Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

Page |1

คำศัพท์ วิชา POL4100


หลักและวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์
1. Research Methodology = ระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย
ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐานความเชื่อต่าง ๆ ทีอ่ ยู่ภายใต้วิธีการวิจัยในแต่ละแบบ
2. Research Method = วิธีการวิจัย หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการค้นหาคำตอบหรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ วิธีการต่าง ๆ ที่จะ
ใช้ในการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และรวมถึงวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบต่อ ปัญหาในการวิจัยในเรื่องหนึ่ ง ๆ
3. Acknowledgement = กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบทีส่ ำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย โดยหลักการแล้ว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณาอาจไม่ปรากฏกิตติกรรมประกาศก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยส่วนใหญ่มกั ใช้พื้นที่ซึ่งอยู่ในส่วนประกอบ
ตอนต้นของรายงานการวิจยั เป็นโอกาสในการขอบคุณหรือให้เกียรติผู้ทมี่ ีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือหรือผลักดันให้การวิจัยนีส้ ำเร็จลุล่วงไปได้
ดังนั้นงานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” ก็ได้ โดยภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Acknowledgement”
4. Introduction = บทนำ เป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญอย่างมากในการเปิดประเด็นให้ผู้อ่านเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาปัญหาวิจัย
อันนำไปสู่การออกแบบวิจัยต่อไป บทนำที่ดีละน่าสนใจย่อมดึงดูดให้ผู้อ่านต้องการติดตามต่อไปว่า งานวิจัยฉบับนี้จะตั้งประเด็นปัญหา
เลือกวิธีการนำเสนอและคลี่คลายไปในทิศทางใด
5. Research Objective = การตั้งวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ การบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยว่าจะทำไปเพื่ออะไร ซึ่งจะมีวิธีการ
ตั้งประโยคด้วยการใช้คำขึ้นต้นคาว่า “เพื่อ” เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อพรรณนา เพื่ออธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจ เพื่อวัดผล เป็นต้น
6. Abstract = บทคัดย่อ มีหน้าทีส่ ำคัญในการทำให้ผู้อ่านวิจัยหรือบทความสามารถทำความเข้าใจงานวิจัยหรือบทความวิชาการ
ทั้งหมดได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นบทคัดย่อจึงเป็นข้อความโดยสรุปของรายงานการวิจัยทีส่ ั้น กะทัดรัด บทคัดย่อที่ดี ประกอบด้วย
เนื้อหา 3 ส่วนได้แก่
1. การกล่าวถึงปัญหาและวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อชี้ให้ผู้อา่ นเห็นว่าเพราะเหตุใดหัวข้อวิจัยชิ้นนี้จึงควรคุณค่าแก่การศึกษา
2. การกล่าวถึงวิธีการในการดาเนินการวิจัย เพือ่ ชี้ให้เห็นว่าตามวัตถุประสงค์ในข้างต้น ผู้วิจัยมีการนาเสนอเครื่องมือวิจยั
หรือวิธีการวิจัยในการค้นหาคำตอบเหล่านั้นได้อย่างไร
3. การกล่าวถึงผลของการศึกษา ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ เพื่อชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพของงานวิจัยอย่างรวดเร็วหรือทราบ
สาระสังเขปของงานวิจัยทัง้ หมด ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในเชิงวิชาการ
7. Literature Review = การทบทวนวรรณกรรม เป็นการศึกษาถึงงานวิจัยอื่นๆ ทีเ่ คยทำมาในอดีต ว่าเคยมีการศึกษาเรื่องที่เราสงสัยไว้
แล้วหรือไม่ เพราะบางครัง้ ในอดีตอาจจะมีคนที่สงสัยในเรือ่ งหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกับเรา เราก็อาจจะทางานวิจัยของเราเพิ่มเติมจากสิง่ ที่คนอื่น
ได้เคยทาไปแล้วในอดีต งานวิจัยในอดีต ตลอดจนตาราหรือเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ เราเรียกว่า วรรณกรรม (Literature) หรือบางทีอาจจะ
เรียกว่า “งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง” ก็ได้
8. Designing Research = การออกแบบการวิจัย เป็นขั้นตอนทีผ่ ู้วิจัยพิจารณาเพือ่ เลือกวิธีการในการทีจ่ ะเก็บข้อมูลหรือเลือก
เครือ่ งมือต่าง ๆ ที่จะนำไปเก็บข้อมูล เช่น การใช้วิธีการสัมภาษณ์ การเก็บแบบสอบถาม การสนทนากลุม่ เป็นต้น
9. Conclusion = การสรุปผล
10. Approach =แนวการวิเคราะห์ หรือ กรอบการวิเคราะห์ เป็นเครื่องมือในการมองปรากฏการณ์ ซึง่ เปรียบเสมือนแว่นตาที่ใช้
การมองดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ วิธีการมองปรากฏการณ์ใด ๆ โดยผ่านกรอบการวิเคราะห์นั้นมันจะเหมือนกับการใส่แว่นสีต่างๆ
หรือด้วยเลนส์ขนาดต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เรามองเห็นปรากฏการณ์นั้นชัดขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ทาง
การเมืองด้วย ทั้งนีเ้ พราะกรอบการวิเคราะห์หนึง่ จะมาพร้อมกับวิธีการวิจัยหรือวิธีการศึกษาปรากฏการณ์โดยอัตโนมัติ
11. Historical Approach = แนวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ มีสมมติฐานว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมี
ที่มาจากพัฒนาการที่คลี่คลายตามลาดับเหตุการณ์อันเชื่อมโยงมาจากเหตุการณ์ทสี่ าคัญ ๆ ก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักรัฐศาสตร์ที่ศึกษา
ปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ตามช่วงเวลาในอดีตหรือปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของเหตุการณ์ก่อน
Page |2

หน้าในช่วงยาว แล้วพิจารณาดูว่าเหตุการณ์ไหนเป็นเหตุการณ์ตั้งต้นที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น พัฒนาการป้องกัน


และปราบปรามการทุจริตในสังคมไทย เป็นต้น
12. Group Approach = แนวการวิเคราะห์เชิงกลุม่ ผลประโยชน์ เกิดขึ้นมาจากนักรัฐศาสตร์ที่ชื่อ Arthur F. Bentley โดยเขา
เสนอว่า พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคนนั้นไม่ได้มีบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด คนแต่ละคนจะมีบทบาทได้นั้น คนต้อง
ร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียกร้องหรือต่อต้านต่อระบบการเมืองพฤติกรรมของแต่ละคนนั้นเมื่ออยู่คนเดียวก็จะมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง
แต่เมื่อไปอยูร่ วมกลุ่ม มนุษย์แต่ละคนก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของกลุม่ การเมืองในพรรคพลังประชารัฐ
เป็นต้น
13. Institutionalism/Institutional Approach = แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่อง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองและสถาบันทางการเมือง
ต่าง ๆ เป็นตัวกาหนดให้เกิดพฤติกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ออกมา ซึ่งแนวการวิเคราะห์นี้เลือกที่จะศึกษาเป็นรายประเทศ หรือนำ
สองประเทศหรือหลายประเทศมาทำการเปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง องค์กร และสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้นๆ มาร่วม
ด้วยก็ได้
14. Psychological Approach = แนวการวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (มีความเชื่อพื้นฐานว่าสาเหตุในการกระทำเรื่องใด ๆ ของ
มนุษย์ทุกคนนั้นมีทมี่ าจากปัจจัยในด้านจิตวิทยาเป็นหลัก ซึง่ มองว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่างๆ เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความคิดเห็น
มุมมองทางการเมือง ค่านิยม ที่กอ่ ให้เกิดพฤติกรรมทางการเมือง เช่น การตัดสินใจของผูม้ าลงคะแนนเสียงเลือกตัง้ การออกไป
ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ของกลุ่มเยาวชนปลดแอก เป็นต้น
15. Reporting = การนำเสนอรายงานการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้ข้อมูล และได้วิเคราะห์เพือ่ หาคาตอบของการวิจัยได้เรียบร้อยแล้ว
ผู้วิจัยก็จะต้องเขียนรายงานผลการวิจันออกมาเป็นรูปเล่ม เช่น วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ บทความที่ลงในวารสาร (วารสารทาง
วิชาการ และวารสารสาหรับประชาชนทั่วไป) บทความที่ลงในหนังสือพิมพ์ หรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนชนิดอื่น ๆ เป็นต้น
16. Interim Report = รายงานที่จัดทาขึ้นภายหลังจากทีไ่ ด้ดำเนินการวิจัยไปแล้วระยะหนึ่ง
17. Inception Report = การสรุปผลการดำเนินงาน หลังจากทีผ่ ู้วิจัยได้รับการอนุมัตหิ ัวข้อวิจัยและโครงร่างนำเสนอการวิจัย
โดยรายงานการวิจัยในขั้นต้นนี้ผู้วิจัยต้องแสดงให้เห็นถึงแผนการดำเนินงานในขั้นแรกหรือในช่วงเริ่มต้นตลอดจนรายละเอียดของการ
ปรับแก้ในส่วนต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาโครงร่างได้เสนอแนะไว้
18. Research Article = บทความวิจัย หรือบทความวิชาการที่ตีพมิ พ์ลงในวารสาร เป็นรายงานการวิจัยทีม่ ักมีความยาวอยู่ที่
ระหว่าง 15 – 25 หน้า ซึ่งวารสารทางวิชาการฉบับต่าง ๆ ได้รับการจัดประเภทโดยหน่วยงานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
(Thai-Journal Citation Index : TCI)
19. Appendix = ภาคผนวก เป็นส่วนที่ผู้วจิ ัยต้องการแสดงข้อมูลหรือส่วนขยายเพิม่ เติมของรายงานการวิจัยให้มีความสมบูรณ์มาก
ยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติหรือเนื้อความจากกฎหมายฉบับเต็ม แบบสอบถามหรือบทสัมภาษณ์ รายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ข้อมูล หรือตารางแสดงตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น
20. Pure Research = การวิจัยบริสุทธิ์ เป็นการวิจัยทีม่ จี ุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งเป็นการวิจยั ในทางเชิง
ทฤษฎีต่าง ๆ เช่น การวิจัยเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครอง, การวิจัยเรื่องความยุติธรรมในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
21. Qualitative Research = การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยของข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ทัศนคติทาง
การเมือง บทบาททางการเมือง ความเชื่อในเรือ่ งต่างๆ ความคิดทางการเมือง ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
22. Quantitative Research = การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยของข้อมูลที่สามารถจะวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ และหา
ความสัมพันธ์ ระหว่างค่าตัวแปรนั้น ๆ โดยใช้เครื่องมือทางสถิติมาศึกษาปรากฏการณ์ เช่น ระดับรายได้ ระดับการศึกษา อัตราการ
อ่านออกเขียนได้ของประชาชน มีผลต่อการที่ประเทศหนึ่ง ๆ มีระดับของความเป็นประชาธิปไตยได้มากน้อยแค่ไหน โดยคิดออกมา
เป็นเปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
Page |3

23. Descriptive Research = การวิจัยเชิงพรรณนา การวิจัยที่มุ่งค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยการ วิจัยเช่นนี้ไม่ต้องการที่จะ


ตอบคำถามประเภทว่าอะไรเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่ง หรือ ปรากฏการณ์ทางการเมืองหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นมาได้
อย่างไร มีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิด
24. Deductive = การนำเสนอข้อมูลแบบนิรนัย หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย เช่น อสูรทุกคนกลัว
แสงแดด เนซิโกะเป็นอสูร เนซิโกะจึงกลัวแสงแดด
25. Inductive = การนำเสนอข้อมูลแบบปรนัย หมายถึง การนำเสนอข้อมูลจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เช่น เอเรนชาวเกาะ
พาราดีเป็นไททัน ชาวเกาะพาราดีทุกคนเป็นไททัน
26. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
1. In-Depth Interview = การสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบเพือ่ ให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
2. Observation = การสังเกต เป็นการเฝ้าดูสิ่งทีเ่ กิดขึ้นหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเอาใจใส่และ กำหนดไว้อย่างมี
ระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิง่ ทีเกิดขึ้นนั้นกับสิง่ อื่น
3. Questionnaire = แบบสอบถาม เป็นเครือ่ งมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ถูกนำมาใช้อย่างมาก ทัง้ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ
และการวิจัยเขิงปริมาณ ซึ่งจะเป็นรายการของคำถามที่ถูกจัดหมวดหมูอ่ ยู่ในหัวข้อเดียวกัน เป็นการรวบรวมคำถามอย่างระบบใน
การลงไปยังตัวอย่างเพื่อให้ได้มาซึง่ ข้อมูลที่ต้องการ โดยข้อมูลที่รวบรวมมาในแบบสอบถามจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น
ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก และความสนใจต่าง ๆ ของผู้ตอบ
4. Focus Group = การสัมภาษณ์กลุ่ม การสอบถามผูร้ ู้โดยวิธีการสนทนากลุ่ม
27. Moderator = ผู้ดาเนินการสนทนา
28. Research Proposal = โครงร่างการวิจัย ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. สภาพปัญหารือที่มาของปัญหา (Problem Statement)
3. คำถามในการวิจัย (Research Question)
4. วัตถุประสงค์ในการวิจัย (Objective)
5. สมมติฐาน (Hypothesis)
6. การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีทเี่ กี่ยวข้องกับ การวิจยั (Review Literature) ตลอดจนสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย
(Conceptual Framework)
7. ขอบเขตของการวิจัย (Scope)
29. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. Observation and Problem Identification = การสังเกตและระบุปัญหา เป็นการรับรูผ้ ่านประสาท
สัมผัสทัง้ 5 และเกิดความสงสัยจนนาไปสู่การตั้งคาถามการวิจัย
2. Assumption /Hypothesis = การตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นตอนหลังจากตัง้ คาถามการวิจัยแล้ว นักวิจัยจะต้อง
คาดเดาคำตอบล่วงหน้า ถ้าไม่ทาจะไม่สามารถกาหนดแนวทางในการค้นหาคำตอบได้
3. Data Collection = การเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต, การเก็บข้อมูลจากเอกสาร
ขั้นต้น, การสอบถามผูร้ ู้โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
4. Data Analysis = การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำข้อมูลมาจัดเรียงหรือพิจารณาว่าข้อมูลดิบที่ได้นั้นสามารถ
นำมาใช้ตอบคาถามได้หรือไม่
5. Conclusion = การสรุปผล เป็นการนาคาตอบที่ค้นพบได้มากล่าวอย่างย่อ ๆ ซ้าอีกรอบหนึง่
Page |4

30. การวิจัยทางรัฐศาสตร์ มี 7 ขั้นตอน สรุปได้ดังนี้


1. การกำหนดปัญหาการวิจัย (Research Question) เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทาซึ่งในทางปฏิบัติเราจะต้องตั้งคำถามการ
วิจัยก่อนที่เราจะต้องการหาคำตอบ
2. การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) คือ การไปศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. การตั้งสมมติฐาน (Assumption/Hypothesis) คือคำตอบที่เราตอบไว้ล่วงหน้าก่อนที่เราจะทำการหาคำตอบ
4. การออกแบบการวิจัย (Design Research) เมื่อท่านได้ออกแบบการวิจัยเสร็จแล้ว จะต้องเขียนโครงร่างการวิจัย
เพื่อขอสอบหัวข้อหรือสอบขออนุญาตในการทาวิจัยก่อนที่จะทาการเก็บข้อมูลได้
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) โดยจะต้องบันทึกที่ได้รับและใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ เพี่อที่จะ
ง่ายเมื่อจะต้องนำมาประมวลข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เพื่อหาคำตอบของการวิจัย
7. การจัดทาและนาเสนอรายงานการวิจัย (Reporting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยต้องเขียนรายงานผลการวิจัยออก
มากเป็นรูปเล่มและทาการเผยแพร่ผลการวิจัยด้วย
31. การเขียนรายงานการวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ดังนี้
บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสาคัญของปัญหา คาถามของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย (หรือ
“สัญญา” ของการวิจัย) สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ข้อตกลง
เบื้องต้น (ถ้ามี) อุปสรรคและข้อจากัดของการวิจัย (ถ้ามี) และนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย การทบทวนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) การทบทวน
แนวคิด ทฤษฎี เอกสารหรืองานวิจัยทีเ่ กี่ยวข้องและกรอบแนวคิดของการวิจัย
บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัยหรือ “ระเบียบวิธีวิจัย” (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากรและการเลือก
กลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการ
รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4 ผลการศึกษาหรือ “ผลการวิจัยและผลการวิเคราะห์ข้อมูล” โดยการเปรียบเทียบข้อมูลหรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือ
ในการวิเคราะห์
บทที่ 5 สรุปผล การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
32 Plagiarism = การคัดลอกผลงานโดยไม่มีการอ้างอิง
33. Internal Scale = เป็นมาตรวัดที่สามารถกำหนดช่วงห่างของความแตกต่างได้อย่างแน่นอน บอกความแตกต่างระหว่างกลุ่มได้
สามารถนาข้อมูลมาเปรียบเทียบและคำนวณได้ และยังสามารถบวกและลบกันได้ แต่ ศูนย์ของข้อมูลประเภทนีเ้ ป็นศูนย์สมมติ ไม่มี
ศูนย์แท้ เช่น ระดับของอุณหภูมิ คะแนนสอบ IQ เป็นต้น
34. Ratio Scale = เป็นการวัดทีม่ ีคุณสมบัติของมาตรวัดแบบช่วงทุกประการ แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นทีศ่ ูนย์แท้หรือ
ศูนย์ที่แท้จริง เช่น อายุ น้าหนัก ความสูง เงินเดือน รายได้ เป็นต้น
35. Antecedent Variables = ตัวแปรนำ เป็นสาเหตุของตัวแปรอิสระที่จะทำให้เกิดตัวแปรตาม ลักษณะของตัวแปรนำจะมา
ก่อนตัวแปรอิสระและทำให้เกิดตัวแปรตาม ถ้าไม่มีตัวแปรนำจะทำให้ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
36. Intervening Variables = ตัวแปรแทรกซ้อน เป็นผลของตัวแปรอิสระที่จะทำให้เกิดตัวแปรตามลักษณะของตัวแปรแทรก
ซ้อนจะอยู่ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ถ้าไม่มีตัวแปรแทรกซ้อนจะทำให้ไม่มี ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและ
ตัวแปรตาม ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจะต้องส่งผ่านตัวแปรแทรกซ้อน
37. Extraneous Variables = ตัวแปรภายนอก เป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
โดยลัก ษณะของตัวแปรภายนอกจะมีความเกี่ยวข้องกับ ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ถ้าไม่ มีตัวแปรภายนอกจะทำให้ไม่มี
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
Page |5

38. Suppressor Variables = ตัวแปรกด เป็นตัวแปรที่ทำให้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ทั้ง ๆ ที่มี


ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามอยู่ ถ้าไม่มีตัวแปรประเภทนี้จะทำให้พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
39. การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) แบ่งเป็น 2 วิธีคือ
1. การกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
(Simple Random Sampling), การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling), การสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภทสุ่ม
(Stratified Sampling), การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นกลุ่ม (Cluster Sampling) เป็นต้น
2. การกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) เช่น การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ
(Accidental Sampling), การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling), การเลือกตัวอย่างโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญระบุ
(Expert Choice Sampling) เป็นต้น
40. สมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political Science Association : APSA) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1908 โดยนักรัฐศาสตร์
อเมริกันเริม่ มองว่า วิธีการศึกษาแบบเก่า หรือการศึกษาเชิงโครงสร้าง ไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ ดังนั้นการศึกษา
ในยุคนี้จึงเป็นการเริ่มกรุยทางไปสู่ศักราชใหม่ของรัฐศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์การเมือง อย่างไรก็ตาม วิธีการศึกษาแบบเก่าคือ
สถาบันนิยม ยังคงมีอิทธิพลอยู่ เพียงแต่เริ่มมีการท้าทายจากวิธีการศึกษาแบบอเมริกัน
41. ยุคคลาสสิค (Classical) เป็นยุคแรกเริ่มของการศึกษาการเมืองไม่มีการแยกสาขาของความรู้ โดยถือกำเนิดจากยุคกรีกซึ่งเกิด
จากคำถามพื้นฐานของมนุษย์ร ับ และผู้มีอ ำนาจ เช่น ผู้น ำที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไรการเมืองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร ฯลฯ
ซึ่งความเป็นสากลของคาถามพื้นฐานเหล่านี้สามารถตั้งคาถามชุดเดียวกัน โดยไม่จำกัดกรอบเวลาหรือวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกัน
ก็สามารถมีคำตอบได้หลากหลาย ดังนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้จึงมีลักษณะเป็นการศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political
Philosophy Approach)
42. ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Period) เป็นยุคที่ปรากฏในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1950-1960) ซึ่งพบว่าการ
วิจ ัยในทางรัฐศาสตร์นั้นมีล ัก ษณะเป็นแบบ “ปฏิฐานนิยม” (Positivism) และยัง เน้น การทานายพฤติก รรมทางการเมือง
การตัดสินใจในทางการเมือง ดังนั้นการศึกษาในยุคนี้จึงเป็นการศึกษาแบบมุ่ง ทำนาย ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า
ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์ถูกเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การเมือง” (Political Science) เพราะต้องการเน้นย้าให้เห็นว่าเป็นวิธีการศึกษาแบบ
วิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การศึกษาจิตวิทยาผู้นำทางการเมือง พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นต้น
43. ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ (Post-Behavioral Period) เป็นยุคของการศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันคือยุคตั้งแต่ทศวรรษ 1970
เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันในยุคนี้ถือเป็นยุคแห่งการกลับมาของการศึกษาแบบเดิมที่ ถูกละทิ้งและไม่ให้ความสนใจจากการพยายาม
ครอบงำของพวกพฤติกรรมศาสตร์การศึกษาแบบปรัชญาการเมืองและการศึกษาแบบสถาบันจึงได้เริ่มกลับมาได้รับความสนใจและ
ทำการศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง นักวิชาการบางคนจะเรียกยุคดังกล่าวว่า ยุคย้อนกลับแห่งการศึกษาการเมืองแบบยุโรป (Period of Re-
Europeanization)
44. Positivism = แนวคิดสำนักปฏิฐานนิยม เป็นแนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีความเชื่อว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติสามารถอธิบายได้ด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
โดยความรู้จะเข้าสู่จิตใจของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัสและมนุษย์จะเก็บ ความรู้นั้นไว้ในรูปของความจาและความจาจะสามารถ
ผสมผสานหรือรวมกันได้โดยใช้จินตนาการ ในแง่ของญาณวิทยาพบว่าวิธีการแสวงหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมเป็นวิธีการแสวงหา
ความรู้แบบวิทยาศาสตร์หรือแบบสมัยใหม่นั่นเอง
-การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพือ่ เก็บข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์
ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของข้อมูล แต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สงั เกตเห็นได้ง่าย
-การวิจัยเชิงสังเกต (Observatory Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยนั้นจะเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการ
ศึกษา เช่น การเข้าไปสังเกตการณ์ชุมนุมทางการเมืองของม็อบทะลุฟ้า เป็นต้น
Page |6

-การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยแบบหนึ่งที่ใช้ข้อมูลจากเอกสารสื่อสิง่ พิมพ์ต่างๆ หรือสื่อข้อมูล


ทางอินเตอร์เน็ต เช่น หนังสือพิมพ์ เอกสารราชการ หนังสือ ตารา บทความต่าง ๆ คลิป YouTube เป็นต้น
-การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มจี ุดมุ่งหมายเพื่อนาไปใช้ ซึ่งเป็นการวิจัยตลาด การวิจัยเพื่อพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ หรือการวิจัยเพือ่ แก้ปญ
ั หาต่าง ๆ เช่น การวิจัยเพือ่ แก้ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตัง้ เป็นต้น

You might also like