Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

รายวิชา ค31101 คณิตศาสตร์ 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เซต
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ผู้สอน นายชัยรัตน์ มีมา
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพาเวอร์เซตและเอกภพสัมพัทธ์ เวลาการจัดการเรียนรู้ 1 คาบ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของ
จำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้

2. ตัวชี้วัด
ค 1.1 ม.4/1 เข้ า ใจและใช้ค วามรู ้ เกี ่ ยวกั บเซตและตรรกศาสตร์เ บื ้อ งต้ น ในการสื่ อสารและสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
1) นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของเอกภพสัมพัทธ์ และเพาเวอร์เซตได้
2) นักเรียนสามารถหาเพาเวอร์เซตของเซตที่กำหนดให้ได้
3) นักเรียนสามารถระบุจำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซตของเซตที่กำหนดให้ได้
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
1) นักเรียนสามารถให้เหตุผลในการอธิบายเพาเวอร์เซตจากเซตที่กำหนดให้ได้
2) นักเรียนสามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับเซตในการสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ได้
ด้านคุณลักษณะ (A)
1) ทำความเข้าใจหรือสร้างกรณีทั่วไปโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษากรณีตัวอย่างหลายๆกรณี
2) สร้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตนเองหรือโตแย้งแนวคิดของผู้อนื่ อย่างสมเหตุสมผล
4. สาระสำคัญ
1) เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่กำหนดขึ้น โดยมีข้อตกลงว่าจะไม่กล่าวถึงเซตใดๆ นอกเหนือไปจาก
สมาชิกของเซตที่กำหนดขึ้นนี้ เขียนแทนด้วย 𝑢
2) เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตของสับเซตทั้งหมดของเซต A เขียนแทนด้วย P(A)
3) จำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซตของเซต A ก็คือ จำนวนสับเซตทั้งหมดของเซต A ถ้า A มีสมาชิก n
ตัว แล้ว n(P(A)) = 2n

5. สาระการเรียนรู้
เพาเวอร์เซต (Power Set)
นิยาม
เซตของสับเซตทั้งหมดของเซต A เรียกว่า เพาเวอร์เซตของเซต A เขียนแทนด้วย P(A)

ตัวอย่าง 16 กำหนด A = {3, 4}


แล้ว P(A) = {∅, {3}, {4}, {3, 4}}
ตัวอย่าง 17 กำหนด A = {∅, {∅}}
แล้ว P(A) = {∅, {∅}, {{∅}}, {∅, {∅}}}
ตัวอย่าง 18 กำหนด A = {2} จงหา P(P(A))
P(A) = {∅, {2}}
P(P(A)) = {∅, {∅}, {{2}}, {∅, {2}}}
ข้อสังเกต
จำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซตของเซต A ก็คือ จำนวนสับเซตทั้งหมดของเซต A
ถ้า A มีสมาชิก n ตัว แล้ว n(P(A)) = 2n

เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)


นิยาม
เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่กำหนดขึ้น โดยมีข้อตกลงว่าจะไม่กล่าวถึงเซตใดๆ
นอกเหนือไปจากสมาชิกของเซตที่กำหนดขึน้ นี้ เขียนแทนด้วย 𝑢
ตัวอย่าง 14 กำหนดเอกสัมพัทธ์เป็นเลขจำนวนเต็มลบ และ A = {x | x ≤ 1} จงเขียน A แบบแจก
แจงสมาชิก
ดังนั้น A = {-1, -2, -3, …}
ตัวอย่าง 15 กำหนดเอกสัมพัทธ์เป็นเลขจำนวนเต็มบวก และ A = {x | x2 – x – 6 = 0} จงเขียน A
แบบแจกแจงสมาชิก
ดังนั้น A = {3}
หมายเหตุ ถ้ากล่าวถึงเซตของจำนวนและไม่ได้กำหนดว่าเซตใดเป็นเอกภพสัมพัทธ์ ให้ถือว่า
เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตของจำนวนจริง
เช่น A = {x | x2 – 2x = 0} แสดงว่า 𝑢 = R

6. สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
1) ความสามารถในการสื่อสาร
2) ความสามารถในการคิด
3) ความสามารถในการแก้ปัญหา

7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1) ทำงานอย่างเป็นระบบ
2) มีระเบียบวินัย
3) มีความรอบคอบ
4) มีความรับผิดชอบ

8. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1) ครูทบทวนความรู้เรื่องสับเซต โดยใช้คำถามกระตุ้น
- เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของ
เซต B เขียนแทนด้วย A  B
- เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวในเซต A ไม่
เป็นสมาชิกของเซต B เขียนแทนด้วย A  B
- เซต A เป็นสับเซตแท้ของเซต B ก็ต่อเมื่อ A  B แต่ A ≠ B
- ถ้าเซต A เป็นเซตที่มีสมาชิก n ตัว แล้วจำนวนสับเซตของเซต A จะมี 2n เซต และ
ในจำนวนนี้เป็นสับเซตแท้ 2n – 1 เซต
2) ครูและนักเรียนร่วมกันทำแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เซต หน้า 8 ข้อ 9
และอภิปรายถึงคำตอบที่ถกู ต้อง
9. จงหาสับเซตทั้งหมดของเซตที่กำหนดให้
1) E = {a, {b}}
สับเซตทั้งหมดของ E ได้แก่ ∅, {a}, {{b}}, {a, {b}}
2) F = {1, {2, 3}}
สับเซตทั้งหมดของ F ได้แก่ ∅, {1}, {{2, 3}}, {1, {2, 3}}
3) G = {{1}}
สับเซตทั้งหมดของ G ได้แก่ ∅, {{1}}
4) H = {0, {1}, {2}}
สับเซตทั้งหมดของ H ได้แก่ ∅, {0}, {{1}}, {{2}}, {0, {1}}, {0, {2}},
{{1}, {2}}, {0, {1}, {2}}
ขั้นสอน
1) ครูให้นักเรียนพิจารณาเซต A = {1, 3} แล้วครูใช้คำถามเป็นแนวทางการพิจารณา ดังนี้
- สับเซตทั้งหมดของเซต A ได้แก่อะไรบ้าง (สับเซตทั้งหมดของ A ได้แก่ ∅, {1}, {3},
{1, 3})
- เขียนเซตใหม่ที่มีสับเซตทั้งหมดของเซต A เป็นสมาชิก ได้อย่างไร {∅, {1}, {3},
{1, 3}})
ครูแนะให้นักเรียนสังเกตเห็นว่า เซตที่ได้เรียกว่า เพาเวอร์เซตของเซต A
2) เมื่อนักเรียนสังเกตเห็นแล้วว่า เซตใหม่ที่มีสับเซตทั้งหมดของเซต A เป็นสมาชิก จากนั้ น
ครูชี้ให้นักเรียนเห็นว่า เราเรียกเซตลักษณะนี้ว่า เพาเวอร์เซตของเซต A
3) ครูให้นักเรียนพิจารณานิยามของเพาเวอร์เซต
3.1) เซตของสับเซตทั้งหมดของเซต A เรียกว่า เพาเวอร์เซตของเซต A เขียนแทน
ด้วย P(A)
4) ครูให้นักเรียนพิจารณาตัวอย่าง 16 และตัวอย่าง 17 เพื่อพิจารณาว่าควรสรุปว่าอย่างไร
ตัวอย่าง 16 กำหนด A = {3, 4}
จะได้ว่า P(A) = {∅, {3}, {4}, {3, 4}}
ตัวอย่าง 17 กำหนด A = {∅, {∅}}
จะได้ว่า P(A) = {∅, {∅}, {{∅}}, {∅, {∅}}}
5) ครูกับนักเรียนร่วมกันพิจารณา โดยครูชี้แนะให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ของจำนวนสับ
เซตกับจำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซต เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปว่า จำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซตของเซต
A ก็คือ จำนวนสับเซตทั้งหมดของเซต A
6) ครูใช้คำถามกระตุ้น เพื่อเป็นแนวทางการพิจารณา ดังนี้
- ถ้าเซต A มีสมาชิก n ตัว แล้วเพาเวอร์เซตของเซต A มีสมาชิกกี่ตัว
( n(P(A)) = 2n )
7) ครูให้นักเรียนร่วมกันพิจารณาตัวอย่าง 18
ตัวอย่าง 18 กำหนด A = {2} จงหา P(P(A))
จะได้ว่า P(A) = {∅, {2}}
ดังนั้น P(P(A)) = {∅, {∅}, {{2}}, {∅, {2}}}
8) ครูให้นักเรียนพิจารณานิยามของเอกภพสัมพัทธ์ ว่า เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่กำหนดขึ้น
โดยมีข้อตกลงว่าจะไม่กล่าวถึงเซตใดๆ นอกเหนือไปจากสมาชิกของเซตทีก่ ำหนดขึน้ นี้
เขียนแทนด้วย 𝑢
9) ครูชี้แนะกับนักเรียนเพิ่มเติมว่า ถ้ากล่าวถึงเซตของจำนวนและไม่ได้กำหนดว่าเซตใดเป็ น
เอกภพสัมพัทธ์ ให้ถือว่า เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตของจำนวนจริง เช่น A = {x | x2 – 2x = 0} แสดงว่า
𝑢 คือ จำนวนจริง (R)
10) จากนั้นครูให้นักเรียนร่วมกันทำตัวอย่างที่ 14 และ 15
ตัวอย่าง 14 กำหนดเอกภพสัมพัทธ์เป็นเลขจำนวนเต็มลบ และ A = {x | x ≤ 1} จง
เขียน A แบบแจกแจงสมาชิก
ดังนั้น A = {-1, -2, -3, …}
ตัวอย่าง 15 กำหนดเอกสัมพัทธ์เป็นเลขจำนวนเต็มบวก และ A = {x|x2–x–6 = 0}
จงเขียน A แบบแจกแจงสมาชิก
ดังนั้น A = {3}
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายและสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรีย นใ นค าบนี้
ได้แก่
- เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตของสับเซตทั้งหมดของเซต A เขียนแทนด้วย P(A
- จำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซตของเซต A ก็คือ จำนวนสับเซตทั้งหมดของเซต A
ถ้า A มีสมาชิก n ตัว แล้ว n(P(A)) = 2n
- เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่กำหนดขึ้น โดยมีข้อตกลงว่าจะไม่กล่าวถึงเซตใดๆ
นอกเหนือไปจากสมาชิกของเซตที่กำหนดขึน้ นี้ เขียนแทนด้วย 𝑢

9. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
9.1 สื่อ
1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
2) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เซต
9.2 แหล่งการเรียนรู้
1) แหล่งค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต เช่น Google, Facebook, Youtube เป็นต้น
2) ห้องสมุด
3) แหล่งความรู้อื่น ๆ

10. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านการประเมิน วิธีการประเมิน เครื่องมือการประเมิน เกณฑ์การประเมิน
ด้านความรู้ (K) 1) การถาม-ตอบในชั้น 1) คำถาม ถ้านักเรียนร่วมกันตอบ
1)นักเรียนสามารถอธิบาย เรียน 2) แบบสังเกตพฤติกรรม คำถามภายในชัน้ เรียน
ความหมายของเอกภพสัมพัทธ์ แสดงว่านักเรียนผ่านการ
และเพาเวอร์เซตได้ ประเมิน
2) นักเรียนสามารถหาเพาเวอร์ 1) การถาม-ตอบในชั้น 1) คำถาม ถ้านักเรียนร่วมกันตอบ
เซตของเซตที่กำหนดให้ได้ เรียน 2) แบบสังเกตพฤติกรรม คำถามภายในชัน้ เรียน
แสดงว่านักเรียนผ่านการ
ประเมิน
3) นักเรียนสามารถระบุจำนวน 1) การถาม-ตอบในชั้น 1) คำถาม ถ้านักเรียนร่วมกันตอบ
สมาชิกของเพาเวอร์เซตของเซต เรียน 2) แบบสังเกตพฤติกรรม คำถามภายในชัน้ เรียน
ที่กำหนดให้ได้ แสดงว่านักเรียนผ่านการ
ประเมิน
ด้านทักษะกระบวนการคิด (P) 1) การถาม-ตอบในชั้น 1) คำถาม ถ้านักเรียนร่วมกันตอบ
1) นักเรียนสามารถให้เหตุผลใน เรียน 2) แบบสังเกตพฤติกรรม คำถามภายในชัน้ เรียน
การอธิบายเพาเวอร์เซตจากเซต แสดงว่านักเรียนผ่านการ
ที่กำหนดให้ได้ ประเมิน
2) นักเรียนสามารถใช้ความรู้ 1) การถาม-ตอบในชั้น 1) คำถาม ถ้านักเรียนร่วมกันตอบ
เกี่ยวกับเซตในการสือ่ สาร สื่อ เรียน 2) แบบสังเกตพฤติกรรม คำถามภายในชัน้ เรียน
ความหมายทางคณิตศาสตร์ได้ แสดงว่านักเรียนผ่านการ
ประเมิน
ด้านคุณลักษณะ (A) 1) สังเกตการตอบ 1) แบบสังเกตพฤติกรรม ถ้านักเรียนร่วมกันตอบ
1) ทำความเข้าใจหรือสร้างกรณี คำถาม คำถามภายในชัน้ เรียน
ทั่วไปโดยใช้ความรู้ที่ได้จาก 2) สังเกตพฤติกรรมใน แสดงว่านักเรียนผ่านการ
การศึกษากรณีตวั อย่างหลายๆ ชั้นเรียน ประเมิน
กรณี
2) สร้างเหตุผลเพื่อสนับสนุน 1) สังเกตการตอบ 1) แบบสังเกตพฤติกรรม ถ้านักเรียนร่วมกันตอบ
แนวคิดของตนเองหรือโตแย้ง คำถาม คำถามภายในชัน้ เรียน
แนวคิดของผู้อื่นอย่าง 2) สังเกตพฤติกรรมใน แสดงว่านักเรียนผ่านการ
สมเหตุสมผล ชั้นเรียน ประเมิน

11. บันทึกหลังแผนการจัดการเรียนรู้
11.1 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) ด้านความรู้
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
2) ด้านทักษะ/กระบวนการ
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
3) ด้านคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
11.2 ปัญหาและอุปสรรค
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
11.3 แนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนา
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...........................................................ผู้สอน
(นายชัยรัตน์ มีมา)
วันที่...........เดือน...................... .พ.ศ. ...............

12. ข้อเสนอแนะจากครูพี่เลี้ยง
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...........................................................ครูพี่เลี้ยง
(นายจักรินทร์ ชินณะ)
วันที่...........เดือน...................... .พ.ศ. ......................

13.ข้อเสนอแนะ (หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………….............................

ลงชื่อ……………………………………………………….
(นางอัฐพรพรรณ ทองพรรณ)
ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วันที่……. เดือน………………. พ.ศ. ……………….

You might also like