ผลของฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในการเหนี่ยวนำ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 60

ผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อ

The effect of progesterone administration on estrus induction


in beef cattle

ธันธร ด่านกระโทก
ถิรธวัช นิลแก้ว

ปัญหาพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์
คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ปีการศึกษา 2566
เรื่อง ผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อ
The effect of progesterone administration on estrus induction
in beef cattle
ชื่อผู้เขียน นายธันธร ด่านกระโทก รหัสนักศึกษา 65222310029-4
นายถิรธวัธ นิลแก้ว รหัสนักศึกษา 65222310017-6
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาสัตวศาสตร์)
สาขา สัตวศาสตร์
คณะ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดวงสุดา ทองจันทร์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ ดร.อุดมศักดิ์ นพพิบูลย์
ปีการศึกษา 2566
คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
วิทยาเขตสุรินทร์ อนุมัติให้ปัญหาพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
สาขาสัตวศาสตร์

คณะกรรมการสอบปัญหาพิเศษสัตวศาสตร์

…………………………………………………….ประธานกรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีรกูร อนุชานุรักษ์)

…………………………………………………….กรรมการ
(อาจารย์ ดร.อุดมศักดิ์ นพพิบูลย์)

…………………………………………………….กรรมการและเลขานุการ
(อาจารย์สัตวแพทย์หญิงดวงสุดา ทองจันทร์)

……………………………………………………… ………………………………………………………
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีรกูร อนุชานุรักษ์) (อาจารย์ทรงยศ กิตติชนม์ธวัช)
หัวหน้าสาขาสัตวศาสตร์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่….เดือน………………พ.ศ………… วันที่….เดือน……………………พ.ศ………….

บทคัดย่อ

เรื่อง ผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อ
The effect of progesterone administration on estrus
induction in beef cattle
ชื่อผู้เขียน นายธันธร ด่านกระโทก รหัสนักศึกษา 65222310029-4
นายถิรธวัช นิลแก้ว รหัสนักศึกษา 65222310017-6
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาสัตวศาสตร์)
สาขา สัตวศาสตร์
คณะ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดวงสุดา ทองจันทร์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ ดร.อุดมศักดิ์ นพพิบูลย์
ปีการศึกษา 2566
คำสำคัญ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน อัตราการผสมติด อัตราการตั้งท้องโค
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
และกำหนดเวลาในการผสมเทียมของโค และประเมินอัตราการตั้งท้องหลังการเหนี่ยวนำโดยใช้
ฮอร์โมนโดยการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design ; CRD)
โดยใช้โคทั้งหมด 15 ตัว โดยแบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 3 กลุ่มการทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ
5 ตัว กลุ่มการทดลองที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มการทดลองที่ 2 กลุ่มใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (CIDR-B)
ระยะเวลา 7 วัน กลุ่มการทดลองที่ 3 กลุ่มใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (CIDR-B) ระยะเวลา 10 วัน
จากการศึกษาสังเกตอาการเป็น สัดโดยใช้ฮฮร์โ มนโปรเจสเตอโรนเป็นตัว เหนี่ยวนำพบว่า กลุ่ ม
การทดลองที่ใช้ฮอร์โมน 7 วัน (T2) แสดงอาการเป็นสัดชัดเจนที่สุดทั้ง 3 กลุ่มการทดลอง มีความ
แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ขนาดรังไข่ก่อนใช้ฮอร์โมนในการเหนี่ยวนำพบว่า
ขนาดรังไข่ข้างซ้ายและขวา ของทั้ง 3 กลุ่มการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
(P>0.05) อัตราการตั้งท้องพบว่า การตั้งท้องทั้ง 3 กลุ่มการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มี
นัยสำคัญ (P>0.05) ดังนั้นสรุปได้ว่า การใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโค
เหมาะกับการใช้ฮอร์โมน 7 วัน เพราะสามารถช่วยประหยัดเวลาได้

ABSTRACT
TITLE The effect of progesterone administration on estrus
Induction in beef cattle
AUTHORS Mr. Thantorn Dankratoke ID 65222310029-4
Mr. Thiratawat Nilkreaw ID 65222310017-6
DEGREE Bachelor of Science (Animal Science)
MAJOR Animal Science
FACULTY Agriculture and Technology
ADVISER Ms. Duangsuda Thongchan (D.V.M)
CO- ADVISER Mr. Udomsak Noppibool, Ph.D.
ACADEMIC YEAR 2023
KEYWORDS Progesterone hormone, Conception rate, Pregnancy
rate cow
The purpose of this study is to study the induction of estrus
and Determine the time for artificial insemination of cattle. and evaluate the pregnancy
rate after hormone induction by planning a Completely Randomized Design (CRD) using
a total of 15 cows, divided into 3 experimental groups, 3 replicates per experimental
group. 5 each, experimental group 1, control group (T1), experimental group 2,
progesterone group (CIDR-B) (T2), duration 7 days, experimental group 3, progesterone
group (CIDR-B) (T3), duration. 10 days from a study observing the symptoms of estrus
using the hormone progesterone as an inducer, it was found that The 7-days hormone-
treated experimental group (T2) showed the most obvious estrus symptoms. All 3
experimental groups. There were not statistically significant different (P>0.05). The size
of the ovaries before using hormones for induction was found to be The sizes of the
left and right ovaries of the 3 experimental groups.There were not significantly different
(P>0.05). The pregnancy rate was found to be Pregnancy in the 3 experimental groups.
There were not statistically significant different (P>0.05). There fore, it can be
concluded that Using progesterone to induce estrus in cattle is suitable for using the
hormone for 7 days because it can save time.

กิตติกรรมประกาศ
การจัดทำปัญหาพิเศษ เรื่องการศึกษาผลของฮอร์โ มนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำ
การเป็น สัดในโคเนื้อ ลุล่ ว งไปด้ว ยดี โดยความกรุณาและความช่ว ยเหลืออย่ างยิ่ งจาก อาจารย์
สัตวแพทย์หญิง ดวงสุดา ทองจันทร์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ ดร. อุดมศักดิ์ นพพิบูลย์ อาจารย์
ที ่ ป รึ ก ษาร่ ว ม ที ่ ใ ห้ ค ำปรึ ก ษา คำแนะนำในการทดลอง ตลอดจนตรวจการจั ด ทำแบบรู ป เล่ ม
ปัญหาพิเศษลุล่วงไปด้วยดี
ขอขอบคุณคณาจารย์สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ทุกท่าน ที่ให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆ
ทำให้สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอขอบพระคุณ สถานที่เก็บข้อมูล ณ สถานที่กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
ซึ่งได้อำนวยความสะดวกด้านสถานที่สำหรับทำปัญหาพิเศษในครั้ งนี้ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ
และคณาจารย์ทุกท่านที่คอยให้กำลังใจและเป็นแรงผลักดันในการทำปัญหาพิเศษครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วง
ไปด้วยดี

คณะผู้จัดทำปัญหาพิเศษ
ธันธร ด่านกระโทก
ถิรธวัธ นิลแก้ว
มิถุนายน 2567

สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ข
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญ ง
สารบัญตาราง จ
สารบัญภาพ ฉ
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ของปัญหาพิเศษ 2
1.3 ขอบเขตของปัญหาพิเศษ 2
1.4 สมมติฐานการทดลอง 2
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 ทฤษฎี แนวคิด การศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
2.1 การเลี้ยงโคเนื้อ 4
2.2 พันธุ์โคเนื้อ 5
2.3 ระบบสืบพันธุ์โคเนื้อ 7
2.4 การตรวจการเป็นสัดในโคเนื้อ 8
2.5 ฮอร์โมนเหนี่ยวนำการเป็นสัด 8
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 9
บทที่ 3 วิธีการทดลองและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 12
3.1 วัสดุและอุปกรณ์การทดลอง 12
3.2 ยาและเวชภัณฑ์ 12
3.3 ขั้นตอนการทดลอง 12
3.4 วิธีดำเนินการทดลอง 13
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล 13
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและทดสอบสมมติฐาน 14

สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
3.7 ระยะเวลาการทดลอง 14
3.8 พื้นที่ดำเนินการทดลอง 14
บทที่ 4 ผลการทดลอง 15
4.1 ขนาดของรังไข่ก่อนใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน 15
4.2 สังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวเหนี่ยวนำ 16
4.3 อัตราการตั้งท้อง 16
4.4 ต้นทุนการผลิต 17
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 18
5.1 สรุปผล 18
5.2 อภิปรายผล 18
5.3 ข้อเสนอแนะ 19
เอกสารอ้างอิง 20
ภาคผนวก ก ชุดคำสั่งการวิเคราะห์ 21
ภาคผนวก ข การวิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลตามแผนการทดลองแบบสุ่ม 26
ภาคผนวก ค ภาพเกี่ยวกับการทดลอง 37
ประวัติผู้เขียน 50

สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
2.1 พันธุ์บรามันห์ 5
2.2 โคเนื้อพันธุ์ชาโรเล่ส์ 6
ภาพภาคผนวกที่
1 ยาบำรุง AD3E 38
2 ALBENDAZOLE 38
3 IVOMEC-F 39
4 ESTRUMATE 39
5 ปืนผสมเทียม 40
6 เครื่องอัลตราซาวด์ 40
7 ปืนสอด CIDR 41
8 แสดงการสอด CIDR 41
9 แสดงการฉีด PGF2α 42
10 แสดงการฉีดยาบำรุง 42
11 แสดงการกรอกยาถ่ายพยาธิ 43
12 แสดงการฉีดยาถ่ายพยาธิ 43
13 ภาพ Dominant follicle 44
14 ภาพแสดงการผสมเทียม 44
15 ภาพแสดงการตรวจท้อง 45
16 ภาพแสดงตัวอ่อนของโค 36
17 ขนาดรังไข่ 49

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
4.1 ขนาดของรังไข่ (Ovary) ก่อนใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน 15
4.2 สังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวเหนี่ยวนำ 16
4.3 อัตราการตั้งท้อง 17
4.4 ต้นทุนการผลิต 17
ตารางภาคผนวกที่
1 ตารางขนาดรังไข่ข้างซ้ายก่อนทำการทดลอง 27
2 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนของรังไข่ข้างซ้ายก่อนการใช้ฮอร์โมน
การเหนี่ยวนำการเป็นสัด 27
3 ตารางขนาดรังไข่ข้างขวาก่อนทำการทดลอง 28
4 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนของรังไข่ข้างขวาก่อนใช้ฮอร์โมน
การเหนี่ยวนำการเป็นสัด 28
5 ตารางสังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวเหนี่ยวนำ 29
6 สังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวเหนี่ยวนำ 30
7 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะการเป็นสัด การร้อง 30
8 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะการเป็นสัด กระวนกระวาย 30
9 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะการเป็นสัด ขึ้นขี่ตัวอื่น 31
10 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะอาการยืนนิ่ง 31
11 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะอวัยวะเพศบวมแดง 31
12 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะเมือกไหล 32
13 ตารางแสดงการตรวจท้อง 33
14 แสดงอัตราการตั้งท้อง 33
15 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนของการตั้งท้อง 34
16 ตารางแสดงต้นทุนการผลิต กลุ่มควบคุม 34
17 ตารางแสดงต้นทุนการผลิต กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 7 วัน 35
18 ตารางแสดงต้นทุนการผลิต กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 10 วัน 35
19 ตารางแสดงต้นทุนการผลิต 36
20 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของต้นทุนการผลิต 36
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
กรมปศุสัตว์ (มปป.) กล่าวว่า โคพันธุ์ชาร์โลเล่ส์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศสมีสีขาวครีม
ตลอดทั้งตัว รูปร่างลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาสั้น ลำตัวกว้าง ยาว และลึก มีกล้ามเนื้อตลอดทั้งตัว
นิสัยเชื่อง เป็นโคที่มีขนาดใหญ่มากเพศผู้เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 1,100 กิโลกรัม เพศเมีย
700-800 กิ โ ลกรั ม ข้ อ ดี ข องการเลี ้ ย งโคพั น ธุ ์ ช าร์ โ ลเล่ ส ์ ค ื อ มี ก ารเติ บ โตเร็ ว ซากมี ข นาดใหญ่
มีไขมันแทรก เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคบราห์มันหรือ
ลูกผสมบราห์มันเพื่อนำมาเลี้ยงเป็นโคขุน
กรมปศุสัตว์ (มปป.) กล่าวว่าโคสาวจะเป็นสัด เมื่ออายุประมาณ 12-18 เดือน ถ้าเลี้ยงไม่ดีจะ
เป็นสัดช้ากว่านี้ แต่เราควรผสมครั้งแรกเมื่ออายุ 15-24 เดือน แม่โคหลังคลอดจะเป็นสัดครั้งแรก
ประมาณ 25-30 วัน แต่เราควรผสมโคตัว เมียหลังคลอดแล้ว อย่างน้อย 60 วัน เพราะโคตัว เมีย
ต้องการเวลาฟื้นตัวเองหลังคลอด และการผสมจะได้ผลสูงในการเป็นสัดครั้งที่ 2 หรือ 3 การผสม
ไม่ติดเป็น ปัญหาสำคัญ ซึ่งมีส าเหตุมากมายที่เ กษตรกรและป้ อ งกัน ไว้ ก่ อน ได้แก่ ผอมเกิ น ไป
ขาดอาหารทำให้การทำงานของระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ โคส่วนมากจะเกิดจากสาเหตุนี้ โคอ้วนเกินไป
ไขมันสะสมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์มาก ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล มดลูกมีการอักเสบติดเชื้อ
เป็นสัดเงียบ ทำให้เกษตรกรไม่ทราบหรือไม่แน่ใจว่าโคเป็นสัด
พีรพัฒน์ และคณะ (2563) กล่าวว่าการเหนี่ยวนำการเป็นสัด โดยการใช้โปรเจสเตอโรน
โดยการจําลองภาวะที่เหมือนกับการที่โคเนื้อใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไว้ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นเมื่อมี
การนำฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกไป สมองก็จะไม่ถูกกด และโคเนื้อจะเริ่มมีการพัฒนาวงรอบของ
การเป็น สัดตามมา (สุกัญญา และคณะ, 2558) การใช้ฮอร์โ มนโปรเจสเตอโรนจะสามารถใช้ได้
ทั้งในกรณีที่โคเนื้อมีการเป็นสัดที่ปกติ หรือในภาวะที่โคเนื้อไม่มีการพัฒนาของรังไข่ หรือภาวะที่รังไข่
ไม่ทำงาน ตัว อย่างฮอร์โ มนนี้ ได้แก่ (Controlled Internal Drug Release;CIDR) การเหนี่ยวนำ
การเป็นสัด โดยการใช้โปรเจสเตอโรนแบบอื่นเช่น CIDR ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็น 2 ชนิด คือ
CIDR และ CIDR-B (B-Estradiol Benzoate) เอสตราไดออลเบนโซเอต โดยฉีดฮอร์โมนEstradiol
Benzoate ในวันแรกเพื่อจัดรอบการเป็นสัดให้ได้ดีมากขึ้นหรือก่อนที่จะมีการนำ CIDR ออกจาก
ช่องคลอด อาจจะต้องใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินฉีดก่อนที่จะถอดฮอร์โมนออก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มี
คอร์ปัสลูเทียมค้างอยู่และสามารถเหนี่ยวนำการเป็นสัดได้ตามกำหนดที่ต้องการ
กรมปศุสัตว์ (2565) กล่าวว่าปัจจุบันการเลี้ยงโคเนื้อในประเทศไทยมีการเลี้ยงโคเนื้อเพิ่มขึ้น
ทุกปี จำนวนเกษตรกรและโคเนื้อ ในปี2565 มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อทั้งหมด จำนวน 1,413,395 ราย
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เขต 3 จำนวน 570,393 ราย (ร้อยละ 40.36) รองลงมา คือ เขต 4 จำนวน
2

402,145 ราย (ร้อยละ28.45) และเขต 8 จำนวน 122,975 ราย (ร้อยละ 8.70) ตามลำดับ โดยมีการ
เลี้ยงโคเนื้อทั้งหมดจำนวน 9,394,111 ตัว ซึ่งในพื้นที่เขต 3 เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด จำนวน 3,122,426
ตัว (ร้อยละ 33.24) รองลงมา คือ เขต 4 จำนวน 2,144,673 ตัว (ร้อยละ 22.83) และ เขต 7 จำนวน
1,113,003 ตัว (ร้อยละ 11.85) ตามลำดับ จังหวัดสุรินทร์ มีการเลี้ยงโคเนื้ อมากที่ส ุด จำนวน
579,746 ตัว (ร้อยละ 6.17) รองลงมา คือ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 246,280 ตัว (ร้อยละ 5.17)
อุบลราชธานี จำนวน 195,278 ตัว (ร้อยละ 4.53) และศรีสะเกษ จำนวน 192,001 ตัว (ร้อยละ 4.45)
ตามลำดับ โคที่น ิย มเลี้ยงในประเทศไทยมีสายพันธุ์ห ลักๆอย่างเช่น โคพันธุ์ ลูกผสมชาร์โลเล่ส์
ลูกผสมบราห์มัน เป็นหลัก แต่ที่เลี้ยงมากที่สุดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จะเป็นลูกผสมชาร์โลเล่ส์
1.2 วัตถุประสงค์ของปัญหาพิเศษ
1.2.1 เพื่อศึกษาผลการเหนี่ยวนำการเป็นสัดและกำหนดเวลาในการผสมเทียมของโค
1.2.2 เพื่อประเมินอัตราการตั้งท้องหลังการเหนี่ยวนำโดยใช้ฮอร์โมรโปรเจสเตอโรน
1.3 ขอบเขตของปัญหาพิเศษ
1.3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
1) ตัวแปรต้น
การเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่มีจำนวนวันที่ต่างกัน
1) กลุ่มที่ 1 ควบคุม
2) กลุ่มที่ 2 สอดฮอร์โมน CIDR เป็นเวลา 7 วัน
3) กลุ่มที่ 3 สอดฮอร์โมน CIDR เป็นเวลา 10 วัน
2) ตัวแปรตาม
1) อัตราการเป็นสัด (Exhibited estrus rate)
2) อัตราการผสมติด (Conception rate)
3) อัตราการตั้งท้อง (Pregnancy rate)
1.3.2 ขอบเขตด้านพื้นที่
กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
1.3.3 ขอบเขตด้านเวลา
ระยะเริ่มเก็บข้อมูลทั้งหมด ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 14 มกราคม
2567 ระยะเวลา 75 วัน
1.4 สมมติฐานการทดลองการเหนี่ยวนำฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีผลให้มีการกลับสัดในโคมากกว่า
กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
3

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 สามารถกำหนดเวลาในการผสมพันธุ์โคเนื้อ
1.5.2 ช่วยกำหนดระยะเวลาการเป็นสัดและเพิ่มอัตราการตั้งท้องในโคเนื้อให้มากขึ้น
1.5.3 ช่วยในการประหยัดเวลาและช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงโคเนื้อ
บทที่ 2
ทฤษฎี แนวคิด การศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 การเลี้ยงโคเนื้อ
สุวิช (2558) การเลี้ยงโคเนื้อของประเทศไทยเท่ าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่จัดว่ าอยู่ใน
สภาพการผลิตที่ดีพอสมควร แม้ว่าปริมาณการบริโภคโคเนื้อของไทยเพิ่มขึ้น หากนับตามปริมาณ
การขออนุญาตฆ่า ในรำยงานของกรมปศุสัตว์ นั้น จะมีปริมาณเฉลี่ยเพียง 1.1 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
ซึ่งจัดว่าค่อนข้างจะน้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณโคใน ประเทศ ทั้งนี้มีการคาดการณ์กันว่ามีปริมาณ
โคที ่ ถ ู ก ฆ่ า แต่ ท ี ่ ไ ม่ ไ ด้ ร ายงานอยู ่ ร าว 2.5 เท่ า ของปริ ม าณที ่ ร ายงาน ทั ้ ง หมดหากนั บ ส่ ว นนี้
เข้าไปร่ว มด้ว ย จะถือได้ว่ า คนไทยบริโ ภคเนื้อโคเฉลี่ยราว 2.85 กิโ ลกรัมต่อคนต่อปีเมื่อเที ย บ
กับสหรัฐอเมริกาที่บริโภคสูง ถึง 4.32 กิโลกรัมต่อคนต่อปีญี่ปุ่น 12.3 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเกาหลีใต้
12.3 กิโลกรัม ต่อคนต่อปีและฟิลิปปินส์ 4.2 กิโลกรัมต่อคนต่อปีถือว่ าไทยมีปริมาณการบริโภคน้อย
มาก เมื่อเทียบกับประเทศ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีโอกาสและสิ่งเอื้ออำนวยมากมาย
ที่จะเลี้ยงโคเนื้อ และแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากโคเนื้อ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถ้ามีการส่งเสริม
และสนับสนุนอย่างจริงจัง มีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะ เป็นตัวจำกัดการผลิตอย่างรวดเร็วและได้ผล
ซึ่งความสามารถในการเลี้ยงโคเนื้อของประเทศไทย มีความเป็นไปได้ สูงมาก ทั้งนี้เพราะหน่วยงาน
ของรัฐ บาลและเอกชนได้ร ่ว มมื อ กัน ดำเนินการผลิตสัตว์ส ่ง ออกต่ างประเทศอย่ า งเป็นรู ป ธรรม
ในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ประเทศของภูมิภาคเอเชียได้มีการปรับปรุงและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต
โคเนื้อ ได้อย่างมาก มีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในธุรกิจการผลิตสัตว์และอุตสาหกรรม
ที่ต่อเนื่องจากการผลิต สัตว์ เช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เนื้อ อุตสาหกรรม
อาหารสัตว์ และอุตสาหกรรม เวชภัณฑ์สัตว์ เป็นต้น ซึ่งศักยภาพในการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย
กัล ยกร (2565) กล่าวว่า สภาพการเลี้ย งและการตลาดโคเนื้ อ การเลี ้ยงโคเนื ้ อส่ว นใหญ่
เป็นฟาร์มขนาดเล็ก มีจํานวนโคเนื้อน้อยกว่า 29 ตัวต่อครัวเรือน (ร้อยละ 85.23) นิยมเลี้ยงแบบ
ขังคอกสลับปล่อยไล่ เลี้ยงมากที่สุด (ร้อยละ 62.46) ส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ล ูกผสม (ร้อยละ
95.38) เป็นพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์บราห์มันกับพันธุ์ฮินดูบราซิลมากที่สุด รองลงมา คือ พันธุ์บราห์มัน
กับพันธุ์ชาร์โรเลส์ และพันธุ์บราห์มันกับพันธุ์พื้นเมือง ใช้วิธีการผสมพันธุ์โดยใช้พ่อพันธุ์ผสม/ผสมจริง
(ร้อยละ 51.02) และส่วนใหญ่ให้อาหารหยาบอย่างเดียว (ร้อยละ92.92) มีการทําแปลงพืชอาหารสัตว์
(ร้อยละ 57.54) และมีการเก็บหรือซื้อพืชอาหารสํารองเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.23) คือ ฟางข้าว
ส่วนใหญ่มีการฉีดวัคซีนให้โคเนื้อ (ร้อยละ 74.15) มีการถ่ายพยาธิอย่างสม่ ำเสมอ (ร้อยละ 76.62)
เฉลี่ย 6 เดือนต่อครั้ง อย่างไรก็ตามพบว่า การเจาะเลือดเพื่อตรวจโรคแท้งติดต่อในโคเนื้อนั้ น
มีเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างสูงที่ไม่ได้รับการเจาะเลือดตรวจ (ร้อยละ 63.08) และเมื่อโคเนื้อเจ็บป่วย
หรือมีปัญหาสุขภาพเกษตรกรส่วนใหญ่จะปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ (ร้อยละ 73.85)
5

พยุงศักดิ์ และคณะ (2562) กล่าวว่า การเหนี่ยวนำการเป็นสัดเป็นวิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้


ในการลดวันท้องว่างและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์ในโคเนื้อได้ ศึกษาเปรียบเทียบ
รู ป แบบวิ ธ ี ก ารเหนี ่ ย วนำการเป็น สั ด ที ่แ ตกต่ า งกั น ในโคเนื ้ อ คื อ วิ ธ ี ก ารเหนี ่ ย วนำการเป็ นสั ด
ด้ว ยอุป กรณ์แบบสอดช่องคลอดและการเหนี่ยวนำด้ว ยวิธีฉีดฮอร์โมน พบว่าการเหนี่ยวนำโดย
วิธี Controlled Internal Drug Release;CIDR สามารถทำให้แม่โคมีอัตราการตั้งท้องร้อยละ 60
และวิ ธี Ovsynch แม่ โ คมี อ ั ต ราการตั ้ ง ท้ อ งร้ อ ยละ 50 (Pattanawong and Thaworn,2014)
ได้ทำการเปรียบเทีย บความสามารถในการปลดปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเข้าสู่กระแสเลื อด
ระหว่างอุปกรณ์เหนี่ยวนำการเป็นสัดแบบสอดช่องคลอด (CIDR) และอุปกรณ์การเหนี่ยวนำแบบ
พันหาง (P-sync) พบว่ามีประสิทธิภาพในการปลดปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ไม่แตกต่างกัน
พยุงศักดิ์ และคณะ (2562) กล่าวว่า การตรวจการตั้งท้อง ในการตรวจการตั้งท้องใช้การ
สังเกตการกลับสัดของแม่โคในช่วง18-22 วัน หลังจากวันผสมเทียมหากแม่โคผสมติดจะไม่แสดง
อาการเป็นสัดในช่วง 18-22 วัน หลังจากผสมเทียม (ผสมติดครั้งที่ 1) ถ้าแม่โคแสดงอาการเป็นสัด
ในช่วง18-22 วัน หลังจากผสมเทียมแสดงว่าแม่โคผสมไม่ติด คณะผู้วิจัยจะทำการผสมเทียมอีกครั้ง
ถ้าหากแม่โคผสมติดจะไม่แสดงการเป็นสัดในช่วง 18-22 วัน ถือว่าผสมเทียมติดครั้งที่ 2 และหาก
พบว่าแม่โคแสดงอาการเป็นสัดอีกจะผสมเป็นครั้งที่ 3 หลังจากผสมเทียมครั้งที่ 3 ไปแล้ว แม่โค
ไม่แสดงอาการเป็นสัดแสดงว่าแม่โคผสมติด (ผสมติดมากกว่า 2 ครั้ง) ส่วนแม่โคตัวที่ไม่แสดงอาการ
เป็นสัดในช่วงเวลา60 วันหลังจากทำการผสมเทียมจะได้รับการตรวจท้องด้วยเครื่อง (Ultrasound)
2.2 พันธุ์โคเนื้อ
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ (2559) กล่าวว่า พันธุ์โคเนื้อที่กรมปศุสัตว์
ส่งเสริมให้เกษตรกร แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ พันธุ์โคเนื้อตระกูลเมืองร้อน 1) พันธุ์พื้นเมืองและลูกผสม
พื้ น เมื อ ง ขณะนี้ ม ี ป ระมาณ 4.65 ล้ า นตั ว หรื อ ประมาณร้ อ ยละ 70.6 ของจำนวนโคทั้ ง หมด
2) พั น ธุ ์ บ ราห์ ม ั น และลู ก ผสมบราห์ ม ั น มี ป ระมาณ 1.78 ล้ า นตั ว หรื อ ประมาณ ร้ อ ยละ 27.1
ของจำนวนโคทั้ ง หมด โคเนื้ อ พั น ธุ ์ ล ู ก ผสมตระกู ล เมื อ งหนาว ได้ แ ก่ โคลู ก ผสมพั น ธุ ์ ช าร์โ รเลส์
โคพันธุ์ตาก พันธุ์กำแพงแสน พันธุ์กบินทร์บุรี พันธุ์แบรงกัส และพันธุ์อื่นๆ มีประมาณ 0. 15 ล้านตัว
หรือประมาณร้อยละ 2.3 ของจำนวนโคทั้งหมด (ดังภาพ 2.1) (จิตกร2019) กล่าวว่าโคสายพันธุ์
อเมริกันบราห์มันเป็นโคขนาดกลาง เพศผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 800 – 900 กิโลกรัม และมีพ่อพันธุ์
บางตัวน้ำหนักโตเต็มที่มากถึง 1,800 กิโลกรัม ในประเทศไทยก็ยังมีให้เห็น ส่วนเพศเมีย จะมีน้ำหนัก
มาตรฐาน 500 – 700 กิโลกรัม และมากที่สุดถึง 800 กิโลกรัม โดยแม่โคจะให้ลูกเมื่อน้ำหนักแรกเกิด
ปานกลาง (30 – 32 กิโ ลกรัม) และน้ำหนักลูกเมื่ อหย่า นมค่ อนข้ างน้ อย (220 – 230 กิโ ลกรัม )
ดังแสดงในภาพ 2.1
6

ภาพที่ 2.1 พันธุ์บราห์มัน


ที่มา : สุพจน์และปิยศักดิ์ (2562)
หมอเกษตรทองกวาว (2560) กล่าวว่า โคเนื้อพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ เป็นวัวที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์
จากประเทศฝรั่งเศส นิยมเลี้ยงกันในฝรั่งเศสเอง ที่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ชาร์โรเล่ส์เป็นโคพันธุ์เนื้อ
ที่มีขนาดใหญ่พันธุ์หนึ่ง รูปร่างยาว เพรียว แต่มีคอสั้นและไม่มีเขา ผิวสีครีมทั้งตัว เพศผู้ตัวเต็มวัย
มีน้ำหนักเฉลี่ย 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียมีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 800-850 กิโลกรัม
ข้อด้อยของพันธุ์ คือ เปอร์เซ็นต์ซากหลังชำแหละยังไม่ถึงดีเยี่ยม เพราะมีรูปร่างยาวตามที่อธิบาย
มาแล้ว อีกทั้งขาดความหนา มีกล้ามเนื้อมาก หลังชำแหละเนื้อจึงไม่เรียบ และมีโครงกระดูกใหญ่
ดังแสดงในภาพ 2.2
7

ภาพที่ 2.2 โคเนื้อพันธุ์ชาร์โรเล่ส์


ที่มา : หมอเกษตรทองกวาว (2560)
2.3 ระบบสืบพันธุ์โคเนื้อ
ปศุสัตว์เศรษฐี (2557) กล่าวว่ารังไข่ (ovary) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์พื้นฐานที่สำคัญของเพศเมีย
เนื่องจากทำหน้าที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศเมีย ในสัตว์ที่คลอดลูกครั้งละ 1 ตัว เช่น โค
กระบือและม้า มีการตกไข่ครั้งละ 1 ใบ ในแต่ละรอบของการเป็นสัด ส่วนในสัตว์ที่มีการคลอดลูก
ครั้งละหลายตัว เช่น สุกรมีการตกไข่ครั้งละ 10-25 ใบในแต่ละรอบของการเป็นสัด รังไข่จะแขวนลอย
อยู่ในช่องท้อง ท่อนำไข่ (oviduct) มีหน้าที่ในการนำไข่และตัวอสุจิในเวลาเดียวกัน ซึ่งการนำไข่และ
ตัวอสุจิเป็นการนำในทิศทางตรงกันข้าม นอกจากนั้นท่อนำไข่ยังเป็นตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิของไข่
และตัวอสุจิ และเป็นตัวอ่อนแบ่งตัวในระยะแรกก่อนจะเดินทางไปยังมดลูก มดลูก (uterus) สัตว์
โดยทั่วไปมีมดลูกยาวตั้งแต่ 35-60 เซนติเมตร ในสุกร แพะ แกะ มีปีกมดลูกกินเนื้อที่ร้อยละ 80-90
ของความยาวมดลูกทั้งหมด ส่วนในม้ากินเนื้อที่เพียงครึ่งหนึ่ง มดลูกทำหน้าที่สำคัญในการให้อาหาร
แก่ตัวอ่อนและลูกในครรภ์ ก่อนที่ตัวอ่อนจะฝังตัวกับมดลูก สารที่หลั่งจากชั้นเยื่อเมือกของมดลู ก
เมื ่ อ ตั ว อ่ อ นฝั ง ตั ว แล้ ว ทั ้ ง อาหารและของเสี ย จะถู ก ถ่ า ยเทระหว่ า งแม่ โ ดยผ่ า นทางรก มดลู ก
ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ปีกมดลูก ตัวมดลูก คอมดลูก ช่องคลอด (vagina) เป็นอวัยวะที่ต่อจาก
คอมดลูก ทั้งนี้อาจมี ฮ อร์โ มน เอสโตรเจน มาเลี้ยงบริเวณนี้ เป็นบริ มาณน้อ ย ในชั้นกล้า มเนื้ อ
มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ช่องคลอดเป็ นส่วนสำคัญ ที่มีบทบาทมากในขณะสัตว์ กำลัง
ผสมพันธุ์ โดยเป็นส่วนรองรับอวัยวะเพศผู้และมีการหลั่งน้ำเชื้อออกมา กระพุ้งช่องคลอด (vestibule)
8

ทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือก ซึ่งมีลักษณะเหนียวใส โดยจะหลั่งออกมาที่ปากช่องคลอด (vulva) ในขณะที่โค


แสดงอาการเป็นสัด
2.4 การตรวจการเป็นสัดในโคเนื้อ
สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี (2549) กล่าวว่าโคสาวจะเป็นสัด เมื่ออายุ
ประมาณ 12-18 เดือน ถ้าเลี้ยงไม่ดีจะเป็นสัดช้ากว่านี้ แต่เราควรผสมพันธุ์โคสาวครั้งแรกเมื่ออายุ 15-
24 เดือน แม่โคหลังคลอดจะเป็นสัดครั้งแรกประมาณ 25-60 วัน แต่เราควรผสมโคตัวเมีย หลังคลอด
แล้วอย่างน้อย 60 วัน เพราะโคตัวเมียต้องการเวลาพักฟื้นตัวเองหลังคลอด และการผสม จะได้ผลสูง
ในการเป็นสัดครั้งที่ 2 หรือ 3 เมื่อโคเริ่มเป็นสัดจะมีอาการแปลกๆ ที่พอสังเกตได้ คือ กระวนกระวาย
และคลอเคลียตัวอื่น พยายามขึ้นขี่ตัวอื่นซึ่งพยายามหนี (ในระยะเวลานี้ยากที่จะทราบได้ว่าโคตัวใด
เป็นสัด) โคในช่วงเป็นสัดที่แท้จริงจะยอมให้ตัวอื่นขึ้นขี่โดยสงบ เป็นเวลาที่ เหมาะสมกับการผสมพันธุ์
ส่วนปากช่องคลอดบวมขึ้น หางกระดกเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีเมือกใสไหลเป็นสายยาวออกจากช่องคลอด
เปรอะเปื้อนบริเวณก้น ต่างกับสัตว์ท้องซึ่งเมือกจะเหนียวจัด เยื่อบุช่องคลอดมีสีแดงขึ้น เพราะมีเลือด
มาเลี้ยงมากขึ้น โคเป็นสัดนานประมาณ 24 ชั่วโมง หลังสิ้นสุดการเป็นสัดแล้ว 6-10 ชั่วโมงไข่จะตก
และเชื้ออสุจิที่ใช้ในการผสมเทียมอยู่ในมดลูกได้นาน 24-30 ชั่วโมง ดังนั้นเวลาที่ควรจะทำการผสม
ก็คือระหว่างชั่วโมงที่ 12 ถึงชั่วโมง ที่ 24 ของการเป็นสัด โคบางตัวแสดงอาการเป็นสัดไม่ชัดเจน
ก็ควรสังเกตดีๆ หลังจากเป็นสัดแล้ว 1-3 วันอาจมีเลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อแม่โค
เกษตรกรควรสังเกตการณ์เป็นสัดในรอบถัดไปให้ดี ถ้าไม่ได้รับการผสมหรือผสมไม่ติดโคจะกลับ
มาเป็นสัดอีกในเวลา 18-21 วัน
2.5 ฮอร์โมนเหนี่ยวนำการเป็นสัด
สุกัญญาและคณะ (2558) กล่าวว่าการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเพื่อให้เกิดการเป็ นสั ด
มี เ ป้ า หมายเพื ่อ เพิ ่ม ประสิ ท ธิ ภ าพการจั ดการระบบสืบ พัน ธุ ์ใ นแม่ โ คหลั ง คลอด ประโยชน์จาก
การเหนี่ยวนำการเป็นสัดเป็นการแก้ไขปัญหาการผสมพันธุ์ ที่เกิดจากความไม่พร้อมของเจ้าของสัตว์
ที่จะเฝ้าสังเกตการเป็นสัด การเป็นสัดเงียบในโคหลังคลอดหรือการวางแผนให้ได้ลูกโคพร้อมๆกัน
ในระยะเวลาที่ต้องการ การกำหนดโปรแกรมการเหนี่ยวนำให้เป็นสัดประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ
ได้แก่ การกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มโปรแกรมการเหนี่ ยวนำให้เป็นสัดหลังคลอดและ
การกำหนดโปรแกรมฮอร์โมนในการเหนี่ยวนำให้เป็นสัดและตกไข่ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการ
ควบคุมการทำงานของคอร์ปัสลูเทียม และการพัฒนาของฟอลลิ เคิลที่ผ่านมา ได้มีการนำฮอร์โ มน
โปรเจสเตอโรน (PG) ฮอร์โมนพรอสต้าแกลนดินเอฟทูอัลฟ่า ( PGF2)และ โกนาโดโทรปิน รีลีสซิ่ง
ฮอร์โมน (GnRH) ใช้ในโปรแกรมการเหนี่ยวนำการเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโค การกำหนด
9

โปรแกรมการเหนี่ยวนำนี้เอง เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ ที่มีผลต่อ


ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต ปั ญ หาเรื ่ อ งต้ นทุ นการผลิต การศึก ษาผลของการเหนี่ ยวนำการเป็นสั ด
ด้ ว ยโปรแกรมฮอร์ โ มนที่ แ ตกต่ า งกัน ต่ อ อั ต ราการผสมติ ด และอั ต ราการตั้ ง ท้ อ งในโคเนื ้อ พันธุ์
กำแพงแสน โดยใช้โปรแกรมฮอร์โมน PGF2 เข้าทางกล้ามเนื้อ และโปรแกรมสอดแท่งฮอร์โมน PG
ร่ ว มกั บ GnRH และ PGF2 ซึ ่ ง อาจจะเป็ น การช่ ว ยลดปั ญ หาการแสดงการเป็ น สั ด หรื อ เพื่ อ
กำหนดเวลาในการตกไข่ในโค ลดความผิดพลาดในการตรวจสัด สามารถจัดรอบการผสมเพื่อให้
ผสมติดได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
สมพรและคณะ (2557) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมน
ที่ไม่ละลายในน้ำจึงไม่สามารถเดินทางในรูปแบบอิสระได้ การขนส่งโปรเจสเตอโรนจึงต้องไปกับ
โมเลกุลหรือโปรตีนอื่นที่สามารถละลายในน้ำได้เพื่อไปยังเซลล์เมมเบรนและไซโทรพลาสซึม เมื่อ
โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัว พาเดินทางมายังเซลล์ ฮอร์โมนจะออกจากตัว พาและซึมผ่านพลาสมา
เมมเบรน ไปยังนิวเคลียส การจับกันระหว่างฮอร์โมนและตัวรับในนิวเคลียสจะกลายเป็น Hormone
receptor complex จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการถอดรหัสและการสังเคราะห์ mRNA เพื่อ
ผลิตโปรตีนฮอร์โมนโดยฮอร์โมน โปรเจสเตอโรนจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลู ก
ที่ได้รับการกระตุ้นโดยเอสโตรเจนในช่วงก่อนการเป็นเป็นสัด (Proestrus) เมื่อได้รับฮอร์โมนโปรเจส
เตอโรน จะถูกกระตุ้น ให้เข้าสู่ (Secondary phase) ระยะที่ส อง เพื่อพร้อมที่จะได้รับการฝั งตัว
ของตัวอ่อน การใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อควบคุมวงรอบการเป็นสัดในโคเนื้อเป็นการเลียนแบบ
การทำงานของคอร์ ปั ส ลู เ ที ย มที ่ ปกติ จ ะสร้ า งและหลั่ ง ฮอร์ โ มนโปรเจสเตอโรน ระดั บ ฮอร์ โ มน
โปรเจสเตอโรนที่สูง จะกดการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองทำให้ไม่หลั่งฮอร์โมน(LH; Luteinizing
hormone) จึงไม่มีการตกไข่ให้โปรเจสเตอโรนจากภายนอก เมื่อหยุดการให้จะทำให้มีการหลั่ ง
ฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (FSH ; Follicle Stimulating Hormone) จากต่อมใต้สมอง
ส่วนหน้า ส่งผลให้มีการพัฒนาของฟอลิเคิลสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับสูงไปกระตุ้นให้ฮอร์โมน
ลู ติ ไ นซิ ง ฮอร์ โ มน หลั่ ง สู ง มากขึ้ น ทำให้ เ กิ ด การตกไข่ ต ามมาในปั จ จุ บั น มี ใ ช้ ใ นหลายรู ป แบบ
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สมพรและคณะ (2557) กล่าวว่าการจัดการการผสมพันธุ์ในโคเนื้อเป้าหมายหลัก คือ ทำให้
แม่โ คมีอัตราการตั้งท้องของฝูงสู งที่ส ุด การจัดการผสมพันธุ์แบบฤดูผ สมพันธุ์ในแม่โ คลู ก ผสม
บราห์มัน -ไทยพื้นเมือง มักพบการไม่แสดงอาการเป็นสัดของแม่โคที่เลี้ยงลูกอยู่ แม่โคจึงไม่ได้รับ
การผสมพันธุ์ในฤดูผสมพันธุ์ที่กำหนด ทำให้แม่โคมีช่วงห่างการคลอดลูกที่ยาวนานมากขึ้น ส่งผลต่อ
ต้นทุนการผลิตลูกโคที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการทดลองนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึก ษาเกี่ยวกับ
ผลของการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่ว มกับฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน
10

และฮอร์ โ มนเอสโตรเจนต่ อ อั ต ราการผสมติ ด และอั ต ราการตั้ ง ท้ อ งในแม่ โ คลู ก ผสมบราห์ มั น


ไทยพื้นเมือง พบว่าการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยโปรแกรมนี้สามารถเหนี่ยวนำทำให้เกิดการตกไข่
และผสมติด จากการเหนี่ยวนำการเป็นสัดได้ดี โดยในกลุ่มแม่โคที่ไม่ได้เลี้ยงลูก มีอัตราการผสมติด
เท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ และในกลุ่มแม่โคที่เลี้ยงลูกเท่ากับ 33 เปอร์เซ็นต์และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการผสมพันธุ์ ให้มีอัตราการตั้งท้องของฝูงได้ดี คือ 75 เปอร์เซ็นต์ และ 80 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่ม
โคที่ไม่ได้เลี้ยงลูกและในกลุ่มแม่โคที่เลี้ยงลูกตามลำดับ
สุกัญญา และคณะ (2558) กล่าวว่า ผลการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้ว ยฮอร์โ มนที่ต่างกัน
ต่ออัตราการผสมติดและตั้งท้องของโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน ใช้โคเนื้อทั้งหมดจำนวน 20 ตัว ทำการ
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว โคกลุ่มที่ 1 ได้รับการฉีดฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินเอฟทูอัลฟ่า
(PGF2α) โคกลุ่มที่ 2 ได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (PG) โกนาโดโทรปินรีลีสซิ่งฮอร์โมน (GnRH) และ
(PGF2α) ให้ผลอย่างไร
พี ร พั ฒ น์ และคณะ (2563) กล่ า วว่ า เวลาที ่ ไ ม่ เ หมาะสมถื อ เป็ น ปั ญ หาสำคั ญ ในโคนม
หลั ง คลอด ส่ ง ผลให้ โ คมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพทางการสื บ พั น ธุ ์ ไ ม่ ดี มี จ ำนวนวั น ท้ อ งว่ า งยาวนานขึ้ น
การกำหนดโปรแกรมการสืบพันธุ์ จึงมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบสืบ พันธุ์
ในโคนมหลังคลอด โดยมีว ัตถุป ระสงค์ส ำคัญคือการกำหนดโปรแกรมฮอร์โ มนในการเหนี่ยวนำ
การเป็นสัดและตกไข่ พร้อมทั้งการกำหนดระยะเวลาทำการผสมเทียมในโค โปรแกรมการเหนี่ยวนำ
การเป็นสัด สามารถแบ่งออกได้เป็นโปรแกรมการใช้ฮอร์โมนโพรสตาแกลนดินเอฟทูอัลฟ่า ( PGF2α)
โปรแกรมการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
นิติพัฒน์ และ ราตรี (มปป.) กล่าวว่าการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของ
GnRH ร่วมกับโปรเจสเตอโรนชนิดสอดช่องคลอด ต่ออัตราการตั้งท้องในโคนมที่มีปัญหาไม่เป็นสัด
หลังคลอด 60-120 วัน ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 80 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม
และกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้ว ยการสอดโปรเจสตินชนิดสอด
ช่องคลอด (CIDR-B) เป็นเวลา 11 วัน พร้อมกับฉีดฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินเอฟทู อัลฟ่า ( PGF2α)
ขนาด 500 ไมโครกรัม เข้ากล้ามเนื้อ และทำการผสมเทียม ณ ชั่วโมงที่ 48 และ 72 หลัง ถอดฮอร์โมน
ในกลุ่มทดลองแม่โคได้รับการเหนี่ยวนำการเป็นสัดและผสมเทียมแบบกำหนดเวลาเหมือนกลุ่มควบคุม
พร้อมกับ ฉีดโกนาโดโทรปิน รีล ิส ซิ่งฮอร์โ มน (GnRH) ณ ชั่ว โมงที่ 48 หลังถอดฮอร์โ มน CIDR-B
และทำการตรวจท้องที่ 60 วัน หลังผสมเทียมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า
อัตราการตั้งท้องของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเป็น 52.5เปอร์เซ็นต์ (21/40) และ 62.5 เปอร์เซ็นต์
(25/40) ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
อภิชัย (ม.ป.ป.) กล่าวว่าเปรียบเทียบวิธีการและต้นทุนเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อแม่พันธุ์
โดยใช้โคเนื้อแม่พันธุ์จากฟาร์มเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ในจังหวัดพะเยา การทดลองนี้
11

ใช้โ คลูกผสมพื้ น เมื องเพศเมีย จำนวน 45 ตัว อายุ 3-5 ปี ให้ล ูกมาแล้ว 2-4 ตัว น้ำหนักเฉลี่ ย
350-450 กิโ ลกรัม ถูกจัดเข้า ในแผนการทดลองแบบสุ ่ มสมบูร ณ์ (Completely Randomized
Design;CRD) มี 3 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เหนี่ยวนำด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน จำนวน 15 ตัว
กลุ่มที่ 2 เหนี่ยวนำด้วยวิธีการสอดแท่งฮอร์โมน (CIDR) จำนวน 15 ตัว และกลุ่มที่ 3 เหนี่ยวนำ
ด้วยวิธีการพันหางด้วยแผ่นฮอร์โมน (P-sync) จำนวน 15 ตัว ในวันแรกของการเหนี่ยวนำ (Day 0)
ฉีดฮอร์โมน Gonadotropin-Releasing Hormone (GnRH) ให้กับแม่โคในกลุ่มที่ 1 สอดแท่ง CIDR
เข้าช่องคลอดให้กับแม่โคในกลุ่ม ที่ 2 และพันหางด้วยแผ่น P-sync ให้กับแม่โคในกลุ่มที่ 3 ในวันที่ 7
ของขั้นตอนการเหนี่ยวนำถอดแท่งฮอร์โมนและแผ่น ฮอร์โมนออก แล้วฉีดฮอร์โมน Prostaglandin
F2alpha (PGF2α) จากนั ้ น ผสมเที ย มในชั ่ ว โมงที ่ 55 หลั ง จากฉี ด ฮอร์ โ มน PGF2α และตรวจ
การตั้งท้องในวันที่ 60 หลังจากผสมเทียมและตรวจท้องด้วยเครื่อง อัลตราซาวด์ ทำการเปรียบเทียบ
ข้ อ มู ล อั ต ราการตั ้ ง ท้ อ งในวั น ที ่ 60 หลั ง จากการผสมเที ย ม และคิ ด ค่ า เฉลี ่ ย ของการเป็ น สั ด
อัตราการตั้งท้อง และต้นทุนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
บทที่ 3
วิธีการทดลองและวิธกี ารวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 วัสดุและอุปกรณ์การทดลอง
3.1.1 วัสดุในการทดลอง
1) แท่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (CIDR)
2) ถุงมือยาว
3) หลอดฉีดยา ขนาด 5 ซีซี
4) หลอดฉีดยา ขนาด 10 ซีซี
5) เข็มฉีดยา เบอร์ 18
3.1.2 อุปกรณ์ในการทดลอง
1) เครื่องอัลตราซาวด์ดิจิตอล
2) ปืนสำหรับสอดซีด้า
3.2 ยาและเวชภัณฑ์
3.2.1 ฮอร์โมนพีจีเอฟทูอัลฟา (PGF2α)
3.2.2 ฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน (GnRH: Receptal® )
3.2.3 ยาบำรุงวิตามินเอดี3อี (AD3 E)
3.2.4 ยาถ่ายพยาธิไอเวอร์เอฟ (Ivormec-F)
3.2.5 ยาถ่ายพยาธิอัลเบนดาโซล (Albendazole)
3.3 ขั้นตอนการทดลอง
3.3.1 คัดเลือกแม่โคพื้นเมืองที่ไม่มีปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์ เช่น ภาวะถุงนํ้าที่รังไข่ มดลูก
อักเสบ เป็นต้น ทำการตรวจมดลูก และวัดขนาดของรังไข่
3.3.2 ถ่ายพยาธิก่อนทำการทดลองโดยวิธ ี การฉี ดไอเวอร์เ มคติน 1 ซีซี/น้ำหนักตัว 50
กิโลกรัม และกรอกยาใช้อัลเบนดาโซน 1 ซีซีต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม และฉีดวิตามินตัวละ 5 ซีซี
ทำการปรับสภาพสัตว์เป็นเวลา 7 วัน ให้อาหารสัตว์ตามโปรแกรมอาหารข้น 1 กิโลกรัม/ตัว/วัน
อาหารหยาบ 7 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัว
3.3.3 ทำการทดลองการเหนี่ยวนำฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในแม่โค
กลุ่มที่ 1 ควบคุม ฉีดยาบำรุงถ่ายพยาธิ
กลุม่ ที่ 2 สอดแท่งฮอร์โมน CIDR เข้าทางช่องคลอดในวันที่ 0 ร่วมกับฉีด GnRH
ขนาด 10 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อ และถอดแท่งฮอร์โมน CIDR ออกพร้อมกับฉีด PGF2 ขนาด 2 ซีซี
เข้าทางกล้ามเนื้อ (500 ไมโครกรัม) ในวันที่ 7 หลังจากนั้นสังเกตอาการเป็นสัดและทำการผสมเทียม
13

โดยนับเวลาที่แม่โคยืนนิ่งเป็นชั่วโมงที่ 0 และทำการผสมเทียมที่ 24-36 ชั่วโมง


กลุ่มที่ 3 สอดแท่งฮอร์โมน CIDR เข้าทางช่องคลอดในวันที่ 0 ร่วมกับฉีด GnRH
ขนาด 10 มิล ลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อ และถอดแท่งฮอร์โ มน CIDR ออกพร้อมกับฉีด PGF2 ขนาด
2 ซีซี เข้าทางกล้ามเนื้อ (500 ไมโครกรัม) ในวันที่ 10 และหลังจากนั้นสังเกตอาการเป็นสัด และ
ทำการผสมเทียมโดยนับเวลาที่แม่โคยืนนิ่งเป็นชั่วโมงที่ 0 และทำการผสมเทียมที่ 24-36 ชั่วโมง
3.3.4 นำข้อมูลจำนวนโคที่แสดงอาการเป็นสัดและจำนวนโคที่ตั้งท้องมาคำนวณประเมิน
อั ต ราการเป็ น สั ด (Exhibited estrus rate) อั ต ราการผสมติ ด (Conception rate) และอั ต รา
การตั้งท้อง (Pregnancy rate)
3.4 วิธีดำเนินการทดลอง
การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในโค อายุ 4 ปี ถึง 5 ปี
ใช้การทดลองที่มีแผนแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design ; CRD) แบ่งกลุ่ม
การทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม
กลุ่มที่ 2 สอดแท่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (CIDR) เป็นเวลา 7 วัน
กลุ่มที่ 3 สอดแท่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (CIDR) เป็นเวลา 10 วัน
โคทุกตัวจะมีอิสระในการอยู่ อย่างอิสระต่อกันทำการกรอกและฉีดยาถ่ายพยาธิ ยาบำรุงโค
ที ่ จ ะทำการทดลองทิ ้ ง ไว้ 1 สั ป ดาห์ แ ล้ ว ทำการตรวจวั ด ขนาดของรั ง ไข่ ท ั ้ ง สองข้ า งด้ ว ยเครื่ อ ง
อัลตราซาวด์ ต่อมาทำการสอดแท่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (CIDR) เป็นเวลา 7 และ 10 วัน พอถึง
วันที่กำหนดให้ทำการถอดแท่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออก เสร็จแล้วฉีดยา Receptal โคจะเป็นสัด
ภายใน 72 ชั่วโมง การเป็นสัดที่ชัดเจนที่สุด ที่สามารถนำมาเริ่มนับชั่วโมงเพื่อนำมากำหนดเวลา
ในการผสม คือการเริ่มยืนนิ่งยอมให้วัวตัวอื่นขึ้นขี่( Standing Heat) ไม่ว่าตัวที่ขี่จะเป็นแม่วัวตัวอื่นๆ
วัวตัวผู้ หรือ วัวรุ่น โดยมักจะมีช่วงเวลานี้ 6-12 ชั่วโมง อาการอย่างอื่นเช่นเมือกไหลออกจากอวัยวะ
เพศ หรือการขึ้นขี่ตัวอื่นแต่ไม่ยอมให้ตัวอื่นขี่ ซึ่งยังไม่น่าเชื่อถือเท่ากับการยืนนิ่งยอมให้วัวตัวอื่นขี่
สังเกตวัวเพิ่มขึ้นดูว่าจะเริ่มยืนนิ่งตอนไหน การจับสัดใช้เวลาสังเกตครั้งละ20นาที วันละ3-4 ครั้ง
เมื่อวัวยืนนิ่งยอมให้ตัวอื่นขี่ แล้วทำการผสมเทียม เสร็จแล้วทำการตรวจท้องด้วยเครื่องอัลตราซาวด์
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5.1 วัดขนาดของรังไข่ และโดมิแนนท์ฟอลลิเคิล
3.5.2 จำนวนวัน และชั่วโมงที่แม่โคแสดงอาการเป็นสัด หลังถอดฮอร์โมน CIDR
3.5.3 ข้อมูลการผสมเทียม
3.5.4 อัตราการผสมติด และอัตราการตั้งท้อง
14

3.6 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและทดสอบสมมติฐาน
นำข้ อ มู ล ที ่ ไ ด้ จ ากการบั น ทึ ก ระหว่ า งการทดลองซึ่ ง ได้ แ ก่ ขนาดของรั ง ไข่ โดมิ แ นนท์
ฟอลลิเคิล ข้อมูลการผสมเทียม อัตราการผสมติด และอัตราการตั้งท้องนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวน
(Analysis of variance ; ANOVA) ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized
Design ; CRD) และวิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บค่ า เฉลี ่ ย ระหว่ า งกลุ ่ ม การทดลอง โดยใช้ โ ปรแกรม
Duncan’s New Multiple Range Test โดยใช้โปรแกรม SAS® OnDemand for academics

3.6.1 สูตรการหาอัตราการผสมติด (conception rate) (สุกัญญา และคณะ,2558)


อัตราการผสมติด = จำนวนโคที่ตั้งท้อง
X 100
จำนวนโคที่เป็นสัดและได้รับการผสม
3.6.2 สูตรการหาอัตราการตั้งท้อง (Pregnancy rate) (สุกัญญา และคณะ,2558)
อัตราการตั้งท้อง = จำนวนโคที่ตั้งท้อง
X 100
จำนวนโคทัง้ หมด
3.7 ระยะเวลาการทดลอง
ระยะเริ่มเก็บข้อมูลทั้งหมด ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 14 มกราคม 2567
ระยะเวลา 75 วัน
3.8 พื้นที่ดำเนินการทดลอง
กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ 32220
บทที่ 4
ผลการทดลอง
การศึกษาผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อ โดยใช้โคเนื้อ
เพศเมีย อายุ 2.7 ปี ถึง 4 ปี จำนวน 15 ตัว โดยแบ่ งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ มการทดลอง
กลุ่มการทดลองละ 5 ตัว ดังนี้ กลุ่มการทดลองที่ 1 กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ฮอร์โมน (กลุ่มควบคุม) กลุ่มการ
ทดลองที่ 2 กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (CIDR-B) 7 วัน กลุ่มการทดลองที่ 3 กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน
โปรเจสเตอโรน (CIDR-B) 10 วัน
4.1 ขนาดของรังไข่ก่อนใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
การใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเนื้อ ในการทดลองทั้ง 3 กลุ่ม
การทดลอง มีการตรวจดูขนาดของรัง ไข่ ท ั้งสองข้ างก่ อ นใช้ ฮ อร์โ มนในการเหนี่ ยวนำให้เป็ น สั ด
เพื่อดูขนาดของรังไข่และความสมบูรณ์ของรังไข่ ขนาดของรังไข่ที่จะใช้ฮอร์โมนในการเหนี่ยวนำต้องมี
ขนาดไม่ ต่ ำ กว่ า 15.00 มิ ล ลิ เ มตร ไม่ ว่ า จะข้ า งซ้ า ยหรื อ ข้ า งขวา ดั ง นั้ น ทั ้ ง 3 กลุ่ ม การทดลอง
มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังแสดงในตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 แสดงขนาดของรังไข่ (Ovary) ก่อนใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
รายการ กลุ่มการทดลอง
T1 T2 T3 SEM P- value
จำนวนสัตว์ทดลอง 5 5 5
ขนาดรังไข่ข้างซ้าย (มิลลิเมตร) 22.60 29.20 22.22 2.31 0.095
ขนาดรังไข่ข้างขวา (มิลลิเมตร) 31.60 30.40 23.0 3.59 0.293
หมายเหตุ : T1 กลุ่มควบคุม
T2 กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 7 วัน
T3 กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 10 วัน
16

4.2 สังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวเหนี่ยวนำ
การสังเกตการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นตัวเหนี่ยวนำ พบว่า กลุ่มการทดลอง
ที่ 2 แสดงอาการเป็นสัดชัดเจนที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 93.33 กลุ่มการทดลองที่ 3 แสดงอาการ
เป็ น สั ด โดยคิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 90 และกลุ่ ม การทดลองที่ 1 แสดงอาการเป็ น สั ด ช้ า ที่ ส ุ ด คิ ด เป็ น
ร้อยละ 66.66 ดังนั้นการทดลองทั้ง 3 กลุ่มการทดลอง มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
(P>0.05) ดังแสดงในตารางที่ 4.2
ตารางที่ 4.2 สังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวเหนี่ยวนำ
จำนวนที่โค (%) ที่แสดงอาการเป็นสัด
ลักษณะอาการเป็นสัด T1 T2 T3 SEM P-value
ร้อง 3 (60) 5 (100) 5 (100) 0.14 0.11
กระวนกระวาย 3 (60) 4 (80) 4 (80) 0.21 0.75
ขึ้นขี่ตัวอื่น 3 (60) 4 (80) 5 (100) 0.18 0.33
ยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่ 4 (80) 5 (100) 5 (100) 0.11 0.39
อวัยวะเพศบวมแดง 4 (80) 5 (100) 4 (80) 0.16 0.61
มีน้ำเมือกไหลออกจากช่องคลอด 3 (60) 5 (100) 4 (80) 0.21 0.75
หมายเหตุ : โค 1 ตัวแสดงอาการเป็นสัดได้มากกว่า 1 อาการ
T1 กลุ่มควบคุม
T2 กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 7 วัน
T3 กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 10 วัน
4.3 อัตราการตั้งท้อง
อัตราการตั้งท้องโดยใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นตัวเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโค ทั้ง 3 กลุ่ม
การทดลอง ซึ่งกลุ่มการทดลองที่ 2 มีอัตราการตั้งท้องมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์
กลุ่มการทดลองที่ 3 มีอัตราการตั้งท้อง คิดเป็นร้อยละ 40 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มการทดลองที่ 1
ที่แสดงอาการเป็นสัดช้าที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอัตราการตั้งท้องทั้ง 3 กลุ่ม
การทดลอง มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P>0.05) แสดงในตารางที่ 4.3
17

ตารางที่ 4.3 แสดงอัตราการตั้งท้อง

รายการ T1 T2 T3 SEM P-value


จำนวนสัตว์ทดลอง (ตัว) 5 5 5
อัตราการผสมเทียม (ครั้ง) 5 5 5
การผสมติด (ตัว) 1 4 2
อัตราการตั้งท้อง (%) 20 80 40 0.21 0.17
หมายเหตุ : T1 กลุ่มควบคุม
T2 กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 7 วัน
T3 กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 10 วัน
4.4 ต้นทุนการผลิต
ต้น ทุน ค่ าฮอร์โ มนและเวชภัณฑ์ในการเหนี่ ยวนำการเป็นสัดในโค จำนวน 15 ตั ว โดยมี
การแบ่งเป็น 3 กลุ่มการทดลอง พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มการทดลอง มีความแตกต่าง โดยกลุ่มการทดลอง
ที่ 1 กลุ่มควบคุม มีต้น ทุน ต่ำที่ส ุดเพราะเป็นกลุ่มการทดลองที่ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ในการเหนี่ยวนำการเป็นสัด ซึ่งกลุ่มการทดลองที่ 2 และกลุ่มการทดลองที่ 3 มีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด
แสดงในตารางที่ 4.4
ตารางที่ 4.4 แสดงตารางต้นทุนการผลิต
รายการ T1 T2 T3 SEM P-value
จำนวนสัตว์ทดลอง (ตัว) 5 5 5
Estrumate 196 196
Lutalyse 96 96
ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน(CIDR – B) 450 450
วิตามินเอดี3อี (AD3E) 70 70 70
ไอเวอร์เมกเอฟ (Ivormec-F) 150 150 150
อัลเบนดาโซน (Albendazole) 35 35 35
น้ำเชื้อโค 300 300 300
ต้นทุนค่าเวชภัณฑ์ (บาท) 555ข 1297ก 1297ก 0.001 <.0001

หมายเหตุ : ก-ข อักษรที่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05)


บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผล
การศึกษาการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโค การใช้ฮอร์โมน
โปรเจสเตอโรนทำให้ โคอัตราการเป็นสัด และอัตรากการตั้งท้องเพิ่มขึ้น แต่มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้นสรุปได้ว่าการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคเหมาะสำหรับ โค
มีการเป็นสัดปกติหรือในภาวะที่โคไม่มีการพัฒนาของรังไข่ และภาวะรังไข่ไม่ทำงาน
5.2 อภิปรายผล
การศึกษาการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโค ทำการทดลอง
3 กลุ่มการทดลองได้แก่ กลุ่มการทดลองที่ 1 (ควบคุม T1) กลุ่มการทดลองที่ 2 กลุ่มการทดลองที่ใช้
ฮอร์ โ มน (CIDR- B) 7 วั น แล้ ว ฉี ด ฮอร์ โ มน Gonadotropin-releasing hormone (GnRH) (T2)
กลุ่มการทดลองที่3 กลุ่มการทดลองที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR- B) 10 วันแล้วฉีดฮอร์โมน Gonadotropin-
releasing hormone (GnRH) สอดคล้ อ งกั บ สมพรและคณะ (2557) การจั ด การการผสมพั น ธุ์
ในโคเนื้อ เป้าหมายหลัก คือ ทำให้แม่โคมีอัตราการตั้งท้องของฝูงสูงที่สุด การจัดการผสมพันธุ์แบบ
ฤดูผสมพันธุ์ในแม่โคลูกผสมบราห์มัน-ไทยพื้นเมือง มักพบการไม่แสดงอาการเป็นสัดของแม่โคที่เลี้ยง
ลูกอยู่ แม่โคจึงไม่ได้รับการผสมพันธุ์ในฤดูผสมพันธุ์ที่กำหนด ผลของการเหนี่ยวนำการเป็ นสั ด
ด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมกับฮอร์โมนพรอสต้ าแกลนดิน และฮอร์โมน เอสโตรเจน ต่ออัตรา
การผสมติดและอัตราการตั้งท้องในแม่โคพบว่าการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วยโปรแกรมนี้ สามารถ
เหนี่ยวนำทำให้เกิดการตกไข่และผสมติดจากการเหนี่ยวนำการเป็นสัดได้ดี โดยในกลุ่มแม่โคที่ไม่ได้
เลี้ยงลูก มีอัตราการผสมติด เท่ากับ 50เปอร์เซ็นต์ และในกลุ่มแม่โคที่เลี้ยงลูกเท่ากับ 33.เปอร์เซ็นต์
และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการผสมพันธุ์ ให้มีอัตราการตั้งท้องของฝูงได้ดี คือ 75เปอร์เซ็นต์
และ 80เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มโคที่ไม่ได้เลี้ยงลูกและในกลุ่มแม่โคที่เลี้ยงลูกตามลำดับ แต่ไม่สอดคล้องกับ
สุกัญญา และคณะ (2558) โคทั้งหมดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 ตัว โดยกลุ่มที่ 1 โคถูกเหนี่ยวนำ
การเป็นสัด โดยดัดแปลงวิธีการ ของ Wehner et al. (1997) โดยโคได้รับการฉีดฮอร์โมน PGF2
ขนาด 2 มิลลิลิตรเข้าทางกล้ามเนื้อ (500 ไมโครกรัม) 2 ครั้งห่างกัน 11 วัน และหลังจากนั้นสังเกต
อาการเป็นสัด โดยใช้โคตัวผู้ที่ถูกเบี่ยงเบนอวัยวะเพศ แล้ว (teaser bull) ในการตรวจจับการเป็นสัด
ของโคเพศเมีย ซึ่งโคเพศเมียที่มีอาการเป็นสัดจะมีลักษณะยืนนิ่ง เมื่อโคเพศผู้หรือเพศเมียตัว อื่น
ขึ้นปีน มีอาการตื่นเต้น มีการส่งเสียงร้อง มีการบวมและมีสีแดงของอวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอก และมี
สิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอดที่เป็นลักษณะเมือกเหนียวใสไหลยาวไม่ขาดง่าย (มงคล, 2543) ทำการ
นับเวลาที่แม่โคยืนนิ่งเป็นชั่วโมงที่ 0 และทำการผสมเทียมชั่วโมงที่ 12 และ กลุ่มที่ 2 โคถูกเหนี่ยวนำ
19

การเป็ น สั ด โดยได้ ร ั บ การสอดแท่ง ฮอร์ โ มนโปรเจสเตอโรน (CIDR ที ่ ม ี ฮ อร์ โ มน PG ขนาด 1.9


มิ ล ลิ ก รั ม ) เข้ า ทางช่ อ งคลอดในวั น ที่ 0 ร่ ว มกั บ ฉี ด GnRH(Receptal® ) ขนาด 10 ไมโครกรั ม
เข้ากล้ามเนื้อและถอดแท่งฮอร์โมน PG ออกพร้อมกับฉีดฮอร์โมน PGF2 ขนาด 2 มิลลิลิตร เข้าทาง
กล้ามเนื้อ (500 ไมโครกรัม) ในวันที่ 7 และหลังจากนั้นสังเกตอาการเป็นสัด และทำการผสมเทียม
โดยนับเวลาที่แม่โคยืนนิ่งเป็นชั่วโมงที่ 0 และทำการผสมเทียม ชั่วโมงที่ 12
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 การใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมกับพรอสต้าแกลนตินในโคจะสามารถทำให้โค แสดง
อาการเป็นสัดได้ดี
5.3.2 การใช้ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนร่วมกับ พรอสต้าแกลนดินในการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
เมื่อมีความจำเป็น เช่น โคไม่มีการพัฒนาของฟอลลิเคิลและคอร์ปัสลูเทียม
เอกสารอ้างอิง

กรมปศุสัตว์ 2565. สถิติการเลี้ยงโคเนื้อในประเทศไทย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. การดูแลสุขภาพโคเนื้อ วันที่สืบค้น 3 เมษายน
2567
กรมปศุสัตว์. มปป. โคพันธุ์ชาร์โลเล่ส์ ปัญหาที่พบในการเป็นสัดของโคเนื้อ
กัลยกร วงศ์รักษ์ 2565. สภาพการเลี้ยงและความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร
จังหวัดชัยนาท ที่มา : https:// li01.tci-thaijo.org วันที่สืบค้น 3 เมษายน 2567
จิตกร บัวปลี ที่มา : คู่มือการเพาะเลี้ยง “โคเนื้อ & โคงาม” ฉบับสมบูรณ์ โดย จิตกร บัวปลี หน้า
68 – 69 – thaicattle.org. 2562
นิติพัฒน์ ขุมหิรัญ ราตรี ยืนยั่ง. มปป. ผลของ GnRh ร่วมกับโปรเจสเตอโรนชนิดสอดช่องคลอด
ต่ออัตราการตั้งท้องในโคนมที่มีปัญหาการไม่เป็นสัดหลังคลอดในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น.
รายงานการวิจัย. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์
สุกัญญา รัตนทับทิมทอง คงปฐม กาญจนเสริม ทวีพร เรืองพริ้ม สุกัญญา ยุงระแหง พีรยุทธ นิลชื่น
ภรณ์ทิพย์ กาญจนฤทธิไกร และ ปวีณา เจียมงาม. 2558. ผลการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วย
โปรแกรมฮอร์โมนที่แตกต่างกันต่ออัตราการผสมติดและอัตราการตั้งท้องในโคเนื้อพันธุ์
กำแพงแสน. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ครั้งที่ 11
สุวิช บุญโปร่ง กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ธันวาคม 2558
สุพจน์ ศรีนิเวศน์ ปิยศักดิ์ สุวรรณี เผยแผ่เมื่อวันที่ วันพฤหัสที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2562
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนำจเจริญ 2559. ฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนา
การเกษตรและสหกรณ์ รายสินค้าจังหวัดอำนาจเจริญ
สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี 2549. การดูแลสุขภาพโคเนื้อ. กรมปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หมอเกษตรทองกวาว เผยแผ่เมื่อวันที่ วันพฤหัสที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2560
https://www.technologychaoban.com วันที่สืบค้น 3 เมษายน 2567
อภิชัย บุญเป็ง. มปป. รูปแบบการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคโดยใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ออัตรา
การผสมติดในโค. สาขาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงใหม่, เชียงใหม่.
ภาคผนวก ก
ชุดคำสั่งการวิเคราะห์
22

คำสั่งการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม (SAS ; Statistical Analysis System)

1 data cow;
2 input trt rep bcs ovary1 ovary2;
3 cards;
4 1 1 4 26 37
5 1 2 3 20 43
6 1 3 4 20 21
7 1 4 4 21 33
8 1 5 3 26 24
9 2 1 4 32 18
10 2 2 3 33 34
11 2 3 4 23 36
12 2 4 3 29 32
13 2 5 3 29 32
14 3 1 3 33 17
15 3 2 3 26 17
16 3 3 3 15 30
17 3 4 4 16 21
18 3 5 4 21 34
19 ;
20 Proc anova data = cow;
21 Class Trt;
22 Model bcs ovary1 ovary2 = trt;
23 Means Trt/1sd;
24 runs;
23

data Pregnancy;
input Trt rep Pregnancy;
cards;
1 1 555.0
1 2 555.0
1 3 555.0
1 4 1297.0
1 5 1297.0
2 1 1297.0
2 2 1297.0
2 3 1297.0
2 4 1297.0
2 5 1297.0
3 1 1297.0
3 2 1297.0
3 3 1297.0
3 4 1297.0
3 5 1297.0
;
proc anova data = Pregnancy ;
class Trt;
model Pregnancy = Trt;
means Trt/duncan;
run;
24

data Pregnancy;
input Trt rep Pregnancy;
cards;
111
121
131
140
150
211
221
231
241
251
311
321
331
341
351
;
proc anova data = Pregnancy ;
class Trt;
model Pregnancy = Trt;
means Trt/duncan;
run;
25

data Pregnancy;
input Trt rep Pregnancy;
cards;
111
120
130
140
150
211
221
231
241
250
311
321
330
340
350
;
proc anova data = Pregnancy ;
class Trt;
model Pregnancy = Trt;
means Trt/duncan;
run;
ภาคผนวก ข
การวิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์
(Completely Randomized Design ; CRD)
ด้วยวิธี Duncan,s New Multiple Range Test ; DMRT
27

ตารางภาคผนวกที่ 1 ตารางขนาดรังไข่ข้างซ้ายก่อนทำการทดลอง
กลุม่ ลำดับ อายุ(ปี) น้ำหนัก(KG) ขนาดรังไข่

ควบคุม 1 2.6 470 26


2 3.8 380 20
3 2.7 460 20
4 3.9 490 26
5 4.2 370 21
CIDR 1 3.4 450 32
7 day 2 2.8 365 33
3 3.6 430 23
4 2.7 320 29
5 3.7 310 29
CIDR 1 2.7 290 33
10 day 2 2.9 280 26
3 2.8 320 15
4 2.7 368 16
5 3.6 420 21

ตารางภาคผนวกที ่ 2 แสดงการวิ เ คราะห์ ค วามแปรปรวนของรั ง ไข่ ข ้ า งซ้ า ยก่ อ นใช้ ฮ อร์ โ มน


การเหนี่ยวนำการเป็นสัด
SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 154.5333333 77.2666667 2.87 0.0956
Error 12 322.8000000 26.9000000
Total 14 477.3333333
CV= 21.02% R2 = 0.323 √MSE= 0.323Mean= 24.66 SEM= 2.31
28

ตารางภาคผนวกที่ 3 ตารางขนาดรังไข่ข้างขวาก่อนทำการทดลอง
กลุม่ ลำดับ อายุ(ปี) น้ำหนัก(KG) ขนาดรังไข่

ควบคุม 1 2.6 470 37


2 3.8 380 43
3 2.7 460 21
4 3.9 490 33
5 4.2 370 24
CIDR 1 3.4 450 18
7 day 2 2.8 365 34
3 3.6 430 36
4 2.7 320 32
5 3.7 310 32
CIDR 1 2.7 290 17
10 day 2 2.9 280 17
3 2.8 320 30
4 2.7 368 21
5 3.6 420 34

ตารางภาคผนวกที่ 4 แสดงการวิ เ คราะห์ ค วามแปรปรวนของรั ง ไข่ ข ้ า งขวาก่ อ นใช้ ฮ อร์ โ มน


การเหนี่ยวนำการเป็นสัด
SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 176.4000000 88.2000000 1.36 0.2931
Error 12 777.2000000 64.7666667
Total 14 953.6000000
CV= 28.13% R2 = 0.184 √MSE= 8.047Mean= 28.60 SEM= 3.59
29

ตารางภาคผนวกที่ 5 ตารางสังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวเหนี่ยวนำ
กลุม่ ตัวที่ ร้อง กระวน ขึ้นขี่ ยืนนิ่ง อวัยวะ เมือก
กระวาย ตัวอื่น เพศบวมแดง

ควบคุม 1      
2     
3      
4 
5  

CIDR 1      
7 days 2      
3      
4      
5    

CIDR 1      
10 days 2      
3      
4      
5   
30

ตารางภาคผนวกที่ 6 สังเกตอาการเป็นสัดโดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวเหนี่ยวนำ
จำนวนที่โค (%) ที่แสดงอาการเป็นสัด
ลักษณะอาการเป็น T1 T2 T3 SEM P-value
สัด
ร้อง 3 (60) 5 (100) 5 (100) 0.14 0.11
กระวนกระวาย 3 (60) 4 (80) 4 (80) 0.21 0.75
ขึ้นขี่ตัวอื่น 3 (60) 4 (80) 5 (100) 0.18 0.33
ยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่ 4 (80) 5 (100) 5 (100) 0.11 0.39
อวัยวะเพศบวมแดง 4 (80) 5 (100) 4 (80) 0.16 0.61
มีน้ำเมือกไหลออก
จากช่องคลอด 3 (60) 5 (100) 4 (80) 0.21 0.75

ตารางภาคผนวกที่ 7 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะการเป็นสัด การร้อง


SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 0.53333333 0.26666667 2.67 0.1101

Error 12 1.20000000 0.10000000


Total 14 1.73333333
CV= 36.48% R2 = 0.30 √MSE= 0.31 Mean= 0.86 SEM= 0.14

ตารางภาคผนวกที่ 8 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะการเป็นสัด กระวนกระวาย


SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 0.13333333 0.06666667 0.29 0.7564

Error 12 2.80000000 0.23333333


Total 14 2.93333333
CV= 65.86% R2 = 0.04 √MSE= 0.48 Mean= 0.06 SEM= 0.21
31

ตารางภาคผนวกที่ 9 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะการเป็นสัด ขึ้นขี่ตัวอื่น


SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 0.40000000 0.20000000 1.20 0.3349

Error 12 2.00000000 0.16666667

Total 14 2.40000000

CV= 51.03 % R2 = 0.16 √MSE= 0.40 Mean= 0.20 SEM= 0.18

ตารางภาคผนวกที่ 10 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะอาการยืนนิ่ง
SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 0.13333333 0.06666667 1.00 0.3966

Error 12 0.80000000 0.06666667

Total 14 0.93333333

CV= 27.66 % R2 = 0.14 √MSE= 0.25 Mean = 0.93 SEM= 21

ตารางภาคผนวกที่ 11 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะอวัยวะเพศบวมแดง
SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 0.13333333 0.06666667 0.50 0.6186

Error 12 1.60000000 0.13333333

Total 14 1.73333333

CV= 42.13 % R2 = 0.07 √MSE= 0.36 Mean = 0.86 SEM= 0.16


32

ตารางภาคผนวกที่ 12 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนลักษณะเมือกไหล
SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 0.13333333 0.06666667 0.29 0.7564

Error 12 2.80000000 0.23333333

Total 14 2.93333333

CV= 65.86 % R2 = 0.04 √MSE= 0.48 Mean = 0.73 SEM= 0.21


33

ตารางภาคผนวกที่ 13 ตารางแสดงการตรวจท้อง
กลุม่ ตัวที่ ตรวจท้องที่อายุครรภ์ สรุปจำนวนท้อง
40 วัน 60 วัน (ตัว)
ควบคุม 1 ไม่ท้อง ไม่ท้อง 1
2 ไม่ท้อง ไม่ท้อง
3 ไม่ท้อง ไม่ท้อง
4 ไม่ท้อง ไม่ท้อง
5 ท้อง
CIDR 1 ตรวจซ้ำ ท้อง 4
7 days 2 ท้อง
3 ท้อง
4 ตรวจซ้ำ ท้อง
5 ไม่ท้อง ไม่ท้อง
CIDR 1 ไม่ท้อง ไม่ท้อง 2
10 days 2 ไม่ท้อง ไม่ท้อง
3 ตรวจซ้ำ ท้อง
4 ไม่ท้อง ไม่ท้อง
5 ท้อง

ตารางภาคผนวกที่ 14 แสดงอัตราการตั้งท้อง

รายการ T1 T2 T3 SEM P-value

จำนวนสัตว์ทดลอง (ตัว) 5 5 5
อัตราการผสมเทียม (ครั้ง) 5 5 5
การผสมติด (ตัว) 1/5 4/5 2/5
อัตราการตั้งท้อง (%) 20 80 40 0.21 0.17
34

ตารางภาคผนวกที่ 15 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนของการตั้งท้อง
SOV df SS MS F P>F
Treatment 2 0.93333333 0.46666667 2.00 0.1780

Error 12 2.80000000 0.23333333

Total 14 3.73333333

CV= 103.50 % R2 = 0.25 √MSE= 0.48 Mean = 0.46 SEM= 0.21


ตารางภาคผนวกที่ 16 ตารางแสดงต้นทุนการผลิต กลุ่มควบคุม
ค่าใช้จ่าย
(บาท)
ตัวที่ estrumate lutalyse CIDR AD3E Ivormec Alben น้ำเชื้อโค รวม
-F dazole (บาท)
1 0 0 0 70 150 35 300 555
2 0 0 0 70 150 35 300 555
3 0 0 0 70 150 35 300 555
4 0 0 0 70 150 35 300 555
5 0 0 0 70 150 35 300 555
รวม 0 0 0 350 750 175 1500 2775
35

ตารางภาคผนวกที่ 17 ตารางแสดงต้นทุนการผลิต กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 7 วัน


ค่าใช้จ่าย
(บาท)
ตัวที่ estrumate lutalyse CIDR AD3E Ivormec Alben น้ำเชื้อโค รวม
-F dazole (บาท)
1 196 96 450 70 150 35 300 1297
2 196 96 450 70 150 35 300 1297
3 196 96 450 70 150 35 300 1297
4 196 96 450 70 150 35 300 1297
5 196 96 450 70 150 35 300 1297
รวม 980 480 2250 350 750 175 1500 6485

ตารางภาคผนวกที่ 18 ตารางแสดง ต้นทุนการผลิต กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน (CIDR) 10 วัน


ค่าใช้จ่าย
(บาท)
ตัวที่ estrumate lutalyse CIDR AD3E Ivormec Alben น้ำเชื้อ รวม
-F dazole โค (บาท)
1 196 96 450 70 150 35 300 1297
2 196 96 450 70 150 35 300 1297
3 196 96 450 70 150 35 300 1297
4 196 96 450 70 150 35 300 1297
5 196 96 450 70 150 35 300 1297
รวม 980 480 2250 350 750 175 1500 6485
36

ตารางภาคผนวกที่ 19 แสดงตารางต้นทุนการผลิต
รายการ T1 T2 T3 SEM P-value
จำนวนสัตว์ทดลอง (ตัว) 5 5 5
Estrumate 196 196
Lutalyse 96 96
ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน(CIDR – B) 450 450
วิตามินเอดี3อี (AD3E) 70 70 70
ไอเวอร์เมกเอฟ (Ivormec-F) 150 150 150
อัลเบนดาโซน (Albendazole) 35 35 35
น้ำเชื้อโค 300 300 300
ต้นทุนค่าเวชภัณฑ์ (บาท) 555ข 1297ก 1297ก 0.001 <.0001

ตารางภาคผนวกที่ 20 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของต้นทุนการผลิต โดยวิธีการ (Duncan’s New


Multiple Range Test) โดยใช้โปรแกรม (SAS ; Statistical Analysis System)
ภาคผนวก ค
ภาพเกี่ยวกับการทดลอง
38

ภาพภาคผนวกที่ 1 ยาบำรุง AD3E

ภาพภาคผนวกที่ 2 ALBENDAZOLE
39

ภาพภาคผนวกที่ 3 IVOMEC-F

ภาพภาคผนวกที่ 4 ESTRUMATE
40

ภาพภาคผนวกที่ 5 ปืนผสมเทียม

ภาพภาคผนวกที่ 6 เครื่องอัลตราซาวด์
41

ภาพภาคผนวกที่ 7 ปืนสอด CIDR

ภาพภาคผนวกที่ 8 แสดงการสอด CIDR


42

ภาพภาคผนวกที่ 9 แสดงการฉีด PGF2α

ภาพภาคผนวกที่ 10 แสดงการฉีดยาบำรุง AD3E


43

ภาพภาคผนวกที่ 11 แสดงการกรอกยาถ่ายพยาธิ

ภาพภาคผนวกที่ 12 แสดงการฉีดยาถ่ายพยาธิ
44

ภาพภาคผนวกที่ 13 ภาพขนาด Dominant follicle

ภาพภาคผนวกที่ 14 ภาพแสดงการผสมเทียม
45

ภาพภาคผนวกที่ 15 ภาพแสดงการตรวจท้อง
46

ภาพภาคผนวกที่ 16 ภาพแสดงตัวอ่อนของโค

อายุครรภ์ 60 วัน

อายุครรภ์ 45 วัน

อายุครรภ์ 45 วัน
47

อายุครรภ์ 45 วัน

อายุครรภ์ 60 วัน

อายุครรภ์ 60 วัน
48

อายุครรภ์ 45 วัน
49

รังไข่ซ้าย รังไข่ขวา

กลุ่ม T1 กลุม่ T1

กลุ่ม T2 กลุม่ T2

กลุ่ม T3 กลุ่ม T3
ภาพภาคผนวกที่ 17 วัดขนาดรังไข่
50

ประวัติผู้เขียน
ชื่อ-นามสกุล นายธันธร ด่านกระโทก
รหัสนักศึกษา 65222310029-4
สถานที่ติดต่อ เลขที่ 130 หมู่ 7 บ้านหนองหญ้าวัว ตำบลก้านเหลือง
อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31110
โทรศัพท์ 0625328252
E-mail Thantorn.da@rmuti.ac.th
Facebook Thantorn Dankratoke
ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2558 มัธยมตอนต้น โรงเรียน (เทศบาล1) ทีโอเอวิทยา
ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31110
พ.ศ. 2561 มัธยมตอนปลาย โรงเรียน (เทศบาล1) ทีโอเอวิทยา
ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31110
พ.ศ. 2564 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31000
พ.ศ. 2565 ปริญญาตรี สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ เลขที่ 145 หมู่ 15
ถนน สุรินทร์ – ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
รหัสไปรษณีย์ 32000
51

ประวัติผู้เขียน
ชื่อ-นามสกุล นายถิรธวัช นิลแก้ว
รหัสนักศึกษา 65222310017-6
สถานที่ติดต่อ เลขที่ 123 หมู่ 8 บ้านตะเปียงกู ตำบลลำดวน
อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32220
โทรศัพท์ 061-209-3733
E-mail thirathawat.ni@rmuti.ac.th
Facebook Max Thirathawat
ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2562 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตร
และเทคโนโลยีบุรีรัมย์ 67 หมู่ 1 ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
รหัสไปรษณีย์ 31000
พ.ศ. 2564 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีบุรีรัมย์ 67 หมู่ 1 ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31000
พ.ศ. 2565 ปริญญาตรี สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ เลขที่ 145 หมู่ 15
ถนน สุรินทร์ – ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
รหัสไปรษณีย์ 32000

You might also like