร่วมกันในมาตรา 1304 (2) ดังที่กล่าวไปแล้ วในบทกฎหมายทัว่ ไปใน
หัวข้ อ 5.1.2 รวมถึงสิทธิในการใช้ น ้า ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีหน่วยงานที่ดูแลทางน ้าทัว่
ประเทศคือ กรมเจ้ าท่า ตามพระราชบัญญัติการเดินเรื อในน่านน ้าไทย พ.ศ.245615 นอกจากจะดูแลทางน ้าไม่ว่า
จะเป็ นในแม่น ้าแล้ ว ยังรวมถึงพื ้นที่ชายฝั่ งทะเลด้ วย กรมเจ้ าท่ามีหน้ าที่ดแู ลเรื อให้ อยู่ในสภาพที่ไม่ปล่อยมลพิ ษ
ทางน ้า และการตรวจท่า เพื่อการขนส่งสินค้ าเป็ นไปอย่างปลอดภัยและไม่ก่อมลพิษ
การจัดการนา้ ในส่วนที่เกี่ยวข้ องกับสิ่งที่อยู่ในนา้ เช่น สัตว์นา้ และพืช นา้ อยู่ภายใต้ พระราชกาหนดการ
ประมง พ.ศ. 255816 และรวมถึงการทาประมง เพื่อการใช้ ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่ยงั่ ยืน
น ้าที่อยู่ในการจัดการของรัฐ เช่น คลองชลประทาน ภายใต้ พระราชบัญญัติชลประทานหลวง และน ้าประปา
ภายใต้ พระราชบัญญัติการประปานครหลวงและพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค การจัดการน ้าในลักษณะ
ของการจัดสรรน ้า ในการจ่ายน ้าไปยังผู้ใช้ น ้า มีพระราชบัญญัติ การชลประทานหลวง พ.ศ. 248517 ที่มีหน่วยงาน
ในการดูแลคือกรมชลประทาน เพื่อการจัดหาน ้าเพื่อการอุปโภคบริ โภค การจัดการกักเก็บน ้าและจ่ายน ้าไปยังผู้ใช้
น ้า โดยเฉพาะภาคการเกษตร ในปั จจุบนั กาลังมีการร่ างพระราชบัญญัติน ้า เพื่อการจัดสรรการใช้ น ้าผิวดิน เข้ าสู่
การพิจารณาของสภานิติบญ ั ญัติแห่งชาติและคาดว่าจะประกาศใช้ ในราชกิจจานุเบกษาภายในปี พ.ศ. 2561
นอกจากนันยั ้ งมีการจัดการน ้าใต้ ดิน คือ พระราชบัญญัติน ้าบาดาล พ.ศ. 2520 จากหลักทัว่ ไปที่น ้าบาดาล
ที่อยู่ใต้ พื ้นดินนัน้ เป็ นแดนกรรมสิทธิ์ของเจ้ าของที่ดิน สามารถเจาะนาน ้าบาดาลมาใช้ ประโยชน์เพื่อการอุปโภค
บริ โภคของตนเองได้ แต่หากในท้ องที่ ใดที่ อาจเป็ นเขตวิกฤตการณ์ นา้ บาดาล ที่ เมื่อสูบนา้ บาดาลขึน้ มาใช้ ใน
ปริ มาณมากเกินกว่าน ้าที่จะไหลไปสะสมในชันน ้ ้าบาดาลแล้ ว อาจทาให้ ดินในบริ เวณนันทรุ ้ ดตัวได้ จึงให้ อานาจใน
การประกาศเขตห้ ามสูบน ้าบาดาลได้ รวมถึงมีการกาหนดเขตน ้าบาดาล ซึง่ หากจะประกอบกิจการน ้าบาดาลใน
พื ้นที่ซงึ่ ยังไม่มีน ้าประปาใช้

- กฎหมายในการการจัดการพืชและสัตว์
โดยทัว่ ไป การจัดการสิ่งมีชีวิตที่ อยู่ในป่ า (wild life) มีกฎหมายในการคุ้มครองและรักษาพืชและสัตว์ที่อยู่
ในเขตพื น้ ที่ ป่า อันเป็ นพื น้ ที่ ค้ ุมครองภายใต้ พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ ป่า พ.ศ. 2535 ที่ กาหนด
รายชื่อของพืชและสัตว์ค้ มุ ครอง ห้ ามทาอันตราย ห้ ามล่าและค้ าพืชและสัตว์ป่านัน้ และการห้ ามนาเข้ าส่งออกพืช
และสัตว์ใกล้ สญ ู พันธุ์แล้ ว ยังมีพระราชบัญญัติงาช้ าง พ.ศ. 2558 ที่กาหนดให้ มีการแจ้ งการครอบครองผลิตภัณฑ์
จากช้ าง โดยต้ องระบุว่าได้ มาอย่างไร เพื่ อป้องกันไม่ให้ มีการลักลอบค้ างาช้ างผิ ดกฎหมาย อันเป็ นข้ อผูกพัน
ภายใต้ อนุสญั ญาไซเตส

15
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน ้าไทย พ.ศ.2456, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 30 หน้ า 74 (5 สิงหาคม 2456).
16
พระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558ม ราชกิจจานุเบกษา 332 ตอน 308 ก หน้ า 3 (13 พฤศจิกายน 2558) แก้ ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2560, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน 67 ก. หน้ า 1 (28 มิถนุ ายน 2560).
17
พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอน 62 หน้ า 1676 (22 กันยายน 2485)

Page 17 of 25
ส าหรั บ การจัดการสัตว์ ที่ อยู่ ใ นชุม ชน (domestic animal) โดยทั่วไปสัตว์ เลี ย้ งถื อ ว่ า เป็ น ทรั พ ย์ สิ น ของ
เจ้ าของ ภายใต้ กฎหมายทั่วไปในประมวลแพ่งและพาณิชย์ รวมถึง การอยู่ภายใต้ หลักกฎหมายเรื่ องละเมิดและ
ภายใต้ ประมวลกฎหมายอาญา เช่นการทาให้ เสียทรั พย์ หรื อการทารุ ณสัตว์ ในส่วนของกฎหมายพิเศษที่มี การ
บัญญัติเกี่ ยวกับการจัดการสัตว์ ได้ แก่ พระราชบัญญัติสัตว์ พาหนะ พ.ศ. 248218 ที่ ยังคงมีผลใช้ บังคับอยู่ใ น
ปั จจุบนั กาหนดให้ สตั ว์พาหนะ ได้ แก่ ช้ าง ม้ า โค กระบือ ล่อ ลา จัดอยู่ในประเภทของสัตว์พาหนะที่ต้องมีเอกสาร
แสดงถึงตัวสัตว์นนั ้ เรี ยกว่าตัว๋ รู ปพรรณ เมื่อขึน้ ทะเบียนเป็ นสัตว์พาหนะแล้ ว เจ้ าของหรื อผู้ครอบครองสามารถนา
สัตว์นนมาใช้
ั้ ในการเดินทางเป็ นสัตว์พาหนะของตนได้
การจัดการสัตว์พาหนะมีประเด็นถกเถียง ที่ทับซ้ อนกันเกี่ยวกับการจัดการช้ าง เนื่องจากช้ างไทย อาจมี
สถานะได้ ทงการเป็ั้ นสัตว์ป่า เมื่อช้ างนันอยู
้ ่ในป่ า เป็ น สัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ ามทาอันตราย รวมถึงห้ ามจับหรื อล่ามา
เป็ นสัตว์เลี ้ยง ในขณะที่ช้างเลี ้ยง ซึง่ ในทางชีววิทยาเป็ นสัตว์ชนิดพันธุ์เดียวกันกับช้ างป่ า นับตังแต่ ้ มีการจับช้ างป่ า
มาเป็ นช้ างเลี ้ยงก่อนที่จะมีการประกาศใช้ กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าเมื่อ พ.ศ. 2503 และช้ างเลี ้ยงนันได้ ้ ตกลูก ซึง่
จะกลายเป็ นช้ างเลี ้ยงต่อไปได้ ภายใต้ พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะนี ้ ระบุให้ มีการแจ้ งขอจดทะเบียนตัว๋ รู ปพรรณ
ช้ างเลี ้ยงเมื่อย่างเข้ าปี ที่แปด ดังนันประเทศไทยจึ
้ งมีช้างอยู่ในทังที้ ่เป็ นช้ างป่ า และช้ างเลี ้ยง มีการใช้ ช้างเลี ้ยงใน
การลากซุง เมื่อครัง้ ยังมีการให้ สมั ปทานป่ าไม้ ซึง่ ในปั จจุบนั ไม่มีการให้ สมั ปทานตัดไม้ ในประเทศไทยอีกต่อไป
ปั ญหาการบังคับใช้ กฎหมายเกิดขึน้ เมื่อมีการลักลอบจับช้ างป่ า มาสวมเป็ นช้ างเลี ้ยง โดยการปลอมตัว๋
รู ปพรรณช้ างขึน้ มา รวมไปถึงส่วนต่าง ๆ ที่ได้ มาจากตัวช้ าง เช่น งา หนัง ขน เป็ นต้ น ซึ่งต้ องแจ้ งที่มาของงาช้ าง
หรื อส่วนใดๆของช้ าง ตามพระราชบัญญัติงาช้ าง 2558 เพื่อป้องกันไม่ให้ มีการลักลอบนาช้ างป่ ามาสวมเป็ นช้ าง
เลี ้ยง นอกจากนี ้แล้ วยังมีปัญหาของการจัดการช้ างเลี ้ยง เช่น การนาช้ างซึง่ เป็ นสัตว์ใหญ่ มาเดินในเมือง ซึง่ ภายใต้
พระราชบัญญัติสตั ว์พาหนะ สามารถทาได้ ก็ตาม แต่เพื่อเป็ นการคุ้มครองช้ าง จากการนามาเดินบนถนนที่ร้ อน
และอาจเกิดอุบตั ิเหตุขึ ้น ทังที ้ ่รถชนช้ าง หรื อช้ างตกมัน ทาร้ ายผู้คน จึงมีการประกาศเป็ นข้ อบัญญัติท้องถิ่น ในบาง
พื น้ ที่ เช่ น ในกรุ ง เทพมหานคร ห้ า มน าช้ า งมาเดิ น เร่ ร่ อ น เป็ น ต้ น ในปั จ จุ บัน มี ช้ า งเลี ย้ งอยู่ จ านวนหนึ่ ง ใน
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในการให้ ขี่ช้างและชมการแสดงของช้ างเลี ้ยง และมีการพิจารณาร่ างกฎหมายช้ าง
แห่งชาติขึ ้นเพื่อจัดการเกี่ยวกับช้ างเลี ้ยงโดยเฉพาะ
นอกจากการจัดการเกี่ยวกับสัตว์พาหนะแล้ ว ยังมีการกาหนดเกี่ยวกับการบารุ งพันธุ์สตั ว์ ที่เป็ นปศุสตั ว์
และสัตว์พาหนะ ภายใต้ พระราชบัญญัติบารุ งพันธุ์สตั ว์ พ.ศ. 250919 ที่กาหนดให้ กรมปศุสตั ว์ เป็ นหน่วยงานที่ดแู ล
รั ก ษาและบ ารุ งพัน ธุ์ สัตว์ ที่ ก าหนดไว้ เป็ น สัตว์ ส งวนพัน ธุ์ สัตว์ ที่ พึงประสงค์ รวมถึงการจ ากัดพัน ธุ์ สัตว์ ที่ ไ ม่
เหมาะสมจะนามาขยายพันธุ์ ซึง่ สัตว์ที่ระบุไว้ ในกฎกระทรวงให้ เป็ นสัตว์บารุ งพันธุ์ คือ โคและกระบือ
การคุ้มครองสัตว์ในด้ านของการรักษาอาการเจ็บป่ วย มีการกาหนดมาตรฐานในการรักษาพยาบาลสัตว์
ภายใต้ พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 253320 มีการกาหนดให้ สถานพยาบาลสัตว์ต้องได้ รับใบอนุญาต

18
พระราชบัญญัติสตั ว์พาหนะ พ.ศ. 2482, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้ า 1492 (6 พฤศจิกายน 2482).
19
พระราชบัญญัติบารุงพันธุ์สตั ว์ พ.ศ. 2509, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 83 ตอน 65 (1 สิงหาคม 2509).
20
พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2533, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 214 หน้ า 1 (19 ตุลาคม 2533).

Page 18 of 25
ในการประกอบการ และต้ องมีผ้ รู ักษาสัตว์ ต้ องมีใบประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ รวมถึงมีการเปิ ดเผยอัตราค่า
รักษาพยาบาลและค่าบริ การให้ ชดั เจน
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ เลี ้ยงในด้ านสวัสดิภาพของสัตว์ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้ อง 3 ฉบับด้ วยกัน
คือฉบับแรก ป้องกันการทารุ ณสัตว์ – พระราชบัญญัติป้องกันการทารุ ณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.
255721 ที่มีเป้าหมายในการคุ้มครองสัตว์เลี ้ยง จากการกระทาทารุ ณ และเพื่อให้ การดูแลสัตว์เลี ้ยงมีมาตรฐานที่
เหมาะสม มีสขุ ภาพอนามัยที่ดี โดยให้ กรมปศุสตั ว์เป็ นหน่วยงานที่กากับดูแลให้ เป็ นไปตามกฎหมาย นอกจากนี ้ยัง
มีการแต่งตังให้
้ มีคณะกรรมการป้องกันการทารุ ณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์
ให้ มีสถานสงเคราะห์สตั ว์ เพื่อดูแลสัตว์ที่ถกู ทอดทิ ้ง ไม่มีเจ้ าของ หรื อถูกทารุ ณ
ฉบับที่สอง การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ – พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 22
เพื่อควบคุมการให้ อาหารสัตว์ ให้ ปลอดภัยต่อสัตว์นนั ้ เอง รวมถึงผู้ที่บริ โภคเนื อ้ สัตว์ด้วย โดยกาหนดให้ ผ้ ูผลิต
อาหารสัตว์เพื่อขาย รวมทังการน ้ าเข้ าด้ วย ว่าต้ องมีการขออนุญาต โดยต้ องมีการผลิตอาหารสัตว์ตามการควบคุม
และการติดฉลากส่วนประกอบของอาหารสัตว์นนั ้ หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่ องนี ้คือกรมปศุสตั ว์
ฉบับที่สาม การควบคุมโรคจากสัตว์ – พระราชบัญญัติเชื ้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 23 เพื่อควบคุม
การแพร่ เชื ้อจากสัตว์ทงที ั ้ ่เป็ นปศุสตั ว์ หรื อสัตว์พาหนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ เชื ้อโรค หรื อพิษจากสัตว์เป็ นอันตรายต่อ
สาธารณ ทัง้ ที่ เป็ นบุคคล ชุมชน ปศุสัตว์ สัตว์ พาหนะ รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ น าเชื อ้ โรคหรื อพิ ษจากสัต ว์
นามาใช้ เพื่ อเป็ นอาวุธชี วภาพ โดยกาหนดให้ กรมวิทยาศาสตร์ ก ารแพทย์ เป็ นหน่ วยงานที่ ดูแลให้ เป็ นไปตาม
กฎหมาย โดยกาหนดไม่ให้ ใช้ เชือ้ โรคหรื อพิษจากสัตว์ ไปในทางที่จะก่ออันตรายต่อบุคคลหรื อสิ่งแวดล้ อม เช่น
ห้ ามการปกปิ ดซ่อนเร้ น และกาหนดให้ มีการควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การครอบครอง ผลิต นาเข้ าและส่งออกซึง่
เชื ้อโรคต่าง ๆ เป็ นที่น่าสังเกตว่า กฎหมายฉบับนี ้ ได้ กาหนดให้ มีความรับผิดทางแพ่ง ในกรณีเกิดความเสียหายขึ ้น
จากการผลิต นาเข้ า ส่งออก จาหน่ายหรื อครอบครองเชื ้อโรคหรื อพิษจากสัตว์อีกด้ วย
ในส่วนของการคุ้มครองพื ช มีกฎหมายที่ เกี่ ยวข้ องโดยตรง 2 ฉบับได้ แก่ พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.
251824 มีข้อกาหนดให้ มีการจดทะเบี ยนพันธุ์พืช และจัดกลุ่มเมล็ดพันธุ์ ที่ อยู่ภายใต้ การควบคุม รั บรอง ขึน้
ทะเบียน และจัดกลุ่มพืชเป็ นพืชสงวน พืชต้ องห้ าม และพืชอนุรักษ์ โดยมีกรมวิชาการเกษตรเป็ นหน่วยงานผู้มี
หน้ าที่รับผิดชอบ มีการประกาศโดยกฎกระทรวง โดยการนาเข้ าและส่งออกพืชสงวน ต้ องยื่นขออนุญาต และการ
จาหน่ายพืชที่เป็ นพืชควบคุม ต้ องมีการบรรจุภาชนะและติดฉลากให้ ถกู ต้ อง เป็ นต้ น

21
พระราชบัญญัติปอ้ งกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 87 หน้ า 4 (26
ธันวาคม 2557).
22
พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 15 หน้ า 1 (5 มีนาคม 2558).
23
พระราชบัญญัติเชื ้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 80 หน้ า 9 (26 สิงหาคม 2558).
24
พระราชบัญญัติพนั ธุ์พืช พ.ศ. 2518, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 40 หน้ า 5 (19 กุมภาพันธ์ 2518).

Page 19 of 25
กฎหมายอีกฉบับหนึ่งในการคุ้มครองเกี่ยวกับพันธุ์พืช คือ พระราชบัญญัติค้ มุ ครองพืช พ.ศ. 254225 เป็ น
กฎหมายที่มงุ่ คุ้มครองพันธุกรรมของพืช และการค้ นพบพืชพันธุ์ใหม่ ที่จะให้ สิทธิแก่ผ้ ขู ึ ้นทะเบียนเป็ นการปรับปรุ ง
พันธุ์พืช รวมถึงการคุ้มครองพันธุ์พืชพื ้นเมืองและพืชป่ าด้ วย

5.3.2 กลุ่มของกฎหมายในการจัดการเกี่ยวกับชีวิตความเป็ นอยู่


กลุ่มของกฎหมายที่เข้ ามาจัดการเกี่ยวข้ องกับสิทธิในการดารงชีวิตในสภาพแวดล้ อมที่ดี ซึง่ เป็ นกฎหมาย
เฉพาะ นอกเหนือไปจากกฎหมายหลักทัว่ ไปที่กล่าวมาข้ างต้ นแล้ ว มีอยู่ในหลากหลายมิติ บทบาทของรัฐภายใต้
กฎหมายเฉพาะต่าง ๆ นีก้ าหนดบทบาทของรัฐแตกต่างกันไป ทัง้ ที่เป็ นผู้ควบคุมกติกาให้ เกิดมาตรฐานสินค้ าที่
ปลอดภัยต่อประชาชน ถูกสุขอนามัย ในราคาที่เป็ นธรรม และป้องกันการผูกขาด หรื อบางครัง้ รัฐเข้ ามาจัดผลิตเอง
จากการที่มตี วั กฎหมายที่เข้ ามาจัดการอยู่จานวนมาก ดังนันจึ ้ งขอจัดกลุม่ ตามปั จจัยสี่ในการดารงชีวิต คือ อาหาร
ที่อยู่อาศัย เครื่ องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ซึง่ ในที่นี ้ มีการจาแนกออกเป็ น
- อาหาร และการบริ โภค
- ที่อยู่อาศัย
- ของใช้ รวมถึงยานพาหนะ
- ยารักษาโรคและระบบสุขภาพอนามัย

- กฎหมายที่ค้ ุมครองเกี่ยวกับอาหารสาหรั บการบริโภค


ในการจัดการเพื่อให้ อาหารที่บริ โภคในสังคม มีความปลอดภัย ไร้ สารพิษหรื อสิ่งแปลกปลอม รวมไปถึงการ
บริ โภคอาหารที่ถูกสุขอนามัย มีกฎหมายที่เข้ ามาจัดการหลัก ได้ แก่ พระราชบัญญัติค้ มุ ครองผู้บริ โภค พ.ศ. 2522
และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติค้ มุ ครองผู้บริ โภค พ.ศ. 2522 26 เป็ นกฎหมายหลักในการคุ้มครองผู้ซื ้อสินค้ าและบริ การ ให้
ได้ รับความปลอดภัยในการบริ โภค ได้ รับข้ อมูลข่าวสารเพื่อตัดสินใจเลือกซื ้อได้ ตามความต้ องการ รวมถึงได้ รับการ
ชดเชยเยียวยาความเสียหารจากการบริ โภค โดยมีการจัดตังคณะกรรมการและส
้ านักงานคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริ โภคขึน้ เพื่ อดูแลมาตรฐานการคุ้มครอง นับตัง้ แต่การคุ้มครองผู้บริ โภคในด้ านการโฆษณา ไม่ให้ มีก ารใช้
ข้ อความเกินจริ ง หลอกลวง การกาหนดให้ ติดฉลากข้ อมูลเกี่ยวกับสินค้ า รวมถึงการควบคุมข้ อกาหนดในสัญญา
ให้ มีความเป็ นธรรม มีความเสมอภาคในการเข้ าทาสัญญาระหว่างผู้บริ โภคและผู้ประกอบการ
ในกรณี ที่สงสัยว่าสินค้ าหรื อบริ การใดที่อาจเป็ นอันตรายแก่ผ้ ู บริ โภค คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริ โภคมี
อานาจสัง่ ให้ ผ้ ปู ระกอบการพิสจู น์ว่าสินค้ าและบริ การนันได้
้ และหากจาเป็ นเร่ งด่วน สามารถสัง่ ให้ ห้ามขายสินค้ า
หรื อห้ ามการให้ บริ การนันเป็
้ นการชัว่ คราวได้

25
พระราชบัญญัติค้ มุ ครองพืช พ.ศ. 2542, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 118 ก หน้ า 15 (24 พฤศจิกายน 2542) แก้ ไขปรับปรุง ราช
กิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน 18 ก หน้ า 1 (11 กุมภาพันธ์ 2560).
26
พระราชบัญญัติค้ มุ ครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 72 หน้ า 20 (4 พฤษภาคม 2522).

Page 20 of 25
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 252227 กาหนดการคุ้มครองเกี่ยวกับการผลิตอาหาร เช่น ส่วนผสมในการปรุ ง
อาหารนัน้ โดยการผลิต จาหน่าย และนาเข้ า โดยมีคณะกรรมการอาหาร เป็ นผู้มีหน้ าที่ออกระเบียบในการกากับ
ดูแล การออกใบอนุญ าตให้ แก่ผ้ ูจัดตัง้ โรงงานผลิ ตอาหาร เพื่ อให้ มีการผลิตอาหาร ให้ ได้ มาตรฐาน ไม่มีการ
ปลอมปน ใส่สารอันตราย หรื อสารเคมีที่เป็ นอันตรายต่อสุขภาพ มีการกาหนดให้ มีการระบุ ชื่อของอาหาร ปริ มาณ
ของส่วนประกอบต่าง ๆ ในฉลาก บรรจุในภาชนะที่ปลอดภัย รวมถึงระบุวนั เวลาในการผลิตและหมดอายุ ระบุถึง
สถานที่ในการผลิตและผู้ผลิตที่ชดั เจน รวมถึงการห้ ามโฆษณาเกินจริ งในสรรพคุณของอาหาร และเมื่อมีการผลิต
อาหารไม่ได้ มาตรฐานตามที่กฎหมายกาหนด นอกจากมีโทษทางอาญาทัง้ ปรับและจาคุกแล้ ว ยังสัง่ พักหรื อเพิก
ถอนใบอนุญาตการผลิตหรื อนาเข้ าอาหารได้
กฎหมายที่เพิ่มเติมขึน้ มาต่อจากพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คือ พระราชบัญญัติคณะกรรมการ
อาหาร พ.ศ. 255128 ทีมีวตั ถุประสงค์ในการควบคุมคุณภาพอาหาร ทังในด้ ้ านกายภาพและคุณค่าทางโภชนาการ
มีการกาหนดถึงห่วงโซ่อาหาร ที่เป็ นวงจรการผลิตอาหาร เริ่ มตังแต่
้ วตั ถุดิบ ปั จจัยการผลิต การแปรรู ป การบรรจุ
เก็บรักษา จัดจาหน่าย รวมถึงการนาเข้ าและส่งออกด้ วย เพื่อให้ อาหารมีความปลอดภัยต่อการบริ โภคของคน และ
สร้ างความมัน่ คงทางอาหาร สร้ างสมดุลในระบบนิเวศและฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติ มีคณะกรรมการ
อาหารแห่งชาติ เพื่อกาหนดนโยบายทางด้ านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร 29 โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็ นผู้
รักษาการตามกฎหมายฉบับนี ้

- กฎหมายที่กาหนดเกี่ยวกับสภาพแวดล้ อมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
กฎหมายที่กาหนดมาตรการ ที่อาจใช้ เพื่อคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้ อมที่ดี ได้ แก่ พระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. 2518 30 ที่ นับได้ ว่าเป็ นกฎหมายหลักในการกาหนดการใช้ ประโยชน์ ในที่ ดินแบบต่าง ๆ เพื่ อให้ มีขอบเขต
ชัดเจน ว่าเป็ นบริ เวณที่อยู่อาศัย พื ้นที่ทางการเกษตรหรื ออุตสาหกรรม เมื่ อมีการจัดขอบเขตของพื ้นที่ดงั นี ้ การอยู่
อาศัยสมควรที่จะได้ รับประโยชน์เพื่อความปลอดภัยจากพืน้ ที่อุตสาหกรรมที่มกั จะมีการก่อมลพิษ การจัดทาผัง
เมืองนี ้ กาหนดให้ มีกระบวนการที่ชมุ ชนสามารถที่จะรับทราบในการกาหนดผังเมืองและสามารถคัดค้ านได้ ก่อนที่
จะมีการประกาศ รวมทังองค์ ้ กรปกครองส่วนท้ องถิ่นในบริ เวณดังกล่าวก็เข้ ามามีส่วนในการจัดทาผังเมือง เรี ยกว่า
คณะกรรมการบริ หารผังเมืองส่วนท้ องถิ่น เมื่อมีการประกาศใช้ ผงั เมืองแล้ ว การก่อสร้ างหรื อดัดแปลงอาคาร ที่
ต้ องขออนุญาตจากคณะกรรมการบริ หารผังเมืองส่วนท้ องถิ่นพิจารณาว่าเป็ นไปตามข้ อกาหนดผังเมืองหรื อไม่
ทัง้ นี ก้ ารควบคุมการก่อสร้ างอาคารไม่ว่าจะเป็ นโดยเอกชนหรื อทางราชการ ก็ต้องอยู่ภายใต้ ผังเมืองทัง้ สิน้ ผู้

27
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 79 หน้ า 1 (13 พฤษภาคม 2522).
28
พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหาร พ.ศ. 2551, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 31 หน้ า 39 (8 กุมภาพันธ์ 2551).
29
วิชยั เทียนถาวร, “คณะกรรมการอาหารแห่งชาติและผลงานที่สาคัญ” มติชนออนไลน์ (วันที่ 22 กรกฎาคม 2561)
https://www.matichon.co.th/article/news_1051265
30
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 33 หน้ า 8 (12 กุมภาพันธ์ 2518).

Page 21 of 25
รั กษาการตามกฎหมายคือรั ฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย โดยการออกกฎกระทรวงเพื่อกาหนดผังเมืองในแต่ละ
พื ้นที่31 สาระสาคัญในการกาหนดประเภทการใช้ ประโยชน์ในที่ดิน โดยการกาหนดแบ่งดังนี32้
การใช้ ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังกาหนดการใช้ ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้ จาแนกประเภทและแสดงโครงการ
คมนาคมและขนส่งท้ ายกฎกระทรวงนี ้ ให้ เป็ นไปดังต่อไปนี ้
(1) ที่ดินในบริ เวณที่เป็ นสีเหลือง ให้ เป็ นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้ อย
(2) ที่ดินในบริ เวณ ที่เป็ นสีส้ม ให้ เป็ นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
(3) ที่ดินในบริ เวณที่เป็ นสีแดง ให้ เป็ นที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
(4) ที่ดินในบริ เวณที่เป็ นสีมว่ ง ให้ เป็ นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้ า
(5) ที่ดินในบริ เวณที่เป็ นสีเขียว ให้ เป็ นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(6) ที่ ดินในบริ เวณที่ เป็ นสีเขี ย วอ่อน ให้ เป็ นที่ ดินประเภทที่ โล่งเพื่ อนันทนาการและการรั ก ษาคุณ ภาพ
สิ่งแวดล้ อม
(7) ที่ดินในบริ เวณที่เป็ นสีเขียวมะกอก ให้ เป็ นที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา
(8) ที่ดินในบริ เวณที่กาหนดไว้ เป็ นสีเทาอ่อน ให้ เป็ นที่ดินประเภทสถาบันศาสนา
(9) ที่ดินในบริ เวณที่กาหนดไว้ เป็ นสีนา้ เงิน ให้ เป็ นที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการ
(10) ที่ดินในบริ เวณที่กาหนดไว้ เป็ นสีชมพู ให้ เป็ นที่ดินประเภทโครงการคมนาคมและขนส่ง
การบังคับใช้ ผงั เมืองเป็ นเครื่ องมืออย่างหนึง่ ในการคุ้มครองสิทธิที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้ อมที่ดี ไม่ถกู รบกวนจาก
การใช้ ป ระโยชน์ ใ นที่ ดิน ของผู้อื่น เช่ น การสร้ างโรงงาน ต้ องกระท าในเขตที่ เป็ น พื น้ ที่ สี ม่วง ที่ อนุญ าตให้ ใ ช้
ประโยชน์เพื่ออุตสาหกรรมได้ อย่างไรก็ดี กระบวนการจัดทาผังเมืองแม้ จะเปิ ดโอกาสให้ ประชาชนในชุมชนคัดค้ าน
การเปลี่ยนแปลงผังเมืองได้ จากการปรับปรุ งผังเมืองภายในกรอบระยะเวลา และอานาจในการจัดทาผังเมืองนัน้
อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นร่ วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง การเปลี่ยนแปลงผังเมืองเพื่อให้ สอดคล้ องกับ
การเปลี่ยนแปลงของการใช้ พืน้ ที่ และการพัฒนาของเมือง จึงอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน หากไม่ได้ รับ ข้ อมูล
ข่าวสารที่ทนั การ ประกอบการปั ญหาของแดนกรรมสิทธิ์ของเอกชน ที่เป็ นเจ้ าของที่ดิน อาจจมีการใช้ ประโยชน์ใน
ที่ดินผิดไปจากที่กาหนดไว้ ก็ได้ ปั ญหาสาคัญของผังเมืองจึงอยู่ที่การบังคับใช้ กฎหมาย

31
ดูผงั เมืองในท้ องที่ตา่ ง ๆ ได้ จากเวปไซด์ของสมาคมสถาปนิกสยาม http://asa.or.th/mr-cp/
32
กฎกระทรวง ฉบับที่ 451 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 (แก้ ไขล่าสุด 15 สิงหาคม 2551).

Page 22 of 25
ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 255933

33
กฎกระทรวง ให้ ใช้ บงั คับผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 บัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ ใช้ บงั คับผังเมืองรวมจังหวัด
เชียงใหม่ (ฉบับ 2) พ.ศ. 2559, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน 1 (6 มกราคม 2560).
(ภาพจากเวปไซด์ https://www.ihome108.com/changmaimap/ )

Page 23 of 25
นอกจากกฎหมายผังเมืองแล้ ว มีกฎหมายที่กาหนดเกี่ยวกับที่พกั อาศัย เพื่อเป้าหมายในการคุ้มครองผู้อยุ่
อาศัยและเพื่อจัดการสิ่งแวดล้ อมให้ เหมาะสม ได้ แก่ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 34 เพื่อกาหนดให้
ผู้ประกอบการที่สร้ างบ้ านพร้ อมที่ดินเพื่อขายให้ แก่บุคคลทั่วไป มีมาตรฐานในการสร้ างบ้ านและสาธารณูปโภค
ต่าง ๆ ให้ แก่ผ้ ซู ื ้อ รวมถึงระบบการจัดการระบายน ้า การบาบัดน ้าเสียและกาจัดของเสีย และมาตรการที่จาเป็ น
สาหรับรักษาสภาพแวดล้ อม และการบริ การสาธารณะในพื ้นที่ซงึ่ ได้ จดั สรร นับตังแต่ ้ 10 แปลงขึ ้นไป เมื่อโครงการ
จัดสรรโอนกรรมสิทธิ์เรี ยบร้ อยแล้ ว กาหนดให้ มีการจัดตังนิ
้ ติบุคคลบ้ านจัดสรรขึ ้น เพื่อบริ หารจัดการความเป็ นอยู่
ร่ วมกันของชุมชนบ้ านจัดสรรนันด้ ้ วย
หากการก่อสร้ างที่อยู่อาศัยในลักษณะของอาคารชุด มีพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 35 การจัดการ
อาคารชุดมีทงั ้ ในส่วนที่เป็ นทรัพย์สินส่วนบุคคลและทรัพย์ สินส่วนกลาง ที่มีข้อบังคับและนิติบุคคลอาคารชุดใน
การจั ด การร่ ว มกั น โดยเฉพาะการจั ด การทรั พ ย์ สิ น ส่ ว นกลาง ที่ ต้ องมี ร ะบบรั ก ษาความปลอดภั ย และ
สภาพแวดล้ อมของอาคารชุดนัน้ เช่นแสงสว่าง การระบายอากาศ การระบายน ้า การบาบัดน ้าเสียและกาจัด ขยะ
สิ่งปฏิกลู
ข้ อกาหนดเพิ่ มเติมสาหรั บโครงการที่ อยู่อาศัยขนาดใหญ่ คือ โครงการที่ อยู่อาศัยที่เป็ นบ้ านจัดสรร ที่ มี
จานวนที่ดินเกินบ้ านจัดสรรที่มีจานวนที่ดินแปลงย่อยตังแต่ ้ 500 แปลง หรื อเนือ้ ที่เกินกว่า 100 ไร่ หรื อโครงการ
คอนโดมิเนียม ที่มีจานวนห้ องชุด (unit) ตังแต่้ 80 ห้ องขึน้ ไป หรื อมีพืน้ ที่ใช้ สอยตังแต่
้ 4,000 ตารางเมตรขึน้ ไป
กฎหมายกาหนดให้ ต้องทารายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้ อมด้ วย

- กฎหมายที่จัดการเกี่ยวกับการใช้ ส่ งิ ต่ าง ๆ ในชีวิตประจาวัน
กฎหมายที่กาหนดมาตรฐานสินค้ าเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้ใช้ เช่น พระราชบัญญัติ
เครื่ องสาอาง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535

- กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการระบบสุขภาพอนามัย
กฎหมายที่จดั ให้ บริ การ และระบบสวัสดิการด้ านสุขภาพ เช่น พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.
2559 และกลุ่มกฎหมายที่รักษาสุขภาพอนามัยของสังคม เช่น พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็ น
ระเบียบเรี ยบร้ อยของบ้ านเมือง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบ
พ.ศ. 2560

5.3.3 กลุ่มของกฎหมายในการการจัดการเกี่ยวกับระบบการผลิต
ส่วนใหญ่กฎหมายที่ควบคุมการผลิตในระบบอุตสาหกรรมจะมีอยู่หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน
อุตสาหกรรม พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม พ.ศ. 2511 และในส่วนของภาคบริ การ
มีกฎหมาย พระราชบัญญัติสถานบริ การ พ.ศ. 2509 พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ

34
พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอน 45 หน้ า 1 (23 พฤษภาคม 2543).
35
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 67 หน้ า 29 (30 เมษายน 2522).

Page 24 of 25
โรงแรม พ.ศ. 2547 ที่ควบคุมการจัดการ นอกจากนี ้ มีกฎหมายที่จดั การเกี่ยวกับการพลังงาน เช่น พระราชบัญญัติ
ส่ ง เสริ ม กิ จ การไฟฟ้ า พ.ศ. 2484 พระราชบั ญ ญั ติ ก ารไฟฟ้ า ฝ่ ายผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย พ.ศ. 2511 และ
พระราชบัญญัติส่งเสริ มและอนุรักษ์ พลังงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อสันติ พ.ศ.
2559

5.3.4 กลุ่มของกฎหมายในการการจัดการของเสียและวัตถุอันตราย
มีกฎหมายหลักในการควบคุมการครอบครองและการเคลื่อนย้ ายวัตถุอนั ตราย คือ พระราชบัญญัติวตั ถุ
อันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวตั ถุออกฤทธิ์ตอ่ จิตและประสาท พ.ศ. 2559

5.4 กฎหมายที่สนับสนุนกระบวนการในการจัดการสิ่งแวดล้ อมอย่ างกว้ าง


ในกลุ่มกฎหมายที่ จัดเป็ นกลุ่มสนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้ อม เช่น กฎหมายขององค์ กรปกครองส่วน
ท้ องถิ่นต่าง ๆ ที่ให้ อานาจองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นในการจัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้ อม
ในเขตพื ้นที่ของตนเอง รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริ มการมีส่วนร่ วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากร
และสิ่งแวดล้ อม เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และการจัดทาประชาพิจารณ์ เป็ นต้ น

คาถามท้ ายบท
1. ให้ นกั ศึกษาอภิปรายว่าในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้ องกับการจัดการสิ่งแวดล้ อมของไทย มีการนาเอาหลักการ
ทางกฎหมายสิ่งแวดล้ อมมาบัญญัติไว้ อย่างไร โดยยกตัวอย่างบทบัญญัตินนมาให้ ั้ ชดั เจน
2. ให้ นกั ศึกษาอธิบายถึงโครงสร้ างของกฎหมายที่เกี่ยวข้ องกับการจัดการสิ่งแวดล้ อมมาสัก 1 ฉบับ ว่ามี
กลไกทางกฎหมายในการบัญญัติวา่ อย่างไร
3. ให้ นักศึกษาวิเคราะห์ ว่ากลไกทางกฎหมายที่มีขึน้ เพื่อคุ้มครองสิทธิ ในสิ่งแวดล้ อมของประเทศไทยใน
บทบัญญัติของกฎหมายที่นกั ศึกษาเลือกมา 1 ฉบับ ว่ามีกลยุทธ์ ในการจัดการอย่างไร และมีประสิทธิ ภาพมาก
น้ อยเพียงในในสังคม โดยยกตัวอย่างประกอบการใช้ กฎหมายนันมาให้ ้ ชดั เจน
4. ให้ นกั ศึกษาอธิบายถึงโครงสร้ างและหลักการทางสิ่งแวดล้ อมในพระราชบัญญัติสวงนและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้ อม พ.ศ. 2535 มีการจัดโครงสร้ างไว้ อย่างไรบ้ าง เพื่อการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้ อม และการบังคับใช้
หลักการทางกฎหมายสิ่งแวดล้ อมที่บญ ั ญัติไว้ ในกฎหมายสิ่งแวดล้ อมนันมี้ ประสิทธิภาพมากน้ อยเพียงใด

Page 25 of 25

You might also like