Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 20

อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 1

MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6


ป.วิ.แพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
โจทก์ขอคุ้มครองชัว่ คราว (มาตรา 254 ถึง 263)
***ม.254 ว.1 ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องหรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา
ซึ่งคำขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้
คดีแพ่งทุกประเภท ไม่ว่าจะเป�นคดีมีข้อพิพาทหรือไม่มีข้อพิพาท มีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์ โดยหลักแล้ว
สามารถขอคุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา 254 ได้ ยกเว้น คดีมโนสาเร่ ได้แก่
1.คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป�นราคาเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท
2.คดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 30,000
คดีมโนสาเร่สามารถขอคุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา 264 ได้***
บุคคลที่มีสิทธิขอ
1.คู่ความที่มีสิทธิขอตามมาตรา 254 ได้แก่ โจทก์หรือคู่ความที่อยู่ในฐานะโจทก์
2.จำเลยที่ฟ้องแย้งมีสิทธิขอตามมาตรา 254 ได้ แต่คดีในส่วนฟ้องแย้งต้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่
ช่วงเวลาที่มีสิทธิขอ
ม.254 ขอได้ทุกชั้นศาล แต่ต้องมีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลใดศาลหนึ่ง (คร.1657/2535)
Ex. คดีที่อยู่ระหว่างจำหน่ายคดีชวั่ คราว = เลื่อนการนั่งพิจารณา ขอได้ (ฎ.421/2524)
ทำเป�นคำขอฝ่ายเดียว *การขอม.254 ว.1 ต้องทำเป�นคำขอฝ่ายเดียว ซึ่งต้องพิจารณาม.21 (3) ประกอบ
มาตรา 21 เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคำขอหรือคำแถลงต่อศาล
***(3) ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คำขออันใดอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะฟ�ง
คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้นๆ ได้ เว้นแต่ในกรณีที่คำขอนัน้ เป�นเรื่องขอหมายเรียกให้ให้
การ หรือเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อนคำพิพากษาหรือเพื่อให้ออกหมายบังคับ หรือเพื่อจับหรือกักขังจำเลยหรือลูกหนี้
ตามคำพิพากษา
1.คำขอฝ่ายเดียวเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อนคำพิพากษาซึ่งเป�นคำขอตามมาตรา 254 (1) เป�นคำขอฝ่าย
เดียวโดยเคร่งครัด ศาลมีอำนาจไต่สวนโจทก์ฝ่ายเดียวและมีคำสั่งได้ โดยห้ามฟ�งจำเลยคัดค้าน (ห้ามฟ�งเด็ดขาด)
2.คำขอฝ่ายเดียวเพื่อจับหรือกักขังจำเลยซึ่งเป�นคำขอตามมาตรา 254 (4) เป�นคำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด ศาลมี
อำนาจไต่สวนโจทก์ฝ่ายเดียวและมีคำสั่งได้ โดยไม่ต้องฟ�งจำเลยคัดค้านก่อน (ห้ามฟ�งเด็ดขาด)
3.คำขอฝ่ายเดียวเพื่อขอคุ้มครองชัว่ คราวตามมาตรา 254 (2) (3) เป�นคำขอฝ่ายเดียวที่ไม่เคร่งครัด
ศาลมีดุลพินิจที่จะให้โอกาสคูค่ วามอื่นคัดค้านก่อนก็ได้ กล่าวคือ (ฎ.699/2508)
3.1.ศาลจะให้โอกาสคูค่ วามอื่นคัดค้านก่อนแล้วไต่สวนและมีคำสัง่ ก็ได้ หรือ
3.2.ศาลจะไต่สวนโจทก์ฝ่ายเดียวและมีคำสั่ง โดยไม่ให้โอกาสคู่ความอื่นคัดค้านก่อนก็ได้
*ฎ.699/2508 คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเป�ดทางเดินซึ่งเป�นภาระจำยอมและได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสัง่ ห้าม
ชั่วคราว คือ ให้จำเลยเป�ดทางเดินในระหว่างคดียังไม่ถงึ ที่สุดนั้นถือว่าเป�นคำขอฝ่ายเดียว กฎหมายไม่บังคับว่าต้องให้โอกาส
คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนจึงอยู่ในอำนาจหรือดุลพินิจของศาลที่จะฟ�งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนก็ได้

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 2
การพิจารณาคำขอและมีคำสั่ง
*มาตรา 255 ในการพิจารณาอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา 254 ต้องให้เป�นที่พอใจของศาลว่า
คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ...
1.โจทก์มีหน้าที่นำสืบ (ฎ.920/2524)
2.ศาลต้องไต่สวนเพื่อให้ได้ความตามมาตรา 255 ก่อนมีคำสั่งตามมาตรา 254 เสมอไปหรือไม่ (ดูม.21 (4))
2.1.คำขอไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 254, 255 ศาลยกคำขอได้ทันทีโดยไม่ต้องไต่สวน
ฎ.461/2507 โจทก์ฟ้องว่า ป. ทำพินัยกรรมยกที่นาพิพาทให้โจทก์ เมื่อ ป. ตายแล้ว จำเลยลอบไป
ขอรับมรดกที่นานั้น เจ้าพนักงานหลงเชื่อจึงทำนิติกรรมโอนที่พิพาทให้จำเลย ขอให้ศาลแสดงว่าการโอนมรดกที่พิพาทนั้น
เป�นโมฆะ และแสดงว่าโจทก์เป�นเจ้าของที่พิพาท ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง ต่อมาในระหว่างการพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้อง
ขอให้ห้ามชั่วคราวก่อนพิพากษาความว่า โจทก์เคยให้ ช. เช่าทำนาในที่พิพาท แต่จำเลยให้ผู้อื่นเข้าไถหว่านในนาพิพาททำ
ให้โจทก์เสียหายขาดรายได้เปลืองไปเปล่าป�ละ 2,500 บาท ขอให้ศาลไต่สวนและสั่งห้ามจำเลยและบริวารเข้าครอบครอง
ทำนาพิพาทหรือมิฉะนั้นก็ให้จำเลยวางเงินประกันการเสียหายป�ละ 2,500 บาท คำขอของโจทก์ดังนี้ไม่เข้ากรณีแห่ง ป.
วิ.พ. มาตรา 254 (2) และมาตรา 264 ศาลอาจยกคำร้องโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องไต่สวน
2.2.ถ้าคำขอต้องด้วยหลักเกณฑ์ โดยหลักศาลควรไต่สวนก่อนมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต
ฎ.1479/2520 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและให้รื้อถอนเสาและสายไฟฟ้าแรงสูง
ที่ติดตั้งและเดินสายผ่านที่ดินของโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา อ้างว่าเสาไฟฟ้าดังกล่าวกีด
ขวางอยู่ ทำให้ก่อสร้างโรงภาพยนตร์และอาคารพาณิชย์ในที่ดินนั้นไม่ได้ โจทก์เสียหายขาดรายได้ ขอให้จำเลยย้ายเสาและ
สายไฟจากที่เดิมเพื่อติดตั้งใหม่ในที่ของโจทก์ส่วนที่ไม่กีดขวางการก่อสร้าง เท่ากับเป�นการขอห้ามชั่วคราวมิให้จำเลย
กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ฟ้อง (ม.254 (2)) ศาลควรจะต้องทำการไต่สวนและฟ�งข้อเท็จจริงว่ามี
เหตุสมควรและเพียงพอที่จะสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าวหรือไม่ ไม่ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอโดยไม่ทำการไต่สวน
ฎ.2385/2526 การที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา 254 แห่ง ป.วิ.พ.นั้น
ศาลชั้นต้นจะต้องฟ�งพยานที่ผู้ขอนำมาสืบหรือที่ศาลเรียกมาสืบให้ได้ความตามที่มาตรา 255 บัญญัติไว้เสียก่อน จะมีคำสั่ง
อนุญาตตามคำขอโดยเพียงแต่สอบถามโจทก์จำเลยแล้วบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาทั้งที่ยังไม่ปรากฏ
ข้อเท็จจริงเพียงพอตามมาตรา 255 ไม่ได้
ข้อยกเว้น หากศาลเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวและคำคัดค้าน ข้อเท็จจริง
รับกันได้ความว่า คำฟ้องมีมูลและที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้นมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำ
พิพากษามาใช้ซึ่งครบถ้วนตามมาตรา 254, 255 แล้ว ศาลชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอของโจทก์ได้ โดยไม่
จำเป�นต้องไต่สวนพยานหลักฐานของคู่ความก่อนแต่อย่างใด (ฎ.558/2528, 6/2534)***

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 3
เหตุแห่งการขอและคำขอ
หลักที่ 1 คำขอคุ้มครองชั่วคราวต้องเกี่ยวกับเนื้อหาคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องด้วย (ใช้กับม.264 ด้วย)
ฎ.3730/2552 วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์
สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูก
ฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดีและเป�นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะ
ขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้อง
ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอน
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิ
ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป�น
เรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราว
ก่อนพิพากษาตามมาตรา 254 มาใช้บังคับได้
ฎ.1678/2525 ฟ้ อ งขอให้ เ พิ ก ถอนสั ญ ญาจะซื ้ อ ขายที ่ พ ิ พ าทระหว่ า งจำเลยทั ้ ง สอง และเพิ ก ถอนสั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทที่จำเลยทั้งสองทำไว้ต่อศาล ให้โอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยที่
1 ทำไว้กับโจทก์ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับเหมืองแร่ในที่พิพาทหรือสิทธิในประทานบัตรของจำเลยที่ 2 โจทก์จะร้อง
ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยทั้งสองและบริวารขุดแร่ในที่พิพาทหาได้ไม่ เพราะเป�นเรื่องที่ไม่ตรงกับการกระทำที่
จำเลยถูกฟ้อง เป�นเรื่องนอกคำขอท้ายฟ้อง จำเลยย่อมขอให้ยกเลิกคำสั่งห้ามชั่วคราวของศาลได้
ฎ.952/2539 ประเด็นตามคำร้องของผู้คัดค้านมีเพียงว่า ผู้ร้องสมควรถูกถอนจากการเป�นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
หรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้คดั ค้านฎีกาขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวโดยให้ผู้ร้องหยุดกระทำการขัดขวางขับไล่ ห้ามผู้คัดค้านกรีด
ยางพาราในที่พิพาท และห้ามผู้รอ้ งกรีดยางพาราในที่พิพาทโดยวิธใี ช้ยาเร่งน้ำยาง จึงเป�นการไม่ชอบ เพราะเป�นการขอใช้
วิธีการชั่วคราวนอกประเด็นตามคำร้อง (ศึกษาเพิ่มเติม ฎ.173/2523, คร.164/2503, 900/2533)
หลักที่ 2 ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้มีผลกระทบต่อ “บุคคลภายนอก” ไม่ได้ (มีข้อยกเว้น)
หลักที่ 3 เหตุแห่งการขอและคำขอต้องมีความสัมพันธ์กัน
กรณีตามมาตรา 255 (1) (ก) ประกอบมาตรา 254 (1) เป�นคำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด
เหตุตามมาตรา 255 (1) คำขอตามมาตรา 254 (1)
(ก) จำเลยตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของ 1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาททั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน
ตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล หรือ จะโอน พิพากษา
ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อ 2) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้
การบังคับตามคำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย ก่อนพิพากษา
หรือเพื่อจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ *3) ให้ยึดหรืออายัดจำนวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
(ข) มีเหตุจำเป�นอื่นใดฯ ซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย
โจทก์ต้องขอให้ยึดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยเท่านัน้ จะขอให้ยึดทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่ได้
ฎ.1023/2561 ผู้ร้องซึ่งได้ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนจึงเป�นเจ้าของรถยนต์พิพาท
เมื่อรถยนต์พิพาทมิใช่ของจำเลย โจทก์จะขอให้ยึดหรืออายัดรถยนต์พิพาทไว้ก่อนมีคำพิพากษาหาได้ไม่
ข้อยกเว้น เว้นแต่เงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกนัน้ จะถึงกำหนดชำระแก่จำเลยแล้ว
ฎ.2172/2519 กรณีที่ศาลพิพากษาให้ ป. โอนขายที่ดินให้จำเลย (หนี้ต่างตอบแทน) นั้นจะถือว่าเป�นทรัพย์สินของ
บุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยยังไม่ได้ เพราะ ป. จะชำระหนี้ส่วนของตนคือโอนที่ดินให้จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลย
ชำระหนี้ตอบแทนคือชำระราคาทีด่ ินให้ ป. ด้วย ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยยังมิได้เสนอที่จะชำระราคาที่ดินและกำหนดเวลาให้
ป. โอนที่ดินนั้นให้ตนแล้วจะถือว่าหนี้ที่ ป. จะต้องโอนที่ดินให้จำเลยถึงกำหนดชำระยังมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้อายัด
ที่ดินดังกล่าวตามป.วิ.พ. มาตรา 254 (1)
ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor
อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 4
ฎ.178/2551 จำเลยตั้งโจทก์เป�นตัวแทนประสานงานเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยในการได้รับจ้างงานใน
โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาจำเลยได้เข้าเป�นคู่สัญญากับกิจการร่วมค้าไอทีโอ โดยเป�นผลจากการดำเนินการ
ของโจทก์ตามสัญญาตั้งตัวแทน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเป�นมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวที่จะฟ้องร้องจำเลยได้ คดีของโจทก์
จึงมีมูลที่จะฟ้องร้อง ส่วนป�ญหาว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาตั้งตัวแทนหรือจำเลยได้รับการจ้างเหมาช่วงงาน
ดังกล่าวโดยไม่ได้เป�นผลจากการปฏิบัติตามสัญญาของโจทก์หรือไม่ ยังเป�นที่โต้เถียงกันซึ่งต้องนำสืบพยานหลักฐานกันใน
ชัน้ พิจารณาต่อไป แม้จำเลยไม่ตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินของตนไปให้พ้นจากอำนาจศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) แต่
การที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย แม้เคยมีก็ป�ดสำนักงานสาขาไปแล้วเพราะ
ใบอนุญาตประกอบกิจการของคนต่างด้าวไม่ถูกต้อง และการที่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใดในประเทศไทย ทั้งจำเลยไม่ มี
ทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยพอที่โจทก์จะบังคับคดีได้ ย่อมเป�นเหตุจำเป�นอื่นที่เป�นการยุติธรรมและสมควรที่จะคุ้มครอง
ประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 255 (1) (ข) จึงนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ในการสั่งให้
อายัดเงินค่าจ้างที่กิจการร่วมค้าไอทีโอบุคคลภายนอกจะชำระให้แก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1)
กรณีตามมาตรา 254 (2) + มาตรา 255 (2) เป�นคำขอฝ่ายเดียวที่ไม่เคร่งครัด
เหตุตามมาตรา 255 (2) คำขอตามมาตรา 254 (2)
(2) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 254 (2) 1.ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำ
ต้องให้เป�นที่พอใจของศาลว่า ต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญาหรือการกระทำที่ถูก
(ก) จำเลยตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่ง ฟ้องร้อง
การละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง 2.ให้ศาลมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหาย
(ข) โจทก์จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไป ที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลย
เนื่องจากการกระทำของจำเลย 3.ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือ
(ค) ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้นมี จำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือมี
พฤติการณ์ว่าจะมีการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบ คำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่ง
สลายหรือโอนไปยังผู้อื่น หรือ ทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่ง
(ง) มีเหตุตาม (1) (ก) หรือ (ข) เป�นอย่างอื่น
ฎ.6749/2537 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยเข้ากรีดยางพาราในที่พิพาทด้วย
ดังนั้น การขอให้ห้ามจำเลยกรีดยางพาราในที่พิพาทก่อนศาลมีคำพิพากษาจึงเป�นการห้ามมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือ
กระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2)
ฎ.7221/2544 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนกำแพงซึ่งจำเลยได้ก่อสร้างป�ดทางภาระจำยอมอันเป�นการละเมิด
ต่อสิทธิของโจทก์ในการใช้ทางภาระจำยอมเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์
ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยรื้อถอนกำแพงพิพาทออกไปก่อน เพื่อโจทก์จะได้ใช้ทางภาระจำยอมได้นั้น จึงเป�น
การขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องดังกล่าว
ตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2) กรณีตามคำร้องมีเหตุที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อ
คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ได้ และเมื่อคดีปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป�นเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ได้ก่อสร้างกำแพงป�ดทางภาระ
จำยอม ทำให้โจทก์ไม่สามารถผ่านเข้าออกที่ดินของโจทก์ซึ่งเป�นสามยทรัพย์ได้โดยสะดวก เช่นนี้กรณีมีเหตุสมควรและ
เพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองที่โจทก์ขอมาใช้บังคับตามมาตรา 255 เฉพาะบริเวณที่ติดกับที่ดินของโจทก์ได้
ศึกษาเพิ่มเติมฎ.3221/2514, 7140/2547, 7024/2546, 768/2520

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 5
กรณีตามมาตรา 254 (3) ประกอบมาตรา 255 (3) เป�นคำขอฝ่ายเดียวที่ไม่เคร่งครัด
เหตุตามมาตรา 255 (3) คำขอตามมาตรา 254 (3)
(3) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 254 (3) (3) ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ
ต้องให้เป�นที่พอใจของศาลว่า บุ ค คลอื ่ น ผู ้ ม ี อ ำนาจหน้ า ที ่ ต ามกฎหมาย ระงั บ การจด
(ก) เป�นที่เกรงว่าจำเลยจะดำเนินการให้มีการจดทะเบียน ทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิก
แก้ ไ ขเปลี ่ ย นแปลงทางทะเบี ย น หรื อ เพิ ก ถอนการจด ถอนการจดทะเบี ย นที ่ เ กี ่ ย วกั บ ทรั พ ย์ ส ิ น ที ่ พ ิ พ าทหรื อ
ทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย ทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง
หรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ซึ่งการดำเนินการ ไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สดุ หรือศาลจะมีคำสั่งเป�นอย่าง
ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อื่น ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่
(ข) มีเหตุตาม (1) (ข) เกี่ยวข้อง
ฎ.4000/2557 คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์หมายแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดี
ระงับการทำนิติกรรม และการบังคับคดีใด ๆ เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 103 และเลขที่ 106 ไว้จนกว่า
คดีถึงที่สุด มิใช่เป�นการขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 เพราะมิได้ขอให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวาง
ศาลหรือต่อบุคคลภายนอกหรือให้ตั้งผู้จัดการหรือรักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท แต่เป�นการขอคุ้มครอง
ชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3)

อนุญาตหรือไม่เป�นดุลพินิจ แม้คำขอจะต้องด้วยหลักเกณฑ์ ศาลยังคงมีดุลพินจิ ที่จะไม่อนุญาตก็ได้


Ex 1.กรณีข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าที่ดินพิพาทเป�นของโจทก์หรือจำเลย
ฎ.2149/2516 โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าเป�นที่ของจำเลย ขอให้ห้ามโจทก์เกี่ยวข้อง เป�นกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการครอบครองที่
พิพาท คู่ความยังโต้แย้งฟ้องและฟ้องแย้งขอบังคับมิให้อีกฝ่ายหนึ่งเกี่ยวข้อง และอยู่ระหว่างสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริงนี้อยู่ จึงยังไม่มีเหตุสมควร และไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามคำขอของโจทก์ ที่ขอให้ศาลสั่งห้าม
จำเลยและบริวารขัดขวางการครอบครองของโจทก์อ้างว่าเป�นการกระทำซ้ำในเรื่องที่ถูกฟ้องไว้ก่อนมีคำพิพากษาตามป.วิ.
แพ่ง มาตรา 254 มาใช้ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ได้โดยไม่จำต้องไต่สวนพยานของโจทก์ก่อน
Ex 2.กรณีข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้ว (ฎ.2926/2559)
Ex 3.โจทก์ยื่นคำขอล่าช้าเกินสมควร
ฎ.24/2540 โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป�นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทห้ามจำเลยทั้งสาม
เกี่ยวข้อง กับให้จำเลยทั้งสามออกเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าที่ดิน
พิพาทอยู่ในเขตทุ่งทำเลเลี้ยงสัตว์เป�นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์ไม่มีสิทธิ
ครอบครอง ขอให้ขับไล่โจทก์ออกไป คดีจึงมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป�นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และโจทก์มีสิทธิ
ครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาโจทก์เป�นผู้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่จำเลย
ทั้งสามใช้ให้ ห.จ.ก.ค.เข้าไปป�กป้ายโฆษณาไถปรับพื้นดินทำการก่อสร้างสวน และวิทยาลัยในที่ดินพิพาท ย่อมอาจ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามมิให้กระทำการใด ๆในที่ดินพิพาทได้
ตามป.วิ.พ. มาตรา 254(2) แต่ปรากฏว่าโจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาล หลังจากที่
จำเลยทั้งสามได้เข้าดำเนินการก่อสร้างในที่ดินพิพาทแล้วเป�นเวลานานถึง 5 เดือนเศษ การยื่นคำขอของโจทก์จึง
ล่วงเลยเวลาอันสมควร ทั้งหากจะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ก็ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้ง
สามเช่นเดียวกัน ตามพฤติการณ์เช่นนี้จึงยังไม่สมควรที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) มา
ใช้แก่จำเลยทั้งสาม (ศึกษาเพิ่มเติมฎ.5273/2546)
ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor
อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 6
Ex 4.หากศาลอนุญาตย่อมมีผลเป�นการงดการบังคับคดีในคดีอื่นซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว
จำเลยที่ 2 (ผู้จะซื้อ,เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) จำเลยที่ 1 (ภริยา) โจทก์ (สามี)
ฎ.200/2539 คดีก่อนที่จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป�นบุคคลภายนอก (สามีของจำเลย
ที่ 1) แต่การที่โจทก์ขอให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาท
ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมมีผลเป�นการให้งดการบังคับคดีในคดีก่อนซึ่งคดีได้ถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 2
ซึ่งเป�นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีให้เป�นไปตามคำพิพากษาได้ หากจำเลยที่ 2 บังคับคดีให้เป�นที่
เสียหายแก่โจทก์อย่างไร ก็เป�นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นขอใช้วิธีการ
ชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อให้มีผลห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการบังคับคดีในคดีดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากจำเลยที่
2 บังคับคดีในคดีก่อนรับโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโอนต่อไปยังบุคคลภายนอกอาจ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยห้ามมิให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดิน
ดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ แม้โจทก์จะเป�นสามีของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีสิทธิขอกันส่วนของโจทก์ได้ตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 287
ก็ตาม (ป�จจุบันดูมาตรา 322) แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้โจทก์จำต้องใช้สิทธิขอกันส่วนแต่อย่างเดียว
Ex 5. โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์
ฎ.5509/2539 การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้า
พนักงานก็เป�นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดย
ห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป
Ex 6.กรณีข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่ากรรมการบริษัทปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
โจทก์ (ผู้ถือหุน้ ) จำเลย (บริษัท)
ก + ส. (กรรมการ)
ฎ.7023/2561 โจทก์ (ผู้ถือหุ้น) ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยนำมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นไปใช้
เพื่อเบิกเงินและห้ามจำเลยจ่ายค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในคดีความต่าง ๆ แทน ก. และ ส. ไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะ
ถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป�นอย่างอื่นหรือมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร เนื่องจาก ก. และ ส. ซึ่งเป�นกรรมการของบริษัทจำเลย
ถูกโจทก์และบุคคลอื่นซึ่งเป�นผู้ถือหุ้นของจำเลยฟ้องร้องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการของบริษัทจำเลยหลายคดีทั้ง
คดีแพ่งและคดีอาญา ทำให้ ก. และ ส. ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป�นส่วนตัวในการต่อสู้คดีจำนวนมาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจึงมีมติให้
บริษัทจำเลยออกค่าใช้จ่ายในคดีความของกรรมการของบริษัทให้กรรมการไปก่อน หากผลคดีสิ้นสุดออกมาอย่างไร ก็ให้
บริษัทไล่เบี้ยเอากับผู้กระทำความผิดต่อบริษัทต่อไป ซึ่งมติดังกล่าวเป�นไปเพื่อแบ่งเบาภาระของกรรมการของบริษัทจำเลย
มิให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่กรรมการของบริษัทซึ่งมีเป�นจำนวนมากแต่
ฝ่ายเดียว แต่ทั้งนี้หากผลที่สุดกรรมการของบริษัทดังกล่าวเป�นฝ่ายผิดก็ต้องรับผิดชดใช้ส่วนค่าใช้จ่ายนี้แก่จำเลย (บริษัท)
โดย ก. และ ส. มีความสามารถชดใช้เงินคืนให้จำเลยได้หากเป�นฝ่ายต้องรับผิด แต่หากให้ ก. และ ส. เป�นฝ่ายต้องชำระ
ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีไปเองทั้งที่การถูกฟ้องนั้นเป�นเหตุมาจากการทำหน้าที่กรรมการของบริษัทจำเลยซึ่งยังไม่ชัดเจน
ว่าเป�นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็จะไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น แม้โจทก์จะอ้างว่าเป�นมติ
ที่ไม่ชอบ แต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณายังไม่เป�นที่ยุติ กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราว
ตามคําร้องของโจทก์มาใช้

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 7
ศาลที่มีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่ง
***มาตรา 254 วรรคท้าย ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้
ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
แล้วแต่กรณี คำขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคำขอเช่นว่านี้
1.กรณีขอในศาลชั้นต้น ให้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนและทำคำสั่ง
2.กรณีขอในชั้นอุทธรณ์ ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวน ส่วนอำนาจในการสั่งนั้น
2.1.ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ (สำนวนยังอยู่ที่ศาลชั้นต้น) ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนและ
ทำคำสั่ง แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ไปแล้วก็ตาม (กรณีนี้เป�นข้อยกเว้นของหลักทั่วไป)
***ฎ.2387/2525 โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองฯมาพร้อมอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งคำร้องขอของโจทก์ได้
ตามป.วิ.พ. มาตรา 254 วรรคท้าย การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์สั่งและศาลอุทธรณ์สั่งยกคำร้องจึงไม่ชอบ
2.2.ถ้ า ศาลชั ้ น ต้ น ได้ ส ่ ง สำนวนไปยั ง ศาลอุ ท ธรณ์ (สำนวนอยู ่ ท ี ่ ศ าลอุ ท ธรณ์ ) ศาลอุ ท ธรณ์ ม ี อ ำนาจ
ไต่สวนและสั่ง ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์จะมอบหมายให้ศาลชั้นต้นไต่สวนแทนและส่งมาให้ศาลอุทธรณ์สั่งก็ได้
3.การขอในชั้นฎีกา น่าจะมีหลักการพิจารณาเช่นเดียวกับชั้นอุทธรณ์ (ยังไม่มีในการบรรยาย, ฎีกา)

คำสั่งอนุญาตมีผลเมื่อใดและผลของคำสั่ง
กรณีศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองตามมาตรา 254 (1) ประกอบมาตรา 255 (1)
มาตรา 258 ว.1 คำสั่งศาลซึ่งอนุญ าตตามคำขอที ่ได้ ยื ่ น ตาม 1.จำเลยทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก
มาตรา 254 (1) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันทีแล้วแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลย 2.ก่อนแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ
ทราบโดยไม่ชักช้า แต่จะใช้บังคับบุคคลภายนอกซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอน 3.บุคคลภายนอกซึ่งพิสูจน์ไ ด้ว่ าได้ รั บ
สุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบมิได้ โอนสุจริตและเสียค่าตอบแทน
Ex.ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวฯตามคำขอของโจทก์ โดยให้ยึดรถยนต์พิพาท ก่อนศาลแจ้ง
คำสั่งให้จำเลยทราบ จำเลยยกรถยนต์คันนั้นให้แก่นายดำโดยนายดำไม่ทราบคำสั่ง นายดำอ้างสิทธิในรถยนต์คันนั้นขึ้น
ต่อสู้ใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้เพราะนายดำมิได้เสียค่าตอบแทน (ผช.ใหญ่ 48/1,
เนติ 74 ที่ดิน)
กรณีศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองตามมาตรา 254 (2)
มาตรา 258 ว.2 คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่น มาตรา 258 ทวิ ว.1 การที่จำเลยได้ก่อให้เกิด โอน หรือ
ตามมาตรา 254 (2) นั ้ น ให้ บ ั ง คั บ จำเลยได้ ท ั น ที เปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของ
ถึงแม้ว่าจำเลยจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นก็ ต าม จำเลยภายหลังที่คำสั่งของศาลที่ห้ามโอน ขาย ยักย้าย หรือ
เว้ น แต่ ศ าลจะได้ พ ิ เ คราะห์ พ ฤติ ก ารณ์ แ ห่ ง คดี แ ล้ ว จำหน่าย ซึ่งออกตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา 254 (2) มีผล
เห็นสมควรให้คำสั่งมีผลบังคับเมื่อจำเลยได้รับแจ้งคำสั่ง ใช้บังคับแล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่โจทก์หรือเจ้าพนักงาน
เช่นว่านั้นแล้ว บังคับคดีได้ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่า
จำนวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการ
บังคับคดี และจำเลยได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกิน
จำนวนนั้นก็ตาม

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 8
กรณีศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองตามมาตรา 254 (3)
มาตรา 258 ว.3 คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ มาตรา 258 ทวิ ว.2 การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่
ยื่นตามมาตรา 254 (3) ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาท หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียน
หรือทรัพย์สินของจำเลยนั้น ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบี ยน หรือเพิกถอนการจด
ถึงแม้ว่านายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคล ทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย
อื่นผู้มีอำนาจหน้ าที่ ตามกฎหมายจะยัง มิไ ด้ร ั บ แจ้ ง ภายหลังที่คำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา
คำสั ่ ง เช่ น ว่ า นั ้ น ก็ ต าม เว้ น แต่ ศ าลจะได้ พ ิ เ คราะห์ 254 (3) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นหาอาจใช้ยันแก่โจทก์หรือเจ้า
พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้คำสั่งมีผลบังคับ พนักงานบังคับคดีได้ไม่ เว้นแต่ผู้รับโอนจะพิสูจน์ได้ว่าได้รับ
เมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว โอนโดยสุ จ ริ ต และเสี ย ค่ า ตอบแทนก่ อ นที ่ น ายทะเบี ย น
พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที ่ หรื อ บุ ค คลอื ่ น ผู ้ มี อ ำนาจหน้ า ที ่ ต าม
กฎหมายจะได้รับแจ้งคำสั่ง
ฎ.12732/2557 คดีนี้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งห้ามชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) โดยให้นายทะเบียน
ระงับการจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป�นทรัพย์สินของจำเลย ...เมื่อหมายแจ้งคำสั่งห้ามระบุให้นายทะเบียน
ระงับการจดทะเบียนนับแต่วันได้รับหมาย ดังนั้น คำสั่งห้ามจึงยังไม่มีผลบังคับทันทีที่มีคำสั่ง แต่จะมีผลตามที่ระบุไว้
ในหมาย การส่ ง หมายแจ้ ง คำสั ่ ง ห้ า มทำโดยวิ ธี ป � ด คำสั ่ ง ห้ า ม จึ ง มี ผ ลในวั น ที ่ 3 มิ ถ ุ น ายน 2550
ป.วิ.พ. มาตรา 258 ทวิ วรรคสอง บัญญัติผลของคำสั่งห้ามว่า การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคล
อื่นผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่ง
ของศาลซึ่งออกตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา 254 (3) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นหาอาจใช้ยันแก่โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี
ได้ไม่ แต่ข้อเท็จจริงจำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 26 ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2550
ก่อนคำสั่งห้ามจะมีผลบังคับ จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 26 ซึ่งเป�นบุคคลภายนอกจึงรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยไม่ได้
ฝ่าฝ�นคำสั่งห้าม การโอนดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ได้

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 9
การสิ้นผลของคำสั่ง (มาตรา 260***ใช้กับมาตรา 264 ด้วย)
กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่าง
การพิจารณา ให้แยกพิจารณาจากผลแห่งคดี
1. ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้โจทก์ชนะคดีต้องเป�นไปตามที่มาตรา 260 (2) กำหนด คือ คำสั่งของศาลเกี่ยวกับ
วิธีการชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป�นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล (ผช.ใหญ่ 45, อช.ใหญ่ 59)
2.ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้จำเลยเป�นฝ่ายชนะคดีไม่ว่าจะเต็มข้อหาหรือบางส่วนต้องเป�นไปตามที่มาตรา 260 (1)
กำหนด คือ โดยหลัก ให้ถือว่าคำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวในส่วนที่จำเลยชนะคดีนั้นเป�นอันยกเลิกเมื่อพ้น
กำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง (กฎหมายเก่า มีผลเป�นการยกเลิกทันที)
ข้อยกเว้นตามตัวบท แต่ถ้าโจทก์ยื่นคำขอฝ่ายเดียว (ไม่เคร่งครัด) ต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
คือ ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แสดงเหตุว่า 1.โจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษา
หรือคำสั่งนั้น และ 2.มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผลใช้บังคับต่อไป ศาลชั้นต้นชอบที่จะมี
คำสั่งอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวต่อไปได้
กลับกัน หากโจทก์มิได้ยื่นคำขอดังกล่าว คำสั่งเรื่องวิธีการชั่วคราวในศาลชั้นต้นย่อมเป�นอันยกเลิกไป
ฎ.3504/2541 (ผู้พิพากษาสนามใหญ่ป� 2548) คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันนำ น.ส.3 มาเป�น
หลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตามป.วิ.พ.
มาตรา 265,259,274 เป�นคำสั่งที่กำหนดใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้
จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับ
แต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการ
ชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผลใช้บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันจึงเป�นอันยกเลิกตาม
มาตรา 260 (1) ผู้ค้ำประกันจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไปและศาลต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกัน
ด้วย และเมื่อหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป�นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้
อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตามมาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 (ป�จจุบันดูมาตรา 252)
ฎ.6619/2545 (ผช.59) โจทก์และจำเลยตกลงกันให้ศาลชั้นต้นถอนคำสั่งอันเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อน
พิพากษา โดยจำเลยเสนอหนังสือค้ำประกันของธนาคารซึ่งเป�นบุคคลภายนอกยอมผูกพันเพื่อการชำระหนี้ตามคำ
พิพากษาโดยเงื่อนไขว่าหากคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยเป�นฝ่ายแพ้คดี ธนาคารจึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือค้ำประกัน
ดังกล่าวตามป.วิ.พ. มาตรา 366 (ป�จจุบัน) ไม่อาจถือว่าการเข้าค้ำประกันของธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาเป�น
คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวฯอันจะมีผลยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีตามม.260 (1)
ข้อสังเกต ที่ผลทางกฎหมายในคำพิพากษาศาลฎีกาทั้ง 2 ฉบับมีผลแตกต่างกันเพราะมีข้อเท็จจริงแตกต่างกัน
กล่าวคือ ฎ.3504/2541 เป�นกรณีค้ำประกันในวิธีการชั่วคราวจึงยกเลิกไป แต่ตามฎ.6619/2545 เป�นกรณีการค้ำประกัน
เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าคดีจะถึงที่สุดจึงไม่ยกเลิกไป
ฎ.7105/2539 ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาโดยให้จำเลยขนคนงานและสิ่งของ
นอกเหนือจากที่ตกเป�นของโจทก์ออกไปจากบริเวณที่กอ่ สร้างแล้วในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ จำเลยได้ขน
ย้ายคนงานและสิ่งของออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างตามคำสั่งศาลชั้นต้นและโจทก์ได้เข้าทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จ
และได้แบ่งแยกโฉนดโอนขายให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว ดังนี้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อม
สิ้นผลบังคับไปโดยสภาพ กรณีจึงไม่มีความจำเป�นที่จะต้องพิจารณาเพิกถอนคำสั่งคุม้ ครองชั่วคราวของศาลชั้นต้นตามฎีกา
ของจำเลยอีก

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 10

โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีฉุกเฉิน
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง มาตรา 266, 267, 268, 269, 270 (ไม่ใช้กับมาตรา 264)
หลักเกณฑ์การขอ (มาตรา 266)
***มาตรา 266 ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเมื่อโจทก์ยื่นคำขอตามมาตรา 254 โจทก์จะยื่นคำร้องรวมไปด้วย
เพื่อให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายตามที่ขอโดยไม่ชักช้าก็ได้ (ยื่น 2 คำร้อง พร้อมกัน)
เมื่อได้ยื่นคำร้องเช่นว่ามานี้ วิธีพจิ ารณาและชี้ขาดคำขอนั้น ให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 267 มาตรา
268 และมาตรา 269

ผลของการขอกรณีฉุกเฉิน
1.ผลต่อศาล (มาตรา 267 วรรคหนึ่ง)
***มาตรา 267 ว.1 ให้ ศ าลพิ จารณาคำขอเป� น การด่ ว น ถ้ า เป� น ที ่ พ อใจจากคำแถลงของโจทก์ ห รื อ
พยานหลักฐานที่โจทก์ได้นำมาสืบ หรือที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่าคดีนั้นเป�นคดีมีเหตุฉุกเฉินและคำขอนั้นมีเหตุผล
สมควรอันแท้จริง ให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายตามที่ขอภายในขอบเขตและเงื่อนไขไปตามที่เห็นจำเป�นทันที ถ้าศาลมี
คำสั่งให้ยกคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป�นที่สุด
กรณีโจทก์ยื่นคำขอฉุกเฉิน แต่ศาลมิได้นัดพิจารณาคำขอเป�นการด่วน เช่น นัดไต่สวนในอีก 4 ถึง 7 วันนับแต่
วันยื่นคำขอ หากต่อมาศาลมีคำสัง่ ให้ยกคำขอดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวไม่เป�นที่สุด (ฎ.1509/2514, เนติ 63, 4554/2536)
2.ผลต่อจำเลย (มาตรา 267 วรรคสอง)
***มาตรา 267 วรรคสอง จำเลยอาจยื่นคำขอโดยพลัน ให้ศาลยกเลิกคำสั่งหรือหมายนั้นเสีย และให้นำ
บทบัญญัติแห่งวรรคก่อนมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำขอเช่นว่านี้อาจทำเป�นคำขอฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาล ถ้า
ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอคำสั่งเช่นว่านี้ให้เป�นที่สุด
1) กรณีศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวฯกรณีฉุกเฉิน จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอฝ่ายเดียวให้ศาลยกเลิกคำสั่งหรือ
หมายนั้นได้ตามมาตรา 267 ว.2 อย่างไรก็ตาม คำขอฝ่ายเดียวดังกล่าวมิใช่คำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด (ดูมาตรา 21 (3)
ประกอบ) ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจ (ดุลพินิจ) ที่จะฟ�งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นๆก่อนออกคำสั่งหรือไม่ก็ได้
ฎ.61/2525 ที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำเนาคำร้องขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉิน
ของจำเลยให้โจทก์ และไม่ให้โอกาสโจทก์คัดค้านคำร้องของจำเลย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
2) ถ้ า ศาลมี ค ำสั ่ งให้ย กเลิ ก คำสั ่ งคุ ้ มครองชั ่ ว คราวกรณี ฉุ ก เฉิ นตามคำขอของจำเลย คำสั ่ ง เช่ นว่า นี้ให้
เป�นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งยกเลิกดังกล่าว ตามมาตรา 267 วรรคสองตอนท้าย
ประเด็น กรณีจำเลยยื่นคำขอตามมาตรา 267 วรรคสอง หากต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
กรณีฉุกเฉินตามคำขอของจำเลย คำสั่งของศาลย่อมเป�นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้
พิจารณาคำขอของจำเลยในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่ (เนติ 67 ฎ.3529/39 )
ประเด็น กรณีจำเลยยื่นคำขอตามมาตรา 267 วรรคสอง หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอของจำเลย คำสั่ง
ดังกล่าวยังไม่เป�นที่สุด จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 228 (2) โดยไม่ต้องโต้แย้ง หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษา
กลับให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณีฉกุ เฉินของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ย่อมเป�นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิ
ขออนุญาตฎีกา (ฎ.1112-1115/2536, 2866/2550, 407/2519, 4343/2536, 1142/2536)

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 11

การขอเพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือหมาย
หลักการ เมื่อศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา 254 จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 228 (2) หรือจะ
ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 261, 262 อย่างใดก็ได้ (ผช.ใหญ่ 62, คำสั่งคำร้องศาลฎีกา 70/2550)
กรณีที่ขอได้ (มาตรา 261,262)
1.วิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 254 ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอนั สมควรประการอื่นตามมาตรา 261
2.ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ทศี่ าลอาศัยเป�นหลักในการมีคำสัง่ อนุญาตเปลี่ยนแปลงไปตามมาตรา 262
3.ศาลเห็นสมควรเองตามมาตรา 261 วรรคสาม และมาตรา 262 วรรคหนึ่ง
กรณีที่ 1 วิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 254 ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น (ม.261)
*ม.261 ว.1 จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัด หรือคำสั่งตามมาตรา 254 (1) (2) หรือ (3) หรือ
จะต้องเสียหายเพราะหมายยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่ง หรือ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึด หรือหมายอายัด ซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้ แต่ถ้าบุคคลภายนอกเช่นว่านั้นขอให้
ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคัดค้านคำสั่งอายัดให้นำมาตรา 323 หรือมาตรา 325 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ว.3 ถ้าปรากฏว่าวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 254 นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลจะมี
คำสั่งอนุญาตตามคำขอหรือมีคำสั่งอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ได้ ทั้งนี้ ศาลจะ
กำหนดให้ผู้ขอวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร...
1) จำเลยหรือบุคคลภายนอกจะฟ้องเป�นคดีใหม่ไม่ได้ (ฎ.2624/2543 เนติ 69)
ฎ.2624/2543 (ข้อสอบเนติ สมัย 69) บุคคลภายนอกซึ่งอ้างว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวในคดี
เดิม หากประสงค์จะขอให้ศาลถอนหมายห้ามชั่วคราวก็ชอบที่จะยื่นคำขอในคดีเดิมตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 261 วรรคหนึ่ง
ไม่อาจฟ้องขอให้หมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวไม่มีผลบังคับเป�นคดีใหม่ได้
2) คดีที่มีจำเลยหลายคน จำเลยที่มีสิทธิขอต้องเป�นจำเลยคนที่ถกู บังคับตามวิธกี ารในมาตรา 254 เท่านั้น
ส่วนจำเลยอื่นที่มิได้ถูกบังคับตามวิธีการดังกล่าวไม่มีสิทธิขอ (เทียบเคียง ฎ.692/2544 ข้อสอบสมัย 59)
3) การยื่นคำขอตามมาตรา 261 นั้นในวรรคสามกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องปรากฏว่าวิธีการที่กำหนดไว้ตาม
มาตรา 254 นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ดังนั้น หากเป�นกรณีคำฟ้องไม่มีมูล จำเลยหรือ
บุคคลภายนอกจะยื่นคำขอตามม.261 ไม่ได้ (ฎ.4426/2543)
4) ม. 261 ไม่ใช้กบั ม.264 (แต่ม.260, 262 ใช้กับมาตรา 264)
กรณีที่ 2 ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป�นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตเปลี่ยนแปลงไป (ม.262)
***มาตรา 262 ถ้าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป�นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการ
ชั่วคราวอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อจำเลยหรือบุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา 261 มีคำขอศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาจะมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการเช่นว่านั้นเสียก็ได้
ว.2 ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาด
อุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอ
ตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นและให้เป�นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งคำขอเช่นว่านั้น (เหมือน ม.254 ว.2)
1) มาตรา 262 นำไปใช้กับมาตรา 264
2) กรณีตามมาตรา 262 นัน้ เป็ นกรณีท่ศี าลได้มคี าํ สั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวตามมาตรา 254 โดยชอบ แต่ต่อมา
ภายหลังปรากฏว่า ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ท่ศี าลอาศัยเป็ นหลักในการมีคาํ สั่งอนุญาตตามคําขอในวิธีการชั่วคราวอย่าง
ใดอย่างหนึง่ นัน้ เปลี่ยนแปลงไป
ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor
อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 12
Ex. โจทก์ยื่นคำขอตามมาตรา 254 (1) โดยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์เพียงอย่างเดียวคือ โฉนดที่ดินเลขที่ 111 โจทก์
เกรงว่าจำเลยจะโอนขาย ทำให้โจทก์บังคับคดีไม่ได้ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยึดที่ดินดังกล่าวไว้ชั่วคราว ศาลไต่สวนมีคำสั่งตาม
คำขอของโจทก์ หลังจากนั้นปรากฏว่าจำเลยถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 จำนวน 30 ล้าน หรือได้รับมรดกจำนวนมาก ทำให้
จำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์สามารถบังคับคดีได้ จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งยึดชั่วคราวได้
***3) กรณีคดีนั้นอยู่ในระหว่างระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือฎีกา หากปรากฏว่า ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาล
อาศัยเป�นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการชั่วคราวอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเปลี่ ยนแปลงไป จำเลยหรือ
บุคคลภายนอกมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นได้ ส่วนอำนาจสั่งเป�นของศาลใดนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้ (ม.262 ว.2)
2.1.) กรณียื่นคำขอขณะที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่ง แม้จะยื่นคำขอหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์
3.2.) กรณียื่นคำขอหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำขอดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำขอดังกล่าวไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่งแล้วแต่กรณี
จำเลยขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (มาตรา 263 ไม่ใช้กับมาตรา 264)
***มาตรา 263 ว.1 ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการชั่วคราวตามลักษณะนี้ จำเลยซึ่งต้อง
ถูกบังคับโดยวิธีการนั้นอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในสามสิบวันนับแต่วนั ที่มีคำพิพากษาของศาลที่มีคำสั่งตาม
วิธีการชัว่ คราวนั้น ขอให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ในกรณีดงั ต่อไปนี้
(1) คดีนั้นศาลตัดสินให้โจทก์เป�นฝ่ายแพ้ และปรากฏว่าศาลมีคำสัง่ โดยมีความเห็นหลงไปว่าสิทธิเรียกร้องของ
ผู้ขอมีมูล โดยความผิดหรือเลินเล่อของผูข้ อ
(2) ไม่ว่าคดีนนั้ ศาลจะชี้ขาดตัดสินให้โจทก์ชนะหรือแพ้คดี ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่า
วิธีการเช่นว่านี้มีเหตุผลเพียงพอ โดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ
ว.2 เมื่อได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป�นสำนวนต่างหากจากคดีเดิม และ
เมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วเห็นว่าคำขอนั้นรับฟ�งได้ก็ให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยได้ตาม
จำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าศาลที่มีคำสั่งตามวิธีการชั่วคราวเป�นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นทำการไต่
สวนแล้ว ให้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี เป�นผู้สั่งคำขอนั้น ถ้าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลมีอำนาจบังคับโจทก์เสมือนหนึ่งว่าเป�นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนตาม (1) ให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์แพ้คดี
ประเด็น จำเลยจะนำเหตุดังกล่าวไปยื่นฟ้องคดีใหม่ก็ได้ (เนติ สมัย 68)
ประเด็น จำเลยจะใช้วิธฟี ้องแย้งมาในคำให้การไม่ได้
*ฎ.3319/2542 (ผู้พิพากษาสนามใหญ่ป� 58) ฟ้องแย้งของจำเลยสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ใช้สิทธิตาม
บทบัญญัติของ ป.วิ.พ. ในเรื่องวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีข้อกำหนดให้ผู้ขอใช้วิธีการชั่วคราวซึ่ง
ใช้สิทธิโดยมิชอบต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว ดังนั้น หากการใช้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเป�นไปโดยมิชอบ ก็ต้อง
บังคับตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. ในลักษณะดังกล่าว ฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์รู้ว่าทางพิพาทไม่ตกอยู่ในภาร
จำยอม แต่ยังฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลจนทำให้จำเลยเสียหาย ต้องรื้อรั้วและยอมให้
บุคคลอื่นใช้ทางพิพาท เป�นการกล่าวอ้างว่าเหตุที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอคุ้มครองชัว่ คราวของโจทก์เป�นความผิดของ
โจทก์ซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 (1) แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อศาลตัดสินให้โจทก์เป�นฝ่ายแพ้คดี ขณะจำเลยยื่นฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นยัง
ไม่ได้มีคำพิพากษาทั้งยังไม่แน่นอนว่าศาลชั้นต้นจะตัดสินให้โจทก์เป�นฝ่ายแพ้คดี สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของ
จำเลยยังไม่เกิด จำเลยยังไม่มีสิทธิฟ้องร้อง จึงไม่อาจรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาได้ (ฎ.1002/29 แนวเดียวกัน)

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 13

คู่ความขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา
***มาตรา 264 ว.1 นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคำขอต่อศาล
เพื่อให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เช่น
ให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่
ทำการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก
ว.2 คำขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262
1.การขอตามม.264 สามารถขอในคดีมโนสาเร่ได้ด้วย เพราะกฎหมายมิได้ห้าม (เปรียบเทียบกับมาตรา 254)
2.การขอตามม.264 จะขอในกรณีฉุกเฉินไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ขอได้ เนื่องจากม.266 บัญญัติให้
ขอได้เฉพาะกรณีตามม.254 ประกอบกับม.264 ว.2 มิได้บัญญัติให้นำม.266 ถึง 270 มาใช้บังคับ (คร.1930/2551)

1.คู่ความมีสิทธิขอ
หลักการ คู่ความฝ่ายใดจะร้องขอก็ได้ (ฎ.1463/2515 เนติ 56, 62)
Ex 1. จำเลยมีสิทธิขอได้โดยไม่ต้องฟ้องแย้งไว้ก่อน (ฎ.7340/2542)
Ex 2. ผู้ยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีไม่มีข้อพิพาท จะมีสิทธิขอได้ต่อเมื่อศาลมีคำสั่งให้รับคำคัดค้านแล้ว
ฎ.7667/2551 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาเป�นคู่ความเพื่อต่อสู้คดีกับผู้ร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำคัดค้าน
ซึ่งมีผลเป�นการไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้ามาเป�นคู่ความ แม้ผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำคัดค้าน
ดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ดังนั้นในขณะยื่นคำร้องขอ
คุ้มครองประโยชน์ตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ผู้คัดค้านมิใช่คู่ความ จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ฯ
ประเด็น ผู้ร้องสอดย่อมมีสิทธิขอได้ต่อเมื่อศาลอนุญาตให้เข้ามาเป�นคู่ความในคดีแล้ว (ฎ.3947/40, 4741/33)
ฎ.3947/2540 ผู้ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม
คำพิพากษาตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ต้องเป�นคู่ความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองนั้น ผู้ร้องสอดเพียงแต่ย่นื คำร้อง
ขอเข้ามาเป�นคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องสอดเท่ากับไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป�นคู่ความ แม้ผู้ร้อง
สอดจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องสอดก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264
2.ต้องยื่นคำขอต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีในขณะนั้น (ขอได้ทุกชัน้ ศาล)
1) มาตรา 264 ขอได้ทุกชั้นศาล แต่ต้องขอในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดศาลหนึ่ง (เนติ73)
Ex 1.ศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ขอได้ (ฎ.421/2524) Ex 2. ขอหลังจากคดีถงึ ที่สุดไม่ได้ (ฎ.5662-5663/2545)
Ex 3.ยื่นคำขอโดยที่ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์ ขอไม่ได้ Ex 4.ยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ขอได้ ?
ฎ.8876/2551 คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป�นคำ
ร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตามป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตามม.231 (ผู้ร้องเป�นบุคคลภายนอกที่
อ้างว่าเป�นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึด) เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่
ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป�นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี
การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264
ฎ.4457/2531 ผู้ร้อง (ขัดทรัพย์) ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่ามิได้เจตนาทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งและยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์ ดังนี้ คดีของผู้ร้องยังไม่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของ
ศาลอุทธรณ์ จึงยังไม่มีเหตุจะพิจารณาให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องในระหว่างอุทธรณ์

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 14
2) อำนาจสั่งคำร้องตามมาตรา 264 ย่อมเป�นไปตามหลักทั่วไป (เทียบมาตรา 254 ว.2, 262 ว.2)
1.ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่ง (ฎ.225/2526 เนติ 54,69)
2.ยื่นคำขอหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ไว้แล้ว อำนาจสั่งคำขอเป�นของศาลอุทธรณ์ (ฎ.1578/2514)
3.ยื่นคำขอหลังจากศาลฎีกาสั่งอนุญาตและสั่งรับฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคำขอ

3.ต้องขอให้ศาลมีคำสัง่ กำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการ
พิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา
หลักการที่ 1 คู่ความจะมีคำขอตามมาตรา 264 นอกเหนือจากคำฟ้องหรือคำขอท้ายฟ้องหรือคำให้การหรือประเด็น
ข้อพิพาทแห่งคดีไม่ได้ (หลักการเดียวกับคำขอตามมาตรา 254) โดยคำพิพากษาศาลฎีกาหลายฉบับอธิบายว่า การร้องขอ
คุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 264 จะต้องเป�นการขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน
สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้นได้รับความคุ้มครองไปจนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือเพื่อ
บังคับตามคำพิพากษา
ตัวอย่างกรณีโจทก์ขอนอกเรื่อง (นอกเหนือจากคำฟ้องหรือคำขอท้ายฟ้อง)
1) กรณีโจทก์ฟ้องหรือจำเลยฟ้องแย้งให้ชำระเงิน (หนี้เงิน) ประเภทหนึ่ง จะขอให้อีกฝ่ายนำเงินอื่นๆหรือทรัพย์สินมา
วางศาล หรือจะขอให้โจทก์หาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลไม่ได้ (ฎ.1360/2550,2580/2527 (เนติ 62), 4592/2539)
ฎ.610/2543 (ผู้พิพากษาสนามใหญ่ป� 59) โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย หากโจทก์ชนะคดีโจทก์
จะได้เงินค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเช่าอาคารบนที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ไม่มี
ประเด็นข้อพิพาทว่า ค่าเช่าอาคารบนที่ดินพิพาทควรจะเป�นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่โจทก์จะ
ขอให้ห้ามจำเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและดูแลกิจการแทน
2) ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แต่ไปขอให้ศาลกำหนดวิธีการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไม่ได้
ฎ.5722/2551 คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้คัดค้านที่ขอให้อายัดทรัพย์มรดกและห้ามผู้ร้องทำนิติกรรมใด
เกี่ยวกับทรัพย์มรดกจึงไม่เกี่ยวกับประโยชน์ของผู้คัดค้านที่มีอยู่ในคดี
ฎ.2432-2433/2566 คำขอของผู ้ ค ั ด ค้ า นในคดี น ี ้ ใ นระหว่ า งพิ จ ารณาคดี ข องศาลชั ้ น ต้ น ให้ ศ าลมี ค ำสั ่ ง ให้
ผู้ครอบครองโฉนดส่งโฉนดมาเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและใช้เป�นพยานหลักฐานในคดีอื่น รวมทั้งเพื่อนำออกขาย ล้วนเป�นคำขอ
เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ยื่นคำขอเอง เมื่อเป�นคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ยื่นคำขอซึ่งเป�นคู่ความในคดี ในระหว่าง
พิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสัง่ ยกคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ดังกล่าวจึงเป�นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์
ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (2) คำสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อม
อุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำสั่งเป�นต้นไปตามมาตรา 228 วรรคสอง
การร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น จะต้องเป�นการขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์
อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้พิพากษา
คดีนี้ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดแต่เพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควร
เป�นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกของผู้ตาย ประโยชน์ของคู่ความจึงอยู่ที่ฝ่ายใด
จะได้เป�นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ยังไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือการนำทรัพย์
มรดกไปแสวงหาประโยชน์ การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวกับโฉนดที่ดินให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งให้ผู้
ครอบครองโฉนดส่งโฉนดมาเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและใช้เป�นพยานหลักฐานในคดีอื่น รวมทั้งเพื่อนำออกขาย จึงไม่อยู่ใน
กำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ดังกล่าว (ศึกษาเพิ่มเติม ฎ.10434 -10435/2550, 1125/2551, 545/2534,2820/2539)
ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor
อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 15
ตัวอย่างกรณีจำเลยขอนอกเรื่อง (นอกประเด็นในคำให้การ นอกประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี)
ฎ.1463/2515 (เนติ สมัย 56, 62) โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์เรือน แม้จะปรากฏว่าโจทก์ให้บุคคลอื่น
เช่าเรือนนั้นและได้ค่าเช่าเป�นประโยชน์ตอบแทน จำเลยก็จะร้องขอให้ศาลสั่งให้โจทก์หรือผู้เช่านำเงินค่าเช่ามาวางศาลหา
ได้ไม่ เพราะผลของคดีถ้าจำเลยเป�นฝ่ายชนะศาลก็จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ไปตามคำขอท้ายคำให้การจำเลยเท่านั้น
ไม่มีผลบังคับไปถึงผลประโยชน์อันเป�นค่าเช่าตามที่จำเลยร้องขอคุ้มครองได้ เว้นไว้แต่จำเลยจะได้ฟ้องแย้งขอแสดง
กรรมสิทธิ์เรือนและเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายมาด้วย (*ฎ.3900/2532 เนติ 56, 61 วินิจฉัยแนวเดียวกัน)
หลักการที่ 2 คำขอตามมาตรา 264 กฎหมายได้แต่เพียงยกตัวอย่างไว้เท่านั้น เช่น ให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่
พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก, ให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท, ให้จัดให้
บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก ดังนั้น คู่ความจึงสามารถมีคำขออย่างอื่นได้
ข้อสำคัญ แต่ต้องมิใช่คำขอตามมาตรา 253, 254 และมิใช่คำขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231
Ex.คำขอให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก
ฎ. 940/2516 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง ย่อมขอให้ศาลสั่งกำหนดวิธีการ
คุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา โดยให้จำเลยนำเงินค่าเช่าห้องแถวพิพาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะเสร็จคดีมา
วางศาลได้ เพราะถ้าศาลพิพากษาให้เพิกถอน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเงินค่าเช่าห้องแถวนับแต่วันจดทะเบียนสัญญาให้ มิใช่
ตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้เพิกถอนดังฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ
Ex.คำขอให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท
ฎ.4277/2543 จำเลยเป�นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป�นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยร่วมกับ
บุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจ
ทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยเป�นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จึงเป�นกรณีที่โจทก์มีเหตุสมควรที่จะ
ขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหาร
กิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 และโดยที่โจทก์เป�นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วน
ของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คนให้ร่วมกับจำเลยเป�นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป�นการชั่วคราว
ในระหว่างการพิจารณานั้นนับว่าเหมาะสมแล้ว คำสั่งดังกล่าวเป�นคำสั่งตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้ง
ผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป�นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการ
พิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป�นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จด
ทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้
นั้น ก็เป�นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาท
สามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีป�ญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำขออย่างอื่น
ฎ.7340/2542 คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป�นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป�นทรัพย์สิน
ของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟ�งได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วย
กฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป�นตัวแทนของรัฐไม่ และต้นยูคา
ลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป�นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146
ฉะนั้น หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป�นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่รัฐได้ จึงสมควรที่จะสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟ�นต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป�นการชั่วคราว
ศึกษาเพิ่มเติม ฎ.3801/2536, ฎ.5352/2536, ฎ.5509/2545

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 16
กรณีเป�นคำขอตามมาตรา 253, 254 ไม่ใช่คำขอตามมาตรา 264 เนื่องจากมาตรา 264 วรรคหนึง่ กำหนดว่า
“นอกจากกรณีตามมาตรา 253, 254”
ฎ.4000/2557 คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์หมายแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดีระงับ
การทำนิติกรรมและการบังคับคดีใดๆเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด มิใช่เป�นการขอคุ้มครอง
ประโยชน์ตามป.วิ.พ. มาตรา 264 เพราะมิได้ขอให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางศาลหรือต่อบุคคลภายนอกหรือให้
ตั้งผู้จัดการหรือรักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท แต่เป�นการขอคุ้มครองชัว่ คราวตามมาตรา 254 (3)
4.อนุญาตหรือไม่เป�นดุลพินิจศาล (ฎ.428/2541, 1970/2541, 14800/2551, 12271/2557)
ฎ.428/2541 การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 264 จะต้องเป�นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สินสิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาท
กันในคดีนั้นได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษา
คดีนี้ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป�นประกันการชำระหนี้แก่จำเลยที่ 4 ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะ
ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ จึงเป�นสิทธิที่ให้ความคุ้มครองตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 4 ได้ดีกว่า การที่โจทก์ทั้งสิบห้า
ขอวางเงินต่อศาลเป�นประกันการชำระหนี้แทนที่ดิน การใช้วิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสิบห้าไว้ในระหว่างการ
พิจารณาตามที่โจทก์ทั้งสิบห้ามีคำขอ จึงเป�นการทำให้จำเลยที่ 4 เสียหาย จะกระทำโดยจำเลยที่ 4 มิได้ยินยอมด้วยหาได้
ไม่ จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะคุ้มครองประโยชน์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาตามวิธีการที่เสนอ

5.คำขอต้องบังคับตามมาตรา 21, 25, 227, 228, 260, 262 (มาตรา 264 ว.2)
5.1. คำขอตามมาตรา 264 ต้องบังคับตามมาตรา 21 และมาตรา 25
1) คำขอตามม. 264 ไม่ใช่คำขอฝ่ายเดียว ศาลต้องให้โอกาสคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อน (ม.21 (2))
2) ไต่สวนหรือไม่เป�นดุลพินิจ ตามมาตรา 21 (4) โดยปกติ ถ้าคำขอไม่ครบหลักเกณฑ์ศาลยกคำขอได้เลยโดยไม่
ต้องไต่สวนก่อน แต่ถ้าศาลจะมีคำสั่งอนุญาต ศาลควรจะต้องไต่สวนให้ได้ความว่ามีเหตุเพียงพอจริงๆ
3) ศาลต้องมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าตามมาตรา 25 แต่ถ้าขณะที่คู่ความยื่นคำขอ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีอยู่แล้ว ศาล
จะวินิจฉัยคำขอนั้นไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีก็ได้
5.2.คำขอตามมาตรา 264 ต้องบังคับตามมาตรา 260 ผลของคำสั่งหลังมีคำพิพากษา
มาตรา 260 ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้
สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา
(1) ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้จำเลยเป�นฝ่ายชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือบางส่วนคำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการ
ชั่วคราวในส่วนที่จำเลยชนะคดีนั้น ให้ถือว่าเป�นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือ
คำสั่ง เว้นแต่โจทก์จะได้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าตนประสงค์จะยื่นอุทธรณ์
หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับ
ต่อไปในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอของโจทก์ คำสั่งของศาลให้เป�นที่สุด ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้
วิธีการชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์หรือ
ฎีกาหรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นให้มี
ผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป�นอย่างอื่น
(2) ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้โจทก์เป�นฝ่ายชนะคดี คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธกี ารชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป
เท่าที่จำเป�นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 17
5.3.คำขอตามมาตรา 264 ต้องบังคับตามมาตรา 262
มาตรา 262 ถ้าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป�นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการ
ชั่วคราวอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อจำเลยหรือบุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา 261 มีคำขอศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาจะมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการเช่นว่านั้นเสียก็ได้
ว.2 ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาด
อุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำ
ขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นและให้เป�นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งคำขอเช่นว่านั้น
5.4. คำขอตามมาตรา 264 ต้องบังคับตามมาตรา 227, 228
มาตรา 228 ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
(2) มีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือมีคำสั่งอันเกี่ยว
ด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป
ว.2 คำสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคำสั่งเป�นต้นไป
หมายความว่า คำสั่งตามคำขอมาตรา 264 นั้นเป�นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความใน
ระหว่างการพิจารณา หรือมีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป ซึ่งมาตรา 228 (2) ไม่ถือว่าเป�น
คำสั่งระหว่างพิจารณา จึงสามารถอุทธรณ์ได้ทันที โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ก่อน (ฎ.2672/2525, 1606/2553)
ข้อสำคัญ แต่ถ้าเป�นคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ถือว่าเป�นอำนาจของศาล
เป�นชั้นๆไป เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวแล้ว คู่ความจะฎีกาคำสั่งนั้นอีกไม่ได้ (ฎ.44/2533, 6088/2553)
ฎ.1306/2536 การขอไม่ให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่เป�นการร้องขอคุ้มครอง
ประโยชน์ในระหว่างพิจารณา แต่เป�นการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์อันเป�นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์ เมื่อ
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป�นที่สุด คู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้
มาตราๆอื่น ที่ใช้กับการขอตามมาตรา 254 จะนำมาใช้กับการขอตามมาตรา 264 ไม่ได้ ! ที่สำคัญ เช่น
1.อำนาจสั่งตามมาตรา 254 วรรคสอง
2.การขอไต่สวนฉุกเฉินตามมาตรา 266
3.การขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 263
4.การขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขวิธีการคุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา 261

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 18

กรณีจำเลยเป�นผู้ขอ
ส่วนที่ 1 กรณีจำเลยขอคุ้มครองชั่วคราวในศาลชั้นต้น (มาตรา 253)
*มาตรา 253 วรรคหนึ่ง ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่
อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป�นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม
และค่าใช้จ่าย จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือ
หาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

1.ผู้มีสิทธิขอ = จำเลยและคู่ความที่อยู่ในฐานะจำเลย
1.1.กรณีคำฟ้องทั่วไป จำเลย คือ บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลมาแต่แรก ตามมาตรา 1 (11) ย่อมมีสิทธิขอ
1.2.กรณีฟ้องแย้ง
โจทก์ตามคำฟ้องเดิมมีฐานะเป�นจำเลยในส่วนฟ้องแย้งจึงสามารถขอมาตรา 253 ในส่วนฟ้องแย้งได้
(ผช.ใหญ่ 62 ฎ.6605/2548) และมีสิทธิขอมาตรา 254 ในคำฟ้องเดิมได้
จำเลยตามคำฟ้องเดิมสามารถขอมาตรา 253 ในส่วนของคำฟ้องเดิมได้ และขอ 254 ในฟ้องแย้งได้
2.เหตุแห่งการขอ
เหตุที่ 1 โจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร
และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ (เหตุใดเหตุหนึ่ง)
เหตุที่ 2 เป�นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
การร้องขอตามมาตรา 253 มีเหตุเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จำเลยก็มีสิทธิร้องขอต่อศาลชั้นต้นได้
***ฎ.439/2559 (ผช.ใหญ่ 64)การที่มาตรา 253 บัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่จะร้องขอให้โจทก์วางเงินประกัน
ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายนั้นก็เพื่อคุ้มครองจำเลยให้มีหลักประกันที่จะบังคับเอาได้ในที่สุดหากโจทก์เป�นฝ่ายแพ้คดี
เมื่อคดีนี้โจทก์เป�นคนเชื้อชาติและสัญชาติอังกฤษ มีภูมิลำเนาอยู่สหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์
เหนือหรือประเทศอังกฤษ และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร การที่โจทก์อยู่ใน
ราชอาณาจักรโดยมีเพียงเช่าบ้านอยู่และใบอนุญาตทำงานเป�นการชั่วคราว ซึ่งในที่สุดหากเป�นฝ่ายโจทก์แพ้คดีแล้ว โจทก์
เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร จำเลยทั้งเก้าก็ไม่มีทางที่จะบังคับเอาค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจากโจทก์ได้เลย
บ้านเช่าและการมีใบอนุญาตทำงานชั่วคราวของโจทก์ซึ่งมิใช่คนสัญชาติและเชื้อชาติไทยไม่อาจถือได้ว่าเป�น
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานตามความมุ่งหมายของมาตรา 253 แห่ง ป.วิ.แพ่ง
ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจำนวน 3,000,000 บาท นั้น เมื่อเปรียบเทียบ
กับจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องซึ่งสูงถึง 1,364,839,015 บาทจึงชอบและเหมาะสมแล้ว
3.ต้องขอก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
4. ก่อนมีคำสั่งอนุญาต ศาลต้องให้โอกาสโจทก์หรือคู่ความอื่นๆ (ถ้ามี) คัดค้านก่อนตามมาตรา 21 (2)
5. ก่อนมีคำสั่งอนุญาต ศาลต้องไต่สวนก่อนหรือไม่ (ดุลพินิจ) ตามมาตรา 21 (4)

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 19
6.ศาลมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินประกันได้ตามที่เห็นควรตามมาตรา 253 วรรคสองตอนท้าย
ประเด็น ศาลมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินประกันได้เอง โดยไม่ต้องไต่สวนในประเด็นนี้ก่อน
ฎ.1107/2530 เมื่อจำเลยร้องขอให้โจทก์วางเงินประกันโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในประเทศอังกฤษ ไม่ใช่
ผู้อยู่ในอำนาจศาล และโจทก์ยอมรับในคำแถลงคัดค้านแล้วว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ จึงไม่มีความ
จำเป�นที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนอีก
จำนวนเงินที่ศาลจะสั่งให้โจทก์วางประกันนั้น ตามมาตรา 253 วรรคสองดังกล่าว บัญญัติให้ศาลกำหนด
จำนวนเงินที่จะให้โจทก์วางประกันรวมตลอดทั้งระยะเวลาและเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรจึงไม่จำเป�นต้องทำการไต่
สวนอีกเช่นกัน ศาลชอบที่จะกำหนดจำนวนเงินประกันไปตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรม
เนียมตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 161 และอัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.แพ่ง
ผลกรณีศาลมีคำสั่งอนุญาต
1.เมื่อศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา 253 คือ มีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและ
ค่าใช้จ่าย คำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันจนกว่าคดีจะถึงที่สุด (อช.จิ๋ว 59) แม้โจทก์จะชนะคดีในศาลชั้นต้นก็ตาม
ฎ.1487/2529 (ผช.ใหญ่ 59) การที่ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 บัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่จะร้องขอให้โจทก์
วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ก็เพื่อคุ้มครองจำเลยให้มีหลักประกันที่จะบังคับเอาได้หากโจทก์แพ้คดี
ในที่สุด เนื่องจากโจทก์เป�นบุคคลอยู่นอกเขตอำนาจศาลซึ่งจำเลยไม่อาจบังคับเอาได้
ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยร้องขอแล้วคำสั่งย่อม
มีผลอยู่จนคดีถึงที่สุด เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์วางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยร้องขอ โดย
ให้ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนเงินและเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร คดีนี้ยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ต้องวางเงินตามที่ศาลชั้นต้น
กำหนด การที่ศาลชั้นต้นกำหนดนีเ้ ป�นการกระทำตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งสั่งตามคำร้องของจำเลยที่ร้องขอก่อนศาล
ชั้นต้นพิพากษานั้นเอง ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว พิพากษายืน
2. ผลตามมาตรา 253 วรรคท้าย
มาตรา 253 วรรคท้าย ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก
สารบบความ เว้นแต่จำเลยจะขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หรือมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลตามวรรคสอง
หลัก : ศาลมีดุลยพินิจที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความได้ ตามมาตรา 253 วรรคสาม (วรรค
ท้าย) ประกอบมาตรา 132 (2) ซึ่งโจทก์ฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ
ข้อยกเว้น ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความไม่ได้
1.จำเลยขอให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไป หรือ 2.มีการยื่นอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 253
ผช.ใหญ่ 64 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์วางเงิน โจทก์จึงยังไม่ต้องวาง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่าย
คดีเสียจากสารบบความจึงไม่ชอบ

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor


อาจารย์เป้ SmartLaw MINI เนติ 2/76 กลุ่มวิแพ่ง ข้อ 6 หน้า 20
จำเลยขอคุ้มครองชั่วคราวในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา (ม.253 ทวิ)
*มาตรา 253 ทวิ ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษา ถ้ามีเหตุใดเหตุหนึง่ ตามมาตรา 253
วรรคหนึ่ง จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมี
คำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
ในระหว่างที่ศาลชัน้ ต้นยังมิได้ส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คำร้องตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อศาล
ชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวน แล้วส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง
ให้นำความในมาตรา 253 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับแก่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลม
1.ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
2.โจทก์ยื่นอุทธรณ์
3.มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 253 วรรคหนึง่
3.1. โจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้
อยู่ในราชอาณาจักร หรือ
3.2. เป�นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
4.อำนาจสั่งเป�นของศาลอุทธรณ์ (หลักทั่วไป ดูว่าศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วหรือยัง)
4.1.ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสัง่ รับอุทธรณ์ อำนาจสั่งคดีเป�นของศาลชั้นต้น
4.2.หลังศาลชั้นต้นสัง่ รับอุทธรณ์ ศาลชัน้ ต้นหมดอำนาจสั่งคดี ต้องส่งไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
เนติ 70,74 จำเลยยื่นคำร้องหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสัง่ รับอุทธรณ์ เป�นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่ง
4.3.หลังจากศาลฎีกาสั่งอนุญาตให้ฎีกาและสั่งรับฎีกา หากมีการยื่นคำขอ ศาลฎีกามีอำนาจสั่ง
ผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์
*มาตรา 253 ทวิ วรรคท้าย ให้นำความในมาตรา 253 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับแก่การพิจารณา
ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลม
ถ้าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวแก่จำเลยตามมาตรา 253 ทวิ โดยให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหา
ประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ถ้าจำเลยมิได้ขอให้
ดำเนินการพิจารณาต่อไปและไม่มีการฎีกาคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายอุทธรณ์ของโจทก์เท่านั้น จะสั่ง
ให้จำหน่ายคดีทั้งหมดออกเสียจากสารบบความเหมือนเช่นกรณีตามมาตรา 253 ซึ่งเป�นการขอคุ้มครองชั่วคราวในศาล
ชั้นต้นมิได้ คู่ความจึงยังต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ติวกฎหมายเข้าใจง่าย สอบผ่านสบาย ต้องติวกับ อาจารย์เป้ & อาจารย์ตูน T.086-987-5678, Line @smartlawtutor

You might also like