กรดนิวคลีอิก

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 25

กรดนิวคลีอิก

ที่มาความสำคัญ

สิ่ งมีชีวิตจะมีการรักษาสายพันธุ์ของตน โดยการถ่ายทอดลักษณะ


ทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน โดยสารในร่างกาย
ที่ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลพันธุกรรมแล้วไปยังรุ่นสู่รุ่น
คือ กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) กรดนิวคลีอิกถูกพบครั้งแรก
ในปี ค.ศ. 1869 โดย ฟรีดริช ไมเอสเชอร์ (Friedrich Miescher)
พบสารเคมีชนิดหนึ่ งในนิวเคลียสของเซลล์
โดยสารนี้ ประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน
ไฮโดรเจน และฟอสฟอรัส
ที่มาความสำคัญ

ซึ่งคล้ายกับโปรตีน แต่สารนี้ แตกต่างจากโปรตีนตรงที่


มีฟอสฟอรัสมาก จึงตั้งชื่อสารดังกล่าวตามแหล่งที่พบ คือ
นิวคลีอิน (nuclein) มาจากการพบในนิวเคลียส ต่อมาพบว่าสารนี้
เป็นกรดจึงเรียกว่า กรดนิวคลีอิก แต่ไม่ได้รับความสนใจ
เป็นเวลาหลายสิบปีจนกระทั่งมีผู้ค้นพบสูตรโครงสร้าง
และหน้าที่ทางชีวภาพ นั่นคือสารนี้ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพันธุกรรม
ของสิ่ งมีชีวิต และถ่ายทอดไปยังลูกหลาน ซึ่งก็คือสิ่ งที่เมนเดล
เรียกว่า ยีน (gene) กรดนิวคลีอิกในร่างกายได้แก่
1.DNA (deoxyribonucleic acid) 2.RNA (ribonucleic acid)
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

กรดนิวคลีอิกเป็นสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่
ประกอบด้วยหน่วยย่อย คือ นิวคลีโอไทด์ (nucleotide)
หลายๆหน่วยมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์
(phosphodiester bond)
ส่วนนิวคลีโอไทด์เป็นสารที่ประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า
นิวคลีโอไซด์ (nucleoside) กับหมู่ฟอสเฟต
โดยนิวคลีโอไซด์เป็นสารที่ประกอบด้วยเบสกับน้ำตาล
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

หมู่ฟอสเฟต
แหล่งของหมู่ฟอสเฟต คือ กรดฟอสฟอริกซึ่งจะมีการแตกตัว
ที่ pH ต่างกันดังนี้
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

ค่า PH ในร่างกายปกติคือ 7.4 โดยฟอสเฟตที่พบในกรดนิวคดีอิก


จะอยู่ในรูปที่เป็นส่วนของพันธะโมโนเอสเทอร์ (monoester)
และพันธะไดเอสเทอร์ (diester)
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

เบสไนโตรเจน

เบสไนโตรเจนคือ สารที่มีไนโตรเจนอะตอมในโมเลกุล
และมีฤทธิ์เป็นเบส เบสไนโตรเจนที่เป็นองค์ประกอบของ
กรดนิวคลีอิกมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอนุพันธ์ของไพริมิดีน
(pyrimidine) และกลุ่มอนุพันธ์ของเพียวรีน (purine)
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

เบสกลุ่มอนุพันธ์ของไพริมิดีน
โครงสร้างประกอบด้วยวงแหวน 1 วง มี ไนโตรเจน 2 อะตอมในวง
อนุพันธ์ของไพริมิดีนที่เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิกมี 3 ชนิด
คือ ไซโทชีน (cytosine, C) ยูเรซิล (urasil, U) และไทมีน (thymine, T)
ดังรูป
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

ซึ่งไซโทซีนจะพบได้ทั้งใน DNA และ RNA


ส่วนยูเรซิลจะพบได้เฉพาะใน RNA
ในขณะที่ไทมีนจะพบเฉพาะใน DNA
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

เบสกลุ่มอนุพันธ์ของเพียวรีน โครงสร้างประกอบด้วยวงแหวน 2 วง
โดยเป็นวงหกเหลี่ยม 1 วง และวงห้าเหลี่ยม 1 วง มีไนโตรเจน 4 อะตอม
อยู่ในวง เบสกลุ่มอนุพันธ์ของเพียวรีนที่เป็นองค์ประกอบของ
กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิด คือ อะดีนีน (adenine, A)
และกวานีน (guanine, G) ดังรูป ซึ่งพบได้ทั้งใน DNA และ RNA
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

น้ำตาล

น้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก เป็นน้ำตาลแอลโดเพนโทส
(aldopentose) มี 2 ชนิด คือ น้ำตาลไรโบส (B-D-ribose)
และน้ำตาลดีออกซีไรโบส (B-D-2-deoxyribose) ดังรูป
องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก

ในแต่ละโมเลกุลของกรดนิวคลีอิกประกอบด้วยน้ำตาล
เพียง 1 ชนิด จึงสามารถแบ่งกรดนิวคลีอิกออก
เป็น 2 ชนิด ตามชนิดของน้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบ
DNA
สารพันธุกรรม หรือ DNA(deoxyribonucleic acid)
เป็นกรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล
ทางพันธุกรรมของสิ่ งมีชีวิต ดีเอ็นเอส่วนใหญ่อยู่ในรูป
โครโมโซม (chromosome) วางตัวอยู่ ในส่วนนิวเคลียส
ภายในเซลล์ของสิ่ งมีชีวิต DNA มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ
DNA
1. การจำลองตัวเอง (DNA replication)

ดีเอ็นเอของสิ่ งมีชีวิต มีความสามารถสร้างและจำลอง


ตัวมันเอง ขณะเกิดกระบวนการแบ่งเซลล์
เพื่อสร้าง DNA ที่เหมือนเดิม ทุกประการให้แก่เซลล์ใหม่
DNA
2. การถ่ายทอดข้อมูลผ่าน RNA (transcription)
DNA สามารถถูกถอดรหัส เพื่อสร้างเป็น RNA (ribonucleic acid)
RNA ที่ได้นี้ จะทำหน้าที่กำหนดการเรียงตัวของกรดอะมิโน
ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งโปรตีนจะถูกนำมาเป็นส่วน
ประกอบสำคัญ ในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์
และเป็นสารเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี หรือเอนไซม์ (enzyme) ในสิ่ ง
มีชีวิต ด้วยหน้าที่ทั้ง 2 ประการของ DNA ทำให้สิ่ งมีชีวิตสามารถ
สืบทอดลักษณะประจำพันธุ์ และดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้
DNA
องค์ประกอบทางเคมีของ DNA
DNA เป็นกรดนิวคลิอิกชนิดหนึ่ งซึ่งเป็นพอลิเมอร์สายยาว
ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide)
ซึ่งนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย ได้แก่
น้ำตาลดีออกซีไรโบส ไนโตรจีนัสเบส และหมู่ฟอสเฟต
ซึ่งทั้ง 3 ส่วนจะประกอบกันโดยมีน้ำตาลดีออกซีไรโบสเป็น
แกนหลัก มีไนโตรจีนัสเบสต่ออยู่ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 1
และหมู่ฟอสเฟตต่ออยู่ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 5
DNA
โครงสร้างของ DNA
DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย ซึ่งเชื่อมกันด้วย
พันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสคู่สม โดย A คู่กับ T และ C คู่
กับ G เสมอ เกิดเป็นโครงสร้างเกลี่ยวคู่ (double helix) มี
ทิศทางเวียนขวาคล้ายบันไดเวียน
DNA
DNA
สมบัติที่สำคัญของ DNA
DNA สามารถเพิ่มจำนวนได้โดยมีลักษณะเหมือนเดิม
สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้
สามารถควบคุมให้เซลล์สังเคราะห์สารต่าง ๆ เพื่อแสดงลักษณะ
ทางพันธุกรรมให้ปรากฏ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ อาจทำให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรม
ที่แตกต่างไปจากเดิม และเป็นปัจจัยหนึ่ งที่นำไปสู่วิวัฒนาการของ
สิ่ งมีชีวิต
RNA
โมเลกุล RNA บางอย่างมีบทบาทสำคัญในเซลล์
โดยเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ควบคุมการแสดงออกของยีนหรือรับรู้และสื่อสาร
การตอบสนองต่อสัญญาณของเซลล์ ขบวนการหนึ่ ง คือ การสังเคราะห์โปรตีน
ซึ่งเป็นหน้าที่สากลซึ่งโมเลกุลอาร์เอ็นเอสื่อสารชี้นำการสร้างโปรตีนบนไรโบ
โซม ขบวนการนี้ ใช้โมเลกุลอาร์เอ็นเอถ่ายโอน (tRNA) เพื่อขนส่งกรดอะมิโนไป
ยังไรโบโซม ที่ซึ่งอาร์เอ็นเอไรโบโซม (rRNA) เชื่อมกรดอะมิโนเข้าด้วยกัน
เพื่อสร้างโปรตีน เรียกขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีนจากสาย RNA นี้ ว่า
การแปลรหัส
RNA
โครงสร้างทางเคมีของ RNA คล้ายคลึงกับของ DNA
เป็นอย่างมาก แต่มีข้อแตกต่างอยู่ 2 ข้อ คือ
1.RNA มีน้ำตาลไรโบส ขณะที่ DNA มีน้ำตาลดีออกซีไรโบส
(ขาดออกซิเจนหนึ่ งอะตอม) ซึ่งแตกต่างเล็กน้อย
2.RNA มีนิวคลีโอเบสยูราซิล ขณะที่ DNA มีไทมีน โมเลกุลRNA
ส่วนมากเป็นสายเดี่ยว และสามารถเกิดโครงสร้างสามมิติที่ซับ
ซ้อนมากได้ ต่างจากดีเอ็นเอ
RNA
RNA แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1. mRNA (messenger RNA): นำส่งข้อมูลในการสังเคราะห์
โปรตีน โดยถอดรหัสพันธุกรรมจาก DNA
2. tRNA (transfer RNA): นำกรดแอมิโนไปยังตำแหน่งที่
จำเพาะบนสาย mRNA ที่ไรโบโซมในกระบวนการแปลรหัส
3. rRNA (ribosomal RNA): เป็นองค์ประกอบของไรโบโซม
ในส่วนที่เกิดการสังเคราะห์โปรตีน
RNA
DNA กับ RNA เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
นอกจากหน้าที่ในการเก็บและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม
แล้ว DNA ยังทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมลักษณะทาง
พันธุกรรมผ่านการสังเคราะห์โปรตีนอีกด้วย โดยปกติแล้ว
โปรตีนจะถูกสังเคราะห์ที่ไรโบโซมซึ่งอยู่ภายนอกนิวเคลียส
ดังนั้น DNA จึงไม่ใช่แม่แบบในการสังเคราะห์โปรตีน
โดยตรง แต่จะเป็นแม่แบบในการสังเคราะห์ mRNA
(messenger RNA) ขึ้นมาเพื่อนำส่งข้อมูลในการสังเคราะห์
โปรตีนไปยังไรโบโซมอีกทอดหนึ่ ง
สรุป

1.กรดนิวคลีอิก คือการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจาก
บรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน โดยสารในร่างกายที่ทำหน้าที่
เก็บรักษาข้อมูลพันธุกรรมแล้วไปยังรุ่นสู่รุ่น
2.DNA เป็นกรดนิวคลิอิก ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม
ของสิ่ งมีชีวิต DNA ส่วนใหญ่อยู่ในรูปโครโมโซมวางตัวอยู่
ในส่วนนิวเคลียส
3.RNA ทำหน้าที่ในการถอดรหัสพันธุกรรมจาก DNA
เพื่อนำไปสร้างโปรตีนและส่วนประกอบของเซลล์
สมาชิก
นางสาว จรรยาพร อังศธรรมรัตน์ ม.4/3 เลขที่ 1
นางสาว ณัฐศิ กานต์ ศรศิ ลป์ ม.4/3 เลขที่ 2
นางสาว สุภัสสร หงษ์กำเนิด ม.4/3 เลขที่ 4
นางสาว ปณัสชา คงป่า ม.4/3 เลขที่ 31

You might also like