Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 22

บทที่ 3

การยศาสตร์ (Ergonomics)

ความเป็ นมาของการยศาสตร์
จากยุ ค ก่ อ นประวัติศาสตร์ม าจนกระทังถึ
่ งยุ ค ปฏิวตั ิอุ ต สาหกรรมจะอยู่ใ นช่ว ง
ระยะเวลาประมาณ 200 กว่า ปี นัน้ ได้ม ีก ารพัฒ นาการจากการลองผิด ลองถู ก ในการ
สร้างสรรค์เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ สาหรับใช้ในการทากิจกรรมเพื่อการดารงชีวติ ของคน
จนกลายเป็ นเครื่องจักร เครือ่ งมือต่างๆ โดยได้มกี ารพัฒนาปรับปรุงให้ทนั ยุคทันสมัยและ
สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการในการใช้งานเรื่อยมา ปจั จุบนั สังคมได้เล็งเห็นถึง
ความสาคัญของการสร้างและพัฒนาเครื่องจักรอุปกรณ์ และเครื่องอานวยความสะดวก
มากขึน้ จึงได้เริม่ มีการกาหนดมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในการควบคุม เพื่อลดความ
เสียหายอันอาจจะเกิดขึน้ จากการทางาน โดยเริม่ มีการให้ความรูเ้ กีย่ วกับเรื่องเวชศาสตร์
อุตสาหกรรมได้มกี ารเปิ ดสอนในโรงเรียนแพทย์ กับเรื่องอาชีวอนามัยก็ได้มกี ารเปิ ดสอน
ในโรงเรียนสาธารณสุข และมีการปรับปรุงสภาพการทางานในสถานประกอบการ มีการ
พัฒนากระบวนการผลิตแบบจานวนมาก จึงทาให้เกิดการเรียนรูเ้ รือ่ งการศึกษา เวลา และ
การเคลื่อนไหวในการทางานของมนุ ษย์ขน้ึ ซึง่ เริม่ ขึน้ โดย F.W. Taylor ขณะเมือ่ ทางานที่
Midvale Steel Co. ในปี พ.ศ.2424 เขาได้พยายามใช้วธิ ที างวิทยาศาสตร์ (Scientific approach)
เพื่อทีจ่ ะคานวณเวลาทีใ่ ช้ในการทางานของคนแทนทีจ่ ะใช้วธิ กี ารคาดคะเนโดยวิธสี ามัญ
สานึกแบบทีเ่ คยปฏิบตั มิ าก่อน ต่อมา F.B. Gilbreth ในปี พ.ศ.2454 ได้พจิ ารณาเห็นถึง
ความผูกพันกันระหว่างตัวแปรแต่ละตัวในการทางานของคนเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อม และการ
เคลื่อนไหวของการทางานว่ามีผลต่อผลผลิต (Productivity) เป็ นอันมาก เช่นเดียวกันกับ
ผลจากการศึกษาของนักวิจยั คนอื่นๆ ทีแ่ สดงถึงความสาคัญของมนุ ษย์ต่อการทางานได้
ปรากฏขึน้ ระหว่างสงครามโลกและหลังสงครามโลก ระยะต่อมาได้มกี ารจัดประชุมทาง
วิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของสิง่ แวดล้อมในการทางานที่มตี ่อ
สมรรถภาพของคน และภายหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 วิธกี ารวิจยั แผนใหม่ได้เกิดขึน้ เมื่อ
พบว่าขีดความสามารถของคนงานถูกจากัดโดยสมรรถนะของเครือ่ งมืออุปกรณ์ทซ่ี บั ซ้อน
เช่น เครื่องบิน เรดาร์ อุปกรณ์เหล่านี้ควรทางานได้ดี ภายใต้ขดี จากัดของความสามารถ
HA 233 31
ของผูใ้ ช้งาน ทัง้ นี้กเ็ พราะว่าการคัดเลือกและฝึ กคนให้เหมาะสมกับเครื่องมือ อุปกรณ์นนั ้
ั นาแล้ว การแก้ปญั หาเรื่องนี้โดยการ
เริม่ จะเป็ นเหตุผลทีไ่ ม่เป็ นทีย่ อมรับแล้วในโลกทีพ่ ฒ
ประสานความรู้ก ัน เป็ น สิ่ง แรกระหว่า งสาขาวิช าต่ า งๆ เช่น ชีว วิท ยา การแพทย์แ ละ
วิทยาศาสตร์กายภาพ ความสนใจในเรื่องลักษณะเดียวกันนี้ได้เริม่ ขึน้ ตัง้ แต่ปี 2491 ที่
สหรัฐอเมริกา และใช้ช่อื วิทยาการว่า Cybernetics เป็ นการศึกษาสื่อความหมายและการ
ควบคุมในสัตว์และเครือ่ งจักรอุปกรณ์
สมาคมวิชาการได้ถูกจัดตัง้ ขึน้ เป็ นสาคัญ ได้แก่ Ergonomics Research Society
ในปี พ.ศ.2492 เป็ นการต้อนรับนักวิจยั โดยเฉพาะเรื่องสมรรถภาพของมนุ ษย์ทก่ี ลับจาก
การปฏิบ ัติห น้ า ที่ใ นสงครามโลกเพื่อ ให้ม าร่ ว มประชุ ม ศึก ษาแลกเปลี่ย นความรู้ด้า น
วิท ยาการท างาน ตลอดจนการประยุ ก ต์ ใ ช้ ค วามรู้ นั น้ ในงานอุ ต สาหกรรม ต่ อ มา
International Ergonomics Association ก็ได้เกิดขึน้ ในปี พ.ศ.2502 หลังจากการประชุม
นานาชาติทเ่ี มือง Leyden ในปี พ.ศ.2500 เรือ่ ง “to promote the application of the
human biological sciences to industrial and equipment design” และในปี พ.ศ.2500
ได้มกี ารจัดพิมพ์วารสาร Ergonomics ฉบับแรกขึน้ พร้อมกันนัน้ ก็ได้มกี ารจัดตัง้ Human
Factors Society ขึน้ ในสหรัฐอเมริกา และอีก 2 ปี ต่อมาก็ได้มกี ารจัดตัง้ Ergonomics
Society of Australia ขึน้ สาหรับประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มกี ารรวมตัว
กันในลักษณะของกลุ่มอาเซียน South East Asian Ergonomics Society มีสมาชิก
6 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลปิ ปิ นส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย ได้มกี าร
จัดการประชุมในแต่ละประเทศหลายครัง้ โดยครัง้ ที่ 4 ได้จดั ประชุมขึน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร
เมื่อ เดือ นพฤศจิก ายน พ.ศ.2537 และได้ พ ยายามจัด ตัง้ สมาคมการยศาสตร์ ไ ทย
(Ergonomics Society of Thailand) จนประสบความสาเร็จในปี พ.ศ.2544 โดยมีสานักงาน
สมาคมอยูท่ ส่ี ถาบันความปลอดภัยในการทางาน ตลิง่ ชัน กรุงเทพมหานคร

ความสาคัญของการยศาสตร์
เนื่องจากความแตกต่างกันของบุคคลทัง้ ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
สติปญั ญา ซึง่ ไม่สามารถกาหนดให้เป็ นไปตามความต้องการได้ถงึ แม้วา่ ปจั จุบนั จะมีความ
เจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากเพียงใดก็ตาม การทีบ่ ุคคลจะทางานหรือทากิจกรรม
ใดก็ตามทีต่ อ้ งอาศัยอุปกรณ์ เครือ่ งมือเพือ่ ช่วยอานวยความสะดวกก็จะต้องคานึงถึงความ

32 HA 233
เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อมิให้เกิดผลกระทบที่ก่อให้เกิดปญั หาต่อสุขภาพร่างกายใน
แต่ละด้านหรือให้มคี วามเสีย่ งต่ออันตรายน้อยทีส่ ดุ
ป จั จุ บ ั น ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทางด้ า นเทคโนโลยี ท่ี ม ี ก ารประดิ ษ ฐ์ คิ ด ค้ น
การออกแบบ เครื่องจักรกล และกระบวนการหรือวิธกี ารผลิตต่างๆ เพื่อเพิม่ ผลผลิตและ
เพือ่ ให้เหมาะสมกับลักษณะของงานในขัน้ ตอนกระบวนการทัง้ หลาย ซึง่ คนเป็ นทรัพยากร
ทีม่ คี ่ามากทีส่ ุดของหน่ วยงาน ดังนัน้ จะเห็นได้ว่าการพยายามปรับคนให้เข้ากับงานทีท่ า
(fit the man to the job) นัน้ เป็ นลักษณะของภาวะจายอมเพราะการลงทุนทางด้านวัสดุ
หรือเครื่องจักรกลได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้ ว โดยมิได้คานึงถึงความสะดวกสบายของคนที่
ทางานเลย ซึง่ อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดหรืออุบตั เิ หตุ ความเมื่อยล้า ความเสื่อมถอย
ของสุขภาพ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพของการผลิต ทัง้ ทางด้านปริมาณ
และคุณภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากการออกแบบวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร หรื อเครื่อง
อานวยความสะดวกในการทางานได้คดิ คานึงถึงข้อจากัด และความต้องการของบุคคลที่
ต้องทางานในลักษณะของการปรับงานให้เหมาะสมกับคน (fit the job to the man)
โดยเห็นความสาคัญของความแตกต่างกันของบุคคลก็จะเป็ นการลดอัตราความเสีย่ งของ
การเกิดความเสียหายและความไม่ ปลอดภัยในการทางาน แต่ยงั ช่วยเพิม่ ผลผลิตทัง้ ด้าน
ปริมาณและคุณภาพให้กบั หน่วยงานได้ ซึง่ จะต้องหาข้อมูลประกอบ ได้แก่
1. ความต้องการการชานาญทีจ่ าเป็ นต่อการทางาน
2. ประเภทของบุคคลทีเ่ หมาะสมกับการทางาน
3. เพศทีเ่ หมาะสมในการปฏิบตั งิ าน
4. ตาแหน่งหรือจุดทีเ่ หมาะสมสาหรับการควบคุมเครือ่ งจักรในการทางาน
5. ลักษณะการเคลือ่ นไหวขณะปฏิบตั งิ าน
6. ความยากง่ายของงานเปรียบเทียบกับระยะเวลาทีต่ อ้ งปฏิบตั งิ านของคน
7. สภาพแวดล้อมในการปฏิบตั งิ าน
ข้อดีของการออกแบบงานให้เหมาะสมกับคน
1. ช่วยลดความผิดพลาดต่างๆ ทีเ่ กิดจากการปฏิบตั งิ าน
2. ช่วยลดอุบตั เิ หตุและความเมือ่ ยล้าจากการปฏิบตั งิ าน
3. ช่วยลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากการสูญเสียลดลงและวัตถุดบิ น้อยลง
4. ช่วยลดระยะเวลาและงบประมาณในการควบคุมงานและฝึกอบรม

HA 233 33
5. เพิม่ ความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการปฏิบตั งิ าน
6. ช่วยให้ขนั ้ ตอนการทางานลดลงและสามารถตัดสินใจในการทางานดีขน้ึ

ความหมายของ Ergonomics
คาว่า Ergonomics มาจากรากศัพท์ในภาษีกรีก 2 คา คือ ergon แปลว่างาน
(work) กับคาว่า nomos แปลว่า กฎ (law) เมือ่ รวมคาทัง้ สองเข้าด้วยกันเกิดเป็ นคาใหม่วา่
Ergonomics (Law of Work) มีความหมายถึงการศึกษากฎเกณฑ์ในการทางาน โดยมี
เป้าหมายทีจ่ ะปรับปรุงงานหรือสภาวะของงานให้เข้ากับแต่ละบุคคล
ราชบัณฑิตยสถานได้บญ ั ญัตศิ พั ท์ของคาว่า Ergonomics ไว้คอื การยศาสตร์ โดย
อธิบายว่า การยเป็ นคาในภาษาสันสกฤต หมายถึง งาน (work) และศาสตร์เป็ นวิทยาการ
(Science) รวมความเป็ น Work Science
การยศาสตร์ หมายถึง วิทยาการเกีย่ วกับงานหรือการทางาน
สมาคมการจัดการแห่งประเทศไทยได้บญ ั ญัตศิ พั ท์ของคาว่า Ergonomics ไว้ว่า
“สมรรถศาสตร์” ซึ่งหมายความว่าเป็ นศาสตร์ท่เี กี่ยวกับความสามารถ ในที่น้ีหมายถึง
ความสามารถในการทางานของมนุ ษย์ในลักษณะต่างๆ โดยเทียบเคียงกับคาว่า Human
Performance Engineering
สถาบันความปลอดภัยในการทางาน กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย (ปจั จุบนั
เป็ นกรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน) ได้ให้ความหมายของชื่อนี้ว่า
“วิทยาการจัดสภาพงาน” และใช้กนั ในการฝึ กอบรมเจ้าหน้าทีค่ วามปลอดภัยระดับ ต่างๆ
ถือว่าเป็ นชือ่ ทีส่ อ่ื ความหมายได้ดี
ขอบข่ายของการยศาสตร์
การยศาสตร์เกีย่ วข้องกับแนวคิดทีแ่ สดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเครือ่ งจักร
อุปกรณ์ ลักษณะของงานส่วนใหญ่จะเป็ นงานที่ทาโดยอาศัยเครื่องจักรอุปกรณ์ อานวย
ความสะดวก ระดับความสามารถในการทางานจะอยู่ภายใต้อทิ ธิพลของสภาพแวดล้อม
ของวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และสภาวะทางจิตใจกับทางกายภาพในระบบงานนัน้ ใน
ระบบคนกับเครื่องจักร คนจะทางานในระบบทีม่ กี ระบวนการทางานเป็ นวงจรปิ ด โดยคน
จะทางานได้กต็ ่อเมื่อได้รบั การป้อนข้อมูลผ่านการรับรู้ และการตอบสนองของกล้ามเนื้อ
ข้อต่อ ผิวหนัง หู ตา และอวัยวะรับความรูส้ กึ อื่นๆ เช่นเดียวกับปฏิกริ ยิ าชีวเคมีภายใน
34 HA 233
ร่างกาย ดังนัน้ เพือ่ ให้การปฏิบตั งิ านเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เครือ่ งจักรอุปกรณ์
ควรทีจ่ ะได้รบั การออกแบบสร้างโดยพิจารณาถึงสมรรถภาพและข้อจากัดของผูค้ วบคุม
เป็ นส่วนประกอบสาคัญด้วย

คน คน เครือ่ งจักร

การรับรู้ การแสดงผล
การตัดสินใจ
กระบวนการ

การทางาน เครือ่ งควบคุม


การควบคุม

รูปที่ 3 วงจรแสดงกระบวนการทางานในระบบคน และเครือ่ งจักร (ทีม่ า Grandjean, 1988 หน้า 125)

ซึง่ โดยสรุปหลักการของการยศาสตร์ ก็คอื การจัดงานให้เหมาะสมกับคน โดยการ


เห็นความสาคัญของคนทางาน และพยายามที่จะออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์
จัดระบบงานให้เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถและสมรรถนะของแต่ละบุคคล ซึง่ ใน
ประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วถือเป็ นสหวิทยาการ คือนาเอาวิชาการหลายสาขามาเป็ นประโยชน์
ในการศึกษาการยศาสตร์ ได้แก่ ความรูจ้ ากวิชาสรีรวิ ทยาและกายวิ ภาคศาสตร์
ทาให้มคี วามเข้าใจถึงโครงสร้าง สัดส่วนและการทางานของอวั ยวะต่างๆ ของ
ร่างกาย และเมื่อมีการศึกษาวิชาจิ ตวิ ทยาร่วมกันก็ยงิ่ ทาให้มคี วามรู้เกี่ยวกับเรื่องการ
ท างานของระบบประสาทและสมอง การเรีย นรู้พ ฤติก รรมมนุ ษ ย์ ความรู้จ ากวิช า
วิ ศวกรรมศาสตร์ ทาให้เข้าใจถึงข้อจากัดและเทคนิคต่างๆ ในการทางานการผลิตกับ
เทคโนโลยี และความรูค้ วามเข้าใจของวิชาอาชีวอนามัย จะช่วยให้มคี วามสามารถในการ
ประเมินสภาพการทางานที่เป็ นอันตรายต่อมนุ ษย์ได้ นักการยศาสตร์จะเป็ นผู้ประสาน
ปรับ เปลี่ย นและประยุ ก ต์ โดยการเชื่อ มความรู้ ท างด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ชี ว ภาพกับ

HA 233 35
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อประเมินสภาวะคนทางานและผลกระทบกับคน ตลอดจน
เสนอแนะแนวทางวิธีการแก้ไขซึ่งความรู้พ้นื ฐานจะมาจากการได้ศกึ ษาอบรมจากวิชา
ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ สุขศาสตร์ อุตสาหกรรม สังคมสงเคราะห์ จิตวิทยา วิศวกรรมศาสตร์
จะทาให้สามารถนาหลักวิชาต่างๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้กบั ธุรกิจอุตสาหกรรมได้ เช่น
1. การออกแบบ การเปลี่ยนแปลง การบารุงรักษาเครื่องมือเครื่อ งใช้เพื่อ เพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิต การมีคุณภาพชีวติ ทีด่ ี
2. การออกแบบ การวางผังโรงงานหรือ สถานประกอบการ การเปลี่ย นแปลง
เพือ่ ให้เกิดความสะดวกสบาย ความรวดเร็วของการทางาน รวมทัง้ การดูแลบารุงรักษา
3. การออกแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็ นระบบในการทางานโดยใช้อุปกรณ์
เครือ่ งอานวยความสะดวกต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสมรรถนะของบุคคลในองค์กร
4. การออกแบบเพือ่ การควบคุมปจั จัยต่างๆ ให้ทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
ความปลอดภัย เช่น ความสันสะเทื ่ อน เสียง แสง เป็ นต้น
ประโยชน์ ของวิ ทยาการจัดสภาพงาน
การนาเอาความรูจ้ ากสหวิทยาการมามีสว่ นร่วมในการจัดสภาพของงานต่างๆ นัน้
เป็ นการช่วยลดความเครียดทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ทัง้ ทางด้านร่างกายและจิตใจของผูท้ างานและ
ทาให้เกิดผลดีดงั ต่อไปนี้
1. เป็ นการเพิม่ ประสิทธิภาพในการทางาน
2. ช่วยลดอุบตั เิ หตุ และลดค่าใช้จ่าย
3. ช่วยลดต้นทุนการผลิต
4. ลดระยะเวลาการฝึกอบรมคนงาน
5. ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพและความสามารถของบุคคล
6. ลดขัน้ ตอนในการทางาน
การน าเอาความรู้ด้ า นการยศาสตร์ม าประยุ ก ต์ ใ ช้ใ นการท างานนั น้ จะต้ อ งมี
การศึกษาค้นคว้าถึงสาเหตุเพือ่ การแก้ไขปญั หาโดยคานึงถึงตัวแปรทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่
1. ลักษณะของงานที่เกี่ย วข้องกับ คนที่ต้อ งรับผิดชอบ เช่น การออกแรง การ
เคลือ่ นไหวของร่างกายในการทางาน ลักษณะท่าทางในการทางาน เป็ นต้น
2. คน คื อ ผู้ ป ฏิ บ ั ติ ก ั บ งานนั ้น ๆ ได้ แ ก่ เพศ รู ป ร่ า ง อายุ ความสามารถ
ความอดทน เป็ นต้น
36 HA 233
3. สภาพแวดล้อ ม หมายถึง สภาพแวดล้อ มในการท างาน ได้แ ก่ แสง เสีย ง
อุณหภูม ิ ฝุน่ ควัน ไอระเหย แรงสันสะเทื
่ อน เป็ นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทรัพยากรบุคคลซึง่ ถือว่าเป็ นส่วนทีส่ าคัญทีส่ ุดขององค์กรและ
การจัดระบบทีจ่ ะต้องให้ความสาคัญในสิง่ ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. มิตทิ างกายภาพ ซึง่ จะมีความสาคัญต่อระบบทีแ่ ตกต่างกันไปขึน้ อยู่กบั ลักษณะ
ของงานทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น น้าหนัก ความยาว ความกว้าง ปริมาตร
2. ความสามารถในการรับรู้ สัมผัสและรับรูข้ อ้ มูลข่าวสาร เช่น การมองเห็น การ
ได้ก ลิ่น การรับ รู้ร ส ความรู้ส ึก เจ็บ ปวด การกระทบกระทัง่ ความสามารถของระบบ
ประสาทสัมผัสของคนเป็ นเรื่องทีซ่ บั ซ้อน มีความแตกต่างระหว่างบุคคลมาก สุขภาพและ
ความล้าเป็ นปจั จัยสาคัญทีจ่ ะมีผลกระทบต่อระบบประสาทสัมผัสซึ่งจะทางานได้ดว้ ยตัว
ของมันเอง และหากมีการใช้ประสาทสัมผัสพร้อมกันหลายรูปแบบจะทาให้ความสามารถ
ของการรับรูส้ มั ผัสลดลง ดังนัน้ การออกแบบระบบควรหลีกเลีย่ งการรับรูข้ อ้ มูลข่าวสารเพือ่
ปฏิบตั ทิ ลี ะหลายมิตพิ ร้อมกัน
3. ความสามารถในการประมวลผล คือการรวบรวมข้อมูลข่าวสารทีไ่ ด้รบั มาสรุป
แยกแยะ เพื่อการตัดสินใจ และประเมินทัง้ ในเชิงคุณภาพ ปริมาณ ตีความ อย่างมีเหตุผล
สามารถเปรียบเทียบได้ ซึ่งในตัวบุค คลแต่ละคนนัน้ มีขอ้ จากัดและมีความแตกต่างกัน
ดังนัน้ การปฏิบตั งิ านใดที่ต้องการประมวลผลโดยบุคคลเพื่อการวินิจฉัยจึงจาเป็ นต้องใช้
ความระมัดระวังมากทีส่ ดุ เพราะอาจเกิดความผิดพลาดขึน้ ได้อย่างง่ายดาย
4. ความสามารถในการเคลื่อ นไหว ความสามารถเฉพาะตัว ของบุ ค คลล้ว นมี
ขีดจากัด ไม่มคี วามเสมอต้นเสมอปลายและคงที่ ดังนัน้ การออกแบบเครื่องมืออุปกรณ์
สาหรับให้คนเฝ้าระวังหรือควบคุมนัน้ ต้องพิจารณาในเรือ่ งของข้อจากัดเหล่านี้ดว้ ย
5. ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถของมนุ ษย์เหนือกว่าเครื่องจักรคือ
สามารถเรียนรูไ้ ด้ และสามารถปรับปรุงสมรรถนะในการทากิจกรรมให้ดขี น้ึ ได้เสมอ แต่
การเรียนรู้ของคนมักใช้วธิ ีแบบลองผิดลองถูกกับเปลี่ยนวิธีการใหม่โดยไม่ต้องเริม่ ต้น
เหมือนครัง้ แรกอีก ทาให้ได้รบั ความรูค้ วามเข้าใจเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ
6. ความต้องการทางกายภาพและทางจิตใจ สมรรถนะของคนขึน้ อยู่กบั การได้รบั
การสนองตอบตามความต้องการพื้นฐานของมนุ ษย์ท่จี าเป็ นต่อการดารงชีวติ อยู่อย่างมี
ความสุข ทัง้ ทางด้านร่างกายและจิตใจรวมทัง้ การได้รบั การส่งเสริมสนับสนุ น การสร้าง

HA 233 37
ขวัญและกาลังใจ ความพึงพอใจในการงานที่ทา สิง่ ต่างๆ เหล่านี้มสี ่วนในการส่งผลต่อ
ความสามารถในการทางานของบุคคลให้ดขี น้ึ ได้
7. ผลกระทบจากสภาพแวดล้อม การออกแบบระบบควรเห็นความสาคัญ ของการ
ปรับสภาพแวดล้อมให้คนงานทางานได้อย่างสะดวกสบาย และพึงพอใจกับสภาพการ
ท างาน ถึง แม้ว่ า ในสภาพแวดล้อ มที่ไ ม่ ส ามารถปรับ เปลี่ย นได้ก็ค วรที่จ ะมีเ ครื่อ งมือ
อุปกรณ์อานวยความสะดวกหรือเครื่องป้องกัน ทีเ่ หมาะสมได้อย่างเพียงพอ เพื่อช่วยลด
อันตรายหรือความเครียดจากการทางาน เช่น การทางานหน้าเตาหลอมโลหะ ควรจะมีชุด
ป้องกันการแผ่รงั สีความร้อนให้สวมใส่ หรือการทางานในสภาพที่มขี อ้ จากัดเหนือกว่า
บุคคลอื่น ก็ควรมีการคัดเลือกบุคคลทีม่ คี วามสามารถตรงตามความต้องการ เช่น คนที่
ทางานบนสะพานเดินเรือสมุทรก็ควรจะเป็ นบุคคลทีอ่ ดทนต่อการเมาคลืน่ ได้ดกี ว่า
8. ผลกระทบจากสภาพสังคม การออกแบบระบบควรคานึงถึงความสาคัญของ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่ม กิจกรรม ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี การควบคุม
บังคับบัญชา ซึง่ อาจส่งผลกระทบกับการทางานและหากได้รบั การจัดระบบทีเ่ หมาะสมก็จะ
เป็ นการช่วยลดปญั หาและส่งเสริมการทางานให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ อีกด้วย
9. ความสามารถในการประสานกิจกรรม ข้อจากัดในความสามารถของคนและ
ขีดจากัดของงานบางอย่า ง ทาให้คนเราไม่ส ามารถทางานหลายๆ อย่างพร้อ มกัน ได้
ครบถ้วนสมบูรณ์ดี ซึง่ ลักษณะสาคัญทีอ่ าจส่งผลกระทบต่อการทางาน ก็คอื อารมณ์ทไ่ี ม่ม ี
ความคงทีเ่ สมอไปจะมีการเปลีย่ นแปลงไปตามสภาพของการสัมผัสรับรูข้ อ้ มูลข่าวสารอยู่
ตลอดเวลาจึงอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้เสมอ
10. ความหลากหลายของมนุ ษย์ ความแตกต่างกันในด้านต่างๆ ของคน ทาให้ไม่
สามารถจัด ระบบที่เ ป็ น มาตรฐานชัด เจนเกี่ย วกับ คุ ณ สมบัติข องมนุ ษ ย์ไ ด้ ดัง นัน้ การ
ออกแบบระบบให้สอดคล้องกับคุณ สมบัตขิ องคนทีจ่ ะมาทางานรับผิดชอบหน้าที่ โดยการ
คัดเลือกสรรหาให้เหมาะสมกันมากทีส่ ดุ เช่น ความสูง การมองเห็น การตัดสินใจ ปฏิภาณ
ไหวพริบ สุขภาพ ความคล่องแคล่วว่องไว เป็ นต้น

38 HA 233
หลักการของการยศาสตร์ (Ergonomics)
การยศาสตร์เป็ นเรื่องของความเกี่ยวข้องระหว่างคนกับเครื่องจักรและเครื่องมือ
อุปกรณ์ เครือ่ งอานวยความสะดวกในการทางานทีม่ อี งค์ประกอบทัง้ ลักษณะท่าทางในการ
ทางานและขนาดรูปกร่างของคนงาน
1. ลักษณะท่าทางการทางาน
ในการท างานโดยทัว่ ไปนั น้ ร่ า งกายของคนที่ท างานจ าเป็ น จะต้ อ งอยู่ ใ น
ลักษณะท่าทางทีม่ นคงและสบายไม่
ั่ ขดั หรือฝื นไปในทางทีไ่ ม่ปกติ โดยเฉพาะขณะทีม่ กี าร
ออกแรง ดังนัน้ หากมีการคานึงถึงการรักษาท่าทางของการเคลื่อนไหวในการทางานให้ม ี
มาตรฐานทีด่ ไี ด้กจ็ ะช่วยลดการเกิดอุบตั เิ หตุและอันตรายจากการทางานลงได้
1.1 ความส าคัญ ของลัก ษณะท่ า ทางที่เ หมาะสมกับ การท างานในแต่ ล ะ
ลักษณะงาน ได้แก่
1.1.1 การยืน ท างานบนพื้น ที่ม ีค วามคงที่แ ละมัน่ คง ย่ อ มท าให้ก าร
ออกแรงในการทางานเป็ นไปอย่างเหมาะสมสะดวกและมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม
หากการทางานต้องยืนอยู่บนพื้นทีไ่ ม่มคี วามมันคง ่ ทาให้คนทางานต้องกังวลกับการยืน
และต้องพยายามรักษาสมดุลของร่างกายอยู่ตลอดเวลา ก็จะทาให้สูญเสียพลังงานของ
ร่างกายไปโดยไม่จาเป็ นและยังเป็ นสาเหตุของการเกิดความผิดพลาด หรือประสิทธิภาพ
ของ การทางานลดลงได้
1.1.2 ลักษณะท่าทางการทางานที่มคี วามเหมาะสมจะช่วยให้สามารถ
ทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการใช้น้ าหนักของร่างกายเป็ นหลักใน
การออกแรง คือวิธกี ารทีร่ า่ งกายมีทพ่ี งิ ในขณะออกแรง
1.1.3 ลักษณะท่าทาง การทางานของร่างกายทีด่ นี นั ้ ต้องไม่ก่อให้เกิดการ
ขัดขวางกระบวนการทางานของอวัยวะต่างๆ ของร่ างกาย เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต
ระบบหายใจ หรือระบบการย่อยอาหาร
1.1.4 ลัก ษณะท่า ทางการท างานของร่า งกายที่ดีแ ละเหมาะสมนัน้ จะ
ต้องช่วยให้มีการแลกเปลี่ย นความร้อ นระหว่า งร่างกายและสิง่ แวดล้อ มในการทางาน
อย่างเหมาะสม โดยมีการขับเหงื่อทีเ่ หมาะสมกับความหนักของงานหรือความร้อนทีเ่ กิด
จากงาน

HA 233 39
1.1.5 ลัก ษณะท่ า ทางการท างานจะต้อ งสัม พัน ธ์ก ับ การมองเห็น ของ
สายตา นัน่ คือท่าทางการทางานทีม่ นคงั ่ จะต้องให้มกี ารมองเห็นของสายตาในระดับราบ
เพือ่ ลดการเมือ่ ยล้าของกล้ามเนื้อคอและหลัง
ส่วนใหญ่ท่าทางการทางานนัน้ มักถูกกาหนดโดยขนาดและข้อจากัดของ
เครือ่ งจักร บริเวณของสถานที่ จุดควบคุมต่างๆ เป็ นต้น

รูปที่ 4 ลักษณะการทางานในท่ายืน
ทีม่ า http://knowledge.safetyppe.com/jorpor/19/%EO%B8%81%EO%B8%A3---

1.2 หลักการจัดลักษณะท่าทางในการทางานสาหรับบุคคลทีย่ นื ทางาน


1.2.1 ควรปรับ ระดับ ความสู ง ของพื้น ที่ก ารท างานให้ เ หมาะสมกับ
ผูป้ ฏิบตั งิ านทีม่ คี วามสูงแตกต่างกัน
1.2.2 ควรจัด ให้ ม ีท่ี ว างพัก ท าให้ ผู้ ป ฏิ บ ัติ ง านสามารถปรับ เปลี่ ย น
อิรยิ าบถได้หรือสับเปลีย่ นน้าหนักในการยืนเป็ นครัง้ คราวเพือ่ ช่วยลดความเครียดทีบ่ ริเวณ
หลังและขา
1.2.3 ควรจัด ให้ มีแ ผ่ น ปู ร องพื้น ที่เ ป็ น วัส ดุ ท่ีม ีค วามยืด หยุ่ น ไม่ ล่ืน
สะอาดและได้ระดับ หรือจัดทาแท่นรองรับชิน้ งานหรือยกพืน้
40 HA 233
สาหรับผูป้ ฏิบตั งิ านทีม่ คี วามสูงมากหรือเตีย้ ให้สามารถยืนทางาน
ได้อย่างเหมาะสม
1.2.4 ควรจัดให้มบี ริเวณสาหรับการเคลื่อนเท้าไปข้างๆ ไปข้างหน้าและ
ถอยหลังในแนวราบได้โดยไม่มสี งิ่ ของกีดขวาง
1.2.5 ไม่ควรให้ผปู้ ฏิบตั งิ านต้องเอนตัวไปข้างหรือหรือข้างหลัง หรือต้อง
หมุนลาตัวหรือเอียงไปข้าง
1.2.6 ไม่ควรให้ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องเอื้อมมือสูงกว่าระดับความสูงของไหล่
หรือต่ ากว่าระดับทีม่ อื จะหยิบได้ในขณะยืน และไม่ควรให้มกี ารแหงนศีรษะหรือก้มศีรษะ
มากเกินไปด้วยเช่นกัน
1.2.7 ควรจัด ให้ ม ีเ ก้ า อี้ห รือ ที่นั ง่ พัก เพื่อ ให้ ผู้ป ฏิบ ัติง านได้ นั ง่ พัก ใน
ระหว่างช่วงพักได้ดว้ ย
1.2.8 ควรให้ผปู้ ฏิบตั งิ านสวมรองเท้าทีม่ คี วามเหมาะสมพอดีเพื่อรองรับ
และพยุงบริเวณทีเ่ ป็ นส่วนโค้งของเท้า
หลักในการออกแบบโต๊ะทางานสาหรับงานทีต่ อ้ งยืนนัน้ จะต้องมีความสูง
ทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ านยืนแล้วมือทัง้ สองจะต้องอยู่บนพืน้ โต๊ะทางาน ปกติจะต้องต่ากว่าระดับความ
สูงของข้อศอกประมาณ 5-10 เซนติเมตร พร้อมทัง้ มีพน้ื ทีเ่ ผื่อสาหรับวางเครื่องมืออุปกรณ์
และสิง่ ของจาเป็ นอื่นๆ ได้ดว้ ย และหากจาเป็ นต้องมีการวางข้อศอกบนพืน้ โต๊ะทางานนัน้
ด้วย ก็จะต้องมีการยกระดับให้สงู ขึน้ พอดีกบั ข้อศอกด้วย
สาหรับการยืนทางานทีเ่ ท้าข้างหนึ่งจะต้องกดบังคับเครือ่ งจักรตลอดเวลา
นัน้ เป็ นการยืนทีไ่ ม่เหมาะสมอย่างยิง่ เพราะจะทาให้เกิดการกดทับน้ าหนักลงทีส่ ะโพก
และขาอีกข้างหนึ่งทาให้เกิดอาการปวดเมือ่ ยและล้าได้ ฉะนัน้ จึงควรปรับพืน้ ให้อยู่ในระดับ
เดียวกับคันบังคับ เพือ่ ให้สามารถสลับเท้าบังคับได้และสามารถยืนบนเท้าทัง้ สองข้างได้
1.3 หลักการจัดลักษณะท่าทางการทางานสาหรับบุคคลทีน่ ัง่ เก้าอีท้ างาน การ
จัดเก้าอีน้ งทีั ่ ม่ คี วามเหมาะสมเป็ นสิง่ จาเป็ นสาหรับผูป้ ฏิบตั งิ านจะทาให้สามารถปฏิบตั งิ าน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ มีขอ้ เสนอแนะดังนี้
1.3.1 ศีรษะอยู่ในลักษณะสมดุลคืออยู่ก่ึงกลางบนไหล่ทงั ้ สองข้างและ
สายตามองในระดับราบ
1.3.2 ไหล่ทงั ้ สองข้างอยูใ่ นลักษณะธรรมชาติ

HA 233 41
1.3.3 ลาตัวตัง้ ตรงหรือเอนไปข้างหลังเล็กน้อย โดยมีพนักเก้าอีร้ องรับใน
ระดับเอวอย่างเหมาะสม
1.3.4 ขาส่วนบน (ต้นขา) และแขนส่วนล่างทัง้ สองข้างควรอยูใ่ นระดับราบ
1.3.5 ต้นแขนและขาท่อนล่างทัง้ สองข้างควรทามุมกับแนวดิง่ ประมาณ
0 และ 45 องศา
1.3.6 ควรมีบริเวณทีว่ า่ งสาหรับสอดเข่าเข้าไปได้อย่างเหมาะสม
1.3.7 ควรมีพน้ื ทีว่ างเท้าอย่างเหมาะสม
1.3.8 ไม่ควรต้องเอือ้ มหรือบิดโดยไม่จาเป็ น
การนัง่ ทางานโดยปกติโต๊ะทางานควรต่ ากว่าระดับความสูงขอข้อศอก
พอสมควร แต่ถา้ เป็ นงานทีต่ อ้ งการความละเอียดความสูงของโต๊ะทางานก็สามารถปรับให้
เหมาะสมกับการทางานให้ได้ระดับกับการทางานของสายตา ซึง่ โดยปกติแล้วความสูงของ
โต๊ ะ ควรสูง ประมาณความสูง ของเข่า หรือ สูง มากกว่า นัน้ อีก ประมาณ 2-4 เซนติเมตร
สาหรับผู้หญิงที่สวมรองเท้าส้นสูง ดังนัน้ ความสูงของโต๊ะจากพื้นถึงขอบล่างควรจะสูง
ประมาณ 61 เซนติเมตร สาหรับผู้หญิง และ 64 เซนติเมตรสาหรับผู้ชาย สาหรับการ
ทางานโดยทัวไป ่
ส่วนโต๊ะทีเ่ หมาะสาหรับการนัง่ อ่านหนังสือ จะต้องสามารถวางแขนและ
ข้อศอกบนพืน้ โต๊ะได้อย่างสบาย และเก้าอี้ควรเป็ นแบบทีส่ ามารถปรับระดับความสูง -ต่ า
ได้ มีทพ่ี กั เท้าสามารถเคลือ่ นไหวเท้าได้อย่างสบาย
สาหรับเก้าอีน้ งท
ั ่ างานนัน้ จากการศึกษาได้มขี อ้ เสนอแนะไว้ดงั นี้
1. ควรปรับระดับความสูงของที่นัง่ ได้โดยให้มคี วามสูงระหว่าง 40-53
เซนติเมตร
2. พนักพิงควรให้สามารถปรับได้ในแนวดิง่ จาก 15-24 เซนติเมตรจาก
ระดับทีน่ งั ่
3. พนักพิงควรปรับระดับในแนวลึกจากขอบทีน่ งด้ ั ่ านหน้าระหว่าง 34-44
เซนติเมตร
4. ทีน่ งควรมี
ั่ ขนาดความลึก 35 เซนติเมตร
5. ควรมีความมันคงแข็
่ งแรง ไม่โยกหรือเลือ่ นไปมา
6. ควรเคลือ่ นไหวได้อย่างอิสระ

42 HA 233
7. ควรให้เท้าวางราบบนพืน้ หรือควรจัดให้มที ว่ี างพักเท้าได้ดว้ ย
8. ด้านหน้าของขอบเก้าอีค้ วรให้มนโค้งเล็กน้อย
9. ห้ามหุ้มเก้าอี้ด้วยเนื้อผ้าที่อากาศไหลผ่านได้ง่ายเพื่อป้องกันการลื่น
ออกจากเก้าอีข้ ณะนัง่

รูปที่ 5 ลักษณะการทางานในท่านัง่
ทีม่ า http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/181/

เครือ่ งมือและอุปกรณ์ควบคุม
การป้องกันปญั หาทีอ่ าจเกิดขึน้ กับสุขภาพร่างกายของผูป้ ฏิบตั งิ าน และ
ประสิทธิภาพของการทางานเพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้ องการ จึงควรมีการออกแบบและ
เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ท่มี คี วามเหมาะสม ได้รบั การออกแบบตามหลักการยศาสตร์
ซึง่ มีขอ้ แนะนาดังนี้
1. ควรหลีกเลีย่ งการใช้เครือ่ งมืออุปกรณ์ทไ่ี ม่มคี ุณภาพ
2. ควรเลือ กใช้เ ครื่อ งมือ อุ ป กรณ์ ท่ีผู้ป ฏิบ ัติง านสามารถใช้ไ ด้อ ย่ า ง
เหมาะสมกับการออกแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น บริเวณหัวไหล่ แขน ขา มากกว่าการ
ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณข้อมือ และนิ้วมือ

HA 233 43
3. หลีกเลีย่ งการหยิบจับเครื่องมืออุปกรณ์ในท่าทางทีต่ อ้ งเอี้ยว บิดหรือ
งอข้อมือ รวมทัง้ การถือยกเครือ่ งมืออุปกรณ์เป็ นเวลานานๆ
4. เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ท่มี ดี า้ มจับยาวพอเหมาะกับการใช้งาน เพื่อ
ช่วยลดแรงกดทับของฝา่ มือและนิ้วมือ
5. หลีกเลีย่ งการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทม่ี ชี ่องว่างระหว่างด้ามจับ ซึ่งอาจ
ทาให้เกิดอุบตั เิ หตุบริเวณนิ้วมือขึน้ ระหว่างการทางานได้
6. เลือกใช้เครือ่ งมืออุปกรณ์ทส่ี ามารถใช้ได้ถนัดทัง้ มือซ้ายและมือขวา
7. ด้ามจับควรมีฉนวนกันไฟฟ้าได้เป็ นอย่างดี ไม่มแี ง่มุมทีแ่ หลมคมและ
มีวสั ดุกนั ลืน่ หุม้ ด้ามจับด้วย
8. เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทม่ี นี ้ าหนักสมดุลเสมอกันและใช้ในตาแหน่ ง
ทีเ่ หมาะสม
9. มีการดูแลบารุงรักษาเครือ่ งมืออุปกรณ์อย่างถูกต้องเหมาะสม
ส่วนอุปกรณ์ควบคุมนัน้ ควรมีการออกแบบให้เหมาะสมกับผูป้ ฏิบตั งิ าน
ดังนี้
1. สวิต ช์ค วบคุ ม คัน โยกและปุ่ม ควบคุ ม ควรอยู่ใ นระยะที่ผู้ป ฏิบ ตั ิงาน
สามารถเอือ้ มถึงและควบคุมได้สะดวกในตาแหน่งของการปฏิบตั งิ านตามปกติ
2. เลือกอุปกรณ์ควบคุมทีเ่ หมาะสมกับสภาพของงาน เช่น การควบคุม
ด้วยมือควรเป็ นงานทีต่ ้องการความละเอียดและรวดเร็ว ส่วนงานทีต่ ้องออกแรงหรืองาน
หนักควรเลือกอุปกรณ์ควบคุมด้วยเท้า
3. อุปกรณ์ควบคุมด้วยมือควรใช้ได้กบั มือทัง้ ข้างซ้ายและข้างขวา
4. อุปกรณ์ควบคุมแบบไกปื น ควรออกแบบให้สามารถใช้น้ิวควบคุมได้
หลายนิ้ว
5. อุปกรณ์ควบคุมฉุกเฉินควรมีลกั ษณะทีแ่ ตกต่างอย่างเห็นได้ชดั เจน
การทางานทีต่ อ้ งใช้แรงมาก
การทางานที่ต้องใช้แรงมากจากผู้ปฏิบตั งิ านนัน้ ควรจะมีเครื่องอานวย
ความสะดวกช่วยทุ่นแรง เพื่อช่วยลดความเสีย่ งในการทางานของผูป้ ฏิบตั งิ านและยังช่วย
ทาให้ได้งานเพิม่ ขึน้ อีกด้วย ซึง่ มีขอ้ แนะนาดังนี้

44 HA 233
1. ไม่ควรให้ผปู้ ฏิบตั งิ านออกแรงมากเกินกาลังของแต่ละคน
2. ควรให้ผู้ปฏิบตั งิ านที่ต้องทางานที่ใช้แรงมากได้มโี อกาสทางานเบา
สลับบ้าง
3. ควรจัดให้มชี ว่ งระยะเวลาพักในช่วงของการทางาน
สิง่ ทีค่ วรพิจารณาในการออกแบบงานทีต่ อ้ งใช้แรงมาก ได้แก่
1. น้าหนักของวัสดุสงิ่ ของ
2. ความถีใ่ นการทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ านต้องยกเคลือ่ นย้ายวัสดุสงิ่ ของ
3. ระยะทางทีต่ อ้ งมีการยกเคลือ่ นย้ายวัสดุสงิ่ ของ
4. รูปร่าง ขนาดของวัสดุสงิ่ ของทีต่ อ้ งยก
5. ระยะเวลาทีท่ างาน
วิธกี ารแก้ไขการทางานทีต่ อ้ งใช้แรงมาก
1. การลดน้ า หนัก ของวัส ดุ ส ิ่ง ของโดยการลดขนาดของภาชนะบรรจุ
ลดจานวนวัสดุสงิ่ ของทีต่ อ้ งยกเคลื่อนย้ายในแต่ละครัง้ หรือเพิม่ จานวนผูป้ ฏิบตั งิ านในการ
ยกวัสดุสงิ่ ของ
2. ทาให้วสั ดุสงิ่ ของนัน้ สะดวกต่อการยกเคลือ่ นย้าย
3. ใช้เทคนิควิธกี ารจัดเก็บทีท่ าให้การเคลือ่ นย้ายง่ายยิง่ ขึน้
4. ลดระยะทางทีต่ อ้ งเคลือ่ นย้ายให้น้อยทีส่ ดุ
5. หลีกเลีย่ งการทางานทีผ่ ดิ ท่าทางปกติดว้ ยการเอีย้ วตัวหรือบิดลาตัวให้
มากทีส่ ดุ

ขนาดโครงสร้างร่างกายของคน
การออกแบบงานและสถานทีท่ างานจาเป็ นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องพิจารณาถึงขนาดและ
ลักษณะโครงสร้างร่างกายของคนเข้ามาประกอบ เนื่องจากความแตกต่างกันของบุคคลใน
แต่ละเชื้อชาติ เพื่อให้การทางานนัน้ เพิม่ ประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ การออกแบบงานและ
บริเวณสถานที่ทางานที่ดมี คี วามเหมาะสมย่อมทาให้ผูป้ ฏิบตั งิ านทางานด้วยความรูส้ กึ
สะดวกสบายปราศจากความเครียดและความเค้นทัง้ หลาย
จากการศึกษาวิจยั ขนาดร่างกายของผู้ใช้แรงงานของ ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิตกิ ุล
และคณะ โดยการเก็บตัวอย่างจากสถานประกอบต่างๆ ทัง้ ของเอกชนและรัฐวิสาหกิจ 23

HA 233 45
แห่ง จานวน 2,189 ตัวอย่าง แบ่งเป็ นเพศชาย 1,478 ตัวอย่าง เพศหญิง 711 ตัวอย่าง
ส่วนใหญ่ อายุระหว่า ง 21-31 ปี (ร้อยละ 51.5) รองลงมาคือ 31-40 ปี (ร้อ ยละ 32.1)
ผลการวิจยั พบว่า ขนาดของร่างกายของหญิงและชายไทยในท่ายืนและนัง่ โดยเฉลีย่ ดัง
ตารางแสดงต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐานของขนาดร่างกายทุกสัดส่วนในกลุ่มตัวอย่าง


เพศหญิงและเพศชาย (หน่วยวัดเป็ นเซนติเมตร)
หญิง ชาย
ขนาดของร่างกาย
เฉลีย่ SD เฉลีย่ SD
ท่ายืน
น้าหนักตัว (กก.) 50.8 6.4 59.2 8.7
ความสูงร่างกาย 154.0 5.0 165.4 5.9
ความสูงตา 143.1 4.8 154.0 5.6
ความสูงของไหล่ 127.1 4.7 137.4 5.3
ความสูงกาปนั ้ 67.4 3.1 73.0 3.5
ความสูงข้อศอก 94.7 3.8 102.4 4.2
ระยะไหล่ถงึ กาปนั ้ 59.7 3.1 64.4 3.1
ความกว้างไหล่ 40.6 2.3 44.2 2.4
ความกว้างสะโพก 30.5 1.6 30.8 1.7
ระยะห่างระหว่างข้อศอก 80.2 3.9 86.5 3.9
ความยาวเท้า 23.0 1.1 25.0 1.2
ท่านัง่
ความสูงขณะนัง่ 81.7 2.7 87.2 3.2
ความสูงของตา 70.9 7.7 76.3 3.0
ความสูงของไหล่ 54.7 2.4 59.4 2.7
ความสูงขอข้อศอก 22.3 2.3 24.4 2.4
ความหนาต้นขา 13.4 1.2 14.2 1.4
ความหนาหน้าท้อง 21.5 2.5 22.4 2.9
ความสูงขา 36.6 1.9 39.3 2.1
ั ่ งกาปนั ้
ระยะพืน้ ทีน่ งถึ 4.1 2.6 3.9 2.8

แหล่งทีม่ าของข้อมูล: กรมแรงงาน, 2530 : 42-43

46 HA 233
การตรวจสอบด้านจิ ตวิ ทยาการยศาสตร์
ในการปฏิบตั ิงานใดๆ ก็ตามขนาดของเครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจัก รจะมีความ
เหมาะสมสอดคล้องกับขนาดรูปร่างและท่าทางในการทางานของคนงานหรือไม่นนั ้ จาเป็ น
จะต้องมีการสารวจเพื่อการนาข้อมูลมาวิเคราะห์และหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง
ต่อไป ซึ่งทาได้โดยการใช้แบบสารวจ (Checklist) โดยเจ้าหน้ าที่รกั ษาความปลอดภัย
คณะกรรมการความปลอดภัยของหน่ วยงาน หรือพนักงานตรวจแรงงานจากหน่ วยงาน
ราชการต่างๆ ก็ได้ การตรวจเพื่อให้ทราบสภาวะหรือสถานการณ์ของโรงงานนัน้ ว่าได้ม ี
การดาเนินการเกีย่ วกับวิทยาการจัดสภาพแรงงานอย่างไร ซึง่ ก่อนการตรวจ ผูส้ ารวจควร
มีการเตรียมอ่านแบบสารวจเพือ่ ทาความเข้าใจทัง้ หมดอย่างละเอียด แล้วจึงเดินดูให้ทวทั
ั ่ ง้
สถานที่ทางาน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับกระบวนการผลิตและบริเวณต่างๆ ในโรงงาน
แล้วจึงเริม่ ทาการสารวจโดยแบบสารวจอย่างละเอียด ดังนี้

แบบสารวจทางด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ
คาชี้แจง ผูส้ ารวจอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วโปรดแสดงความคิดเห็นโดยการ
ทาเครือ่ งหมาย / ลงในช่องทีต่ รงกับความคิดเห็นของท่าน

จาเป็ นต้องปรับปรุงหรือไม่
ข้อความ
ไม่จาเป็ น จาเป็ น ข้อเสนอแนะ
1. จุดหรือตาแหน่ งในการทางาน
1.1 อิ ริยาบถในการทางาน
1.1.1 เปลีย่ นวิธกี ารทางานเพือ่ ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านมีโอกาส
เปลีย่ นท่ายืนบ้าง นังบ้ ่ างในขณะทางาน
1.1.2 จัดให้มรี ะยะห่างทีเ่ พียงพอกับงานทีต่ อ้ งการ
เปลีย่ นตาแหน่งวางเท้าบ่อยๆ
1.1.3 จัดเก้าอีท้ น่ี งสบายให้
ั่ กบั ผูป้ ฏิบตั งิ านทีต่ อ้ งยืน
ทางานให้ได้นงบ้ ั ่ างเป็ นครัง้ คราว
1.1.4 เปลีย่ นโครงสร้างของเครือ่ งจักร และตาแหน่ง
วัสดุหรือเครือ่ งมือ เพือ่ หลีกเลีย่ งท่าทางานทีไ่ ม่
เป็ นธรรมชาติ เช่น ตัวงอ บิดตัว หรือนังงอเข่ ่ า
1.1.5 กระตุน้ ให้ผทู้ างานระลึกว่า ท่าการยกของ

HA 233 47
จาเป็ นต้องปรับปรุงหรือไม่
ข้อความ
ไม่จาเป็ น จาเป็ น ข้อเสนอแนะ
1.2 พืน้ ที่ทางาน
1.2.1 หลีกเลีย่ งการทางานทีต่ อ้ งก้ม สาหรับผูท้ ต่ี อ้ งยืน
ทางาน โดยปรับระดับความสูงของเครือ่ งมือ
ระบบควบคุมหรือระดับพืน้ ทีท่ างาน
1.2.2 จัดโต๊ะทางานทีม่ คี วามสูงพอเหมาะกับความสูง
ของเก้าอีส้ าหรับผูป้ ฏิบตั งิ านทีน่ งเก้
ั ่ าอี้
1.2.3 หลีกเลีย่ งการทางานทีต่ อ้ งใช้มอื เอือ้ มโดยการจัดที่
วางเท้าหรือยกพืน้
1.2.4 จัดพืน้ ทีท่ างานหรือโต๊ะทางานให้มเี นื้อทีก่ ว้าง
สาหรับผูป้ ฏิบตั งิ านแต่ละคน
1.2.5 เคลื่อนย้ายส่วนของวัสดุทย่ี น่ื ออกมาอยูเ่ หนือหรือ
ใกล้บริเวณทีท่ างาน เพือ่ ความปลอดภัยและมี
ประสิทธิภาพในการทางานยิง่ ขึน้
1.3 เก้าอี้
1.3.1 จัดเก้าอีห้ รือม้านังที ่ ม่ คี วามสูงพอเหมาะหรือ
สามารถปรับระดับความสูงได้ สาหรับผูป้ ฏิบตั งิ าน
แต่ละคน
1.3.2 เลือกทีร่ องนังที ่ ม่ ขี นาดเหมาะสม
1.3.3 เลือกใช้วสั ดุหุม้ ทีเ่ ป็ นเบาะรองพักหลังทีม่ ขี นาด
เหมาะสม
1.3.4 จัดหาเก้าอีท้ เ่ี ป็ นเบาะรองพักหลังทีม่ ขี นาด
เหมาะสม
1.3.5 เปลีย่ นโต๊ะทางาน หรือออกแบบเปลีย่ นโครงสร้าง
เครือ่ งจักรเพือ่ ช่วยให้นงท ั ่ างานได้อย่างสบาย
1.4 ระยะห่างสาหรับวางเท้า
1.4.1 จัดระยะห่างสาหรับเข่าและเท้าให้กว้างพอทีจ่ ะ
เคลื่อนไหวได้สะดวก
1.4.2 มีชอ่ งว่างทีก่ ว้างพอให้ผปู้ ฏิบตั งิ านนังหรื่ อยืนได้
อย่างสะดวก
1.4.3 จัดให้มที พ่ี กั เท้า แท่นยืน

48 HA 233
จาเป็ นต้องปรับปรุงหรือไม่
ข้อความ
ไม่จาเป็ น จาเป็ น ข้อเสนอแนะ
1.4.4 หลีกเลีย่ งการทาพืน้ ทีไ่ ม่เรียบเสมอกัน หรือมี
ความสูงต่างระดับ โดยเฉพาะบริเวณทีเ่ ป็ นจุด
ทางาน
2. เครื่องมือทางาน
2.1 ระบบควบคุมที่เข้าถึงได้ง่าย
2.1.1 จัดวางระบบควบคุมการทางานทีใ่ ช้บ่อยให้
ผูป้ ฏิบตั งิ านเข้าถึงได้งา่ ย
2.1.2 เปลีย่ นแปลงแก้ไขขนาด หรือลักษณะของเครือ่ ง
ควบคุมให้สามารถทางานในตาแหน่งปกติได้
สะดวก
2.1.3 หลีกเลีย่ งการใช้เครือ่ งมือทีใ่ ช้เท้าเหยียบสาหรับ
งานทีต่ อ้ งยืน
2.1.4 เปลีย่ น ย้ายตาแหน่งของระบบควบคุมเพือ่
หลีกเลีย่ งการรบกวนจากการเคลื่อนย้ายวัสดุ
หรือส่วนของเครือ่ งจักร
2.2 การทางานของระบบควบคุม
2.2.1 เลือกแบบระบบควบคุม (รูป ทรง ขนาด วัสดุท่ี
ใช้) ทีเ่ หมาะสมกับการใช้งาน ขอบเขตการใช้
และอัตราความถีข่ องการเคลื่อนย้าย
2.2.2 ตรวจดูวา่ ระบบควบคุม ทางานเป็ นไปตาม
ทิศทางโดยธรรมชาติ โดยปรับให้เข้ากับท่าทาง
และทิศทางการใช้ของผูใ้ ช้และสอดคล้องกับ
สามัญสานึกในการใช้
2.2.3 ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม่มกี ารใช้ระบบควบคุม
ใดๆ โดยไม่ตงั ้ ใจหรือระบบควบคุมนัน้ ปรับไม่ได้
2.2.4 เปลีย่ นระบบควบคุมสาหรับฉุกเฉินให้มคี ุณภาพ
2.2.5 แสดงตาแหน่ง “เปิด” “ปิด” สาหรับสวิตช์ทส่ี าคัญ
ให้เห็นได้งา่ ยและชัดเจน
2.2.6 ทาสวิตช์โดยการเปลีย่ นตาแหน่ง ขนาด หรือ
รูปทรงต่างๆ ให้ชดั ว่าต่างประเภทกัน

HA 233 49
จาเป็ นต้องปรับปรุงหรือไม่
ข้อความ
ไม่จาเป็ น จาเป็ น ข้อเสนอแนะ
2.3 เครื่องมือ
2.3.1 เลือกแบบเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสมกับงานและการใช้
2.3.2 เลือกเครือ่ งมือทีม่ ขี นาดและรูปทรงพอเหมาะแก่
การใช้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
2.3.3 ปรับปรุงเครือ่ งมือ หรือใช้เครือ่ งมือ เลือกเพือ่ ช่วย
ลดการใช้เครือ่ งมือออกแรง
2.3.4 ตรวจดูให้แน่ใจว่า เครือ่ งมือเก็บอยูใ่ นทีท่ ม่ี ี
เครือ่ งหมายแสดงอย่างชัดเจนเมือ่ ไม่ได้ใช้งาน
2.3.5 ตรวจสอบเครือ่ งมืออย่างสม่าเสมอ เพือ่ หลีกเลีย่ ง
การใช้เครือ่ งมือทีช่ ารุด หรือใช้การไม่ได้
3. การจัดระบบงาน
3.1 การเครียดที่เกิ ดจากการทางาน
3.1.1 ใช้เครือ่ งยนต์แทนการใช้แรงงานคนสาหรับงาน
หนัก เช่น การยกหรือแบกของหนัก
3.1.2 สนับสนุนให้มกี ารใช้เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ท่ี
เหมาะสม หรือเครือ่ งผ่อนแรงอื่นเมือ่ จาเป็ น
3.1.3 มีการสับเปลีย่ นการทางาน โดยใช้แรงงานหนัก
บ้าง เบาบ้าง
3.1.4 เปลีย่ นโครงสร้างของเครือ่ งจักรเพือ่ ให้สามารถ
ทางานในท่าทีส่ บายขึน้
3.1.5 เปลีย่ นมาตรฐานของงานเพือ่ ให้คนมีโอกาส
ทางานเสร็จเร็วกว่าแผนงานทีก่ าหนดไว้เพือ่ จะได้
มีชว่ งพักสัน้ ๆ
3.2 งานที่ซา้ ซากจาเจ
3.2.1 หลีกเลีย่ งการทางานทีใ่ ช้อริ ยิ าบถซ้าซากและทา
ติดต่อกันเป็ นเวลานานๆ
3.2.2 ทางานหลายๆ ประเภทสลับกันไป เพือ่ ลดความ
จาเจในการทางานซ้าซาก
3.2.3 พยายามให้มกี ารสับเปลีย่ นทางานประเภทอื่นๆ
บ้างแทนการทางานง่ายๆ ทีซ่ ้าซาก
3.2.4 จัดให้มชี ว่ งเวลาพักสัน้ ๆ หลังจากทางานชนิด
เดียวกันติดต่อกันเป็ นเวลา 1-2 ชัวโมง

50 HA 233
จาเป็ นต้องปรับปรุงหรือไม่
ข้อความ
ไม่จาเป็ น จาเป็ น ข้อเสนอแนะ
3.3 การติ ดต่อพูดคุย และฝึ กความชานาญ
3.3.1 ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านได้มโี อกาสพูดคุยกันบ้างในขณะ
ทางาน
3.3.2 หลีกเลีย่ งการให้ผปู้ ฏิบตั งิ านไปทางานในทีท่ แ่ี ยก
ออกจากผูอ้ ่นื
3.3.3 ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านได้ทราบถึงปริมาณ และคุณภาพ
ของงานทีพ่ วกเขาได้ทาไป
3.3.4 เพิม่ งานด้านการดูแลรักษา การปรับปรุงและการ
วางแผนให้แก่ผทู้ างาน โดยใช้แรงกายอย่าง
สม่าเสมอ และให้ผทู้ างานด้านอื่นได้ทางาน
ประเภทใช้แรงกายบ้าง
3.3.5 ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านมีทางเลือกเกีย่ วกับวิธดี าเนินงาน
รวมทัง้ ความรับผิดชอบต่อผลงาน
3.3.6 รวมงานเข้าด้วยกัน เพือ่ จัดตัง้ กลุ่มผูท้ างานให้
รับผิดชอบตามหน้าทีท่ ไ่ี ด้รบั มอบหมาย
3.4 เวลาทางานและเวลาพัก
3.4.1 หลีกเลีย่ งการทางานแต่ละวัน หรือแต่ละสัปดาห์ท่ี
ยาวนานเกินไป
3.4.2 ให้ผปู้ ฏิบตั งิ านได้มเี วลาพักนานพอสมควร
สาหรับรับประทานอาหารกลางวัน
3.4.3 จัดให้มชี ว่ งเวลาพักสัน้ ๆ เพิม่ จากเวลาพัก
รับประทานอาหารตอนกลางวัน
3.4.4 หลีกเลีย่ งการทางานกลางคืน หรือลดจานวน
ผูป้ ฏิบตั งิ านผลัดกลางคืนให้เหลือเท่าทีจ่ าเป็ น

แหล่งทีม่ าของข้อมูล: พัชรา กาญจนารัณย์, 2544: 38-43

HA 233 51
52 HA 233

You might also like