Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 1

TOEIC IELTS TOEFL CU-TEP TU-GET CU-BEST GRE GMAT SAT GED

หน้าแรก IELTS CU-TEP GED SAT Blog TUTOR Subjects  Test Online  Course Style 

เคมี พั นธะเคมี

พั นธะเคมี คืออะไร
พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นจากการดึงดูดเข้าหากันระหว่างอนุภาคมูลฐานหรืออะตอม (Atom) ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้าง
เสถียรภาพในระดับโมเลกุล จนเกิดเป็นสสารหรือสารประกอบที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากขึ้นใน
ธรรมชาติ

สรุปเนื้อหา พั นธะเคมี
อะตอมและธาตุต่าง ๆ ที่ถูกพบในธรรมชาติกว่า 90 ชนิด มักจะไม่มีความสเถียร (ยกเว้น ธาตุในหมู่ VIIIA หรือก๊าซเฉื่อย
เท่านั้นที่มีความสเถียร สามารถคงรูปเป็นอะตอมอิสระได้ เพราะธาตุดังกล่าวมีอิเล็กตรอนวงนอกสุดเต็มตามจํานวนใน
แต่ละระดับชั้นของพลังงาน หรือเรียกง่าย ๆ ว่ามีเวเลนซ์อิเล็กตรอน (Valence Electron) ครบ 8 ตัว ทําให้โครงสร้างของ
อะตอมมีความเสถียรในตัวเองสูง)

เมื่อธาตุหรืออะตอมมีความไม่เสถียร จึงทําให้เกิดเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมูลฐานหรืออะตอม (Atom) ขึ้น เพื่อ


ทําให้โครงสร้างของตนมีเสถียรภาพ หรือมีเวเลนต์อิเล็กตรอนครบ 8 ตัว ตามกกฎออกเตต (Octet rule) ที่ว่า “อะตอม
ของธาตุต่าง ๆ ที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เท่ากับ 8 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวให้มีเสถียรภาพมากขึ้นโดยรวมตัวกันเองหรือ
รวมตัวกับอะตอมของธาตุอ่ ืนในสัดส่วนที่ทําให้แต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 หรือมีจํานวนอิเล็กตรอน
เท่ากับแก๊สเฉื่อย” โดยยกเว้นอะตอมของธาตุไฮโดรเจน (H) ที่ต้องการเวเลนต์อิเล็กตรอนเพียง 2 ตัว เพื่อสร้าง
เสถียรภาพให้ตนเอง ซึ่งแรงยึดเหนี่ยวดังกล่าวเราเรียกมันว่า “พันธะเคมี”

พันธะเคมี แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. พันธะไอออนิก (Ionic Bond) คือ พันธะที่เกิดขึ้นจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก (cation) และ


ไอออนลบ (anion) ทําการยึดเหนี่ยวอะตอมเข้าหากันโดยการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนวงนอกสุดระหว่างอะตอม เพื่อทําให้
เวเลนต์อิเล็กตรอนของทั้งคู่มีจํานวนเต็มตามกฎออกเตต ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่มักจะเกิดขึ้น
ระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้ เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน (ionization energy) ตZา แต่อโลหะมีค่าสัม
พรรคภาพอิเล็กตรอน (electron affinity) สูง ดังนั้น โลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับ
อิเล็กตรอนนั่นเอง

lonicbond

พันธะเคมี พันธะไอออนิก

2. พันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond) คือ พันธะที่มักเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของอะตอมหรือธาตุในกลุ่มอโลหะ โดย


การใช้เวเลนต์อิเล็กตรอน 1 คู่หรือมากกว่าร่วมกันระหว่างอะตอม ทั้งนี้ เนื่องจาก อะตอมหรือธาตุในกลุ่มอโลหะนั้นมี
พลังงานไอออไนเซชันหรือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอิเล็กตรอนสูง ทําให้การจับคู่กันกลายเป็นการแบ่งปันอิเล็กตรอนร่วมกัน
และไม่มีอะตอมตัวใดสูญเสียอิเล็กตรอนไปอย่างถาวร

พันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond) แบ่งแยกย่อยได้อีก 3 แบบ โดยแบ่งตามจํานวนคู่ของอิเล็กตรอนที่ใช้รว


่ มกัน ดังนี้

พันธะเดีย
่ ว (Single Bond) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
พันธะคู่ (Double Bond) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
พันธะสาม (Triple Bond) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่

พันธะเคมี พันธะโคเวเลนต์

3. พันธะโลหะ (Metallic Bond) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นภายในอะตอมของธาตุในกลุ่มโลหะ เมื่อเกิดพันธะนี้แล้วจะ


เกิดการแบ่งปันอิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกัน ทําให้อะตอมของกลุ่มโลหะอยูร่ ว
่ มกันเป็นกลุ่มก้อน โดยที่อิเล็กตรอนดัง
กล่าวไม่ได้ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งทําให้ภายในสสารหรือก้อนโลหะดังกล่าว
เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอยูต
่ ลอดเวลา

พันธะเคมี พันธะโลหะ

ตัวอย่างข้อสอบ พั นธะเคมี

ตัวอย่างข้อสอบ พันธะเคมี

เมนูลัด ติดต่อเรา เครือข่ายสังคมออนไลน์

About Us MBK 4th floor next to SCB Bank


Contact อีเมล: info@chulatutor.com
Privacy Policy LINE ID : @chulatutor
( มี @ ด้านหน้าด้วยนะคะ)

เนื่ องจากมี ผู้โทรเข้ามาปรึ กษาจํานวนมาก


หากต้องการสอบถามเร่ งด่ วน ติ ดต่ อได้ท่ี
LINE ID: @chulatutor

You might also like