Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

á¾·Âìàµ×͹¤¹·Ó “¤Í¹à·¹µì” ÍѹµÃÒÂ!

à»Ôº
¤éÒ§¤ÒÇ áÁéÊØ¡¡çàÊÕè§ÃѺàª×éÍ à˵Øà»ç¹ÊѵÇìÃѧâä

แพทย์เตือนข้อมูลอันตราย! หลังคนทำคอนเทนต์กินค้างคาว หมอจุฬาฯ ชี้แม้ปรุงสุก


ก็เสี่ยงรับเชื้อ ขนาดนักวิจัยที่ไปเก็บตัวอย่างสัตว์ป่า ยังต้องสวมชุดป้องกันส่วนบุคคล(PPE)
ซึ่งคนทั่วไปแทบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย ย้ำ! สัตว์ป่าทุกอย่างเราต้องปล่อยเขาอยู่ในป่า ไม่ควร
สัมผัส หรือบริโภค ด้านกรมควบคุมโรคชี้ค้างคาวเป�นสัตว์ป่า บินสูง ไม่น่าจับมากินได้ง่าย ถ้า
จับได้อาจตกลงมากับพื้น แสดงว่าอาจป่วย ทางที่ดีไม่ควรรับประทาน
จากกรณีที่ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน” นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์ข้อความ
ผ่านเพจเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า เตือนกรณีคุณครูสาวรายหนึ่ง ทำคอนเทนต์ท้าลองเมนูสุด
สยองรับประทาน “ค้างคาว” ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลว่าอาจจะเกิดโรคระบาดแปลกๆ ได้
อย่างที่เคยเกิดโรคโควิด-19
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า สำหรับการเข้าป่าไปหาของแปลก สัตว์
แปลกมารับประทานมีอันตรายอย่างแน่นอน โดยสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติเป�นแหล่งรังโรคที่มนุษย์
ยังไม่เคยสัมผัส ซึ่งบางชนิดก็ติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คนได้ โดยเฉพาะค้างคาวที่มีไวรัสเยอะมาก เช่น
ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีโบล่า(Ebola) ไวรัสนิปาห์ (Nipah virus) ทื่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ
รวมถึงไวรัสโคโรน่า(Corona virus) ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ได้ด้วย และอีกหลายตัว ดังนั้น ไม่
ควรไปสัมผัสกับค้างคาว เพราะสัตว์รังโรคมักไม่แสดงอาการป่วย เราจึงไม่แนะนำให้กินสัตว์ป่าทุก
ชนิด เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตั้งแต่ขั้นตอนการเข้าไปจับ อย่างค้างคาวที่อยู่ในถ้ำ เป�น
ระบบป�ด อยู่กันเป�นกลุ่มก้อน ขับถ่ายอยู่ถ้ำ ก็มีโอกาสสัมผัสเชื้อได้ เพราะเจอว่ามีเชื้อไวรัสโคโรน่า
ที่อยู่ในป�สสาวะค้างคาว แต่ยังไม่กระโดดมาคน แต่วันหนึ่งถ้าไวรัสเก่งขึ้น ก็กระโดดมาคนได้ ที่
ผ่านมามีรายงานพบเชื้อโรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis) ทำให้เกิดเชื้อราในคนที่เข้าไปใน
ถ้ำค้างคาว เกิดภาวะปอดอักเสบ ส่วนก่อนจะนำค้างคาวมาปรุงสุก ก็ต้องผ่านขั้นตอน เช่น ถลก
เนื้อ ล้างเนื้อ ซึ่งก็มีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของค้างคาว
ถามต่อว่ามีคำแนะนำผู้ที่ทำคอนเทนต์เช่นนี้อย่างไร ผศ.นพ.โอภาส กล่าวว่า แนะนำว่าไม่
ควรทำ เพราะมีโอกาสจะที่ปนเป��อนเชื้อโรคได้ ขนาดนักวิจัยที่ไปเก็บตัวอย่างสัตว์ป่า ยังต้องสวม
ชุดป้องกันส่วนบุคคล(PPE) ซึ่งคนทั่วไปแทบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเลย ฉะนั้น ก็เสี่ยงอันตรายได้
รวมถึงการกินอาหารไม่สุกก็มีโอกาสติดเชื้อโรคทั้งแบคทีเรียและไวรัส ดังนั้น สัตว์ป่าทุกอย่างเรา
ต้องปล่อยเขาอยู่ในป่า ไม่ควรสัมผัส หรือบริโภค
ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงค์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิท ยา กรมควบคุม โรค
กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า พฤติกรรมการรับประทานค้างคาว ถือว่าไม่ควรรับประทาน
เนื่องจากค้างคาวเป�นสัตว์ป่า และปกติมีคลื่นโซนาร์ในตัว ประกอบกับเป�นสัตว์ที่บินสูง ไม่น่าที่จะ
จับมารับประทานได้ง่าย ถ้าจับได้ง่าย หรือตกลงกับพื้น แสดงว่าค้างคาวตัวนั้นอาจเป�นโรค การ
ติดเชื้อจากค้างคาวก็เหมือนกับการติดเชื้อไข้หวัดนก ที่ไม่ได้เป�นการติดเชื้อจากรับประทาน
เพราะการปรุงสุกเชื้อก็ตายหมด แต่เป�นการติดเชื้อระหว่างการปรุงมากกว่า เพราะขั้นตอนการ
ปรุง ต้องจับถอนขน สัมผัสสารคัดหลั่ง ก็อาจเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อทั้งไวรัส และแบคทีเรีย

You might also like