Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 1

วิทยาศาสตร์

สวัสดีค่ะวันนี้ดิฉันนางสาวปิยะพร ศรีนวล จะมาพูดในหัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ


อย่างแรกนะคะเราจะมารู้จักว่าระบบสุริยะจักวาลประกอบด้วยซึ่ง
ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นดาวฤกษ์ซึ่งมีมวลร้อยละ 99 ของ ระบบสุริยะจักรวาล จึงทำให้อวกาศโค้งเกิดเป็นศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วง โดยมีดาว
เคราะห์และบริวารทั้งหลายโคจรล้อมรอบและ
-ดาวเคราะห์ คือบริวารขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ 8 ดวงที่เรียงลำดับจากใกล้ไปไกล
ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ทั้งแปดโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีระนาบใกล้
เคียงกับระนาบสุริยวิถี
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
1.การโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์
การโคจรของดาวเคราะห์ดวงอาทิตย์จะโคจรได้เพรา มีแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ และแรงนั้นก็เป็นแรงเดียวกันกับแรงดึงดูดระหว่าง
โลกและวัตถุบนผิวโลก หรือที่เรียกกันว่า“แรงโน้มถ่วง”
แรงโน้มถ่วง
คือแรงดึงดูดที่มวลของโลกกระทำต่อ มวลวัตถุ เพื่อดึงดูดวัตถุนั้นเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก แรง โน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุนั้น
และระยะห่างระหว่างกับจุดศูนย์กลางของโลก ยิ่งวัตถุอยู่ ห่างจากจุดศูนย์กลางของโลกมากเท่าไร แรงโน้นตวงของ โลกที่กระทำต่อวัตถุจะยิ่งน้อยลง
เท่านั้นและมีกฎแรงโน้มถ่วงสากลของนิวตันระบุว่า
“แต่ละจุดมวลในเอกภพจะดึงดูดจุดมวลอื่นๆ ด้วยแรงที่มีขนาดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลคูณของมวลทั้งสอง และเป็นสัดส่วนผกผันกับค่ากำลังสองของ
ระยะห่างระหว่างกัน“
2.การเกิดฤดูกาล
ฤดูกาล (Season) เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนของโลกเอียง 23.5° ในฤดูร้อนโลกเอียงขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลก
เหนือกลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาว หกเดือนต่อมาโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร โลกเอียงขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์
(แกนของโลกเอียง 23.5° คงที่ตลอดปี) ทำให้ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูหนาว
หากพื้นผิวของโลกมีสภาพเป็นเนื้อเดียวเหมือนกันหมด (ทรงกลมที่สมบูรณ์) โลกจะมี 4 ฤดู อันได้แก่
ฤดูร้อน: เมื่อโลกหันซีกโลกนั้น เข้าหาดวงอาทิตย์ (กลางวันนานกว่ากลางคืน)
ฤดูใบไม้ร่วง: เมื่อแต่ละซีกโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่ากัน (กลางวันนานเท่าๆ กลางคืน)
ฤดูหนาว: เมื่อโลกหันซีกโลกนั้น ออกจากดวงอาทิตย์ (กลางคืนนานกว่ากลางวัน)
ฤดูใบไม้ผลิ: เมื่อแต่ละซีกโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่ากัน (กลางวันนานเท่าๆ กลางคืน)
แต่เนื่องจากพื้นผิวโลกมีสภาพแตกต่างกันไป เช่น ภูเขา ที่ราบ ทะเล มหาสมุทร ซึ่งส่งอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศประเทศไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิน
โดจีน ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ จึงตกอยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม(Monsoon) ทำให้ประเทศไทยมี 3 ฤดู ประกอบด้วย
ฤดูร้อน: เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน: เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว: เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
3.การเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์
การเคลื่อนที่ของวัตถุบนท้องฟ้า รวมทั้ง โลกด้วย มีการเคลื่อนที่อยู่สองแบบคือ การเคลื่อนที่หมุนรอบตัว เอง ( Rotation ) ซึ่งเป็นการหมุนรอบแกน
ของวัตถุท้องฟ้านั้น และการเคลื่อนที่อีกอย่างคือ Revolution เป็นการเคลื่อนที่หมุน อบวัตถุท้องฟ้าอื่น ซึ่งเป็นลักษณะของวงโคจร เช่นดวงจันทร์หมุน
รอบโลก และโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งวัตถุ ท้องฟ้า ที่เป็นแกนให้วัตถุท้องฟ้าอื่นหมุนรอบ เราเรียกว่า Primary ซึ่งมีแรงดึงดูดให้
วัตถุท้องฟ้าอื่นหมุนรอบตัวเอง ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์ ในระบบสุริยะจักรวาล ที่มีแรงดึงดูดให้ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล รวมทั้งโลกหมุนรอบ
ตัวมันเองได้
4.การเกิดข้างขึ้นข้างแรม
ข้างขึ้นข้างแรม (The Moon’s Phases) เกิดขึ้นเนื่องจากดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงกลม ไม่มีแสงในตัวเอง ด้านสว่างได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แต่ด้าน
ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ถูกบังด้วยเงาของตัวเอง ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทำให้มุมระหว่างดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์-โลก เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12
องศา เมื่อมองดูดวงจันทร์จากโลก เราจึงมองเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนไปเป็นวงรอบใช้ประมาณ 30 วัน

วันแรม 15 ค่ำ (New Moon): เมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หันด้านเงามืดเข้าหาโลก ตำแหน่งปรากฏของดวงจันทร์อยู่ใกล้


กับดวงอาทิตย์ แสงสว่างของดวงอาทิตย์ ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้เลย
วันขึ้น 8 ค่ำ (First Quarter): เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งมุมฉากระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นด้านสว่างและด้านมืด
ของดวงจันทร์มีขนาดเท่ากัน
วันขึ้น 15 ค่ำ หรือ วันเพ็ญ (Full Moon): ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หันด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์เข้าหาโลก ทำให้
เรามองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง
วันแรม 8 ค่ำ (Third Quarter): ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งมุมฉากระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นด้านสว่างและด้านมืดของ
ดวงจันทร์มีขนาดเท่ากัน
5.การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ พระอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นผลมาจากแรงดึงดูดที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์กระทำ
ต่อโลก ซึ่งดวงจันทร์นี่แหละคือปัจจัยสำคัญ เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์

เมื่อโลกหมุนรอบตัวเอง ฝั่งที่หันหน้าเข้าหาดวงจันทร์ก็จะถูกอิทธิพลแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ทำให้น้ำในมหาสมุทรไหลเข้ามารวมกันในบริเวณนั้น นั่น


ก็คือปรากฏการณ์น้ำขึ้น และบริเวณรอบข้างระดับน้ำในมหาสมุทรก็จะลดลง หรือที่เราเรียกว่าน้ำลง

ปรากฏการณ์น้ำเกิด (Spring tides)


เมื่อมีการเรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกันของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก หรือ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เต็มดวง หรือก็คือ
วันขึ้น 15 ค่ำ (Full moon) และวันแรม 15 ค่ำ (New Moon) แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่กระทำต่อโลกจะเสริมกันสูงสุด ทำให้เกิด
ปรากฏการณ์น้ำเกิด (Spring tides) หรือน้ำขึ้นสูงสุด ซึ่งระดับน้ำที่ขึ้นสูงสุดกับระดับน้ำที่ลงต่ำสุดจะมีความแตกต่างกันมาก

ปรากฏการณ์น้ำเกิด (Spring tides)


เมื่อมีการเรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกันของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก หรือ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เต็มดวง หรือก็คือ
วันขึ้น 15 ค่ำ (Full moon) และวันแรม 15 ค่ำ (New Moon) แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่กระทำต่อโลกจะเสริมกันสูงสุด ทำให้เกิด
ปรากฏการณ์น้ำเกิด (Spring tides) หรือน้ำขึ้นสูงสุด ซึ่งระดับน้ำที่ขึ้นสูงสุดกับระดับน้ำที่ลงต่ำสุดจะมีความแตกต่างกันมาก

You might also like