_ภาษาไทย ปลายภาค2 (1)

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 17

“ภาษาไทย”

วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567

เวลา 10.40-11.30น.

คำยืมจากภาษาต่างประเทศ
- ภาษาอังกฤษ
- ภาษาบาลี
- ภาษาสันสกฤต
- ภาษาจีน
- ภาษาเขมร

สำนวนไทย
- สำนวน - สุภาษิต - คำพังเพย

การเขียนคำอวยพร

ภาษาพาทีบทที่ ๑๕ แรงกระทบ

ภาษาพาทีบทที่ ๑๖ วิถีชีวิตไทย

วรรณคดีลำนำบทที่ ๘ ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
คำยืมจากภาษาต่างประเทศ

คำในภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

คำที่มาจากภาษาอังกฤษ

คำที่มาจากภาษาอังกฤษ
ซึ่งเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารส่วนมากเป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้า
และเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ อีเมลลื เสิร์ช คลิปอาร์ต เกรด แชต เว็ปไซต์ ไวรัส

คำที่มาจากภาษาบาลี (ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ)
มีตัวสะกดตัวตามซ้ำกัน และไม่นิยมคำควบกล้ำ มักมีหลายพยางค์เช่น ปฏิบัติ บุญ ปฏิเสธ
อัตโนมัติ ธนาคาร พัฒนา ปัญญา
หลักการสังเกตภาษาบาลี
1. ภาษาบาลีมีพยัญชนะ 32 ตัว
2. ภาษาบาลีมีสระ 8 ตัว ได่แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
3. มีหลักตัวสะกดและตัวตามที่แน่นอน

ไก่ ขี่ ควาย ฆ่า งู

จับ ฉัน ชู เฌอ หญิง

ฏัด ฐาน โฑ เฒ่า เณร

เต่า ถูก ทิ้ง ธาร น้ำ

ป่า ไผ่ พา ภัย มา

ยาย เล่า เรื่อง ว่า เสือ หา เฬอะ อัง


ย ล ร ว ส ห ฬ (นิคหิต)

เช่น ทุกข์ หัตถ์ บุปผา พยัคฆ์ อัชฌาสัย ลัทธิ


- หากพยัญชนะแถวที่ ๕ เป็นตัวสะกดพยัญชนะตัวใดก็ได้ ในวรรคเดียวกันจะเป็นตัวตาม เช่น
สัญชาติ สัมผัส คัมภีร์
- หากเศษวรรคเป็นตัวสะกด ตัวตามจะอยู่ในเศษวรรคเหมือนกัน เช่น อัยยิกา มัลลิกา ชิวหา
คำที่มาจากภาษาสันสกฤต

คำที่มาจากภาษาสันสกฤต (ภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์)
- มักเป็นคำที่มีคำควบกล้ำ และมี ศ ษ และ รร หัน เช่น วิศวกรรม อารยชน ประเทศ ศึกษา
เศรษฐี เป็นต้น
- ตัวสะกดและตัวตามอยู่ข้ามวรรค เช่น วิทยุ อาตมา คณาจารย์ มี
- พยัญชนะ 34 ตัว ตัวอักษรที่เพิ่มเข้ามาอีก 2 ตัว คือ ศ และ ษ เช่น อังกฤษ กษัตริย์
ศิลปะ ประเทศ (ใช้ตารางเดียวกับภาษาบาลี)
- มีสระ 14 ตัว สระที่เพิ่มเข้ามาคือ ฤ ฤา ฦ ฦา ไอ เอา เช่น กฤษณา ไปรษณีย์ เยาวชน

ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
- ใช้ ฬ เช่น จุฬา กีฬา ครุฬ - ใช้ ฑ เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ
- ใช้พยัญชนะ 2 ตัว ซ้อนกัน เช่น อัคคี - ใช้อักษรควบ และอักษรนำ เช่น ทรัพย์
นิพพาน มัจจุราช นิทรา ปราถนา
- ใช้คำว่า ริ แทนคำที่มี ร หัน เช่น ภริยา - ใช้คำที่มี ร หัน เช่น ภรรยา จรรยา
จริยา - ใช้ ฤ เช่น ฤทธิ์ ฤษี ฤดี
- ประสมด้วยสระอิ อุ แทนตัว ฤ เช่น อิทธิ - ถ้าพยัญชนะ ส อยู่หน้า พยัญชนะ ด ต ถ
อิสิ เช่น สดมภ์ สตรี สถาน
- คำที่มี ย์ ห์ เช่น แพทย์ อาทิตย์ เสน่ห์
สงเคราะห์
- คำที่มีตัวสะกด ๒ ตัว และตัวสะกดที่ ๒ เป็น
ร เช่น จักร สมุทร เนตร

คำที่มาจากภาษาจีน

คำที่มาจากภาษาจีน มักเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ และใช้เสียงวรรณยุกต์ เช่น ตั๋ว


เกาเหลา เฉาก๊วย ซาลาเปา เก๊กฮวย เจี๋ยน บ๊วย
เป็นคำที่เกี่ยวกับอาหาร เช่น เกี๊ยว ก๋วยเตี๋ยว ซาลาเปา
เป็นชื่ออุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น เก้าอี้ ตะหลิว เข่ง
คำที่เกี่ยวกับการค้า เช่น ยี่ห้อ ห้าง เถ้าแก่
คำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี หรือจัตวา เช่น เกี๊ยะ โต๊ะ ก๋ง เต้าทึง เฉาก๊วย เอี๊ยม เป็นต้น
คำที่มาจากภาษาเขมร
คำที่มาจากภาษาเขมร
จะสะกดด้วยตัว จ ร ล ญ เช่น ตรวจ ขจร ตำบล สำราญ
มักออกเสียงแบบอักษรนำ เช่น ขนม ถนน เฉลียว
- พยางค์แรกออกเสียง อะกึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียงมี ห นำ
มักนำหน้าด้วย บัง บำ บัน บรร เช่น บังคม บันดาล บรรเลง บำบัด
คำที่ขึ้นต้นด้วย ข แผลงเป็น กระ เช่น
- ขดาน แผลงเป็น กระดาน
- ขจอก แผลงเป็น กระจอก
คำที่ขึ้นต้นด้วย ผ แผลงเป็น ประ เช่น
- ผจญ แผลงเป็น ประจญ
- ผสาน แผลงเป็น ประสาน
คำที่ขึ้นต้นด้วย ประ แผลงเป็น บรร เช่น
- ประทุก แผลงเป็น บรรทุก
- ประจง แผลงเป็น บรรจง
มักเป็นคำที่ขึ้นต้นด้วย สระอำ เช่น กำจัด คำนับ ชำนาญดำเนิน ทำนาย สำรวจ อำนวย
เป็นทั้งคำเดิม และแผลงแล้ว เรานำมาใช้ เช่น
- เกิด ----> กำเนิด
- เดิน ----> ดำเนิน
- ตรา ----> ตำรา
ลักษณะคำไทยแท้
คำไทยแท้เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองที่ไม่
เหมือนใคร และมี หลักในการสังเกตที่ทำให้เราสามารถแยกแยะ วิเคราะห์ได้ว่าคำไทยแท้นั้นมี
ลักษณะอย่างไร มีหลักการสังเกตดังนี้
๑. คำไทยแท้เป็นคำพยางค์เดียว ไม่มีเสียงควบกล้ำ มีใช้อยู่ครบทั้ง ๗ ชนิด
ตัวอย่างเช่น
นาม เช่น พ่อ แม่ ดิน น้ำ บ้าน ช้าง เป็นต้น
สรรพนาม เช่น ท่าน เธอ เขา เจ้า มัน เป็นต้น
กริยา เช่น เล่น นอน ไป เที่ยว ดู เป็นต้น
วิเศษณ์ เช่น สวย ดี โง่ ขาว ใหญ่ เช้า เป็นต้น
บุพบท เช่น ใต้ ของ แก่ ชิด ข้าง เป็นต้น
สันธาน เช่น ก็ แม้ จึง หรือ แต่ เพราะ เป็นต้น
อุทาน เช่น ว้าย ! อุ๊ย ! เอ๊ะ ! ว้า ! โอย ! เป็นต้น
๒. คำไทยแท้ส่วนใหญ่ตัวสะกดต้องตรงตามมาตรา
แม่กก มาตราแม่กก ใช้ “ก” เป็นตัวสะกด
แม่กด มาตราแม่กด ใช้ “ด” เป็นตัวสะกด
แม่กบ มาตราแม่กบ ใช้ “บ” เป็นตัวสะกด
แม่กง มาตราแม่กง ใช้ “ง” เป็นตัวสะกด
แม่กน มาตราแม่กน ใช้ “น” เป็นตัวสะกด
แม่กม มาตราแม่กม ใช้ “ม” เป็นตัวสะกด
แม่เกย มาตราแม่เกย ใช้ “ย” เป็นตัวสะกด
แม่เกอว มาตราแม่เกอว ใช้ “ว” เป็นตัวสะกด
๓. คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์
๔. คำไทยแท้ไม่ใช้รูป “อัย” มักใช้ “ใ” กับ “ไ” มากกว่า
๕. คำที่มี ประวิสรรชนีย์ (ะ) เช่น
สะใภ้ ระฆัง กระดุกกระดิก กระจิบ มะพร้าว
๖. คำเฉพาะ เช่น ศึก เศร้า ศอก ฆ่า อรชร ฆ้อง เฆี่ยน ระฆัง
แบบทดสอบ
1. เหตุใดจึงมีการยืมคำมาใช้ในภาษาไทย
ก. เพราะมีความสัมพันธ์ทางการค้า การทูต
ข. เพราะในปัจจุบันมนุษย์มีความหลากหลาย
ค. เพราะมีการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
ง. เพราะภาษาต่างประเทศมีมากจึงต้องนำมาใช้ในประเทศไทยบ้าง
2. “อาม่าชอบกินบะหมี่เกี๊ยว เฉาก๊วย และโอเลี้ยง”
ก. ไทยแท้ ค. ชวา
ข. เขมร ง. จีน
3. สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาในภาษาไทยมากที่สุด
ก. อิทธิพลทางภูมิศาสตร์ ค. อิทธิพลทางด้านการทูต
ข. อิทธิพลทางด้านการพาณิชย์ ง. อิทธิพลทางด้านศิลปกรรม
4. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย
ก. มีอาณาเขตใกล้เคียงติดต่อกัน
ข. มีการไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ค. นับถือสถาบันกษัตริย์เหมือนกัน
ง. ความเจริญทางเทคโนโลยี
5. ชื่อกีฬาประเภทใดเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
ก. เทควันโด ค. ฟุตบอล
ข. เปตอง ง. ตะกร้อ
6. “คุณพ่อชวนคุณแม่ไปกินบะหมี่ฮ่องเต้ที่เยาวราช” คำที่ขีดเส้นใต้เป็นคำที่มาจากภาษาใด
ก. ญี่ปุ่น ค. ชวา-มลายู
ข. อังกฤษ ง. จีน
7. คำในข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น
ก. โก้เก๋ ค. ยี่หร่า
ข. สาเก ง. เหรียญ
8. “ ตรัส เจริญ ตำรวจ ดล ” เป็นคำที่มาจากภาษาใด
ก. สันสกฤต ค. บาลี
ข. เขมร ง. ไทย
9. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษทุกคำ ?
ก. คอนเสิร์ต แท็กซี่ นอต ค. ทีวี พราหมณ์ ชอล์ก
ข. เกียร์ ดีเซล จับกัง ง. จาระบี เรดาห์ จับฉ่าย
10. ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาจีนทุกคำ ?
ก. โบตั๋น กุยช่าย เค้ก ค. คะน้า ท้อแท้ สึนามิ
ข. จับเลี้ยง จับฉ่าย โชว์ ง. ก๋วยเตี๋ยว โจ๊ก โอเลี้ยง
10. คำใดเป็นคำที่รับมาจากภาษาเขมร ?
ก. สามี ค. ภริยา
ข. เขนย ง. จุฬา
แบบทดสอบ

11. คำว่า “สาแหรก” เป็นคำที่มาจากภาษาใด ?


ก. ภาษาจีน ค. ภาษาอังกฤษ
ข. ภาษาเขมร ง. ภาษาไทย
12. คำว่า “นีออน” เป็นคำที่มาจากภาษาใด ?
ก. ภาษาอังกฤษ ค. ภาษาไทย
ข. เขมร ง. ภาษาสันสกฤต
13. คำว่า "ปรากฎ" เป็นคำที่มาจากภาษาใด ?
ก. ภาษาอังกฤษ ค. ภาษาไทย
ข. ภาษาจีน ง. ภาษาสันสกฤต
14. คำยืมภาษาจีนนิยมมาใช้เรียกสิ่งใด ?
ก. คำราชาศัพท์ ค. อาหาร
ข. บทสวดมนต์ ง. คำในวรรณคดี
15. คำยืมภาษาเขมรนิยมมาใช้เรียกสิ่งใด ?
ก. คำราชาศัพท์ ค. บทสวดมนต์
ข. อาหาร ง. คำในวรรณคดี
16. ข้อใดมีคำภาษาต่างประเทศ ?
ก. เงินทองเป็นของนอกกายไม่ตายหาใหม่ได้ ค. ตาเดิมมาตามทางลาดชัน
ข. พระจันทร์ส่องแสงงามตา ง. เขาทำตามหัวใจของตัวเอง
17. คำว่า "วิชา" จากบทประพันธ์วิชาเหมือนสินค้า ข้างต้นเป็นคำยืมจากภาษาใด ?
ก. ภาษาไทย ค. ภาษาบาลี
ข. ภาษาเขมร ง. ภาษาอังกฤษ
18. บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี
รื่นเริงบันเทิงมี บันลือลั่นสนั่นดัง
คำว่า “บัน” ที่ปรากฏในบทร้อยกรองข้างต้น เป็นคำที่มาจากภาษาใด?
ก. สันสกฤต ค. บาลี
ข. เขมร ง. ไทย
19. “กัปตันทีมฟุตบอลของไทยได้รับแรงเชียร์จากแฟนคลับอย่างแน่นอน” มีคำที่มาจากภาษาอังกฤษกี่คำ?
ก. 4 คำ ค. 5 คำ
ข. 6 คำ ง. 7 คำ
20. คำในข้อใดเป็นคำภาษาเขมร?
ก. ปกติ ค. ประถม
ข. สัตถา ง. ศก
“ภาษาพาทีบทที่ ๑๕ แรงกระทบ ”
สาระสำคัญ
"แรงกระทบ" เป็นเรื่องที่กล่าวถึงเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นหลังจากมอดและเพื่อนรุ่นพี่ของเด็กชายจุ๊น
กระทำความผิดมหันต์ด้วยการพาพวกไปถอดนอตเสาไฟฟ้าแรงสูงหลายต้น เพื่อนำไปชั่งกิโลขาย นำเงินไป
รักษาพ่อที่ป่วยหนักอยู่ที่โรงพยาบาล พอดีฝนตกหนัก ลมพายุพัดแรง ทำให้เสาไฟฟ้าล้มหลายต้น ทำให้
ไฟฟ้าดับหลายจังหวัด เกิดอุบัติเหตุมากมายบนถนน คนป่วยในโรงพยาบาลที่ต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจต้อง
ตาย(รวมทั้งพ่อของมอดด้วย) แพทย์ต้องเลื่อนการผ่าตัด การสื่อสารหยุดชะงัก โรงงานเสียหายนับพันล้าน
ฯลฯจุ๊นเห็นข่าวนี้ถึงกับตัวเย็นเฉียบ เพราะเขาก็ถูกลากเข้าไปร่วมปฏิบัติการนั้นด้วยความจำใจเช่นกัน แต่จุ๊นก็
คิดได้เขาจึงเล่าให้พ่อแม่ฟัง ต่อมามอดและพวกก็ถูกตำรวจจับ แต่พวกเขาไม่ได้ซัดทอดถึงจุ๊นเลย

สรุปเนื้อเรื่อง
จุ๊นช่วยแม่โขลกปลา เพื่อทำน้ำยาขนมจีน ขณะทำงานจุ๊นก็ฟังแม่สอนเรื่องการคบคน โดยเฉพาะกลุ่ม
พี่มอดที่ไม่ยอมทำการงาน ทำตัวเป็นอันธพาล ขณะที่จุ๊นกำลังยกครกไปเก็บ พี่มอดก็มาหาที่บ้าน จุ๊นตามพี่
มอดออกไปข้างนอก พี่มอดให้จุ๊นดูต้นทางขณะที่พี่มอดขโมยนอตเสาไฟฟ้าเพื่อนำเงินไปรักษาพ่อ ระหว่างทาง
เกิดพายุพัดแรงมาก ฝนตกหนัก ทำให้ไฟฟ้าดับทั้งเมือง เมื่อมาถึงบ้านจุ๊นพลาดท่าเหยียบครก ทำให้หน้าฟาด
ขั้นบันได พ่อต้องนำส่งโรงพยาบาล ที่โรงพยาบาล ทุกอย่างดูวุ่นวาย และพ่อของพี่มอดก็เสียชีวิตเพราะ
เครื่องช่วยหายใจใช้ไม่ได้ จุ๊นสารภาพความผิดให้พ่อแม่ฟัง พ่อจึงไปปรึกษากับลุงอรรถที่เป็นตำรวจ หลัง
จากนั้นตำรวจก็ตามจับพี่มอดและพวกได้ ทั้งหมดรับสารภาพ แต่ไม่ได้ซัดทอดถึงจุ๊น จุ๊นดีใจและยอมรับกับตัว
เองว่า “คบคนพาล พาลพาไปหาผิด” และที่สำคัญที่สุด “บาปกรรมมีจริง”

*****แบบทดสอบ *****
1.ขณะที่จุ้นชวนแม่โขลกปลาที่ร้านใต้ถุนบ้าน 4.เหตุการณ์ในข้อใดสะท้อนให้เห็นว่าเวรกรรมมีจริง
แม่ตักเตือนจุ๊นเรื่องอะไร ก.ฝนตกหนักเสาไฟฟ้าแรงสูงลัมทำให้ไฟดับทั้งเมือง
ก. การคบเพื่อน ข.จุ๊นล้มหน้าฟาดกับบันไดต้องเย็บถึงห้าเข็ม
ข. การตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ค.พ่อพี่มอดเสียชีวิตเพราะเครื่องช่วยหายใจใช้ไม่ได้
ค. การเล่นซุกชน เนื่องจากไฟฟ้าดับ
ง. การใช้เงินอย่างประหยัด ง. จุ๊นยอมรับความผิดกับลุงอรรถที่เป็นตำรวจ
2.พี่มอดให้จุ้นช่วยทำอะไรให้ 5. สาเหตุที่ทำให้เสาไฟฟ้าแรงสูงหักลงมาคือข้อใด
ก. ดูต้นทางขณะที่ขโมยนอตเสาไฟฟ้า ก. พี่มอดและพวกขโมยนอตเสาไฟฟ้า
ข. ช่วยเหวี่ยงแหจับปลาไปขาย ข. ฝนตกหนักฟ้าผ่าลงมา
ค. เป็นเพื่อนไปซื้อของในเมือง ค. เสาไฟฟ้าเก่าเมื่อถูกพายุพัดจึงหัก
ง. ช่วยพาพ่อพี่มอดไปโรงพยาบาล ง. หม้อแปลงระเบิดทำให้ไฟฟ้าดับ
3. เกิดอะไรขึ้นขณะที่จุ๊นกำลังขึ้นบ้าน 6. การที่จุ๊นคบกับพี่มอดตรงกับภาษิตใด
ก. พ่อของพี่มอดเสียชีวิต ก. หน้าเนื้อใจเสือ
ข. จุ๊นล้มหน้าฟาดกับบันได ข. ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจเอง
ค. ตำรวจจับกุมตัวพี่มอดและกลุ่มเพื่อน ค. คบพาล พาลพาไปหาผิด
ง. ฝนตกหนักฟ้าผ่าลงมาหน้าบ้าน ง. คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
“สำนวน สุภาษิต คำพังเพย”

สำนวน
สำนวน คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามอักษร
หรือมีความหมายแฝงอยู่ในเชิงเปรียบเทียบไม่มีหลักฐานว่า สำนวนมีมาตั้งแต่สมัยใด และใคร
เป็นผู้กล่าว ซึ่งสำนวนมักจะใช้เปรียบเทียบกับความประพฤติของคน เช่นคำว่า
“ขิงก็รา ข่าก็แรง”
“แพแตก”
“ดาบสองคม”
“น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย”
“เล็กพริกขี้หนู” เป็นต้น

สุภาษิต
สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวเพื่อให้คติสอนใจ ให้ประพฤติสิ่งที่ดีงาม สุภาษิตมักจะเป็นข้อ
ความสั้นๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง มักเป็นความจริง เช่น
“คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ”
“อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา”
“น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ” เป็นต้น

คำพังเพย
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวไว้กลางๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่า
สำนวนแฝงข้อคิดคำสอน แต่ไม่ได้เป็นคำสอนโดยตรงเหมือนสุภาษิต จะเป็นลักษณะของการ
เปรียบเทียบของสองสิ่งเช่น
“ยืมจมูกคนอื่นหายใจ”
“มีเงินเขานับเป็นน้อง มีทองเขานับว่าพี่”
“ขายผ้าเอาหน้ารอด”
“ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด”
“พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง”
“กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้”
แบบทดสอบ “สำนวน ”

นกสองหัว
คนที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่เป็นศัตรูกันเพื่อผลประโยชน์ของตน.
ดาวล้อมเดือน
คนเด่นที่มีคนอื่น ๆ รายล้อมมากมาย
กาคาบพริก
ลักษณะที่คนผิวดำใส่เสื้อผ้าสีแดง หรือสีฉูดฉาดตัดกับสีผิว
หญ้าแพรก
สามัญชน
งูกินหาง
เกี่ยวโยงกันไปเป็นทอดๆ
ปลาข้องเดียวกัน
คนที่อยู่รวมกัน หากมีคนหนึ่งทำไม่ดีก็พลอยให้คนอื่นเสียไปด้วย
ไข่ในหิน
ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง
ฆ้องปากแตก
ปากโป้ง เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา
หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น
ผู้ที่ได้สิ่งที่ไม่มีประโยชน์แก่ตน
จับปูใส่กระด้ง
ควบคุมให้อยู่นิ่งได้ยาก
แบบทดสอบ “คำพังเพย”

เข็นครกขึ้นเขา
ทำงานที่ยากเกินกำลังความสามารถของตน ต้องใช้ความอดทน และความพยายามมาก.
ปลาหมอตายเพราะปาก
คนที่พูดพล่อย หรือพูดไม่ระวังปากจนได้รับอันตราย.
น้ำลดตอผุด
เมื่อสิ้นอำนาจวาสนา ความชั่วที่เคยทำไว้ก็ปรากฏ.
สีซอให้ควายฟัง
แนะนำ หรือสั่งสอนคนปัญญาทึบ มักไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเปล่า.
เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
ทำเลียนแบบคนใหญ่คนโต หรือคนมั่งมีโดยไม่คิดถึงกำลังทรัพย์ตนเอง.
น้ำตาลใกล้มด ใครจะอดได้
หญิงชายที่อยู่ใกล้ชิดกัน ย่อมอดใจรักกันไม่ได้.
หมองูตายเพราะงู
ผู้ที่มีความรู้อาจพลาดท่าเสียที หรือถึงตายเพราะความรู้ของตนก็ได้.
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง ความงามของคนเสริมแต่งให้สวยได้
ข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้า
บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ
เขียนเสือให้วัวกลัว
ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อข่มขวัญอีกฝ่าย.
แบบทดสอบ “สุภาษิต”

นกน้อยทำรังแต่พอตัว
ทำสิ่งใดต้องดูให้พอสมพอควรแก่ฐานะของตน ไม่ทำเกินตัว
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
เมื่อมีปัญญาเข้าใจความจริง ปัญญานั้นก็จะรักษาใจไม่ให้ทุกข์
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
การรู้จักตอบแทนผู้มีพระคุณเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ
คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัญฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
คบคนชั่วเป็นโทษแก่ตัว คบคนดีเป็นประโยชน์แก่ตัว
คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
จะคบกับใครพิจารณาให้ดีเสียก่อน เช่นเดียวกับการเลือกซื้อผ้า.
อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา
อย่าหาความจากคนที่ไม่มีสติสมบูรณ์ เพราะไร้ซึ่งประโยชน์ในการเจรจา.
น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
อย่าขัดขวางหรือทัดทานเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นไปอย่างรุนแรง เพราะอาจ
ทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น.
แบบทดสอบ
1. "สำนวน" หมายความว่าอย่างไร
ก. ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นข้อความ หรือคำพูดที่ชั้นเชิง
ข. ถ้อยคำที่กล่าวแนะนำ สั่งสอน เตือนสติ ด้วยหลักความจริง
ค. เป็นการกล่าวเปรียบเทียบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ง. ข้อความที่คอยเตือนใจ
2. สำนวน “อย่าแหย่เสือหลับ” หมายความว่าอย่างไร
ก. ให้มีสติอย่าประมาท ค. คนที่ทำสิ่งใดด้วยวิธีรุนแรง
ข. อย่าก่อเรื่องกับผู้มีอำนาจ ง. หาความเดือดร้อนใส่ตัวเอง
3. "สุภาษิต" หมายความว่าอย่างไร
ก. การกล่าวเปรียบเทียบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ข. ข้อความที่คอยเตือนใจ
ค. ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นข้อความ หรือคำพูดที่ชั้นเชิง
ง. ถ้อยคำที่กล่าวแนะนำ สั่งสอน เตือนสติ ด้วยหลักความจริง
4. "คำพังเพย" หมายความว่าอย่างไร
ก. ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นข้อความ หรือคำพูดที่ชั้นเชิง
ข. ถ้อยคำที่กล่าวแนะนำ สั่งสอน เตือนสติ ด้วยหลักความจริง
ค. การเปรียบเทียบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ง. ข้อความที่คอยเตือนใจ
5. "ลงทุนทำในสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่ตัวเองและอาจได้รับโทษอีกด้วย" เป็นความหมายของข้อใด
ก. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ค. ไก่ได้พลอย
ข. ตีงูให้กากิน ง. กินปูนร้อนท้อง
6. "ไก่ได้พลอย” หมายถึงข้อใด
ก. เมื่อเกิดความเสียหายแล้วจึงคิดหาทางป้องกัน ค. ยืนกรานไม่ยอมรับ
ข. เก็บเล็กผสมน้อยจนสำเร็จ ง. ได้สิ่งที่มีค่าแต่ไม่รู้คุณค่า
7. สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ได้ประโยชน์จากข้อใดมากที่สุด
ก. นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้
ข. ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน
ค. ทำให้เยาวชนประพฤติ ปฏิบัติตนดีขึ้น
ง. ขัดเกลานิสัยเยาวชนให้อยู่ในกรอบและระเบียบมากขึ้น
8. สำนวนที่สอนในด้านความรัก คือสำนวนใด
ก. กวนน้ำให้ขุ่น ค. เขียนเสือให้วัวกลัว
ข. คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย ง. มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ
9. สำนวนใดที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่เกี่ยวกับการทำมาหากิน
ก. ขี่ช้างจับตั๊กแตน ค. น้ำขึ้นให้รีบตัก
ข. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ง. เกลือจิ้มเกลือ
10. นายธงชัย แสดงกริยาดีใจเมื่อเข้าสอบได้ ตรงกับสำนวนใด
ก. งอมพระราม ค. เจ้าไม่มีศาล
ข. กระดี่ได้น้ำ ง. ขนทรายเข้าวัด
“ภาษาพาทีบทที่ ๑๖ วิถีชีวิตไทย ”
สาระสำคัญ
"วิถีชีวิตไทย" กล่าวถึง ครอบครัวของเด็กหญิงนกที่มีวิถีชีวิตตามแบบครอบครัวของคนไทยที่มีวัฒนธรรม
ประเพณีแบบไทยเกิดขึ้นหลายอย่าง อาทิ ลูกหลานมีความเคารพรักในพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
การผูกมิตรไมตรีกับเพื่อนบ้าน ประเพณีงานแต่งงาน และงานบวชของลูกหลาน ที่กระทำอย่างถูกต้องแบบไทยๆ
ที่สร้างความสุข และความปลื้มปีติให้ทุกคนในครอบครัว และผู้คนแวดล้อมได้อย่างมากมาย

สรุปเนื้อเรื่อง
ครอบครัวของนก เป็นครอบครัวใหญ่ ตากับยายมีลูกหลายคน แม่ของนกเป็นลูกสาวคนโต แต่งงาน
กับคุณพ่อ ซึ่งทำงานเป็นข้าราชการ นกจึงเป็นหลานคนใต และยังมีน้องซึ่งเป็นลูกสาวของน่าอีก 2 คน
ชื่อต๊อก และแต๊ก ทั้งสามพี่น้องขอบไปอยู่บ้านคุณตาคุณยาย คุณตาและคุณยายเป็นคนใจดี เป็นที่เคารพ
นับถือของผู้คนในละแวดนั้น ครอบครัวของนกมีความสุขอีกครั้งหนึ่ง เมื่อน้ากระปุกน้องสาวคนเล็กของแม่จะ
แต่งงานกับน้าวิชญ์ คุณตาและคุณยายไปหาหลวงตาปุ่นที่วัด เพื่อขอฤกษ์ยาม เพื่อความเป็นสิริมงคลในวัน
แต่งงาน นกได้เรียนรู้เกี่ยวกับพิธีหมั้น พีธีแต่งงาน และพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ตอนเย็นมีงานเลี้ยงฉลอง
มงคลสมรส
หลังจากนั้นไม่นานเมื่อใกล้เข้าพรรษา น้าป๊อกซึ่งเป็นน้องคนสุดท้องบวชเป็นพระ เพื่อเป็นการทดแทน
พระคุณบิดามารดา คุณตา และคุณยายต่างปลื้มใจเป็นอย่างมาก พิธีบวชจัดอย่างเรียบง่ายตามวิถีชีวิตแบบ
ไทย หลวงน้าป๊อกดูสงบ สำรวม ตายาย พี่น้องและหลานๆ กราบพระด้วยความอิ่มเอมใจ

*****แบบทดสอบ *****
1.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับครอบครัวของนก 4. คำในข้อใดไม่ใช่สำนวน
ก. นกเป็นหลานสาวคนเล็กของคุณตา ก. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
ข. คุณแม่ของนกเป็นลูกสาวคนโต ข. นักนวลสงวนตัว
ค. คุณพ่อทำงานรับราชการ ค. ฤกษ์งามยามดี
ง. นกเป็นลูกสาวคนเดียวของครอบครัว ง. ใจจืดใจดำ
2. น้ากระปุกน้องสาวของแม่จะแต่งงานกับใคร 5. ข้อใดแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่สุภาพ
ก. น้าวิชญ์ ก. เมื่อใครเรียน ขาน "ครับ" "ขา"
ข. น้าป๊อก ข. ผ่านท่านค้อมตัวต่ำ
ค. น้าต๊อก ค. ใครช่วย กล่าว "ขอบคุณ"
ง. น้าแต๊ก ง. ช่วยถือของ ช่วยจูงเดิน
3. ตามประเพณีไทย ชายไทยมีอายุครบกี่ปีจึงจะ 6. ข้อใดเป็นการเขียนคำอวยพรที่ถูกต้องและเหมาะสม
บวชเป็นพระได้ ก. ขอกราบอวยพรคุณยายให้มีอายุยืนหมื่นปี สุขภาพแข็งแรง
ก. 15 ปี ข. ขอบารมีคุณพระรัตนตรัย ดลบันดาลให้คุณยายมีความสุข
ข. 20 ปี สุขภาพแข็งแรง
ค. 18 ปี ค. หนูขอให้คุณยายมีความสุขมาก ๆ นะคะ สุขภาพแข็งแรง
ง. กราบเท้าคุณยายที่เคารพ ขอให้คุณยายมีความสุข สุขภาพ
ง. 21 ปี
แข็งแรง
“คำอวยพร”

เราจะใช้คำอวยพรในโอกาศสำคัญ เช่น งานวันเกิด วันขึ้นปีใหม่ วันที่ได้เลื่อนตำแหน่ง

ความหมายของคำอวยพร
คำว่า “พร” หมายถึง คำที่แสดงถึงความปราถนา ให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น การอวยพร
การถวายพระพร

ความหมายของคำว่า “อวยพร” หมายถึง การกล่าวที่แสดงความปราถนาดีที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับพร

ตัวอย่างคำอวยพร
“ขอให้ชีวิตอยู่อย่างมีสติและมีความสุข ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร ครองคู่รักกัน
หวานชื่นตลอดไป” จากข้อความนี้เป็นคำอวยพรประเภทใด
- เป็นคำอวยพรในพิธีมงคลสมรส/การแต่งงาน

ตัวอย่างคำอวยพร
“สิ่งที่ผ่านมาแล้ว ก็ขอให้ผ่านพ้นไป ขอให้เริ่มต้นใหม่และมีความสุขตลอดปี คิดสิ่งใดขอ
ให้ได้ดังหวังและตั้งใจ” จากข้อความนี้เป็นคำอวยพรประเภทใด
- เป็นคำอวยพรวันขึ้นปีใหม่

แบบฝึกทบทวน

ใส่เครื่องหมาย หน้าข้อความที่ถูก และ หน้าข้อที่ผิด


๑. คำอวยพรหมายถึง การใช้คำที่แสดงเจตนาดี หรือความปราถนาดี
๒. คำอวยพรมักใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ
๓. คำอวยพรสามารถเขียนได้ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง
๔. คำอวยพรมักใช้ในโอกาสอวมงคล
๕. คำอวยพรที่ดีควรมีการอ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมอ
๖. การเขียนบัตรอวยพรต้องคำนึงถึงระดับภาษาให้เหมาะสมกับบุคคลที่เราอวยพร
๗. การเขียนคำอวยพรควรพิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือที่สวยงาม
๘. การเขียนบัตรอวยพรต้องมีรูปสวยงามเพื่อความจริงใจของผู้ให้พร
๙. การเขียนบัตรอวยพรไม่ต้องระบุโอกาสก็ได้
๑๐. ถ้าผู้น้อยอวยพรผู้ใหญ่ต้องอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ให้พร
“วรรณคดีลำนำบทที่ ๘ ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี ”

สรุปเนื้อเรื่อง

ชาลีเขียนจดหมายถึงเพื่อน โดยส่งเป็นจดหมายอิล็กทรอนิกส์ เล่าเรื่องที่ผมแกละพาไปเที่ยว


อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาในเว็บไซต์โลกวรรณคดีดอตคอมให้เพื่อนฟังว่า การไปเที่ยวครั้งนี้ให้ให้ชาลี
มองเห็นภาพความแตกต่างระหว่างกรุงศรีอยุธยาในอดีต ราชธานีที่ก่อสร้างอย่างสวยงาม เต็มไปด้วยความมั่ง
คั่งและรุ่งเรืองกับภาพของอุทยานประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาในปัจจุบันที่เหลือเพียงซากปรักหักพังของปราสาท
ราชวัง และวัดวาอาราม ผมแกละบอกชาลีว่า ความล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาเป็นผลมาจากคนไทยมีความคิด
แตกแยก ไม่รู้เท่าทันปัญหาที่เป็นด้นตอของสงคราม ทำให้ศัตรูภายนอกเข้ามาแทรกแซง ทำลายได้ใดยง่าย
ผมแกละก็ชวนชาลีให้ร้องเพลงชาติไทย ซึ่งมีใจความ ดังนี้
“ประเทศไทยเป็นถิ่นที่รวมคนไทยหลายเชื้อชาติ หลายเผ่าพันธุ์ไว้ให้ได้อาศัยอยู่ร่วมกันบนผืนแผ่น
ดินเดียวกัน แผ่นดินไทยทุกส่วนย่อมเป็นของคนไทยทุกคน และดำรงอยู่ได้ เพราะคนไทยมีความรักและ
สามัคคีกัน คนไทยรักความสงบ แต่ถ้าจำเป็นต้องรบกับศัตรูเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ คนไทยก็ไม่เคย
ขลาดกลัว และไม่มีวันยอมให้ใครมากดขี่ข่มเหงได้ คนไทยทุกคนยอมสละเลือดทุกหยอดเพื่อให้ชาติไทยดำรง
อยู่ได้อย่างยั่งยืน มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง และประสบชัยชนะตลอดไป”
ผมแกละบอกชาลีว่า ในปี พ.ศ. 2482 ประเทศไทยเปลี่ยนชื่อจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ส่งผลให้มี
การจัดการประกวดแต่งเพลงชาติไทย ผลปรากฏว่า หลวงสารานุพระพันธ์ ซึ่งเป็นผู้แต่งเนื้อร้องส่งเข้า
ประกวดเป็นผู้ชนะ ส่วนผู้ประพันธ์ทำนองเพลงคือพระเจนดุริยางค์ ชาลีคิดว่า “ผู้แต่งเพลงชาติไทยคง
ต้องการให้คนไทยทุกคนได้คิด ได้ตระหนักถึงความรักชาติ และความรักชาติที่คนไทยควรแสดงออก ไม่ใช่
การยืนตรงร้องเพลงชาติหน้าเสาธงทุกเช้า แต่ความรักชาติที่ถูกต้อง ความความร่วมมือร่วมใจ และความรัก
สามัคคีกันของคนในชาติต่างหาก”
เมื่อกลับจากอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาแล้ว ผมแกละกล่าวอำลาชาลี และบอกว่าชาลีโตแล้ว ต้อง
รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งฝากกลอนให้ชาลีอ่าน มีใจความสำคัญ ดังนี้
ผมแกละ จะเป็นใคร และอยู่ที่ไหนนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ ขอเพียงให้ชาลีรู้ว่าผมแกละคือความรู้สึกที่ดี
งามของชาลี ชาลีคือเพื่อนรักของผมแกละ ชาลีจึงเป็นดอกไม้ยามเช้า และเป็นนกน้อยร่าเริงกลางทุ่งกว้าง ทั้ง
ชาลี และผมแกละจะเดินทางต่อไปในโลกวรรณคดีอันรื่นรมย์ ด้วยจิตสำนึกรักวรรณคดีอันงดงาม ผมแกละจะ
รอชาลีอยู่ในโลกวรรณคดีตลอดไป

*****แบบทดสอบ*****
1. จดหมายของชาลีฉบับนี้เขาต้องการให้ผู้อ่านได้อะไร?
ความเพลิดเพลืนและแง่คิดนำไปไตร่ตรอง
2. นักเรียนคิกว่าการที่เราจะทราบความเป็นมาของราชธานีของไทยในยุคก่อนๆเราต้องศึกษาจากวิชาอะไร?
ประวัติศาสตร์ไทย
3. ความรักชาติมิใช่แค่ยืนตรง และร้องเพลงชาติหน้าเสาธงเท่านั้น แต่ความรักชาติของชาลีมีลักษณะอย่างไร
คนในชาติต้องร่วมมือ ร่วมใจ และมีความสามาัคคีกัน

You might also like