Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 21

ชีวติ และงานของนางวิสาขา มหาอุบาสิกา

พระเทพวัชรบัณฑิต, ศ.ดร.
อธิการบดี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ตอนที่ ๑ วิถีชีวติ ส่ วนตน


๑. ชีวติ ในอดีตชาติ
ในอดี ตชาติ สมัยพระพุ ท ธเจ้าพระนามว่า “ปทุ มุ ตตระ” วิส าขาเป็ นเพื่ อนกับ สตรี ชาว
หัง สวดี และสตรี น้ ัน เป็ นอัค รอุ บ าสิ ก า ๑ของพระปทุ มุ ต รพุ ท ธเจ้า วิส าขาเห็ น สตรี ผูเ้ ป็ นอัค ร
อุ บ าสิ ก านั้น ท าหน้ าที่ เกี่ ย วกับ พระพุ ท ธศาสนาหลายอย่างด้วยความชื่ น ชมยิน ดี ปี ติ ป ราโมทย์
ประสงค์ที่จะเป็ นอัครอุบาสิ กาอย่างนั้นบ้าง จึงนิ มนต์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์
๑๐๐,๐๐๐ รู ป ถวายภัตตาหารเป็ นเวลา ๗ วัน ขอพร ๘ ประการ ตั้งความปรารถนาว่า “ในชาติ
หน้ า ขอให้ พบพระพุทธเจ้ า ขอเป็ นอัครอุบาสิ กาในพระพุทธศาสนา ถวายความอุปถัมภ์ พระภิกษุ
สงฆ์ ด้วยปั จจัย ๔“ คาว่า “พร ๘ ประการ” มี ๒ ส่ วน ส่ วนที่ ๑ พรเพื่อตัวเอง กล่าวคือให้ตวั เอง
ได้อย่างนั้นอย่างนี้ ส่ วนที่ ๒ พรเพื่อพระศาสนา โดยสรุ ปก็คือ พรก็คือการขออนุ ญาตล่วงหน้าว่า
จะถวายความอุปถัมภ์แก่พระสงฆ์อย่างนั้นอย่างนี้ ด้วยสิ่ งของนั้นสิ่ งของนี้ พร ๘ ประการที่วา่ นี้
จึงเป็ นพรเพื่อผูอ้ ื่น พรเพื่อพระศาสนา ไม่ใช่พรเพื่อตัวเอง
ต่อมา หญิงนั้น(วิสาขาในอดีตชาติ)ตายไปเกิดเป็ นนาง “สั งฆทาสี ”(บางแห่ งเรี ยกว่า สังฆ
ทาสิ กา) เป็ นพระธิ ดาองค์เล็กสุ ดของพระเจ้ากิกิแห่ งแคว้นกาสี ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
“กัส สปะ” พระนางสั งฆทาสี ต้ งั ความปรารถนาต่ อไปอี ก ว่า “ขอพร ๘ ประการ ในชาติหน้า


อัครอุบาสิ กา แปลว่า อุบาสิ กายอดเยี่ยม ได้แก่ ผูไ้ ด้รับแต่งตั้งเป็ นกรณี พิเศษจากพระพุทธเจ้า
เช่นกรณี ของพระสารี บตุ รเป็ นพระอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะเป็ นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย
พระเขมาเถรี เป็ นพระอัครสาวิกาเบื้องขวา พระอุบลวรรณาเถรี เป็ นพระอัครสาวิกาเบื้องซ้าย จิ ตต
คหบดีเป็ นอัครอุบาสกเบื้องขวา หั ตถกคหบดีเป็ นอัครอุบาสกเบื้องซ้าย นันทมารดาเป็ นอัครอุบาสิ กา
เบื้องขวา นางขุชชุตตราเป็ นอัครอุบาสิ กาเบื้องซ้าย

ขอให้พ บพระพุ ท ธเจ้า ขอเป็ นอัค รอุบ าสิ ก า ถวายความอุปถัมภ์พ ระภิ กษุ ส งฆ์ด้วยปั จจัย ๔” ที่
สาคัญอย่างยิ่ง คือ พระนางได้ถวายผ้าจีวร ด้าย เข็ม เครื่ องย้อมแก่พระสงฆ์ ๒๐,๐๐๐ รู ป พระ
นางสังฆทาสี ครั้นสิ้ นพระชนม์ในชาติน้ นั แล้ว มาเกิดเป็ นวิสาขาในสมัยของพระโคดมพุทธเจ้านี้
อดีตชาติของนางวิสาขาล้วนแต่ดีงาม ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะเกิดขึ้น
ในโลกนั้น นางวิสาขาเป็ นพระธิ ดาของพระเจ้า กิกี ผูค้ รองราชย์อยูใ่ นกรุ งพาราณสี แคว้น
กาสี มีพระเชษฐภคินี(พี่สาว) ๗ องค์ คือ (๑)สมณี (๒)สมณคุตตา (๓)ภิกษุณี (๔)ภิกขุ
ทาสิ กา (๕)ธรรมา (๖)สุ ธรรมา (๗)สังฆทาสี ทั้งหมดศรัทธาในพระพุทธศาสนา อุปถัมภ์
บารุ งพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ดว้ ยปั จจัยสี่ มิได้ขาดตกบกพร่ อง ที่เห็นได้ชดั เจนก็คือ พระ
นามของพระธิดาแต่ละองค์ลว้ นเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาทั้งสิ้ น เช่น สมณี แปลว่าสตรี ผู ้
สงบ สมณคุตตา แปลว่า สตรี ผไู ้ ด้รับการคุม้ ครองจากพระ
ที่ ส าคัญ อย่างยิ่ง คื อ พระธิ ด าทั้ง ๗ ของพระเจ้ากิ กี ต่ างก็ ม าเกิ ด ในสมัย ของพระ
สิ ทธัตถโคตมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย และมีชีวิตดีงาม ดังนี้ พระธิดาสมณี คือ พระเขมา
เถรี พ ระธิ ดาสมณคุ ต ตา คื อ พระอุ บ ลวรรณาเถรี พระธิ ด าภิ กษุ ณี คื อ พระปฏาจาราเถรี
พระธิ ด าภิ ก ขุ ท าสิ ก า คื อ พระกุณ ฑลเกสี เถรี พระธิ ด าธรรมา คื อ พระกี ส าโคตมี เถรี
พระธิดาสุธรรมา คือ พระธรรมทินนาเถรี พระธิดาสังฆทาสี คือ วิสาขามหาอุบาสิ กา
บางตานานยังบอกอีกว่า ในอดีตชาติ วิสาขาเกิดเป็ นพระนางสุเมธา เป็ นพระธิดาของ
พระเจ้าพรหมทัตแห่ งกรุ งพาราณสี ทรงอภิเษกสมรสกับสุ รุจิกุมารแห่ งกรุ งมิถิลา ทรงอยูก่ บั
ร่ วมพระสวามีเป็ นเวลา ๑๐,๐๐๐ ปี ไม่เคยล่วงเกินสุ รุจิกุมารผูเ้ ป็ นพระสวามีดว้ ยกาย วาจา
และใจทั้งในที่แจ้งและที่ลบั ปรนนิ บตั ิดว้ ยความเรี ยบร้อย ไม่อิจฉาริ ษยา รักษาอุโบสถศีลใน
วัน ๘ ค่า ๑๔ ค่า และ ๑๕ ค่ามิได้ขาดตกบกพร่ อง เมื่อิไม่มีพระโอรสที่จะสื บราชวงศ์ ท้าว
สักกะก็สั่งให้นฬการเทพบุตรจุติมาเกิดเป็ นบุตรของพระอัครมเหสี สุเมธาเป็ นการเฉพาะ ถือ
ว่าเป็ นบุตรพิเศษ เพราะแท้จริ งแล้ว นฬการเทพบุตรไม่ประสงค์จะกลับมาเกิดเป็ นมนุษย์ แต่
ด้วยอ านาจคุ ณ ความดี ข องพระอัค รมเหสี สุ เมธาผูร้ ั ก ษาอุ โ บสถศี ล มิ ไ ด้ข าดตกบกพร่ อ ง
ตลอดเวลา ๑๐,๐๐๐ ปี ท้าวสักกะจึงได้สั่งการให้มาเกิดเป็ นมนุ ษย์เป็ นการเฉพาะ และนฬ
การเทพบุตรได้จุติมาเกิดเป็ นพระโอรสของพระอัครมเหสี สุเมธา ได้พระนามว่า “มหาปนา
ทะ” ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าสุ รุจิ ทาบุญให้ทาน หลังจากสวรรคตก็กลับไปเกิด
เป็ นเทพบุตรในสวรรค์ตามเดิม นี่คืออดีตชาติที่ดีงามของวิสาขา

๒. ชีวติ ในชาติปัจจุบัน
๒.๑ ชีวติ ในเยาวัย
วิ ส าขาเกิ ด ที่ เมื อ ง “ภัท ทิ ย ะ” แห่ ง แคว้น อัง คะ ๒ บิ ด าชื่ อ “ธนั ญ ชัย ” มารดาชื่ อ
“สุ มนาเทวี” ปู่ ชื่ อ “เมณฑกะ” ย่าชื่ อ “จันทปทุมา” ตระกูลนี้ เป็ นตระกูลเศรษฐี แห่ ง
เมืองภัททิ ยะ สันนิ ษฐานว่า “ภัททิ ยะเป็ นเมื องธุ รกิจการค้า” เพราะเมณฑกะได้ชื่อว่าเป็ น
มหาเศรษฐี ๑ ใน ๕ คนแห่งยุคนั้น คือ เมณฑกะ โชติยะ ชฏิละ ปุณณะ และกาฬวลิยะ
เมืองภัททิยะถือกันว่ามีความสาคัญ เพราะเป็ นถิ่นที่คนมีบุญมากอาศัยอยู่ ๕ คน และ
ทั้ง ๕ คนนี้ ลว้ นอยู่ในตระกูลวิสาขา ประกอบด้วย (๑) เมณฑกะ (๒) จันทปทุมา ภริ ยา
หลวงของเมณฑกะ (๓) ธนัญชัย บิดาของวิสาขา (๔) สุ มนาเทวี ภริ ยาของธนัญชัย และ
(๕) ปุณณะ คนรับใช้ของเมณฑกะ
วิส าขาใฝ่ ใจในพระพุ ท ธศาสนาตั้ง แต่ ย งั เล็ก มี ค วามเฉลี ย วฉลาด เป็ นผูน้ ากลุ่ ม
เยาวชนผูใ้ ฝ่ ใจในธรรมะตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ เห็นได้จากในคราวที่เมณฑกเศรษฐี ผเู ้ ป็ นปู่ เมื่อ
ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จมาเมืองภัททิยะ ประทับอยูท่ ี่สวนชาติยวัน(สวนมะลิ) ได้บอก
ให้วิสาขาผูเ้ ป็ นหลานสาวทราบทันที และบอกอี กว่า “นี่ เป็ นมงคลสาหรั บหลาน จงชวน
เพื่ อน ๆ วัยเดียวกัน ๕๐๐ คนไปรั บเสด็จพระพุทธองค์ ” วิสาขาพร้อมด้วยเด็กหญิง ๕๐๐
คน เดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟั งพระธรรมเทศนา ทั้หมดบรรลุโสดาปั ตติผล ทาบุญ
ถวายทานใหญ่แก่พระพุทธเจ้าพร้ อมด้วยพระสงฆ์ ต่อเนื่ องกันเป็ นเวลาครึ่ งเดื อน ทาให้มี
อุปนิสยั ใฝ่ เรื่ องทานการกุศลตั้งแต่น้ นั มา

๒.๒ ชีวิตครอบครัว


ความจริ ง เมืองหลวงของแคว้นอังคะคือ “จัมปา” ไม่ใช่เมืองภัททิยะ เมณฑกเศรษฐี อยูใ่ นเมือง
ภัททิยะ แคว้นอังคะ แต่อยูใ่ นความดูแลของพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ อาจเป็ นไปได้วา่ แคว้นอัง
คะหรื อเมืองภัททิยะอยูใ่ นความดูแลของพระเจ้าพิมพิสาร
แคว้น “อังคะ” เป็ นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ แคว้นในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ มีชื่อ
ดังนี ้ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปั ญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี
คันธาระ และกัมโพชะ ดู อุโบสถสู ตร อง.ติก. (ไทย) ๒๐/๗๑/๒๘๘.

ในสมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารกับพระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสัมพันธ์ฉันท์ญาติมิตร
กล่ า วคื อ พระเจ้า พิ ม พิ ส ารทรงอภิ เษกสมรสกั บ พระนางโกศลเทวี ผู ้เป็ นพระกนิ ษ ฐ
ภคินี(น้องสาว)ของพระเจ้าปเสนทิ ในขณะที่พระเจ้าปเสนทิทรงอภิเษกสมรสกับพระกนิ ษฐ
ภคินี(น้องสาว)ของพระเจ้าพิมพิสาร(อาจเป็ นพระนางโสมาและ/หรื อพระนางสกุลา)๓
พระเจ้าปเสนทิแห่งแคว้นโกศลทรงประสงค์อยากได้มหาเศรษฐีคนมีบุญมากมาอยูใ่ น
แคว้นของตนบ้าง จึงส่ งราชสาส์นไปถึงพระเจ้าพิมพิสารแห่ งแคว้นมคธ ขอมหาเศรษฐีคนมี
บุญ ๑ คน พระเจ้าพิมพิสารทรงปรึ กษากับพวกอามาตย์แล้ว ได้ความว่า “การย้ายตระกูล
มหาเศรษฐี จากเมื อ งหนึ่ งไปอี ก เมื อ งหนึ่ ง จะท าให้ เกิ ด ความโกลาหล นอกจากนี้ อาจมี
ผลกระทบต่ อระบบเศรษฐกิ จได้” แต่ ก็เห็ นพ้องต้องกันว่า เพื่ อรั กษาความสัมพัน ธ์อนั ดี
ระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นโกศล ควรมอบธนัญชัยเศรษฐีผเู ้ ป็ นบุตรของเมณฑกเศรษฐีให้
ธนัญชัญเศรษฐี พร้ อมด้วยครอบครั ว และบริ วารจาเป็ นต้องย้ายถิ่นฐานไปที่ แคว้น
โกศล โดยไปสร้างเมืองใหม่และตั้งชื่อว่า “สาเกต” อยูห่ ่างจากกรุ งสาวัตถีประมาณ ๗ โยชน์
วิสาขาก็ยา้ ยบ้านตามบิดามารดามาอยูท่ ี่เมืองสาเกต ต่อมา เมื่อเติบโตเป็ นสาวอายุประมาณ
๑๕–๑๖ ปี ได้แต่งงานกับปุณณวัฒนกุมาร บุตรของมิคารเศรษฐีชาวกรุ งสาวัตถี
วิสาขาเมื่อแต่งงานแล้ว ได้ยา้ ยไปอยู่กบั ครอบครัวสามีที่กรุ งสาวัตถี ครอบครัวสามี
นับถือลัทธินิครนถ์๔ ไม่ได้นบั ถือพระพุทธศาสนา วิสาขาจึงมีปัญหากับสมาชิกในครอบครัว
สามี ตลอดเวลา แต่ ด้วยความเฉลี ยวฉลาดและอุปนิ สัยยึดมั่นในทานการกุศล และศรั ทธา
มัน่ คงในพระพุทธศาสนา ในที่สุด วิสาขาก็สามารถโน้มน้าวจิตใจของคนในครอบครัวสามี
ให้หนั มานับถือพระพุทธศาสนา วิสาขามีลูกหลาน และเหลนมาก ดังนี้
วิสาขามีลูกชาย ๑๐ คน ลูกสาว ๑๐ คน รวมเป็ น ๒๐
ลูกชายและลูกสาวแต่ละคนก็มีลูกชาย ๑๐ ลูกสาว ๑๐ รวมเป็ น ๔๐๐
หลานชายและหลานสาวแต่ละคนมีลูกชาย ๑๐ ลูกสาว ๑๐


พระนางโสมาและ/หรื อพระนางสกุลาไม่ใช่อคั รมเหสี พระอัครมเหสี ของพระเจ้าป
เสนทิโกศลคือ “พระนางมัลลิกา” ซึ่งเป็ นธิดาของคนขายพวงมาลัย หรื อคนจัดทาดอกไม้ถวายราช
สานัก

คาว่า “นิครนถ์” หมายถึงพวกนักบวชนอกพระพุทธศาสนา เจ้าลัทธิ ในยุคนั้นคือ “นิครนถ
นาฏบุตร” หรื อที่นิยมเรี ยกชื่อในปัจจุบนั ว่า “มหาวีระ” พวกนิครนถ์น้ นั ในปัจจุบนั ก็คือ นักบวชใน
ศาสนาเชน นัน่ เอง

รวมเป็ น ๘,๐๐๐ รวมลูก หลาน และเหลนทั้งสิ้น จานวน ๘,๔๒๐ คน

๒.๓ ชีวติ ในบั้นปลาย


วิสาขาลูก หลาน และเหลนรวม ๘,๔๒๐ คน แต่รูปร่ างลักษณะเหมือนกับหญิงสาว
อายุ ๑๖ ปี เวลาไปเดินไปที่ไหน ๆ มีธิดา หลานสาว และเหลนสาวห้อมล้อม ดูไม่ออกบอก
ไม่ได้วา่ “คนไหนคือวิสาขา” เพราะมีรูปร่ างลักษณะเหมือนกันหมดทุกคน ดูเหมือนอายุ
เท่ากันทั้งหมด นางวิสาขามีอายุยนื อยูถ่ ึง ๑๒๐ ปี ก็สิ้นอายุตายไปเกิดในสวรรค์นิมมานรดี
วิสาขาเป็ นโสดาบันขณะมีชีวิตอยู่ ได้สงั่ สมบุญเป็ นกรณี พิเศษ เมื่อตายไปได้เกิดเป็ น
โสดาบันพิเศษประเภท “อุทธังโสตะ” หมายถึงว่า เกิดในสวรรค์ช้ นั นิมมานรดีแล้วจะไปเกิด
ในสวรรค์ช้ นั สุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่ง คือ อวิหา อตัปปา สุทสั สา สุทสั สี ต่อจากนั้นก็จะ
ไปเกิดในชั้นอกนิฏฐะแล้วนิพพานในชั้นนี้
เทพธิดาองค์หนึ่งสถิตอยูใ่ นวิมานชื่อ “วิหารวิมาน” มีผิวพรรณงดงาม รัศมีเปล่งดุจ
ดาวประกายพรึ ก ประดับต่างหูเพชร มีมาลัยสวมศีรษะกลิ่นหอมอบอวลตลอดเวลา เทพธิดา
องค์น้ ีในอดีตชาติเป็ นหญิงชาวกรุ งสาวัตถี เป็ นเพือ่ นของนางวิสาขา สมัยหนึ่ง พระอนุรุทธ
เถระถามเทพธิดาองค์น้ ีวา่ “ในอดีตชาติ เธอทาบุญอะไร จึงได้เสวยผลกรรมยอดเยีย่ มอย่าง
นี้ ?” และได้ถามต่อไปอีกว่า “นางวิสาขาเกิดที่ไหน ? วิมานของนางวิสาขาอยูท่ ี่ไหน ?”
เทพธิดานั้นตอบว่า
พระคุณเจ้าผูเ้ จริ ญ นางวิสาขามหาอุบาสิ กา สหายของดิฉนั อยูใ่ นกรุ งสาวัต
ถี ได้จดั สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉนั ได้เห็นอาคารและการบริ จาคทรัพย์
จานวนมากอุทิศสงฆ์ เป็ นที่พอใจของดิฉนั เช่นนั้น จึงเลื่อมใสแล้วอนุโมทนา
ในบุญนั้น วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา ซึ่งดิฉนั ได้มาเพราะการอนุโมทนา
อย่างเดียวเท่านั้น วิมานนั้นล่องลอยไปโดยรอบ ในรัศมี ๑๖ โยชน์ดว้ ยบุญ
ของดิฉนั … นางวิสาขามหาอุบาสิ กาสหายของดิฉนั นั้น ได้สร้างมหาวิหาร
ถวายสงฆ์ รู ้แจ้งธรรม ได้ถวายทาน เกิดแล้วในหมู่ทวยเทพชั้นนิมมานรดี
เป็ นปชาบดีของท้าวสุนิมิตเทวราช วิบากแห่งกรรมของนางเป็ นเรื่ องที่ใคร
ๆ ไม่พึงคิด ดิฉนั ได้ช้ ีแจงถึงคาถามที่พระคุณเจ้าถามถึงที่ที่นางเกิดแด่
พระคุณเจ้าแล้วตามความเป็ นจริ ง …

ตอนที่ ๒ สถานะและบทบาทในพระพุทธศาสนา
เป็ นหูเป็ นตาแก้ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในพระศาสนา

๑. เรื่ องพระอุทายี
สมัยหนึ่ง พระอุทายีเข้าไปบิณฑบาตที่บา้ นโยมอุปถัมภ์ในกรุ งสาวัตถี นัง่ ในห้องคุย
กันสองต่อสองกับหญิงสะใภ้ของบ้านนั้น พอดีในวันนั้น ที่บา้ นนั้นจัดงานมงคลบางอย่าง
นางวิสาขาได้รับเชิญให้ไปบริ โภค(รับประทานอาหาร)เป็ นปฐมฤกษ์ เพื่อความเป็ นสิ ริมงคล
แก่เจ้าภาพ
เมื่อเดินทางไปถึง นางวิสาขาเห็นพระอุทายีนงั่ ในที่กาบังที่ลบั ตากับหญิงสาวสองต่อ
สอง จึงเข้าไปกราบนมัสการ กล่าวว่า
พระคุณเจ้า การที่ท่านนัง่ บนอาสนะที่กาบังในที่ลบั พอที่จะเสพเมถุนได้กบั
มาตุคามสองต่อสองอย่างนี้ ไม่เหมาะ ไม่สมควร ท่านไม่ปรารถนาด้วยธรรม
(ไม่ปรารถนาจะเสพเมถุน)นั้นก็จริ ง ถึงอย่างนั้น ชาวบ้านที่ยงั ไม่เลื่อมใสก็
ทาให้เชื่อได้ยาก
พระอุทายีแม้จะถูกนางวิสาขาตักเตือนอย่างนั้นก็ไม่เชื่อ นางจึงไปบอกเรื่ องนั้นให้
ภิกษุท้ งั หลายทราบ ต่อจากนั้น พวกภิกษุได้นาเรื่ องไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์
ทรงตาหนิพระอุทายี ต่อจากนั้น ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้วา่
ภิกษุใดนัง่ ในที่ลบั ตากับมาตุคาม(หญิง)สองต่อสอง อุบาสิ กามีวาจาเชื่อถือ
ได้๕ เห็นภิกษุน้ นั นัง่ กับมาตุคามนั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใน ๓ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส หรื อปาจิตตีย ์ ภิกษุน้ นั ยอมรับว่า
“นัง่ ” พึงถูกปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ ปาราชิก
สังฆาทิเสส หรื อปาจิตตีย ์ หรื ออุบาสิ กาผูม้ ีวาจาเชื่อถือได้น้ นั กล่าวโทษด้วย
อาบัติใด ภิกษุน้ นั พึงถูกปรับด้วยอาบัติน้ นั


คาว่า “อุบาสิ กามีวาจาเชื่ อถือได้ ” หมายถึงหญิงที่บรรลุธรรม ตรัสรู ้ธรรม เข้าใจศาสนาดี ถึง
พระพุทธเป็ นสรณะ ถึงพระธรรมเป็ นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็ นสรณะ โดยสรุ ปก็คือ หมายเอาหญิงผูไ้ ด้
โสดาปัตติผลเป็ นอย่างต่า ดูใน วิ.มหา. (ไทย) ๑/๔๔๕/๔๗๖.

อีกกรณี หนึ่ง แม้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้อย่างนี้แล้ว พระอุทายีกย็ งั เข้า


ไปที่บา้ นหลังนั้น นัง่ คุยกับหญิงสะใภ้ของเขาอยูเ่ ช่นเดิม โดยนัง่ คุยกันในที่แจ้ง ผูค้ นมองเห็น
ได้ แต่ห่างไกลจากผูค้ น ไม่มีใครได้ยนิ เสี ยงพูดคุยกัน
ในวันนั้น นางวิสาขาได้รับเชิญให้ไปบริ โภคเป็ นปฐมฤกษ์เพือ่ ความเป็ นสิ ริมงคลอีก
เป็ นครั้งที่ ๒ เห็นพระอุทายีนงั่ คุยกับหญิงนั้น จึงเข้าไปตักเตือน แต่พระอุทายีไม่เชื่อฟัง
นางจึงไปบอกภิกษุท้ งั หลายให้ทราบ ต่อจากนั้น พวกภิกษุได้นาเรื่ องไปกราบทูล
พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตาหนิพระอุทายี ต่อจากนั้น ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้วา่
ภิกษุใดนัง่ กับมาตุคาม(หญิง)สองต่อสองในสถานที่ไม่ใช่ที่กาบัง ไม่พอจะ
เสพเมถุนได้ แต่เป็ นสถานที่พอจะพูดเกี้ยวด้วยวาจาชัว่ หยาบได้ อุบาสิ กามี
วาจาเชื่อถือได้ เห็นภิกษุนงั่ กับมาตุคามนั้น กล่าวโทษด้วยอาบัติอย่างใดอย่าง
หนึ่งใน ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรื อปาจิตตีย ์ ภิกษุยอมรับว่า “นัง่ ” พึงถูก
ปรับด้วยอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรื อปาจิตตีย ์
หรื ออุบาสิ กาผูม้ ีวาจาเชื่อถือได้น้ นั กล่าวโทษด้วยอาบัติใด ภิกษุน้ นั พึงถูก
ปรับด้วยอาบัติน้ นั
๒. เรื่ องภิกษุณตี ้ งั ครรภ์ ก่อนบวช
สตรี คนหนึ่งเป็ นธิดาของเศรษฐีชาวกรุ งราชคฤห์ มีศรัทธาประสงค์จะบวชเป็ นภิกษุณี
มาก แต่บิดามารดาไม่อนุญาต ต่อมาได้แต่งงานมีครอบครัว นางก็ยงั คงมีศรัทธาประสงค์จะ
บวชอยูไ่ ม่เสื่ อมคลาย ต่อมาไม่นาน สามีอนุญาตให้นางออกบวชตามประสงค์ โดยไม่รู้วา่
“ขณะนั้น นางกาลังตั้งครรภ์”
เมื่อบวชได้ไม่นาน ครรภ์เริ่ มโตขึ้น ภิกษุณีท้ งั หลายพากันติเตียนว่า “ภิกษุณีน้ ี
ประพฤติผิดวินยั เสพเมถุน” แม้นางจะปฏิเสธชี้แจงอย่างไรก็ไม่มีใครเชื่อ พวกภิกษุณีพา
ภิกษุณีที่ต้ งั ครรภ์น้ ีไปหาพระเทวทัต ปรึ กษาว่าจะทาอย่างไรดี พระเทวทัตบังคับให้นางลา
สิ กขา(สึ ก)ไปเพื่อไม่ให้หมู่คณะเสี ยชื่อเสี ยง นางมีศรัทธามาก ไม่ประสงค์จะลาสิ กขา
เพราะมัน่ ใจว่าตัวเองไม่ได้ทาผิดอะไร
ภิกษุณีอีกกลุม่ หนึ่งที่เห็นใจ ได้พาภิกษุณีที่ต้ งั ครรภ์น้ ีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ กรุ งสา
วัตถี พระพุทธองค์ทรงทราบอยูก่ ่อนแล้วว่า “ภิกษุณีน้ ีบริ สุทธิ์” แต่เพื่อให้สงั คมเข้าใจ จึง
ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน มีพระอุบาลีเป็ นประธานอานวยการ
คณะกรรมการฝ่ ายฆราวาสมีพระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขา

นางวิสาขามีบทบาทสาคัญในฐานะคณะกรรมการดาเนินงาน นางให้ก้ นั ม่านมิดชิด


ตรวจดูร่างกายภิกษุณีน้ นั ตรวจดูมือ เท้า สะดือ และท้อง คานวณดูระยะเวลาการตั้งครรภ์กร็ ู ้
ว่า “ภิกษุณีน้ ีต้งั ครรภ์ก่อนบวช” ต่อจากนั้น นางวิสาขาได้กราบเรี ยนให้พระอุบาลีทราบ
ประกาศให้สงั คมรู ้ทวั่ กันว่า “ภิกษุณีน้ ีบริ สุทธิ์” ต่อมาไม่นาน ภิกษุณีน้ นั คลอดบุตรชาย ตั้ง
ชื่อว่า “กุมารกัสสปะ” ต่อมาได้บวชเป็ นพระและบรรลุเป็ นพระอรหันต์ท้งั ภิกษุณีผเู ้ ป็ น
มารดาและพระกุมารกัสสปะผูเ้ ป็ นบุตรชาย
นางวิสาขามีสติปัญญาเฉี ยบแหลม เชี่ยวชาญทั้งในเรื่ องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและ
เรื่ องของคฤหัสถ์ญาติโยมผูค้ รองเรื อน เพราะนางมีบุตร หลาน และเหลนรวมกันแล้วจานวน
ถึง ๘,๔๒๐ คน ทาให้นางเชี่ยวชาญในเรื่ องการตั้งครรภ์ของสตรี สามารถนับวันเดือนของ
สตรีทตี่ ง้ ั ครรภ์ได้อย่างถูกต้อง บทบาทนางวิสาขาในเรื่องนี้นบั ว่าสาคัญยิง่ ได้ชว่ ยรักษาคนดี
ไว้ในพระพุทธศาสนา และคนดีน้ นั ก็พฒั นาตัวเองจนถึงเป็ นพระอรหันต์ ซึ่งเป็ นบริ สุทธิ์หมด
จดจากกิเลสทั้งปวง เป็ นบุคคลที่ทรงคุณค่ายิง่

๓. เรื่ องภิกษุชาวกรุงโกสัมพีบาดหมางกัน
สมัยหนึ่ง ภิกษุชาวกรุ งโกสัมพี ๒ ฝ่ าย คือ ฝ่ ายเชี่ยวชาญพระสูตร (สุตตันติกะ)
และฝ่ ายเชี่ยวชาญพระวินยั (วินยั ธร) ก่อความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท ทาให้เกิดความ
อื้อฉาวขึ้นในวงการสงฆ์ เพราะเรื่ องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เข้าห้องน้ าแล้วเหลือน้ าชาระไว้
ต้องอาบัติหรื อไม่ตอ้ งอาบัติ พระพุทธเจ้าตรัสบอกให้สามัคคีปรองดองกันก็ไม่เชื่อฟัง จึง
เสด็จหลีกไปประทับอยูท่ ี่โคนไม้รัง ราวป่ ารักขิตวัน เขตป่ าปาริ ไลยกะ ต่อจากนั้นก็เสด็จไป
ประทับ ณ พระเชตวัน กรุ งสาวัตถี
อุบาสก อุบาสิ กาชาวกรุ งโกสัมพีเห็นว่า ภิกษุชาวกรุ งโกสัมพีไม่สามัคคีกนั ก็พากัน
ต่อต้าน ไม่กราบ ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ถวายความอุปถัมภ์ ทาให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความ
สานึกผิด ต้องเดินทางไปกรุ งสาวัตถีเพื่อกราบทูลขอขมาพระพุทธเจ้า นางวิสาขาก็มีส่วน
ร่ วมในการทาให้ภิกษุสงฆ์สามัคคีปรองดองกัน กล่าวคือ เมื่อนางวิสาขาทราบว่ากลุ่มภิกษุ
ชาวกรุ งโกสัมพีกาลังเดินทางมากรุ งสาวัตถี นางได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลถามถึงวิธี
ปฏิบตั ิต่อภิกษุชาวกรุ งโกสัมพี พระพุทธองค์ตรัสบอกให้ถวายความอุปถัมภ์ในฐานะที่เป็ น
อุบาสิ กา

เมื่อภิกษุเหล่านั้นเดินทางมาถึง นางวิสาขาก็ถวายความอุปถัมภ์แก่ภิกษุท้งั ฝ่ าย
ผูเ้ ชี่ยวชาญพระสูตร(สุตตันติกะ)และฝ่ ายผูเ้ ชี่ยวชาญพระวินยั (วินยั ธร) เมื่อภิกษุท้ งั ๒ ฝ่ าย
แสดงธรรมให้ฟัง ก็ต้ งั ใจฟัง แต่เมื่อฟังแล้วก็ยดึ ถือปฏิบตั ิตามสิ่ งที่ถูกต้องที่ควร มีเหตุมีผล
สิ่ งที่เห็นว่าไม่ถูก ไม่ควร ไม่มีเหตุผลก็ปล่อยวางไป นางวิสาขาวางตัวเหมาะสม มีท่าที
เหมาะสมต่อภิกษุชาวกรุ งโกสัมพีอย่างนี้ ทาให้เกิดความสบายใจทุกฝ่ าย สิ่ งที่ร้ายก็กลายเป็ น
ดี สิ่ งที่ดีอยูก่ ด็ ียงิ่ ขึ้นไป

ทูลขอพรถวายความสะดวกแก่พระสงฆ์
๑. ขอพรเพื่อถวายผ้ าอาบนา้ ฝนและสิ่ งอานวยความสะดวกทั้ว ๗
สมัยหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยูท่ ี่วดั พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ณ กรุ งสาวัตถี เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ฝนตกใหญ่พร้อมกันใน ๔ ทวีป คือ ชมพู
ทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป และปุพพวิเทหทวีป ขณะที่ฝนตกอยูน่ ้ นั พระพุทธเจ้า
ตรัสกับภิกษุท้ งั หลายว่า
ภิกษุท้ งั หลาย ฝนตกในเชตวันฉันใด ตกในทวีปทั้ง ๔ ก็ฉนั นั้น พวกเธอจง
สรงสนานกายด้วยน้ าฝนเถิด นี้เป็ นเมฆฝนใหญ่ครั้งสุดท้ายที่ต้ งั เค้าขึ้นตก
(พร้อมกัน)ในทวีปทั้ง ๔
ภิกษุท้ งั หลายแก้ผา้ อาบน้ ากัน พอดีวนั นั้น นางวิสาขากราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า
พร้อมกับภิกษุสงฆ์ให้รับภัตตาหารที่บา้ น พอถึงเวลาฉันภัตตาหาร ให้สาวใช้ไปนิมนต์พระ
สาวใช้ไปถึงวัดพระเชตวัน เห็นคนเปลือยกายอาบน้ าเต็มไปหมด กลับมารายงานว่า “ไม่มี
ภิกษุอยูใ่ นวัด มีแต่พวกอาชีวก(ชีเปลือย)กาลังอาบน้ ากันอยู”่
นางวิสาขารู ้ทนั ทีวา่ “ภิกษุท้ งั หลายกาลังเปลือยกายอาบน้ า” ไม่ได้พดู อะไรมาก
จัดแจงถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์เสร็ จแล้ว ประสงค์จะจัดผ้าอาบ
น้ าฝนและเครื่ องอานวยความสะดวกอื่น ๆ ถวายพระสงฆ์ จึงกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอพร ๘
ประการ ดังนี้
๑.๑ ขอถวายผ้าอาบน้ าฝนแก่พระสงฆ์(ผ้าวัสสิ กสาฎก)ตลอดชีวิต เพราะ
เห็นว่า การเปลือยกายไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง
๑๐

๑.๒ ขอถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ที่เดินทางมาใหม่(อาคันตุกภัต)ตลอด
ชีวิต เพื่ออานวยความสะดวกให้แก่ภิกษุที่มาใหม่ ไม่ชานาญทางบิณฑบาต
๑.๓ ขอถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ที่เตรี ยมจะเดินทางไกล(คมิกภัต)ตลอด
ชีวิต เพื่อไม่ให้ท่านเหล่านั้นเสี ยเวลาจัดเตรี ยมอาหาร จะได้ไปทันกองเกวียนหรื อจะได้ไปถึง
ที่หมายก่อนพลบค่า
๑.๔ ขอถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ที่เป็ นไข้(คิลานภัต)ตลอดชีวิต เพื่อให้
ภิกษุไข้ได้อาหารเพียงพอและไม่แสลงโรค หรื อได้อาหารที่ช่วยบรรเทาความเจ็บป่ วย
๑.๕ ขอถวายอาหารแก่พระสงฆ์ที่พยาบาลภิกษุไข้(คิลานุปัฏฐากภัต)ตลอด
ชีวิต เพื่อให้ภิกษุผทู ้ าหน้าที่พยาบาลภิกษุไข้ไม่ตอ้ งเสี ยเวลาไปแสวงหาอาหารเพือ่ ตัวเอง จะ
ได้ทุ่มเทเวลาในการดูแลคนไข้เต็มที่
๑.๖ ขอถวายยารักษาโรคแก่พระสงฆ์(คิลานเภสัช)ตลอดชีวิต เพื่อให้ภิกษุ
ได้ยาที่มีสรรพคุณตรงกับโรคนั้น ๆ
๑.๗ ขอถวายข้าวต้มประจาแก่พระสงฆ์(ธุวยาคุ)ตลอดเชีวิต
๑.๘ ขอถวายผ้าอาบน้ าแก่ภิกษุณีตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดความสวยงามน่า
เลื่อมใสในหมู่ภิกษุณี อีกทั้งภิกษุณีจะได้ไม่ถูกพวกหญิงแพศยาเยาะเย้ยเอาเมื่อลงอาบน้ าใน
ท่าเดียวกัน
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “เธอเห็นประโยชน์อะไรจึงขอพร ๘ ประการ ?” นาง
วิสาขากราบทูลว่า “เมื่อได้รับอนุญาตให้ถวายสิ่ งอานวยความสะดวกแก่พระสงฆ์ในกรุ งสา
วัตถีตลอดชีวิต ย่อมทาให้มนั่ ใจได้วา่ พระสงฆ์แม้ไม่ได้จาพรรษาอยูใ่ นกรุ งสาวัตถี แต่ผา่ น
มาผ่านไปในกรุ งสาวัตถี ก็จะได้รับถวายสิ่ งอานวยความสะดวกทั้งหมด เมื่อนึกถึงทานอัน
เป็ นบุญกุศลนี้ ก็จะเกิดความปลื้อมใจ อิ่มใจ กายสงบ มีความสุข ใจเป็ นสมาธิ ปฏิบตั ิธรรม”
เมื่อนางวิสาขากราบทูลอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาด้วยพระคาถาว่า
สตรี ใดเมื่อให้ขา้ วและน้ าก็เบิกบานใจ มีศีล เป็ นสาวิกาของพระสุคต
ครอบงาความตระหนี่ ให้ทานซึ่งเป็ นหนทางสวรรค์ เป็ นเครื่ องบรรเทาความ
โศก นาสุขมาให้ สตรี น้ นั อาศัยหนทางที่ไม่มีธุลี ไม่มีกิเลสยวนใจ ย่อมได้
กาลังและอายุทิพย์ เธอผูป้ ระสงค์บุญ มีความสุข มีพลานามัย ย่อมปลื้มใจ
ในชาวสวรรค์ตลอดกาลนาน
๑๑

เมื่อทรงอนุโมทนาจบ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตสิ่ งอานวยความสะดวกแก่พระสงฆ์


๘ อย่าง คือ ผ้าอาบน้ าฝนสาหรับภิกษุ(ผ้าวัสสิ กสาฎก) ภัตตาหารสาหรับภิกษุผมู ้ าใหม่(อา
คันตุกภัต) ภัตตาหารสาหรับภิกษุผเู ้ ตรี ยมเดินทาง(คมิกภัต) ภัตตาหารสาหรับภิกษุไข้(คิลาน
ภัต) ภัตตาหารสาหรับภิกษุผพู ้ ยาบาลภิกษุไข้(คิลานุปัฏฐากภัต) ยารักษาภิกษุ
ไข้(คิลานเภสัช) ข้าวต้มประจา(ธุวยาคู) และผ้าอาบน้ าสาหรับภิกษุณี
คาว่า “อนุญาต” หมายถึงว่า เมื่อก่อนนี้ ไม่มีใครจัดสิ่ งเหล่านี้ถวายพระสงฆ์เป็ น
กิจลักษณะ และพระสงฆ์เองก็ไม่แน่ใจว่ารับถวายได้หรื อไม่ แต่ต่อไปนี้ พระสงฆ์รับถวายสิ่ ง
เหล่านี้ได้โดยสะดวกใจ และควรมีผจู ้ ดั สิ่ งเหล่านี้ถวายพระสงฆ์
๒. ถวายผ้ าเช็ดปากและเครื่ องใช้ ไม้สอย
ธรรมเนียมของพระสงฆ์ในสมัยพระพุทธเจ้านั้น จะรับถวายสิ่ งของเครื่ องใช้จาก
ชาวบ้านก็ตอ้ งคิดแล้วคิดอีก เพราะเกรงว่าจะผิดวินยั กลัวว่าพระพุทธองค์จะตาหนิ ต้องรอ
ให้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตก่อน
ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กรุ งสาวัตถี นางวิสาขาถวายผ้าเช็ดปากแด่พระพุทธ
องค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับถวายผ้าเช็ดปากจากนางวิสาขาแล้ว ทรงอนุญาตให้ภิกษุ
ทั้งหลายรับถวายผ้าเช็ดปากได้
นอกจากนี้ นางวิสาขายังได้กราบทูลพระพุทธเจ้า ขอถวายหม้อน้ า ไม้กวาด พระ
พุทธองค์ทรงรับไว้แล้วอนุญาตให้พระสงฆ์รับถวายสิ่ งเหล่านี้ได้ และอนุญาตให้ใช้ที่ถูเท้าได้
๓ ชนิด คือ ศิลา กรวด ศิลาฟองน้ า
นางวิสาขาได้กราบทูล ขอถวายพัดโบก พัดใบตาล พระพุทธเจ้าทรับรับไว้แล้วทรง
อนุญาตให้พระสงฆ์รับถวายได้ นอกจากนี้ ทรงอนุญาตแส้ปัดยุง โดยต้องเป็ นแสปอ แส้แฝก
แส้ขนนกยูง สิ่ งของที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ใช้ได้เหล่านี้ ล้วนมาจากการที่นาง
วิสาขาเป็ นผูร้ ิ เริ่ มจัดถวายทั้งสิ้น
๓. ทูลขอกุลบุตรบวชได้ ในระหว่ างพรรษา
สมัยหนึ่ง พระสงฆ์ในกรุ งสาวัตถีต้ งั กติกากันไว้วา่ “ในระหว่ างพรรษา ไม่ พึงให้
บรรพชา(บวช)” พอดีในระหว่างพรรษาหนึ่ง หลานชายของนางวิสาขาประสงค์จะบรรพชา
แต่ถูกพระสงฆ์ปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า “พระสงฆ์ได้ต้ งั กติกาไว้วา่ จะไม่มีการให้บรรพชาใน
ระหว่างพรรษา” เมื่อออกพรรษาแล้วจึงให้บรรพชาแก่เขา
๑๒

นางวิสาขาทราบเรื่ องนั้นเข้า กล่าวในเชิงตาหนิวา่ “พระคุณเจ้าทั้งหลายตั้งกติกา


เช่นนั้นได้อย่างไรกัน จะทาความดี จะประพฤติธรรมต้องมีกาหนดเวลาด้วยหรื อ ?” เมื่อ
ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงมีพระพุทธดารัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ พึงตัง้ กติกาเช่ นนีว้ ่ า
‘ในระหว่ างพรรษา ไม่ พึงให้ บรรพชา สงฆ์ หมู่ใดตัง้ ต้ องอาบัติทุกกฏ” ข้อร้องเรี ยนนี้ของ
นางวิสาขานับว่าสาคัญยิง่ เป็ นการเปิ ดโอกาสให้คนที่มีศรัทธา ประสงค์จะบวช สามารถบวช
ได้ตลอดเวลา และเป็ นแนวปฏิบตั ิในประเทศไทยปัจจุบนั นี้

๔. เป็ นต้ นเหตุให้ พระพุทธเจ้ าทรงอนุญาตให้ ภิกษุเก็บรัตนะทีเ่ จ้ าของลืมไว้


ก่อนหน้านี้ มีสิกขาบท(ศีล)กาหนดไว้วา่ “ก็ภิกษุใด เก็บหรื อใช้ ให้ เก็บรั ตนะ(แก้ ว)
หรื อของที่สมมติว่าเป็ นรั ตนะ ต้ องอาบัติปาจิ ตตีย์” กล่าวโดยสรุ ปก็คือ พระภิกษุเก็บสิ่ งของ
มีค่าที่คฤหัสถ์ญาติโยมลืมไว้ ผิดศีลหรื อศีลขาด ภาษาพระเรี ยกว่า “ต้องอาบัติปาจิตตีย”์
ต่อมาสมัยหนึ่ง มีมหรสพในกรุ งสาวัตถี ประชาชนพากันไปเที่ยวชมมหรสพกัน
ส่วนนางวิสาขาแต่งตัวออกจากบ้านไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อไปถึงที่ประทับของพระพุทธ
องค์ นางถอดเครื่ องประดับมหาลดาปสาธน์ ออกให้สาวใช้ถือไว้ สวมเครื่ องประดับฆนมัฏฐ
กะแทน๖ เนื่องจากนางเห็นว่าเป็ นการไม่เหมาะสมที่จะสวมเครื่ องประดับตั้งแต่หวั จรดเท้าเข้า
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงสวมเครื่ องประดับฆนมัฏฐกะซึ่งเป็ นเครื่ องประดับเล็กแทน
เมื่อฟังเทศน์จบเดินทางกลับบ้าน สาวใช้ลืมเครื่ องประดับมหาลดาปสาธน์ไว้ที่วดั
พวกภิกษุพบเข้าจึงกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสสัง่ ให้เก็บรักษา
เครื่ องประดับนั้นไว้ และทรงบัญญัติสิกขาบท(ศีล)เพิม่ เติมว่า “อนึ่ง ภิกษุใดเก็บ หรือใช้ ให้
เก็บรัตนะหรือของทีส่ มมติว่าเป็ นรัตนะ ต้ องอาบัติปาจิตตีย์ เว้ นไว้ แต่ ในอาราม” กล่าวโดย
สรุ ปก็คือว่า นับแต่น้ นั มา เมื่อคฤหัสถ์ญาติโยมหรื อผูใ้ ดผูห้ นึ่งลืมสิ่ งของมีค่าไว้ในวัด ภิกษุ
สงฆ์สามารถเก็บรักษาไว้ได้


เครื่ องประดับชื่อ “มหาลดาปสาธน์” เป็ นสิ่ งพิเศษที่เกิดขึ้นจากการบาเพ็ญบุญถวาย
เครื่ องนุ่งห่ มมีจีวรเป็ นต้นแก่พระสงฆ์จานวนมาก สมัยนั้น มีหญิง ๓ คนเท่านั้นที่มีเครื่ องประดับมหา
ลดาปสาธน์ คือ (๑) นางวิสาขามหาอุบาสิ กา (๒) นางมัลลิกา ผูเ้ ป็ นภริ ยาของพันธุ ลเสนาบดี (๓)
ธิ ดาของเศรษฐีชาวกรุ งพาราณสี เครื่ องประดับมหาลดาปสาธน์น้ ี ต้องสวมไว้บนศีรษะและส่ วนประกอบ
แวดล้อมห้อยระย้าไปจนถึงเท้า มีส่วนประกอบดังนี้ (๑) เพชร ๔ ทะนาน (๒) แก้วมุกดา-ไข่มุก- ๑๑
ทะนาน (๓) แก้วประพาฬ ๒๐ ทะนาน (๔) แก้วมณี ๓๓ ทะนาน
๑๓

สร้ างบุพพารามและโลหปราสาท
บุพพารามตั้งอยูใ่ นบริ เวณใกล้พระเชตวัน กรุ งสาวัตถี นางวิสาขาและประชาชนในบริ เวณ
ใกล้เคียงเป็ นผูส้ ร้างถวาย เข้าใจว่า ในเบื้องต้น นางวิสาขาและบริ วารคงถวายสวนป่ าที่น่ารื่ นรมย์
ให้เป็ นที่ประทับของพระพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ได้ยกฐานะสถานที่แห่งนั้นขึ้นเป็ น “วัดบุพพา
ราม” เรี ยบร้อยแล้ว อาจมีกุฏิวหิ ารอยูใ่ นที่น้ นั บ้าง แต่ไม่มากนัก และเมื่อจะสร้างสิ่ งปลูกสร้าง
ขึ้นมา มีการซื้ อที่ดินเพิ่มเติมด้วยเงิน ๙ โกฏิ(๙๐ ล้าน) ก่อนที่จะมีการสร้างกุวิหาร
ก่อนที่จะมีสิ่งปลูกสร้างขึ้นมานั้น เรื่ องมีอยูว่ า่
สมัยหนึ่ง นางวิสาขาไปฟังธรรมที่วดั สวมเครื่ องประดับ “มหาลดาปสาธน์” ไปด้วย แต่
ก่อนที่จะเข้าไปวิหาร นางเห็นว่าไม่ควรจะสวมเครื่ องประดับเข้าไปด้วย จึงถอดเครื่ องประดับออก
ให้หญิงรับใช้ถือไว้ เมื่อฟังธรรมเสร็ จ ก่อนจะกลับบ้าน นางเดินตรวจดูบริ เวณวัด เสร็ จแล้วจะ
เดินทางกลับ ขอเครื่ องประดับจากหญิงรับใช้ แต่หญิงรับใช้ลืมเครื่ องประดับ พระอานนท์เห็นเข้า
จึงกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์รับสั่งให้เก็บไว้ขา้ งบันได(กุฏิ) นางวิสาขารู ้วา่ พระอานนท์
เก็บเครื่ องประดับนั้นไว้ คิดว่า “สิ่ งของที่พระคุณเจ้าจับต้องแล้ว ไม่ควรนามาใช้สอย ควรถวายวัด
ไปเสี ย” สั่งให้หญิงรับใช้ไปนาเครื่ องประดับนั้นมา ให้ตีราคาเพื่อขายเอาเงินไปซื้ อที่ดินถวายวัด
แต่ไม่มีใครสู ้ราคา นางวิสาขาจึงต้องซื้ อเองในราคา ๙ โกฏิกบั ๑ แสน(๙๐ ล้าน ๑ แสน) นาเงิน
ที่ได้ไปซื้ อที่ดินถวายพระภิกษุสงฆ์ แล้วสร้างปราสาท(โลหปราสาท) ๒ ชั้น มีห้อง ๑,๐๐๐ ห้อง
จัดหาปัจจัยสี่ ถวายภิกษุสงฆ์ รวมแล้ว นางวิสาขาบริ จาคทรัพย์ท้ งั สิ้ น ๒๗ โกฏิ (๒๗๐ ล้าน) ไว้
ในพระพุทธศาสนา คือ บริ จาคซื้ อที่ดิน ๙ โกฏิ บริ จาคสร้างวิหาร ๙ โกฏิ บริ จาคจัดงานฉลอง
วิหาร ๙ โกฏิ การดาเนินงานก่อสร้างวิหาร ใช้เวลา ๙ เดือนจึงเสร็ จสมบูรณ์ โดยมีพระมหาโมค
คัลลานะเป็ นผูอ้ านวยการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ
ในวันฉลองวัด นางวิสาขารู ้สึกปลื้อมปี ติอย่างยิง่ ตานานบอกว่า นางจัดงานฉลองวัดเป็ น
เวลา ๔ เดือน ในวัดสุ ดท้ายในตอนบ่าย เดินรอบปราสาทพร้อมด้วยบุตรธิดา หลาน และเหลน
กล่าวอุทานด้วยเสี ยงไพเราะว่า
เราคิดอยูเ่ สมอว่า ‘เรื่ อไรจะได้ถวายปราสาทใหม่ ฉาบด้วยปูนขาวและดิน เมื่อไร
จะได้ถวายเตียง ตัง่ ฟูก และหมอน เมื่อไรจะได้ถวายสลากภัตผสมด้วยเนื้อ
สะอาด เมื่อไรจะได้ถวายผ้ากาสี ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย เมื่อไรจะได้ถวายเนย
ใส เนยข้น น้ าผึ้ง น้ ามัน และน้ าอ้อย’ บัดนี้ ความคิดของเราบรรลุความสาเร็ จ
สมบูรณ์แล้ว
ภิกษุสงฆ์ในวัดบุพพาราม ได้ยนิ เสี ยงของนางวิสาขากล่าวอุทานอย่างนี้ บางรู ปคิดว่า
“วิสาขาคงไม่ สบาย วิกลจริ ตเสียแล้ วกระมังถึงมาเดินละเมอรอบปราสาทอย่ างนี”้ พระพุทธเจ้า
๑๔

ตรัสบอกภิกษุสงฆ์วา่ “นางวิสาขาไม่ ได้ ป่วย ไม่ ได้ วิกลจริ ต แต่ กล่ าวอุทานด้ วยความยินดีปรี ดาที่
ความปรารถนาบรรลุความสาเร็ จ”
ตั้งแต่พรรษาที่ ๒๑–๔๔ พระพุทธเจ้า วันที่ทรงรับอาหารในเรื อนของนางวิสาขา จะเสด็จ
ออกทางประตูดา้ นทิศใต้ ไปประทับอยูใ่ นพระเชตวันของอนาถบิณฑิกเศรษฐี วันที่ทรงรับอาหาร
ในเรื อนของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จะเสด็จออกทางประตูดา้ นตะวันออก ไปประทับอยูใ่ นบุพพาราม
ทรงปฏิบตั ิอย่างนี้ เป็ นประจา ตานานบอกว่า “ประทับที่พระเชตวัน ๑๙ พรรษา ประทับที่บุพพา
ราม ๖ พรรษา”

ตอนที่ ๓ อุบาสิ กาต้นแบบ


คุณสมบัติประจาตัว
๑. เบญจกัลยาณี
วิสาขามีความงาม ๕ อย่าง (เบญจกัลยาณี ) ครบถ้วน กล่าวคือ ผมงาม คือ มีผม
เหมือนกับกาหางนกยูง ยาวสลวยระชายผ้านุ่ง ปลายงอนขึ้น เนื้องาม คือ มีริมฝี ปากสี กลมกลืน
เรี ยบสนิท มีสีเหมือนกับลูกตาลึงสุ ก กระดูกงาม คือ ฟันขาวเรี ยบไม่ห่าง งดงามเหมือนเพชรที่
จัดเรี ยงไว้ สี ขาวเหมือนสังข์ที่ขดั สี ผิวงาม คือ สี ผวิ เหมือนดอกอุบลเขียว(ดาขา)และดอก
กรรณิ กา(ขาวสะอาด) วัยงาม คือ บุคลิกงดงามเหมือนสาวรุ่ น แม้คลอดบุตรธิดาตั้ง ๒๐ ครั้ง
แล้วก็เหมือนคลอดเพียงครั้งเดียว
๒. กาลังเท่ากับช้ าง ๕ เชื อก
นางวิสาขามีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ มีกาลังมหาศาล เท่ากับช้าง ๕ เชือก เป็ นที่เลื่อง
ลือรู ้จกั กันทัว่ ไป สมัยหนึ่ง นางวิสาขาไปฟังธรรมที่วดั ขณะเดินทางกลับบ้าน พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงประสงค์จะทดลองกาลังของวิสาขา จึงทรงรับสั่งให้ปล่อยช้าง(ตกมัน)ไปประลองกาลังกัน
ช้างวิง่ ชูงวงเข้าใส่ นางวิสาขาทันที หญิงบริ วาร ๕๐๐ คน บางคนวิง่ หนีดว้ ยความตกใจ
บางคนยืนล้อมวิสาขาไว้ เมื่อวิสาขาทราบว่า “พระราชทรงประสงค์จะทดลองกาลังของนาง” จับ
งวงช้างด้วยนิ้วมือ ๒ นิ้วผลักออกไป ช้างนั้นลมกลิ้งลงตรงนั้นเอง
๓. พูดจาไพเราะ
วิสาขาพูดจาไพเราะเป็ นปกติ (ปิ ยวาจา) พูดเรื่ องอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไรก็ไพเราะ
เพราะพริ้ ง เหมาะสมกับวัยของคนฟัง ทาให้คนฟังรู ้สึกเหมือนกับว่าเป็ นญาติสนิท เช่น เวลาจะให้
สิ่ งของแก่คนทัว่ ไป แม้ไม่ใช่ญาติสนิทมิตรสหาย ก็เจรจาพาทีวา่ “ท่านจงให้สิ่งนี้ แก่คุณแม่ของฉัน
๑๕

จงให้สิ่งนี้แก่คุณพ่อของฉัน จงให้สิ่งนี้แก่พี่ชายพี่สาวของฉัน จงให้สิ่งนี้แก่พี่สาวน้องสาวของ


ฉัน”๗ นางวิสาขานิยมเรี ยกคนทัว่ ไปที่มีอายุปูนพ่อแม่วา่ “คุณพ่อ คุณแม่” เรี ยกคนทัว่ ไปที่มีอายุแก่
กว่าว่า “พี่ชาย พี่สาว” เรี ยกคนทัว่ ไปที่มีอายุอ่อนกว่าว่า “น้องชาย น้องสาว”

คุณธรรมประจาใจ
๑. คนและสั ตว์รวม ๔ พวกไม่ ควรวิง่
สมัยหนึ่ง มีงานประจาปี ในเมืองสาเกต เรี ยกงานนี้วา่ “นักขัตฤกษ์เปิ ด(วิวฏนักขัต
ตะ)” ในเทศกาลนี้ ทุกคนในเมืองออกไปเที่ยวกัน คนที่ไม่เคยออกไปไหนเลยก็จะออกไป
เที่ยวงานนี้ เดินเท้าไปที่แม่น้ า สมัยนั้น วิสาขาอายุประมาณ ๑๕–๑๖ ปี ออกจากบ้านไป
เที่ยวงานนี้ดว้ ย เป็ นเวลาเดียวกันกับที่มิคารเศรษฐีส่งพราหมณ์ ๘ คนไปแสวงหญิงที่มี
ลักษณะเบญจกัลยาณี มาเพือ่ ให้แต่งงานกับปุณณวัฒนกุมารผูเ้ ป็ นบุตรชาย
ขณะที่วิสาขาเดินไปถึงฝั่งแม่น้ า ฝนตกลงมาพอดี ทุกคนต่างวิ่งหาที่หลบฝนกัน แต่
วิสาขาไม่วงิ่ เหมือนคนอื่น เดินไปตามปกติ พราหมณ์ ๘ คนเห็นกิริยาอาการของวิสาขา
รู ้สึกแปลกใจที่ไม่วิ่งเหมือนคนอื่น จึงถามว่า “นาง ฝนตกหนักอย่างนี้ ทาไมจึงไม่วิ่งหลบ
ฝนเล่า ?” วิสาขาตอบว่า คนและสัตว์รวม ๔ ประเภท วิ่งแล้วไม่งาม คือ
๑.๑ พระราชาที่ทรงอภิเษก ประดับประดาด้วยเครื่ องอาภรณ์พร้อมสรรพ ไม่ควรวิ่ง
จะไม่สง่างาม
๑.๒ ช้างมงคลของพระราชา คือช้างทรงที่ประดับประดาด้วยเครื่ องประดับต่าง ๆ
ไม่ควรวิ่ง จะไม่สง่างาม
๑.๓ บรรพชิต คือนักบวช เช่น ภิกษุสามเณร หรื อคนนุ่งขาวห่มขาวรักษาศีล ไม่
ควรวิง่ จะไม่สง่างาม
๑.๔ สตรี ไม่ควรวิ่ง จะไม่สง่างาม
๒. สตรีคือแก้วประจาตระกูล


ภาษาบาลีวา่ “อิท มยฺห มาตุ เทถ, อิท มยฺห ปิ ตุ เทถ, อิท มยฺห ภาตุ เทถ, อิท
มยฺห ภคินิยา เทถ” ดู มหามกุฏราชวิทยาลัย, ธมฺมปทฏฺฐกถา (ตติโย ภาโค), พิมพ์ครั้งที่ ๒๕,
(กรุ งเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒), หน้า ๕๙.
๑๖

นางวิสาขาได้รับยกย่องอย่างเป็ นทางการจากพระพุทธเจ้าว่า “เป็ นผูเ้ ลิศในด้านการให้


ทาน” ตาแหน่งนี้เรี ยกว่า “เอตทัคคะ”
เมื่ออธิบายให้พรามณ์ท้งั ๘ ฟังว่า “คนและสัตว์รวม ๔ ประเภทวิ่ง ย่อมไม่งาม”
วิสาขาอธิบายให้ฟังต่อไปอีกว่า สตรี ท้ งั หลายถือเป็ นแก้ว(รัตนะ)ประจาตระกูล บิดามารดา
เลี้ยงลูกสาวมา ถนอมอวัยวะลูกสาวไว้กเ็ พื่อต้องการให้เป็ นสะใภ้ที่ดีของตระกูลอื่น ถ้าสตรี
วิ่งไปมาเกิดอุบตั ิเหตุหกล้ม แข้งขาหัก มือหรื อเท้าแตก แก้วคือสตรี กจ็ ะราคาตกไป และที่
สาคัญคือจะตกเป็ นภาระของคนอื่นที่ตอ้ งคอยเลี้ยงดู วิสาขากล่าวไว้น่าคิดตอนหนึ่งว่า
“เครื่ องแต่งตัว เปี ยกฝนแล้วก็ตอ้ งแห้ง ไม่ตอ้ งห่วงหรอก ส่วนแข้งขา มือเท้าแตกแล้วเอา
กลับคืนมาไม่ได้” ด้วยเหตุน้ ี เมื่อฝนตก วิสาขาจึงไม่วงิ่ หลบฝนเหมือนคนอื่นเขา
๓. รักษาอุโบสถศีล
ในอดีตชาติ สมัยที่เกิดเป็ นพระนางสุเมธา พระธิดาของพระเจ้าพรหมทัตแห่งกรุ ง
พาราณสี ทรงรักษาอุโบสถศีลมิได้ขาดตกบกพร่ อง ในปัจจุบนั ชาติ สมัยหนึ่ง นางวิสาขาเข้า
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าขณะประทับอยูท่ ี่โลหปราสาทในบุพพาราม กรุ งสาวัตถี พระพุทธเจ้า
ตรัสถามว่า “วิสาขา เธอมาจากที่ไหนแต่ ยงั วันเชียว” นางกราบทูลว่า “ข้ าแต่ พระองค์ ผ้ ู
เจริ ญ วันนีห้ ม่ อมฉั นจะรั กษาอุโบสถ”
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมว่าด้วยอุโบสถ ๓ ประการแก่นางวิสาขา ดังนี้
๓.๑ โคปาลอุโบสถ อุโบสถที่ปฏิบตั ิอย่างคนเลี้ยงโค หมายถึง อุโบสถที่
รักษาแบบไม่เคร่ งครัด คนที่รักษาก็นอ้ มนึกจินตนาการไปเรื่ อยตามกิเลสตัณหา เช่น “วันนี้
เรารักษาอุโบสถอดข้าวอดน้ า งดใช้สอยสิ่ งของต้องห้าม พรุ่ งนี้หลังจากออกจากอุโบสถศีล
แล้ว เราจะคิด เคี้ยว บริ โภคให้หนาใจ” อุโบสถอย่างนี้ไม่ก่อให้เกิดบุญกุศลมากนัก
๓.๒ นิคัณฐอุโบสถ อุโบสถที่ปฏิบตั ิอย่างนิครนถ์๘ หมายถึงอุโบสถที่
รักษาเหมือนกับโกหกตัวเอง เหมือนกับพวกนิครนถ์ชกั ชวนกันและกันให้สละทรัพย์สมบัติ
ทุกอย่างในวันอุโบสถ โดยกล่าว่า “ตัวเองไม่เป็ นสมบัติของใคร และไม่มีสมบัติอะไร” แต่
พอพ้นวันอุโบสถก็กลับไปครอบครอง บริ โภคใช้สอยสมบัติเหล่านั้นตามเดิม นิคณ
ั ฐ
อุโบสถนี้กไ็ ม่ก่อให้เกิดบุญกุศลมากนัก


คาว่า “นิครนถ์” หมายถึงนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ที่เป็ นสาวกของนิครนถนาฏบุตร ปัจจุบนั ก็
คือ นักบวชในศาสนาเชน
๑๗

๓.๓ อริ ยอุโบสถ อุโบสถปฏิบตั ิอย่างอริ ยสาวก หมายถึง การรักษาสิ ขา


บท ๘ ข้อ มีการเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการใช้ที่นอน
สูงและที่นอนใหญ่เป็ นต้น ที่เรี ยกว่ารักษา “ศีล ๘“ เคร่ งครัดเป็ นกรณี พิเศษในวันอุโบสถ
อริ ยอุโบสถนี้ก่อให้เกิดบุญกุศลมาก มีอานิสงส์มาก เป็ นอุโบสถในพระพุทธศาสนา เรี ยกว่า
“อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘” เป็ นข้อปฏิบตั ิเพื่อฝึ กหัดขัดเกลากิเลสของอุบาสกอุบาสิ กา
โดยเฉพาะ
นางวิสาขารักษาอริ ยอุโบสถนี้ นอกจากการรักษาอุโบสถศีลนี้แล้ว นางวิสาขายังมี
อัธยาศรัยเมตตาต่อสัตว์ทุกประเภท สมัยหนึ่ง ตอนเที่ยงคืน แม่ฬาซึ่งเป็ นแม่มา้ อาชาไนยตก
ลูก(คลอดลูก) นางวิสาขาก็พาพวกคนใช้ไปดูแลปรนนิบตั ิ

มรดกธรรมจากพระพุทธเจ้ า
๑. ทีใ่ ดมีรัก ทีน่ ั่นมีทุกข์
นางวิสาขาถึงจะมีบุตรธิดา หลานและเหลนมาก แม้กระนั้นก็ประสงค์จะมีให้มากขึ้น
ไปอีก สมัยหนึ่ง หลานสาวของนางเสี ยชีวิต นางวิสาขาเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่โลหปราสาท
ในบุพพาราม กรุ งสาวัตถี พระพุทธเจ้าตรัสถามว่าตอนหนึ่งว่า “วิสาขา เธอต้องการมีบุตร
และหลานจานวนเท่ากับชาวกรุ งสาวัตถีหรื อ” นางกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉัน
ประสงค์อย่างนั้น”พระพุทธเจ้าตรัสให้ขอ้ คิดแก่นางว่า
วิสาขา ผูม้ ีสิ่งเป็ นที่รัก ๑๐๐ ก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผูม้ ีสิ่งเป็ นที่รัก ๙๐ ก็มีทุกข์ ๙๐
ผูม้ ีสิ่งเป็ นที่รัก ๘๐ ก็มีทุกข์ ๘๐ ผูม้ ีสิ่งเป็ นที่รัก ๗๐ ก็มีทุกข์ ๗๐ ผูม้ ีสิ่ง
เป็ นที่รัก ๖๐ ก็มีทุกข์ ๖๐ … ผูม้ ีสิ่งเป็ นที่รัก ๓ ก็มีทุกข์ ๓ ผูม้ ีสิ่งเป็ นที่รัก
๒ ก็มีทุกข์ ๒ ผูม้ ีสิ่งเป็ นที่รัก ๑ ก็มีทุกข์ ๑ ผูไ้ ม่มีสิ่งเป็ นที่รัก ก็ไม่มีทุกข์
ซึ่งเราเรี ยกว่า ผูห้ มดความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีความคับแค้นใจ …
ความโศก ความคร่ าครวญ และความทุกข์หลากหลายมีในโลกนี้ ย่อมเกิดมี
ได้เพราะอาศัยสิ่ งเป็ นที่รัก เมื่อไม่มีสิ่งเป็ นที่รัก ความเศร้าโศกเป็ นต้น
เหล่านี้กไ็ ม่มี
๒. แม่บ้านยอดกัลยาณี
๑๘

สมัยหนึ่ง ขณะประทับอยูท่ ี่โลหปราสาทในบุพพาราม กรุ งสาวัตถี พระพุทธเจ้าทรง


แสดงธรรมแก่นางวิสาขา ว่าด้วยคุณสมบัติของแม่บา้ น(มาตุคาม)ที่ดี ๘ ประการ
๒.๑ ตื่นก่อน นอนทีหลังสามี รับใช้ปฏิบตั ิ พูดจาไพเราะ
๒.๒ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาคนที่สามีให้ความเคารพ เช่น บิดามารดา
สมณพราหมณ์ ต้อนรับคนซึ่งเป็ นที่เคารพของสามีดว้ ยปัจจัยที่อยูท่ ี่อาศัยตามฐานะ
๒.๓ ขยัน เฉลียวฉลาด มีความรู ้สามารถประยุกต์ทางานได้ทุกอย่าง จัดการ
งานบ้าน งานถักงานทอ หรื อกิจการภายในบ้านอื่น ๆ
๒.๔ มอบหมายงานให้ทาส คนใช้ หรื อกรรมการตามความสามารถ เมื่อ
คนเหล่านั้นเป็ นไข้กด็ ูแลเอาใจใส่ มอบของกินของใช้ให้ในโอกาสอันควร
๒.๕ เก็บรักษาทรัพย์ ข้าว เงิน หรื อทองที่สามีหามาได้ ไม่เล่นการพนัน
ไม่เป็ นหัวขโมย ไม่ดื่มสุรา ไม่ผลาญทรัพย์สมบัติ ดารงฐานะของครอบครัวให้อยูใ่ นความ
มัน่ คงเสมอ
๒.๖ เป็ นอุบาสิ กา ใฝ่ ใจศึกษาและปฏิบตั ิธรรม มีศรัทธามัน่ คงในพระ
รัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อุปถัมภ์พระสงฆ์ดว้ ยปัจจัยสี่ ตามสมควรแก่
ฐานะ
๒.๗ รักษาศีล ๕ บริ สุทธิ์ บริ บูรณ์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย มีวิถี
ชีวิตดีงาม เป็ นแบบอย่างที่ดีของครอบครัวและสังคม
๒.๘ มีใจเสี ยสละ ยินดีในการเสี ยสละ ใครก็มาขอได้ ยินดีในทาน เปิ ด
ประตูรอรับผูข้ อที่มาจากทุกทิศ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า แม่บา้ น(มาตุคาม)ที่มีคุณสมบัติ ๘ ประการนี้ หลังจากตาย ย่อมไป
เกิดในสวรรค์ อยูร่ ่ วมกับพวกเทวดา “มนาปกายิกา” หมายถึง กลุ่มเทพที่มีเสน่ห์เป็ นที่ดึงดูดใจ
ของผูพ้ บเห็น นางวิสาขามีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาอีกกัณฑ์หนึ่งแก่นางวิสาขา ว่าด้วยคุณสมบัติ ๔
ประการของแม่บา้ น(มาตุคาม) ผูไ้ ด้ชื่อว่าปฏิบตั ิเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ในปั จจุบนั นี้ คือ (๑)
จัดการงานดี (๒) สงเคราะห์คนข้างเคียง (๓) ปฏิบตั ิถูกใจสามี (๔) รักษาทรัพย์ที่
สามีหามาได้ และทรงแสดงคุณสมบัติ ๔ ประการของแม่บา้ นผุป้ ฏิบตั ิเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ใน
อนาคต คือ (๑) มีศรัทธา (๒) มีศีล (๓) มีความเสี ยสละ (๔) มีปัญญา
๑๙

มรดกธรรมจากบิดา
ธนัญชัยเศรษฐีก่อนที่จะส่งวิสาขาไปประกอบพิธี “อาวาหมงคล”๙ กับปุณณวัฒน
กุมาร ที่บา้ นมิคารเศรษฐี ในกรุ งสาวัตถี ได้เตรี ยมเครื่ องอานวยความสะดวกให้แก่ธิดาทุก
อย่าง ที่สาคัญมี ๒ อย่าง คือ ส่งกุฎุมพี(คนมัง่ คัง่ ) ๘ คนไปเป็ นที่ปรึ กษาของวิสาขา คอยให้
คาปรึ กษาและแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ขณะที่วิสาขาอยูใ่ นตระกูลสามี ที่สาคัญที่สุดประการ
ต่อมาก็คือ ธนัญชัยเศรษฐีได้สงั่ สอนวิสาขาไว้ ๑๐ เรื่ อง ดังนี้
๑. ไฟในอย่านาออก หมายถึง เรื่ องที่ไม่ดีภายในครอบครัว เช่น ความผิดพลาด
ข้อเสี ยของคนในครอบครัวสามี อย่านาออกไปพูดนอกบ้าน ไม่วา่ จะเป็ นปัญหาจุกจิกหรื อ
ปัญหาใหญ่โต ไม่ควรนาออกไปพูดข้างนอก ไม่ควรให้คนนอกรับรู ้ ควรจัดการให้เรี ยบร้อย
ภายในครอบครัว
๒. ไฟนอกอย่ านาเข้ า หมายถึง คนบ้านใกล้เรื อนเคียงพูดถึงข้อเสี ย หรื อเรื่ องที่ไม่
ดีของบิดามารดาของฝ่ ายสามี อย่านาเรื่ องที่เขานินทานั้นเข้ามาเล่าให้ครอบครัวสามีรู้ เพราะ
จะทาให้เกิดความขัดแย้ง หรื อสะใภ้เองจะถูกมองว่าสอดรู ้สอดเห็นไม่เข้าเรื่ อง
๓. ควรให้ แก่คนทีใ่ ห้ หมายถึง คนทัว่ ไปหยิบยืมสิ่ งของเครื่ องใช้ไปแล้ว เป็ นคน
ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง ส่งคืนให้สิ่งของที่หยิบยืมไปตามกาหนดเวลา ควรให้ความอนุเคราะห์
แก่คนเหล่านั้นตามฐานะ ควรให้หยิบยืมสิ่ งของเครื่ องใช้ทุกคราวที่เขามาขอยืม
๔. ไม่ ควรให้ แก่คนทีไ่ ม่ ให้ หมายถึง คนทัว่ ไปหยิบยืมสิ่ งของเครื่ องใช้ไปแล้ว ไม่
ซื่อสัตย์ เป็ นคนคดโกง ไม่คืนสิ่ งของเครื่ องใช้ตามกาหนดเวลา ต่อไปไม่ควรให้ยมื อีก ไม่
ควรอนุเคราะห์คนเช่นนี้
๕. ควรให้ ท้งั แก่คนทีใ่ ห้ และทีไ่ ม่ ให้ หมายถึง ญาติมิตรที่ยากจนขัดสนหยิบยืม
สิ่ งของเครื่ องใช้ไปแล้ว จะส่งคืนให้ตามกาหนดเวลาหรื อไม่กต็ าม สมควรที่จะอนุเคราะห์ให้
พวกเขายืมทุกครั้งที่มาขอยืม เพราะเป็ นญาติมิตร


คาว่า “อาวาหะ” แปลว่า การพาหญิงมาอยูบ่ า้ นของตน หมายถึง การแต่งงานที่ฝ่ายชายจะนา
ฝ่ ายหญิงที่แต่งงานด้วยมาอยูบ่ า้ นของตน เป็ นประเพณี ของชาวอินเดียฝ่ ายเหนือ เรี ยกว่า “อาวาหมง
คล” คู่กบั คาว่า “วิวาหมงคล”
คาว่า “วิวาหะ” แปลว่า การพาออกไป หมายถึง การแต่งงานที่ฝ่ายชายจะต้องถูกนาไปอยูท่ ี่
บ้านฝ่ ายหญิง เป็ นประเพณี ของชาวอินเดียฝ่ ายใต้
๒๐

๖. ควรนั่งให้ เป็ นสุ ข หมายถึง ควรนัง่ ในที่ไม่กีดขวางบิดามารดาของสามีและสามี


หรื อนัง่ ในที่ที่เหมาะสม ไม่เป็ นที่เกะกะในเวลาบิดามารดาของสามีและสามีเดินไปมา
๗. ควรบริโภคให้ เป็ นสุ ข หมายถึง ควรจัดหาอาหารให้บิดามารดาของสามีและ
สามีบริ โภคให้พอเพียงอิ่มาหนาสาราญก่อน สะใภ้บริ โภคภายหลัง
๘. ควรนอนให้ เป็ นสุ ข หมายถึง ควรดูแลปรนนิบตั ิบิดามารดาของสามีและสามี
ให้เรี ยบร้อย ให้ท่านเหล่านั้นนอนก่อน สะใภ้นอนทีหลัง
๙. ควรบาเรอไฟ หมายถึง ควรดูแลเอาใจใส่บิดามารดาของสามีและสามีไม่ให้
รู ้สึกอึดอัดขัดเคือง ควรทาให้ท่านเหล่านั้นมีความสดชื่นมีชีวิตชีวาเสมอ
๑๐. ควรนอบน้ อมเทวดาภายใน หมายถึง ควรนอบน้อมบิดามารดาของ
สามีและสามี เหมือนกับว่านอบน้อมเทวดาภายในเรื อน

นางผู้เป็ น “มงคล”
นางวิสาขามีชื่อเสี ยงในฐานะ “มีบุตรหลานมาก มีบุตรหลานล้วนไม่มีโรค ได้รับยก
ย่องว่าเป็ นมิ่งมงคล” เวลาที่ชาวบ้านมีงานบุญ งานมหรสพ งานฉลอง พวกชาวบ้านเชิญ
นางวิสาขาไปบริ โภคเป็ นคนแรกในงานนั้น ๆ
นางวิสาขาเปรี ยบเหมือนสิ่ งอันเป็ นบุญตาแก่บุคคลผูพ้ บเห็น มีอิริยาบถ ๔ งดงาม
ประชาชนเห็นนางเดินไปวัด(วิหาร)พร้อมด้วยธิดาและหลานสาว ถามว่า “ในหญิงเหล่านี้
คนไหนคือวิสาขา ?” และเมื่อเห็นนางวิสาขาเดินไปก็ชื่นชมในกิริยาท่าทางอันงดงาม คิด
อยูใ่ นใจว่า “บัดนี้ ขอจงเดินไปสักหน่อยเถิด แม่เจ้าเดินของเราเดินไปอยูน่ นั่ แหละ งดงาม
ยิง่ ” เมื่อเห็นนางยืนก็จะคิดว่า “บัดนี้ ขอจงยืนหน่อยหนึ่งเถิด แม่เจ้าของเรานอนอยู่ งดงาม
ยิง่ ” นางวิสาขาเป็ นแบบอย่างที่ดีงามของบ้านเมือง เป็ นปูชนียบุคคลของบ้านเมือง เป็ นผูน้ า
ของอุบาสิ กา

นางผู้เป็ น “มิคารมารดา”
สมัยหนึ่ง นางวิสาขากราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าไปเสวยภัตตาหารที่บา้ น พวก
นิครนถ์(ชีเปลือย)ทราบข่าว พากันล้อมเรือนมิคารเศรษฐี ไว้ เมื่อจัดแจงทุกอย่างเสร็จ
เรียบร้อย นางวิสาขาส่งคนไปกราบเรียนมิคารเศรษฐี เพื่อให้มาประเคน(อังคาส)ภัตตาหารแด่
พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์
๒๑

พวกนิครนถ์หา้ มไม่ให้มิคารเศรษฐี ไปเข้าพระพุทธเจ้า เมื่อถวายภัตตาหารเสร็จ นาง


วิสาขาส่งคนไปกราบเรียนมิคารเศรษฐี เพื่อให้มาฟั งธรรม เศรษฐี เห็นว่าถ้าไม่ไปเสียบ้างจะ
เป็ นการเสียมรรยาทเกินไป จึงตัดสินใจไปตามคาเชิญของสะใภ้ พวกนิครนถ์เห็นว่าเศรษฐี
คงจะไปฟั งธรรมแน่ จึงนัดแนะสั่งการให้เศรษฐี น่ งั ห่าง ๆ พระพุทธเจ้า นั่งอยูค่ นละมุมกับ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้มิคารเศรษฐีฟังตามสมควรแก่อปุ นิสยั เมื่อ
แสดงธรรมจบ มิคารเศรษฐี บรรลุธรรมเป็ นโสดาบัน ศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ตัง้ นาง
วิสาขาซึง่ เป็ นหญิงสะใภ้ไว้ในฐานะเป็ น “มารดา” นางวิสาขาจึงได้ช่ืออีกอย่างหนึ่งว่า “มิคาร
มารดา” และเมื่อนางได้ตงั้ บุตรชายคนหนึ่งว่า “มิคาระ”
นางวิสาขาชื่อว่าทาความดีครบถ้วนสมบูรณ์ทกุ ฐานะ ในฐานะเป็ นธิดาก็เป็ นคน
กตัญญูกตเวที รักษาตัวดีงามในฐานะเป็ นรัตนะ(แก้ว)ประจาตระกูล ในฐานะเป็ นสะใภ้ก็
ปฏิบตั ิดแู ลบิดามารดาของสามีและสามีมิได้ขาดตกบกพร่อง ในฐานะเป็ นสมาชิกชุมชน
บ้านเมืองก็เป็ นผูน้ า เป็ นปูชนียบุคคล ที่สาคัญอย่างยิ่ง คือในฐานะเป็ นอุบาสิกา นางได้ทา
หน้าที่สืบสานพระพุทธศาสนาในทุกด้าน อุปถัมภ์บารุงพระสงฆ์ ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึน้ ใน
วงการพระสงฆ์ในครัง้ พุทธกาล ช่วยเผยแผ่พระธรรมในหมู่อบุ าสกอุบาสิกา

You might also like