Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

การผลิตถ่านชีวภาพ (Biochar)

จัดทาโดย
ฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชนบท
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
คานา
ถ่านชีวภาพ มีค วามหมายต่า งจากถ่า นทั่ วไป (charcoal) ตรง
จุดมุ่งหมายการใช้ประโยชน์ คือถ่านทั่วไปจะหมายถึงถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ขณะที่ไบ
โอชาร์คือถ่านที่ใช้ประโยชน์เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงในดินและปรับปรุงสภาพทางกายภาพ
ของดิน เนื่องจากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพ คือมีรูพรุนตามธรรมชาติเมื่อใส่ลงในดินจะ
ช่วยการระบายอากาศ การซึมน้า การอุ้มน้า ดูดยึดธาตุอาหาร เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ลด
ความเป็นกรดของดิน นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น ทาให้ประหยัดการ
ใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่ระดับ
เกษตรกร ครัวเรือน ชุมชนและองค์ส่วนท้องถิ่น
ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิต
จาก ชีวมวล (Biomass, วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เหง้ามันสาปะหลัง ฟางข้าว ซัง
ข้าวโพด กิ่งไม้ เป็นต้น) ผ่านกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อนโดยไม่ใช้ออกซิเจน
หรือใช้น้อยมาก (ไพโรไรซิส, Pyrolysis) ซึ่งมีสองวิธีหลักๆ คือการแยกสลายอย่างเร็ว
และอย่างช้า การผลิตถ่านชีวภาพด้วยวิธีการแยกสลายอย่างช้าที่อุณหภูมิเฉลี่ย 500
องศาเซลเซียส จะได้ผลผลิตของถ่านชีวภาพมากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่ง
ต่างจากวิธีการแยกสลายอย่างเร็วที่อุณหภูมิเฉลี่ย 700 องศาเซลเซียส ซึ่งใช้เวลาเป็น
วินาที ผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ามันชีวภาพ (bio-oil) 60% แก๊สสังเคราะห์ (syngas) 20%
และถ่านชีวภาพ 20%
ในการผสมถ่านที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้ลงไปในดิน ท่านยังได้มีบทบาท
ในการช่วยลดภาวะโลกร้อน เนื่องจากถ่านชีวภาพเป็นคาร์บอน มีความทนทานต่อการ
ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์และสูญหายไปจากดินได้ยาก ดังนั้นจึงสะสมอยู่ในดิน เป็นการ
เพิ่มคาร์บอนให้แก่ดินแทนที่จะเผากลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศอันเป็น
ตัวการหนึ่งของภาวะโลกร้อน
ถ่านชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ย แต่ลักษณะถ่านที่เป็นรูโพรงเมื่อนาถ่านมาผสมกับปุ๋ย
หมักหรือปุ๋ยคอก รูโพรงนี้เมื่ออยู่ในดินจะช่วยเก็บธาตุอาหารจากปุ๋ย และเป็นที่อยู่ของ
จุลินทรีย์ ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้นาน ซึ่งจะช่วยให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลง
ได้
ถ่ า นชี ว ภาพหรื อ ไบโอชาร์ นั้ น ได้ รั บ การพิ จ ารณาจากนั ก วิ ท ยาศาสตร์
ทั้งหลายให้เป็นเสมือนทองสีดาของชาวเกษตรกรรม ด้วยคุณสมบัติที่มีสารคาร์บอนสูง
และมีรูพรุนตามธรรมชาติช่วยให้ไบโอชาร์สามารถอุ้มน้าและธาตุต่างๆรวมถึงการป้องกัน
จุ ลิ น ทรี ย์ ที่ อ ยู่ ใ นดิ น อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น การเพิ่ ม การย่ อ ยสลายและแยกก๊ า ซคาร์ บ อนได -
ออกไซด์เอาไว้ ในดิน ในขณะที่ไบโอชาร์ทาหน้าที่เสมือนกับอ่างคาร์บอนธรรมชาติ ไบ
โอชาร์ช่วยในการทาความสะอาดอากาศได้ 2 ทาง คือ การป้องกันการปล่อยก๊าซ
คาร์ บ อนไดออกไซด์ ข องสารชี ว ภาพขึ้ น สู่ ชั้ น บรรยากาศ ช่ ว ยให้ พื ช ดู ด ก๊ า ซ
คาร์บอนไดออกไซด์ อย่างช้าๆในขณะที่พืชสังเคราะห์แสง

การผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) 1
ประโยชน์ของถ่านชีวภาพ
1) ช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นการบรรเทาการเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศเนื่องจากถ่านชีวภาพสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศใน
ระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บคาร์บอนในดิน
2) ช่วยปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเนื่องจากเมื่อนาถ่าน
ชีวภาพลงดิน ลักษณะความเป็นรูพรุนของถ่านชีวภาพจะช่วยกักเก็บน้าและอาหารในดิน
และเป็ นที่ อ ยู่ ใ ห้ กับ จุ ลิ น ทรี ย์ ส าหรั บ ท ากิ จ กรรมเพื่ อ สร้ า งอาหารให้ ดิ น เมื่ อ ดิ นอุ ด ม
สมบูรณ์จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
3) ช่ ว ยผลิ ต พลั ง งานทดแทนซึ่ ง เป็ น พลั ง งานทางเลื อ กเนื่ อ งจาก
กระบวนการผลิตถ่านชีวภาพจากมวลชีวภาพเป็นการแยกสลายด้วยความร้อนจะให้
พลังงานชีวภาพที่สามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อการขนส่งและในระบบอุตสาหกรรม
ได้ อาทิ เชื้อเพลิงชีวภาพ และยังสามารถได้รับการพัฒนาเพื่อการพาณิชย์ในด้านต่างๆ
เช่น กระแสไฟฟ้า การสกัดสารชีวภาพ และองค์ประกอบของยา ฯลฯ
4) ช่วยในกระบวนการจัดการของเสีย ประเภทอินทรี ยวัตถุไ ด้เนื่องจาก
เทคโนโลยีถ่านชีวภาพมีศักยภาพในการกาจัดของเสียโดยเฉพาะการกาจัดกลิ่นทาให้เกิด
สิ่งแวดล้อมเป็นมิตรได้
5) ช่วยแก้ปัญหาความยากจนเนื่องจาก ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นซึ่ง
จะช่วยเพิ่มรายได้ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเกษตร เพิ่มธาตุ
อาหารในดินซึ่งจะช่วยลดค่าจ้างในการไถดิน และนามาจัดทาโครงการกลไกการพัฒนาที่
สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM)

โครงการลดคาร์บอน (Carbon Minus Project) ในประเทศไทย


เนื่อ งจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ
การเกษตร และโครงการลดคาร์บอนเป็นโครงการที่ประสบความสาเร็จในประเทศญี่ปุ่น
ดังนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงทาโครงการลดคาร์บอนนาร่องร่วมกับประเทศญี่ปุ่น
โดยเริ่มดาเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยมี รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร นักวิชาการจาก
ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ด าเนิ น การวิ จั ย ร่ ว มกั บ สถาบั น ทางวิ ท ยาศาสตร์ ข องญี่ ปุ่ น ในเรื่ อ งพั น ธุ์ ข้ า วเน้ น การ
ปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อควบคุมการใช้น้า หากสามารถควบคุมได้ คาดว่า จะช่วยลดการ
ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไนตรัสออกไซด์สู่บรรยากาศลดลงซึ่งจะเป็นการช่วย

การผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) 2
ลดก๊า ซเรื อ นกระจกและภาวะโลกร้อ นได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ พบว่า มี เ กษตรกร
บางส่วนยังขาดความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน
การเกษตร ทาให้ที่ผ่านมา เกษตรกรจะเผาฟางข้าวเพื่อจะทานาในรอบต่อไปแทนการไถ
กลบหรือใช้ถ่านชีวภาพในดิน ทั้งๆที่มีผลการประเมินการใช้ถ่านชีวภาพจากฟางข้าวและ
เหง้ามันสาปะหลังเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและความยากจนแล้วก็ตาม

การฝังกลบถ่านชีวภาพในดิน
ถ่านชีวภาพ (Biochar) คือ วัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากมวลชีวภาพ
(Biomass) ที่ผ่านกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อนโดยไม่ใช้ออกซิเจน (Pyrolysis)
ที่อุณหภูมิเกิน 300 องศาเซลเซียส การใช้ถ่านชีวภาพ (Biochar) กักเก็บคาร์บอนลงดิน
เพื่อตัดวงจรการกลับสู่ชั้นบรรยากาศของ CO2 หรือที่เรียกว่าเทคโนโลยีในการ Carbon
Negative Technology มีเครือข่าย Biochar ทั่วโลก อาทิ Biochar Europe The UK
Biochar Research Centre (UKBRC) ICHAR Italian Biochar Association
Australia and New Zealand Biochar และ Japan Biochar Association สาหรับ
ประเทศไทยได้มีการทดลองทาถ่านชีวภาพแล้วเช่นกันโดยนาถ่านชีวภาพมาใช้ในการ
ปลูกเมล็ดทานตะวันและมีผลพลอยได้เป็นถ่าน หรือน้ามัน ,น้าส้มควันไม้ หรือน้ายาไล่
แมลงสัตรูพืช และแก๊สหุงต้ม พร้อมกับการกาจัดขยะในเตาเดียวกัน
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็น
ปริมาณมหาศาล วิธีจัดการกับวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ของเกษตรกร คือการนาไปทิ้งไว้เพื่อให้
ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ หรือ เผาทิ้ง ซึ่งทั้ง 2 วิธี ล้วนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
โดยการทิ้งไว้ให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติจะก่อให้เกิดเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ทั้งการ
ย่ อ ยสลายจะก่ อ ให้ เ กิ ด ก๊ า ซมี เ ทนซึ่ ง มี ก ลิ่ น เหม็ น ส่ ว นการเผาจะก่ อ ให้ เ กิ ด ก๊ า ซ
คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นสาเหตุที่สาคัญทาให้เกิดภาวะโลกร้อนโดยเฉพาะ
เปลือกทุเรียน เป็นวัสดุที่มีกลิ่นเฉพาะตัว และมีแมลงวันตอมเป็นจานวนมาก หากปล่อย
ทิ้งไว้ก็จะทาให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา
ถ้าหากสามารถนาวัสดุเหล่านี้มาผ่านกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อน
อย่างช้าๆ ในภาวะปราศจากออกซิเจน ทาให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนถ่านไม้ มี
คาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลัก ไบโอชาร์ที่ผลิตได้เป็นพลั งงานสะอาดด้วยมีปริมาณ
ไนโตรเจนและเถ้าปริมาณน้อย คาร์บอนที่ได้จากกระบวนการเผาไบโอชาร์ มีความเสถียร
โบโอชาร์มีลักษณะเป็นเม็ดละเอียด มีความพรุนสูง และเป็นของแข็งที่มีความคงตัว

การผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) 3
จากลั ก ษณะดั ง กล่ า ว น่ า จะสามารถน ามาพั ฒ นาเป็ น วั ส ดุ ป รั บ ปรุ ง ดิ น
เนื่องจากลักษณะความเป็นรู พรุนของไบโอชาร์จะช่วยกักเก็บน้า และอาหารในดิน และ
เป็นที่อยู่ให้กับจุลินทรีย์สาหรับทากิจกรรมเพื่อสร้างอาหารให้ดิน เมื่อดินอุดมสมบูรณ์จะ
ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น นอกจากไบโอชาร์แล้ว ยังมี ไบโอออย และไบโอ
ก๊าซ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อนอีกด้วย ซึ่งสามารถจะ
นามาเป็นพลังงานทางเลือกได้อีกทางหนึ่ง จากการนาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาผ่าน
กระบวนการเตรียมตัวอย่าง แล้วผ่านกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อน โดยทาการเผา
แบบไร้ออกซิเจนอย่างช้าๆ ผลจากการเผาทาให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็นของแข็งสีดา เหมือน
ถ่านไม้ ดังนี้

ภาพ ก่อนผ่านกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อน

ภาพ หลังผ่านกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อน

การผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) 4
ขั้นตอนทาถ่านไบโอชาร์อย่างง่าย

1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเผาให้พร้อมใช้งาน 2. ใส่วัสดุที่จะเผาเป็นถ่านไบโอชาร์ลงในถังสี

3. คว่าถังสีไว้ตรงกลางเตาโดยมีอิฐวางรองเป็นฐาน 4. ใส่ขยะที่จะเผาในเตารอบๆ จุดไฟเผา

5. ถ่านไบโอชาร์ที่ได้

การผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) 5
การใช้ถ่านชีวภาพในการเกษตร
เตรียมถ่ายชีวภาพเพือ่ ลงดินมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ทาให้ถ่านชีวภาพมีขนาดเล็กที่สุด โดยเฉลี่ยไม่ใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร
เพื่อให้คลุกเคล้าเข้ากับดินได้ง่าย หากขนาดถ่านใหญ่เกินไปจะเป็นอุปสรรคต่อรากพืชใน
การเจริญเติบโต อาจใช้วิธีการทุบหรือบีบให้แตก ดังรูป

2. ผสมถ่านชีวภาพกับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 50% โดย


น้าหนัก คลุกให้เป็นเนื้อเดียวกันนาถ่านชีวภาพผสมปุ๋ยหมักไปโรยลงดิน ในขั้นตอนการ
เตรียมดินก่อนปลูกพืช รดน้าให้ชุ่มเพื่อให้ถ่านชีวภาพดูดซึมน้า แล้วพรวนดินให้ลึก 10-
20 เซนติเมตร ทาการรดน้าให้ชุ่มอีกครั้ง

การผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) 6
ข้อควรระวังจากการใช้ถ่านชีวภาพ
1. เมื่อเผาถ่านชีวภาพออกมาแล้วไม่ควรใช้งานทันที ต้องเอาไปหมักกับปุ๋ย
หมักประมาณ 2-3 เดือน เพื่อให้ถ่านชีวภาพมีการแยกธาตุอาหารเป็นเชิงเดี่ยวทั้งหมด
ก่อน จะได้สะดวกกับพืชในการดูดไปใช้งาน
2. ในปีแรกของการใช้ถ่านชีวภาพอาจเห็นผลน้อ ย เพราะเป็นช่วงที่
จุลินทรีย์กาลังแย่งรูพรุนกันอยู่ จึงไม่มีเวลาทางานเต็มที่ แต่เมื่อผ่านไปสักระยะทุกอย่ าง
ลงตัว การทางานของจุลินทรีย์จะเริ่มขึ้น
3. วัตถุดิบที่ใช้ทาถ่านชีวภาพให้คุณสมบัติในการบารุงดินที่แตกต่างกัน
บางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีคุณสมบัติเป็นด่าง ผู้ใช้ต้องศึกษาทดลอง
เรีย นรู้ ด้วยตนเอง แต่หากต้อ งการทดสอบสามารถนาถ่านชีวภาพที่ ได้ไปทดสอบกับ
กระดาษลิสมัตตรวจสอบความเป็นกรด – ด่าง 2 ช่วงคือ ตรวจสอบทันทีที่เผาถ่านเสร็จ
และอีกช่วงคือหลังจากหมักถ่านผ่านไปแล้ว 3 เดือน
4. ก่อนนาถ่านชีวภาพไปใช้ต้องบดให้ละเอียดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ดูดซับ แต่ทั้งนี้ต้องระวังฝุ่นเข้าปอดคนบดด้วย เพราะฝุ่นถ่านชีวภาพสะสมในร่างกายได้
นานหลายร้อยปี ดังนั้นก่อนบดจึงต้องพรมน้าถ่านให้เปียกก่อน

การผลิตถ่านชีวภาพ (biochar) 7

You might also like