รายงานการวิเคราะห์กรณีศึกษา เลขที่ 73-84

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 31

วิชา 1101221 มโนทัศน์และทฤษฎีทางการพยาบาล ภาคการศึกษาปลาย ปี

การศึกษา 2566
จัดทำโดย

6610074 นางสาวดลพร พิทักษ์กิ่งทอง

6610075 นายเดชศักดิ์ดา ฉิมพาลี

6610076 นางสาวทยิดา บุตรเสมียน

6610077 นายทรงพล นันทะมิ

6610078 นายทรงพล สวัสดิวงค์

6610079 นางสาวทานตะวัน ปั ญญา

6610080 นายธนโชติ ช่างประดับ

6610081 นางสาวธนพร ชาตรี

6610082 นางสาวธนัญกรณ์ โรจน์สุวรรณกุล

6610083 นางสาวธัญชนก เอี่ยมอักษร

6610084 นางสาวธัญภัทร ศรีชมภู

6610085 นางสาวธันวนิจ แก้วคำ


นักศึกษาพยาบาลชั้นปี ที่ 1 ปี การศึกษา 2566

เสนอ

ผศ.ดร.วรุณยุพา รอยกุลเจริญ

สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา มโนทัศน์และทฤษฎีทางการ


พ ย า บ า ล (Nursing Concepts and Nursing Theory) ร หั ส วิ ช า
1101221 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปี ที่ 1 สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา
สภากาชาดไทย จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาความรู้และวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยว
กับการเป็ นผู้ป่ วยโรคมะเร็งจากสื่อบนอินเทอร์เน็ตที่คณะผู้จัดทำได้เลือก
ศึกษาเพราะในปั จจุบันนั้นมะเร็งถือเป็ นเรื่องใกล้ตัวและมีแนวโน้มว่าผู้ป่ วยที่
เป็ นโรคมะเร็งจะอายุน้อยลง โดยอ้างอิงกับมโนทัศน์ของคนตามทฤษฎีต่างๆ
ที่ได้เรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความเป็ นนามธรรมและรูปธรรมและเพื่อส่งเสริมการ
เรียนรู้ที่ครอบคลุม
รายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ ข้อมูลจากสถานการณ์ที่
เลือก มโนทัศน์ของคน ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความเครียดและ
การจัดการความเครียด บทบาทหน้าที่ และการเห็นคุณค่าในตนเอง รวมถึง
มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบในเชิงนามธรรมและรูปธรรมระหว่าวกรณีศึกษา
กับทฤษฎีต่างๆที่เลือก
คณะผู้จัดทำหวังเป็ นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่
ต้องการศึกษาหรือผู้ที่เข้ามาอ่านรายงานฉบับนี้ไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิด
พลาดประการใด คณะผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัด
ทำ

19 เมษายน พ.ศ.2567

สารบัญ

เรื่อง

คำนำ ก

สารบัญ ข

วัตถุประสงค์ 1

สรุปข้อมูลสถานการณ์ที่เลือก
2
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน

3
ความเครียดและการจัดการความเครียด
6
บทบาทหน้าที่
7
การเห็นคุณค่าในตนเอง
1
1

บรรณานุกรม

ภาคผนวก
1

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษากรณีศึกษาของผู้ป่ วยโรคมะเร็งที่เป็ นผู้สูงอายุ

2. เพื่อนำทฤษฎีและแนวคิด ได้แก่ Albert Bandura Lazarus และ ทฤษฎี


การปรับตัวของรอย มาปรับใช้กับกรณีศึกษา

3. เพื่อศึกษามโนทัศน์ของคน ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความเครียด


และการจัดการความเครียด บทบาทหน้าที่ และการเห็นคุณค่าในตัวเอง
เพื่อเชื่อมโยงกับกรณีศึกษา

4. สามารถนำทฤษฎีการพยาบาลที่เลือกสรรและแนวคิดที่สำคัญทางการ
พยาบาลไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการพยาบาลทุกช่วงวัยตามมิติการเจ็บ
ป่ วยและมิติการดูแล
2

สรุปข้อมูลสถานการณ์ที่เลือก

กรณีศึกษาเป็ นเรื่องราวของแม่ลูกคู่หนึ่งที่แม่ป่ วยเป็ นโรคมะเร็ง


และมีลูกสาวเป็ นพนักงานบริษัท ที่มีภาระงานที่ต้องทำ ช่วงที่มีเวลาว่าง
ลูกสาวจะดูแลแม่เป็ นอย่างดี มีความคิดถึงและเป็ นห่วงแม่อยู่เสมอ โดยมี
การโทรคุยวีดีโอคอลกัน ถักผ้าพันคอให้แม่ให้อิสระแม่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ(ใส่
วิก กินน้ำอัดลม กินไอติม และใช้เวลาร่วมกับแม่ที่ทะเลด้วยกัน ทั้งคู่ได้ทำ
กิจกรรมที่ชอบ ได้เล่น ย่างปลา เล่นน้ำทะเลด้วยกัน นับเป็ นช่วงเวลาที่มี
ความสุขที่ได้ใช้เวลากับผู้เป็ นแม่ในช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต แม้จะเป็ นโรค
มะเร็งระยะสุดท้าย แต่ก็มองเป็ นเรื่องปกติธรรมดา ผู้เป็ นแม่ได้บอกกับ
ลูกสาวถึงโรคร้ายที่ตนเป็ นว่า "มะเร็งใครๆเขาก็เป็ นกัน แกจะร้องไห้ไปทำไม
จำไว้ไอ้หมาน้อย ไม่ว่าจะวันแม่หรือวันไหนๆมันไม่สำคัญ เท่ากับวันนี้ เดี๋ยว
นี้” ให้ใช้เวลาที่เหลือร่วมกันให้มีความสุขที่สุดโดยที่ไม่กังวลเกี่ยวกับโรคร้าย
และอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
3
4

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน

Albert Bandura ได้ศึกษาและพัฒนาแนวคิดความสามารถของ


ตนเอง ซึ่ง เป็ นแนวคิดของแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคม (social cognitive
theory) โดยมีความเชื่อพื้นฐานมาจากกระบวนการคิดรู้ ประกอบด้วย แรง
จูงใจและการเรียนรู้ที่เป็ นกลไกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลโดยมี
อิทธิพล เกี่ยวกับทำงานของตนและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินชีวิต
การรับรู้ความสามารถของตน
หมายถึง ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่จะกระทำ
พฤติกรรมที่แตกต่างหรือภายใต้อุปสรรคที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์
การรับรู้ความสามารถของตนเป็ นตัวที่กำหนดปฏิบัติพฤติกรรมของคน แรง
จูงใจอดทน ความพยายาม จะทำให้มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติพฤติกรรมต่อไป
องค์ประกอบของแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองมี 2 องค์
ประกอบ ดังนี้
1.การรับรู้ความสามารถของตน คือ ความเชื่อ ความมั่นใจของบุคคล
ในการพิจารณาเรื่อง
ความสามารถของตน ที่จะจัดการและดำเนินการกระทำพฤติกรรมที่ต้องการ
ภายใต้สถานการณ์และอุปสรรคเพื่อบรรลุผลที่ต้องการได้ ความเชื่อมั่นใน
ความสามารถของตนเองเกิดก่อนการ
กระทำพฤติกรรม
2.ความคาดหวังการกระทำ คือ ความเชื่อที่บุคคลประเมินว่า
พฤติกรรมที่ตนเองทำจะนำไปซึ่งผลลัพธ์ที่ตนคาดหวังไว้ เป็ นการกระทำที่
สืบเนื่องจากการกระทำของพฤติกรรมของตน
5

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนและความคาดหวังต่อ
ผลลัพธ์
องค์ประกอบการรับรู้ความสามารถของตนและความคาดหวังในผลการก
ระทำ สัมพันธ์กับแรงจูงใจและการตัดสินใจที่บุคคลจะกระทำพฤติกรรมและ
การเผชิญหน้าของบุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความมั่นใจในความสามารถ
ของตนในระดับที่สูง โดยทราบว่าต้องกระทำพฤติกรรมอย่างไรบ้างและเมื่อ
กระทำพฤติกรรมนั้นแล้ว บุคคลเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์จากการกระทำตามที่ตน
คาดไว้ในระดับสูงแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง
Bandura อธิบายถึงแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการรับรู้ความสามารถของ
บุคคล ซึ่งเป็ นปั จจัยหลักสำหรับการ พัฒนาการรับรู้ความสามารถของบุคคล
มีทั้งหมด 4 แหล่ง ดังนี้
1. ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ (performance
accomplishment)
2. ประสบการณ์จากการกระทำของผู้อื่น (vicarious experience)
3. การชักจูงด้วยคำพูด (verbal encouragement)
4. การรับรู้สภาวะด้านร่างกายและอารมณ์ (perceived
physiological and affective responses)

การเปรียบเทียบความหมายของแนวคิดกับสถานการณ์ที่เลือกมา

แนวคิด สถานการณ์
ผู้ป่ วยรู้ว่าอุปสรรคของตนเองคือการเป็ นโรค
6

มะเร็งและ เข้าใจในความสามารถทางด้าน
การรับรู้ความสามารถของ ร่างกายของตนเอง ว่าตนเองอาจจะอยู่ได้ไม่
ตนเอง นาน ร่างกายก็เริ่มอ่อนแอลงจากโรคที่เป็ นอยู่
แต่ผู้ป่ วยก็มีความมั่นใจในตนเองและเป็ นคน
คิดบวก จึงพยายามที่ทำในสิ่งที่อยากทำและใช้
ชีวิตอย่างมีความสุขกับลูกสาวในช่วงเวลา
สุดท้ายของชีวิต
ผู้ป่ วยคาดหวังผลลัพธ์ด้านจิตใจให้มีความสุข
ความคาดหวังในผลการก จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตโดยการออกไป
ระทำ เที่ยวเล่น รับประทานอาหารอร่อยๆกับลูกสาว
ทำกิจกรรมที่ชอบ และหวังให้ลูกสาวได้ใช้ชีวิต
ต่อไปอย่างมีความสุขเมื่อครั้งที่ตนไม่อยู่ด้วย
แล้ว
การรับรู้สภาวะด้านร่างกายและอารมณ์ของผู้
แหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการ ป่ วย
รับรู้ความสามารถของตน มีประเมินด้านสุขภาพร่างกายของตนเองคือ
การป่ วยเป็ นโรคมะเร็ง
ที่มีผลกระทบทางด้านร่างกาย จากคลิป
สถานการณ์จะเห็นได้ว่าผู้เป็ นแม่ที่ป่ วยเป็ น
มะเร็งมีอาการผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจก่อ
ให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลซึ่งมีผลต่อ
ระดับความมั่นใจในความสามารถของตนที่ใช้
กระทำพฤติกรรมต่างๆได้ แต่ผู้ป่ วยใน
7

สถานการณ์ตัวอย่างกลับไม่มีความกังวลใดๆ
เลือกที่จะใส่วิกผม และคิดในแง่ดี ไม่เกรงกลัว
ต่อโรค
ที่ตนเป็ นอยู่จึงสามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆ
ที่ตนอยากทำได้อย่าง
มีความสุข

เชื่อมโยงแนวคิดที่เลือกกับมโนทัศน์การพยาบาลแบบองค์รวมตามมิติการ
ดูแล ในระบบการบริการสุขภาพ
1.การประเมินการรับรู้ความสามารถในการดูแลตัวเองเกี่ยวกับโรคมะเร็งในผู้
สูงอายุ
การประเมินการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองสามารถทำได้
โดยใช้ PPS ซึ่งเป็ นเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินความสามารถในการ
ดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันด้านต่างๆของผู้ป่ วย Palliative Care
ใน 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความสามารถในการเคลื่อนไหว กิจกรรมและความ
รุนแรงของโรค การดูแลตนเอง การกินอาหาร และความรู้สึกตัว
PPS มีการแบ่งระดับทั้งหมด 11 ระดับไล่ตั้งแต่ 100% ลงไปถึง
0% เพื่อแยกผู้ป่ วยออกเป็ น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ ผู้ป่ วยที่มีอาการคงที่
(>70%) ผู้ป่ วยระยะสุดท้าย (0-30%) และผู้ป่ วยที่อยู่ระหว่าง 2 กลุ่มดัง
กล่าว(40-70%)
ประโยชน์ของ PPS คือ เพื่อใช้ติดตามผลการรักษาและประเมินภาระ
งานของผู้ดูแลผู้ป่ วย เช่น
ผู้ป่ วยระยะท้าย (คะแนน 0-40%) หมายถึง ผู้ป่ วยจะต้องการการดูแลทาง
ด้านการพยาบาลมากขึ้นและญาติผู้ป่ วยมักจะต้องการการดูแลทางจิตใจ
8

มากขึ้น นอกจากนั้น PPS ยังใช้สำหรับสื่อสารกันระหว่างบุคลากรในทีม


และใช้ประเมินการพยากรณ์โรคโดยคร่าวได้อีกด้วย ซึ่ง PPS สามารถนำไป
ใช้ประเมินได้ทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล แต่ควรใช้โดยบุคคลากรทางการ
แพทย์
( อ.พญ.ดาริน จตุร
ภัทรพร, 2561)

2.ประเมินความเครียด กลัว และวิตกกังวล


การประเมินความเครียดสามารถทำได้โดยการใช้แบบประเมิน
ความเครียด ซึ่งเป็ นเครื่องมือคัดกรองโรคเครียดรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างแบบ
ประเมินความเครียด (ST-5) เป็ นแบบทดสอบข้อคำถามจำนวน 5 ข้อ โดย
ประเมินอาการหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเราในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ที่
ผ่านมา ให้ระดับคะแนนตั้งแต่ 0-3
ตามความถี่ที่ตรงกับตัวเรามากที่สุด (0 คือ มีความเครียดน้อยมากหรือแทบ
ไม่มี ไปจนถึงระดับ 3 คือ มีความเครียดเกิดขึ้นประจำ) โดยมีการแปลผล
ช่วงคะแนนของความเครียดจำแนกได้เป็ น 4 ระดับ คือ เครียดน้อย เครียด
ปานกลาง เครียดมาก และเครียดมากที่สุด
(Bedee, 2567)
3.พูดให้กำลังใจและสนับสนุนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะ
แห่งตนที่ถูกต้อง
การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็ นปั จจัยสำคัญที่ช่วยให้บุคคลมีความ
มั่นใจในความสามารถของตนที่จะปฏิบัติ
พฤติกรรมหรือจัดการกับสถานการณ์ให้สำเร็จตามเป้ าหมายที่กำหนดไว้ได้
9

การรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามลักษณะความ
ยากง่ายของสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ การที่ผู้ป่ วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยว
กับสมรรถนะของตนสูงจะทำให้ผู้ป่ วยสามารถตัดสินใจทำพฤติกรรมตามที่
คาดหวังได้
4.ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการให้กำลังใจ เพื่อลดความวิตกกังวล
การดูแลผู้ป่ วยมะเร็งระยะสุดท้ายเป็ นการดูแลรักษาแบบประคับ
ประคอง โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้คำ
จำกัดความสำหรับการดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคองว่าหมายถึงวิธีการ
ดูแลที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่่ วยและครอบครัวให้สามารถเผชิญกับ
ความเจ็บป่ วยที่คุกคามต่อชีวิต ผ่านการป้ องกัน ประเมิน และการรักษา
อาการเจ็บปวด ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานตลอดจนการให้การสนับสนุน
ปั ญหาทางสังคม จิตใจ และจิตวิญญาณ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยจนผู้ป่ วยเสีย
ชีวิต
แต่อาการที่จัดว่าเป็ นอาการเจ็บป่ วยนั้นหมายถึง มีความเครียดที่ไม่
สามารถจัดการได้ หรือยอมรับในใจได้ลำบาก เช่น คิดกังวลไปทุกๆเรื่อง ถึง
แม้รู้ว่าเป็ นเรื่องที่เล็กน้อย ก็ยังคิดรู้สึกจัดการตัวเองไม่ได้ ไม่สามารถควบคุม
สถานการณ์ในชีวิตตามที่ต้องการได้
ดังนั้นครอบครัวจึงต้องมีการพูดคุย ให้กำลังใจกับผู้ป่ วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่ วยลด
ความวิตกกังวล
ความเครียดและการจัดการกับความเครียด
ทฤษฎีความคิดต่อความเครียดของลาซารัส (The cognitive theory
of stress)
10

ความเครียด หมายถึง ผลของการประเมินความสมดุลระหว่างสถานการณ์ที่


คุกคามต่อการดำเนินชีวิตกับแหล่งประโยชน์ภายในตนเอง
และแหล่งทรัพยากรภายนอกที่มีอยู่เพื่อเผชิญและจัดการกับสถานการณ์
คุกคามที่เกิดขึ้นในชีวิต เมื่อบุคคลประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็ น
ภาวะคุกคามกับชีวิตมากกว่าแหล่งประโยชน์ที่มีอยู่ ทำให้บุคคลประเมิน
สถานการณ์นั้นเป็ นความเครียด เน้นที่องค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่
ความเครียด การประเมินตัดสิน และการจัดการกับความเครียด โดยแบ่ง
เป็ นการมุ่งแก้ไขที่ปั ญหา และการมุ่งจัดการกับอารมณ์
(lazarus,1977)
เปรียบเทียบแนวคิดของทฤษฎีกับกรณีศึกษาที่เลือก
นามธรรม รูปธรรม
การมุ่งแก้ไขที่ปั ญหาเป็ นการแก้ไข จ า ก ก ร ณี ศึ ก ษ า อ า ศั ย ก า ร ไ ป พ บ
ปั ญหาที่เป็ น แ พ ท ย์ เ พื่ อ ทำ ก า ร รั ก ษ า ที่ โ ร ง
กระบวนการเริ่มตั้งแต่การระบุ พยาบาล
สาเหตุ
การมุ่งจัดการกับอารมณ์มุ่งไปที่การ จากกรณีศึกษาตัวผู้ป่ วยและลูกสาว
ระบาย ได้มีการพูดคุย
ความเครียดออกทางความรู้สึก ไปเที่ยวเพื่อผ่อนคลาย
จ า ก ก ร ณี ศึ ก ษ า ที่ ผู้ ป่ ว ย เ ป็ น โ ร ค
สาเหตุของความเครียดภายนอกตัว มะเร็งส่งผลถึง
บุคคล สัมพันธภาพกับลูกสาวคือลูกสาวมี
ความเป็ นห่วง และสนิทสนมอยาก
อยู่ดูแลแม่มากขึ้น
11

สาเหตุของความเครียดภายในตัว จากกรณีศึกษาความเจ็บป่ วยจาก


บุคคล การเป็ นมะเร็งทำ ให้ เกิดความไม่
สบายใจสบายกาย
การดูแลแบบองค์รวมตามมิติการพยาบาล
1.สังเกตอาการที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
2.สอบถามโดยตรง
3.ให้คำแนะนำที่เหมาะสม
4.ใช้แบบประเมินความเครียด
5.แนะนำให้หางานอดิเรก ทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อผ่อนคลาย

บทบาทหน้าที่ (Role)
บทบาท คือ การทำหน้าที่ตามที่สังคมกำหนด สถานภาพและบทบาทจะ
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์ทางสังคม ทำให้เกิดการเรียนรู้
บทบาทหน้าที่ทางสังคม บุคคลจะดำเนินตนตามบทบาทได้นั้นขึ้นอยู่กับ
สถานภาพเป็ นตัวกำหนด เช่น ผู้ที่มีสภานภาพ พ่อ ต้องมีบทบาทในการ
อบรมเลี้ยงดู บุตรให้เป็ นคนดี ส่งเสียบุตรให้ได้รับการศึกษา เป็ นต้น
หน้าที่ คือ ความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติตาม กฎหมาย สิทธิและ
เสรีภาพ
บทบาทหน้าที่ เป็ นแนวคิดที่ถูกนำมาอธิบายในทฤษฎีทางการพยาบาล
หลายๆ ทฤษฎี เช่น แบบแผนสุขภาพ
ของกอ์ดอน ทฤษฎีการบรรลุเป้ าหมายของคิง ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
12

1.การปรับตัวด้านร่างกาย (Physiological mode) เป็ นการปรับตัว


เพื่อรักษาความมั่นคงด้านร่างกาย ระหว่างกระบวนการทางด้านร่างกายและ
สารเคมีที่เกี่ยวกับการทำกิจกรรม พฤติกรรมการปรับตัวด้านนี้ จะตอบ
สนองต่อความต้องการพื้นฐาน คือ ความต้องการออกซิเจน อาหาร การขับ
ถ่าย กิจกรรม และการพักผ่อน รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ภายใน
ร่างกาย
2.การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ (Self-concept mode) เป็ นการปรับ
ตัวเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ อัตมโนทัศน์ คือ ความเชื่อและความ
รู้สึกที่บุคคลยึดถือเกี่ยวกับตนเองในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการรับรู้ใน
ตนเอง และจากบุคคลรอบข้าง เกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ภาวะสุขภาพ การ
ทำหน้าที่ รวมถึงความเชื่อและค่านิยม
3.การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ (Role function mode) เป็ นการ
กระทำหน้าที่ตามความคาดหวังของสังคม โดยที่บุคคลมีบทบาทในสังคม
ของตนเอง บุคคลจะต้องปรับตัวและกระทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
ได้อย่างเหมาะสม
บทบาทของบุคคล ออกเป็ น 3 ประเภท คือ
1) บทบาทปฐมภูมิ (Primary role) คือ บทบาทที่เป็ นไปตามขั้น
พัฒนาการแต่ละวัย เช่น การเป็ นเด็กวัยเรียน การเป็ นผู้สูงอายุ
2) บทบาททุติยภูมิ (Secondary role) เช่น บทบาทการเป็ นบุตร
ของบิดามารดาบุคคลหนึ่งอาจมีบทบาททุติยภูมิได้หลายบทบาท ทั้งบทบาท
ในครอบครัว บทบาทตามอาชีพ เช่น การเป็ นพยาบาล การเป็ นครู การเป็ น
นักศึกษาพยาบาล
13

3) บทบาทตติยภูมิ (Tertiary role) คือ บทบาทชั่วคราวที่บุคคลนั้น


ได้รับ บทบาทนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระยะเวลาและระยะพัฒนาการของบุคคล
เช่น การเป็ นผู้ป่ วย การเป็ นประธานการประชุม เป็ นต้น
4.การปรับตัวด้านการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent
mode) บุคคลมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เป็ นทั้งผู้ให้และผู้รับ
ความช่วยเหลือ บุคคลที่สามารถปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกันได้อย่าง
เหมาะสม จะต้องมีความสมดุลระหว่าง การพึ่งตนเอง (Independence)
การพึ่งพาผู้อื่น (Dependence) และการให้ผู้อื่นได้พึ่งตนเอง ถ้าบุคคล
สามารถปรับตัวได้ก็จะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
บทบาทการเจ็บป่ วย (Sick role)
เป็ นพฤติกรรมการแสดงออกหลังจากได้รับวินิจฉัยเกี่ยวกับความเจ็บ
ป่ วย เพื่อที่จะทำให้อาการป่ วยดีขึ้น เช่น การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
การควบคุมอาหารและน้ำหนัก การมาหาแพทย์ตามนัด เป็ นต้น เป็ นแนวคิด
ที่ระบุว่า ผู้ที่ป่ วยได้รับสิทธิพิเศษและภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บ
ป่ วยของตน
ความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ (Role conflict)
เกิดจากการที่บุคคลต้องแสดงบทบาทหน้าที่หลายบทบาทในห้วงเวลา
เดียวกัน มีการกำหนดบทบาทที่ไม่ชัดเจนและบทบาทนั้นไม่สอดคล้องกัน
ทำให้เกิดความไม่เข้าใจ และทำให้ไม่สามารถทำตามบทบาทหน้าที่ที่มี หรือ
ตามที่บุคคลนั้นต้องการได้
การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้โมเดลการปรับตัวของรอย สามารถนำมา
ใช้ในกระบวนการพยาบาลได้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
14

1. การประเมินพฤติกรรม (Assessment of behaviors) เป็ นการ


ประเมินกระบวนการปรับตัวทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสรีระ ด้านอัตมโน
ทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพากันและกัน
โดยประเมินพฤติกรรมที่อยู่ในความต้องการพื้นฐาน 5 ประการ การประเมิน
อาจได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ และการตรวจวัดอย่างเป็ นระบบ แล้วนำ
ข้อมูลมาวิเคราะห์การปรับตัวว่าเป็ นการปรับตัวที่ดีหรือมีปั ญหา
2. การประเมินสิ่งเร้า (Assessment of stimuli) เป็ นการประเมิน
ปั จจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว โดยค้นหาสิ่งเร้า ซึ่งได้แก่ สิ่งเร้าตรง สิ่งเร้า
ร่วม และสิ่งเร้าแฝง โดยสิ่งเร้าตรงเป็ นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปั ญหาในการ
ปรับตัว ส่วนสิ่งเร้าร่วมและสิ่งเร้าแฝงอาจมีหลายสาเหตุร่วมกัน
3. การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เป็ นกระบวนการพยาบาลในส่วนระบุปั ญหาจากการประเมินพฤติกรรมซึ่ง
เป็ นปั ญหาโดยระบุการปรับตัวในแต่ละ
ด้าน
4. การกำหนดเป้ าหมาย (พฤติกรรมเชิงผลลัพธ์) (Goal setting
(behavior outcome) เป็ นการระบุเป้ าหมายของการปรับพฤติกรรมที่ไม่
เหมาะสมไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม
5. การให้การพยาบาล (Intervention) เป็ นการเน้นการจัดการกับสิ่ง
เร้าที่เป็ นสาเหตุของการเกิดปั ญหา ในการปรับตัว โดยมุ่งที่สิ่งเร้าตรงก่อน
ในขั้นต่อไปจึงจัดการสิ่งเร้าร่วมหรือสิ่งเร้าแฝง
(Roy &
Andrew, 1999)
15

การเปรียบเทียบความหมายของแนวคิดกับสถานการณ์ที่เลือกมา จาก
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
แนวคิด สถานการณ์
การปรับตัวด้านร่างกาย การโกนผมสำหรับรับคีโมบำบัดมะเร็ง
การปรับตัวด้านอัตมโน มีการใส่วิกเพิ่มความมั่นใจในตนเอง
ทัศน์
การปรับตัวด้านหน้าที่
บทบาทที่บุคคลถืออยู่ใน - ลูกสาวทำงานเป็ นพนักงานบริษัท
ช่วงเวลาต่างๆ - คุณแม่ป่ วยเป็ นโรคมะเร็ง เข้ารับการรักษา มี
การเปลี่ยนแปลงใน การโกนผมสำหรับยาเคมีบำบัด
สถานะสุขภาพ

การปรับตัวด้านการพึ่งพา คุณแม่เป็ นที่พึ่งทางใจให้ลูกสาว รับฟั งและให้


ซึ่งกันและกัน กำลังใจลูกสาวเมื่อรู้สึกท้อ เสียใจ ลูกสาวเป็ น
ที่พึ่งพิงทางใจให้คุณแม่ คอยดูแล รับฟั ง ใส่ใจ
ในคุณแม่

มิติของบทบาทหน้าที่
หญิงวัยสูงอายุ (แม่)
บทบาทปฐมภูมิ : เพศหญิง วัยสูงอายุ
บทบาททุติยภูมิ : มารดา
16

บทบาทตติยภูมิ : เป็ นผู้ป่ วยโรคมะเร็ง


หญิงวัยผู้ใหญ่ (ลูก)
บทบาทปฐมภูมิ : เพศหญิง วัยผู้ใหญ่
บทบาททุติยภูมิ : ลูกสาว พนักงานบริษัท
บทบาทการเจ็บป่ วย
แนวคิด สถานการณ์
บุคคลได้รับการวินิจฉัยโรค คุณแม่ได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็ น โรค
มะเร็ง
มีพฤติกรรมสุขภาพที่ทำให้อาการดีขึ้น
มีพฤติกรรมสุขภาพที่จะทำให้ - การมีความสุขกับชีวิตแม้จะเจ็บป่ วย
อาการดีขึ้น/แย่ลง เช่น การไปเที่ยว หาของกินที่ชอบ
- การใส่วิก เพื่อเพิ่มความมั่นใจ
- การมองในแง่บวกเกี่ยวกับโรคที่
ตนเองเป็ น มองว่าโรคนี้ไม่น่ากลัวอย่าง
ที่คิด

ความขัดแย้งในหน้าที่
แนวคิด สถานการณ์
การไม่สามารถทำตามบทบาทที่ คุณแม่: ไม่สามารถทำตามบทบาทที่มี
มีหรือตามที่ หรือต้องการได้ เพราะเป็ นคนป่ วย
บุคคลนั้นต้องการได้ ทำให้ไม่สามารถทำงานหาเงินได้ ไม่
สามารถเลี้ยงดูลูกได้ตามต้องการ
บุคคลต้องแสดงบทบาทหน้าที่ ลูกสาว: เป็ นพนักงานบริษัท ต้อง
17

หลายบทบาทใน ทำงานห่างไกลบ้าน ขณะเดียวกันที่


ห้วงเวลาเดียวกัน และบทบาท บ้านมีแม่ที่ป่ วยต้องได้รับการดูแล
ไม่สอดคล้องกัน

เชื่อมโยงแนวคิดที่เลือกกับมโนทัศน์การพยาบาลแบบองค์รวมตามมิติการ
ดูแลในระบบการบริการสุขภาพ
1. ประเมินระดับความสามารถในการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ โดย
ประเมินได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ และตรวจวัด
การสัมภาษณ์ เช่น การแสดงบทบาทในครอบครัว ทั้งในขณะที่มี
สุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่ วย การเจ็บป่ วยมี
ผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
การสังเกต เช่น สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือ ท่าทางที่แสดงออกที่ผู้
ป่ วยแสดงต่อครอบครัว และบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่ วย
2. ประเมินความเครียด ความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นจากบทบาทหน้าที่ที่
เปลี่ยนไปโดยอาจใช้คู่มือแบบประเมินคัดกรองโรคจิตและปั ญหา
สุขภาพจิต
3. ใช้แบบประเมินการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ โดยอาจใช้แบบประเมิน
RQ ประเมินความสามารถของบุคคลในการปรับตัวภายหลังที่พบกับ
เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากลําบาก
4. ส่งเสริมให้มีการปรับตัวเพื่อภาวะสุขภาพที่ดี โดยมุ่งเน้นที่การเลือกวิธี
การดำรงชีวิตให้บุคคลสามารถควบคุมและปรับปรุงสุขภาพของตนเอง
ให้ดีขึ้น โดยจัดการกับสิ่งเร้าที่เป็ นปั จจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถ
18

ในการปรับตัว วางแผนและให้การพยาบาลเพื่อจัดการกับสิ่งเร้า และ


ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem)


การเห็นคุณค่าในตนเอง หรือ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เป็ นสิ่ง
ที่เกิดจากการประเมินตนเองเกี่ยวกับการมีคุณค่า ยอมรับตนเอง มองตนเอง
ในทางบวก รวมถึงการรับรู้ว่าตนเองมีความสามารถและมีประโยชน์ต่อ
สังคม รวมทั้งได้รับการยอมรับจากสังคม โดยถ้าบุคคลใดประเมินค่าตนเอง
สูงเกินไปทำให้เกิดความรู้สึกหลงตัวหรือเห็นแก่ตัว แต่ถ้าบุคคลใดมีอคติต่อ
ตนเองก็จะทำให้ไม่นับถือตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
ทฤษฎีลักษณะนิสัย (Trait theory)
อัลพอร์ท (Allport 1961) เชื่อว่า ตัวตน (Self) หมายถึง ความรู้สึกที่เป็ น
เฉพาะของตัวเอง ทำให้บุคคลมีลักษณะนิสัยเฉพาะตน (Traits) เป็ น
เอกลักษณ์เฉพาะตน
ซึ่งการเห็นคุณค่าในตน(Self-esteem) เป็ น 1 ใน 8 ลักษณะเฉพาะตนตาม
ทฤษฎีของอัลพอร์ท ได้แก่
19

ตัวตนส่วนร่างกาย(The Bodily Self), เอกลักษณ์ของตัวตน(Self-


identity), การเห็นคุณค่าในตน(Self-esteem), ลักษณะภายนอกของตัวตน
(Self-extension), ภาพลักษณ์แห่งตน(Self-image), ตัวตนที่มีเหตุผล(Self
as Rational),การแสวงหาตัวตน (Self-appropriate Striving), การยอมรับ
ตัวเอง (Self-acceptance)
องค์ประกอบของการเห็นคุณค่าในตนเอง
1. การรับรู้ว่าตนมีความสามารถ (Competence) หมายถึง บุคคลรับรู้ว่า
ตนสามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้ าหมาย
2. การรับรู้ว่าตนมีความสำคัญ (Significance) หมายถึง บุคคลรับรู้ว่าตนเอง
มีคุณค่า มีประโยชน์และได้รับการยอมรับอย่างเหมาะสม รู้สึกว่าตนเป็ นที่รัก
ของบุคคลอื่น
3. การรับรู้ว่าตนมีอำนาจ (Power) หมายถึง บุคคลรู้สึกว่าตนมีอิทธิพลหรือ
สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว มีความสามารถในการกระทำสิ่ง
ต่างๆ ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ด้วยตนเอง
4. การรับรู้ว่าตนมีคุณความดี (Virtue) หมายถึง บุคคลรับรู้ว่าตนเองมีการ
ปฏิบัติตัวที่สอดคล้องกับศีลธรรมจริยธรรม ค่านิยมและวัฒนธรรมประเพณี
มองโลกในแง่ดี พึงพอใจในชีวิตที่เป็ นอยู่
การเปรียบเทียบความหมายของแนวคิดกับสถานการณ์ที่เลือกมา
แนวคิด สถานการณ์
การเห็นคุณค่าในตน จากที่ตัวละครที่เป็ นแม่ซึ่งป่ วยเป็ นมะเร็ง
(Self-esteem) เป็ น กล่าวว่า “ไปได้ละ” เป็ นการบอกแก่บุตร
ความภูมิใจเมื่อสามารถ สาวของตนว่า ไปได้แล้ว ไม่ต้องห่วงแม่ แม่โอ

จัดการและสร้างความ เคแล้วพร้อมจะจากไปแล้ว แสดงออกถึง


20

สำเร็จในชีวิต ความสำเร็จในชีวิต พอใจกับชีวิตของตนเอง


ตอนนี้แล้ว
ภาพลักษณ์แห่งตน (Self- แม่ที่ซึ่งป่ วยเป็ นมะเร็ง ได้มีการสวมวิกผม
image) เป็ นการสั่งสม เป็ นการสะสมภาพลักษณ์ของตนเองให้มี
พัฒนาภาพลักษณ์ของ ความมั่นใจมากขึ้น ควบคู่ไปกับความสดใส

ตนเองอย่างช้าๆ ควบคู่ ร่าเริงที่แสดงออกมา

กับการมีสติสัมปชัญญะ
มากขึ้น

ตัวตนที่มีเหตุผล (Self as แม่ที่ป่ วยเป็ นมะเร็งนั้นมีลูกสาวที่คอยมา


Rational) พัฒนาเหตุผล เยี่ยมเยียนอยู่บ่อยครั้ง แต่ด้วยภาระ
เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิต หน้าที่ของบุตรสาวทำให้ไม่สามารถมาหาได้
ทุกครั้ง แต่แม่ที่ป่ วยเองก็ได้มีความเข้าใจ
เหตุผลของบุตรสาว จึงบอกแก่บุตรสาวว่า
อย่าได้กังวล แม่ไม่เป็ นอะไร เพื่อคลายความ
กังวลแก่บุตรสาว และตัวเธอเองก็ไม่นำเรื่องนี้
มาเป็ นปั ญหา สามารถมาปรับใช้ในชีวิต
ประจำวันของเธอได้แม้บุตรสาวจะไม่ว่างมา
หาก็ตาม
การแสวงหาตัวตน (Self- แม่ที่ป่ วยนั้นก็ได้หาความสุข ความพึงพอใจ
appropriate Striving) แก่ตนเอง เช่น การสวม วิกผม การหยอกล้อ
แสวงหาความพึงพอใจให้ กับบุตรสาว หาของกินอร่อย ๆ เที่ยวทะเล
แก่ชีวิตของตนเอง หรือพักผ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ
21

การยอมรับตัวเอง แม่ซึ่งป่ วยเป็ นโรคมะเร็ง มีการรักษาซึ่งส่ง


(Self-acceptance) ผลกระทบต่อเส้นผม
ยอมรับในภาพลักษณ์ เธอยอมรับในภาพลักษณ์ของเธอและแก้
ตามความจริงของตนเอง ปั ญหาด้วยการนำวิกผมมาสวมใส่
ยอมรับ จุดเด่น จุดด้อย
ของตนเอง

เชื่อมโยงแนวคิดที่เลือกกับมโนทัศน์การพยาบาลแบบองค์รวมตามมิติการ
ดูแลในระบบการบริการสุขภาพ
1. ตั้งเป้ าหมายชีวิตที่สามารถทำได้จริงและนึกถึงความสำเร็จของตนเองใน
วันข้างหน้า ที่จะเกิดจากความสามารถของตนเอง
2. ใช้คำพูดชื่นชมตนเอง หรือให้สิ่งของที่มีความหมายและมีความสำคัญต่อ
ตนเองเป็ นครั้งคราว เมื่อได้ทำสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ ระลึกถึงงานที่ตนเอง
สามารถทำได้สำเร็จ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกที่มีต่อตนเอง
ยอมรับคำยกย่องชื่นชมของผู้อื่นและแสดงความขอบคุณ ซึ่งจะช่วยสร้าง
ความภาคภูมิใจและมองตนเองในทางบวก
3. พยายามสร้างความสำเร็จให้แก่ตนเองด้วยการเพิ่มความมุมานะพยายาม
และลดความคาดหวังที่ไม่เป็ นจริงลงพร้อมทั้งบันทึกผลของความสำเร็จที่ได้
รับ หรือสิ่งที่เคยทำได้ดี
4. ฝึ กพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
5. ลดความสนใจในสิ่งที่จะทำให้ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำลงเช่นไม่วิตก
จริตมากเกินไปต่อ คำวิพากษ์วิจารณ์ของบุคคลอื่นรับข้อเสนอแนะและ
22

ข้อคิดเห็นจากบุคคลอื่นเพราะเป็ นวิธีการรับข้อมูลที่มีผลให้ บุคคลเกิดกาลัง


ใจและสร้างความภาคภูมิใจได้
7. หาตัวแบบเป็ นคนที่มีคุณลักษณะเห็นคุณค่าในตนเองสูงเพื่อเป็ นต้นแบบ
หรือแนวทางการดำเนินชีวิต
23

บรรณานุกรม

Anthony R. Artino (2012, April 11). Academic self-efficacy:


from educational theory to instructional practice. National
library of medicine. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The Exercise of Control.


W.H. Freeman and Company.

ประภาพร จินันทุยา.(2567)แนวคิดการรับรู้ความสามารถของ
ตน[เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์].สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา
สภากาชาดไทย

University of Tulsa. (2023). What is Roy's adaptation model


of nursing?. The university of Tulsa.
https://online.utulsa.edu/blog/roys-adaptation-model/

นพวรรณ บุญบำรุง.(2567) มโนทัศน์ของคน (Concept of Human)


[เอกสารไม่มีการตีพิมพ์].สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

อ.ดร.อารยา เจรนุกุล. เอกสารประกอบการสอน การพยาบาลตามมิติ


การดูแล การพยาบาลตามวิถีการเจ็บป่ วยและการพยาบาลผู้ป่ วยระยะท้าย
24

ภาคผนวก

แบบ ประเมิน PPS


25

PPS เป็ นเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยในการประเมินความ


สามารถในการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันด้านต่างๆของผู้ป่ วย
Palliative Care
PPS มีมีระดับทั้งหมด 11 ระดับ ตั้งแต่ 100% ลงไปถึง 0% เพื่อ
แยกผู้ป่ วยออกเป็ น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ ผู้ป่ วยที่มีอาการคงที่ >70% ,ผู้ป่ วย
ระยะสุดท้าย 0-30% ,และผู้ป่ วยที่อยู่ระหว่าง 2 กลุ่มดังกล่าว40-70%
PPS ใช้ประเมินผู้ป่ วยใน 5 หัวข้อ ได้แก่ ความสามารถในการ
เคลื่อนไหว กิจกรรมและความรุนแรงของโรค การดูแลตนเอง การกินอาหาร
และความรู้สึกตัว

บทบาทหน้าที่
แบบ ประเมิน RQ
26

RQ เป็ นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความสามารถของบุคคล 3 ด้าน คือ


ความมั่นคงทางอารมณ์ กำลังใจ การจัดการกับปั ญหา หากประเมินแล้ว พบ
ว่ามีองค์ประกอบใดตำกว่าเกณฑ์สามารถพัฒนาตนในคำนั้นได้

ข้อคำถามมีจำนวน 20 ข้อ สอบถามถึงความคิดความรู้สึกและพฤติกรรม ใน


รอบ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยเลือกคำตอบที่ตรงกับความเป็ นจริงมากที่สุด เพื่อ
ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง

You might also like