Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 122

41214 : กฎหมายแพ่ง

ว่าด้วยบุคคล นิติกรรม
และหนี้ (แนว-อัตนัย)
CIVIL LAW : Persons, Juristic Acts And
Obligations
ตัวอย่างและการวิเคราะห์คาถาม : การเขียนคาตอบ
• “เขียนจากเหตุไปหาผล” หมายถึง การยกหลักกฎหมายหรือตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องขึ้นก่อน แล้วจึงนา
ข้อกฎหมายนั้นมาปรับกับข้อเท็จจริง เพื่อวินิจฉัยประเด็นปัญหาตามคาถามและสรุปเป็นธงคาตอบในที่สุด
• (1) การยกหลั ก กฎหมาย ยกหลั ก กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ประเด็ น ต่ า ง ๆ ไม่ จ าเป็ น ต้ อ งใส่ เ ลขมาตรา
ก. กรณีตามปัญหาประมวลกฎหมาย..................................เรื่อง........................วางหลักไว้ว่า............................
ป.พ.พ. มาตรา 15 วางหลักไว้ว่า..........................................................
ข. กรณีตามปัญหาประมวลกฎหมาย.................................. สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอด...
• (2) การวินิจฉัยปัญหา นาหลักกฎหมายที่ยกมาไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงหรือการปรับข้อเท็จจริงตามประเด็น
คาถามเข้ากับหลักกฎหมายเพื่อวินิจฉัยนั่นเอง
• (3) ธงคาตอบ หมายถึงการสรุปคาตอบตามประเด็นต่าง ๆ ในคาถามซึ่งต้องตอบให้ตรงประเด็นและครบทุก
ประเด็น
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2565 )
คาถาม :
นายแดงมีบุตรสองคน นายดาเป็นบุตรคนแรกของนายแดงและเป็นบุตรที่ช่วยเหลือกิจการที่นายแดง
มอบหมายด้วยดีมาโดยตลอด วันหนึ่งนายแดงคิดอยากจะให้สร้อยคอทองคาน้าหนัก 5 บาท แก่นายดาเพื่อ
เป็นรางวัลที่นายดาช่วยเหลืองานของตน นายแดงจึงยกสร้อยคอทองคาน้าหนัก 5 บาทให้แก่นายดา แต่ด้วย
เกรงว่านายขาว บุตรอีกคนหนึ่งจะรู้ว่าตนยกสร้อยคอทองคาน้าหนัก 5 บาท ให้แก่นายดาเพียงคนเดียว และ
อาจน้อยใจ นายแดงจึงสมคบกับนายดาและได้ทาสัญญาซื้อขายสร้อยคอทองคาน้าหนัก 5 บาท กับนายดาขึ้น
อีกฉบับ
เช่นนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรมระหว่างนายแดงและนายดาดังกล่าวมีผลทางกฎหมายอย่างใร จง
อธิบาย
1. ยกสร้อยฯให้ (ต้องการผูกพันธ์)
นายแดง นายดา
2. ทาสัญญาซื้อ-ขาย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2565 )
แนวคาตอบ :
หลักกฎหมาย
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 155) วางหลักไว้ว่า
“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก
ผู้กระทาการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทาขึ้นเพื่ออาพรางนิติกรรมอื่น ให้นาบทบัญญัติของกฎหมายอัน
เกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอาพรางมาใช้บังคับ ”
วินิจฉัย
ตามปัญหาการที่นายแดงจะยกสร้อยคอทองคาน้าหนัก 5 บาทให้แก่นายดาแต่ด้วยเกรงว่านายขาว
บุตรอีกคนหนึ่งจะรู้ว่าตนยกสร้อยคอทองคาน้าหนัก 5 บาท ให้แก่นายดาเพียงคนเดียวและอาจน้อยใจ นาย
แดงจึงได้สมคบกับนายดาและได้ทาสัญญาซื้อขายสร้อยคอทองคาน้าหนัก 5 บาท กับนายดาขึ้นอีกฉบับ
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2565 )
แนวคาตอบ :
วินิจฉัย
กรณีปัญหา มีการทานิติกรรมทั้งหมด 2 นิติกรรม
(1) นิติกรรมซื้อขาย และ
(2) นิติกรรมการให้
เช่นนี้ จะเห็นได้ว่านิติกรรมการซื้อขายนั้นเป็นนิติกรรมซึ่งนายแดงและนายดาสมคบกันเพื่อลวงบุคคลภายนอก
ให้เข้าใจผิด โดยนิติกรรมซื้อขายนั้นถือว่าเป็นนิติกรรมที่ปกปิกหรืออาพรางนิติกรรมการให้ ดังนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา
155 วรรค 1 นั้น ผลของนิติกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ สาหรับนิติกรรมการให้เป็นนิติกรรมที่ถูกปกปิดหรือถูกอา
พราง ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรค 2 ให้นากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมดังกล่าวมาใช้บังคับ
สรุป
ดังนั้น นิติกรรมระหว่างนายดากับนายแดง คือ (1) นิติกรรมซื้อขายมีผลเป็นโมฆะ ส่วน (2) นิติกรรมการให้ ให้
นากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมดังกล่าวมาใช้บังคับตามที่ได้วินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2565 )
คาถาม :
นายกุ้งเป็นหนี้เงินกู้นายกล้า จานวน 200,000 บาท ให้ระหว่างที่หนี้ยังไม่ถึงกาหนดชาระ นายกล้า
ทาหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่นายไก่โดยนายกุ้งไม่ได้ยินยอมด้วยเป็นหนังสือ ต่อมา
นายไก่ส่งหนังสือบอกกล่าวการโอนหนี้นั้นให้แก่นายกุ้ง เมื่อนายกุ้งทราบข้อความในหนังสือแล้วได้ทาหนังสือ
แสดงเจตนาไม่ยินยอมด้วยกับการโอนหนี้นั้นไปยังนายไก่ทันที หลังจากนั้น นายกุ้งได้นาเงินไปชาระหนี้ให้แก่
นายกล้าจานวน 100,000 บาท แก่นายกล้า ได้รับไว้แล้ว ต่อมาหนี้เงินกู้นั้นถึงกาหนดชาระ นายไก่เรียกร้อง
ให้นายกุ้งชาระหนี้แก่ตนเป็นเงินจานวน 200,000 บาท แต่นายกุ้งปฏิเสธอ้างว่าการโอนหนี้นั้นมีผลไม่สมบูรณ์
และตนสามารถยกการชาระหนี้จานวน 100,000 บาท แก่นายกล้า ขึ้นต่อสู้นายไก่ได้อีกด้วย
ให้วินิจฉัยว่า การโอนหนี้นั้นมีผลสมบูรณ์หรือไม่ และนายกุ้งสามารถยกการชาระหนี้จานวน 100,000
บาท แก่นายกล้าขึ้นต่อสู้กับนายไก่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2565 )
แนวคาตอบ :
หลักกฎหมาย
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 306 วรรค 1) วางหลักไว้ว่า
“การโอนหนี้อันจะพึงต้องชาระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้นถ้าไม่ทาเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการ
โอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอม
ด้วยในการโอนนั้น คาบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทาเป็นหนังสือ...”
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 308 วรรค 2) วางหลักไว้ว่า
“ถ้าลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมดังกล่าวมาในมาตรา ๓๐๖ โดยมิได้อิดเอื้อน ท่านว่าจะยกข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้ผู้รับ
โอนนั้นหาได้ไม่ แต่ถ้าเพื่อจะระงับหนี้นั้นลูกหนี้ได้ใช้เงินให้แก่ผู้โอนไปไซร้ ลูกหนี้จะเรียกคืนเงินนั้นก็ได้ หรือถ้าเพื่อการเช่นกล่าวมา
นั้น ลูกหนี้ รับภาระเป็นหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นใหม่ต่อผู้โอน จะถือเสมือนหนึ่งว่าหนี้นั้นมิได้ก่อขึ้นเลยก็ได้
ถ้าลูกหนี้เป็นแต่ได้รับคาบอกกล่าวการโอน ท่านว่าลูกหนี้มีข้อต่อสู้ผู้โอก่อนเวลาที่ได้รับคาบอกกล่าวนั้นฉันใด ก็จะยกขึ้น
เป็นข้อต่อสู้แก่ผู้รับโอนได้ฉันนั้น ถ้าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องจากผู้โอน แต่สิทธินั้นยังไม่ถึงกาหนดในเวลาบอกกล่าวไซร้ ท่านว่าจ ะเอา
สิทธิเรียกร้องนั้นมาหักกลบลบกันก็ได้ หากว่าสิทธินั้นจะได้ถึงกาหนดไม่ช้ากว่าเวลาถึงกาหนดแห่งสิทธิเรียกร้องอันได้โอนไปนั้น
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2565 )
แนวคาตอบ :
วินิจฉัย
กรณีปัญหา นายกุ้งเป็นหนี้เงินกู้นายกล้าจานวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่ต้องชาระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ใน
ระหว่างที่หนี้ยังไม่ถึงกาหนดชาระ นายกล้า ทาหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่นายไก่ ดังนี้ การโอนหนี้ที่ต้องชาระแก่
เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น เมื่อนายกล้าได้โอนหนี้ให้แก่นายไก่โดยทาเป็นหนังสือแล้ว การโอนหนี้นั้นย่อมเป็นผลสมบูรณ์ ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรค 1 แม้ว่านายกุ้งลูกหนี้จะไม่ได้ยินยอมในการโอนหนี้นั้นด้วยก็ตาม
การที่นายไก่ส่งหนังสือบอกกล่าวการโอนหนี้นั้นให้แก่นายกุ้ง เมื่อนายกุ้งทราบข้อความในหนังสือนั้นแล้วย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
นายกุ้งลูกหนี้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรค 1 แม้ว่านายกุ้งจะมีหนังสือแสดงเจตนาไม่ยินยอมด้วยกับการโอนหนี้นั้นก็ตาม อย่างไรก็
ตาม ถ้าลูกหนี้เป็นแต่ได้รับคาบอกกล่าวการโอน ลูกหนี้มีข้อต่อสู้ผู้โอนก่อนเวลาที่ได้รับคาบอกกล่าวนั้นฉันใด ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อ สู้แก่
ผู้รับโอนได้ฉันนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 วรรค 2 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายกุ้งได้นาเงินไปชาระหนี้แก่นายกล้าจานวน 100,000
บาท ภายหลังจากที่ได้รับคาบอกกล่าวการโอนหนี้นั้นแล้ว ดังนี้ นายกุ้งย่อมไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้นายไก่ผู้รับโอนหนี้นั้นได้
สรุป
การโอนหนี้นั้นมีผลสมบูรณ์ และนายกุ้งไม่สามารถยกการชาระหนี้จานวน 100,000 บาทแก่นายกล้าขึ้นต่อสู้นายไก่ได้
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2564)
คาถาม :
นายมะม่วงต้องการจะซื้อพระเครื่องซึ่งมีลักษณะเป็นพระนางพญา องค์หนึ่งจากนายมะนาวในราคา
40,000 (สี่หมื่นบาทถ้วน) ก่อนทาการซื้อขายพระเครื่องซึ่งมีลักษณะเป็นพระนางพญาองค์ดังกล่าว นาย
มะม่วงได้ถามนายมะนาวว่า พระเครื่องซึ่งมีลักษณะ เป็นพระนางพญาองค์ดังกล่าวได้เคยผ่านการประกวด
จากงานประกวดพระเครื่องแห่งใดหรือไม่ นายมะนาว ได้ตอบนายมะม่วงไปว่าพระเครื่องซึ่งมีลักษณะ เป็น
พระนางพญาองค์ดังกล่าวได้รับรางวัลที่ 1 ในงานประกวดพระเครื่องแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ตามที่นาย
มะนาวได้กล่าวอ้างให้มะม่วงหลงเชื่อจึงทาการซื้อพระเครื่องซึ่งมีลักษณะเป็นพระนางพญาดังกล่าวจากนาย
มะนาว
เช่นนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายพระเครื่องซึ่งมีลักษณะเป็นพระนางพญาองค์ดังกล่าวระหว่าง
นายมะม่วงกับนายมะนาวมีผลเป็นเช่นไร อธิบาย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2564 )
แนวคาตอบ :
หลักกฎหมาย
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 161วรรค 1) วางหลักไว้ว่า
“การถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่คู่กรณีฝ่าย
นั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อ
ความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้”
วินิจฉัย
ตามปัญหา การที่นายมะนาวได้ตอบนายมะม่วงไปว่าพระเครื่องซึ่งมีลักษณะเป็นพระนางพญาองค์ที่
นายมะม่วงประสงค์จะทาการซื้อขายดังกล่าวได้รับรางวัลที่ 1 ในงานประกวดพระเครื่องแห่งหนึ่งในจังหวัด
สุพรรณบุรี ทั้งที่พระเครื่ององค์ดังกล่าวเพียงได้รับรางวัลที่ 3 ในงานประกวดพระเครื่อง ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ตามที่นายมะม่วงได้กล่าวอ้าง จนทาให้นายมะม่วงหลงเชื่อเป็นกรณีที่นายมะนาวใช้กลฉ้อฉลเป็นเหตุจูงใจให้
นายมะม่วงยอมรับข้อกาหนด ข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่หนักขึ้นยิ่งกว่าที่นายมะม่วงจะยอมรับโดยปกติ
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2564 )
แนวคาตอบ :
วินิจฉัย
ดังนั้น เมื่อมะม่วงหลงเชื่อและสัญญาซื้อขายพระเครื่องซึ่งมีลักษณะเป็นพระนางพญาองค์ดังกล่าวจึง
ไม่มีผลทาให้ นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ เพียงแต่นายมะม่วงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องจากการรับ
ข้อกาหนดอันหนักกว่าปกติจากนายมะนาวเท่านั้น
สรุป
สัญญาซื้อขายพระเครื่องซึ่งมีลักษณะเป็นพระนางพญาองค์ดังกล่าวระหว่างนายมะม่วงกับนายมะนาว
มีผลไม่ตกเป็นโมฆียะเพียงแต่นายมะม่วงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องจากการรับข้อกาหนดอันหนัก
กว่าปกติจากนายมะนาว เท่านั้น
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2564 )
คาถาม :
นายแดดกู้ยืมเงินนายร่ม จานวน 90,000 บาท โดยมีข้อตกลงว่าจะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีเมื่อถึง
กาหนดชาระ นายร่มได้มีหนังสือแจ้งให้นายแดดชาระหนี้โดยแจ้งว่าหากนายแดดไม่นาเงินมาชาระหนี้ก็ไม่มี
เงินไปชาระค่าที่ดินให้ตนไปทาสัญญาจะซื้อไว้ และจะถูกรับมัดจา 90,000 บาท นายแดดตอบมาว่ายังไม่มี
เงินขอผลัดไปอีก 2 เดือน นายร่มฟ้องเรียกเงินต้นพร้อมดอเบี้ยร้อยละ 15 จากนายแดดจนกว่าจะชาระเสร็จ
นายแดดต่อสู้ว่าตนได้ขอผลัดหนี้ไปแล้วจึงไม่ผิดนัดและแม้จะผิดนัดก็ต้องคิดดอกเบี้ยระวังผิดนัดร้อยละ 7.5
เท่านั้น ท่านเห็นว่าข้ออ้างของนายแดดถูกต้องหรือไม่
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2564 )
แนวคาตอบ :
หลักกฎหมาย
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 204 วรรค 1) วางหลักไว้ว่า
“ถ้าหนี้ถึงกาหนดชาระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คาเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชาระหนี้ไซร้
ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว”
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 224 วรรค 1) วางหลักไว้ว่า
“หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้
สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น ”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 2564 )
แนวคาตอบ :
วินิจฉัย
ตามหลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรค 1 เมื่อหนี้ถึงกาหนดชาระแล้ว และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้
ได้ให้คาเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชาระหนี้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วกรณีตามปัญหา เมื่อหนี้
ถึงกาหนดชาระ นายร่มได้มีหนังสือแจ้งให้นายแดดชาระหนี้ แต่นายแดดตอบมาว่ายังไม่มี เงินขิผลัดไปอีกสอง
เดือน เมื่อนายแดดไม่ชาระหนี้เมื่อนายร่มมีหนังสือเตือน นายแดดจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การขอผลัดชาระหนี้ไม่มี
ผลตามกฎหมายแต่อย่างใด
เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ได้กาหนดอัตราดอกเบี้ยฐานผิดนัดไว้ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่
เจ้าหนี้อาจเรียกได้มากกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย กรณีตามปัญหามีข้อตกลงเรื่องอัตรา
ดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 15 ต่อปี นายร่มเจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกในอัตรานั้นต่อไปได้
สรุป
ข้ออ้างของนายแดดไม่ถูกต้อง
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 5 )
คาถาม 5
นายชุบตกลงเช่าบ้านจากนายอาจ มีกาหนดเวลาเช่ากัน 5 ปี โดยนายชุบตั้งใจจะใช้บ้านเช่าเป็นที่เก็บสินค้าหนี
ภาษี แต่ขณะที่ทาสัญญาไม่บอกให้นายอาจทราบ เพราะเกรงว่านายอาจจะไม่ให้เช่า คิดค่าเช่ากันเดือนละ
10,000 บาท ได้ทาสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว พอตกลงเช่ากันได้ 2 เดือน
นายอาจจึงรู้ว่านายชุบเอาบ้านไปทาเป็นที่เก็บสินค้าหนีภาษีตั้งแต่แรกทีเดียว นายชุบผิดนัดค้างชาระค่าเช่ามา
ตั้งแต่เริ่มเช่ากัน ต่อมาอีก 3 เดือน นายอาจเรียกร้องให้นายชุบชาระค่าค่าเช่าที่ค้างทั้งหมด 5 เดือน นายชุบ
โต้แย้งว่า สัญญาเช่าเป็นโมฆะ เพราะนายอาจก็รู้แล้วว่าตนเอาบ้านไปทาเป็นที่เก็บสินค้าหนีภาษีตนไม่ต้องชาระ
ค่าเช่า ท่านเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของนายอาจและขอโต้แย้งของนายชุบหรือไม่
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 5 )
แนวตอบ 5
ป.พ.พ. มาตรา 150 วางหลักไว้ว่า “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็น
การพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ”
ตามปัญหา นายอาจเพิ่งมารู้ตอนหลังเมื่อทาสัญญากันแล้ว 2 เดือน ไม่ได้ร่วมรู้ด้วยมาแต่แรก สัญญา
ระหว่างนายอาจกับนายชุบจึงไม่ตกเป็นโมฆะ นายอาจมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าได้ทั้ง 5 เดือนจากนายชุบได้
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของนายอาจและไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของนายชุบ
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
คาถาม 1:
นายดาอายุ 20 ปี จดทะเบียนสมรสกับนางแดงอายุ 21 ปี อีกสิบเอ็ดเดือนต่อมานายดาได้ไปซื้อแหวน
ทองคาวงหนึ่งราคา 50,000 บาท โดยนายดาไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใดเลย ต่อมานายดา ประสบอุบัติเหตุกลายเป็น
คนวิกลจริต นายดาได้ไปซื้อสร้อยมุก 1 เส้นราคา 40,000 บาท ซึ่งในขณะที่ซื้อสร้อยมุกเส้นดังกล่าวนายดามี
อาการจริตวิกลและนายเขียวคนขายสร้อยมุกก็รู้ว่านายดาเป็นคนวิกลจริต แต่ได้ขายสร้อยมุกให้แก่นายดาไป

ให้วินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายแหวนทองคาและสร้อยมุกของนายดาดังกล่าวมีผลอย่างไร
เพราะเหตุใด (20 คะแนน)
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
แนวคาตอบ :
หลักกฎหมาย
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 19) วางหลักไว้ว่า
“บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 21) วางหลักไว้ว่า
“ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทาลง
ปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 30) วางหลักไว้ว่า
“การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทาลง การนั้นจะเป็นโมฆียะ
ต่อเมื่อได้กระทาในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทาเป็นคนวิกลจริต”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
แนวคาตอบ :
วินิจฉัย
กรณีตามปัญหานายดาอายุ 20 ปีได้ซื้อแหวนทองคาวงหนึ่งราคา 50,000 บาท แม้นายดาจดทะเบียน
สมรสแล้วกับนางแดงหรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่านายดาเป็นผู้บรรลุนิติภาวะเนื่องจากอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงไม่
ต้องได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนทานิติกรรม นิติกรรมการซื้อแหวนของนายดาจึงมีผลสมบูรณ์
ต่อมานายดาประสบอุบัติเหตุกลายเป็นคนวิกลจริต ตามโจทย์ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าศาลมีคาสั่งให้
นายดาเป็นคนไร้ความสามารถ โดยนายดาได้ไปซื้อสร้อยมุก นายดามีอาการจริตวิกลและนายเขียวคนขายก็
ทราบด้วยว่านายดาเป็นคนวิกลจริต ตามหลักกฎหมายมีผลทาให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ
สรุป
นิติกรรมการซื้อขายแหวนทองคาของนายดา มีผลสมบูรณ์ และ
นิติกรรมการซื้อขายสร้อยมุกของนายดา มีผลเป็นโมฆียะ เพราะเหตุผลตามที่ได้วินิจฉัยข้างต้น
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
คาถาม 2 :
นายเมษาประกาศขายลูกสุนัขพันธุ์บางแก้วจานวน 5 ตัว ที่เกิดจากพ่อพันธุ์ซึ่งเป็นแชมป์ประเทศไทยในราคาตัวละ 20,000
บาท และนายสิงหาตกลงซื้อลูกสุนัขพันธุ์บางแก้วตัวหนึ่งจากนายเมษา โดยตกลงกันว่าอีก 1 สัปดาห์ นายสิงหาจะนารถยนต์กระบะ
มารับลูกสุนัขที่ตนเลือก ในวันดังกล่าวพร้อมกับชาระราคาทั้งหมด ปรากฎว่าก่อนถึงกาหนดเวลาเพียง 2 วัน นายกันยาคู่อริ ของนาย
เมษาลักลอบเข้ามาในบ้านของนายเมษาและวางยาพิษลูกสุนัขพันธุ์บางแก้วทั้ง 5 ตัวนั้น จนตายทั้งหมด เมื่อถึงกาหนดเวลาตามที่ตก
ลงกันนายสิงหาได้นารถยนต์กระบะเพื่อมารับลูกสุนัข และนายเมษาได้นาภาพลูกสุนัขทั้ง 5 ตัวที่ตายเพราะถูกวางยาพิษมาให้นาย
สิงหาดูและเล่าเหตุการณ์ให้ทราบ นายสิงหารู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถเป็นเจ้าของลูกสุนัขพันธุ์บางแก้วได้เป็นอย่างมาก

ให้วินิจฉัยว่า นายสิงหาต้องชาระเงินราคาลูกสุนัขพันธุ์บางแก้วจานวน 20,000 บาทให้แก่ นายเมษาหรือไม่ เพราะเหตุใด


(20 คะแนน)
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
แนวคาตอบ :
หลักกฎหมาย
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 370 ) วางหลักไว้ว่า
“ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และ
ทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้น
ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
แนวคาตอบ :
วินิจฉัย
กรณีนายเมษาประกาศขายลูกสุนัขพันธ์บางแก้จานวน 5 ตัว ที่เกิดจากพ่อพันธุ์ซึ่งเป็นแชมป์ประเทศ
ไทยในราคา 20,000 บาท และนายสิงหาได้ตกลงซื้อลูกสุนัขทั้ง 5 ตัวโดยตกลงว่าอีก 1 สัปดาห์จะมารับลูก
สุนัขพร้อมชาระเงินทั้งหมดนั้น ปรากฏว่าก่อนถึงกาหนด 2 วัน นายกันยาคู่อรินายเมษาได้ลักลอบเข้าบ้านนาย
เมษาและนายกันยาได้วางยาพิษสุนัขซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถป้องกันได้และสุนัขก็เป็นทรัพย์
เฉพาะสิ่งที่ต้องชาระให้แก่เจ้าหนี้คือนายสิงหา ทั้ง 5 ตัวตาย ทาให้การชาระหนี้เป็นพ้นวิสัยอันจะโทษนาย
เมษาที่เป็นลูกหนี้มิได้ ความเสีหายจึงตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้คือนายสิงหา ดังนั้นนายสิงหาต้องชาระหนี้จานวน
20,000 บาท ให้นายเมษา
สรุป
นายสิงหาต้องชาระเงินราคาลูกสุนัขพันธุ์บางแก้วจานวน 20,000 บาทให้แก่ นายเมษา
ตามหลักกฎหมายที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
คาถาม 3 :
นายจันทร์นาเครื่องซักผ้าไปซ่อมที่ร้านของนายอังคารซึ่งอยู่ข้างบ้านของตนเมื่อวันที่ 20 มีนาคม
2564 ตกลงค่าซ่อมโดยจะชาระเงินในวันที่ 31 มีนาคม 2564 เมื่อมารับเครื่องซักผ้าคืน ปรากฎว่า วันที่ 31
มีนาคม 2564 นายจันทร์ได้ไปรับเครื่องซักผ้าแล้ว แต่นายอังคารแจ้งว่ายังซ่อมไม่เสร็จ หลังจากนั้นต่อมาใน
วันที่ 1 เมษายน 2564 ไฟไหม้โรงงานใกล้กับร้านของนายอังคารและได้ลามมาถึงร้านของนายอังคารและ
เครื่องซักผ้าของนายจันทร์ที่อยู่ในร้าน ก็ได้ถูกไฟไหม้ไปโดยสิ้นเชิง รวมทั้งไฟยังได้ลามไปไหม้บ้า นและ
ทรัพย์สินของนายจันทร์เสียหายไปทั้งหมดอีกด้วย นายอังคารจึงไม่สามารถส่งเครื่องซักผ้าคืนแก่นายจันทร์

ให้วินิจฉัยว่า นายอังคารต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้นายจันทร์หรือไม่ เพราะเหตุใด (20 คะแนน)


กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
แนวคาตอบ :
หลักกฎหมาย
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 204 วรรค 2) วางหลักไว้ว่า
“หนี้ที่กากาหนดชาระตามปฏิทิน เมื่อถึงกาหนดชาระแล้วลูกหนี้ไม่ทาการชาระหนี้ ลูกหนี้จะตกเป็น
ผู้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้มิตอ้ งเตือนเลย”
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 217) วางหลักไว้ว่า
“ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด หากการชาระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยด้วยอุบัติเหตุหรือความประมาทเลินเล่อ
ของลูกหนี้ ลูกหนี้จะต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการชาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เว้นแต่พฤติการณ์ดังกล่าวแม้
ลูกหนี้ไม่เป็นผู้ผิดนัดก็ย่อมเกิดมีอยู่นั่นเอง”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบภาค 1/2564)
แนวคาตอบ :
วินิจฉัย
กรณีตามปัญหานายจันทร์ผู้เป็นเจ้าหนี้นาเครื่องซักผ้าไปซ่อมที่ร้านของนายอังคารผู้เป็นลูกหนี้ ซึ่งอยู่ข้างบ้านของตน เมื่อวันที่
20 มีนาคม 2564 และตกลงค่าซ่อมโดยจะชาระเงิน ในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ดังนั้นหนี้ที่นายอังคารจะต้องซ่อมเครื่องซักผ้าให้นายจันทร์
เป็นหนี้ที่มีกาหนดชาระตามปฏิทินชัดเจน นายจันทร์เจ้าหนี้จึงไม่จาเป็นต้องเตือนนายอังคารก่อน ต่อมานายจันทร์มารับเครื่องซักผ้าคืน
ตามกาหนดแต่นายอังคารยังซ่อมไม่เสร็จ นายอังคารจึงตกเป็นผู้ผิดนัด ซึ่งนายอังคารจะต้องรับผิดชอบชดใช้ดอกเบี้ยและค่าเสียหายต่างๆ
เนื่องจากเป็นผู้ผิดนัด
หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2564 ไฟไหม้โรงงานใกล้กับร้านของนายอังคารและได้ลามมาถึงร้านนายอังคารและเครื่องซักผ้า
ของนายจันทร์ที่ยังซ่อมไม่เสร็จก็ถูไฟไหม้ทาลายไปโดยสิ้นเชิง อีกทั้งไฟยังลามไปไหมบ้านและทรัพย์สินของนายจันทร์เสียหายไปทั้งหมด
นายอังคารจึงไม่สามารถส่งคืนเครื่องซักผ้าแก่นายจันทร์ได้ พฤติการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดไฟไหม้ดังกล่าวเป็นพฤติการณ์ที่ไม่ใช่อุบัติ เหตุ
และมิได้เกิดจากนายอังคารเป็นผู้ประมาท แม้นายอังคารเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม แต่พฤติการณ์ไฟไหม้ดังกล่าวแม้นายอังคารซ่อมเสร็จทัน
กาหนดและมอบเครื่องซักผ้าให้นายจันทร์ ไฟก็ยังลามไปไหม้บ้านนายจันทร์อยู่ดี ตามหลักกฎหมายที่ได้กล่าวมามีผลให้นายอังคารไม่ต้อง
รับผิดชอบ
สรุป
นายอังคารไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจันทร์ เพราะเหตุผลตามที่กล่าวมา
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 6 )
คาถาม 6
เอกอายุ 17 ปี ทาพินัยกรรมยกแหวนของตนให้โท เพื่อนสาวอายุ 17 ปี ต่อมาอีก 4 ปี เอกถูกรถชน
สมองฟั่นเฟือนเป็นคนวิกลจริต เอกได้ขายนาฬิกาของตนให้กับหนึ่งโดยหนึ่งไม่ทราบว่าเอกจริตวิกล ต่อมาอีก 1
ปี ศาลสั่งให้เอกเป็นคนไร้ความสารถ หนึ่งทราบว่าเอกถูกศาลสั่งดังกล่าว ต่อมาผู้อนุบาลของเอกมาบอกล้าง
สัญญาซื้อขายนาฬิกาซึ่งหนึ่งได้ทาไว้กับเอก หนึ่งไม่ยอมคืนนาฬิกาให้ เพราะซื้อไว้ในราคาถูกมากดังนี้
1. พินัยกรรมที่หนึ่งทามีผลอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด
2. ผู้อนุบาลจะบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 6 )
แนวตอบ 6
ป.พ.พ. มาตรา 25 วางหลักไว้ว่า “ผู้เยาว์อาจทาพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์”
ป.พ.พ. มาตรา 30 วางหลักไว้ว่า “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
ได้กระทาลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทาในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วย
ว่าผู้กระทาเป็นคนวิกลจริต”
เรื่องพินัยกรรมนั้นผู้เยาว์สามารถทาพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อเอกมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว
ทาพินัยกรรม พินัยกรรมจึงมีผลสมบูรณ์
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 6 )
แนวตอบ 6
จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า เอกได้ขายนาฬิกาให้หนึ่งในขณะวิกลจริตก่อนที่ศาลจะสั่งให้เอกเป็นบุคคลไร้ความ
สารถ และในขณะซื้อขายนาฬิกานั้นหนึ่งก็ไม่ทราบว่าเอกวิกลจริต ดังนั้นผลก็คือนิติกรรมซื้อขายระหว่างหนึ่งกับเอก
นั้นสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆียะเพราะหนึ่งไม่รู้ว่าเอกวิกลจริตแต่อย่างใด แม้ต่อมาศาลจะสั่งให้เอกเป็นคนไร้ความสารถและ
หนึ่งก็ทราบถึงคาสั่งนี้ก็ตาม การซื้อขายก็สมบูรณ์ไปแล้ว ผู้อนุบาลเอกจะบอกล้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้
สรุป 1. เอกสามารถทาพินัยกรรมได้มีผลสมบูรณ์เพราะอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
2. ผู้อนุบาลบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาไม่ได้ เพราะการซื้อขายสมบูรณ์แล้ว
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 8 )
คาถาม 8
ก. มีหนี้สินมาก มีรถยนต์เหลือเป็นทรัพย์สินของตนเพียงคันเดียว เกรงว่าเจ้าหนี้จะมายึดและตนจะไม่
มีทรัพย์สินอะไรเหลืออยู่เลย ดังนี้ ก. จึงทาสัญญาขายรถยนต์คันดังกล่าวให้ ข. แต่ยังไม่ได้โอนทะเบียนกัน
เพราะ ก. อายญาติพี่น้อง เกรงจะรู้ว่ามีหนี้สินจนต้องขายรถยนต์ แต่ก็ได้แกล้งทาเป็นสัญญาเช่ารถยนต์ไว้กับ ข.
ข. ชาระค่าซื้อรถยนต์เป็นงวด ๆ เมื่อ ข. ชาระค่ารถยนต์จนครบแล้วก็ขอให้ ข. โอนทะเบียนรถยนต์ให้ แต่ ก.
กลับปฏิเสธอ้างว่า เป็นการชาระค่าเช่ารถยนต์ตามสัญญาเช่า และ ข. ได้ประโยชน์จากการใช้รถยนต์นั้น ทั้ง
รถยนต์นั้นยังเป็นของ ก. อยู่ ยังมิได้มีการโอนทางทะเบียน สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับ
ข้ออ้างของ ก. หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 8 )
แนวตอบ 8
ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรค 1 วางหลักไว้ว่า “การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็น
โมฆะ ฯลฯ” และวรรค 2 วางหลักไว้ว่า “ถ้าการแสดงเจตนาลวงตาม วรรค 1 ทาขึ้นเพื่ออาพรางนิติกรรมอื่น
ให้นาบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอาพรางมาบังคับ”
กรณีนี้เป็นเรื่องนิติกรรมอาพราง นั่นคือมีบุคคลสองฝ่ายแสร้งทานิติกรรมขึ้นสองนิติกรรมซึ่งคู่กรณี
มิได้มุ่งผูกพันกันจริง อาพรางคือปกปิดนิติกรรมอีกอันหนึ่งซึ่งคู่กรณีต้องการจะผูกพันให้มีผลในกฎหมายอย่าง
แท้จริง
ดังนั้นเห็นได้ว่า ก. และ ข. ได้ทานิติกรรมอาพรางขึ้น คือได้ทาสัญญาเช่ารถยนต์ขึ้นเพื่อปกปิดสัญญา
ซื้อขายรถยนต์ ซึ่งคู่กรณีต้องการจะผูกพัน
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 8 )
แนวตอบ 8
ผลบังคับในทางกฎหมายในเรื่องนิติกรรมอาพรางนั้นให้นาบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติ
กรรมที่ถูกอาพรางมาใช้บังคับ
ในที่นี้ต้องนาบทบัญญัติสัญญาซื้อขายมาบังคับ ส่วนสัญญาเช่านั้นนามาบังคับไม่ได้ เพราะเป็นสัญญา
ซึ่งคู่กรณีไม่ต้องการจะผูกพันกัน แต่ทาขึ้นเพื่อจะอาพรางสัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะ
ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย ก. จะอ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ไม่ได้ เพราะการโอนทางทะเบียนไม่เกี่ยวกับ
ความสมบูรณ์ในทางนิติกรรมซื้อขายแต่อย่างใด
ดังนั้น สัญญาซื้อขายสมบูรณ์ ก. จะนาสัญญาเช่าซึ่งไม่มีผลทางกฎหมายมาอ้างไม่ได้ จึงต้องโอน
ทะเบียนรถยนต์ให้แก่ ข.
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 9 )
คาถาม 9
เหลืองมีที่ดินอยู่ 2 แปลงอยู่ติดกันคือที่ดินแปลง ก. และแปลง ข. ขาวต้องการซื้อที่ดินแปลง ก.
เหลืองและขาว ได้ตกลงทาสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วไปจดทะเบียนปรากฏว่าในวันจดทะเบียน เหลืองซึ่ง
สายตาไม่ค่อยดี ได้นาโฉนดที่ดินแปลง ข. มาโดยคิดว่าเป็นแปลง ก. เนื่องจากเลขที่โฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลง
ใกล้เคียงกัน เพราะอยู่ติดกัน หลังจากจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ขาวได้รับโฉนดมา ปรากฏว่าเป็นโฉนดที่ดิน
แปลง ข. แต่ขาวเห็นว่าที่ดินแปลง ข. นั้นมีเนื้อที่มากกว่าที่ดินแปลง ก. เล็กน้อย จึงเฉยเสีย ต่อมาภายหลัง
เหลืองมาตรวจพบว่าเกิดการผิดพลาด ขอให้ขาวนาโฉนดที่ดินแปลง ข. มาคืน แต่ขาวไม่ยอม อ้างว่าการซื้อขาย
สมบูรณ์ เพราะทาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นความผิดของเหลืองเองที่ไม่รอบครอบ ที่ดิน
แปลง ข. เป็นกรรมสิทธิ์ของตน ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของขาวหรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 9 )
แนวตอบ 9
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรค 1 วางหลักไว้ว่า “การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็น
สาระสาคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ และตามมาตรา 158 ความสาคัญผิดตามมาตรา 156 ซึ่งเกิดขึ้นโดยความ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสาคัญผิดนั้นมาใช้ประโยชน์แก่
ตนไม่ได้”
กรณีนี้เป็นเรื่องนิติกรรมที่เกิดจากความสาคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสาคัญแห่งนิติกรรม ซึ่งในที่นี้เป็น
ความสาคัญผิดในตัวทรัพย์หรือวัตถุแห่งนิติกรรมนั่นเอง คือทานิติกรรมในทรัพย์คนละสิ่งกับที่มีเจตนา
จึงเห็นได้ว่า ตัวทรัพย์ที่เหลืองเจตนาทานิติกรรมขายคือ ที่ดินแปลง ก. แต่ด้วยความสาคัญผิดได้จด
ทะเบียนขายที่ดินแปลง ข. แทน จึงเป็นเรื่องที่เหลืองสาคัญผิดในตัวทรัพย์ที่จะทานิติกรรม ทาให้สัญญาซื้อขาย
ที่ดินเป็นโมฆะ คือเท่ากับไม่มีสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นเลย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 9 )
แนวตอบ 9
ที่ขาวอ้างว่าการซื้อขายสมบูรณ์เพราะได้ทาตามแบบแล้วและเป็นความผิดของเหลืองเองที่ไม่รอบ
ครอบนั้นฟังไม่ขึ้น เพราะกรณี้ที่ขาวจะอ้างได้นั้นต้องเป็นเรื่องซึ่งเกิดจากความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง
เท่านั้น แต่กรณีนี้พิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้วว่าเหลืองสายตาไม่ค่อยดี และเลขที่โฉนด 2 แปลงก็ใกล้เคียงกัน
ทั้งเนื้อที่ก็ผิดกันเล็กน้อย เช่นนี้มิใช่ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแต่อย่างใด ดังนั้นข้ออ้างของขาวฟังไม่ขึ้น
สรุป ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของขาว ขาวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลง ข. เพราะการซื้อขายเป็นโมฆะ
เนื่องจากความสาคัญผิดในตัวทรัพย์ซึ่งเป็นสาระสาคัญในนิติกรรมนั้น
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 10)
คาถาม 10
ประหยัดกู้เงินจากอารีไป 20,000 บาท กาหนดใช้คืนภายใน 2 ปี เวลาผ่านไป 2 ปี 6 เดือน ประหยัด
ก็ไม่ชาระ อารีไปพบประหยัดที่บ้านพักทวงเงินคืน ประหยัดก็ตอบว่ายังไม่มีเงิน อารีเห็นประหยัดสวมสร้อยคอ
ทองคาหนัก 2 บาท จึงบอกให้ประหยัดถอดสร้อยมาให้ตนยึดถือไว้เป็นจานาก่อน มิฉะนั้นจะให้ทนายฟ้องทันที
ประหยัดกลัวถูกฟ้อง จึงจาใจถอดสร้อยให้อารียึดไว้เป็นประกัน
สงเคราะห์ซึ่งเป็นหลานของประหยัดเมื่อรู้เรื่องดังกล่าวได้ไปพบอารีที่บ้านพักแล้วขอสร้อยคืน อารีไม่
ยอมคืน สงเคราะห์จึงชักปืนมาจี้ขู่บังคับอารีให้อารีเขียนหนังสือปลดหนี้ให้ประหยัดจานวน 20,000 บาท และ
ให้อารีรับสร้อยคอเส้นนั้นไว้ เป็นอันหมดหนี้กัน อารีกลัวจึงยอมเขียนหนัง สือปลดหนี้ให้ต่อมาอารีได้มีจ ด
หมายถึงประหยัดว่าขอให้นาเงินจานวน 20,000 บาท มาใช้คืนและรับสร้อยคอไป ดังนี้ ประหยัดต้องชาระเงิน
จานวนดังกล่าวให้อารีหรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 10 )
แนวตอบ 10
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วางหลักไว้ว่า “การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่...”
การที่อารีขู่นายประหยัดว่าให้ถอดสร้อยมาเป็นจานา ถ้าไม่ให้สร้อยจะฟ้องร้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องการ
ข่มขู่แต่ประการใด เพราะเรื่องนี้เป็นกรณีที่อารีมีสิทธิของการเป็นเจ้าหนี้ที่จะฟ้องลูกหนี้อยู่แล้ว การที่ประหยัด
ยอมจานาสร้อยกับอารีจึงสมบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 วางหลักไว้ว่า “การข่มขู่ย่อมทาให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะแม้
บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่”
การที่สงเคราะห์ไปขู่บังคับอารีให้ทาหนังสือปลดหนี้ให้ประหยัดนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่บุคคลภายนอก
ข่มขู่ให้อารีทานิติกรรมคือการปลดหนี้ให้ประหยัด ดังนี้การปลดหนี้จึงเป็นโมฆียะ เพราะเกิดจากการข่มขู่ของ
บุคคลภายนอก อารีสามารถบอกล้างการปลดหนี้ให้เป็นโมฆะได้
ดังนั้นประหยัดยังต้องชาระเงินให้อารี
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 11 )
คาถาม 11
ต้อยเห็นเสื้อที่ร้านตัวหนึ่งถูกใจ จึงถามเจ้าของร้านว่าขายราคาเท่าใด เจ้าของร้านบอกว่าราคา 500
บาท ต้อยต่อราคาเป็น 350 บาท เจ้าของร้านบอกว่า “450 บาท ก็แล้วกัน” ต้อยบอกว่า “แพงไป ให้ 400
บาท” เจ้าของร้านจึงบอกว่า “ขายไม่ได้ขาดทุน” ต้อยจึงเดินออกจากร้านไป เจ้าของร้านจึงเรียกต้อยกลับมา
บอกว่า “ตกลงให้ 400 บาท” แต่ต้อยปฏิเสธไม่ซื้อแล้ว เจ้าของร้านจะบังคับให้ต้อยซื้อได้หรือไม่ ดังนี้กรณีหนึ่ง
และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าต้อยกลับมาแล้วตกลงซื้อในราคา 400 บาท แต่บอกว่าจะไปซื้อของอื่นก่อนแล้วจึงจะ
กลับมารับเสื้อ ระหว่างนั้นไฟไหม้ตลาด ลุกลามมาร้านขายเสื้อทั้งหมด ต่อมาเจ้าของร้านได้ทวงให้ต้อยชาระ
ราคาเสื้อ 400 บาท ต้อยไม่ชาระอ้างว่าตนไม่ได้รับเสื้อจึงไม่ต้องชาระราคา ข้ออ้างของต้อยฟังขึ้นหรือไม่ จง
วินิจฉัยทั้งสองกรณีพร้อมยกเหตุผลประกอบ
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 11 )
แนวตอบ 11
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรค 2 วางหลักไว้ว่า “คาสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจากัด หรือมีข้อแก้ไข
อย่างอื่นประกอบด้วยนั้น ท่านให้ถือว่าเป็นคาบอกปัดไม่รับ ทั้งเป็นคาเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว”
ป.พ.พ. มาตรา 357 วางหลักไว้ว่า “คาเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลา
กาหนดดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป”
ป.พ.พ. มาตรา 370 วรรค 1 วางหลักไว้ว่า “ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือ
โอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้
ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี”้
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 11 )
แนวตอบ 11
กรณีตามปัญหา กรณีแรกการที่เจ้าของร้านบอกราคาเสื้อตัวที่ต้อยต้องการซื้อว่าราคา 500 บาท เป็น
คาเสนอขาย และเมื่อต้อยต่อราคา 350 บาท จึงเป็นคาสนองที่มีข้อจากัดแก้ไข ตามมาตรา 359 วรรค 2 เมื่อ
ต้อยต่อราคาเป็น 400 บาท เจ้าของบอกว่า “ขายไม่ได้ ขาดทุน” จึงเป็นคาบอกปัดไม่รับคาเสนอของต้อง คา
เสนอซื้อของต้อยในราคา 400 บาท จึงสิ้นความผูกพันตามมาตรา 357
การที่เจ้าของร้านกลับมาบอกว่า “ตกลง 400 บาท” เมื่อคาเสนอของต้อยสิ้นผลแล้ว คาตอบของ
เจ้าของร้านจึงเป็นคาเสนอขายเท่านั้น สัญญายังไม่เกิดขึ้นเจ้าของร้านจะบังคับให้ต้อยซื้อไม่ได้
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 11 )
แนวตอบ 11
กรณีที่สอง ถ้าต้อยตกลงซื้อ ก็คือต้อยสนองตอบคาเสนอของเจ้าของร้านสัญญาซื้อขายก็เกิดขึ้น และ
เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง คือเสื้อที่ตกลงซื้อขายกัน
เมื่อเกิดไฟไหม้ร้าน จึงเป็นกรณีที่ทรัพย์คือเสื้อนั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอันจะโทษลูกหนี้คือเจ้าของร้าน
มิได้ ความสูญหรือเสียหายจึงเป็นพับแก่เจ้าหนี้คือต้อย ดังนั้น ต้อยต้องชาระราคาเสื้อ 400 บาท ให้แก่เจ้าของ
ร้านจะอ้างว่าตนมิได้รับเสื้อมิได้ ข้ออ้างของต้อยฟังไม่ขึ้น
โดยสรุป ในกรณีแรกสัญญาซื้อขายไม่เกิด เจ้าของร้านจึงบังคับให้ต้อยซื้อเสื้อมิได้ ส่วนกรณีที่สอง
ความเสียหายตกเป็นพับแก่ต้อยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ต้อยจึงต้องรับผิดใช้ราคาแก่เจ้าของร้าน
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 12 )
คาถาม 12
แดงเข้าไปในร้านค้าวิทยุของดาเพื่อซื้อวิทยุ 1 เครื่องเห็นวิทยุเครื่องหนึ่งราคา 2,500 บาท ก็พอใจ
มาก ได้ต่อรองราคากับดา ตกลงกันได้ในราคา 2,000 บาท แต่แดงต้องการไปธุระที่อื่นก่อนืจึงฝากวิทยุไว้กับดา
ดาไม่ยอม เพราะถ้ามีผู้ให้ราคาที่ดีกว่าแล้วดาต้องขายให้ แดงจึงวางเงินไว้ 500 บาท บอกว่าจะกลับมารับวิทยุ
แน่ ๆ แล้วแดงก็ออกจากร้านไป ครั้นไปที่ร้านอีกร้านก็พบวิทยุในลักษณะเดียวกันและตกลงซื้อได้ในราคาเพียง
1,700 บาท แดงจึงไปบอกเลิกข้อตกลงกับดา และขอเงินคืน โดยอ้างว่ายังไม่มีสัญญาซื้อขายระหว่างกัน แต่ดา
ไม่ยอมคืนเงินให้ ดังนี้
1. ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของแดงหรือไม่ เรพราะเหตุใด
2. ดาจะไม่คืนเงินให้แดงได้หรือไม่เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 12 )
แนวตอบ 12
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เมื่อเข้าทาสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจา ให้ถือว่าการที่ให้มัดจานั้น ย่อม
เป็นพยานหลักฐานว่า สัญญานั้นได้ทากันขึ้นแล้ว อนึ่งมัดจานี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 มัดจานั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้เป็นไปดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(2) ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่มัดจาละเลยไม่ชาระหนี้ หรือการชาระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใด
อันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น
ตามปัญหาเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว เพราะแดงได้ต่อรองราคาวิทยุกับดาจนได้ซื้อขายกันใน
ราคา 2,000 บาท แล้วทั้งแดงก็ได้วางเงินไว้กับดา 500 บาท ซึ่งถือว่าการวางเงินนั้นเป็นการวางมัดจานั่นเอง ซึ่ง
การวางมัดจานี้ ก็เท่ากับว่าเป็นพยานหลักฐานว่าได้มี การทาสัญญาขึ้นแล้วประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งย่อม
เป็นประกันว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของแดง
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 12 )
แนวตอบ 12
เมื่อมีการวางมัดจาแล้วแสดงว่าได้มีสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นจริง การที่แดงบอกเลิกข้อตกลงกับดาเท่ากับว่า
แดงนั้นเป็นฝ่ายผิดเพราะเป็นผู้บอกเลิกสัญญาซื้อขายที่เกิดขึ้นและไม่ยอมชาระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้นผลก็คือดา
มีสิทธิริบมัดจาที่ได้ให้ไว้นั้นได้ ดังนั้นดาจึงไม่ต้องคืนเงินมัดจาให้แก่แดง
สรุป 1. ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของแดงเพราะสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากแดงได้วางมัดจาไว้แล้ว
2. ดาไม่ต้องคืนเงินให้แดงเพราะดามีสิทธิริบมัดจา
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 13 )
คาถาม 13
ก. เสนอขายตู้เย็นแก่ ข. โดยเขียนจดหมายส่งไปรษณีย์ ในวันที่ 1 มกราคม 2530 หลังจากส่ง
จดหมายไปได้ 1 วัน ก. หัวใจวาย วันที่ 3 มกราคม 2530 ข. ได้โทรศัพท์มาหา ก. เพื่อจะขอซื้อตู้เย็น ปรากฏว่า
ทายาทของ ก. ได้แจ้ง ข. ทราบว่า ก. ได้หัวใจวายตายในวันที่ 2 มกราคม 2530 และเมื่อวันที่ 5 มกราคม
2530 จดหมายของ ก. ก็มาถึง ข. ข. เห็นว่าราคาตู้เย็นที่ ก. เสนอมาถูกมาก จึงมีจดหมายตอบไปยังทายาทของ
ก. ตกลงซื้อตู้เย็นตามที่ ก. เสนอมา ปรากฎว่าทายาทของ ก. ปฏิเสธ ไม่ยอมขายตู้เย็นให้ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า
สัญญาซื้อขายตู้เย็นเกิดขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใดและ ข. จะเรียกให้ทายาทของ ก. ส่งมอบตู้เย็นให้แก่ตนได้
หรือไม่
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 13 )
แนวตอบ 13
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรค 2 การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลัง
การแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตายฯ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 360 บทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๖๙ วรรคสอง นั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหากว่าขัด
กับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อนจะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายฯ
การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางนั้น ถึงแม้ว่าภายหลัง ผู้แสดงเจตนาตายก็ตาม การ
แสดงเจตนานั้นก็ยังคงสมบูรณ์อยู่ ในฐานเป็นการแสดงเจตนาซึ่งเป็นหลักทั่วไป
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 13 )
แนวตอบ 13
แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า ถ้าหากว่าขัดต่อเจตนาของผู้เสนอซึ่งได้แสดงไว้ หรือว่าหากผู้ที่สนองนั้นได้รู้อยู่
แล้วว่าผู้เสนอตายไปแล้วก่อนสนองรับไป เช่นนี้ การแสดงเจตนาของผู้ตายก็เป็นอันไม่มีผลเป็นการแสดงเจตนา
ดังนี้ ก. เป็นผู้เสนอขายตู้เย็นแก่ ข. และหลังจากส่งคาเสนอไปแล้ว ก. ตาย และผู้สนองคือ ข. เองก็ได้
ทราบแล้วก่อนทาคาสนองว่า ก. นั้นถึงแก่ความตายไปแล้ว ดังนี้จึงมีผลทาให้คาเสนอของ ก. นั้นสิ้นผลเป็นคา
เสนอ เพราะ ข. ได้ทราบก่อนแล้วว่า ก. ตาย แม้ว่า ข. จะทาคาสนองมาภายหลัง สัญญาซื้อขายตู้เย็นก็ไม่
เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นทายาทของ ก. ปฏิเสธไม่ขายตู้เย็นให้ ข. ได้
ข. จะเรียกให้ทายาทของ ก. ส่งมอบตู้เย็นแก่ตนไม่ได้ เพราะสัญญาซื้อขายตู้เย็นไม่เกิด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 14 )
คาถาม 14
ก. ตกลงจ้าง ข. ซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยเป็นเงิน 100,000 บาท ข. ซ่อมแซมบ้านไปบ้างแล้ว และ ก.
ได้ชาระสินจ้างไปบางส่วนแล้ว เป็นเงิน 20,000 บาท ข. ผิดสัญญา ก. จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างซ่อมและ
เรียกร้องสินจ้างที่ ข. รับไปแล้ว 20,000 บาท คืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาที่รับเงินไป ข. โต้แย้งว่า ก. จะ
เรียกเงินคืนและดอกเบี้ยไม่ได้ เพราะ ข. ก็ได้ทาการซ่อมแซมบ้านของ ก. ไปบ้างแล้ว ท่านเห็นด้วยกับข้อ
เรียกร้องของ ก. และข้อโต้แย้งของ ข. หรือไม่
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 14 )
แนวตอบ 14
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วางหลักไว้ว่า “เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่
ละฝ่ายจาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมฯ”
ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลา
ที่ได้รับไว้
ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทาให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทาได้ด้วย
ใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ฯลฯ
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 14 )
แนวตอบ 14
ตามปัญหาแยกพิจารณาได้ดังนี้
(ก) ในข้อที่ ก. เรียกร้องสินจ้าง 20,000 บาท คืนจาก ข. พร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อ ก. ใช้สิทธิบอกเลิก
สัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่ตามเดิม ป.พ.พ. มาตรา 291 วรรค
แรกตอนแรก และตามวรรค 2 ข. ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่ ก. คิดตั้งแต่เวลาที่รับไว้ด้วย ก. จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้าง
20,000 บาท คืนจาก ข. พร้อมกับการเรียกดอกเบี้ยจาก ข. นับแต่เวลาที่ ข. รับเงินไปได้ด้วย ข้าพเจ้าเห็นด้วย
กับข้อเรียกร้องของ ก. ไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของ ข.
(ข) ส่วนข้อโต้แย้ง ของ ข. ที่ว่า ข.ก็ได้ทาการงานซ่อมแซมบ้านของ ก. ไปบ้า งแล้วนั้น ข. มีสิทธิ
เรียกร้องให้ ก. ชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานที่ ข. ได้ทาให้แก่ ก. ทั้งนี้ตามมาตรา 291 วรรค 3 ตอนแรก ซึ่ง
อาจเป็นจานวนเท่ากับส่วนหนึ่งของสินจ้างที่ ข. รับไว้แล้ว ข. อาจหักเอาเงินจานวนนั้นออก จากจานวนต้นเงิน
และดอกเบี้ยที่จะต้องใช้คืนแก่ ก. ก็ได้
หมายเหตุ ตามปัญหามิได้ถามเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลภายนอกตามมาตรา 391 วรรคแรกตอนท้าย
และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามวรรค 4
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 15 )
คาถาม 15
ยายทาหนังสือจดทะเบียนยกที่ดินแปลงหนึ่งให้หลาน คือ ม่วง ขณะนั้นม่วงอายุ 19 ปีบริบูรณ์ ต่อมา
อีก 5 เดือน ม่วงได้ตกลงกับขาวซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียง ยอมเปิดทางในที่ดินส่วนที่ตนได้รับมา เพื่อจะเป็น
ทางที่ขาวจะใช้เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยไม่ต้องอ้อมไปทางอื่นเพื่อแลกกับการที่ขาวจะโอนหุ้นใน
บริษัทแห่งหนึ่งให้
หลังจากทาสัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวได้ 5 เดือน ขาวก็มาพบม่วงอีก ขอให้ทาหนังสือฉบับหนึ่งเป็น
การให้สัตยาบันแก่สัญญาแลกเปลี่ยนนั้น ซึ่งม่วงก็ได้ทาให้ อีก 4 เดือนต่อมาพ่อของม่วงจึงได้รับรู้ถึงการทานิติ
กรรมทั้งสอง พ่อของม่วงไม่พอใจ จึงบอกล้างนิติกรรมทั้งสองนั้น ม่วงได้อ้างว่าตนได้บรรลุนิติภาวะแล้ว พ่อบอก
ล้างไม่ได้ และตนก็ได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาแลกเปลี่ยนแล้ว ดังนี้พ่อของม่วงจะบอกล้างสัญญาให้และสัญญา
แลกเปลี่ยนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 15 )
แนวตอบ 15
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 21 วางหลักไว้ว่า “ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทน
โดยชอบธรรมก่อน การใด ๆที่ผู้เยาว์ได้ทาลงโดยปราศจากความยินยอมเช่นว่านี้ เป็นโมฆียะ”
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 22 วางหลักไว้ว่า “ผู้เยาว์อาจทาการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่ง
สิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 วางหลักไว้ว่า “โมฆียะกรรมนั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะบอกล้างเสียก็ได้”
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 179 วางหลักไว้ว่า “การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้
กระทาภายหลังเวลากที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 15 )
แนวตอบ 15
ตามปัญหาม่วงอายุ 19 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้เยาว์อยู่ อย่างไรก็ตามผู้เยาก็สามารถทานิติกรรมบางอย่าง
ได้โดยลาพังตามที่กฎหมายให้อานาจไว้ ในกรณีนี้คือการทานิติกรรมสัญญาให้ซึ่งก็เป็นการให้โดยเสน่หาโดยม่วง
ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของยาย โดยไม่มีค่าภาระติดพันใด ๆ ดังนั้นม่วงสามารถทาได้โดยไม่ต้องได้รับความ
ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมคือพ่อของม่วง เพราะเป็นกรณีตามมาตรา 22 ซึ่งเป็นเรื่องผู้เยาว์ทานิติกรรม
เพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งนั่นเอง ดังนั้นนิติกรรมการให้ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างยายและม่วงจึงสมบูรณ์ส่วน
สัญญาแลกเปลี่ยนที่ม่วงทาขึ้นกับขาวซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงนั้นไม่เข้าข้อยกเว้นซึ่งกฎหมายให้กระทาได้
ดังนั้นนิติกรรมแลกเปลี่ยนนี้ทาขึ้นโดยปราศจากความยินยอมของพ่อม่ของม่วงและทาขึ้นในระหว่างที่ม่วงยัง
เป็นผู้เยาว์อยู่ นิติกรรมแลกเปลี่ยนจึงเป็นโมฆียะตามมาตรา 22
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 15 )
แนวตอบ 15
หลังจากทาสัญญาแลกเปลีย่ นแล้ว 5 เดือน ม่วงก็ยังคงเป็นผู้เยาว์อยู่ แม้ว่าม่วงจะทาหนังสือการให้
สัตยาบันแก่สัญญาแลกเปลี่ยนนั้น ม่วงไม่สามารถกระทาได้ เพราะการให้สัตยาบันที่จะมีผลทาให้นิติกรรม
สมบูรณ์นั้นต้องทาเมื่อภายหลังเวลาที่มูลเหตุเป็นโมฆียะนั้นได้หมดสิ้นไปแล้วตามมาตรา 179 ซึ่งหมายความว่า
หากม่วงผู้เยาว์จะทาการให้สัตยาบันการแลกเปลี่ยนให้มีผลสมบูรณ์ได้ ต้องทาเมื่อตนบรรลุนิติภาวะแล้วแต่ใน
ขณะที่ทาหนังสือการให้สัตยาบัน ม่วงยังเป็นผู้เยาว์คืออายุ 19 ปี 10 เดือน ดังนั้นนิติกรรมแลกเปลี่ยนยังมีผล
เป็นโมฆียะอยู่
พ่อของม่วงเป็นผู้ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะบอกล้างนิติกรรมซึ่งผู้เยาว์ได้ทาไปโดยปราศจากความ
ยินยอมของตนตาม มาตรา 175 เพราะขณะบอกล้างนั้น ม่วงบรรลุนิติภาวะแล้ว พ่อของม่วงจึงไม่อยู่ในฐานะ
ของผู้แทนโดยชอบธรรมตาม มาตรา 175
สรุป พ่อของม่วงบอกล้างสัญญาให้ไม่ได้ เพราะสัญญาให้สมบูรณ์ ม่วงสามารถทาได้โดยลาพัง เพราะ
เป็นกรณีซึ่งทาให้ผู้เยาว์ได้มาซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง
พ่อของม่วงบอกล้างสัญญาแลกเปลี่ยน ไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 16 )
คาถาม 16
ขาวไปซื้อลูกสุนัขที่ร้านขายสุนัขของดา ดาบอกกับขาวว่า สุนัขตัวนี้เป็นสุนัขพันธุ์ไทยแท้ แต่ที่จริง
แล้วเป็นพันธุ์ทาง ขาวซื้อสุนัขเพราะว่าสุนัขตัวนั้นน่ารัก มีสีสวยถูกใจ จะเป็นพันธุ์อะไรก็ไม่ใส่ใจ แต่ต้องจ่ายเงิน
ราคาสุนัขในราคาแพง เพราะดาหลอกขาวว่าเป็นพันธุ์ไทยแท้ เมื่อขาวนาสุนัขกลับมาบ้าน บิดาเห็นสุนัขของ
ขาวก็รู้ว่าไม่ใช่พันธุ์ไทยแท้ แต่เป็นพันธุ์ทาง ขาวจึงไปพบดาขอคืนสุนัขให้ดาและขอรับเงินค่าสุนัขคืน โดยอ้างว่า
ดานั้นหลอกลวงตน แต่ดาไม่ยินยอมดังนี้
ก. การซื้อขายสุนัขมีผลอย่างไร
ข. ขาวสามารถเรียกเงินค่าสุนัขคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ค. ดาคนขายสุนัขไม่รับลูกสุนัขคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 16 )
แนวตอบ 16
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วางหลักไว้ว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้น
คงจะมิได้กระทาขึ้น”
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 วางหลักไว้ว่า “ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับ
ข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบที่
จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้”
กรณีนี้เป็นเรื่องกลฉ้อฉล ซึ่งจะต้องพิจารณาว่ากลฉ้อฉลนั้นถึงขนาดหรือไม่ หากเป็นกลฉ้อฉลถึงขนาด
นิติกรรมก็เป็นโมฆียะตาม มาตรา 159 กลฉ้อฉลถึงขนาดนั้นต้องเป็นการจูงใจโดยการหลอกลวงให้เข้าใจผิดใน
ข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุให้เขาเข้าทานิติกรรมด้วย ซึ่งถ้าไม่มีการหลอกลวงเช่นว่าแล้ว นิติกรรมก็จะมิได้ทาขึ้นเลย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 16 )
แนวตอบ 16
จากข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่าขาวนั้นเข้าทานิติกรรมซื้อขายลูกสุนัขมิใช่เพราะหลงเชื่อคาหลอกลวงของดา เรื่องสุนัข
พันธุ์ไทยแท้แต่อย่างใด แต่ขาวเข้าทานิติกรรม เพราะความน่ารัก ถึงแม้ดาจะไม่หลอกลวงขาวก็ซื้อลูกสุนัขนั้นอยู่ดี ดังนั้นเห็น
ว่านิติกรรมมิได้เกิดจากกลฉ้อฉลถึงขนาดแต่อย่างใดนิติกรรมจึงไม่เป็นโมฆียะ แต่กรณีนี้เป็นกลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจ
เพื่อให้ยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่ขาวจะต้องรับตามปกติ แม้ว่าจะไม่มีกลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจ ผู้ถูกฉ้อฉลก็ยังทา
นิติกรรมนั้นอยู่ดี โดยผลของมาตรา 161 นิติกรรมสมบูรณ์ จะบอกล้างไม่ได้ ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนซึ่งข้อกาหนด
อันหนักยิ่งกว่าที่ขาวจะยอมรับโดยปกติ
ดังนั้น การซื้อขายลูกสุนขั มีผลสมบูรณ์เป็นกลฉ้อฉลเพียงเหตุจูงใจ เพราะดาได้หลอกขาวว่าเป็นลูกสุนัขพันธุ์ไทยแท้
แม้ไม่มีการหลอกลวงนั้น ขาวก็จะซื้อลูกสุนัขอยู่ดี แต่จากการหลอกนั้นทาให้ขาวต้องจ่ายค่าลูกสุนัขสูงขึ้นเท่านั้น
สรุป 1. การซื้อขายลูกสุนัขสมบูรณ์เพราะเป็นกลฉ้อฉลเพียงเหตุจูงใจ
2. ขาวเรียกเงินได้เป็นค่าสินไหมทดแทนในส่วนราคาที่สูงขึ้น
3. ดา คนขายสุนัข ไม่รับสุนัขคืนได้
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 17 )
คาถาม 17
ส. ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2534 ว่าหากใครประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่ง
สามารถแปลข้อความภาษาอังกฤษได้ จะให้รางวัล 400,000 บาท เวลาล่วงเลยไป 5 ปีแล้ว ฉลาด ได้ประดิษฐ์
โปรแกรมดังกล่าวได้โดยไม่ทราบว่า ส. ได้ประกาศให้รางวัล แต่มาทราบจากเพื่อนของตนในภายหลังเมื่อ
ประดิษฐ์ได้ ดังนั้นฉลาดจึงนาสิ่งประดิษฐ์ของตนมาขอรับรางวัลจาก ส. ส. อ้างว่าเลยกาหนดอายุความแล้ว
และฉลาดเองก็ไม่เคยมาแจ้งให้ ส. ทราบว่าจะอาสาประดิษฐ์ สัญญาจึงไม่เกิดและปฏิเสธการจ่ายเงินรางวัล
ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ส.หรือไม่
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 17 )
แนวตอบ 17
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 362 วางหลักไว้ว่า “บุคคลออกโฆษณาให้คามั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทาการอันใด
ท่านว่าจาต้องให้รางวัลแก่บุคคลใด ๆ ผู้ได้กระทาการอันนั้น แม้ถึงมิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทาเพราะเห็นแก่รางวัล”
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 363 วางหลักไว้ว่า “ในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใครทาการสาเร็จดังบ่ง
ไว้นั้นอยู่ตราบใด ผู้ให้คามั่นจะถอนคามั่นของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงไว้ในโฆษณานั้น
ว่าจะไม่ถอน”
กรณีนี้เป็นเรื่องคามั่นโฆษณาจะให้รางวัล คามั่นมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาเป็นนิตกิ รรมฝ่ายเดียวผูกพันให้
คามั่นโดยไม่ต้องมีการแสดงเจตนาสนองตอบแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่ผู้ให้คามั่นมุ่งผลสาเร็จของการกระทาซึ่งตนได้
โฆษณาไว้ ดังนั้นแม้ผกู้ ระทาสาเร็จกระทาโดยไม่เห็นแก่รางวัล ผู้โฆษณาก็ต้องให้รางวัล ผู้ให้คามั่นจะถอนคามั่นเสียได้ถ้า
ยังไม่มีผู้ใดทาสาเร็จ แต่ถ้ายังไม่ถอนคามั่นแล้ว ผู้ให้คามั่นก็ยังคงผูกพันอยู่
ตามข้อเท็จจริงเป็นเรื่องคามั่นจะให้รางวัล เมื่อมีบุคคลประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามประกาศได้ ดังนั้น
ส. ต้องผูกพันตามคามั่นที่ให้ไว้ เมื่อมีบุคคลทาสาเร็จตามโฆษณาแล้ว ส. ต้องผูกพันที่จะให้รางวัลแก่ฉลาดซึ่งประดิษฐ์ได้
ส. จะอ้างกาหนดอายุความมาปฏิเสธไม่ได้ เพราะ ส. ยังมิได้ถอนคามั่นแต่อย่างใด ส. จึงต้องผูกพันจ่ายรางวัล แม้ว่า
ฉลาดจะไม่ทราบมาก่อนว่าการประดิษฐ์นั้นจะมีรางวัล ดังนั้น ส. ปฏิเสธไม่จ่ายเงินรางวัลไม่ได้
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 18 )
แนวคาถาม 18
ดาซื้อแหวนเพชรจากแดงไป 1 วง ราคา 100,000 บาท แต่ยังไม่ได้ชาระหนี้ ต่อมา เขียวได้ยื่นหนังสือ
ต่อแดงขอรับรองว่าจะชาระหนี้ค่าแหวนแทนดา เมื่อแดงรับหนังสือแล้วก็เก็บหนังสือนั้นไว้ เฉย ๆ เวลาล่วงไป
อีกเกือบปี แดงจึงได้ทวงหนี้ค่าแหวนนั้นจากเขียว แต่เขียวปฏิเสธการใช้หนี้ แดงอ้างว่าได้แปลงหนี้ใหม่โดย
เปลี่ยนตัวลูกหนี้แล้ว
ดังนี้เขียวจะต้องชาระหนี้หรือไม่ และหากเขียวไม่ยอมชาระ แดงจะเรียกร้องเอาจากดา ให้ชาระได้
หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 18 )
แนวตอบ 18
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 วางหลักไว้ว่า “แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะทาเป็นสัญญา
ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทาโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่”
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 วางหลักไว้ว่า “ถ้าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดมีขึ้นก็
ดี ได้ยกเลิกเสียเพราะมูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ งอันมิรู้ถึงคู่กรณีก็ดี ท่าน
ว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังหาระงับสิ้นไปไม่”
การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนแปลงตัวลูกหนี้นั้นต้องเป็นเรื่องที่ลูกหนี้ใหม่คือ เขียว และเจ้าหนี้คือแดง
ต้องทาสัญญาคือการแปลงหนี้ใหม่กันขึ้น คือให้หนี้ระหว่างดาและแดงระงับแล้วก่อหนี้ใหม่ระหว่างเขียวและ
แดงแต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏ เขียวเป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยื่นหนังสือรับรองการชาระหนี้แทนดาเท่านั้น
มิได้มีสัญญาระหว่างเขียวและแดงเพื่อแปลงหนี้แต่อย่างใด ดังนั้นการแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิด เขียวจึงไม่ใช่ลูกหนี้
เมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่หนี้เดิมจึงยังไม่ระงับแดงต้องเรียกชาระหนี้เอาจากดา
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 19 )
คาถาม 19
ก. เป็นเจ้าหนี้เงินค่าซื่อของเชื่อ ข. จานวน 200,000 บาท ก. ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว
ให้ ค. โดยได้ทาเป็นหนังสือระหว่าง ก. และ ค. เรียบร้อยแล้ว แต่ทั้ง ก. และ ค. ไม่ได้บอกกล่าวการโอนหนี้
ให้แก่ ข. ลูกหนี้ทราบ ข. ก็มิได้ให้ความยินยอมในการโอนนั้น ข. ไม่ได้รู้เรื่องการโอนหนี้ระหว่าง ก. และ ค. ได้
ชาระเงินจานวนดังกล่าวให้แก่ ก. เจ้าหนี้เดิม ก. รับชาระเงินดังกล่าวไว้ จึงเพิ่งบอกการโอนหนี้ให้แก่ ค. ให้ ข.
ทราบเป็นหนังสือ ข. โต้แย้งว่าการโอนดังกล่าวไม่สมบูรณ์ เพราะมิได้บอกกล่าวให้ตนทราบก่อน ทั้งตนก็มิได้
ยินยอมด้วย จะยกการโอนมาเป็นข้อต่อสู้ ข. ซึ่งเป็นลูกหนี้หาได้ไม่ เมื่อ ก. เจ้าหนี้รับชาระหนี้ตนจึงเป็นอันหลุด
พ้นจากหนี้ ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับการโต้แย้งของ ข. ลูกหนี้หรือไม่เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 19 )
แนวตอบ 19
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วางหลักไว้ว่า “การโอนหนี้อันจะพึงต้องชาระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดย
เฉพาะเจาะจงนั้นถ้าไม่ทาเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้
หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คา
บอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทาเป็นหนังสือ
ถ้าลูกหนี้ทาให้พอแก่ใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว หรือ
ก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 19 )
แนวตอบ 19
ตามปัญหาแยกพิจารณาได้ดังนี้
1. ที่ ข. โต้แย้งว่าการโอนดังกล่าวไม่สมบูรณ์ เพราะมิได้บอกกล่าวให้ตนทราบ ทั้งตนก็มิได้ให้ความ
ยินยอมด้วยนั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย เพราะการโอนสิทธิเรียกร้องโดยไม่บอกกล่าวลูกหนี้มิได้ยินยอมด้วยนั้น มิใช่
การโอนนั้นไม่สมบูรณ์ เป็นแต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้คือ ข. มิได้เท่านั้น
2. ส่วนที่ ข. โต้แย้งว่าจะยกการโอนมาเป็นข้อต่อสู้ ข. ซึ่งเป็นลูกหนี้หาได้ไม่ ข้าพเจ้าเห็นด้วย เพราะ
เป็นกรณีที่ต้องด้วย มาตรา 306 วรรคแรก
3. ส่วนที่ ข. โต้แย้งว่าเมื่อ ก. เจ้าหนี้รับชาระหนี้แล้ว ตนจึงเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้นั้น กรณีนี้ ก. เพิ่ง
บอกกล่าวการโอนแก่ ข. หลังจากที่ตนได้รับการชาระหนี้ กรณีนี้จึงต้องด้วย มาตรา 306 วรรค 2 ข้าพเจ้าก็เห็น
ด้วยกับข้อโต้แย้ง ของ ข.
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 20 )
คาถาม 20
นายไชโยมีความเดือดร้อนเรื่องเงิน เนื่องจากต้องการส่งบุตรชายไปศึกษาต่อต่างประเทศ จึงได้ไป
ติดต่อขอกู้เงินจากนายโชคดีเป็นเงิน 500,000 บาท นายโชคดีซึ่งเพิ่งจะถูกคนรู้จักชอบพอกันรายหนึ่งที่มากู้ยืม
เงินกันตนโกงเงินไป จึงกลัวว่าจะประสบปัญหาเช่นเดิม จึงบอกนายไชโยว่า ถ้าเดือดร้อนจริงและอยากได้เงินให้
เอาที่ดินของนายไชโยมาทาสัญญาขายฝากไว้กับตนก็จะไม่ขัดข้อ นายไชโยก็ตกลงทาสัญญาขายฝากที่ดินไว้
ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนายไชโยไม่มีเงินไปไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝาก และนายไชโยก็ไม่ต้องการจะเสียที่ดิน
ไป นายไชโยจึงอ้างต่อนายโชคดีว่าสัญญาขายฝากรายนี้เป็นโมฆะเนื่องจากทาขึ้นเพื่อาพรางสัญญากู้ยืม ท่าน
เห็นด้วยกับนายไชโยหรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 20 )
แนวตอบ 20
มาตรา 155 วรรคสองบัญญัติว่า “ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทาขึ้นเพื่ออาพรางนิติกรรม
อื่น ให้นาบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับกนิตกรรมที่ถูกอาพรางมาใช้บังคับ”
กรณีจะเป็นนิติกรรมอาพรางจะต้องมีนิติกรรม 2 นิติกรรม นิติกรรมอันหนึ่งคู่กรณีต้องการจะผูกพัน
กันจริงๆ แต่ปกปิดไว้ด้วยนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่เปิดเผย แต่ไม่ต้องการผูกพันกัน
ตามปัญหาไม่ได้มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญา คือ นายไชโยและนายโชคดีมีความประสงค์จะ
ผูกพันตามสัญญากู้ยืม ไม่มีการตกลงทาสัญญากู้ยืมเพื่อปิดบังสัญญาขายฝาก แต่ข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่า
คู่กรณีประสงค์จะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก กรณีนี้จึงไม่ใช่นิติกรรมอาพรางสัญญาขายฝากจึงไม่เป็นโมฆะ
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับนายไชโย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 21 )
คาถาม 21
นายโชคดีทาสัญญาซื้อรถยนต์รุ่นปาเจโร หมายเลขทะเบียน กจ 123 กรุงเทพมหานคร จากนาย
สวัสดี ในราคา 1,000,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าให้สัญญาเป็นผลก็ต่อเมื่อนายโชคดีได้รับการแต่งตั้งโยกย้าย
กลั บ เข้า มารับราชการในกรุง เทพ ในการโยกย้า ยเดือนกันยายน ภายหลัง มีค าสั่ง แต่ง ตั้ง โยกย้า ยประกาศ
เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านายโชคดีถูกย้ายเข้าประจาในกรุงเทพ ดวงชะตาของนายโชคดียิ่งกว่าตกอับซ้าอีก เมื่อ
ปรากฎว่าคืนต่อมานายโชคดีได้รับโทรศัพท์จากนายสวัสดีแจ้งว่าในตอนเช้าวันที่นายสวัสดีโทรศัพท์มาหานาย
โชคดีนั้นเอง เครื่องบินของบริษัทแห่งหนึ่งได้ตกบริเวณบ้านของนายสวัสดี ทาให้บ้านของนายสวัสดีพร้อมทั้ง
รถยนต์ปาเจโรพังเสียหายทั้งหมด เช่นนี้ นายสวัสดีจะยังมีสิทธิเรียกร้องราคารถยนต์จานวน 1,000,000 บาท
จากนายโชคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 21 )
แนวตอบ 21
ตามมาตรา 370 วรรค 1 “ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพสิทธิในทรัพย์
เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง อันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้ ท่านว่าการสูญเสียหรือ
เสียหายนั้นตกเป็นพักแก่เจ้าหนี้”
มาตรา 371 วรรค 1 “บทบัญญัติที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าเป็นสัญญาต่างตอบแทนมี
เงื่อนไขบังคับก่อนและทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทาลายลงในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สาเร็จ”
ในกรณีนี้สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายโชคดีกับนายสวัสดีเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งเป็น นิตกรรมที่มีเงื่อนไข
บังคับก่อน คือ สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว แต่จะมีผลบังคับระหว่างกันก็ต่อเมื่อนายโชคดีผู้ซื้อได้รับการแต่งตั้งโยกย้าย
กลับมารับราชการในกรุงเทพเดือนกันยายน เมื่อนายโชคดีได้ถูกย้ายกลับมาประจาในกรุงเทพ เงื่อนไขบังคับก่อนสาเร็จ
ลง สัญญาซื้อขายจึงมีผลบังคับ รถยนต์คันดังกล่าวเป็นทรัพย์เฉพาะสิง่ ตามมาตรา 370 และทาให้สัญญาซื้อขายรถยนต์นี้
เป็นสัญญาซื้อขายที่ไม่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอีกต่อไป ดังนั้นกรณีจึงบังคับได้ตามมาตรา 370 ตั้งแต่เงื่อนไขสาเร็จ ต่อมา
เมื่อเครื่องบินตกใส่รถยนต์คันดังกล่าวเสียหายและความเสียหายนั้นจะโทษลูกหนี้ คือ นายสวัสดีมิได้การสูญหรือเสียหาย
จึงตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ คือนายโชคดดี นายสวัสดีจึงมีสิทธิเรียกร้องราคารถยนต์ 1,000,000 บาท จากนายโชคดีได้ ส่วน
นายโชคดีจะไปเรียกค่าสินไหมฐานละเมิดจากบริษัทเครื่องบินเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 21 )
แนวตอบ 21
กรณีนี้ไม่ต้องด้วย มาตรา 371 เพราะกรณีตามมาตรา 371 ต้องเป็นกรณีซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน
มีเงื่อนไขบังคับก่อนและทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นสูญหรือทาลายลงระหว่างเงื่อนไขยังไม่สาเร็จ แต่ตาม
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามคาถามเงื่อนไขได้สาเร็จแล้ว จึงต้องบังคับตาม มาตรา 370 มิใช่มาตรา 371 นายสวัสดี
มีสิทธิเรียกร้องราคารถยนต์จากนายโชคดี
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 22 )
คาถาม 22
นายเดช อายุ 15 ปี เป็นบุตรชายของนายดารง ได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ สมองได้รับการ
กระทบกระเทือนอย่างหนัก ทาให้กลายเป็นคนวิกลจริต เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 ต่อมานายดารงจึงเป็น
ยื่นคาร้องต่อศาลให้นายเดชเป็นคนไร้ความสามารถ ในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคาสั่ง นายเดชได้ไปตกลงซื้อ
เครื่องรับโทรทัศน์จากนางมรกต 1 เครื่อง โดยนางมรกตก็ขายให้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เนื่องจากรู้จักกับ
นายดารงบิดาของนายเดชและไม่ทราบว่านายเดชวิกลจริต ครั้งวันที่ 15 มีนาคม 2535 ศาลได้มีคาสั่งให้นาย
เดชตกเป็นคนไร้ค วามสามารถ ต่อมานายเดชได้ไปหลงรักนางสาวบุษา จึ งได้ยกเครื่องรับโทรทัศน์เครื่อง
ดังกล่าวให้นางสาวบุษบา ดังนี้ท่านเห็นว่านายดารงจะเรียกเครื่องรับโทรทัศน์จากนางสาวบุษบาคืนได้หรือไม่
เพราะเหตุใด และจะขอบอกล้างสัญญาซื้อขายโทรทัศน์กับนางมรกตได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 22 )
แนวตอบ 22
มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ
ที่ผู้เยาว์ได้ทาลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 29 การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นไร้ความสามารถได้กระทาลง การนั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา 175 โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกกล่าวก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ ถ้า
ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 22 )
แนวตอบ 22
บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี
บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์โดยบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ แต่นายเดชอายุ 15 ปี จึงยัง
เป็นผู้เยาว์จะทานิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมคือนายดารงก่อน
เมื่อนายดารงยังมิให้ความยินยอมในนิติกรรมซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ การที่นายเดช
เป็นบุคคลวิกลจริตนั้น ไม่จาเป็นต้องนามาวินิจฉัยในปัญหานี้ เพราะนายเดชยังเป็นผู้เยาว์อยู่
ส่วนกรณีที่นายเดชได้ยกเครื่องรับโทรทัศน์ดังกล่าวให้นางสาวบุษบานั้น นายเดชเป็นบุคคลซึ่งศาลได้
สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว นายเดชไม่สามารถทานิติกรรมใดๆ ได้ ต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทาแทน ดังนั้น
การยกให้นี้จึงตกเป็นโมฆียะเช่นกัน
เมื่อนิติกรรมทั้ง 2 ตกเป็นโมฆียะ บุคคลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนั้นก็คือนายดารงซึ่งสามารถบอกล้างได้ทั้ง
2 กรณี คือ ในกรณีแรกคือสัญญาซื้อขายโทรทัศน์นั้นตนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถบอกล้างได้ และ
ในกรณีการยกให้ก็สามารถบอกล้างได้ในฐานะที่ตนเป็นผู้อนุบาล
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 23 )
คาถาม 23
เปาและโต้งเป็นเพื่อนกัน เปาเคยมาที่บ้านโต้งและขอซื้อโทรทัศน์ของโต้งในราคา 3,000 บาท แต่โต้ง
ยังไม่ตกลง บอกว่าต้องรอปรึกษาภริยาก่อน อีก 2 วันต่อมาตอนเช้าเปาโทรศัพท์มาขอซื้อโทรทัศน์อีก โต้งบอก
ว่า ภริยายัง ไม่กลับจากธุระข้า งนอก ตอนค่ าๆถึง จะกลับ ปรากฏว่า ในตอนเย็นวันนั้นเอง ปานได้มาขอซื้อ
โทรทัศน์ในราคม 3,500 บาท โต้งจึงขายไปทันทีโดยไม่ได้บอกเปา พอตกค่าเปาโทรศัพท์มาขอซื้อโทรทัศน์อีก
แต่โต้งบอกว่าขายไปแล้ว ดังนี้เปามาปรึกษาท่านอ้างว่าโต้งผิดสัญญาเพราะ
1.เปาเป็นคนขอซื้อก่อน โต้งต้องรอจนกว่าตนจะโทรศัพท์มาก่อน
2.ถ้าโต้งจะไม่ขายให้ตน ก็ต้องโทรศัพท์มาบอกถอนให้ตนทราบก่อน เพราะแม้ว่าโทรทัศน์นั้นจะราคา
3,500 บาท ตนก็คงจะซื้ออยู่ดี ท่านจะให้คาปรึกษาแก่เปาอย่างไร
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 23 )
แนวตอบ 23
มาตรา 356 คาเสนอทาแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าโดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทาคาสนอนั้นเสนอ ณ ที่ใด
เวลาใดก็ย่อมจะสนองรับได้แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ ตลอดถึงการที่บุคคลคนหนึ่งทาคาเสนอไป
ยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย
มาตรา 357 คาเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลากาหนดดังกล่าว
มาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดีคาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นสุดความผูกพันแต่นั้นไป
การที่เปาโทรศัพท์ไปขอซื้อนั้น คือ การทาคาเสนอแกบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าแล้ว แต่คาเสนอแต่อย่าง
เดียวซึ่งเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวนั้นยังไม่ก่อให้เกิดสัญญาแต่อย่างใด จะต้องมีคาสนองถูกต้องตรงกับคาเสนอนั้น
จึงจะเกิดสัญญาขึ้น ทั้งคาเสนอนั้นก็มิได้บ่งระยะเวลาให้ทาคาสนองแต่อย่างใด เมื่อเสนอไปแล้วก็ย่อมจะสนอง
รับได้แต่ ณ เวลาที่พูดคุยกันนั้น
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 23 )
แนวตอบ 23
แต่ปรากฏว่าโต้งไม่ได้ตกลง เพราะต้องรอปรึกษาภริยาก่อนและแม้ว่าเปาจะโทรศัพท์มาขอซื้ออีกก็ตามโต้ง
ก็ยังไม่ได้ทาคาสนองแต่อย่างใด
คาเสนอนั้นเมื่อไม่มีคาสนองในขณะที่ตกลงกันได้โดยเฉพาะหน้านั้น ก็มีผลเท่ากับว่าคาเสนอนั้นได้ถูกบอก
ปัดไปแล้ว ทาให้คาเสนอนั้นสิ้นผลไป ดังนั้น จึงไม่เกิดสัญญาขึ้นแต่อย่างใด ข้าพเจ้าจะให้คาปรึกษาแก่เปา ดังนี้
1.โต้งไม่ต้องรอให้เปาโทรศัพท์มาก่อนเพราะคาเสนอนั้นสิ้นความผูกพันไปแล้ว ไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย
2.เมื่อสัญญายังไม่เกิด โต้งไม่จาเป็นต้องโทรศัพท์ไปบอกเปาอีก
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 24 )
คาถาม 24
สมต้องการซื้อรถยนต์ จึงไปที่บริษัท ก. พบรถยนต์คันหนึ่งสวยถูกใจ และคิดว่าเป็นรถยนต์ประกอบ
จากนอก เพราะตั้งใจจะซื้อรถยนต์ประกอบจากนอก แต่ความจริงรถยนต์คันนั้นเป็นรถยนต์ประกอบในประเทศ
จึงซื้อด้วยเงินสด แต่ยังไม่ได้โอนทางทะเบียน ปรากฏว่าสมหัวใจวายตายหลังจากซื้อรถยนต์ได้ 2 วัน เมื่อถึง
กาหนดวันโอนทะเบียนรถยนต์ ทายาทได้ไปดาเนินการโอนแทนปรากฏว่ามีคนอื่นให้ราคาดีกว่า ทางบริษัทจึง
พยายามขอซื้อรถยนต์คืนในราคาเดิม โดยขอให้ไปเลือกดูรถยนต์คันอื่น ซึ่งประกอบจากนอก แต่ทายาทไม่
ยินยอม บริษัท ก. ไม่ยอมโอนทางทะเบียนให้โดยอ้างว่าสัญญาไม่สมบูรณ์ เพราะรู้จากทายามว่าสมต้องการซื้อ
รถยนต์ประกอบจากนอก แต่รถยนต์คันดังกล่าวประกอบในประเทศ
ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของบริษัท ก. หรือไม่ เพราะเหตุใด และทายาทจะเรียกร้องให้ บริษัท ก.
ส่งมอบรถยนต์แก่ตนตามสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 24 )
แนวตอบ 24
มาตรา 157 “การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสาคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสาคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสาคัญ
ซึ่งหากมิได้มีความสาคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น”
มาตรา 175 “โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสาคัญผิดหรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่
ถ้าบุคคลผู้ทานิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียกรรม ทายาทของบุคคล
ดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียกรรมนั้นได้
มาตรา 177 “ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรมตามมาตรา 175 ผู้หนึ่งผู้ใด ได้ให้สัตยาบันแก่
โมฆี ย กรรม ให้ ถื อ ว่ า การนั้ น เป็ น อั น สมบู ร ณ์ ม าแต่ เ ริ่ ม แรก แต่ ทั้ ง นี้ ย่ อ มไม่ ก ระทบกระเทื อ นถึ ง สิ ท ธิ ข อง
บุคคลภายนอก
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 24 )
แนวตอบ 24
สมตั้งใจซื้อรถยนต์ที่ประกอบจากนอก แต่ความจริงรถยนต์ที่ซื้อนั้นประกอบในประเทศ เป็นกรณีที่สมสาคัญผิดใน
คุณสมบัติอันเป็นสาระสาคัญของนิติกรรมคือตัวทรัพย์สินที่ซื้อ หากสมรู้ว่ารถนั้นประกอบในประเทศ ก็คงไม่ซื้อ นิติกรรมมีผลเป็น
โมฆียะอันเนื่องมาจากความสาคัญผิดดังกล่าวตามมาตรา 157
การที่บริษัท ก. ไม่ยอมโอนทะเบียนรถยนต์ให้ทายาทสม โดยอ้างว่าสัญญาไม่สมบูรณ์นั้น บริษัท ก. ไม่สามารถอ้างได้
เพราะบริษัท ก. มิใช่บุคคลที่สามารถบอกล้างโมฆียกรรมที่เกิดจากการสาคัญผิดนี้ได้ ตามมาตรา 175 ผู้ที่มีสิทธิบอกล้างคือ
ทายาทของสม ไม่ใช่บริษัท ก.
การที่ทายาทของสมได้ไปดาเนินการโอนทางทะเบียนแทนสม แสดงว่าทายาทนั้นได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ผลของ
การให้สัตยาบันก็คือถือว่าการซื้อรถยนต์ที่สมทากับบริษัท ก. นั้นมีผลสมบูรณ์มาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว
สรุปข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของบริษัท ก. เพราะทายาทของสมได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมนี้แล้ว นิติกรรม
สมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรก บริษัท ก. ต้องส่งมอบรถยนต์ให้แก่ทายาทของสมตามสัญญา
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 25 )
คาถาม 25
บริษัทจอเปิดร้านขายเครื่องไฟฟ้าหลายชนิด ทั้งได้โฆษณาด้วยว่าสินค้าทุกชนิดมีอะไหล่พร้อมและ
เป็นของนอก ลองได้ซื้อเครื่องซักผ้ามาจากบริษัทจอ เพราะได้ทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดีตามที่เพื่อเคยบอก
ตนมา เมื่อซื้อไปแล้ว ต่อมาเครื่องซักผ้าเสีย บริษัทบอกว่าซ่อมได้ แต่อะไหล่นอกไม่มี ขาดตลาดนานแล้ว ลอง
มาปรึกษาท่านว่าต้องการคืนเครื่องซักผ้าโดยอ้างว่าถูกบริษัทหลอกและให้บริษัทคืนเงินมาให้บางส่วนก็ได้ ท่าน
จะให้คาปรึกษาแก่ลองอย่างไร
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 25 )
แนวตอบ 25
มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลนั้น ต้องเป็นการหลอกลวงจนถึงขนาด คือ ต้องหลอกให้หลงเชื่อจนเข้าทานิติกรรม
นั้น หากไม่มีการหลอกลวงเช่นนั้นแล้ว นิติกรรมนี้ก็จะมิได้ขึ้นเลย
การที่ลองได้ซื้อเครื่องซักผ้าจากบริษัทจอ โดยได้ทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดี จึงได้ตัดสินใจซื้อ
เครื่องซักผ้าดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการที่ลองได้ตกลงใจซื้อเครื่องซักผ้านั้นไม่ได้เกิดจากการถูกกลฉ้อฉลแต่อย่าง
ใด เพราะลองได้ตัดสินใจซื้อเอง มิได้ซื้อเพราะหลงเชื่อโฆษณาเรื่องอะไหล่แต่อย่างใด
ดังนั้นการซื้อเครื่องซักผ้าจึงไม่ตกเป็นโมฆียะการที่บริษัทจอได้โฆษณาด้วยว่าสินค้าทุกชนิดมีอะไหล่
พร้อมและเป็นของนอกนั้น ไม่ได้ทาให้ลองหลงเชื่อง จึงไม่เป็นการกลฉ้อฉลถึงขนาด ดังนั้น การซื้อขายนี้มีผล
สมบูรณ์ เมื่อการซื้อขายสมบูรณ์แล้ว จะอ้างว่าถูกบริษัทหลอกแล้วขอเงินคืนไม่ได้
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 26 )
คาถาม 26
ก. ออกประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เขียว-ทองว่า หากผู้ใดสามารถคิดยารักษาโรคเอดส์ได้สาเร็จ
จะให้รางวัลหนึ่งล้านบาท ข. และ ค. ได้อ่านพบข้อความในหนังสือพิมพ์ ข. จึงไปพบ ก. แสดงความจานงว่า ตน
กาลังค้นคว้าอยู่เกือบสาเร็จแล้วตอนนี้อยู่ในขั้นตอนทดสอบผล แต่ ค. นั้นได้ทาการทดลองอยู่นานแล้ว ปรากฏ
ว่าเมื่อ ก. ออกประกาศไปได้ 3 เดือน กิจการของ ก. ขาดทุนจึงได้ถอนประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ มสธ.
ถอนประกาศโฆษณาดังกล่าวเพราะหนังสือพิมพ์เขียว-ทอง ปิดกิจการ อีก 2 เดือนต่อมาหลังจาก ก.ประกาศ
ถอนโฆษณาแล้ว ค. กระทาการสาเร็จและได้มาพบ ก. เพื่อขอรับรางวัลตามประกาศ ก. อ้างว่าตนได้ถอนการให้
รางวัลแล้ว แต่ปรากฏว่า ค. ไม่ทราบถึงการถอนนั้น เพราะไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ มสธ. และ ก. ยังอ้างอีกด้วย
ว่า ถึงอย่างไรก็ตาม ค. ก็ไม่มีสิทธิในรางวัลอยู่ดี เพราะ ข. เป็นคนมาติดต่อแจ้งให้ ก. ทราบถึงการค้นคว้าก่อน
ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก. หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 26 )
แนวตอบ 26
มาตรา 362 บัญญัติว่า “บุคคลออกโฆษณาให้คามั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทาการอันใด ท่านว่า
จาเป็นต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดๆ ผู้ได้กระทาการอันนั้น แม้ถึงมิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทาเพราะเห็นแก่รางวัล”
มาตรา 363 บัญญัติว่า “ในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใครทาการสาเร็จดังบ่งไว้นั้น
อยู่ตราบใด ผู้ให้คามั่นจะถอนคามั่นของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงไว้ในโฆษณา
นั้นว่าจะไม่ถอน
ถ้าคามั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดังกล่าวมาก่อน จะถอนโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ถ้าเช่นนั้นการถอนจะเป็น
อันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเพราะต่อบุคคลที่รู้”
คามั่นในกรณีนี้เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเป็นการแสดงเจตนาของผู้ให้คามั่นที่จะผูกพันตนเองในการที่จะ
ให้รางวัลตามประกาศโฆษณา ซึ่งได้กระทาแก่บุคคลทั่วไป โดยผู้ให้คามั่นนั้นมุ่งประสงค์ต้องการให้เกิดผลสาเร็จ
ของการกระทาอันใดอันหนึ่งตามประกาศโฆษณา จึงไม่จาเป็นต้องมีการแสดงเจตนาสนองตอบดังเช่นในกรณี
เรื่องสัญญาแต่ผลผูกพันนี้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งผู้ให้คามั่นต้องให้รางวัล แม้ถึงว่าผู้กระทาจะได้กระทาโดยไม่
เห็นแก่รางวัลก็ตาม
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 26 )
แนวตอบ 26
จากข้อเท็จจริง จึงเห็นได้ว่า ก. ได้ให้คามั่นโดยประกาศโฆษณาทาง นสพ. เขียว-ทอง จะให้รางวัลแก่
ผู้ที่สามารถคิดยารักษาโรคเอดส์ได้ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า ก. ผูกพันตัวต่อบุคคลทั่วไปที่จะต้องให้รางวัลแก่บุคคลใด
ก็ได้ ซึ่งกระทาการนี้สาเร็จ แม้ว่า ข. จะมาแจ้งให้ ก. ทราบว่าตนกาลังค้นคว้าอยู่ก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีผลสาเร็จ
ของงานตามประกาศก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับรางวัลแต่อย่างใด (มาตรา 362)
ในขณะซึ่งงานยังไม่เสร็จแม้ว่าผู้ให้คามั่นคือ ก. สามารถจะถอนคามั่นนั้นเสียได้ก็ตาม แต่การถอน
คามั่นดังกล่าวต้องกระทาโดยวิธีเดียวกับวิธีที่โฆษณานั้น ต้องหมายถึงถอนโดยวิธีเดียวอย่างแท้จริง หากถอน
ด้วยวิธีเดิมไม่ได้ จะมีผลสมบูรณ์ใช้ได้แต่เฉพาะผู้ที่ได้รู้ถึงประกาศถอนเท่านั้น เมื่อ ก. ถอนโฆษณาใน นสพ.
มสธ. ซึ่งมิใช่ นสพ. เขียว-ทอง ที่ได้เคยลงประกาศไว้เดิม โดย ค. ไม่ทราบถึงการถอนนั้น ดังนี้ ก. ยังต้องผูกพัน
ที่ต้องจ่ายรางวัลตามประกาศ
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก. และ ค. ที่ไม่ทราบการถอนประกาศ ส่วน ข. นั้น แม้ ข. จะมา
ติดต่อ ก. ให้ทราบถึงการค้นคว้าของตนก่อน ก็ไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 27 )
คาถาม 27
บริษั ท ก. ต้ องการจ้ า งเลขานุก าร 3 อัตรา จึ ง ประกาศลงในหนัง สือพิ มพ์ฉ บับ หนึ่ง โดยกาหนด
คุณสมบัติไว้ว่า ผู้สมัครต้องพูดได้ 3 ภาษา คือ ไทย ลาว และอังกฤษ ปรากฏว่ามีผู้มาสมัคร 4 คน แต่มีนางสาว
ดวงดีเพียงคนเดียวที่พูดภาษาลาวไม่ได้ แต่ก็มีความรู้ในทางคอมพิวเตอร์ เมื่อประกาศผลมาปรากฏว่า ทาง
บริษัทรับนางสาวดวงดีแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ผู้สมัครอีก 3 คน ซึ่งถูกปฏิเสธ จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ก.
ซึ่งทาให้ตนต้องเสียค่าใช้จ่ายมาสมัคร แม้มีคุณสมบัติครบถ้วนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 27 )
แนวตอบ 27
มาตรา 357 บัญญัติว่า “คาเสนอใดเค้าบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลา
กาหนดดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป”
คาเสนอ คือการแสดงเจตนาที่มีข้อความชัดเจนแน่นอนเพียงพอที่จะถือเป็นข้อผูกพันที่จะก่อให้เกิด
สัญญาได้ เมื่อมีคาสนองตอบ
การที่บริษัท ก. ประกาศทางหนังสือพิมพ์รับสมัครเลขานุการนั้นมิได้มีลักษณะเป็นคาเสนอแต่อย่างใด
แต่เพียงคาเชิญชวนผู้มีคุณสมบัติดังประกาศให้มาสมัครงานต่อบริษัท
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 27 )
แนวตอบ 27
การที่ผู้สมัครมาสมัครงานกับบริษัทนั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้สมัครมาทาคาเสนอต่อบริษัท บริษัทจึง
เป็นผู้ทาคาสนองรับคาเสนอนั้น หากต้องการรับผู้ใดเข้าทางานสัญญาจึงจะเกิด
การที่บริษัทปฏิเสธไม่รับผู้เข้าสมัครทั้ง 3 คนก็ถือว่าบริษัทได้บอกปัดคาเสนอไปยังผู้เสนอแล้ว ทาให้
คาเสนอนั้นสิ้นผล จึงไม่เกิดสัญญาแต่อย่างใด
ดังนั้นผู้สมัครทั้งสาม ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทางบริษัท เพราะบริษัทบอกปัดไม่รับคา
เสนอ ทาให้คาเสนอนั้นสิ้นผล จึงยังไม่เกิดสัญญาที่จะผูกพันบริษัทแต่อย่างใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 28 )
คาถาม 28
หนึ่งอายุ 14 ปีได้ทาพินัยกรรมยกเงินสดของตนเองซึ่งเก็บไว้ให้ยายของตนจานวนหนึ่งเพราะหนึ่งรัก
และสงสารยาย ต่อมาอีกห้าปีหนึ่งได้แอบเอาเงินไปให้ยายอีก เพราะยายเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ ต้องไปรักษาตัว
อยู่ที่โรงพยาบาล นิติกรรมทั้งสองครั้งนี้บิดามารดาของหนึ่งไม่รู้เรื่องแต่อย่างใดอีก 4 เดือนต่อมา บิดามารดารู้
ถึงการที่หนึ่งได้แอบเอาเงินไปให้ยาย จึงได้ให้หนึ่งไปเอาเงินจานวนนั้นคืน หนึ่งไม่ยอม เพราะรักยาย อีก 2 ปี
ต่อมาหนึ่งได้ให้สัตยาบันพินัยกรรมและสัญญาให้ของตนต่อมาอีก 1 ปี หนึ่งประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตดังนี้
พินัยกรรมมีผลทางกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด และการให้เงินยายมีผลทางกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 28 )
แนวคาตอบ 28
มาตรา 1703 “พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ทาขึ้นนั้นเป็นโมฆะ”
มาตรา 21 “ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆที่
ผู้เยาว์ได้ทาลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ”
มาตรา 175 “โมฆียกรรมนั้นบุคคลต่อไปนี้จะบอกร้างเสียก็ได้”
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
มาตรา 178 “การบอกร้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมย่อมทาได้ โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีก
ฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกาหนดได้แน่นอน”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 28 )
แนวคาตอบ 28
หนึ่งอายุ 14 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ยังทาพินัยกรรมไม่ได้จะทาพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
ดังนั้นพินัยกรรมที่หนึ่งทาจึงเป็นผลเป็นโมฆะ คือไม่มีผลในกฎหมาย (มาตรา 1703) หนึ่งให้สัตยาบันไม่ได้
ต่อมาอีก 5 ปี หนึ่งอายุได้ 19 ปี ก็ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ได้ให้เงินยายไปโดยบิดามารดาไม่รู้นั้นคือไม่ได้รับ
ความยินยอมให้ทานิติกรรม นิติกรรมการให้เงินยายจึงมีผลเป็นโมฆียกรรม (มาตรา 21)
การที่บิดามารดาให้หนึ่งไปเอาเงินคืนจากยายนั้น แม้ว่าบิดามารดาจะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ
หนึ่งและเป็นผู้มีสิทธิในการบอกร้างแต่การบอกร้างต้องทากับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งคือต้องบอกร้างกับยายของหนึ่ง
จึงจะสมบูรณ์แต่ตามคาถามบิดามารดาได้บอกร้างกับหนึ่งการบอกร้างไม่สมบูรณ์นิติกรรมการให้ยังเป็น
โมฆียกรรมอีก 2 ปีต่อมาหนึ่งพ้นจากภาวะผู้เยาว์แล้วจึงเป็นผู้มีสิทธิที่จะให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมที่ตนทาขึ้น
เมื่อให้สัตยาบันแล้วนิติกรรมการให้มีผลสมบูรณ์
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 29 )
คาถามที่ 29
นายจันทร์อายุ 17 ปี รักใคร่อยู่กับนางสาวอังคารซึ่งมีอายุ 15 ปี ทั้งสองต้องการแต่งงานกันแต่พ่อแม่
ของทั้งสองฝ่ายไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าทั้งคู่ยังอยู่ในวัยเรียน นายจันทร์และนางสาวอังคารไม่เชื่อฟังจึงตัดสินใจ
หนีออกจากบ้านและไปอยู่กินกันฉันสามีภรรยา ปีต่อมานางสาวอังคารประสบอุบัติเหตุได้รับความ
กระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง มีอาการคุ้มดีคุ้มร้ายเป็นบางเวลาแต่บางเวลาก็เป็นปกติธรรมดา นาย
จันทร์เกรงว่านางสาวอังคารจะไปกระทาการอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ นายจันทร์ต้องการจะขอร้องต่อ
ศาลเพื่อสั่งให้นางสาวอังคารเป็นคนไร้ความสามารถดังนี้ หากนายจันทร์มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คาปรึกษา
นายจันทร์ว่าอย่างไร
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 29 )
แนวตอบ 29
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 28 วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลวิกลจริตผู้ใดถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ
บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด ก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลา เหลน ลื่อ ก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่ง
ปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้
ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้”
มาตรา 20 บัญญัติว่า “ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทาการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทาตาม
บทบัญญัติมาตรา 1448”
นางสาวอังคารอายุ 15 ปียังเป็นผู้เยาว์อยู่แม้ว่าจะได้ไปอยู่กินกับนายจันทร์ฉันสามีภรรยาก็ตาม แต่
การไปอยู่กันดังกล่าวไม่ใช่การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการสมรสนั้นจะทาได้เมื่อทั้งชายหญิงมีอายุ 17
ปีบริบูรณ์ (มาตรา 1448) แต่ในกรณีนี้นางสาวอังคารอายุ 15 ปีตอนที่ไปอยู่กินกับนายจันทร์
ดังนั้นเมื่อเป็นการสมรสที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ทาให้นางสาวอังคารบรรลุนิติภาวะ (มาตรา 20)
นางสาวอังคารจึงยังเป็นผู้เยาว์อยู่เพราะอายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 29 )
แนวตอบ 29
เมื่อนายจันทร์ไม่ใช่สามีที่ชอบด้วยกฎหมายแม้ว่านางสาวอังคารจะเป็นผู้วิกลจริต ซึ่งสามารถร้อง
ขอให้ศาลสั่งให้นางสาวอังคารเป็นคนไร้ความสามารถได้ก็ตาม นายจันทร์จึงมิใช่คู่สมรส ตามมาตรา 28 ที่จะ
ร้องขอได้ เพราะคู่สมรสตามนัยของมาตรา 28 นี้ต้องเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงจะมีสิทธิร้องขอต่อศาลได้
เมื่อนายจันทร์ไม่ใช่สามีที่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งดังกล่าว
เมื่อนางสาวอังคารยังคงเป็นผู้เยาว์ ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลในกรณีนี้คือ บิดามารดาของนางสาวอังคาร
ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงมีสิทธิกระทาได้
ดังนั้นข้าพเจ้าจะให้คาปรึกษาแก่นายจันทร์ว่าไม่สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้นางสาวอังคารซึ่ง
วิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถได้ เพราะนายจันทร์ไม่ใช่สามีที่ชอบด้วยกฎหมาย นางสาวอังคารยังคงเป็น
ผู้เยาว์ บิดามารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงเป็นผู้มีสิทธิร้องขอ
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 30 )
คาถาม 30
เช่ารถยนต์จาก ข. เพื่อพาครอบครัวไปทัศนาจรที่จังหวัดชุมพร มีกาหนด 7 วัน ครั้นครบกาหนดที่
ก. จะส่งมอบรถยนต์คืน เกิดพายุเกย์ น้าท่วมทางขาด รถยนต์แล่นไม่ได้ เมื่อน้าลดและถนนซ่อมเสร็จ รถยนต์
ผ่านได้ ก. ก็รีบนารถยนต์ไปส่งคืนให้ ข. ข. อ้างว่าผิดนัดไม่ส่งรถตามกาหนดและเรียกค่าเช่าเพิ่มจากเดิมอีกเป็น
ค่าเสียหายเพราะหาก ก. นารถมาส่งตามเวลา ข. ก็จะได้ค่าเช่าจากบุคคลอื่น ซึ่งได้ตกลงเช่ารถยนต์คันดังกล่าว
ไว้แล้ว
ดังนี้ ข้ออ้างของ ข. ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 30 )
แนวตอบ 30
มาตรา 204 วรรคสอง บัญญัติว่า “ถ้าได้กาหนดระยะเวลาชาระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้
มิได้ชาระหนี้ตามกาหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับ
แก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชาระหนี้ ซึ่งได้กาหนดเวลาลงไว้อาจคานวณนับโดยปฏิทินนับแต่วันที่
ได้บอกกล่าว”
มาตรา 205 บัญญัติว่า “ตราบใดการชาระนี้นั้นยังมิได้กระทาลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่ง
ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่”
ประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการที่ลูกหนี้ผิดนัด ตามปัญหาก็คือ สัญญาที่ได้กาหนดเวลาชาระ
หนี้ไว้แล้วตามปฏิทิน ซึ่งก็หมายถึง วัน เดือน ปี ตามปฏิทินที่คานวณนับได้แน่นอน ดังนั้นสัญญาเช่ารถยนต์ที่
ก. กับ ข. ทาขึ้นมีกาหนด 7 วัน ต้องนารถยนต์มาคืน หากไม่ปฏิบัติเช่นนั้นถือว่า ก. ลูกหนี้ผิดนัด โดยที่เจ้าหนี้
ข. มิตอ้ งเตือนเลย ดังนี้โดยหลักทั่วไปถือว่า ก. เป็นผู้ผิดนัด ถ้ามิได้นารถยนต์มาคืนเมื่อครบกาหนด 7 วัน ตาม
สัญญา (มาตรา 204 วรรค 2 )
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 30 )
แนวตอบ 30
แต่มีข้อยกเว้นอยู่ว่าหากมีพฤติการณ์บางอย่างมาขัดขวางมิให้ลูกหนี้ชาระหนี้ได้ตามกาหนดเวลาแห่ง
ปฏิทินและถ้าพฤติการณ์นั้นเป็นเรื่องซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบแล้ว ลูกหนี้ยังไม่ได้ชื่อว่าผิดนัด แต่ลูกหนี้จะต้อง
ปฏิบัติการชาระหนี้เมื่อพฤติการณ์ดังกล่าวได้สิ้นสุดลง
การที่ ก. ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ ข. ได้ตามกาหนด เพราะเกิดพายุ น้าท่วมทางขาด รถยนต์แล่น
ไม่ได้นั้น ถือว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะการเกิดพายุน้าท่วมเป็นภัยธรรมชาติซึ่งเป็นเหตุ
สุดวิสัยซึ่งไม่มีใครจะป้องกันได้ ดังนั้น ก. ลูกหนี้ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด และเมื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นไป ก. ได้
นารถยนต์ไปส่งคืนให้ ข. ดังนี้ถือได้ว่า ก. มิได้ผิดนัด จึงมิต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ แก่ ข. (มาตรา 205)
สรุป ข้ออ้างของ ข. ไม่ถูกต้อง เพราะ ก. มิได้เป็นผู้ผิดนัด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 31 )
คาถาม 31
ก. กู้เงิน ข. จานวน 100,000 บาท กาหนดชาระคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มีการกู้ไป โดยไม่ต้อง
เสียดอกเบี้ย หลังจากที่ ก. กู้เงิน ข. ไปแล้ว กิจการของ ก. ขาดทุน ไม่สามารถชาระคืนได้ทั้งหมดก่อนจะครบ
กาหนดเวลาชาระหนี้ ก. จึงมีจดหมายถึง ข. ขอผ่อนชาระเป็นรายเดือน ๆ ละ 10,000 บาท พร้อมกันนั้นก็ได้ส่ง
ตั๋วแลกเงิน จานวน 10,000 บาท ของธนาคารแห่งหนึ่งโดยระบุชื่อ ข. เป็นผู้รับเงินไปให้ ข.
ข. ได้รับแล้วก็ส่งคืน เพราะไม่ตกลงด้วยและเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งเดือนเศษ นับแต่วันครบกาหนดตาม
สัญญา ข. ก็ยื่นฟ้อง ก. ให้ชาระหนี้เงินต้นทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะ
ชาระเสร็จโยไม่เตือนให้ ก. ชาระหนี้ก่อน ก.ต่อสู้ว่า
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 31 )
คาถาม 31
1. สัญญากู้ไม่ได้กาหนดเวลาชาระหนี้ไว้ตามปฏิทิน ข. ไม่เตือน ก. ก่อน ข. จึงฟ้อง ก. ไม่ได้
2. ก. ได้ส่งตั๋วเงินให้ ข. 10,000 บาท เพื่อชาระหนี้แล้ว แต่ ข. ไม่ยอมรับชาระหนี้โดยไม่มีเหตุผลที่จะ
อ้างตามกฎหมายได้ หนี้ส่วนนี้จึงระงับไปแล้ว
3. ข. เรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีไม่ได้ เพราะในสัญญาไม่ได้ระบุให้เรียกได้และ ก. ก็ยังไม่ผิดนัด
ขอให้ท่านวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนี้ว่า ข้อต่อสู้ของ ก. จะถูกต้องตามบทกฎหมายใดบ้างหรือไม่
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 31 )
แนวตอบ 31
หลักในเรื่องลูกหนีผ้ ิดนัดได้บญ
ั ญัติไว้ใน มาตรา 204 วรรคสอง “ถ้าได้กาหนดเวลาชาระหนี้ไว้ตามปฏิทินและ
ลูกหนี้มิได้ชาระหนีต้ ามกาหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนีต้ กเป็นผูผ้ ิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย”
ความในวรรคสองหมายถึงกรณีที่ได้มีการกาหนดเวลาชาระหนีไ้ ว้ตามปฏิทิน และลูกหนีม้ ิได้ชาระหนีต้ าม
กาหนดนั้น ถือว่าลูกหนี้ตกเป็นผูผ้ ิดนัดมิพักต้องเตือนเลย
1. ปัญหาที่ต้องพิจารณาก็ได้แก่สญ ั ญากู้เงินที่กาหนดชาระคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันทีไ่ ด้มีการกู้ไปนั้นเป็นหนี้
ที่มีกาหนดเวลาชาระตามเวลาแห่งปฏิทนิ หรือไม่ ซึ่งปรากฎว่าไม่ได้ระบุเวลาหรือวันที่แน่ชัดไว้ตามปฏิทิน แต่
กาหนดเวลา ดังกล่าวก็สามารถที่จะคานวณนับเวลาชาระหนี้ได้โดยนับเวลาตั้งแต่วันที่ได้มีการกูไ้ ป ซึ่งในสัญญาเงินกู้ก็ได้
ระบุไว้เช่นนั้น ฉะนั้นกรณีนี้ จึงเป็นการกูเ้ งินที่สามารถกาหนดนับเวลาตามปฏิทินได้ โดยเริ่มนับแต่วันที่ได้กู้ไปจนครบ
หนึ่งปีและเมือ่ ครบกาหนด ก. ยังไม่ชาระ ก. จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดย ข. ไม่ต้องเตือนเลย ข. จึงฟ้อง ก. ได้
2. ส่วนหลักในเรื่องการชาระหนี้นนั้ ได้บญ ั ญัติไว้ในมาตรา 320 ความว่า อันจะบังคับให้เจ้าหนีร้ ับชาระหนี้แต่
เพียงบางส่วน หรือให้รับชาระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชาระแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 31 )
แนวตอบ 31
เมื่อพิจารณาจากอุทาหรณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในสัญญากู้ไม่ได้ระบุว่า
ให้มีการผ่อนชาระหนี้ได้ ฉะนั้นการที่ ก. ขอผ่อนชาระหนี้แก่ ข. จึงเป็นการขอชาระหนี้แต่บางส่วน อันเป็นการ
นับว่าฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 320 ข. จึงสามารถปฏิเสธไม่รับการชาระหนี้ได้ ดังนั้น ก. จึงไม่สามารถอ้างได้
ว่า ข. ไม่ยอมรับชาระหนี้โดยปราศจากมูลเหตุจะอ้างกฎหมายได้ ดังนั้นหนี้จึงยังไม่ระงับ
3. มาตรา 224 วางหลักว่า หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี...
จากอุทาหรณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในสัญญากู้เงินได้กาหนดว่าไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่เมื่อ ก. ผิดนัด
แล้ว ข. ได้ฟ้อง ก. ให้เสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ฟ้องจนถึงวันที่ ก. ชาระเสร็จ ดังนี้ ข. ไม่ได้ฟ้องเรียกดอกเบี้ยตาม
สั ญ ญากู้ แ ต่ ป ระการใดเลย ตรงข้ า ม ข. ได้ ฟ้ อ งเรี ย กดอกเบี้ ย ตั้ ง แต่ วั น ฟ้ อ งไปจนถึ ง วั น ที่ ก. ช าระซึ่ ง เป็ น
ระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการผิดนัดของ ก. ดังนั้น ข. จึงมีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยจาก ก. ในอัตราร้อยละ 7 ครึ่ง
ต่อปี ตามมาตรา 224
โดยสรุป ข้อต่อสู้ของ ก. ทั้งสามประการดังกล่าวฟังไม่ขึ้นแต่ประการใดเลย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 32 )
คาถาม 32
เขียวให้ขาวกู้เงิน 40,000 บาท มีกาหนดเวลา 1 ปี หลังจากให้กู้เงินไปประมาณ 8 เดือน ขาว
ประพฤติตัวเกเรมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากมาย เขียวจึงให้ทนายทวงถามเป็นหนังสือให้ขาวชาระหนี้ แต่ขาวก็เพิกเฉย
ไม่ยอมชาระหนี้ ต่อมาอีก 2 เดือน ขาวถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 5 จึงนาเงิน 40,000 บาท ไปชาระให้
เขียว ปรากฎว่าเขียวไม่อยู่ไปต่างจังหวัด อีก 2 เดือนต่อมา ขาวถูกจาคุกในคดีอาญา หลังจากทาสัญญากู้ได้ 2
ปี เขียวจึงฟ้องขาวให้ชาระหนี้ ขาวอ้างว่าตนยังไม่ผิดนัด ได้ปฏิบัติการชาระหนี้โดยชอบแล้ว เขียวต่างหากเป็นผู้
ผิดนัด ตนจึงหลุดพ้นไม่ต้องชาระหนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของขาวหรือไม่ อย่างไร
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 32 )
แนวตอบ 32
มาตรา 204 วรรค 2 วางหลักไว้ว่า “ถ้าได้กาหนดเวลาชาระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้
ชาระหนี้ตามกาหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย...”
มาตรา 212 วางหลักไว้ว่า “ถ้ามิได้กาหนดเวลาชาระหนี้ไว้ก็ดี หรือถ้าลูกหนี้มีสิทธิที่จะชาระหนี้ได้
ก่อนเวลากาหนดก็ดี การที่เจ้าหนี้มีเหตุขัดข้องชั่วคราวไม่อาจรับชาระหนี้ที่เขาขอปฏิบัติแก่ตนได้นั้น หาทาให้
เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดไม่...”
ตามปัญหาขาวกู้เงินเขียวไป โดยมีกาหนดเวลา 1 ปี นั้น เป็นกรณีเป็นหนี้ที่มีกาหนดระยะเวลาชาระ
หนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินแล้ว คือ สามารถคานวณนับได้กาหนดเวลาคือ 1 ปีนับแต่เมื่อทาสัญญากู้ยืม ดังนั้นเมื่อ
ถึงกาหนด 1 ปี หนี้นั้นถึงกาหนดชาระตามมาตรา 204 วรรค 2 ทันที หลังจากกู้เงินไปแล้ว 8 เดือน เขียวให้
ทนายทวงถามขาวไม่ยอมชาระนั้น เมื่อหนี้ยังไม่ถึงกาหนดชาระแม้เจ้าหนี้จะทวง ลูกหนี้ก็ยังไม่ต้องชาระ ดังนั้น
ในกรณีนี้ขาวจึงยังไม่ผิดนัด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 32 )
แนวตอบ 32
ต่อมาเมื่อขาวถูกสลากกินแบ่ง ได้นาเงินไปชาระแก่เขียวย่อมทาได้ เพราะระยะเวลาในการชาระหนี้
กาหนดไว้เพื่อประโยชน์ของแก่หนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่ใช้ประโยชน์นั้น จะชาระก่อนกาหนดก็ทาได้ แต่การที่เขียว
เจ้าหนี้ไม่อยู่ไปต่างจังหวัด โดยที่เขียวเองไม่รู้ว่าลูกหนี้จะชาระก่อนกาหนด จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้มีเหตุขัดข้อง
ชั่วคราวทาให้ไม่อาจรับชาระหนี้ได้ (มาตรา 212) ดังนั้นเขียวจึงยังไม่ผิดนัดและหนี้ก็ยังไม่ระงับ เพราะเขียวยัง
ไม่ได้รับชาระหนี้
หลังจากทาสัญญากู้ได้ 2 ปี เขียวฟ้องขาวให้ชาระหนี้ กรณีนี้ถึงกาหนดชาระเมื่อครบ 1 ปี นับแต่ทา
สัญญากู้แล้ว เมื่อขาวไม่ชาระ ขาวตกเป็นผู้ผิดนัดทันที โดยที่เขียวไม่ต้องเตือนอีก (มาตรา 204 วรรค 2) ขาว
ต้องชาระหนี้ให้แก่เขียว
สรุป ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของขาวขาวตกเป็นผู้ผิดนัด และต้องชาระหนี้ ส่วนเขียวไม่ผิดนัด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 33 )
คาถาม 33
น้อยให้นิดกู้ยืมเงิน 50,000 บาท โดยมีหนึ่งเป็นผู้ค้าประกันหนี้รายนี้ ต่อมาน้อยมีเงินไม่พอชาระหนี้
ให้เจ้าหนี้ของตน น้อยจึงโอนขายหนี้กู้ยืมนี้ให้กับสองเพียง 40,000 บาท โดยทั้งน้อยและสองได้ทาโอนเป็น
หนังสือแจ้งการโอนการขายหนี้นี้ให้กับนิด เมื่อนิดทราบเรื่อง ได้มีหนังสือคัดค้านไม่ยินยอมเกี่ยวกับการโอนครั้ง
นี้ เมื่อหนี้กู้ยืมถึงกาหนดชาระ นิดหนีหายไปตามตัวไม่ได้ สองจึงฟ้องหนึ่งให้ชาระหนี้ทั้งหมด 50,000 บาทแทน
นิด หนึ่งต่อสู้ว่าหนึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตไม่เคยรู้เรื่องการโอนหนี้ จะฟ้องให้ตนชาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ได้
อีกทั้งหนี้ที่สองรับซื้อมานั้นเป็นจานวนเพียง 40,000 บาท จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของหนึ่ง
หรือไม่ อย่างไร
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 33 )
แนวตอบ 33
มาตรา 306 วางหลักไว้ว่า “การโอนหนี้อันจะพึงต้องชาระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้นถ้าไม่ทาเป็นหนังสือ ท่านว่า
ไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าการโอนไปยังลูกหนี้หรือลู กหนี้
จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คาบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทาเป็นหนังสือ
ถ้าลูกหนี้ทาให้พอแก่ใจผู้โอนด้วยการใช้เงินหรือด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าวหรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้
ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้”
มาตรา 305 วางหลักไว้ว่า “เมื่อโอนสิทธิเรียกร้องไป สิทธิจานอง จานา หรือหลักประกันทางธุรกิจที่มีอยู่เกี่ยวพันกับสิทธิ
เรียกร้องนั้นก็ดี สิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้าประกันที่ให้ไว้เพื่อสิทธิเรียกร้องนั้นก็ดี ย่อมตกไปได้แก่ผู้รับโอนด้วย
อนึ่งผู้รับโอนจะใช้บุริมสิทธิใด ๆ ที่ตนมีอยู่เกี่ยวด้วยสิทธิเรียกร้องในกรณีบังคับยึดทรัพย์หรือล้มละลายนั้นก็ได้”
ตามปัญหากรณีเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง การที่น้อยโอนหนี้ของตนที่มีอยู่ตามสัญญากู้ยืมเงิน 50,000 บาท ให้กับสองไป 40,000
บาทนั้น เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของตนที่มีอยู่ เหนือลูกหนี้นั้นไปให้สองเจ้าหนี้ใหม่ ซึ่งเป็นการโอนหนี้อันพึงต้องชาระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่ง
โดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งกฎหมายกาหนดให้ทาเป็นหนังสือ (มาตรา 306) การโอนสิทธิเรียกร้องนี้ทั้งสองและน้อยได้ทาเป็นหนังสือระหว่าง
กันแล้ว จึงมีผลสมบูรณ์
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 33 )
แนวตอบ 4
หนี้ที่โอนไปนอกจากจะเป็นหนี้เงินกูแ้ ล้วยังมีหนีอ้ ุปกรณ์คือการค้าประกันหนี้นั้นอีกด้วย โดยมีหนึ่งเป็นผู้ค้าประกัน
หนี้กู้ยืมนั้น ตามมาตรา 305 เมื่อโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ไป สิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้าประกันทีไ่ ด้ให้ไว้ตามสัญญากู้นกี้ ็ย่อ
มตกไปได้แก่ผรู้ ับโอนด้วย ดังนั้นเมื่อผลการโอนสิทธิเรียกร้องสมบูรณ์ ทั้งนิดและหนึง่ จึงเป็นลูกหนี้ของสองด้วยกัน
ในการโอนสิทธิเรียกร้องนี้จะยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้ได้นั้นต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้เป็นหนังสือด้วย แต่ปรากฏว่า
เมื่อมีการโอนหนีแ้ ล้ว นิดเพียงคนเดียวซึ่งได้รบั การบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือ แต่ยังไม่มีใครแจ้งแก่หนึ่งผู้ค้าประกันซึ่งเป็น
ลูกหนี้อีกคนหนึ่งให้ทราบแต่อย่างใด ดังนั้นสองจึงจะยกการโอนหนีใ้ ช้ยันหนึ่งผู้ค้าประกันไม่ได้ หนึ่งจึงยังไม่ต้องชาระหนี้ให้สอง
แต่ข้อต่อสูข้ องหนึ่งก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้หนี้ที่โอนขายให้เพียง 40,000 บาท แต่มูลหนี้เดินั้นคงอยู่แต่เป็นเรื่องซึ่งน้อยพอใจทีจ่ ะ
โอนขายในราคาเท่าใดก็ได้ อีกทั้งหนึ่งก็มิใช่บุคคลภายนอกผูส้ จุ ริตแต่อย่างใด เพราะหนึ่งก็คือลูกหนี้ในฐานะผูค้ ้าประกันหนี้
ประธาน คือหนี้กู้ยืม
สรุป สองเรียกให้หนึ่งชาระหนี้ไม่ได้ เพราะยังไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังหนึ่ง แต่ข้ออ้างของหนึ่งไม่ถูกต้อง จึงไม่
เห็นด้วย เพราะหนึ่งมิใช่บุคคลภายนอก แต่เป็นลูกหนี้ และมูลหนืท้ ี่จะต้องชาระกันคือมูลหนีเ้ ดิจานวน 50,000 บาท
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 34 )
คาถาม 34
ข. กู้เงิน ก. ไป 200,000 บาท ต่อมา ข. เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว มีทรัพย์สินคือรถยนต์เพียงคัน
เดียว ข. ได้ขายรถยนต์คันนี้ ซึ่งมีราคา 250,000 บาท ให้แก่ จ. เพื่อนสนิทไปราคา 150,000 บาท โดย ข. และ
จ. ก็รู้ว่าการซื้อขายนี้ จะทาให้ทรัพย์สินของ ข. ไม่พอชาระหนี้แก่ ก. ดังนี้ ก. ได้มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้
คาปรึกษาแก่ ก. อย่างใร เพื่อ ก. จะได้รับชาระหนี้จาก ข.
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 34 )
แนวตอบ 34
มาตรา 237 วางหลักไว้ว่า “เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทาลงทั้ง
รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทานิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภ
งอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทาให้โดยเสน่หา ท่านว่า
เพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน”
ประเด็นในเรื่องนี้คือ เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉล ซึ่งเป็นวิธีการของเจ้าหนี้ที่จะควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเจ้าหนี้จะได้
บังคับชาระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีอยู่ได้ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ
1. นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้ทากับผู้ได้ลาภงอกนั้นทาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
2. คู่กรณีในนิติกรรมที่ลูกหนี้ทาขึ้นต้องได้ลาภงอกขึ้น
3. ทั้งลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกได้รู้ว่านิติกรรมนั้น ทาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
4. นิติกรรมนั้นต้องมีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 34 )
แนวตอบ 34
จึงเห็นได้ว่าการที่ ข. มีทรัพย์สินคือรถยนต์เพียงคันเดียวราคา 250,000 บาท แล้วขายให้ จ.ไปใน
ราคาเพียง ราคา 150,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการทาให้เจ้าหนี้ ก. เสียเปรียบโดยที่ ทั้ง ข. และ จ. ก็รู้ว่าจะทาให้
ก. ได้รับชาระหนี้ไม่พอ ทั้งนิติกรรมการซื้อขายนี้ก็มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ก็คือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ จ. เองก็
ได้รถยนต์ไป (มาตรา 237)
ดังนี้ข้าพเจ้าจะแนะนาให้ ก. ฟ้องต่อศาลขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวเมื่อนิติกรรม
ถูกเพิกถอนก็ถือว่าไม่มีนิติกรรมซื้อขายเกิดขึ้น รถยนต์ก็ยังคงเป็นของ ข. ข.จึงมีทรัพย์สินเพียงพอที่จาชาระหนี้
ให้ ก.
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 35 )
คาถาม 35
นายเสาร์กู้เงินนายจันทร์ไป 10,000 บาท ได้ชาระหนี้เงินกู้ดังกล่าวครบถ้วน และได้รับใบเสร็จรับเงิน
ลงลายมือชื่อของนายจันทร์ไปแล้ว นายจันทร์เข้าใจว่าตนยังไม่ได้รับชาระหนี้จากนายเสาร์ จึงเรียกร้องให้นาย
เสาร์ชาระหนี้ แต่นายเสาร์หาใบเสร็จไม่พบ เกรงว่าจะถูกนายจันทร์ฟ้องร้องนายเสาร์จาต้องใช้เงินให้นายจันทร์
ไปอีก 10,000 บาท ต่อมานายเสาร์หาใบเสร็จรับเงินได้ จึงมาปรึกษาท่านว่าจะเรียกร้องเงินคืนจากนายจันทร์
ท่านจะให้คาปรึกษานายเสาร์ว่าประการใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 35 )
แนวตอบ 35
มาตรา 406 วางหลักไว้ว่า “บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทาเพื่อ
ชาระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคน
หนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจาต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา ฯลฯ”
มาตรา 407 วางหลักไว้ว่า “บุคคลใดได้กระทาการอันใดตามอาเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชาระหนี้โดย
รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชาระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 35 )
แนวตอบ 35
ตามปัญหานายจันทร์ได้ชาระหนี้ให้นายเสาร์ครบถ้วนแล้ว การที่นายจันเรียกร้องให้นายเสาร์ชาระหนี้
นายเสาร์จาต้องใช้เงินให้นายจันทร์ไปอีก 10,000 บาท นั้น เป็นเพราะนายเสาร์หาใบเสร็จไม่พบ เกรงว่าจะถูก
นายจันทร์ฟ้องร้อง มิใช่การที่นายเสาร์ชาระหนี้ตามอาเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชาระ กรณี
นี้ไม่ต้องด้วยมาตรา 407
การที่นายจันทร์ได้เงิน 10,000 บาท ในคราวหลัง เป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่นายเสาร์
กระทาเพื่อชาระหนี้ และโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เป็นทางให้นายเสาร์เสียเปรียบเงินจานวน
ดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้แก่นายจันทร์ นายจันทร์จึงต้องคืนเงิน 10,000 บาท ให้แก่นายเสาร์ตามมาตรา
406 วรรคแรก ถ้านายเสาร์มาปรึกษาข้าพเจ้า ๆ จะให้คาปรึกษาโดยนัยดังกล่าว
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 36 )
คาถาม 36
ก. ขับรถรับจ้างรับหนึ่งไปส่งที่สถานีรถไฟหัวลาโพง โดยความประมาทเลินเล่อของ ก. ขับด้วย
ความเร่งรีบเลี้ยวออกจากซอย ข. ขับรถรับจ้างอีกคันหนึ่งด้วยความประมาทเลินเล่อเลี้ยวออกจากซอยดังกล่าว
ด้วยความเร็วเป็นเหตุให้รถซึ่ง ก. และ ข. ขับชนกัน หนึ่งได้รับบาทเจ็บจากการที่รถทั้งสองชนกัน หนึ่งฟ้อง ก.
ข. ขอให้รับผิด ข. อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดแต่ผู้เดียว ก. เองก็ต้องรับผิดต่อ ข. ด้วย เพราะ ก. เองก็ประมาท
เลินเล่อ เมื่อหนึ่งมาขอคาแนะนาจากท่าน ท่านจะให้คาแนะนาแก่หนึ่งว่าอย่างไร
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 36 )
แนวตอบ 36
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 วางหลักไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ทาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน
หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทาละเมิดจาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
มาตรา 432 วางหลักไว้ว่า “ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทาละเมิด
ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ ตลอด
ถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจาพวกที่ทาละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย
อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทาละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทาละเมิดร่วมกันด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน
เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 36 )
แนวตอบ 36
การที่ ก. และ ข. ขับรถชนกันเป็นเหตุให้หนึ่งได้รับบาทเจ็บนั้น ก. และ ข. ทาละเมิดต่อหนึ่ง เพราะ
ทั้ง ก. และ ข. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้หนึ่งได้รับบาทเจ็บจากความประมาทเลินเล่อของ ก. และ
ข. ซึ่งเป็นกรณีทาให้หนึ่งเสียหายต่อร่างกาย ก. และ ข. ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หนึ่งในการทาละเมิดนั้น
ตามมาตรา 420
ที่ ข. อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดแต่ผู้เดียว ก. เองต้องร่วมรับผิดด้วย เพราะ ก. เองก็ประมาทเลินเล่อทา
ให้เกิดเหตุนั้น การที่จาร่วมกันรับผิดในกรณีร่วมกันทาละเมิดนั้นต้องได้ความว่าบุคคลหลายคนนั้นร่วมกันทา
ละเมิด จึงจะร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างลูกหนี้ร่วมมาตรา 432 แต่กรณีนี้เป็นกรณี ก. และ ข.
ได้ประมาทเลินเล่อก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่นในเหตุเดียวกันแต่ไม่ได้ร่วมกันทาละเมิด จึงไม่ต้องด้วยมาตรา
432 จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิด
ทั้ง ก. และ ข. ต้องรับผิดฐานละเมิด แต่แยกกันรับผิด โดยรับผิดมากน้อยแล้วแต่ความร้ายแรงนั้น
ดังนั้น ข้าพเจ้าจะแนะนาให้หนึ่งฟ้องทั้ง ก. และ ข. เรียกค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดต่อหนึ่งแต่ไม่ใช่ร่วมกันรับ
ผิด คือ ต่างคนต่างรับผิดตามมาตรา 420 ตามแต่ความร้ายแรงของผลการทาละเมิดของแต่ละฝ่าย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 37 )
คาถาม 37
นางสีดาเช่าบ้านนางสาลีอยู่อาศัย และบริเวณบ้านนางสาลีมีต้นไม้ใหญ่ร่มครึ้มปลูกอยู่เก่าแก่หลายปี
นางสีดาเป็นคนรักต้นไม้จึงหมั่นดูแลอยู่เสมอ ตลอดจนนากระถางต้นไม้ไปวางเรียงรายอยู่ตามมุมบ้าน และ
นาไปตั้งอยู่ริมหน้าต่างให้สวยงามด้วย ขณะที่นายซวยเดินผ่านมา กระถางต้นไม้ที่วางอยู่ริมหน้าต่างหล่นถูก
ศีรษะนายซวยแตกส่วนนายแสงที่เดินอยู่ริมรั้วบ้านหลังนี้ถูกต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกอยู่ในบริเวณบ้าน ซึ่งอายุมากแล้ว
โค่นลงมาล้มทับขานายแสงจนขาหัก ทั้งนายซวยและนายแสงจึงเรียกร้องให้นางสีดาและนางสาลีรับผิดชดใช้
ค่าเสียหาย นางสีดาปฏิเสธอ้างว่านางสาลีเป็นเจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบเอง ส่วนนางสาลีโต้แย้งว่านางสีดา
เป็นผู้ปกครองโรงเรือนในขณะเกิดเหตุต้องเป็นผู้รับผิด ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่านางสีดาและนางสาลีจะต้องรับผิด
อย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 37 )
แนวตอบ 37
มาตรา 434 วางหลักไว้ว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
ก่อสร้างไว้ชารุดบกพร่องก็ดี หรือบารุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
จาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้น
แล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ให้ใช้บังคับได้ ตลอดถึงความบกพร่องในการปลูกหรือค้าจุนต้นไม้หรือกอ
ไผ่ด้วย...”
มาตรา 436 วางหลักไว้ว่า “บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของ
ตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 37 )
แนวตอบ 37
ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ นางสีดาเช่าบ้านนางสาลีอยู่อาศัยจึงเป็นผู้ครอบครองโรงเรือน ในกรณีที่
กระถางต้นไม้ที่วางอยู่ริมหน้าต่างตกหล่นมาถูกศีรษะนายซวย ไม่ได้เกิดจากการกระทาโดยจงใจหรือประมาท
เลินเล่อก็ตาม แต่เมื่อมีของตกหล่นจากโรงเรือน ผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิด ดังนั้นนางสีดาผู้อยู่ในโรงเรือนจึง
ต้องรับผิดต่อนายซวยที่ได้รับความเสียหายจากการที่มีของตกหล่นจากโรงเรือน ตามมาตรา 436
ในกรณีที่สอง นางสีดาได้หมั่นดูแลรักษาต้นไม้อยู่อย่างเสมอโดยได้ระมัดระวังตามควรแล้ว จึงไม่ต้อง
รับผิดตามมาตรา 434 ซึ่งในมาตราดังกล่าว วรรคสองให้รวมถึงการรับผิดในความบกพร่องของการปลูกต้นไม้
หรือค้าจุนต้นไม้ กอไผ่ด้วย เมื่อผู้ครองโณงเรือนไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะได้ระมัดระวังตามสมควรแล้ว เจ้าของ
ต้นไม้จึงต้องรับผิดในการชาระค่าสินไหมทดแทนและความเสียหายที่นายแสงได้รับจากการที่ถูกต้นไม้ล้มทับขา
สรุป 1. นางสีดาต้องรับผิดต่อนายซวยเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนที่นางสีดาอยู่
2. นางสาลีต้องรับผิดต่อนายแสงในฐานะเจ้าของต้นไม้ในความเสียหายที่เกิดจากความ
บกพร่องในการปลูกต้นไม้
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 38 )
คาถาม 38
นายวุ ฒิ เ ช่ า บ้ า นนายสุ ด อยู่ อ าศั ย ได้ ซื้ อ แก๊ ส จากนายโกมาใช้ ใ นครั ว เป็ น ประจ า นายวุ ฒิ เ ป็ น ผู้
ครอบครองแก๊สและถังแก๊ส ขณะที่นายวุฒินอนหลับในเวลากลางคืน แก๊สเกิดรั่วไหลออกจากถังบรรจุเกิดไฟลุก
ไหม้บ้านของนายสิทธิที่อยู่ค้างเคียงกันเสียหายไปแถบหนึ่ง นายสิทธิจึงเรียกร้องให้นายสุดผู้ให้เช่าบ้าน นายวุฒิ
ผู้เช่า และนายโกผู้ขายแก๊ส รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ทุกคนต่างโต้แย้งว่าตนมิได้ประมาทเลินเล่อ ทาให้แก๊สรั่วไฟ
ไหม้บ้าน บุคคลใดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 38 )
แนวตอบ 38
มาตรา 420 วางหลักไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขา
เสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้
นั้นทาละเมิดจาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
มาตรา 437 วางหลักไว้ว่า “บุคคลใดมีไว้ในครอบครองของตนซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้
โดยสภาพ จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ทรัพย์อันเป็นของอันตรายได้โดยสภาพนั้น”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 38 )
แนวตอบ 38
จะเห็นได้ว่า นายสุดและนายโกนั้นมิได้ประมาทเลินเล่อที่จะทาให้บ้านของนายสิทธิเสียหายนายสุด
เจ้าของบ้านมิได้กระทาการใด ๆ ส่วนนายโกแม้จะเป็นผู้ขายแก๊ส แต่ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองในขณะเกิดไฟไหม้
ซึ่งทาให้บ้านของนายสิทธินั้นเสียหายดังนั้นเห็นได้ว่านายสุด และนายโกมิได้ทาละเมิด เพราะมิได้จงใจหรือ
ประมาทเลินเล่อให้แก๊สรั่วจนเกิดไฟลุกไหม้บ้านนายสิทธิ ดังนั้นนายสุดและนายโก จึงไม่ต้องรับผิดต่อนายสิทธิ
ฐานละเมิดแต่อย่างใด
ตามสภาพปัญหา แก๊สเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ นายวุฒิผู้ให้เช่าบ้านจากนาย
สุดเป็นผู้ครอบครอง จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่แก๊สเกิดการรั่วไหลและไฟลุกไหม้บ้านของนายสิทธิแม้เหตุ
เกิดขึ้นขณะที่นายวุฒินอนหลับ มิได้กระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทาให้เกิดไฟไหม้บ้านตามกฎหมายก็
ให้รับผิด ดังนั้น นายวุฒิแต่ผู้เดียวต้องรับผิดต่อนายสิทธิ
สรุป 1. นายโกและนายสิทธิไม่ต้องรับผิดเพราะมิได้กระทาละเมิด (มาตรา 420)
2. นายวุฒิแต่ผู้เดียวต้องรับผิดเพราะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์อันตราย (มาตรา 437)
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 39 )
คาถาม 39
ลิงของนายชายหลุดเข้ามารื้อหลังคาบ้านของนายสิงห์ ซึ่งนายสิงห์ครอบครองอยู่เสียหายขณะที่ลิง
กาลังรื้ออยู่ นายสิงห์เข้าจับ ลิงก็กัดนายสิงห์บาดเจ็บและรื้อต่อไป นายสิงห์จึงเอาไม้ตีลิง ลิงบาดเจ็บและสลบไป
ดังนี้ท่านเห็ว่านายชายและนายสิงห์จะเรียกค่าเสียหายจากกันและกันได้หรือไม่
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 39 )
แนวตอบ 39
มาตรา 433 วางหลักไว้ว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับ
เลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ
อันเกิดแต่สัตว์นั้น ฯลฯ”
มาตรา 449 วางหลักไว้ว่า “บุคคลใดเมื่อกระทาการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหากก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่ผู้อื่น บุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ ฯลฯ”
มาตรา 452 วางหลักไว้ว่า “ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่น อันเข้ามาทาความ
เสียหายในอสังหาริมทรัพย์ และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ ฯลฯ”
กฎหมายแพ่งฯ 41214 : (แนวข้อสอบ 39 )
แนวตอบ 39
ตามปัญหาการที่ลิงของนายชายหลุดมารื้อหลังคาบ้านของนายสิงห์ ซึ่งนายสิงห์ครอบครองอยู่
เสียหาย และเมื่อนายสิงห์เข้าจับ ลิงก็กัดนายสิงห์บาดเจ็บ เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะสัตว์นายชาย
เจ้าของลิงจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายสิงห์เจ้าของบ้านตามมาตรา 433 ทั้งกรณีที่ถูกลิงรื้อบ้าน
และถูกลิงกัด
นอกจากนี้ การที่ลิงเข้ามาทาความเสียหายในบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ นายสิงห์ผู้ครอบครองมี
สิทธิที่จะจับลิงได้ตามมาตรา 452 การที่ลิงกาลังรื้อหลังคาบ้านอยู่ นายสิงห์เข้าจับลิงก็กัด นายสิงห์เอาไม้ตีลิง
ลิงบาดเจ็บและสลบไป จึงเป็นการป้องกันทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 449 วรรคแรก นายชาย
เจ้าของลิงจะเรียกค่าเสียหายจากนายสิงห์หาได้ไม่

You might also like