Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

การต่อสู้ การเรียกร้อง และการได้มาซึ่ง...

"สิทธิ" เพศเดียวกันแต่งงานถูกกฎหมาย

นั บ ตั้ ง แต่ เ หตุ จ ลาจลที่ ส โตนวอลล์ (Stonewall Uprising) ของกลุ่ ม บุ ค คลผู้ มี ค วาม
หลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2512 ก็มีการต่อสู้และเรียกร้องถึงการ
ยอมรับในตัวตนและสิทธิที่พวกเขาควรได้รับมาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางกระแสต่อต้านแง่มุมต่าง ๆ ใน
สังคม
จนกระทั่งผ่านมา 31 ปี ในปี 2543 สภานิติบัญญัติของเนเธอร์แลนด์ได้ผ่านกฎหมาย และ
กลายเป็นประเทศแรกที่รับรองให้การแต่งงานของเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย ในปี 2544
โดยหลังจากนั้นก็มีอีกหลายประเทศทยอยนำร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับแต่งงานของ LGBTQ+
มาพิจารณากันอย่างกว้างขวางและเป็นที่จับตาทั่วโลก ซึ่งกว่าครึ่งของประเทศที่มีการรับรองกฎหมาย
ดังกล่าวอยู่โซนยุโรปตะวันตก
ล่ าสุ ด วัน ที่ 18 มิ ถุน ายน 2567 ที่ ประชุม วุฒิ ส ภา (สว.) โหวตผ่ านร่างพระราชบั ญ ญั ติ
(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. หรือ “ร่างกฎหมาย
สมรสเท่าเทียม” วาระ 3

ซึ่ ง ขั้ น ตอนหลั ง จากนี้ หากศาลรั ฐ ธรรมนู ญ


วิ นิ จ ฉั ย ว่ า ร่ า งกฎหมายดั ง กล่ า วว่ า ไม่ ขั ด กั บ
รัฐ ธรรมนู ญ ก็ จะต้ องส่ งร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่ า
เทียม ไปยัง ครม. และนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้น
ทูล เกล้ าฯ โดยจะมีผ ลใช้บังคับ หลั งกฎหมาย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 120 วัน หรือ
ประมาณช่วงปลายปี 2567
เพศเดียวกันแต่งงานถูกต้องตามกฎหมาย มีประเทศอะไรบ้าง ?
จากข้อมูลของ SCMP เมื่อร่าง “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” ในไทยผ่านแล้วและมีการบังคับ
ใช้นั่นหมายความว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกลุ่มอาเซียน ที่
รับรองให้การแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย”
สรุป… เมื่อ “สมรสเท่าเทียม” ผ่านแล้วจะเป็นอย่างไร ?
คู่รัก เพศเดีย วกัน ที่ มีอายุ 18 ปี ขึ้น ไป จะสามารถจดทะเบี ยนสมรส เพื่ อ ให้ ได้รับสิ ท ธิ์ถูก ต้องตาม
กฎหมายในแง่ต่าง ๆ อาทิ การรับมรดก, การลดหย่อนภาษี และการรับบุตรบุญธรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ที่รับรองการแต่งงานเพศเดียวกันต่อจากไต้หวัน
และเนปาล และเป็นหนึ่งในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ที่รับรอง “สมรสเท่าเทียม”
*หมายเหตุ: รัฐสภาเนปาลยังไม่ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม
นอกจากกรณี “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” ที่เป็นความก้าวหน้าของความเท่าเทียมทางเพศ
แล้ ว ยังมีอีกประเด็น ที่ น่ าติดตามในอนาคต นั่ นคือ ความเท่ าเที ยมทางเพศในแง่ของบทบาทใน
หน้าจอโทรทัศน์และภาพยนตร์ ซึ่งจากที่ผ่านมา ยังคงเทน้ำหนักไปที่ “เพศชาย” เป็นหลัก

You might also like