Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 44

¨ØÅÊÒäÇÒÁÁÑ蹤§ÈÖ¡ÉÒ

¾ÄȨԡÒ¹ 2558 ©ºÑº·Õè 165

อุยกูร์
Uyghurs

¨ÃÑÞ ÁÐÅÙÅÕÁ
à¢Õ¹
ÊØÃªÒµÔ ºíÒÃاÊØ¢
ºÃóҸԡÒÃ

ʹѺʹุ¹กÒร¾ÔÁ¾์â´ย
ʶҺѹ¡Òâ‹ÒÇ¡Ãͧ
Êíҹѡ¢‹ÒÇ¡ÃͧáË‹§ªÒµÔ
อุยกูร์ 1
จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 165
อุยกูร์

พิมพ​ครั้ง​ที่หนึ่ง พฤศจิกายน 2558


จำ�นวน​พิมพ 1,000 เล่ม
การพิมพ์ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการข่าวกรอง สำ�นักข่าวกรองแห่งชาติ
เจาของ โครงการความมั่นคงศึกษา
ตู้ ปณ. 2030 ปณฝ. จุฬาลงกรณ์
กรุงเทพฯ 10332
E-mail : newsecproject@yahoo.com
Website : http://www.newsecurity.in.th
โทร : 0-2218-7275 โทรสาร : 0-2218-7308

บรรณาธิการ ศ. ดร. สุรชาติ บำ�รุงสุข


ผูชวย​บรรณาธิการ นางสาว กุลนันทน์ คันธิก
ประจำ�กอง​บรรณาธิการ นาย ศิบดี นพประเสริฐ
นาย ฉัตรฆพัฒน์ บุนนาค

พิมพ​ที่ บริษัท สแควร์ ปริ๊นซ์ 93 จำ�กัด


59, 59/1, 59/2 ซ.ปุณณวิถี 30 ถ.สุขุมวิท 101
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2743-8045 แฟกซ์. 0-2332-5058
สารบัญ
ï อุยกูร์กับจีน ความขัดแย้ง และประวัติศาสตร์บาดแผล 1
ï การเข้ามาของชาวฮั่นและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป 1
ï ขบวนการเตอร์กิสอิสลามตะวันออก 4
ï ความเหมือนและความต่างของชาวมุสลิมกลุ่มน้อย
สองกลุ่มในจีน 5
ï วัฒนธรรม 7
ï อุยกูร์มุสลิม 10
ï แก่นแกนของปัญหา 11
ï การตอบสนองเชิงนโยบายของรัฐ 14
ï ปัญหาพลังงาน 25
ï ทางเลือกในอนาคต 27
ï นัยต่อสหรัฐฯ 28
ï ประเทศไทยกับกรณีชาวอุยกูร์ 28
ï ความขัดแย้งของชาวอุยกูร์และรัฐบาลจีน 29
ï ภาคผนวก 37

ที่มาภาพ
ปกหน้า : http://www.rediff.com/news/column/chinas-islamic-ter
ror-problem/20151005.htm
ปกในหน้า : http://www.chinafolio.com/provinces/xinjiang-uyghur-
autonomous-region/
ปกหลัง : http://www.prophetpbuh.com/326515/boys-studying-quran-
gansu-china-photos
ปกในหลัง : http://www.speedofcreativity.org/2009/11/26/learning-about-
xinjiang-urumqui-and-chinas-uygur-people/
อุยกูร์
จรัญ มะลูลีม
คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อุยกูร์กับจีน ความขัดแย้ง และประวัติศาสตร์บาดแผล


ซินเจียง (Xinjiang) ซึ่งเป็นเขตการบริหารที่ใหญ่ที่สุดของ
จีนนั้น มีชายแดนอยู่ติดกับประเทศต่างๆ ถึง 8 ประเทศ ได้แก่ มอง-
โกเลีย รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน
ปากีสถาน และอินเดีย จนถึงเวลานี้ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตการ
บริหารดังกล่าวก็ยังเป็นชาวอุยกูร์
ชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงเป็นส่วน
สำ�คัญของอัตลักษณ์และชีวิตของพวกเขา ภาษาของชาวอุยกูร์จะมีความ
เชื่อมโยงกับภาษาตุรกี (Turkish) พวกเขาถือว่าตนเองโดยทาง
วัฒนธรรมแล้ว ควรมีความชิดใกล้กับประเทศเอเชียกลาง
อาชีพหลักของชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องอยู่กับเกษตร-
กรรมและการค้า โดยเฉพาะเมืองอย่างคาฉือ (Kashgar) ซึ่งอยู่ใน
ฐานะของศูนย์กลางตามเส้นทางสายไหม (Silk Road) ที่อุดมสมบูรณ์

การเข้ามาของชาวฮั่นและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
การพัฒนาของจีนนำ�ไปสู่การจัดตั้งบ้านเรือนที่ขยายตัวออกไป
ในซินเจียง ผลการสำ�รวจใน ค.ศ. 2000 แสดงให้เห็นว่า ชาวจีนฮั่น
(Han) ได้กลายเป็นประชาชนร้อยละ 40 และทหารจำ�นวนมากก็มา
อยู่ในพื้นที่ ไม่ต่างอะไรกับสามจังหวัดภาคใต้ของไทย นอกจากนี้ยังมี
จำ�นวนของผู้อพยพที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้ามาอยู่ในดินแดนแห่งนี้อีก
ด้วย

1 อุยกูร์
ดินแดนที่ชาวอุยกูร์ได้อาศัยอยู่ในปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันว่าเป็น
ดินแดนซึ่งเป็นเขตอิสระอยู่เป็นช่วงๆ แต่ที่มารู้จักกันในนามซินเจียง
นั้น เกิดขึ้นภายหลังที่ดินแดนแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน
ในศตวรรษที่ 18
ใน ค.ศ. 1949 ได้มีการประกาศจัดตั้งรัฐเตอร์กิสถานตะวัน-
ออกเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่เอกราชที่ได้รับก็อยู่ไม่นานนัก ปลายปี
เดียวกันนีเ้ อง ซินเจียงได้กลายมาเป็นส่วนหนึง่ ของจีนคอมมิวนิสต์ อย่าง
เป็นทางการ ช่วงทศวรรษ 1990 การสนับสนุนกลุ่มที่ต้องการแบ่งแยก
ดินแดนกลุ่มต่างๆ เกิดขึ้นอย่างเปิดเผย หลังการล่มสลายของอดีต
สหภาพโซเวียตและการปรากฏตัวของรัฐมุสลิมหลายรัฐในเอเชียกลาง
ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปรากฏให้เห็นมากขึ้น ชาวอุยกูร์
จำ�นวนมากถูกกักขังในฐานะผู้ต้องสงสัย แม้ว่ารัฐบาลจีนจะเข้ามา
ควบคุมสถานการณ์อย่างเข้มข้น แต่ความรุนแรงก็ขยายตัวออกไปอย่าง
กว้างขวาง
อย่างไรก็ตาม จีนได้ปราบปรามการลุกฮือเพื่อแบ่งแยกดินแดน
อย่างรุนแรง นักเคลือ่ นไหวเพือ่ อิสรภาพต้องหลบหนีไปอยูก่ บั ขบวนการ
ใต้ดินในที่สุด
ในขณะที่เหตุการณ์มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นนั้น คนจำ�นวน
มากก็มีข้อสรุปไปในทำ�นองเดียวกันว่า ความรุนแรงทางชาติพันธุ์ที่เกิด
ขึ้นในซินเจียงระหว่างชาวมุสลิมอุยกูร์กับรัฐบาลจีนในเวลานี้ มีรากฐาน
มาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมมากกว่าประเด็นอื่นใด
โครงการการพัฒนาขนาดใหญ่ได้นำ�เอาความเจริญเข้ามายัง
เมืองใหญ่ๆ ของซินเจียง ดึงดูดคนหนุ่มสาวและชาวฮั่นผู้มีทักษะด้าน
เทคโนโลยีจากจังหวัดทางตะวันออกให้เข้ามายังดินแดนแห่งนี้ กล่าว
กันว่าชาวฮั่นนอกจากจะได้รับงานที่ดีแล้ว ชาวฮั่นส่วนใหญ่ก็มีฐานะทาง
เศรษฐกิจที่ดีด้วยเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างความรู้สึกในแง่ลบอย่าง
มากต่อชาวอุยกูร์

อุยกูร์ 2
กิ
จการทั้งหลายในด้านการพาณิช ย์และวัฒนธรรม ค่อยๆ ถูกรูด
ม่านปิดลงโดยรัฐบาลจีน มีการใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อผู้นับถือศาสนา
อิสลาม มีมัสยิดอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และมีมาตรการควบคุมโรงเรียนสอน
ศาสนาอย่างเข้มงวด
รายงานจาก Rights Group Amnesty International ใน
ค.ศ. 2013 กล่าวว่า เจ้าหน้าที่จีนได้ยุติการแสดงออกทางอัตลักษณ์
ด้านวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์ลง รวมทั้งการแสดงออกทางศาสนา ซึ่ง
ถูกมองว่าผิดกฎหมาย
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 บางหน่วยงานของรัฐบาลใน
ซินเจียง รวมทั้งข้าราชการมุสลิมไม่อาจถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
(Ramadon) อันเป็นเดือนที่ชาวมุสลิมถือเป็นเดือนที่มีความหมาย
และประเสริฐที่สุดในบรรดาเดือนทั้งหลายตามปฏิทินทางจันทรคติของ
ชาวมุสลิมได้ ข้อห้ามดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในซินเจียง แต่
ได้เกิดการห้ามดังกล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว การห้ามดังกล่าวมีส่วนสำ�คัญ
ที่นำ�ไปสู่การก่อกำ�เนิดการต่อต้านรัฐบาลจีนโดยชาวอุยกูร์ และแน่นอน
การห้ามดังกล่าวย่อมหนีไม่พ้นความตึงเครียดที่จะตามมาในที่สุด
การประท้วงตามท้องถนนเกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1990 และอีก
ครั้งก่อนหน้าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกใน ค.ศ. 2008 แต่ได้ขยายใหญ่
ขึ้นใน ค.ศ. 2009 ซึ่งเกิดจลาจลทางชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ในอุรุมชี
(Urumqi) เมืองหลวงของเขตปกครองตนเองแห่งนี้ ประชาชนราว
200 คน ถูกสังหาร ระหว่างที่มีความวุ่นวาย ทางการจีนรายงานว่า
ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น
ทางการจีนใช้มาตรการด้านความมัน่ คงมากขึน้ ชาวอุยกูรถ์ กู คุม-
ขั ง ในฐานะผู้ ต้ อ งสงสั ย แต่ ค วามรุ น แรงได้ ข ยายตั ว มากยิ่ ง ขึ้ น
เมื่อจีนใช้มาตรการควบคุมชาวอุยกูร์อย่างเข้มข้น
ค.ศ. 2012 2013 และ 2014 เป็นปีแห่งความรุนแรง การลุกฮือ
และการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกับชาวอุยกูร์ รวมทั้ง

3 อุยกูร์
การจี้เครื่องบินจากเมืองเหอเถียน (Hotan) ไปยังอุรุมชีโดยชาว
อุยกูร์ แต่ไม่ประสบความสำ�เร็จ การไล่ยิงผู้ประท้วงที่มีมีดเป็นอาวุธ
และพยายามเข้าทำ�ลายอาคารของรัฐบาล การใช้ระเบิดและมีด ตลอดจน
การล้อมปราบโดยฝ่ายของรัฐบาลมีมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้เสีย-
ชีวิตเป็นจำ�นวนมาก
อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทั้งหมดของความรุนแรงเป็นเรื่องยาก
ที่จะยืนยันได้ เนื่องจากนักข่าวต่างประเทศในพื้นที่ถูกควบคุม มีอยู่
บ้างที่ความรุนแรงได้ขยายตัวออกไปนอกซินเจียง อย่างเช่น มีกลุ่มคน
ที่ใช้มีดไล่แทงผู้คนที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ทำ�ให้มีผู้เสียชีวิตไป
29 คน ทัง้ นีผ้ แู้ ยกดินแดนชาวซินเจียงถูกกล่าวหาว่าอยูเ่ บือ้ งหลัง หรือกรณี
การระเบิดรถยนต์ทา่ มกลางฝูงชนทีจ่ ตั รุ สั เทียนอันเหมิน (Tiananmen
Squre) ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 เป็นต้น
รัฐบาลจีนได้ประกาศการรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายระยะยาว
และทำ�ให้ฝ่ายความมั่นคงมีความเข้มแข็งขึ้นและนำ�เอาทหารจำ�นวน
มากเข้ามาอยู่ในภูมิภาค ในขณะเดียวกันทางการจีนได้ใช้มาตรการ
ลงโทษหมู่และจับกุมกลุ่มผู้ที่ทางการเรียกว่ากลุ่มก่อการร้าย ฝ่ายการ
ข่ า วของจี นได้ ร ายงานรายชื่ อ ผู้ ก่ อ การร้ า ยเป็ น จำ � นวนมาก และใน
บางกรณีก็มีการลงโทษด้วยการจำ�คุกตลอดชีวิต
นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงชาวอุยกูร์คือ อิลฮาม โตอ์ตี (Ilham
Tohti) ถูกคุมขัง และถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แบ่งแยกดินแดนในเดือน
กันยายน ค.ศ. 2014 ข้อหาดังกล่าวได้รับการวิพากษ์อย่างกว้างขวาง
ในระดับระหว่างประเทศ

ขบวนการเตอร์กิสอิสลามตะวันออก
ขบวนการที่ ท างการจี น มั ก จะอ้ า งเสมอว่ า อยู่ เ บื้ อ งหลั ง ความ
รุนแรงทั้งในและนอกซินเจียงก็คือ ขบวนการเตอร์กิสอิสลามตะวันออก
(East Turkistan Islamic Movement-ETIM) กล่าวกันว่าความ

อุยกูร์ 4
มุ่งหวังของขบวนการ ETIM ก็คือ การสถาปนาเตอร์กิสถานตะวันออก
อิสระในประเทศจีน
ใน ค.ศ. 2006 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวถึง
ขบวนการ ETIM ว่ า เป็ น กลุ่ ม นั ก รบส่ ว นใหญ่ ข องชาติ พั น ธุ์ อุ ย กู ร์
อย่างไรก็ตาม กิจการต่างๆ ของขบวนการ ETIM นั้นยังคงมีความ
คลุมเครือ ขบวนการ ETIM ถูกตั้งคำ�ถามว่ามีความสามารถในการก่อ
ความรุนแรงหรือการก่อการร้ายได้จริงหรือไม่ ? ทั้งนี้ขบวนการ ETIM
ไม่เคยออกมาอ้างว่าอยู่ภายใต้การโจมตีใดๆ ในจีนเลย
เจ้าหน้าที่ของจีนกล่าวว่า พรรคอิสลามเตอร์กิสถาน (Turkis-
tan Islamic Party) ซึ่ ง มี ก ารทำ � งานไปในทำ � นองเดี ย วกั น กั บ
ขบวนการ ETIM ได้นำ�ภาพจากวิดีโอที่บันทึกการสนับสนุนการโจมตี
ที่เมืองคุนหมิง (Kunming) ออกมาแสดงให้เห็น
ปัจจุบันได้เป็นที่ปรากฏโดยทั่วไปว่า ความรุนแรงที่เกี่ยวข้อง
กับซินเจียงได้ขยายตัวออกไป คำ�ถามที่ได้รับความสนใจก็คือ ใครกัน
แน่ที่กำ�ลังขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่ ซึ่งดูเหมือนว่าจะต้องมีการตรวจสอบ
กันอย่างมาก

ความเหมือนและความต่างของชาวมุสลิมกลุ่มน้อยสองกลุ่มในจีน
มีกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมกลุ่มใหญ่อยู่สองกลุ่มในจีนคือ กลุ่มหุย
(Hui) และอุยกูร์ แม้ว่าทั้งสองชาติพันธุ์นี้จะมีความเชื่อเหมือนกัน
แต่สถานะของสองกลุ่มนี้ในสังคมจีนจะมีความแตกต่างกันและได้รับ
ความเคารพต่างกัน
ชาวอุยกูร์ ซึ่งพูดด้วยภาษาเตอร์กิก (Turkic) ที่เขียนด้วยตัว
หนังสืออาหรับ จะมีความแตกต่างจากชาวจีนฮั่น เช่นเดียวกับที่ชาว
อเมริกันพื้นเมืองมีความแตกต่างไปจากชาวอเมริกันคอเคเซีย ดังได้
กล่าวมาแล้วประชากรชาวอุยกูร์ราว 8 ล้านคน ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขต
ปกครองอิสระซินเจียง มณฑลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ติดอยู่กับชายแดน

5 อุยกูร์
ของหลายประเทศของเอเชียกลาง ซึ่งอยู่ทางชายแดนตะวันตกเฉียง-
เหนือของจีน
ส่ ว นชาวหุ ย นั้ น คาดกั น ว่ า มี อ ยู่ ร าว 11 ล้ า นคน และอยู่
กระจัดกระจายทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม พวกเขาจะมุ่งไปอยู่ที่เขต
ปกครองอิสระหนิงเซี่ยหุย (Ningxia Hui Autonomous Re-
gion) พวกเขามีลักษณะเด่นอยู่ในประเทศจีน เพราะพวกเขาเป็น
ตัวแทนเดียวอย่างเป็นทางการของกลุ่มของ 65 ชาติพันธุ์ในจีน
สำ � หรั บ พวกเขาแล้ ว ศาสนาจะเป็ น ปั จ จั ย สำ � คั ญในการรวม
ตัวกัน หากดูจากสีผิวและสายเลือด ชาวหุยจะมีความแตกต่างจาก
พี่น้องชาวฮั่นของพวกเขาไม่มากนัก ทั้งนี้ประชากรส่วนใหญ่ของเขา
จะพูดภาษาจีนกลางหรือแมนดาริน (Mandarin) นอกเหนือไปจาก
การละเว้นการบริโภคสุกรและแอลกอฮอล์แล้ว พวกเขามีระบบการ
ควบคุมอาหารเช่นเดียวกับชาวฮั่น
ความแตกต่างอย่างน่าสนใจระหว่างสองกลุ่มชาติพันธุ์นี้ก็คือ
การได้รับความเคารพในสังคม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับ
รัฐบาลจีน ชาวอุยกูร์ไม่เหมือนชาวหุย ทั้งนี้ชาวอุยกูร์ได้รับการเลือก
ปฏิบัติจากรัฐอย่างน่าหวาดหวั่น จนนำ�ไปสู่การห้ามการแสดงออกทาง
ศาสนาและวัฒนธรรม ภายใต้ความพยายามของรัฐบาลที่ใช้ข้ออ้าง
เรืื่องการก่อการร้ายและการต่อต้าน “การแบ่งแยกดินแดน” รัฐบาล
ยังคงนำ�เอาระบบที่แสดงให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติมาใช้ต่อชาวอุยกูร์
และปิดกั้นการแสดงออกทางวัฒนธรรมและศาสนา
หน่วยงานเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนหรือ Human Right
Watch ได้รายงานเกี่ยวกับประเทศจีนว่า “มีตำ�รวจลับอยู่ทุกหนทุก
แห่ง” มี “ประวัติศาสตร์การหายตัว” และ “ฝ่ายตุลาการที่ถูกทำ�ให้
เป็นการเมือง” อันเป็นส่วนประกอบของ “บรรยากาศแห่งความหวาด
กลัวทีเ่ กิดขึน้ ในหมูป่ ระชาชนชาวอุยกูร”์ ส่วนชาวหุยนัน้ ไม่ได้ถกู กล่าวถึง
ในรายงานฉบับเต็ม

อุยกูร์ 6
ช่องว่างของการดูแลที่แตกต่างกันของรัฐบาลมาจากเหตุผลต่อ
ไปนี้

วัฒนธรรม
เช่นเดียวกับชาวฮั่นที่เป็นคนส่วนใหญ่ ชาวอุยกูร์มีความผูกพัน
อย่างแน่นแฟ้นในการปฏิบัติตามวัฒนธรรมของพวกเขา และมีความ
ภาคภูมิใจอย่างลึกซึ้งต่อประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมอันยาวนานของ
พวกตน ชาวอุยกูร์ไม่ปรารถนานักที่จะผสมกลมกลืนกับชาวฮั่น ความ
ลังเลใจของพวกเขาที่จะกลมกลืนเข้ากับชาวฮั่นถูกตอบโต้ด้วยปฏิบัติ-
การต่างๆ เช่น ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกคลั่งเชื้อชาติ เพื่ออ้างถึงความไม่
ภักดีต่อผู้ปกครองชาวฮั่น ยิ่งไปกว่านั้นชาวฮั่นยังมีแนวโน้มที่จะดูถูก
ชาวอุ ย กู ร์ ด้ ว ยการมองว่ า ชาวอุ ย กู ร์ “เป็ น คนป่ า เถื่ อ น” ในสมั ย ที่
ปกครองโดยราชวงศ์และมีวัฒนธรรมที่อ่อนด้อยกว่าวัฒนธรรมอื่น ซึ่ง
การกระทำ�ดังกล่าวสร้างความสะเทือนใจและความอึดอัดใจให้กับชาว
อุยกูร์เป็นอย่างยิ่ง
ในเวลาเดียวกันชาวหุยได้รับการพิจารณาว่าเป็นชนกลุ่มน้อย
ทางศาสนาที่เป็นแบบอย่างของรัฐบาลจีน พวกเขาส่วนใหญ่สามารถ
ผสมกลมกลืนกับสังคมของชาวฮั่นได้ โดยประยุกต์การปฏิบัติศาสนกิจ
ให้เข้ากันได้กับอิทธิพลของขงจื๊อ (Confucian) ที่แผ่ขยายออกไป
ไกล การที่มัสยิดของชาวหุยกลมกลืนไปกับสถาปัตยกรรมของชาวจีน
คือประจักษ์พยานที่ชาวหุยได้ถูกผสมกลมกลืนกับชาวฮั่นอย่างชัดเจน
แง่มุมอื่นๆ อันเป็นมิติทางด้านวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อ
สั ง คมของชาวอุ ย กู ร์ ก็ คื อ เรื่ อ งของชาติ พั น ธุ์ ที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ
ตำ�แหน่งทางสังคม การเลือกปฏิบัติจึงนำ�ไปสู่ความสัมพันธ์อุยกูร์-ฮั่น
ที่ไม่ลงรอยกัน ชาวฮั่นจำ�นวนมากรู้สึกอึดอัดต่อชาวอุยกูร์ โดยมีความ
เชื่อว่าพวกเขาเป็นพวกหัวขโมยและหัวรุนแรง และในปัจจุบันเป็นพวก
คลั่งศาสนา ส่วนหนึ่งก็มาจากการไม่สามารถแยกแยะระหว่างชน

7 อุยกูร์
กลุ่มน้อยเชื้อสายเตอร์กิก
ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อไรก็ตามที่เกิดอาชญากรรมซึ่งกระทำ�โดย
ชาวทาจิก คาซัก คีร์กีซ อุสเบ็ก หรือตาตาร์ ชาวฮั่นก็จะบอกว่าความ
ผิดนั้นมาจากชาวอุยกูร์ และไม่ช้าไม่นานอาชญากรรมในจีนที่ไม่ได้เกิด
จากน้ำ�มือของชาวฮั่น ก็จะถูกตราหน้าว่าเป็นฝีมือของชาวอุยกูร์ทั้งสิ้น
ผลของความเชื่อแบบเหมารวมนี้มีประจักษ์พยานอยู่ในเมือง
อุรุมชี ซึ่งมีชาวฮั่นและชาวอุยกูร์อยู่ในจำ�นวนที่ใกล้เคียงกัน เมือง-
หลวงของซินเจียงแห่งนี้เป็นเมืองแห่งการแบ่งแยก ทั้งนี้ชาวจีนเชื้อ-
สายอื่นๆ จะอยู่ทางเหนือที่มีความมั่งคั่ง ส่วนชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่จะ
พัฒนาน้อย ทั้งนี้จะพบว่าชาวฮั่นจะไม่ค่อยเดินทางลงมาทางใต้มากนัก
อย่างไรก็ตาม ชาวหุยจะผสมผสานกับทั้งสองกลุ่มได้อย่างเสรี
การที่พวกเขาพูดแมนดารินได้ดีทำ�ให้เข้าถึงชาวฮั่นได้อย่างลงตัว ใน
ขณะที่การนับถือศาสนาอิสลามของชาวหุย ทำ�ให้พวกเขาเข้ากันได้กับ
ชาวอุยกูร์ ที่น่าสนใจก็คือ ภาษามีบทบาทสำ�คัญในการแบ่งแยกสอง
กลุ่มด้วยเช่นกัน
ชาติพันธุ์ก็มีส่วนสำ�คัญต่อการฉายภาพชาวอุยกูร์ทางสื่อของรัฐ
นับตั้งแต่มีสงครามก่อการร้ายระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็รีบ
ให้ฉายาของอาชญากรรมที่กระทำ�โดยชาวอุยกูร์ว่าเป็นการกก่อการร้าย
ภาพของชาวอุยกูร์ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าเป็นกลุ่มผู้คลั่งศาสนาเข้าไป
ฝังอยู่ในการรับรู้ของสาธารณชน และเมื่อเกิดการก่อการร้ายขึ้นจริง
หรือเมื่อการก่อการร้ายอาจมีมากขึ้น ก็เท่ากับว่าความเชื่อดังกล่าวเป็น
ความเชื่อที่ถูกต้องของสาธารณชนไปในที่สุด ในทางกลับกันชาวหุยไม่มี
ข้อกล่าวหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจากสื่อที่มีอคติ
อย่างไรก็ตาม สำ�หรับชาวอุยกูร์สายกลาง ซึ่งรักสันติภาพและ
มีอยู่จำ�นวนมากนั้น การตีตราพวกเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายได้กลายเป็น
ปัญหาสำ�หรับพวกเขาอย่างมาก
เหตุผลสำ�คัญอีกเหตุผลหนึ่งสำ�หรับการมีช่องว่างในการดูแล

อุยกูร์ 8
ชาวอุยกูร์ก็คือ เรื่องของดินแดน ในช่วงศตวรรษที่ 20 ชาวอุยกูร์ก็ได้
ประสบการณ์มาจากสองช่วงเวลาของการได้รับเอกราช โดยทั่วไปเชื่อ
กันว่าซินเจียงถูกยึดครองอย่างอยุติธรรมจากจีน คนจำ�นวนมากเชื่อกัน
ว่า ดินแดนที่ชาวอุยกูร์ชาตินิยมเรียกว่าเตอร์กิสถานตะวันออก ซึ่งมิได้
เป็นชื่อในภาษาแมนดารินหรือภาษาจีนกลาง ควรจะเป็นชาติอิสระ
ปกครองโดยชาติพันธุ์อุยกูร์ เหมือนรัฐที่ใช้คำ�ว่าสถาน (Stan) อื่นๆ
ของเอเชียกลาง
ในขณะที่ชาวหุยเกือบจะไม่เคยถูกท้าทายในเรื่องดินแดนของ
พวกเขาเลย ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ด้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า พวกเขาไม่ ไ ด้ ส นใจ
การเมืองมากนัก และก็ไม่มีประสบการณ์ในการปกครองด้วยเช่นกัน
ชาวหุยจะอยู่ห่างจากการเมืองจีนตลอดศตวรรษ ส่วนใหญ่ในฐานะ
ชนกลุ่มน้อยที่อยู่กับชนกลุ่มใหญ่ชาวฮั่น สิ่งที่พวกเขามีความเป็นห่วง
มากที่สุดนั้น อยู่ที่ว่าพวกเขาจะได้ปฏิบัติศาสนกิจอย่างเสรีหรือไม่
แม้ว่าจะมีประสบการณ์ในการถูกเลือกปฏิบัติและความยาก
ลำ�บากมาตลอดศตวรรษภายใต้ชนชั้นผู้ปกครอง และได้ต่อสู้ภายใต้
ผู้นำ�ชาวจีนมาหลายคน แต่ประสบการณ์เหล่านี้ก็ไม่ได้นำ�ไปสู่ความ
ปรารถนาที่จะตั้งรัฐเอกราช ดังนั้น จีนในปัจจุบันจึงให้ความสำ�คัญใน
เรื่องของเขตแดนและเอกภาพทางชาติพันธุ์ และมิได้สร้างอุปสรรค
ใดๆ ให้กับชาวหุย ซึ่งไม่เคยออกมาท้าทายรัฐในเรื่องใดๆ เลย นโยบาย
เช่นนี้ยังคงดำ�เนินสืบมา แม้ว่าชาวหุยจะเข้าไปสู่ความเคร่งครัดใน
ศาสนามากขึ้นก็ตาม
ใน ค.ศ. 2006 ผู้นำ�อิสลามซึ่งยึดแนวรหัสยะนัย (ซูฟี) ใน
เมืองหนิงเซี่ย (Ningxia) ได้สร้างสิ่งที่หนังสือพิมพ์ South China
Morning Post เรียกว่า “รัฐศาสนาที่แท้จริง” โดยมีคนหนึ่งล้านห้า
แสนคนเป็นศิษยานุศิษย์ มีมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาที่เรียกว่า
มัดเราะซะฮ์ (madrasas) เป็นเครือข่าย
นอกจากนี้ ผู้นำ�ศาสนาคนดังกล่าวยังพูดถึงสมัยที่เขาได้เห็น

9 อุยกูร์
และได้ฟังอุสามะฮ์ บินลาดินพูด และได้พบกับนักการศาสนาสุดโต่ง
อีกหลายคนในขณะที่เขาศึกษาอยู่ในปากีสถาน แต่เนื่องจากตัวเขามี
ความภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเหนียวแน่น เขาจึงไม่ได้สร้าง
ความกังวลให้เจ้าหน้าที่จีนแต่อย่างใด
ในขณะที่ชาวอุยกูร์สายกลางที่สุดในซินเจียงก็ยังอยู่ภายใต้ข้อ
กำ�หนดที่เข้มงวด ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความแตกต่างใน
การดูแลชนกลุ่มน้อยทางศาสนาสองกลุ่มนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องราวทาง
ศาสนา หากเป็นเรื่องทางการเมืองเสียมากกว่า
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองนโยบายของจีนที่มีต่อชาวอุยกูร์ว่า
เป็นไปในทางเดียวกัน นั่นคือการสร้างกระแส “อิสลาโมโฟเบีย”
(Islamophobia) หรือโรคหวาดกลัวอิสลามและความเป็นปรปักษ์กับ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยทั่วไป รวมทั้งความพยายามอย่างมากของรัฐบาลที่จะ
ลดความเชื่อทางศาสนาที่ซินเจียง ทำ�ให้ได้เห็นการลดความสำ�คัญของ
ศาสนาอย่างชัดเจน
เมื่ อ พิ จ ารณาการควบคุ ม ของรั ฐ บาลที่ มี ต่ อ ชาวหุ ย มุ ส ลิ ม ใน
ซินเจียงที่มีเสรีภาพทางศาสนาและการเมือง ที่แตกต่างกับที่ชาวอุยกูร์
ได้รับ เราก็จะได้รับการอธิบายที่ต่างกัน สิ่งที่ประเทศจีนกดขี่ชาว
อุยกูร์นั้นมิใช่การไม่ชอบอิสลามแต่ประการใด แต่เป็นข้อบกพร่องที่มี
ต่อการดูแลชาวอุยกูร์นั้นเอง

อุยกูร์มุสลิม
การลุกฮือของกลุ่มอุยกูร์ผู้ติดอาวุธในเมืองบาเร็นแสดงให้เห็น
ถึงความรุนแรงที่มากขึ้นในซินเจียง ทั้งนี้ เหตุผลสำ�คัญ 2 ประการ
ของการลุกฮือ กล่าวคือ ประการแรกเป็นเรื่องของการแยกชาติพันธุ์
ส่วนประการที่สองเป็นโวหารทางศาสนา ชาวอุยกูร์ที่อยู่ในพื้นที่เป็น
คนเชื้อสายตุรกีอาศัยอยู่ในซินเจียง และส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม การ
ผสมผสานกันทางชาติพันธุ์และศาสนาจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการ

อุยกูร์ 10
ทางศาสนา อุดมการณท์ างการเมือง อาวุธ และประชาชนในเวลาเดียวกัน
วัตถุประสงค์ของชาวอุยกูร์ที่ลุกฮือก่อเหตุความรุนแรง ได้แก่
ประการแรก พวกเขาต้องการรัฐอุยกูร์ที่แยกออกจากจีน ไม่ว่าจะเรียก
มันว่าอุยกูริสถานหรือเตอร์กิสตะวันออก ซึ่งมีอาณาเขตกว้างใหญ่ใน
จีน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ชาวอุยกูร์กลุ่มหนึ่งต้องการแยกรัฐออกไป
นั้น ชาวอุยกูร์บางกลุ่มกลับต้องการดำ�รงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเอา
ไว้ภายใต้ความสัมพันธ์กับจีนในเขตปกครองอิสระ ในขณะที่อุยกูร์บาง
ส่วนก็กลมกลืนตนเองเข้ากับจีนได้ ด้วยเหตุนี้ความมุ่งหวังของชาว
อุยกูร์จึงมิได้เป็นกระแสเดียวกัน
ทั้งนี้ ความรุนแรงในซินเจียงจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และกลุ่มที่
ออกมารับผิดชอบนั้นบ่อยครั้งจะเป็นกลุ่มที่ปรากฏขึ้นมาและหายไป
ความทุกข์ยากของชาวอุยกูร์ที่มีต่อจีนนั้นมีรากฐานมายาวนาน ปรากฏ-
การณ์ใหญ่ๆ ที่เข้ามาร่วมอยู่ในการขับเคลื่อนของชาวอุยกูร์ก็คือ การ
สนับสนุนของตุรกีอย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งเงินทุนของชาวมุสลิมที่
ให้การฝึกฝนมาจากข้างนอก
การเข้ามาจัดการกับชาวอุยกูร์โดยรัฐบาลกลางของจีนในซิน-
เจียงสามารถหยุดความรุนแรงได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ได้ก่อความ
รู้สึกไม่ไว้วางใจและความรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมในหมู่ชาวอุยกูร์
ในระยะยาว
ใน ค.ศ. 1996 ตำ�รวจจีนได้ใช้มาตรการตอบโต้อย่างรุนแรง
เพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมและการคุกคาม ทั้งนี้ปัญหาที่ตำ�รวจจีนเข้ามา
แก้ไขก็คือ การแบ่งแยกดินแดน ความสุดโต่ง และการก่อการร้าย

แก่นแกนของปัญหา
เดือนมกราคม ค.ศ. 2007 กองกำ�ลังของจีนบุกค่ายฝึกในซิน-
เจียง และสังหารชาวอุยกูร์ผู้ต้องสงสัยไป 18 คน โดยมีตำ�รวจเสียชีวิต
1 คน มีรายงานว่าผู้ต้องสงสัยอีก 17 คนถูกจับกุม มีการยึดระเบิด การ

11 อุยกูร์
จู่โจมดังกล่าวทางการจีนกล่าวว่าได้พบหลักฐานใหม่ที่มีความเชื่อมโยง
กับกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศ
การเข้าจู่โจมจากเจ้าหน้าที่ของจีนในครั้งนั้นถือเป็นการปะทะ
ครั้งล่าสุดระหว่างชาวมุสลิมอุยกูร์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของ
จีน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการท้าทายอย่างจำ�กัดต่อความมั่นคงของจีนบน
พื้นแผ่นดินใหญ่
ในทัศนะของจีน ความไม่มั่นคงในซินเจียงอาจจะนำ�เอาความ
ไม่มั่นคงมาสู่ทิเบต มองโกเลียใน และไต้หวันได้ในที่สุด โดยที่มาของ
ปัญหาและความขัดแย้งที่มีอยู่ทั่วเอเชียนี้มีความสลับซับซ้อน เป็นส่วน
ผสมของประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และศาสนา ซึ่งอาจนำ�ไปสู่ความ
รุนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีก นอกเหนือไปจากความยากจน การว่างงาน
ความแตกต่างทางสังคม และความไร้โอกาสทางการเมือง
รัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ผ่านคลื่นลมหลาย
ระลอกในการดู แ ลเรื่ อ งของศาสนาและชาติ พั น ธุ์ ใ นดิ น แดนของตน
ในทางประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อย ซึ่งนับถือศาสนา
ต่างๆ นอกเหนือไปจากศาสนาพุทธของชาวจีนแล้ว ความไม่สงบทาง
สังคมในประเทศจีนก็มีตัวอย่างให้เห็น เช่น กบฏไทปิง (Taiping
Rebellion) ในศตวรรษที่ 19 รวมทั้งชนกลุ่มย่อย เค่อเจี้ย (Hakka)
และชนกลุ่มน้อยจ้วง (Zhuang) และสงครามชนกลุ่มน้อยหุยล้วนมี
ที่มาจากขบวนการทางศาสนาทั้งสิ้น
ในทางชาติพันธุ์ ชาวหุยเป็นชาวจีน แต่ในทางศาสนาแล้วพวก
เขานับถือศาสนาอิสลาม เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง
สำ�หรับชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ทีเ่ ป็นชนกลุม่ น้อยและชาวมุสลิมส่วนใหญ่
ในซินเจียงนั้น พวกเขาต้องเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่าความเป็น “ดินแดน
ใหม่” ในประเทศจีน ส่วนใหญ่จะถูกพิชิตและผนวกเข้ากับรัฐจีน
มาตั้งแต่ทศวรรษ 1750
ซินเจียงได้กลายมาเป็นมณฑลใน ค.ศ. 1884 โดยมีชายแดน

อุยกูร์ 12
ทางตะวันตกติดกับรัสเซีย นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอย่างโจนาธาน
สเป็ น ซ์ (Jonathan D. Spence) มี ค วามเห็ น ว่ า ในช่ ว งต้ น
ดินแดนซินเจียงมิได้ถูกทำ�ให้เป็นอาณานิคมหรือที่อยู่อาศัยของผู้ตั้ง
รกราก แต่ได้คงความเป็นเขตแดนทางยุทธศาสตร์เอาไว้ โดยมีชาว
แมนจู (Manchu) อยู่ถึง 20,000 คน และมีที่มั่นของจีนอยู่ที่นั้น
โดยในแต่ละปีจีนจะใช้เงินจำ�นวนมากเพื่อรักษาที่มั่นดังกล่าวเอาไว้
ชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะมีผู้นำ�ศาสนาของพวกเขาเอง ซึ่งได้รับ
เงินเดือนและตำ�แหน่งจากราชวงศ์ชิงของจีน หลังการล่มสลายของ
ราชวงศ์ชิงอันเป็นราชวงศ์สุดท้าย จีนก็ค่อยๆ แลเห็นประเทศของตน
ตกไปอยู่ภายใต้การยึดครองและภายใต้ขุนศึกต่างๆ ของญี่ปุ่น รวมทั้ง
ซินเจียง ซึ่งปกครองโดยผู้ว่าราชการที่เป็นทหารอิสระ ดังที่พวกเขาได้
ขอความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตในตอนต้นและ
จากฝ่ายชาตินิยมในตอนหลัง ก่อนที่ในที่สุดจะยอมมอบดินแดนให้กับ
ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในซินเจียงในเดือนกันยายน ค.ศ. 1949
ในช่วงต้น แม้จะได้มีการประกาศให้สาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นรัฐทีม่ คี วามหลากหลายเชือ้ ชาติใน ค.ศ. 1949 ก็ตาม กระนัน้ นโยบาย
ของพรรคต่อต้านฝ่ายขวา (Anti-Rightist) ใน ค.ศ. 1957 ก็ปฏิเสธ
ลัทธิชาตินิยมท้องถิ่นในหมู่ชนกลุ่มน้อยต่างๆ และปิดกั้นศาสนา หนึ่ง
ทศวรรษต่อมา การปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) อัน
เข้มข้นในช่วง ค.ศ. 1966-1967 ได้นำ�เอาความอยุติธรรมมาสู่ชนกลุ่ม-
น้อยอย่างมาก
ศาสนาถู ก สั่ ง ห้ า มเป็ น การเฉพาะ เช่ น เดี ย วกั บ การใช้ ภ าษา
ทางชาติพันธุ์ อาหาร และการแต่งกาย ทางวัฒนธรรม ชาวอุยกูร์ใน
ซินเจียงก็เช่นเดียวกับมุสลิมอื่นๆ ในจีนที่ได้พบว่าตำ�ราทางศาสนา
และมัสยิดทั้งหลายของพวกเขาได้ถูกทำ�ลายลงไป ผู้นำ�ทางศาสนาถูก
ประหาร บุคคลที่ยึดถือในศาสนาถูกลงโทษ
พร้อมๆ ไปกับนโยบายที่เปิดกว้างมากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ

13 อุยกูร์
1970 จนถึงทศวรรษ 1990 ข้อจำ�กัดที่มีต่อชนกลุ่มน้อยและศาสนาได้
เริ่มผ่อนคลายลง การเปิดกว้างดังกล่าวเป็นผลให้ชนกลุ่มน้อยจำ�นวน
มากได้ออกมากล่าวถึงการเลือกปฏิบัติทางเศรษฐกิจ ศาสนา และ
การปฏิบัติทางการเมืองที่พวกเขาได้รับ
รัฐบาลจีนได้เริ่มเข้าปราบปรามที่ซินเจียงใน ค.ศ. 1996 ไม่นาน
หลังจากมีการพบปะกันของกลุ่มเซี่ยงไฮ้ 5 ซึ่งต่อมาอีกไม่นานกลายเป็น
องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Orga-
nization-SCO) ซึ่งมีรัสเซีย จีน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน อุซเบ-
กิสถาน และทาจิกิสถานเป็นสมาชิก
ในการใช้ตำ�รวจและทหารปราบปรามนั้น ทางการจีนเชื่อว่าการ
พัฒนาทางเศรษฐกิจจะสามารถหยุดยั้งการเรียกร้องเอกราชและแก้
ปัญหาของชาวซินเจียงได้ ในทางเศรษฐกิจพบว่าซินเจียงมีเศรษฐกิจ
ดีกว่าเมื่อหนึ่งทศวรรษก่อน แม้ว่ายังตามหลังดินแดนอุตสาหกรรม
ที่อยู่ตามชายฝั่งอยู่ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาดังกล่าวแม้จะมีส่วนต่อการส่งเสริม
เศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการนำ�จีนเข้าสู่ความเสี่ยงในซินเจียงด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น ในแผนพัฒนาของจีน จีนต้องเชื่อมต่อซินเจียงกับเอเชีย-
กลางทางถนน รถไฟ และท่อขนส่งผ่านคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และ
ทาจิกิสถาน แต่การเปิดกว้างดังกล่าวก็เท่ากับเปิดให้ซินเจียงได้รับการ
ฝึกฝนจากนักรบอิสลาม กลุ่มติดอาวุธ และการค้ายาเสพติด ที่มาจาก
ดินแดนเหล่านี้และจากที่อื่นๆ ในที่สุด

การตอบสนองเชิงนโยบายของรัฐ
นโยบายของจีนมีเหตุผลอย่างเป็นทางการ แต่มีผลน้อยใน
ภาคปฏิบัติ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1999 ได้มีการวางนโยบายว่าด้วย
ชนกลุ่มน้อยแห่งชาติและการปฏิบัติ โดยสำ�นักสภาแห่งรัฐ นโยบายนี้
กล่าวถึงนโยบายที่มีความยุติธรรมและมีความเอื้ออาทรต่อชนกลุ่มน้อย

อุยกูร์ 14
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่มีอยู่ยังคงเป็นเรื่องสถานการณ์ของชนกลุ่มน้อย
ในชีวิตจริงที่ชนกลุ่มน้อยยังคงถูกผูกโยงอยู่กับเรื่องของเชื้อชาติและ
เผ่าพันธุ์
การเปิดกว้างต่อชนกลุ่มน้อยเสื่อมคลายลงไปในซินเจียงหลัง
เกิดเหตุการณเ์ มือ่ วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 (9/11) เมือ่ จีนมีความรูส้ กึ
ว่า ถึงเวลาที่จะได้รับความเห็นชอบ ทั้งจากนานาชาติและภายในชาติ
ทีจ่ ะปราบปรามผูแ้ บ่งแยกดินแดนในซินเจียง และเรือ่ งภายในประเทศ
ก็เป็นเรื่องด่วนอย่างมากเช่นกันในอันที่จะป้องกันดินแดนของตนจาก
ความรุนแรงประเภทต่างๆ ที่ก้าวเข้ามาจากชายแดน ทั้งอัฟกานิสถาน
ปากีสถาน รวมไปจนถึงคีร์กีซสถาน และคาซัคสถาน
นโยบายต่างๆ ของรัฐบาลกลางจีนก็ส่งผลต่อนโยบายในปัจจุบัน
ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 เมื่อมีการ
ประชุมสภาจีนอิสลามแห่งชาติ เจีย ชิ่งหลิน (Jia Qinglin) ประธาน
กรรมาธิการสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของประชาชนชาวจีนได้สนับสนุน
ผู้นำ�อิสลามในจีน ให้มีบทบาทที่ก้าวหน้าในการสร้าง “สังคมแห่งความ
ปรองดอง” ขึ้น
สารดังกล่าวสะท้อนถึงความนึกคิดของรัฐบาลจีน ซึ่งเชื่อมโยง
ชาวมุสลิมเข้าด้วยกัน ซึ่งจำ�นวนมากของพวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อยใน
ประเทศจีนที่ไม่มีความสงบในสังคม
เสี่ยวเหวิน (Ye Xiaowen) ผู้อำ�นวยการการบริหารของรัฐ
สำ�หรับกิจการศาสนามีความเห็นว่า ตามที่ชาวมุสลิมจีนมีความก้าวหน้า
ไปพร้อมกับชาตินั้น ได้มีความเข้าใจผิดที่ได้นำ�ไปสู่การทำ�ลายภาพ-
ลักษณ์ของชาวมุสลิม ทั้งนี้ อิสลามเป็นศาสนาของคนรักสันติ ชาวจีน
มุสลิมรักสันติ ปฏิเสธความวุ่นวายและการแบ่งแยกดินแดน สนับสนุน
ความใจกว้างและความปรองดอง และเห็นความสำ�คัญของเอกภาพ
และความมั่นคง
ประเทศจี น มุ่ ง ที่ จ ะอ้ า งถึ ง ความเกี่ ย วข้ อ งนี้ ด้ ว ยการกล่ า ว

15 อุยกูร์
สโลแกนที่บ่งบอกถึงสามลักษณะคือ ลัทธิการแบ่งแยกดินแดน ลัทธิ
การใช้ความรุนแรง และลัทธิการก่อการร้าย ซึ่งได้แสดงให้เห็นความ
แตกต่างของสามแนวคิดดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา
(Hu Jintao) ได้กล่าวเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 ว่า
“เราต้ อ งต่ อ สู้ กั บ สามความเลวร้ า ยที่ ม าจากการแบ่ ง แยก
ดินแดน ความรุนแรง และการก่อการร้าย” ในคำ�กล่าวในทีป่ ระชุมองค์การ
ความร่วมมือเซีย่ งไฮ้ เขาได้กล่าวเพิม่ เติมว่า การก่อการร้ายในทุกรูปแบบ
จะต้องถูกปราบปราม จะต้องมีการกำ�หนดออกมาในการต่อสู้ว่าอะไร
เป็นการคุกคามหลักต่อสันติภาพของโลกและการพัฒนา และใช้ความ
พยายามที่ จ ะจั ด การกั บ ปั ญ หาการเผชิ ญ หน้ าในภู มิ ภ าคและความ
ยากจน ซึ่งถือว่าเป็นรากเหง้าของการก่อการร้าย ประธานาธิบดีจีน
กล่าวต่อไปว่า “การก่อการร้ายมิได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือ
ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง”
เป็นที่ชัดเจนว่าผู้นำ�จีนมีความหวาดกลัวว่าผู้แบ่งแยกดินแดน
ซิ น เจี ย งจะยั ง คงหาทางสนั บ สนุ น จากประเทศมุ ส ลิ ม ต่ า งๆ รวมทั้ ง
ขบวนการแยกดินแดนอื่นๆ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับชาวมุสลิมที่ต้องการแยก
ดินแดนก็ได้
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2001 ทหารจีนได้ทำ�การซ้อมใหญ่
ในซินเจียงด้วยการสวนสนามทางทหารให้เห็นผ่านใจกลางของเมือง
คาฉือ
การฝึกซ้อมที่ซินเจียงที่ขยายตัวออกไปนานนับเดือนนั้น มี
รายงานว่ามีทหารเข้าไปข้องเกี่ยวด้วยถึง 50,000 นาย อันเป็นหนึ่งใน
กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดที่มีขึ้นโดยชาวจีนในภูมิภาค ทั้งนี้จะเห็นยานพาหนะ
ติดอาวุธนับร้อยคัน รวมทั้งรถถังและรถบรรทุกที่เต็มไปด้วยทหารและ
คุ้มกันโดยเครื่องบิน
การสวนสนามเปิดตัวโดยนายพลฟู กวนยู (Fu Quanyou)
ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานทั่วไปของกองทัพปลดปล่อยประชาชน (Peo-

อุยกูร์ 16
ple’s Liberation Army-PLA) และสมาชิกของคณะกรรมการ
กลางทางทหาร มีนายพลและเจ้าหน้าที่อาวุโสจำ�นวนหนึ่ง ซึ่งมีฐานอยู่
ที่เขตทหารเพื่อปกป้องซินเจียง นั่งชมอยู่ที่เวที
อย่างไรก็ตาม แรงผลักดันทางเศรษฐกิจอาจเป็นเครื่องมือที่
ใหญ่ที่สุดในนโยบายของรัฐบาลกลางที่มีต่อชาวซินเจียงและชาวอุยกูร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการพัฒนาทางด้านตะวันตก
สำ�หรับดินแดนทางตะวันตกแล้วพบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของ
ดิ น แดนที่ ข ยายออกไปนั้ น เป็ น ดิ น แดนที่ เ ป็ น ที่ สู ง และทะเลทราย
ประกอบไปด้วย 6 จังหวัด และยังมีดินแดนที่เป็นเขตปกครองอิสระ
รวมทั้งซินเจียง ทั้งนี้นโยบายพัฒนาทางตะวันตกถือเป็นยุทธศาสตร์ทาง
เศรษฐกิจที่มีขึ้นเพื่อที่จะลดความยากจนลง จากนั้นก็เป็นเรื่องความ
จำ�เป็นเร่งด่วนทางสังคมของบรรดาผู้นำ�จีน
ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ผู้ปกครองในเวลานั้นคือ เติ้งเสี่ยวผิง
(Deng Xiaoping) มีนโยบายการพัฒนาดินแดนทางชายฝัง่ ตะวันออก
ขึ้นมาเป็นลำ�ดับแรก เนื่องจากมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าทางตะ-
วันตก และประการที่สอง ก็เพื่อเพิ่มการพัฒนาดินแดนทางตะวันตก
หลังจากการพัฒนาทางตะวันออกไประยะหนึ่งแล้ว
ในทศวรรษต่อมา ช่องว่างความยากจนและช่องว่างระหว่าง
ตะวันออกกับตะวันตกก็ได้ขยายตัวออกไป นำ�ไปสู่การสร้างกลุ่มปักกิ่ง
ขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1999 อันเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบการพัฒนา
ดินแดนทางตะวันตก ประกอบไปด้วย นายกรัฐมนตรีจูหรงจี (Zhu
Rongji) และเจ้าหน้าที่ในระดับรัฐมนตรี 17 คน
ความพยายามที่จะใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อเข้ามาแก้ไข
การแยกตัวทางชาติพันธุ์ในซินเจียงแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลจีนเชื่อ
มาโดยตลอดว่า ชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่โดยพื้นฐานแล้วต้องการชีวิตที่ดีทาง
เศรษฐกิจ เพื่อตัวของพวกเขาเองและลูกหลาน
รัฐบาลจีนภายใต้ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา (Hu Jintao) และ

17 อุยกูร์
นายกรัฐมนตรีเหวินเจียเป่า (Wen Jiabao) ได้รับรู้ว่า การพัฒนาใน
ดินแดนทางตะวันตกอย่างซินเจียงมีความหมายไม่เฉพาะต่อความเจริญ
รุ่งเรื อ งที่ มี อ ยู่ ต่อไปทั้งหมดเท่า นั้น แต่ยัง หมายถึงความมั่นคงทาง
การเมืองอีกด้วย รวมทั้งความเป็นไปได้ของกระแสความรุนแรงจาก
กลุ่มที่นิยมความรุนแรง และการเรียกร้องให้มีการแย่งแยกดินแดนด้วย
ใน ค.ศ. 2006 หวังจินเซียง (Wang Jinxiang) รองผูอ้ ำ�นวย-
การคณะกรรมการแห่งชาติและการปฏิรูปได้ยืนยันว่า คณะกรรมการ
แห่งชาติสำ�หรับประชาชนจีนเพื่อการประชุมปรึกษาหารือ (CPPCC)
ว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติและการพัฒนาดินแดนทางตะวันตกของประเทศ
ได้สร้างความก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก
เขากล่าวว่างบประมาณ (125 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ได้นำ�ไป
ใช้ไปในการสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่ด้านตะวันตกของจีน พร้อมไป
กับความเติบโตในทางเศรษฐกิจของภูมิภาค พร้อมๆ ไปกับการพัฒนา
โครงการต่างๆ ที่เป็นสาธารณูปโภค โดยจะมีการสร้างทางหลวงใหม่
ขึ้น 12 แห่งในซินเจียง เพื่อเชื่อมโยงกับรัสเซีย คาซัคสถาน ทาจิกิ-
สถาน และปากีสถาน
ถนนที่ยาวที่สุดมีระยะทาง 1,680 กิโลเมตร จากซินเจียงไป
ยังอุซเบกิสถาน อิหร่าน ตุรกี และไปถึงยุโรปในท้ายที่สุด ซึ่งแล้ว
เสร็จเมื่อ ค.ศ. 2010 ส่วนโครงการสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่กำ�ลังดำ�เนิน
อยู่หรือที่จบไปแล้วใน ค.ศ. 2007 เช่น การส่งน้ำ�จากทางใต้ไปทาง
เหนือ การส่งก๊าซธรรมชาติจากทางตะวันตกไปยังตะวันออก รวมทั้ง
การสร้างเส้นทางรถไฟชิงไห่-ทิเบต (Qinghai-Tibet)
พื้นที่ทางตะวันตก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอย่างซินเจียงนั้น ได้มี
การพัฒนามาอย่างเพียงพอแล้ว เพื่อให้ชนกลุ่มน้อยมีความรุ่งเรือง
เป็ น การสนั บ สนุ น ชนกลุ่ ม น้ อ ยให้ ไ ด้ รั บโอกาสต่ า งๆ ทั้ งโอกาสทาง
เศรษฐกิจและการเมือง
ปัจจัยซับซ้อนทีป่ รากฏให้เห็นพร้อมๆ ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

อุยกูร์ 18
ก็คือ การอพยพไปยังพื้นที่ทางตะวันตกของชาวฮั่น ซึ่งผู้คนในพื้นที่
ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นชาวอุยกูร์ ไม่เพียงแต่จะทำ�ให้พื้นที่ทางตะวัน-
ตกเป็นชาติพันธุ์จีนเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำ�ให้สถานะของ “ชนกลุ่ม
น้อย” อุยกูร์ ตกเป็นคนชั้นสองไปด้วย พวกเขาได้แลเห็นอย่างชัดเจน
ว่างานที่ดีคืองานที่มอบให้กับชาวฮั่น ในขณะที่งานหนักที่เป็นการใช้
แรงงานนั้นจะเป็นของชาวอุยกูร์
ชาติพันธุ์อื่นที่อยู่ในซินเจียงอย่างคาซัค หุย คิรกิส มองโกล
และอื่นๆ จะมีความคิดผสมกันเกี่ยวกับเงินที่มาจากชาวฮั่น แต่ในที่สุด
ผู้คนก็จะอพยพเข้ามาในดินแดนนี้
จากตัวเลขที่คาดการณ์จากทางการจีนพบว่า ชาวมุสลิมนั้นมีอยู่
20 ล้านคน ทั้งนี้ได้มีลักษณะของความเป็นชาติพันธุ์ปรากฏอยู่ ทั้งใน
ภูมิภาคและมณฑล ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโดยปกติจะมีจุดหมายร่วมกัน
เมื่อพวกเขารู้สึกว่ามีประเด็นศาสนาอิสลามเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น
อย่างกรณีที่นักเขียนการ์ตูนชาวเดนมาร์กได้เขียนการ์ตูนล้อเลียนศาสดา
มุฮัมมัด ศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม เป็นต้น
ชาวหุยซึ่งกลมกลืนตนเองเข้ากับสังคมจีนได้เป็นอย่างดี ถือว่า
ชาวอุยกูร์บางคนเป็นผู้แบ่งแยกดินแดนที่ไม่รักชาติ ผู้ทำ�ให้ชาวจีน
มุสลิมอื่นๆ แปดเปื้อน ในขณะที่ ดอน แกลดนี (Don Gladney)
ผู้ เ ชี่ ย วชาญเรื่ อ งชาติ พั น ธุ์ ช นกลุ่ ม น้ อ ยในจี น กล่ า วว่ า ชาวอุ ย กู ร์ ไ ม่
ต้องการได้รับฉายาว่าเป็นชาวมุสลิมสุดโต่ง
อย่างไรก็ตาม ความคิดที่มีอยู่ในท้องถิ่นในการกำ�หนดให้กลุ่ม
ต่างๆ เป็นกลุ่มของชาวมุสลิมสุดโต่งหรือผู้แบ่งแยกดินแดน ก็ได้ส่งผล
ที่เลวร้ายตามมาในที่สุด ทั้งนี้ นโยบายที่มีอยู่ในมณฑลจะรวมทั้งการ
คุกคามด้วยการใช้กำ�ลังตำ�รวจติดอาวุธ ที่ปฏิบัติการในวงกว้างอยู่ใน
ซินเจียงด้วย
ในการประเมิ น นโยบายในเขตซิ น เจี ย งที่ เ กี่ ย วกั บ ชาวอุ ย กู ร์
นั้น จางซูหมิง (Zhang Xuming) เลขาธิการคณะกรรมการพรรค

19 อุยกูร์
คอมมิวนิสต์จีนในเขตปกครองอิสระมีความเห็นว่า ประเด็นสำ�คัญจะ
อยู่ที่การแบ่งแยกดินแดนและการก่อการร้าย
ในขณะที่ อิสมาอีล ติลิวาลดี (Ismail Tiliwaldi) ผู้ว่าการ
เขตปกครองพิเศษซินเจียงอุยกูร์ กล่าวถึงเรื่องนี้ค่อนข้างจะแตกต่าง
ออกไปจากจางซูหมิง กล่าวคือ แม้ว่าในซินเจียงจะมีเหตุระเบิดหรือ
การสังหารเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อน แต่ในระยะที่ผ่านมา สถานการณ์
ความมั่นคงดีขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม ทั้งรัฐบาลกลางและเจ้าหน้าที่ของมณฑลต่างก็
เลือกที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้กลายเป็นเหยื่อของการก่อการร้ายหรือกิจการ
ต่างๆ ของการแบ่งแยกดินแดน กระนั้นเหตุการณ์ต่างๆ ก็เกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง
ตั วอย่ า งเช่น การประท้วงและการจลาจลที่รุนแรงในเดือน
เมษายน ค.ศ. 1990 ในชานเมืองบาเร็น (Baren) การเดินขบวนของ
ชาวอุยกูร์และความวุ่นวายในเมืองต่างๆ รวมทั้งยีนิง โกตาน (Kho-
tan) และอัสกู (Asku) ในตอนกลางทศวรรษ 1990
สิ่งนี้ตามมาด้วยการขานรับของรัฐบาลจีน ด้วยการรณรงค์ให้
มี “การตอบโต้อย่างรุนแรง” ทั้งนี้ การต่อต้านอาชญากรรมทั่วจีนใน
ค.ศ. 1996 ทำ�ให้ชาวอุยกูร์และผู้แบ่งแยกดินแดนในซินเจียงตกเป็น
เหยือ่ สำ�คัญ เมือ่ มีการล้อมปราบการเดินขบวนของชาวอุยกูรอ์ ย่างรุนแรง
ในเมืองอีหนิง (Yining) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 หลังจาก
เหตุการณ์ดังกล่าวจะพบว่า มีความไม่สงบติดตามมาอยู่หลายวัน
การนำ�เอาการรณรงค์ “การตอบโต้อย่างรุนแรง” แห่งชาติมา
ใช้อีกครั้งเพื่อต่อต้านอาชญากรรมในเดือนเมษายน ค.ศ. 2001 นั้นยัง
ไม่เคยได้ปิดฉากลงเลย ใน ค.ศ. 2007 มีเจ้าหน้าที่ตำ�รวจหลายระดับ
ได้เข้ามาลาดตระเวนเป็นประจำ�ในส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวอุยกูร์
ในเมืองอุรุมชีและตามท้องถนน พวกเขาจะมากัน 6 คนโดยใส่เครื่อง-
แบบสีดำ� พร้อมมีกระบองและอาวุธ

อุยกูร์ 20
รายงานอย่างเป็นทางการว่าด้วย “ผู้ก่อการร้ายเตอร์กิสถาน”
ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2002 ได้ระบุรายชื่อของกลุ่มต่างๆ
ซึ่งถูกกล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อความรุนแรงหลายกลุ่มด้วยกัน
ซึ่ ง รวมทั้ ง ขบวนการอิ ส ลามแห่ ง เตอร์ กิ ส ถานตะวั น ออก (ETIM)
องค์การปลดปล่อยเตอร์กิสถานตะวันออก (ETLO) นักปฏิรูปแห่ง
อิสลาม พรรคอิสลามแห่งเตอร์กิสถานตะวันออก พรรคของผู้ต่อต้าน
แห่งเตอร์กิสถานตะวันออก พรรคแห่งพระเจ้าของเตอร์กิสถานตะวัน-
ออก องค์การปลดปล่อยอุยกูร์ นักรบผูป้ ระเสริฐแห่งอิสลาม และคณะ
กรรมการแห่งชาติ แต่ก็มิได้มีการพูดถึงรายละเอียดอย่างเป็นรูปธรรม
ใน ค.ศ. 1997 แนวหน้าปลดปล่อยอุยกูริสถานและแนวหน้าเอกภาพ
การปฏิวัติแห่งชาติของเตอร์กิสถานตะวันออก (UNRF) ได้ร่วมมือ
กันต่อสู้ในซินเจียง
เมื่อจีนเข้าทำ�ลายค่ายของผู้นับถือศาสนาอิสลามในซินเจียงเมื่อ
เดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ผู้ถูกสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายได้ถูกสังหาร
ไป 18 คน และคนอื่นๆ ก็ถูกจับตัวไปอีก 17 คน บายัน โฆษกตำ�รวจ
กล่าวว่าการฝึกฝนการต่อสู้นั้นดำ�เนินการโดย ETM
อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาระหว่างชาวอุยกูร์และรัฐบาลจีน
ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้แบ่งแยกดินแดนเสมอไป ตาม
รายงานของตำ�รวจจีนและวิทยุเอเชียเสรีพบว่า ในเหตุการณ์อื่นๆ ชาว
อุยกูร์นับร้อยคนได้ประท้วงอยู่นอกสำ�นักงานของรัฐบาลในเรื่องที่จะ
ผลักดันพวกเขาให้ออกมาจากพื้นที่ทำ�เกษตรกรรม เพื่อสร้างเขื่อน
ตำ�รวจได้เข้าจับกุมผู้ประท้วงอย่างน้อย 16 คนที่ชานเมืองอีลี่
(Yili County) อันเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งระหว่างกองกำ�ลังเพื่อ
ความมั่นคงและชาวอุยกูร์ใน ค.ศ. 1997
นอกจากนี้ การประท้วงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 ก็ได้เกิด
ขึ้นอีกหลายแห่ง ทั้งนี้ ผู้ประท้วงกล่าวว่าการประท้วงเป็นเรื่องใหญ่
ประชาชนไม่ต้องการย้ายถิ่น เนื่องจากพวกเขาไม่พอใจจำ�นวนเงิน

21 อุยกูร์
ค่าชดเชยเพื่อการตั้งถิ่นฐานใหม่
รายงานจากเอกสารของ US Congressional Research
Service กล่าวว่า มีกลุม่ ติดอาวุธจำ�นวนหนึง่ ปฏิบตั กิ ารอยูใ่ นภูมภิ าค เช่น
แนวหน้าเอกภาพเพื่อการปฏิวัติแห่งชาติของเตอร์กิสถาน องค์การเพื่อ
การปลดปล่อยอุยกูริสถาน หมาป่าแห่งล็อบนอร์ องค์การปลดปล่อย
ซินเจียง มาตุภูมิคนหนุ่มแห่งเตอร์กิสถานตะวันออกและขบวนการ
ปลดปล่อยเตอร์กิสถาน
ปากีสถาน ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของจีน ถือว่าองค์การ
เหล่านี้หลายกลุ่มเป็นผู้ก่อการร้าย หรือเป็นนักต่อสู้เพื่อแบ่งแบ่งแยก
ดินแดน ใน ค.ศ. 2002 เพื่อขานรับการเข้าโจมตีสถานทูตสหรัฐฯ ของ
กลุ่ม ETIM ที่คีร์กีซสถาน เพื่อนบ้านของซินเจียง สหรัฐฯ ได้จัดให้
ETIM เป็นองค์การก่อการร้าย ในเวลานั้น ริชาร์ด อาร์มิเตจ (Rich-
ard L. Armitage) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ประกาศให้ ETIM เข้าไปอยู่ในรายชื่อกลุ่มก่อการร้ายของกระทรวง
การต่างประเทศสหรัฐฯ ด้วยการอายัดทรัพย์สินของกลุ่มนี้ในสหรัฐฯ
โดยสหรัฐฯ มองว่ากลุ่ม ETIM ได้สร้างความรุนแรงต่อพลเรือนที่
ไม่มีอาวุธ
โฆษกของสถานทูตกล่าวหา ETIM ว่าทำ�งานร่วมกับอุสามะฮ์
บินลาดิน จากเครือข่ายอัล-กออิดะฮ์ และวางแผนโจมตีผลประโยชน์
ของสหรัฐฯ นอกประเทศ รวมทั้งสถานทูตสหรัฐฯ ในคีร์กีซสถาน
ผู้นำ�ของ ETIM และผู้ก่อการร้ายที่จีนต้องการตัวมากที่สุดคือ
ฮาซัน มะห์ซูม (Hasan Mahsum) ที่ต่อมาถูกสังหารโดยกองกำ�ลัง
ปากีสถานในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2003 โดยเขาเคยกล่าวว่า
“เราไม่ได้ติดต่อกับองค์กรใดหรือว่า มีความสัมพันธ์กับอัล-
กออิดะฮ์หรือฏอลิบาน (Taliban) เลย เป็นไปได้ว่ามีคนบางคนที่ต่อสู้
ไปตามแนวทางของพวกเขาเอง” สมาชิกกลุ่มแยกดินแดนของ ETIM
ถูกส่งตัวกลับจีนจากคีร์กีซสถานในเดือนเมษายน ค.ศ. 2002 เนื่องจาก

อุยกูร์ 22
ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นผู้วางแผนก่อการร้าย
รัฐบาลคีรก์ ซี สถานรายงานว่า มาเมต ยาซีน (Mamet Yacyn)
และมาเมต ซาดีก (Mamet Sadyk) ซึ่งเป็นสมาชิกของ ETIM
เป็นผู้วางแผนโจมตีสถานทูต ตลาด และสถานที่ที่ผู้คนมารวมตัวกัน
ในเมืองบิชเคก (Bishkek) แห่งคีร์กีซสถาน
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ก็ไม่ได้เพิม่ ชือ่ องค์การอืน่ ๆ ของชาวอุยกูร์
อย่าง ETLO ให้ไปอยู่ในรายชื่อกลุ่มก่อการร้ายแต่อย่างใด
ในการให้สัมภาษณ์วิทยุเอเชียเสรี ผู้นำ� ETLO เมห์เมด อี-
มิน ฮัซเร็ต (Mehmet Emin Hazret) ได้กล่าวไว้ดังนี้
“จุดหมายที่เป็นหลักการของเราก็คือ การได้มาซึ่งเอกราชของ
เตอร์กิสถานตะวันออกด้วยสันติวิธี แต่เพื่อที่จะแสดงให้ศัตรูและมิตร
ของเราได้รู้ถึงความมุ่งมั่นในประเด็นเตอร์กิสถานตะวันออก เรามีความ
คิดว่าการใช้หน่วยงานในรูปแบบทหารนั้นไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้”
ในส่วนที่เกี่ยวกับนักรบอุยกูร์อื่นๆ นั้น เจ้าหน้าที่จีนได้ขอให้
สหรัฐฯ ส่งตัวชาวอุยกูร์จีน ซึ่งถูกจับได้ในการต่อสู้ที่อัฟกานิสถานให้
กับจีน แต่สหรัฐฯ ปฏิเสธ ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 สหรัฐฯ
ได้ปล่อยตัวชาวอุยกูร์ 5 คนไปอัลแบเนีย ซึ่งเป็นประเทศที่สามที่เป็น
กลาง ในขณะที่ยังคงขังชาวอุยกูร์ 13 คน ไว้ในคุกของสหรัฐฯ ที่อ่าว
กวนตานาโม (Guantanamo)
ทนายความของชาวอุยกูร์ 13 คนกล่าวว่า คนเหล่านี้ถูกเคลื่อน
ย้ายไปที่กวนตานาโม ซึ่งมีเครื่องมือด้านความมั่นคงสูงมาก ในขณะที่
รัฐบาลสหรัฐฯ มิได้กล่าวถึงศัตรูทีถ่ กู คุมขังอยูใ่ นกวนตานาโมแต่อย่างใด
ปากีสถาน ซึ่งเป็นทั้งมิตรและเพื่อนบ้านของจีนจะใช้มาตรการ
ต่างๆ ที่มีความเข้มงวดต่อชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นนโยบายที่ปากีสถานใช้กับ
เพื่อนบ้านเอเชียกลางอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ จีนและปากีสถานตกลงที่จะ
มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยน
ผู้ถูกคุมขัง

23 อุยกูร์
ใน ค.ศ. 2002 อิสมาอีล กอดีร (Ismail Kadir) ซึ่งเป็นผู้นำ�
สูงสุดอันดับสูงของ ETIM ถูกเจ้าหน้าที่ปากีสถานจับกุม ซึ่งมีรายงาน
ว่าหากเขาไม่ถูกจับกุมที่แคชเมียร์ (Kashmir) ก็อาจถูกจับกุมที่
ราวัลปินดี (Rawalpindi) ทางเหนือของปากีสถาน อันเป็นบ้านของ
ชุมชนอุยกูร์จำ�นวนหนึ่งก็ได้
ในปากีสถาน เจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงมหาดไทยยืนยันถึง
การส่งตัวอิสมาอีล กอดีร กลับจีน หลังจากถูกสอบสวน เจ้าหน้าที่ยัง
ได้พูดถึงรายละเอียดอื่นๆ ต่อไปอีกว่า อิสมาอีล ซีเม็ด (Ismail Se-
med) ซึ่งอ้างกันว่าเป็นหนึ่งในผู้นำ�อุยกูร์จาก ETIM ถูกประหารชีวิต
ในเมืองอุรุมชีแล้ว หลังจากถูกส่งตัวมาจากปากีสถาน ด้วยข้อหาว่ามี
ส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในการลุกฮือที่เมืองบาเร็นใน ค.ศ. 1990
ซีเม็ต มีความผิดในฐานะที่พยายามจะแยกตัวออกจากแผ่นดิน
แม่ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 รวมทั้งการครอบครองอาวุธและระเบิด
นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าฮาซัน มะห์ซูม ซึ่งเป็นผู้นำ� ETIM อีกคน
หนึ่งก็ถูกสังหารที่ทางใต้ของดินแดนวาซิริสถาน (Waziristan) ของ
ปากีสถานเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2003
มุชัรร็อฟ (Musharraf) อดีตประธานาธิบดีปากีสถาน ได้
กล่าวเมื่อเขาเดินทางมาเยือนปักกิ่งใน ค.ศ. 2003 ว่า ประเทศของเขา
จะไม่ยอมให้ผู้ใดมาใช้ดินแดนปากีสถานเพื่อกระทำ�การใดๆ ที่เป็นการ
ต่อ ต้ านประเทศจีน รวมทั้งกองกำ�ลังของผู้ก่อการร้า ยเตอร์กิส ถาน
ตะวันออก
มีรายงานว่าชาวอุยกูร์นับพันเดินทางไปทำ�ธุรกิจและทำ�กิจกรรม
ทางศาสนาในปากีสถาน โดยเฉพาะไปศึกษาที่โรงเรียนสอนศาสนา
(มัดเราะซะฮ์)
จนถึงเวลานี้จีนมีความเชื่อว่าชาวอุยกูร์กว่า 1,000 คน ได้รับ
การฝึกฝนจากกองกำ�ลังของบินลาดินในอัฟกานิสถาน ซึ่งในจำ�นวนนี้มี
อยู่ 110 คนเดินทางกลับจีน อ้างกันว่าราว 300 คนถูกจับและถูกสังหาร

อุยกูร์ 24
โดยกองกำ�ลังของสหรัฐฯ และอีกราว 600 คน ได้หลบหนีไปทางเหนือ
ของปากีสถาน นอกจากนี้บางรายงานยังนำ�เสนออีกว่าชาวอุยกูร์ได้รับ
การฝึกอย่างไม่เป็นทางการในค่ายของปากีสถาน
การผสมผสานกันของชาติพันธุ์และศาสนาก็เข้าไปข้องเกี่ยวกับ
ประชาชนชาวอุยกูร์ที่อาศัยอยู่ในเอเชียกลางเช่นกัน ผู้แบ่งแยกดินแดน
ชาวอุยกูร์ที่อยู่ในซินเจียงจะได้รับแรงบันดาลใจจากเพื่อนบ้านของ
ตนในเอเชียกลาง ที่ได้รับเอกราชหลังจากสหภาพโซเวียตต้องล่มสลาย
ลงใน ค.ศ. 1991 และพวกเขาก็มีขบวนการที่จะแยกออกเป็นรัฐอุยกูร์
เพิ่มมากขึ้น
นั ก รบชาวอุ ย กู ร์ จ ะใช้ ดิ น แดนที่ อ ยู่ ติ ด กั บ เขตแดนซิ น เจี ย ง
ทำ�งานของพวกเขาอย่างเช่น คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน
และอัฟกานิสถาน ด้วยการสร้างค่ายฝึกอยู่ในดินแดนเหล่านี้ รวมทั้ง
การเคลื่อนย้ายระเบิดและอาวุธเล็กๆ เข้าสู่จีน
หวังลีกวน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งซินเจียงได้กล่าว
ในที่ประชุมผู้สื่อข่าวในอุรุมชี เมืองหลวงของซินเจียงว่า “เมื่อพวก
เขาเข้าสู่ดินแดนซินเจียง เราก็จับพวกเขาทันที”

ปัญหาพลังงาน
แม้คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าปัญหาเบื้องต้นในซินเจียงจะเป็น
ปัญหาการแยกตัวทางชาติพันธุ์และเรื่องของชาวมุสลิม กระนั้น ปัญหา
ของพลังงานก็ไม่อาจถูกมองข้ามได้
ซินเจียงนั้นไม่เพียงแต่จะได้ชื่อว่ามีแหล่งทรัพยากรอย่างเช่น
ก๊าซและน้ำ�มันอยู่ไม่น้อยแล้ว ที่นี่ยังเคยมีบทบาทในฐานะพื้นที่ของ
การทดลองนิวเคลียร์ของจีนมาก่อน นอกจากนี้ซินเจียงยังเป็นทางเข้า
สู่แหล่งทรัพยากรของเอเชียกลางอีกด้วย จีนกำ�ลังทำ�ข้อตกลงว่าด้วย
การส่งน้ำ�มันผ่านท่อส่งน้ำ�มันกับประเทศเพื่อนบ้านเอเชียที่ร่ำ�รวยน้ำ�มัน
รวมทั้งรัสเซีย เพื่อสนับสนุนความต้องการทางพลังงานที่เติบโตขึ้น

25 อุยกูร์
จีนและคาซัคสถานมีความร่วมมือด้านพลังงานใน ค.ศ. 1997 ซึง่
แสดงให้เห็นข้อตกลงในเรื่องท่อส่งน้ำ�มันระหว่างคาซัคสถานตะวันตก
และซินเจียงของจีน
ท่อส่งน้ำ�มันข้ามประเทศที่มีชื่อว่าอะตาซู สำ�เร็จลงในเดือน
พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 และมีการลงนามสัญญาข้อตกลงนี้ใน ค.ศ. 2004
โดยมีนูรสุลฏอน อบีชีวิช นาซาบาเยฟ ประธานาธิบดีแห่งคาซัคสถาน
กับประธานาธิบดีหูจิ่นเทาลงนามร่วมกันในการสำ�รวจและพัฒนาแหล่ง
น้ำ�มันและก๊าซในทะเลสาบแคสเปียน
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มีความตื่นตัวถึงข้อพิจารณาที่จะมี
ท่อส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งก๊าซในทะเลสาบแคสเปียน
กับจีน
คาซัคสถานและจีนได้ลงนามร่วมกันเพื่อที่จะสร้างรถไฟรับส่ง
ผู้โดยสารนานาชาติและเพื่อการขนส่ง ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ
ความพยายามที่จะส่งเสริมการค้า โดยมีเส้นทางผ่านคาซัคสถานไปจน
ถึงยุโรป ทั้งนี้ การเชื่อมต่อระหว่างคาซัคสถานกับจีนผ่านการเชื่อมต่อ
ทางรถไฟนี้มีขึ้นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ยิ่งไปกว่านั้น จีนและคาซัคสถาน
ยังได้เปิดให้มีเขตการค้าเสรีในชายแดนของแต่ละฝ่าย เพื่อสนับสนุน
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ท่อส่งก๊าซจากอุซเบกิซถานและเติร์กเมนิสถานไปยังจีนกำ�ลัง
อยู่ในขั้นตอนของการดำ�เนินการ ท่อส่งก๊าซเหล่านี้หากเชื่อมต่อกับ
ซินเจียง-เซีย่ งไฮ้ จะมีสว่ นสำ�คัญต่อการบูรณาการในการนำ�เอานโยบาย
การพัฒนาทางตะวันตกมาใช้
อดีตประธานาธิบดีชาวเติร์กเมน ซาพาร์มุร็อต นิยาซ็อฟ (Sa-
parmurat Niyazov) และประธานาธิบดีหูจ่ินเทา ได้ลงนามใน
กรอบความร่วมมือด้านน้ำ�มันและก๊าซ เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2006
รวมทั้งท่อส่งก๊าซเติร์กเมนิสถาน-จีน ซึ่งได้มีการตั้งกรรมการขึ้นมา
ใน ค.ศ. 2009

อุยกูร์ 26
ก๊าซสำ�รองจากเติร์กเมนิสถานถือว่าใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง
การพัฒนาเหล่านี้แสดงให้เห็นความร่วมมือทางด้านพลังงานระหว่างจีน
และเอเชียกลาง และการส่งพลังงานเหล่านี้ไม่เหมือนการส่งพลังงาน
ทางตอนกลาง เพราะไม่ต้องอาศัยความมั่นคงทางทะเล

ทางเลือกในอนาคต
อนาคตซึ่งเป็นที่กังวลของจีนนั้นอยู่ที่ขบวนการของชาวมุสลิม
อุยกูร์ ที่โดยภายนอกแล้วข้องเกี่ยวอยู่กับขบวนการมุสลิมทั่วเอเชียและ
ตะวันออกกลาง ทำ�ให้กลุ่มนักรบมุสลิมหลั่งไหลเข้ามาและท้าทาย
รัฐบาลกลางของจีน
แม้ ว่ า จี น จะประสบความสำ � เร็ จในการจั ด การกั บ ขบวนการ
แบ่งแยกดินแดนในประเทศได้ในระดับหนึง่ แต่จนี ก็ตอ้ งเผชิญกับความ
ไม่มั่นคงทางการเมือง หรือแรงกดดันจากขบวนการอิสลามที่มาจาก
ประเทศเพื่อนบ้านทั้งปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน
และคาซัคสถาน
หากนโยบายการรณรงค์ ต อบโต้ อ ย่ า งหนั ก หน่ ว ง ถู ก มองว่ า
เป็นการเลือกปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ และหากความคิดที่ว่าการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจในซินเจียงเป็นการช่วยชาวฮั่น โดยชาวอุยกูร์ต้องตกเป็นรอง
ขบวนการแบ่ ง แยกดิ น แดนก็ จ ะถู ก ปลุ ก เร้ า ด้ ว ยเชื้ อ เพลิ ง ของความ
แค้นเคือง
ในเวลานี้หลายประเทศต่างก็กังวลเกี่ยวกับความรุนแรงที่จีน
กระทำ�กับชาวอุยกูร์ โดยเฉพาะประเทศที่มีชาวอุยกูร์อยู่จำ�นวนหนึ่ง
ต่างก็กังวลถึงความรุนแรงและการประท้วงที่เกิดขึ้นในจีน รัฐบาล
ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็กังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน ไม่ใช่เพียง
เพราะว่าจีนมีความสำ�คัญในทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ความไม่มั่นคงใน
จีนจะส่งผลสะเทือนต่อเอเชียทั้งหมด

27 อุยกูร์
นัยต่อสหรัฐฯ
ด้วยความคิดที่ว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาวอุยกูร์ใน
จีนยังคงมีความอ่อนแอและถูกควบคุมในระดับหนึ่ง อุยกูร์จึงไม่ได้เป็น
ประเด็นอันดับต้นๆ สำ�หรับสหรัฐฯ แม้วา่ จีนจะพยายามให้เรือ่ งการแบ่ง
แยกดินแดนทางชาติพันธุ์เป็นไปตามความคิดของโลก อันเนื่องมาจาก
เหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน (9/11) ก็ตาม

ประเทศไทยกับกรณีชาวอุยกูร์
ประเทศไทยถูกวิจารณ์ว่าบังคับส่งชาวอุยกูร์มุสลิมเกือบร้อยคน
กลับไปจีน
กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ รวมทั้งสหประชาชาติ ประณามการ
ตัดสินใจของไทยที่ส่งชาวอุยกูร์กลับไปยังประเทศจีน ซึ่งการส่งตัวกลับ
ดังกล่าว จะทำ�ให้ชนกลุ่มน้อยมุสลิมอุยกูร์ต้องเผชิญกับการถูกทรมาน
และการประหัตประหาร
สำ�นักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)
กล่าวว่าได้แจ้งกับทางประเทศไทยมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า คนกลุ่มนี้จะได้
รับการปกป้อง และชาวอุยกูร์เองก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าพวกเขาไม่
ต้องการให้มีการส่งตัวกลับจีน
ในขณะที่โฆษกของไทยกล่าวว่า ประเทศไทยกับจีนได้ทำ�งาน
ร่วมกัน “เพื่อแก้ไขปัญหาชาวอุยกูร์มุสลิม” โดยจีนกล่าวว่าจะดูแล
ความปลอดภัยของพวกเขา
คนอุยกูร์จำ�นวนนับร้อยหรือเป็นไปได้ว่าจำ�นวนนับพันได้หลบ
หนี ค วามไม่ ส งบในซิ น เจี ย งตะวั น ตก ซึ่ ง เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ โ ดยทั่ วไป
ว่าที่ผ่านมามีคนจำ�นวนนับร้อยถูกสังหาร คนเหล่านั้นจำ�นวนมากได้
เดินทางเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความหวังว่าจะได้เดินทาง
ต่อไปยังตุรกี
ชาวอุ ย กู ร์ จำ � นวนมากถื อ ว่ า จี น เป็ น ผู้ ที่ ทำ �ให้ พ วกเขาตกเป็ น

อุยกูร์ 28
อาณานิคม และถือว่าดินแดนซินเจียงก็คือ “เตอร์กิสถานตะวันออก”
ในภาษาจีนกลาง ซินเจียงแปลว่า “เขตแดนใหม่” ซึ่งคนส่วนน้อย
กำ�ลังต่อสู้ให้เป็นรัฐอิสระ ความผูกพันของพวกเขากับตุรกีนั้นเป็นทั้ง
เรื่องของศาสนาและชาติพันธุ์
การดูแลชาวอุยกูร์เป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับตุรกี และการส่ง
กลั บ ชาวอุ ย กู ร์ จ ะทำ �ให้ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งตุ ร กี กั บ จี น ย่ำ � แย่ ล งได้
โดยชาวอุยกูร์จำ�นวนมากได้อพยพไปตุรกีเรียบร้อยแล้ว
Facebook ของสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยในกรุงอังการา ได้
ลงภาพการประท้วงของชาวอุยกูร์ที่บุกเข้าโจมตีสถานกงสุลและมีการ
เตือนคนไทยราว 1,300 คนที่อยู่ในตุรกีให้ระมัดระวังตัว อันเนื่องมา
จากการโจมตีดังกล่าว
ในเวลานั้น สุณัย ผาสุข จาก Human Rights Watch
ได้เปิดเผยกับสำ�นักข่าวรอยเตอร์ว่า “เป็นเรื่องน่าตกใจและอึดอัด
ทีป่ ระเทศไทยโน้มเอียงเข้าไปอยูภ่ ายใต้ความกดดันของปักกิง่ ” ด้วยการ
บังคับส่งชาวอุยกูร์คืนอย่างน้อย 90 คน ประเทศไทยได้ละเมิดกฎหมาย
ระหว่างประเทศ เพราะในประเทศจีน พวกเขาอาจต้องเผชิญกับการ
กระทำ�ที่เลวร้าย รวมทั้งการทรมานและการหายตัวไป
ในขณะที่รัฐบาลไทยกล่าวว่า ชาวอุยกูร์ 170 คนที่ได้รับการ
ยืนยันว่าเป็นพลเมืองเชื้อสายตุรกีถูกส่งไปตุรกี ส่วนอีก 50 คนยังคง
ต้องตรวจสอบความเป็นพลเมืองต่อไป
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ย้ำ�เตือนเจ้าหน้าที่
ไทยอย่างหนักแน่น ให้ผู้ลี้ภัยที่เหลืออยู่เลือกอย่างเต็มใจว่าพวกเขา
จะสมัครใจไปอยู่ที่ไหน พร้อมกับแสดงความตระหนกกับการส่งคน
อุยกูร์กลับไปประเทศจีนในครั้งนี้

ความขัดแย้งของชาวอุยกูร์และรัฐบาลจีน
ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมอุยกูร์ส่วนใหญ่และรัฐบาลจีนได้

29 อุยกูร์
มาถึงขั้นวิกฤตเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งนี้ อิลฮาม โตฮ์ตี (Ilham Tohti)
ชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นนักวิชาการและนักวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนได้ถูก
จับกุมใน ค.ศ. 2014 ด้วยข้อหาต้องการแบ่งแยกดินแดน ต่อมาเขา
ถูกจำ�คุกตลอดชีวิตและผู้สนับสนุนเขาบางคน รวมทั้งนักเรียนของเขา
อีก 7 คน ก็ถูกส่งเข้าคุกเช่นกัน ด้วยข้อหาสนับสนุนความคิดแยกตัว
ในหมู่ประชาชนอุยกูร์
ชาวมุสลิมต้องเผชิญกับการเป็นศัตรูในจีนมาตั้งแต่สมัยของ
ราชวงศ์ชิงมาแล้ว ในช่วงระยะเวลาระหว่าง ค.ศ. 1644-1911 เมื่อจีน
ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิง ในสมัยนั้นสถานที่ประกอบ
ศาสนกิจของชาวมุสลิมคือมัสยิดถูกห้ามใช้ ชาวมุสลิมถูกสังหารและถูก
บีบบังคับ ชาวมุสลิมที่มีชีวิตรอดมาได้ต้องปฏิบัติศาสนกิจของพวกเขา
อย่างลับๆ
อันเนื่องมาจากการปฏิวัติต่อต้านราชวงศ์ชิงใน ค.ศ. 1911 ชาว
มุสลิมได้รับความกดดันในการมีชีวิตอยู่น้อยลง อย่างไรก็ตาม การ
สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 ได้นำ�ไปสู่การปิดตัว
ลงของการแสดงออกทางศาสนาต่างๆ ในทุกรูปแบบ
ตามปรั ช ญาคอมมิ ว นิ ส ต์ จารี ต ของศาสนาต่ า งๆ รวมทั้ ง
อิสลามเป็นเรื่องไสยศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่อกดขี่ประชาชน
จากความคิดนี้ รัฐบาลจีนจึงเริ่มต้นลดบทบาทของผู้นำ�มุสลิมและนำ�เอา
ชาวฮั่น ซึ่งเป็นชาวจีนแท้ที่สืบทอดต่อกันมาเข้ามาแทนที่ในซินเจียง
หรือที่รู้จักกันว่าเตอร์กิสถานตะวันออก เพื่อที่จะทำ�ให้ดินแดนที่อิทธิพล
ของชาวมุสลิมที่มีความเข้มแข็งต้องอ่อนแอลงไป
รั ฐ บาลจี น มองชาวมุ ส ลิ ม ว่ า เป็ น ผู้ แ บ่ ง แยกดิ น แดน ซึ่ ง จะ
ทำ�ให้เอกภาพของชาติถูกละเลย หรือทำ�ให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ไม่พอใจ
รัฐบาลยังคงใช้ความพยายามที่จะกำ�จัดศาสนาในประเทศให้หมดไป
จนกระทั่งมาถึงช่วงของประธานาธิบดีเติ้งเสี่ยวผิง (ค.ศ. 1904-1997) ที่
เริ่มเห็นการแสดงออกทางศาสนาในจีนและอิสลามเริ่มปรากฏตัวขึ้นมา

อุยกูร์ 30
บ้าง เสรีภาพดังกล่าวยังคงดำ�เนินต่อไปถึงทุกวันนี้ในท่ามกลางชาวจีน
ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เสรีภาพของชาวมุสลิมอุยกูร์ในซินเจียงยังคง
เติบโตขึ้นมาอย่างมีข้อจำ�กัด
ชาวอุยกูร์เป็นชนกลุ่มน้อยมุสลิม ซึ่งประกอบไปด้วยคนเชื้อ-
สายเตอร์กิค (Turkic) อันเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทางเหนือ ตอนกลาง และ
ยูเรเซียตะวันตก ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของภาษาและวัฒนธรรม แต่รัฐบาลจีน
อ้างว่าพวกเขาพยายามที่จะสร้างรัฐอิสลามแห่งเตอร์กิสถานตะวันออก
ให้เป็นเอกราชขึ้นมา
กล่ า วกั น ว่ า ขบวนการอิ ส ลามแห่ ง เตอร์ กิ ส ถานตะวั น ออก
(ETIM) ได้รับการสถาปนาขึ้นโดย ฮาซัน มะอ์ซูม (Hasan Mah-
sum) ซึ่งรัฐบาลจีนกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้วางแผนอยู่ในอาชญากรรม
ต่างๆ และการก่อการร้าย รวมทั้งการปล้นสะดมและการฆาตกรรม
ใน ค.ศ. 1990
รั ฐ บาลยั งได้ อ อกรายงานที่ ก ล่ า วหาว่ า เขามี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ
อัล-กออิดะฮ์ คืออุสามะฮ์ บินลาดิน ซึ่งให้การสนับสนุนทั้งทางด้าน
การเงินและอาวุธ
ใน ค.ศ. 2001 อันเป็นระยะเวลาที่สหรัฐฯ รุกรานอัฟกานิสถาน
ชาวอุยกูร์ 22 คนถูกจับในอัฟกานิสถาน และถูกจำ�ขังในศูนย์กลางการ
คุมขังในอ่าวกวนตานาโมในคิวบา วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2002 สหรัฐฯ
ได้จัดให้ ETIM อยู่ในรายชื่อของกลุ่มก่อการร้ายต่างประเทศ ตัว
ของมะอ์ซูมเองถูกสังหารโดยกองทัพปากีสถาน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม
ค.ศ. 2003
แม้ว่ารัฐบาลจีนจะรู้สึกกังวลใจกับ ETIM แต่ก็ได้มีมาตรการที่
จะแก้ไขสภาพความยากจนทางเศรษฐกิจของชาวอุยกูร์ในซินเจียง ใน
ช่วงฤดูใบไม้ผลิของ ค.ศ. 2009 รัฐบาลเริ่มเปลี่ยนแปลงให้ชาวอุยกูร์
เข้าไปทำ�งานในโรงงานผลิตของเล่นเด็กในเมืองเฉากวน (Shao-
guan) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่จะสนับสนุนการย้ายถิ่น

31 อุยกูร์
ไปยังดินแดนที่มีความมั่งคั่งกว่า
โครงการดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อหางานให้กับผู้ที่ตกงาน 1.5
ล้านคนในซินเจียง แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการเพิ่มจำ�นวนของ
ชาวอุยกูร์ในเฉากวนจะเพิ่มปัญหาด้านวัฒนธรรมและความตึงเครียด
ทางเชื้อชาติในดินแดนนั้นก็ตาม
วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2009 สถานการณ์ระหว่างชาวฮั่นและ
ชาวอุยกูร์ในเมืองเฉากวนได้เข้ามาสู่จุดเดือด เมื่อมีข่าวลือแพร่สะพัด
ออกไปว่า ชาวอุยกูร์ 2 คนข่มขืนสตรีชาวจีนในโรงงานผลิตของเล่น
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีหลักฐานใดของการข่มขืนปรากฏให้เห็น
แม้แต่น้อย และรัฐบาลก็ปฏิเสธว่าไม่ได้มีเรื่องนี้เกิดขึ้น
แต่ม็อบของแรงงานชาวฮั่น ซึ่งมีอาวุธ ไม่ว่าจะเป็นท่อเหล็ก
มีด และอาวุธอื่นๆ ได้บุกเข้ามายังที่พักอาศัยของชาวอุยกูร์เป็นเวลา 3
ชั่วโมง ต่อมาการจลาจลได้เกิดขึ้นในโรงงาน ชาย 2 คนที่ถูกกล่าว-
หาว่าข่มขืนสตรีชาวจีนถูกฆาตกรรม
เมื่อรายงานว่าด้วยการจลาจลทางชาติพันธุ์เข้าไปถึงซินเจียง
ซึ่งเป็นบ้านเกิดของชายที่ถูกสังหารทั้งสองคน ได้มีผู้ประท้วงชาวอุยกูร์
นับพันก่อจลาจลขึ้นในตอนต้นเดือนกรกฏาคม พวกเขาเริ่มสังหารชาว
ฮั่นตามท้องถนนของอุรุมชี เมืองหลวงของซินเจียง
จลาจลทางชาติพันธุ์เป็นประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายที่สุดของจีน
สมัยใหม่ ซึ่งมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 19 คนและบาดเจ็บ 1,721 คน
แต่ชาวอุยกูร์ในอุรุมชีได้กล่าวหารัฐบาลว่านับตัวเลขมากเกินกว่าความ
เป็นจริง หนังสือพิมพ์ China Daily รายงานว่า ผู้ต้องสงสัย 200
คนถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการจลาจลครั้งนี้
มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า ความขัดแย้งครั้งนี้เป็นเรื่องของชาติพันธุ์
มากกว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง ความรุนแรงในเมืองเฉากวนและ
ซินเจียงได้รับปฏิกิริยาต่อต้านจากทั่วโลก นายกรัฐมนตรีตุรกี เรซิป
ตอยยิบ เออร์ดูกัน (Recep Tayyip Erdogan) ได้เปรียบเทียบ

อุยกูร์ 32
การใช้นโยบายของจีนที่มีต่อชาวอุยกูร์ว่าเป็น “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”
และวิพากษ์ความพยายามของรัฐบาลจีนที่พยายามจะผสมกลมกลืนชาว
อุยกูร์เข้าสู่สังคมของชาวฮั่น
เจ้าหน้าที่ในเมืองอุรุมชีได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน อันเป็นผล
จากการจลาจล ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ประณามองค์การอุยกูร์นานาชาติ ซึ่ง
เป็นองค์การของผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ว่าเป็นผู้สนับสนุนการจลาจลดังกล่าว
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จีนกล่าวหาว่าเรบิยะฮ์ กอดีร (Rebiya Kadeer) ผู้นำ�
องค์การอุยกูร์โลกที่อยู่ในสหรัฐฯ เป็นผู้ปลุกเร้าให้เกิดการจลาจล
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาได้เดินทาง
เยือนซินเจียงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ได้เกิดการจลาจลขึ้น ในระหว่าง
การเดินทางเขาประกาศว่า เขาจะทำ�งานเพื่อสร้างเสถียรภาพในภูมิภาค
ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็ทำ�งานเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาผู้จำ�คุกชาว
อุยกู ร์ ใ นอ่ าวกวนตานาโม ทั้งนี้ผู้ถูกคุมขังได้รับการพิสูจ น์ว่า เป็นผู้
บริสุทธิ์มาช้านานแล้ว แต่ชาวอุยกูร์ 5 คนเท่านั้นที่ถูกปล่อยตัวให้ไป
อยู่ในประเทศอัลแบเนียใน ค.ศ. 2006
รัฐบาลสหรัฐฯ ประสบกับความยากลำ�บากในการหาประเทศที่
มีความปรารถนาที่จะรับชาวอุยกูร์เหล่านี้ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง
และปฏิเสธที่จะส่งคนเหล่านี้ไปประเทศจีน เพราะหวาดกลัวว่าพวก
เขาจะถูกประหัตประหารในประเทศของพวกเขาเอง
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 ได้มีการเรียกร้องให้ปล่อยชาว
อุยกูร์เป็นอิสระ ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้จัดทำ�
ข้อตกลงปล่อยตัวชาวอุยกูร์ให้ไปอยู่ที่สาธารณรัฐปาเลา (Republic
of Palau) ซึ่งเป็นเกาะในแปซิฟิกตอนเหนือ
รัฐบาลจีนได้จับตัวประชาชนหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
จลาจลในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 9 คนถูกประหารชีวิต อันเนื่อง
มาจากบทบาทของพวกเขาในจลาจลเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 และ
ศาลจีนก็ตัดสินลงโทษประหารชีวิตประชาชนอีก 5 คนในเดือนธันวาคม

33 อุยกูร์
ปีเดียวกัน
ในรายงานประจำ�ปี ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้วิพากษ์วิจารณ์การดูแลชาวอุยกูร์
ของจีน โดยรายงานดังกล่าวได้ระบุถึงการปะทะกันระหว่างชาวฮั่น
และชาวอุยกูร์ว่าเป็น “การปราบปรามการแสดงออกทางวัฒนธรรม
และศาสนาของชาติพันธุ์กลุ่มน้อย”
ในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน ทะไล ลามะ (Dalai Lama) ผู้นำ�
ทิเบตได้แสดงความเป็น “ปึกแผ่น” กับชาวจีนอุยกูร์และกล่าวว่าชาว
ทิเบต (Tibetans) ก็เหมือนชาวอุยกูร์ที่ต้อง “เผชิญกับการคุกคาม
การล้อมปราบศาสนาของเรา การทำ�ให้วัฒนธรรมของเราจบสิ้นลง”
กลุ่ ม อุ ย กู ร์ ฝ่ า ยขวาได้ ม าร่ ว มชุ ม นุ ม กั น ที่ ส ถานทู ต จี นในกรุ ง
วอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อแสดงถึงวันครบรอบความรุนแรงที่นำ�ไปสู่ความตาย
ในซินเจียง กลุ่มอุยกูร์ฝ่ายขวายังได้เรียกร้องให้รัฐบาลจีนให้สอบสวน
การจลาจลที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใส
ในวันที่ 19 เดือนสิงหาคม ได้เกิดระเบิดขึ้นในเมืองอาเค่อซู
(Aksu) ในซินเจียง ทำ�ให้มีประชาชนเสียชีวิต 7 คน และมีผู้ได้รับ
บาดเจ็บเป็นจำ�นวนมาก ทั้งนี้ได้มีชายนำ�ระเบิดมาไว้ที่จักรยานไฟฟ้า
สามขาแล้ววิ่งเข้าใส่ฝูงชน เขาไม่ได้ถูกฆ่าในการจุดระเบิดครั้งนี้แต่ถูก
รวบตัวโดยตำ�รวจในที่สุด
ระเบิดดังกล่าวนำ�ไปสู่ความหวาดหวั่นว่าความรุนแรงจะกลับมา
เกิดขึ้นอีกครั้ง แต่เจ้าหน้าที่จีนกล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เป็น
เหตุการณ์ที่มีความสำ�คัญต่อความมั่นคงในพื้นที่แต่อย่างใด
หนึ่งปีหลังจากการจลาจล รัฐบาลจีนได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่มี
ความคมชัดขึ้นทั่วซินเจียง เพื่อสร้างระเบียบขึ้นในพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่
5,000 คนที่ถูกดึงมาดูแลพื้นที่ที่ได้ถูกเน้นย้ำ�ในเรื่องของการใช้กล้อง
ดังกล่าว โดยในเมืองหลวงอย่างอุรุมชีมีกล้องวงจรปิดติดตั้งอยู่ถึง
400,000 ตัว

อุยกูร์ 34
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 มีชาย 4 คน ซึ่งคาดหมายว่า
เป็นผู้แบ่งแยกดินแดนชาวอุยกูร์ถูกตัดสินประหารชีวิต เนื่องจากได้
ใช้การโจมตีในซินเจียงระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ค.ศ. 2010
ทั้งนี้ ในการโจมตีดังกล่าวรถบรรทุกระเบิดได้วิ่งเข้าใส่ฝูงชนจนทำ�ให้
มีผู้เสียชีวิต 7 คน
ความรุนแรงได้กลับมาที่ซินเจียงอีกครั้งในวันที่ 18 กรกฎาคม
ค.ศ. 2011 กลุ่มชาวอุยกูร์ได้นำ�เอามีดและระเบิดบุกถล่มโรงพักในเมือง
เฮอเถียน ในระหว่างที่มีการเข้าไปรักษาความสงบ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่
ตำ�รวจและผู้เข้าโจมตีถูกสังหาร
กลุ่มติดอาวุธชาวอุยกูร์มีความโกรธแค้นต่อความอยุติธรรมที่
พวกเขาได้รับจากรัฐบาลจีน รวมทั้งการจับกุมโดยไม่มีการสอบสวน
การเข้ายึดพื้นที่เกษตรกรรม และการยกเลิกการแต่งกายตามประเพณี
ของสตรีอุยกูร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าคลุมศีรษะ
ในวันที่ 30 กรกฎาคม ได้มีระเบิดเกิดขึ้นในท้องถิ่นที่คลาคล่ำ�
ไปด้วยผู้คนในเมืองคาฉือ ซึ่งเต็มไปด้วยชาวฮั่น ผู้คนอย่างน้อย 6
คนถูกสังหาร วันต่อมาภัตตาคารที่คาฉือถูกเผา เจ้าของและคนงานถูก
สังหาร เชื่อกันว่าความรุนแรงดังกล่าวมีมูลเหตุมาจากความตึงเครียด
ระหว่างชาวฮั่นและอุยกูร์ แต่ชาวอุยกูร์จำ�นวนมากกล่าวหาว่ารัฐบาล
จีนพยายามกำ�จัดวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์
ความไม่สงบเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อชาวฮั่นและชาวอุยกูร์ปะทะกัน
และเจ้าหน้าที่ของจีนได้เข้าจับกุมประชาชนเป็นจำ�นวนมาก ไม่มีราย-
งานทีช่ ดั เจนว่าใครเป็นผูก้ อ่ เหตุ แต่มผี ูย้ นื กรานว่าความขัดแย้งระหว่าง
คนหนุ่มชาวอุยกูร์และผู้ตั้งถิ่นฐานชาวฮั่นเป็นชนวนนำ�ไปสู่การจลาจล
ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2014 มีประชาชนถูกสังหาร 33 คน
และมากกว่า 140 คนได้รับบาดเจ็บ อันเป็นการโจมตีของผู้ก่อการร้าย
ที่สถานีรถไฟทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน สำ�นักข่าวของรัฐ ซึ่ง
วิพากษ์โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าวว่า ความรุนแรงดังกล่าวมาจากชาว

35 อุยกูร์
อุยกูร์ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งใช้มีดและมีดสับขนาดใหญ่เป็น
อาวุธ
ศาสตราจารยด์ า้ นเศรษฐศาสตร์ อิลฮาม โตฮ์ฮี ซึง่ เป็นนักวิพากษ์
นโยบายของจีนที่มีต่อชาวอุยกูร์ ถูกคุมขังในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014
และต่อมาถูกข้อหาปลุกเร้าการแบ่งแยกดินแดน อันเป็นข้อกล่าว-
หาที่อาจถูกลงโทษถึงชีวิต
กรณีของอิลฮาม โตฮ์ฮไี ด้รบั การประณามจากองค์การสิทธิมนุษ-
ยชนในตะวันตก ในเดือนกรกฎาคม หน่วยงาน PEN American
Center ได้ ป ระกาศว่ า จะให้ เ กี ย รติ แ ก่ โ ตฮ์ ฮี ด้ ว ยรางวั ล ด้ า นสิ ท ธิ -
มนุษยชน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของจีนมีความรู้สึกว่า หน่วยงานดังกล่าว
ได้เข้ามาก้าวก่ายกับอธิปไตยทางกฎหมายของประเทศ และยืนกรานว่า
โตฮ์ฮีมีข้อกล่าวหาในเรื่องอาชญากรรมที่ร้ายแรง
เดือนกันยายน ค.ศ. 2014 การไต่สวนโตฮ์ฮีด้วยข้อหาการแบ่ง
แยกดินแดนเริ่มต้นขึ้นที่ซินเจียง ตำ�รวจได้ตรวจตราอาคารของศาลใน
อุรุมชี เพื่อป้องกันการเดินขบวนประท้วงการไต่สวนในช่วงที่มีความ
ตึงเครียดอย่างหนักระหว่างชาวอุยกูร์และรัฐบาลจีน
ในเดือนกรกฎาคม ประชาชน 96 คน ถูกสังหารในเมืองเย่-
เอ่อเชียง (Yarkant) ซึ่งรัฐบาลจีนบรรยายว่าเป็นการกบฏของผู้ติด
อาวุธ แต่ผู้สนับสนุนชาวอุยกูร์ไม่เห็นด้วย และกล่าวว่าเหตุการณ์ดัง-
กล่าวเป็นการสังหารผู้เดินขบวนอย่างสงบ
วันที่ 23 กันยายน โตฮ์ฮถี กู กล่าวหาว่ามีความผิดในการสนับสนุน
การแยกดินแดนและถูกจำ�คุกตลอดชีวิต ได้มีการประณามการตัดสินใจ
ดังกล่าวโดยหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งพูดถึงการตัดสินครั้งนี้ว่า
เป็นความผิดพลาด
ผู้มีส่วนร่วมคนอื่นๆ ที่ถูกกล่าวหาได้รับการลงโทษในเดือน
ตุลาคม ผู้ถูกกล่าวหา 20 คนถูกตัดสินประหารชีวิต อีก 15 คนก็ถูก
ตัดสินประหารชีวิตเช่นกัน แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี ซึ่งอาจมีโอกาสที่

อุยกูร์ 36
จะถูกลดมาเป็นการลงโทษจำ�คุกตลอดชีวิต ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอีก 9 คน
ถูกตัดสินจำ�คุกตลอดชีวิต
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ทนายความของโตฮ์ฮีได้ประกาศ
ว่า นักศึกษาของเขา 7 คนก็ถูกจับกุมเช่นกัน และถูกตั้งข้อหาเรื่องการ
แบ่งแยกดินแดน นักศึกษาเหล่านี้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ใน
ประเด็นอุยกูร์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยโตฮ์ฮี อันนำ�ไปสู่การจับกุมกลุ่มนักศึกษา
ดังกล่าว ความผิดของพวกเขาเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และถูก
ตัดสินจำ�คุกตั้งแต่ 3-8 ปี
************************
ภาคผนวก
เหตุการณ์ความรุนแรงในซินเจียงระหว่าง ค.ศ. 2008-20131

เหตุการณ์ เวลา / สถานท่ ี รายละเอียด


Shache 30 ธ.ค. 2013 สำ�นักงานความมั่นคงสาธารณะในเขต
Violent Kashgar Shache ถูกโจมตีโดยชาวอุยกูร์จำ�นวน
Attack 9 คน ในการนี้ ผู้ต้องสงสัย 8 คนถูก
วิสามัญ ส่วนอีก 1 คนถูกจับกุม

Raymond Lee, “Unrest in Xinjiang, Uyghur Province in Chi-


1

na,” http://studies.aljazeera.net/en/reports/2014/02/201421281846110687.
htm

37 อุยกูร์
Shufu 15 ธ.ค. 2013 ตำ�รวจถูกโจมตีโดยระเบิดและมีดขนาด
Violent Kashgar ใหญ่ระหว่างการจับกุมผู้ต้องสงสัย ส่ง
Attack ผลให้มีตำ�รวจ 2 นายเสียชีวิต ผู้ต้อง
สงสัย 14 คนถูกวิสามัญ และอีก 8 คน
ถูกจับกุม
Bachu Vio- 13 พ.ย. 2013 กลุ่มผู้ชุมนุมบุกทำ�ลายสถานีตำ�รวจ โดย
lent Attack Kashgar มีอาวุธคือมีดและขวาน ส่งผลให้มี
ตำ�รวจเสียชีวิต 2 นาย และบาดเจ็บ 2
นาย ในขณะที่ผู้ต้องสงสัยทั้ง 9 คนถูก
วิสามัญ
Tiananmen 2 ต.ค. 2013 เกิดเหตุรถชนและระเบิิดบริเวณจัตุรัส
Square Car Beijing เทียนอันเหมิน ตำ�รวจอ้างว่าตรวจสอบ
Blaze พบมีด เหล็กเส้น แกลลอนน้ำ�มัน และ
ธงที่ระบุสโลแกนทางศาสนาภายในรถ
คันดังกล่าว ผู้ต้องสงสัย 3 คน และนัก
ท่องเที่ยว 2 คนเสียชีวิต และมีผู้ได้รับ
บาดเจ็บจำ�นวน 38 คน
Kashgar 20 ส.ค. 2013 ความขัดแย้งอย่างรุนแรงเกิดขึ้นระหว่าง
Violent Kashgar ตำ�รวจกับชาวอุยกูร์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่า
Attack เป็นมือระเบิดและผู้ก่อการร้าย เหตุ-
การณ์นี้ทำ�ให้มีตำ�รวจเสียชีวิต 1 นาย
ในขณะที่ผู้ต้องสงสัย 22 คนถูกวิสามัญ
ส่วนอีก 4 คนถูกจับกุม
Hotan 26 มิ.ย. 2013 ฝูงชนรวมตัวกันและก่อเหตุวุ่นวาย เจ้า-
Violent Hotan หน้าที่ตำ�รวจต้องเข้ายุติเหตุจลาจลดัง
Attack กล่าว เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่มีผู้ได้รับบาด-
เจ็บหรือเสียชีวิต

อุยกูร์ 38
Shanshan 26 มิ.ย. 2013 กลุ่ ม คนจำ � นวนหนึ่ ง บุ ก ทำ � ลายสถานี
Violent Turpan ตำ�รวจและอาคารรัฐบาลท้องถิ่น ส่งผล
Attack ให้มีผู้เสียชีิวิต 24 คน ในจำ�นวนนี้เป็น
ตำ�รวจ 2 นาย มีผู้บาดเจ็บ 21 คน ใน
ขณะที่ผู้ต้องสงสัย 11 คนถูกวิสามัญ
และอีก 4 คนถูกจับกุม
Bachu 23 เม.ย. 2013 เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 3 คนถูกทำ�ร้ายระหว่าง
Violent Kashgar การตรวจเยี่ยมบ้านเรือนประชาชน และ
Attack รายงานเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยและมีด ใน
เหตุการณ์นี้ เจ้าหน้าที่ 15 คนถูกสังหาร
โดยเจ้ า หน้ า ที่ เ หล่ า นี้ เ ป็ น คนเชื้ อ สาย
อุยกูร์ 10 คน เชื้อสายฮั่น 3 คน และ
มองโกล 2 คน ในขณะที่ผู้ต้องสงสัยถูก
วิสามัญจำ�นวน 6 คน และ 8 คนถูก
จับกุม
Korla Vio- 7 มี.ค. 2013 เกิดเหตุความรุนแรงในเขต Korla 2
lent Attack Bayingolin ครั้ง โดยผู้ต้องสงสัยทั้งหมดเป็นชาว
อุยกูร์ ในจำ�นวนนี้ 5 คนถูกวิสามัญ อีก
10 คนได้รับบาดเจ็บ
National 1 ต.ค. 2012 หนุ่มชาวอุยกูร์ใช้ระเบิดพลีชีพในเขต
Day At- Kashgar Yecheng เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีิวิต 20
tack ราย แต่ทางการจีนไม่ยืนยันเหตุการณ์
ดังกล่าว

39 อุยกูร์
Hotan 29 มิ.ย. 2012 สายการบินเทียนจิน เที่ยวบินที่ 7554 ที่
Plane Hotan เดินทางจาก Hotan ไปยัง Urumqi
Hijacking ถูกจี้โดยชายชาวอุยกูร์จำ�นวน 6 คน
อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารและลูกเรือ
สามารถหยุ ด ความพยายามในการจี้
เคร่ืองบินได้เป็นผลสำ�เร็จ และผู้ต้อง
สงสัยทั้งหมดถูกจับกุม
Yecheng 28 ก.พ. 2012 ชายชาวอุยกูร์จำ�นวน 8 คน นำ�โดย
Violent Kashgar Abudukeremu Mamuti ทำ�ร้าย
Attack ประชาชนด้วยขวานและมีด ส่งผลให้มี
ผู้เสียชีวิตจำ�นวน 15 คน และบาดเจ็บ
อีก 14 คน ผู้ต้องสงสัยถูกวิสามัญ ใน
ขณะที่ตำ�รวจเสียชีวิต 1 นาย และบาด
เจ็บ 4 นาย
Pishan 28 ธ.ค. 2011 ชายหนุ่มชาวอุยกูร์จำ�นวน 15 คนก่อ
Hostage Hotan เหตุลักพาตัว เหตุการณ์นี้ทำ�ให้มีตำ�รวจ
Crisis เสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บ 1 นาย ผู้
ต้องสงสัย 7 คนถูกวิสามัญ 4 คนได้รับ
บาดเจ็บ และอีก 4 คนถูกจับกุม
Kashgar 30-31 ก.ค. เกิดเหตุโจมตีอย่างรุนแรง 2 ครั้งใน
Violent 2011 Kashgar โดยพรรคอิสลามเตอร์กี-
Attack Kashgar สถานอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตี
ครั้งนี้ ประชาชน 12 คนถูกสังหาร และ
40 คนได้รับบาดเจ็บ

อุยกูร์ 40
Hotan 18 ก.ค. 2011 ชายหนุ่มชาวอุยกูร์จำ�นวน 18 คนบุก
Violent Hotan เข้าไปที่สถานีตำ�รวจและทำ�ร้ายร่างกาย
Attack เจ้าหน้าที่ด้วยมีดและระเบิด ชายหนุ่ม
กลุ่มดังกล่าวยังได้จับตัวประกันไว้ 8 คน
และได้ตะโกนสโลแกนของการทำ�จิฮัด
เหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 18 คน
และบาดเจ็บ 6 คน
Aksu 19 ส.ค. 2010 ชาวอุ ย กู ร์ ขั บ จั ก รยานไฟฟ้ า และจุ ด
Bomb At- Aksu ระเบิด โดยมีเป้าหมายทีเ่ จ้าหน้าทีต่ �ำ รวจ
tack และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ส่ง
ผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 รายและบาดเจ็บ
14 คน
Needle At- 17 ส.ค. 2009 ชาวอุยกูร์ 3 คนทำ�ร้ายร่างกายผู้คน
tack Urumqi ในเมือง Urumqi โดยการใช้เข็ม
ฉีดยา ก่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่
ประชาชนอย่างมาก สถิติของการทาง
จีนระบุว่า มีประชาชนกว่า 100 คนที่ถูก
ทำ�ร้ายด้วยวิธีการเช่นนี้
2009 15 ก.ค. 2009 เกิ ด เหตุ ค วามรุ น แรงที่ มุ่ ง เป้ าไปที่ ช น
Urumqi Urumqi เชื้อสายฮั่นหลายครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสีย-
Riots ชีวิต 198 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า
1,700 คน
2008 Kash- 4 ส.ค. 2008 ผู้ก่อการร้าย 2 คน ขับรถบรรทุกและ
gar Attack Kashgar สั ง หารเจ้ า หน้ า ที่ ตำ � รวจด้ ว ยระเบิ ด มื อ
และมีดขนาดใหญ่ ส่งผลให้ตำ�รวจเสีย-
ชีวิต 16 นาย และได้รับบาดเจ็บ 16
นาย ผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คนถูกจับกุม

41 อุยกูร์

You might also like