Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 93

มท. กฟผ.

1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

คํานํา

มาตรฐานทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้จัดทําขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2533-2534 จํานวน 8 มาตรฐาน


คือ หม้อแปลงไฟฟ้า , Surge arrester และ Surge counter , Molded case circuit breaker , CT ,
VT , CVT , VCB และ OCB โดยคณะกรรมการพิจารณามาตรฐานการทดสอบจากหน่วยงานด้าน
ทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าในสมัยนั้น ต่อมา ในปี พ.ศ. 2546 มีการแต่งตั้งคณะทํางานจัดทํามาตรฐาน
ทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากแผนกทดสอบอุปกรณ์ทุกฝ่ายปฏิบัติการ ได้ร่วมกัน
พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานฯ ให้ทันสมัยขึ้นเป็นครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับปรุงครั้งที่ 2
พร้อมกับจัดทํามาตรฐานทดสอบ GCB , Battery และ Battery charger เพิ่มเติมด้วย ในช่วงปี 2550-
2552 คณะทํางานฯ ได้มีการโยกย้ายไปปฏิบัติงานหน้าที่อื่นหลายท่าน บางท่านลาออกจาก กฟผ. จึงได้
ยกเลิกคณะทํางานฯ แต่การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดทํามาตรฐานทดสอบยังคงดําเนินการต่อไปอย่าง
ต่อเนื่องโดยคณะทํางานจัดการความรู้ด้านทดสอบอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง (CoP.)
ในปัจจุบัน กฟผ. มีประสบการณ์และข้อมูลผลการทดสอบมากพอสมควร และอุปกรณ์สถานี
ไฟฟ้ามีอายุมากขึ้น มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงบางฉบับมีการปรับปรุง ดังนั้น เกณฑ์ตัดสินต่างๆ ซึ่งกําหนด
ไว้ในมาตรฐานทดสอบฯบางส่วนควรต้องมีการปรับปรุง คณะทํางานจัดทํามาตรฐานการทดสอบ
อุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูงตามคําสั่ง รวส.ที่ ค. 30/2556 จึงได้ร่วมกันปรับปรุงมาตรฐานการทดสอบ
อุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง เพื่อให้การตัดสินผลทดสอบอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูงเป็นไปอย่างถูกต้อง
ตามมาตรฐานสากล และเหมาะสมกับสภาพของอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานมานาน ผู้ที่ทดสอบสามารถ
ตัดสินใจได้ถูกต้องรวดเร็ว หากพบอุปกรณ์ไม่ผ่านการทดสอบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้แก้ไขก่อนที่จะ
เกิดความเสียหาย ทําให้ค่า SPI ของระบบส่งดีขึ้นด้วย
ในมาตรฐานทดสอบฉบับนี้ เกณฑ์ตัดสินผลการทดสอบบางส่วนอาจแตกต่างจากมาตรฐาน
ทดสอบเดิม เนื่องจากใช้เอกสารอ้างอิงฉบับใหม่ และจากประสบการณ์อันยาวนานของ กฟผ.

คณะทํางานจัดทํามาตรฐานทดสอบ
เมษายน 2557

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
คณะทํางานจัดทํามาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง
ตามคําสั่ง รวส. ที่ ค.30/2556

1. นายประยูร แจ้งสุทธิวรวัฒน์ ประธานคณะทํางาน


2. นายสุพจน์ ดํากลิ่น คณะทํางาน
3. นายสามภพ แสงอํายวน คณะทํางาน
4. นายธาณินทร์ ศรีอ่อน คณะทํางาน
5. นายวุฒิรงค์ ดอนสกุล คณะทํางาน
6. นายกิตติ นิชรานนท์ คณะทํางาน
7. นายวัชร์วรี ์ พืชพันธ์ คณะทํางาน
8. นายนิพนธ์ สมลือแสน คณะทํางาน
9. นายสุเทพ สิงหฤกษ์ คณะทํางาน
10. นายสุวพิชญ์ ลิขิตสุภิณ คณะทํางาน
11. นายวิทิต คุ้มชู คณะทํางาน
12. นายพรชัย เกรียงมงคล คณะทํางาน
13. นายณพกิตติ์ ชมอินทร์ คณะทํางาน
14. นายวัชรา เทียนจ่าง คณะทํางาน
15. นายสิทธการย์ ประสมทรัพย์ คณะทํางาน
16. นายชิตสกนธ์ นฤนาท คณะทํางาน
17. นายประเวศ ศรีไพบูลย์ คณะทํางาน
18. นายรณชาติ เกตุจุมพล คณะทํางาน
19. นายรุ่ง ถวายนิล คณะทํางาน
20. นายจิตติยะ คุ้มแก้ว คณะทํางาน
21. นายมงคล ครุฑกาศ คณะทํางาน
22. นายเอก พันธุ์ฟุ้ง คณะทํางาน
23. นายบูรณะชัย คุตชนม์ คณะทํางาน
24. นายชัยชาญ อาคมวัฒนะ คณะทํางาน
25. นายอนุชิต ท่าทราย คณะทํางาน
26. นายกฤษวัฒน์ ทองแกมแก้ว คณะทํางาน
27. นายณัฐพล ประวัติเรืองศรี คณะทํางาน
28. นายศุภโชค สุทธาพานิช คณะทํางาน
29. นายสุทัศน์ สุขสกุลปัญญา คณะทํางาน
30. นายสาธิต เฉียบวิเชียร คณะทํางาน
31. นายปิยะพงศ์ แสงมณี คณะทํางาน
32. นายโฆสิต จิตรธิรา คณะทํางานและเลขานุการ
33. น.ส.อัญชลี ทองอินทร์ คณะทํางานและผู้ช่วยเลขานุการ

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
สารบัญ
บทที่ หน้า
1. ขอบเขต 1
2. คําจํากัดความ 1
3. วิธีการทดสอบ 1
3.1 รายการทดสอบ 1
3.2 รายละเอียดการทดสอบ 2
3.2.1 การสํารวจดูสภาพภายนอก 2
3.2.2 การวัดค่ากระแสกระตุ้น โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าหนึ่งเฟส แรงดันต่ํา 2
3.2.3 การวัดค่า Short circuit impedance 3
3.2.3.1 การวัดค่า Impedance หนึ่งเฟส 3
3.2.3.2 การวัดค่า Impedance เทียบเท่าสามเฟส 4
3.2.4 การทดสอบค่าอัตราส่วนของขดลวด 5
3.2.5 การวัดค่าความต้านทานของขดลวด 6
3.2.6 การวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรง 7
3.2.6.1 การวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรงของขดลวด 7
3.2.6.2 การวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรงของแกนเหล็ก 9
3.2.7 การวัดค่าการสูญเสียของไดอิเล็กตริก 10
3.2.7.1 การวัดค่าตัวประกอบกําลังของฉนวนหม้อแปลง 10
3.2.7.2 การวัดค่าตัวประกอบกําลังและค่า Capacitance ของ Bushing 11
3.2.8 การวัดค่ากระแสกระตุ้นด้วยแรงดันสูง 14
3.2.9 การทดสอบค่าความเป็นฉนวนของน้ํามันหม้อแปลง 14
3.2.9.1 การทดสอบค่าแรงดันเสียสภาพฉับพลันของน้ํามันหม้อแปลง 14
3.2.9.2 การทดสอบค่าตัวประกอบกําลังของน้ํามันหม้อแปลง 16
3.2.10 การทดสอบ Bushing current transformer 17
3.2.10.1 การวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรง 16
3.2.10.2 การวัดค่ากระแสกระตุ้น 16
3.2.10.3 การทดสอบค่าอัตราส่วนของขดลวด 18
3.2.11 การตรวจสอบ Temperature controller 18
3.2.11.1 การตรวจสอบโดยวิธีคํานวณจากโหลดที่หม้อแปลงกําลังจ่ายอยู่ 19
3.2.11.2 การตรวจสอบโดยการป้อนกระแสเข้าชุด Heating element 28
ขณะ De-energize หม้อแปลง
3.2.11.3 การตรวจสอบโดยการป้อนกระแสเข้าชุด Heating element 32
ขณะEnergize หม้อแปลง
3.2.11.4 การปรับเทียบความถูกต้องของ Temperature controller 32
3.2.11.5 การ Setting 33

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

บทที่ หน้า
4 ภาคผนวก 34
4.1 แบบฟอร์มการทดสอบ 34
4.2 อื่น ๆ 48
4.2.1 Connection of transformer for ratio test 49
4.2.2 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรง 50
4.2.3 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับค่า % PF ของหม้อแปลง 51
4.2.4 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับค่า %PF ของ Bushing 52
4.2.5 ตัวอย่างโครงสร้างของ Type “O” Bushing 54
4.2.6 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับการวัดค่า %PF ของน้ํามัน 55
4.2.7 การต่อ Tap Winding ของหม้อแปลงลักษณะต่างๆ 56
4.2.8 การวัดค่าความสูญเสียกําลังไฟฟ้าและกระแสขณะไม่มีโหลด 57
4.2.9 การวัดค่าความสูญเสียกําลังไฟฟ้าขณะลัดวงจร 59
4.2.10 Class ของ CT 61
4.2.11 การคํานวณ Percent ratio error ของ Type C relaying accuracy 61
CTs ตาม IEEE std. C57.13-1993
4.2.12 Phase-relation tests : polyphase transformers 64
4.2.13 การ Demagnetization 65
4.2.14 Simplified dielectric-loss and power-factor test circuit 66
4.2.15 รูปแสดงความแตกต่างระหว่าง Test tap และ Potential tap 67
4.2.16 วงจรทดสอบ Bushing main insulation (C1) 68
4.2.17 วงจรทดสอบ Bushing tap insulation (C2) 68
4.2.18 ข้อมูล Bushing ABB type GOB 69
4.2.19 ข้อมูลการทดสอบ % Power factor limit ของ Bushing ยี่ห้อต่างๆ 70
4.2.20 หลักการ Setting Fan stage 1, 2 และ Oil temp alarm 73
4.2.21 ตัวอย่างการบันทึกผลการทดสอบหม้อแปลง 75
4.2.22 ตัวอย่างข้อมูลผลทดสอบหม้อแปลงที่ขดลวดด้าน LV เสียรูปร่างเนื่องจาก 84
กระแสลัดวงจร
4.2.23 ตัวอย่างรูปขดลวดหม้อแปลงด้าน LV ที่เสียรูปร่างเนื่องจากกระแส 87
ลัดวงจร
5 เอกสารอ้างอิง 88

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
1. ขอบเขต
1.1 มาตรฐานนี้ครอบคลุมถึงหม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟส และหลายเฟส
1.2 สามารถใช้ได้ทั้งในการตรวจรับอุปกรณ์ใหม่ และในการตรวจสอบบํารุงรักษา
1.3 หม้อแปลงไฟฟ้าที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ น้ํามันหรือฉนวนไฟฟ้าอื่นๆ
1.4 หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขดลวดสองขดหรือมากกว่าสองขด

2. คําจํากัดความ
2.1 Distribution transformer หมายถึง หม้อแปลงที่มีขนาดไม่เกิน 500 kVA
Power transformer หมายถึง หม้อแปลงที่มีขนาด 501 kVA ขึ้นไป
อัตราส่วนของขดลวด หมายถึง อัตราส่วนระหว่างแรงดันที่กําหนดของขดลวดหนึ่ง
กับอีกขดลวดหนึ่งที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากัน
Top oil temperature หมายถึง อุณหภูมิด้านบนสุดของน้ํามันหม้อแปลง ตัว Sensor
จะจุ่มลงในน้ํามันจาก Top cover ของตัวถังหม้อแปลง
ลงในน้ํามันประมาณ 10 ซ.ม.
Hottest spot temperature หมายถึง จุดที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดของขดลวด เนื่องจากขดลวด
พันเป็น Layer ทําให้ตรงกลางของขดลวดมีอุณหภูมิ
สูงกว่าขอบนอก จุด Hottest spot ของขดลวดจะอยู่
Layer กลางของขดลวด อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 2 ใน 3
ของความสูงของขดลวด เนื่องจากความร้อนจะขยายตัว
และลอยสูงขึ้นด้านบนของขดลวด
2.2 ค่าแรงดันและกระแส หมายถึง ค่า rms (Root mean square) นอกจากจะระบุเป็น
อย่างอื่น
3. วิธีการทดสอบ
3.1 รายการทดสอบ แบ่งออกได้ดังนี้
3.1.1 การสํารวจดูสภาพภายนอก (Visual inspection)
3.1.2 การวัดค่ากระแสกระตุ้น โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบหนึ่งเฟสแรงดันต่ํา
(Single phase low voltage exciting current measurement)
3.1.3 การวัดค่า Short circuit impedance
3.1.4 การทดสอบค่าอัตราส่วนของขดลวด (Ratio test)
3.1.5 การวัดค่าความต้านทานของขดลวด (Winding resistance measurement)
3.1.6 การวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรง (Insulation resistance measurement)
3.1.7 การวัดค่าการสูญเสียของไดอิเล็กตริก (Dielectric loss measurement)
3.1.8 การวัดค่ากระแสกระตุ้นด้วยแรงดันสูง (High voltage exciting current measurement)
3.1.9 การทดสอบค่าความเป็นฉนวนของน้ํามันหม้อแปลง (Transformer oil insulation test )
3.1.10 การทดสอบ Bushing current transformer (BCT Test)
3.1.11 การตรวจสอบ Temperature controller
1

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2 รายละเอียดการทดสอบ
3.2.1 การสํารวจดูสภาพภายนอก (Visual inspection)
ก่อนที่จะทําการทดสอบหม้อแปลงด้วยวิธีการทางไฟฟ้า ให้สํารวจดูสภาพภายนอกโดย
ทั่วๆไปว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ โดยใช้แบบตรวจสอบในภาคผนวกหัวข้อที่ 5.1.2 และให้ สังเกต
ว่าตัวถังต่อลงดินแล้ว
หมายเหตุ ในกรณีที่หม้อแปลงระบายความร้อนด้วยสาร PCB (Poly Chlorinated Biphenyl)
หรือ Askarel หรือชื่อทางการค้าอื่นๆ ถ้ามีการรั่วไหลของสารดังกล่าวให้ปฏิบัติด้วยความ
ระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าสัมผัส และประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
3.2.2 การวัดค่ากระแสกระตุ้นโดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าหนึ่งเฟสแรงดันต่ํา ( Single phase low
voltage exciting current measurement)
3.2.2.1 ต่อวงจรตามรูปที่ 1 (ให้สังเกตตําแหน่งของ Voltmeter ด้วย)

H3 X3
A
1 Phase X2
H2 X1
AC. supply V
X0
H1
Variac
Tested transformer
รูปที่ 1 วงจรวัดค่ากระแสกระตุ้น 1 เฟสแรงดันต่ํา
3.2.2.2 กรณีตรวจรับของใหม่และก่อนย้ายให้วัดทุก Tap (ทั้ง OLTC และ OFF load tap) และทุก
เฟสของหม้อแปลงเรียงตาม Phase sequence โดยเริ่มจาก Tap ต่ําสุดหรือสูงสุด ขดลวด
ชุดที่เหลือให้ปรับ Tap ไปไว้ที่ Tap แรงดันพิกัด
3.2.2.3 ในกรณีบํารุงรักษา อาจทดสอบที่ Tap แรงดันสูงสุด ,Tap N และ Tap แรงดันต่ําสุด แต่
ต้องบันทึกตําแหน่งของ Tap ไว้ด้วย สําหรับ Off load tap ให้วัดที่ตําแหน่งใช้งาน
3.2.2.4 ค่าแรงดันสําหรับทดสอบกําหนดไว้ดังนี้
(1) ถ้าขดลวดที่ถูกทดสอบมีแรงดันพิกัดตั้งแต่ 1 kV ขึ้นไป ทดสอบด้วยแรงดัน 200 V
(2) ถ้าขดลวดที่ถูกทดสอบมีแรงดันพิกัดน้อยกว่า 1 kV ลงมา ทดสอบด้วยแรงดัน 50 V
3.2.2.5 ปรับค่าแรงดันตามที่กําหนดให้ถูกต้อง อ่านค่ากระแสและแรงดันพร้อมกัน
3.2.2.6 ในกรณีที่หม้อแปลงต่อแบบ Star (Y-Connection) และมีขั้ว Neutral อยู่ภายนอก
ให้วัดค่าแบบ Line to neutral แต่ถ้าไม่มีขั้ว Neutral อยู่ภายนอก แบ่งเป็น 2กรณี คือ
(1) จุด Star point ลอย ให้วัดค่าแบบ Line to line
(2) จุด Star point ลงกราวด์ภายในหม้อแปลงต้องวัดแบบ Line to neutral
3.2.2.7 กรณีหม้อแปลง Core type 3 เฟส ค่า Exciting Current เฟสกลางจะมีค่าน้อยกว่าสองเฟส
ข้าง (หม้อแปลง Shell type ไม่มีข้อมูล) และผลการทดสอบในแต่ละครั้งอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่
กับสนามแม่เหล็กตกค้าง ในกรณีการทดสอบตามวาระ อาจพิจารณาไม่ทดสอบหัวข้อนี้ก็ได้
ส่วนการทดสอบในกรณีที่หม้อแปลง Trip ต้องทดสอบหัวข้อนี้ด้วย
2

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.3 การวัดค่า Short circuit impedance
3.2.3.1 การวัดค่า Impedance หนึ่งเฟส (Single phase impedance measurement)
3.2.3.1.1 ก่อนทําการวัด ให้ลัดวงจร BCT. ที่ไม่ได้ต่อใช้งาน ทุกชุด
3.2.3.1.2 ทําการวัดทุกเฟสเรียงตาม Phase sequence
3.2.3.1.3 ต่อวงจรตามรูปที่ 2 และลัดวงจรอีกด้านหนึ่งของหม้อแปลงให้ถูกต้องตาม Vector group

X3
H3
X2
A H2
1 Phase X1
H1
AC. supply Digital voltmeter
V X0

Variac Tested Transformer


X2
H2
X1 X0
H1 H3
X3
รูปที่ 2 วงจรวัดค่า Impedance หนึ่งเฟส

ในกรณีหม้อแปลงที่ทําการวัดมีมากกว่า 2 ขดลวด ให้วัดทีละคู่ ขดลวดที่ยังไม่ได้วัด ให้


ปล่อยลอยไว้ (Open circuit) และในกรณีหม้อแปลงมีขั้ว Neutral ต่อลงดิน ให้ปลดสายที่
ต่อลงดินออกด้วย
3.2.3.1.4 การลัดวงจรควรใช้สายที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 70 mm2
เพื่อให้ได้ผลการวัดที่แม่นยํา สายลัดวงจรจะต้องสั้นที่สุด จุดต่อต้องแน่น
3.2.3.1.5 สําหรับ On load tap ให้ทําการวัดที่ Tap Full winding, Tap N, Main winding และ
Min winding
3.2.3.1.6 สําหรับ Off load tap ให้วัดทุก Tap ในกรณีตรวจรับของใหม่และก่อนโยกย้าย ในกรณี
บํารุงรักษาให้วัดเฉพาะ Tap ใช้งาน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะเปลี่ยน Tap
3.2.3.1.7 ปรับแรงดันให้ได้กระแสสูงสุด แล้วอ่านแรงดันจาก Digital voltmeter ( ถ้าใช้ Ammeter
แบบเข็ม ควรปรับให้ได้กระแสที่อ่านง่าย เช่น 3.0A , 3.5A , 4A หรือ 4.5A )
3.2.3.1.8 บันทึกรายละเอียดของการวัดให้ครบถ้วนลงในแบบฟอร์ม เช่น ขั้วไหนเป็นขั้วป้อน
แรงดัน ขั้วไหนต่อสายลัดวงจร แรงดัน กระแส รวมทั้งตําแหน่งของ Tap ที่ทําการวัด
3.2.3.1.9 คํานวณ Single phase impedance จากสูตร

Single phase impedance ( Z ) = แรงดัน (Volts)


กระแส (Amperes)
3

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.3.1.10 การวิเคราะห์ผลการวัด ให้พิจารณาดังนี้
3.2.3.1.10.1 หม้อแปลงที่มีค่า Single phase impedance เพิ่มขึ้นจากค่าที่วัดจากโรงงานหรือค่า
ตรวจรับ 0.5 - 2 % อาจเป็นหม้อแปลงที่เริ่มผิดปกติ ให้วิเคราะห์ร่วมกับผลการ
วัด % Impedance ( Three phase equivalent impedance measurement) และ
ค่า C ( ค่า C หมายถึง CHL , CH , CL ) และควรทําการทดสอบครั้งต่อไป ตามคู่มือ
Expert system (WI-TSB-Tx-01) ในภาคผนวก ง. เรื่องข้อกําหนดและความถี่ในการ
ทดสอบ % Impedance ของหม้อแปลง
3.2.3.1.10.2 หม้อแปลงที่มีค่า Single phase impedance เพิ่มขึ้นจากค่าที่วัดจากโรงงานหรือค่า
ตรวจรับอยู่ในช่วง 2 – 3 % [5.18] และค่า C เพิ่มขึ้นด้วย จัดเป็นหม้อแปลงที่กําลังมี
ปัญหา ควรวางแผนปลดออกจากระบบ
3.2.3.1.10.3 หม้อแปลงที่มีค่า Single phase impedance เพิ่มขึ้นจากค่าที่วัดจากโรงงานหรือค่าตรวจ
รับมากกว่า 3 % [5.18] และค่า C เพิ่มขึ้นด้วย จัดเป็นหม้อแปลงที่ผิดปกติ ควรรีบปลด
ออกจากระบบ
3.2.3.1.10.4 ถ้าไม่มีผลการทดสอบตรวจรับ ควรใช้ข้อมูลจากหม้อแปลงรุ่นเดียวกัน, Lot เดียวกัน
ประกอบการพิจารณา
3.2.3.2 การวัดค่า Impedance เทียบเท่าสามเฟส (Three phase equivalent impedance
measurement)
3.2.3.2.1 ก่อนทําการวัด ให้ลัดวงจร BCT. ที่ไม่ได้ต่อใช้งาน ทุกชุด
3.2.3.2.2 ต่อวงจรตามรูปที่ 3 ป้อนแรงดันหนึ่งเฟสเข้าระหว่างขั้ว Line คู่หนึ่งของขดลวด และลัดวงจร
ขั้ว Line ทั้งสามของขดลวดอีกด้านหนึ่ง โดยให้สอดคล้องตาม % Impedance ที่ระบุใน
Nameplate และลอยขั้ว Neutral ไว้ ไม่ว่าด้านป้อนแรงดันหรือด้านลัดวงจร

X3
1 Phase A H3
X2
AC. supply V H2 X1
Digital voltmeter
H1 X0

Variac
Tested transformer
รูปที่ 3 วงจรวัดค่ากระแสลัดวงจรเทียบเท่าสามเฟส

3.2.3.2.3 การลัดวงจรควรใช้สายที่มีกระแสพิกัดขนาดมากกว่า 200 A หรือมากกว่า 70 mm2


เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยําในการวัด สายลัดวงจรจะต้องสั้นที่สุด มีการยึดที่ดีและแน่น
3.2.3.2.4 สําหรับ On load tap ให้วัดทุก Tap ตามที่มี Impedance ระบุไว้ที่ Nameplate
สําหรับ Off load tap กรณีตรวจรับของใหม่และก่อนย้าย ให้ทําการวัดทุก Tap
สําหรับกรณีบํารุงรักษาให้วัดเฉพาะ Tap ใช้งาน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะเปลี่ยน
Tap

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

3.2.3.2.5 ปรับแรงดันให้ได้กระแสสูงสุด แล้วอ่านแรงดันจาก Digital voltmeter (ถ้าใช้ Ammeter


แบบเข็ม ควรปรับให้ได้กระแสที่อ่านง่าย เช่น 3.0A , 3.5A , 4A หรือ 4.5A )
3.2.3.2.6 ทําการวัดผลัดเปลี่ยนขั้ว Line ทีละคู่ เช่น H1 กับ H2 , H2 กับ H3 , H3 กับ H1
3.2.3.2.7 บันทึกรายละเอียดของการทดสอบให้ครบถ้วนลงในแบบฟอร์ม เช่น ขั้วไหนเป็นขั้วป้อน
แรงดัน ขั้วไหนต่อสายลัดวงจร รวมทั้งตําแหน่งและแรงดันพิกัดของ Tap ขณะทดสอบ
3.2.3.2.8 คํานวณค่า % Impedance (Three phase equivalent impedance) จากสูตร

%Z =
∑Z m
× S 3φ
2
60 ×V L− L

เมื่อ ∑Zm = ผลบวกของ Impedance ของการวัดในแต่ละคู่มีหน่วยเป็นโอห์ม


S3φ = kVA พิกัดของขดลวดที่ป้อน และถือเป็น Base ของ Impedance ที่จะหา
VL-L = แรงดันพิกัด (kV) ของขดลวดชุดที่วัด ณ ตําแหน่ง Tap ที่ทดสอบ
3.2.3.2.9 Impedance ที่ทดสอบได้เทียบกับ Nameplate หรือ Factory test ไม่ควรเกิน
± 3 % [5.4]
3.2.3.2.10 สําหรับหม้อแปลง 1 เฟส คํานวณค่า % Impedance จากสูตร
Z ×S
%Z = m
2
10 × V L − L

เมื่อ Zm = Impedance ของการวัด มีหน่วยเป็นโอห์ม


S = kVA พิกัดของขดลวดที่ป้อน และถือเป็น Base ของ Impedance ที่จะหา
VL-L = แรงดันพิกัด (kV) ของขดลวดชุดที่วัด ณ ตําแหน่ง Tap ที่ทดสอบ

3.2.4 การทดสอบค่าอัตราส่วนของขดลวด (Ratio test)


3.2.4.1 ใช้เครื่อง Transformer ratio tester ต่อวงจรตามรูปที่ 4

H3
X3
X2
Transformer H H2
X1
ratio tester H1
X0
X

รูปที่ 4 วงจรทดสอบค่าอัตราส่วนของขดลวด
3.2.4.2 แรงดัน Supply ที่ป้อนให้ขดลวดทดสอบ ให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยไม่
เกิน 80% ของแรงดันพิกัดของหม้อแปลง
5

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.4.3 การคํานวณหาค่าอัตราส่วน ให้นําค่าของ Line to line voltage ไปหาค่าอัตราส่วนของ
ขดลวดและในกรณีที่ต้องใช้ค่า Line to neutral voltage ในการคํานวณหาอัตราส่วน ให้ใช้
สูตร
Line to neutral voltage = Line to line voltage
1.732
หมายเหตุ : ค่าอัตราส่วนกําหนดให้ใช้ ทศนิยม 4 ตําแหน่ง
3.2.4.4 กรณีตรวจรับ ให้วัดทุก Tap และทุกเฟสของหม้อแปลงเรียงตาม Phase sequence
3.2.4.5 กรณีบํารุงรักษาให้วัดที่ Tap แรงดันสูงสุด , Tap N และ Tap แรงดันต่ําสุด
3.2.4.6 เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของค่าอัตราส่วนของขดลวด คํานวณจากสูตร [5.2]
Rm − Rrated
ε (%) = ×100
Rrated
ε(%) = เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของค่าอัตราส่วนของขดลวด
Rm = ค่าอัตราส่วนของขดลวดที่วัดได้
Rrated = ค่าอัตราส่วนของขดลวดจาก Nameplate
ความคลาดเคลื่อนของค่าที่วัดได้ต้องไม่เกิน ±0.5 % เมื่อเทียบค่าอัตราส่วนที่ Nameplate
[5.4] ถ้าพบว่ามีค่าเกิน ต้องตรวจสอบหาสาเหตุ ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงความแม่นยํา (Accuracy)
ของอุปกรณ์ทดสอบที่ใช้ด้วย (เช่น Transformer ratio tester Multi-Amp TR800 มี
Accuracy +0.1 %)
3.2.4.7 ในกรณีที่หม้อแปลงต่อแบบ Star (Y-Connection) และไม่มีขั้ว Neutral อยู่ภายนอก ให้
ทดสอบตามวิธีที่แนบในภาคผนวก หัวข้อที่ 4.2.1
3.2.5 การวัดค่าความต้านทานของขดลวด (Winding resistance measurement)
การวัดค่าความต้านทานของขดลวด สามารถใช้เครื่อง Winding resistance tester หรือใช้วิธี
Voltmeter-ammeter
3.2.5.1 การวัดความต้านทานของขดลวดด้วยวิธี Voltmeter-ammeter
3.2.5.1.1 ต่อวงจรตามรูปที่ 5 (ยังไม่ต้องต่อ Digital voltmeter )
S1
A
H3 X3
Class ≤ 0.5 X2
S2 H2
DC Digital voltmeter X1
R V
Supply H1 X0
10-20 Ω
50-200 W.

Tested transformer
รูปที่ 5 วงจรวัดค่าความต้านทานของขดลวดด้วยวิธี Voltmeter-ammeter
6

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

3.2.5.1.2 กระแสที่ทดสอบต้องไม่เกิน 15% [5.4] ของกระแสพิกัดของขดลวด


3.2.5.1.3 ในกรณีท่หี ม้อแปลงต่อแบบ Star (Y-Connection) และมีขั้ว Neutral อยู่ภายนอก ให้
วัดค่าแบบ Line to neutral แต่ถ้าไม่มีขั้ว Neutral ภายนอก ให้วัดค่าแบบ Line to line
3.2.5.1.4 สับสวิทช์ S1 รอจนกว่าค่ากระแสไม่เปลี่ยนแปลง แล้วต่อ Voltmeter คร่อมขดลวด
ที่ทําการวัด หลังจากนั้นจึงอ่านค่ากระแสและแรงดัน แล้วปลด Voltmeter ออก
3.2.5.1.5 สับสวิทช์ S2 ก่อนปลดสวิทช์ S1 หลังจากที่ปลด S1 แล้วรอสักครู่ จึงปลดสวิทช์ S2
3.2.5.1.6 สําหรับขดลวดที่มี Tap ปรับระดับแรงดันให้ทําการวัดค่าที่ทุกๆ Tap ในแต่ละเฟส
จนเสร็จสิ้นก่อน โดยเริ่มจาก Tap แรงดันต่ําสุดหรือสูงสุดแล้วจึงเปลี่ยนไปวัดค่าใน
เฟสอื่นเรียงตาม Phase sequence
3.2.5.1.7 ในกรณีที่หม้อแปลงมีการต่อ Tap ปรับระดับแรงดันในลักษณะที่มี Reversing switch
ให้ทําการวัดถึง Tap ที่ทําให้ Reversing switch เปลี่ยนตําแหน่งก็เพียงพอแล้ว
ในกรณีที่หม้อแปลงมีการต่อ Tap ปรับระดับแรงดันในลักษณะที่ขดลวดชุดมี Tap
ปรับระดับแรงดันไม่ได้ต่อโดยตรงกับขดลวดที่ทําการวัดให้วัดเพียงครั้งเดียว
3.2.5.1.8 บันทึกค่าอุณหภูมิของขดลวดระหว่างการทดสอบ โดยวัดจากอุณหภูมิของน้ํามันหรือ
ฉนวน (Dry type) และในกรณีที่หม้อแปลงปลดออกจากระบบอยู่นานเกิน 24 ชั่วโมง
ให้ใช้อุณหภูมิอากาศแทนอุณหภูมิขดลวดได้
3.2.5.1.9 ความคลาดเคลื่อนของค่าความต้านทานที่วัดได้ ไม่ควรเกิน 5 %[5.4] ทั้งเทียบกับค่า
ที่ทดสอบมาจากโรงงานที่อุณหภูมิเดียวกัน และเทียบกันระหว่างเฟส ถ้าพบว่าความ
คลาดเคลื่อนมีค่าเกิน 5% หรือมีค่ากระโดดไม่เรียงลําดับกัน ต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุและแก้ไข
3.2.5.1.10 ค่าความต้านทานของขดลวดที่อุณหภูมิ Reference คํานวณได้จากสูตร

Ts + Tk
Rs = Rm
Tm + Tk
Where Rs is resistance at desired temperature Ts
Rm is measured resistance
Ts is desired reference temperature (°C)
Tm is temperature at which resistance was measured (°C)
Tk is 234.5 °C (Copper)
is 225 °C (Aluminium)
Note-The value of Tk may be as high as 230 °C for alloyed aluminium

3.2.6 การวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรง (Insulation resistance measurement)


3.2.6.1 การวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรงขดลวด (Winding insulation resistance
measurement)
7

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.6.1.1 ให้ลัดวงจรของขดลวดในแต่ละชุดของหม้อแปลงเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะให้แรงดันทดสอบมีค่า
เท่ากันในแต่ละเฟส
3.2.6.1.2 ค่าแรงดันสําหรับทดสอบ กําหนดไว้ดังนี้
(1) ถ้าขดลวดทดสอบมีแรงดันพิกัดตั้งแต่ 3,300 V ขึ้นไป ให้ทดสอบด้วย
แรงดัน 2,500 Vdc. เป็นเวลา 10 นาที และคํานวณค่า PI (Polarization index)
(2) ถ้าขดลวดทดสอบมีแรงดันพิกัดน้อยกว่า 3,300 V ลงมา ให้ทดสอบ
ด้วยแรงดัน 500 Vdc. เป็นเวลา 1 นาที
3.2.6.1.3 ค่าความต้านทานฉนวนที่วัด ให้เป็นค่าระหว่างขดลวดกับตัวถังและขดลวดที่เหลือซึ่งต่อดิน
3.2.6.1.4 ในกรณีที่ต้องการเทียบค่าทดสอบจากโรงงาน ซึ่งมีการทดสอบนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ใน
ข้อ 3.2.6.1.3 ให้ดําเนินการทดสอบให้สอดคล้องกับวิธีการของโรงงาน
3.2.6.1.5 บันทึกค่าอุณหภูมิของขดลวด, น้ํามัน, อากาศและความชื้นสัมพัทธ์

3.2.6.1.6 ค่าความต้านทานฉนวนต่ําสุดที่ยอมรับได้ คํานวณจากสูตร

R (ที่ 1 นาที) = CE [5.17]


kVA
R = ค่าความต้านทานฉนวนที่อุณหภูมิ 20°C ของขดลวด (MΩ)
C = 0.8 สําหรับหม้อแปลงบรรจุน้ํามัน
C = 16.0 สําหรับหม้อแปลง Dry type, Compound filled
หรือหม้อแปลงน้ํามันซึ่งยังไม่ได้บรรจุน้ํามัน
E = แรงดันพิกัดของขดลวด (Volts)
- ใช้ค่า Line to neutral สําหรับหม้อแปลงที่ต่อแบบ Star
- ใช้ค่า Line to line สําหรับหม้อแปลงที่ต่อแบบ Delta
kVA = กําลังพิกัดของหม้อแปลง (kVA ที่ OA)

3.2.6.1.7 ตัวประกอบแก้ไขสําหรับเปลี่ยนค่าความต้านทานฉนวน ณ อุณหภูมิต่างๆ เมื่อเทียบ


ไปที่อุณหภูมิ 20°C โดยใช้ค่าอุณหภูมิของน้ํามัน ขณะทดสอบเป็นอุณหภูมิแก้ไข ให้ดูจาก
ภาคผนวกตามหัวข้อที่ 4.2.2 ถ้าพบว่าค่า Insulation resistance มีค่าต่ํา ให้แจ้ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการต่อไป

ตัวอย่าง หม้อแปลงน้ํามันขนาดพิกัด 25,000 kVA ขดลวดมีแรงดันพิกัด 115 kV ความต้านทาน


ฉนวนต่ําสุดที่อุณหภูมิ 30°C
R 20°C = 0.8 x 115,000/√25,000 = 581 MΩ
R 30°C = 581/K = 291 MΩ (K=2.000)
หมายเหตุ ค่า K คือค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับหม้อแปลงนํ้ามัน

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

3.2.6.1.8 ค่า PI คืออัตราส่วนความต้านทานฉนวนนาทีที่ 10 ต่อ นาทีที่ 1


หรืออัตราส่วนของกระแสรั่วไหลนาทีที่ 1 ต่อนาทีที่ 10

PI = R10 min = I1min


R1min I10 min

3.2.6.1.9 ค่า PI สําหรับตัดสินสภาพของหม้อแปลง พิจารณาได้จากตาราง ดังนี้ [5.17]

ตารางตัดสินสภาพของหม้อแปลงโดยพิจารณาจากค่า PI
สภาพ PI
อันตราย น้อยกว่า 1.00
ไม่ดี 1.00 - 1.10
น่าสงสัย 1.10 - 1.25
พอใช้ 1.25 - 2.00
ดี มากกว่า 2.00

3.2.6.1.10 ถ้าค่า PI อยู่ในช่วง 1.00 -1.25 ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและแก้ไข และ


ถ้าค่า PI น้อยกว่า 1 ต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบทันที ไม่ควรนําเข้าใช้งาน

3.2.6.2 การวัดค่าความต้านทานฉนวนของแกนเหล็ก (Core insulation resistance


measurement)
แรงดันที่ใช้ในการทดสอบ ไม่เกิน 1,000 Vdc. โดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

รูปที่ 6 วงจรวัดค่าความต้านทานฉนวนแกนเหล็ก

3.2.6.2.1 ค้นหาตําแหน่งหรือจุดต่อของ Core grounding terminal ให้พบ ซึ่งหม้อแปลง


สมัยใหม่ Core grounding จะต่อออกมาที่ Bushing terminal ขนาดเล็ก
9

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.6.2.2 ปลดสายที่ต่อจาก Core grounding ลงตัวถังหม้อแปลงหรือที่ต่อลงดินออก
3.2.6.2.3 ทําการวัดค่าความต้านทานฉนวนของแกนเหล็ก เทียบกับตัวถังและ Ground
3.2.6.2.4 ค่าความต้านทานฉนวนระหว่างแกนเหล็กเทียบกับตัวถังและ Ground ให้พิจารณาจาก
ตาราง ดังนี้ [5.4]
Type of Core insulation resistance Condition of insulation
equipment
หม้อแปลงใหม่ > 1000 MΩ ปกติ
> 100 MΩ ปกติ
หม้อแปลงใช้งานใน 10 – 100 MΩ แสดงอาการฉนวนเสื่อมสภาพลง
ระบบ < 10 MΩ ฉนวนเสื่อมสภาพ ทําให้เกิด
กระแสไหลวน ต้องตรวจสอบ

3.2.6.2.5 ถ้าพบว่าค่า Insulation resistance ของแกนเหล็กมีค่าน้อยกว่า 10 MΩ ควรแจ้ง


หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ

3.2.7 การวัดค่าการสูญเสียของไดอิเล็กตริก (Dielectric loss measurement)


3.2.7.1 การวัดค่าตัวประกอบกําลังของฉนวนหม้อแปลง (Transformer insulation power
factor measurement)
3.2.7.1.1 ถ้าค่า PI มีค่าระหว่าง 1.0 - 1.1 ไม่ต้องวัดค่าความสูญเสียและ %PF
3.2.7.1.2 ถ้าค่า PI มีค่าระหว่าง 1.1 - 1.25 ให้ทําการวัดค่า %PF ที่แรงดัน 2.5 kV ก่อน
3.2.7.1.3 วิธีการให้เป็นไปตามแบบฟอร์มในภาคผนวก หัวข้อที่ 4.1.8 , 4.1.9 หรือ 4.1.10
ตามชนิดของหม้อแปลง
3.2.7.1.4 บันทึกค่าอุณหภูมิของน้ํามัน อากาศ และความชื้นสัมพัทธ์
3.2.7.1.5 ในกรณีที่ต้องการเทียบค่ากับค่าจากโรงงานซึ่งมีวิธีการนอกเหนือจากที่
กําหนดไว้ในหัวข้อ 3.2.7.1.3 ให้ทําการวัดให้สอดคล้องกับวิธีการของ โรงงาน
3.2.7.1.6 ค่าแรงดันสําหรับทดสอบกําหนดไว้ดังนี้

แรงดันพิกัดของขดลวดที่ แรงดันที่ใช้ทดสอบ
ทดสอบ (kV) (kV)
3 - 5 2.5
> 5 - 12 5
> 12 10

ข้อควรระวัง : ในกรณีที่หม้อแปลงต่อแบบ Star และมีขั้ว Neutral อยู่ภายนอกซึ่งมีขนาดเล็ก


ไม่ควรใช้แรงดันทดสอบเกิน 2.0 kV
10

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.7.1.7 ค่า %PF ที่อุณหภูมิ 20°C สําหรับตัดสินสภาพของหม้อแปลง พิจารณาได้จาก
ตารางดังนี้ [5.14]
ดี น่าสงสัย ไม่ดี

สภาพ
ชนิด (%PF) (%PF) (%PF)
Power Tx. (Oil filled) < 0.5 0.5 - 1.0 > 1.0
Dist. Tx. (Oil filled) < 1.0 1.0 - 2.0 > 2.0
Dry type < 2.0 2.0 - 5.0 > 5.0
Askarel < 0.5 0.5 - 10.0 > 10.0

3.2.7.1.8 ในกรณีหม้อแปลงใหม่ ค่า %PF ไม่ควรเกิน 1.5 เท่าของค่าทดสอบจากโรงงาน และถ้า


พบว่าค่า %PF อยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไข
3.2.7.1.9 ค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับเปลี่ยนค่า %PF ณ อุณหภูมิต่างๆ ไปที่อุณหภูมิ 20๐C ให้ดูจาก
ภาคผนวกหัวข้อที่ 4.2.3 โดยใช้ค่าอุณหภูมิของน้ํามัน ขณะทดสอบเป็นอุณหภูมิแก้ไข
3.2.7.1.10 ในกรณีที่ค่า %PF ของหม้อแปลงมีค่าสูงกว่าปกติ สามารถทดสอบด้วยวิธี Tip-Up เพิ่มเติม
[5.17] คือ การวัดค่า %PF ที่แรงดันต่างๆกัน ตั้งแต่แรงดันต่ําๆ จนถึงแรงดันทดสอบสูงสุด
โดยคํานวณค่า %PF ที่แรงดันต่างๆ เพื่อให้มีข้อมูลสําหรับการวิเคราะห์ปัญหามากขึ้น
* ถ้าค่า %PF ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามแรงดันที่ทดสอบ แสดงว่าความชื้นหรือสารประกอบที่
มีขั้วอื่นๆ เป็นสาเหตุที่ทําให้ %PF สูง
* แต่ถ้าค่า %PF เพิ่มขึ้นตามแรงดันทดสอบ แสดงว่าเกิดการแตกตัวของอะตอม(Ionization)
หรือเกิดคาร์บอนในน้ํามันหรือขดลวด ถ้าเป็นหม้อแปลงแบบแห้ง แสดงว่าเกิดช่องว่าง
(voids) หรือช่องว่างอากาศ( air gaps) ในฉนวนของขดลวด

3.2.7.2 การวัดค่าตัวประกอบกําลังและค่า Capacitance ของ Bushing


(Bushing insulation power factor and capacitance measurement)
3.2.7.2.1 Bushing main insulation (C1)
3.2.7.2.1.1 การเปิดฝาครอบ Test tap ควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ถ้าใช้เครื่องมือผิดประเภทอาจทํา
ให้ฝาครอบ Test tap ชํารุดได้ ถ้าเปิดไม่ได้ ให้แจ้ง กม-ส. และหากพบว่า O-ring
ชํารุดหรือเสื่อมสภาพให้เปลี่ยนใหม่ ก่อนทดสอบต้องทําความสะอาดผิวของ Bushing
และบริเวณ Test tap และควรใช้ Anti-seize grease ทาที่เกลียวก่อนปิดฝาครอบ ถ้า
ไม่สามารถหา O-ring ตัวใหม่มาเปลี่ยนได้ ให้ทา RTV Silicone ที่รอบนอกของ Test tap
หลังจากปิดฝาแล้วไว้ชั่วคราว และควรจัดหา O-ring ตัวใหม่มาเปลี่ยนทันที
3.2.7.2.1.2 ให้วัด Bushing main insulation (C1 ) ในตําแหน่ง UST ที่แรงดัน 10 kV
ตามวงจรทดสอบในภาคผนวกหัวข้อที่ 4.2.16
11

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.7.2.1.3 ก่อนทําการวัด C1 ให้ลัดวงจรขั้ว Bushing แต่ละชุด เมื่อวัด C1 ของชุดใด ให้ Ground
ชุดที่เหลือ ดังรูปที่ 7, 8 หรือ 9

รูปที่ 7 การลัดวงจรสําหรับทดสอบ Bushing หม้อแปลง Two winding

H (ต่อเข้าด้วยกันถ้าทําได้)
H1

รูปที่ 8 การลัดวงจรสําหรับทดสอบ Bushing หม้อแปลง Auto

รูปที่ 9 การลัดวงจรสําหรับทดสอบ Bushing หม้อแปลง Three winding

3.2.7.2.1.4 ค่า %PF ที่วัดได้สําหรับ Bushing main insulation (C1 ) ชนิด Oil Impregnated
paper ที่อุณหภูมิ 20 °C โดยคูณค่าตัวประกอบแก้ไขตาม Type ของแต่ละบริษัทใน
ภาคผนวกหัวข้อที่ 4.2.4
3.2.7.2.1.5 ค่า %PF ของ Main insulation (C1) โดยกําหนดเกณฑ์พิจารณา ดังนี้
3.2.7.2.1.5.1 สําหรับ Bushing ระดับแรงดันตั้งแต่ 69 kV ขึ้นไปให้เปรียบเทียบกับค่าที่ระบุไว้บน
Nameplate ดังนี้
- ถ้าค่าที่วัดได้มีค่าสูงกว่า Nameplate เกิน 2 เท่า [5.5] และมี Spare part ให้วางแผน
เปลี่ยนโดยเร่งด่วน ถ้าไม่มี Spare part ให้กําหนดแผนทดสอบครั้งต่อไปอีก 3 เดือน
ถ้าค่าไม่สูงเพิ่มขึ้น ให้ติดตามทดสอบทุก 6 เดือน แต่ถ้าค่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ต้องพิจารณา
ปลดออกจากระบบ
12

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
- ถ้าค่าที่วัดได้มีค่าสูงกว่า Nameplate มากกว่า 3 เท่า [5.5] ให้แจ้ง กม-ส. เพื่อพิจารณา
ปลดออกจากระบบเพื่อตัวใหม่มาเปลี่ยนทันที
- ถ้าไม่มีค่า %PF ที่ Nameplate ให้ใช้ค่าผลการทดสอบจากครั้งแรก
3.2.7.2.1.5.2 สําหรับ Bushing ระดับแรงดันตั้งแต่ 33 kV ลงมา ค่า % PF ของ Main insulation
(C1) ไม่เกิน 1% [5.14] ถ้าพบว่ามีค่าเกิน 1% ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปลดออก
จากระบบเพื่อหาตัวใหม่มาเปลี่ยน
3.2.7.2.1.6 ให้เทียบค่า Capacitance ของ C1 ที่วัดได้กับ Nameplate ไม่ควรเกิน ±5 % [5.14]
ถ้าพบว่าค่า Capacitance มีความเปลี่ยนแปลงเกิน 5% ให้พิจารณาเปรียบเทียบกระแส
และ Watt loss กับเฟสข้างเคียง ถ้าพบความผิดปรกติ ให้แจ้งกม-ส. หาตัวใหม่มาเปลี่ยน
3.2.7.2.1.7 ค่าอุณหภูมิเปรียบเทียบให้ใช้ค่าเฉลี่ยระหว่าง Oil temp. กับ Ambient temp.
3.2.7.2.2 Bushing tap insulation (C2)
3.2.7.2.2.1 ให้วัด Bushing tap insulation ชนิด Potential tap ในตําแหน่ง GST- Guard ที่แรงดันไม่
เกิน 2 kV ตามรูปในภาคผนวกหัวข้อที่ 4.2.17
*** ข้อสังเกต Potential tap จะมี Tap electrode ขนาดใหญ่กว่า Test tap และบางรุ่นจะ
มีช่องเติมน้ํามันด้วย
3.2.7.2.2.2 ค่า %PF ที่วัดได้สําหรับ Potential tap (C2) ไม่ควรเกิน 1% [5.14] ไม่ต้องปรับมาที่อุณหภูมิ
20 ๐C ถ้าพบว่าค่าเกิน 1% ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและแก้ไข
3.2.7.2.2.3 ให้วัด Bushing tap insulation ชนิด Test tap ในตําแหน่ง GST-Guard ที่แรงดันไม่เกิน
500 V วงจรวัดตามรูปในภาคผนวกหัวข้อที่ 4.2.17
3.2.7.2.2.4 ค่า %PF ที่วัดได้สําหรับ Test tap (C2) OIP Bushing ไม่ต้องปรับมาที่อุณหภูมิ 20 ๐C
- Bushing ใหม่ ส่วนมากไม่เกิน 1% มีส่วนน้อยที่เกิน 1% แต่ไม่ถึง 2%
- Bushing เก่า ควรเปรียบเทียบกับค่าเดิม ถ้า Test tap เล็กและทําความสะอาดได้ไม่ดีพอ
%PF อาจสูง 3-5 %
*** Test tap แบบ Self-earthing ตามรูปที่ 10 การวัด C2 ต้องใช้ Adapter ต่อร่วมกับ
การวัดด้วย

รูปที่ 10 Test tap แบบ Self-earthing


3.2.7.2.2.5 ค่า %PF ที่วัดได้สําหรับ Test tap (C2) RIP Bushing ไม่ต้องปรับมาที่อุณหภูมิ 20 ๐C
- RIP Bushing ใหม่ ผลทดสอบตรวจรับที่ผ่านมาทั้งหมด ค่า %PF ของ C2 ไม่เกิน 5%
3.2.7.2.2.6 ถ้าพบว่า %PF ของ C2 มีค่าสูงกว่า 5% [5.13] ทั้ง OIP Bushing และ RIP Bushing ไม่ควร
นํามาตัดสินสภาพของ Bushing ในทันที ให้พิจารณาร่วมกับผลทดสอบ C1 และสภาพของ
Test tap และแจ้งทาง กม-ส. เพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป

13

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.7.2.2.7 ค่า Capacitance ของ C2 RIP Bushing
- กรณีทดสอบในสนาม ค่า C2 จะสูงกว่าค่าทดสอบจากโรงงาน เนื่องจากโครงสร้างของ
RIP Bushing ต่างกับ OIP Bushing
( RIP Bushing นําเข้ามาใช้งานใน กฟผ. ปี 2554 จึงยังไม่ได้กําหนดเกณฑ์ตัดสินกรณี
บํารุงรักษา)
หมายเหตุ - การทดสอบ C2 อาจได้ค่าแตกต่างกันในกลุ่ม ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
สิ่งปนเปื้อน ความชื้น ลักษณะการติดตั้ง และอุปกรณ์อยู่ที่ใกล้เคียง

3.2.8 การวัดค่ากระแสกระตุ้นด้วยแรงดันสูง (High voltage exciting current


measurement)
3.2.8.1 ให้ทําการวัดค่ากระแสกระตุ้นขดลวดด้านแรงดันสูงของหม้อแปลงเพียงด้านเดียวที่ 10 kV
3.2.8.2 ให้วัดค่ากระแสกระตุ้นที่ OLTC ตําแหน่งแรงดันสูงสุด ถ้าหม้อแปลงมี Off load tap
changer กรณีตรวจรับให้ Off load tap อยู่ที่ตําแหน่งสูงสุด ในกรณีการทดสอบเพื่องาน
บํารุงรักษา ให้ Off load tap อยู่ที่ตําแหน่งใช้งาน
3.2.8.3 ให้ทําการทดสอบตามข้อกําหนดดังนี้
HIGH VOLTAGE EXCITATION CURRENT TEST
(1)
SINGLE PHASE THREE PHASE WYE
ENERGIZE UST ENERGIZE UST PHASE
H1 H2 (or Ho) H1 Ho A
H2 (or Ho) H2 Ho B
THREE PHASE DELTA THREE PHASE AUTO
H1 H3 Ho C
ENERGIZE UST GROUND PHASE ENERGIZE UST PHASE
H1 H2 H3 A H1 HoXo A
H2 H3 H1 B H2 HoXo B
H3 H1 H2 C H3 HoXo C

หมายเหตุ (1) ในกรณีที่ขดลวดด้านแรงดันต่ําต่อแบบ Star ให้ต่อ Terminal Xo ลงดินด้วย


3.2.8.4 ค่า Exciting current ที่ 10 kV ควรมีค่าใกล้เคียงกับค่าตรวจรับ ถ้าพบว่าค่า Exciting
current ที่แรงดันสูงๆ เข็ม Swing (Doble M2H) ให้ตรวจสอบหาสาเหตุ
3.2.9 การทดสอบค่าความเป็นฉนวนของน้ํามันหม้อแปลง (Transformer oil insulation test )
สําหรับหม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้น้ํามันไฮโดรคาร์บอนเป็นฉนวน มีรายละเอียดการทดสอบ ดังนี้
3.2.9.1 การทดสอบค่าแรงดันเสียสภาพฉับพลันของน้ํามันหม้อแปลง
(Transformer oil breakdown voltage test )
3.2.9.1.1 ให้ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D1816 [5.11] หรือ IEC156 [5.12]
3.2.9.1.2 ให้ระมัดระวังการสุ่มตัวอย่าง และภาชนะบรรจุน้ํามันต้องสะอาด
3.2.9.1.3 น้ํามันที่ทําการทดสอบควรมีค่าอุณหภูมิใกล้เคียงอุณหภูมิของอากาศ
3.2.9.1.4 ค่าแรงดันเสียสภาพฉับพลันของน้ํามัน หม้อแปลงให้พิจารณาดังนี้
14

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
กรณีตรวจรับน้ํามันห้อง Main tank [5.6 , 5.10, 5.15]

ค่าแรงดันต่ําสุดที่ยอมรับได้ (kV)
Gap setting
มาตรฐานทดสอบ ระดับแรงดันด้าน HV ของหม้อแปลง (kV)
(mm.)
< 69 115 230 500
1.0 25 30 32 35
ASTM D1816
2.0 45 52 55 60
IEC 60156 2.5 55 60 60 60

กรณีบํารุงรักษาน้ํามันห้อง Main tank [5.6 , 5.10, 5.15]

ค่าแรงดันต่ําสุดที่ยอมรับได้ (kV)
Gap setting
มาตรฐานทดสอบ ระดับแรงดันด้าน HV ของหม้อแปลง (kV)
(mm.)
< 69 115 230 500
1.0 23 28 30 30
ASTM D1816
2.0 40 47 50 50
IEC 60156 2.5 30 40 50 50

กรณีน้ํามันใหม่ ก่อนจ่ายไฟ ห้อง OLTC [5.6 , 5.10, 5.15]

ค่าแรงดันต่ําสุดที่ยอมรับได้ (kV)
มาตรฐานทดสอบ Gap setting
Line end & Auto Tx.
(mm.) Neutral end
≤ 69 kV > 69 kV
1.0 35 35 35
ASTM D1816
2.0 55 55 55
IEC 60156 2.5 55 60 60

กรณีบํารุงรักษาน้ํามัน ห้อง OLTC [5.6 , 5.10, 5.15]

ค่าแรงดันต่ําสุดที่ยอมรับได้ (kV)
มาตรฐานทดสอบ Gap setting
Line end & Auto Tx.
(mm.) Neutral end
≤ 69 kV > 69 kV
1.0 20 25 28
ASTM D1816
2.0 27 35 45
IEC 60156 2.5 25 25 40

15

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.9.1.5 วิธีคํานวณว่าผลทดสอบนั้นๆสามารถ นําไปใช้ในการตัดสินใจได้หรือไม่ สําหรับการทดสอบ
น้ํามันตามมาตรฐาน D1816-2012 ซึ่งในมาตรฐานนี้จะไม่มีการพิจารณาค่า CV แล้ว แต่ใช้
วิธีการคํานวณทางสถิติ ดังนี้
− หาค่า Range = ค่า DBV สูงสุด – ค่า DBV ต่ําสุด
− สําหรับ Gap 1 mm. ค่า Range ที่ได้ต้องน้อยกว่า 120% ของค่าเฉลี่ย (x̅)
− สําหรับ Gap 2 mm. ค่า Range ที่ได้ ต้องน้อยกว่า 92% ของค่าเฉลี่ย (x̅)
− ถ้าการทดสอบในตัวอย่างแรกไม่ผ่าน ให้เทน้ํามันใส่ถ้วยเพื่อทดสอบอีกครั้ง แล้ว
พิจารณาค่าเฉลี่ยของ BDV จากการทดสอบ 2 ครั้ง (10 ค่า)
− ถ้าค่าที่ได้ตามเกณฑ์ในข้างต้น หมายถึงผลทดสอบ มีความน่าเชื่อถือ สามารถนําไป
เปรียบเทียบกับเกณฑ์ตัดสิน ได้ว่าผ่านการทดสอบหรือไม่)

3.2.9.1.6 ถ้าพบค่า Breakdown voltage ต่ํากว่าค่าที่กําหนด ให้เก็บตัวอย่างน้ํามันส่ง หทว.-ส. เพื่อ


ทําการทดสอบเพิ่มเติม เช่น Water content , Particle count และแจ้งหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง

3.2.9.2 การทดสอบค่าตัวประกอบกําลังของน้ํามันหม้อแปลง (Transformer oil power factor


test)
3.2.9.2.1 ให้ระมัดระวังการสุ่มตัวอย่างและภาชนะบรรจุน้ํามันต้องสะอาด
3.2.9.2.2 ต่อวงจรทดสอบ % PF ของน้ํามันหม้อแปลง ตามรูปที่ 11

รูปที่ 11 วงจรทดสอบ % PF ของน้ํามันหม้อแปลง

16

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.9.2.3 ค่า %PF ที่อุณหภูมิ 20°C สําหรับตัดสินสภาพของน้ํามันหม้อแปลง
พิจารณาได้จากตารางดังนี้ [5.4 , 5.15]

การพิจารณาผลการทดสอบ
การดําเนินการ
สภาพของน้ํามัน % PF
คุณภาพดีและใหม่ < 0.05 %
คุณภาพดี < 0.50 %
สภาพน่าสงสัย 0.5 - 2.0 % หน่วยงานผู้รับผิดชอบแก้ไข
สภาพไม่ดี > 2.0 % เปลี่ยนน้ํามันใหม่

3.2.9.2.4 ค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับเปลี่ยนค่า % PF ณ อุณหภูมิต่างๆ เพื่อเทียบค่าที่


อุณหภูมิ 20°C ให้ดูจากภาคผนวกหัวข้อที่ 4.2.6
3.2.9.2.5 บันทึกค่าอุณหภูมิของน้ํามันที่ทดสอบ
3.2.10 การทดสอบ Bushing current transformer (BCT test)
3.2.10.1 การวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรง (Insulation resistance measurement)
3.2.10.1.1 ให้ลัดวงจรของขดลวดในแต่ละชุด เมื่อทําการทดสอบขดลวดชุดใดให้ Ground
ชุดที่เหลือ โดยทดสอบด้วยแรงดัน 500 Vdc. ที่ 1 นาที
3.2.10.1.2 จุดที่จะทําการทดสอบควรจะเป็นที่ Terminal ภายในตู้ Control ของหม้อแปลง
3.2.10.1.3 หากพบว่าค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรงน้อยกว่า 100 MΩ ให้ทําความสะอาดที่
Terminal – จนได้ค่าที่สูงที่สุด แต่ไม่ควรมีค่าน้อยกว่า 10 MΩ [5.14]
3.2.10.2 การวัดค่ากระแสกระตุ้น (Exciting current measurement)
3.2.10.2.1 การวัดค่ากระแสกระตุ้นให้ทําเฉพาะตรวจรับและเฉพาะ Relaying class เท่านั้น
3.2.10.2.2 ต่อวงจรตามรูปที่ 12

X1
A

AC. Supply
Digital voltmeter V
BCT

Variac Step up transformer X2

รูปที่ 12 วงจรวัดค่ากระแสกระตุ้น BCT

17

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.10.2.3 ก่อนทําการวัด Exciting current ต้องทําการ Demagnetize BCT
3.2.10.2.4 ให้ทําการวัดทุกๆชุด และเปรียบเทียบค่าที่ได้ใน Class เดียวกัน ค่ากระแสกระตุ้นที่
ค่า Knee point ต้องไม่เกิน125% ของ Typical curve value
3.2.10.2.5 การหาจุด Knee point หาจากกราฟลักษณะสมบัติของกระแสกระตุ้นกับแรงดัน
ที่ป้อน โดยการลากเส้นสัมผัสกับส่วนโค้งของกราฟและทํามุม 45° กับแกนนอน

3.2.10.3 การทดสอบค่าอัตราส่วนของขดลวด (Ratio test)


3.2.10.3.1 ใช้เครื่อง Transformer ratio tester ต่อวงจรตามรูปที่ 13
Tested transformer
X1

Transformer X H1 Short
ratio tester circuit
H H2
BCT

X2
1X2 1X1

รูปที่ 13 วงจรทดสอบค่าอัตราส่วนของขดลวด BCT

3.2.10.3.2 ต้องระมัดระวังแรงดันที่จ่ายให้กับ BCT เพื่อป้องกันการ Saturate ของ BCT


3.2.10.3.3 สําหรับ BCT ที่มีหลาย Tap ให้ทดสอบค่าอัตราส่วนของขดลวด BCT เฉพาะ
Full winding ส่วน Tap winding ให้ทดสอบค่าอัตราส่วนด้วยการวัดแรงดัน

3.2.11 การตรวจสอบ Temperature controller


Temperature controller เป็นอุปกรณ์สําหรับบอกค่าอุณหภูมิของน้ํามันและ
อุณหภูมิของขดลวดของหม้อแปลง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทํางานของระบบระบายความร้อน
และส่งสัญญาณเตือน ในกรณีที่น้ํามันหรือขดลวดมีอุณหภูมิสูงถึงค่าที่กําหนด
Temperature controller แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ Oil temperature controller และ
Winding temperature controller ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆเกือบเหมือนกัน จะต่างกันตรงที่
Oil temperature controller ไม่มี Heating element ดังแสดงในรูปที่ 14

18

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

2
3 8 7
4 6

11
5 1
10 9
1. Sensing bulb 2. Detecting conduit
3. Detecting bellow 4. Gear and lever system
5. Indicating pointer 6. Heating element (for winding temp.)
7. Correcting conduit 8. Correcting bellow
9. Mercury switches 10. Cam plate
11. Maximum temp. indicating pointer

รูปที่ 14 แสดงส่วนประกอบของ Temperature controller

Temperature controller สามารถแบ่งการตรวจสอบได้ดังนี้

3.2.11.1 การตรวจสอบโดยวิธีคํานวณจากโหลดที่หม้อแปลงกําลังจ่ายอยู่
การตรวจสอบว่า Temperature controller อ่านค่าถูกต้องหรือไม่นั้น จะต้องอาศัย
ข้อมูลจาก Temperature rise test ของหม้อแปลงแต่ละตัวมาคํานวณ เพื่อหาค่า Hottest
spot winding temp. rise และ Top-oil temp. rise พร้อมทั้งอ่านค่าอุณหภูมิรอบๆ หม้อ
แปลง (Ambient temp.) นําค่าอุณหภูมิที่คํานวณได้ มารวมกับ Ambient temp. ก็จะได้
ค่าอุณหภูมิของน้ํามันและของขดลวดที่ถูกต้อง จากนั้นก็นําค่าไปเปรียบเทียบกับค่าที่อ่านจริง
จาก Temperature controller ก็จะทราบได้ว่าอุณหภูมิของน้ํามันและของขดลวดอ่านค่า
ถูกต้องรือไม่ ค่าอุณหภูมิของน้ํามันและของขดลวด คํานวณได้จากสูตร ดังนี้

19

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

n
 2 
K R + 1
θ U =θ f  
 R +1 
l
--- ( a )
 
2m
θg = θg (fl) K --- ( b )
θo = θi+( θu-θi ) ( 1-e-t/T ) --- ( c )

เมื่อ θu = Ultimate top-oil temp. rise for load L


θfl = Top-oil temp. rise over ambient temp at rated load
K = Ratio of load L to rated load
R = Ratio of load loss to no-load loss
θg = Hottest-spot winding temp. rise over top-oil temperature
θg (f1) = Hottest-spot winding temp. rise over top-oil temperature
at rated load
= Average conductor rise over top-oil at rated KVA + 10°C
(or 15°C) (1)
= 1.1 (Average winding temp. rise - Average oil temp. rise) (2)
n = 0.8 for OA
= 0.9 for OA/FA, OA/FA/FA
= 1.0 for FOA, FOW, OA/FA/FOA, OA/FOA/FOA
m = 0.8 for OA, OA/FA, OA/FA/FA and non-directed
FOA, FOW, OA/FA/FOA, OA/FOA/FOA
= 1.0 for directed flow FOA, FOW
θo = Top-oil temp. rise at time t
θi = Initial top-oil temp. rise
T = Thermal time constant of top-oil temp. in hours
= 3h for OA
= 2h for FA
= 1.25h for FA/FA, FOA/FOW
หมายเหตุ (1) 10 oC for 55 oC rise transformer and 15 oC for 65 oC rise
transformer (จาก ANSI / IEEE C57.92-1981)
(2) จาก IEC 354-1972 “Loading guide for oil-immersed transformer”

20

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

ตัวอย่าง หม้อแปลง OSAKA 15/20/25 MVA , 55°C rise transformer


ข้อมูลจาก Temperature rise test

MVA Load No load θ f1 Average Average


loss Loss Winding temp. n m Cooling Oil temp.
( KW ) ( KW ) (°C) rise (°C) rise (°C)
15 48 23 45 47.5 0.8 0.8 OA 41
20 85.4 23 42.5 44.2 0.9 0.8 OA/FA 40
25 133.6 23 46.5 51.1 0.9 0.8 OA/FA/FA 43

ที่ 15 MVA Rated; Cooling OA


θf1 = 45
R = Load loss / No load loss = 48 / 23
n = 0.8
m = 0.8
θg (f1) = 1.1 (Average winding temp. rise- Average oil temp. rise)
= 1.1 (47.5 - 41) = 7.15
ตัวอย่างคิดอุณหภูมิที่โหลด 10 MVA
จากสูตร ( a )
n
 2 
 K R +1 
θ U θ fl
=
 R +1 
 

0 .8
  10  2  48  
  15   23  + 1 
= 45       = 31
  48  
  23  + 1


จากสูตร (b)
2m
θg = θg (f1) K
= 7.1510 
2 x 0.8
= 3.74
15 

จะได้ Top-oil temp. ที่ Amb. temp. 30 °C = 31+30 = 61°C


Hot-spot temp. ที่ Amb. temp. 30 °C = (31+3.74)+30 = 64.74 °C

21

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

ที่ 20 MVA RATED; COOLING OA/FA


θfl = 42.5
R = Load loss / No load loss = 85.4 / 23
n = 0.9
m = 0.8
θg (fl) = 1.1 (Average winding temp rise - Average oil temp rise)
= 1.1 (44.2 - 40)
= 4.62

ตัวอย่างคิดอุณหภูมิที่โหลด 18 MVA
จากสูตร (a)
n
 2 
 K R +1 
θ U θ fl
=
 R +1 
  0 .9
  18  2  85 . 4  
  20   23  + 1 
= 42 . 5 
    
  85 . 4  
  23  + 1 
= 36.75
จากสูตร (b)
θg = θg (fl) K2m
 18  2 x 0.8
= 4.62  
 20 
= 3.9
จะได้ Top-oil temp. ที่ amb. temp. 30 °C = 36.75+30 = 66.75 °C
Hottest-spot temp. ที่ amb. temp. 30 °C = (36.75+3.9)+30 = 70.65 °C

22

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
ที่ 25 MVA RATED ; COOLING OA/FA/FA
θfl = 46.5
R = Load loss / No load loss = 133.6 / 23
n = 0.9
m = 0.8
θg (fl) = 1.1 (Average winding temp. rise - Average oil temp. rise)
= 1.1 (51.1 - 43)
= 8.91

ตัวอย่างคิดอุณหภูมิที่โหลด 22 MVA
จากสูตร (a)
n
 2 
 K R +1 
θ U = θ fl
 R +1 
 
0 .9
  22  2  133 . 6  
  25   23  + 1 
= 42 . 5 
    
  133 . 6  
  23  + 1 
= 38.3
จากสูตร (b)
θg = θg (fl) K2m
= 8.91 22 
2 x 0.8

 25 
= 7.26

จะได้ Top-oil temp. ที่ Amb. temp. 30°C = 38.3+30 = 68.3°C


Hottest-spot temp. ที่ Amb. temp. 30°C = (38.3+7.26)+30 = 75.56°C

23

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

การหาอุณหภูมิของน้ํามันและของขดลวดที่เวลาใดๆ
- สมมุติให้โหลดคงที่อยู่ที่ 25 MVA จะได้
θi = 46.5
- จากนั้นให้โหลดเปลี่ยนไปเป็น 22 MVA จะได้
θu = 38.3
- หา θo ที่เวลา t = 1h โดยใช้ T = 1.25h
จากสูตร (c)
θo = θi + (θu - θi )(1 - e-t/T)
= 46.5 + (38.3 - 46.5)(1 - e-1/1.25)
= 42
จะได้ Top-oil temp. ที่ Amb. temp. 30 °C ที่เวลา 1h = 42+30 = 72 °C
Hottest-spot temp. ที่ Amb. temp. 30°C ที่เวลา
1h = (42+7.26) + 30 = 79°C

Top oil temp. rise

Hottest spot temp rise

24

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
Temperature graph
OSAKA : OA 15 MVA

25

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
Temperature graph
OSAKA : OA/FA 20 MVA

26

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
Temperature graph
OSAKA : OA/FA/FA 25 MVA

27

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.11.2 การตรวจสอบโดยป้อนกระแสเข้าชุด Heating element ขณะ De-energize หม้อ
แปลง
การตรวจสอบวิธีนี้ เป็นการตรวจสอบว่าอุณหภูมิของขดลวดสูงกว่าอุณหภูมิของน้ํามันเท่าไรที่
ค่าต่างๆของโหลดหม้อแปลง โดยทั่วไปจะทําการตรวจสอบที่โหลด 60% 80% 100% และ 120%
ตามลําดับ ซึ่งแต่ละโหลดต้องใช้ เวลา 30 นาที และเปรียบเทียบกับ Temperature graph ของหม้อ
แปลงที่ใช้ระบบ Cooling ทุกชุด (เช่น OA/FA/FA หรือ OA/FA/FOA) ซึ่งสามารถกระทําได้ทั้งกรณี
ตรวจรับ และกรณีที่มีการปลดหม้อแปลงเพื่อการบํารุงรักษา ในหม้อแปลงทั่วๆไปสามารถแบ่งลักษณะ
ของชุด Heating element ได้ตามตัวอย่างดังนี้

ก) ลักษณะที่มี Matching unit


BCT
Matching
a unit
b Heating
element

รูปที่ 15 แสดงชุด Heating element ที่มี Matching unit

การทํางาน - BCT จะทําหน้าที่แปลงกระแสสูงทางด้าน Primary ให้เป็นกระแสต่ําทางด้าน


Secondary โดยมีชุด Matching unit ทําหน้าที่แบ่งกระแสให้ไหลเข้า Heating
element ตามต้องการ

28

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

ข) ลักษณะที่มี Auxiliary CT
BCT
Aux. CT.
a
b Heating
element

รูปที่ 16 แสดงชุด Heating element ที่มี Auxiliary CT

การทํางาน - คล้ายกับลักษณะที่มี Matching unit จะต่างกันตรงที่มี Auxiliary CT ซึ่งเป็น Multi


ratio สามารถเลือก tap เพื่อให้กระแสไหลเข้า Heating element ตามต้องการ

ค) ลักษณะที่ไม่มีทั้ง Matching unit และ Auxiliary CT


BCT

a
b Heating
element

รูปที่ 17 แสดงชุด Heating element ที่ไม่มีทั้ง Matching unit และ Auxiliary CT

การทํางาน - BCT จะทําหน้าที่แปลงกระแสสูงทางด้าน Primary ให้เป็นกระแสต่ําด้าน Secondary


ไหลเข้า Heating element

29

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
ขั้นตอนการตรวจสอบโดยการป้อนกระแสเข้าชุด Heating element
3.2.11.2.1 ตรวจสอบชุด Oil & winding temp. controller โดยการต้มชุด Sensing bulb ที่
อุณหภูมิน้ําเดือดเปรียบเทียบกับ Standard thermometer และปรับให้ถูกต้อง
3.2.11.2.2 หลังจากตรวจสอบว่าชุด Oil & winding temp. controller อ่านค่าได้ถูกต้องตาม
หัวข้อที่ 3.2.11.2.1 แล้วนํา Sensing bulb ของชุด Temperature controller
จุ่มลงในหม้อแปลงเหมือนขณะกําลังใช้งาน และทิ้งไว้จนให้อุณหภูมิคงที่
3.2.11.2.3 บันทึกค่าอุณหภูมิของ Oil & winding temp. ตามหัวข้อที่ 3.2.11.2.2 ซึ่งควรจะมีค่า
เท่ากัน
3.2.11.2.4 ป้อนกระแสที่จุด a , b ที่โหลด 60% 80% 100% และ120% ตามลําดับ เพื่อให้ได้
อุณหภูมิของขดลวดสูงกว่าอุณหภูมิของน้ํามันเปรียบเทียบกับ Temperature graph
หรือ Test report และเก็บข้อมูลไว้อ้างอิงต่อไป ถ้าค่าที่ได้ผิดไปจาก Temperature
graph ให้ทําการหาสาเหตุก่อนปรับชุด Matching unit หรือเปลี่ยน Turn ratio ของ
Auxiliary CT หรืออาจจะต้องเปลี่ยน Turn ratio ของ BCT ในกรณีที่ไม่มี Matching
unit และ Auxiliary CT
หมายเหตุ (1) กรณีตรวจรับควรจะทําการตรวจสอบที่โหลด 60% 80% 100% และ 120%
ตามลําดับ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลอ้างอิง
(2) กรณีบํารุงรักษา ตรวจสอบที่โหลด 100% อย่างเดียว ก็เพียงพอแล้ว
ตัวอย่าง
ข้อมูลจาก Test report หม้อแปลง ALSTHOM 25 MVA 115/22 kV
(ตรวจสอบที่โหลด 100%)
- Avg. winding temp. rise 52.5C
- Avg. oil temp. rise 32.7C
- BCT สําหรับ Winding temp. 650/5 A อยู่ด้าน 22 kV winding
- ชุด Heating element เป็นลักษณะที่มี Matching Unit ที่โหลด 100% (25
MVA) สามารถคํานวณค่าต่างๆได้ดังนี้

Winding temp. rise over top oil temp. rise = 1.1 (Avg. winding temp. rise – Avg. oil
temp. rise)
= 1.1 (52.5 - 32.7)
= 21.78 0C
กระแสของหม้อแปลงด้าน 22 kV = 2500 x 1
3 22
= 656 A

- กระแสด้าน Secondary ของ BCT (ที่จุด a , b ตามรูปที่ 17)


5
= x 656
650
= 5.05 A
30

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

BCT a 5.05 A
650/5A Heating
b Matching element
unit
I = 656 A

รูปที่ 18 วงจรขณะใช้งานของชุด Heating element


การตรวจสอบโดยการปลดชุด Matching unit และ Heating element ให้แยกจาก BCT
ที่จุด a , b ตามรูปที่ 18 แล้วต่อวงจรใหม่ตามรูปที่ 19

AC.supply a Matching Heating


A
Unit element
Variac b
Aux.Tx
220 V / 12 V

รูปที่ 19 วงจรขณะตรวจสอบชุด Heating element

วิธีการตรวจสอบ
- ขณะตรวจสอบ ชุด Sensing bulb ของ Oil & winding temp. ต้องจุ่มอยู่ในหม้อ
แปลงเหมือนขณะกําลังใช้งาน
- บันทึกอุณหภูมิของ Oil & winding temp. ขณะนั้น (ควรจะมีค่าเท่ากัน)
- ป้อนกระแสที่จุด a , b เท่ากับ 5.05 A (ที่โหลด 100%) ทิ้งไว้ประมาณ 30-40 นาที
จนอุณหภูมิ ของ Winding temp. คงที่ ซึ่งอุณหภูมิค่านี้ควรสูงกว่าอุณหภูมิครั้งแรก
ประมาณ 21°C ถ้าได้ค่าผิดไปให้หาสาเหตุก่อนทําการปรับชุด Matching unit
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่ากระแสที่ไหลผ่าน Heating element และทิ้งไว้จน
อุณหภูมิของ Winding temp. คงที่แล้วจึงอ่านค่าทําการปรับจนได้ค่าอุณหภูมิตามที่
ต้องการ
31

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.11.3 การตรวจสอบโดยป้อนกระแสเข้าชุด Heating element ขณะ Energize หม้อแปลง
การตรวจสอบวิธีนี้ เป็นการตรวจสอบว่าอุณหภูมิของขดลวดและของน้ํามัน
อ่านค่าถูกต้องหรือไม่ ขณะที่หม้อแปลงกําลังใช้งานอยู่ในระบบ
ขั้นตอนการตรวจสอบกระทําได้ดังนี้
3.2.11.3.1 ตรวจสอบชุด Oil & Winding temp. controller โดยการลัดวงจร BCT ของชุด
Winding temp. controller ที่จุด a , b ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จึงอ่านค่าอุณหภูมิ
จากชุด Temp. controller ทั้งสอง ซึ่งควรมีค่าต่างกันไม่เกิน 5°C ถ้าผิดพลาดไป
มากกว่านี้ ให้พิจารณาหาสาเหตุแก้ไข แต่ถ้าไม่พบสิ่งผิดปกติ ให้ติดตามปรับเทียบ
ความถูกต้องของ Temperature controller ใหม่ เมื่อมีโอกาสปลดหม้อแปลง
3.2.11.3.2 หลังจากตรวจสอบว่าชุด Oil & Winding temp. controller อ่านค่าได้ถูกต้องตาม
หัวข้อที่ 3.2.11.3.1 แล้ว บันทึกค่าอุณหภูมิทั้งสองไว้ หลังจากนั้นจึงปลดแยก
ชุด Heating element ออกจาก BCT ที่จุด a , b โดยต้องลัดวงจรของ BCT ชุดนั้น
ก่อนปลด
3.2.11.3.3 ป้อนกระแสที่จุด a , b ที่โหลด 100% ทิ้งไว้ประมาณ 30-40 นาที จนอุณหภูมิของ
Winding temp. คงที่ เปรียบเทียบค่าที่ได้กับ Temperature graph หรือ Test
report หรือข้อมูลขณะตรวจรับ ถ้าค่าที่ได้ผิดไป ให้พิจารณาหาสาเหตุแก้ไข
3.2.11.3.4 ต่อชุด Heating element เข้ากับ BCT ตามเดิม แล้วจึงปลดสายที่ลัดวงจรออก

3.2.11.4 การปรับเทียบความถูกต้องของ Temperature controller


เมื่อตรวจพบว่า Oil & Winding temp. อ่านค่าผิดพลาด ควรขอปลดหม้อแปลงเพื่อทําการ
ตรวจสอบ โดยการถอดชุด Sensing bulb มาต้มในภาชนะซึ่งบรรจุน้ํา ต้มจนน้ําเดือด อ่านค่า
เปรียบเทียบกับ Standard thermometer ถ้าอ่านค่าผิดพลาดไปจากอุณหภูมิน้ําเดือดต้องทําการปรับ
ให้ได้อุณหภูมิน้ําเดือดหลังจากนั้นนํา Sensing bulb ออกมาจากภาชนะ ตั้งทิ้งไว้ในอากาศจนเย็นลง
แล้วเปรียบเทียบกับอุณหภูมิของอากาศรอบๆ ซึ่งวัดโดย Standard thermometer ควรอ่านต่างกันไม่
เกิน 10°C ถ้าผิดพลาดไปมากกว่านี้ควรจะทําการซ่อม หรือถอดเปลี่ยนใหม่

32

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3.2.11.5 การ Setting
การ Setting ค่าทํางานของ Contact กําหนดไว้ดังนี้

55°C Avg. 60°C Avg. winding 65°C Avg. winding


Contact Control winding temp. rise temp. rise temp. rise

Start Reset Start Reset Start Reset


Fan stage 1 60 50 65 55 70 60
Fan stage 2 80 70 85 75 90 80
Winding temp. alarm stage 1 95 90 105 100 110 105
Winding temp. alarm stage 2 105 100 115 110 120 115
Oil temp. alarm 80 75 80 75 80 75

ข้อเสนอแนะการตรวจสอบชุด Oil & Winding temp. ในกรณีตรวจรับหรือบํารุงรักษา


1. ตรวจสอบชุด Indicator โดยการต้มชุด Sensing bulb แล้วอ่านค่าเปรียบเทียบกับ Standard
thermometer
2. ตรวจเช็ค Wiring ของ Bushing CT, Matching unit (Aux. CT) และ Heating element
ว่าถูกต้องหรือไม่
3. ทดลองป้อนกระแสเข้า Heating element ที่โหลด 60% 80% 100% และ 120%
ตามลําดับ เพื่อเปรียบเทียบกับ Test report และเก็บข้อมูลไว้อ้างอิงต่อไป
4. วัดค่าความต้านทานของ Heating element รวม Matching unit ขณะที่ Indicator ของ
Oil temp. และ Winding temp. อ่านค่าได้เท่ากัน (วัดที่จุด a , b )

33

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4. ภาคผนวก

4.1 แบบฟอร์มการทดสอบ
4.1.1 SUMMARY TEST RESULT OF TRANSFORMER
4.1.2 VISUAL INSPECTION OF TRANSFORMER
4.1.3 EXCITING CURRENT MEASUREMENT
4.1.4 SINGLE PHASE LEAKAGE IMPEDANCE MEASUREMENT
4.1.5 THREE PHASE EQUIVALENT IMPEDANCE MEASUREMENT
4.1.6 RATIO AND POLARITY TEST
4.1.7 DC RESISTANCE MEASUREMENT
4.1.8 INSULATION TEST OF AUTO TRANSFORMER
4.1.9 INSULATION TEST OF TWO-WINDING TRANSFORMER
4.1.10 INSULATION TEST OF THREE-WINDING TRANSFORMER
4.1.11 INSULATING OIL
4.1.12 TEMPERATURE CONTROLLER
4.1.13 SELF PROTECTION CHECK OF TRANSFORMER

34

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.1 SUMMARY TEST RESULT OF TRANSFORMER
SUMMARY TEST RESULT OF TRANSFORMER
Location
Device No. Rated KVA Serial No.
Manufacturer Rated Voltage Asset No.
Type Rated Current Vector Group
Year of Mfg. No. of Phase Standard
Type of Test
TEST RESULT
TEST ITEMS REMARK
PASS FAIL
TX01 : Visual Inspection
TX02 : Insulation Measurement of Two Wdg.
TX03 : Insulation Measurement of Three Wdg.
TX04 : Insulation Measurement of Auto Wdg.
TX05 : Single Phase Impedance
TX06 : Three Phase Impedance
TX07 : Ratio and Polarity
TX08 : DC Resistance
TX09 : AC Exciting Current
TX10 : Oil Insulation Test
TX11 : Temperature Controller
TX12 : Lightning Arrester
TX13 : Surge Counter
TX14 : PT Ratio and Polarity
TX14 : PT Insulation Measurement
TX14 : PT Exciting Current Measurement
TX15 : BCT Wdg. & Insulation Resistance
TX16 : BCT Ratio and Polarity
TX17 : BCT Exciting Current Measurement
TX18 : Self Protection Check of Transformer

Other Details :

TESTED BY : APPROVED BY : DATE :


ต้นฉบับ (Original) : เก็บที?ลกู ค้า (Client) F0901-TX00 Rev. 7.0 : 1 1AUG
F0901-TX00-Rev.7.0 AUG2005
2011

35

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.2 VISUAL INSPECTION OF TRANSFORMER
Page
VISUAL INSPECTION
Location Rated kVA Serial No.
Device No. Rated Voltage Asset No.
Manufacturer Rated Current Vector Group
Year of Mfg. No. of Phase Standard
CONDITION
ITEM DESCRIPTIONS REMARKS
YES NO
1 ARCING HORN
2 BUSHING
3 TEMPERATURE CONTROLLER
POCKET
4 LIFTING LUGS
5 TAP CHANGER ON LOAD
OFF LOAD
6 INLET ON LOAD
MAIN
7 OUTLET ON LOAD
MAIN
8 OIL LEVEL GUAGE ON LOAD
MAIN
9 OIL LEVEL ON LOAD
MAIN
10 OIL CONSERVATOR ON LOAD
MAIN
11 DEHYDRATING BREATHER ON LOAD
MAIN
12 RADIATOR
13 NAME PLATE
14 MANUFACTURER PLATE
15 CAPACITY PLATE
16 EARTHING TERMINAL
17 TERMINAL MARKING (ANSI)
18 SURGE ARRESTER
19 SURGE COUNTER
20 FAN
21 OIL PUMP
22 OTHER

TESTED BY : WITNESSED BY : DATE :


F0901-TX01-Rev.2.0
F0901-TX01 Rev. 2.0 : 11AUG
AUG 2011
2005
36

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.1.3 EXCITING CURRENT MEASUREMENT


Page
EXCITING CURRENT MEASUREMENT
Loaction Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp. O
C Wdg. Temp.
O
C
Manufacturer Rate Current Amb. Temp. O
C
Year of Mfg. No. of Phase Humidity %
Serial No. Asset No. Weather
....…WDG. TERMINAL TERMINAL TERMINAL
AC AC AC AC AC AC REMARK
....…TAP (V) (mA) (V) (mA) (V) (mA)

....…WDG. TERMINAL TERMINAL TERMINAL


AC AC AC AC AC AC REMARK
....…TAP (V) (mA) (V) (mA) (V) (mA)

....…WDG. TERMINAL TERMINAL TERMINAL


AC AC AC AC AC AC REMARK
....…TAP (V) (mA) (V) (mA) (V) (mA)

....…WDG. TERMINAL TERMINAL TERMINAL


AC AC AC AC AC AC REMARK
....…TAP (kV) (mA) (kV) (mA) (kV) (mA)

TESTED BY : WITNESSED BY : DATE :


F0901-TX09 Rev. 2.0 : :11AUG
F0901-TX02-Rev.2.0 AUG2005
2011

37

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.4 SINGLE PHASE IMPEDANCE MEASUREMENT
SINGLE PHASE IMPEDANCE MEASUREMENT
Location Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp. C Wdg. Temp.
O O
C
Manufacturer Rate Current Amb. Temp. O
C
Year of Mfg. No. of Phase Humidity %
Serial No. Asset No. Weather
TESTED WDG. BETWEEN
WDG.ENERGIZE WDG.ENERGIZE WDG.ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

COMMISSIONING FIRST TEST ====================== ======================


% DEVIATION ====================== ======================
% MAXIMUM BETWEEN PHASE =
TESTED WDG. BETWEEN
WDG.ENERGIZE WDG.ENERGIZE WDG.ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

COMMISSIONING FIRST TEST ====================== ======================


% DEVIATION ====================== ======================
% MAXIMUM BETWEEN PHASE =
TESTED WDG. BETWEEN
WDG.ENERGIZE WDG.ENERGIZE WDG.ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

COMMISSIONING FIRST TEST ====================== ======================


% DEVIATION ====================== ======================
% MAXIMUM BETWEEN PHASE =
TESTED WDG. BETWEEN
WDG.ENERGIZE WDG.ENERGIZE WDG.ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

COMMISSIONING FIRST TEST ====================== ======================


% DEVIATION ====================== ======================
% MAXIMUM BETWEEN PHASE =

REMARK : %Z = Z/Zbase x 100 = Z / ( kVph2 / MVA ) x 100 % MAXIMUM BETWEEN PHASE = ( Zmax - Zmin ) x 100
Zmin

TESTED BY: BY: DATE :


38

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.5 THREE PHASE IMPEDANCE MEASUREMENT
THREE PHASE IMPEDANCE MEASUREMENT
Location Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp. O
C Wdg.Temp. O
C
Manufacturer Rate Current Amb. Temp. O
C
Year of Mfg. No. of Phase Humidity %
Serial No. Asset No. Weather
TESTED WDG. BETWEEN BASE KVA KV
WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

MANUFACTURER
% IMPEDANCE FROM % IMPEDANCE = % ERROR =
PREVIOUS TEST

TESTED WDG. BETWEEN BASE KVA KV


WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

MANUFACTURER
% IMPEDANCE FROM % IMPEDANCE = % ERROR =
PREVIOUS TEST

TESTED WDG. BETWEEN BASE KVA KV


WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

MANUFACTURER
% IMPEDANCE FROM PREVIOUS TEST
% IMPEDANCE = % ERROR =

TESTED WDG. BETWEEN BASE KVA KV


WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

MANUFACTURER
% IMPEDANCE FROM % IMPEDANCE = % ERROR =
PREVIOUS TEST

REMARK : % IMPEDANCE = SUM(Z) x kVA


60 x kVtap2
TESTED BY: BY: DATE :

39

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.6 RATIO AND POLARITY TEST
Page
RATIO AND POLARITY TEST
Location Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp. O
C Wdg. Temp. O
C
Manufacturer Rate Current Amb. Temp. O
C
Year of Mfg. No. of Phase Humidity %
Serial No. Asset No. Weather
....…WDG. VOLTAGE RATED TERMINAL TERMINAL TERMINAL REMARK
...…TAP HV LV RATIO RATIO % ERROR RATIO % ERROR RATIO % ERROR Ph.Dev.

....…WDG. VOLTAGE RATED TERMINAL TERMINAL TERMINAL REMARK


...…TAP RATIO RATIO % ERROR RATIO % ERROR RATIO % ERROR Ph.Dev.

....…WDG. VOLTAGE RATED TERMINAL TERMINAL TERMINAL REMARK


...…TAP RATIO RATIO % ERROR RATIO % ERROR RATIO % ERROR Ph.Dev.

TESTED BY : WITNESSED BY: DATE :


F0901-TX07Rev.
F0901-TX07
F0901-TX05 Rev.2.0
- Rev2.0
2.0::11AUG
AUG 2005
2011
40

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.7 DC RESISTANCE MEASUREMENT
Page
DC RESISTANCE MEASUREMENT
Location Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp. O
C Wdg. Temp. O
C
Manufacturer Rate Current Amb. Temp. O
C
Year of Mfg. No. of Phase Humidity %
Serial No. Asset No. Weather
....…WDG. TERMINAL TERMINAL TERMINAL MAXIMUM
DC DC DC DC DC DC % ERROR REMARK
OHM OHM OHM
....…TAP (V) (A) (V) (A) (V) (A) BETWEEN φ

....…WDG. TERMINAL TERMINAL TERMINAL MAXIMUM


DC DC DC DC DC DC % ERROR REMARK
OHM OHM OHM
....…TAP (V) (A) (V) (A) (V) (A) BETWEEN φ

....…WDG. TERMINAL TERMINAL TERMINAL MAXIMUM


DC DC DC DC DC DC % ERROR REMARK
OHM OHM OHM
(V) (A) (V) (A) (V) (A) BETWEEN φ

TESTED BY: WITNESSED BY: DATE :


41 F0901-TX08
F0901-TX06Rev.
F0901-TX08 2.0 : 1: AUG 2005
Rev.2.0
Rev.2.0 2011

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.8 INSULATION TEST OF AUTO TRANSFOEMER
INSULATION TEST OF AUTO TRANSFORMER
Location Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp. O
C Wdg.Temp. C
O

Manufacturer Rated Current Amb. Temp. C


O

Year of Mfg. No. of Phase Humidity %


Serial No. Asset No. Weather
INSULATION RESISTANCE MEASUREMENT
TEST CONNECTION TEST MΩ AT ANY TIMES ( min. ) MΩ10
PI=
NO. EN. GR. Vdc 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 MΩ 1
1 HV-LV TV 2,500
2 TV HV-LV 2,500
CORE INSULATION 1,000
INSULATION POWER FACTOR AND CAPACITANCE MEASUREMENT CORR
TEST CONNECTION TEST CURRENT POWER % POWER FACTOR CAPACITANCE
REMARK
NO. EN. GR. GU. kV (mA) (W) MEASURED COR. 20OC (pF)
1 HV-LV TV - 10 CH + CHT
2 HV-LV - TV 10 CH
3 TV HV-LV 10 CT + CTH
4 TV - HV-LV 10 CT
(1-2) CHT (1-2)
CALCULATED RESULTS
(3-4) CTH (3-4)
BUSHING
SIDE MANUFACTURER YEAR TYPE BIL (kV) CLASS kV A
HV
LV
TV
BUSHING TEST
POWER FACTOR CAPACITANCE
BUSHING TEST CURRENT
PHASE
SERIAL NO.
PART
kV (mA)
POWER (W) MEASURED COR. 20๐C NAMEPLATE [1] MEASURED NAMEPLATE ERROR
(%) (%) [1] (%) [2] [2] (pF) (pF) %
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
TESTED BY : BY : DATE :
42

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.9 INSULATION TEST OF TWO WINDING TRANSFORMER
INSULATION TEST OF TWO WINDING TRANSFORMER
Location Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp. O
C Wdg.Temp. O
C
Manufacturer Rated Current Amb. Temp. O
C
Year of Mfg. No. of Phase Humidity %
Serial No. Asset No. Weather
INSULATION RESISTANCE MEASUREMENT
TEST CONNECTION TEST MΩ AT ANY TIMES ( min. ) MΩ10
PI=
NO. EN. GR. Vdc 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 MΩ 1
1 HV LV 2,500
2 LV HV 2,500
CORE INSULATION 1,000
INSULATION POWER FACTOR AND CAPACITANCE MEASUREMENT CORR
TEST CONNECTION TEST CURRENT POWER % POWER FACTOR CAPACITANCE
REMARK
NO. EN. GR. GU. kV (mA) (W) MEASURED COR. 20OC (pF)
1 HV LV - 10 CH + CHL
2 HV - LV 10 CH
3 LV HV 10 CL + CLT
4 LV - HV 10 CL
(1-2) CHL (1-2)
CALCULATED RESULTS
(3-4) CLH (3-4)
BUSHING
SIDE MANUFACTURER YEAR TYPE BIL (kV) CLASS kV A
HV
LV
BUSHING TEST
POWER FACTOR CAPACITANCE
BUSHING TEST CURRENT
PHASE
SERIAL NO.
PART
kV (mA)
POWER (W) MEASURED COR. 20๐C NAMEPLATE [1] MEASURED NAMEPLATE ERROR
(%) (%) [1] (%) [2] [2] (pF) (pF) %
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
TESTED BY : BY : DATE :

43

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.10 INSULATION TEST OF THREE WINDING TRANSFORMER
INSULATION TEST OF THREE WINDING TRANSFORMER
Location Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp. O
C Wdg.Temp. C
O

Manufacturer Rated Current Amb. Temp. C


O

Year of Mfg. No. of Phase Humidity %


Serial No. Asset No. Weather
INSULATION RESISTANCE MEASUREMENT
TEST CONNECTION TEST MΩ AT ANY TIMES ( min. ) MΩ10
PI=
NO. EN. GR. Vdc 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 MΩ 1
1 HV LV+TV 2,500
2 LV HV+TV 2,500
3 TV HV+LV 2,500
CORE INSULATION 1,000
INSULATION POWER FACTOR AND CAPACITANCE MEASUREMENT CORR
TEST CONNECTION TEST CURRENT POWER % POWER FACTOR CAPACITANCE
REMARK
NO. EN. GR. GU. kV (mA) (W) MEASURED COR. 20OC (pF)
1 HV LV TV 10 CH + CHL
2 HV - LV+TV 10 CH
3 LV TV HV 10 CL + CLT
4 LV - HV+TV 10 CL
5 TV HV LV 10 CT + CTH
6 TV - HV+LV 10 CT
(1-2) CHL (1-2)
CALCULATED RESULTS (3-4) CLT (3-4)
(5-6) CTH (5-6)
BUSHING
SIDE MANUFACTURER YEAR TYPE BIL (kV) CLASS kV A
HV
LV
TV
BUSHING TEST
POWER FACTOR CAPACITANCE
BUSHING TEST CURRENT
PHASE
SERIAL NO.
PART
kV (mA)
POWER (W) MEASURED COR. 20๐C NAMEPLATE [1] MEASURED NAMEPLATE ERROR
(%) (%) [1] (%) [2] [2] (pF) (pF) %
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
C1 10
C2
TESTED BY : BY : DATE :
44

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.11 INSULATING OIL
Page
INSULATING OIL
O
Location Oil Temp. C
O
Device No. Ambient Temp. C
Serial No. Humidity %
OLTC Counter Reset OLTC Counter Unreset
DIELECTRIC BREAKDOWN VOLTAGE TEST
OIL SAMPLE
1) 2) 3) 4)
ASTM D877 D1816
ASTM D877 D1816 ASTM D877 D1816 ASTM D877 D1816
GAP DISTANCE mm GAP DISTANCE mm GAP DISTANCE mm GAP DISTANCE mm
BREAKDOWN (kV) BREAKDOWN (kV) BREAKDOWN (kV) BREAKDOWN (kV)
TEST NO. xi _
(xi -x) 2
xi _
(xi -x) 2
xi ( x i -_x ) 2 xi ( x i - _x )
2

1
2
3
4
5

x_ = ∑ x i / 5 ========== ========== ========== ==========


2
s.d = ∑ n(x- i1-x) ========== ========== ========== ==========
.
CV = s.d. / x ========== ========== ========== ==========

NOTE :
If CV exceeds 0.1 , it is probable that standard deviation of five breakdowns is excessive, and therefore that the
probable error of their average is also excessive.

INSULATION POWER FACTOR MEASUREMENT


TEST CURRENT (mA) WATT % POWER FACTOR REMARK
OIL SAMPLE O
kV AVG. AVG. AVG. COR. 20 C CAPACITANCE ( pF )
1)

2)

3)

4)

TESTED BY : WITNESSED BY : DATE :


F0901-TX10
F0901-TX09 Rev. 2.0 : :11AUG
F0901-TX10Rev.2.0
Rev.2.0 AUG2005
2011
2011
45

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.12 TEMPERATURE CONTROLLER
Page
TEMPERATURE CONTROLLER
0
Location Rated kVA Oil Temp. C
0
Device No. Rated Voltage Wdg. Temp. C
0
Manufacturer Rated Current Amb. Temp. C
0
Serial No. Asset No. Temp. Rise C
0
Oil Temp. Mfg. Type Scale C Serial No.
0
Winding Temp.(H) Mfg. Type Scale C Serial No.
0
Winding Temp.(L) Mfg. Type Scale C Serial No.

OIL TEMPERATUREO CONTROLLER O O


SPEC. SET PONIT ( C ) AS FOUND ( C ) AS LEFT ( C )
TEMPERATURE Boiling Point
CHECK Amb. Temp.
Set Reset Set Reset Set Reset
CONTACT Fan 1
Fan 2
SETTING Alarm
Trip
WINDING TEMPERATURE CONTROLLER
O O O
SPEC. SET PONIT ( C ) AS FOUND ( C ) AS LEFT ( C )
H( ) X( ) Y( ) H( ) X( ) Y( ) H( ) X( ) Y( )
TEMPERATURE Boiling Point
CHECK Amb. Temp.
Fan 1 Set
Reset
Fan 2 or Pump Set
CONTACT Reset
SETTING Alarm step 1 Set
Reset
Alarm step 2 Set
Reset
Trip
BUSHING CT . , AUXILIARY CT . , MATCHING UNIT & HEATING ELEMENT
H X Y
t t t
Amp. Amp. Amp.
Rated Meas. Rated Meas. Rated Meas.
CURRENT SUPPLY FOR 60 % RATING
WINDING TEMPERATURE 80 % RATING
ABOVE OIL TEMPERATURE 100 % RATING
120 % RATING
HEATING ELEMENT (Ω ) HV = Ohm LV = Ohm
REMARK :

TESTED BY : WITNESSED BY : DATE :


F0901-TX10Rev.
F0901-TX11 Rev.2.0
2.0 : 1 AUG 2005
2011
46

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.1.13 SELF PROTECTION CHECK OF TRANSFORMER
SELF PROTECTION CHECK OF TRANSFORMER
Location Rated kVA Vector Group
Device No. Rated Voltage Oil Temp.
Manufacturer Rate Current Amb. Temp.
Year of Mfg. No. of Phase Humidity
Serial No. Asset No. Weather
FUNCTION CHECK
ITEM DESCRIPTIONS REMARK
PASS FAIL
1 BUCHHOLZ RELAY ALARM
2 BUCHHOLZ RELAY TRIP
3 OIL LEVEL ALARM
4 OIL TEMPERATURE ALARM
5 OIL TEMPERATURE TRIP
6 WINDING TEMPERATURE ALARM
7 WINDING TEMPERATURE TRIP
8 PRESSURE RELIEF TRIP
9 OFF-LOAD TAP CHANGER TRIP
10 OFF-LOAD TAP CHANGE MISOPERATE
11 LTC O/C DURING TAP CHANGE
12 LTC DRIVE MOTOR BREAKER
13 LTC PRESSURE RELAY TRIP OR OIL FLOW ALARM
14 TAP DIFF. ALARM
15 TAP CHANGE DELAY
16 AC REGULATING FAILURE
17 AC CONTROL FAILURE
18 AC SUPPLY FAILURE
19 DC SUPPLY FAILURE
20 DC CONTROL FAILURE
21 FAN BREAKER GROUP 1 ( Manual Control )
22 FAN BREAKER GROUP 2 ( Manaul Control )
23 FAN THERMAL RELAY GROUP 1
24 FAN THERMAL RELAY GROUP 2
25 OIL FILTER OVER PRESSURE ALARM
26 FAULT PRESSURE RELAY TRIP
27 DIVERTER SWITCH OIL LEVEL
28 RUBBER BAG RUPTURE
29 DIVERTER SWITCH PRESSURE RELIEF DEVICE
30 LOCK OUT OPERATION CHECK ( Trip Function Test when BKR Closed )
31 OTHER

TESTED BY : WITNESSED BY : DATE :


F0901-TX18
F0901-TX11
F0901-TX12
F0901-TX18 Rev.2.0: :1:11AUG
Rev.2.0
Rev.2.0 AUG2005
AUG 2011
2011
47

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2 อื่นๆ
4.2.1 Connection of transformer for ratio test
4.2.2 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับการวัดค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรง
4.2.3 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับการวัดค่า %PF ของหม้อแปลง
4.2.4 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับการวัดค่า %PF ของ Bushing
4.2.5 ตัวอย่างโครงสร้างของ TYPE "O" Bushing
4.2.6 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับการวัดค่า %PF ของน้ํามัน
4.2.7 การต่อ Tap Winding ของหม้อแปลงลักษณะต่างๆ
4.2.8 การวัดค่าความสูญเสียกําลังไฟฟ้าและกระแสขณะไม่มีโหลด
4.2.9 การวัดค่าความสูญเสียกําลังไฟฟ้าขณะลัดวงจร
4.2.10 Class ของ CT
4.2.11 การคํานวณ Percent ratio error ของ Type C relaying accuracy CTs
ตาม IEEE std. C57.13-1993
4.2.12 Phase-relation tests : polyphase transformers
4.2.13 การ Demagnetization
4.2.14 Simplified dielectric-loss and power-factor test circuit.
4.2.15 รูปแสดงความแตกต่างระหว่าง Test tap และ Potential tap
4.2.16 วงจรทดสอบ Bushing main insulation (C1)
4.2.17 วงจรทดสอบ Bushing tap insulation (C2)
4.2.18 ข้อมูล Bushing ABB type GOB
4.2.19 ข้อมูลการทดสอบ % Power factor limit ของ Bushing ยี่ห้อต่างๆ
4.2.20 หลักการ Setting Fan stage 1 , 2 และ Oil temp alarm
4.2.21 ตัวอย่างการบันทึกผลการทดสอบหม้อแปลง
4.2.22 ตัวอย่างข้อมูลผลทดสอบหม้อแปลงที่ขดลวดด้าน LV เสียรูปร่าง เนื่องจาก
กระแสลัดวงจร
4.2.23 ตัวอย่างรูปขดลวดหม้อแปลงด้าน LV ที่เสียรูปร่างเนื่องจากกระแสลัดวงจร

48

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.1 CONNECTION OF TRANSFORMER FOR RATIO TEST
TABLE 1
Vector diagram connection ratio
group : H.T. L.T. R - S with r - s
V v U-V u-v U1
Dd0 V-W v-w U2
U W u w W-U w-u
V v U-V u-v U1
Yy0 V-W v-w U2
U W u w W-U w-u
V v U-V u-v U1
Dz0 V-W v-w U2
U W u w W-U w-u
V w u U-V v-u U1
Dd6 V-W w-v U2
U W v W-U u-w
V w u U-V v-u U1
Yy6 V-W w-v U2
U W v W-U u-w
V w u U-V v-u U1
Dz6 V-W w-v U2
U W v W-U u-w
V u U-V 0-u
w U1. 3
Dy5 V-W 0-v
U W v W-U 0-w U2
V u U-V vw - u U1
Dy5 w V - W wu -v 0,866.U2
U W v W - U vuv - w
V u U - VW w - u
Dy5 w V - UW u - v 0,866.U1
U W v W - VU v - w U2
V u U-0 w-u U1
Yd5 w V-0 u-v
U W v W-0 v- w U2. 3
V u U - VW w - u 0,866.U1
Yd5 w V - UW u - v U2
U W v W - VU v - w
V u U-V vw - u
w U1
Yd5 V - W wu - v 0,866.U2
U W v W - U uv - w
V u U-V 0-u U1 . 3
Yz5 w V-W 0-v U2
U W v W-U 0-w
V u U-V vw - u U1
Yz5 w V - W wu - v 0,866.U2
U W v W - U uv - w
V u U - VW w - u 0,866.U1
Yz5 w V - WU u - v
U W v W - UV v - w U2
49
UV
ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.2 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับค่าความต้านทานฉนวนกระแสตรง
MEGGER INSULATION RESISTANCE TEMPERATURE
CONVERSION FACTORS FOR OIL FILLED TRANSFORMERS
FOR CONVERTING TO 20๐C
TEST MULTIPLY TEST MULTIPLY TEST MULTIPLY
TEMP ๐C BY TEMP ๐C BY TEMP ๐C BY
-20 0.063 21 1.072 61 17.14
-19 0.067 22 1.149 62 18.38
-18 0.072 23 1.231 63 19.70
-17 0.077 24 1.320 64 21.11
-16 0.082 25 1.414 65 22.63
-15 0.088 26 1.516 66 24.25
-14 0.095 27 1.625 67 25.99
-13 0.102 28 1.741 68 27.86
-12 0.109 29 1.866 69 29.86
-11 0.117 30 2.000 70 32.00
-10 0.125 31 2.144 71 34.30
-9 0.134 32 2.297 72 36.76
-8 0.144 33 2.462 73 39.40
-7 0.154 34 2.639 74 42.22
-6 0.165 35 2.828 75 45.25
-5 0.177 36 3.031 76 48.50
-4 0.189 37 3.249 77 51.98
-3 0.203 38 3.482 78 55.72
-2 0.218 39 3.732 79 59.71
-1 0.233 40 4.000 80 64.00
0 0.250 41 4.287 81 68.59
1 0.268 42 4.595 82 73.52
2 0.287 43 4.925 83 78.79
3 0.308 44 5.278 84 84.45
4 0.330 45 5.657 85 90.51
5 0.354 46 6.063 86 97.01
6 0.379 47 6.498 87 104.00
7 0.406 48 6.964 88 111.40
8 0.435 49 7.464 89 119.40
9 0.467 50 8.000 90 128.00
10 0.500 51 8.574 91 137.20
11 0.536 52 9.190 92 147.00
12 0.574 53 9.849 93 157.60
13 0.616 54 10.560 94 168.90
14 0.660 55 11.310 95 181.00
15 0.707 56 12.130 96 194.00
16 0.758 57 13.000 97 207.90
17 0.812 58 13.930 98 222.90
18 0.871 59 14.930 99 238.90
19 0.933 60 16.000 100 256.00
20 1.000
50

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.3 ตารางค่าประกอบแก้ไขสําหรับค่า %PF ของหม้อแปลง
TABLE 3
MULTIPLIERS FOR CONVERTING
POWER FACTORS AT TEST TEMPERATURE
TO POWER FACTOR 20 ๐C
Oil –Fill Power
Oil Filled Trans. (sealed Gas
TEST Askarel- Blanketed and modern
Transformer
TEMPERATURE Filled
(Free Breathing Conservator Types)
Trans
and older Up Through Rated 230 kV
๐ ๐ Conservator types 161 kV And up, Above
C F
750 kV BIL 750 kV BIL
0 32.0 1.56 1.57 0.95
2 35.6 1.52 1.50 0.96
4 39.2 1.48 1.44 0.98
6 42.8 1.45 1.37 0.98
8 46.4 1.43 1.31 0.99
10 50.0 1.38 1.25 0.99
12 53.6 1.31 1.19 1.00
14 57.2 1.24 1.14 1.01
16 60.8 1.16 1.09 1.01
18 64.4 1.08 1.05 1.00
20 68.0 1.00 1.00 1.00 1.00
22 71.6 0.90 0.91 0.96 0.99
24 75.2 0.81 0.83 0.92 0.98
26 78.8 0.72 0.76 0.88 0.97
28 82.4 0.64 0.70 0.84 0.96
30 86.0 0.56 0.63 0.80 0.95
32 89.6 0.51 0.58 0.76 0.94
34 93.2 0.46 0.53 0.73 0.93
36 96.8 0.42 0.49 0.70 0.91
38 100.4 0.39 0.45 0.67 0.90
40 104.0 0.35 0.42 0.65 0.89
42 107.6 0.33 0.38 0.62 0.87
44 111.2 0.30 0.36 0.59 0.86
46 114.8 0.28 0.33 0.56 0.84
48 118.4 0.26 0.30 0.54 0.83
50 122.0 0.24 0.28 0.51 0.81
52 125.6 0.22 0.26 0.49 0.79
54 129.2 0.21 0.23 0.47 0.77
56 132.8 0.19 0.21 0.45 0.75
58 136.4 0.18 0.19 0.43 0.72
60 140.0 0.16 0.17 0.41 0.70

51

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
4.2.4 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับการวัดค่า %PF ของ BUSHING
TABLE 4
MULTIPLIERS FOR CONVERTING POWER FACTORS
AT TEST TEMPERATURE TO POWER FACTORS AT 20๐C
TEST ASEA BROWN BOVERI GENERAL ELECTRIC LAPP
TEMPERATURE TYPES TYPES TYPES TYPES TYPES
TYPE CIF & CIF & TYPE TYPE I, LC OF, OFI S, SI & SM TYPE CLASS CLASS CLASS
๐ ๐
C F GO CTKF CTKF B F LI & LM & OFM (Cpd, filled) U ERC PRC FOC
25-765 kV 20-60 kV 85-330 kV 15-23 kV 15-69 kV 15-765 kV
0 32.0 0.79 1.24 1.00 1.09 0.93 1.00 1.18 1.26 1.02 0.90 0.81 1.00
2 35.6 0.81 1.22 1.00 1.09 0.95 1.00 1.16 1.24 1.02 0.91 0.83 1.00
4 39.2 0.83 1.20 1.00 1.09 0.97 1.00 1.15 1.21 1.02 0.92 0.86 1.00
6 42.8 0.85 1.17 1.00 1.08 0.98 1.00 1.13 1.19 1.01 0.93 0.88 1.00
8 46.4 0.87 1.15 1.00 1.08 0.99 1.00 1.11 1.16 1.01 0.94 0.89 1.00
10 50.0 0.89 1.12 1.00 1.07 0.99 1.00 1.10 1.14 1.01 0.95 0.92 1.00
12 53.6 0.92 1.1 1.00 1.06 0.99 1.00 1.08 1.11 1.01 0.96 0.94 1.00

52
14 57.2 0.94 1.06 1.00 1.05 1.00 1.00 1.06 1.08 1.01 0.97 0.95 1.00
16 60.8 0.95 1.05 1.00 1.04 1.00 1.00 1.04 1.06 1.00 0.98 0.97 1.00
18 64.4 0.98 1.03 1.00 1.02 1.00 1.00 1.02 1.03 1.00 0.99 0.98 1.00
20 68.0 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00
22 71.6 1.03 0.98 1.00 0.97 0.99 0.99 0.97 0.97 1.00 1.00 1.00 1.00
24 75.2 1.05 0.96 1.00 0.93 0.97 0.99 0.94 0.93 1.00 1.01 1.03 1.00
26 78.8 1.07 0.94 1.00 0.90 0.96 0.98 0.91 0.90 0.99 1.02 1.05 1.00
4.2.4 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับค่า %PF ของ BUSHING

28 82.4 1.09 0.91 1.00 0.85 0.94 0.97 0.88 0.87 0.99 1.02 1.07 1.00
30 86.0 1.12 0.88 1.00 0.81 0.92 0.96 0.86 0.84 0.98 1.03 1.10 1.00
32 89.6 1.14 0.86 1.00 0.77 0.89 0.95 0.83 0.81 0.97 1.03 1.11 1.00
34 93.2 1.17 0.84 1.00 0.73 0.87 0.94 0.80 0.77 0.97 1.04 1.23 1.00
36 96.8 1.19 0.82 1.00 0.69 0.84 0.93 0.77 0.74 0.96 1.04 1.13 1.00
38 100.4 1.21 0.8 1.00 0.65 0.81 0.91 0.74 0.70 0.95 1.05 1.14 1.00
40 104.0 1.23 0.78 1.00 0.61 0.78 0.89 0.70 0.67 0.94 1.05 1.15 1.00
42 107.6 1.26 0.76 1.00 0.74 0.87 0.67 0.63 0.93 1.05 1.15 1.00
44 111.2 1.28 0.74 1.00 0.70 0.85 0.63 0.60 0.91 1.06 1.15 1.00
46 114.8 1.30 0.72 1.00 0.64 0.83 0.61 0.56 0.09 1.06 1.15 1.00
48 118.4 1.31 0.7 1.00 0.58 0.82 0.58 0.53 0.87 1.07 1.14 1.00
50 122.0 1.33 0.68 1.00 0.52 0.80 0.56 0.50 0.86 1.07 1.13 1.00
52 125.6 1.34 0.66 1.00 0.79 0.53 0.47 0.84 1.07 1.11 1.00
54 129.2 1.36 0.64 1.00 0.78 0.51 0.44 0.89 1.08 1.09 1.00
56 132.8 1.37 0.62 1.00 0.77 0.49 0.41 0.79 1.08 1.07 1.00
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
58 136.4 1.37 0.6 1.00 0.76 0.46 0.38 0.77 1.07 1.06 1.00
60 140.0 1.38 0.58 1.00 0.74 0.44 0.36 0.75 1.07 1.05 1.00

หมายเหตุ. ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลค่าตัวประกอบแก้ไขจากบริษัทผู้ผลิต อนุโลมให้ใช้ค่าตัวประกอบแก้ไขตามตาราง WESTINGHOUSE Type O


TABLE 4 (CONT.)

TEST McGRAW- MICANTE AND PASSONI WESTINGHOUSE


MICAFIL OHIO BRASS ABB ABB HSP HSP
TEMPERATURE EDISON INSULATORS CO. VILLA Condenser
TYPE TYPE Class Class Class Class TYPES FTAO Except Type Type Type Type Type Type
๐ ๐
Above 65 kV
C F PPA&PB WTxF 25-69 kV GAL L GK LK &JPVf Type O O O GOx GSx SETFt OTF
46-138 kV 5-345 kV 15-500 kV 15-69 kV 25-230 kV Plus
0 32.0 0.68 1.55 1.13 1.54 1.29 0.90 0.85 0.65 1.61 0.88 0.87 0.80 0.76 0.99 0.87
2 35.6 0.70 1.49 1.11 1.47 1.26 0.91 0.86 0.69 1.52 0.89 0.89 0.80 0.76 1.00 0.89
4 39.2 0.72 1.43 1.10 1.40 1.24 0.91 0.87 0.74 1.44 0.90 0.91 0.85 0.81 1.00 0.90
6 42.8 0.76 1.37 1.08 1.34 1.21 0.92 0.89 0.78 1.36 0.91 0.92 0.85 0.81 1.03 0.91
8 46.4 0.79 1.31 1.07 1.29 1.19 0.92 0.90 0.82 1.30 0.93 0.93 0.90 0.87 1.03 0.93
10 50.0 0.82 1.25 1.06 1.24 1.16 0.93 0.92 0.86 1.23 0.94 0.94 0.90 0.87 1.03 0.94
12 53.6 0.85 1.20 1.05 1.18 1.12 0.94 0.93 0.89 1.18 0.95 0.95 0.90 0.87 1.03 0.95
14 57.2 0.87 1.00 1.12 1.04 1.14 1.09 0.95 0.95 0.92 1.13 0.96 0.96 0.95 0.93 1.03 0.97
16 60.8 0.93 1.00 1.10 1.02 1.09 1.06 0.97 0.96 0.95 1.09 0.98 0.98 0.95 0.93 1.03 0.98

53
18 64.4 0.96 1.00 1.05 1.01 1.04 1.08 0.98 0.98 0.97 1.04 0.99 0.99 1.00 1.00 1.03 0.99
20 68.0 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00 1.00
22 71.6 1.02 1.00 0.96 0.99 0.95 0.97 1.02 1.02 1.02 0.96 1.01 1.01 1.00 1.00 1.00 1.01
24 75.2 1.10 1.00 0.91 0.98 0.91 0.94 1.04 1.04 1.05 0.92 1.02 1.02 1.05 1.07 0.97 1.02
26 78.8 1.24 1.00 0.87 0.96 0.88 0.91 1.06 1.06 1.07 0.88 1.04 1.03 1.05 1.07 0.97 1.03
28 82.4 1.28 1.00 0.84 0.95 0.84 0.88 1.09 1.08 1.09 0.84 1.05 1.04 1.10 1.14 0.97 1.04
4.2.4 ตารางค่าตัวประกอบแก้ไขสําหรับค่า %PF ของ BUSHING

30 86.0 1.24 1.00 0.80 0.94 0.80 0.86 1.11 1.10 1.11 0.81 1.04 1.05 1.10 1.14 0.97 1.04
32 89.6 1.29 1.00 0.77 0.93 0.77 0.83 1.13 1.12 1.13 0.77 1.07 1.06 1.10 1.14 0.97 1.05
34 93.2 1.32 1.00 0.74 0.92 0.74 0.80 1.15 1.14 1.16 0.74 1.08 1.07 1.15 1.21 0.95 1.05
36 96.8 1.36 1.00 0.70 0.90 0.71 0.78 1.17 1.15 1.17 0.70 1.08 1.07 1.15 1.21 0.95 1.06
38 100.4 1.41 0.99 0.67 0.89 0.68 0.75 1.19 1.17 1.18 0.67 1.09 1.08 1.20 1.27 0.95 1.06
40 104.0 1.45 0.98 0.64 0.88 0.65 0.72 1.21 1.18 1.18 0.64 1.09 1.08 1.20 1.27 0.93 1.06
42 107.6 1.50 0.98 0.61 0.87 1.22 1.19 1.20 0.62 1.10 1.09 1.20 1.27 0.93 1.06
44 111.2 1.55 0.97 0.58 0.86 1.24 1.20 1.22 0.59 1.11 1.10 1.25 1.33 0.93 1.06
46 114.8 1.58 0.97 0.55 0.85 1.26 1.21 1.24 0.56 1.11 1.10 1.25 1.33 0.90 1.06
48 118.4 1.61 0.96 0.52 0.84 1.27 1.21 1.24 0.53 1.10 1.11 1.30 1.37 0.90 1.06
50 122.0 1.65 0.95 0.50 0.83 1.29 1.22 1.25 0.51 1.10 1.11 1.30 1.37 0.86 1.05
52 125.6 1.67 0.94 1.30 1.22 1.26 0.50 1.10 1.11 1.30 1.37 0.85 1.05
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
54 129.2 1.67 0.94 1.31 1.22 1.26 0.48 1.09 1.11 1.34 1.41 0.84 1.04
56 132.8 1.67 0.90 1.38 1.22 1.26 0.47 1.08 1.11 1.34 1.41 0.82 1.04
58 136.4 1.68 0.90 1.34 1.21 1.26 0.46 1.07 1.12 1.35 1.43 0.80 1.03
60 140.0 1.68 0.92 1.35 1.21 1.25 0.45 1.06 1.12 1.35 1.43 0.78 1.02
หมายเหตุ. ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลค่าตัวประกอบแก้ไขจากบริษัทผู้ผลิต อนุโลมให้ใช้ค่าตัวประกอบแก้ไขตามตาราง WESTINGHOUSE Type O
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.2.5 ตัวอย่างโครงสร้างของ Type “O” Bushing

The type “O” bushing, Introduced


in 1942 for 69 kV and above voltage
rating, for use in transformer and
oil circuit breaker, is and oil impregnated
condenser bushing, The chamber between
the porcelain and the paper condenser is
oil filled. For voltage rating up to and
including 345 kV, a one piece porcelain
casing is used. As the type “O” bushing are
completely sealed, they may be stored
indoors or outdoors.
A typical construction of ASA Standard
type “O” bushing manufactured From 1957
is shown.

54

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.6าตัตารางค่
4.2.6 ตารางค่ าตัวประกอบแก้
วประกอบแก้ ไขสําหรับไการวั
ขสําหรั
ดค่บาการวั
%PFดค่ของน้
า % PFํามัของนํ
น f ามัน
TABLE 5
หม้อแปลง MULTIPLIERS FOR CONVERTING POWER FACTORS AT
TEST TEMPERATURE TO POWER FACTORS AT 20OC
SAMPLE TRANSFORMER
TEMPERATURE ASKAREL OIL
C F
0 32.0 1.56
1 33.8 1.54
2 35.6 1.52
3 37.4 1.5
4 39.2 1.48
5 41.0 1.46
6 42.8 1.45
7 44.6 1.44
8 16.4 1.43
9 48.2 1.41
10 50.0 1.38
11 50.8 1.35
12 53.6 1.31
13 55.4 1.27
14 57.2 1.24
15 59.0 1.2
16 60.8 1.16
17 62.6 1.12
18 64.4 1.08
19 66.2 1.04
20 68.0 1.00 1
21 69.8 0.95 0.96
22 71.6 0.90 0.91
23 73.4 0.85 0.87
24 75.2 0.81 0.83
25 77.0 0.76 0.79
26 78.8 0.72 0.76
27 80.6 0.68 0.73
28 82.4 0.64 0.7
29 84.2 0.60 0.67
30 86.0 0.56 0.63
31 87.8 0.53 0.6
32 89.6 0.51 0.58
33 91.4 0.48 0.56
34 93.2 0.46 0.53
35 95.0 0.44 0.51
36 96.8 0.42 0.49
37 98.6 0.40 0.47
38 100.4 0.39 0.45
39 102.2 0.37 0.44
40 104.0 0.35 0.42
41 105.8 0.34 0.4
42 107.6 0.33 0.38
43 109.4 0.31 0.37
44 111.2 0.30 0.36
45 113.0 0.29 0.34
46 114.8 0.28 0.33
47 116.6 0.27 0.31
48 118.4 0.26 0.3
49 120.2 0.25 0.29
50 122.0 0.24 0.28
52 125.6 0.22 0.26
54 129.2 0.21 0.23
56 132.2 0.19 0.21
58 136.4 0.18 0.19
60 140.0 0.16 0.17
62 143.6 0.15 0.16
64 147.2 0.14 0.15
66 150.8 0.14 0.14
68 154.4 0.13 0.13
70 158.0 0.12 0.12
72 161.6 0.11 0.12
74 165.2 0.11 0.11
76 168.8 0.10 0.1
78 172.4 0.09 0.09
80 176.0 0.09 0.09

55

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.2.7 การต่อ Tap Winding ของหม้อแปลงลักษณะต่างๆ

OLTC with neutral end of tap winding

Three pole line-end arrangement One and two pole line-end Three pole mid-winding
arrangement arrangement

OLTCS in Autotransformers

56

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.8 การวัดค่าความสูญเสียกําลังไฟฟ้าและกระแสขณะไม่มีโหลด
(No load losses and exciting current measurement)
1) ต่อวงจรดังรูป

2) สําหรับการทดสอบหม้อแปลงสามเฟส ให้ใช้วงจรทดสอบแบบ Three watt method แรงดันที่


ใช้ทดสอบ ให้ใช้แรงดันที่อ่านจาก Average-voltage voltmeter และนอกจากนี้ Voltmeterที่
อ่าน ให้ต่อในลักษณะเดียวกับขดลวดชุดที่ต่อเพื่อทดสอบ เช่น ป้อนเข้าที่หม้อแปลงที่ต่อแบบ Y ก็
ให้ต่อ Voltmeter เพื่ออ่านเป็น L-G
3) ก่อนทําการทดสอบหม้อแปลง ในกรณีที่มี BCT อยู่ภายในตัวหม้อแปลงให้ตรวจดูว่า BCT มีการ
ลัดวงจร ลงดินแล้ว
4) ขั้วของหม้อแปลงที่จะทดสอบต้องไม่ต่อร่วมกับ Bus หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ
5) ปรับ Tap ของขดลวดไว้ที่ค่าแรงดันพิกัดที่ระบุใน Name plate ของหม้อแปลง
6) บันทึกค่าอุณหภูมิของขดลวดและอุณหภูมิของน้ํามันหม้อแปลงขณะทําการทดสอบ จะต้องปรับค่า
Lossที่วัดได้ไปที่อุณหภูมิอ้างอิง ถ้าขณะทําการทดสอบ อุณหภูมิไม่เป็นไปดังนี้
6.1 อุณหภูมิของTop oil ต่างจากอุณหภูมิอ้างอิง ± 10°C
6.2 ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของTop และ Bottom oil มากกว่า 5°C

57

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

Pr(Tr) = Pc(Tm)×(1+(Tm-Tr)×KT)
เมื่อ
Pr(Tr) = Loss ที่อุณหภูมิอ้างอิง
Pc(Tm) = Loss ที่อุณหภูมิที่ทําการทดสอบ
Tr = อุณหภูมิอ้างอิง = 20°C
Tm = อุณหภูมิที่ทําการทดสอบ
KT = 0.00065 (เป็นค่าคงที่ตามมาตรฐาน ANSI C57.12.90-1993)
7) ป้อนแรงดันให้กับหม้อแปลงที่จะทดสอบในกรณีที่ไม่สามารถป้อนแรงดันทดสอบได้เท่ากับแรงดัน
พิกัด ให้ทดสอบที่แรงดันสูงสุดเท่าที่จะสามารถทําได้
8) วัดค่ากระแส วัตต์และแรงดัน จากมิเตอร์ แรงดันที่อ่านเป็น Vavg. และ Vrms. จากนั้นก็ให้ปรับแก้
ค่าLoss อันเนื่องมาจากรูปคลื่นแรงดันที่ใช้ทดสอบ ดังนี้
Pc(Tm) = Pm/(P1+k×P2)
เมื่อ
Tm = อุณหภูมิที่ทําการทดสอบ
Pc(Tm) = Loss หลังจากแก้รูปคลื่นแรงดันทดสอบ ณ.อุณหภูมิที่ทําการทดสอบ
Pm = Loss ก่อนแก้รูปคลื่นแรงดันทดสอบ ณ.อุณหภูมิที่ทําการทดสอบ
P1, P2 = 0.5 (ค่าคงที่ตามมาตรฐาน ANSI C57.12.90-1993)
K = (Er/Ea)2
Er = แรงดันที่อ่านจาก rms voltmeter
Ea = แรงดันที่อ่านจาก average voltmeter
9) ค่ากระแสขณะไม่มีโหลด ให้เทียบกับค่า Guarantee ของผู้ผลิต ในกรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ ค่ากระแส
ขณะไม่มีโหลดไม่ควรเกิน 2 % ของค่ากระแสพิกัด และค่า No load losses (%) สําหรับหม้อ
แปลง Single phase และ Three phase ต้องไม่เกิน + 10 % ตามมาตรฐาน ANSI C57.12.00-
1993
10) หลังจากวัดค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ Energized ทิ้งไว้ไม่ต่ํากว่า 15 นาทีและให้สังเกตสิ่งผิดปกติ

58

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.2.9 การวัดค่าความสูญเสียกําลังไฟฟ้าขณะลัดวงจร
(Load losses and impedance voltage measurement)
1) ต่อวงจรดังรูป
2) สําหรับการทดสอบหม้อแปลงสามเฟส ให้ใช้วงจรทดสอบแบบ Three watt method แรงดันที่

ใช้ทดสอบ ให้ใช้แรงดันที่อ่านจาก rms voltmeter และนอกจากนี้ Voltmeter ที่อ่าน ให้ต่อ


ในลักษณะเดียวกับขดลวดชุดที่ต่อเพื่อทดสอบ เช่นป้อนเข้าที่หม้อแปลงที่ต่อแบบ Y ก็ให้ต่อ
Voltmeter เพื่ออ่านเป็น L-G
3) สายลัดวงจรควรใช้สายไฟฟ้าหรือBusทองแดงที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของกระแสลัดวงจร
4) ก่อนทําการทดสอบหม้อแปลง ในกรณีที่มี BCT อยู่ภายในตัวหม้อแปลง ให้ตรวจดูว่า BCT มีการ
ลัดวงจรลงดินแล้ว
5) ปรับ Tap ของขดลวดทั้ง 2 ด้านให้ตรงกับ Base ของ Impedance ที่ระบุใน Name plate ของ
หม้อแปลงและให้บันทึก Tap ที่ทดสอบไว้ในแบบฟอร์มด้วย
6) บันทึกค่าอุณหภูมิของขดลวดและอุณหภูมิของน้ํามันหม้อแปลง อุณหภูมิของน้ํามันต้องไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงและควรจะต้องเท่ากันทั้ง Top และ Bottom oil สภาวะอุณหภูมิจะต้องอยู่ในสภาวะ
ดังนี้
6.1 อุณหภูมิ Top และ Bottom oil จะต้องแตกต่างกันไม่เกิน 5°C
6.2 จะต้องวัดอุณหภูมิของขดลวดก่อนและหลังการทดสอบ โดยใช้วิธวี ัดค่าความต้านทาน
จากนั้นนําค่าอุณหภูมิทั้งสองค่ามาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าอุณหภูมิที่ใช้คํานวณ Loss
6.3 ความแตกต่างของอุณหภูมิก่อนและหลังการทดสอบ ต้องต่างกันไม่เกิน 5°C
59

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

7) ป้อนกระแสให้กับหม้อแปลงที่จะทดสอบ ในกรณีที่ไม่สามารถป้อนกระแสทดสอบได้เท่ากับกระแส
พิกัด ให้ทดสอบที่กระแสสูงสุดเท่าที่จะสามารถทําได้
8) วัดค่าแรงดัน กระแส และวัตต์จากมิเตอร์ เพื่อเทียบค่าจาก Specification โดยค่าความ
คลาดเคลื่อนของ Total losses (%) ต้องไม่เกิน + 6 % ตามมาตรฐาน ANSI C57.12.00-1993
9) ค่า Impedance voltage (%IZ) ที่อุณหภูมิขณะทําการทดสอบ คํานวณได้จากสูตร

VSC ( LINE ) MVABASE


% IZ = × × 100
3 (kV ) BASE
2
I SC

VSC(LINE) = Short circuit voltage


ISC = Short circuit current
MVABASE = Power rating เป็น MVA
kV = Voltage rating เป็น kV
ตัวอย่าง จาก Name plate หม้อแปลง TOSHIBA kVA rating 7500/10000/12500
Voltage rating HV 115000 LV 22000 Grd. Y/12700 Impedance volts. 10.10 % 115000-
22000 at 12500 kVA
จากการทดสอบได้ค่า VSC = 427.3 V
ISC = 2.31 A
VSC ( LINE ) MVABASE
จากสูตร % IZ = × × 100
3 (kV ) BASE
2
I SC
427.3 12.5
% IZ = × × 100
3 (115)
2
2.31
% IZ = 10.09%
10) บันทึกค่าอุณหภูมิของขดลวดหลังทําการทดสอบ
11) เมื่อต้องการเปลี่ยนค่า %IZ ที่คํานวณไว้ในข้อ 8) เพื่อเปรียบเทียบกับค่า %IZ จากโรงงานที่
อุณหภูมิอ้างอิง (75 °C หรือ 85 °C) ให้คํานวณจากวิธีการดังนี้
IZ = % Impedance voltage at t °C (จากข้อ 9)
IRt = % Resistance voltage at t °C
= Measured load losses at t °C ([MW/kVA]x100)
(234.5 + t )ref
IRref = IRt ×
(234.5 + t )
IX = (IZ )2 − (IRref )2
= % Reactance voltage
= ( IX ) + (IRref )
2 2
IZref
= % Impedance voltage at reference temperature
60

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
โดยความคลาดเคลื่อนต้องไม่เกินค่าที่กําหนด ตามมาตรฐานANSI C57.12.00-1993

ชนิดของหม้อแปลง ความแตกต่างจากค่ากําหนด ระหว่างหม้อแปลงกลุ่มเดียวกัน


(เทียบกับค่าที่กําหนด)
3 ขดลวด และ Auto ± 10 % < 10 %
2 ขดลวด
- มีค่า%IZ > 2.5% ± 7.5 % < 7.5 %
- มีค่า%IZ < 2.5% ± 10 % < 7.5 %
ในกรณีที่ไม่รู้ค่ากําหนด ให้ใช้ค่าที่ระบุใน Nameplate

4.2.10 Class ของ CT


C , K Class คือ CT ที่มีโครงสร้างแบบ Top core หรือ Bushing CT หรือ Window CT เป็น
CT ที่มี Primary สั้นและจะสอดอยู่ตรงกลางของแกนเหล็ก โดยที่ Secondary จะพันกระจาย
อยู่บนแกนเหล็กอย่างสม่ําเสมอ จึงทําให้ Leakage flux น้อยมากจนทําให้สามารถหา
Accuracy ได้โดยการคํานวณ การคํานวณจะตัดผลของ Leakage flux ทิ้งไป และการคํานวณ
Accuracy จะไม่มีการหาค่าเฟส Error
สําหรับ K class จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมคือจุด Knee point จะต้องไม่ต่ํากว่า 70%
ของ Rated secondary terminal voltage
T class เป็น CT ที่เป็น Bottom core ลักษณะของ Primary อาจจะเรียกว่า Hair
pin ทําให้ CT แบบนี้จะมี Leakage flux อยู่จํานวนหนึ่ง ทําให้ไม่สามารถหา Accuracy ได้
โดยการคํานวณ ต้องใช้ค่าจากโรงงานหรือการทํา Accuracy test
ความหมายของ C100 จะนําเอา Burden ตาม Rated ของ CT นั้นต่อคร่อมขด
Secondary จากนั้นป้อนกระแสเข้าไป 20 เท่าของ Rated current โดยที่ ค่า Ratio
correction ต้องไม่เกิน 10% เช่น CT มี Rated current ของ Secondary 5A, Rated
burden 1Ω ถ้าทดสอบที่ 20 เท่า
∴ Rated secondary terminal voltage = 20*5*1 = 100 V นั่นก็คือ C100 หรือ
K100

4.2.11 การคํานวณ Percent ratio error ของ Type C relaying accuracy CTs ตาม IEEE
std. C57.13-1993
1. วัดค่าความต้านทานของ ขดลวดเต็มขดทางด้าน Secondary ของ CT (Rsm) ที่อุณหภูมิ tm แล้ว
แปลงค่าที่วัดได้ ไปที่อุณหภูมิ 75 OC (Rs)
 234.5 + 75 
R s = R sm ×  
 234.5 + t m 
2. วัดอัตราส่วนของขดลวด (turns ratio of CT) ให้ = N

61

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
3. คํานวณ Secondary circuit impedance (Zt)
Zt = [(Rs + Rb)2 + (Xb)2] ½
โดยที่ Rb = Resistance of secondary burden including secondary
leads
Xb = Reactance of secondary burden
ถ้าให้ Zb = Secondary burden
ตามมาตรฐาน IEEE Standard relaying burden มีค่า 1, 2, 4 และ 8 โอห์ม Power factor
0.5 (power factor angle = 60 O) ใช้สัญลักษณ์ B-1, B-2, B-4 และ B-8
ดังนั้น Rb = Zb X cos 60O = 0.500 Zb
Xb = Zb X sin 60O = 0.866 Zb
4. คํานวณค่า Excitation voltage (Vse) ที่ต้องการ ให้ได้ Secondary current Is ที่ต้องการคํานวณ
Ratio error (ตาม IEEE std. เท่ากับ 20 เท่า ของ Rated current)
Vse = Is Zt
ค่า Vse ที่คํานวณได้ จะสูงกว่า Secondary terminal voltage rating เล็กน้อย เช่น CT class
C400 Vse ที่คํานวณได้ อาจจะมีค่า 415 V เป็นต้น
5. วัดค่า Excitation current (Ie) ที่แรงดัน Vse หรืออ่านค่า Ie จาก Excitation curve ที่ทําไว้หรือ
จาก Typical excitation curve ที่ได้รับจากบริษัทผู้ผลิต
6. คํานวณ Percent ratio error
 N   Ie 
percent ratio error =   ×   × 100 ≤ 10 %
 marked ratio   Is 

rated primary current


marked ratio = rated secondary current
ตามปกติ ค่า N = Marked ratio
ตาม IEEE std. ค่า Percent ratio error จะต้องไม่เกิน 10 %
ตัวอย่างเช่น
230 kV CT NISSIN Type FGCH-170 Class C800 Terminal X1-X5 Ratio 2,000:5 มี
excitation curve ดังรูปด้านล่าง มี Secondary winding resistance ของขั้ว X1-X5 เมื่อแปลง
ค่าไปที่ 75OC เท่ากับ 0.72 โอห์ม
ขั้นตอนการคํานวณ
1. Rs = 0.72 โอห์ม
2. N = 2,000 / 5 = 400
3. Zb = 8 โอห์ม (= 800 V/(20 x 5) A)
Rb = 8 x cos 60O = 8 x 0.5 = 4 โอห์ม
O
Xb = 8 x sin 60 = 8 x 0.866 = 6.93 โอห์ม
Zt = [(0.72 + 4)2 + (6.93)2]½ = 8.38 โอห์ม

62

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4. Vse = (20 x 5) x 8.38 โวลท์


= 838 โวลท์
5. จาก Excitation curve ที่ Vse = 838 โวลท์ อ่านค่า Ie ได้ 0.7 A
6. Percent ratio error
 400   0.7 
percent ratio error =  ×  × 100%
 400   20 × 5 

= 0.7 %
ซึ่งมีค่าต่ํากว่า 10 % ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด

EXCITATION CURVE FOR 230 kV CT NISSIN TYPE FGCH - 170 CLASS C800 - TERMINAL X1 - X5
RATIO 2000 : 5 A

10,000
SECONDARY RMS EXCITING VOLTS - Es

1,000

100

10

1
0.001 0.010 0.100 1.000 10.000 100.000

SECONDARY RMS EXCITING AMPERES - Ie

63

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.2.12 Phase-relation tests : polyphase transformers


4.2.12.1 หม้อแปลงที่จะทดสอบจะต้องเป็นหม้อแปลง 3 เฟส มี Ratio ไม่เกิน 30 : 1
4.2.12.2 ต่อขั้ว H1 และ X1 เข้าด้วยกัน
4.2.12.3 ป้อนแรงดันต่ํา 3 เฟส เข้าทางด้าน HV. ของหม้อแปลง
4.2.12.4 วัดแรงดันและเปรียบเทียบแรงดันของแต่ละขั้ว ตามรูปข้างล่าง

ANGULAR DIAGRAM FOR CHECK CHECK


DISPLACEMENT MEASUREMENT MEASUREMENTS
H2 X2 H2

X2 CONNECT H1 TO X1
H1 H3 X1 X3 H3
MEASURE H2-X2,H3-X2,
H1
X1 X3 H1-H2,H2-X3,H3-X3
GROUP 1
DELTA - DELTA CONNECTION
ANGULAR
VOLTAGE RELATIONS
DISPLACEMENT
H2 X2 (1) H2-X3 = H3-X2
0 DEGREES H2
(2) H2-X2 < H1-H2
X2 (3) H2-X2 < H2-X3
(4) H2-X2 = H3-X3
H1 H3 X1 X3 H1
X3 H3
Y – Y CONNECTION X1

H2 X2 H2

X1 X2 CONNECT H1 TO X1
H1 H3 H1 H3 MEASURE H3-X2,H3-X3,
X3 X1 H1-H3, H2-X2, H2-X3
GROUP 2 DELTA - Y CONNECTION X3
ANGULAR
VOLTAGE RELATIONS
DISPLACEMENT
H2 X2 H2 (1) H3-X2 = H3-X3
30 DEGREES
(2) H3-X2 < H1-H3
X1 (3) H2-X2 < H2-X3
(4) H2-X2 < H1-H3
H1 H3 H1 X2 H3
X3 X1
Y – DELTA CONNECTION X3

Transformer lead markings and voltage–phasor diagrams


for three-phase transformer connections

64

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.13 การ Demagnetization

วัตถุประสงค์ เพื่อลดอํานาจแม่เหล็กที่ค้างอยู่ในแกนเหล็ก อันอาจทําให้การวัดค่า exciting


current ไม่ถูกต้อง
อุปกรณ์ที่ใช้ - แบตเตอรี่รถยนต์
- rheostat หรือ voltage divider
- สวิทซ์สองทาง พิกัด > 10A
- แอมป์มิเตอร์
การเตรียมการ เลือกชุดของหม้อแปลงที่จะป้อนแรงดัน โดยคํานวณความเป็นไปได้ ความเหมาะสม
จากขนาดของแบตเตอรี่ , rheostat และความต้านทาน DC ของขดลวด ที่จะทําให้
เกิดกระแสไหลในวงจรสูงสุดไม่เกิน 10 % ของกระแสพิกัดของขดลวดชุดนั้นๆ
ขั้นตอนการทํา 1. ต่อวงจรดังรูป โดยต่อเข้าขั้วหม้อแปลงของเฟสกลางในขดที่เลือก
2. ตั้ง rheostat ไว้ที่ค่าความต้านทานสูงสุด
3. ป้อนแรงดัน DC ค่อยๆลดความต้านทานของ rheostat เพื่อเพิ่มกระแสจากศูนย์
จนถึงค่าสูงสุดที่ให้ค่ากระแสผ่านขดลวดหม้อแปลง แต่ไม่เกิน 10A แล้วค่อยๆลด
กระแสลงศูนย์
4. สับ reversing switch เพื่อเปลี่ยนขั้วแรงดัน DC แล้วทําตามขั้นตอนเดิม (อาจ
ทําซ้ําได้หลายครั้ง แต่ทุกครั้งต้องมีการเปลี่ยนขั้ว และลดขนาดของกระแสลงศูนย์)

65

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.14 Simplified dielectric-loss and power-factor test circuit.

66

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.15 รูปแสดงความแตกต่างระหว่าง Test tap และ Potential tap

67

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.2.16 วงจรทดสอบ Bushing main insulation ( C1 )

4.2.17 วงจรทดสอบ Bushing tap insulation ( C2 )

68

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.2.18 ข้อมูล Bushing ABB type GOB

69

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.2.19 ข้อมูลการทดสอบ % Power factor limit ของ Bushing ยี่ห้อต่างๆ

70

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

71

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

72

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

73

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.20 หลักการ Setting : Fan stage 1 , 2 และ Oil temp. alarm
การ Setting cooling Fan Stage 1 และ Stage 2 มีหลักการดังนี้
Fan Stage 1 คิดที่ Load 60% ของ rated load
Fan Stage 2 คิดที่ Load 80% ของ rated load
4.2.20.1 คํานวณ จากสูตร
∅g = ∅g ( fl ) K 2m
∅g ( fl ) = average conductor rise over top oil + 10๐ or 15๐C (Insulation
class 55๐C = 55๐+ 10๐C , class 60๐C = 60๐+ 15๐C Class 65๐C = 65๐+15๐C)
K = Ratio of load L to rated load
m = 0.8 for OA, OA/FA, OA/FA/FA
m = 1.0 for directed flow FOA,FOW
(จาก ANSI/IEEE C57.92-1981 Guide for loading mineral – oil immersed power
transformer)
สําหรับ Insulation class 65๐C
Fan Stage1 ∅1 = ∅ ambient + ∅g
= 40๐ C + (65๐+15๐) (0.6)2(0.8)
= 75.3๐C
Fan Stage2 ∅2 = 40๐C+ (65๐+15๐) (0.8)2(0.8)
= 96๐C
สําหรับ Insulation class 60๐C
Fan Stage1 ∅1 = ∅ ambient + ∅g
= 40๐ + (60๐+15๐) (0.6)2(0.8)
= 73๐C
Fan Stage2 ∅2 = 40๐+ (60๐+15๐) (0.8)2(0.8)
= 92.48๐C
สําหรับ Insulation class 55๐
Fan Stage1 ∅1 = 40๐ + (55๐+10๐) (0.6)2(0.8)
= 68.7๐C
∅2 = 40๐+ (55๐+10๐) (0.8)2(0.8)
= 85.48๐C
ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่คํานวณได้
Insulation Class 55๐C 60๐C 65๐C
Setting Start/Stop Start/Stop Start/Stop
Fan Stage1 68.7๐/58.7๐C 73๐/63๐C 75.3๐/65.3๐C
Fan Stage2 85.48๐/75.48๐C 92.48๐/82.48๐C 96๐/86๐C
74

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

4.2.20.2 ลดค่าที่คํานวณจากข้อ 4.2.19.1 ลงเพื่อเป็น Margin สําหรับความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการ


Setting จะได้ตารางใหม่ดังนี้

Insulation Class 55๐C 60๐C 65๐C


Setting Start/Stop Start/Stop Start/Stop
Fan Stage1 60๐/50๐C 65๐/55๐C 70๐/60๐C
Fan Stage2 80๐/70๐C 85๐/75๐C 90๐/80๐C

4.2.20.3 การ Setting Oil temp alarm


ตามความเสื่อมสภาพของน้ํามัน เมื่อใช้ Rated Continuous Load หม้อแปลงจะมีอายุดังนี้
อุณหภูมิ อายุของหม้อแปลง

60 C 20 ปี

70 C 10 ปี

80 C 6 ปี (Normal Life Time)

90 C 2.5 ปี

100 C 1.25 ปี

110 C 7 เดือน

4.2.20.4 การ Setting Winding temp alarm


ตามความเสื่อมสภาพของฉนวนกระดาษจะมีอายุ Normal Life Time ประมาณ 7 ปี เมื่อจ่าย
โหลดที่ Rated Continuous Load ซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงสุดได้เท่ากับ
40๐+65๐+15๐C = 120๐C สําหรับ Insulation Class 65๐C
40๐+60๐+15๐C = 115๐C สําหรับ Insulation Class 60๐C
40๐+55๐+10๐C = 105๐C สําหรับ Insulation Class 55๐C
ดังนั้นการ Setting Alarm จะแสดงในตารางดังนี้

Insulation Class 55๐C 60๐C 65๐C


Setting Start/reset Start/reset Start/reset
Winding Temp Alarm 1 95๐/90๐C 105๐/100๐C 110๐/105๐C
Winding Temp Alarm 2 105๐/100๐C 115๐/110๐C 120๐/115๐C
Oil Temp Alarm 80๐/75๐C 80๐/75๐C 80๐/75๐C

ดังนั้นการ Setting ที่ถูกต้อง ทั้งพัดลม และ Alarm จะทําให้ฉนวนของหม้อแปลงมีอายุการใช้


งานที่นานขึ้น และควรสลับพัดลมระหว่าง Fan Stage 1 และ Stage 2 ทุกครั้งที่ไป Inspection เพื่อ
ความคงทน
75

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.21 ตัวอย่างการบันทึกผลการทดสอบหม้อแปลง

VISUAL INSPECTION
TYPE OF TEST : Commissioning test
Location AY2 Rated VA 50000 Serial No. 8N5451T1
Device No. KT2A Rated Voltage 115/23 KV Asset No. 7117627713
Manufacturer MEIDEN Rated Current 251/1255 A Vector Group Dyn1
Year of Mfg. 1998 No. of Phase 3 Standard
CONDITION
ITEM DESCRIPTIONS REMARKS
PASS FAIL
1 ARCING HORN
2 BUSHING
3 TEMPERATURE CONTROLLER

POCKET
4 LIFTING LUGS
5 TAP CHANGER ON LOAD

OFF LOAD
6 INLET ON LOAD
MAIN
7 OUTLET ON LOAD
MAIN

8 OIL LEVEL GUAGE ON LOAD


MAIN
9 OIL LEVEL ON LOAD
MAIN
10 OIL CONSERVATOR ON LOAD
MAIN
11 DEHYDRATING BREATHER ON LOAD

MAIN
12 RADIATOR
13 NAME PLATE
14 MANUFACTURER PLATE
15 CAPACITY PLATE
16 EARTHING TERMINAL
17 TERMINAL MARKING (ANSI)
18 LIGHTNING ARRESTER
19 SURGE COUNTER
20 FAN
21 OIL PUMP
22 OTHER

TESTED BY : หท-พ. กร-พ. อกส. WITNESSED BY: DATE : 9/3/50


76

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

EXCITING CURRENT MEASUREMENT


TYPE OF TEST : Commissioning test
Loaction AY2 Rated VA 50000 Vector Group Dyn1
Device No. KT2A Rated Voltage 115/23 KV Oil Temp. 34 OC Wdg. Temp. 36 OC
Manufacturer MEIDEN Rated Current 251/1255 A Amb. Temp. 34 O
C
Year of Mfg. 1998 No. of Phase 3 Humidity 56 %
Serial No. 8N5451T1 Asset No. 7117627713 Weather
HV WDG. TERMINAL H1-H2 TERMINAL H2-H3 TERMINAL H3-H1
REMARK
TAP AC (V) AC (mA) AC (V) AC (mA) AC (V) AC (mA)
7L 200 1.00 200 1.14 200 1.21
6L 200 1.02 200 1.16 200 1.23
5L 200 1.04 200 1.18 200 1.25
4L 200 1.06 200 1.21 200 1.28
3L 200 1.08 200 1.24 200 1.30
2L 200 1.10 200 1.27 200 1.33
1L 200 1.13 200 1.30 200 1.36
N 200 1.15 200 1.33 200 1.39
1R 200 1.17 200 1.36 200 1.42
2R 200 1.20 200 1.39 200 1.45
3R 200 1.26 200 1.47 200 1.52
4R 200 1.29 200 1.51 200 1.55
5R 200 1.32 200 1.55 200 1.59
6R 200 1.35 200 1.59 200 1.63
7R 200 1.38 200 1.63 200 1.67
8R 200 1.41 200 1.68 200 1.71
9R 200 1.44 200 1.73 200 1.75
10R 200 1.48 200 1.79 200 1.80

LV WDG. TERMINAL X1-X0 TERMINAL X2-X0 TERMINAL X3-X0 REMARK


TAP AC (V) AC (mA) AC (V) AC (mA) AC (V) AC (mA)
200 39.10 200 32.60 200 40.60

WDG. TERMINAL TERMINAL TERMINAL REMARK


TAP AC (V) AC (mA) AC (V) AC (mA) AC (V) AC (mA)

HV WDG. TERMINAL H1-H2 TERMINAL H2-H3 TERMINAL H3-H1


REMARK
TAP AC (kV) AC (mA) AC (kV) AC (mA) AC (kV) AC (mA)
7L 10 3.39 10 9.51 10 10.09
TESTED BY : หท-พ. กร-พ. อกส. WITNESSED BY: DATE : 7/3/50
77

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

RATIO AND POLARITY TEST


TYPE OF TEST : Commissioning test
Location AY2 Rated VA 50000 Vector Group Dyn1
Device No. KT2A Rated Voltage 115/23 KV Oil Temp. 31 C
O Wdg. Temp.
32 OC
Manufacturer MEIDEN Rated Current 251/1255 A Amb. Temp. 33 O
C
Year of Mfg. 1998 No. of Phase 3 Humidity 56 %
Serial No. 8N5451T1 Asset No. 7117627713 Weather
HV WDG. VOLTAGE RATED TERMINAL H1-H2,X2-X0 TERMINAL H2-H3,X3-X0 TERMINAL H3-H1,X1-X0 REMARK
TAP HV LV(/1.732) RATIO RATIO % ERROR RATIO % ERROR RATIO % ERROR Ph.Dev.
7L 127075 23000 9.5696 9.5758 0.06 9.5765 0.07 9.5761 0.07
6L 125350 23000 9.4397 9.4431 0.04 9.4435 0.04 9.4437 0.04
5L 123625 23000 9.3098 9.3110 0.01 9.3117 0.02 9.3117 0.02
4L 121900 23000 9.1799 9.1789 -0.01 9.1793 -0.01 9.1793 -0.01
3L 120175 23000 9.0500 9.0466 -0.04 9.0475 -0.03 9.0468 -0.04
2L 118450 23000 8.9201 8.9142 -0.07 8.9151 -0.06 8.9145 -0.06
1L 116725 23000 8.7902 8.7821 -0.09 8.7823 -0.09 8.7825 -0.09
N 115000 23000 8.6603 8.6500 -0.12 8.6505 -0.11 8.6503 -0.12
1R 113275 23000 8.5304 8.5273 -0.04 8.5279 -0.03 8.5277 -0.03
2R 111550 23000 8.4005 8.4044 0.05 8.4049 0.05 8.4045 0.05
3R 109825 23000 8.2706 8.2714 0.01 8.2714 0.01 8.2716 0.01
4R 108100 23000 8.1407 8.1391 -0.02 8.1394 -0.02 8.1396 -0.01
5R 106375 23000 8.0108 8.0071 -0.05 8.0072 -0.04 8.0073 -0.04
6R 104650 23000 7.8809 7.8748 -0.08 7.8749 -0.08 7.8749 -0.08
7R 102925 23000 7.7510 7.7427 -0.11 7.7430 -0.10 7.7429 -0.10
8R 101200 23000 7.6211 7.6104 -0.14 7.6108 -0.13 7.6106 -0.14
9R 99475 23000 7.4912 7.4783 -0.17 7.4784 -0.17 7.4785 -0.17
10R 97750 23000 7.3612 7.3463 -0.20 7.3466 -0.20 7.3465 -0.20

#REF!
WDG. VOLTAGE RATED TERMINAL TERMINAL TERMINAL REMARK
TAP RATIO RATIO % ERROR RATIO % ERROR RATIO % ERROR Ph.Dev.

WDG. VOLTAGE RATED TERMINAL TERMINAL TERMINAL REMARK


TAP RATIO RATIO % ERROR RATIO % ERROR RATIO % ERROR Ph.Dev.

TESTED BY : หท-พ. กร-พ. อกส WITNESSED BY: DATE : 6/3/50


78

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

SINGLE PHASE IMPEDANCE MEASUREMENT


TYPE OF TEST : Follow up impedance after trip
Location AY2 Rated kVA 50000 Vector Group Dyn1
Device No. KT2A Rated Voltage 115/23 KV Oil Temp. 47 C Wdg. Temp. 49 OC
O

Manufacturer MEIDEN Rate Current 251/1255 A Amb. Temp. 32.2 O


C
Year of Mfg. 1998 No. of Phase 3 Humidity 49.7 %
Serial No. 8N5451T1 Asset No. 7117627713 Weather
TESTED WDG. BETWEEN HV-LV
HV WDG.ENERGIZE H1-H2 WDG.ENERGIZE H2-H3 WDG.ENERGIZE H3-H1
WDG.
WDG. SHORT X2-X0 WDG. SHORT X3-X0 WDG. SHORT X1-X0
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
7L TAP
249.2 2.0 124.60 247.0 2.0 123.50 247.5 2.0 123.77
COMMISSIONING FIRST TEST 124.75 ====================== 124.50 ====================== 124.25
% DEVIATION -0.12 ====================== -0.80 ====================== -0.39
% MAXIMUM BETWEEN PHASE = 0.89
TESTED WDG. BETWEEN HV-LV
HV WDG.ENERGIZE H1-H2 WDG.ENERGIZE H2-H3 WDG.ENERGIZE H3-H1
WDG.
WDG. SHORT X2-X0 WDG. SHORT X3-X0 WDG. SHORT X1-X0
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
N TAP
194.2 2.0 97.11 192.4 2.0 96.18 193.2 2.0 96.58
COMMISSIONING FIRST TEST 97.20 ====================== 97.00 ====================== 96.80
% DEVIATION -0.10 ====================== -0.85 ====================== -0.23
% MAXIMUM BETWEEN PHASE = 0.96
TESTED WDG. BETWEEN HV-LV
HV WDG.ENERGIZE H1-H2 WDG.ENERGIZE H2-H3 WDG.ENERGIZE H3-H1
WDG.
WDG. SHORT X2-X0 WDG. SHORT X3-X0 WDG. SHORT X1-X0
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
2R TAP
181.5 2.0 90.77 179.5 2.0 89.75 179.9 2.0 89.94
COMMISSIONING FIRST TEST 90.80 ====================== 90.80 ====================== 90.40
% DEVIATION -0.04 ====================== -1.16 ====================== -0.51
% MAXIMUM BETWEEN PHASE = 1.14
TESTED WDG. BETWEEN HV-LV
WDG.ENERGIZE H1-H2 WDG.ENERGIZE H2-H3 WDG.ENERGIZE H3-H1
HV WDG.
WDG. SHORT X2-X0 WDG. SHORT X3-X0 WDG. SHORT X1-X0
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
10R TAP
135.1 2.0 67.57 133.5 2.0 66.75 133.7 2.0 66.85
COMMISSIONING FIRST TEST 67.33 ====================== 67.17 ====================== 67.00
% DEVIATION 0.36 ====================== -0.63 ====================== -0.22
% MAXIMUM BETWEEN PHASE = 1.24
REMARK : %Z = Z/Zbase x 100 = Z / ( kVph2 / MVA ) x 100 % MAXIMUM BETWEEN PHASE = ( Zmax - Zmin ) x 100
Zmin

TESTED BY: หทก2-ส WITNESSED BY: DATE : 15/11/56


79

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

THREE PHASE IMPEDANCE MEASUREMENT


TYPE OF TEST : Follow up impedance after trip
Location AY2 Rated kVA 50000 Vector Group Dyn1
Device No. KT2A Rated Voltage 115/23 KV Oil Temp. 47 C Wdg.Temp. 49
O O
C
Manufacturer MEIDEN Rate Current 251/1255 A Amb. Temp. 32.2 O
C
Year of Mfg. 1998 No. of Phase 3 Humidity 49.7 %
Serial No. 8N5451T1 Asset No. 7117627713 Weather
TESTED WDG. BETWEEN HV-LV BASE 50000 KVA 127.08 KV
WDG. ENERGIZE H1-H2 WDG. ENERGIZE H2-H3 WDG. ENERGIZE H3-H1
HV WDG.
WDG. SHORT X1-X2-X3 WDG. SHORT X1-X2-X3 WDG. SHORT X1-X2-X3
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
7L TAP
249.4 3.0 83.13 248.0 3.0 82.66 248.7 3.0 82.89
MANUFACTURER
% IMPEDANCE FROM
PREVIOUS TEST
12.86 % IMPEDANCE = 12.83 % ERROR = -0.21
TESTED WDG. BETWEEN HV-LV BASE 50000 KVA 115 KV
WDG. ENERGIZE H1-H2 WDG. ENERGIZE H2-H3 WDG. ENERGIZE H3-H1
HV WDG.
WDG. SHORT X1-X2-X3 WDG. SHORT X1-X2-X3 WDG. SHORT X1-X2-X3
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
N TAP
194.1 3.0 64.69 192.9 3.0 64.29 193.3 3.0 64.42
MANUFACTURER
% IMPEDANCE FROM
PREVIOUS TEST
12.21 % IMPEDANCE = 12.19 % ERROR = -0.19
TESTED WDG. BETWEEN HV-LV BASE 50000 KVA 97.75 KV
WDG. ENERGIZE H1-H2 WDG. ENERGIZE H2-H3 WDG. ENERGIZE H3-H1
HV WDG.
WDG. SHORT X1-X2-X3 WDG. SHORT X1-X2-X3 WDG. SHORT X1-X2-X3
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
10R TAP
134.5 3.0 44.84 133.8 3.0 44.60 133.7 3.0 44.56
MANUFACTURER
% IMPEDANCE FROM PREVIOUS TEST 11.75 % IMPEDANCE = 11.69 % ERROR = -0.54
TESTED WDG. BETWEEN BASE KVA KV
WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE WDG. ENERGIZE
WDG.
WDG. SHORT WDG. SHORT WDG. SHORT
VOLT AMP Z VOLT AMP Z VOLT AMP Z
TAP

MANUFACTURER
% IMPEDANCE FROM % IMPEDANCE = % ERROR =
PREVIOUS TEST

REMARK : % IMPEDANCE = SUM(Z) x kVA


60 x kVtap2
TESTED BY: หทก2-ส. WITNESSED BY: DATE : 15/11/56

80

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

INSULATION TEST OF TWO WINDING TRANSFORMER


TYPE OF TEST :Follow Up Impedance After Trip
Location AY2 Rated kVA 50000 Vector Group Dyn1
Device No. KT2A Rated Voltage 121/23 KV Oil Temp. 47 OC Wdg.Temp. 49 C
O

Manufacturer MEIDEN Rated Current 251/1255 A Amb. Temp. 32.2 C


O

Year of Mfg. 1998 No. of Phase 3 Humidity 49.7 %


Serial No. 8N5451T1 Asset No. 7117627713 Weather
INSULATION RESISTANCE MEASUREMENT
TEST CONNECTION TEST MW AT ANY TIMES ( min. ) MW10
PI=
NO. EN. GR. Vdc 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 MW 1
1 HV LV 2,500 13600 16300 17500 18800 19700 20500 21600 22300 22900 23600 1.74
2 LV HV 2,500 8410 10700 12500 14100 15500 16800 18000 19100 20100 21000 2.5
CORE INSULATION 1,000
INSULATION POWER FACTOR AND CAPACITANCE MEASUREMENT CORR 0.8
TEST CONNECTION TEST CURRENT POWER % POWER FACTOR CAPACITANCE
REMARK
NO. EN. GR. GU. kV (mA) (W) MEASURED COR. 20OC (pF)
1 HV LV - 10 31.363 0.722 0.23 0.184 9964.14 CH + C HL
2 HV - LV 10 10.416 0.32 0.31 0.248 3307.78 CH
3 LV HV 10 57.219 1.319 0.23 0.184 18195.2 CL + C LT
4 LV - HV 10 36.31 0.915 0.25 0.200 11539.1 CL
(1-2) 20.95 0.4 0.19 CHL (1-2)
CALCULATED RESULTS
(3-4) 20.91 0.4 0.19 CLH (3-4)
BUSHING TEST CORR 1.09
SIDE MANUFACTURER YEAR TYPE BIL (kV) CLASS kV A
HV NGK 1998 F-D5120A-DDW 650 145 102 800
LV NGK 1998 R-C5200-HM 150 25 16 2000
BUSHING TEST
POWER FACTOR CAPACITANCE
BUSHING TEST CURRENT
PHASE
SERIAL NO.
PART
kV (mA)
POWER (W) MEASURED COR. 20๐C NAMEPLATE [1] MEASURED NAMEPLATE ERROR
(%) (%) [1] (%) [2] [2] (pF) (pF) %
C1 10 0.952 0.0175 0.18 0.2 0.22 0.91 302.762 303 -0.0785
H1 98F6002A
C2 0.5 1.832 0.0708 0.386 - - - 577.377 - -
C1 10 0.964 0.0156 0.1618 0.1763 0.23 0.77 306.187 306 0.0611
H2 98F6003A
C2 0.5 1.856 0.0734 0.395 - - - 583.611 - -
C1 10 0.964 0.0184 0.1908 0.2079 0.23 0.90 306.696 305 0.5561
H3 98F6004A
C2 0.5 1.85 0.0728 0.3935 - - - 582.885 - -
C1 10 2.196 0.046 0.2094 0.2282 0.22 1.04 698.591 691 1.0986
X0 98F5074
C2 0.5 1.84 0.0385 0.2092 - - - 578.922 - -
C1 10 2.205 0.0536 0.243 0.2648 0.22 1.20 701.319 694 1.0546
X1 98F5071
C2 0.5 1.782 0.036 0.202 - - - 561.692 - -
C1 10 2.204 0.0524 0.2377 0.259 0.22 1.18 700.701 694 0.9656
X2 98F5072
C2 0.5 1.788 0.0392 0.2192 - - - 563.223 - -
C1 10 2.197 0.0528 0.2403 0.2619 0.22 1.19 698.807 691 1.1298
X3 98F5073
C2 0.5 1.804 0.0416 0.2305 - - - 567.872 - -

TESTED BY : หทก2-ส. WITNESSED BY : DATE : 15/11/56


81

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

OIL INSULATION TEST


TYPE OF TEST : Commissioning test
Location AY2 Oil Temp. 35 O
C
Device No. KT2A Ambient Temp. 33 O
C
Serial No. 8N5451T1 Humidity 55 %
OLTC Counter Reset OLTC Counter Unreset
DIELECTRIC BREAKDOWN VOLTAGE TEST
OIL SAMPLE
1) MAIN TANK 2) OLTC 3) 4)
ASTM D877 D1816
ASTM D877 D1816 ASTM
_ D877 D1816 ASTM D877 D1816
GAP DIST. 2.5 mm GAP DIST. 2.5 mm GAP DIST. mm GAP DIST. mm
BREAKDOWN (kV) BREAKDOWN (kV) BREAKDOWN (kV) BREAKDOWN (kV)
TEST NO. xi 2
( xi - x ) xi _ 2
( xi - x ) xi 2
( xi - x ) xi ( xi -_x )2
1 41.1 1.04 41.1 0.004
2 39.9 4.928 41 0.026
3 41.1 1.04 37.2 15.682
4 41.8 0.102 42.1 0.884
5 46.7 20.976 44.4 10.498
X = ∑ X i /5 210.6 ========== 205.8 ========== ========== =========

∑ (X − X)
S.D. = i

5 −1
2.65 ========== 2.60 ========== - ========== - ==========

CV = S.D./ X 0.01 ========== 0.01 ========== - ========== - ==========

NOTE :
If CV exceeds 0.1 , it is probable that standard deviation of five breakdowns is excessive, and therefore that the
probable error of their average is also excessive.

INSULATION POWER FACTOR MEASUREMENT


TEST CURRENT (mA) WATT % POWER FACTOR REMARK
OIL SAMPLE
kV AVG. AVG. AVG. COR. 20OC CAPACITANCE ( pF )
1)
MAIN TANK 10 0.734 0.001 0.0136
2)
OLTC 10 0.717 0.001 0.0139
3)

4)

TESTED BY : หท-พ. กร-พ. อกส. WITNESSED BY: DATE : 6/3/50

82

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

TEMPERATURE CONTROLLER
TYPE OF TEST : Commissioning test
Location AY2 Rated VA 50000 Oil Temp. 34 0
C
Device No. KT2A Rated Voltage 115/23 KV Wdg. Temp. 35 0
C
Manufacturer MEIDEN Rated Current 251/1255 A Amb. Temp. 33 0
C
Serial No. 8N5451T1 Asset No. 7117627713 Temp. Rise 60 0
C
Oil Temp. Mfg. FUKUDA Type Scale 0-120 0
C Ser.No. 347220
Winding Temp.(H) Mfg. FUKUDA Type Scale 0-160 0 Ser.No.
C 347194
Winding Temp.(X) Mfg. FUKUDA Type Scale 0-160 0 Ser.No.
C 347193
Winding Temp.(Y) Mfg. Type Scale 0 Ser.No.
C
OIL TEMPERATURE CONTROLLER
SPEC. SET PONIT ( OC ) AS FOUND ( OC ) AS LEFT ( OC )
TEMPERATURE Boiling Point 100 100 100
CHECK Amb. Temp. 33 33 33
Set Reset Set Reset Set Reset
CONTACT Fan 1
SETTING Fan 2
Alarm 80 75 98 90 80 74
Trip
WINDING TEMPERATURE CONTROLLER
SPEC. SET PONIT ( OC ) AS FOUND ( OC ) AS LEFT ( OC )
H(2) X(2) Y() H(2) X(2) Y() H(2) X(2) Y()
TEMPERATURE Boiling Point 100 100 100 100 100 100
CHECK Amb. Temp. 33 33 33 33 33 33
Fan 1 Set 65 65 80 80 65 65
Reset 55 55 72 70 58 56
Fan 2 or Pump Set 85 85 90 90 85 85
Reset 75 75 82 78 76 74
CONTACT Alarm step 1 Set 105 105 120 120 105 105
SETTING Reset 100 100 110 110 94 96
Alarm step 2 Set 115 115 125 125 115 115
Reset 110 110 114 114 108 105
Trip Set
Reset
BUSHING CT , AUXILIARY CT , MATCHING UNIT & HEATING ELEMENT
H(2) X(2) Y()
Amp ∆t Amp ∆t Amp ∆t
Rated Meas. Rated Meas. Rated Meas.
CURRENT SUPPLY FOR 60 % RATING - - - - - - - - -
WINDING TEMPERATURE 80 % RATING - - - - - - - - -
ABOVE OIL TEMPERATURE100 % RATING 5 31.5 29 5.00 31.50 30 - - -
120 % RATING - - - - - - - - -
HEATING ELEMENT (Ω ) HV = 0.2 Ohm LV = 0.2 Ohm
REMARK : -

TESTED BY : หท-พ. กร-พ. อกส. WITNESSED BY: DATE : 9/3/50

83

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
Location BI1-KT2A Manufacture MEIDEN Ser No. 8P9087T2 Rated 50 MVA 115/22 kV.
1. Single phase leakage impedance ( Single phase short circuit)
Tap En/ Short Test date 14/12/40 Test date 06/02/43 Test date 15/01/44 Test date 07/11/45
%Dev. %Dev. %Dev.
%Dev. %Dev. %Dev. %Dev.
between between between
V A Impedance between V A Impedance between V A Impedance between V A Impedance between
test test test
phase phase phase phase
7L H1-H2/x0-x2 248.25 2.0 124.13 248.30 2.0 124.15 0.02 249.81 2.001 124.843 0.58 249.26 2.00 124.630 0.41
H2-H3/x0-x3 247.08 2.0 123.54 0.48 247.56 2.0 123.78 0.35 0.19 248.59 2.001 124.233 1.714 0.56 247.81 2.00 123.905 3.11 0.30
H3-H1/x0-x1 247.73 2.0 123.87 247.44 2.0 123.72 -0.12 253.18 2.003 126.400 2.05 255.52 2.00 127.760 3.14
N H1-H2/x0-x2 193.32 2.0 96.66 193.68 2.0 96.84 0.19 243.09 2.501 97.197 0.56 194.07 2.00 97.035 0.39
H2-H3/x0-x3 192.47 2.0 96.24 0.44 192.72 2.0 96.36 0.50 0.13 241.78 2.500 96.712 1.829 0.50 193.05 2.00 96.525 2.15 0.30
H3-H1/x0-x1 193.12 2.0 96.56 192.86 2.0 96.43 -0.13 246.68 2.504 98.514 2.02 199.13 2.00 99.565 3.11
2R H1-H2/x0-x2 180.36 2.0 90.18 180.77 2.0 90.39 0.23 226.81 2.502 90.651 0.52 181.35 2.00 90.675 0.55
H2-H3/x0-x3 179.7 2.0 89.85 0.37 180.20 2.0 90.10 0.32 0.28 225.60 2.502 90.168 1.892 0.35 180.18 2.00 90.090 3.06 0.27
H3-H1/x0-x1 180.26 2.0 90.13 190.49 2.0 95.25 5.68 229.86 2.501 91.907 1.97 185.70 2.00 92.850 3.02
10R H1-H2/x0-x2 134.17 2.0 67.09 134.46 2.0 67.23 0.22 169.03 2.501 67.585 0.75 134.93 2.00 67.465 0.57
H2-H3/x0-x3 133 2.0 66.50 0.57 133.65 2.0 66.83 0.60 0.49 167.74 2.501 67.069 1.871 0.86 133.75 2.00 66.875 3.33 0.56

84
H3-H1/x0-x1 134.04 2.0 67.02 133.93 2.0 66.97 -0.08 171.28 2.506 68.348 1.98 138.20 2.00 69.100 3.10
% Dev. between test คือความแตกต่างระหว่าง ผลทดสอบครังB นันกั
B บครังB แรก

2. % Impedance ( Three phase equivalent short circuit )


Tap Nameplate Test date % Dev. from Test date % Dev. from Test date % Dev from Test date % Dev. from
14/12/40 nameplate 06/02/43 nameplate 15/01/44 nameplate 07/11/45 nameplate
7L 12.85 12.780 -0.548 12.815 -0.272 12.913 0.490 12.917 0.521
N 12.21 12.14 -0.577 12.190 -0.164 12.296 0.704 12.328 0.966
10R 11.74 11.67 -0.600 11.689 -0.434 11.806 0.562 11.844 0.886

3. Capacitance (pF)
Position Test date Test date %Dev.between test Test date %Dev.between test Test date %Dev.between test
06/02/43 07/11/45
CHL+CH 10,210 10,095 -1.13
CH 3,244 3,245 0.03
4.2.22 ตัวอย่างข้อมูลผลทดสอบหม้อแปลงที่ขดลวดด้าน LV เสียรูปร่างเนื่องจากกระแสลัดวงจร

CHL+CL 18,170 18,740 3.14


มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
CL 11,204 11,888 6.10
% Dev. between test คือความแตกต่างระหว่าง ผลทดสอบครังB นันกั
B บครังB แรก
Location AY1-KT1A Manufacture MEIDEN Serial No 8P9086T1 Rated 50 MVA 115/22 kV.
1. Single phase leakage impedance ( Single phase short circuit)
Tap En/ Short Test date 6/8/40 Test date 25/12/45 Test date Test date
%Dev. %Dev. %Dev.
V A Impedance %Dev. V A Impedance %Dev. V A Impedance %Dev. V A Impedance %Dev.
between between between
between between between between
test test test
phase phase phase phase
7L H1-H2/x0-x2 246.49 2.00 123.245 248.28 2.00 124.140 0.73
H2-H3/x0-x3 245.5 2.00 122.750 0.58 247.26 2.00 123.630 4.311 0.72
H3-H1/x0-x1 246.91 2.00 123.455 257.93 2.00 128.965 4.46
N H1-H2/x0-x2 192.07 2.00 96.035 193.44 2.00 96.720 0.71
H2-H3/x0-x3 190.95 2.00 95.475 0.59 192.52 2.00 96.260 4.415 0.82
H3-H1/x0-x1 191.65 2.00 95.825 201.02 2.00 100.510 4.89
2R H1-H2/x0-x2 179.2 2.00 89.600 180.57 2.00 90.285 0.76
H2-H3/x0-x3 178.37 2.00 89.185 0.46 179.57 2.00 89.785 4.544 0.67
H3-H1/x0-x1 178.78 2.00 89.390 187.73 2.00 93.865 5.01
10R H1-H2/x0-x2 133.39 2.00 66.695 134.31 2.00 67.155 0.69
H2-H3/x0-x3 132.52 2.00 66.260 0.66 133.53 2.00 66.765 4.785 0.76
H3-H1/x0-x1 132.95 2.00 66.475 139.92 2.00 69.960 5.24

85
% Dev. between test คือความแตกต่างระหว่าง ผลทดสอบครังB นันกั
B บครังB แรก

2. % Impedance ( Three phase equivalent short circuit )


Tap Nameplate Test date % Dev. from Test date % Dev. from Test date % Dev from Test date % Dev. from
6/8/2540 nameplate 25/12/2545 nameplate nameplate nameplate
7L 12.87 12.713 -1.22 12.990 0.93
N 12.23 12.080 -1.23 12.325 0.78
2R - - - - -
10R 11.77 11.58 -1.61 11.859 0.76
ตัวอย่างผลทดสอบหม้อแปลงที่ขดลวดด้าน LV เสียรูปร่างเนื่องจากกระแสลัดวงจร

3. Capacitance (pF)
Position Test date Test date %Dev.between test Test date %Dev.between test Test date %Dev.between test
2/9/2538 6/8/2540 25/12/2545
CHL+CH 10250 10230 -0.20 10,030.00 2.15
CH 3290 3270 -0.61 3,261.70 0.86
CHL+CL 17870 17900 0.17 18,707.00 4.68
CL 10890 10920 0.28 11,938.00 9.62
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
% Dev. between test คือความแตกต่างระหว่าง ผลทดสอบครังB นันกั
B บครังB แรก
Location...KK1-KT2A Manufacturer …MEIDEN.......Ser No....8P9097T2........Rated...50..MVA...115/22 kV.
1. Single phase leakage impedance ( Single phase short circuit)
Tap En/ Short Test date 13/01/42 Test date 21/02/43 Test date 16/11/43 Test date 26/11/45
%Dev. %Dev. %Dev.
%Dev. %Dev. %Dev. %Dev.
between between between
V A Impedance between V A Impedance between V A Impedance between V A Impedance between
test test test
phase phase phase phase
7L H1-H0/x1-x0 204.00 5.00 40.80 208.10 5.0 41.62 2.01 208.30 5.0 41.66 2.11 170.90 4.0 42.725 4.72
H2-H0/x2-x0 202.80 5.00 40.56 0.74 204.20 5.0 40.84 1.91 0.69 202.10 5.0 40.42 3.06 -0.35 163.70 4.0 40.925 5.10 0.90
H3-H0/x3-x0 204.30 5.00 40.86 205.10 5.0 41.02 0.39 203.30 5.0 40.66 -0.49 162.60 4.0 40.650 -0.51
N H1-H0/x1-x0 158.90 5.00 31.78 162.10 5.0 32.42 2.01 162.30 5.0 32.46 2.14 133.40 4.0 33.350 4.94
H2-H0/x2-x0 158.10 5.00 31.62 0.51 158.50 5.0 31.70 2.27 0.25 157.30 5.0 31.46 3.17 -0.51 127.40 4.0 31.850 4.70 0.73
H3-H0/x3-x0 158.80 5.00 31.76 159.70 5.0 31.94 0.57 158.10 5.0 31.62 -0.44 128.20 4.0 32.050 0.91
2R H1-H0/x1-x0 147.60 5.00 29.52 150.90 5.0 30.18 2.24 150.80 5.0 30.16 2.17 122.80 4.0 30.700 4.00
H2-H0/x2-x0 146.90 5.00 29.38 0.47 147.40 5.0 29.48 2.37 0.34 146.00 5.0 29.20 3.28 -0.61 118.30 4.0 29.575 3.80 0.66
H3-H0/x3-x0 147.30 5.00 29.46 147.80 5.0 29.56 0.34 146.60 5.0 29.32 -0.48 118.90 4.0 29.725 0.90
10R H1-H0/x1-x0 109.70 5.00 21.94 112.10 5.0 22.42 2.19 112.10 5.0 22.42 2.19 92.40 4.0 23.100 5.29
H2-H0/x2-x0 108.50 5.00 21.70 1.11 109.30 5.0 21.86 2.56 0.74 108.40 5.0 21.68 3.41 -0.09 88.00 4.0 22.000 5.00 1.38

86
H3-H0/x3-x0 109.20 5.00 21.84 110.00 5.0 22.00 0.73 108.70 5.0 21.74 -0.46 88.20 4.0 22.050 0.96
% Dev. between test คือความแตกต่างระหว่าง ผลทดสอบครังB นันกั
B บครังB แรก
2. % Impedance ( Three phase equivalent short circuit )
Tap Nameplate Test date % Dev. from Test date % Dev from Test date % Dev. from Test date % Dev. from
13/01/42 nameplate 21/02/43 nameplate 16/11/43 nameplate 26/11/45 nameplate
7L 13.01 13.04 0.21 13.15 1.08 13.16 1.15 13.27 2.00
N 12.34 12.35 0.05 12.49 1.22 12.48 1.13 12.61 2.19
10R 11.77 11.72 -0.47 11.86 0.76 11.85 0.68 11.99 1.87
3. Capacitance (pF)
Position Test date Test date %Dev.between test Test date %Dev.between test Test date %Dev.between test
ตัวอย่างผลทดสอบหม้อแปลงที่ขดลวดด้าน LV เสียรูปร่างเนื่องจากกระแสลัดวงจร

11/9/36 13/01/42 16/11/43 26/11/45


CHL+CH 12,170 12,052 -0.97 11,917 -2.08 11,884 -2.35
CH 3,640 3,628 -0.33 3,629 -0.30 3,642 0.05
CLT+CL 13,250 11,734 -11.44 14,231 7.40 14,369 8.45
CL 3,438 3,310 -3.72 3,334 -3.03 3,317 -3.52
CHT+CT 9,770 9,759 -0.11 9,967 2.02 10,524 7.72
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
CT 9,730 9,721 -0.09 9,928 2.03 10,485 7.76
% Dev. between test คือความแตกต่างระหว่าง ผลทดสอบครังB นั BนกับครังB แรก
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
4.2.23 ตัวอย่างรูปขดลวดหม้อแปลงด้าน LV ที่เสียรูปร่างเนื่องจากกระแสลัดวงจร

BI1-KT2A Meiden 50 MVA 115-22 kV. SA1-KT6A Meiden 50 MVA 115-22 V.


Serial No. 8P9087T2 Serial No. 8R7395T1
(ปลดออกจากระบบเมื่อ 7/11/45) (ปลดออกจากระบบเมื่อ 26/04/43)

TL1-KT6A Meiden 50 MVA 115-22 kV. KK1-KT2A Meiden 50 MVA 115-23 V.


Serial No. 8P9090T1 Serial No. 8P9097T2
(ปลดออกจากระบบเมื่อ 30 /12/43) (ปลดออกจากระบบเมื่อ 26 /11/45)

87

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น
มท. กฟผ.1-2557
(แก้ไขปรับปรุง มท.กฟผ. 1-2549)
5. เอกสารอ้างอิง
5.1 วิชญ์ พิพุธวัฒน์ , สุพัตรา ภูมิวัฒน์ ,“ การประเมินความผิดปกติของขดลวดด้วยการวัด
Leakage Impedance, ” เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ เรื่อง การถ่ายทอดประสบ
การณ์และเทคโนโลยี ประจําปี 2538 เล่มที่ 3 , การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
5.2 อาภรณ์ เก่งพล ,โอซามุ นิชิโนะ ,“ เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า ” พิมพ์ครั้งที่ 2
กรุงเทพมหานคร , สํานักพิมพ์ดวงกมล , 2527
5.3 IEEE C57.125-1991, IEEE Guide for Failure Investigation, Documentation, and
Analysis for Power Transformers and Shunt Reactors.
5.4 IEEE Std 62-1995, IEEE Guide for Diagnostic Field Testing of Electric Power
Apparatus – Part 1 : Oil Filled Power Transformers, Regulators, and Reactors.
5.5 IEEE C57.19-100-1995 IEEE Guide for Application of Power Apparatus Bushings
5.6 IEEE C57.106-2002 IEEE Guide for Acceptance and Maintenance of Insulating
Oil in Equipment
5.7 ANSI/IEEE C57.12.00-1987, IEEE Standard General Requirements for liquid-
Immersed Distribution, Power and Regulating Transformers.
5.8 ANSI C57.12.70-1978 , American National Standard Terminal Markings and
Connections for Distribution and Power Transformer.
5.9 ANSI/IEEE C57.12.90.1999, IEEE Standard Test Code for Liquid-Immersed
Distribution, Power and Regulating Transformers and IEEE Guide for Short-
Circuit Testing of Distribution and Power Transformers.
5.10 IEC 60422-2005-10 Mineral insulating oils in electrical equipment - Supervision
and maintenance guidance
5.11 ASTM D1816- 84a , Standard Test Method for Dielectric Breakdown voltage of
insulating Oils of Petroleum Origin Using VDE Electrodes.
5.12 IEC60156, Insulating Liquids - Determination of the Breakdown Voltage at
Power Frequency – Test method
5.13 IEC 60137, Insulated bushings for alternating voltages above 1000 V Fifth
edition 2003-08
5.14 Doble Engineering Company , Power Factor Test-Data Reference Book ,1992
5.15 Doble Engineering Company , Reference Book on Insulating Liquids and
Gases ,1992
5.16 Transformer Maintenance Institute , Transformer Maintenance Guide , 2001
5.17 สถิติผลการทดสอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
5.18 จากข้อมูลผลการทดสอบหม้อแปลง 50 MVA 115-22 kV. ที่ขดลวดเสียหายเนื่องจาก
กระแสลัดวงจร ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

88

ใช้ภายในหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เท่านั้น

You might also like