ÃÇÁÍØ·ÒËóì_5_àÃ×èͧ.1

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

เรื่องที่ ๑

การดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ
กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีความเห็นหรือวินิจฉัยเกินกำหนดเวลา

๑. ข้อเท็จจริง
ด้วยได้มีป ระเด็นปั ญหาการพิจารณาโทษทางวินัย กรณี คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่ส วน
และมีความเห็นหรือวินิจฉัยเกินกำหนดเวลาตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ จะมีผลผูกพันผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนหรือไม่
๒. หลักปฏิบัติราชการ
ประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ปรากฏแนวทางปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ป.ป.ช. คำวินิจฉัยอุทธรณ์
ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และคำพิพากษาศาลปกครอง ดังนี้
๒.๑ สำนักงาน ป.ป.ช. ตอบข้ อหารือกระทรวง ม. สรุปได้ ว่า กรณี ค ณะกรรมการ ป.ป.ช.
มีมติวินิจฉัยชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ในวันที่มีมติ แม้จะได้มีมติเมื่อพ้นกำหนดเวลา
ตามมาตรา ๔๘ ผู้บังคั บบั ญชาหรื อผู้มี อำนาจแต่ งตั้ งถอดถอนก็ ย่อมต้ องพิ จารณาโทษทางวินั ยตามฐานความผิ ด
ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีก ตามมาตรา ๙๘
๒.๒ คำวินิจฉัยคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๗ สรุปได้ว่า
เมื่อการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เริ่มก่อนวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนู ญ ว่าด้ วยการป้ องกั น และปราบปรามการทุ จริ ต พ.ศ. ๒๕๖๑ มี ผลใช้บั งคั บ การนั บระยะเวลาไต่ สวน
จึ ง ต้ อ งเริ่ มนั บใหม่ โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้ องไต่ สวนและวิ นิ จฉั ยให้ แล้ วเสร็ จภายในสองปี คื อภายในวั นที่
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ การที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มี มติ ชี้ มู ลความผิ ดวิ นั ยอย่ า งร้ า ยแรงผู้ อุ ท ธรณ์ เมื่ อ วั น ที่
๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าได้ขยายระยะเวลาออกไปตามที่จำเป็น ตามมาตรา ๔๘ วรรคสาม
ดังข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๕ คดีหมายเลขแดงที่ อท ๑๒๙/
๒๕๖๕ การดำเนินการทางวินัยกับผู้อุทธรณ์จึงต้องห้าม ตามมาตรา ๙๘ วรรคสาม ดังนั้น การที่คู่กรณีในอุทธรณ์
ใช้สำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ไม่ ชอบด้ วยกฎหมายเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยแล้ว
มีคำสั่งลงโทษไล่ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน วินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ออก
๒.๓ คำพิพากษาศาลปกครอง
๒.๓.๑ ศาลปกครองภู เก็ ต คดีหมายเลขแดงที่ ๓๔/๒๕๖๖ สรุปได้ ว่า เมื่อพิ จารณาถ้อยคำ
ตามมาตรา ๔๘ ประกอบมาตรา ๙๓ แล้ว เป็นการบัญญั ติข้อยกเว้นที่ต้องตีความเคร่งครัดและได้กำหนดระยะเวลา
สิ้นผลบังคับไว้ชัดแจ้งว่า หากพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา ๔๘ ในการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาหรือ
ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนไม่ผูกพันที่จะต้องออกคำสั่งตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่อย่างใด
๒.๓.๒ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขแดง ที่ ฟบ. ๓๙/๒๕๖๖ สรุปได้ว่า
ระยะเวลาการไต่สวนและวินิจฉัยตามมาตรา ๔๘ นั้น เป็นเพียงระยะเวลาเร่งรัด แม้การไต่สวนจะเกินกว่ากรอบ
ระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็มิได้มีผลทำให้การไต่สวนข้อเท็จจริงที่เป็นไปโดยชอบต้องเสียไปแต่อย่างใด
๓. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บขาราชการพลเรื อ น พ.ศ. ๒๕๕๑ ตามมาตรา ๘๒ (๗) (๘)
และ (๑๐) ประกอบมาตรา ๘๔
๔. แหล่งที่มา
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ ฟ. ๓/๒๕๖๔

นายเศรษฐพงศ์ แหล่งสท้าน
กลุ่มงานวินัย กองการเจ้าหน้าที่
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เรื่องที่ 2
เอกสารลับถูกเปิดเผย เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

1. ข้อเท็จจริง
นาย ส. ข้าราชการพลเรือนสามัญ มีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนคดี ได้รับแต่งตั้งให้
ปฏิบั ติหน้ าที่เป็ นเลขานุการคณะทำงานสื บสวนคดีเกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าของเจ้าของร้านยีนส์
แห่ งหนึ่ ง โดยในวัน เกิดเหตุน าย ส. ได้น ำสำเนาเอกสารข้อมู ล ลั บ ดังกล่ าวติดตัว ออกไปด้ว ยนอกสำนั กงาน
และได้จอดรถแวะซื้อของที่ตลาดโดยได้ฝากกระเป๋าเก็บเอกสารลับทางคดีไว้กับนาง ต. ซึ่งเป็นคนรู้จักสนิทสนมกัน
ที่ เปิ ด ร้ านขายสิ น ค้ าอยู่ ในละแวกนั้ น ปรากฏว่า นาง ต. แอบเปิ ด กระเป๋ าและใช้โทรศั พ ท์ มื อถื อ ถ่ายภาพ
เอกสารลับเอาไว้เพื่อเรียกรับเงินจากเจ้าของร้านยีนส์แห่งนั้น จำนวน 1 ล้านบาท เพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกจับกุม
ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้า ต่อมาหน่วยงานต้นสังกัดของนาย ส. ได้ดำเนินการทางวินัย
และมีคำสั่งลงโทษปลดนาย ส. ออกจากราชการ นาย ส. ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งลงโทษดังกล่าว เพราะไม่มีส่วนรู้เห็นกับ
การกระทำของนาง ต. และเหตุที่ต้องนำเอกสารลับติดตัวออกจากที่ทำงาน เนื่องจากสถานที่ทำงานไม่มีตู้เก็บเอกสาร
และโต๊ ะ ทำงานไม่ มี กุ ญ แจที่ ส ามารถเก็ บ เอกสารได้ อ ย่ า งปลอดภั ย จึ ง ได้ ยื่ น อุ ท ธรณ์ ค ำสั่ ง ลงโทษ
ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณ ธรรม ซึ่งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณ ธรรมมีคำวินิจฉัยให้ ยกอุทธรณ์
นาย ส. จึงนำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด
2. หลักปฏิบัติราชการ
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยสรุปความได้ว่า การนำเอกสารลับออกไปนอกที่ทําการย่อมก่อให้เกิด
หน้ าที่ แก่ ผู้ ฟ้ องคดี ที่ จะต้ องใช้ ความระมั ดระวั งในการดู แลและเก็ บ รั กษาเป็ น พิ เศษมากกว่ า ปกติ ธ รรมดา
เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลการสืบสวนคดีรั่วไหลไปสู่ภายนอกหน่วยงานหรือเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดล่วงรู้เสียก่อน
ฉะนั้น การที่นาง ต. มีโอกาสลักลอบใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกภาพจากเอกสารสํานวนคดีที่อยูในกระเป๋าส่วนตัว
ของผู้ ฟ้องคดี ในขณะที่ผู้ฟ้องคดีไปเข้าห้ องน้ำ แลวนำข้อมูลคดี ดังกลาวไปใช้เรียกเก็ยรับเงินจากเจ้าของร้านยี นส์
เพื่ อ แลกกับ การที่ ไม่ ต้ อ งถู กดํ าเนิ น คดีเกี่ย วกั บ การละเมิ ด เครื่องหมายการค้ า อั น ก่อ ให้ เกิด ความเสี ย หาย
อย่างร้ายแรงต่อกระบวนการยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย และมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ความเชื่อมั่น
ของประชาชนที่ มีต่ อหน่ ว ยงานของรั ฐ และถือ เป็ น ผลโดยตรงมาจากการกระทำของผู้ ฟ้ อ งคดีที่ บ กพร่อ ง
ในหน้าที่ อันเป็นการประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ และทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อหน่วยงาน
ย่อมเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา 83 (4) ประกอบมาตรา 85 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า เหตุที่ต้องนำเอกสารลับติดตัวออกจากที่ทำงาน
เนื่องจากสถานที่ทำงานไม่มีตู้เก็บเอกสารและโต๊ะทำงานไม่มีกุญแจที่สามารถเก็บเอกสารได้อย่างปลอดภัย นั้น
เมื่อปรากฏว่า ไม่เคยมีเอกสารสูญหายหรือผู้ฟ้องคดีได้รายงานปัญหาดังกล่าวให้ผู้ บังคับบัญชาได้รับทราบ
เพื่อแก้ไขปั ญหา จึงไม่อาจฟังได้ว่า เป็ นความบกพร่องของผู้บังคับบัญชา ดังนั้น คำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดี
ออกจากราชการ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง
3. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 83 (4) ประกอบมาตรา 85 (7)
4. แหล่งที่มา
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ ฟบ. 20/2562 คดีหมายเลขแดงที่
ฟบ. 27/2566

นางสาวดาริน รังสิวรารักษ์
กลุ่มงานวินัย กองการเจ้าหน้าที่
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เรื่องที่ 3
การกำชับให้ใช้มาตรการทางการบริหารแก่ราชการที่มีพฤติการณ์
เข้าข่ายการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง

1. ข้อเท็จจริง
ก.พ. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 หยิบยกประเด็น
ที่สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่เหมาะสมของข้าราชการในเรื่องชู้สาว การล่วงละเมิดทางเพศ
หรือการคุกคามทางเพศ รวมถึงการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการกระทำดังกล่าว ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำผิด
วินัยและจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยมีข้อสังเกตว่าเรื่องนี้เป็นหน้าทีข่ องผู้บังคับบัญชาที่ต้องเร่งรัดการดำเนินการ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาการดำเนินการทางวินัยโดยเร็ว ทั้งนี้ ก.พ. เห็นว่า มาตรฐานการดำเนินการ
ทางวินั ยและจริย ธรรมของข้าราชการประเภทต่าง ๆ มี ความแตกต่ างกัน ทั้ งในเรื่อ งของการนำมาตรการ
ทางการบริหารมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการทางวินัย ตลอดจนมาตรฐานการลงโทษที่ลักลั่นกัน ซึ่งทำให้
การดำเนินการขาดประสิทธิภาพ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการดำเนินการทางวินัย
2. หลักปฏิบัติราชการ
2.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามมติ ก.พ. ดังกล่าวข้างต้น เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564
ในการนำมาตรการที่เกี่ยวข้องกับวินัยและจริยธรรมร้ายแรงของแต่ละองค์กรกลางบริหารงานบุคคล เช่น การสั่ งพัก
ราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน การสั่งให้ประจำส่วนราชการ การสั่ง สำรองราชการ หรือการสั่ง
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่มีอยู่มาใช้ในการดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการที่ถูกกล่าวหา
ว่ามีพฤติกรรมชู้สาวหรือล่วงละเมิดทางเพศ หรือคุกคามทางเพศ รวมถึงการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการกระทำดังกล่าว
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการดำเนินการในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน หรือเรื่องที่มีผลกระทบ
ต่อภาพลักษณ์ของส่วนราชการโดยกำชับให้ผู้บังคับบัญชาเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หากผู้บังคับบัญชา
ละเลยไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
2.2 กรณีปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนหลายกรณีว่ามีข้าราชการที่มีพฤติการณ์ในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งอาจ
เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เช่น การเรียกรับเงินในการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่ง การอาศัยตำแหน่ง
หน้าที่ของตนเรียกรับผลประโยชน์ที่มิควรได้ จึงเห็นควรกำชับให้ผู้บังคับบัญชากำกับดูแลให้ข้าราชการประพฤติ
ปฏิบั ติตนให้ อยู่ในกรอบคุณธรรม จริยธรรม และวินัย รวมทั้งการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
อย่ า งเคร่ ง ครั ด ทั้ ง นี้ หากปรากฏว่ า พฤติ ก ารณ์ ดั ง กล่ า วเข้ า ข่ า ยความผิ ด ทางกฎหมายบ้ า นเมื อ งด้ ว ย
ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินคดีทางอาญาโดยเร็วต่อไป
3. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบั ญ ญั ติ ระเบี ย บข้ าราชการพลเรื อ น พ.ศ. 2551 มาตรา 8 (1) มาตรา 10
และมาตรา 87
4. แหล่งที่มา
4.1 หนั งสื อสำนั กเลขาธิ การคณ ะรั ฐมนตรี ด่ วนที่ สุ ด ที่ นร 0505/ว 2169
ลงวันที่ 17 มีนาคม 2564
4.2 หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ว 4 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566

นายจิตติพัฒน์ พินธุทอง
กลุ่มงานวินัย กองการเจ้าหน้าที่
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เรื่องที่ 4
การดำเนินการทางวินัย ข้าราชการต่างกรม ในกระทรวงเดียวกัน

๑. ข้อเท็จจริง
สำนั กงานการตรวจเงินแผ่ นดิ น สำนั ก ตรวจสอบพิ เศษภาค 2 ได้ ตรวจสอบสื บสวนกรณี
การเบิกจ่ายเงินโครงการฝึกอบรม ประชุม สัมมนาที่มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมประชุม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
ซึ่งมี ข้าราชการที่มีห น้าที่รับผิ ดชอบโครงการดังกล่าวเบียดบังเงิน จำนวน ๕๔๑,๕๕0 บาท ไปเป็นของตน
หรื อ ผู้ อื่ น โดยทุ จ ริ ต หรื อ ยอมให้ ผู้ อื่ น เอาทรั พ ย์ นั้ น ไป จึ ง ให้ ด ำเนิ น การทางวินั ย กั บ ข้ า ราชการที่ เกี่ ย วข้ อ ง
จำนวน ๕ ราย กระทรวง ท. ได้ พิ จ ารณารายงานการตรวจสอบสื บ สวนของสำนั ก ตรวจสอบพิ เศษภาค 2
แล้ วเห็ น ว่ า ข้ าราชการทั้ ง ๕ ราย ได้ กระทำผิ ดวิ นั ยอย่ างร้ ายแรงและอย่ างไม่ ร้ ายแรง ซึ่ งเป็ น ข้ าราชการ
สั งกั ดกรม ป. 4 ราย และสั งกั ด สำนั ก งานปลั ด กระทรวง ท 1 ราย จึ งได้ ห ารื อ ก.พ. ว่ า กรณี ดั ง กล่ า ว
เป็นการกระทำความผิดร่วมกันหรือไม่ อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเป็นของผู้ใด การทำคำสั่ง
สอบสวนวินั ย อย่างร้ายแรงและอย่ างไม่ร้ายแรงจะทำเป็นคำสั่ งเดียวกันได้หรือไม่ และกรณี ที่มี การแยกคำสั่ ง
แต่งตั้งออกจากกัน หรือแยกคำสั่ งสอบสวนแต่ละกรณี ออกจากกันจะทำให้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ดังกล่าวเสียไป หรือไม่
๒. หลักปฏิบัติราชการ
ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีนี้เป็นการกล่าวหาข้าราชการ จำนวน ๕ ราย กระทำผิด
วินัยร่วมกัน และเป็นกรณีข้าราชการต่างกรมในกระทรวงเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน จึงเป็น
อำนาจของปลัดกระทรวง ท. ในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและวินั ยอย่างไม่ร้ายแรง
ตามมาตรา ๙๔ (๒) แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บข้าราชการพลเรือ น พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกั บ ข้ อ ๑ 2
ของกฎ ก.พ. ว่ า ด้ ว ยการดำเนิ น การทางวิ นั ย พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยปลั ด กระทรวง ท. สามารถสั่ งแต่ งตั้ ง
คณะกรรมการสอบสวนวินั ยอย่ างร้ายแรงและอย่างไม่ร้ายแรงในคำสั่ งเดียวกันได้ หรือหากปลั ดกระทรวง ท.
เห็ นว่าเพื่อความชัดเจนจะแยกคำสั่ งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและอย่างไม่ร้ายแรง
ออกจากกันก็สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนทั้งสองคำสั่งดังกล่าวควรเป็นบุคคล
ชุดเดียวกัน
๓. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3.1 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา 94 (2)
3.2 กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ 12
๔. แหล่งที่มา
หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ล 49 ลงวันที่ 26 มกราคม 2559

นางสาวสุดารัตน์ เดชสุวรรณ
กลุ่มงานวินัย กองการเจ้าหน้าที่
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เรื่องที่ 5
ข้าราชการนำครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพของราชการไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

๑. ข้อเท็จจริง
ผู้ ฟ้อ งคดีรั บ ราชการในตำแหน่ งเจ้าพนั กงานธุรการ ได้รับ มอบหมายจากผู้ บั งคับ บั ญ ชา
ให้ดำเนินการจัดท 5 ส. ภายในสำนักงาน โดยมีหน้าที่ทำลายเอกสารหลักฐานที่ไม่ใช้และเก็บรวบรวมครุภัณฑ์
ที่ เ สื่ อ มสภาพเพื่ อ ปลดระวางตามขั้ น ตอนของทางราชการ ในขณะกำลั ง ทำความสะอาดผู้ ฟ้ อ งคดี
อาศัยจังหวะที่ไม่มีใครเห็น นำคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่อง จอคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 จอ และแป้นพิมพ์
จำนวน 2 ชุด พร้อมทั้งเสื้อยืดโปโล ซึ่งเป็นวัสดุ ครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพออกนอกสำนักงานโดยมิได้รับอนุญาต
จากผู้ใด ผู้ฟ้องคดียอมรับกับผู้บังคับบัญชาว่าตนได้นำทรัพย์สินของทางราชการหรือสิ่งของดังกล่าวออกไปจริง
โดยอ้างว่าเพราะคอมพิวเตอร์มีข้อมูลสำคัญเกี่ ยวกับการรักษามารดาที่ตนต้องการเก็บเอาไว้ แต่ไม่สามารถ
โอนถ่ายข้อมูลได้ด้วยตนเอง จากนั้นผู้ฟ้องคดี ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวมาคืน ต่อมาได้มีการสอบสวนทางวินัย
อย่างร้ายแรงและได้มีคำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามมาตรา
82 (10) ประกอบ มาตรา 85 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ผู้ฟ้องคดี
อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ซึ่งต่อมาได้ยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้อง
ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
๒. หลักปฏิบัติราชการ
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยสรุปความได้ว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
ให้ จั ด ทำ5 ส. และได้ น ำคอมพิ วเตอร์ พร้ อมอุ ปกรณ์ ต่ าง ๆ จำนวน 2 เครื่ อง ออกไปจากอาคารสำนั กงาน
ในวันหยุดราชการ โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา แม้ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เก่าที่ปลดระวางและมิได้ใช้
ประโยชน์แล้วก็ตาม พฤติกรรมดังกล่าวแสดงให้ เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีมีเจตนาที่จะนำทรัพย์สินของทางราชการ
ออกไปโดยไม่มีเหตุอันควร และไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำโดยถือวิสาสะและเป็นความคิดชั่ววูบเพื่อนำไปถ่าย
โอนข้อ มูลส่ วนตัว และข้อมูลจากการทำงานออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่ าวได้ และถึงแม้ ว่าผู้ ฟ้องคดี
จะนำคอมพิ ว เตอร์ ม าคื น ครบถ้ ว นก็ มิ อ าจลบล้ า งความผิ ด ได้ กรณี จึ ง เป็ น การไม่ รั ก ษาชื่ อ เสี ย งของตน
และไม่รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิด
วินั ยอย่ างร้ายแรงตามมาตรา 82 (10) ประกอบกับมาตรา 85 (4) แห่ งพระราชบัญญั ติระเบียบข้าราชการ
พลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ คำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษสถานเบา
ที่สุดตามที่กฎหมายให้อำนาจและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของคณะกรรมการ
พิทักษ์ระบบคุณธรรม จึงเป็นสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน พิพากษายกฟ้อง
๓. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 82 (๑๐) ประกอบมาตรา 85 (๔)
๔. แหล่งที่มา
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ ฟบ. ๕๐/256๕ คดีหมายเลขแดงที่
ฟบ. ๔๔/256๑

นางสาวภวิชญ์พร นันทศรี
กลุ่มงานวินัย กองการเจ้าหน้าที่
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

You might also like