Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions

1
from Industrial Process and Product Use Sector)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์
(Greenhouse Gas Emissions from Industrial Process and Product Use Sector)
โดย
ศูนย์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
บทนา
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ เป็นการประเมินปริมาณ
ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี ในกระบวนการผลิต การนาผลิตภัณฑ์บางชนิดมาใช้งาน รวมถึงการใช้
ประโยชน์จากเชื้อเพลิงคาร์บอนฟอสซิลในรูปแบบที่ไม่เป็นพลังงาน ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่
สะท้อนกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในขอบเขตที่ทาการประเมิน จะเป็นข้อมูลที่ใช้สนับสนุนการบริหารจัดการก๊าซ
เรือนกระจกในด้านแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการกาหนดนโยบายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน
กระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้ศึกษาและ
จัดทาข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ระหว่างปี พ.ศ.
2543 – 2556 (ค.ศ. 2000 – 2013) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุง ชุดข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซ
เรื อนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผ ลิ ตภั ณฑ์ ให้ เ ป็นปัจจุ บัน และนาข้อ มูล สนับ สนุนการ
ดาเนินงานที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจก ด้วยวิธีการคานวณตามมาตรฐานสากลในคู่มือที่จัดทาโดยคณะกรรมการ
ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change:
IPCC)

วิธีการศึกษาและจัดทาข้อมูล
การศึกษาและจัดทาข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการ
ใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Process and Product Use: IPPU) อ้างอิงวิธีการคานวณตาม 2006 IPCC
Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories โดยจาแนกแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU
ออกเป็น 8 กลุ่มหลัก ดังภาพประกอบที่ 1 และ 2 และประเมินปริมาณการปล่อยในภาพรวมของประเทศไทย
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
2
from Industrial Process and Product Use Sector)

• 2A1 การผลิตปูนซีเมนต์ (Cement Production)


• 2A2 การผลิตปูนขาว (Lime Production)
• 2A3 การผลิตแก้ว (Glass Production)
2A กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแร่ • 2A4 การผลิตจากกระบวนการอื่นที่มีการใช้สารคาร์บอเนต (Other
Process Uses of Carbonates)
(Mineral Industry) • 2A4a เซรามิกส์ (Ceramics)
• 2A4b การใช้โซดาแอซ (Other Uses of Soda Ash)
• 2A4c การผลิตแมกนีเซีย (Non Metallurgical Magnesia
Production)
• 2B1 การผลิตแอมโมเนีย (Amnonia Production)
• 2B2 การผลิตกรดไนตริก (Nitric Acid Production)
• 2B3 การผลิตกรดอะดิปิก (Adipic Acid Production)
• 2B4 การผลิตคาโปรแลคตัม ไกลออกซอล และไกลออกซิเลต
(Caprolactam, Glyoxal and Glyoxylic Acid Production)
• 2B5 การผลิตคาร์ไบด์ (Carbide Production)
• 2B6 การผลิตไททาเนียม (Titanium Production)
• 2B7 การผลิตโซดาแอซ (Soda Ash Production)
• 2B8 การผลิตปิโตรโคมีและคาร์บอนแบล็ค (Petrochemical
2B กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต and Carbon Black Production)
สารเคมี (Chemical Industry) • 2B8a เมทานอล (Methanol)
• 2B8b เอทิลีน (Ethylene)
• 2B8c เอทิลีนไดคลอไรด์ และไวนิลคลอไรด์มอนอเมอร์
(Ethylene Dichloride and Vinyl Chloride Monomer)
• 2B8d เอทิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide)
• 2B8e อะคริโลไนไตรล์ (Acrylonitrile)
• 2B8f คาร์บอนแบล็ค (Carbon Black)
• 2B9 การผลิตสารฟลูออโร (Fluorochemical Production)
• 2B9a By-product Emissions
• 2B9b Fugitive Emissions

• 2C1 การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า (Iron and Steel Production)


• 2C2 การผลิตเฟอร์โรอัลลอย (Ferroalloys Production)
2C กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตโลหะ • 2C3 การผลิตอลูมิเนียม (Aluminium Production)
(Metal Industry) • 2C4 การผลิตแมกนีเซียม (Magnesium Production)
• 2C5 การผลิตตะกั่ว (Lead Production)
• 2C6 การผลิตสังกะสี (Zinc Production)

ภาพประกอบที่ 1 แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU อ้างอิงตาม 2006 IPCC Guidelines


การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
3
from Industrial Process and Product Use Sector)

2D กลุ่มการใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงใน • 2D1 การใช้น้ามันหล่อลื่น (Lubricant Use)


รูปแบบที่ไม่เป็นพลังงานและการใช้ตัวทา
• 2D2 การใช้พาราฟินแว็กซ์ (Paraffin Wax Use)
ละลาย (Non-Energy Products from
Fuels and Solvent Use) • 2D3 การใช้ตัวทาละลาย (Solvent Use)

• 2E1 แผงวงจรรวมหรือเซมิคอนดักเตอร์ (Integrated Circuit or


Semiconductor)
2E กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ • 2E2 จอภาพแบน (TFT Flat Panel Display)
(Electronics Industry)
• 2E3 แผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaics)
• 2E4 น้ามันถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer Fluid)

• 2F1 ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ (Refrigeration and Air


Conditioning)
• 2F1a ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ (Refrigeration and Stationary
2F กลุ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนสารทาลาย Air Conditioning)
ชั้นโอโซน (Product Uses as
Substitutes for Ozone Depleting • 2F1b เครื่องปรับอากาศรถยนต์ (Mobile Air Conditioning)
Substances) • 2F2 สารผลิตโฟม (Foam Blowing Agents)
• 2F3 เครื่องดับเพลิง (Fire Protection)
• 2F4 ละอองสเปรย์ (Aerosols)
• 2F5 สารชะล้าง (Solvents)

• 2G1 อุปกรณ์ไฟฟ้า (Electrical Equipment)


• 2G1a อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า (Manufacture of
Electrical Equipment)
• 2G1b การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า (Use of Electrical Equipment)
• 2G1c การทาลายเครื่องใช้ไฟฟ้า (Disposal of Electrical
2G กลุ่มการใช้และการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ Equipment)
(Other Product Manufacture and • 2G2 ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ และก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอนจากการ
Use) ใช้ผลิตภัณฑ์ (SF6 and PFCs from Other Product Uses)
• 2G2a อุปกรณ์/เครื่องมือทางการทหาร (Military Applications)
• 2G2b Accelerators
• 2G3 ก๊าซไนตรัสออกไซด์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ (N2O from Product
Uses)
• 2G3a อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Applications)
• 2G3b Propellant for Pressure and Aerosol Products
• 2H1 อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (Pulp and Paper Industry)
2H กลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ (Other) • 2H2 อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverages
Industry)

ภาพประกอบที่ 2 แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU อ้างอิงตาม 2006 IPCC Guidelines (ต่อ)


การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
4
from Industrial Process and Product Use Sector)

ในการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU พิจารณาก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 6 ชนิด


ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide: CO2) ก๊าซมีเทน (Methane: CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์
(Nitrous Oxide: N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbons: HFCs) ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน
(Perfluorocarbon: PFCs) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (Sulphur Hexafluoride: SF6)
หลักการคานวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions: GHGs)
ประกอบด้วยข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) และค่าศักยภาพ
ในการทาให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) เพื่อให้ได้ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน
กระจก และแสดงผลในหน่วยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent: CO2e) ดังสมการ

ข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) ที่ใช้ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU รวบรวมจาก


รายงานสถิติที่ได้มีการจัดเก็บและเผยแพร่อย่างเป็นทางการ รวมถึงขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เช่น สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมศุลกากร สถาบัน
ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และกรมธุรกิจพลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลจากการดาเนินโครงการ
พัฒนากระบวนการจัดทาข้อเสนอแผนงานการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation Action Plan) พร้อมทั้งพัฒนา
กระบวนการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) ของ
อุตสาหกรรมเป้าหมาย ภายใต้โครงการ Low Emission Capacity Building เพื่อใช้ในการประเมิน
ระดับการคานวณ (Tier) ได้พิจารณาจากค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) ซึ่งระดับการ
คานวณที่สูงกว่าจะส่งผลต่อความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการคานวณและลดความไม่แน่นอนของข้อมูลที่อาจจะ
เกิดขึ้น การคานวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU ส่วนใหญ่ใช้วิธีการคานวณในระดับ Tier 1 โดยอ้างอิงค่า
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามคาแนะนาใน 2006 IPCC Guideline (Default Emission Factor) และในบาง
กิจกรรมที่คานวณในระดับ Tier 2 ได้มีการอ้างอิงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉพาะของประเทศ (Country-
specific Emission Factor) ได้แก่ การผลิตปูนซีเมนต์ การผลิตแก้ว การผลิตจากกระบวนการอื่นที่มีการใช้สาร
คาร์บอเนต และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า
ในส่วนของค่าศักยภาพในการทาให้เกิดภาวะโลกร้อน (GWP) ในการศึกษาครั้งนี้ อบก. ได้อ้างอิงค่า
GWP100 ตามรายงานการสังเคราะห์และประเมินความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 4 ภายใต้
IPCC (The Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
5
from Industrial Process and Product Use Sector)

AR4)1 ก๊าซเรือนกระจกที่พิจารณาในภาค IPPU มีค่าศักยภาพในการทาให้เกิดภาวะโลกร้อนในช่วงระยะเวลา 100


ปี ดังแสดงตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ก๊าซเรือนกระจกที่พิจารณาในภาค IPPU และค่าศักยภาพในการทาให้เกิดภาวะโลกร้อน


GHG GWP100 GHG GWP100 GHG GWP100 GHG GWP100
CO2 1 N2O 298 NF3 17,200 PFCs 7,390-12,200
CH4 25 SF6 22,800 HFCs 124-14,800
หลังจากได้ผลการคานวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU อบก. ได้จัดประชุมทบทวนความ
ถูกต้องของข้อมูลกิจกรรมและค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU เพื่อทวนสอบความความถูกต้องของข้อมูล
และผลการคานวณ รวมถึงนาคาแนะนาที่เกี่ยวข้องกับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมา
ปรับปรุงชุดข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU ให้เป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

ผลการศึกษา
จากการศึกษาของ อบก. พบว่า ในปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) ภาค IPPU มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน
กระจก เท่ากับ 36.11 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแร่ เป็น
กิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เท่ากับ 25.10 MtCO2e คิดเป็น ร้อยละ 69.50 ของการปล่อย
ทั้งหมดในภาค IPPU รองลงมาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี มีปริมาณการปล่อยเท่ากับ 10.34 MtCO2e
หรือคิดเป็น ร้อยละ 28.64 ของการปล่อยทั้งหมดในภาค IPPU ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตโลหะ และกลุ่มการ
ใช้ผลิตภัณฑ์จ ากเชื้อเพลิ งในรูปแบบที่ไม่เป็นพลังงานและการใช้ตัวทาละลายเป็นส่ว นที่มีการปล่ อยก๊าซเรือ น
กระจกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีปริมาณการปล่อยเท่ากับ 0.57 และ 0.11 MtCO2e หรือคิดเป็น ร้อยละ 1.57
และ 0.30 ตามลาดับ ดังแสดงในภาพประกอบที่ 3 และหากพิจารณาในรายกลุ่มกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อย
สามารถอธิบายได้ดังนี้

1
Climate Change 2007 – The Physical Science Basis, Contribution of Working Group I to the Fourth Assessment
Report of the IPCC.
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
6
from Industrial Process and Product Use Sector)

ภาพประกอบที่ 3 ปริมาณและสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาค IPPU ปี พ.ศ. 2556 (MtCO2e, %)

1. 2A กลุม่ อุตสาหกรรมการผลิตแร่ (Mineral Industry) มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด


ในภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ เท่ากับ 25.10 MtCO2e ต่อปี เมื่อพิจารณาราย
สาขาย่อยในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแร่ ดังภาพประกอบที่ 4 พบว่า การผลิตปูนซีเมนต์ ปล่อยก๊าซเรือน
กระจกมากที่สุด เท่ากับ 21.78 MtCO2e ต่อปี คิดเป็น ร้อยละ 86.80 ของการปล่อยทั้งหมดในกลุ่ม
อุตสาหกรรมการผลิตแร่ ส่วนอันดับที่สอง คือ การผลิตปูนขาว มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 2.55
MtCO2e หรือคิดเป็น ร้อยละ 10.15 รองลงมาคือ การผลิตจากกระบวนการอื่นที่มีการใช้สารคาร์บอเนต
โดยประกอบด้วยปริมาณการปล่อยที่มาจากเซรามิกส์ การใช้โซดาแอซ และการผลิตแมกนีเซีย และอันดับ
สุดท้าย คือ การผลิตแก้ว ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 0.43 MtCO2e และ 0.34
MtCO2e ต่อปี หรือคิดเป็น ร้อยละ 1.7 และ 1.35 ของการปล่อยทั้งหมดในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแร่
ตามลาดับ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
7
from Industrial Process and Product Use Sector)

ภาพประกอบที่ 4 ปริมาณและสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแร่
ปี พ.ศ. 2556 (MtCO2e, %)
2. 2B กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี (Chemical Industry) มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็น
ลาดับที่ 2 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาค IPPU เท่ากับ 10.34 MtCO2e ต่อปี หากพิจารณาราย
สาขาย่อยตาม 2006 IPCC Guidelines พบว่า ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่ดาเนินการผลิตใน
ประเทศไทย 2 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตปิโตรโคมีและคาร์บอนแบล็ค ที่มีปริมาณการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 10.31 MtCO2e ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 99.69 ของการปล่อยทั้งหมดในกลุ่ม
อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี ซึ่งประกอบด้วยปริมาณการปล่อยที่มาจากการผลิตเอทิลีน และเอทิลีนได
คลอไรด์ และไวนิลคลอไรด์มอนอเมอร์ ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตกรดไนตริก เป็นกิจกรรมที่มีการปล่อย
เพียงเล็กน้อย โดยปล่อยเท่ากับ 0.03 MtCO2e ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 0.31 ดังภาพประกอบที่ 5
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
8
from Industrial Process and Product Use Sector)

ภาพประกอบที่ 5 ปริมาณและสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี
ปี พ.ศ. 2556 (MtCO2e, %)
3. 2C กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตโลหะ (Metal Industry) มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลาดับที่
3 ของการปล่อยในภาค IPPU เท่ากับ 0.57 MtCO2e ต่อปี ภาพประกอบที่ 6 แสดงการพิจารณาราย
กิจกรรมย่อย พบว่า มีเพียง 3 กิจกรรมการผลิตที่พบว่ามีการผลิตในประเทศไทย คือ การผลิตเหล็กและ
เหล็กกล้า การผลิตตะกั่ว และการผลิตสังกะสี แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่มีการเก็บข้อมูลกิจกรรมการ
ผลิตตะกั่ว ในปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) ทาให้สามารถคานวณได้เพียง 2 กิจกรรม ได้แก่ การผลิตสังกะสี
มีปริมาณการปล่อยเท่ากับ 0.30 MtCO2e ต่อปี หรือคิดเป็น ร้อยละ 52.42 ของการปล่อยทั้งหมดในกลุ่ม
อุตสาหกรรมการผลิตโลหะ และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า โดยมีปริมาณการปล่อยเท่ากับ 0.27
MtCO2e ต่อปี หรือคิดเป็น ร้อยละ 47.58

ภาพประกอบที่ 6 ปริมาณและสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตโลหะ
ปี พ.ศ. 2556 (MtCO2e, %)
4. 2D กลุ่มการใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงในรูปแบบที่ไม่เป็นพลังงานและการใช้ตัวทาละลาย (Non-energy
Product from Fuels and Solvent Use) มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลาดับสุดท้ายของ
การปล่อยในภาค IPPU เท่ากับ 0.11 MtCO2e ต่อปี และพบว่ามีเพียงกิจกรรมการใช้น้ามันหล่อลื่น
เท่านั้น ที่สามารถคานวณปริมาณการปล่อยได้ในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้
นอกจากนี้ อบก. ยังได้ศึกษาและจัดทาข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU ระหว่างปี
พ.ศ. 2543 – 2556 (ค.ศ. 2000 – 2013) พบว่า ภาค IPPU มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ระหว่าง
16,446.33 - 36,359.53 GgCO2e สามารถอ้างอิงผลการคานวณในภาคผนวก และหากพิจารณาข้อมูลระหว่างปี
พ.ศ. 2555 – 2556 ในภาพประกอบที่ 7 พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU ในปี พ.ศ. 2556 มี
แนวโน้มลดลงจากปี พ.ศ. 2555 เพียงเล็กน้อย คิดเป็น ร้อยละ 0.68 ทั้งนี้สาเหตุหลักมาจากปริมาณการผลิตที่
ลดลงในเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีอัตราที่ต่าลง อันเนื่องมาจากวิกฤติ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
9
from Industrial Process and Product Use Sector)

เศรษฐกิจของโลก อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกได้รับผลกระทบ จึงส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน


กระจกในภาค IPPU มีปริมาณที่ลดลงตามไปด้วย

ภาพประกอบที่ 7 กราฟแสดงแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU ปี พ.ศ. 2543 - 2556

ข้อจากัดของการจัดทาข้อมูล
สาหรับการศึกษาการจัดทาข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU พบข้อจากัดในการจัดทา
ข้อมูล สามารถสรุปข้อจากัดของการจัดทาข้อมูลได้ดังนี้
 ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU ยังไม่รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก
กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการคานวณปริมาณก๊าซเรือน
กระจก และไม่รวมถึงกลุ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนสารทาลายชั้นโอโซน กลุ่มการใช้และการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ
เนื่องจากการคานวณสามารถรวบรวมข้อมูลปริมาณนาเข้าและส่งออก ซึ่งไม่สามารถแยกการใช้สารตามกลุ่ม
กิจกรรมย่อยได้ นอกจากนี้ยังไม่รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ เนื่องจากใน 2006 IPCC Guidelines ยังไม่ได้ระบุ
วิธีการประเมิน
 ข้อมูลปริมาณการผลิตเซรามิกส์ ใช้สมมติฐานในเรื่องของน้าหนักต่อชิ้นผลิตภัณฑ์มาใช้ในการคานวณ
อาจทาให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้มีค่าสูงกว่าหรือต่ากว่าความเป็นจริง
 ข้อมูลปริมาณการผลิตกรดไนตริก การผลิตตะกั่ว และการผลิตคาร์บอนแบล็ค สามารถรวบรวม
ข้อมูลกิจกรรมได้บางช่วงปีเท่านั้น ส่งผลให้ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในบางปี ยังไม่ครอบคลุมถึง
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมดังกล่าว
 ข้อมูลปริมาณการผลิตของกิจกรรมการผลิตปิโตรเคมี พบว่ามีหน่วยงานที่เก็บข้อมูลซ้าซ้อนกัน อาจ
ส่งผลต่อปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้มีค่าสูงกว่าหรือต่ากว่าความเป็นจริง
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
10
from Industrial Process and Product Use Sector)

 ข้อมูลปริมาณการผลิตของกิจกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า ทาการรวบรวมภายใต้การดาเนิน
โครงการพัฒนากระบวนการจัดทาข้อเสนอแผนงานการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation Action Plan) พร้อมทั้ง
พัฒนากระบวนการตรวจวัด การรายงานและการทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification:
MRV) ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ภายใต้โครงการ Low Emission Capacity Building ทาให้ยังไม่มีหน่วยงานที่
ทาการรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะของการจัดทาข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาค IPPU
 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการคานวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก
อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ครอบคลุมทุกกลุ่มกิจกรรม สามารถรายงานและ
ติดตามข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง
 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถาบันการศึกษา ควรมีการศึกษาวิจัยค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เฉพาะของประเทศ (Country-specific Emission Factor) มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จากการคานวณ
สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Greenhouse Gas Emissions
11
from Industrial Process and Product Use Sector)

ภาคผนวก
ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2556 (GgCO2e)

You might also like