ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 47

¨ØÅÊÒäÇÒÁÁÑ蹤§ÈÖ¡ÉÒ

¡ØÁÀҾѹ¸ 2561 ©ºÑº·Õè 194

ÍÍÊàµÃàÅÕ¡Ѻ¡Òõ‹ÍµŒÒ¹
¡Òá‹Í¡ÒÃÃŒÒÂã¹ÍԹⴹÕà«ÕÂ
Australia and Counter-Terrorism
in Indonesia

จิราภรณ ศิระวรกุล
เขียน
สุรชาติ บํารุงสุข
บรรณาธิการ

สนับสนุนการพิมพ โดย
สถาบันการขาวกรอง
สํานักขาวกรองแหงชาติ
ออสเตรเลียกับการตอตานการกอการรายในอินโดนีเซีย 1
จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 194
ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย

พิมพ​ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2561


จำ�นวน​พิมพ 1,000 เล่ม
การพิมพ์ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการข่าวกรอง สำ�นักข่าวกรองแห่งชาติ
เจาของ โครงการความมั่นคงศึกษา
ตู้ ปณ. 2030 ปณฝ. จุฬาลงกรณ์
กรุงเทพฯ 10332
E-mail : newsecproject@yahoo.com
Website : http://www.newsecurity.in.th
โทรศัพท์ 0-2218-7266, 099-286-4105
โทรสาร 0-2218-7308

บรรณาธิการ ศ. ดร. สุรชาติ บำ�รุงสุข


ผูชวย​บรรณาธิการ นางสาว กุลนันทน์ คันธิก
ประจำ�กอง​บรรณาธิการ นาย ศิบดี นพประเสริฐ
พิมพท​ ี่ บริษัท สแควร์ ปริ๊นซ์ 93 จำ�กัด
59, 59/1, 59/2 ซ.ปุณณวิถี 30 ถ.สุขุมวิท 101
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2743-8045 แฟกซ์. 0-2332-5058
สารบัญ
1) บทนำ� 1
2) เหตุการณ์ 9/11 กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
ระหว่างประเทศ 2
3) ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอดีต 5
4) ภาพรวมการดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้าย
ของออสเตรเลียภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ 9/11 8
5) การก่อการร้ายในอินโดนีเซียและผลกระทบต่อออสเตรเลีย 12
6) การต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย
ภายหลังการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลี 18
7) บทสรุป 40

ที่มาภาพ:
ปกหน้า: https://www.linkedin.com/pulse/indonesia-
australia-cargo-geoff-king
ปกในหน้า: https://clarionproject.org/dozens-organizations-
continue-isis-work/
ปกในหลัง: http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/returning-
isis-militants-a-growing-menace-to-s-e-asia
ปกหลัง: https://www.thailande-fr.com/actu/edito/37545-la-
thailande-daech-et-nous
ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
จิราภรณ์ ศิระวรกุล1
~1~
บทนำ�
“ออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ปัญหาความมั่นคงใดๆ ที่บั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคย่อมเป็นปัญหาความ
มั่นคงของออสเตรเลียด้วยเช่นกัน ดังนั้น การที่ออสเตรเลีย
เข้าไปมีบทบาทในการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาค
จึงไม่ใช่ เรื่องแปลก”2
Hugh White
ศาสตราจารย์ด้านยุทธศาสตร์ศึกษา
ANU College of Asia and the Pacific
การก่อการร้ายกลายเป็นภัยคุกคามสำ�คัญของออสเตรเลียภายหลัง
จากการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลีในอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม
1
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำ�นักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ผู้เขียนขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. ชูเกียรติ พนัสพรประสิทธิ์ อาจารย์ประจำ�
ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการให้คำ�
ปรึกษาในการศึกษาวิเคราะห์และชี้แนะแนวทางในการเขียนมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ขอ
ขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. รุ่งพงษ์ ชัยนาม และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในการเสนอข้อคิด
เห็นและข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากทุกท่าน มี
ส่วนช่วยทำ�ให้งานเขียนชิ้นนี้เกิดความชัดเจนและมีความสมบูรณ์ จนสำ�เร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี
2
Hugh White, “Security, Defence and Terrorism,” in Trading on
Alliance Security: Australia in World Affairs, 2001-2005, James Cotton
and John Ravenhill, ed., (Melbourne: Oxford University Press, 2007), p.
183.

1 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ค.ศ. 2002 เป็นเหตุการณก์ อ่ การร้ายทีส่ ร้างความเสียหายครัง้ ใหญ่ในภูมภิ าค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นครั้งแรกที่ออสเตรเลียต้องเผชิญกับการ
ก่อการร้ายและสูญเสียชีวิตพลเมืองเป็นจำ�นวนมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมา
ก่อน เหตุการณน์ เี้ ปรียบเสมือนเหตุการณ์ 9/11 ของออสเตรเลียทีส่ ะท้อนให้
เห็นว่าการก่อการร้ายกลายเป็นภัยคุกคามทีค่ บื คลานเข้าใกล้ออสเตรเลียและ
มีอิทธิพลในการบั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคง รวมถึง
ผลประโยชน์ของออสเตรเลียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ออสเตรเลียจึงเล็งเห็นถึงความจำ�เป็นที่จะ
ต้องเข้าไปมีบทบาทในการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย เนื่องจาก
ออสเตรเลียตระหนักดีวา่ ออสเตรเลียจะปลอดภัยไม่ได้ถา้ หากอินโดนีเซียซึง่
เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ของออสเตรเลีย
ทั้งทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับการก่อการร้าย ด้วยเหตุ
นี้ ออสเตรเลียในฐานะประเทศมหาอำ�นาจระดับภูมิภาคที่มีความพร้อม
ในการจัดการกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง จึงจำ�เป็นต้องแสดง
บทบาทในการต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคง
ให้กับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความมั่นคงและผล
ประโยชน์ของออสเตรเลียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
~2~
เหตุการณ์ 9/11 กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ
สถานการณค์ วามมัน่ คงของโลกในยุคปัจจุบนั ไม่อาจปฏิเสธได้วา่ การ
ก่อการร้ายกลายเป็นประเด็นปัญหาสำ�คัญที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและ
ความมัน่ คงของโลกในทุกระดับ เหตุการณ์ 9/11 ทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง
ของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ เมือ่ การก่อการร้ายกลายเป็นปัญหาความ
มัน่ คงรูปแบบใหม่ทเี่ ข้ามามีบทบาทและความสำ�คัญในนโยบายต่างประเทศ
และยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัฐต่างๆ และเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำ�ให้โลกใน
ศตวรรษที่ 21 ก้าวเข้าสู่ยุคของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
อย่างไรก็ตาม การก่อการร้ายไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เพิ่งเกิด

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 2
ขึ้นภายหลั งจากเกิดเหตุการณ์ 9/11 แต่เป็
นแนวคิด รูปแบบ และวิธีการที่
ถูกนำ�มาใช้เป็นเครือ่ งมือในการบรรลุเป้าหมายของรัฐหรือกลุม่ ต่างๆ ภายในรัฐ
มาตัง้ แต่ในอดีต ซึง่ ปรากฏการณก์ ารก่อการร้ายในอดีตส่วนใหญ่นน้ั จะมีความ
เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม ผนวกรวมกับประเด็นทางการ-
เมืองที่เป็นการแสดงการตอบโต้ต่อการถูกกระทำ�และเปลี่ยนแปลงไปตาม
บริบทของสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์3 โดยเกิดขึ้นภายในขอบเขตที่
จำ�กัดของรัฐใดรัฐหนึ่งและไม่อยู่ในระดับที่เป็นการทำ�ลายล้างสูง จึงทำ�ให้
การก่อการร้ายในอดีตนัน้ ไม่คอ่ ยได้รบั ความสนใจจากสังคมระหว่างประเทศ
เท่าที่ควร เนื่องจากรัฐยังคงมองว่าการก่อการร้ายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายใน
ประเทศมากกว่า
เหตุการณ์ 9/11 ทำ�ให้โลกก้าวเข้าสู่มิติใหม่ของความมั่นคง การ
ก่อการร้ายกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสมาชิกในสังคมระหว่าง
ประเทศเพิม่ มากขึน้ อย่างเห็นได้ชดั เหตุการณ์ 9/11 สะท้อนให้เห็นถึงความ
ต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของประเด็นปัญหาการก่อการร้ายในสังคม
ระหว่างประเทศ และเป็นจุดเปลี่ยนสำ�คัญที่กระตุ้นให้ประชาคมโลกเกิด
ความตื่นตัวต่อภัยคุกคามการก่อการร้าย อีกทั้งยังปรับเปลี่ยนทัศนคติและ
มุมมองที่มีต่อการก่อการร้ายไปสู่การเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ถูกขับ-
เคลื่อนด้วยพลังของความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมที่มีความรุนแรงน่า
สะพรึงกลัวและมีความซับซ้อน โดยขอบเขตของการก่อการร้ายไม่ได้จำ�กัด
อยู่เพียงแค่ภายในรัฐเหมือนในอดีตอีกต่อไป แต่กลายเป็นการก่อการร้าย
รูปแบบใหม่ที่มีลักษณะข้ามชาติมีเครือข่ายครอบคลุมและกระจายตัวเป็น
กลุ่มย่อยตามพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก และมีเป้าหมายการโจมตีในวง
กว้าง ยากต่อการควบคุม ซึ่งทุกประเทศมีโอกาสที่จะตกเป็นเป้าหมายของ
การก่อการร้ายได้ทั้งสิ้น ส่งผลให้ระบบระหว่างประเทศมีความสลับซับซ้อน
มากยิง่ ขึน้ และแปรเปลีย่ นจากการเผชิญหน้าระหว่างรัฐในอดีตไปสูก่ ารเผชิญ
หน้ากับลัทธิก่อการร้ายซึ่งเป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ
3
ดลยา เทียนทอง, ปฐมบทการก่อการร้าย: รากเหง้า ความเป็นไป และพลวัต
(กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550), หน้า 7.

3 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
สิ่งสำ�คัญที่ทำ�ให้การก่อการร้ายขยายตัวออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้
อย่างรวดเร็วนั้น เป็นผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการ
ขยายตัวของการก่อการร้าย ในยุคของโลกไร้พรมแดนการก่อการร้ายได้
ก้าวข้ามข้อจำ�กัดทางภูมิศาสตร์และขอบเขตของรัฐ ผ่านการสร้างระบบ
เครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก มีเป้าหมายเชิงสัญลักษณ์ที่มุ่งโจมตีสถาน-
ที่หรือเมืองใหญ่ที่สำ�คัญของโลก โดยมุ่งหวังผลทางจิตวิทยาเพื่อสร้างความ
หวาดกลัวต่อเป้าหมายในวงกว้าง ซึ่งผลพวงจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำ�ให้
เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่สามารถส่งผ่าน
ไปยังทีต่ า่ งๆ ได้อย่างรวดเร็วนัน้ ทำ�ให้การแสวงหาสมาชิก การติดต่อสือ่ สาร
การวางแผนและการประสานงานระหว่างเครือข่ายก่อการร้ายในพื้นที่ต่างๆ
ทั่วโลกมีความสะดวกและเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำ�ให้ยากต่อการ
ควบคุม ป้องกันและปราบปราม4 นอกจากนี้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกลายเป็น
อาวุธที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ก่อการร้ายในการพัฒนาอาวุธที่มี
อานุภาพในการทำ�ลายล้างสูง เช่น อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมีชวี ภาพ เป็นต้น5
จึงทำ�ให้การก่อการร้ายรูปแบบใหม่สามารถสร้างความเสียหายและการทำ�ลาย
ล้างที่มีความเข้มข้นและรุนแรง
จะเห็นได้วา่ การก่อการร้ายกลายเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทเี่ ข้ามา
มีบทบาทและอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ
เหตุการณ์ 9/11 ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสำ�คัญกับภัยคุกคาม
การก่อการร้ายที่กลายเป็นปัญหาความมั่นคงข้ามชาติรูปแบบใหม่และส่งผล
ให้โลกในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนและยากที่จะจัดการรับมือมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น การก่อการร้ายจึงเป็นประเด็นสำ�คัญที่เข้ามามีบทบาทในการท้าทาย
เสถียรภาพและความมั่นคงของระบบระหว่างประเทศที่ทำ�ให้รัฐต่างๆ ใน
สังคมระหว่างประเทศต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายอย่างหลีก
เลี่ยงไม่ได้

4
Brian Forst, Terrorism, Crime, and Public Policy (Cambridge:
Cambridge University Press, 2009), p. 166.
5
Ibid., p. 168.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 4
~3~
ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอดีต
หากมองย้อนกลับไปในอดีต การก่อการร้ายไม่ได้เป็นประเด็นสำ�คัญ
ในยุทธศาสตร์ความมั่นคงของออสเตรเลียเท่าไรนัก แม้ว่าจะมีเหตุการณ์
การก่อการร้ายปรากฏให้เห็นในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในภูมภิ าค
ตะวันออกกลาง แต่รัฐบาลออสเตรเลียก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร
เนื่องจากมองว่าการก่อการร้ายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกล อีกทั้ง
ออสเตรเลียยังไม่เคยเผชิญกับการถูกโจมตีจากการก่อการร้ายโดยตรง จึง
ทำ�ให้เกิดการมองว่าปัญหาการก่อการร้ายไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อออสเตรเลีย
แต่เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการต่อต้านอาณานิคม การต่อสู้เพื่อ
การปฏิวัติในประเทศกำ�ลังพัฒนา และเป็นเพียงความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
หรือทางการเมืองทีเ่ กิดขึน้ ภายในรัฐใดรัฐหนึง่ เท่านัน้ ซึง่ ไม่ได้สง่ ผลกระทบ
ต่อรัฐอื่นๆ ในระบบระหว่างประเทศ6
ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 ออสเตรเลียเริ่มให้ความสำ�คัญกับ
ประเด็นปัญหาการก่อการร้ายมากขึน้ เนือ่ งจากมีเหตุการณก์ ารก่อการร้ายเกิด
ขึ้นในออสเตรเลียหลายครั้ง เช่น การลอบวางระเบิดโรงแรมฮิลตันที่ซิดนีย์
ใน ค.ศ. 1978 การลอบวางระเบิดสถานกงสุลอิสราเอลใน ค.ศ. 1982 การลอบ
วางระเบิดสถานกงสุลตุรกีทเี่ มลเบิรน์ ใน ค.ศ. 1986 และการลอบวางระเบิด
สถานกงสุลฝรั่งเศสที่เพิรทใน ค.ศ. 1995 เป็นต้น7 เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้
ทำ�ให้รฐั บาลออสเตรเลียเริม่ ให้ความสนใจกับประเด็นการก่อการร้ายและเริม่
แสวงหามาตรการในการรับมือและจัดการกับปัญหาการก่อการร้ายที่เกิดขึ้น
โดยให้ความสำ�คัญกับการพัฒนากฎหมายและมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย
ภายในประเทศ เนือ่ งจากในอดีตออสเตรเลียไม่เคยมีกฎหมายหรือมาตรการ
6
David Wright-Neville, “The Politics of Fear: Counter-Terrorism
and Australian Democracy,” Real Instituto Elcano Working Paper, Vol.
8, No. 27 (2006): 2.
7
Justin Healey, Terrorism and National Security (New South Wales:
Spinney Press, 2011), p. 6.

5 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
รับมือเกีย่ วกับการก่อการร้ายโดยตรง จึงทำ�ให้กลุ่มก่อการร้ายประสบความ
สำ�เร็จในการก่อเหตุในออสเตรเลีย ดังจะเห็นได้จากการเกิดเหตุการณต์ า่ งๆ
ที่กล่าวมาข้างต้น
เหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในออสเตรเลียตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1970
เป็นต้นมานั้น ทำ�ให้รัฐบาลออสเตรเลียเริ่มให้ความสำ�คัญกับการจัดการ
กับปัญหาการก่อการร้าย โดยเน้นการพัฒนาหน่วยงานภายในเพื่อจัดการ
กับปัญหาการก่อการร้าย ผ่านการเพิ่มอำ�นาจและงบประมาณในการพัฒนา
องคก์ รข่าวกรองเพือ่ ความมัน่ คงแห่งออสเตรเลีย (Australian Security
Intelligence Organization-ASIO) รวมทั้งหน่วยงานความมั่นคง
อื่นๆ เพื่อเพิ่มบทบาทในการจัดการกับภัยคุกคามของชาติ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งประเด็นเรื่องการก่อการร้าย พร้อมทั้งริเริ่มจัดตั้งสำ�นักงานตำ�รวจแห่ง
สหพันธรัฐออสเตรเลียใน ค.ศ. 1979 มีการออกกฎหมายและมาตรการ
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายทั้งด้านข่าวกรอง การป้องกัน
และกลไกการจัดการวิกฤต8 นอกจากนี้ ยังจัดตั้งศูนย์นโยบายในภาวะวิกฤต
(Crisis Policy Centre) เพื่อควบคุมสถานการณ์และรักษาความสงบ
เรียบร้อยของประเทศในช่วงเวลาเกิดเหตุฉกุ เฉิน ซึง่ มาตรการต่างๆ เหล่านี้
กลายเป็นพืน้ ฐานสำ�คัญของการต่อต้านก่อการร้ายทีส่ บื เนือ่ งมาจนถึงปัจจุบนั 9
การนิยามการก่อการร้ายของออสเตรเลียตามประมวลกฎหมายอาญา
(Commonwealth Criminal Code Act) ค.ศ. 1995 ได้นิยามไว้ว่า
การก่อการร้าย คือการกระทำ�หรือภัยคุกคามที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
หรือถึงแก่ชวี ติ ต่อบุคคล โดยเป็นภัยคุกคามทีเ่ กิดขึน้ จากแรงจูงใจทางการ-
เมือง อุดมการณห์ รือศาสนา โดยมีเป้าหมายมุง่ โจมตี ทำ�ลาย หรือก่อให้เกิด
ความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิต ทรัพย์สนิ และความปลอดภัยของประชาชน10
8
Ibid., p. 3.
9
Clive Williams, “Australia,” in Terrorism in Southeast Asia:
Implications for South Asia, Wilson John, ed., (Singapore: Pearson
Education, 2005), p. 237.
10
Commonwealth of Australia, Transnational Terrorism: The Threat

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 6
แม้ว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะเริ่มให้ความสนใจกับปัญหาการก่อการ
ร้ายและมีมาตรการในการจัดการและรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็น
รูปธรรมมากขึ้น ผ่านการออกกฎหมายและดำ�เนินมาตรการต่างๆ รวมถึง
ริเริ่มจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งมีส่วนช่วย
ทำ�ให้ออสเตรเลียรอดพ้นจากการเผชิญกับการก่อการร้ายมานานกว่า 20 ปี
อย่างไรก็ตาม การดำ�เนินมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียใน
ช่วงแรกเริ่มนั้นนั้นยังคงมีจุดอ่อน กล่าวคือ การดำ�เนินมาตรการต่อต้านการ
ก่อการร้ายของออสเตรเลียในช่วงนีย้ งั เป็นเพียงแค่การตอบสนอง (React)
และจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งไม่ได้มีความเข้มงวดเท่า
ที่ควร อีกทั้งการทำ�งานของหน่วยงานต่างๆ ยังคงขาดความเชื่อมโยงและ
การประสานความร่วมมือ ประกอบกับมีหน่วยงานเพียงไม่กี่หน่วยงานที่ทำ�
หน้าทีเ่ กีย่ วข้องกับการต่อต้านการก่อการร้าย จึงอาจทำ�ให้การดำ�เนินนโยบาย
ดำ�เนินไปไม่เต็มที่เท่าที่ควร11 ซึ่งจุดอ่อนดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากรัฐบาล
ออสเตรเลียยังคงไม่ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามการก่อการร้าย ดังจะเห็นได้
จากรายงานประจำ�ปีขององค์กรข่าวกรองเพื่อความมั่นคงของออสเตรเลีย
ค.ศ. 1984 ที่ระบุไว้ว่า “ภัยคุกคามการก่อการร้ายของออสเตรเลียยังคงอยู่
ในระดับต่ำ� และการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในออสเตรเลียนั้นไม่ได้มีเป้าหมาย
โจมตีชาวออสเตรเลียโดยตรง แต่เป็นเพียงความต้องการโจมตีชาวต่างชาติ
ในออสเตรเลียซึง่ เป็นการโจมตีขนาดเล็กเท่านัน้ ”12 ซึง่ รายงานข้างต้นสะท้อน
ให้เห็นว่า รัฐบาลออสเตรเลียยังคงมองว่าการก่อการร้ายไม่ได้เป็นภัยคุกคาม
ที่มีความร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อออสเตรเลียโดยตรง

to Australia (Canberra: Commonwealth of Australia, 2004), p. 3.


11
Department of the Prime Minister and Cabinet, Review of
Australia’s Counter-Terrorism Machinery (Canberra: Commonwealth of
Australia, 2015), p. 5.
12
The Parliament of Australia, International Terrorism Recent
Developments and Implications for Australia (Canberra: Commonwealth
of Australia, 1986), p. 17.

7 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
~4~
ภาพรวมการดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้าย
ของออสเตรเลียภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ 9/11
จุดเริ่มต้นของการดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของออส-
เตรเลียเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ 9/11 เมื่อสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น
ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการถูกโจมตีจากกลุ่มก่อการร้าย ได้ประกาศ
การทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้ายโดยเน้นการใช้หลักการโจมตีก่อน
เพื่อตอบโต้กลุ่มก่อการร้าย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เข้าร่วมใน
สงครามครัง้ นีด้ ว้ ย ออสเตรเลียในฐานะประเทศพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐ-
อเมริกามาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และต้องการรักษาไว้ซึ่ง
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงกับสหรัฐอเมริกาจึงประกาศการ
เข้าร่วมทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้ายอย่างรวดเร็ว เพื่อแสดงให้สหรัฐ-
อเมริกาเห็นถึงการเป็นพันธมิตรที่จงรักภักดีและพร้อมที่จะเผชิญกับภัย
คุกคามร่วมกัน13 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา
ในการทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้ายจึงกลายเป็นประเด็นสำ�คัญในยุทธ-
ศาสตร์ความมั่นคงของออสเตรเลีย
การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นกลายเป็นภัยคุกคามสำ�คัญที่ส่งผลกระทบ
ต่อชาติตะวันตก รัฐบาลออสเตรเลียจึงเริ่มหันกลับมาให้ความสนใจและ
ตระหนักถึงภัยของการก่อการร้ายอีกครัง้ หนึง่ โดยนายจอหน์ โฮเวิรด์ นายก-
รัฐมนตรีของออสเตรเลียเล็งเห็นว่า ออสเตรเลียจำ�เป็นที่จะต้องมีมาตรการ
ในการป้องกันและยับยัง้ การขยายตัวของการก่อการร้ายก่อนทีก่ ารก่อการร้าย
จะส่งผลกระทบต่อออสเตรเลีย14 จึงนำ�ไปสู่การดำ�เนินนโยบายต่อต้านการ
ก่อการร้ายที่ขยายออกไปครอบคลุมในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ ระดับ

13
Roger Bell, “Extreme Allies: Australia and the USA,” in Trading
on Alliance Security: Australia in World Affairs, 2001-2005, p. 28.
14
John Howard, Australia’s Strategic Future (Canberra: Proceedings
of the ASPI Conference, 2007), p. 5.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 8
ภูมิภาค และระดับโลก ซึ่งดำ�เนินควบคู่กันทั้งสามระดับ ดังนี้
1) ระดับภายในประเทศ กลไกการต่อต้านการก่อการร้ายภายใน
ของออสเตรเลียเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมหลังจากเกิดเหตุการณ์ 9/11 เมื่อ
การก่อการร้ายภายในประเทศเพิม่ มากขึน้ จากกระแสการตืน่ ตัวของชาวมุสลิม
ทั่วโลก ทำ�ให้ชาวมุสลิมในออสเตรเลียได้รับแนวคิดและแรงบันดาลใจจาก
การเคลื่อนไหวของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในภูมิภาคต่างๆ ออสเตรเลียจึงให้
ความสำ�คัญกับการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงาน
ภายในประเทศในการจัดการกับการก่อการร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมุ่งเน้น
การพัฒนาศักยภาพด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของหน่วยงานความมั่นคง
หน่วยข่าวกรอง และหน่วยงานตำ�รวจให้มีความพร้อมต่อการรับมือกับภัย
คุกคาม การออกกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย การจัดตั้งศูนย์ประเมินภัย
คุกคามแห่งชาติทมี่ หี น้าทีใ่ นการรับผิดชอบเกีย่ วกับการต่อต้านการก่อการร้าย
โดยตรง รวมทั้งขยายเครือข่ายการทำ�งานกับประเทศพันธมิตรอื่นๆ เพื่อมุ่ง
เน้นการเฝ้าระวังและการคุม้ ครองคนในชาติและแผ่นดินของออสเตรเลียให้
รอดพ้นจากภัยการก่อการร้าย15
2) ระดับภูมิภาค ความสำ�คัญของการดำ�เนินนโยบายต่อต้านการ
ก่อการร้ายของออสเตรเลียในระดับภูมิภาคปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนภายหลัง
จากการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลี ทำ�ให้ออสเตรเลียเกิดความกังวลว่าการ
ก่อการร้ายในภูมภิ าคจะส่งผลกระทบต่อความมัน่ คงของออสเตรเลียโดยตรง
เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดและเต็มไป
ด้วยผลประโยชนข์ องออสเตรเลียทัง้ ทางยุทธศาสตรแ์ ละเศรษฐกิจ ประกอบ
กับเป็นภูมภิ าคหนึง่ ทีเ่ ป็นแนวรบทีส่ องของการดำ�เนินยุทธศาสตรต์ อ่ ต้านการ
ก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกา โดยเป็นพืน้ ทีท่ สี่ หรัฐอเมริกามองว่าเป็นแหล่ง
หลบซ่อนและเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม
ก่อการร้ายสากล
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลออสเตรเลียจึงให้ความสำ�คัญอย่างเร่งด่วนกับการ

Commonwealth of Australia, Protecting Australia against Terrorism


15

(Canberra: Department of the Prime Minister Cabinet, 2004), p. 38.

9 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ขยายความร่วมมือต่อต้านการก่อการร้ายกับประเทศภูมภิ าคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ผ่านการให้ความช่วยเหลือประเทศ
ต่างๆ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพในการต่อต้านการ
ก่อการร้าย โดยเน้นการจัดการกับปัญหาในระยะสัน้ พร้อมทัง้ วางแผนแก้ไข
ปัญหาในระยะยาวเพื่อลดภัยคุกคามจากการก่อการร้าย อีกทั้งยังแต่งตั้งทูต
ต่อต้านการก่อการร้ายใน ค.ศ. 2003 โดยมีบทบาทสำ�คัญในการประสานและ
ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของออสเตรเลียกับหน่วยงานอืน่ ๆ ใน
ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการต่อต้านการก่อการร้ายผ่านการพัฒนา
ศักยภาพและเป็นผู้นำ�ในการสร้างความเชื่อมโยงผ่านเวทีความร่วมมือด้าน
การต่อต้านการก่อการร้ายระดับพหุภาคี16 ซึง่ การแต่งตัง้ ทูตต่อต้านการก่อการ
ร้าย นอกจากจะช่วยตอบสนองต่อการจัดการกับภัยการก่อการร้ายแล้ว ยัง
เป็นการเปิดโอกาสให้ออสเตรเลียได้พฒ ั นาความสัมพันธก์ บั ประเทศภายใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวางอยู่บนพื้นฐานของการมีภัยคุกคาม
ร่วมกัน17 และเป็นการเอือ้ ประโยชนใ์ นการแสดงบทบาทการเป็นผูน้ �ำ ในการ
ต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียในระดับนานาชาติ
3) ระดับโลก ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสำ�คัญกับการ
ต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศของออสเตรเลีย โดยวางอยูบ่ นพืน้ ฐาน
ของการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในการทำ�สงครามตอบโต้กลุ่มก่อการ
ร้าย หลังจากที่สหรัฐอเมริกาประกาศการทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
นายจอหน์ โฮเวิรด์ นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย จึงได้อา้ งมาตราที่ 4 ของ
สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา
(Australia, New Zealand and the United States of America

16
Commonwealth of Australia, Protecting Australia against Terrorism,
p. 14.
17
Bruce Vaughn, “Australia: America’s Closest Ally,” in Asian
Security Handbook: Terrorism and the New Security Environment,
William M. Carpenter and David G. Wiencek, ed., (New York: M.E.
Sharpe), p. 42.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 10
Security Treaty-ANZUS)18 ในการเข้าร่วมสงครามต่อต้านการก่อการ
ร้ายอย่างรวดเร็ว เพือ่ แสดงให้สหรัฐอเมริกาเห็นถึงการเป็นพันธมิตรทีจ่ งรัก
ภักดีและพร้อมทีจ่ ะเผชิญกับภัยคุกคามร่วมกัน อีกทัง้ ออสเตรเลียยังคำ�นึงถึง
ผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคง โดยออสเตรเลียเล็งเห็นว่า
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดนั้น เต็มไป
ด้วยภัยคุกคามทีเ่ ป็นอันตรายต่อความมัน่ คงของออสเตรเลีย ดังนัน้ การเป็น
พันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศมหาอำ�นาจที่มีความเข้มแข็งทาง
การทหาร จะช่วยเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงให้กับออสเตรเลียได้19
การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในการทำ�สงครามต่อ-
ต้านการก่อการร้ายนัน้ ออสเตรเลียเน้นการใช้หลักการโจมตีกอ่ นเพือ่ ตอบโต้
กับกลุ่มก่อการร้าย เนื่องจากมองว่าเป็นสิ่งจำ�เป็นที่ออสเตรเลียนำ�มาใช้ใน
การป้องกันตนเองเพือ่ ตอบสนองต่อการโจมตีของกลุม่ ก่อการร้าย20 จึงนำ�ไป
สูก่ ารใช้มาตรการทางทหารในการเข้าร่วมทำ�สงครามโจมตีฐานทีม่ นั่ ของกลุม่
อัลกออิดะฮ์และโค่นล้มรัฐบาลฏอลิบันในอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 2001 และ
การเข้าโจมตีอิรักใน ค.ศ. 2003 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน โดยอ้าง
เหตุผลว่าอิรักมีอาวุธที่มีอำ�นาจทำ�ลายล้างสูงไว้ในครอบครองและมีความ
เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย ออสเตรเลียจะต้องทำ�ลายอาวุธที่มีอานุภาพ
18
สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา หรือสนธิ-
สัญญาแอนซัส (Australia, New Zealand and the United States of America
Security Treaty-ANZUS) ลงนามเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1951 ที่ซานฟรานซิสโก
สหรัฐอเมริกา เป็นสนธิสัญญาความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตกลง
ให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ซึ่งมาตราที่ 4 (Article
IV) ของสนธิสัญญา ANZUS ระบุไว้ว่า ประเทศภาคีแต่ละฝ่ายตระหนักดีว่าการถูกโจมตี
ของประเทศภาคีใดๆ ด้วยกำ�ลังอาวุธในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ถือว่าเป็นอันตรายต่อสันติภาพ
และความมัน่ คงของประเทศภาคีทง้ั หมด และประเทศภาคีทง้ั หมดมีสทิ ธิทจ่ี ะตอบสนองต่อการ
เผชิญกับภัยคุกคามร่วมกัน
19
Paul Dibb, “Australia-United States,” in Australia as an Asia-
Pacific Regional Power: Friendships in Flux?, Brendan Taylor, ed.,
(London: Routledge, 2007), p. 33.
20
John Howard, Australia’s Strategic Future (Canberra: Proceedings
of the ASPI Conference, 2007), p. 5.

11 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ทำ�ลายล้างสูง ซึ่งเป็นภารกิจตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีความ
ชอบธรรมแม้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากองค์การสหประชาชาติก็ตาม21 ซึ่ง
การทำ�สงครามดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากออสเตรเลียได้รับผลกระทบและ
สูญเสียพลเมืองจากการโจมตีของกลุ่มอัลกออิดะฮ์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ทั้ง
ในสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 2001 ตุรกีใน ค.ศ. 2003 ซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ.
2004 และลอนดอนใน ค.ศ. 2005
การต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียภายหลังเหตุการณ์ 9/11
ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ความมั่นคงของออสเตรเลีย ภาย-
ใต้การนำ�ของนายจอห์น โฮเวิร์ด มีความเชื่อมโยงกับสหรัฐอเมริกาอย่าง
ชัดเจน แต่การเป็นพันธมิตรและหุน้ ส่วนทางยุทธศาสตรค์ วามมัน่ คงระหว่าง
ออสเตรเลียกับสหรัฐอเมริกาถูกกระชับให้แน่นแฟ้นมากยิง่ ขึน้ ส่งผลให้ความ
สัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งการเข้าร่วมทำ�
สงครามดังกล่าว ออสเตรเลียไม่เพียงแต่ได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
ในการบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างออสเตรเลียกับสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
แต่สหรัฐอเมริกายังสามารถเป็นหลักประกันและช่วยเสริมสร้างความเข้ม-
แข็งด้านความมัน่ คงให้กบั ออสเตรเลียในภูมภิ าคเอเชีย-แปซิฟกิ ด้วยเช่นกัน
~5~
การก่อการร้ายในอินโดนีเซียและผลกระทบต่อออสเตรเลีย
การก่อการร้ายกลายเป็นภัยคุกคามที่เข้ามามีบทบาทในการบั่นทอน
เสถียรภาพและความมัน่ คงของออสเตรเลียอย่างแท้จริงภายหลังจากเกิดการ
ลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ออสเตรเลียต้องเผชิญกับ
การก่อการร้ายจากการตกเป็นเป้าหมายของการถูกโจมตีโดยตรง เหตุการณ์
ครัง้ นีส้ ะท้อนให้เห็นว่าการก่อการร้ายทีเ่ กิดขึน้ ในอินโดนีเซียซึง่ เป็นประเทศ

21
William T. Tow, “Deputy Sheriff or Independent Ally? Evolving
Australia-American Ties in a Ambiguous World Order,” The Pacific
Review, Vol. 17 (2004): 272.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 12
เพือ่ นบ้านใกล้เคียงนัน้ กลายเป็นภัยคุกคามสำ�คัญทีส่ ง่ ผลกระทบต่อเสถียร-
ภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและความมั่นคง รวมถึงผลประโยชน์ของ
ออสเตรเลียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เหตุการณ์การก่อการร้ายทีเ่ กิดขึน้ ในอินโดนีเซียนัน้ ยิง่ เป็นการตอกย้�ำ
ให้ชาติตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิง่ สหรัฐอเมริกามองว่าอินโดนีเซียเป็นพืน้ ที่
ทีเ่ ป็นแหล่งซ่องสุมของเครือข่ายก่อการร้าย เนือ่ งจากอินโดนีเซียเป็นประเทศ
มุสลิมที่ใหญ่ท่ีสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับสภาพ
ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะและความอ่อนแอของรัฐบาลในการบริหาร
ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการสิ้นสุดของระบอบซูฮาร์โตและวิกฤต
เศรษฐกิจใน ค.ศ. 1997 ทำ�ให้อนิ โดนีเซียเกิดความไร้เสถียรภาพและความ
ไม่ม่ันคงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองภายใน จึงเป็นปัจจัยสำ�คัญที่
เอือ้ ต่อการขยายตัวของกลุม่ ก่อการร้ายในอินโดนีเซียโดยเฉพาะอย่างยิง่ กลุม่
ญะมาอะฮ์ อิสลามิยะหห์ รือกลุม่ เจไอ22 ซึง่ เป็นกลุม่ ก่อการร้ายสากลที่มีส่วน
เกีย่ วข้องกับเหตุการณก์ อ่ การร้ายทีส่ �ำ คัญในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลายเหตุการณ์
กลุ่มเจไอเป็นกลุ่มก่อการร้ายสากลของกลุ่มมุสลิมแนวคิดสุดโต่ง
ที่เคลื่อนไหวและมีบทบาทเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพและความมัน่ คงของ
ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นกลุม่ ก่อการร้ายที่ได้รับแนวคิดและ
อิทธิพลจากการเคลื่อนไหวของขบวนการดารุลอิสลามซึ่งเป็นขบวนการ
เคลื่อนไหวของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงเก่าแก่ในอินโดนีเซีย ก่อตั้งขึ้นอย่าง
เป็นทางการใน ค.ศ. 1993 โดยมีนายอับดุลเลาะห์ ซุงกาและนายอบูบาการ์
บาซีร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งทั้งสองเคยเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มดารุลอิสลาม
และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาอัลมุอ์มิน (Al-Mukmin) ในชวา
กลาง ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้กลายเป็นแหล่งเผยแพร่แนวคิด ปลูกฝังคำ�สอน

Bilveer Singh, “The Challenge of Militant Islam and Terrorism in


22

Indonesia,” Australian Journal of International Affairs, Vol. 58, No. 1


(March 2004): 58.

13 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ทางศาสนาและเป็นศูนย์กลางการดำ�เนินกิจกรรมของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง23
มีเป้าหมายสำ�คัญเพื่อต้องการสถาปนารัฐอิสลามในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ ครอบคลุมพืน้ ทีบ่ ริเวณคาบสมุทรมลายู ตัง้ แต่อนิ โดนีเซีย มาเลเซีย
หมู่เกาะตอนใต้ของฟิลิปปินส์ รวมถึงภาคใต้ของไทย รวมทั้งยังต้องการนำ�
กฎหมายชารีอะห์มาใช้ในอินโดนีเซีย
การเคลือ่ นไหวของกลุม่ เจไอดำ�เนินไปภายใต้โครงสร้างและเครือ-
ข่ายปฏิบัติการ โดยโครงสร้างการปฏิบัติการ ประกอบด้วย ผู้นำ� (Amir)
สภาบัญชากลาง (Markaz) และสภาที่ปรึกษา (Shura) ที่ควบคุมดูแล
ปฏิบัติการของเครือข่ายทั้งหมด โดยเครือข่ายการเคลื่อนไหวนั้นจะอยู่ใน
รูปแบบของกลุม่ ย่อยทีม่ ขี นาดเล็ก มีความซับซ้อน และกระจายอยูค่ รอบคลุม
ทัว่ ทัง้ ภูมภิ าค24 แต่ปจั จัยทีท่ �ำ ให้กลุม่ เจไอกลายเป็นกลุม่ ก่อการร้ายทีส่ ามารถ
ปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพมี 2 ประการ คือ
ประการแรก คือ การมีเครือข่ายปฏิบัติการที่แบ่งออกเป็นพื้นที่
ปฏิบัติการ (Mantiqi) 4 พื้นที่ มีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกัน
ไป โดยพืน้ ที่ 1 ใช้เป็นแหล่งในการจัดหาทุนและอุปกรณต์ า่ งๆ สำ�หรับใช้ใน
การก่อการร้าย พื้นที่ 2 ใช้เป็นพื้นที่หลักในการก่อการร้ายและเป็นตัวกลาง
ในการประสานงานกับเครือข่ายอื่นๆ ในภูมิภาค พื้นที่ 3 ใช้สำ�หรับฝึกฝน
ยุทธวิธี และพื้นที่ 4 ใช้สำ�หรับจัดหาแหล่งเงินทุนและเป็นช่องทางในการ
คัดเลือกและฝึกฝนสมาชิกในการก่อการร้าย25 โดยทั้ง 4 พื้นที่นั้นจะทำ�งาน
ประสานสอดคล้องกันและกระจายตัวอยู่ครอบคลุมอยู่ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ (ดังแสดงให้เห็นในภาพที่ 1)
ประการที่สอง การมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายที่มี
23
สุรชาติ บำ�รุงสุข, ขบวนการก่อการร้ายเจไอ (กรุงเทพฯ: อนิเมทกรุ๊ป, 2550), หน้า
11.
สุรชาติ บำ�รุงสุข, ญะมาอะฮ์ อิสลามิยะห์: ตัวแบบก่อการร้ายร่วมสมัย (กรุงเทพฯ:
24

ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554), หน้า


15.
25
Singh, “The Challenge of Militant Islam and Terrorism in Indonesia,”
pp. 54-55.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 14
แนวคิดสุดโต่งกลุ่มอื่นๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก โดยในระดับ
ภูมภิ าค กลุม่ เจไอมีความเชือ่ มโยงกับกลุม่ ก่อการร้ายอืน่ ๆ เช่น กลุม่ กัมปูลนั
มูจาฮิดีน (Kumpulan Mujahideen Malaysia) ในมาเลเซีย กลุ่ม
แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islam Liberation Front) ใน
ฟิลิปปินส์ กลุ่มมูจาฮิดีนปัตตานี (Gerakan Mujahidin Patani) ทาง
ภาคใต้ของไทย26
ภาพที่ 1 แผนที่แสดงเครือข่ายการปฏิบัติการของกลุ่มเจไอ

ทีม่ า: https://terrortrendsbulletin.com/category/jemaahislamiyah/27
ส่วนในระดับโลก กลุม่ เจไอมีความเชือ่ มโยงกับกลุม่ ก่อการร้ายอัล-
กออิดะฮ์ ที่ต้องการแสวงหาเครือข่ายสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

สุรชาติ บำ�รุงสุข, ญะมาอะฮ์ อิสลามิยะห์: ตัวแบบก่อการร้ายร่วมสมัย, หน้า 15.


26

Terror Trends Bulletin, “Jemaah Islamiyah Operation,” [Online]


27

Available from: https://terrortrendsbulletin.files.wordpress.com/2015/01/3.


png [10 December 2015]

15 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
เฉียงใต้ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการก่อการร้ายให้ครอบคลุมทั่ว
ทั้งภูมิภาค โดยสมาชิกของกลุ่มเจไอบางส่วนได้รับการฝึกจากค่ายฝึกของ
กลุม่ อัลกออิดะฮ์ในอัฟกานิสถาน รวมทัง้ ยังได้รบั ความช่วยเหลือในการจัดหา
อาวุธและการสนับสนุนด้านเงินทุน28 ซึง่ การมีความสัมพันธแ์ ละความเชือ่ ม-
โยงกับกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลกนั้น ช่วย
สนับสนุนการฝึกฝนสมาชิก การพัฒนาด้านอาวุธและยุทธวิธตี า่ งๆ การอำ�นวย
ความสะดวกในการปฏิบตั กิ ารและช่วยเสริมสร้างศักยภาพและเพิม่ ขีดความ
สามารถของสมาชิกให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลของกระแสโลกา-
ภิวตั น์ท�ำ ให้การระดมหาสมาชิก การติดต่อสือ่ สาร การวางแผนและประสาน-
งานระหว่างกลุ่มเจไอกับเครือข่ายการก่อการร้ายในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกนั้นมี
ความสะดวกและเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยทัง้ สองประการข้างต้นกลายเป็นจุดแข็งทีท่ �ำ ให้กลุม่ เจไอกลาย
เป็นกลุม่ ก่อการร้ายทีม่ อี ทิ ธิพลในการบัน่ ทอนเสถียรภาพและความมัน่ คงของ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังจะเห็นได้จากการก่อเหตุของกลุ่มเจไอ
ในอินโดนีเซียที่ผ่านมาล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ไม่
ว่าจะเป็นการลอบวางระเบิดทำ�เนียบทูตฟิลิปปินส์ในกรุงจาการ์ตาใน ค.ศ.
2000 การลอบวางระเบิดโบสถค์ ริสต์ 17 แห่งในอินโดนีเซียหรือเหตุการณว์ นั
คริสต์มาสอีฟใน ค.ศ. 2000 การวางระเบิดห้างสรรพสินค้าเอเทรียมในกรุง
จาการ์ตาใน ค.ศ. 2001 รวมถึงการวางแผนลอบสังหารนางเมกาวาตี ซูการโ์ น
บุตรี ประธานาธิบดีอนิ โดนีเซีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เหตุการณท์ ที่ �ำ ให้กลุม่
เจไอกลายเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือการลอบวางระเบิดบน
เกาะบาหลีใน ค.ศ. 2002 รวมถึงการก่อการร้ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่ง
ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำ�นวนมาก
การลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลี ถือได้วา่ เป็นเหตุการณก์ ารก่อการ
ร้ายทีส่ ร้างความเสียหายรุนแรงทีส่ ดุ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิด
ขึน้ เมือ่ วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 บริเวณหาดคูตาบนเกาะบาหลีและสถาน
28
สุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์, เจไอคืออะไร (กรุงเทพฯ: โอเพ่น บุ๊คส์, 2549), หน้า
52.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 16
กงสุลสหรัฐอเมริกาในเดนปาซาร์ ส่งผลให้มผี เู้ สียชีวติ จำ�นวน 202 คน และ
บาดเจ็บอีกกว่า 209 คน ซึง่ ผูเ้ สียชีวติ ส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลียมีจ�ำ นวน
มากถึง 88 คน29 เหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มก่อการร้ายได้เปลี่ยน-
แปลงเป้าหมายการโจมตีไปสูก่ ารโจมตีเป้าหมายแบบอ่อน (Soft Targets)
ซึง่ เป็นเป้าหมายทีม่ คี วามเปราะบาง มีการเฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัย
ในระดับต่ำ� เช่น ร้านอาหาร ไนต์คลับ โรงละคร หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่
เต็มไปด้วยผูค้ นพลุกพล่าน โดยมุง่ หวังผลทางจิตวิทยา เพือ่ สร้างความหวาด
กลัวต่อเป้าหมายในวงกว้าง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกให้
กับรัฐบาลและประชาชนชาวออสเตรเลียเป็นอย่างมาก
สาเหตุท่อี อสเตรเลียตกเป็นเป้าหมายการโจมตีในครั้งนี้ เนื่องจาก
ออสเตรเลียเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในการทำ�สงครามต่อต้านการ
ก่อการร้าย ประกอบกับออสเตรเลียเคยเข้าไปมีบทบาทในการแยกตัวเป็น
เอกราชของติมอร์ตะวันออก ซึ่งทำ�ให้ชาวมุสลิมไม่พอใจเป็นอย่างมากและ
มองว่าการทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้ายเป็นการทำ�สงครามโจมตีอิสลาม
โดยออสเตรเลียไม่เพียงแต่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีเพียงแค่ในการ
ลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลีเท่านั้น แต่ยังถูกโจมตีจากกลุ่มก่อการร้ายใน
อินโดนีเซียอีกหลายครัง้ ได้แก่ การลอบวางระเบิดโรงแรมเจ ดับบลิว แมริ-
ออท ในกรุงจาการ์ตา ค.ศ. 2003 การลอบวางระเบิดสถานทูตออสเตรเลีย
ค.ศ. 2004 และการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลี ค.ศ. 2005 ซึ่งเหตุการณ์
ทั้งหมดข้างต้นล้วนมีกลุ่มเจไอเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและมีเป้าหมายโจมตีชาติ
ตะวันตกรวมทั้งออสเตรเลียทั้งสิ้น

29
Singh, “The Challenge of Militant Islam and Terrorism in Indonesia,”
p. 58.

17 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
~6~
การต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย
ภายหลังการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลี
การเผชิญความเสี่ยงจากการก่อการร้ายในอินโดนีเซียทำ�ให้ออส-
เตรเลียเกิดความกังวลและยอมรับว่าการก่อการร้ายได้เปลีย่ นแปลงจากความ
รุนแรงที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง กลายเป็นปัญหาที่คืบคลานเข้าใกล้และ
มีอิทธิพลในการบั่นทอนเสถียรภาพและความมั่นคงของออสเตรเลีย จาก
เหตุการณ์ดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นว่าความปลอดภัยของประชาชน ตลอดจน
ผลประโยชน์และความมั่นคงของออสเตรเลียกำ�ลังเผชิญกับภัยคุกคามการ
ก่อการร้ายจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างอินโดนีเซีย
ด้วยเหตุนี้ ออสเตรเลียจึงเริ่มให้ความสำ�คัญกับการดำ�เนินนโยบาย
ต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย โดยเล็งเห็นถึงความจำ�เป็นในการ
จัดการกับภัยคุกคามและพยายามแสวงหาแนวทางเพือ่ สกัดกัน้ และยับยัง้ การ
เคลือ่ นไหวของกลุม่ ก่อการร้ายในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัย
โอกาสนี้ขยายความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายกับอินโดนีเซีย
มากกว่าที่จะมองว่าอินโดนีเซียเป็นภัยคุกคาม30 ซึ่งการขยายความร่วมมือ
นั้นวางอยู่บนพื้นฐานของการมีภัยคุกคามร่วมกัน ดังจะเห็นได้จากข้อความ
ในสมุดปกขาวด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลีย ดังนี้
“ออสเตรเลียมีพันธกรณีต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการ
ต่อต้านการก่อการร้าย ภัยคุกคามดังกล่าวไม่เพียงแต่มี
เป้าหมายโจมตีชาติตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ยัง
บั่นทอนเสถียรภาพและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ
ภูมิภาคในระยะยาว ซึ่งความไร้เสถียรภาพเหล่านี้จะ
ทำ�ลายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของ
30
Aldo Borgu, “Combating Terrorism in East Asia-A Framework for
Regional Cooperation,” Asia-Pacific Review, Vol. 11, No. 2 (2004): 53.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 18
ออสเตรเลียในภูมิภาค ดังนั้น การที่ออสเตรเลียเข้าไปมี
บทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงไม่ใช่เรื่อง
แปลก เพราะปัญหาความมั่นคงของภูมิภาคคือปัญหา
ความมั่นคงของออสเตรเลีย และออสเตรเลียในฐานะ
ประเทศที่มีศักยภาพในการจัดการและเป็นพันธมิตรหลัก
ของสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านการก่อการร้ายจึงจำ�เป็น
อย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือเพื่อนบ้านในภูมิภาคในการ
จัดการกับการก่อการร้าย”31
ข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นภัยคุกคามเร่งด่วนที่ออสเตรเลียจะต้องจัดการ
จึงนำ�ไปสูก่ ารผลักดันให้ออสเตรเลียเข้าไปมีบทบาทในการต่อต้านการก่อการ
ร้ายในอินโดนีเซีย ซึง่ สาเหตุทอ่ี อสเตรเลียมีบทบาทในการต่อต้านการก่อการ
ร้ายในอินโดนีเซียนั้นเกิดจากสาเหตุสำ�คัญ 2 ประการ คือ
ประการแรก อินโดนีเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสำ�คัญ
อย่างยิ่งต่อผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจของออสเตรเลีย ใน
แง่ของยุทธศาสตร์ อินโดนีเซียเป็นประเทศเพือ่ นบ้านทีม่ ที ตี่ งั้ ทางภูมศิ าสตร์
ใกล้ชิดกับออสเตรเลีย มีบทบาทและอิทธิพลต่อการเมืองและความมั่นคง
ของภูมิภาค และเป็นประเทศที่เป็นประตูเชื่อมต่อออสเตรเลียกับภูมิภาค
เอเชีย ส่วนความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ อินโดนีเซียเป็นประเทศทีม่ เี ศรษฐกิจ
ขนาดใหญ่ มีความสำ�คัญทัง้ ในแง่ของการค้าและการลงทุน และเป็นประเทศ
คู่ค้าที่สำ�คัญของออสเตรเลียมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 198032
ประการทีส่ อง การเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในการทำ�สงคราม
31
Commonwealth of Australia, Transnational Terrorism: The Threat
to Australia, p. 52.
32
Commonwealth of Australia, “Indonesia-Australia Comprehensive
Economic Partnership Agreement,” [Online] Available from: http://dfat.gov.
au/trade/agreements/iacepa/pages/indonesia-australia-comprehensive
-economic-partnership-agreement.aspx [8 May 2016]

19 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ต่อต้านการก่อการร้ายผลักดันให้ออสเตรเลียเข้าไปมีบทบาทในการต่อต้าน
การก่อการร้ายในอินโดนีเซีย โดยหลังจากการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลี
ปัญหาการก่อการร้ายในภูมิภาคกลายเป็นประเด็นสำ�คัญที่ส่งผลกระทบต่อ
ความกังวลด้านความมัน่ คงของชาติตะวันตก สหรัฐอเมริกาจึงพยายามผลัก-
ดันให้ออสเตรเลียเข้าไปมีบทบาทต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย เพื่อ
สกัดกั้นการขยายตัวของการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เช่นเดียวกับทีส่ หรัฐอเมริกาทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้ายในอัฟกานิสถาน
และอิรัก เพื่อสกัดกั้นกลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงของชาติตะวันตกในการเผชิญกับการ
ก่อการร้ายในภูมิภาค รวมทั้งตอบสนองผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาใน
การขยายยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค33
ด้วยเหตุนี้ ออสเตรเลียในฐานะพันธมิตรที่ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับ
สหรัฐอเมริกาในการทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้ายจึงต้องแสดงบทบาทใน
การเป็นผูช้ ว่ ยตำ�รวจโลกทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากสหรัฐอเมริกาให้ท�ำ หน้าทีด่ แู ล
รักษาความสงบเรียบร้อยในภูมิภาค รวมทั้งมีบทบาทในการสนับสนุนและ
ส่งเสริมเสถียรภาพของภูมิภาค ผ่านการสกัดกั้นและยับยั้งการเคลื่อนไหว
ของกลุ่มก่อการร้ายในอินโดนีเซีย รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ไม่ให้ขยายออกไปนอกภูมิภาค34
ปัจจัยทัง้ สองประการข้างต้น เป็นปัจจัยสำ�คัญทีผ่ ลักดันให้ออสเตร-
เลียเข้าไปมีบทบาทในการต่อต้านการก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลีย
ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายและข้อจำ�กัดของการต่อต้านการก่อการร้าย
ในอินโดนีเซียที่สำ�คัญ 2 ประการ คือ
33
June R. Verrier, “Australia’s Self-Image as a Regional and
International Security Actor: Some Implications of the Iraq War,”
Australian Journal of International Affairs, Vol. 57, No. 3 (2003): 466.
34
Jack Holland and Matt McDonald, “Australian Identity,
Interventionism and the War on Terror,” in International Terrorism Post
9/11: Comparative Dynamics and Responses, A. Siniver, ed., (London:
Routledge, 2010), p. 14.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 20
ประการแรก เกิดกระแสความไม่พอใจของชาวมุสลิมในอินโดนีเซีย
ที่มีต่อออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ-
อเมริกาในการทำ�สงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยชาวมุสลิมมองว่าเป็นการ
ทำ�สงครามเพื่อโจมตีชาวมุสลิมซึ่งมีความไม่ยุติธรรมและไม่สมเหตุสมผล35
แม้ว่ารัฐบาลออสเตรเลียพยายามแสดงออกว่าการทำ�สงครามดังกล่าวไม่ได้
มีเป้าหมายในการโจมตีอิสลาม แต่ภาพลักษณ์ติดลบและความหวาดระแวง
ที่มีต่อออสเตรเลียที่เกิดขึ้นท่ามกลางชาวมุสลิมในอินโดนีเซียนั้นยังคงมีอยู่
อย่างแพร่หลาย
ประการที่สอง ความอ่อนแอของรัฐบาลนางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี
ที่ไม่มีความพร้อมในการจัดการกับการก่อการร้าย เนื่องจากการก่อการร้าย
เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมิติทางศาสนาที่มีความอ่อนไหว จึงทำ�ให้รัฐบาล
อินโดนีเซียเกิดความกังวลว่าถ้าหากเข้าร่วมกับชาติตะวันตกในการต่อต้าน
การก่อการร้ายอาจทำ�ให้เกิดกระแสกดดันทางการเมืองภายในและการต่อต้าน
จากชาวมุสลิมภายในประเทศ ซึง่ อาจนำ�ไปสูก่ ารบัน่ ทอนความน่าเชือ่ ถือและ
ฐานอำ�นาจทางการเมืองของรัฐบาล จึงทำ�ให้รฐั บาลไม่เต็มใจทีจ่ ะเข้าร่วมกับ
ประเทศตะวันตกในการต่อต้านการก่อการร้ายเท่าที่ควร36
อย่างไรก็ตาม หลังจากการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลี การก่อการ
ร้ายส่งผลต่อเสถียรภาพและความมัน่ คงภายในของอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก
รัฐบาลอินโดนีเซียจึงเล็งเห็นความจำ�เป็นในการจัดการกับการก่อการร้าย
ประกอบกับกระแสกดดันจากนานาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิง่ สหรัฐอเมริกา
ทำ�ให้รัฐบาลอินโดนีเซียเริ่มให้ความร่วมมือกับออสเตรเลียในการต่อต้าน
การก่อการร้ายมากขึ้น แต่เนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ประกอบ
กับการก่อการร้ายเป็นประเด็นทางศาสนาที่มีความเปราะบางในอินโดนีเซีย
35
David W. Lovell, “Australia and Asia-Pacific Security after
September 11: An Introduction,” in Asia-Pacific Security: Policy
Challenges (Canberra: Australian National University Press, 2013), p. 7.
36
Commonwealth of Australia, The Bali Bombing: What It Means
for Indonesia (Canberra: Department of the Parliamentary Library, 2002),
p. 4.

21 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ออสเตรเลียจึงเล็งเห็นว่าหากดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายที่มี
ลักษณะแข็งกร้าวโดยใช้หลักการโจมตีก่อนเช่นเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาทำ�
ในอัฟกานิสถานและอิรักนั้น อาจยิ่งทำ�ให้เกิดกระแสต่อต้านจากชาวมุสลิม
ภายในอินโดนีเซียและส่งผลกระทบต่อภาพลักษณข์ องออสเตรเลีย ซึง่ อาจ
ทำ�ให้การต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซียดำ�เนินไปอย่างไม่มปี ระสิทธิภาพ
และส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของออสเตรเลียในอินโดนีเซียได้37
ดังนั้น ออสเตรเลียจึงดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายโดยให้
ความสำ�คัญกับการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตำ�รวจควบคู่
กับการผสมผสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นหน่วยงาน
ความมั่นคง หน่วยข่าวกรอง ซึ่งจะต้องทำ�งานร่วมกันภายใต้สถานการณ์
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าพร้อมกับการดำ�เนินนโยบายเชิงรุกในการ
ป้องกัน เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น38
ผ่านการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการต่อต้านการ
ก่อการร้าย ประกอบกับการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่ง-
เสริมให้เกิดการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคาม เพื่อให้สามารถจัดการกับ
ภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำ�เนินนโยบายแบบเชิงรุกข้างต้น
นั้น ออสเตรเลียมองว่าเป็นมาตรการในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้าย
ในอินโดนีเซียทีเ่ หมาะสมและส่งผลกระทบต่อผลประโยชนข์ องออสเตรเลีย
น้อยที่สุด39
การกำ�หนดมาตรการในการต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลีย
ข้างต้นนั้น สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของรัฐที่มีต่อปัญหาการก่อการร้าย ซึ่ง
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำ�หนดมาตรการในการต่อต้านการก่อการร้าย ตามที่
ปีเตอร์ เซเดอรเ์ บิรก์ (Peter Sederberg) นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เสนอ
37
Michalis S. Michael, “Australia’s Handling of Tensions between
Islam and the West under the Howard Government,” Asian Journal of
Political Science, Vol. 17, No. 1 (April 2009): 54.
38
Carl Ungerer, Australian Foreign Policy in the Age of Terror
(Sydney: UNSW Press, 2008), p. 15.
39
Ibid., p. 15.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 22
ไว้ว่า รัฐอาจมองการก่อการร้ายเป็นเรื่องของสงคราม อาชญากรรม หรือ
โรคร้าย40 จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าออสเตรเลียมีมุมมองต่อการก่อการ
ร้ายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจากเดิมออสเตรเลียมองว่าเป็นเรื่องของสงคราม
ที่ต้องใช้มาตรการทหารตอบโต้เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ดังจะเห็นได้จาก
การสนับสนุนสหรัฐอเมริกาทำ�สงครามโจมตีอัฟกานิสถานและอิรัก แต่หลัง
จากได้รับผลกระทบจากการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลีโดยตรง มุม-
มองที่มีต่อการก่อการร้ายเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นอาชญากรรมที่ต้องใช้
มาตรการตำ�รวจในการจับกุมและดำ�เนินคดีต่อผู้ต้องสงสัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับเหตุการณ์ อีกทั้งยังมองว่าการก่อการร้ายเปรียบเสมือนโรคร้ายที่ต้องให้
ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความเสี่ยงของการขยายตัวของ
การก่อการร้าย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมุมมองเหล่านี้เกิดจากสาเหตุสำ�คัญ 2
ประการ คือ 1) ความเร่งด่วนของภัยคุกคามที่ออสเตรเลียเผชิญกับความ
เสี่ยงจากการตกเป็นเป้าหมายการถูกโจมตีโดยตรง และ 2) ความใกล้ชิด
ทางภูมศิ าสตร์ ซึง่ อินโดนีเซียเป็นประเทศเพือ่ นบ้านใกล้ชดิ และเต็มไปด้วย
ผลประโยชน์ของออสเตรเลีย
ด้วยเหตุน้ี ออสเตรเลียในฐานะประเทศมหาอำ�นาจในภูมภิ าคเอเชีย
-แปซิฟกิ ทีม่ ศี กั ยภาพเพียงพอทีจ่ ะจัดการกับปัญหาการก่อการร้ายเพือ่ รักษา
ไว้ซึ่งเสถียรภาพและความมั่นคงของอินโดนีเซีย ออสเตรเลียจึงจำ�เป็น
อย่างยิ่งที่จะต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้นำ�ในการต่อต้านการก่อการร้าย
ผ่านการดำ�เนินนโยบายในลักษณะเชิงรุกโดยให้ความสำ�คัญกับการเสริม
สร้างความร่วมมือที่หลากหลายบนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน41
ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงของออสเตรเลียที่มีต่อภูมิภาคที่ว่า
“ออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ปัญหาความมั่นคง
ใดๆ ที่บั่นทอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค
40
Brenda Lutz and Jame Lutz, “Terrorism,” in Contemporary
Security Studies, Alan Collins, ed., (Oxford: Oxford University Press,
2006), p. 274.
41
Commonwealth of Australia, Australia’s National Security: A
Defence Update 2003 (Canberra: Department of Defence, 2003), p. 19.

23 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ย่อมเป็นปัญหาความมัน่ คงของออสเตรเลียด้วยเช่นกัน”42 โดยหน้าทีห่ ลักของ
ออสเตรเลียคือจะต้องมีความสามารถทีจ่ ะปกป้องภูมภิ าคและมีความรับผิด-
ชอบต่อการจัดการความไม่มั่นคงและความไม่มีเสถียรภาพ โดยร่วมมือ
กับประเทศอืน่ ๆ ในการจัดการกับภัยคุกคามเพือ่ รักษาความมัน่ คงและความ
เจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค43
ดังนั้น ออสเตรเลียจึงดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายใน
ลักษณะเชิงรุกเพือ่ จัดการและป้องกันการโจมตีของกลุม่ ก่อการร้าย โดยเน้น
ความร่วมมือในระดับปฏิบัติการและการให้ความช่วยเหลืออินโดนีเซียใน
การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของขีดความสามารถด้านการต่อต้าน
การก่อการร้าย ซึ่งการใช้แนวทางแบบเชิงรุกนั้นจะเป็นการช่วยปรับปรุง
ศักยภาพในการตอบสนองต่อภัยคุกคามทัง้ ในระยะสัน้ และระยะยาว44 รวมถึง
ส่งเสริมให้เกิดการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคาม เพื่อให้สามารถจัดการ
กับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ ซึง่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์
การต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียทีใ่ ห้ความสำ�คัญกับการป้องกันและ
เตรียมความพร้อมควบคูก่ บั การตอบสนองและฟืน้ ฟูผลกระทบจากเหตุการณ์
เพราะออสเตรเลียเล็งเห็นว่าการจัดการกับปัญหาการก่อการร้ายของรัฐบาล
อินโดนีเซียนั้นยังคงมีความล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร45 ดังนั้น
การดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียในอินโดนีเซียจึง
42
Hugh White, “Security, Defence and Terrorism,” in Trading on
Alliance Security: Australia in World Affairs, 2001-2005, James Cotton
and John Ravenhill, ed., (Melbourne: Oxford University Press, 2007), p.
183.
43
Department of Defence, Defence 2000: Our Future Defence Force
(Canberra: Defence Publishing Service, 2000), p. 29.
44
Teo, “Jakarta Bombing 2004: Why Target Australia?,” [Online]
Available from: https://www.rsis.edu.sg/rsis-publication/icpvtr/641-jakar
ta-bombing-2004-why-targ/#.Vv6kF5yLTIU [12 February 2015]
45
Greg Fealy and Aldo Borgu, Local Jihad: Radical Islam and
Terrorism in Indonesia (Canberra: The Australian Strategic Policy
Institute, 2005). p. 79.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 24
ให้ความสำ�คัญกับการดำ�เนินการ 2 แนวทาง คือ 1) ความร่วมมือระหว่าง
หน่วยงานตำ�รวจและการพัฒนาศักยภาพด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของ
อินโดนีเซีย และ 2) การให้ความช่วยเหลือเพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของ
การก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
1) ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตำ�รวจและการพัฒนาศักยภาพ
ด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของอินโดนีเซีย จุดเริม่ ต้นของความร่วมมือ
ระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซียในการต่อต้านการก่อการร้ายเกิดขึ้นเมื่อ
อินโดนีเซียร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการ
ต่อต้านการก่อการร้ายกับออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 200246
ซึ่งการลงนามดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำ�คัญที่ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่าง
ออสเตรเลียและอินโดนีเซียในการต่อต้านการก่อการร้ายและปูทางให้ออส-
เตรเลียเข้าไปมีบทบาทในการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซียหลังการ
ลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลีได้มากขึ้น หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ออสเตรเลียเป็นชาติแรกที่เข้าไปมีบทบาทในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ท่ี
เกิดขึ้น โดยให้ความสำ�คัญกับการขยายเครือข่ายการทำ�งานและเสริมสร้าง
ศักยภาพหน่วยงานของอินโดนีเซียให้สามารถจัดการกับการก่อการร้ายได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม 4 ประเด็น ดังนี้
1.1) การขยายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตำ�รวจ ถือได้วา่ เป็น
หัวใจสำ�คัญของความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายของทัง้ สองประเทศ
โดยตำ�รวจเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำ�คัญในการต่อต้านการก่อการร้าย
ของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย ผ่านการขยายความร่วมมือภายใต้ระบบ
พันธมิตรปฏิบัติการ (Operation Alliance)47 ที่เน้นความร่วมมือในการ
เก็บรวบรวมหลักฐาน การแลกเปลี่ยนข่าวกรอง การส่งทีมสืบสวนสอบสวน
46
Department of Foreign Affairs and Trade, “International Counter-
Terrorism,” [Online] Available from: http://www.dfat.gov.au/issues/
terrorism.html [22 December 2014]
47
Strategic Policing and Law Enforcement Program, Partners against
Crime: A Short History of the Afp-Polri Relationship (Canberra:
Australian Strategic Policy Institute, 2014), p. 4.

25 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
และเจ้าหน้าทีพ่ สิ จู นห์ ลักฐานเข้าไปช่วยเหลือตำ�รวจอินโดนีเซียในการจับกุม
ตัวผู้ต้องสงสัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาดำ�เนินคดี48 ส่งทีมเจ้าหน้าที่นิติเวช ผู้-
เชีย่ วชาญในการตรวจพิสจู นอ์ ตั ลักษณบ์ คุ คลของเหยือ่ ผูเ้ คราะหร์ า้ ยมาทำ�งาน
ร่วมกับตำ�รวจในบาหลี เพือ่ ให้การสืบสวนและการพิสจู นห์ ลักฐานมีความถูก
ต้องและแม่นยำ�มากขึน้ 49 รวมทัง้ จัดตัง้ ศูนยอ์ าชญากรรมข้ามชาติอนิ โดนีเซีย
เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล
เกีย่ วกับอาชญากรรมข้ามชาติครอบคลุมประเด็นเรือ่ งการก่อการร้าย50 ซึง่ ช่วย
อำ�นวยความสะดวกในการประเมินผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างตำ�รวจ
1.2) การพัฒนาศักยภาพด้านการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโด-
นีเซีย ออสเตรเลียให้ความช่วยเหลืออินโดนีเซียในการปรับปรุงศักยภาพ
ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย โดยอนุมัติโครงการให้ความช่วยเหลือด้าน
การต่อต้านการก่อการร้ายมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ครอบคลุม
การพัฒนาขีดความสามารถด้านการต่อต้านการก่อการร้าย การปรับปรุงด้าน
กฎหมายและพัฒนาศักยภาพในการแลกเปลีย่ นและวิเคราะหข์ า่ วกรอง การ
จัดโครงการฝึกอบรมบุคลากรในการจัดการภาวะวิกฤตเพื่อให้การทำ�งานมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น51
1.3) การจัดการความมัน่ คงด้านชายแดน ออสเตรเลียให้เงินช่วย-
เหลือจำ�นวน 3 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในการเสริมสร้างความร่วมมือ
ระหว่างหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดการด้านชายแดน เช่น สำ�นักงานตรวจ
คนเข้าเมือง กรมศุลกากร กรมการขนส่ง พร้อมทั้งช่วยพัฒนาระบบการ

48
Australian Federal Police, “Closing the Circle: The Afp’s Capacity
to Fight Terrorism,” Platypus Magazine, Vol. 1, No. 78 (March, 2003): 11.
49
Ibid., p. 14.
50
The Indonesia Transnational Crime Centre, “Transnational Crime
Centre,” [Online] Available from: http://tncc.co.id/en/home/about [29
December 2014]
51
Commonwealth of Australia, Australia-Indonesia Development
Cooperation (Canberra: Australian Agency for International Development,
2006), p. 21.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 26
ควบคุมการจัดการชายแดนรูปแบบใหม่ให้กับสนามบินเดนปาซาร์ สนาม-
บินจาการต์ า ท่าเรือ และคลังสินค้าของอินโดนีเซียเพือ่ สกัดกัน้ การแทรกซึม
และการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายข้ามพรมแดน52
1.4) การต่อต้านการจัดหาแหล่งเงินทุนของกลุ่มก่อการร้าย
ออสเตรเลียอนุมัติเงินช่วยเหลือจำ�นวน 6.36 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียให้
กับหน่วยข่าวกรองทางการเงินของอินโดนีเซีย (Indonesia’s Financial
Intelligence Unit) เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันการฟอกเงิน
ของกลุ่มก่อการร้าย พร้อมทั้งช่วยเหลือในการร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับ
หลักสากล และให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาหน่วยข่าวกรองผ่านการฝึกอบรม
การตรวจจับการทำ�ธุรกรรมทางการเงินต้องสงสัย การสร้างฐานข้อมูลและ
แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวกับข่าวกรองทางการเงิน53 เพื่อสกัดกั้นการจัดหา
เงินทุนของกลุ่มก่อการร้าย
ความสำ�เร็จของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตำ�รวจ แสดงให้เห็น
จากการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยรวมทั้งแกนนำ�คนสำ�คัญของกลุ่มเจไอที่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย เช่น นายอบู บาการ์ บาซีร์ นาย
ฮัมโรซี นายอิหม่าม ซามุดรา นายมุสคลาส และ นายอาลี อิมรอน เป็นต้น54
นอกจากนี้ทั้งสองประเทศยังร่วมกันจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือในการบังคับใช้
กฎหมาย ใน ค.ศ. 2004 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทักษะและความ
เชี่ยวชาญในการบังคับใช้กฎหมายของบุคลากรทั้งสองประเทศผ่านการฝึก
อบรมและพัฒนาศักยภาพ55 ซึง่ ศูนยแ์ ห่งนีจ้ ะเป็นพืน้ ฐานสำ�คัญของการเสริม
52
Commonwealth of Australia, Counter-Terrorism and Australian Aid
(Canberra: Australian Agency for International Development, 2003), p. 7.
53
Commonwealth of Australia, Australia’s Overseas Aid Program
2005-06 (Canberra: Australian Agency for International Development,
2005), p. 16.
54
Sharif Shuja, “Terrorism in Southeast Asia: Australia’s Security
Threat and Response,” Contemporary Review, Vol. 16, No. 83 (December
2006): 453.
55
Commonwealth of Australia, Transnational Terrorism: The Threat
to Australia, p. 90.

27 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
สร้างความเข้มแข็งด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและทำ�ให้เกิดการขยาย
ความร่วมมือไปสู่ระดับภูมิภาคในอนาคต ซึ่งเปรียบเสมือนมรดกตกทอดที่
สะท้อนให้เห็นถึงความสำ�เร็จของความร่วมมือของทั้งสองประเทศในการ
ต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเป็นรูปธรรม
2) การให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย
ให้ความสำ�คัญกับการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
และลดความยากจนในอินโดนีเซียเพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของกลุ่มก่อการ
ร้าย โดยออสเตรเลียเล็งเห็นว่าความยากจนและการด้อยพัฒนาเป็นสาเหตุ
สำ�คัญที่กระตุ้นให้เกิดความไม่มั่นคงและความไม่ปลอดภัย ซึ่งเอื้อต่อการ
บ่มเพาะและแทรกซึมของเครือข่ายก่อการร้าย56 ดังนัน้ จึงจำ�เป็นทีจ่ ะต้องวาง
รากฐานทางสังคมของอินโดนีเซียให้มีความเข้มแข็ง โดยให้ความสำ�คัญกับ
การปรับปรุงคุณภาพของโครงสร้างพืน้ ฐานทางสังคม เน้นการปฏิรปู เพือ่ สร้าง
ความเท่าเทียม การพัฒนาระบบการศึกษา ระบบสาธารณสุข และส่งเสริม
การเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นให้เกิดโอกาสในการจ้างงาน ตลอดจน
ส่งเสริมสภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อการเจริญเติบโตเพือ่ ให้ประชาชนอินโดนีเซีย
มีวถิ ชี วี ติ และความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ซึง่ เป็นสิง่ สำ�คัญต่อการสกัดกัน้ การขยายตัว
ของกลุม่ ก่อการร้าย57 โดยสอดคล้องกับคำ�กล่าวของบิล แพตเตอรส์ นั (Bill
Paterson) ทูตต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลีย ดังนี้
“ปัญหาความยากจน การว่างงาน การขาดการเข้าถึง
โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและระบบการศึกษาที่ทันสมัย
ทำ�ให้เกิดความรู้สึกแปลกแยกและรู้สึกถึงการเป็นชายขอบ
แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำ�ให้เกิดการก่อ
56
Commonwealth of Australia, Counter-Terrorism and Australian
Aid, p. 5.
57
Commonwealth of Australia, Twelfth Annual Statement to
Parliament on Australia’s Development Cooperation Program (Canberra:
Australian Agency for International Development, 2003), p. 10.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 28
การร้าย แต่เป็นสิ่งสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดความคับแค้นใจที่เอื้อ
ต่อการแทรกซึมและการแสวงหาสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย”58
คำ�กล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าความยากจนและการกระจายราย-
ได้และทรัพยากรทีไ่ ม่เป็นธรรมอาจก่อให้เกิดความรูส้ กึ คับข้องใจ ซึง่ เป็นตัว
กระตุน้ ทีท่ �ำ ให้เกิดการใช้ความรุนแรงและนำ�ไปสูก่ ารสนับสนุนและมีสว่ นร่วม
กับกลุ่มก่อการร้าย โดยความยากจนและการด้อยพัฒนามีความเชื่อมโยงกับ
การขยายตัวของการก่อการร้าย ซึง่ ออสเตรเลียมองว่าเปรียบเสมือนโรคร้าย
ทีข่ ดั ขวางการเจริญเติบโตและก่อให้เกิดความไม่มนั่ คงทีอ่ าจส่งผลกระทบต่อ
เสถียรภาพและความมัน่ คงของออสเตรเลียในภูมภิ าค ด้วยเหตุนี้ ออสเตรเลีย
จึงริเริ่มการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมของอินโดนีเซียให้มีความ
เข้มแข็ง ผ่านโครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่อินโดนีเซีย
ซึ่ ง ดำ � เนิ น การโดยหน่ ว ยงานให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ การพั ฒ นาระหว่ า ง
ประเทศของออสเตรเลีย (Australian Agency for International
Development-AUSAID) เพื่อลดความยากจนและส่งเสริมการพัฒนา
อย่างยั่งยืน ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากคำ�กล่าวของอเล็กซานเดอร์ ดาวเนอร์
รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลียทีอ่ ธิบาย
ถึงความสำ�คัญของการให้ความช่วยเหลือเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย ดังนี้
“การก่อการร้ายคุกคามการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและ
ความเจริญรุ่งเรืองของออสเตรเลีย โครงการให้ความ
ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจะมีบทบาทสำ�คัญในการสนับสนุน
การต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลีย โดยอาศัยความ
เชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการสร้างศักยภาพและ
58
Bill Paterson, “Transnational Terrorism: Evolving Challenges-an
Australian Perspective,” [Online] Available from: https://cchs.gwu.edu/
bill-paterson-australias-ambassador-counter-terrorism [1 April 2016]

29 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตและ
ลดความยากจนในภูมิภาค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำ�เนิน
นโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียที่มุ่งหวังจะสร้าง
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มีความปลอดภัยและ
เจริญรุง่ เรืองมากยิง่ ขึน้ การให้ความช่วยเหลือของออสเตรเลีย
จะเป็นส่วนเล็กๆ ที่จำ�เป็นสำ�หรับการเสริมสร้างเสถียรภาพ
ความมั่นคง และช่วยลดความยากจนในภูมิภาค”59
คำ�กล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าโครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อ
การพัฒนาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ออสเตรเลียนำ�มาใช้ในการตอบสนองผล
ประโยชน์ด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อจัดการ
กับปัญหาการก่อการร้ายในระยะยาว หลังจากการลอบวางระเบิดบนเกาะ
บาหลี ออสเตรเลียได้เพิ่มงบประมาณการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา
ในอินโดนีเซียมากขึ้นกว่าในช่วง ค.ศ. 2000-2001 ถึงร้อยละ 2560 โดยมุ่ง
หวังที่จะบรรลุเป้าหมายสำ�คัญ 3 ประการ คือ
1) การเสริมสร้างทักษะความรูแ้ ละปรับปรุงชีวติ ของคนในสังคมให้
มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2) การป้องกันการเผยแพร่ความคิดของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงและ
ลดโอกาสของกลุ่มก่อการร้ายในการระดมหาสมาชิกใหม่และป้องกันการ
สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย
3) การลดกระแสต่อต้านชาติตะวันตกและปรับปรุงภาพลักษณ์ของ
ออสเตรเลียในสายตาชาวมุสลิมให้ดยี งิ่ ขึน้ 61 โดยโครงการให้ความช่วยเหลือ
59
Commonwealth of Australia, Twelfth Annual Statement to Parliament
on Australia’s Development Cooperation Program, p. 1.
60
Commonwealth of Australia, Counter-Terrorism and Australian
Aid, p. 11.
61
Amanda Schiller, “Can Foreign Aid Be an Instrument of Counter-
Terrorism? Exploring Australian Aid to Indonesia,” (Doctor of Philosophy
Thesis, School of Communication, International Studies and Languages,

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 30
เพื่อการพัฒนาดังกล่าวนั้น ครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก ดังนี้
2.1) การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ รัฐบาลออสเตรเลียจัด
ส่งทีมแพทยแ์ ละอุปกรณท์ างการแพทยเ์ ข้าไปช่วยเหลือผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บหลัง
จากเกิดเหตุการณ์ โดยจัดส่งทีมแพทย์พร้อมทั้งช่วยอำ�นวยความสะดวกใน
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้บาดเจ็บในขั้นวิกฤตผ่านทางอากาศยาน
เพือ่ กลับไปรักษาทีโ่ รงพยาบาลในออสเตรเลีย นอกจากนี้ เหตุการณท์ เี่ กิดขึน้
ทำ�ให้เห็นถึงข้อจำ�กัดในการบริการทางการแพทยข์ องอินโดนีเซียทีไ่ ม่สามารถ
ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที รัฐบาลออสเตรเลียจึงให้
ความสนใจกับการปรับปรุงระบบสาธารณสุขบนเกาะบาหลี ผ่านโครงการ
The Bali Memorial Package (BMP) ใน ค.ศ. 200362 เพื่อพัฒนา
ศักยภาพทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมการดำ�เนินงาน 3
ด้าน คือ 1) การปรับปรุงการให้บริการและจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้
กับโรงพยาบาลซังลา 2) จัดตัง้ คลินกิ รักษาตา 3) การสนับสนุนทุนการศึกษา
และการแลกเปลีย่ นบุคลากรทางการแพทยเ์ พือ่ พัฒนาและแลกเปลีย่ นความ
รู้ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ของทั้งสองประเทศ
2.2) การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมเพื่อลดความยากจน
เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายต่อชีวติ และทรัพยส์ นิ เท่านัน้
แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของอินโดนีเซียในวงกว้าง ไม่ว่า
จะเป็นจำ�นวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงกว่าร้อยละ 4063 ทำ�ให้ธุรกิจภาคการ
ท่องเทีย่ วและการบริการบนเกาะบาหลีตอ้ งหยุดชะงักลง อีกทัง้ นักลงทุนขาด
ความเชือ่ มัน่ และเกิดความกังวลด้านความปลอดภัย ทำ�ให้การลงทุนจากต่าง
ประเทศในอินโดนีเซียลดน้อยลง ส่งผลต่อเสถียรภาพและความถดถอยทาง

University of South Australia, 2012), pp. 207-08.


62
Australian Government, “Bali Memorial Package-Independent
Completion Report,” [Online] Available from: http://aid.dfat.gov.au/
Publications/Documents/bali-memorial-package-icr.pdf [28 December 2014]
63
Yetta Gurtner, “After the Bali Bombing-the Long Road to
Recovery,” The Australian Journal of Emergency Management Vol. 19,
No. 4 (November 2004): 60.

31 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
เศรษฐกิจในอินโดนีเซีย64
จากผลกระทบที่เกิดขึ้น ออสเตรเลียจึงเข้าไปมีบทบาทในการให้
ความช่วยเหลือเพือ่ ฟืน้ ฟูเกาะบาหลีผา่ นการจัดตัง้ กองทุนฟืน้ ฟูบาหลี (Bali
Rehabilitation Fund-BRF) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 โดยมุง่ หวังทีจ่ ะ
ให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงคุณภาพชีวติ และขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ
ของชาวบาหลีและชาวอินโดนีเซียในพืน้ ทีต่ า่ งๆ ที่ได้รับผลกระทบ โดยให้
ความสำ�คัญกับการให้คำ�แนะนำ�และฝึกฝนทักษะทางอาชีพให้กับผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากความถดถอยของธุรกิจการท่องเทีย่ วเพือ่ เพิม่ โอกาสในการเข้า
ถึงงานใหม่ รวมทัง้ ให้ความช่วยเหลือผูป้ ระกอบการธุรกิจให้สามารถปรับตัว
เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนและกระจายความ
เสี่ยงทางเศรษฐกิจ65 รวมทั้งยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ยากจนบริเวณภาคตะวันออกของอินโดนีเซียในการ
ปรับปรุงคุณภาพชีวิต ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ และพัฒนาชีวิตความ
เป็นอยู่ของชาวอินโดนีเซียที่ได้รับผลกระทบให้มีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่
ที่ดีขึ้น เพื่อจำ�กัดโอกาสของกลุ่มก่อการร้ายที่จะใช้เงื่อนไขความยากจนใน
การขยายเครือข่ายสมาชิก66
2.3) การพัฒนาระบบการศึกษา เน้นการพัฒนาระบบการศึกษาขัน้
พื้นฐาน ผ่านการฝึกอบรมครู ปฏิรูประบบการเรียนการสอนให้มีความทัน
สมัย ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การเรียนรูร้ ปู แบบใหม่เพือ่ เปิด
โอกาสและทางเลือกให้กบั เยาวชนในการเข้าถึงการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานอย่างทัว่
ถึงเพือ่ เพิม่ โอกาสในการจ้างงานในอนาคต นอกจากนีส้ นับสนุนทุนการศึกษา
ทัง้ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก พร้อมทัง้ ปฏิรปู และพัฒนาการเรียน
64
Commonwealth of Australia, The Bali Bombing: What It Means
for Indonesia, p. 5.
65
Bali Rehabilitation Fund, “Change & Recovery: Bali Rehabilitation
Fund: Project Completion Report,” ed. Donna Leigh Holden & Jason
Brown (2006), p. 3.
66 Commonwealth of Australia, Ausaid Annual Report 2002-2003
(Canberra: Australian Agency for International Development, 2005), p. 52.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 32
การสอนในโรงเรียนอิสลาม โดยช่วยเหลือในการจัดหลักสูตรการเรียนการ
สอน ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อป้องกันกลุ่มก่อการร้ายใช้
โรงเรียนอิสลามเป็นแหล่งบ่มเพาะและปลูกฝังแนวคิดหัวรุนแรงอันจะเอื้อ
ประโยชน์ต่อการระดมหาสมาชิกและขยายเครือข่าย
2.4) การเสริมสร้างความเข้าใจอันดีในระดับประชาชน การ
เสริมสร้างความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนถือเป็นสิ่งสำ�คัญในการช่วย
ลดอุปสรรคและแก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จากความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม
ออสเตรเลียให้ความสำ�คัญกับการใช้การทูตสาธารณะในการโน้มน้าวทัศนคติ
ของสาธารณชนโดยใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการสร้างความเชื่อมโยง
ระหว่างประชาชนซึ่งจะเป็นก้าวสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นและการแบ่งปันคุณค่าทางวัฒนธรรมร่วมกัน ผ่านการส่งเสริมให้มี
การสร้างความเชื่อมโยงทางการศึกษา การใช้สื่อออนไลน์ในการทำ�กิจกรรม
ร่วมกันระหว่างห้องเรียนในออสเตรเลียและอินโดนีเซีย เพือ่ ปลูกฝังความคิด
และความเข้าใจอันดีให้กบั ประชาชนและเยาวชนยุคใหม่ของทัง้ สองประเทศ
ทำ�ให้เกิดการเปิดใจยอมรับและสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีระหว่าง
กัน ซึ่งจะช่วยลดกระแสความคิดต่อต้านออสเตรเลียที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย
ให้ลดน้อยลง67
นอกจากการใช้การทูตสาธารณะในการเสริมสร้างความเข้าใจใน
ระดับประชาชนแล้ว ออสเตรเลียยังให้ความสำ�คัญกับเสริมสร้างความเข้าใจ
อันดีระหว่างกลุม่ ผูน้ �ำ ทางศาสนา ซึง่ มีบทบาทสำ�คัญในการเป็นสะพานเชือ่ ม
ความแตกต่างและสร้างความสามัคคี ช่วยป้องกันความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้น
จากการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งอาจทำ�ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างโลกมุสลิมกับโลก
ตะวันตก ผ่านการเป็นเจ้าภาพร่วมกับอินโดนีเซียในการจัดประชุม Inter-Faith
Dialogue ค.ศ. 2004 ทีย่ อกยาการต์ า อินโดนีเซีย เพือ่ ให้ผนู้ �ำ ทางศาสนาทัว่
ทัง้ ภูมภิ าคเอเชีย-แปซิฟกิ มาพบปะพูดคุยเกีย่ วกับบทบาทของศาสนาในการ
จัดการกับความแตกต่างหลากหลายในสังคม การสร้างสันติภาพและป้องกัน

Schiller, “Can Foreign Aid Be an Instrument of Counter-Terrorism?


67

Exploring Australian Aid to Indonesia,” p. 220.

33 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ความขัดแย้ง ตลอดจนการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันบนพื้นฐานของ
การเคารพซึง่ กันและกัน เพือ่ ดำ�รงไว้ซง่ึ สันติภาพของภูมภิ าคและพร้อมทีจ่ ะ
เผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การก่อการร้าย68
นอกจากนี้ การเสริมสร้างความสัมพันธก์ บั องคก์ รมุสลิมสายกลางยัง
เป็นสิง่ สำ�คัญในการช่วยลดความขัดแย้ง โดยออสเตรเลียเล็งเห็นว่าการต่อสู้
กับกลุม่ ก่อการร้ายทีม่ อี ดุ มการณแ์ ละแนวคิดสุดโต่งนัน้ เป็นส่วนหนึง่ ของการ
ต่อสูท้ างความคิด ดังนัน้ การป้องกันกลุม่ ก่อการร้ายทีม่ อี ทิ ธิพลในการครอบ-
งำ�ความคิดของสาธารณชน รัฐบาลจะต้องร่วมมือกับองค์กรมุสลิมในอินโด-
นีเซีย 2 กลุ่ม คือกลุ่มนะห์ดาตุล อูลามะ69 และกลุ่มมูฮัมมัดดียะฮ์70 ซึ่งเป็น
กลุม่ มุสลิมสายกลางทีม่ คี วามเข้าใจถึงแก่นแท้ของศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง
และสมบูรณ์ จะสามารถเผยแพร่คณ ุ ค่าและแก่นแท้ของศาสนาอิสลามทีแ่ ท้
จริงให้กับประชาชน เพื่อป้องกันไม่ให้สาธารณชนถูกครอบงำ�จากแนวคิด
สุดโต่งและการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างความเกลียดชังของกลุ่มมุสลิมหัว-
รุนแรง71 ซึ่งจะช่วยป้องกันการแพร่ขยายทางความคิดและขัดขวางการดึงดูด
ประชาชนเข้าสูก่ ลุม่ ก่อการร้าย
จะเห็นได้วา่ ออสเตรเลียให้ความสำ�คัญกับการให้ความช่วยเหลือเพือ่
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอินโดนีเซีย ซึง่ เป็นแนวทางหนึง่ ทีส่ อดคล้องกับ
การดำ�เนินนโยบายเชิงรุกในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยการให้ความช่วย-
68
Department of Foreign Affairs and Trade, “Australia-Indonesia
Joint Media Statement: International Dialogue on Interfaith Cooperation:
Yogyakarta,” [Online] Available from: http://www.foreignminister.gov.
au/releases/2004/joint_yogyakarta_061204.html [5 January 2015]
69
กลุ่มนะห์ดาตุล อูลามะ (Nahdlatul Ulama) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 เป็น
ขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มมุสลิมอนุรักษนิยมนิกายสุหนี่และเป็นองค์กรมุสลิมที่ใหญ่ที่สุด
ในอินโดนีเซีย
70
กลุ่มมูฮัมมัดดียะฮ์ (Muhammadiyah) ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1912 เป็นองค์กรมุสลิม
ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอินโดนีเซีย
71
Rohan Gunaratna, “Terrorism in Southeast Asia: Threat and
Response,” Center for Eurasian Policy Occasional Research Paper Series
II, Vol. 2, No. 1 (2007): 7.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 34
เหลือเหล่านีจ้ ะมีบทบาทสำ�คัญในการสนับสนุนการดำ�เนินนโยบายต่อต้านการ
ก่อการร้ายของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย อีกทัง้ ยังช่วยแก้ไขปัญหาในระยะ
ยาวในการลดโอกาสของกลุม่ ก่อการร้ายจากการใช้เงือ่ นไขเรือ่ งความยากจน
และความไม่เท่าเทียมมาเป็นประเด็นสร้างกระแสสนับสนุนในการระดมหา
สมาชิก ช่วยป้องกันการขยายตัวของกลุม่ ก่อการร้ายในอนาคต อีกทัง้ ยังช่วย
ลดกระแสต่อต้านและส่งเสริมภาพลักษณข์ องออสเตรเลียในสายตาของชาว
มุสลิมในอินโดนีเซียให้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายของทัง้ สอง
ประเทศไม่เพียงจำ�กัดอยูเ่ พียงแค่ความร่วมมือในระดับทวิภาคีเท่านัน้ แต่ยงั
นำ�ไปสู่การผลักดันให้เกิดการขยายความร่วมมือด้านต่อต้านการก่อการร้าย
ในระดับภูมภิ าค ดังจะเห็นได้จากรัฐบาลทัง้ สองประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
ในการจัดประชุมรัฐมนตรีระดับภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ณ
เกาะบาหลี อินโดนีเซีย เพื่อพัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้ม-
แข็งของการต่อต้านการก่อการร้ายในระดับภูมิภาค เนื่องจากการก่อการร้าย
กลายเป็นภัยคุกคามสำ�คัญต่อความมั่นคงของภูมิภาค ทุกประเทศจะต้อง
ร่วมมือในการจัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้เพื่อให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ
และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค จึงนำ�ไปสู่การลงนามในปฏิญญาร่วม
อาเซียน-ออสเตรเลียว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย
ระหว่างประเทศ (ASEAN-Australia Joint Declaration for
Cooperation to Combat International Terrorism) เพื่อใช้เป็น
กรอบในการทำ�งานร่วมกัน
ความสำ�เร็จของออสเตรเลียในการผลักดันประเด็นเรือ่ งการต่อต้าน
การก่อการร้ายไปสู่ระดับภูมิภาคนั้น แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและการ
ยอมรับบทบาทนำ�ของออสเตรเลียในการต่อต้านการก่อการร้ายจากประเทศ
ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียตระหนักดี
ว่าการต่อต้านการก่อการร้ายที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ขยายความร่วมมือ
ระดับทวิภาคีระหว่างออสเตรเลียและอินโดนีเซียเท่านั้น แต่ยังต้องผลัก-
ดันให้ทุกประเทศเห็นถึงความสำ�คัญของการก่อการร้ายเพื่อผลักดันให้เกิด

35 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อจัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้ด้วย72 อันเป็น
สิ่งสำ�คัญต่อการส่งเสริมบทบาทออสเตรเลียในการเป็นผู้นำ�ด้านต่อต้านการ
ก่อการร้าย อีกทั้งยังช่วยตอบสนองความต้องการของออสเตรเลียในการได้
รับการยอมรับและเข้าไปมีบทบาทในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น73
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าออสเตรเลียให้ความสำ�คัญ
กับการดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก ซึง่
นอกจากความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาที่จะต้องแสดงบทบาทการเป็น
ผู้ช่วยตำ�รวจโลกเพื่อสกัดกั้นการก่อการร้ายให้อยู่ในภูมิภาคแล้ว ยังสะท้อน
ให้ เ ห็ น ว่ า ปั จ จั ย ด้ า นภู มิ รั ฐ ศาสตร์ มี ส่ ว นสำ � คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ การกำ � หนด
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของออสเตรเลีย ซึ่งความกังวลด้านความมั่นคง
ของออสเตรเลียนั้นวางอยู่บนพื้นฐานแนวคิดเรื่องพื้นที่โค้งแห่งความไร้
เสถียรภาพ (Arc of Instability)74 ที่มีส่วนสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการกำ�หนด
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของออสเตรเลียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

72
Michael Wesley, The Howard Paradox: Australia Diplomacy in Asia
1996-2000 (Sydney: ABC Books, 2007), p. 188.
73
Peter Chalk and Carl Ungerer, Neighbourhood Watch: The Evolving
Terrorist Threat in Southeast Asia (Canberra: Australian Strategic Policy
Institute, 2008), pp. 40-42.
74
พอล ดิบบ์ ได้ให้นิยามโค้งแห่งความไม่มั่นคงไว้ว่า เป็นพื้นที่ที่ออสเตรเลียมีผล
ประโยชน์ทางด้านการทหาร หากพิจารณาตามแนวราบ พื้นที่นี้มีความยาว 4,000 ไมล์ทะเล
ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะโคโค (Cocos Islands) ในมหาสมุทรอินเดีย มายังนิวซีแลนด์
และหมู่เกาะแปซิฟิกตอนใต้ แต่ถ้าพิจารณาตามแนวดิ่ง มีพื้นที่ 3,000 ไมล์ทะเล จากทะเล
ใต้ มายังหมู่เกาะทางตอนเหนือ กินพื้นที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่โลกทั้งหมด

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 36
ภาพที่ 2 พื้นที่โค้งแห่งความไร้เส¶ียรภาพของออสเตรเลีย

ทีม่ า: Australia’s Arc of Instability: The Political and Cultural


Dynamics of Regional Security75
การลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลียิ่งเป็นการตอกย้ำาให้ออสเตรเลีย
เห็ น ถึ ง ความสำ า คั ญ ของอิ นโดนี เ ซี ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความมั่ น คงและผล
ประโยชนของออสเตรเลียในภูมิภาค เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศ
หนึง่ ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีโ่ ค้งแห่งความไร้เสถียรภาพ หรือเป็นพืน้ ทีท่ นี่ กั ยุทธศาสตร
ความมัน่ คงของออสเตรเลียเรียกว่า “พืน้ ทีเ่ ปราะบางทางเหนือ”76 จึงทำาให้
ความมัน่ คงของทัง้ สองประเทศมีความเกีย่ วข้องกันอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ เมือ่

75
Dennis Rumley, “The Emergence of Australia’s Arc of Instability,”
in Australia’s Arc of Instability: The Political and Cultural Dynamics of
Regional Security, Vivian Louis Forbes and Christopher Griffin Dennis
Rumley, ed., (The Netherlands: Springer, 2006), p. 2.
76
Bilveer Singh, “Indonesia and the Arc of Instability,” in Australia’s
Arc of Instability: The Political and Cultural Dynamics of Regional
Security, Vivian Louis Forbes and Christopher Griffin Dennis Rumley,
ed., (The Netherlands: Springer, 2006), p. 83.

37 ออสเตรเลียกับการตอตานการกอการรายในอินโดนีเซีย
มีเหตุการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นในอินโดนีเซีย ออสเตรเลียจึงเกิดความเกรง-
กลัวต่อภัยคุกคามการก่อการร้าย โดยเกิดความกังวลว่าอินโดนีเซียจะกลาย
เป็นพื้นที่ที่กลุ่มก่อการร้ายใช้ในการโจมตีออสเตรเลีย ทำ�ให้ออสเตรเลีย
จำ�เป็นต้องเข้าไปมีบทบาทในการต่อต้านการก่อการร้าย เพราะตระหนักดี
ว่าหากอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกำ�ลังเผชิญกับปัญหา
การก่อการร้ายที่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวออกไปในวงกว้างและมีแนวโน้มที่
จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของออสเตรเลียได้โดยตรง ออสเตรเลียจะ
ต้องสร้างเสถียรภาพให้กบั พืน้ ทีโ่ ค้งแห่งความไร้เสถียรภาพนีเ้ พือ่ ให้อนิ โด-
นีเซียรอดพ้นจากการเผชิญกับการก่อการร้าย อีกทัง้ ออสเตรเลียจะได้รบั ผล
ประโยชน์พลอยได้ (Derivative Interest) จากการรอดพ้นจากการ
ก่อการร้ายเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับคำ�กล่าวของนายเบรนแดน เนลสัน
(Brendan Nelson) รัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหมของออสเตรเลีย ดังนี้
“ออสเตรเลียจะไม่ยอมให้ประเทศใดๆ ที่อยู่ในพื้นที่โค้ง
แห่งความไร้เสถียรภาพนี้กลายเป็นแหล่งพักพิงแก่กลุ่ม
อาชญากรข้ามชาติหรือกลุ่มก่อการร้าย ออสเตรเลียมีความ
รับผิดชอบต่อการสนับสนุนการป้องกันประเทศเพื่อ
ปกป้องผลประโยชน์และ คุณค่าของความเป็นออสเตรเลีย
รวมถึงผลประโยชน์และคุณค่าของประเทศเหล่านี้ที่อยู่
ในพื้นที่ของเรา ซึ่งออสเตรเลียจะมั่นคงไม่ได้ถ้าหากว่า
พื้นที่โดยรอบของออสเตรเลียไม่ปลอดภัย”77
ด้วยความเกี่ยวพันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลให้ออสเตรเลียเกิด
ความเกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากทางเหนือ สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมาย

77
Graeme Dobell, “The ‘Arc of Instability’: The History of an Idea
in History as a Policy,” in History as Policy: Framing the Debate on
the Future of Australia’s Defence Policy, Ron Huisken and Meredith
Thatcher, ed., (Canberra: Australian National University Press, 2007), p. 85.

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 38
สำ�คัญประการหนึ่งของนโยบายความมั่นคงของออสเตรเลียที่ต้องการสร้าง
เสถียรภาพให้กับพื้นที่ในโค้งแห่งความไร้เสถียรภาพนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ
ความเป็นมหาอำ�นาจระดับภูมิภาคที่จะต้องแสดงบทบาทเชิงสร้างสรรค์ใน
การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อความมั่นคงและสร้างเสถียรภาพให้กับพื้นที่ท่ี
ตนมีความสามารถมากพอที่จะทำ�ได้ ดังนั้นภัยคุกคามการก่อการร้ายที่เกิด
ขึ้นในอินโดนีเซียย่อมเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของออสเตรเลียเช่นกัน
ออสเตรเลียจึงจำ�เป็นต้องแสดงบทบาทเชิงรุกในการจัดการกับการก่อการ
ร้ายก่อนที่ภัยคุกคามเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อออสเตรเลียมากไปกว่านี้
ความสำ�เร็จของออสเตรเลียในการผลักดันประเด็นเรือ่ งการต่อต้าน
การก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สะท้อนให้เห็นถึงความ
เชือ่ มัน่ ของประเทศในภูมภิ าคทีย่ อมรับบทบาทผูน้ �ำ ในการต่อต้านการก่อการ
ร้ายของออสเตรเลีย รัฐบาลออสเตรเลียตระหนักดีว่าการต่อต้านการก่อการ
ร้ายทีม่ ปี ระสิทธิภาพนัน้ ไม่เพียงแต่ขยายความร่วมมือในระดับทวิภาคีเท่านัน้
แต่ต้องผลักดันให้ทุกประเทศในภูมิภาคเห็นถึงความสำ�คัญของการก่อการ
ร้าย เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการจัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้ ซึ่งการ
ขยายความร่วมมือในระดับภูมิภาคจะช่วยส่งเสริมบทบาทของออสเตรเลีย
ในการเป็นผูน้ �ำ ด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและตอบสนองต่อความต้องการ
ของออสเตรเลียในการเข้าไปมีบทบาทในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น
ออสเตรเลียไม่เพียงแต่ประสบความสำ�เร็จในการขยายความร่วมมือ
ในการต่อต้านการก่อการร้ายกับอินโดนีเซียซึ่งเป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่งต่อการ
สกัดกั้นการก่อการร้ายให้อยู่ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น
แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง
ทั้งสองประเทศที่ครอบคลุมในทุกมิติและนำ�ไปสู่การขยายความร่วมมือ
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง ตลอดจนสังคมวัฒนธรรมของทั้ง
สองประเทศ แม้ว่าความแตกต่างด้านสังคมและวัฒนธรรมยังคงเป็นสิ่ง
ท้าทายต่อการพัฒนาความสัมพันธร์ ะหว่างสองประเทศ แต่ออสเตรเลียยังคง
เร่งฟืน้ ฟูความสัมพันธก์ บั อินโดนีเซียอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ เอือ้ ประโยชนใ์ ห้กบั
ออสเตรเลียในการขยายความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายที่มีประสิทธิภาพเป็น

39 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลอินโดนีเซียให้การยอมรับความร่วมมือกับ
ออสเตรเลียในการจัดการกับการก่อการร้ายภายในประเทศมากขึ้น ซึ่ง
สะท้อนให้เห็นถึงความสำ�เร็จในการดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้าย
ในอินโดนีเซีย ดังจะเห็นได้จากภายหลัง ค.ศ. 2005 การโจมตีของกลุ่ม
ก่อการร้ายในอินโดนีเซียลดน้อยลง ส่งผลให้อินโดนีเซียมีเสถียรภาพและ
ความมั่นคงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย
ยังเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้เป็นไป
ในทิศทางที่ดีขึ้น จนนำ�ไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือ
ที่ครอบคลุมทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง ตลอดจนสังคม
และวัฒนธรรม รวมทั้งช่วยเสริมสร้างบทบาทและการยอมรับจากประเทศ
ในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น
~7~
บทสรุป
ความสำ�คัญด้านยุทธศาสตรเ์ ป็นปัจจัยทีเ่ ป็นตัวกำ�หนดความสัมพันธ์
ด้านความมั่นคงระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซีย ดังจะเห็นได้จากการ
ต่อต้านการก่อการร้ายของออสเตรเลียในอินโดนีเซียที่สะท้อนให้เห็นว่า
ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์มีส่วนสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการกำ�หนดยุทธศาสตร์
ความมั่นคงของออสเตรเลีย โดยอินโดนีเซียสามารถเป็นได้ทั้งภัยคุกคาม
และเป็นผู้ปกป้องสำ�หรับออสเตรเลีย กล่าวคือ ในแง่ของการเป็นผู้ปกป้อง
อินโดนีเซียที่มีความเข้มแข็งจะสามารถเป็นเกราะป้องกันภัยคุกคามทาง
ตอนเหนือให้กับออสเตรเลียได้ ในขณะเดียวกันถ้าหากอินโดนีเซียมีความ
ไม่มั่นคงหรืออ่อนแอ อินโดนีเซียจะกลายเป็นภัยคุกคามต่อออสเตรเลีย
จากการเผชิญกับการถูกโจมตีจากภัยคุกคามในอินโดนีเซียได้ ดังนั้น ไม่ว่า
อินโดนีเซียจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอก็ตาม อินโดนีเซียสามารถเป็นได้ทั้งผู้
ปกป้องและภัยคุกคามที่ท้าทายความมั่นคงของออสเตรเลียได้ทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ ออสเตรเลียจึงพยายามแสวงหาความร่วมมือด้านความ
มั่นคงกับอินโดนีเซีย โดยวางอยู่บนพื้นฐานของการแบ่งปันความกังวลด้าน

ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย 40
ความมั่นคงและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน การลอบวางระเบิด
บนเกาะบาหลี ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า ความมั่ น คงของทั้งสองประเทศมีค วาม
เกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ออสเตรเลียในฐานะประเทศที่ได้รับผล
กระทบจากเหตุการณ์โดยตรงและเป็นประเทศมหาอำ�นาจระดับภูมิภาคที่มี
ขีดความสามารถและมีความพร้อมในการจัดการกับปัญหาจึงพยายามเข้าไป
มีบทบาทในการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งถูกขับเคลือ่ นด้วยปัจจัยเรื่องของ
ความเกรงกลัวของออสเตรเลียทีม่ ตี อ่ ภัยคุกคามการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ประกอบกับการเป็นผู้ช่วยตำ�รวจโลกที่ได้รับมอบหมายจากสหรัฐอเมริกา
ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผลักดันให้ออสเตรเลียแสดงบทบาทการเป็นผูน้ �ำ ในการสร้างเสถียรภาพและ
ความมัน่ คงให้กบั อินโดนีเซีย ผ่านการดำ�เนินนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายใน
ลักษณะเชิงรุก เพื่อรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพและความมั่นคง ตลอดจนปกป้อง
ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของออสเตรเลียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แม้ว่าการขยายความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของทั้ง
สองประเทศตั้งแต่เกิดการลอบวางระเบิดบนเกาะบาหลีเป็นต้นมานั้น จะ
ทำ�ให้ออสเตรเลียตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของกลุม่ ก่อการร้ายในอินโดนีเซีย
ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียยังคงพยายามเสริมสร้างความร่วมมือ
ด้านการต่อต้านการก่อการร้ายกับอินโดนีเซียอย่างต่อเนือ่ ง ดังจะเห็นได้จาก
การเกิดเหตุระเบิดพลีชีพในกรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.
2017 ออสเตรเลียยังคงพยายามมีบทบาทในการจัดการกับปัญหาการก่อการ
ร้าย ผ่านการวางแผนเป็นเจ้าภาพร่วมกับอินโดนีเซียในการจัดประชุม เพื่อ
เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงในการจัดการกับภัยการก่อการร้ายที่
เกิดขึน้ ในอินโดนีเซีย ซึง่ การกระทำ�ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าออสเตรเลียยัง
คงพยายามแสดงบทบาทผู้นำ�ในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้กับ
อินโดนีเซียเพื่อตอบสนองซึ่งผลประโยชน์ด้านความมั่นคง ตลอดจนการ
เสริมสร้างสถานะความเป็นมหาอำ�นาจระดับภูมิภาคของออสเตรเลียใน
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอย่างต่อเนื่องอีกด้วย


41 ออสเตรเลียกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย

You might also like