รายงาน Word - Copy(1)

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 114

การออกแบบสร้างระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า

และแจ้งเตือนเหตุขัดข้อง
DESIGN OF ELECTRICAL PARAMETER
MONITORING SYSTEM AND NOTIFICATORNOTIFICATOR

ชนัญญู ศรีโยธา
วันทริยา ต้นพรหม
ระสา วงษ์ชัย

ปริญญานิพนธ์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
พ.ศ. 2566
ลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

การออกแบบสร้างระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า
และแจ้งเตือนเหตุขัดข้อง

ชนัญญู ศรีโยธา
วันทริยา ต้นพรหม
ระสา วงษ์ชัย

ปริญญานิพนธ์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
พ.ศ. 2566
ลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
Design of Electrical Parameter
Monitoring System and Notificator

Chananyoo Sriyotha
Vantriya Tonprom
Rasa Wongchai

This Project Report Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for


The Degree of Bachelor of Engineering
Department of Electrical Engineering
Faculty of Engineering
Rajamangala University of Technology Isan Khon Kaen Campus
2023
© Faculty of Engineering Rajamangala University of Technology Isan

หัวข้อปริญญานิพนธ์ การออกแบบสร้างระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าและแจ้งเตือน
เหตุขัดข้อง
จัดทําโดย ชนัญญู ศรีโยธา วันทริยา ต้นพรหม และระสา วงษ์ชัย
ปีที่ปริญญานิพนธ์สําเร็จ พ.ศ. 2567
สาขาวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า
ที่ปรึกษา อาจารย์กําธร เลยหยุด

บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบสร้างระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
โดยมีเป้าหมายการออกแบบให้มีการแสดงค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าจริง
กำลังไฟฟ้าสูญเสีย กำลังไฟฟ้าปรากฏ ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ค่าพลังงานไฟฟ้า วันที่และเวลา
เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นในระบบไฟฟ้าหรือเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
สามารถบันทึกข้อมูลหรือตรวจเช็คข้อมูลพารามิเตอร์แบบเรียลไทม์และแจ้งเตือนเหตุความผิดปกติ
ภายในระบบไฟฟ้าได้
การออกแบบและสร้างระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร สามารถวัดค่าพารามิเตอร์
ทางไฟฟ้า ซึ่งจะแสดงค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าจริง กำลังไฟฟ้าสูญเสีย กำลังไฟฟ้า
ปรากฏ ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ค่าพลังงานไฟฟ้า วันที่และเวลาแล้วยังสามารถแจ้งเตือนสถานะการ
ติดดับของไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าต่ำ แรงดันไฟฟ้าเกิน และสามารถนำข้อมูลที่บันทึกได้จากเหตุการณ์
ไฟฟ้าดับ แรงดันไฟฟ้าต่ำ แรงดันไฟฟ้าเกิน มาวิเคราะห์หาชนิดของการเกิดความผิดปกติได้
ระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารที่วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าเปรียบเทียบกับเครื่อง
วัดมาตรฐาน พบความผิดพลาดในการวัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าจริง กำลังไฟฟ้าสูญ
เสีย กำลังไฟฟ้าปรากฏ ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 0.12, 0.39, 0.43, 0.51,
0.45, 0.98 และ 1.43 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ระบบจะแจ้งเตือนผู้ใช้งานเมื่อเกิดความผิดปกติหรือแรง
ดันไฟฟ้ากลับมาปกติ และสามารถตรวจเช็คข้อมูลต่าง ๆ ผ่านกูเกิ้ลชีตและเว็บไซต์ Magellan จาก
การติดตั้งทดสอบในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่นเป็นระยะเวลา 1
สัปดาห์

Thesis Title Design of Electrical Parameter Monitoring System and Notificator


Proposed by Chananyoo Sriyotha, Wantriya Tonprom and Rasa Wongchai
Year 2024
Department Electrical Engineering
Advisor Mr. Kumtorn Loeiyud

Abstract

This thesis aims to design and develop an electrical monitoring system


within a building. The system is designed to display voltage, current, power, real
power, reactive power, apparent power, power factor, and energy consumption,
along with the date and time. When abnormalities or power outages occur, the
building's electrical monitoring system can record or check parameter data in real-
time and alert users to any electrical irregularities.
The design and development of the building's electrical monitoring system
enable the measurement of electrical parameters, which display voltage, current,
real power, reactive power, apparent power, power factor, and energy consumption,
along with the date and time. It can also notify users of power status, low voltage,
overvoltage, and it can analyze the recorded data from power outages, low voltage,
and overvoltage incidents to identify the type of electrical anomaly.
The building's electrical monitoring system, which measures electrical
parameters compared to standard measuring devices, has reported errors in
measuring voltage, current, real power, reactive power, apparent power, power
factor, and energy consumption of 0.12%, 0.39%, 0.43%, 0.51%, 0.45%, 0.98%, and
1.43%, respectively. The system will notify users when abnormalities occur or when
voltage returns to normal. Users can also check various data via Google Sheets and
the Magellan website. This system was tested for a week at Rajamangala University
of Technology Isan, Khon Kaen Campus.

กิตติกรรมประกาศ

ปริญญานิพนธ์นี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วยดี เนื่องจากได้รับความรู้และคำ
แนะนำต่าง ๆ ตลอดจนการที่ได้แก้ไขข้อบกพร่องและปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ได้จัดทำปริญญา
นิพนธ์ ซึ่งได้ทำการถ่ายทอดประสบการณ์และคำปรึกษาในการจัดทำปริญญานิพนธ์
จากอาจารย์กำธร เลยหยุด ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ ซึ่งท่านอาจารย์คอยชี้แนะแนวทางในการดำเนิน
งานตลอดจนประสบความสำเร็จตามกฎเกณฑ์แบบแผนที่ตั้งไว้
ผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้อันเป็น
ประโยชน์ในการจัดทำปริญญานิพนธ์ ขอขอบคุณความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ ในห้องเรียนที่คอยให้คำ
ปรึกษาและเป็นกำลังใจให้เสมอมา
เหนือสิ่งอื่นใดคณะผู้จัดทำรู้สึกสำนึกในพระคุณบุพการีและครอบครัวอย่างหาที่เปรียบไม่
ได้ ซึ่งคอยเป็นกำลังใจและสนับสนุนทางด้านทุนทรัพย์หลักในการศึกษาโดยตลอด

ชนัญญู ศรีโยธา
วันทริยา ต้นพรหม
ระสา วงษ์ชัย

สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ จ
กิตติกรรมประกาศ ฉ
สารบัญ ช
สารบัญตาราง ฌ
สารบัญรูป ฎ

บทที่
1 บทนำ 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ของปริญญานิพนธ์ 2
1.3 ขอบเขตของโครงงาน 2
1.4 ประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับจากการดำเนินโครงงาน 2
2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3
2.1 บทนำ 3
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3
2.3 กำลังไฟฟ้า 4
2.4 พลังงานไฟฟ้า 6
2.5 กิโลวัตต์ชั่วโมง 7
2.6 ทฤษฎี Modbus RTU 8
2.7 มาตรฐานแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้าภูมิภาค 13
3 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินโครงงาน 15
3.1 ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน 15
3.2 บล็อกไดอะแกรมการทำงาน 17
3.3 วงจร DEVIO NB-DEVKIT I และเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า 18
3.4 การต่อใช้งานเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้ากับโหลด 19
สารบัญ (ต่อ)

บทที่ หน้า
3.5 ตัวอย่างการแสดงผลบนเว็ปไซต์และแอพพลิเคชั่น 20
3.6 การออกแบบโครงสร้างของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร 22

4 ผลการดำเนินงาน 26
4.1 ลำดับขั้นตอนการทดลอง 26
4.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ 27
4.3 การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า 29
4.4 การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและการส่งข้อมูลสถานะผ่าน Magellan 36
กับแอพลิเคชั่น
4.5 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง, กำลังไฟฟ้าสูญเสีย, กำลังไฟฟ้าปรากฏ, 66
ตัวประกอบ กำลังไฟฟ้า
4.6 ทดสอบการแสดงข้อมูลผ่านกูเกิ้ลชีต 76
4.7 ทดสอบการแสดงข้อมูลผ่าน Magellan 78
4.8 การทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ 83
4.9 การทดสอบวัดค่าความถี่ 85
4.10 การทดสอบวัดอุณหภูมิ ความชื้น 86
5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 88
5.1 สรุปผลการดำเนินปริญญานิพนธ์ 88
5.2 ปัญหาและอุปสรรค 89
5.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางพัฒนาปริญญานิพนธ์ 89
บรรณานุกรม 90
ภาคผนวก 91
ภาคผนวก ก. 92
ภาคผนวก ข. 94
ภาคผนวก ค. 95
ประวัติผู้เขียน 96

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
2.1 แสดงค่ามาตรฐานแรงดันไฟฟ้า (System Voltage) และ Voltage Regulation 14
ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2.2 แสดงค่ามาตรฐานความถี่ไฟฟ้า (System Frequency) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 14
4.1 การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารกับ 31
เครื่องมือวัดมาตรฐาน
4.2 การทดสอบวัดค่ากระแสไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารกับ 34
เครื่องมือวัดมาตรฐาน
4.3 เงื่อนไขการทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้า 37
4.4 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ดับ เฟส B = ปกติ เฟส C = ปกติ 39
4.5 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ปกติ เฟส B = ดับ เฟส C = ดับ 42
4.6 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ดับ เฟส B = ดับ เฟส C = ดับ 45
4.7 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ต่ำ เฟส B = ปกติ เฟส C = ปกติ 48
4.8 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ปกติ เฟส B = ต่ำ เฟส C = ต่ำ 51
4.9 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ต่ำ เฟส B = ต่ำ เฟส C = ต่ำ 56
4.10 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = เกิน เฟส B = ปกติ เฟส C = 59
ปกติ
4.11 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ปกติ เฟส B = เกิน เฟส C = เกิน 60
4.12 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = เกิน เฟส B = เกิน เฟส C = เกิน 63
4.13 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริงของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส 68
4.14 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส 70
4.15 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส 72
4.16 การทดสอบวัดค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส 74
4.17 การทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับระบบ 84
ตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร บริเวณอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4
4.18 การทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับระบบ 85
ตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร บริเวณอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4
สารบัญตาราง (ต่อ)

ตารางที่ หน้า
4.19 การทดสอบวัดค่าอุณหภูมิของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับระบบตรวจสอบ 86
ไฟฟ้าภายในอาคาร บริเวณอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4

4.20 การทดสอบวัดค่าความชื้นของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับระบบตรวจสอบ 87
ไฟฟ้าภายในอาคาร บริเวณอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4
ค.1 งบประมาณสร้างระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร 97

สารบัญรูป

รูปที่ หน้า
2.1 สามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า 5
2.2 การสื่อสารแบบอนุกรมด้วย RS – 485 สำหรับ Modbus RTU 8
2.3 ชุดข้อมูลสำหรับการสื่อสาร Modbus RTU [Ref. 1] 9
2.4 รายละเอียดชุดข้อมูล Function Code [Ref. 2] 10
2.5 ตำแหน่งแอดเดรสใน Modbus RTU โดยแบ่งตามรูปแบบการทำงาน 10
2.6 ชุดคำสั่งสำหรับการอ่าน (Read Command) 11
2.7 ชุดคำสั่งสำหรับการเขียน (Write Command) 11
2.8 การรับ-ส่งเฟรมข้อมูล Modbus RTU 11
2.9 ตัวอย่าง Modbus RTU (RS-485) 12
2.10 การเชื่อมต่อของผู้ผลิตไฟฟ้าหรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีคอนเวอร์เตอร์แบบหนึ่งเฟสเชื่อมต่อ 13
กับระบบจำหน่าย 220 โวลต์
3.1 ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน 16
3.2 แสดงแผนการทำงานของโครงงาน 17
3.3 วงจรการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์และเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า 18
3.4 การต่อเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้ากับโหลด 19
3.5 ตัวอย่างการแสดงผลบนเว็ปไซต์ 20
3.6 แจ้งเตือนขณะไฟฟ้าดับ 20
3.7 แจ้งเตือนขณะไฟฟ้าติดปกติ 21
3.8 การออกแบบภายในของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร 22
3.9 การออกแบบโครงสร้างของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร 23
3.10 การออกแบบการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ส่วนที่ 1 24
3.11 การออกแบบการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ชั้นที่ 2 25
4.1 เครื่องมือวัดมาตรฐานใช้อ้างอิงในการทดสอบเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส 27
4.2 โหลดที่ใช้ในการทดสอบเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส 28

สารบัญรูป (ต่อ)

รูปที่ หน้า
4.3 การต่อวงจรทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้า 29
4.4 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส 30
4.5 การต่อวงจรทดสอบวัดค่ากระแสไฟฟ้า 32
4.6 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่ากระแสไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร 33
4.7 การต่อวงจรทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร 36
4.8 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร 36
4.9 ระยะเวลาในการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า 37
4.10 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.4 40
4.11 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.4 40
4.12 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 41
4.13 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.5 43
4.14 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.5 43
4.15 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 44
4.16 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.6 46
4.17 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.6 46
4.18 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 47
4.19 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.7 49
4.20 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.7 49
4.21 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 50
4.22 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.8 52
4.23 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.8 52
4.24 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 53
4.25 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.9 55
4.26 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.9 55
4.27 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 56
4.28 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.10 58
สารบัญรูป (ต่อ)

รูปที่ หน้า
4.29 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.10 58
4.30 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 59

4.31 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.11 61


4.32 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.11 61
4.33 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 62
4.34 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.12 64
4.35 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.12 64
4.36 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย 65
4.37 การต่อวงจรทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง 66
4.38 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง 67
4.39 หน้าเว็บแสดงผลผ่านกูเกิ้ลชีต 77
4.40 แผนที่ของจุดติดตั้ง 78
4.41 Voltage (V) 79
4.42 Current (A) 79
4.43 P: Power (kW) 80
4.44 Line to Line (V) 80
4.45 Q: Apparent Power (kVA) 81
4.46 S: Reactive Power (kVar) 81
4.47 PF: Power Factor 84
4.48 Import & Export Wh (kWh), Frequency (Hz) 84
4.49 การต่อวงจรทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ 85
4.50 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ 85
ก.1 สมาร์ทมิเตอร์ เอ็กซ์ 835 92
ก.2 โมดูลอาร์เอส 485 92
ก.3 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ AIS NB IoT 92
ก.4 ตัวแปลงแรงดัน เอ็ชแอลเค-พีเอ็ม 03 93
สารบัญรูป (ต่อ)

รูปที่ หน้า
ก.5 เทอร์มินอล 93
ก.6 พาวเวอร์ซับพลาย และแบตเตอร์รี่สำรอง 93
ข.1 การติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร 94
ข.2 การติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารเสร็จสมบูรณ์ 94
1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ระบบไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ มีทั้งระบบ 1 เฟส
แรงดัน 220 โวลต์ ซึ่งใช้ในบ้านอยู่อาศัยและระบบ 3 เฟส แรงดัน 380 โวลต์ ใช้ในกิจการขนาดเล็ก
โรงงานอุตสาหกรรมและแรงดันขนาด 69, 115, 230 และ 500 กิโลโวลต์ สำหรับการส่งจ่ายไฟฟ้า
ภายในประเทศ ซึ่งระบบไฟฟ้าที่ดีต้องมีความเสถียรภาพที่ดี มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยต่อผู้ใช้
ระบบไฟฟ้า
ในบางครั้งระบบไฟฟ้าก็อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ทำให้ไม่สามารถใช้ระบบไฟฟ้าได้
ชั่วคราว เช่น เกิดความผิดพลาดจากอุปกรณ์ หรือเกิดความผิดพลาดที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น
แต่ในกรณีนี้ผู้ใช้ระบบไฟฟ้าก็มีแผนสำรองเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยใช้เครื่อง
กำเนิดไฟฟ้าสำรอง หรือ UPS สำรองไฟฟ้า เป็นต้น แต่การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง หรือ UPS
สำรองไฟฟ้าก็มีข้อจำกัดที่อาจจะต้องรับมือ เช่น ระบบไฟฟ้าสำรอง UPS มีปริมาณการสำรองไฟฟ้าที่
ไม่เพียงพอ เมื่อระบบไฟฟ้าเกิดผิดพลาดหรือไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน ๆ และเมื่อระบบไฟฟ้ามีความผิด
พลาดเกิดขึ้น อาจจะเกิดในช่วงเวลาที่ผู้ดูแลระบบไฟฟ้าไม่อยู่ในช่วงเวลาปฏิบัติงานจนไม่อาจจะทันได้
เตรียมรับมือ
ผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา ผู้จัด
ทำจึงมีความคิดเห็นเสนอโครงงานการออกแบบสร้างระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าและแจ้ง
เตือนเหตุขัดข้องที่สามารถตรวจเช็คสถานะแรงดันระบบไฟฟ้ารวมไปถึงการตรวจวัดค่าแรงดันไฟฟ้า
ที่สามารถเก็บข้อมูลสถานะแรงดันระบบไฟฟ้าสำหรับใช้ในการตรวจสอบดูข้อมูลและสถิติย้อนหลังได้
เพื่อเป็นประโยชน์หรือแนวทางในการแก้ไขจุดบกพร่องของระบบไฟฟ้าในอาคารบ้านเรือน โรงงาน
อุตสาหกรรม หรือจะเป็นโรงไฟฟ้า เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
2

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.2.1 เพื่อศึกษาและออกแบบสร้างระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าและแจ้งเตือน
เหตุขัดข้องผ่านทาง LINE แอพพลิเคชั่นและสามารถดูข้อมูลย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์
1.2.2 เพื่อศึกษาการเขียนโปรแกรมในไมโครคอนโทรลเลอร์เชื่อมต่อกับระบบ IoT
1.2.3 เพื่อพัฒนาเครื่องตรวจวัดให้เป็นต้นแบบและนำไปติดตั้งใช้งานได้จริง

1.3 ขอบเขตของโครงงาน
1.3.1 ศึกษาและติดตั้งการออกแบบสร้างระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าและแจ้ง
เตือนเหตุขัดข้องโดยใช้กับระบบแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย ตรวจวัดภายในอาคาร
1.3.2 ค่าพารามิเตอร์ที่แสดง คือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความถี่ กำลังไฟฟ้าจริง
กำลังไฟฟ้าสูญเสีย กำลังไฟฟ้าปรากฏ ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละวัน วันที่
เวลา อุณหภูมิ ความชื้น และมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์
1.3.3 แสดงผลการตรวจวัดผ่านเว็บไซต์ Magellan , Google Appsheet , LINE
1.3.4 สามารถแจ้งเตือนในกรณีไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าปกติ แรงดันตก แรงดันเกินตามมาตรฐาน
อ้างอิงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

1.4 ประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับจากการดำเนินโครงงาน
1.4.1 สามารถเขียนโปรแกรมในไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทาง
ไฟฟ้าและแสดงผลข้อมูลได้
1.4.2 ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำไปใช้งานด้านระบบ IoT
1.4.3 สามารถใช้เป็นชุดต้นแบบในการพัฒนาชุดตรวจวัดระบบไฟฟ้าของระบบ 3 เฟส
4 สาย สำหรับใช้ทดลองในห้องปฏิบัติการระบบไฟฟ้ากำลัง
1.4.4 เมื่อนำไปใช้งานติดตั้งจริง สามารถที่จะแจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องไปยังเจ้าหน้าที่การ
ไฟฟ้าโดยตรงได้ทันที
3

บทที่ 2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ในบทนี้จะกล่าวถึงทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงงานการออกแบบสร้าง
ชุดตรวจสอบระบบไฟฟ้าขัดข้องภายในอาคารที่สามารถบันทึกและแจ้งเตือนเหตุความผิดพร่องใน
ระบบไฟฟ้า ซึ่งข้อมูลที่ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ปริญญานิพนธ์
ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น แหล่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการออกแบบสร้างระบบตรวจ
วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าและแจ้งเตือนเหตุขัดข้องที่สามารถบันทึกและแจ้งเตือนเหตุความผิดพร่อง
ในระบบไฟฟ้า

2.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นพรัตน์ ไปดี และสามารถ อันทะนิล (2563) นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้เสนอโครงงานเรื่อง
การออกแบบสร้างชุดตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้าปริญญานิพนธ์นี้มีจุด
ประสงค์เพื่อเพื่อออกแบบสร้างเครื่องตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายการออกแบบให้การสร้าง
เครื่องตรวจวัดมีราคาถูกและสามารถแสดงค่าผ่านเว็บไซต์ได้ สามารถตรวจวัดค่าได้ถูกต้อง เช่นเดียว
กับเครื่องตรวจวัดมาตรฐาน จากนั้นได้ทำการออกแบบชุดทดลอง ติดตั้งในห้องปฏิบัติการระบบไฟฟ้า
กำลังเพื่อเป็นสื่อประกอบการสอนและให้ผู้สนใจได้ศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีการตรวจวัดตามมาตรฐาน
ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้าที่ได้ออกแบบและสร้างขึ้น ได้ทำการติดตั้งตรวจวัด
ในห้องปฏิบัติการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยทำการเก็บผลการวัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้า
ได้แก่ ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันฮาร์มอนิก ค่ากระแสฮาร์มอนิก ค่าความถี่ไฟฟ้า ค่า
กำลังไฟฟ้าจริง ค่ากำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟ ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า และมีการแสดงผลการตรวจวัด
คุณภาพไฟฟ้าบนเว็บไซต์ ผ่านแอปพลิเคชั่นเน็ตพายและทางสมาร์ทโฟน โดยมีการบันทึกข้อมูลการ
ตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้าในการ์ดหน่วยความจำ ซึ่งสามารถเปิดดูข้อมูลการตรวจวัดย้อนหลังได้
4

ภานุพงษ์ บุญรักษา วัฒนกร แก้วโท และสุพรรษา คำน้อย (2564) นักศึกษาสาขาวิชา


วิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
ได้เสนอโครงงานเรื่องการออกแบบสร้างสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ที่สามารถบันทึกและแจ้งเตือนเหตุ
ความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า ปริญญานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครื่องตรวจวัดพารามิเตอร์ทาง
ไฟฟ้าแบบสามเฟส ที่สามารถแสดงค่าแรงดันไฟฟ้าความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า ปริญญานิพนธ์นี้มีจุด
ประสงค์เพื่อสร้างเครื่องตรวจวัดพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าแบบสามเฟสที่สามารถแสดงค่าแรงดัน
ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ค่าพลังงานไฟฟ้า วันที่และเวลาได้ เมื่อเกิด
ความผิดพร่องขึ้นในระบบไฟฟ้าหรือ เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เครื่องสมาร์มิเตอร์สามเฟสสามารถ
บันทึกและแจ้งเตือนเหตุความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าได้ การออกแบบสร้างเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สาม
เฟส สามารถวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าซึ่งจะแสดงค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า
ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ค่าพลังงานไฟฟ้า วันที่และเวลา แล้วยังสามารถแจ้งเตือนสถานะการติดและ
ดับของไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าตก แรงดันไฟฟ้าเกิน แล้วนำข้อมูลจากอุปกรณ์บันทึกเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
มาวิเคราะห์หาชนิดของการเกิดความผิดพร่องได้

2.2 กำลังไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้า (Electrical Power) คือในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง กำลังไฟฟ้าบนอุปกรณ์
สามารถคำนวณได้จากผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลในอุปกรณ์นั้น แต่ในวงจร
ไฟฟ้ากระแสสลับจำเป็นต้องทราบค่าตัวประกอบกำลัง (Power factor) ค่าตัวประกอบกําลัง คือ ค่า
โคไซน์ (Cosine) ของมุมระหว่างแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า บนอุปกรณ์หรือวงจรนั้น ๆ กําลังไฟฟ้า
ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับเป็นปริมาณเชิงซ้อน (Complex Power) แยกออกเป็นส่วนที่เป็นกําลัง
ไฟฟ้าจริงและส่วนที่เป็นกําลังไฟฟ้าสูญเสีย
2.2.1 ค่ากำลังไฟฟ้าจริง (Active Power) คือ กำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้กับโหลดแล้วได้เป็น
พลังงานรูปอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง โดยค่าที่แรงดันไฟฟ้าคูณกับกระแสไฟฟ้าแล้วคูณด้วยโคไซน์
ของมุมระหว่างแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้านั้น ๆ

P=VI cos θ 2.1

เมื่อ P คือ ค่ากำลังไฟฟ้าจริง (W)


V คือ แรงดันไฟฟ้า (V)
I คือ กระแสไฟฟ้า (A)
θ คือ มุมกำลัง (องศา)
2.2.2 ค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสีย (Reactive Power) คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสร้างสนามแม่
เหล็กของมอเตอร์หรือหม้อแปลงไฟฟ้าและรีเลย์ โดยค่าที่แรงดันไฟฟ้าคูณกับกระแสไฟฟ้าแล้วคูณ
ด้วยไซน์ (Sine) ของมุมระหว่างแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้านั้น ๆ

Q=VISin θ 2.2
5

เมื่อ Q คือ ค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสีย (Var)

2.2.3 ค่ากำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ (Apparent Power) คือ ผลรวมทางเวกเตอร์ของ


ค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสีย (Var) และค่ากำลังไฟฟ้าจริง (W) ดังสมการที่ 2.3 เป็นกำลังไฟฟ้าโดยรวม
ทั้งหมดที่ต้องจ่ายค่าที่แรงดันไฟฟ้าคูณกับกระแสไฟฟ้า

S=P+ jQ=√ p 2+ Q2 2.3


เมื่อ S คือ ค่ากำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ (VA)
ซึ่งเรียก โคไซน์ของมุมระหว่างแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าว่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
หรือพาวเวอร์เฟคเตอร์ (Power factor) มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 ดังรูปที่ 2.2

รูปที่ 2.1 สามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า

จะเห็นได้ว่าค่ากำลังไฟฟ้าในไฟฟ้ากระแสสลับนั้นมีหลายค่าที่ต้องพิจารณา แต่เนื่องจาก
การใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้านเรือนทั่วไปนั้นจะใช้ค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียต่ำหรือค่าตัวประกอบกำลัง
ไฟฟ้ามีค่าเข้าใกล้หนึ่งส่งผลให้ค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏมีค่าใกล้เคียงกับค่ากำลังไฟฟ้าจริงมีค่าใกล้เคียง
กันมาก เราจึงสามารถคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้งานได้จริงจากสูตรของกำลังไฟฟ้าปรากฏและ
กำลังไฟฟ้าจริง
6

2.3 พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy) คือ ปริมาณไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ไปทั้งหมดหรือ
แหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายให้ทั้งหมด คิดในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง วัดได้ด้วยเครื่องมือวัดพลังงานไฟฟ้า
หรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งค่าพลังงานไฟฟ้าจะหาได้จากสมการที่ 2.4

W =Pt 2.4

เมื่อ W คือ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป (J)


P คือ กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า (W)
t คือ เวลาที่ใช้ (s)
จากสมการที่ 2.4 หน่วยของพลังงานไฟฟ้าเป็นวัตต์ต่อวินาทีถ้านำมาใช้กับพลังงานไฟฟ้า
ที่ใช้จะไม่เหมาะสมเพราะเป็นหน่วยเล็กในทางปฏิบัติการไฟฟ้าจะคิดเงินค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เป็นกิโล
วัตต์-ชั่วโมงหรือที่เรียกกันว่าหน่วยหรือยูนิต (Unit) โดย 1 หน่วยเท่ากับ 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง จะ
ได้ดังสมการที่ 2.5

E= 2.5

เมื่อ E คือ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (kWh)


P คือ กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า (W)
t คือ เวลาที่ใช้ (ชั่วโมง)

2.4 กิโลวัตต์ชั่วโมง
กิโลวัตต์ชั่วโมงส่วนใหญ่เป็นเครื่องวัดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ
วัดปริมาณกำลังไฟฟ้ากระแสสลับทั้งในบ้านเรือนและในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยวัดพลังงาน
ไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kilowatt-hour) สามารถจำแนกตามระบบไฟฟ้าได้ 2 ประเภท
2.4.1 กิโลวัตต์ชั่วโมงหนึ่งเฟส
7

กิโลวัตต์ชั่วโมงหนึ่งเฟส จะทำงานเหมือนกับกิโลวัตต์มิเตอร์ชนิดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยว
นำไฟฟ้าและมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน คือ ขดลวดกระแสไฟฟ้า (Current Coil) และขดลวดแรงดัน
ไฟฟ้า (Potential Coil) ส่วนที่แตกต่างกันก็คือในกิโลวัตต์ชั่วโมงจะแสดงค่าด้วยการบ่ายเบนของเข็ม
ชี้ ซึ่งใช้ค่าบนสเกลส่วนกิโลวัตต์ชั่วโมงจะแสดงค่าโดยใช้แม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลวน
ทำให้จานหมุนและใช้ชุดเฟืองไปขับชุดตัวเลขหรือชุดเข็มชี้ให้แสดงค่าออกมาบนหน้าจอ
โครงสร้างประกอบด้วยขดลวดกระแสไฟฟ้าต่ออนุกรมกับโหลดและขดลวดแรงดันไฟฟ้า
ต่อขนานกับโหลดขดลวดทั้งสองชุดจะพันอยู่บนแกนเหล็กที่ออกแบบโดยเฉพาะและมีจานอะลูมิเนียม
บางๆ ยึดติดกับแกนหมุนวางอยู่ในช่องว่างระหว่างขดลวดทั้งสองหลักการทำงาน ขดลวดกระแสไฟฟ้า
และขดลวดแรงดันไฟฟ้าทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก ส่งผ่านไปยังจานอะลูมิเนียมที่วางอยู่ระหว่างขด
ลวดทั้งสอง ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำและมีกระแสไฟฟ้าไหลวน (Eddy Current) เกิดขึ้นใน
จานอะลูมิเนียม แรงต้านระหว่างกระแสไฟฟ้าไหลวนและสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันไฟฟ้าจะ
ทำให้เกิดแรงผลักขึ้น จานอะลูมิเนียมจึงหมุนไปได้ที่แกนของจานอะลูมิเนียมจะมีเฟืองติดอยู่ เฟืองนี้
จะไปขับชุดตัวเลขที่หน้าจอของเครื่องวัดแรงผลักที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนระหว่างความเข้มของสนาม
แม่เหล็กของขดลวดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าไหลวนในจานอะลูมิเนียมและขึ้นอยู่กับจำนวนรอบ
ของขดลวดด้วย ส่วนจำนวนรอบการหมุนของจานอะลูมิเนียมขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานไฟฟ้าของโหลด
2.4.2 กิโลวัตต์ชั่วโมงสามเฟส
กิโลวัตต์ชั่วโมงสามเฟส มีส่วนประกอบเหมือนกับกิโลวัตต์ชั่วโมง ชนิดหนึ่งเฟสหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง
หนึ่งเฟสสามตัวมาประกอบรวมกันเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมงสามเฟส การทำงานจะทำงานเหมือนกับวัตต์
มิเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำไฟฟ้า
8

2.5 ทฤษฎี Modbus RTU


Modbus เป็นโพรโทคอลการสื่อสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นโพรโตคอล
แบบเปิด มีความน่าเชื่อถือ และง่ายต่อการใช้งานจากตัวอย่างที่ได้นำเสนอในเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักจะรองรับโพรโทคอลนี้เป็นหนึ่งในช่องทางการ
สื่อสาร โดย Modbus ที่ใช้งานกันทั่วไปจะมี 2 รูปแบบ คือ Modbus RTU เป็นการสื่อสารแบบ
อนุกรม (Serial Level Protocol) ผ่าน RS485 หรือ RS232 เป็นการสื่อสารพื้นฐานที่ใช้ในอุปกรณ์
สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่ที่การสร้างระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลระหว่าง
อุปกรณ์ ทั้งในด้านความหลากลาย และการขยายระบบเพื่อลองรับอุปกรณ์ที่มีเพิ่มมากขึ้นอุปกรณ์
Modbus ส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้พัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ IoT Platform ที่มีให้เลือกใช้อย่าง
หลากหลาย ทำให้สามารถจัดการและติดตามผลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงานจากระยะไกลได้ โดย
ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบ Real-Time เพื่อนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพของ
โรงงานให้เพิ่มมากขึ้นการสื่อสารตามมาตรฐาน Modbus เป็นหนึ่งในมาตรฐานการสื่อสารแบบ
อนุกรม (Serial Communications protocol) ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในระบบอัตโนมัติ
อุตสาหกรรม (Industrial Automation Systems : IAS) เพื่อสร้างการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมพีแอลซี (Programmable Logic Controllers : PLC) อุปกรณ์
ตรวจวัด (Sensor) อุปกรณ์เครื่องกล อุปกรณ์ขับเร้า (Actuator) หน่วยตรวจวัดระยะไกล (Remote
Terminal Unit : RTU) รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมและแสดงสถานะของอุปกรณ์
ต่างๆ (Supervisory control and Data acquisition : SCADA) Modbus ถูกพัฒนาขึ้นในปีค.ศ.
1979 โดยบริษัท Modicon (ปัจจุบันคือ Schneider Electric) เป็นโพรโทคอลที่ถูกใช้กันอย่างกว้าง
ขวางในงานอุตสาหกรรมเนื่องจากความง่ายในการใช้งานและมีความน่าเชื่อถือในปัจจุบันนี้การสื่อสาร
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ Modbus RTU และ Modbus TCP โดยความแตกต่างอยู่ที่โพรโทคอ
ลการสื่อสารที่ใช้ในระบบ Modbus RTU จะใช้โพรโทคอลการสื่อสารแบบอนุกรม (Serial-based
Protocol) ในขณะที่ระบบ Modbus TCP จะใช้โพรโทคอลการสื่อสารแบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet-
based Protocol) ซึ่งทั้งสองแบบจะแตกต่างกันตรงที่ความเร็วและระยะทางในการรับส่งข้อมูล โดย
Modbus RTU สามารถรับส่งได้ระยะทางสูงสุดถึง 1.2 กิโลเมตร (ที่ความเร็ว 57.6 kbps) ในขณะที่
Modbus TCP สามารถรับส่งได้ที่ความเร็ว สูงสุดถึง 100 Mbps (ที่ระยะทาง 100 เมตร)

รูปที่ 2.2 การสื่อสารแบบอนุกรมด้วย RS – 485 สำหรับ Modbus RTU


9

Modbus RTU คือ โพรโทคอลที่ใช้การสื่อสารแบบอนุกรม (Serial-based Protocol)


ด้วยสถาปัตยกรรมการสื่อสารแบบ Master/Slave หรืออาจกล่าวได้ว่าอุปกรณ์ Slave จะไม่ส่งข้อมูล
(Response) กลับมาจนกว่าจะมีการร้องขอ (Request) จากอุปกรณ์ Master ดังรูปที่ 1
Modbus RTU โดยทั่วไปจะใช้การสื่อสารในระดับกายภาพ (Physical Layer) แบบ RS-
232 หรือ RS-485 ข้อมูลในโพรโทคอล Modbus จะถูกเก็บ 4 รูปแบบ คือ
- Output coils
- Input contacts
- Input registers
- Holding registers
โดย Output coils และ Input contacts แต่ละแอดเดรสจะเก็บค่าเพียง 1 บิต หรือมี
ค่าได้แค่ “0” กับ “1” เปรียบเสมือนค่าการเปิดและปิดของอุปกรณ์รีเลย์และสวิตช์ที่พบได้ในระบบ
งานอัตโนมัติอุตสาหกรรม
ในขณะที่ Input registers และ Holding registers สามารถเก็บค่าเป็นตัวเลขได้ถึง
16 บิต เปรียบเสมือนค่าที่มาจากอุปกรณ์ตรวจวัดที่ส่งข้อมูลแบบอนาล็อก (Analog)
การสื่อสารของข้อมูลในระบบ Modbus RTU จะรับส่งเป็นชุดข้อมูล โดยที่ใน 1 ชุด
ข้อมูลนั้นจะประกอบด้วยส่วน 6 ส่วน ดังแสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2.3 ชุดข้อมูลสำหรับการสื่อสาร Modbus RTU [Ref. 1]

1. เริ่มต้นด้วยชุดบิตเริ่มต้น (Start bits) อ้างอิงถึงการเริ่มต้นชุดข้อมูล


2. ค่าตำแหน่งแอดเดรส (Address) ของอุปกรณ์ที่ต้องการสื่อสารด้วย
3. ชุดสำหรับ Function Code
4. ข้อมูลที่ต้องการ (Data)
5. ชุดข้อมูลตรวจสอบความผิดพลาด (Cyclic Redundancy Check : CRC)
6. ชุดบิตปิดท้าย (End bits) อ้างอิงถึงการสิ้นสุดข้อมูล

2.5.1 ฟังก์ชันการทำงานสำหรับ Modbus RTU (Function code)


10

ชุดฟังก์ชันการทำงานสามารถแบ่งหน้าที่ต่างๆ ได้ตามรหัส หรือ Function code ราย


ละเอียดแสดงดังรูปที่ 3 โดยหลักๆ แล้วจะมีฟังก์ชันการทำงานอยู่ 2 แบบ คือ การอ่าน (Read) และ
เขียน (Write) โดยสามารถเลือกที่จะอ่านหรือเขียนข้อมูลไปยัง Coils หรือ Contacts สำหรับข้อมูล
แบบดิจิตอล (Digital) หรือ “0” กับ “1” และ Registers สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลแบบอนาล็อก
โดยมีขนาด 16 บิต หรือ ตั้งแต่ 0000 ถึง FFFF
11

รูปที่ 2.4 รายละเอียดชุดข้อมูล Function Code [Ref. 2]

2.5.2 ตำแหน่งแอดเดรสของ Modbus RTU (Address)


ตำแหน่งแอดเดรสใน Modbus RTU จะมีขนาด 16 บิต หรือ 65535 ตำแหน่ง
ในแต่ละรูปแบบการทำงาน ดังรูปที่ 4
- Output coils: ตำแหน่งแอดเดรสจะเริ่มต้นที่ 000001
- Input contacts: ตำแหน่งแอดเดรสจะเริ่มต้นที่ 100001
- Input registers: ตำแหน่งแอดเดรสจะเริ่มต้นที่ 300001
- Holding registers: ตำแหน่งแอดเดรสจะเริ่มต้นที่ 400001
หมายเหตุ สำหรับอุปกรณ์รุ่นเก่าอาจจะมีได้เพียง 9999 ตำแหน่งในแต่ละช่วง

รูปที่ 2.5 ตำแหน่งแอดเดรสใน Modbus RTU โดยแบ่งตามรูปแบบการทำงาน

2.5.3 ชุดข้อมูล (Data)


ในส่วนชุดข้อมูล Data Field นั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่
- ชุดคำสั่งสำหรับการอ่าน (Read Command) ตามรูปที่ 5
- ชุดคำสั่งสำหรับการเขียน (Write Command) ตามรูปที่ 6
โดยชุดคำสั่งทั้ง 2 จะถูกส่งจากอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น Master เท่านั้น เพื่อสั่งการไปยัง
อุปกรณ์ Slave ที่ต้องการสื่อสาร
12

รูปที่ 2.6 ชุดคำสั่งสำหรับการอ่าน (Read Command)

รูปที่ 2.7 ชุดคำสั่งสำหรับการเขียน (Write Command)

ตัวอย่าง
การอ่านค่าของ Holding register ที่แอดเดรส 40103 ถึง 40105 จากอุปกรณ์ Slave
หมายเลข 19

รูปที่ 2.8 การ รับ-ส่งเฟรมข้อมูล Modbus RTU

ดังนั้น Frame Message (ไม่รวม Start และ End bits) ที่ถูกส่งไป คือ 13 03 0066
0003 E6A6 โดย
ชุดข้อความสำหรับการอ่านค่าจาก Holding register (Request)
- 13 คือ Station address (19 DEC = 13 HEX)
- 03 คือ Function code (การอ่านค่าที่ Holding registers)
- 0066 คือ Address ของ register ตัวแรก (40103 – 40001 = 102 DEC= 66
HEX)
- 0003 คือ จำนวน Registers ที่ต้องการอ่าน (ทั้งหมด 3 ตัว คือ 40103 ถึง 40105)
13

- E6A6 คือ ค่า CRC (Cyclic Redundancy Check) สำหรับเช็คความผิดพลาดของ


ชุดข้อมูล
ชุดข้อความที่ตอบกลับมา (Response)
- ส่วน Frame message (ไม่รวม Start และ End bits) ที่ตอบกลับมาคือ 06 XXXX
XXXX XXXX
- • 06 คือ จำนวน byte ของข้อมูลที่ตอบกลับมา
- • XXXX XXXX XXXX คือ ข้อมูลของทั้ง 3 ตำแหน่ง ที่ตอบกลับมา (ตำแหน่งละ 2
bytes)
ตัวอย่างการใช้งาน Modbus RTU
จากคู่มือการใช้งานของ PID controller [Ref 6] การอ่านค่า Present value (PV)
ถูกกำหนดไว้ที่ Holding register หมายเลข 138 ส่วนการเขียนค่าเพื่อตั้งค่า Set Value (SV) นั้นถูก
กำหนดไว้ที่ holding register หมายเลข 0 ดังนั้นในส่วนของ PLC เราก็สามารถกำหนด Buffer
memory เช่น #2000h สำหรับการอ่านค่าจาก register# 138 และ #4000h สำหรับการเขียนค่าไป
ยัง register #0

รูปที่ 2.9 ตัวอย่าง Modbus RTU (RS-485)


2.6 มาตรฐานแรงดันไฟฟ้าของการไฟฟ้าภูมิภาค
โดยหลักสากลแล้ว การไฟฟ้าในแต่ละแห่งจะกำหนดค่ามาตรฐานสำหรับแรงดันไฟฟ้า
รวมถึงค่าการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้า และรูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้ากับผู้ใช้ไฟฟ้า
ซึ่งสามารถดูได้ในรูปที่ 2.10 มาตรฐานเหล่านี้มีความสำคัญทั้งในสภาวะปกติและในสภาวะฉุกเฉิน
สำหรับสภาวะปกติคือสถานการณ์ที่ระบบไฟฟ้าทำงานได้อย่างสมบูรณ์และไม่มีข้อขัดข้องใด ๆ
ส่วนในสภาวะฉุกเฉินหมายถึงสถานการณ์ที่เกิดปัญหาหรือข้อขัดข้องในระบบไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องมี
การถ่ายเทสภาวะทางไฟฟ้าไปรับจากแหล่งจ่ายอื่นในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อให้การจ่ายไฟฟ้าไม่หยุดชะงัก
และสามารถกลับมาทำงานได้อย่างรวดเร็ว มาตรฐานเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้การทำงานของระบบ
ไฟฟ้ามีเสถียรภาพและความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า
14

รูปที่ 2.10 การเชื่อมต่อของผู้ผลิตไฟฟ้าหรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีคอนเวอร์เตอร์แบบหนึ่งเฟสเชื่อมต่อกับ


ระบบจำหน่าย 220 โวลต์
ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กำหนดมาตรฐานของแรงดันไฟฟ้า และความถี่ของระบบ
ไฟฟ้า (Value of Frequency) ดังแสดงในตารางที่ 2.1 และตารางที่ 2.2

ตารางที่ 2.1 แสดงค่ามาตรฐานแรงดันไฟฟ้า (System Voltage) และ Voltage Regulation ของ


การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Voltage Normal Condition Emergency Condition
Type of
System Maximum Minimum Maximum Minimum
Customer
(kV) (%) (%) (%) (%)
Large 69,115
+5 % -5 % +10 % -10 %
industrial (Line-line)
15

Medium 22,33
+5 % -5 % +10 % -10 %
industrial (Line-line)
Small 0.38
+10 % -10 % +10 % -10 %
industrial (Line-line)
0.22
Residential +10 % -10 % +10 % -10 %
(Line-neutral)
ที่มา : คู่มือถามตอบปัญหาเทคนิคด้านคุณภาพไฟฟ้าอุตสาหกรรม

ตารางที่ 2.2 แสดงค่ามาตรฐานความถี่ไฟฟ้า (System Frequency) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


Normal Condition Varies Range
System Frequency 50 Hz ±0.5 Hz
ที่มา: คู่มือถามตอบปัญหาเทคนิคด้านคุณภาพไฟฟ้าอุตสาหกรรม
16

บทที่ 3
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินโครงงาน

หัวข้อนี้ได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการดําเนินงานจัดทำโครงงาน ตลอดจนการออกแบบ
โครงสร้าง และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงงาน ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลและทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องแล้วในบทที่ 2
จึงได้นําข้อมูลที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์ออกแบบเพื่อเลือกใช้วัสดุที่จะนํามาทำโครงงานให้มีความถูกต้อง
เหมาะสมกับลักษณะงานและดำเนินการสร้างโครงงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ของการทำโครงงาน
1. ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน
2. บล็อกไดอะแกรมการทำงาน
3. วงจรไมโครคอนโทรลเลอร์และเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า
4. การต่อใช้งานเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้ากับโหลด
5. การทดสอบเครื่องวัดที่ออกแบบสร้างกับเครื่องวัดมาตรฐาน
6. การออกแบบการแสดงผลผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันไลน์
7. การออกแบบโครงสร้างของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

3.1 ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน
การจัดทำโครงงานนี้ได้ดําเนินงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้มีอยู่ด้วยกันสองขั้นตอน
โดยขั้นตอนแรกนั้น ต้องทำการศึกษาการตรวจวัดคุณภาพตามมาตรฐานการไฟฟ้า การรับส่งข้อมูล
ของไมโครคอนโทรลเลอร์เครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า
การโชว์ค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าของเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้าขึ้นบนเว็บไซต์และการเก็บ
ข้อมูลไว้ในการ์ดหน่วยความจํา จากนั้นจึงทำการทดลองและออกแบบวงจรเพื่อสร้างเครื่องตรวจวัด
คุณภาพไฟฟ้าขึ้นให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังรูปที่ 3.1 และทำการเก็บข้อมูลแล้วนําข้อมูลดัง
กล่าวไปเปรียบเทียบกับเครื่องวัดที่ได้ตามมาตรฐานจริง
17

รูปที่ 3.1 ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน

3.2 บล็อกไดอะแกรมการทำงาน
18

ขั้นตอนการทำงานของบล็อกไดอะแกรมจะมีอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วย Analog to
Digital EASTRON SMART X835 DEVIO NB-DEVKIT AIS-IoT และ Power Supply and
Battery Back-up ขั้นตอนการทำงานของบล็อกไดอะแกรมเริ่มจากการวัดแรงดันจากหม้อแปลงโดย
เข้าไปที่ Analog to Digital Converter และ Power Energy Meter EASTRON SMART X835
โดยอุปกรณ์ 2 ตัวนี้จะทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่มีหน้าที่รับข้อมูลที่เหมือนกันเพื่อส่งไปยัง DEVIO NB-
DEVKIT AIS-IoT จะรับข้อมูลต่อและนำไปดัดแปลงค่าต่าง ๆ หลังจากนั้นส่งต่อข้อมูลค่าที่ได้ไปยัง
MEGELLAN เพื่อให้แสดงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ แจ้งเตือนไฟติดไฟดับไปที่LINE Notification และเก็บ
บันทึกข้อมูลย้อนหลังไว้ที่ Google AppSheet โดยจะมี Power Supply and Battery Back-up
สำรองให้กับ DEVIO NB-DEVKIT AIS-IoT

รูปที่ 3.2 แสดงแผนการทำงานของโครงงาน

3.3 วงจร DEVIO NB-DEVKIT I และเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า


การติดต่อสื่อสารระหว่าง DEVIO NB-DEVKIT I กับเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า เพื่อที่จะให้
DEVIO NB-DEVKIT I ติดต่อรับข้อมูลจากเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า โดยจะใช้การติดต่อสื่อสารแบบ
อนุกรมด้วยโมดูล RS485 และส่งข้อมูลไปยัง DEVIO NB-DEVKIT I เพื่อให้ DEVIO NB-DEVKIT I
ทำการประมวลผลค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้าเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้าวัดได้ โดยมี
วงจรการติดต่อระหว่าง DEVIO NB-DEVKIT I กับเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า ดังรูปที่ 3.3
19

รูปที่ 3.3 วงจรการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์และเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า

3.4 การต่อใช้งานเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้ากับโหลด
ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการต่อใช้เครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า EASTRON SMART X835
และโหลด ซึ่งการต่อวงจรจะสามารถต่อวงจรการทดสอบได้
การทดสอบวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า คือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าจริง
กำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟ กำลังไฟฟ้าปรากฏ และตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ที่วัดได้จากเครื่องวัดค่า
พารามิเตอร์ทางไฟฟ้า โดยจะทำการทดสอบเปรียบเทียบค่ากับเครื่องวัดที่ได้มาตรฐาน คือ Power &
Quality Analyzer รุ่น C.A 8332B เพื่อทำการทดสอบหาค่าความถูกต้อง และแม่นยำของเครื่องวัด
คุณภาพไฟฟ้า EASTRON SMART X835 ซึ่งการต่อวงจรการทดสอบจะสามารถต่อวงจรการ
20

ทดสอบได้ ดังในรูปที่ 3.4 และ ดังในรูปที่ 3.5 โดยที่นำมาใช้ในการทดสอบมีดังต่อไปนี้ คือ โหลดตัว


ต้านทาน โหลดตัวเหนี่ยวนำและโหลดตัวเก็บประจุ

รูปที่ 3.4 การต่อเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้ากับโหลด


21

3.5 ตัวอย่างการแสดงผลบนเว็ปไซต์และแอปพลิเคชัน

รูปที่ 3.5 ตัวอย่างการแสดงผลบนเว็ปไซต์

รูปที่ 3.6 แจ้งเตือนขณะไฟฟ้าดับ


22

รูปที่ 3.7 แจ้งเตือนขณะไฟฟ้าติดปกติ


23

3.6 การออกแบบโครงสร้างของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
การออกแบบโครงสร้างของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้อง
ดำเนินการอย่างละเอียดและพิถีพิถันเพื่อให้การตรวจสอบและดูแลระบบไฟฟ้าภายในอาคารมี
ประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงสุดการวางตำแหน่งชุดโมดูลของระบบตรวจสอบไฟฟ้าจะจัดวาง
ไว้อย่างเหมาะสมและจะช่วยให้การตรวจสอบและบำรุงรักษาทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
กระบวนการออกแบบเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลองของอาคารที่ต้องการติดตั้งระบบ
ตรวจสอบไฟฟ้า โดยใช้ Shapr 3D ในการสร้างโครงสร้างอาคารในรูปแบบ 3 มิติ หลังจากนั้นจะ
ทำการวางแผนและออกแบบตำแหน่งของชุดโมดูลสำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้าซึ่งรวมถึงการกำหนด
จุดติดตั้ง RS485, DEVIO NB-DEVKIT I และอุปกรณ์ตรวจสอบอื่น ๆ ให้มีความเหมาะสมกับการใช้
งานและง่ายต่อการเข้าถึง
หลังจากที่การออกแบบเสร็จสิ้นจะมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบจำลองโดยใช้
ฟังก์ชันการตรวจสอบภายใน Shapr 3D เพื่อตรวจสอบว่าการวางตำแหน่งและการเชื่อมต่อของ
อุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่กำหนดไว้หรือไม่ การตรวจสอบนี้จะช่วยลด
ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการติดตั้งจริงและช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น

รูปที่ 3.8 การออกแบบภายในของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร


24

รูปที่ 3.9 การออกแบบโครงสร้างของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

โดยการออกแบบวางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการนำไป
ใช้งานสามารถแบ่งการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ได้เป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 ของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร มีความยาว 300 มิลลิเมตร และความ
กว้าง 260 มิลลิเมตร มีอุปกรณ์ประกอบไปด้วย RS485 (หมายเลขที่ 1) DEVIO NB-DEVKIT I
(หมายเลขที่ 2) โมดูลแปลงแรงดัน (หมายเลขที่ 3) เทอร์มินอล (หมายเลขที่ 4) และ UPS (หมายเลข
ที่ 5) ดังรูปที่ 3.10
25

รูปที่ 3.10 การออกแบบการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ส่วนที่ 1

ส่วนที่ 2 ของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส มีความยาว 130 มิลลิเมตร และความกว้าง


120 มิลลิเมตร ประกอบไปด้วยเครื่องวัดพารามิเตอร์สามเฟส (หมายเลขที่ 1) ดังรูปที่ 3.11
26

รูปที่ 3.11 การออกแบบการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ชั้นที่ 2

เมื่อทำการออกแบบเสร็จสิ้นเรียบร้อยจึงทำการสร้างเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสที่
ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังแสดงในรูปที่ 3.10 เป็นรูปเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสและรูปที่
3.11 เป็นรูปการวางตำแหน่งอุปกรณ์ของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ของชั้นที่ 1 รูปที่ 3.23
เป็นการวางตำแหน่งอุปกรณ์ของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ของชั้นที่ 2 และรูปที่ 3.24 เป็นการวาง
ตำแหน่งอุปกรณ์ของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ของชั้นที่ 3
27

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

ในบทนี้กล่าวถึงการทดสอบระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ที่สามารถบันทึกและแจ้ง
เตือนเหตุความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าโดยหลักการทำงานจะตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าและ
บันทึกค่าข้อมูลที่ได้คือ สถานะแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าจริงและพลังงานไฟฟ้า หากเกิด
ความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าขึ้นจะแจ้งข้อมูลค่าพารามิเตอร์ผ่านข้อความทางโทรศัพท์ โดยจะทำการ
ทดสอบเปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดที่ได้มาตรฐาน คือ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeter) รุ่น
FLUKE 117 เครื่องวัดค่าพลังงานไฟฟ้า (Power Quality) รุ่น C.A 8332B แคมป์มิเตอร์ (Clamp
meter) รุ่น FLUKE 376 FC เพื่อทำการทดสอบหาค่าความถูกต้องแม่นยำของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์
สามเฟส

4.1 ลำดับขั้นตอนการทดลอง
เมื่อทำการออกแบบและสร้างระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารที่สามารถบันทึกและ
แจ้งเตือนเหตุความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าเสร็จสิ้นขั้นตอนต่อไปคือการทดสอบการทำงานของ
อุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสว่าสามารถทำงานได้
ตามวัตถุประสงค์และขอบเขตที่ตั้งไว้ โดยลำดับขั้นตอนการทดสอบมีดังต่อไปนี้
4.1.1 การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า
4.1.2 การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าในสถานะไฟดับ สถานะแรงดันไฟฟ้าเกิน
สถานะแรงดันไฟฟ้าต่ำและการส่งข้อมูลสถานะผ่านข้อความทางโทรศัพท์
4.1.3 การทดสอบการเกิดเหตุความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า
4.1.4 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง กำลังไฟฟ้าสูญเสีย กำลังไฟฟ้าปรากฏ
ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
4.1.5 การทดสอบการแสดงข้อมูลผ่านกูเกิ้ลชีต
4.1.6 การทดสอบการแสดงข้อมูลผ่าน Magellan
4.1.7 การทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้
4.1.8 การทดสอบวัดค่าความถี่
4.1.9 การทดสอบวัดค่าอุณหภูมิและความชื้น
28

4.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
อุปกรณ์ในการทดสอบจำเป็นต้องมีความถูกต้องแม่นยำจึงใช้เครื่องมือวัดมาตรฐาน
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117 เครื่องวัดค่าพลังงานไฟฟ้า (Power Quality) รุ่น C.A 8332B
แคมป์มิเตอร์ รุ่น FLUKE 376 FC ดังรูปที่ 4.1 ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครื่องมือวัดที่ใช้อ้างอิงการทดสอบวัด
ค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า วัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง และพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งทำการทดสอบเปรียบ
เทียบกับเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส โดยทำการทดสอบกับโหลดตัวต้านทาน โหลดตัวเหนี่ยวนำ
โหลดตัวเก็บประจุ และระบบสายส่ง ดังรูปที่ 4.2

ก. เครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลมิเตอร์ ข. เครื่องมือวัดมาตรฐานแคมป์มิเตอร์
รุ่น FLUKE 117 รุ่น FLUKE 376 FC

ค. เครื่องวัดค่าพลังงานไฟฟ้า (Power Quality) รุ่น C.A 8332B

รูปที่ 4.1 เครื่องมือวัดมาตรฐานใช้อ้างอิงในการทดสอบเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส


29

ก. โหลดตัวต้านทาน ข. โหลดตัวเหนี่ยวนำ

ค. โหลดตัวเก็บประจุ ง. ระบบสายส่ง

รูปที่ 4.2 โหลดที่ใช้ในการทดสอบเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส


30

4.3 การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า
การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า เป็นการต่อใช้งานของระบบตรวจสอบ
ไฟฟ้าภายในอาคาร เพื่อเปรียบเทียบค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าให้มีความถูกต้องแม่นยำ
โดยอ้างอิงค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าจากเครื่องมือวัดมาตรฐาน ซึ่งเป็นการต่อวงจรกับแหล่ง
จ่ายไฟฟ้าสามเฟส ปรับค่าได้ด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า 100 โวลต์ ถึง 250 โวลต์
และ 1 แอมแปร์ ถึง 20 แอมแปร์ ดังตารางที่ 4.1 และ 4.2 จะทำการวัดแรงดันไฟฟ้าและกระแส
ไฟฟ้า แต่ละเฟส ด้วยเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับเครื่องมือวัดมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบแรงดัน
ไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารว่ามีความถูกต้องแม่นยำตามเครื่องมือ
วัดมาตรฐานหรือไม่ จากนั้นนำค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้ามาคำนวณหาค่าความผิดพลาด
ดังสมการ 4.1

สมการหาเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด
เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด 4.1
เมื่อ คือ ค่าที่วัดได้
คือ ค่าอ้างอิงมาตรฐาน

การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้า เปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดมาตรฐานสามารถทำการ
ต่อวงจรการทดสอบ ดังรูปที่ 4.3

รูปที่ 4.3 การต่อวงจรทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้า


31

รูปที่ 4.4 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส


32

ตารางที่ 4.1 การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารกับเครื่องมือวัด


มาตรฐาน
ค่าแรง เฟส A เฟส B เฟส C ค่าความผิดพลาด
ดัน (V) (V) (V) (%)
(V) ก ข ก ข ก ข A B C
100 101.4 101.2 100.6 100.4 100.3 100.1 0.2 0.2 0.2
110 110.0 109.4 109.2 109.0 109.3 109.1 0.5 0.2 0.2
120 120.2 120.2 119.5 119.2 119.8 119.6 0.0 0.3 0.2
130 130.0 129.9 129.4 129.2 129.7 129.9 0.1 0.2 0.2
140 140.7 140.7 140.6 140.5 140.5 140.0 0.0 0.1 0.4
150 150.3 150.0 150.2 150.0 150.2 150.5 0.2 0.1 0.2
160 160.3 160.4 160.8 160.8 160.4 160.2 0.1 0.0 0.1
170 170.2 170.2 170.1 170.1 170.3 170.4 0.0 0.0 0.1
180 180.7 180.7 181.0 181.0 181.1 181.3 0.0 0.0 0.1
190 190.4 190.5 190.0 189.9 190.5 190.6 0.1 0.1 0.1
200 200.7 200.8 200.5 200.5 201.4 201.4 0.0 0.0 0.0
210 210.5 210.7 210.1 210.2 210.7 211.0 0.1 0.0 0.1
220 219.9 220.0 219.5 219.5 220.0 220.2 0.0 0.0 0.1
230 229.3 229.7 228.5 228.7 229.6 229.9 0.2 0.1 0.1
240 241.4 241.9 241.1 241.6 240.8 240.9 0.2 0.2 0.0
250 252.7 252.9 251.1 251.5 250.3 250.3 0.1 0.2 0.0
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
33

จากตารางที่ 4.1 จากการทดสอบได้เปรียบเทียบระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารกับ


เครื่องมือวัดมาตรฐาน โดยปรับค่าแรงดันไฟฟ้าตามลำดับและสรุปค่าความผิดพลาดของค่าแรงดัน
ไฟฟ้าทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.5 เปอร์เซ็นต์และค่าความผิด
พลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.0 เปอร์เซ็นต์

การทดสอบวัดค่ากระแสไฟฟ้า เปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดมาตรฐานสามารถทำการต่อวงจรการ
ทดสอบ ดังรูปที่ 4.5

รูปที่ 4.5 การต่อวงจรทดสอบวัดค่ากระแสไฟฟ้า

คำนวณหาขนาดของโหลดตัวต้านทานที่ต้องใช้ในการทดสอบ โดยใช้สูตร R=V/I ซึ่งจะใช้


แรงดัน 420 V และกระแส 20 A หลังจากคำนวณมาแล้ว โหลดตัวต้านที่ใช้จะอยู่ที่ 21 โอห์ม
34

รูปที่ 4.6 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่ากระแสไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร


35

ตารางที่ 4.2 การทดสอบวัดค่ากระแสไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารกับเครื่องมือวัด


มาตรฐาน
กระแส เฟส A เฟส B เฟส C ค่าความคลาดเคลื่อน
ไฟฟ้า (A) (A) (A) (%)
(A) ก ข ก ข ก ข A B C
1 1.1 1.1 1.1 1.1 1.1 1.1 0.0 0.0 0.0
2 2.2 2.2 2.2 2.2 2.2 2.2 0.9 0.9 0.5
3 3.2 3.2 3.2 3.2 3.2 3.2 0.0 0.0 0.0
4 4.0 4.0 4.0 4.0 4.0 4.0 0.5 0.0 0.0
5 5.1 5.1 5.2 5.2 5.1 5.1 0.0 0.8 0.0
6 6.4 6.4 6.3 6.4 6.4 6.4 0.8 0.8 0.2
7 7.1 7.1 7.1 7.1 7.1 7.1 0.3 0.1 0.3
8 7.9 8.0 8.0 8.0 8.0 8.0 0.7 0.0 0.0
9 9.1 9.0 9.1 9.0 9.0 9.0 0.7 0.7 0.0
10 9.9 10.0 10.0 10.0 9.9 10.0 0.6 0.0 0.6
11 11.0 11.0 11.9 11.8 11.0 11.0 0.0 0.8 0.0
12 12.8 12.9 12.8 12.9 12.8 12.9 0.8 0.8 0.8
13 13.2 13.3 13.2 13.3 13.2 13.3 0.8 0.8 0.8
14 14.0 14.1 14.0 14.1 14.0 14.1 0.7 0.7 0.7
15 15.1 15.2 15.1 15.2 15.1 15.2 0.7 0.7 0.4
16 16.2 16.1 16.2 16.1 16.2 16.1 0.6 0.6 0.6
17 18.6 18.7 18.6 18.7 18.6 18.7 0.5 0.6 0.6
18 18.9 18.9 18.9 18.9 18.9 18.9 0.0 0.0 0.0
19 19.0 19.0 18.9 19.0 19.0 19.0 0.0 0.5 0.3
20 19.8 19.8 19.8 19.8 19.7 19.8 0.0 0.0 0.3
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานแคมป์มิเตอร์ รุ่น FLUKE 376 FC
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

จากตารางที่ 4.2 จากการทดสอบได้เปรียบเทียบระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายใน


อาคารกับเครื่องมือวัดมาตรฐานโดยปรับค่ากระแสไฟฟ้าตามลำดับและสรุปค่าความผิดพลาดของค่า
กระแสไฟฟ้าทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.9 เปอร์เซ็นต์และค่าความ
ผิดพลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.0 เปอร์เซ็นต์
36

4.4 การทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าและการส่งข้อมูลสถานะผ่าน Magellan กับแอพลิเคชั่นไลน์


การต่อวงจรทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าจะใช้โหลดอยู่ 2 ประเภท คือ โหลดตัวต้านทาน
และโหลดตัวเก็บประจุ ซึ่งโหลดตัวเก็บจุใช้ในเงื่อนไขเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้เกิดสถานะแรงดันไฟฟ้าเกิน
และโหลดตัวต้านทานใช้ในเงื่อนไขเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าให้เกิดสถานะแรงดันไฟฟ้าต่ำ โดยการต่อวงจร
จะสามารถต่อวงจรการทดลองได้ดังในรูปที่ 4.9 ซึ่งจะทำการปรับค่าแรงดันไฟฟ้า ตามตารางที่ 4.9
แล้วทำการวัดค่าแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมโหลด พร้อมทั้งคำนวณค่าความผิดพลาดของระบบตรวจสอบ
ไฟฟ้าภายในอาคารกับเครื่องมือวัดมาตรฐาน ดังสมการที่ 4.1 และบันทึกผลการทดสอบลงในตาราง
37

รูปที่ 4.7 การต่อวงจรทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร


38

รูปที่ 4.8 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

โดยมีขั้นตอนในการทดสอบการใช้งานระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร จะมีการ
กำหนดเงื่อนไขการทำงานให้เหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
ช่วงเวลา 0 ถึง 5 วินาที กำหนดให้ แรงดันไฟฟ้าปกติ
ช่วงเวลา 6 ถึง 15 วินาที กำหนดให้ แรงดันไฟฟ้าผิดปกติ
ช่วงเวลา 16 ถึง 20 วินาที กำหนดให้ แรงดันไฟฟ้าปกติ

ߊüÜđüúćǰǰċǰÜ
ëċǰĉ
Ċ
ǰǰüĉ
î ćì Ċ ߊüÜđüúćǰ6ǰëÜċǰǰĉ
Ċ
üĉ
î ćì Ċ ċǰǰĉ
ߊüÜđüúćǰ 6ǰëÜ Ċ
üĉ
î ćì Ċ
ĒøÜéĆî ĕôôćðÖê
Ŝ ĉ ĒøÜéĆî ĕôôćŜǰñéðÖê
ĉ ĉ ĒøÜéĆ
î ĕôôćðÖê
Ŝ ĉ

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
đüúćǰü îĉćì Ċ

รูปที่ 4.9 ระยะเวลาในการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า


39

ตารางที่ 4.3 เงื่อนไขการทดสอบวัดค่าแรงดันไฟฟ้า


ลำดั สถานะแรงดันไฟฟ้า
รายการ แจ้งเตือน
บ เฟส A เฟส B เฟส C
1 การทดลองตามตารางที่ 4.4 ดับ* ปกติ ปกติ แจ้งเตือนเฟส A ดับ
2 การทดลองตามตารางที่ 4.5 ปกติ ดับ* ดับ* แจ้งเตือนเฟส B เฟส C ดับ
3 การทดลองตามตารางที่ 4.6 ดับ* ดับ* ดับ* แจ้งเตือนระบบขัดข้อง
4 การทดลองตามตารางที่ 4.7 ต่ำ* ปกติ ปกติ แจ้งเตือนเฟส A ต่ำ
5 การทดลองตามตารางที่ 4.8 ปกติ ต่ำ* ต่ำ* แจ้งเตือนเฟส B เฟส C ต่ำ
แจ้งเตือนระบบขัดข้อง
6 การทดลองตามตารางที่ 4.9 ต่ำ* ต่ำ* ต่ำ*
แรงดันต่ำ
7 การทดลองตามตารางที่ 4.10 เกิน* ปกติ ปกติ แจ้งเตือนเฟส A เกิน
8 การทดลองตามตารางที่ 4.11 ปกติ เกิน* เกิน* แจ้งเตือนเฟส B เฟส C เกิน
แจ้งเตือนระบบขัดข้อง
9 การทดลองตามตารางที่ 4.12 เกิน* เกิน* เกิน*
แรงดันเกิน
40

สำหรับการทดสอบสถานะแรงดันไฟฟ้าเกินจะมีการปรับแรงดันไฟฟ้าให้สูงกว่า
240 โวลต์ เพื่อจำลองสภาวะที่แรงดันไฟฟ้าเกินค่ามาตรฐานและสถานะปกติจะถูกตั้งค่าให้แรงดัน
ไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ การทดสอบนี้จะถูกดำเนินการที่เฟส A, เฟส B, เฟส C และในกรณีที่แรงดัน
ไฟฟ้าเกินทั้งสามเฟสพร้อมกัน โดยผลการทดสอบจะถูกบันทึกในตารางที่ 4.10, 4.11 และ 4.12 ตาม
ลำดับ
สำหรับการทดสอบสถานะแรงดันไฟฟ้าต่ำ จะมีการปรับแรงดันไฟฟ้าให้น้อยกว่า 200
โวลต์ เพื่อจำลองสภาวะที่แรงดันไฟฟ้าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน และสถานะปกติจะถูกตั้งค่าให้แรงดัน
ไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ การทดสอบนี้จะถูกดำเนินการที่เฟส A, เฟส B, เฟส C และในกรณีที่แรงดัน
ไฟฟ้าต่ำทั้งสามเฟสพร้อมกัน โดยผลการทดสอบจะถูกบันทึกในตารางที่ 4.7, 4.8 และ 4.9 ตามลำดับ
การทดสอบเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจสอบความสามารถของระบบไฟฟ้า
ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าในสถานการณ์ต่างๆ การปรับแรงดันไฟฟ้าใน
สถานะต่างๆ และการบันทึกผลการทดสอบในตารางที่ระบุช่วยให้สามารถวิเคราะห์และปรับปรุง
ประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถประเมินความ
เสถียรและความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
41

ตารางที่ 4.4 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ดับ เฟส B = ปกติ เฟส C = ปกติ


เฟส A เฟส B เฟส C
เวลา ค่าความผิดพลาด (%) สถานะ
(V) (V) (V)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
7 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
8 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
9 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
10 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
11 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
12 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
13 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
14 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
15 0.0 0.0 232.0 232.6 232.1 233.1 0.0 0.3 0.4 ดับ ปกติ ปกติ
16 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 230.2 229.8 232.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.3 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
42

จากตารางที่ 4.10 การทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่ เฟส A วินาทีที่ 1 ถึง วินาที


ที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
เป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 0 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้า
กลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์

รูปที่ 4.10 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.4

รูปที่ 4.11 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.4


43

รูปที่ 4.12 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.10 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่ เฟส A วินาทีที่


1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A (แสดงโดยเส้น
กราฟสีแดง) เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 0
โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์
จากรูปที่ 4.11 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เทาแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.12 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
44

ตารางที่ 4.5 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ปกติ เฟส B = ดับ เฟส C = ดับ


เฟส A เฟส B เฟส C
เวลา ค่าความผิดพลาด (%) สถานะ
(V) (V) (V)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
7 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
8 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
9 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
10 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
11 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
12 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
13 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
14 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
15 230.2 229.8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 0.0 0.0 ปกติ ดับ ดับ
16 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
45

จากตารางที่ 4.5 การทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่ เฟส A วินาทีที่ 1 ถึง วินาที


ที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
เป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 0 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้า
กลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์

รูปที่ 4.13 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.5

รูปที่ 4.14 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.5


46

รูปที่ 4.15 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.13 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่ เฟส A วินาที


ที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A (แสดงโดยเส้น
กราฟสีแดง) เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 0
โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์
จากรูปที่ 4.14 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เทาแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.15 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
47

ตารางที่ 4.6 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ดับ เฟส B = ดับ เฟส C = ดับ


เฟส A เฟส B เฟส C
เวลา ค่าความผิดพลาด (%) สถานะ
(V) (V) (V)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
7 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
8 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
9 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
10 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
11 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
12 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
13 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
14 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
15 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 ดับ ดับ ดับ
16 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
48

จากตารางที่ 4.6 การทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่ เฟส A วินาทีที่ 1 ถึง วินาที


ที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ
เป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 0 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้า
กลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์

รูปที่ 4.16 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.6

รูปที่ 4.17 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.6


49

รูปที่ 4.18 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.16 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่ เฟส A วินาที


ที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A (แสดงโดยเส้น
กราฟสีแดง) เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 0
โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์
จากรูปที่ 4.17 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เทาแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.18 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
50

ตารางที่ 4.7 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ต่ำ เฟส B = ปกติ เฟส C = ปกติ


เฟส A เฟส B เฟส C
เวลา ค่าความผิดพลาด (%) สถานะ
(V) (V) (V)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
7 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
8 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
9 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
10 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
11 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
12 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
13 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
14 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
15 182.7 182.9 231.0 232.6 230.1 233.1 0.1 0.7 0.4 ต่ำ ปกติ ปกติ
16 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 230.2 229.8 231.0 232.6 230.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
51

จากตารางที่ 4.7 การทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำเฟส A วินาที


ที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A เกิดเหตุการณ์
แรงดันไฟฟ้าต่ำเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 181.2 โวลต์ จากนั้นวินาที
ที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์

รูปที่ 4.19 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.7

รูปที่ 4.20 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.7


52

รูปที่ 4.21 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.19 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำเฟส A


วินาทีที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A (แสดง
โดยเส้นกราฟสีแดง) เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้า
ประมาณ 181.2 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า
230 โวลต์
จากรูปที่ 4.20 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เทาแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.21 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
53

ตารางที่ 4.8 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ปกติ เฟส B = ต่ำ เฟส C = ต่ำ


เฟส A เฟส B เฟส C
เวลา ค่าความผิดพลาด (%) สถานะ
(V) (V) (V)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
7 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
8 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
9 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
10 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
11 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
12 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
13 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
14 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
15 230.2 229.8 192.7 192.9 192.7 192.9 0.2 0.1 0.1 ปกติ ต่ำ ต่ำ
16 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
54

จากตารางที่ 4.8 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำเฟส B


และเฟส C วินาทีที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้า
เฟส B และเฟส C เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้า
ประมาณ 192.5 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า
230 โวลต์

รูปที่ 4.22 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.8

รูปที่ 4.23 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.8


55

รูปที่ 4.24 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.22 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำเฟส B


และเฟส C วินาทีที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้า
เฟส B และเฟส C (แสดงโดยเส้นกราฟสีเหลืองและเส้นกราฟสีน้ำเงิน) เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำ
เป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 192.5 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้า
กลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์
จากรูปที่ 4.23 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เทาแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.24 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
56

ตารางที่ 4.9 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ต่ำ เฟส B = ต่ำ เฟส C = ต่ำ


เฟส A เฟส B เฟส C
เวลา ค่าความผิดพลาด (%) สถานะ
(V) (V) (V)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
7 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
8 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
9 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
10 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
11 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
12 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
13 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
14 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
15 188.7 188.9 188.7 188.9 188.7 188.9 0.1 0.1 0.1 ต่ำ ต่ำ ต่ำ
16 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
57

จากตารางที่ 4.18 การทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำทั้งสามเฟส วินาที


ที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าทั้งสามเฟสเกิด
เหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 188.8 โวลต์ จาก
นั้นวินาทีที่16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์

รูปที่ 4.25 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.9

รูปที่ 4.26 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.9


58

รูปที่ 4.27 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.25 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำทั้งสามเฟส


วินาทีที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าทั้งสามเฟส
(แสดงโดยเส้นกราฟสีแดง เส้นกราฟสีเหลือง และเส้นกราฟสีน้ำเงิน) เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าต่ำ
เป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 188.8 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้า
กลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์
จากรูปที่ 4.26 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เทาแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.27 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
59

ตารางที่ 4.10 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = เกิน เฟส B = ปกติ เฟส C = ปกติ


เฟส A เฟส B เฟส C ค่าความผิดพลาด
เวลา สถานะ
(V) (V) (V) (%)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
7 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
8 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
9 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
10 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
11 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
12 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
13 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
14 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
15 242.1 241.9 231.0 232.6 232.1 233.1 0.1 0.7 0.4 เกิน ปกติ ปกติ
16 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 230.2 229.8 231.0 232.6 232.1 233.1 0.2 0.7 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
60

จากตารางที่ 4.13 การทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินเฟส A วินาที


ที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A เกิดเหตุการณ์
แรงดันไฟฟ้าเกินขึ้นเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 242.0 โวลต์ จากนั้น
วินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์

รูปที่ 4.28 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.10

รูปที่ 4.29 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.10


61

รูปที่ 4.30 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.28 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินเฟส A


วินาทีที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส A (แสดง
โดยเส้นกราฟสีแดง) เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินขึ้นเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้า
ประมาณ 242.0 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า
230 โวลต์
จากรูปที่ 4.29 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เทาแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.30 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
62

ตารางที่ 4.11 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = ปกติ เฟส B = เกิน เฟส C = เกิน


เฟส A เฟส B เฟส C ค่าความผิดพลาด
เวลา สถานะ
(V) (V) (V) (%)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
7 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
8 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
9 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
10 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
11 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
12 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
13 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
14 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
15 220.8 220.9 242.6 242.8 245.9 245.7 0.0 0.1 0.1 ปกติ เกิน เกิน
16 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
63

จากตารางที่ 4.14 การทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินเฟส B และเฟส C


วินาทีที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส B และ
เฟส C เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินขึ้นเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ
242.7 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์

รูปที่ 4.31 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.11

รูปที่ 4.32 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.11


64

รูปที่ 4.33 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.31 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินเฟส B


และเฟส C วินาทีที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าเฟส
B และเฟส C (แสดงโดยเส้นกราฟสีเหลืองและเส้นกราฟสีน้ำเงิน) เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินขึ้น
เป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 247.5 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้า
กลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์
จากรูปที่ 4.32 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เหลืองแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.33 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
65

ตารางที่ 4.12 ผลการทดสอบวัดสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A = เกิน เฟส B = เกิน เฟส C = เกิน


เฟส A เฟส B เฟส C ค่าความผิดพลาด
เวลา สถานะ
(V) (V) (V) (%)
(S)
ก ข ก ข ก ข A B C A B C
1 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
2 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
3 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
4 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
5 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
6 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
7 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
8 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
9 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
10 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
11 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
12 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
13 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
14 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
15 240.0 240.2 242.0 242.2 243.0 243.2 0.1 0.1 0.1 เกิน เกิน เกิน
16 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
17 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
18 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
19 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
20 231.0 232.6 232.1 233.1 232.1 233.1 0.7 0.4 0.4 ปกติ ปกติ ปกติ
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องมือวัดมาตรฐานดิจิตอลมัลติมิเตอร์ รุ่น FLUKE 117
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
66

จากตารางที่ 4.15 การทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินทั้งสามเฟส วินาที


ที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าทั้งสามเฟส
เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินขึ้นเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 242.0
โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์

รูปที่ 4.34 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าสามเฟส ตามตารางที่ 4.12

รูปที่ 4.35 กราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส ตามตารางที่ 4.12


67

รูปที่ 4.36 การแจ้งเตือนสถานะผ่านไลน์โนติฟาย

จากรูปที่ 4.34 จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบเงื่อนไขเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกินทั้งสามเฟส


วินาทีที่ 1 ถึง วินาทีที่ 5 มีแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์ จากนั้นในวินาทีที่ 6 แรงดันไฟฟ้าทั้งสามเฟส
(แสดงโดยเส้นกราฟสีแดง เส้นกราฟสีเหลือง และเส้นกราฟสีน้ำเงิน) เกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าเกิน
ขึ้นเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีระดับแรงดันไฟฟ้าประมาณ 242.0 โวลต์ จากนั้นวินาทีที่ 16 แรงดัน
ไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 230 โวลต์
จากรูปที่ 4.35 เป็นกราฟแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟส เพื่อให้สามารถเห็นสถานะ
แรงดันไฟฟ้าได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดให้เส้นกราฟสีแดงแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส A เส้นกราฟสี
เหลืองแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส B และเส้นกราฟสีน้ำเงินแสดงสถานะแรงดันไฟฟ้า เฟส C
จากรูปที่ 4.36 เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เครื่องสมาร์ทมิเตอร์จะทำการส่ง
ข้อความแจ้งเตือนค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ไปยังผู้ใช้งาน และหากแรงดันไฟฟ้ากลับสู่สภาวะ
ปกติเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส ก็จะส่งข้อคามแจ้งเตือนแจ้งไปยังผู้ใช้งานเช่นเดียวกัน
68

4.5 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง, กำลังไฟฟ้าสูญเสีย, กำลังไฟฟ้าปรากฏ, ตัวประกอบกำลัง


ไฟฟ้า
การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง, กำลังไฟฟ้าสูญเสีย, กำลังไฟฟ้าปรากฏ และ
ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ขณะมีโหลด โดยจะนำเอาโหลดตัวต้านทานมาเป็นโหลดในการทดสอบ แสดง
ให้เห็นว่าค่ากำลังไฟฟ้าจริงในการวัดโหลดตัวต้านทานโดยทำการต่อวงจร ดังรูปที่ 4.32 สามารถวัดค่า
กำลังไฟฟ้าจริงและสรุปค่าความผิดพลาดของค่ากำลังไฟฟ้าจริงทั้งสาม-เฟส จากนั้นทำการอ่านค่า
กำลังไฟฟ้าจริงจากเครื่องมือวัดมาตรฐานเปรียบเทียบเครื่องสมาร์ทมิเตอร์-สามเฟสโดยหาค่าความผิด
พลาด จากสมการที่ 4.1 ของค่ากำลังไฟฟ้าจริง ดังตารางที่ 4.21

รูปที่ 4.37 การต่อวงจรทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง


69

รูปที่ 4.38 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริง


70

ตารางที่ 4.13 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริงของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส

หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องวัดค่าพลังงานไฟฟ้า (Power Quality) รุ่น C.A 8332B


ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
71

จากตารางที่ 4.13 ค่าความผิดพลาดในการวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริงขณะที่จ่ายโหลด แสดงให้


เห็นว่าค่ากำลังไฟฟ้าจริงในการวัดโหลดตัวต้านทาน โหลดตัวเหนี่ยวนำ โหลดตัวเก็บประจุ เปรียบ
เทียบกับเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส สามารถวัดค่ากำลังไฟฟ้าจริงและสรุปค่าความผิดพลาดของค่า
กำลังไฟฟ้าจริงทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 2.93 เปอร์เซ็นต์และค่า
ความผิดพลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.00 เปอร์เซ็นต์
72

ตารางที่ 4.14 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส

หมายเหตุ ก คือ ค่าที่ได้จากการคำนวณ


ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
73

จากตารางที่ 4.14 ค่าความผิดพลาดในการวัดค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียขณะที่จ่ายโหลด


แสดงให้เห็นว่าค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียในการวัดโหลดตัวต้านทาน โหลดตัวเหนี่ยวนำ โหลดตัวเก็บประจุ
เปรียบเทียบกับเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส สามารถวัดค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียและสรุปค่าความผิด
พลาดของค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 2.57
เปอร์เซ็นต์และค่าความผิดพลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.00 เปอร์เซ็นต์
74

ตารางที่ 4.15 การทดสอบวัดค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส

หมายเหตุ ก คือ ค่าที่ได้จากการคำนวณ


ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
75

จากตารางที่ 4.15 ค่าความผิดพลาดในการวัดค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏขณะที่จ่ายโหลด


แสดงให้เห็นว่าค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏในการวัดโหลดตัวต้านทาน โหลดตัวเหนี่ยวนำ โหลดตัวเก็บประจุ
เปรียบเทียบกับเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส สามารถวัดค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏและสรุปค่าความผิด
พลาดของค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 1.92
เปอร์เซ็นต์และค่าความผิดพลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.00 เปอร์เซ็นต์
76

ตารางที่ 4.16 การทดสอบวัดค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส

หมายเหตุ ก คือ ค่าที่ได้จากการคำนวณ


ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
77

จากตารางที่ 4.16 ค่าความผิดพลาดในการวัดค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าขณะที่จ่ายโหลด


แสดงให้เห็นว่าค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าในการวัดโหลดตัวต้านทาน โหลดตัวเหนี่ยวนำ โหลดตัวเก็บ
ประจุ เปรียบเทียบกับเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส สามารถวัดค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าและสรุปค่า
ความผิดพลาดของค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่า
เท่ากับ 1.89 เปอร์เซ็นต์และค่าความผิดพลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.00 เปอร์เซ็นต์
78

4.6 ทดสอบการแสดงข้อมูลผ่านกูเกิ้ลชีต
เมื่อทำการทดลองตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในระบบไฟฟ้า โดยการใช้เครื่องมือวัดที่
มีมาตรฐานเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการทดลอง การเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ยืนยันความแม่นยำและความถูกต้องของค่าพารามิเตอร์ที่ได้รับจากการทดลอง
หลังจากที่ได้ค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนโค้ดเพื่อส่งข้อมูล
เหล่านี้ไปบันทึกใน Google Sheet การใช้ Google Sheet เป็นที่เก็บข้อมูลนั้นมีข้อดีหลายประการ
เช่น สามารถเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูลได้ง่าย, มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย และสามารถใช้งาน
ร่วมกับแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้อย่างสะดวก
ขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งไปยัง Google Sheet นั้นถูกต้องและครบ
ถ้วน ซึ่งจะช่วยให้การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การ
ทำเช่นนี้จะช่วยให้กระบวนการตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในระบบไฟฟ้ามีความเป็นระบบและ
สามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
79

รูปที่ 4.39 หน้าเว็บแสดงผลผ่านกูเกิ้ลชีต


80

4.7 ทดสอบการแสดงข้อมูลผ่าน Magellan


เมื่อทำการทดลองตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในระบบไฟฟ้า โดยการใช้เครื่องมือวัดที่
มีมาตรฐานเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการทดลอง การเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ยืนยันความแม่นยำและความถูกต้องของค่าพารามิเตอร์ที่ได้รับจากการทดลองและสามารถบันทึก
ข้อมูลของค่าพารามิเตอร์ในกูเกิ้ลชีตได้
หลังจากที่ได้ค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการแล้วขั้นตอนต่อไปคือการเขียนโค้ดเพื่อส่งข้อมูล
เหล่านี้ไปแสดงผลผ่าน Magellan การใช้ Magellan เป็นที่แสดงผลของข้อมูลนั้นมีข้อดีหลาย
ประการ เช่น สามารถเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูลได้ง่าย, มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายและสามารถ
ใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้อย่างสะดวก
ขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งไปยัง Magellan นั้นถูกต้องและครบถ้วน
ซึ่งจะช่วยให้การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การทำเช่นนี้
จะช่วยให้กระบวนการตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในระบบไฟฟ้ามีความเป็นระบบและสามารถใช้
งานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปที่ 4.40 แผนที่ของจุดติดตั้ง


81

รูปที่ 4.41 Voltage (V)

รูปที่ 4.42 Current (A)


82

รูปที่ 4.43 P: Power (kW)

รูปที่ 4.44 Line to Line (V)


83

รูปที่ 4.45 Q: Apparent Power (kVA)

รูปที่ 4.46 S: Reactive Power (kVar)


84

รูปที่ 4.47 PF: Power Factor

รูปที่ 4.48 Import & Export Wh (kWh), Frequency (Hz)


85

4.8 การทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้
การทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ เพื่อหาค่าความผิดพลาดในการวัดค่าพลังงานไฟฟ้า
จึงได้ทำการติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ณ บริเวณตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าอาคาร
วิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4 โดยจะทำการต่อวงจร ดังรูปที่ 4.44 เพื่ออ่านค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้จากกิโลวัตต์
ชั่วโมงสามเฟสจากสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสเปรียบเทียบกับระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารและหา
ค่าความผิดพลาดของค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้

รูปที่ 4.49 การต่อวงจรทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้

รูปที่ 4.50 การต่ออุปกรณ์ทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้


86

ตารางที่ 4.17 การทดสอบวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับระบบตรวจ


สอบไฟฟ้าภายในอาคาร บริเวณอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4
การวัดค่าพลังงานไฟฟ้า
ค่าพลังงานไฟฟ้าที่วัด
ได้ ค่าความผิดพลาด
วัน/เดือน/ปี
(หน่วย/kWh) %
ก ข
20/06/2567 6.23 6.52 4.65
21/06/2567 60.86 59.89 1.59
22/06/2567 88.08 86.88 1.36
23/06/2567 88.19 87.31 1.00
24/06/2567 88.37 87.84 0.60
25/06/2567 132.52 133.00 0.37
26/06/2567 175.06 175.77 0.41
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

จากตารางที่ 4.17 ค่าความผิดพลาดในการวัดค่าพลังงานไฟฟ้าขณะที่จ่ายโหลด แสดงให้


เห็นว่าค่าพลังงานไฟฟ้าเปรียบเทียบกับเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส สามารถวัดพลังงานไฟฟ้าและ
สรุปค่าความผิดพลาดของค่าพลังงานไฟฟ้าทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ
4.65 เปอร์เซ็นต์และค่าความผิดพลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.37 เปอร์เซ็นต์
87

4.9 การทดสอบวัดค่าความถี่
การทดสอบวัดค่าความถี่เพื่อหาค่าความผิดพลาดในความถี่จึงได้ทำการติดตั้งระบบตรวจ
สอบไฟฟ้าภายในอาคาร ณ บริเวณตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4 โดยจะทำการต่อ
วงจร ดังรูปที่ 4.44 เพื่ออ่านค่าความถี่ที่ใช้จากสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสเปรียบเทียบกับระบบตรวจสอบ
ไฟฟ้าภายในอาคารและหาค่าความผิดพลาดของค่าความถี่ที่ใช้

ตารางที่ 4.18 การทดสอบวัดค่าความถี่ของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับระบบตรวจสอบไฟฟ้า


ภายในอาคาร บริเวณอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4
การวัดค่าความถี่
ค่าความถี่ที่วัดได้ (Hz) ค่าความผิดพลาด
เวลา
ก ข %
09:00 49.98 49.96 0.04
10:00 49.95 49.97 0.04
11:00 50.04 50.02 0.04
12:00 50.02 50.04 0.04
13:00 50.03 49.96 0.14
14:00 49.97 50.02 0.10
15:00 50.01 50.02 0.02
16:00 50.02 50.01 0.02
17:00 49.951 49.96 0.02
หมายเหตุ ก คือ ค่าที่วัดจากเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

จากตารางที่ 4.24 ค่าความผิดพลาดในการวัดค่าความถี่ขณะที่จ่ายโหลด แสดงให้เห็นว่า


ค่าความถี่เปรียบเทียบกับเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส สามารถวัดค่าความถี่และสรุปค่าความผิด
พลาดของค่าความถี่ทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.14 เปอร์เซ็นต์และ
ค่าความผิดพลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.02 เปอร์เซ็นต์
88

4.10 การทดสอบวัดค่าอุณหภูมิ ความชื้น


การทดสอบวัดค่าอุณหภูมิ และความชื้น เพื่อหาค่าความผิดพลาดในอุณหภูมิ
และความชื้น จึงได้ทำการติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ณ บริเวณตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า
อาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4 โดยจะทำการต่อวงจร ดังรูปที่ 4.44 เพื่ออ่านค่าอุณหภูมิ และความชื้นที่
ใช้จากเว็บไซต์ The Weather Channel เปรียบเทียบกับระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคารและหา
ค่าความผิดพลาดของค่าอุณหภูมิ และความชื้น จากสมการที่ 4.1

ตารางที่ 4.19 การทดสอบวัดค่าอุณหภูมิของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับระบบตรวจสอบไฟฟ้า


ภายในอาคาร บริเวณอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4
การวัดค่าอุณหภูมิ
ค่าความอุณหภูมิที่วัดได้
ค่าความผิดพลาด
เวลา (°C)
%
ก ข
09:00 28.00 28.23 0.81
10:00 29.00 29.24 0.82
11:00 30.00 30.28 0.92
12:00 30.00 30.29 0.96
13:00 31.00 31.14 0.45
14:00 31.00 31.18 0.58
15:00 31.00 31.26 0.83
16:00 31.00 31.30 0.96
17:00 30.00 30.12 0.40
หมายเหตุ ก คือ ค่าจากเว็บไซต์ The Weather Channel
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

จากตารางที่ 4.24 ค่าความผิดพลาดในการวัดค่าอุณหภูมิ แสดงให้เห็นว่าค่าอุณหภูมิเปรียบ


เทียบกับเว็บไซต์ The Weather Channel สามารถวัดค่าอุณหภูมิและสรุปค่าความผิดพลาดของค่า
อุณหภูมิทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.96 เปอร์เซ็นต์และค่าความผิด
พลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.40 เปอร์เซ็นต์
ตารางที่ 4.20 การทดสอบวัดค่าความชื้นของเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟสกับระบบตรวจสอบไฟฟ้า
ภายในอาคาร บริเวณอาคารวิศวกรรมไฟฟ้าชั้น 4
การวัดค่าความชื้น
เวลา ค่าความอุณหภูมิที่วัดได้ ค่าความผิดพลาด
(%) %
89

ก ข
09:00 84.00 84.54 0.64
10:00 79.00 79.41 0.52
11:00 74.00 74.15 0.21
12:00 69.00 69.17 0.24
13:00 67.00 67.18 0.27
14:00 67.00 67.12 0.18
15:00 68.00 68.54 0.79
16:00 69.00 69.65 0.94
17:00 72.00 72.66 0.90
หมายเหตุ ก คือ ค่าจากเว็บไซต์ The Weather Channel
ข คือ ค่าที่วัดจากระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

จากตารางที่ 4.24 ค่าความผิดพลาดในการวัดค่าความชื้น แสดงให้เห็นว่าค่าความชื้น


เปรียบเทียบกับเว็บไซต์ The Weather Channel สามารถวัดค่าความชื้นและสรุปค่าความผิดพลาด
ของค่าความชื้นทั้งสามเฟส จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.94 เปอร์เซ็นต์และค่า
ความผิดพลาดที่ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 0.18 เปอร์เซ็นต์
90

บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ปริญญานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กล่าวไว้ คือ
ได้ออกแบบสร้างระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ที่สามารถบันทึกและแจ้งเตือนเหตุความผิด
พร่องในระบบไฟฟ้า ซึ่งในบทที่ 5 นี้กล่าวถึงการสรุปผลการดำเนินงานของปริญญานิพนธ์ทั้งหมดรวม
ทั้งข้อเสนอแนะและปัญหาต่าง ๆ ที่ได้พบในระหว่างการดำเนินงาน เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางสำหรับผู้
ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ที่สามารถบันทึกและแจ้ง
เตือนเหตุความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า

5.1 สรุปผลการดำเนินปริญญานิพนธ์
เมื่อออกแบบสร้างระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ที่สามารถบันทึกและแจ้งเตือน
เหตุความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า ซึ่งได้ดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์ระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
สามารถวัดค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าจริง กำลังไฟฟ้าสูญเสีย กำลังไฟฟ้าปรากฏ
ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้าได้จริง เปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดมาตรฐาน อีกทั้งยัง
สามารถบันทึกค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องในกูเกิ้ลชีตและ Magellan และแจ้งเตือนได้ผ่านแอปพลิเค
ชันไลน์์ เมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าตามเงื่อนไขที่ได้ตั้งไว้
จากการติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ณ บริเวณตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าตึก
วิศวกรรมไฟฟ้า ชั้น 4 ติดตั้งวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2567 เป็นเวลา 7 วัน
ค่าพลังงานไฟฟ้าที่วัดได้มีค่าความผิดพลาดไม่เป็นไปตามค่าที่ได้คำนวณไว้ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์
ความผิดพลาดสูงสุดที่ 4.65 เปอร์เซ็นต์ ค่าความผิดพลาดอาจเกิดจากระยะเวลาเริ่มต้นในการเก็บ
ข้อมูลห่างกัน และการส่งข้อมูลมีการประมวลผลค่าพารามิเตอร์ที่ใช้เวลานาน เนื่องจากการประมวล
ผลของค่าพารามิเตอร์มีจำนวนหลายตัว ทำให้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ประมวลผลได้ล่าช้า
91

5.2 ปัญหาและอุปสรรค
จากการทำปริญญานิพนธ์ในครั้งนี้ได้พบกับอุปสรรคและปัญหาที่มากมายหลายอย่าง
การประมวลผลของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย ซึ่งสามารถสรุปปัญหา
ต่าง ๆ ได้ดังนี้
5.2.1 การส่งข้อความแจ้งเตือน เมื่อเกิดความผิดพร่องมายังผู้รับผิดชอบหรือศูนย์ควบคุม
โดยมีเวลาในการส่ง 10-60 วินาที และทำให้คำสั่งหยุดทำงานจนกระทั่งส่งข้อความสำเร็จ
ค่อยจะกลับมาประมวณผลคำสั่งใหม่อีกครั้ง จึงทำให้การส่งข้อมูลเกิดความล่าช่า
5.2.2 ในการประมวลผลของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ มีการประมวลผลค่า
พารามิเตอร์ที่ใช้เวลานาน เนื่องจากการประมวลผลของค่าพารามิเตอร์มีจำนวนหลายตัว ทำให้บอร์ด
ไมโครคอนโทรลเลอร์ประมวลผลได้ล่าช้า

5.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางพัฒนาปริญญานิพนธ์
สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและพัฒนาระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ที่สามารถบันทึก
และแจ้งเตือนเหตุความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า ทางคณะผู้จัดทำได้มีข้อเสนอแนะและแนวทาง ดังนี้
5.3.1 การบันทึกข้อมูลสามารถบันทึกได้ 1 วินาที ต่อ 1 ข้อมูล ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ
ของการเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า จึงควรบันทึกให้มีความถี่มากยิ่งขึ้น
5.3.2 เนื่องจากค่าพารามิเตอร์ที่ใช้แสดงผลมีจำนวนหลายตัว การประมวลผลจึงมีความ
ล่าช้า จึงทำให้เกิดความผิดพลาดไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย ดั้งนั้นควรใช้โปรแกรมที่มีการคำนวณที่ดี
กว่าไมโครคอนโทรลเลอร์
5.3.3 เพื่อให้มีการทำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ควรเขียนโปรแกรมให้อยู่
ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ที่สามารถส่งข้อมูลได้ทางอินเตอร์เน็ตและดูข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์รวม
กัน ซึ่งจะทำให้รวดเร็วกว่าการส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันแยกกัน และ
สามารถดูข้อมูลได้ทุกที่โดยไม่ต้องไปดูข้อมูลผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันไลน์
92

บรรณานุกรม

นพรัตน์ ไปดี, สามารถ อันทะนิล. 2564. “การออกแบบสร้างชุดตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า


และคุณภาพไฟฟ้า”.
ปริญญานิพนธ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.
วัฒนากร แก้วโท, ภานุพงษ์ บุญรักษา, สุพรรษา คำน้อย. 2564. “การออกแบบสร้างสมาร์ทมิเตอร์
สามเฟสที่สามารถบันทึกและแจ้งเตือนเหตุความผิดพร่องในระบบไฟฟ้า”.
ปริญญานิพนธ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.
ณัฐรดีกร ดอนแท่น. 2555. พลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/bejoyfulphysice/--phlangngan-fifa-laea-
kalang (19 มีนาคม 2564)
ธนวัฒน์ วรรณภิระ และสุทธิพันธ์ คำปั้น. 2557. “เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้าสามเฟส”.
ปริญญานิพนธ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ธัญณัฐ เหลืองอมรสิริ. 2560. “การออกแบบระบบจัดการพลังงานสำหรับระบบเก็บเกี่ยวพลังงาน
แสงอาทิตย์โดยรวมการติดตามหาค่าพลังงานไฟฟ้าสูงสุดและการประจุพลังงานลง
แบตเตอรี่ 3 ขั้นตอน”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธีลาภัช นรินทร์นอก. 2556. “การออกแบบอุปกรณ์บันทึกค่าความผิดพร่องของระบบไฟฟ้า”.
ปริญญานิพนธ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
93

ภาคผนวก
94

ภาคผนวก ก.
อุปกรณ์ที่ใช้สร้างเครื่องสมาร์ทมิเตอร์สามเฟส

รูปที่ ก.1 สมาร์ทมิเตอร์ เอ็กซ์ 835

รูปที่ ก.2 โมดูลอาร์เอส 485

รูปที่ ก.3 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ AIS NB IoT


95

รูปที่ ก.4 ตัวแปลงแรงดัน เอ็ชแอลเค-พีเอ็ม 03

รูปที่ ก.5 เทอร์มินอล

รูปที่ ก.6 พาวเวอร์ ซับพลาย และแบตเตอร์รี่สำรอง


96

ภาคผนวก ข.
การติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร
ในการติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร ติดตั้งที่อาคารเรียนสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

รูปที่ ข.1 การติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร

รูปที่ ข.2 การติดตั้งระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร


เสร็จสมบูรณ์
97

ภาคผนวก ค.
งบประมาณสร้างเครื่องสมาร์ทมิเตอร์

ตารางที่ ค.1 งบประมาณสร้างระบบตรวจสอบไฟฟ้าภายในอาคาร


ลำดับที่ รายการ จำนวน ราคา/หน่วย จำนวนเงิน
1 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ AIS NB IoT 1 2100 2100
2 สมาร์ทมิเตอร์ เอ็กซ์ 835 1 5000 5000
3 หม้อแปลงวัดกระแส ขนาด 100/5 3 185 555
4 โมดูลอาร์เอส 485 1 50 50
5 ตัวแปลงแรงดัน เอ็ชแอลเค-พีเอ็ม 03 3 95 285
6 เทอร์มินอล 1 15 15
7 พาวเวอร์ ซับพลาย และแบตเตอรี่สำรอง 1 365 365
8 แผ่นอะคริลิคใส 2 50 100
9 ตู้กันน้ำ 1 400 400
รวมทั้งสิ้น 8870
98

ประวัติผู้เขียน
99

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ-นามสกุล นายชนัญญู ศรีโยธา


วัน-เดือน-ปีเกิด 30 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2543
ที่อยู่ 176/10 ถนนนเรศวร ตำบลหมากแข้ง
อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 40000

อีเมล์ tarchananyoo.syt@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์ 0943094225
สถานที่ทำงานปัจจุบัน -
ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2564
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2562
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2559
100

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ-นามสกุล นางสาววันทริยา ต้นพรหม


วัน-เดือน-ปีเกิด 26 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2543
ที่อยู่ 207/1 บ้านหนองเม็ก ตำบลหนองเม็ก
อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41130

อีเมล์ vantriya99@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์ 0938161492
สถานที่ทำงานปัจจุบัน -
ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2564
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2562
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2559
101

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ-นามสกุล นางสาวระสา วงษ์ชัย


วัน-เดือน-ปีเกิด 17 เดือนเมษายน พุทธศักราช 2543
ที่อยู่ 230/10 บ้านหนองหว้า ตำบลหนองเสาเล้า
อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130

อีเมล์ rasawongchai1730@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์ 0960845159
สถานที่ทำงานปัจจุบัน -
ประวัติการศึกษา
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2564
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2562
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร จังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2557

You might also like