Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 148

ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับ

แรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์


จังหวัดชลบุรี

โสภิตตา แสนวา

วิทยานิพนธ์น้ ีเป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสู ตรสาธารณสุ ขศาสตรมหาบัณฑิต


คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
2565
ลิขสิ ทธิ์เป็ นของมหาวิทยาลัยบูรพา
ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับ
แรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์
จังหวัดชลบุรี

โสภิตตา แสนวา

วิทยานิพนธ์น้ ีเป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสู ตรสาธารณสุ ขศาสตรมหาบัณฑิต


คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
2565
ลิขสิ ทธิ์เป็ นของมหาวิทยาลัยบูรพา
EFFECT OF FALL PREVENTION PROGRAM BASED ON HEALTH BELIEF MODEL AND
SOCIAL SUPPORT ON FALL PREVENTION BEHAVIORS AMONG THE
ELDERLY IN KOCHAN DISTRICT CHONBURI PROVINCE

SOPITTA SAENWA

A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF


THE REQUIREMENTS FOR THE MASTER DEGREE OF PUBLIC HEALTH
FACULTY OF PUBLIC HEALTH
BURAPHA UNIVERSITY
2022
COPYRIGHT OF BURAPHA UNIVERSITY
4

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์และคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ได้พิจารณา
วิทยานิพนธ์ของ โสภิตตา แสนวา ฉบับนี้แล้ว เห็นสมควรรับเป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยบูรพาได้

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
อาจารย์ที่ปรึ กษาหลัก
ประธาน
(ดร.นิภา มหารัชพงศ์) (รองศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี รอดจากภัย)
กรรมการ
(ดร.นิภา มหารัชพงศ์)
กรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์)
กรรมการ
(ดร.วัลลภ ใจดี)

คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์
(รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี รอดจากภัย)
วันที่ เดือน พ.ศ.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา อนุมตั ิให้รับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็ นส่ วนหนึ่งของ


การศึกษาตามหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยบูรพา

คณบดีบณ
ั ฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ ดร.นุจรี ไชยมงคล)
วันที่ เดือน พ.ศ.

บทคัดย่อภาษาไทย

62920270: สาขาวิชา: -; ส.ม. (-)


คาสาคัญ: ผูส้ ู งอายุ/ การพลัดตกหกล้ม/ พฤติกรรมป้ องกันพลัดตกหกล้ม/ โปรแกรมป้องกันการ
พลัดตกหกล้ม
โสภิตตา แสนวา : ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผน
ความเชื่อด้านสุ ขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุ
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. (EFFECT OF FALL PREVENTION PROGRAM BASED ON
HEALTH BELIEF MODEL AND SOCIAL SUPPORT ON FALL PREVENTION BEHAVIORS
AMONG THE ELDERLY IN KOCHAN DISTRICT CHONBURI PROVINCE ) คณะกรรมการควบคุม
วิทยานิพนธ์: นิภา มหารัชพงศ์ ปี พ.ศ. 2565.

การศึกษาวิจยั ครั้งนี้เป็ นการวิจยั แบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัด


ตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างเป็ นสมาชิกชมรม
ผูส้ ู งอายุที่มีอายุ 60-70 ปี ของชมรมผูส้ ู งอายุในอาเภอเกาะจันทร์ สุ่ มอย่างง่ายเลือก ชมรมผูส้ ู งอายุเทศบาล
ตาบลเกาะจันทร์เป็ นกลุ่มทดลอง จานวน 30 คน และชมรมผูส้ ู งอายุเทศบาลเมืองปรกฟ้าเป็ นกลุ่มควบคุม
จานวน 32 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มที่ประกอบด้วยกิจกรรม ส่ งเสริ ม
การรับรู ้โอกาสเสี่ ยง การรับรู ้ความรุ นแรง การรับรู ้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหก
ล้ม การพัฒนาการรับรู ้ความสามารถตนเอง และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม เก็บรวบรวมข้อมูลโดย
ใช้แบบสัมภาษณ์ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผลในระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม
2564 วิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยสถิติ Paired samples t-test และ Independent samples t-test
ผลการวิจยั พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพ แรง
สนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มสู งกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนยั สาคัญทาง
สถิติ (p < .05) และเมื่อเปรี ยบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยแรงสนับสนุนทางสังคม
และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มสู งกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ (p < .05) การศึกษา
นี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มที่ประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพและ
แรงสนับสนุนทางสังคม ส่ งผลทาให้ผสู ้ ู งอายุมีพฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มสู งขึ้น ดังนั้นบุคลากร
สาธารณสุ ขสามารถนาโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อส่ งเสริ มการป้องกันการหกล้มในผูส้ ู งอายุ

บทคัดย่อภาษาอัง ก ฤษ

62920270: MAJOR: -; M.P.H. (-)


KEYWORDS: ELDERLY/ FALL ELDERLY/ FALLING PREVENTION PROGRAM/ FALL
PREVENTION BEHAVIOR
SOPITTA SAENWA : EFFECT OF FALL PREVENTION PROGRAM BASED ON
HEALTH BELIEF MODEL AND SOCIAL SUPPORT ON FALL PREVENTION BEHAVIORS
AMONG THE ELDERLY IN KOCHAN DISTRICT CHONBURI PROVINCE . ADVISORY
COMMITTEE: NIPA MAHARACHPONG, Ph.D. 2022.

This quasi-experimental study aimed to study the effect of fall prevention program based
on health belief model and social support on fall prevention behaviors among elderly in Kochan District,
Chonburi Province. The study samples were elderly club members, aged 60-70 years. Simple random
sampling was used to select elderly club as an experimental group of 30 people (Kochan Subdistrict
Municipality elderly club) and a control group of 32 people (Prokfa Subdistrict Municipality elderly
club). The experimental group received fall prevention program consisting of activities promoting the
perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits and barriers, self-efficacy and social
support. Interviewing questionnaire were used to collect data in before the intervention, after the
intervention and follow up between July to October 2021. Descriptive statistics and Inferential statistics
were analyzed using Paired t-test, Independent t-test.
The results showed that, after the intervention, the experimental group had a mean score
on the health belief model, social support and fall prevention behaviors significantly higher than before
the intervention (p < .05). And, the experimental group had significantly increased mean scores on
social support scores and fall prevention behaviors higher than control group (p < .05). The finding of
this study could suggest that fall prevention programs based on health belief and social support enhance
fall prevention behaviors in elderly. Therefore, this program could be adopted by health personnel to
promote the fall prevention in the elderly.

กิตติกรรมประก าศ

กิตติกรรมประกาศ

วิท ยานิ พ นธ์ ฉ บับ นี้ ส าเร็ จลุล่ วงได้ด้วยความเมตตา ความกรุ ณ า และความช่วยเหลื อจาก
อาจารย์ ดร.นิ ภา มหารัชพงศ์ อาจารย์ที่ปรึ กษาวิทยานิพนธ์หลัก ที่ท่านได้ให้คาปรึ กษาและคาแนะนา
รวมทั้ง ชี้ แนะแนวทางในการค้น คว้า หาความรู ้ ต ลอดจนตรวจแก้ไ ขข้อ บกพร่ อ งต่ า ง ๆ อัน เป็ น
ประโยชน์ต่อการทาวิทยานิพนธ์ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ ด้วยความเอาใจใส่ อย่างดียงิ่ ตลอดมา ผูว้ ิจยั
ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็ นอย่างสูงไว้ ณ ที่น้ ี
กราบขอบพระคุ ณ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุ ว ดี รอดจากภัย ประธานกรรมการสอบ
วิทยานิ พนธ์ ศาสตราจารย์ ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ และอาจารย์ ดร.วัลลภ ใจดี กรรมการสอบ
วิทยานิพนธ์ ที่กรุ ณาตรวจสอบ แนะนาและแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้มีความสมบูรณ์มากยิง่ ขึ้น
กราบขอบพระคุ ณ ศาสตราจารย์ ดร.เอมอัช ฌา วัฒ นบุ รานนท์ ผูช้ ่ วยศาสตราจารย์ ดร.
เสาวนีย ์ ทองนพคุณ ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชนา ใจดี ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.นาฎนภา ปัชชาสุวรรณ
และนางรุ่ งอรุ ณ พรหมดวงดี ผูท้ รงคุณวุฒิที่เสี ยสละเวลาในการตรวจสอบคุณภาพเครื่ องมือและให้
คาแนะนาในการปรับปรุ งแก้ไขให้เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั มีคุณภาพมากขึ้น
กราบขอบพระคุณชมรมผูส้ ู งอายุเทศบาลตาบลเกาะจันทร์ และชมรมผูส้ ู งอายุเทศบาลเมือง
ปรกฟ้า ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์อนุญาตในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง และกราบขอบพระคุณ
เทศบาลตาบลเกาะจันทร์ ที่สนับสนุนและให้ความอนุเคราะห์ใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรมในการวิจยั
ครั้งนี้
กราบขอบพระคุณผูส้ ู งอายุท้ งั กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ให้ความร่ วมมือในการเข้าร่ วม
กิจกรรมเป็ นอย่างดี แม้อยู่ในช่ วงการระบาดของโรคติ ดเชื้ อไวรั ส โคโรนา (COVID-19) ทาให้การ
ศึกษาวิจยั ครั้งนี้สาเร็ จลุล่วงไปได้ดว้ ยดี
สุ ด ท้ายนี้ กราบขอบพระคุ ณ ผู ท้ ี่ ให้ ค วามช่ วยเหลื อ และให้ก าลังใจตลอดระยะเวลาของ
การศึกษา และการจัดทาวิทยานิ พ นธ์ทุกท่าน คุณค่าและประโยชน์อนั พึงมี จากวิท ยานิ พนธ์ฉบับ นี้
ผูว้ ิจยั ขอมอบเป็ นกตัญญุตาบูชาแด่ บิดา มารดา ครู อาจารย์ และผูม้ ีพระคุณทุกท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในความสาเร็ จครั้งนี้

โสภิตตา แสนวา

สารบัญ

หน้ า
บทคัดย่อภาษาไทย ............................................................................................................................ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ...................................................................................................................... จ
กิตติกรรมประกาศ ............................................................................................................................ ฉ
สารบัญ ............................................................................................................................................. ช
สารบัญตาราง .................................................................................................................................. ญ
สารบัญภาพ ...................................................................................................................................... ฎ
บทที่ 1 บทนา ....................................................................................................................................1
ความเป็ นมาและความสาคัญของปัญหา ................................................................................1
วัตถุประสงค์ของการวิจยั ......................................................................................................3
สมมติฐานของงานวิจยั ..........................................................................................................3
กรอบแนวคิดในการวิจยั ........................................................................................................4
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจยั ...............................................................................................5
ขอบเขตของการวิจยั ..............................................................................................................5
ข้อจากัดของการวิจยั ..............................................................................................................5
นิยามศัพท์เฉพาะ ...................................................................................................................6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง .............................................................................................8
การพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ ................................................................................................8
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ...............................................................23
ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social support theory) ......................................................35
งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง ...............................................................................................................36
บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจยั .................................................................................................................44

รู ปแบบของการวิจยั .............................................................................................................44
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ..................................................................................................45
เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั ......................................................................................................47
การเก็บรวบรวมข้อมูล .........................................................................................................52
การวิเคราะห์ขอ้ มูล ..............................................................................................................58
การพิทกั ษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง .........................................................................................58
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ ...................................................................................................................59
ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล..........................................................................................................60
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ........................................................................60
ส่วนที่ 2 การเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทาง
สังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในระยะก่อนทดลอง หลังการทดลอง
และระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลอง ....................................................................62
ส่วนที่ 3 การเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทาง
สังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในระยะก่อนและหลังการทดลอง
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ........................................................................72
บทที่ 5 สรุ ปผล อภิปรายผลการวิจยั และข้อเสนอแนะ ....................................................................74
สรุ ปผลการวิจยั ....................................................................................................................75
อภิปรายผลการวิจยั ..............................................................................................................76
ข้อเสนอแนะ ........................................................................................................................81
บรรณานุกรม ...................................................................................................................................83
ภาคผนวก ........................................................................................................................................86
ภาคผนวก ก ................................................................................................................................87
ภาคผนวก ข ................................................................................................................................89
ภาคผนวก ค ................................................................................................................................99
ภาคผนวก ง...............................................................................................................................104

ภาคผนวก จ ..............................................................................................................................115
ภาคผนวก ฉ ..............................................................................................................................121
ภาคผนวก ช ..............................................................................................................................131
ประวัติยอ่ ของผูว้ ิจยั .......................................................................................................................136

สารบัญตาราง

หน้ า
ตารางที่ 1 รายละเอียดกิจกรรมตามแนวคิดและทฤษฎี ...................................................................49
ตารางที่ 2 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง .................................................................................60
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ภายในกลุ่มทดลอง (จาแนกรายด้าน) ..62
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ภายในกลุ่มทดลอง .................................63
ตารางที่ 5 การเปรี ยบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ใน
ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลอง.............................63
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม ภายในกลุ่มทดลอง (จาแนกรายด้าน ) ............64
ตารางที่ 7 ระดับคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม ภายในกลุ่มทดลอง ...........................................65
ตารางที่ 8 การเปรี ยบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม ในระยะก่อนการ
ทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลอง ...................................................65
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ภายในกลุ่มทดลอง (แยกรายข้อ) .67
ตารางที่ 10 ระดับคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ภายในกลุ่มทดลอง ......................70
ตารางที่ 11 การเปรี ยบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มใน
กลุ่มทดลอง ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ...................................70
ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ
พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ
กลุ่มควบคุม .....................................................................................................................................72

สารบัญภาพ

หน้ า
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจยั .....................................................................................................4
ภาพที่ 2 การทดสอบการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว (Time Up and Go Test) .....................................23
ภาพที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ .....................................................................26
ภาพที่ 4 ท่าฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ .....................................................................................27
ภาพที่ 5 ท่าฝึ กการเดินและการทรงตัว ............................................................................................28
ภาพที่ 6 การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม ..............................................30
ภาพที่ 7 แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model) .........................................34
ภาพที่ 8 รู ปแบบการวิจยั ในระยะที่ 2 ..............................................................................................44
ภาพที่ 9 ขั้นตอนดาเนินการทดลอง ................................................................................................57
ภาพที่ 10 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ............................................64
ภาพที่ 11 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุ นทางสังคม ......................................................66
ภาพที่ 12 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ...................................71
ภาพที่ 13 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ
พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ
กลุ่มควบคุม .....................................................................................................................................73
1

บทที่ 1
บทนา

ความเป็ นมาและความสาคัญของปัญหา
การพลัดตกหกล้มเป็ นปัญหาสาคัญทางด้านสาธารณสุขของผูส้ ูงอายุ เนื่องจากผูส้ ูงอายุมี
การเปลี่ยนแปลงของระบบร่ างกายตามความเสื่ อมของอายุที่เพิ่มขึ้น โดยสถานการณ์การพลัดตกหก
ล้มในผูส้ ู งอายุมีแนวโน้มเพิ่มสู งขึ้นอย่างต่อเนื่ อง จากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลกระบุวา่ ผูส้ ูงอายุที่
มีอายุต้ งั แต่ 65 ปี ขึ้นไปจะมีแนวโน้มพลัดตกหกล้มร้อยละ 28-35 ต่อปี และจะเพิ่มเป็ นร้อยละ 32-42
เมื่ออายุเข้าสู่ปีที่ 70 เป็ นต้นไป ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นความเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้มจะมากขึ้น
โดยเฉพาะผูท้ ี่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีโรคประจาตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรื อมีปัญหาเรื่ อง
การทรงตัว (World Health Organization, 2016)
ในประเทศไทย พบว่า การพลัดตกหกล้มเป็ นสาเหตุการตายอันดับสองในกลุ่มของการ
บาดเจ็บโดยไม่ได้ต้ งั ใจ รองจากการบาดเจ็บจากอุบตั ิเหตุทางถนน โดยในปี พ.ศ. 2557 มีผเู ้ สี ยชีวิต
จากการพลัดตกหกล้มสูงถึง 2,007 ราย หรื อเฉลี่ยวันละ 6 ราย โดยส่วนใหญ่เป็ นกลุ่มผูส้ ูงอายุ
(กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2558) สาเหตุของการพลัดตกหกล้มเกิดจากพื้นลื่น พื้นต่าง
ระดับ สะดุดสิ่ งกีดขวาง สูญเสี ยการทรงตัว และหน้ามืดวิงเวียน หลังจากพลัดตกหกล้มจะมีอาการ
ฟกช้ า อาการปวดหลังและรุ นแรงจนกระดูกหัก (สานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2559) ในปี
พ.ศ. 2562 มีจานวนผูส้ ูงอายุที่บาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มเข้ารับบริ การในระบบการแพทย์
ฉุกเฉิน 141,895 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 ร้อยละ 29.5 โดยใช้บริ การรถพยาบาลฉุกเฉินด้วย
สาเหตุการพลัดตกหกล้มวันละ 140 ครั้ง หรื อ 50,000 ครั้งต่อปี และเสี ยชีวิตเฉลี่ยวันละ 2 ราย
(สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2562) อัตราการเสี ยชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุสูง
กว่าทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 80 ปี ขึ้นไป จะเสี่ ยงเพิ่มขึ้น 3 เท่า จากการคาดการณ์ในภาพรวม
ของประเทศไทย พบว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2564 มีผสู ้ ูงอายุพลัดตกหกล้มปี ละ 3,030,900 -
5,506,000 ราย ซึ่งในจานวนนี้จะมีผเู ้ สี ยชีวิต จานวน 5,700 - 10,400 รายต่อปี (นิพา ศรี ชา้ ง และ
ลวิตรา ก๋ าวี, 2560) ผลของการพลัดตกหกล้ม พบว่า มีอาการกระดูกข้อสะโพกหักร้อยละ 20-30 มี
อาการบาดเจ็บรุ นแรงของสมอง ร้อยละ 5-10 มีการเสี ยชีวิตร้อยละ 3.5 และสูญเสี ยความสามารถใน
ชีวิตประจาวัน ร้อยละ 25-75 ครึ่ งหนึ่งของผูส้ ูงอายุที่พลัดตกหกล้มแล้วต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล
จะเสี ยชีวิตในหนึ่งปี และเป็ นสาเหตุอนั ดับแรกของการเกิดภาวะทุพลภาพ (สัมฤทธิ์ และคณะ,
2

2560) บางคนรู ้สึกอาย ซึมเศร้า มีความทุกข์ทรมานอยากฆ่าตัวตาย (วรรณพร บุญเปล่ง และคณะ,


2558) ซึ่งสัมพันธ์กบั การรักษาและค่าใช้จ่ายในการดูแลที่เพิ่มสู งขึ้น เช่น รายได้ที่ครอบครัวต้องเสี ย
ไปเมื่อต้องหยุดงานมาดูแล หรื อค่าจ้างคนดูแล ประมาณการอาจสูงถึง 1,200,000 บาทต่อคนต่อปี
(นิพา ศรี ชา้ ง และลวิตรา ก๋ าวี, 2560) ต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่าการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นนาน
ถึง 20 วัน ถ้ามีอายุมากและมีโรคประจาตัวต้องนอนโรงพยาบาลเป็ นเวลานานหรื อ นอนติดเตียง มี
ผูด้ ูแลตลอดไป และพบว่า 1 ใน 5 จะไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก (ภารดี วิมลพันธุ์, 2556)
จากสถานการณ์การพลัดตกหกล้มของจังหวัดชลบุรี พบผูส้ ูงอายุที่เสี ยชีวิตจากการพลัด
ตกหกล้มปี พ.ศ. 2554 ร้อยละ 7.5 และในปี พ.ศ. 2561 เพิ่มขึ้นเป็ นร้อยละ 7.7 (กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข, 2561) จากฐานข้อมูล Health Data Center อาเภอเกาะจันทร์ มีประชากร
ทั้งหมด 26,939 ราย เป็ นประชากรผูส้ ูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป 4,628 ราย (ร้อยละ 17.17) อาเภอ
เกาะจันทร์ เป็ นพื้นที่ชนบทมีประชากรผูส้ ู งอายุเป็ นจานวนมาก พบผูส้ ูงอายุที่เข้ารับการรักษาใน
โรงพยาบาลเกาะจันทร์เนื่ องจากการพลัดตกหกล้ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
(HDC, 2563)
แนวทางส่งเสริ มป้องกันการพลัดตกหกล้ม ด้วยวิธีสัมภาษณ์รายบุคคลและการจัดกลุ่ม
สนทนาระหว่างผูส้ ูงอายุ ผูด้ ูแล ผูน้ าชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และบุคลากรสุขภาพได้
แนวทางการป้องกัน 3 ประเด็น คือ การปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อม การส่ งเสริ มการออกกาลังกาย และการ
ให้ความรู ้เกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้ม (ละออม สร้อยแสง, 2557) การติดตามและ
ประสานงานในชุมชนเป็ นกระบวนการที่ช่วยให้ผสู ้ ูงอายุและครอบครัว ได้รับการช่วยเหลือและ
การดูแลอย่างต่อเนื่อง ร่ วมกับการให้บริ การดูแลสุ ขภาพที่บา้ นเป็ นสิ่ งสาคัญที่จะช่วยป้องกันการ
พลัดตกหกล้มด้วยการปรับสิ่ งแวดล้อมที่เป็ นปัจจัยเสี่ ยง (ปริ ศนา รถสี ดา, 2561) การที่ผสู ้ ูงอายุจะ
เกิดพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มนั้น ต้องอาศัยแนวคิดและทฤษฎีมาประยุกต์เพื่อ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็ นระบบ ให้สามารถจัดการกับปัจจัยเสี่ ยงภายในและปัจจัยเสี่ ยง
ภายนอกอย่างมีส่วนร่ วมและมีความต่อเนื่อง
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health believe model) ถูกนามาใช้ในการส่งเสริ ม
สุขภาพของบุคคล โดยมีความเชื่อว่าคนจะแสดงพฤติกรรมสุ ขภาพที่ดีตามที่แนะนาหรื อไม่ข้ นึ อยู่
กับการรับรู ้และตระหนักต่อการรับรู ้วา่ บุคคลจะปฏิบตั ิพฤติกรรมที่ถูกต้องได้น้ นั ต้องอาศัยหลาย
ปัจจัย ปัจจัยหนึ่งที่สาคัญคือ เกิดภาวะคุกคามต่อชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรค ด้วยการสร้างการ
รับรู ้ความเสี่ ยงและความรุ นแรงของโรค ร่ วมกับสร้างการรับรู ้ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบตั ิวา่
มีประโยชน์สูงสุ ดเพื่อนามาเปรี ยบเทียบกับการรับรู ้อุปสรรคที่เกิดขึ้นพร้อมกับส่ งเสริ มการรับรู ้
ความสามารถของตนเอง ว่าจะสามารถปฏิบตั ิได้ โดยอาศัยสิ่ งชักนาสู่ การปฏิบตั ิที่มากพอก็จะ
3

สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ (Rosenstock, 1974) และแรงสนับสนุนทางสังคม (House, 1981)


จากครอบครัวหรื อเครื อข่ายทางสังคมเป็ นปัจจัยหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
จากสถานการณ์และผลกระทบของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ พบว่า มีผลกระทบต่อ
สุ ขภาพทั้งทางด้านร่ างกาย จิตใจ สังคม ภาวะเศรษฐกิจ และระบบบริ การสุ ขภาพ อีกทั้งแม้จะมี
การศึกษาเรื่ องการพลัดตกหกล้มในชุมชนและมีโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มออกมาอย่าง
แพร่ หลาย แต่อตั ราการพลัดตกหกล้มในชุมชนยังพบอยูม่ าก ดังนั้นผูว้ ิจยั จึงเล็งเห็นถึงความสาคัญ
ของปัญหาการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ จึงเลือกศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่สะท้อนความคิดความเชื่อด้านสุขภาพว่ามีความ
พร้อมและตระหนักในการตัดสิ นใจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ร่ วมกับการประยุกต์ทฤษฎีที่มี
อิทธิพลต่อการกระตุน้ พฤติกรรมที่น่าสนใจคือ แรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้คนในครอบครัว
เพื่อน อสม. และบุคลากรสาธารณสุขเข้ามามีบทบาทสาคัญในการกระตุน้ พฤติกรรมป้องกันการ
พลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ และเป็ นแนวทางพัฒนาการดาเนินงานสร้างเสริ มและป้องกันการพลัด
ตกหกล้มของผูส้ ูงอายุในชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรี ยบเทียบการรับรู ้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม
และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุ ภายในกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการ
ทดลองและระยะติดตามผล
2. เพื่อเปรี ยบเทียบการรับรู ้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม
และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการ
ทดลอง

สมมติฐานของงานวิจัย
การวิจยั ครั้งนี้ ผูว้ ิจยั ตั้งสมมติฐานการวิจยั ดังนี้
1. ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุหลังได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มสูง
กว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ
4

2. ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ


พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุที่ได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มสูง
กว่ากลุ่มที่ดูแลสุขภาพตามปกติ

กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ผวู ้ ิจยั ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพ (Janz & Becker, 1984)
ร่ วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (House, 1981) ในการสร้างกิจกรรมของโปรแกรมป้องกัน
การพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ เพื่อสร้างเสริ มพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ตามกรอบ
แนวคิดในการวิจยั ดังนี้

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

โปรแกรมป้องกันการพลัดตกพลัดตกหกล้มโดย
ประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตก
หกล้มของผูส้ ู งอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี
1. การรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกพลัดตกหกล้ม 1. แบบแผนความเชื่อด้าน
กิจกรรมรู ้ไหมใครเสี่ ยงล้ม สุ ขภาพ
2. การรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกพลัดตกหกล้ม 2. แรงสนับสนุนทางสังคม
กิจกรรมล้มลาพังล้มทั้งบ้าน 3. พฤติกรรมป้องกันการ
3. การรับรู ้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันการ พลัดตกพลัดตกหกล้ม
พลัดตกพลัดตกหกล้ม
กิจกรรมรู ้อุปสรรค รู ้ทนั ป้องกันล้ม
4. การรับรู ้ความสามารถของตนเอง
กิจกรรมมัน่ ใจว่าไม่ลม้
5. แรงสนับสนุนทางสังคม
กิจกรรมเยี่ยมด้วยใจ ห่วงใย ไม่ให้ลม้

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจยั
5

ประโยชน์ ที่ได้ รับจากการวิจัย


1. โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
ร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม สามารถป้องกันการพลัด
ตกหกล้มในผูส้ ูงอายุได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ
2. โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพ
ร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม สามารถนาไปขยายผลและ
เป็ นแนวทางในการดาเนินงานด้านการสร้างเสริ มสุขภาพผูส้ ูงอายุ สาหรับบุคลากรสาธารณสุขใน
พื้นที่อื่น ๆ
3. กิจกรรมของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม สามารถนาไปปรับใช้ได้จริ งในการ
ดาเนินงานภายใต้มาตรการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็ นการวิจยั กึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยศึกษาผลของ
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม กลุ่มตัวอย่างคือผูส้ ูงอายุ 60-70 ปี ทั้ง
เพศชายและเพศหญิง ที่เป็ นสมาชิกชมรมผูส้ ูงอายุและอาศัยอยูใ่ นเขตอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัด
ชลบุรี แบ่งเป็ นกลุ่มทดลอง จานวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จานวน 32 คน ทาการศึกษาโดยใช้
แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ
พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง ภายในกลุ่มทดลอง
และกลุ่มควบคุม และเก็บรวมรวบรวมข้อมูลในระยะติดตามผลภายในกลุ่มทดลอง 4 สัปดาห์ โดยมี
ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

ข้ อจากัดของการวิจัย
ในการศึกษาวิจยั ครั้งนี้ เป็ นการวิจยั กึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ซึ่ง
ดาเนินการในช่วงสถานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนั้นกิจกรรม
ต่าง ๆ จัดขึ้นภายใต้มาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ ระบาด อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างอาจได้รับข้อมูล
ข่าวสารจากช่องทางอื่นได้ เช่น สื่ อออนไลน์ สื่ อโซเชียล โทรทัศน์ หนังสื อพิมพ์ หรื อจากบุคคลอื่น
ดังนั้นให้ถือว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับการกระตุน้ จากปัจจัยภายนอกไม่แตกต่างกัน
6

นิยามศัพท์ เฉพาะ
ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุต้ งั แต่ 60-70 ปี บริ บูรณ์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อาศัยอยู่
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี
การพลัดตกหกล้ม หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ต้ งั ใจ ทาให้ร่างกายสู ญเสี ยการ
ทรงตัวจนพลัดตกลงมาบนพื้นหรื อพื้นผิวที่มีระดับต่ากว่า ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในร่ างกายทั้งจาก
อาการหน้ามืด เป็ นลม ขาอ่อนแรง และปัจจัยด้านสิ่ งแวดล้อมภายนอก เช่น การสะดุด เกี่ยวดึงและ
ลื่นไถล ซึ่งไม่ได้เกิดจากการถูกทาร้ายร่ างกาย หมดสติ หรื อการเป็ นอัมพาตฉับพลันทันที หรื อเกิด
จากการชัก
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม หมายถึง แผนการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริ ม
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม โดยกิจกรรมประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และ
แรงสนับสนุนทางสังคมประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้
1. รู้ ไหมใครเสี่ ยงล้ ม หมายถึง กิจกรรมประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ด้วย
แบบประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มสาหรับผูส้ ูงอายุไทยในชุมชน (Thai-FRAT) และการ
ทดสอบการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว (Time Up and Go Test) หลังจากนั้นใช้วิธีการสะท้อนความคิด
เพื่อสร้างเสริ มการรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้ม
2. ล้มลาพังล้มทั้งบ้ าน หมายถึง กิจกรรมเรี ยนรู ้จากกรณี ศึกษาซึ่งเป็ นผูส้ ู งอายุในพื้นที่
โดยจะนาเสนอด้วยภาพถ่ายและคลิปวิดีโอถ่ายทอดเรื่ องราวความรุ นแรงและผลกระทบจากการ
พลัดตกหกล้ม เพื่อสร้างเสริ มการรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม
3. รู้ อุปสรรค รู้ ทัน ป้ องกันล้ ม หมายถึง กิจกรรมสาธิตและฝึ กปฏิบตั ิจริ ง เน้นการเปลี่ยน
อิริยาบถต่าง ๆ อย่างถูกต้อง และการออกกาลังกายเพื่อสร้ างเสริ มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ
การทรงตัว ให้ผสู ้ ู งอายุเกิดความมัน่ ใจ สามารถออกกาลังกายต่อเนื่ องที่บา้ นได้
4. มั่นใจว่าไม่ล้ม หมายถึง กิจกรรมการเรี ยนรู ้จากตัวแบบบุคคลที่พฤติกรรมป้องกันการ
พลัดตกหกล้มที่ดี ส่ งเสริ มการประเมินความสามารถของตนเอง และการตั้งเป้าหมายในการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มให้สาเร็จลุล่วงด้วยความสามารถของตนเอง
5. เยี่ยมด้วยใจ ห่ วงใยไม่ให้ ล้ม หมายถึง กิจกรรมการติดตามเยีย่ มทางโทรศัพท์และการ
เยีย่ มบ้าน เพื่อให้คนในครอบครัว เพื่อน อสม. และบุคลากรสาธารณสุขเป็ นแรงสนับสนุนทาง
สังคมด้านอารมณ์ และด้านข้อมูลข่าวสาร ด้วยการให้คาแนะนาหรื อตักเตือนและคอยชี้แนะให้
คาปรึ กษา เพื่อกระตุน้ และผลักดันพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
การดูแลสุ ขภาพตามปกติ หมายถึง กลุ่มควบคุม ให้ดาเนินชีวิตประจาวันตามปกติ
สามารถเข้าร่ วมกิจกรรมชุมชน ชมรมผูส้ ูงอายุ หรื อติดตามข่าวสารด้านสุขภาพที่สนใจได้
7

แบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ หมายถึง การรับรู ้ของผูส้ ูงอายุต่อภาวะสุขภาพของ


ตนเอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพลัดตกหกล้ม โดยจะชักนาให้ผสู ้ ูงอายุมีการปฏิบตั ิพฤติกรรมป้องกัน
การพลัดตกหกล้ม ประกอบด้วย
1. การรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้ม หมายถึง ความเชื่อของผูส้ ูงอายุวา่ ตนเองมี
โอกาสพลัดตกหกล้มจากปัจจัยเสี่ ยงภายในและปัจจัยเสี่ ยงภายนอก
2. การรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม หมายถึง ความเชื่อของผูส้ ูงอายุวา่ หาก
ตนเองพลัดตกหกล้ม จะส่งผลกระทบรุ นแรงต่อร่ างกาย ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคมตามมา
3. การรับรู ้ประโยชน์ของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม หมายถึง ความเชื่อของผูส้ ูงอายุ
ว่าการป้องกันจะส่งผลดีทาให้ไม่พลัดตกหกล้มและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
4. การรับรู ้อุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม หมายถึง ความเชื่อของผูส้ ูงอายุ
ว่าอุปสรรคและข้อจากัดในการป้องกัน ต้องแก้ไขปัญหาร่ วมกันจากหลายฝ่ าย
5. การรับรู ้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม หมายถึง
ความเชื่อมัน่ ในความสามารถของตนเองในการปฏิบตั ิพฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม
แรงสนับสนุนทางสั งคม หมายถึง แรงสนับสนุนด้านอารมณ์และแรงสนับสนุนด้าน
ข้อมูลข่าวสาร โดยคนในครอบครัว เพื่อน อสม. และบุคลากรสาธารณสุขให้คาแนะนาหรื อ
ตักเตือนและคอยชี้แนะให้คาปรึ กษา เพื่อกระตุน้ และผลักดันพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม หมายถึง การปฏิบตั ิตวั หรื อการแสดงออกเพื่อลด
โอกาสเสี่ ยงที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
1. การปรับปรุงสิ่ งแวดล้ อม หมายถึง การปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและบริ เวณ
รอบ ๆ บ้านให้ปลอดภัย ได้แก่ พื้นบ้าน พื้นต่างระดับ ขอบธรณี ประตู แสงสว่าง บันได ห้องน้ า/
ห้องส้วม การจัดวางสิ่ งของ พรมเช็ดเท้า สัตว์เลี้ยง
2. การเปลีย่ นอิริยาบถ หมายถึง การเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ไม่รีบร้อนในการเปลี่ยน
อิริยาบถ เกี่ยวกับการนัง่ การลุกจากเก้าอี้ การนัง่ และการลุกจากพื้น การนอนพื้นและลุกจากที่นอน
บนพื้น การนอนเตียงและการลุกจากเตียง การยกของและวางของกับพื้น การเดินขึ้นและลงบันได
3. การออกกาลังกาย หมายถึง การยืดเหยียดกล้ามเนื้ อและความยืดหยุน่ ของข้อ การฝึ ก
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ อการฝึ กการเดินและการทรงตัว
4. การแต่งกาย หมายถึง การแต่งกายด้วยเสื้ อผ้าที่เหมาะสม ขนาดพอดี ไม่คบั หรื อหลวม
เกินไป และการสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม รองเท้ามีขนาดที่พอดี ไม่คบั หรื อหลวมเกินไป และควร
เป็ นแบบส้นแข็ง เรี ยบ มีความสู งไม่เกินหนึ่งนิ้ว
8

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกีย่ วข้ อง

งานศึกษาวิจยั เรื่ อง ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบ


แผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ผูว้ ิจยั ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง สรุ ป
สาระสาคัญที่เป็ นประโยชน์ต่อการวิจยั และนาเสนอไว้ตามลาดับ ดังนี้
1. การพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
1.1 สถานการณ์พลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
1.2 ความหมายของการพลัดตกหกล้ม
1.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
1.4 ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
1.5 แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
1.6 การประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
2. พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
3. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.1 แบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพ (Health belief model)
3.2 ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social support theory)
4. งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง

การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
ประเทศไทยกาลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผูส้ ูงอายุอย่างสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ. 2564 ตามการณ์
คาดการณ์สถานการณ์สูงวัยของประชากรไทย นัน่ หมายถึงว่าประเทศไทยมีสัดส่ วนประชากร
ผูส้ ูงอายุ คิดเป็ นร้อยละ 20 ขึ้นไป และปัญหาการพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุน้ นั มีแนวโน้มเพิม่ ขึ้น
เช่นกัน
1. สถานการณ์ พลัดตกหกล้ มในผู้สูงอายุ
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุวา่ การพลัดตกหกล้มมีแนวโน้มเพิ่มสู งขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง โดยทัว่ โลกมีผเู ้ สี ยชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในปี พ.ศ. 2545 จานวน 391,000 ราย และใน
ปี พ.ศ. 2555 จานวน 424,000 ราย (เฉลี่ยวันละ 1,160 ราย) โดยผูส้ ู งอายุที่มีอายุต้ งั แต่ 65 ปี ขึ้นไปมี
9

แนวโน้มพลัดตกหกล้มร้อยละ 28-35 และอายุต้ งั แต่ 70 ปี ขึ้นไปเพิ่มเป็ นร้อยละ 32-42 ดังนั้นเมื่อ


อายุเพิ่มขึ้นความเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้มจะมากขึ้น โดยเฉพาะผูท้ ี่มีอาการกล้ามเนื้ ออ่อนแรง มี
โรคประจาตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรื อมีปัญหาเรื่ องการทรงตัว (World Health Organization,
2016)
สาหรับประเทศไทยมีผเู ้ สี ยชีวิตจากการพลัดตกหกล้ม ปี ละกว่า 2,000 ราย โดยเกือบครึ่ ง
เป็ นผูส้ ู งอายุ ซึ่งความเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้มเพิ่มสู งขึ้นตามอายุ และพบในเพศชายสู งกว่าเพศ
หญิง 3 เท่า (สานักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2558) นอกจากนั้นยังพบว่า เพศ
หญิง ร้อยละ 55 พลัดตกหกล้มในตัวบ้านและในบริ เวณรั้วบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องครัว และห้องน้ า
เป็ นต้น ในขณะที่เพศชาย ร้อยละ 60 พลัดตกหกล้มบริ เวณนอกบ้านขณะเดินทางและในสถานที่
ทางาน สาเหตุของการพลัดตกหกล้มส่ วนใหญ่มาจากพื้นลื่น สะดุดสิ่ งกีดขวาง การเสี ยการทรงตัว
พื้นต่างระดับ หน้ามืดวิงเวียน และสาเหตุจากสิ่ งแวดล้อม เช่น ถูกกระแทก ตกบันได เป็ นต้น และ
หลังจากการพลัดตกหกล้มแล้วประมาณครึ่ งหนึ่งมีอาการฟกช้ า รองลงมาคือมีอาการปวดหลัง และ
รุ นแรงจนกระดูกหัก (สานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2559) จากการสารวจประชากรผูส้ ูงอายุ
ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 พบว่า หลังการพลัดตกหกล้มผูส้ ูงอายุได้เข้ารับการรักษาใน
สถานพยาบาลแบบผูป้ ่ วยนอกร้อยละ 16.8 และต้องรับการรักษาตัวต่อในโรงพยาบาลร้อยละ 7.8
(สานักงานสถิติแห่งชาติ, 2557) ในรอบ ปี พ.ศ. 2559 – 2562 มีจานวนผูส้ ูงอายุที่บาดเจ็บจากการ
พลัดตกหกล้มเข้ารับบริ การในระบบการแพทย์ฉุกเฉิ น 141,895 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559
ร้อยละ 29.5 โดยใช้บริ การรถพยาบาลฉุกเฉินด้วยสาเหตุการพลัดตกหกล้มวันละ 140 ครั้ง หรื อ
50,000 ครั้งต่อปี และเสี ยชีวิตเฉลี่ยวันละ 2 ราย (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2562) ดังนั้น
การพลัดตกหกล้มจึงเป็ นปัญหาที่ทาให้เกิดความสูญเสี ยมาก โดยอัตราการเสี ยชีวิตจากการพลัดตก
หกล้มต่อประชากรแสนคนในผูส้ ูงอายุ พบว่า ในปี พ.ศ. 2557 มีจานวนทั้งสิ้ น 909 ราย (ร้อยละ
10.0) ปี พ.ศ. 2558 จานวน 1,049 ราย (ร้อยละ 11.1) ปี พ.ศ. 2559 จานวน 888 ราย (ร้อยละ 9.0)
ปี พ.ศ. 2560 จานวน (ร้อยละ 10.2) และในปี พ.ศ. 2561 เพิ่มขึ้นจานวน 1,258 ราย (ร้อยละ 11.7)
(กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค, 2561) อัตราการเสี ยชีวิตจากการพลัดตกหกล้มใน
ผูส้ ู งอายุสูงกว่าทุกกลุ่มอายุกว่า 3 เท่าและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ อง โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 80 ปี
ขึ้นไป ได้เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ขณะที่กลุ่มอายุ 60 -69 ปี และ 70 -79 ปี เพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงระยะเวลา
8 ปี (ปี พ.ศ. 2549-2558) โดยเพศชายมีอตั ราการเสี ยชีวิตจากการพลัดตกหกล้มสูงกว่าเพศหญิง 3
เท่า ทั้งนี้ผสู ้ ู งอายุเพศหญิงมีการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มสู งกว่าเพศชายกว่า 1.6 เท่า และจาก
การคาดการณ์ในภาพรวมของประเทศไทย พบว่า ในปี พ.ศ. 2560 จะมีผสู ้ ูงอายุพลัดตกหกล้ม
จานวน 3,030,900 - 4,714,800 คน และระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2564 มีผสู ้ ูงอายุพลัดตกหกล้มปี ละ
10

ประมาณ 3,030,900 - 5,506,000 คน ซึ่งในจานวนนี้จะมีผเู ้ สี ยชีวิต จานวน 5,700 - 10,400 คนต่อปี


(นิพา ศรี ชา้ ง และลวิตรา ก๋ าวี, 2560)
จากสถานการณ์การพลัดตกหกล้มของจังหวัดชลบุรี พบผูส้ ูงอายุที่เสี ยชีวิตจากการพลัด
ตกหกล้มปี พ.ศ. 2554 ร้อยละ 7.5 และในปี พ.ศ. 2561 เพิม่ ขึ้นเป็ นร้อยละ 7.7 (กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข, 2561) จากฐานข้อมูล Health Data Center อาเภอเกาะจันทร์ มีประชากร
ทั้งหมด 26,939 ราย เป็ นประชากรผูส้ ูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป 4,628 ราย (ร้อยละ 17.17) อาเภอ
เกาะจันทร์ เป็ นพื้นที่ชนบทมีประชากรผูส้ ู งอายุเป็ นจานวนมาก พบผูส้ ู งอายุที่เข้ารับการรักษาใน
โรงพยาบาลเกาะจันทร์เนื่ องจากการพลัดตกหกล้ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
(HDC, 2563)
2. ความหมายของการพลัดตกหกล้ม
ความหมายของการพลัดตกหกล้ม มีความแตกต่างกันออกไปตามการให้ความหมายของ
แต่ละบุคคลหรื อแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ซึ่ งจากการทบทวนวรรณกรรมและ
งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีผใู ้ ห้ความหมายของการพลัดตกหกล้มที่หลากหลาย ดังนี้
การพลัดตกหกล้ม หมายถึง การล้มลง การทรุ ดตัวลงเพราะเสี ยการทรงตัว
(ราชบัณฑิตยสถาน, 2546)
การพลัดตกหกล้ม หมายถึง การสู ญเสี ยการทรงตัว โดยไม่ได้ต้ งั ใจ เป็ นผลทาให้ร่างกาย
หรื อส่ วนใดส่ วนหนึ่งของร่ างกายปะทะกับสิ่ งต่าง ๆ (วิภาวี หม้ายพิมาย, 2556)
การพลัดตกหกล้ม หมายถึง เป็ นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ต้ งั ใจ ทาให้ร่างกายทรุ ดลง
สู่ พ้นื หรื อระดับที่ต่ากว่า อาจเกิดจากปัจจัยภายในร่ างกายทั้งจากอาการหน้ามืด เป็ นลม ขาอ่อนแรง
และปัจจัยด้านสิ่ งแวดล้อมภายนอก เช่น การสะดุด เกี่ยวดึงและลื่นไถล (อภิฤดี จิวะวิโรจน์, 2556)
การพลัดตกหกล้ม หมายถึงเหตุการณ์ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งพลัดตกลงมาบนพื้น หรื อบน
พื้นผิวในระดับที่ต่ากว่าโดยไม่ได้ต้ งั ใจ (WHO, 2007)
จากความหมายดังกล่าวสรุ ปได้วา่ การพลัดตกหกล้ม หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดย
ไม่ได้ต้ งั ใจ ทาให้ร่างกายสู ญเสี ยการทรงตัวจนพลัดตกลงมาบนพื้นหรื อพื้นผิวที่มีระดับต่ากว่า ซึ่ง
เกิดจากปัจจัยภายในร่ างกายทั้งจากอาการหน้ามืด เป็ นลม ขาอ่อนแรง และปัจจัยด้านสิ่ งแวดล้อม
ภายนอก เช่น การสะดุด เกี่ยวดึงและลื่นไถล ซึ่งไม่ได้เกิดจากการถูกทาร้ายร่ างกาย หมดสติ หรื อ
การเป็ นอัมพาตฉับพลันทันที หรื อเกิดจากการชัก
3. ปัจจัยที่เกีย่ วข้ องกับการพลัดตกหกล้ มของผู้สูงอายุ
จากการทบทวนเอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ พบว่า
มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ ยงเกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
11

1. ปัจจัยภายในบุคคล (Intrinsic factor)


ปัจจัยภายใน หมายถึง ปัจจัยที่เป็ นสาเหตุชกั นาให้เกิดสภาวะร่ างกายหรื อการเปลี่ยนแปลงภายใน
ร่ างกายที่ทาให้เกิดความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุซ่ ึงสามารถจาแนกได้ ดังนี้
1.1 ปัจจัยที่เกิดจากการชราภาพ ได้แก่
1.1.1 สายตา การเสื่ อมทางจอรับภาพเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เสื่ อมลงของ
สายตา อาทิเช่น เกิดการหนาตัว การขุ่นและแข็งขึ้นของเลนส์ตา มีผลต่อการปรับสายตาเกี่ยวกับ
ความชัดเจน การรับรู ้ความตื้นลึก ความไวแสง และการปรับตัวต่อความมืดของจอตาที่ลดลง หรื อมี
ปัญหาของโรคทางตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ทาให้ตามองเห็นไม่ชดั นอกจากนี้ ผสู ้ ู งอายุส่วนใหญ่
มักจะมีสายตายาวขึ้นมองเห็นภาพใกล้ไม่ชดั เจน ความสามารถในการอ่านและลานสายตาแคบลง
ความไวในการมองตามภาพลดลงทาให้การมองระยะทาง สิ่ งกีดขวางไม่ชดั เจน คาดคะเนระยะ
ผิดพลาด ทาให้กา้ วพลาดเกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่าย นอกจากนี้ผสู ้ ู งอายุจะมีความสามารถในการ
แยกสี ลดลง ทาให้การรับรู ้ภาพพื้นห้องที่มีสีสันและมีลวดลายไม่เหมาะสมกับผูส้ ู งอายุผิดพลาด จน
ทาให้เกิดปัญหาการพลัดตกหกล้มตามมา (Miller, 2009)
1.1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Age-related sarcopenia) การเปลี่ยนแปลงในระบบ
โครงร่ างและกล้ามเนื้อเมื่อเข้าสู่ วยั สูงอายุ พบว่า เมื่ออายุ 60-70 ปี มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงและ
ความสามารถในการประสานงานของกล้ามเนื้ อลดลงร้อยละ 20-40 ร่ วมกับมีการเสื่ อมของข้อต่อ
และเอ็นรอบ ๆ ข้อ ซึ่งทาให้การเคลื่อนไหวของข้อและความเร็ วในการตอบสนองลดลง นอกจากนี้
ยังมีผลต่อท่าทางการเดิน ซึ่งพบว่า ผูส้ ูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถยกเท้าได้สูงเท่ากับที่เคยทาได้
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวของสะโพกในการรับน้ าหนักของขาขณะที่เดิน
โดยเฉพาะผูส้ ูงอายุหญิงมีลกั ษณะการเดินคล้ายเป็ ด (Waddling gait) ซึ่งเป็ นสาเหตุให้ผสู ้ ูงอายุมีการ
สะดุด เมื่อเดินบนทางที่มีพ้ืนที่ขรุ ขระหรื อต่างระดับ ทาให้เกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่าย
1.1.3 ท่าเดินและการทรงตัวผิดปกติ พบว่า เมื่ออายุมากขึ้นโครงสร้างของร่ างกาย
จะมีการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเดินหลังตรงกลายมาเป็ นเดินหลังค่อม ลักษณะการเดินเปลี่ยนไปจาก
เดิม โดยผูส้ ูงอายุจะเดินก้าวย่างช้า ก้าวสั้น ๆ ยกเท้าต่าเวลาเดินฝ่ าเท้าอาจจะสะดุดพื้นเล็กน้อย แขน
แกว่งน้อย ตัวส่ ายเล็กน้อย เวลาหมุนตัวมักจะหมุนช้า ๆ ไม่หมุนทั้งตัว มีอาการสั่น การลุก การเดิน
การนัง่ การหยิบจับไม่คล่อง นอกจากนี้การเดินและการทรงตัวที่ผิดปกติยงั มีสาเหตุมาจากพยาธิ
สภาพของโรคในสมองและระบบประสาท เช่นโรคหลอดเลือดสมอง โรคของไขสันหลัง โรคพาร์
กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่ อมและ/หรื อมีความผิดปกติ/ความเสื่ อมของสมองส่วนที่
ควบคุมการทรงตัว ทาให้ผสู ้ ู งอายุมีท่าเดินที่ผิดปกติและสูญเสี ยการทรงตัวได้ง่าย ซึ่งเป็ นสาเหตุทา
ให้เกิดการพลัดตกหกล้มได้ในผูส้ ูงอายุ
12

1.1.4 การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทและสมอง พบว่า ความไวของการรับรู ้


ความรู ้สึกลดลงเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนี้ยงั มีการเปลี่ยนแปลงในระบบอัตโนมัติ ซึ่งทาหน้าที่
ควบคุมร่ างกายให้อยูใ่ นดุลยภาพ (Homeostasis) พบว่า มีการเสื่ อมลงในวัยสูงอายุ จานวนประสาท
ซิมพาเทติก และอัตราการนาพลังของเส้นประสาทลดลง ซึ่งเป็ นผลทาให้ผสู ้ ู งอายุมีปฏิกิริยาต่อสิ่ ง
เร้าลดลง เช่น ความดันโลหิตต่าขณะเปลี่ยนท่า (Postural hypotension) ทาให้ผสู ้ ูงอายุมีอาการหน้า
มืด วิงเวียนศีรษะ และเกิดปัญหาการพลัดตกหกล้มตามมา
1.1.5 การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินปัสสาวะ พบว่า เมื่ออายุมากขึ้นทาให้การทา
หน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะลดลง โดยพบว่า ความสามารถการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
และความจุในกระเพาะปัสสาวะลดลง ร่ วมกับกล้ามเนื้อหู รูดในอุง้ เชิงกราน กล้ามเนื้อรอบ ๆ ท่อ
ปัสสาวะอ่อนกาลังลงและตัวรับการกระตุน้ ต่อการยืดขยายในกระเพาะปัสสาวะทางานลดลง ปัจจัย
ต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้ผสู ้ ู งอายุมีปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence) ทาให้ตอ้ ง
เข้าห้องน้ าบ่อยขึ้น และมีความเร่ งรี บในการเข้าห้องน้ าให้ทนั จึงเป็ นเหตุให้ผสู ้ ู งอายุพลัดตกหกล้ม
ได้ง่าย
1.1.6 การเปลี่ยนแปลงของภาวะจิตใจ พบว่า เมื่อเข้าสู่วยั สูงอายุจะมีการ
เปลี่ยนแปลงตามกระบวนการชราภาพ และการไม่เตรี ยมตัวในวัยสูงอายุ ซึ่งเป็ นวัยแห่งการสูญเสี ย
ได้แก่ สู ญเสี ยตาแหน่งหน้าที่การงาน สู ญเสี ยรายได้ สู ญเสี ยอานาจ สู ญเสี ยสุ ขภาพที่ดี สู ญเสี ยบุคคล
อันเป็ นที่รักและสูญเสี ยความมัน่ ใจ ซึ่งจะนามาสู่ ความผิดปกติและโรคทางจิตได้ง่าย เช่น อาการ
เหงา ว้าเหว่ วิตกกังวล และซึมเศร้า ส่ งผลให้ผสู ้ ู งอายุมีการตอบสนองต่อสิ่ งแวดล้อมช้าลง และมี
การตัดสิ นใจไม่ดีในเรื่ องของความปลอดภัยเมื่ออยูต่ ามลาพังซึ่งทาให้ผสู ้ ูงอายุมีโอกาสเสี่ ยงต่อการ
พลัดตกหกล้มได้
1.2 ปัจจัยที่เกิดจากการเจ็บป่ วยหรื อพยาธิสภาพของโรค ได้แก่
1.2.1 ความผิดปกติของโรคระบบการไหลเวียนโลหิตและหัวใจ พบว่า ผูส้ ูงอายุมี
ความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ซึ่งเป็ นสาเหตุสาคัญที่ทาให้เกิดการพลัดตกหก
ล้ม ได้แก่ การเกิดกล้ามเนื้ อหัวใจตาย ทาให้ปริ มาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง เกิดความดันโลหิ ต
ต่า หรื อหัวใจทางานล้มเหลวได้ ซึ่งเป็ นสาเหตุของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ และเป็ นอาการนา
ที่ทาให้ผสู ้ ู งอายุมาโรงพยาบาล นอกจากนี้ยงั พบว่า โรคความดันโลหิ ตสู งที่ตอ้ งใช้ยาลดความดัน
โลหิต ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิ ตต่าขณะเปลี่ยนท่า ทาให้ผสู ้ ูงอายุเกิดอาการหน้ามืดวิงเวียน
ศีรษะจากการเปลี่ยนท่า และพบว่า เป็ นสาเหตุของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุได้
13

1.2.2 ความผิดปกติของระบบประสาท พบว่า ความผิดปกติของระบบประสาทใน


ผูส้ ู งอายุน้ นั ส่ งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน และสมองเสื่ อม ซึ่ง
โรคต่าง ๆ เหล่านี้ทาให้ผสู ้ ู งอายุสูญเสี ยการทรงตัวได้ง่าย (Lyons, Adams, & Titler, 2005)
1.2.3 ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก ในวัยสู งอายุจะมีการฝ่ อของ
กล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่ส่วนขา กาลังการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลงหลังอายุ 30 ปี และลดลงเร็ วขึ้น
หลังอายุ 50 ปี ทาให้สูญเสี ยความแข็งแรงและว่องไว รวมถึงสูญเสี ยการทรงตัว การลดลงของระดับ
ฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหมดประจาเดือน ทาให้แคลเซี ยมถูกเคลื่อนย้ายออกจากกระดูกมากขึ้น
การลดลงของมวลกระดูกทาให้กระดูกบางลงและมีความแข็งแกร่ งลดลง หมอนรองกระดูกสันหลัง
จะกร่ อนจะเกิดการแตกหักได้ง่ายเมื่อพลัดตกหกล้มหรื อกระแทก การเสื่ อมของข้อต่อและเอ็นรอบ
ข้อ ทาให้เสี ยความยืดหยุน่ จากการเคลื่อนไหวของข้อ (Miller, 2009) และความเร็วในการ
ตอบสนองของกล้ามเนื้ อลดลง ทาให้เกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่ายเช่นกัน
1.2.4 ความผิดปกติของเท้า ได้แก่ ตาปลา หูดขนาดใหญ่ นิ้วคด หรื อมีโครงสร้าง
ของเท้าที่ผิดปกติ ทาให้เกิดความเจ็บปวดขณะเดินหรื อเปลี่ยนท่า ส่งผลให้มีโอกาสพลัดตกหกล้ม
ได้ง่าย
1.2.5 การได้รับยาหลายชนิดพร้อมกัน เป็ นสาเหตุสาคัญอีกสาเหตุหนึ่งที่มีผลต่อ
การพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุ เนื่องจากผูส้ ู งอายุมกั มีโรคเจ็บป่ วยเรื้ อรังหลายโรค เป็ นผลให้ตอ้ ง
รับประทานยาหลายชนิดพร้อมกัน เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ หลายระบบ ซึ่งจะทาให้เกิดปฏิกิริยาต่อกัน
ระหว่างยาและผลข้างเคียงหรื อเกิดพิษของยาได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อการทางานของระบบประสาท
ส่ วนกลางทาให้เกิดความคิดบกพร่ องจึงมีภาวะเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ง่าย ได้แก่ ยานอนหลับ
และยารักษาทางจิตเวชจะทาให้เกิดอาการง่วงซึม เดินเซ กระวนกระวายและสับสน ยาลดความดัน
โลหิต ทาให้เกิดความดันโลหิตต่าขณะเปลี่ยนท่า (Postural hypotension) มีอาการหน้ามืดวิงเวียน
ศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงได้ ยาลดระดับน้ าตาลในเลือด อาจทาให้เกิดระดับน้ าตาลในเลือดต่า มี
อาการหน้ามืด เป็ นลม หมดสติได้ ยาขับปัสสาวะ ทาให้เกิดความไม่สมดุลของสารน้ าและอิเล็คโตร
ลัยท์ สาหรับผูส้ ู งอายุที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence) ร่ วมกับการใช้ยาขับ
ปัสสาวะ ก็จะทาให้ตอ้ งปัสสาวะบ่อยขึ้นและมีความเร่ งรี บในการไปปัสสาวะ อาจทาให้เกิดการลื่น
หรื อสะดุดพลัดตกหกล้มตามมาได้
1.3 ปัจจัยที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
1.3.1 การแต่งกายไม่เหมาะสม การสวมใส่ เสื้ อผ้าในผูส้ ู งอายุมกั จะพบว่า มีการ
สวมใส่ เสื้ อผ้าที่มีขนาดหลวมโคร่ ง ทั้งนี้เนื่ องจากผูส้ ู งอายุจะมีความไวต่อความร้อนได้มากกว่าวัย
อื่น จึงมีการสวมใส่ เสื้ อผ้าที่มี ความโล่งและโปร่ งสบาย หรื อมักจะสวมใส่ เสื้ อผ้าที่ยาวเพื่อป้องกัน
14

การเปิ ดเผย จึงส่ งผลให้เกิดการสะดุดเกี่ยวดึง รวมถึงการใส่ เสื้ อผ้าที่รุ่มร่ าม ไม่กระชับพอดีตวั ทาให้


ผูส้ ูงอายุเกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่าย (ปะราลี โอภาสนันท์, 2557)
1.3.2 รองเท้าไม่เหมาะสม การที่ผสู ้ ูงอายุสวมใส่รองเท้ามีขนาดไม่เหมาะสมจะทา
ให้ผสู ้ ู งอายุเดินได้ลาบาก มีผลต่อการทรงตัว ประกอบกับถ้าพื้นรองเท้าไม่มีดอกยางกันลื่น หรื อ
แม้กระทัง่ รองเท้าที่ผา่ นการใช้งานมานานจนพื้นสึ ก รวมถึงการใช้รองเท้าเก่าที่หูรองเท้าขาดแล้วเอา
มาซ่อมใส่ ใหม่ยงิ่ ส่ งผลให้ผสู ้ ู งอายุพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นการใช้รองเท้าให้เหมาะสมจึงเป็ น
สิ่ งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ (ปะราลี โอภาสนันท์, 2557)
1.3.3 การทาภาระหน้าที่ประจาวัน การที่ผสู ้ ูงอายุมีกิจกรรมหรื อภาระหน้าที่ที่ตอ้ ง
ทาประจาวัน ย่อมส่ งผลให้ผสู ้ ู งอายุตอ้ งใช้ร่างกายและพลังงานเพิม่ ขึ้น ซึ่งจะส่ งผลให้ร่างกายเกิด
ความอ่อนล้าได้ง่าย และทาให้เกิดการพลัดตกหกล้มตามมา (ปะราลี โอภาสนันท์, 2557)
1.3.4 ช่วงเวลาที่ทากิจกรรมของผูส้ ู งอายุจะมีช่วงเวลาในการนอนที่ค่อนข้างสั้น
จึงทาให้ผสู ้ ูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการตื่นนอนเร็ ว โดยเฉพาะช่วงเช้ามืดที่ผสู ้ ู งอายุมกั ตื่นขึ้นมา
เพื่อทากิจวัตรประจาวัน ประกอบกับการนอนในแต่ละคืนของผูส้ ูงอายุมกั จะมีช่วงเวลาการนอนที่
สั้น หลับ ๆ ตื่น ๆ บ่อย จึงอาจส่ งผลให้ร่างกายของผูส้ ู งอายุตื่นตัวไม่เต็มที่จึงส่ งผลให้เกิดอุบตั ิเหตุ
ได้ง่าย (ดาราวรรณ รองเมือง, 2559)
1.3.5 การใช้ยาที่มีผลต่อการทรงตัวและระบบประสาท เช่น ยานอนหลับ หรื อยา
ระงับประสาทจะเพิ่มความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม รวมถึงยาในกลุ่มขยายหลอดเลือด ยาลดความ
ดันโลหิ ต ยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะมีผลข้างเคียงให้ความดันโลหิตต่าขณะเปลี่ยนท่า และเกิดอาการ
สับสน (ละออม สร้อยแสง, 2557)
2. ปัจจัยเสี่ ยงภายนอกบุคคล (Extrinsic factor)
ปัจจัยเสี่ ยงภายนอกที่เป็ นสาเหตุให้ผสู ้ ู งอายุพลัดตกหกล้ม คือสิ่ งแวดล้อมภายในบ้าน
และสิ่ งแวดล้อมภายนอกบ้าน ดังนี้
2.1 สิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้าน
2.1.1 พื้นบ้านเป็ นมันลื่น เช่น การปูพ้นื ด้วยกระเบื้องเคลือบ หิ นขัดหิ นแกรนิ ต
พื้นไม้มนั เงา อาจสวยงามแต่จะเป็ นอันตรายกับผูส้ ู งอายุ และเพิ่มโอกาสเสี่ ยงได้มากขึ้นเมื่อพื้นเปี ยก
แฉะ เพราะผูส้ ูงอายุมีการทรงตัวจึงทาให้เสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ง่าย
2.1.2 พื้นบ้านต่างระดับที่สังเกตยาก เนื่องจากผูส้ ูงอายุมีปัญหาของการมองเห็น
ไม่ชดั เจนการแยกความแตกต่างของระดับทาได้ลาบาก ทาให้การกะระยะก้าวเท้าผิดพลาดจนเกิด
การพลัดตกหกล้มได้
15

2.1.3 ประตูบา้ นมีขอบธรณี ประตู เนื่องจากผูส้ ูงอายุจะมีลกั ษณะการเดินก้าวย่าง


ช้า ก้าวสั้น ๆ และยกเท้าต่า เมื่อมีขอบธรณี ประตูจึงทาให้เกิดการสะดุดพลัดตกหกล้มได้
2.1.4 แสงสว่างภายในบ้านไม่เพียงพอ กรณีที่ผสู ้ ูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา การ
มองเห็นไม่ชดั เจน เมื่อภายในบ้านมืดสลัว แสงสว่างไม่เพียงพอ ส่งผลทาให้ผสู ้ ูงอายุเสี่ ยงต่อการ
พลัดตกหกล้มได้ง่าย
2.1.5 บันไดบ้านไม่มีราวบันไดจับยึด เสี่ ยงต่อการตกบันได เนื่องจากผูส้ ูงอายุ
ส่ วนใหญ่กา้ วเท้าพลาดไถลขณะเดินขึ้นลงบันได อีกทั้งผูส้ ู งอายุบางรายอาจถือสิ่ งของในมือจนไม่
สามารถใช้มือเกาะจับราวบันไดได้ ทาให้เกิดการพลัดตกหกล้มได้
2.1.6 ห้องน้ าห้องส้วมที่ไม่เหมาะสาหรับผูส้ ู งอายุ ได้แก่ พื้นลื่นไม่สะอาด ส่ วน
ใหญ่มกั จะพบว่า พื้นห้องน้ าห้องส้วมเปี ยกชื้นตลอดเวลา เนื่องจากส่ วนใหญ่บริ เวณอาบน้ าและห้อง
ส้วมจะอยูร่ วมกันในห้องเดียวกัน ไม่ได้แบ่งบริ เวณที่เปี ยกและแห้ง เวลาอาบน้ าจึงทาให้น้ าไหล
เปี ยกทัว่ ห้อง นอกจากนี้ห้องน้ าที่ไม่มีราวเกาะยึดในห้องน้ าห้องส้วม ผูส้ ู งอายุที่มีปัญหากล้ามเนื้อ
ขาดความแข็งแรง มีการเสื่ อมของข้อต่อ การลุกและการนัง่ ไม่คล่องแคล่ว จึงมีความยากลาบากใน
การลุกขึ้นและการนัง่ บนโถส้วมขณะทากิจกรรมขับถ่าย ทาให้มีโอกาสที่จะเกิดการพลัดตกหกล้ม
ได้ ถ้ามีราวจับเกาะยึดจะช่วยให้การทรงตัวดีข้ นึ และการวางของใช้เกะกะในห้องน้ าห้องส้วมจะทา
ให้ผสู ้ ูงอายุเดินสะดุดพลัดตกหกล้มได้ง่ายเช่นกัน
2.1.7 การจัดบ้าน โดยเปลี่ยนที่วางเฟอร์นิเจอร์บ่อย ๆ ทาให้ผสู ้ ูงอายุจา
สภาพแวดล้อมภายในบ้านไม่ได้ จึงเสี่ ยงต่อการเดินชนหรื อสะดุดพลัดตกหกล้มได้ง่าย
2.1.8 พรมเช็ดเท้าหรื อผ้าเช็ดเท้าลื่น ขาดรุ่ งริ่ ง ขอบสู งเกินไป หรื อการนาเอาเศษ
ผ้าที่เหลือใช้มาทาเป็ นผ้าเช็ดเท้า ทาให้เสี่ ยงต่อการเดินสะดุดพลัดตกหกล้ม
2.1.9 ภายในบ้านมีสิ่งของวางเกะกะทางเดิน และบนขั้นบันได ทาให้ผสู ้ ู งอายุเดิน
สะดุด หรื อชนสิ่ งของเกิดการพลัดตกหกล้มได้
2.1.10 การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุ นขั หรื อแมวไว้ภายในบ้าน และมาคลอเคลียผูส้ ู งอายุ
หรื อนอนกีดขวางทางเดิน ทาให้ผสู ้ ูงอายุสะดุดพลัดตกหกล้มได้เช่นกัน
2.2 สิ่งแวดล้อมภายนอกบ้ าน สถานที่ที่เป็ นสาเหตุทาให้ผสู ้ ูงอายุเกิดการพลัดตกหก
ล้ม มักจะเป็ นสถานที่ที่ผสู ้ ู งอายุไปเป็ นประจาในชุมชน ได้แก่
2.2.1 ถนนในชุมชน ไม่มีบาทวิถี ไม่มีสะพานลอยหรื อทางม้าลายสาหรับข้าม
ถนน ทางเดินชารุ ดและมีสิ่งกีดขวาง เช่น พุ่มไม้
2.2.2 วัด รอบเจดียเ์ ป็ นพื้นขัดมัน บันไดปูดว้ ยหิ นอ่อนซึ่งทาให้ลื่นพลัดตกหกล้ม
ได้ง่าย
16

2.2.3 ตลาด แผงขายของที่จดั วางไม่เป็ นระเบียบและทางเดินแคบ


2.2.4 ทุ่งนา มีคนั นา คูคลอง ซึ่ งพื้นไม่สม่าเสมอ เปี ยกลื่น เสี่ ยงต่อการพลัดตกหก
ล้มได้ง่าย
ในการศึ กษาวิจยั ครั้ งนี้ ผูว้ ิจยั ให้ค วามสนใจศึ ก ษาปั จจัยเสี่ ยงภายนอกคือสิ่ งแวดล้อม
ภายในบ้านและบริ เวณรอบบ้านที่เป็ นสาเหตุหลักของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ เพื่อให้ผสู ้ ู งอายุ
และครอบครั วทราบถึ งความเสี่ ย งพร้ อมทั้ง สามารถจัดการความเสี่ ย งโดยจัดการหรื อปรั บ ปรุ ง
สิ่ งแวดล้อมที่ปลอดภัยได้
4. ผลกระทบของการพลัดตกหกล้ มในผู้สูงอายุ
การพลัดตกหกล้มส่ งผลกระทบต่อผูส้ ู งอายุท้ งั ทางด้านร่ างกาย จิตใจ สังคม และ
เศรษฐกิจ ทางด้านร่ างกายทาให้เกิดการบาดเจ็บ ตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ า เกิดแผล
จนกระทัง่ บาดเจ็บรุ นแรง โดยพบว่า ประมาณ 1 ใน 10 คน มีการบาดเจ็บรุ นแรง เช่น ภาวะกระดูก
สะโพกหักและการบาดเจ็บของสมอง ทาให้ตอ้ งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และสูญเสี ย
ความสามารถในการดาเนินกิจวัตรประจาวันและสูญเสี ยค่าใช้จ่าย (กองป้องกันการบาดเจ็บ กรม
ควบคุมโรค, 2561) และส่งผลทาให้เกิดความพิการและเสี ยชีวิตได้ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผลกระทบทางด้านร่ างกาย
การพลัดตกหกล้มส่งผลทาให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยถึงรุ นแรง เช่น อาการฟกช้ า
เคล็ดขัดยอก มีแผลฉีกขาด กระดูกหักหรื อสมองได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทาให้พิการและ
เสี ยชีวิตได้ (กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค, 2561) จากการศึกษาที่ผา่ นมาพบว่า ผูส้ ูงอายุ
ที่พลัดตกหกล้มต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉินในโรงพยาบาลถึง 3 ล้านคนต่อปี มีผสู ้ ูงอายุจานวน 8
แสนรายเข้ารับการรักษาเนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและสะโพกหัก เมื่อเกิดการบาดเจ็บจาก
กระดูกสะโพกหักผลที่ตามมาคือ ผูส้ ูงอายุตอ้ งเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดและต้องเข้ารับการ
รักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น ซึ่งอาจทาให้ผสู ้ ู งอายุเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ได้แก่
ภาวะแทรกซ้อนระบบการย่อยอาหาร เช่น อาจเกิดภาวะปวดจุกท้อง การที่ลาไส้ไม่เคลื่อนไหว
ภายหลังจากการผ่าตัดหรื อท้องแข็งตึง ผูส้ ู งอายุอาจเกิดอาการการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
และอาจเกิดแผลกดทับจากการนอนนาน เป็ นต้น นอกจากนี้ผสู ้ ู งอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไปพลัดตกหก
ล้มและมีกระดูกข้อสะโพกหัก พบว่า ผูส้ ู งอายุกลุ่มนี้มีอตั ราการเสี ยชีวิตสู งเฉลี่ยร้อยละ 14-36
(Carpintero, 2014)
2. ผลกระทบทางด้านจิตใจ
การพลัดตกหกล้มพบว่า ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผูส้ ูงอายุเป็ นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู ้
ที่เคยมีประสบการณ์พลัดตกหกล้มจะเกิดความกลัว วิตกกังวล ตลอดจนสู ญเสี ยความมัน่ ใจในการ
17

ปฏิบตั ิกิจวัตรประจาวัน บางรายรู ้สึกอับอาย เสี ยใจ และรู ้สึกว่าตนเองเป็ นภาระให้กบั บุตรหลาน
และทาให้ตอ้ งพึ่งพาผูอ้ ื่น ส่ งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทางด้านจิตใจ เกิดความเครี ยด จนถึงขั้น
รุ นแรงอาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า ภายหลังการพลัดตกหกล้ม พบว่า ผูส้ ู งอายุที่เคยมีประสบการณ์
ของการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 21 เกิดภาวการณ์สูญเสี ยความมัน่ ใจในตนเอง ผลจากการที่ผสู ้ ู งอายุ
สู ญเสี ยความมัน่ ใจจึงส่ งผลทาให้ผสู ้ ู งอายุ ไม่อยากออกไปทากิจกรรมนอกบ้านเนื่องจากกังวลและ
กลัวเกิดการพลัดตกหกล้มซ้ า จึงส่ งผลต่อเนื่องทาให้ผสู ้ ู งอายุเกิดความว้าเหว่จากการขาดการติดต่อ
กับสังคมภายนอก (WRVS, 2012; Alarcon et al., 2006) และส่งผลให้ผสู ้ ูงอายุเกิดภาวะซึมเศร้าใน
ที่สุด (Biderman et al., 2002; Bosma et al., 2004; de Jonge et al., 2006)
3. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ผูส้ ูงอายุที่เคยพลัดตกหกล้มส่วนใหญ่ลดการติดต่อกับสังคม หรื อลดการทากิจกรรมทาง
สังคมเช่นลดการออกไปพบเพื่อนหรื อครอบครัว (Hill, Womer, Russell, Blackberry, & McGann,
2010) นอกจากนี้ยงั ส่ งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและสังคมส่ วนรวม ได้แก่ ค่า
รักษาพยาบาลขณะอยูโ่ รงพยาบาล การสูญเสี ยเวลาทางานของญาติ การดูแลในระยะยาวเมื่อเกิด
ความพิการ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาของผูส้ ูงอายุที่พลัดตกหกล้มและ
ต้องได้รับการผ่าตัดสะโพกในประเทศลิทวั เนียสูงถึง 1,286 ยูโร และค่าใช้จ่ายในการรักษากรณี
บาดเจ็บเล็กน้อยเฉลี่ย 135 ยูโรต่อราย (Alekna et al., 2015) ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการรักษาผูส้ ูงอายุ
ที่พลัดตกหกล้มในประเทศสหรัฐอเมริ กาปี ค.ศ. 2015 พบว่า สูงถึง 50 ล้านล้านดอลลาร์ และเมื่อ
แยกออกเป็ นค่าใช้จ่ายภาพรวมสาหรับการรักษาอาการบาดเจ็บรุ นแรงจากการพลัดตกหกล้มเฉลี่ย
ประมาณ 754 ล้านดอลลาร์ต่อปี สาหรับประเทศไทย พบว่า ผลจากการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
ทาให้เสี ยค่าใช้จ่ายในการจ้างคนดูแล สูญเสี ยเวลาทางานของญาติ เสี ยรายได้จากการทางาน
นอกจากนี้พบว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลผูส้ ู งอายุอยูท่ ี่ 470,000 บาทต่อคน (ประเสริ ฐ ประสมรัฐ,
2556)
5. แนวทางป้ องกันการพลัดตกหกล้ มในผู้สูงอายุ
การพลัดตกหกล้มส่งผลกระทบต่อสุขภาพผูส้ ูงอายุ ทั้งทางด้านร่ างกาย จิตใจ สังคม และ
ยังกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระบบบริ การสุขภาพ การป้องกันการพลัดตกหกล้มเป็ น
วิธีการที่ดีที่สุดที่จะลดผลกระทบต่าง ๆ ซึ่งการป้องกันการพลัดพลัดตกหกล้มสามารถทาได้หลาย
วิธี ทั้งการออกแบบและการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยูอ่ าศัยของผูส้ ู งอายุ การมีผดู ้ ูแล
ผูส้ ู งอายุ การเยีย่ มบ้าน ซึ่งจากการศึกษาแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มมีรายละเอียด ดังนี้
1. การประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
18

การประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุ เป็ นขั้นตอนที่สาคัญเพื่อที่จะใช้


เป็ นตัวคัดกรองว่าผูส้ ูงอายุเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มหรื อไม่ โดยเครื่ องมือที่ใช้ในการประเมินความ
เสี่ ยง ประกอบด้วย ประเมินการทรงตัว ประเมินการมองเห็น ประเมินความสามารถในการทา
กิจวัตรประจาวันในผูส้ ูงอายุ และประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ในส่วนของผูด้ ูแลควรจะ
เป็ นการประเมินโดยการสังเกตและการสอบถามจากผูส้ ูงอายุ เนื่องจากถ้าประเมินโดยใช้แบบ
ประเมินจะเกิดภาระและความยุง่ ยากต่อผูด้ ูแล ในกลุ่มของบุคลากรสุขภาพ เช่น พยาบาล เจ้าหน้าที่
สาธารณสุข และ อสม. สามารถใช้แบบประเมิน เช่น การทรงตัวใช้แบบประเมิน Berg balance
scale และ Time Up and Go Test การมองเห็นใช้แบบประเมิน Snellen chart/E-chart ความสามารถ
ในการทากิจวัตรประจาวันใช้แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจาวัน (ADL)
ความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มใช้แบบประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มสาหรับผูส้ ูงอายุ
ไทยในชุมชน (Thai-FRAT) ทั้งนี้ควรมีการศึกษาและสอนการใช้แบบประเมินต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา
แก่ อสม. ก่อนนาไปใช้กบั ผูส้ ู งอายุ (เยาวลักษณ์ คุมขวัญ และคณะ, 2561)
2. การปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อม
สิ่ งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้านเป็ นปัจจัยเสี่ ยงสาคัญของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
เพราะผูส้ ูงอายุส่วนใหญ่จะอยูบ่ า้ นและมีโอกาสพลัดตกหกล้มในบ้านมากกว่านอกบ้าน ซึ่งพบว่า
เพศหญิง ร้อยละ 55 พลัดตกหกล้มในตัวบ้านและในบริ เวณรั้วบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องครัว และ
ห้องน้ า เป็ นต้น (สานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2559) ส่วนใหญ่พบว่า ที่พกั อาศัยที่มีความ
เสี่ ยงคือบริ เวณบันไดมีผา้ หรื อพรมเช็ดเท้า ร้อยละ 49.6 รองลงมาคือ บริ เวณบันไดมีแสงสว่างไม่
เพียงพอ ร้อยละ 46.2 และไฟบริ เวณบันไดมีสวิตช์เพียงตัวเดียว ร้อยละ 41.6 การพลัดตกหกล้ม
ภายในตัวบ้านในรอบ 6 เดือนที่ผา่ นมา ส่วนใหญ่เกิดที่ทางเดินภายในตัวบ้าน ร้อยละ 40.0
รองลงมาคือในห้องน้า ร้อยละ 26.6 (นงนุช วงศ์สว่าง และคณะ, 2560) ดังนั้นผูส้ ู งอายุและ
ครอบครัวต้องปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้านเพื่อป้ องกันการพลัดตกหกล้ม สาหรับ
ข้อเสนอแนะในการจัดสิ่ งแวดล้อมในบ้านและบริ เวณบ้านให้ปลอดภัยจากการพลัดพลัดตกหกล้ม
มีรายละเอียดดังนี้
2.1 แสงสว่าง ควรมีแสงสว่างที่ใช้ในบ้านต้องเพียงพอ แสงไฟที่ใช้ไม่ควรเป็ นแสงจ้า
เกินไป ควรเป็ นแสงนวลสบายตา มองเห็นชัดเจน โดยเฉพาะบริ เวณทางเดิน บันได และในห้องน้ า
ควรมีสวิตช์ปิด-เปิ ดไฟอยูใ่ นที่ ๆ ใช้งานได้สะดวก ผูส้ ูงอายุสามารถเปิ ด-ปิ ดได้ง่าย
2.2 พื้น พื้นทางเดินในบ้านควรเป็ นพื้นเรี ยบไม่ลื่น ไม่ลงน้ ามันหรื อขัดเงา ควรทา
เครื่ องหมายแสดงให้ชดั เจนบริ เวณที่มีพ้ืนต่างระดับ เช่น ติดเทปกาว ดูแลไม่ให้มีสิ่งกีดขวางทางเดิน
เพราะอาจทาให้เกิดการสะดุดล้ม ควรดูแลพื้นให้แห้งเสมอ ไม่มีน้ าหรื อของเหลวหก กระเบื้องปูพ้นื
19

พรม ควรใช้สีที่เหมาะสมและไม่มีลวดลายจนทาให้ลายตา เพราะจะทาให้ผสู ้ ูงอายุเสี่ ยงต่อพลัดตก


หกล้มได้
2.3 ห้องน้ า เป็ นบริ เวณที่ผสู ้ ู งอายุเกิดการพลัดตกหกล้มได้มากที่สุด พื้นห้องน้ าควรมี
การปูพ้นื กันลื่น มีการติดตั้งราวจับไว้สาหรับจับบริ เวณที่นงั่ ขับถ่าย หรื อที่อาบน้ าใช้โถส้วมแบบชัก
โครก ห้องอาบน้ ามีที่นงั่ ขณะอาบน้ าและเปลี่ยนเสื้ อผ้าจัดวางของใช้ให้หยิบจับง่ายในระดับข้อศอก
ที่นงั่ ขับถ่าย ประตูหอ้ งน้ าควรเป็ นแบบเปิ ดออกด้านนอก และที่ลอ็ คควรเปิ ดออกจากภายนอกได้
เพื่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถช่วยเหลือได้ทนั ที
2.4 ห้องนอน/ห้องนัง่ เล่น จัดของใช้ให้เป็ นระเบียบ หยิบใช้ได้ง่าย ไม่วางของเกะกะ
ตามพื้นห้อง โดยเฉพาะสายไฟ สายโทรศัพท์ ควรใช้โทรศัพท์ชนิดไร้สาย การเคลื่อนไหวหรื อลุก
จากเตียงควรทาอย่างช้า ๆ ควรประเมินตนเองว่ามีอาการเวียนศีรษะหรื อหน้ามืดก่อนจะลุกนัง่
หรื อไม่ โดยไม่ลุกขึ้นขณะมีอาการดังกล่าว แต่ควรเรี ยกหาคนช่วย
2.5 เครื่ องเรื อน เลือกใช้เครื่ องเรื อนที่เหมาะสม เช่น ขนาดเก้าอี้มีความสู งสามารถวาง
เท้าลงกับพื้นได้พอดี ความกว้างของเก้าอี้มีขนาดพอที่ผสู ้ ู งอายุนงั่ ได้สบาย เบาะนัง่ ไม่ยบุ ยวบตัวลง
ไป มีฐานเก้าอี้มนั่ คง ไม่ควรเป็ นเก้าอี้แบบล้อเลื่อน เตียงนอนควรมีความสู งระดับที่ผสู ้ ู งอายุข้ นึ เตียง
หรื อลุกออกจากเตียงได้สะดวก ที่นอนควรมีความแข็งระดับพอดีไม่ยบุ ตัวเกินไป ตูเ้ ก็บของ/ชั้นวาง
ของ ควรมีความสู งระดับที่ผสู ้ ู งอายุสามารถหยิบจับสิ่ งของเครื่ องใช้ต่าง ๆ ได้สะดวกและง่ายต่อการ
ใช้งาน
2.6 ห้องครัว จัดของใช้หรื อเครื่ องปรุ งต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการใช้งาน เก็บของใช้ที่มี
น้ าหนักมากไว้ ในที่ต่าเช็ดหยดน้ า/น้ ามันทันทีหลังการใช้งาน หลีกเลี่ยงการขัดเงาที่พ้นื ห้อง หาก
พื้นหรื อภายใน ห้องครัวมีความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน ควรแก้ไขให้สภาพห้องครัวพร้อมใช้งาน
และป้องกันการ พลัดตกหกล้มในห้องครัว
2.7 บันได เป็ นอีกบริ เวณหนึ่งที่ผสู ้ ูงอายุพลัดตกหกล้มบ่อย ผูส้ ูงอายุควรเลี่ยงการใช้
บันได ถ้าจาเป็ นต้องใช้บนั ได บันไดต้องมีความมัน่ คง มีความกว้างพอดี มีราวบันได งดอ่าน
หนังสื อหรื อใช้โทรศัพท์ทุกครั้งขณะขึ้นหรื อลงบันได และไม่รีบขึ้นหรื อลงบันได
3. การแต่งกาย
ผูส้ ูงอายุควรเลือกเสื้ อผ้าที่มีขนาดพอดีกบั ร่ างกาย ไม่มีส่วนที่รุงรัง เสื้ อผ้าสวมใส่ สบาย
ขั้นตอนการสวมไม่ยงุ่ ยาก ซึ่งเสื้ อผ้าที่มีขนาดหลวม ใหญ่ หรื อยาวเกินไป อาจทาให้เกิดการสะดุด
เกี่ยวดึงอาจทาให้เกิดการพลัดตกหกล้มได้
20

รองเท้าควรมีขนาดและรู ปทรงที่เหมาะสมกับเท้า ส้นรองเท้าควรใช้ระดับต่าสูงไม่เกิน 1


นิ้ว รู ปทรงกว้าง เพราะรองเท้าที่มีรูปทรงไม่พอดีเท้า มี พื้นที่ลื่น ไม่มีพ้นื ยึดเกาะที่ดี ส้นรองเท้าที่สูง
มาก ทาให้เกิดอาการปวดเมื่อย เสี ยสมดุลได้ง่าย (ปริ ศนา รถสี ดา, 2561)
4. อุปกรณ์ ช่วยในการเคลื่อนไหว
ผูส้ ูงอายุที่จาเป็ นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหว ควรเป็ นอุปกรณ์ที่ทาจากวัสดุที่มี
ความแข็งแรงเพียงพอในการพยุงน้ าหนัก ควรล็อคล้อรถเข็นทุกครั้งเมื่อจะต้องใช้นงั่ ขนาดของ
น้ าหนักและความสู งของอุปกรณ์ช่วยเดินมีความพอเหมาะ ฝึ กการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินอย่างชานาญ
และคุน้ เคยกับการ ใช้อุปกรณ์ในการช่วยเดิน จะทาให้ผสู ้ ู งอายุมนั่ ใจและใช้งานได้อย่างปลอดภัย
5. การออกกาลังกาย
เป้าหมายของการออกกาลังกายจะเน้นที่การเพิ่มความมัน่ คงในการยืนและเดินของ
ผูส้ ู งอายุ เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่และการเดิน โดยใช้การฝึ กการทรงตัว ฝึ กกล้ามเนื้อให้
แข็งแรง เพิ่มกาลังกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อเข่า และกล้ามเนื้ อกระดูกข้อเท้า
ซึ่งเป็ นกลุ่มกล้ามเนื้อที่มีความสาคัญต่อการยืนและเดินที่มนั่ คง (การออกกาลังกายในผูส้ ูงอายุที่
เหมาะสม มีดงั นี้
5.1 การรามวยจีน เป็ นการออกกาลังกาย ที่เหมาะกับผูส้ ูงอายุ สามารถทาได้โดยไม่
ต้อง ออกแรงมาก ทาไปช้า ๆ ตามจังหวะท่วงท่าหรื อทานองเพลงประกอบ เช่น การราไท้เก็ก จี้กง
เป็ นต้นกิจกรรมเหล่านี้ มักทาในตอนเช้าหรื อเย็นจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความ
ยืดหยุน่ ข้อต่อต่าง ๆ กาลังกายชนิดนี้สามารถทาคนเดียวหรื อทาเป็ นกลุ่มก็ดีเพราะจะช่วยเพิม่
แรงจูงใจในการออกกาลังกาย สนุกสนาน และมีความยัง่ ยืนของการออกกาลังกายได้ต่อเนื่ อง
5.2 การยืดกล้ามเนื้อและความยืดหยุน่ ของข้อต่าง ๆ ช่วยสร้างความยืดหยุน่ ของข้อ
ต่อให้ ผูส้ ูงอายุทาให้ขอ้ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เช่น การบริ หารศีรษะ การบริ หารคอ ท่ายืด
หลัง ท่าบริ หารลาตัว
5.3 การฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็ นการบริ หารกล้ามเนื้อมือ แขน และข้อเท้า
ให้ แข็งแรง ช่วยในการยันตัวหรื อจับป้องกันการล้มกระแทก เช่น การบริ หารข้อเท้า ท่ายืนด้วย
ปลายเท้า ท่างอเข่าแบบไม่ใช้ราวจับ
5.4 ฝึ กการเดินและการทรงตัว เช่น การเดินแบบใช้ราวจับหรื อไม่ใช้ราวจับ การยืน
ขาเดียว การออกกาลังแขนขา ข้อสาคัญที่สุดที่ตอ้ งเข้าใจและปฏิบตั ิคือ ขณะออกกาลังกายผูส้ ูงอายุ
ควรประเมินความสามารถหรื อสังเกตการเคลื่อนไหว และการทรงตัวว่าทาได้ดีหรื อไม่ มีอาการเจ็บ
หรื อมีการติดขัดซึ่งไม่ควรฝื นทาต่อไปหากมีความผิดปกติดงั กล่าว หากมีอาการเจ็บ ชา แขนขาอ่อน
แรง มีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็ นลม หรื อความผิดปกติอื่น ๆ เกิดขึ้น จะต้องหยุดทาทันที
21

6. การให้ สุขศึกษา
การให้สุขศึกษา/การให้ความรู ้เป็ นบทบาทหน้าที่ที่สาคัญของเจ้าหน้าที่สาธารณสุ ข ควร
ค้นหาและคัดกรองกลุ่มผูส้ ูงอายุที่มีความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ประเมินปัจจัยเสี่ ยงและให้
ความรู ้เกี่ยวแนวทางการป้ องกันการพลัดตกหกล้มแก่ผสู ้ ู งอายุครอบครัว และชุมชน
7. การเยี่ยมบ้ านผู้สูงอายุ
การติดตามเยีย่ มบ้านเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ ยงด้านสิ่ งแวดล้อมและ ให้คาแนะนาในการ
ปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อม สอบถามปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่ วมกันระหว่าง
ผูส้ ูงอายุ ครอบครัว และชุมชน และเพื่อเป็ นการกระตุน้ ให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหก
ล้มอย่างต่อเนื่อง
8. การรับประทานยา
ผูส้ ูงอายุควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น ยาลดความดันโลหิ ต ยาเบาหวาน ยานอน
หลับ ยากล่อมประสาท/ยาคลายเครี ยด และควรต้องรับประทานยานั้น ๆ ตามขนาดที่แพทย์สั่ง
พร้อมสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของยานั้น ๆ เช่น อาการหน้ามืด ใจสั่น
งุนงง ท้องผูก ท้องเสี ย เป็ นต้น ระมัดระวังตนเองด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ เพื่อลดการพลัด
ตกหกล้มหลังการใช้ยา และไม่ดื่มเครื่ องดื่มแอลกอฮอล์ ขณะรับประทานยาหรื อหลังรับประทานยา
เพราะอาจเป็ นสาเหตุของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุได้
9. การเปลีย่ นอิริยาบถ
ผูส้ ูงอายุควรเปลี่ยนท่าทางหรื ออิริยาบถโดยค่อย ๆ ลุกนัง่ อย่างช้า ๆ หลีกเลี่ยง การแหงน
หน้า การเหลียวซ้ายและขวา หรื อหมุนศีรษะอย่างเร็ ว ๆ หากรี บร้อนอาจทาให้หน้ามืดเป็ นลมและ
อาจทาให้ผสู ้ ู งอายุตกเตียงหรื อพลัดตกหกล้มได้ รวมทั้งการเดินและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ควร
รี บร้อน ควรใช้มืออีกข้างจับราวบันไดจะช่วยยึดเหนี่ยวพยุงตัว หากเกิดสะดุดหรื อลื่นจะช่วย
ป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ ดังนั้นผูส้ ู งอายุจึงต้องมีสติขณะเดินเคลื่อนไหวและใช้สิ่งช่วยพยุง และ
ควรมีการเตรี ยมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน ที่จาเป็ นไว้ประจาตัว หรื อติดไว้ในบ้านในที่ ๆ สามารถ
มองเห็นได้ชดั เจน เช่น เบอร์โทรศัพท์ของลูกหลานหรื อญาติ เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณี
ผูส้ ูงอายุเกิดภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ (ปริ ศนา รถทอง, 2561)
6. การประเมินความเสี่ ยงต่ อการพลัดตกหกล้ มของผู้สูงอายุ
การประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุ เป็ นขั้นตอนที่สาคัญเพื่อที่จะใช้
เป็ นตัวคัดกรองว่าผูส้ ูงอายุเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มหรื อไม่ ในส่วนของผูด้ ูแลควรจะเป็ นการ
ประเมินโดยการสังเกตและการสอบถามจากผูส้ ูงอายุ เนื่องจากถ้าประเมินโดยใช้แบบประเมินจะ
เกิดภาระและความยุง่ ยากต่อผูด้ ูแล สาหรับบุคลากรสุขภาพ สามารถใช้แบบประเมิน เช่น การทรง
22

ตัวใช้แบบประเมิน Berg balance scale และ Time Up and Go Test การมองเห็นใช้แบบประเมิน


snellen chart/E-chart ความสามารถในการทากิจวัตรประจาวันใช้แบบประเมินความสามารถในการ
ประกอบกิจวัตรประจาวัน (ADL) ความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มใช้แบบประเมินความเสี่ ยงต่อ
การพลัดตกหกล้มสาหรับผูส้ ู งอายุไทยในชุมชน (Thai-FRAT) (เยาวลักษณ์ คุมขวัญ และคณะ,
2561) สาหรับประเทศไทยมีการนาแบบประเมิน Thai fall risks assessment test (Thai-FRAT) มาใช้
อย่างแพร่ หลาย และพบว่า ได้ผลการทดสอบที่ดี ประกอบด้วยการประเมินความเสี่ ยง 6 ด้าน
ดังต่อไปนี้
1. เพศ
2. การมองเห็นบกพร่ อง (ไม่สามารถอ่านตัวเลขที่ระยะ 6/12 เมตร ได้มากกว่าครึ่ ง)
3. การทรงตัวบกพร่ อง (ยืนต่อเท้าเป็ นเส้นตรงไม่ได้ หรื อยืนได้ไม่ถึง 10 วินาที)
4. การใช้ยา (กินยาต่อไปนี้ ต้ งั แต่ 1 ชนิดขึ้นไป ได้แก่ ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยา
ลดความดันโลหิ ต ยาขับปัสสาวะ หรื อกินยาชนิ ดใดก็ได้ ตั้งแต่ 4 ชนิดขึ้นไป โดยไม่รวมถึงวิตามิน)
5. ประวัติการพลัดตกหกล้ม (มีประวัติพลัดตกหกล้มตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ใน 6 เดือนที่
ผ่านมา)
6. สภาพบ้าน ที่อยูอ่ าศัย (อยู่บา้ นยกพื้นสู งตั้งแต่ 1.5 เมตรขึ้นไป ต้องขึ้นลงโดยใช้
บันได)
สาหรับในต่างประเทศ จากที่ประชุมของสมาคมแพทย์ผดู ้ ูแลผูส้ ูงอายุในอเมริ กาและ
อังกฤษ (American Geriatric Society and Geriatric Society, 2011) แนะนาให้แพทย์และบุคลากร
ทางการแพทย์คดั กรองความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป ดังนี้
1. ซักประวัติการพลัดตกหกล้มที่ผา่ นมาในระยะ 12 เดือน
2. ประเมินการเดินการทรงตัว เช่น (Simple gait and balance test) เช่น การประเมินการ
เดิน Time Up and Go Test , Berg Balance หรื อ Performance Oriented Mobility Assessment
3. ซักประวัติเรื่ องยาที่รับประทานอยูแ่ ละประเมินผลข้างเคียงหรื ออาการไม่พึงประสงค์
โดยเฉพาะกลุ่มยาระงับประสาท
4. ตรวจวัดสายตา
5. ตรวจร่ างกาย ระบบประสาท และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
6. ตรวจระบบหัวใจดูการเต้นผิดจังหวะ หรื อความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
7. วัดความดันเมื่อมีการเปลี่ยนท่า (Postural hypotension)
ดังนั้น การคัดกรองความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม มีความสาคัญในเรื่ องการป้ องกันการ
พลัดตกหกล้ม เพราะสามารถค้นหากลุ่มผูส้ ู งอายุที่มีความเสี่ ยงตั้งแต่ยงั ไม่มีการพลัดตกหกล้ม
23

เกิดขึ้น ในการศึกษาวิจยั ครั้งนี้ผวู ้ ิจยั ได้นาแบบคัดกรอง Thai-FRAT และประเมินการทรงตัวแบบ


Timed Up and Go Test (TUGT) มาใช้เพื่อประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของกลุ่มตัวอย่าง
เพื่อสร้างเสริ มการรับรู ้โอกาสเสี่ ยงตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model)
เพราะมีการนามาใช้อย่างแพร่ หลาย สามารถทาการทดสอบได้ง่าย และเป็ นวิธีที่นิยมได้รับการ
ยอมรับทัว่ ไป อีกทั้งยังเป็ นวิธีที่มีความเที่ยงและความตรงสู งในการประเมินความสามารถด้านการ
เคลื่อนไหวในผูป้ ่ วยบาดเจ็บไขสันหลัง (Poncumhak, 2013) สามารถสะท้อนความสามารถด้านการ
เดินและการเคลื่อนไหวของผูป้ ่ วยบาดเจ็บไขสันหลัง (van Hedel HJ, 2005) จึงนิยมใช้เป็ น
มาตรฐานในการประเมินการทดสอบอื่น ๆ (Lam, 2008) หากพบว่า มีความเสี่ ยงก็ควรได้รับการ
ประเมินโดยละเอียด ซึ่งจะค่อนข้างใช้เวลานานขึ้น ตามข้อแนะนาของ American Geriatrics
Society’s fall assessment and prevention algorithm ต่อไป

ภาพที่ 2 การทดสอบการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว (Time Up and Go Test)


ที่มา : ยากันล้ม (2558)

พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ
ความหมายของพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ได้มีผใู ้ ห้ความหมายของพฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม พอสรุ ปได้ ดังนี้
ศิริพร พรพุทธษา (2542) กล่าวว่า พฤติกรรมในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม หมายถึง
การกระทาของผูส้ ูงอายุเพื่อป้องกันไม่ให้พลัดตกหกล้ม โดยการจัดหรื อลดปัจจัยเสี่ ยงต่าง ๆ อันชัก
นาหรื อเป็ นสาเหตุให้เกิดการพลัดตกหกล้ม การส่งเสริ มให้ร่างกายสามารถรักษาความสมดุล การ
หลีกเลี่ยงการกระทาที่ชกั นาให้พลัดตกหกล้ม และการจัดการกับปัจจัยสิ่ งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิด
การพลัดตกหกล้ม
24

ชุลี ภู่ทอง (2545) กล่าวว่า พฤติกรรมในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม หมายถึง การ


ปฏิบตั ิตนของผูส้ ูงอายุในการดารงชีวิตประจาวันมิให้พลัดตกหกล้ม โดยการหลีกเลี่ยงหรื อลดปัจจัย
เสี่ ยงของการพลัดตกกหกล้มทั้งปัจจัยเสี่ ยงภายในและปัจจัยเสี่ ยงภายนอกที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
จากความหมายที่กล่าวมาสรุ ปได้วา่ พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
หมายถึง การปฏิบตั ิตนของผูส้ ูงอายุในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม โดยการหลีกเลี่ยงหรื อลด
ปัจจัยเสี่ ยงของการพลัดตกกหกล้มทั้งปัจจัยเสี่ ยงภายในและปัจจัยเสี่ ยงภายนอกที่เกิดจาก
สภาพแวดล้อม
องค์ประกอบของพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุเป็ นกลวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบตั ิเหตุพลัด
ตกหกล้มจากปัจจัยเสี่ ยงภายในและปัจจัยเสี่ ยงภายนอก และสามารถลดผลกระทบที่จะส่งผลต่อ
ตนเอง ครอบครัว และสังคมได้อีกด้วย สาหรับการวิจยั ครั้งนี้ผวู ้ ิจยั เลือกศึกษาพฤติกรรมป้องกันการ
พลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ 4 องค์ประกอบ ได้แก่
1. การปรับปรุงสิ่ งแวดล้ อม
ผูส้ ู งอายุและครอบครัวต้องให้ความสาคัญในการปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและ
รอบบ้านให้มีความปลอดภัย ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุ ขในพื้นที่ควรให้ความรู ้เรื่ องการจัด
สิ่ งแวดล้อมสาหรับผูส้ ู งอายุและผูด้ ูแล เพื่อให้สามารถจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดารงชีวิตของ
ผูส้ ูงอายุลดภาวะการพลัดตกหกล้ม (ชลันดา ดุลการณ์, 2562) ดังนี้
1.1 เช็ดถูบา้ นทันทีที่เปี ยกแฉะหรื อมีน้ าหก
1.2 ในบริ เวณที่มืด เปิ ดสวิทซ์ไฟ ก่อนจะเดินเข้าไปในบริ เวณนั้น
1.3 เปลี่ยนหลอดไฟทันทีที่มีการเสี ยหรื อชารุ ด
1.4 การจัดแสงสว่างภายในบ้านและบริ เวณรอบบ้านให้เพียงพอ ควรใช้แสงสว่างที่
ผูส้ ู งอายุสามารถมองเห็นทางเดินหรื อวัสดุสิ่งของได้ชดั เจน โดยเฉพาะบริ เวณทางเดิน บันไดบ้าน
ห้องน้ า และห้องนอน
1.5 ควรมีการทาแถบสี ที่ตดั กัน หรื อสัญลักษณ์พ้นื ต่างระดับให้ผสู ้ ู งอายุสามารถ
สังเกตได้ชดั เจน บริ เวณขั้นบันได โดยเฉพาะขั้นบันไดบนสุ ดและล่างสุ ด
1.6 ควรมองก่อนที่จะก้าวเดินว่าพื้นเปี ยกลื่น มีตะไคร่ น้ า หรื อมีเด็กเล็ก หรื อสัตว์เลี้ยง
วิ่งมาชน หรื ออยูใ่ หกล้เคียงที่กีดขวางทางเดิน
1.7 การจัดวางสิ่ งและอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านให้เป็ นระเบียบ ไม่กีดขวางทางเดิน
ตลอดจนจัดสภาพสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านให้เรี ยบร้อย
1.8 มีการติดตั้งราวจับในห้องน้ าห้องส้วม
25

1.9 มีการติดตั้งราวบันไดทั้งสองข้าง ราวบันไดมีความมัน่ คง ไม่ชารุ ด


1.10 การเดินเฉพาะบนทางเดิน ไม่เดินออกนอกทางเดินหรื อเดินทางลัด
1.11 พรมเช็ดเท้าควรติดแน่นกับพื้น ไม่ลื่น หลีกเลี่ยงการใช้พรมหรื อผ้าเช็ดเท้าที่ขาด
2. การเปลีย่ นอิริยาบถ
ผูส้ ูงอายุควรเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ไม่รีบร้อนในการเปลี่ยนท่าทางหรื ออิริยาบถต่าง ๆ
หลีกเลี่ยงการแหงนหน้า การเหลียวซ้ายและขวา หรื อหมุนศีรษะอย่างเร็ว ๆ หากรี บร้อนอาจทาให้
หน้ามืดเป็ นลมและอาจทาให้ผสู ้ ู งอายุพลัดตกหกล้มได้ รวมทั้งการเดินและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ไม่ควรรี บร้อน ดังนั้นผูส้ ู งอายุจึงต้องมีสติขณะเดินเคลื่อนไหวและใช้สิ่งช่วยพยุง และควรมีการ
เตรี ยมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิ นที่จาเป็ นไว้ประจาตัว หรื อติดไว้ในบ้านในที่ ๆ สามารถมองเห็นได้
ชัดเจน เช่น เบอร์โทรศัพท์ของลูกหลานหรื อญาติ เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีผสู ้ ูงอายุเกิดภาวะ
ฉุกเฉินต่าง ๆ (ปริ ศนา รถทอง, 2561) และเนื่องจากการใช้ชีวิตประจาวันของคนเราจะมีพฤติกรรม
ที่เราทาซ้ า ๆ จนเกิดความเคยชิน ซึ่งพฤติกรรมบางพฤติกรรมอาจจะส่งผลเสี ยต่อสุขภาพได้ การ
ปรับอิริยาบถประจาวัน เพื่อสุ ขภาพที่ดีกว่าจึงเป็ นอีกหนึ่งวิธีที่จาเป็ น ได้แก่
การนัง่ ไขว่หา้ งเป็ นเวลานาน จะทาให้เกิดการกดทับน้ าหนักตัวลง ที่กน้ ข้างใดข้างหนึ่ง
เป็ นผลให้กระดูกคดและโค้งงอ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง และบริ เวณอุง้ เชิงกราน ทาให้มีอาการ
ปวดคอและหลังตามมา
ท่ายืนที่ถูกต้องควรลงน้ าหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่า ๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จะ
ทาให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่ างกาย ไม่ทาให้กล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่ง ต้องทางานหนักมาก
เกินไป ในทางตรงข้าม หากยืนพักขาหรื อลงน้ าหนักขาไม่เท่ากัน จะทาให้กระดูกเชิงกรานบิดเบี้ยว
ส่งผลให้กระดูกสันหลังคด
ท่านอนหงายเป็ นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยูใ่ นแนวระนาบขนานกับ
เพดาน ไม่แหงนหน้าหรื อก้มคอมากเกินไป หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรื อนิ่มเกินไป ควรมี
หมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจาเป็ นต้องนอนตะแคงให้หา
หมอนข้างกาย โดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยูบ่ นหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยูใ่ นแนวตรง ไม่
ควรนอนขดตัว เพราะส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังโดยตรง (สานักงานสนับสนุนและส่งเสริ ม
สุขภาพ, 2561)
3. การออกกาลังกาย
การออกกาลังกายที่เน้นการบริ หารร่ างกายเพื่อเพิ่มกาลังกล้ามเนื้อและการทรงตัว จะช่วย
สร้างเสริ มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว สามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มใน
ผูส้ ูงอายุ (ละออม สร้อยแสง, 2557) อย่างไรก็ตามผูส้ ูงอายุแต่ละคนมีความแตกต่างด้านร่ างกาย
26

ส่งผลให้วิธีการออกกาลังกายของแต่ละคนต่างกัน ดังนั้นผูส้ ู งอายุตอ้ งสามารถเลือกการออกกาลัง


กายที่เหมาะสมกับตนเอง
การศึกษาวิจยั ครั้งนี้ ผูว้ ิจยั จัดกิจกรรมออกกาลังกายให้กบั ผูส้ ู งอายุที่เข้าร่ วมโปรแกรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม ด้วยวิธีการสาธิตและลงมือฝึ กออกกาลังกายตามคู่มือและสื่ อวีดีทศั น์
เพื่อให้ผสู ้ ูงอายุสามารถออกกาลังกายด้วยตนเองต่อเนื่องที่บา้ นได้ โดยการออกกาลังกาย
ประกอบด้วย การยืดกล้ามเนื้ อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ การฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ
การฝึ กการเดินและการทรงตัว (ยากันล้ม: คู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ, 2558) ดังนี้
1. ท่ายืดกล้ามเนื้อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ 4 ท่า

ภาพที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ


ที่มา : ยากันล้ม (2558)

ท่าที่ 1 ท่าบริ หารศีรษะ


ยืนตรงมองไปข้างหน้า ค่อย ๆ หันศีรษะไปทางขวาให้สุดเท่าที่จะทาได้ จากนั้นค่อย ๆ
หันศีรษะไปทางซ้ายให้สุด (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
ท่าที่ 2 ท่าบริ หารคอ
ยืนตรงมองไปข้างหน้า เอาปลายนิ้วมือข้างที่ถนัดวางบริ เวณคาง ใช้มือค่อย ๆ ดันให้
ศีรษะหงายขึ้นช้า ๆ จนสุ ดและกลับมาหน้าตรง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
27

ท่าที่ 3 ท่ายืดหลัง
ยืนตรงมองไปข้างหน้า กางขากว้างเท่าหัวไหล่ วางฝ่ ามือไว้ตรงบั้นเอวด้านหลัง ค่อย ๆ
เอนตัวไปด้านหลังจนรู ้สึกตึง จากนั้นกลับมาท่ายืนตรง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
ท่าที่ 4 ท่าบริ หารลาตัว
ยืนตรงมองไปข้างหน้ามือเท้าเอว บิดลาตัวช่วงบนไปด้านขวาให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้
โดยไม่บิดสะโพก จากนั้นบิดลาตัวช่วงบนไปทางด้านซ้ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ (ทาซ้ า 10
ครั้ง)
2. ท่าฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 4 ท่า

ภาพที่ 4 ท่าฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ


ที่มา : ยากันล้ม (2558)

ท่าที่ 5 ท่าบริ หารกล้ามเนื้อต้นขาด้วยตุม้ ถ่วงน้ าหนัก


ใส่ ตมุ ้ ถ่วงน้ าหนักที่ขอ้ เท้าขวา และนัง่ บนเก้าอี้ที่มีพนักรองหลัง ยกขาขวาขึ้นและค่อย ๆ
วางขาลง (ทาซ้ า 10 ครั้ง) เปลี่ยนข้าง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
ท่าที่ 6 ท่าบริ หารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังด้วยตุม้ ถ่วงน้ าหนัก
ใส่ ตมุ ้ ถ่วงน้ าหนักที่ขอ้ เท้าขวา หันหน้าเข้าหาโต๊ะหรื อราวจับ ยกขาขวาขึ้นจากพื้น
จนกระทัง่ เท้าแตะก้นจากนั้นวางเท้าลง (ทาซ้ า 10 ครั้ง) เปลี่ยนข้าง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
28

ท่าที่ 7 ท่าบริ หารสะโพกด้านข้างด้วยตุม้ ถ่วงน้ าหนัก


ใส่ ตมุ ้ ถ่วงน้ าหนักที่ขอ้ เท้าขวา ยืนหันข้างให้โต๊ะหรื อราว จับราวให้มนั่ ยืดขาขวาให้ตรง
และเท้าตรง ยกขาขวาขึ้น และลดเท้าลงวางที่เดิม (ทาซ้ า 10 ครั้ง) เปลี่ยนข้าง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
ท่าที่ 8 ท่าบริ หารข้อเท้า
เริ่ มทาทีละข้างเริ่ มจากข้างขวาก่อน ยกขาขวาขึ้นจากพื้น ค่อย ๆ กระดกปลายเท้าเข้าหา
ตัว จากนั้นกระดกปลายเท้าลง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
3. ท่าฝึ กการเดินและการทรงตัว 8 ท่า

ภาพที่ 5 ท่าฝึ กการเดินและการทรงตัว


ที่มา : ยากันล้ม (2558)

ท่าที่ 9 ยืนต่อเท้าแบบมีราวจับ
ยืนตรงหันข้างเข้ากาแพง ใช้มือจับราวให้มนั่ (ข้างไหนก็ได้) เอาเท้าข้างหนึ่ งไปวางต่อ
ข้างหน้าเท้าอีกข้างหนึ่ งให้เป็ นเส้นตรงและค้างท่าไว้ 10 วินาที จากนั้นเปลี่ยนข้างโดยเอาเท้าที่อยู่
ข้างหลังไปวางข้างหน้าให้เป็ นเส้นตรงและค้างท่าไว้ 10 วินาที
ท่าที่ 10 เดินต่อเท้าแบบมีราวจับ
ยืนตรงหันข้างซ้ายเข้ากาแพง ใช้มือซ้ายจับราวให้มนั่ ค่อย ๆ เริ่ มเดินโดยก้าวเท้าไปไว้
ข้างหน้าในลักษณะปลายเท้าต่อส้นเท้าและเดินเช่นนี้ ไปเรื่ อย ๆ จนครบ 10 ก้าว จากนั้นกลับหลัง
หัน ใช้มือขวาจับราวเดินต่อเท้ากลับอีก 10 ก้าว (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
29

ท่าที่ 11 ยืนขาเดียวแบบมีราวจับ
ยืนตรงหันข้างซ้ายเข้ากาแพง/ ราวจับใช้มือจับราวจับให้มนั่ (ข้างไหนก็ได้)ยกขาข้างใด
ข้างหนึ่งขึ้นและยืนด้วยขาข้างเดียวนาน 10 วินาทีจากนั้นเปลี่ยนข้างอีก 10 วินาที
ท่าที่ 12 เดินด้วยส้นเท้าแบบมีราวจับ
ใช้มือจับราวให้มนั่ ค่อย ๆ ยกปลายเท้าขึ้นจนยืนด้วยส้นเท้าจากนั้นเดินด้วยส้นเท้าไป 10
ก้าวและค่อย ๆ ลดปลายเท้าลง กลับตัวและเดินด้วยส้นเท้าพร้อมใช้มือจับราวกลับไปยังจุดเริ่ มต้น
10 ก้าว และค่อย ๆ ลดปลายเท้าลง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
ท่าที่ 13 เดินด้วยปลายเท้าแบบมีราวจับ
ใช้มือจับราวให้มนั่ ค่อย ๆ ยกส้นเท้าขึ้นจนยืนด้วยปลายเท้า จากนั้นเดินด้วยปลายเท้าไป
10 ก้าว และค่ อ ย ๆ ลดส้ น เท้าลง กลับ ตัวและเดิ น ด้ว ยปลายเท้าพร้ อ มใช้มื อ จับ ราวกลับ ไปยัง
จุดเริ่ มต้น10 ก้าว และค่อย ๆ ลดส้นเท้าลง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
ท่าที่ 14 ท่าลุกจากเก้าอี้ ใช้ 2 มือพยุง
นัง่ บนเก้าอี้ที่มีพนักพิงแข็งแรงไม่เคลื่อนไหวและไม่เตี้ยไปนัก วางเท้าหลังหัวเข่า ค่อย ๆ
โน้มตัวไปด้านหน้าและใช้ 2 มือช่วยพยุงดันตัวขึ้นยืน (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
ท่าที่ 15 ท่าลุกจากเก้าอี้ ใช้มือเดียวพยุง
นั่ ง บนเก้า อี้ ที่ มี พ นั ก พิ ง แข็ ง แรงไม่ เคลื่ อ นไหวและไม่ เตี้ ย ไปนัก วางเท้าหลังหั ว เข่ า
เล็กน้อย ค่อย ๆ โน้มตัวไปด้านหน้าและใช้มือเดียวช่วยพยุงดันตัวขึ้นยืน (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
ท่าที่ 16 ท่าลุกจากเก้าอี้ ไม่ใช้มือพยุง
นัง่ บนเก้าอี้ที่มีพนักพิงแข็งแรงไม่เคลื่อนไหวและไม่เตี้ยไปนักวางเท้าหลังหัวเข่า ค่อย ๆ
โน้มตัวไปด้านหน้าและลุกขึ้นยืนโดยไม่ใช้มือช่วยพยุง (ทาซ้ า 10 ครั้ง)
4. การแต่งกาย
4.1 การแต่งกายด้วยเสื้ อผ้าที่เหมาะสม
ขนาดพอดี ไม่คบั หรื อหลวมเกินไป แต่งตัวแล้วมีความมัน่ ใจ มีความอบอุ่นพอดีกบั
อากาศ ไม่ร้อนอึดอัด หลีกเลี่ยงเสื้ อผ้าที่มีสายยาวรุ่ มร่ าม ที่อาจทาให้เกี่ยวกับสิ่ งของต่าง ๆ ผูส้ ู งอายุ
ที่ใส่ ผา้ ถุงหรื อกางเกงยาวเกินไปควรปรับระดับของชายผ้าถุงหรื อกางเกงให้ส้ นั ลงและควรให้เลย
พ้นข้อเท้าขึ้นไป เพราะอาจทาให้พลัดตกหกล้มได้
4.2 สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม
4.2.1 รองเท้ามีขนาดที่พอดี ไม่คบั หรื อหลวมเกินไป เมื่อไปเลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่
ควรไปซื้อในเวลาบ่ายหรื อเย็น เนื่ องจากเท้าจะมีอาการบวมและมีขนาดใหญ่ข้ นึ เล็กน้อย หลีกเลี่ยง
30

การเดินเท้าเปล่า หรื อใส่ รองเท้าแตะหลวม ๆ หลีกเลี่ยงการใส่ รองเท้าแบบส้นนิ่ม ๆ เนื่ องจากทาให้


เกิดอาการเซ และเสี ยการทรงตัวได้ง่าย
4.2.2 รองเท้าส้นเตี้ยมีความสู งไม่เกินหนึ่งนิ้ว ส้นแข็งและขอบมน พื้นรองเท้าควร
มีดอกยาง เพื่อให้พ้ืนรองเท้าสามารถเกาะติดกับพื้นได้ดีข้ ึนป้องกันการลื่นพลัดตกหกล้ม และ
ด้านหน้าควรเชิดขึ้นจากพื้นเล็กน้อย เพื่อให้เดินได้มนั่ คงและป้องกันการสะดุดเท้าตัวเอง
4.2.3 รองเท้าหุม้ ส้น โดยส่วนที่หุม้ ส้นและข้อเท้าควรมีความแข็งพอสมควร เพื่อ
เป็ นการพยุงข้อเท้า ทาให้ทรงตัวได้ดีข้ ึน
4.2.4 รองเท้าหน้ากว้าง เพื่อทาให้นิ้วเท้าสามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก
4.2.5 รองเท้าควรปรับขนาดได้ เช่น รองเท้าผ้าใบ เนื่องจากขนาดของเท้าของ
คนเราจะมีการเปลี่ยนแปลง

ภาพที่ 6 การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ที่มา : ยากันล้ม (2558)

แนวคิดและทฤษฎีที่เกีย่ วข้ อง
แบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ (Health belief model)
1. ความหมายของแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเป็ นหนึ่งในทฤษฎีที่รู้จกั กันดีและถูกนามาใช้อย่างแพร่ หลายใน
การศึกษาพฤติกรรมสุ ขภาพ เป็ นแบบแผนหรื อรู ปแบบที่พฒั นาขึ้นมาจากทฤษฎีดา้ นจิตสังคมของ
31

Kurt Lewin โดยชี้ให้เห็นว่าความเชื่อของผูค้ นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในการรับรู ้ประโยชน์ของการ


กระทาและอุปสรรคในการดาเนินการและการรับรู ้ความสามารถของตนเอง
Rokeach (1970) ได้ให้ความหมายของความเชื่อนี้วา่ คือความรู ้สึกนึกคิด ความเข้าใจของ
บุคคลต่อสิ่ งใดสิ่ งหนึ่ง ซึ่งสามารถเร้าให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบในรู ปแบบของการกระทา เกี่ยวกับ
สิ่ งนั้น ๆ โดยที่ตนอาจจะรู ้ตวั หรื อไม่รู้ตวั ก็ตาม ความเชื่อสิ่ งนั้น ๆ ไม่จาเป็ นต้องอยูบ่ นพื้นฐานแห่ง
ความเป็ นจริ งเสมอ หรื อความเชื่อนั้นอาจเป็ นเพียงความรู ้สึกนึกคิด ความเข้าใจ ความคาดหวังหรื อ
สมมติฐาน ซึ่งอาจมีเหตุผลหรื อไม่มีเหตุผลก็ได้ความเชื่อเป็ นองค์ประกอบในตัวบุคคลที่ฝังแน่นอยู่
ในความคิด ความเข้าใจ เมื่อบุคคลมีความเชื่ออย่างใด ความเชื่อนั้นจะเป็ นแนวโน้มชักนาให้บุคคล
ประพฤติปฏิบตั ิตามความคิดและความเข้าใจนั้น ๆ
Phipps, Long และ Wood (1983) ได้กล่าวถึงความหมายว่า แบบแผนความเชื่อด้าน
สุขภาพ หมายถึง ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของตัวบุคคลซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจ็บป่ วยและการ
ดูแลรักษา เมื่อเกิดความเจ็บป่ วยขึ้นก็ยอ่ มที่จะต้องจึงมีการปฏิบตั ิตวั หรื อมีพฤติกรรมทางสุ ขภาพที่
แตกต่างกันกับบุคคลที่ไม่เจ็บป่ วยออกไป นั้นก็ข้ ึนอยูก่ บั องค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ ความรู ้
เกี่ยวกับสาเหตุของโรค อาการ และการรักษา การรับรู ้ถึงความรุ นแรงของโรคที่เป็ นอยู่ ประกอบกับ
ความเชื่อเดิม ความสนใจและค่านิยม เป็ นต้น
สิ นศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี และศรี เสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี (2556) ได้อธิบายความหมายของ
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ว่าใช้ในการอธิบายและทานายพฤติกรรมของบุคคลในการที่จะ
ปฏิบตั ิเพื่อป้องกันโรคว่าบุคคลจะต้องมีการรับรู ้โอกาสเสี่ ยง ความรุ นแรงของโรค ซึ่งการรับรู ้น้ ีจะ
ผลักดันให้บุคคลหลีกเลี่ยงจากภาวะคุกคามของโรคโดยเลือกวิธีปฏิบตั ิที่คิดว่าเป็ นวิธีที่ดีที่สุด โดย
การเปรี ยบเทียบประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบตั ิกบั ผลเสี ย ค่าใช้จ่าย หรื ออุปสรรคที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้นในการที่จะเปลี่ยนแปลพฤติกรรมได้น้ นั จะต้องมีการจัดกิจกรรมการให้คาแนะนาที่เหมาะสม
เพื่อให้เกิดการรับรู ้ที่ถูกต้อง มีส่วนร่ วมในการค้นหาศักยภาพของตนเอง รับรู ้ปัญหา กาหนด
แนวทางและเป้าหมายที่ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อด้านสุ ขภาพในทางที่ดี
ขึ้นและเป็ นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมที่ดี
กล่าวโดยสรุ ปได้วา่ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ หมายถึง ความเชื่อ ความรู ้สึกนึกคิด
และความเข้าใจ ที่จะยอมรับหรื อการรับรู ้ของบุคคลนั้น ๆ ต่อภาวะสุ ขภาพอนามัยของตนเอง ซึ่ง
สามารถส่งผลต่ออาการเจ็บป่ วยรวมถึงการดูแลรักษาตัวเอง หรื อพฤติกรรมทางสุขภาพที่แตกต่าง
กันกับบุคคลที่ไม่เจ็บป่ วยเป็ นสิ่ งที่ชกั นา ให้บุคคลนั้น ๆ มีพฤติกรรมสุขภาพตามความคิดและความ
เข้าใจได้
32

2. แนวคิดแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ (Health belief model)


Kurt Lewin (1951) ทฤษฎีอวกาศของชีวิต ซึ่งมีสมมติฐานว่าบุคคลจะหันเหตนเองไปสู่
พื้นที่ที่บุคคลให้ค่านิยมเชิงบวกและขณะเดียวกันจะหลีกเลี่ยงจากพื้นที่ที่มีค่านิยมเชิงลบ อธิบายได้
ว่า บุคคลจะแสวงหาแนวทางเพื่อจะปฏิบตั ิตามคาแนะนา เพื่อการป้องกันและฟื้ นฟูสภาพตราบ
เท่าที่การปฏิบตั ิเพื่อป้องกันโรคนั้นเป็ นสิ่ งที่มีค่าเชิงบวกมากกว่าความยากลาบากที่จะเกิดขึ้น จาก
การปฏิบตั ิตามคาแนะนาดังกล่าวบุคคลจะต้องมีความรู ้สึกกลัวต่อโรคหรื อรู ้สึกว่าโรคคุกคามตน
และจะต้องมีความรู ้สึกว่าตนเองมีพลังที่จะต่อต้านโรคได้
Rosenstock (1974) เป็ นบุคคลที่นาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมาเผยแพร่ จึงเป็ นผูถ้ ูก
อ้างอิงในฐานะเป็ นผูร้ ิ เริ่ ม โดยได้สรุ ปองค์ประกอบพื้นฐานของแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพว่า
การที่บุคคลจะแสวงหาและปฏิบตั ิตามคาแนะนาด้านสุ ขภาพภายใต้สถานการณ์เฉพาะอย่างเท่านั้น
บุคคลนั้นจะต้องมีความรู ้ระดับหนึ่ง (ต่าสุด) และมีแรงจูงใจต่อการที่จะทาให้มีสุขภาพที่ดีจะต้อง
เชื่อว่าตนมีความเสี่ ยงต่อภาวะเจ็บป่ วยและเชื่อว่าการรับการรักษาเป็ นวิธีหนึ่งที่จะสามารถควบคุม
โรคได้ ตลอดจนเชื่อว่าค่าใช้จ่ายของการควบคุมโรค และทาการเปรี ยบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะ
ได้รับ สถานการณ์เหล่านี้คือความเชื่อเกี่ยวกับโอกาสเสี่ ยงของการเป็ นโรค การรับรู ้ความรุ นแรง
ของโรค ความเชื่อว่าโรคที่เป็ นสามารถรักษาให้หายได้
Becker และคณะ (1974) ได้ปรับปรุ งแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพสาหรับใช้ทานาย
พฤติกรรมการป้องกันโรค โดยกล่าวว่า การที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อ
หลีกเลี่ยงจากการเป็ นโรค บุคคลนั้นจะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีโอกาสเสี่ ยงต่อการเกิดโรค และมี
ความเชื่อว่าโรคที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุ นแรงทาให้เกิดผลกระทบในการดาเนินชีวิตได้ อีกทั้งบุคคล
นั้นต้องเชื่อว่าการปฏิบตั ิพฤติกรรมจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการลดโอกาสเสี่ ยงต่อการเกิดโรคหรื อ
ลดความรุ นแรงของโรคถ้าหากป่ วยเป็ นโรคนั้น ๆ และเชื่อว่าเป็ นการกระทาที่ไม่มีอุปสรรคขัดขวาง
การปฏิบตั ิพฤติกรรมนั้น ๆ
Janz and Becker (1984) กล่าวว่าบุคคลที่มีสุขภาพดี ไม่มีประสบการณ์เจ็บป่ วยหรื อไม่มี
บุคคลในครอบครัวหรื อบุคคลใกล้ชิดเจ็บป่ วย ส่งผลให้มีการรับรู ้โอกาสเสี่ ยงในการเกิดโรคน้อยลง
กล่าวโดยสรุ ปได้วา่ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เป็ นรู ปแบบที่พฒั นาขึ้นมาจากทฤษฎีทางด้าน
จิตวิทยาสังคม และใช้อธิบายถึงพฤติกรรมของบุคคล การกระทาที่แสวงหาและปฏิบตั ิตนตาม
คาแนะนาด้านสุ ขภาพที่เป็ นสิ่ งชักจูง และมีอิทธิพลต่อการตัดสิ นใจ และการรับรู ้ของบุคคลที่เป็ น
ตัวชี้วดั พฤติกรรมได้ คือบุคคลที่จะสามารถปฏิบตั ิตวั เพื่อป้องกันโรค หรื อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคได้
จะต้องมีความเชื่อว่าตนนั้น เป็ นบุคคลที่เสี่ ยงต่อการเกิดโรคแล้วเมื่อเกิดเป็ นโรคขึ้นจะทาให้เกิด
ความรุ นแรง รวมทั้งมีผลกระทบต่อการดารงชีวิตได้ ดังนั้นในปัจจุบนั จึงมีการนาแบบแผนความ
33

เชื่อด้านสุ ขภาพไปใช้ร่วมกับทฤษฎี หรื อแบบจาลองด้านพฤติกรรมสุ ขภาพกันมากขึ้น ทั้งนี้ก็


เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุ ขภาพได้อย่างกว้างขวางมากยิง่ ขึ้น
3. องค์ ประกอบของแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ (สุปรี ยา ตันสกุล, 2550; อาภาพร
เผ่าวัฒนาและคณะ, 2555; Lizewski, & Maguire, 2010)
3.1 การรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการเป็ นโรค (Perceived susceptibility) หมายถึง การ
รับรู ้ การเข้าใจในความเป็ นไปได้ในการเกิดโรคของบุคคล บุคคลจะมีการรับรู ้ในระดับที่แตกต่าง
กัน เมื่อบุคคลใดรับรู ้วา่ ตนเองมีความเสี่ ยงต่อการเกิดโรคสู ง บุคคลนั้นจะพยายามหลีกเลี่ยงการเกิด
โรคโดยมีการแสดงพฤติกรรมการป้องกันโรค
3.2 การรับรู ้ความรุ นแรงของโรค (Perceived severity) หมายถึง ความเชื่อของบุคคล
ต่อความรุ นแรงของโรค บุคคลจะประเมินว่าความรุ นแรงอยูใ่ นระดับใด ความรุ นแรงอาจนาไปสู่
การเสี ยชีวิต ความพิการมีผลต่อการดาเนินชีวิต ต่อสมาชิกในครอบครัว ต่อบทบาททางสังคมของ
ตนเองเพียงใด เมื่อบุคคลรับรู ้ความเสี่ ยงของการเกิดโรคและรับรู ้ความรุ นแรงของโรคจะทาให้
บุคคลรับรู ้ถึงภาวะคุกคามของการเกิดโรค
3.3 การรับรู ้ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบตั ิตน (Perceived benefits) หมายถึง
ความเชื่อของบุคคลว่าโรคนั้นมีความรุ นแรงหรื อก่อให้เกิดผลเสี ยต่อตนแล้วบุคคลจะยอมรับและ
ปฏิบตั ิในสิ่ งใดนั้นจะเป็ นผลมาจากความเชื่อที่วา่ วิธีการนั้นเป็ นทางออกที่ดี ก่อให้เกิดผลดีมี
ประโยชน์และเหมาะสมที่สุดที่จะทาให้ไม่ป่วยหรื อหายจากโรค ในขณะเดียวกันบุคคลจะต้องมี
ความเชื่อที่วา่ ค่าใช้จ่ายซึ่งเป็ นข้อเสี ยหรื ออุปสรรคของการปฏิบตั ิในการป้องกันและรักษาโรค
จะต้องมีนอ้ ยกว่าเมื่อเทียบเท่าประโยชน์ที่จะได้ การรับรู ้ประโยชน์ของการป้องกันโรคเป็ นปัจจัยที่
สนับสนุนให้บุคคลมีพฤติกรรมที่ถูกต้องมากขึ้น
3.4 การรับรู ้อุปสรรค (Perceived barriers) หมายถึง ความเชื่อของบุคคลต่ออุปสรรค
ของการปฏิบตั ิ หรื อการคาดการณ์ล่วงหน้าของบุคคลต่อการปฏิบตั ิพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
อนามัยของบุคคลในทางลบ ซึ่งอาจได้แก่ ค่าใช้จ่าย หรื อการมารับบริ การหรื อการปฏิบตั ิพฤติกรรม
อนามัยนั้นขัดกับอาชีพหรื อการดาเนินชีวิตประจาวัน ซึ่งทาให้เกิดความขัดแย้งและหลีกเลี่ยง
พฤติกรรมอนามัย บุคคลจึงต้องประเมินระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นก่อนการ
ตัดสิ นใจ
3.5 การรับรู ้ความสามารถของตนเอง (Perceived self efficacy) หมายถึง การตัดสิ น
ความสามารถของตนเองว่าจะมีความสามารถในการปฏิบตั ิพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคมากหรื อน้อย
เพียงใด หรื อสามารถที่จะปฏิบตั ิพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคได้สาเร็จในระดับใด การที่บุคคลจะ
34

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จะต้องมีการรับรู ้ความสามารถของตนเองว่าสามารถที่จะกระทา
พฤติกรรมนั้น ๆ ได้
3.6 สิ่ งชักนาให้มีการปฏิบตั ิ (Cues to action) หมายถึง สิ่ งชักนาโอกาส หรื อหนทางที่
จะช่วยทาให้มีการปฏิบตั ิตน สิ่ งชักนาให้เกิดการปฏิบตั ิ มี 2 ด้าน คือ สิ่ งชักนาภายในหรื อสิ่ งกระตุน้
ภายใน (Internal cues) ได้แก่ การรับรู ้สภาวะของร่ างกายตนเอง เช่น อาการของโรคหรื อการ
เจ็บป่ วย ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพ เป็ นต้น ส่ วนสิ่ งชักนาภายนอกหรื อสิ่ งกระตุน้ ภายนอก
(External cues) ได้แก่การได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านทางเอกสารหรื อสื่ อต่าง ๆ การเตือนจากบุคคลที่
เป็ นที่รักหรื อเคารพ เช่น สามีภรรยา บิดา มารดา อาจารย์ ฯลฯ เป็ นต้น
สรุ ปแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model) ว่าการที่บุคคลใดรับรู ้วา่
ตนเองมีความเสี่ ยงต่อการเป็ นโรคและโรคนั้นมีความรุ นแรงเพียงพอ มีการรับรู ้ประโยชน์ในการ
ปฏิบตั ิพฤติกรรมมากกว่าการรับรู ้อุปสรรคในการปฏิบตั ิพฤติกรรม จะส่ งผลต่อการเริ่ มต้นปฏิบตั ิ
พฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคโดยได้เพิ่มการรับรู ้ความสามารถแห่งตนให้เป็ นส่วนหนึ่งของการรับรู ้
อุปสรรค เนื่องจากการรับรู ้ความสามารถแห่งตนสามารถลดการรับรู ้อุปสรรคลงได้และส่งผลดีต่อ
พฤติกรรมสุ ขภาพมากยิง่ ขึ้น (Janz & Becker, 1984)

ภาพที่ 7 แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model)


ที่มา : Janz and Becker (1984)
35

ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสั งคม (Social support theory)


แรงสนับสนุนทางสังคมเป็ นปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กบั สุขภาพ
พฤติกรรม และเป็ นสิ่ งที่ก่อให้เกิดผลดีต่อภาวะสุ ขภาพ ซึ่ งมีนกั วิชาการและนักวิจยั หลายท่าน ได้ให้
ความหมายของแรงสนับสนุนทางสังคมไว้หลายรู ปแบบ ดังนี้
Caplan (1974) กล่าวว่า ธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์กนั ระหว่างบุคคลต้องมีการให้การ
ช่วยเหลือ สนับสนุนทั้งด้านอารมณ์ ให้กาลังใจ แบ่งปั นสิ่ งของ ชี้แนะ ให้คาแนะนา หรื อข้อมูล
ข่าวสารที่เป็ นประโยชน์ ตลอดจนให้ขอ้ มูลป้อนกลับเพื่อให้บุคคลรู ้สึกว่าตนเองมีความมัน่ คงและ
ปลอดภัย
จุฬาภรณ์ โสตะ (2554) กล่าวถึงแรงสนับสนุนทางสังคมไว้วา่ คือ กลุ่มที่เอื้อให้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงทางความรู ้สึก การกระทา เป็ นการให้ความช่วยเหลือในรู ปแบบของการให้กาลังใจ
คาแนะนา การตักเตือน การรับฟังปัญหาด้วยความเห็นใจ เข้าใจ แลกเปลี่ยนความรู ้คิด ความรู ้สึก
ลดความกลัว ความกังวล โดยกลุ่มช่วยเหลืออาจให้การสนับสนุนด้วยสิ่ งของ การให้รางวัล ช่วย
ด้านการเงิน การอานวยความสะดวก ชี้แนะแนวทางการปฏิบตั ิ จุดมุ่งหมายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมี
พลัง มีความเชื่อมัน่ ในการเผชิญปัญหา แก้ปัญหาและดูแลตัวเองได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ
House (1981) ได้ให้ความหมายของการสนับสนุนทางสังคมว่า แรงสนับสนุนทางสังคม
เป็ นส่วนที่มีความสาคัญในการเป็ นแรงผลักดันเพื่อให้เกิดพฤติกรรม และเป็ นกระบวนการของการ
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็ นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การให้การสนับสนุนมีรูปแบบเป็ นการ
กระทาหรื อพฤติกรรม และการสนับสนุนส่ งผลลัพธ์ทางบวกกับบุคคลทั้งทางด้านร่ างกายและจิต
สังคม เป็ นแนวคิดที่ชดั เจนและสะดวกต่อการวัดว่าระบบการสนับสนุนทางสังคม โดย House แบ่ง
แรงสนับสนุนทางสังคม ออกเป็ น 4 ด้าน ดังนี้
1. แรงสนับสนุนทางด้านอารมณ์ (Emotional support) เป็ นการแสดงออกถึงความรู ้สึก
ห่วงใย ความรักและความผูกพัน เห็นอกเห็นใจ
2. แรงสนับสนุนด้านการให้ความช่วยด้านสิ่ งของหรื อการให้บริ การและกระทาเพื่อ
ช่วยเหลือ (Instrumental support) เช่น การให้เงิน การให้แรงงาน การให้เวลา เป็ นต้น
3. แรงสนับสนุนด้านการให้ขอ้ มูลข่าวสาร (Informational support) รวมถึงการให้คา
ชี้แนะ การให้คาปรึ กษา รวมถึงการให้ขอ้ มูลที่สามารถนาไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่กาลังเผชิญอยู่
4. แรงสนับสนุนด้านการสะท้อนความคิดหรื อสนับสนุนให้ประเมินตนเอง (Appraisal
support) ได้แก่ การให้ขอ้ มูลป้อนกลับ เป็ นการให้ขอ้ มูลเกี่ยวกับการเรี ยนรู ้ดว้ ยตนเองการเห็นพ้อง
หรื อให้การรับรองเพื่อให้เกิดความมัน่ ใจ
36

ดังนั้นจากความหมายของแรงสนับสนุนทางสังคม ที่กล่าวมาข้างต้น แรงสนับสนุนทาง


สังคม หมายถึงการที่บุคคลได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ปฏิสัมพันธ์ดว้ ยทางด้าน
อารมณ์ สังคม วัตถุ สิ่ งของรวมทั้งข้อมูลข่าวสารด้วยการแสดงความรู ้สึกในทางที่ดีของบุคคลหนึ่ง
แก่บุคคลหนึ่ง ด้วยการให้กาลังใจ คาแนะนา การตักเตือน การสนับสนุนด้วยสิ่ งของ รางวัล เงิน
การอานวยความสะดวก และการชี้แนะแนวทางการปฏิบตั ิ ผลของแรงสนับสนุนทาให้บุคคลเกิด
ความตระหนัก สามารถตอบสนองต่อสิ่ งเร้าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ รวมถึงเป็ นแรงผลักดัน
เพื่อให้เกิดพฤติกรรม และมีความเชื่อมัน่ ในการดูแลตัวเองได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ
สาหรับการศึกษาครั้งนี้ ผูว้ ิจยั ใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพ (Health belief
model) และแรงสนับสนุนทางสังคม (Social support theory) มาประยุกต์กิจกรรมเพื่อสร้างเสริ ม
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ และประยุกต์แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์
(Emotional support) ด้านการให้ขอ้ มูลข่าวสาร (Informational support) โดยให้บุคคลหรื อกลุ่ม
บุคคล ได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ญาติพี่นอ้ ง เพื่อน อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทาให้ได้รับ
แรงสนับสนุนเกิดความรู ้สึกผูกพัน เชื่อว่ามีคนรัก มองเห็นคุณค่า และรู ้สึกว่าตนเองเป็ นส่วนหนึ่ง
ของสังคม สามารถเผชิญและตอบสนองต่อความต้องการที่จะส่ งผลให้บุคคลนั้นเกิดพฤติกรรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้มประสิ ทธิภาพและต่อเนื่อง

งานวิจัยที่เกีย่ วข้ อง
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ภาวดี วิมลพันธ์ และคณะ (2556) ศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อ
การพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ ที่มีประวัติการพลัดตกหกล้ม โปรแกรมฯพัฒนาจากกิจกรรมของ
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริ กา (Center
for Diseases Control and prevention) และการค้นหาสถานการณ์ปัญหาโดยการสนทนากลุ่มของ
ผูส้ ูงอายุในชุมชน จากนั้นจัดกลุ่มเรี ยนรู ้แบบมีส่วนร่ วมระหว่างผูส้ ู งอายุและพยาบาลที่มีความรู ้
เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม ประกอบด้วย 1. การให้ความรู ้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ ยงและแนวทางการ
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม 2. การออกกาลังกายแบบไท่ชี่ 3. การทบทวนแผนการรักษาโดยการใช้ยา
4. การประเมินและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น 5. การประเมินและการจัดการสิ่ งแวดล้อม
ให้ปลอดภัย กลุ่มทดลองเข้าร่ วมกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2-4 ชัว่ โมง จานวน 12 ครั้ง
ผลการวิจยั พบว่า จานวนครั้งของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุหลังใช้โปรแกรมป้องกันการพลัด
ตกหกล้มลดลงจากการใช้โปรแกรมอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยงั พบว่า จานวนครั้งของ
37

การพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุภายหลังการใช้โปรแกรมฯต่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนยั สาคัญทาง


สถิติ
วิทยา วาโย (2560) ศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มแบบสหปัจจัยต่อ
พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุในชุมชน อายุ 60-75 ปี จานวนทั้งสิ้ น 60 คน
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มแบบสหปัจจัยของผูส้ ู งอายุในชุมชน
โดยการแจกคะแนนความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มเพื่อกระตุน้ ให้ผสู ้ ูงอายุได้ตระหนักถึงความ
เสี่ ยงในการพลัดตกหกล้มของตนเอง การให้ความรู ้เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม การออกกาลัง
กายด้วยตาราง 9 ช่อง การแจกคู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้ม การแจกปฏิทินเตือนการพลัดตกหก
ล้ม การติดตามเยีย่ มบ้านเพื่อปรับสิ่ งแวดล้อมให้ปลอดภัยและการตรวจสอบการรับประทานยา
ส่งผลทาให้ผสู ้ ูงอายุที่เข้าร่ วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการป้ องกันการพลัดตกหกล้มสู งขึ้น
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ (2560) ศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
จานวน 7 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ชัว่ โมง 30 นาที สัปดาห์ที่ 1 ให้ความรู ้เกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงเมื่อสูงอายุ การพลัดตกหกล้ม ปัจจัยเสี่ ยงในการเกิดพลัดตกหกล้ม ภาวะแทรกซ้อน
หลังการพลัดตกหกล้ม สัปดาห์ที่ 2 ให้ความรู ้เกี่ยวกับการรับประทานยา สรรพคุณ อาการข้างเคียง
การปฏิบตั ิตวั เมื่อรับประทานยา ประเมินการรับรู ้สมรรถนะแห่งตน กระตุน้ ให้กลุ่มมีการ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์และปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาที่ผ่านมาและแนวทางในการแก้ไข สัปดาห์ที่
3 ฝึ กทักษะการออกกาลังกาย โดยให้กลุ่มตัวอย่างตั้งเป้าหมายในการออกกาลังกายร่ วมกัน เน้นย้า
เกี่ยวกับความผิดปกติที่ควรหยุดออกกาลังกาย ประเมินการรับรู ้สมรรถนะแห่งตน สัปดาห์ที่ 4
ติดตามเยีย่ มบ้าน เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ ยงด้านสิ่ งแวดล้อมและผลของการสอนการออกกาลังกาย ให้
คาแนะนาในการปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อม สอบถามปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางแก้ไข
ร่ วมกับผูส้ ูงอายุ สัปดาห์ที่ 5-6 ติดตามเยีย่ มทางโทรศัพท์ เพื่อกระตุน้ ให้เกิดการปฏิบตั ิพฤติกรรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้มอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ที่ 7-11 กลุ่มทดลองปฏิบตั ิตวั ตามแนวทางของ
โปรแกรมฯ สัปดาห์ที่ 12 ติดตามอุบตั ิการณ์ของการเกิดพลัดตกหกล้ม โดยการสัมภาษณ์แล้วบันทึก
ข้อมูลที่ได้เป็ นจานวนครั้งหลังการได้รับโปรแกรมฯในแต่ละราย หลังจากดาเนิ นครบตาม
โปรแกรมฯแล้ว ได้มีการติดตามจานวนครั้งของการพลัดตกหกล้มในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
ทางโทรศัพท์ เป็ นระยะเวลา 90 วันและมีการติดตามอัตราการพลัดตกหกล้มใน 90 วัน ผลการวิจยั
พบว่า หลังได้รับโปรแกรมฯ ค่าเฉลี่ยของการพลัดตกหกล้มของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่
แตกต่างกัน (p >.05) และหลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของการพลัดตกหกล้มลดลง
แต่ไม่มีนยั สาคัญทางสถิติ (p >.05)
38

ศศิมา ชีพฒั น์ (2560) ศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง


ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุในชุมชน โดยประยุกต์ทฤษฎีความพร่ องในการดูแล
ตนเองของโอเร็ม (Self-care deficit) ประกอบด้วยกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการดูแล
ตนเองเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มสาธิตและฝึ กทักษะการออกกาลังกายเพื่อเพิม่ การทรงตัว
ติดตามเยีย่ มบ้านผูส้ ูงอายุโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ให้ความรู ้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ของผูส้ ู งอายุแก่ครอบครัว ผลการวิจยั พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลตนเอง
เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรี ยบเทียบอย่างมีนยั สาคัญ
ทางสถิติ (p-value<.05)ซึ่งสนับสนุนการนาโปรแกรมการพยาบาลไปประยุกต์ใช้ในชุมชนเพื่อ
ส่งเสริ มให้ผสู ้ ูงอายุเกิดพฤติกรรมในการดูแลตนเองในเรื่ องการป้ องกันการพลัดตกหกล้มซึ่งจะ
ส่งผลให้ผสู ้ ูงอายุมีความสามารถในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมช่วยลดภาวะพึ่งพิงและทาให้
คุณภาพชีวิตของผูส้ ู งอายุดีข้ ึน
มานิตา รักศรี (2562) ศึกษาผลของโปรแกรมการปรับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อ
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูป้ ่ วยสู งอายุในโรงพยาบาล พัฒนาตามแนวคิด Health
Belief Model ประกอบด้วย 1. การประเมินโอกาสเสี่ ยงและปัจจัยเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มและแจ้ง
ผลการประเมินแก่ผปู ้ ่ วยสู งอายุ 2. การให้ความรู ้แบบรายบุคคลโดยดูสื่อมัลติมีเดีย และให้คู่มือการ
ปฏิบตั ิตนเรื่ อง “การป้ องกันการพลัดตกหกล้มสาหรับผูป้ ่ วยสูงอายุในโรงพยาบาล” 3. การฝึ กทักษะ
โดยใช้วิธีสาธิต (Demonstrating) วิธีการเปลี่ยนอิริยาบถและการบริ หารกล้ามเนื้ อขา สาธิตย้อนกลับ
(Return demonstrating) 4. ติดป้ายเตือน “ระวังพลัดตกหกล้ม” ที่มีคาแนะนาวิธีการป้องกันการพลัด
ตกหกล้มตามระดับความเสี่ ยงที่เตียงของผูป้ ่ วยและติดสติ๊กเกอร์แถบสี บอกระดับความเสี่ ยงต่อการ
พลัดตกหกล้มไว้ที่ป้ายชื่อที่ขอ้ มือของผูป้ ่ วย ผลการวิจยั พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ มี
คะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ
ธีรภัทร อัตวินิจตระการ (2562) ศึกษาโปรแกรมการเตรี ยมความพร้อมและป้องกันการ
พลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ แบบบูรณาการอย่างเป็ นระบบเพื่อให้ผสู ้ ูงอายุสามารถใช้โปรแกรมได้
ด้วยตนเอง ส่ งผลให้เกิดความยัง่ ยืนในระยะยาว โดยเน้นการมีส่วนร่ วมในชุมชนโดยเนื้อหาของ
โปรแกรมถูกพัฒนามาจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและคู่มือที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสม
กับผูส้ ู งอายุ ได้แก่ คู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุ คู่มือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
กับผูส้ ูงอายุ7 เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่ วม (AIC) วารสารการแพทย์ของต่างประเทศ
และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยโปรแกรมมีกิจกรรมหลายอย่างร่ วมกันที่จะสามารถ
ครอบคลุมปัจจัยเสี่ ยงในด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุมีระยะเวลาดาเนิน
โปรแกรม 12 สัปดาห์ (มีท้ งั รายกลุ่มและรายบุคคล) โดยโปรแกรมจะจัดขึ้น 1 วันต่อสัปดาห์
39

สัปดาห์ ละ 1 ครั้ง ดังนั้น ใน 1 เดือน โปรแกรมจะครบทั้ง 4 กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1-4 การ
ให้ความรู ้เกี่ยวกับการป้ องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุ เนื้อหาประกอบด้วยสาเหตุและปัจจัย
เสี่ ยงที่ทาให้เกิดการพลัดตกหกล้ม อันตรายและผลกระทบของการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ โดย
หัวหน้ากลุ่มจะเป็ นผูส้ ูงอายุที่ได้รับมอบหมายการสอนในหัวข้อที่กาหนด มีการแจกคู่มือการ
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม การให้คาแนะนาปรึ กษาเกี่ยวกับการใช้ยาและสอนวัดสายตา สัปดาห์ที่
5-8 การออกกาลังกายเพื่อป้องกันตามคู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุของกรมอนามัย
ประกอบด้วย ท่ายืดกล้ามเนื้ อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ 4 ท่า ท่าฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 4
ท่า และท่าฝึ กการเดินและการทรงตัว 8 ท่า โดยใช้วิธีการสาธิตร่ วมกับฝึ กปฏิบตั ิจริ ง สัปดาห์ที่ 9-12
การปรับปรุ งสภาพแวดล้อมและที่อยูอ่ าศัยโดยการให้ความรู ้ร่วมกับการลงพื้นที่จริ งโดยใช้บา้ น
ตัวอย่างของผูส้ ูงอายุที่อาสาสมัครเป็ นตัวแทนกลุ่ม เพื่อเรี ยนรู ้การจัดสภาพแวดล้อมและที่อยูอ่ าศัยที่
เหมาะสมสาหรับผูส้ ูงอายุร่วมกัน สรุ ปผลการศึกษาโปรแกรมฯ สามารถทาให้ผสู ้ ูงอายุมีการเตรี ยม
ความพร้อมในการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้มากขึ้น ควรนาโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้
เกิดประโยชน์ตามบริ บทของพื้นที่
วิลาวรรณ สมตน (2556) ศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสาหรับผูส้ ูงอายุ โดย
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความพร่ องในการดูแลตนเองของโอเร็ ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผูส้ ู งอายุซ่ ึงมีอายุ
65-79 ปี จานวน 70 คน ในอาเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และมีความเสี่ ยงต่อการหกล้ม แบ่งเป็ น
กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรี ยบเทียบกลุ่มละ 35 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันการหกล้ม
เป็ นเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย การสร้างความตระหนัก การสนับสนุน การเสริ มสร้าง
ความสามารถ และการสร้างสิ่ งแวดล้อม เพื่อส่ งเสริ มให้บุคคลได้พฒั นาความสามารถในการดูแล
ตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม ส่วนกลุ่มเปรี ยบเทียบได้รับการดูแลแบบปกติจากเจ้าหน้าที่สุขภาพ
ประจาโรงพยาบาลส่งเสริ มสุขภาพตาบล ผลการวิจยั พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมี
คะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มสู งกว่าก่อนการทดลองและสู งกว่ากลุ่ม
เปรี ยบเทียบอย่างมีนยั สาคัญสถิติ (p-value < .001)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
กนกวรรณ เมืองศิริ (2561) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการ
พลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็ นผูส้ ู งอายุ ที่มีอายุ 60 ปี ขั้นไป อาศัยอยูใ่ น
จังหวัดชลบุรี จานวน 370 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ซ่ ึงประกอบด้วย 6 ส่วน คือ
ข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการหกล้ม ความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม ทักษะการประเมิน
สภาพแวดล้อมที่เสี่ ยงภายในบ้าน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน การได้รับกาลังใจและการกระตุน้
เตือน และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ผลการศึกษาพบว่า ผูส้ ูงอายุผสู ้ ูงอายุ ร้อยละ 44.1 มีการ
40

พลัดตกหกล้มในรอบปี ที่ผา่ นมา มีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในระดับสูง ปัจจัยที่มี


ความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผูส้ ู งอายุ จังหวัดชลบุรี ได้แก่ เพศ (p = 0.01)
ซึ่งเพศชายมีพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มน้อยกว่าเพศหญิง 3.11 เท่า ความเชื่อเกี่ยวกับการ
ป้องกันการหกล้ม (p >0.01) พบว่า ผูส้ ูงอายุที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มน้อยจะมี
พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มน้อยกว่าผูส้ ูงอายุที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มมากอยู่
ร้อยละ 3.91 และความกลัวการหกล้ม (p >0.01) โดยผูส้ ูงอายุที่มีความกลัวการหกล้มจะมีพฤติกรรม
การป้องกันการหกล้ม น้อยกว่าผูส้ ูงอายุที่ไม่มีความกลัวการหกล้มอยู่ 2.89 เท่า
ดาราวรรณ รองเมือง (2559) อุบตั ิการณ์ของการพลัดตกหกล้มและปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กบั การพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัดสุ ราษฎร์ธานี จานวน 206
คน ผลการวิจยั พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การพลัดตกหกล้มในรอบปี ที่ผา่ นมา คิดเป็ น
ร้อยละ 26.20 2. ปัจจัยเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของกลุ่มตัวอย่างที่พลัดตกหกล้ม พบว่า กลุ่ม
ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็ นเพศหญิง คิดเป็ นร้อยละ 75.90 มีอายุอยูใ่ นช่วง 70-79 ปี คิดเป็ นร้อยละ 48.10
สามารถปฏิบตั ิกิจวัตรประจาวันได้เอง ไม่ตอ้ งมีผดู ้ ูแล/ผูช้ ่วยเหลือ คิดเป็ นร้อยละ 85.20 มี
ความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวในระดับปานกลาง คิดเป็ นร้อยละ 53.70 มีประวัติการ
ได้รับยาหลายชนิด คิดเป็ นร้อยละ 63 ได้รับยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด คิดเป็ นร้อยละ 48.10
ได้รับยารักษาโรคเบาหวาน คิดเป็ นร้อยละ 81.50 ดื่มเครื่ องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็ นร้อยละ 3.70 และ
มีการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม คิดเป็ นร้อยละ 22.20 และ 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบั การพลัดตกหก
ล้มในกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อายุ 80 ปี ขึ้นไป ความสามารถในการปฏิบตั ิกิจวัตรประจาวัน
ความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวต่า การได้รับยารักษาโรคเบาหวาน และการแต่งกายที่
ไม่เหมาะสม จากการวิจยั ครั้งนี้มีขอ้ เสนอแนะว่าบุคลากรทางสุ ขภาพควรทา การประเมินและคัด
กรองปัจจัยเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุในชุมชน โดยใช้หลักการประเมินปัจจัยเสี่ ยงต่อ
การพลัดตกหกล้มแบบองค์รวม รวมทั้งควรมีแผนพัฒนาการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุ
โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวในระดับต่าถึงปานกลาง
ชญานิศ ลือวานิช และคณะ (2560) ศึกษาภาวะเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของสมาชิก
ชมรมผูส้ ูงอายุในจังหวัดภูเก็ต เก็บรวบรวมข้อมูลจากผูส้ ูงอายุในชมรมผูส้ ูงอายุดว้ ยการสนทนา
กลุ่มจากผูส้ ูงอายุในชมรมจานวน 15 คน ร่ วมกับประเมินภาวะเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มจากกลุ่ม
ตัวอย่าง 253 คน ผลการวิจยั พบว่า ผูส้ ูงอายุเพศหญิงมีความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มมากว่าเพศ
ชาย ช่วงอายุ 60-69 ปี มีความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มต่ากว่ากลุ่มอายุ 70-79 ปี และ 80 ปี ขึ้นไป
ผูส้ ู งอายุมีประวัติการพลัดตกหกล้มใน 1 ปี ที่ผา่ นมาเฉลี่ย 2.05 ครั้ง (SD = 1.36) กลุ่มตัวอย่างพลัด
ตกหกล้มนอกบ้านสูงกว่าพลัดตกหกล้มในบ้าน อายุ จานวนโรคประจาตัวมีความสัมพันธ์ต่อการ
41

พลัดตกหกล้มอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจานวนชนิดยาที่ใช้มีความสัมพันธ์ต่อการ


พลัดตกหกล้มอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ทิพย์รัตน์ ผลอินทร์ (2560) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ
ความกลัวการหกล้ม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุในชุมชน พบว่า ร้อยละ
60.8 มีพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มในระดับสูง โดยพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้ผสู ้ ูงอายุพลัด
ตกหกล้มจากปัจจัยภายในที่พบมาก 3 ด้าน คือ ด้านการออกกาลังกาย โดยพบว่า ขาดการออกกาลัง
กายด้วยด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกาลังกายด้วยวิธีที่ไม่รุนแรง การเคลื่อนไหวระดับป
านกลาง เช่น การเดินเร็ว การรามวยจีน (Mean = 2.08, SD = 1.17) ขาดการออกกาลังกายอย่างน้อย
3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 20-30 นาที (Mean = 2.12, SD = 1.17) รองลงมาคือคือด้าน
พฤติกรรมการใช้ยาโดยพบว่า เมื่อเกิดอาการผิดปกติหรื อมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาผูส้ ูงอายุจะไม่
ปรึ กษาแพทย์/เภสัชกร/หรื อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (Mean = 2.17, SD = 0.64) ด้านการมองเห็น
พบว่า เมื่อผูส้ ูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับสายตาจะไม่เข้าทาการรักษา หรื อพบแพทย์เพื่อแก้ไข
(Mean = 2.17, SD = 1.13) อีกทั้งไม่เข้ารับการตรวจสายตาประจาปี อย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง
(Mean = 2.53, SD = 1.38) และพฤติกรรมซึ่งอาจส่งผลให้ผสู ้ ูงอายุพลัดตกหกล้มจากปั จจัยภายนอก
3 อันดับแรก คือ ขาดการตรวจสอบความมัน่ คง แข็งแรงของเครื่ องเรื อนเครื่ องใช้ภายในบ้าน
(Mean = 1.82, SD = 0.97) รองลงมาคือขาดการตรวจสอบสิ่ งแวดล้อมภายใน-ภายนอกบ้าน
(Mean = 2.04, SD = 0.79) และไม่มีส่วนร่ วมในการดูแลช่วยจัดวางเครื่ องเรื อน-เครื่ องใช้ให้เป็ น
ระเบียบเรี ยบร้อย (Mean = 2.58, SD = 1.00)
นงนุช วงศ์สว่าง และคณะ (2560) ศึกษาความเสี่ ยงด้านสิ่ งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัด
ตกหกล้มและอุบตั ิการณ์การพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ที่อาศัยอยูใ่ นตาบลดอนตะโก อาเภอเมือง
จังหวัดราชบุรี จานวน 113 คน ผลการวิจยั พบว่า 1. ความเสี่ ยงด้านสิ่ งแวดล้อมในบ้านสู งสุ ดได้แก่
บริ เวณบันไดมีผา้ หรื อพรมเช็ดเท้า (ร้อยละ 49.6) รองลงมาคือบริ เวณบันไดมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
(ร้อยละ 46.2) และไฟบริ เวณบันไดมีสวิตช์เพียงตัวเดียว (ร้อยละ 41.6) 2. อุบตั ิการณ์การพลัดตกหก
ล้มพบว่า ผูส้ ูงอายุเคยพลัดตกหกล้มในรอบ 6 เดือนที่ผา่ นมาร้อยละ 19.5 ผูส้ ูงอายุที่เคยพลัดตกหก
ล้มส่วนใหญ่พลัดตกหกล้มภายในตัวบ้าน (ร้อยละ 68.2) 3. ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ ยงด้าน
สิ่ งแวดล้อมในบ้านกับการพลัดตกหกล้มพบว่า บริ เวณบันไดมีแสงสว่างไม่เพียงพอและบริ เวณ
ทางเดินมีสายไฟสายโทรศัพท์หรื อสายพ่วงต่อพาดผ่านมีความสัมพันธ์กบั การพลัดตกหกล้มอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติ (p < 0.05) 4. การวิจยั นี้เสนอแนะให้มีการปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมในตัวบ้านของ
ผูส้ ู งอายุโดยเฉพาะอย่างยิง่ การเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอบริ เวณบันไดและจัดบริ เวณทางเดินให้โล่ง
ไม่มีสิ่งของกีดขวาง
42

เยาวลักษณ์ คุม้ ขวัญ และคณะ (2561) แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บา้ นใน


ผูส้ ูงอายุ:บริ บทของประเทศไทย เป็ นบทความวิชาการที่มีวตั ถุประสงค์เพื่อนาเสนอแนวทางการ
ป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บา้ นในผูส้ ูงอายุ โดยการศึกษาปัจจัยที่ทาให้เกิดการพลัดตกหกล้มใน
ผูส้ ู งอายุ ได้แก่ ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และปัจจัยเสริ ม จากนั้นได้มีการศึกษา ทบทวนงานวิจยั
ตารา บทความต่าง ๆ พบว่า มีหลักการที่จะสามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุได้
ประกอบด้วย หลักการ 12 ป. ดังนี้ ป 1. ประเมินการทรงตัว ประเมินการมองเห็น ประเมิน
ความสามารถในการทากิจวัตรประจาวัน และประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ป 2. เปลี่ยน
ป 3. ปรับ ป 4. ปลด ป 5. ปล่อยวาง ป 6. ปกป้อง ป 7. ป้องกัน ป 8. ประวัติ ป 9. ปรึ กษา ป 10. ปรับ
ทัศนคติ ป 11. ปัจจัย และป 12. ปลุก ซึ่งหลักการดังกล่าวสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้ท้ งั ตัวของ
ผูส้ ูงอายุเอง ผูด้ ูแลผูส้ ูงอายุ บุคลากรสุขภาพ รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดการ
พลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
ชลันดา ดุลการณ์ (2562) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบั การพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
ตาบลนาบอน อาเภอคาม่วง จังหวัดกาฬสิ นธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือผูส้ ูงอายุที่มีที่มีประวัติการพลัดตกหก
ล้มช่วง 1 ปี ที่ผา่ นมา จานวน 101 คน กลุ่มที่ไม่พลัดตกหกล้ม จานวน 101 คน โดยจับคู่ดว้ ย เพศ
และ อายุ (1-2 ปี ) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ครอบคลุมปัจจัยเสี่ ยงทั้งด้านบุคคล
พฤติกรรม และสิ่ งแวดล้อม วิเคราะห์ขอ้ มูลหาความสัมพันธ์การพลัดตกหกล้มด้วย Multiple
logistic regression analysis ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปั จจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านสิ่ งแวดล้อม มี
ความสัมพันธ์กบั การพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ คือลักษณะพื้นบ้านลื่น
ผูส้ ู งอายุที่มีหอ้ งน้ าภายนอกบ้าน ลักษณะพื้นห้องน้ าเปี ยก/ลื่น และแสงสว่างภายนอกบ้านที่ไม่
เพียงพอ ข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่สาธารณสุ ขในพื้นที่ควรให้ความรู ้เรื่ องการจัดสิ่ งแวดล้อมสาหรับ
ผูส้ ู งอายุและผูด้ ูแลเพื่อให้สามารถจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดารงชีวิตของผูส้ ูงอายุลดภาวะการ
พลัดตกหกล้ม
จากการศึกษางานวิจยั ที่เกี่ยวข้องพบว่า มีหลายทฤษฎีที่สามารถนามาประยุกต์เพื่อ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ซึ่งแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ไม่แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่รูปแบบการจัดโปรแกรมและการนาทฤษฎีมาเป็ นแนวทางในการ
ออกแบบกิจกรรมเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มจะแตกต่างไปตามปัจจัยที่ตอ้ งการศึกษาและ
แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model) ถูกนามาประยุกต์ใน
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มผูป้ ่ วยสูงอายุในโรงพยาบาล และผูส้ ูงอายุในชุมชนมาแล้วบ้าง
ซึ่งพบว่า ผูส้ ู งอายุที่เข้าร่ วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มสู งขึ้น มีแนวทาง
ป้องกันการพลัดตกหกล้มที่พยายามให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่ วม และจากการศึกษา
43

แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มที่ผา่ นมา การติดตามเยี่ยมบ้านผูส้ ูงอายุส่วนใหญ่เพื่อประเมิน


สิ่ งแวดล้อมและการใช้ยา ซึ่งยังไม่มีการนาทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมมาเป็ นแนวทางใน
การศึกษาอย่างจริ งจัง ดังนั้นจึงเห็นควรนาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทาง
สังคมมาเป็ นกรอบในการจัดกิจกรรมส่งเสริ มสุขภาพเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ใน
อาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี
44

บทที่ 3
วิธีดาเนินการวิจัย

การศึกษาวิจยั เรื่ อง ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบ


แผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ซึ่งผูว้ ิจยั มีวิธีดาเนินการ ดังนี้
1. รู ปแบบการวิจยั
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3. เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ขอ้ มูล
6. การพิทกั ษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง

รูปแบบของการวิจัย
การศึกษาวิจยั ครั้งนี้ เป็ นการวิจยั แบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยใช้
รู ปแบบการวิจยั แบบมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Pretest-posttest control group design) เพื่อ
ศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
ร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะ
จันทร์ จังหวัดชลบุรี

กลุ่มทดลอง X1

O1 O2 O3
กลุ่มควบคุม

O4 O5

ภาพที่ 8 รู ปแบบการวิจยั ในระยะที่ 2


45

O1, O4 หมายถึง การรวบรวมข้อมูลก่อนการเข้าร่ วมโปรแกรมฯ ประกอบด้วย ข้อมูลส่ วน


บุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตก
หกล้มของผูส้ ูงอายุ ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
O2, O5 หมายถึง การรวบรวมข้อมูลเมื่อสิ้ นสุ ดการเข้าร่ วมโปรแกรมฯ (หลังการทดลอง)
ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
O3 หมายถึง การรวบรวมข้อมูลภายหลังสิ้ นสุ ดโปรแกรมฯ 4 สัปดาห์ (ระยะติดตามผล)
ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ภายในกลุ่มทดลอง
X1 หมายถึง ระยะดาเนินกิจกรรมตามโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม จานวน 8
สัปดาห์

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ผูส้ ูงอายุที่มีอายุ 60-70 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่เป็ นสมาชิกชมรมผูส้ ู งอายุและอาศัย
อยูใ่ นเขตอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี จานวน 430 คน
กลุ่มตัวอย่ าง
การคานวนขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
โดยอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจยั ที่มีความคล้ายคลึงกัน เรื่ องผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหก
ล้มในผูส้ ูงอายุของฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ (2560) คานวนจากสูตรของ Rosner and Bernard (2000)
ดังนี้
𝛼 2 𝜎 2
(𝑧1 − 2 +𝑧1 −𝛽) [𝜎12 + 𝑟2 ]
𝑛1 =
∆2

𝑛2
𝑟= , ∆ = 𝜇1− 𝜇2
𝑛1

𝜇1 = ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของกลุ่มควบคุม (64.70)
σ1 = ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มควบคุม (10.20)
𝜇2 = ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของกลุ่มทดลอง (70.20)
46

σ2 = ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มทดลอง(10.20)
Ratio(r) = 1.00 , Alpha(𝛼) =0.05 , Z(0.975) = 1.959964 ,
Beta(𝛽) = 0.200 , Z(0.800) = 0.841621

ในการศึกษาวิจยั ครั้งนี้คานวนขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 25 ราย ผูว้ ิจยั ได้เพิ่มขนาดของ


กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 30 เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล แบ่งเป็ นกลุ่มทดลอง 32 ราย กลุ่ม
ควบคุม 32 ราย แต่เนื่ องจากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทาให้
กลุ่มทดลองยกเลิกเข้าร่ วมการวิจยั 2 ราย ทาให้กลุ่มทดลองเหลือ 30 ราย ดังนั้นจึงใช้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งหมด 62 ราย
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Inclusion criteria) ตามเกณฑ์คุณสมบัติ ดังนี้
1. มีผลการประเมินความสามารถการทากิจวัตรประจาวันของผูส้ ูงอายุ (Activities of
Daily Living : ADL) ของหน่วยบริ การสาธารณสุข ปี งบประมาณ 2564 ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป
2. เป็ นสมาชิกชมรมผูส้ ูงอายุ
3. มีความสมัครใจและยินดีเข้าร่ วมการศึกษาวิจยั ในครั้งนี้
การคัดกลุ่มตัวอย่างออก (Exclusion criteria) ดังนี้
3.1 กลุ่มตัวอย่างขาดการเข้าร่ วมกิจกรรมมากกว่า 1 ครั้ง
3.2 กลุ่มตัวอย่างยกเลิกหรื อไม่ยนิ ดีเข้าร่ วมการศึกษาวิจยั ในครั้งนี้ ต่อ
3.3 กลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหาสุ ขภาพ เสี ยชีวิตหรื อย้ายที่อยูร่ ะหว่างการศึกษาวิจยั
การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง มีข้ นั ตอนดังต่อไปนี้
การศึกษาวิจยั ครั้งนี้ ผูว้ ิจยั ดาเนินการศึกษาในพื้นที่อาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ซึ่ง
อาเภอเกาะจันทร์มีตาบล 2 แห่ง คือ ตาบลเกาะจันทร์และตาบลท่าบุญมี มีองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น 4 แห่ง คือ เทศบาลตาบลเกาะจันทร์ เทศบาลเมืองปรกฟ้า เทศบาลท่าบุญมี และองค์กร
บริ หารส่วนตาบลท่าบุญมี มีชมรมผูส้ ูงอายุ 3 แห่ง จัดกิจกรรมเดือนละครั้ง มีจานวนหมู่บา้ นในเขต
รับผิดชอบทั้งหมด 26 หมู่บา้ น แต่ละหมู่บา้ นมีลกั ษณะคล้ายคลึงกันในด้านคุณลักษณะประชากร
เช่น เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา บริ บททางสังคม และวัฒนธรรม ดังนั้นผูว้ ิจยั จึงเลือกพื้นที่
ดาเนินการวิจยั ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลากเลือก
พื้นที่ที่มีการจัดกิจกรรมชมรมผูส้ ู งอายุ 1 แห่งเป็ นกลุ่มทดลอง และอีก 1 แห่งเป็ นกลุ่มควบคุม
ผลการสุ่ มพื้นที่ดาเนินการวิจยั ด้วยการสุ่ มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก
เลือกกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อาเภอเกาะจันทร์ ผลการสุ่ มกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มควบคุม ได้แก่ ชมรม
47

ผูส้ ูงอายุเทศบาลตาบลเกาะจันทร์ และชมรมผูส้ ูงอายุเทศบาลเมืองปรกฟ้าเป็ นกลุ่มควบคุมสาหรับ


การวิจยั ครั้งนี้

เครื่ องมือที่ใช้ ในการวิจัย


เครื่ องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจยั แบ่งเป็ น 2 ส่วน คือ เครื่ องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล และเครื่ องมือที่ใช้ในการทดลอง
1. เครื่ องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้ อมูล
เครื่ องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจยั ครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ ที่ผวู ้ ิจยั
สร้างขึ้นเอง จากการทบทวนเอกสารวิชาการและงานวิจยั ที่ผา่ นมา ประกอบด้วย
ส่ วนที่ 1 ข้ อมูลส่ วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส ระดับ
การศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ลักษณะการอยูอ่ าศัย โรคประจาตัว และยาที่รับประทานเป็ นประจา
ส่ วนที่ 2 แบบประเมินแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ
1. ด้านการรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้ม
2. ด้านการรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม
3. ด้านการรับรู ้ประโยชน์ของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
4. ด้านการรับรู ้อุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
5. ด้านการรับรู ้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
แบ่งเป็ น 5 ด้าน ๆ ละ 5 ข้อ รวมคาถามทั้งหมด 25 ข้อ คะแนนเต็ม 75 คะแนน แต่ละข้อ
เป็ นคาถามให้เลือกตอบจานวน 3 ตัวเลือก จากนั้นมีการแบ่งระดับคะแนน โดยผูว้ ิจยั ใช้ตามเกณฑ์
ประเมินของ Bloom (1971) ดังนี้
คาถาม คาถามเชิงบวก คาถามเชิงลบ
มาก 3 คะแนน 1 คะแนน
ปานกลาง 2 คะแนน 2 คะแนน
น้อย 1 คะแนน 3 คะแนน

คะแนน ร้อยละ ระดับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ


65-75 ≥ 80 ระดับดี
55-64 60-79 ระดับปานกลาง
25-54 <60 ระดับน้อย
48

ส่ วนที่ 3 แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสั งคม


1. แรงสนับสนุนด้านอารมณ์
2. แรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร
แบ่งเป็ น 2 ด้าน ๆ ละ 5 ข้อ รวมคาถามทั้งหมด 10 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน แต่ละข้อ
เป็ นคาถามให้เลือกตอบจานวน 3 ตัวเลือก จากนั้นมีการแบ่งระดับคะแนน โดยผูว้ ิจยั ใช้ตามเกณฑ์
ประเมินของ Bloom (1971) ดังนี้
คาถาม คาถามเชิงบวก คาถามเชิงลบ
มาก 3 คะแนน 1 คะแนน
ปานกลาง 2 คะแนน 2 คะแนน
น้อย 1 คะแนน 3 คะแนน
คะแนน ร้อยละ ระดับแรงสนับสนุนทางสังคม
27-30 ≥ 80 ระดับดี
23-26 60-79 ระดับปานกลาง
10-22 <60 ระดับน้อย
ส่ วนที่ 4 แบบประเมินพฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ มของผู้สูงอายุ
ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มจากปัจจัยภายในด้าน
พฤติกรรม และปัจจัยภายนอกด้านการจัดการสิ่ งแวดล้อมภายในบ้าน จานวนทั้งหมด 12 ข้อ เป็ น
คาถามแบบปลายปิ ด (Closed-end question) ข้อคาถามเป็ นด้านเชิงบวกและเชิงลบ กาหนดรู ปแบบ
การวัดโดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 3 ระดับ จากนั้นมีการแบ่งระดับคะแนน โดย
ผูว้ ิจยั ใช้ตามเกณฑ์ประเมินของ Bloom (1971) ดังนี้
ปฏิบตั ิเป็ นประจา หมายถึง ผูส้ ูงอายุปฏิบตั ิตามข้อความในประโยคนั้น ๆ ตั้งแต่
3 วันต่อสัปดาห์ข้ นึ ไป
ปฏิบตั ิเป็ นบางครั้ง หมายถึง ผูส้ ูงอายุปฏิบตั ิตามข้อความในประโยคนั้น ๆ 1-2 วันต่อ
สัปดาห์
ไม่เคยปฏิบตั ิเลย หมายถึง ผูส้ ู งอายุไม่เคยปฏิบตั ิตามข้อความในประโยคนั้น ๆ เลย
โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน มีดงั นี้
คาตอบ คาถามเชิงบวก คาถามเชิงลบ
ปฏิบตั ิเป็ นประจา 2 คะแนน 0 คะแนน
ปฏิบตั ิเป็ นบางครั้ง 1 คะแนน 1 คะแนน
ไม่เคยปฏิบตั ิเลย 0 คะแนน 2 คะแนน
49

คะแนน ร้อยละ ระดับพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม


20-24 ≥ 80 ระดับดี
15-19 60-79 ระดับปานกลาง
0-14 <60 ระดับน้อย
2. เครื่ องมือที่ใช้ ในการทดลอง
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ผูว้ ิจยั พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์จากแบบแผนความเชื่อ
ด้านสุขภาพ (Health belief model) และทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social support theory) เพื่อ
สร้างเสริ มการรับรู ้และเป็ นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
โดยโปรแกรมฯประกอบด้วย 5 กิจกรรมดังนี้

ตารางที่ 1 รายละเอียดกิจกรรมตามแนวคิดและทฤษฎี

ทฤษฎี/แนวคิด กิจกรรม/รายละเอียด
แบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ
1. การรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของ กิจกรรมรู้ ไหมใครเสี่ ยงล้ ม
การพลัดตกหกล้ม 1. การประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
1.1 แบบประเมินความเสี่ ยง (Thai - FRAT)
1.2 ประเมินการทรงตัว (TUGT)
2. วิธีการสะท้อนความคิด (Reflection)
3. แจกคู่มือสูงวัยไม่ลม้
2. การรับรู ้ความรุ นแรงของ กิจกรรมล้มลาพังล้มทั้งบ้ าน
การพลัดตกหกล้ม 1. กรณีศึกษา (Case study) คือ ผูส้ ู งอายุในพื้นที่ ใช้ภาพถ่าย
และคลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ผสู ้ ูงอายุและญาติในการถ่ายทอด
เรื่ องราว
3. การรับรู ้ประโยชน์ของการ “กิจกรรมรู้ อุปสรรค รู้ ทัน ป้ องกันล้ม”
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม 1. ตัวแบบบุคคล (Modeling)
2. การสาธิตและฝึ กปฏิบตั ิจริ ง (Demonstrating)
4. การรับรู ้อุปสรรคของการ 2.1 การเปลี่ยนอิริยาบถ
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม 2.2 การออกกาลังกาย
50

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ทฤษฎี/แนวคิด กิจกรรม/รายละเอียด
แบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ
5. การรับรู ้ความสามารถของ กิจกรรมมั่นใจว่าไม่ล้ม
ตนเองในการป้องกันการพลัด 1. นาเสนอตัวแบบ (Modeling) คือ อาสาสมัครหรื อตัวแทน
ตกหกล้ม ผูส้ ูงอายุที่มีพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มดี
2. ตั้งเป้าหมาย
แรงสนับสนุนทางสั งคม
1. ด้านอารมณ์ กิจกรรมเยี่ยมด้วยใจ ห่ วงใย ไม่ให้ ล้ม
1. การชักจูงด้วยวาจา (Verbal persuasion)
2. การติดตามเยีย่ มทางโทรศัพท์ 2 ครั้งต่อเดือน
2. ด้านข้อมูลข่าวสาร 3. การเยีย่ มบ้านร่ วมกับ อสม. และตัวแทนกลุ่มทดลอง
(1-2 คน)
3.1 ประเมินสิ่ งแวดล้อม
3.2 ให้คาแนะนา และกาลังใจ

3. การสร้ างเครื่ องมือที่ใช้ ในการวิจัย


3.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ทบทวนเอกสารวิชาการ และงานวิจยั ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อ
นามาเป็ นแนวทางในการสร้างกิจกรรม และเครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั
3.2 สร้างกิจกรรมของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ใช้แบบแผน
ความเชื่อด้านสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม
3.3 สร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการประประเมินแบบแผนความเชื่อ
ด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ให้มีเนื้ อหา
สอดคล้องและครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจยั
3.4 นาโปรแกรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม และแบบสัมภาษณ์ที่ผวู ้ ิจยั สร้างขึ้นเสนอ
กับอาจารย์ที่ปรึ กษาตรวจสอบความถูกต้องและนามาปรับปรุ งแก้ไขตามคาแนะนาของอาจารย์ที่
ปรึ กษาเพิ่มเติม
3.5 นาแบบสัมภาษณ์ที่ปรับปรุ งแก้ไขตามคาแนะนาของอาจารย์ที่ปรึ กษา นาไป
ตรวจสอบและพิจารณาความตรงตามวัตถุประสงค์ ความตรงตามเนื้อหา ความเหมาะสมของภาษา
51

จากผูท้ รงคุณวุฒิ จานวน 5 ท่าน และพิจารณาหาค่าดดัชนีความสออดคล้อง (Index of Congruence


หรื อ IOC) โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป และแก้ไขแบบสัมภาษณ์ให้มีความ
สมบูรณ์ตามคาแนะนาของผูท้ รงคุณวุฒิ
4. การตรวจสอบคุณภาพเครื่ องมือวิจัย
4.1 การตรวจสอบความตรงของเนื้ อหา (Content validity) ผูว้ ิจยั นาเครื่ องมือไปหา
คุณภาพของเครื่ องมือด้วยการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความถูกต้องของภาษาโดย
ผูท้ รงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้แก่
4.1.1 ศ.ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ ประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร
มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
4.1.2 ผศ.ดร.เสาวนีย ์ ทองนพคุณ อาจารย์ประจาภาควิชาสุขศึกษา คณะ
สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
4.1.3 ผศ.ดร.พัชนา ใจดี หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานสาธารณสุ ข
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
4.1.4 ดร.นาฎนภา ปัชชาสุวรรณ อาจารย์ประจาสาขาบริ หารสาธารณสุข
การส่งเสริ มสุขภาพโภชนาการ คณะสาธารณสุ ขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ
4.1.5 นางรุ่ งอรุ ณ พรหมดวงดี พยาบาลวิชาชีพชานาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงาน
บริ การด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลพนัสนิคม
จากนั้นรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของผูท้ รงคุณวุฒิมาวิเคราะห์ดชั นีความสอดคล้อง
ระหว่างรายการข้อคาถามกับวัตถุประสงค์การวิจยั ด้วยค่า IOC (Index of Item Objective
Congruence) โดยใช้สูตรของ IOC ดังนี้ (ลัดดาวัลย์เพชรโรจนิ์และอัจรา ชานิประศาสน์, 2547,
หน้า 145-146)
∑𝑅
IOC =
𝑁
เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence)
 แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผูเ้ ชี่ยวชาญ
R แทน คะแนนความคิดเห็นของผูผ้ ทู ้ รงคุณวุฒิต่อคาถามแต่ละข้อ
N แทน จานวนผูผ้ ทู ้ รงคุณวุฒิ
สาหรับเกณฑ์การให้คะแนน มีดงั นี้
+1 หมายถึง คาถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจยั หรื อนิยามศัพท์
-1 หมายถึง คาถามนั้นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจยั หรื อนิยามศัพท์
52

0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าคาถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจยั หรื อนิยาม


ศัพท์ เกณฑ์การแปลความหมาย มีดงั นี้
ค่า IOC ≥ .50 หมายความว่า คาถามนั้นตรงวัตถุประสงค์ของการวิจยั
ค่า IOC < .50 หมายความว่า คาถามนั้นไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการวิจยั
ผลการวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงของแบบสัมภาษณ์ มีค่าเฉลี่ยของดัชนีความ
สอดคล้อง (IOC) ได้เท่ากับ 0.844
4.2 ปรับแก้เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั ตามคาแนะนาของผูท้ รงคุณวุฒิ
4.3 การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่ องมือ (Reliability) ผูว้ ิจยั นาเครื่ องมือไปทดลอง
ใช้กบั ผูส้ ู งอายุในชมรมผูส้ ู งอายุเทศบาลท่าบุญมี ตาบลเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ที่พ้ืนที่มีลกั ษณะ
ใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จานวน 30 ราย เพื่อหาคุณภาพของเครื่ องมือ โดยหาค่าความเที่ยงหรื อ
ความเชื่อถือได้ของแบบสัมภาษณ์ดว้ ย Cronbach’s alpha coefficient ได้ผลการหาค่าความเชื่อมัน่
ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.82

การเก็บรวบรวมข้ อมูล
การศึกษาวิจยั ครั้งนี้ได้ดาเนินการขอเอกสารรับรองโครงการวิจยั ในมนุษย์จาก
คณะกรรมการจริ ยธรรมเกี่ยวกับการวิจยั ในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเป็ นการพิทกั ษ์สิทธิ์กลุ่ม
ตัวอย่าง
เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ในประเทศไทยตลอดจนพื้นที่จงั หวัดชลบุรี ได้ทวีความรุ นแรงและยังมีจานวนผูต้ ิดเชื้อเพิ่มสู งขึ้น
ทาให้ชมรมผูส้ ู งอายุเทศบาลตาบลเกาะจันทร์งดจัดกิจกรรมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ผูว้ ิจยั
จึงได้ปรับรู ปแบบในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ โดยจัดกิจกรรมขึ้นภายใต้มาตรการป้องกัน
การระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ระยะเตรียมการทดลอง
1.1 กาหนดวัน เวลา และจัดเตรี ยมความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
1.2 ผูว้ ิจยั นาหนังสื อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูลการทาวิจยั ขอใช้พ้นื ที่ใน
การดาเนินการศึกษาวิจยั และเอกสารรับรองจริ ยธรรมการวิจยั ในมนุษย์ จากคณะสาธารณสุข
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถึงชมรมผูส้ ูงอายุเทศบาลตาบลเกาะจันทร์ ชมรมผูส้ ูงอายุเทศบาลเมือง
ปรกฟ้า ผูว้ ิจยั ได้ช้ ีแจงวัตถุประสงค์การวิจยั และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูล
1.3 นาหนังสื อขอความอนุเคราะห์ขอใช้ห้องประชุมเทศบาลตาบลเกาะจันทร์เป็ น
สถานที่ในการจัดกิจกรรม
53

1.4 ผูว้ ิจยั ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงวัตถุประสงค์การศึกษาวิจยั ผ่านการประชุม


อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ประจาเดือน เพื่อขอความร่ วมมือจาก อสม.ที่สมัครใจเข้าร่ วมการ
วิจยั จานวน 2 คน ในการลงพื้นที่เยีย่ มบ้านติดตามกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้แรงสนับสนุนทางด้าน
อารมณ์และข้อมูลข่าวสารในการกระตุน้ พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
1.5 ผูว้ ิจยั ได้ช้ ีแจงทาความเข้าใจให้แก่ผชู ้ ่วยผูเ้ ก็บรวบรวมซึ่งเป็ น อสม.เรื่ องแนวทาง
ป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ การออกกาลังกาย การประเมินความเสี่ ยงด้วยแบบประเมิน
ความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุไทยในชุมชน (Thai - FRAT) และทดสอบการทรงตัว
ด้วยวิธี Timed Up and Go Test แนวทางการใช้แรงสนับสนุนทางด้านอารมณ์และข้อมูลข่าวสารใน
การกระตุน้ พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ เพื่อให้ อสม.มีความรู ้ความเข้าใจและ
ทักษะที่จาเป็ นเพื่อให้การเก็บรวบรวมข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วนและปราศจากความลาเอียง
1.6 ผูว้ ิจยั ตรวจสอบความสมบูรณ์ ความครบถ้วน ถูกต้องของแบบสัมภาษณ์ เพื่อ
นาไปวิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยวิธีการทางสถิติต่อไป
2. ระยะทดลอง
เนื่องจากระหว่างดาเนิ นการวิจยั อยูใ่ นช่วงสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดต่อเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชมรมผูส้ ูงอายุทุกแห่งในอาเภอเกาะจันทร์
งดจัดกิจกรรมประจาเดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ตามมาตรการและแนวทางดาเนิ นการ
เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาด ทาการประเมินและแบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่ม
อย่างง่าย (Simple random sampling) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็ น 2 กลุ่ม
2.1 กลุ่มควบคุม ให้ผสู ้ ูงอายุดูแลสุขภาพตามปกติ ผูว้ ิจยั เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านทาง
โทรศัพท์และ อสม.เป็ นผูป้ ระเมินผูส้ ูงอายุเทศบาลเมืองปรกฟ้า โดยใช้แบบสัมภาษณ์ประเมินแบบ
แผนความเชื่อด้านสุ ขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม ครั้งที่
1 (กรกฎาคม) ครั้งที่ 2 (กันยายน) และครั้งที่ 3 (ตุลาคม)
2.2 กลุ่มทดลอง นัดผูส้ ูงอายุเข้าร่ วมกิจกรรมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จัดกิจกรรม
ขึ้นในวันที่ 17-18 กรกฎาคม พ.ศ.2564 โดยแบ่งเป็ น 2 รุ่ น ๆ ละ 15-16 คน สถานที่จดั กิจกรรมคือ
ห้องประชุมเทศบาลตาบลเกาะจันทร์ ผูว้ ิจยั จัดรถรับส่งผูส้ ูงอายุ มีการประเมินและคัดกรองความ
เสี่ ยงโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก่อนเข้าร่ วมกิจกรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ทาการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง (Pre-Test) ด้วยแบบสัมภาษณ์ขอ้ มูลส่วน
บุคคล ประเมินแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการ
54

พลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ (30 นาที) ก่อนดาเนิ นกิจกรรมตามโปรแกรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม


ทั้งหมด 5 กิจกรรม ใช้เวลารวมในการจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง 45 นาที
กิจกรรมครั้งที่ 1
(สัปดาห์ที่ 1)
กิจกรรมที่ 1 “รู้ ไหมใครเสี่ ยงล้ ม” (30 นาที)
1.1 ประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
1.1.1 ประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มด้วยแบบคัดกรองความเสี่ ยงใน
ชุมชน Thai fall risk assessment test (Thai-FRAT)
1.1.2 การประเมินการทรงตัวของผูส้ ูงอายุ ด้วยวิธี (Time Up and Go Test :
TUGT) เมื่อทาแบบสัมภาษณ์และประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มด้วยการใช้แบบคัดกรอง
Thai-FRAT
1.2 การสะท้อนความคิด (Reflection) หลังประเมินความเสี่ ยงข้างต้น ผูว้ ิจยั จะให้
ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวิเคราะห์และชี้ให้กลุ่มทดลองเห็นถึงความเชื่อมโยงของพฤติกรรมปัจจุบนั กับ
โอกาสของการพลัดตกหกล้มของตนเอง และบันทึกผลการวิเคราะห์ความเสี่ ยงของตนเองลงใน
คู่มือที่แจก
กิจกรรมที่ 2 “รู ้อุปสรรค รู ้ทนั ป้องกันล้ม” (45 นาที)
การสาธิตและฝึ กปฏิบตั ิจริ ง (Demonstrating) เรื่ องการเปลี่ยนอิริยาบถ การออกกาลังกาย
เพื่อสร้างเสริ มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว
2.1 การเปลี่ยนอิริยาบถ โดยฝึ กปฏิบตั ิการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ไม่รีบร้อนในการ
เปลี่ยนอิริยาบถ เกี่ยวกับการนัง่ การลุกจากเก้าอี้ การนัง่ และการลุกจากพื้น การนอนพื้นและลุกจากที่
นอนบนพื้น การนอนเตียงและการลุกจากเตียง การยกของและวางของกับพื้น การเดินขึ้นและลง
บันได
2.2 การออกกาลังกาย เพื่อให้ผสู ้ ูงอายุสามารถออกกาลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องและ
เกิดความมัน่ ใจ สามารถกลับไปออกกาลังกายด้วยตัวเองที่บา้ นได้ ประกอบด้วย
2.2.1 ท่าฝึ กกล้ามเนื้อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ
2.2.2 ท่าฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
2.2.3 ท่าฝึ กการเดินและการทรงตัว
กิจกรรมที่ 3 “ล้มลาพังล้มทั้งบ้าน” (30 นาที)
3.1 การบรรยายประกอบสื่ อวิดีทศั น์เกี่ยวกับสถานการณ์การพลัดตกหกล้ม สาเหตุ
และปัจจัยเสี่ ยง แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม สาเหตุและปัจจัยเสี่ ยง แนวทางป้องกันการพลัด
55

ตกหกล้มในผูส้ ู งอายุ นอกจากนั้นผูว้ ิจยั ได้จดั กิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการ


พลัดตกหกล้ม ดังนี้
3.2 กรณีศึกษา (Case study) โดยผูว้ ิจยั นาเสนอเป็ นภาพถ่ายและคลิปวิดีโอการ
สัมภาษณ์ผสู ้ ู งอายุในพื้นที่และญาติในการถ่ายทอดเรื่ องราวความรุ นแรงและผลกระทบหลังจาก
พลัดตกหกล้มในบ้าน โดยให้ผสู ้ ูงอายุร่วมกันวิเคราะห์เหตุการณ์ดงั กล่าว บันทึกลงในคู่มือ แล้ว
ผูว้ ิจยั สรุ ปผลตอนท้ายกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 “มัน่ ใจว่าไม่ลม้ ” (30 นาที)
4.1 นาเสนอตัวแบบ (Modeling) คือ ให้อาสาสมัครหรื อตัวแทนผูส้ ูงอายุที่มี
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มที่ดี ออกมาเล่าถึงแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มที่ได้ผลดี
โดยเปิ ดโอกาสให้ผสู ้ ูงอายุท่านอื่นสอบถามในประเด็นที่สนใจ
4.2 ตั้งเป้าหมาย ให้ผสู ้ ู งอายุประเมินความสามารถของตนเองและตั้งเป้าหมายในการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ ยงเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม การออกกาลังกาย และการวางแผนการ
ปฏิบตั ิตามแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มด้วยตนเองลงในคู่มือ
กิจกรรมครั้งที่ 2
(สัปดาห์ที่ 2-12)
กิจกรรมที่ 5 “เยีย่ มด้วยใจห่วงใยไม่ให้ลม้ ”
การกระตุน้ และผลักดันด้วยแรงสนับสนุนทางสังคม (Social support) ด้านการให้ขอ้ มูล
ข่าวสารและด้านอารมณ์ ด้วยการให้คาแนะนาหรื อคาตักเตือนและคอยชี้แนะให้คาปรึ กษาจากคน
ในครอบครัว เพื่อน อสม.และบุคลากรสาธารณสุข เพื่อช่วยกระตุน้ และผลักดันให้ผสู ้ ู งอายุมี
พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มที่ดีข้ นึ โดยกิจกรรมมีรายละเอียด ดังนี้
5.1 การสนับสนุนด้านการให้ขอ้ มูลข่าวสาร คือ การติดตามเยีย่ มทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง
ต่อเดือน (กรกฎาคม – สิ งหาคม) เพื่อพูดคุยซักถามถึงอุปสรรคหรื อปั ญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและ
วิธีการแก้ไข ให้คาแนะนาและตอบข้อสงสัย
5.2 การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ ด้วยการเยีย่ มบ้านเพื่อกระตุน้ ให้คนในครอบครัว
เพื่อน อสม.และบุคลาการสาธารณสุข สนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์รัก ห่วงใย เห็นอกเห็นใจ
ผูส้ ู งอายุ ซึ่งกิจกรรมเยีย่ มบ้านร่ วมกันนี้มีวตั ถุประสงค์เพื่อประเมินสิ่ งแวดล้อมที่เสี่ ยงและจัดการ
แก้ไขปรับปรุ งร่ วมกัน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา2019
(COVID-19) ผูว้ ิจยั จึงเลือกเยีย่ มบ้านเฉพาะรายที่สมัครใจและได้รับการฉี ดวัคซีนป้องกันโรค
COVID-19 แล้วเท่านั้น และการติดตามเยีย่ มบ้านผูว้ ิจยั จะลงพื้นที่ร่วมกับ อสม. 1 คน และตัวแทน
กลุ่มตัวอย่าง 1 คน เท่านั้น ซึ่ งผูว้ ิจยั ติดตามเยีย่ มบ้านร้อยละ 50 ของกลุ่มทดลอง(15หลัง)
56

กิจกรรมครั้งที่ 3
(สัปดาห์ที่ 12)
หลังจบกิจกรรมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ผูว้ ิจยั เก็บรวบรวมข้อมูลหลังการ
ทดลอง (Post-test) ด้วยแบบสัมภาษณ์ชุดเดิมทางโทรศัพท์เพื่อประเมินแบบแผนความเชื่อด้าน
สุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ภายในเดือนกันยายน
พ.ศ. 2564
3. ระยะติดตามผล
หลังจบการเข้าร่ วมกิจกรรมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม 4 สัปดาห์ ผูว้ ิจยั เก็บ
รวบรวมข้อมูลในระยะติดตามผล ด้วยแบบสัมภาษณ์ชุดเดิมทางโทรศัพท์เพื่อประเมินแบบแผน
ความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ภายใน
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
การเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มทดลอง การจัดกิจกรรมภายใต้มาตรการควบคุมป้ องกัน
การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการติดตามการได้รับวัคซีน
ป้องกันโรค COVOD-19 ก่อนจัดกิจกรรม มีการตรวจคัดกรองสุ ขภาพเบื้องต้น ได้แก่ วัดอุณหภูมิ
ร่ างกาย วัดความดันโลหิ ต คัดกรองความเสี่ ยงต่อการติดเชื้อ COVOD-19 พร้อมทั้งจัดหา
แอลกอฮอล์เจลสาหรับล้างมือ แจกหน้ากากอนามัยทุกคนและให้ใส่ตลอดการเข้าร่ วมกิจกรรม
การเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุมทางโทรศัพท์ โดยกลุ่มควบคุมสามารถเข้าร่ วม
กิจกรรมชุมชน หรื อชมรมผูส้ ูงอายุได้ รวมถึงการเข้าถึงสื่ อด้านสุขภาพที่สนใจได้ตามปกติ
เนื่องจากกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่ วมกิจกรรม ผูว้ ิจยั ได้จดั ทาชุดอุปกรณ์ป้องกันโรค COVID-19
ประกอบด้วย กระเป๋ าผ้า หน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์เจล มอบให้กลุ่มควบคุมทุกคนแทนคา
ขอบคุณที่ให้ความร่ วมมือในการเก็บข้อมูล
57

ผู้สูงอายุ

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

ระยะดาเนินการทดลอง ระยะดาเนินการทดลอง
ครั้งที่ 1 : สัปดาห์ที่ 1 (Pre-test) สัปดาห์ที่ 1 (Pre-test)
- กิจกรรมรู ้ไหมใครเสี่ ยงล้ม
- กิจกรรมรู ้อุปสรรค รู ้ทนั ป้องกันล้ม
- กิจกรรมล้มลาพังล้มทั้งบ้าน
- กิจกรรมมัน่ ใจว่าไม่ลม้ ดูแลสุขภาพตามปกติ
ครั้งที่ 2 : สัปดาห์ที่ 2-12
- กิจกรรมเยีย่ มด้วยใจห่วงใยไม่ให้ลม้
ระยะหลังการทดลอง
สัปดาห์ที่ 12 (Post-test)

ระยะหลังการทดลอง
สัปดาห์ที่ 12 (Post-test)

ระยะติดตามผล
หลังจบการทดลอง 4 สัปดาห์

ภาพที่ 9 ขั้นตอนดาเนินการทดลอง
58

การวิเคราะห์ ข้อมูล
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ดว้ ยวิธีแจกแจงความถี่ (Frequency)
ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทดสอบ
ความแตกต่างของข้อมูลส่ วนบุคคลของกลุ่มประชากรทั้ง 2 กลุ่มด้านเพศ อายุ อาชีพ สถานภาพ
สมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ลักษณะการอยูอ่ าศัย โรคประจาตัว และยาที่
รับประทานเป็ นประจา ด้วยสถิติ Chi-square
2. วิเคราะห์เปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม
และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง
และระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Paired sample t-test
3. วิเคราะห์เปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุน
ทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม
ควบคุมในระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ และระยะติดตามผล โดยใช้สถิติ Independent t-test

การพิทักษ์ สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง
ผูว้ ิจยั ได้ทาการพิทกั ษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
1. นาเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เครื่ องมือวิจยั และเอกสารชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการทา
วิจยั เสนอพิจารณาขอรับรองโครงการวิจยั ในมนุษย์จากคณะกรรมการจริ ยธรรมการวิจยั
มหาวิทยาลัยบูรพา รหัสโครงการวิจยั G-HS 114/2563
2. ผูจ้ ดั ทาเอกสารชี้แจงให้ผสู ้ ู งอายุทราบเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการวิจยั และอธิบาย
รายละเอียดเกี่ยวกับการทาวิจยั เพื่อขอความร่ วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. การทาแบบสัมภาษณ์เป็ นไปตามความสมัครใจ กลุ่มตัวอย่างมีอิสระในการตอบ
คาถาม และมีสิทธิ์ปฏิเสธการทาแบบสัมภาษณ์
4. ข้อมูลที่ได้จากการวิจยั ผูว้ ิจยั ถือว่าเป็ นความลับ และนามาใช้เพื่อการวิจยั เท่านั้น โดย
นาเสนอในลักษณะกลุ่ม ผูว้ ิจยั จะไม่กระทาการใด ๆ ที่เป็ นอันตรายต่อกลุ่มทดลอง
59

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์

การศึกษาวิจยั ครั้งนี้ เป็ นการศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดย


ประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกัน
การพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่ม
แบบง่าย 64 ราย เป็ นกลุ่มทดลอง 32 ราย และกลุ่มควบคุม 32 ราย กลุ่มทดลองขอยกเลิกการเข้าร่ วม
ในระหว่างการศึกษา (Drop Out) จานวน 2 ราย (ร้อยละ 6.25) เนื่องจากกังวลในสถานการณ์การ
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) จึงเหลือกลุ่มตัวอย่าง 62 ราย เป็ นกลุ่ม
ทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล แบ่งออกเป็ น 4 ส่ วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2 การเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุน
ทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในระยะก่อนทดลอง หลังการทดลอง และ
ระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลอง
ส่วนที่ 3 การเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุน
ทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในระยะก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุม
60

ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล
ส่ วนที่ 1 ข้ อมูลส่ วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง
วิเคราะห์ขอ้ มูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง จาแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับ
การศึกษาการอยูอ่ าศัย อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนโรคประจาตัวและยาที่รับประทานประจา มี
รายละเอียดดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง

ข้ อมูลส่ วนบุคคล กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม


(n = 30) (n = 32) P-value
จานวน ร้ อยละ จานวน ร้ อยละ
เพศ 0.493
ชาย 7 23.3 13 40.6
หญิง 23 76.7 19 59.4
อายุ 0.139
60-64 ปี 20 66.7 17 53.1
65-69 ปี 8 26.7 12 37.5
70 ปี ขึ้นไป 2 6.7 3 9.4
สถานภาพสมรส 0.462
โสด 4 13.3 6 18.8
สมรส 16 53.3 12 37.5
หม้าย/หย่า/แยก 10 33.3 14 43.8
ระดับการศึกษา 0.670
ไม่ได้เรี ยน/ประถมศึกษา 23 76.7 27 84.4
มัธยมศึกษาขึ้นไป 7 23.3 5 15.6
ปัจจุบันอาศัยอยู่กบั ใคร 0.609
อยูค่ นเดียว 3 10.0 6 18.8
สามี/ภรรยา 10 33.3 11 34.4
บุตรหลาน/ญาติพี่นอ้ ง 17 56.7 15 46.9
61

ตารางที่ 2 (ต่อ)

ข้ อมูลส่ วนบุคคล กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม


(n = 30) (n = 32) P-value
จานวน ร้ อยละ จานวน ร้ อยละ
ปัจจุบันอาศัยอยู่กบั ใคร 0.609
อยูค่ นเดียว 3 10.0 6 18.8
สามี/ภรรยา 10 33.3 11 34.4
บุตรหลาน/ญาติพี่นอ้ ง 17 56.7 15 46.9
อาชีพ
ไม่ได้ทางาน 11 36.7 12 37.5 0.072
มีอาชีพ 19 63.3 20 62.5
รายได้เฉลีย่ ต่อเดือน 0.729
น้อยกว่า 5,000 บาท 15 50.0 19 59.4
5,000 บาทขึ้นไป 15 50.0 13 40.6
โรคประจาตัวและการเจ็บป่ วย 0.675
ไม่มี 14 46.7 13 40.6
มี 16 53.3 19 59.4
ยาที่รับประทานเป็ นประจา 0.675
ไม่มี 14 46.7 13 40.6
มี 16 53.3 19 59.4

จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็ นเพศหญิง


(ร้อยละ 76.7) มีอายุระหว่าง 60-64 ปี (ร้อยละ 66.7) มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 53.3) ส่วนใหญ่
ไม่ได้เรี ยน/จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 76.7) ปัจจุบนั อาศัยอยูก่ บั บุตรหลาน ญาติพี่
น้อง (ร้อยละ 56.7) ส่วนใหญ่ยงั มีอาชีพ (ร้อยละ 63.3) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 5,000
บาท (ร้อยละ 50.0) มีโรคประจาตัวหรื อการเจ็บป่ วย และมียารับประทานประจา (ร้อยละ 53.3)
สาหรับกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่เป็ นเพศหญิงเช่นกัน (ร้อยละ 59.4) มีอายุ
ระหว่าง 60-64 ปี (ร้อยละ 53.1) มีสถานภาพหม้าย/หย่า/แยก (ร้อยละ 43.8) ส่วนใหญ่ไม่ได้เรี ยน/จบ
62

การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 84.4) ปัจจุบนั อาศัยอยูก่ บั บุตรหลาน ญาติพี่นอ้ ง (ร้อยละ


46.9) ส่วนใหญ่ยงั มีอาชีพ (ร้อยละ 62.5) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 59.4)
มีโรคประจาตัวหรื อการเจ็บป่ วย และมียารับประทานประจา (ร้อยละ 59.4)
จากการใช้สถิติทดสอบ Chi-Square ทดสอบความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลระหว่าง
กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่แตกต่างกัน (p > .05)

ส่ วนที่ 2 การเปรียบเทียบค่าเฉลีย่ คะแนนแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ แรงสนับสนุน


ทางสั งคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในระยะก่อนทดลอง หลังการ
ทดลอง และระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลอง

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ภายในกลุ่มทดลอง (จาแนกรายด้าน)

แบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ ก่อนทดลอง หลังทดลอง ระยะติดตามผล


Mean SD Mean SD Mean SD
1. การรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการ 11.13 2.047 11.80 2.024 11.80 2.024
พลัดตกหกล้ม
2. การรับรู ้ความรุ นแรงของการ 12.07 2.116 12.57 2.128 12.57 2.128
พลัดตกหกล้ม
3. การรับรู ้ประโยชน์ของการ 11.83 2.102 13.53 2.113 11.97 2.076
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม
4. การรับรู ้อุปสรรคของการ 10.20 1.375 11.40 1.248 11.03 1.217
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม
5. การรับรู ้ความสามารถของ 11.10 1.971 12.13 2.097 12.07 2.016
ตนเองในการป้องกันการพลัดตก
หกล้ม
63

จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า ภายหลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมี


ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพทุกด้านสู งกว่าก่อนการทดลอง
ภายหลังการทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู ้ประโยชน์ของการป้องกันการพลัด
ตกหกล้ม เพิม่ ขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือการรับรู ้อุปสรรค การรับรู ้ความสามารถของตนเอง การ
รับรู ้โอกาสเสี่ ยง และการรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม ตามลาดับ
ในระยะติดตามผล พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู ้โอกาสเสี่ ยง และการรับรู ้ความรุ นแรง
ของการพลัดตกหกล้ม เทียบกับหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนคงที่ ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู ้
ประโยชน์ของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม การรับรู ้อุปสรรคและการรับรู ้ความสามารถของ
ตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนระยะติดตามผลลงลงจากระยะหลัง
การทดลอง

ตารางที่ 4 ระดับคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ภายในกลุ่มทดลอง

กลุ่มตัวอย่ าง ระยะ Mean SD Range ระดับ (ร้ อยละ)


กลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง 59.50 7.075 44-70 ปานกลาง (53.3)
(n = 30) หลังการทดลอง 61.07 7.263 45-72 ปานกลาง (50.0)
ติดตามผล 59.43 6.632 44-69 ปานกลาง (56.7)

จากตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพของกลุ่ม


ทดลอง ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล อยูใ่ นระดับปานกลาง

ตารางที่ 5 การเปรี ยบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ใน


ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลอง

กลุ่ม n Mean SD t P
ก่อนการทดลอง 30 59.50 7.075 -5.716 <0.001*
หลังการทดลอง 30 61.07 7.263
หลังการทดลอง 30 61.07 7.263 5.719 <0.001*
ระยะติดตามผล 30 59.43 6.632
*มีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
64

ค่ าเฉลี่ ย คะแนนแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ


กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

61.47
59.69 61.07

59.5 59.43

ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง ติ ด ตามผล

ภาพที่ 10 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

จากตารางที่ 5 และภาพที่ 10 แสดงให้เห็ นว่า กลุ่มทดลองมี ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผน


ความเชื่ อด้านสุ ขภาพหลังการทดลองสู งกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
และค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพระยะติดตามผลน้อยกว่าหลังการทดลองอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม ภายในกลุ่มทดลอง (จาแนกรายด้าน )

แรงสนับสนุนทางสั งคม ก่อนทดลอง หลังทดลอง ระยะติดตามผล


Mean SD Mean SD Mean SD
1. แรงสนับสนุนด้านอารมณ์ 11.20 2.074 11.80 1.901 11.70 1.932
2. แรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร 9.37 2.173 10.43 2.029 10.17 2.036

จากตารางที่ 6 แสดงให้เห็นว่า ภายหลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมี


ค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมทุกด้านสู งกว่าก่อนการทดลอง
65

ภายหลังการทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร เพิ่มขึ้น


มากกว่าแรงสนับสนุนด้านอารมณ์ และในระยะติดตามผลค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม
ทุกด้านลดลงจากหลังการทดลอง

ตารางที่ 7 ระดับคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม ภายในกลุ่มทดลอง

กลุ่มตัวอย่ าง ระยะ Mean SD Range ระดับ (ร้ อยละ)


กลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง 20.57 3.839 13-28 น้อย (70.0)
(n = 30) หลังการทดลอง 22.23 3.617 14-29 น้อย (53.3)
ติดตามผล 21.87 3.636 14-29 น้อย (63.3)

จากตารางที่ 7 แสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมในกลุ่มทดลอง ใน
ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล อยูใ่ นระดับน้อย

ตารางที่ 8 การเปรี ยบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม ในระยะก่อนการ


ทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ภายในกลุ่มทดลอง

กลุ่ม n Mean SD F P
ก่อนการทดลอง 30 20.57 3.839 -5.689 <0.001*
หลังการทดลอง 30 22.23 3.617
หลังการทดลอง 30 22.23 3.617 2.164 0.039
ระยะติดตามผล 30 21.87 3.636
*มีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
66

ค่ าเฉลี่ ย คะแนนแรงสนั บ สนุ น ทางสั งคม


กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม
22.23
21.87

20.57
20.31 20.38

ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง ติ ด ตามผล

ภาพที่ 11 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม

จากตารางที่ 8 และภาพที่ 11 แสดงให้เห็นว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุน


ทางสังคมหลังการทดลองสู งกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระยะ
ติดตามผลมีค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่าหลังการทดลองอย่างมีนยั สาคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
67

ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ภายในกลุ่มทดลอง (แยกรายข้อ)


ก่อนทดลอง หลังทดลอง ระยะติดตามผล
ปฏิบัติ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ปฏิบัติ ไม่
ข้อ พฤติกรรม เป็ น บางครั้ง ปฏิบัติ เป็ น บางครั้ง ปฏิบัติ เป็ น บางครั้ง ปฏิบัติ
ประจา เลย ประจา เลย ประจา เลย
จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน
(ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ)
1 ท่านจัดเก้าอี้สาหรับ 8 8 14 11 13 6 8 16 6
นัง่ ขับถ่าย /นัง่ พัก (26.7) (26.7) (46.7) (36.7) (43.3) (20.0) (26.7) (53.3) (20.0)
อาบน้ าและเปลี่ยน
เสื้อผ้าในห้องน้ า
ห้องส้วม
2 ท่านจัดวางสิ่ งของ 16 7 7 19 9 2 22 6 2
เครื่ องใช้ภายในบ้าน (53.3) (23.3) (23.3) (63.3) (30.0) (6.7) (73.3) (20.0) (6.7)
อย่างเป็ นระเบียบไม่
กีดขวางทางเดิน
3 ท่านดูแลพื้นบ้าน 10 14 6 17 9 4 14 12 4
และพื้นห้องน้ าห้อง (33.3) (46.7) (20.0) (56.7) (30.0) (13.3) (46.7) (40.0) (13.3)
ส้วมให้แห้งอยูเ่ สมอ
4 ท่านเปิ ดไฟภายใน 11 15 4 18 10 2 21 7 2
บ้านให้สว่าง (36.7) (50.0) (13.3) (60.0) (33.3) (6.7) (70.0) (23.3) (6.7)
เพียงพอต่อการทา
กิจกรรม
5 ท่านทาแถบสีหรื อ 4 5 21 6 14 10 5 13 12
สัญลักษณ์พ้นื ต่าง (13.3) (16.7) (70.0) (20.0) (46.7) (33.3) (16.7) (43.3) (40.0)
ระดับ และบันไดที่
บ้าน
6 ท่านเปลี่ยนท่าทาง 15 12 3 17 12 1 16 12 2
จากการนอนเป็ นนั่ง (50.0) (40.0) (10.0) (56.7) (40.0) (3.3) (53.3) (40.0) (6.7)
จากการนัง่ เป็ นยืน
อย่างช้า ๆ ด้วยความ
ระมัดระวัง
7 ท่านเดินขึ้นลงบันได 17 10 3 20 9 1 17 11 2
โดยยืนชิดราวบันได (56.7) (33.3) (10.0) (66.7) (30.0) (3.3) (56.7) (36.7) (6.7)
ด้านหนึ่ง ใช้มือข้าง
ที่ถนัดหรื อทั้งสอง
ข้างจับราวบันได
68

ตารางที่ 9 (ต่อ)
ก่อนทดลอง หลังทดลอง ระยะติดตามผล
ปฏิบัติ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ ปฏิบัติ ไม่
ข้อ พฤติกรรม เป็ น บางครั้ง ปฏิบัติ เป็ น บางครั้ง ปฏิบัติ เป็ น บางครั้ง ปฏิบัติ
ประจา เลย ประจา เลย ประจา เลย
จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน
(ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ) (ร้ อยละ)
8 ท่านยกของจากพื้น 15 11 4 5 12 13 7 7 16
ด้วยท่ายืนกางขา (50.0) (36.7) (13.3) (16.7) (40.0) (43.3) (23.3) (23.3) (53.3)
เล็กน้อยแล้วก้มลง
ไปยกหรื อวางของที่
พื้น โดยไม่ตอ้ งย่อขา
และเข่า
9 ท่านออกกาลังกาย 10 9 11 14 10 6 16 10 4
หรื อเคลื่อนไหว (33.3) (30.0) (36.7) (46.7) (33.3) (20.0) (53.3) (33.3) (13.3)
ร่ างกายระดับปาน
กลาง อย่างน้อย 30
นาที หรื อช่วงละ
10-15 นาที สัปดาห์
ละ 5 วัน
10 ท่านอบอุ่นร่ างกาย 10 11 9 11 17 2 11 16 3
เพื่อเตรี ยมความ (33.3) (36.7) (30.0) (36.7) (56.7) (6.7) (36.7) (53.3) (10.0)
พร้อมก่อนออกกาลัง
กาย เพื่อป้องกันการ
บาดเจ็บของระบบ
ข้อต่อและกล้ามเนื้อ
11 ท่านสวมใส่ เสื้ อผ้า 9 18 3 21 7 2 18 9 3
ขนาดพอดีตวั ไม่คบั (30.0) (60.0) (10.0) (70.0) (23.3) (6.7) (60.0) (30.0) (10.0)
หรื อหลวมเกินไป
และไม่มีสายรุ่ มร่ าม
12 ท่านเลือกใส่รองเท้า 7 13 10 10 18 2 12 14 4
แบบหุ้มข้อ แทนการ (23.3) (43.3) (33.3) (33.3) (60.0) (6.7) (40.0) (46.7) (13.3)
เดินเท้าเปล่าหรื อ
รองเท้าแตะหลวม ๆ
69

จากตารางที่ 9 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของกลุ่มทดลอง
ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล พบว่า ส่ วนใหญ่ก่อนการทดลอง
กลุ่มทดลองไม่เคยจัดเก้าอี้สาหรับนัง่ ขับถ่าย/นัง่ พักอาบน้ าและเปลี่ยนเสื้ อผ้าในห้องน้ าห้องส้วม
คิดเป็ นร้อยละ 46.7 ภายหลังการทดลองและระยะติดตามปฏิบตั ิเป็ นบางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 43.3
และร้อยละ 53.3 ตามลาดับ มีการจัดวางสิ่ งของเครื่ องใช้ภายในบ้านอย่างเป็ นระเบียบไม่กีดขวาง
ทางเดินเป็ นประจา ร้อยละ 53.3 ร้อยละ 63.3 และร้อยละ 73.3 ตามลาดับ ก่อนการทดลองดูแล
พื้นบ้านและพื้นห้องน้ าห้องส้วมให้แห้งอยูเ่ สมอเป็ นบางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 46.7 ภายหลังการ
ทดลองและระยะติดตามผลได้ปฏิบตั ิเป็ นประจา คิดเป็ นร้อยละ 56.7 และร้อยละ 46.7 ตามลาดับ
เปิ ดไฟในบ้านให้สว่างเพียงพอเป็ นบางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 50.0 ภายหลังการทดลองและระยะ
ติดตามปฏิบตั ิเป็ นประจา คิดเป็ นร้อยละ 60.0 และร้อยละ 70.0 ตามลาดับ ส่วนใหญ่ไม่เคยทาแถบสี
หรื อสัญลักษณ์พ้นื ต่างระดับและบันไดที่บา้ น คิดเป็ นร้อยละ 70.0 ภายหลังการทดลองและระยะ
ติดตามได้ปฏิบตั ิเป็ นบางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 46.7 และร้อยละ 43.3 ตามลาดับ เปลี่ยนท่าทางจากการ
นอนเป็ นนัง่ จากการนัง่ เป็ นยืนอย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวังเป็ นประจา คิดเป็ นร้อยละ 50.0
ร้อยละ 56.7 และร้อยละ 53.3 ตามลาดับ เดินขึ้นลงบันไดโดยยืนชิดราวบันไดด้านหนึ่ง ใช้มือข้างที่
ถนัดหรื อทั้งสองข้างจับราวบันไดเป็ นประจา คิดเป็ นร้อยละ 56.7 ร้อยละ 66.7 และร้อยละ 56.7
ตามลาดับ ยกของจากพื้นด้วยท่ายืนกางขาเล็กน้อยแล้วก้มลงไปยกหรื อวางของที่พ้ืนโดยไม่ตอ้ งย่อ
ขาและเข่าเป็ นประจา มากถึงร้อยละ 50.0 แต่ภายหลังการทดลองและระยะติดตาม ไม่ได้ปฏิบตั ิ
เช่นนั้นแล้ว คิดเป็ นร้อยละ 43.3 และร้อยละ 53.3 ตามลาดับ ส่ วนใหญ่ไม่ได้ออกกาลังกายหรื อ
เคลื่อนไหวร่ างกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 30 นาที หรื อช่วงละ 10-15 นาที สัปดาห์ละ 5 วันเลย
คิดเป็ นร้อยละ 36.7 ภายหลังการทดลองและระยะติดตามมีการออกกาลังกายประจา คิดเป็ นร้อยละ
46.7 และร้อยละ 53.3 ตามลาดับ มีการอบอุ่นร่ างกายเพื่อเตรี ยมความพร้อมก่อนออกกาลังกายเพื่อ
ป้องกันการบาดเจ็บของระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อเป็ นบางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 36.7 ร้อยละ 56.7
และร้อยละ 53.3 ตามลาดับ สวมใส่ เสื้ อผ้าขนาดพอดีตวั ไม่คบั หรื อหลวมเกินไป และไม่มีสาย
รุ่ มร่ ามเป็ นบางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 60.0 ภายหลังการทดลองและระยะติดตามปฏิบตั ิเป็ นประจา คิด
เป็ นร้อยละ 60 ตามลาดับ และเลือกใส่รองเท้าแบบหุม้ ข้อแทนการเดินเท้าเปล่าหรื อรองเท้าแตะ
หลวม ๆ เป็ นบางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 43.3 ร้อยละ 60.0 และร้อยละ 46.7 ตามลาดับ
70

ตารางที่ 10 ระดับคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ภายในกลุ่มทดลอง

กลุ่มตัวอย่ าง ระยะ Mean SD Range ระดับ (ร้ อยละ)


กลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง 12.50 4.447 5-22 น้อย (70.0)
(n = 30) หลังการทดลอง 16.47 3.441 10-24 ปานกลาง (50.0)
ติดตามผล 16.17 2.854 10-21 ปานกลาง (53.3)

จากตารางที่ 10 แสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของ
กลุ่มทดลอง ในระยะก่อนการทดลอง อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 70 ภายหลังการทดลอง และระยะ
ติ ดตามผล ระดับ คะแนนพฤติ กรรมเพิ่ มขึ้นอยู่ในระดับ ปานกลาง ร้อยละ 50.0 และร้อยละ 53.3
ตามลาดับ

ตารางที่ 11 การเปรี ยบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มใน


กลุ่มทดลอง ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล

กลุ่ม n Mean SD F P
ก่อนการทดลอง 30 12.50 4.447 -7.943 <0.001*
หลังการทดลอง 30 16.47 3.441
หลังการทดลอง 30 16.47 3.441 .670 .508
ระยะติดตามผล 30 16.17 2.854
*มีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
71

ค่ าเฉลี่ ย คะแนนพฤติ ก รรมป้ องกั น การพลั ด ตกหกล้ ม


กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม
16.47 16.17
14.0612.5 14.13

ก่ อ นทดลอง หลั ง ทดลอง ติ ด ตามผล

ภาพที่ 12 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม

จากตารางที่ 11 และภาพที่ 12 แสดงให้เห็นว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม


ป้องกันการพลัดตกหกล้มหลังการทดลองสู งกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 และหลังการทดลองกับระยะติดตามผลค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มไม่
แตกต่างกันทางสถิติ
72

ส่ วนที่ 3 การเปรียบเทียบค่าเฉลีย่ คะแนนแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ แรงสนับสนุน


ทางสั งคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในระยะก่อนและหลังการทดลอง
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ


พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ
กลุ่มควบคุม

n Mean SD t p-value
แบบแผนความเชื่ อด้ านสุขภาพ
ก่อนการทดลอง 0.102 0.919
กลุ่มทดลอง 30 59.50 7.075
กลุ่มควบคุม 32 59.69 7.403
หลังการทดลอง 0.218 0.828
กลุ่มทดลอง 30 61.07 7.263
กลุ่มควบคุม 32 61.47 7.229
แรงสนับสนุนทางสังคม
ก่อนการทดลอง 0.266 0.791
กลุ่มทดลอง 30 20.57 3.839
กลุ่มควบคุม 32 20.31 3.685
หลังการทดลอง 2.056 0.044*
กลุ่มทดลอง 30 22.23 3.617
กลุ่มควบคุม 32 20.38 3.499
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ก่อนการทดลอง 0.438 0.663
กลุ่มทดลอง 30 12.50 4.447
กลุ่มควบคุม 32 14.06 4.450
หลังการทดลอง 2.300 0.025*
กลุ่มทดลอง 30 16.47 3.441
กลุ่มควบคุม 32 14.13 4.470
*มีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
73

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

61.47
61.07
59.69
59.5

22.23
20.57

20.38
20.31

16.47
14.13
14.06
12.5
ก่ อ น ท ด ล อ ง ห ลั ง ท ด ล อ ง ก่ อ น ท ด ล อ ง ห ลั ง ท ด ล อ ง ก่ อ น ท ด ล อ ง ห ลั ง ท ด ล อ ง

แ บ บ แ ผ น ค ว า ม เ ชื่ อ ด้ า น สุ ข ภ า พ แ ร ง ส นั บ ส นุ น ท า ง สั ง ค ม พ ฤ ติ ก ร ร ม ป้ อ ง กั น ก า ร พ ลั ด ต ก ห ก ล้ ม

ภาพที่ 13 กราฟแสดงค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และ


พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและ
กลุ่มควบคุม

จากตารางที่ 12 และภาพที่ 13 แสดงผลการเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความ


เชื่อด้านสุ ขภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ก่อนและหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ย
คะแนนไม่แตกต่างกัน
ในขณะที่ผลการเปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม ระหว่างกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน ภายหลังการทดลอง
พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
เช่นเดียวกับผลการเปรี ยบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน
ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
74

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผลการวิจัย และข้ อเสนอแนะ

การศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความ
เชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของ
ผูส้ ูงอายุในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี มีวตั ถุประสงค์เพื่อ 1. เปรี ยบเทียบการรับรู ้ตามแบบแผน
ความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ภายใน
กลุ่มทดลองก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล และ 2. เปรี ยบเทียบการรับรู ้ตาม
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลองโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็ น 2
กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเพื่อทาการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการ
ทดลองและระยะติดตามผล ในการศึกษาวิจยั ครั้งนี้ได้ประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้าน
สุ ขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมในการจัดกิจกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มทั้งหมด 5
กิจกรรม มีการประเมินผลก่อนและหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม และติดตามผลในกลุ่มทดลอง
ภายหลังเข้าร่ วมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม (Follow up) 4 สัปดาห์ เลือกพื้นที่ดาเนินการ
วิจยั ด้วยการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากเลือกผูส้ ูงอายุจากชมรม
ผูส้ ูงอายุเทศบาลตาบลเกาะจันทร์เป็ นกลุ่มทดลอง และผูส้ ูงอายุจากชมรมผูส้ ูงอายุเทศบาลเมืองปรก
ฟ้าเป็ นกลุ่มควบคุม รวมทั้งสิ้ น 62 คน
เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั แบ่งออกเป็ น 2 ส่วน คือ 1. เครื่ องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล จานวน 9 ข้อ แบบประเมินแบบแผนความ
เชื่อด้านสุขภาพ จานวน 25 ข้อ แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม จานวน 10 ข้อ และแบบ
ประเมินพฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม จานวน 12 ข้อ รวมทั้งสิ้ น 56 ข้อ และ 2. เครื่ องมือที่
ใช้ในการดาเนิ นการทดลอง คือโปรแกรมป้องกันการพลัดตดหกล้ม ซึ่งผูว้ ิจยั พัฒนาขึ้นโดยการ
ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย 5 กิจกรรม
หลัก โดยดาเนินการจัดกิจกรรมในกลุ่มทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูล 1. แบบแผนความเชื่อด้าน
สุขภาพ 2. แรงสนับสนุนทางสังคม และ 3. พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังการ
ทดลองภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และติดตามผลในกลุ่มทดลอง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ส่ วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรี ยบเทียบความแตกต่างของข้อมูลทัว่ ไประหว่างกลุ่ม
ตัวอย่างด้วยสถิติ Chi-square วิเคราะห์เปรี ยบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างกลุ่ม
75

ทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Independent samples t-test วิเคราะห์เปรี ยบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนน


ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ Paired samples t-test

สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจยั สรุ ปเป็ นประเด็นสาคัญได้ดงั นี้
1. จากการวิเคราะห์ขอ้ มูลส่วนบุคคล จากกลุ่มตัวอย่าง 62 ราย แบ่งเป็ นกลุ่มทดลอง
30 รายและกลุ่มควบคุม 32 ราย พบว่า กลุ่มทดลองและกลุม่ ควบคุมส่วนใหญ่เป็ นเพศหญิง ร้อยละ
76.7 และร้อยละ 59.4 มีอายุระหว่าง 60-64 ปี ร้อยละ 66.7 และร้อยละ 53.1 มีสถานภาพสมรส
ร้อยละ 53.3 และหม้าย/หย่า/แยก ร้อยละ 43.8 ส่วนใหญ่ไม่ได้เรี ยน/จบการศึกษาระดับ
ประถมศึกษาร้อยละ 76.7 และร้อยละ 84.4 ปัจจุบนั อาศัยอยูก่ บั บุตรหลาน ญาติพี่นอ้ ง ร้อยละ 56.7
และร้อยละ 46.9 ส่วนใหญ่มีอาชีพ ร้อยละ 63.3 และร้อยละ 62.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า
5,000 บาท ร้อยละ 50.0 และร้อยละ 59.4 มีโรคประจาตัวหรื อการเจ็บป่ วย และมียารับประทาน
ประจา ร้อยละ 53.3 และร้อยละ 59.4 ตามลาดับ จากการใช้สถิติทดสอบ Chi-Square ทดสอบความ
แตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่แตกต่างกัน (p > .05)
2. ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพใน
กลุ่มทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพก่อนการทดลอง หลังการทดลอง
และระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .00
3. ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคมในกลุ่ม
ทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์และข้อมูลข่าวสาร ก่อนการ
ทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ
.00 และ .03 ตามลาดับ
4. ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหก
ล้มในกลุ่มทดลองพบว่า กลุม่ ทดลองมีพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ก่อนและหลังการ
ทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .00 และหลังการทดลองกับระยะติดตาม
ผลค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มไม่แตกต่างกัน
5. ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ก่อนและหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่าง
กัน
76

6. ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนแรงสนับสนุนทางสังคม ระหว่าง
กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนยั สาคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .04
7. ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนแตกต่างกันอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .02

อภิปรายผลการวิจัย
แบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ
ผูส้ ูงอายุมีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม ประกอบด้วย การ
รับรู ้ความเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้ม การรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม การรับรู ้
ประโยชน์ของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม การรับรู ้อุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
และการรับรู ้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในภาพรวมผลการศึกษา
พบว่า กลุ่มทดลองมีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม อยูใ่ นระดับดี (ร้อย
ละ 56.7) อยูแ่ ล้ว ภายหลังได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ทาให้มีแบบแผนความเชื่อด้าน
สุขภาพเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม อยูใ่ นระดับดีข้ นึ (ร้อยละ 66.7) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า หลัง
ได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ผูส้ ูงอายุมีการรับรู ้ประโยชน์ของการป้องกันการพลัดตก
หกล้มเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือ การรับรู ้อุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม การรับรู ้
ความสามารถของตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม การรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกหก
ล้ม และการรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม ตามลาดับ ดังนั้นกลุ่มทดลองมีแบบแผนความ
เชื่อด้านสุ ขภาพก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .00 ซึ่งเป็ นไปตามสมมติฐานงานวิจยั แสดงให้เห็นถึงการจัดโปรแกรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยการประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุ ขภาพ ที่มุ่งเน้นให้ผสู ้ ูงอายุ
ได้รับการประเมินความเสี่ ยงและแจ้งผลความเสี่ ยงรายบุคคลให้ทราบ สอดคล้องกับการศึกษาของ
เยาวลักษณ์ คุม้ ขวัญ และคณะ (2561) ได้เสนอแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม ด้วยหลักการ 12
ป. โดย ป.1 คือ. ประเมินการทรงตัว ประเมินการมองเห็น ประเมินความสามารถในการทากิจวัตร
ประจาวัน และประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และการให้ความรู ้เรื่ องผลกระทบและความ
รุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม จะสามารถทาให้ผสู ้ ูงอายุสามารถรับรู ้ถึงประโยชน์ อุปสรรค และ
ความสามารถของตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม มีผลต่อค่าเฉลี่ยคะแนนแบบแผนความ
เชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจยั ของกนกวรรณ เมืองศิริ (2561)
77

ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ จังหวัดชลบุรี


กลุ่มตัวอย่างเป็ นผูส้ ูงอายุ ที่อาศัยอยูใ่ นจังหวัดชลบุรี จานวน 370 คน ผลการวิจยั พบว่า ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผูส้ ู งอายุ จังหวัดชลบุรี ได้แก่ ความเชื่อ
เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม (p >0.01) ผูส้ ูงอายุที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มน้อยจะ
มีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มน้อยกว่าผูส้ ูงอายุที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มมาก
อยูร่ ้อยละ 3.91 และสอดคล้องกับงานวิจยั ของมานิตา รักศรี (2562) ที่ศึกษาผลของโปรแกรมการ
ปรับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูป้ ่ วยสูงอายุใน
โรงพยาบาล พัฒนาตามแนวคิด Health Belief Model ประกอบด้วย 1. การประเมินโอกาสเสี่ ยงและ
ปัจจัยเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มและแจ้งผลการประเมินแก่ผปู ้ ่ วยสู งอายุ 2. การให้ความรู ้แบบ
รายบุคคลโดยดูสื่อมัลติมีเดีย และให้คู่มือการปฏิบตั ิตนเรื่ อง “การป้ องกันการพลัดตกหกล้มสาหรับ
ผูป้ ่ วยสูงอายุในโรงพยาบาล” 3. การฝึ กทักษะโดยใช้วิธีสาธิต วิธีการเปลี่ยนอิริยาบถและการบริ หาร
กล้ามเนื้อขา สาธิตย้อนกลับ 4. ติดป้ายเตือน “ระวังพลัดตกหกล้ม” ที่มีคาแนะนาวิธีการป้องกันการ
พลัดตกหกล้มตามระดับความเสี่ ยงที่เตียงของผูป้ ่ วยและติดสติ๊กเกอร์แถบสี บอกระดับความเสี่ ยงต่อ
การพลัดตกหกล้มไว้ที่ป้ายชื่อที่ขอ้ มือของผูป้ ่ วย ผลการวิจยั พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ
มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ
แรงสนับสนุนทางสั งคม
แรงสนับสนุนทางสังคมประกอบด้วย แรงสนับสนุนด้านอารมณ์และแรงสนับสนุนด้าน
ข้อมูลข่าวสาร ในภาพรวมผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีแรงสนับสนุนทางสังคม ก่อนการ
ทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ
.00 และ .03 ตามลาดับ ซึ่งเป็ นไปตามสมมติฐานงานวิจยั จะเห็นได้วา่ กลุ่มทดลองก่อนและหลัง
ได้รับโปรแกรมป้องกันพลัดตกหกล้มมีระดับแรงสนับสนุนทางสังคมอยูใ่ นระดับปานกลาง
(ร้อยละ 53.3) และเพิ่มขึ้นในระยะติดตามผล (ร้อยละ 56.7) เพื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า หลังเข้า
ร่ วมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มกลุ่มทดลองมีแรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร
เพิ่มขึ้นมากกว่าและด้านอารมณ์ โดยกิจกรรมของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มใช้การ
ติดตามเยีย่ มบ้านเพื่อสร้างแรงสนับสนุนทางสังคมให้กบั กลุ่มทดลอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การมุ่งเน้น
ให้ขอ้ มูลข่าวสารจากบุคลากรสาธารณสุข และ อสม. กลุ่มเพื่อน รวมถึงญาติที่จะช่วยสนับสนุนด้าน
อารมณ์ความรู ้สึก การมีส่วนร่ วมในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยคะแนนแรง
สนับสนุนทางสังคมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจยั ของฐิติมา ทาสุ วรรณอินทร์ (2560) ที่ศึกษา
ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม จานวน 7 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 5-6 มีการติดตาม
เยีย่ มทางโทรศัพท์ เพื่อกระตุน้ ให้เกิดการปฏิบตั ิพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มอย่างต่อเนื่อง
78

ผลการวิจยั พบว่า หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของการพลัดตกหกล้มลดลง แต่ไม่มี


นัยสาคัญทางสถิติ (p >.05) และสอดคล้องกับงานวิจยั ของวิลาวรรณ สมตน (2556) ที่ได้ศึกษาผล
ของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสาหรับผูส้ ูงอายุ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความพร่ องในการดูแล
ตนเองของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีการสนับสนุนในการติดตามเยีย่ มบ้านโดย
ผูว้ ิจยั ร่ วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีความพร้อมและสมัครใจ เพื่อประเมิ นและกระตุน้ ในการ
ปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อม ติดตามการตรวจสอบวัดสายตาด้วยตนเองและการฝึ กการทรงตัวโดยการลุก -
นัง่ เก้าอี้ รวมทั้งการให้ขอ้ มูลความรู ้แก่ผสู ้ ู งอายุเป็ นรายบุคคล 6. การสนับสนุนให้สมาชิกใน
ครอบครัวผูส้ ูงอายุกลุ่มตัวอย่างที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้ามามีส่วนร่ วมในการปรับปรุ ง
สิ่ งแวดล้อม และ 7. สนับสนุนการใช้คาพูดในการชื่นชมหรื อให้กาลังใจ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม
ทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองเพื่อป้ องกันการหกล้มสู งกว่าก่อนการทดลองและสู งกว่ากลุ่ม
เปรี ยบเทียบอย่างมีนยั สาคัญสถิติ (p < .001)
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ ม
พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม ประกอบด้วยพฤติกรรมการปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อม
ภายในบ้านและรอบบ้านให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม พฤติกรรมการเปลี่ยนอิริยาบถที่ถูกต้อง
พฤติกรรมการออกกาลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อ และพฤติกรรมการแต่งกาย
โดยภาพรวมกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มก่อนการทดลองอยูใ่ นระดับน้อย
ร้อยละ 70 (Mean = 12.50, SD = 4.447) ภายหลังได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มพบว่า มี
พฤติกรรมอยูใ่ นระดับปานกลางร้อยละ 56.7 (Mean = 16.47, SD = 3.441) และในระยะติดตามผล
กลุ่มทดลองมีระดับพฤติกรรมดีข้ นึ อยูใ่ นระดับปานกลาง ร้อยละ 53.3. (Mean = 16.17, SD = 2.854)
ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติที่ระดับ .00 ดังนั้นผลการวิจยั พบว่า ก่อนและหลัง
การทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มแตกต่างกันอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .00 และหลังการทดลองกับระยะติดตามผลมีพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มไม่
แตกต่างกัน (p = .508) โดยเป็ นไปตามสมมติฐานงานวิจยั บางส่วน สอดคล้องกับงานวิจยั ของ
วิลาวรรณ สมตน (2556) ที่พบว่า ผูส้ ูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการ
หกล้ม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ และสอดคล้องกับ
งานวิจยั ของฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ (2560) ได้ศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหก
ล้มในผูส้ ูงอายุ ในชุมชนตาบลนางและอาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผลการวิจยั พบว่า หลังได้รับ
โปรแกรมการป้ องกันการพลัดตกหกล้ม ผูส้ ู งอายุมีความรู ้และพฤติกรรมดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม
อย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ (p<.01) ผูส้ ูงอายุที่ได้รับโปรแกรมมีความรู ้และพฤติกรรมการป้องกันการ
พลัดตกหกล้มดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ (p<.01)
79

สามารถอธิบายได้วา่ เป็ นผลเนื่องมาจากการการเข้าร่ วมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหก


ล้มโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อพฤติกรรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุที่ดีข้ นึ โดยกิจกรรมตามโปรแกรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม
ได้เน้นการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุตามปัจจัยเสี่ ยงที่พบ มีรายละเอียด ดังนี้
1. การปรับปรุงสิ่ งแวดล้ อม
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มเน้นการให้ความรู ้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ ยงภายนอก
เพื่อให้ผสู ้ ู งอายุสามารถปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้านให้ปลอดภัย ซึ่งจากการวิจยั
พบว่า กลุ่มทดลองส่ วนใหญ่ไม่เคยจัดเก้าอี้สาหรับนัง่ ขับถ่าย/นัง่ พักอาบน้ าและเปลี่ยนเสื้ อผ้าใน
ห้องน้ าห้องส้วม ร้อยละ 46.7 หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯและระยะติดตามผลพบว่า มีการปฏิบตั ิเป็ น
บางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 43.3 และร้อยละ 53.3 ตามลาดับ ส่ วนใหญ่มีการจัดวางสิ่ งของเครื่ องใช้
ภายในบ้านอย่างเป็ นระเบียบไม่กีดขวางทางเดินเป็ นประจา ร้อยละ 53.3 หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯ
และระยะติดตามผลพบว่า พฤติกรรมดังกล่าวเพิ่มสู งขึ้น ร้อยละ 63.3 และ 73.3 ตามลาดับ มีการ
ดูแลพื้นบ้านและพื้นห้องน้ าห้องส้วมให้แห้งอยูเ่ สมอเป็ นบางครั้ง ร้อยละ 46.7 หลังเข้าร่ วม
โปรแกรมฯและระยะติดตามผลพบว่า พฤติกรรมดังกล่าวที่ดีข้ นึ โดยมีการปฏิบตั ิเป็ นประจา ร้อยละ
56.7 และ 46.7 ตามลาดับ กลุ่มทดลองเปิ ดไฟภายในบ้านให้สว่างเพียงพอต่อการทากิจกรรมเป็ น
บางครั้ง ร้อยละ 50.0 หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯและระยะติดตามผลพบว่า พฤติกรรมดังกล่าวดีข้ นึ
โดยมีการปฏิบตั ิเป็ นประจา ร้อยละ 60.0 และ 70.0 ตามลาดับ ส่วนใหญ่ไม่เคยทาแถบสี หรื อ
สัญลักษณ์พ้นื ต่างระดับและบันไดที่บา้ นเลย ร้อยละ 70.0 หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯและระยะติดตาม
ผลพบว่า มีการปฏิบตั ิเป็ นบางครั้ง คิดเป็ นร้อยละ 46.7 และร้อยละ 43.3 ตามลาดับ ซึ่งสอดคล้องกับ
การศึกษาของชลันดา ดุลการณ์ (2562) ลักษณะพื้นบ้านลื่น ผูส้ ู งอายุที่มีหอ้ งน้ าภายนอกบ้าน
ลักษณะพื้นห้องน้ าเปี ยก/ลื่น และแสงสว่างภายนอกบ้านที่ไม่เพียงพอ มีความสัมพันธ์กบั การพลัด
ตกหกล้มในผูส้ ูงอายุอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ (2560) พบว่า สิ่ งแวดล้อมมี
ความสัมพันธ์กบั การหกล้มทั้งภายในและภายนอกบ้าน โดยถ้าหากสิ่ งแวดล้อมนั้นมีแสงสว่างไม่
เพียงพอ พื้นลื่น พื้นเรี ยบไม่สม่าเสมอ และมีสิ่งกีดขวาง เช่น ธรณี ประตู สายไฟวัสดุแต่งบ้านต่าง ๆ
เป็ นต้น ควรมีการประเมินสิ่ งแวดล้อมที่ปลอดภัยภายในบ้าน และสอดคล้องกับการศึกษาของทิพย
รัตน์ ผลอินทร์ (2560) ที่พบว่า 1ใน3 พฤติกรรมซึ่งอาจส่งผลให้ผสู ้ ูงอายุพลัดตกหกล้มจากปัจจัย
ภายนอก คือการไม่มีส่วนร่ วมในการดูแลช่วยจัดวางเครื่ องเรื อน-เครื่ องใช้ให้เป็ นระเบียบเรี ยบร้อย
(Mean = 2.58, SD = 1.00) อีกทั้งยังสอดคล้องกับการศึกษาของธีรภัทร อัตวินิจตระการ (2562) ได้
ระบุวา่ การปรับปรุ งสภาพแวดล้อมและที่อยูอ่ าศัยมีการลงพื้นที่จริ ง เพื่อสารวจและประเมิน
สภาพแวดล้อมของผูส้ ูงอายุ ส่งผลให้ผสู ้ ูงอายุสามารถปรับปรุ งที่อยูอ่ าศัยได้เองตามความเหมาะสม
80

อย่างถูกวิธี มีการปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้าน ได้แก่ลกั ษณะที่อยูอ่ าศัย แสงสว่าง


ภายในบ้าน ห้องน้ า พื้นบ้าน ขอบธรณี ประตู พื้นต่างระดับ บันได การจัดวางสิ่ งของพรมเช็ดเท้า
สัตว์เลี้ยงและพื้นที่บริ เวณรอบ ๆ บ้าน เพื่อให้เหมาะสมปลอดภัยและป้องกันการหกล้มในผูส้ ู งอายุ
ได้ในระยะยาว ดังนั้นการปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้าน ผูส้ ู งอายุและครอบครัวควร
ประเมินความเสี่ ยงภายในบ้านและรอบบ้าน พร้อมทั้งร่ วมกันปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมให้ปลอดภัย จะ
ช่วยลดความเสี่ ยงด้านสิ่ งแวดล้อมและเกิดความตระหนักถึงปัญหาการพลัดตกหกล้มในผูส้ ู งอายุ
อย่างยัง่ ยืน
2. การเปลีย่ นอิริยาบถ
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองส่ วนใหญ่มีการเปลี่ยนท่าทางจากการนอนเป็ นนัง่ จาก
การนัง่ เป็ นยืนอย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวังเป็ นประจา ร้อยละ 50.0 หลังเข้าร่ วมโปรแกรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้มและระยะติดตามผลพบว่า พฤติกรรมดังกล่าวเพิม่ สู งขึ้น ร้อยละ 56.7 และ
53.3 ตามลาดับ ขณะเดินขึ้นลงบันไดจะยืนชิดราวบันไดด้านหนึ่งใช้มือข้างที่ถนัดหรื อทั้งสองข้าง
จับราวบันไดเป็ นประจา ร้อยละ 56.7 หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯและระยะติดตามผลพบว่า พฤติกรรม
ดังกล่าวเพิ่มสู งขึ้น ร้อยละ 66.7 และ 56.7 ตามลาดับ การยกของจากพื้นด้วยท่ายืนกางขาเล็กน้อย
แล้วก้มลงไปยกหรื อวางของที่พ้นื โดยต้องย่อขาและเข่าเป็ นประจา ร้อยละ 50.0 หลังเข้าร่ วม
โปรแกรมฯและระยะติดตามผลพบว่า พฤติกรรมดังกล่าวลดลง ส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบตั ิต่อเนื่องแล้ว
ร้อยละ 43.3 และร้อยละ 53.3 ตามลาดับ สอดคล้องกับการศึกษาของมานิตา รักศรี (2562) ที่ใช้การ
ฝึ กทักษะด้วยวิธีสาธิตและสาธิตย้อนกลับวิธีการเปลี่ยนอิริยาบถ โดยพบว่า หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯ
กลุ่มทดทองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนยั สาคัญทางสถิติ ซึ่งโปรแกรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม เน้นการสาธิตและฝึ กปฏิบตั ิจริ งในการปรับเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถต่าง ๆ
อย่างถูกวิธี ทาให้ผสู ้ ู งอายุมีความรู ้ความเข้าใจและสามารถเปลี่ยนอิริบาบถได้อย่างถูกต้องเพิม่ มาก
ขึ้น ซึ่งจะต้องใช้เวลาฝึ กฝนและปฏิบตั ิอย่างต่อเนื่องให้เคยชิน จะช่วยลดความเสี่ ยงของการพลัดตก
หกล้มได้
3. การออกกาลังกาย
กลุ่มทดลองส่วนใหญ่ไม่ได้ออกกาลังกายหรื อเคลื่อนไหวร่ างกายระดับปานกลาง อย่าง
น้อย 30 นาที หรื อช่วงละ 10-15 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ร้อยละ 36.70 หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯและ
ระยะติดตามผลพบว่า มีการออกกาลังกายเป็ นประจา ร้อยละ 46.7 และ 53.3 ตามลาดับ มีการอบอุ่น
ร่ างกายเพื่อเตรี ยมความพร้อมก่อนออกกาลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของระบบข้อต่อและ
กล้ามเนื้อเป็ นบางครั้ง ร้อยละ 36.7 หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯและระยะติดตามผลพบว่า พฤติกรรม
ดังกล่าวเพิ่มสู งขึ้น ร้อยละ 56.7 และ 53.3 ตามลาดับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของทิพย์รัตย์
81

ผลอินทร์ (2560) พบว่า พฤติกรรมที่อาจส่งผลให้ผสู ้ ูงอายุพลัดตกหกล้มจากปัจจัยภายใน คือขาด


การออกกาลังกายด้วยด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกาลังกายด้วยวิธีที่ไม่รุนแรง การ
เคลื่อนไหวระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็ว การรามวยจีน (Mean = 2.08, SD = 1.17) ขาดการออก
กาลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละประมาณ 20-30 นาที (Mean = 2.12, SD = 1.17) และ
สอดคล้องกับการศึกษาของธีรภัทร อัตวินิจตระการ (2562) ศึกษาโปรแกรมการเตรี ยมความพร้อม
และป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุแบบบูรณาการอย่างเป็ นระบบเพื่อให้ผสู ้ ูงอายุส ามารถใช้
โปรแกรมได้ดว้ ยตนเอง ส่ งผลให้เกิดความยัง่ ยืนในระยะยาว โดยเน้นการมีส่วนร่ วมในชุมชนใน
สัปดาห์ที่ 5-8 การออกกาลังกายเพื่อป้องกันตามคู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุของกรม
อนามัยประกอบด้วย ท่ายืดกล้ามเนื้อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ 4 ท่า ท่าฝึ กความแข็งแรงของ
กล้ามเนื้อ 4 ท่า และท่าฝึ กการเดินและการทรงตัว 8 ท่า โดยใช้วิธีการสาธิตร่ วมกับฝึ กปฏิบตั ิจริ ง ผล
การศึกษาโปรแกรมฯ สามารถทาให้ผสู ้ ูงอายุมีการเตรี ยมความพร้อมในการป้องกันการพลัดตกหก
ล้มได้มากขึ้น ดังนั้นการออกกาลังกายด้วยการเคลื่อนไหวร่ างกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 30
นาที หรื อช่วงละ 10-15 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน โดยเน้นการสาธิตและฝึ กปฏิบตั ิจริ ง สามารถช่วยให้
ผูส้ ูงอายุออกกาลังกายได้อย่างต่อเนื่อง จะช่วยป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
4. การแต่งกาย
กลุ่มทดลองส่ วนใหญ่มีการสวมใส่ เสื้ อผ้าขนาดพอดีตวั ไม่คบั หรื อหลวมเกินไป และไม่
มีสายรุ่ มร่ าม เป็ นบางครั้ง ร้อยละ 60.0 หลังเข้าร่ วมโปรแกรมฯและระยะติดตามผลพบว่า
พฤติกรรมดังกล่าวดีข้ ึน โดยมีการปฏิบตั ิเป็ นประจา ร้อยละ 60.0 และ 70.0 ตามลาดับ มีการเลือกใส่
รองเท้าแบบหุม้ ข้อแทนการเดินเท้าเปล่าหรื อรองเท้าแตะหลวม ๆ เป็ นบางครั้ง ร้อยละ 43.3 หลังเข้า
ร่ วมโปรแกรมฯ และระยะติดตามผลพบว่า พฤติกรรมดังกล่าวเพิ่มสู งขึ้น ร้อยละ 60 และ 46.7
ตามลาดับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของดาราวรรณ รองเมือง (2559) ที่ศึกษาพบว่า การแต่งกายที่
ไม่เหมาะสม เป็ นหนึ่งในปั จจัยที่มีความสัมพันธ์กบั การพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุ 80 ปี ขึ้นไป
ดังนั้นการที่ผสู ้ ู งอายุมีพฤติกรรมการแต่งกายที่เหมาะสมมากขึ้น สามารถช่วยลดความเสี่ ยงต่อการ
พลัดตกหกล้มได้

ข้ อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
1. จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า โปรแกรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มฯ ส่ งผลให้
พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มดีข้ นึ ได้ ดังนั้นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่ งเสริ มและ
สนับสนุนการจัดกิจกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มในชมรมผูส้ ูงอายุต่อไป
82

2. บุคลากรสาธารณสุข ควรนาโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มฯ ไปประยุกต์ตาม


ความเหมาะสมของบริ บทในพื้นที่ โดยอาศัยความร่ วมมือจากชุมชน แกนนาสุ ขภาพ อสม.และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ควรส่งเสริ มการให้ความรู ้ การประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มและการออก
กาลังกายในชมรมผูส้ ู งอายุ เพื่อสร้างความมัน่ ใจและกระตุน้ พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มใน
ผูส้ ูงอายุอย่างต่อเนื่อง
4. ศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่ วมของชุมชน ในการพัฒนารู ปแบบการจัดการ
สิ่ งแวดล้อมในบ้าน เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุในชุมชน ตลอดจนหาแนวทาง
พัฒนาระบบเฝ้าระวังและให้การช่วยเหลือผูส้ ูงอายุที่พลัดตกหกล้ม ทาให้เกิดการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาในระยะยาว
ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป
การศึกษาวิจยั ในครั้งนี้ อยูใ่ นช่วงการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) อย่างต่อเนื่อง มีมาตรการควบคุมการระบาดมากมาย และชมรมผูส้ ูงอายุได้งดจัด
กิจกรรม ทาให้ไม่สามารถดาเนินกิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างในชมรมผูส้ ูงอายุได้ตาม
กาหนด ผูว้ ิจยั ต้องปรับรู ปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันและควบคุม
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงมีประเด็นที่น่าสนใจสาหรับการ
ศึกษาวิจยั ครั้งต่อไป ดังนี้
1. ควรนาโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มไปปรับใช้จริ งในกิจกรรมชมรมผูส้ ูงอายุ
และติดตามประเมินพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุระยะยาว เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่
ชัดเจนมากขึ้น เช่น มีระยะติดตามผล 3 เดือน หรื อ 6 เดือนขึ้นไป
2. จากการติดตามผลพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มหลังจบโปรแกรมฯ 1 เดือน
พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนจะลดลง ดังนั้นจึงควรหาแนวทาง/กิจกรรมกระตุน้ พฤติกรรมป้ องกันการ
พลัดตกหกล้มให้ผสู ้ ูงอายุอย่างต่อเนื่อง
3. จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผูส้ ู งอายุมีแรงสนับสนุนอยูใ่ นระดับน้อย ดังนั้นใน
การศึกษาครั้งต่อไป ควรมีการประยุกต์ใช้แรงสนับสนุนทางสังคมให้ครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้าน
อารมณ์ 2) ด้านการให้ความช่วยด้านสิ่ งของหรื อการให้บริ การและกระทาเพื่อช่วยเหลือ 3) ด้าน
ข้อมูลข่าวสาร 4) ด้านการสะท้อนความคิดหรื อสนับสนุนให้ประเมินตนเอง เพื่อพัฒนาแนวทาง
ป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อไป
83
บรรณานุกรม

บรรณานุกรม

กนกวรรณ เมืองศิริ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของ


ผูส้ ูงอายุ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(4).
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สรุปแนวทางการวิเคราะห์ ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5
มิติ ปี พ.ศ. 2559: ผลการวิเคราะห์ ความเสี่ยงของเหตุการณ์ ผิดปกติทางสาธารณสุข.
นนทบุรี: ทีเอส อินเตอร์พริ้ นท์.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานประจาปี 2562. เข้าถึงได้
จาก http://www.thaincd.com/document/file/download/papermanual/ReportAnnual
DNCD62.pdf
คู่มือยากันล้ม : คู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้ม. (2558). มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย
(มสผส.). มปท.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ. (2559). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหก
ล้ มในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ดาราวรรณ รองเมือง. (2559). อุบตั ิการณ์ของการหกล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบั การหกล้ม
ในผูส้ ูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้ า,
27, 123-138.
ธัญญรัตน์ อโนทัยสิ นทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร, พัฒน์ศรี ศรี สุวรรณ และชลัญธร โยธาสมุทร. (2558).
ยากันล้ ม คู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้ มในผู้สูงอายุ. กรุ งเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจยั และ
พัฒนาผูส้ ูงอายุไทย.
ธีรภัทร อัตวินิจตระการ. (2562). ประสิ ทธิผลของโปรแกรมการเตรี ยมความพร้อมและป้องกันการ
หกล้มในผูส้ ูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(4), 288-298.
นิพา ศรี ชา้ ง และลวิตรา ก๋ าวี. (2560). รายงานการพยากรณ์ การพลัดตกหกล้ มของผู้สูงอายุ (อายุ 60
ปี ขึน้ ไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 - 2564. กรุ งเทพฯ: สานักงานกิจการโรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
นงนุช วงศ์สว่าง, ดนุลดา จีนขาวขา, ชลธิชา บุญศิริ, สุรินทร์ มีลาภล้น, จารุ นนั ท์ สมบูรณ์สิทธิ์ ,
เพ็ญจมาศ คาธนะ และธานี กล่อมใจ. (2560). ความเสี่ ยงด้านสิ่ งแวดล้อมในบ้านต่อการ
พลัดตกหกล้มและอุบตั ิการณ์การพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(3), 2492-2506.
ภารดี วิมลพันธ์ และขนิษฐา พิศฉลาด. (2556). ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการ
84

พลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3), 93-109.


มานิตา รักศรี , นารี รัตน์ จิตรมนตรี และเสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. (2562). ผลของโปรแกรมการปรับ
ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผูป้ ่ วยสูงอายุในโรงพยาบาล.
วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 12(2), 134-150.
เยาวลักษณ์ คุมขวัญ. (2561). แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บา้ นในผูส้ ูงอายุ:บริ บทของ
ประเทศไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุ ข, 28(3), 10-22.
รัฎภัทร์ บุญมาทอง. (2558). ผลลัพธ์ ของโปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ ม
ของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ
พยาบาลผูใ้ หญ่, มหาวิทยาลัยคริ สเตียน.
มูลนิธิสถาบันวิจยั และพัฒนาผูส้ ูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ ผ้ สู ูงอายุไทย 2558. วันที่เข้าถึง 16
ตุลาคม 2562. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/User/Downloads/Elderly2015-Thai-Final.pdf
ละออม สร้อยแสง, จริ ยวัตร คมพยัคฆ์ และกนกพร นทีธนสมบัติ. (2557). การศึกษาแนวทางการ
ป้องกันการหกล้มในผูส้ ูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15,
122-128)
ปริ ศนา รถสี ดา. (2561). การป้องกันการหกล้มของผูส้ ูงอายุในชุมชน:บทบาทพยาบาลกับการดูแล
สุขภาพที่บา้ น. วารสารสภากาชาดไทย, 11(กรกฎาคม-ธันวาคม), 15-25.
วรรณพร บุญเปล่ง, วดีรัตน์ ศรี วงศ์วรรณ และพัฒนาเศรษฐวัชราวนิช. (2558). อัตราและปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กบั การพลัดตกหกล้มของผูส้ ู งอายุชุมชนริ มแม่น้ าเจ้าพระยาจังหวัด
นนทบุรี. Journal of Nursing Science, 33(3), 75-86.
วิทยา วาโย. (2560). ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยต่อพฤติกรรมการป้องกันการ
หกล้มของผูส้ ูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 25-33.
วิภาวี กิจกาแหง, นิพธั กิตติมานนท์ และศุภสิ ทธิ์ พรรณนารุ โณทัย. (2553). ปัจจัยเสี่ ยงต่อการพลัด
ตกหกล้มของผูส้ ูงอายุในชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 15(กันยายน-ตุลาคม),
747-799.
วิภาวี หม้ายพิมาย. (2556). การหกล้ มในผู้สูงอายุ ปั ญหาที่ไม่ ควรมองข้าม. เข้าถึงได้จาก
http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/ns_academic/56/08/old_th.html
วิลาวรรณ สมตน. (2556). ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสาหรับผูส้ ูงอายุ.วารสารพยาบาล
สาธารณสุข, 27(3). 58-70
ศรวณีย ์ ทนุชิต, ดนัย ชินค า, ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล และศรี เพ็ญ ตันติเวสส.
(2560). การศึกษาเพื่อจัดทาข้ อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริ การการแพทย์ฉุกเฉิ นที่เหมาะสม
85

สาหรั บผู้สูงอายุในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.


สานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุ ข. (2558). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค
ประจาปี 2558. วันที่เข้าถึง 11 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.
go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/Part%201/10/accidental_falls.pdf
สานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2558).
สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
อรษา ภูเจริ ญ, อรรถพล รอดแก้ว, จิตศิริน ก้อนคง และรัตนวดี ทองบัวบาน. (2561). ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กบั การหกล้มในผูส้ ูงอายุตาบลหัวรอ อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.
วารสารคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 3(2), 46-54.
Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning.
House, J. S. (1981). Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley.
Jacobson, D. E. (1986). Types and timing of social support. Journal of Health Social Behavior,
27, 250-264.
Miller, C. A. (2009). Nursing for wellness in older adults (5th ed.). Philadelphia: Lippincott.
Rosenstock, I. (1974). Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs,
2(4), 176-183.
World Health Organization (WHO). WHO Global Report on Falls Prevention in Older Age.
Geneva: (n.p.). 2007.
World Health Organization. (2012). Fact sheet: Falls. Cited 2020 June 4, Available
from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs344/en/
86

ภาคผนวก
87

ภาคผนวก ก
รายนามผูท้ รงคุณวุฒิ
88

รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ

1. ศาสตราจารย์ ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์


ประธานหลักสูตรสาธารณสุ ขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวนีย์ ทองนพคุณ
อาจารย์ประจาภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชนา ใจดี
หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานสาธารณสุ ข คณะสาธารณสุ ขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นาฎนภา ปัชชาสุ วรรณ
อาจารย์ประจาสาขาบริ หารสาธารณสุข การส่งเสริ มสุขภาพโภชนาการ
คณะสาธารณสุ ขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. นางรุ่งอรุณ พรหมดวงดี
พยาบาลวิชาชีพชานาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานบริ การด้านปฐมภูมิและองค์รวม
โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
89

ภาคผนวก ข
แผนการจัดกิจกรรมตามโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
90

แผนการจัดกิจกรรม
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

สาระสาคัญ
สร้ างเสริมการรับรู้ โอกาสเสี่ ยงตามแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ (Health Belief
Model)โดยการประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มด้วยแบบคัดกรองความเสี่ ยงในชุมชน Thai
fall risk assessment test (Thai-FRAT) และประเมินการทรงตัวด้วยวิธี (Time Up and Go Test :
TUGT) หลังจากนั้นผูว้ ิจยั จะใช้วิธีการสะท้อนความคิด (Reflection) ด้วยการให้ขอ้ มูลย้อนกลับเพื่อ
วิเคราะห์และชี้ให้กลุ่มทดลองเห็นถึงความเชื่ อมโยงของปัจจัยเสี่ ยงและพฤติกรรมปัจจุบันกับ
โอกาสของการพลัดตกหกล้มของตนเอง

ครั้งที่ 1 (สัปดาห์ ที่ 1)


เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ผู้ร่วมกิจกรรม ผูส้ ูงอายุจากชมรมผูส้ ูงอายุเทศบาลตาบลเกาะจันทร์ (กลุ่มทดลอง)
แบ่งเป็ น 2 รุ่ น ๆ ละ 15-16 คน
สถานที่ ห้องประชุมเทศบาลตาบลเกาะจันทร์
ระยะเวลา เวลารวม 3 ชัว่ โมง
กิจกรรมที่ 1 รู้ ไหมใครเสี่ ยงล้ ม
วัตถุประสงค์ การเรียนรู้
1. ประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
2. สร้างเสริ มการรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้ม
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. การสร้างสัมพันธภาพ โดยผูว้ ิจยั ทาความรู ้จกั แนะนาตนเองและผูช้ ่วยการวิจยั กับ
ผูเ้ ข้าร่ วมการวิจยั จากนั้นชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนการวิจยั และรายละเอียดในการดาเนิน
กิจกรรมตามโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มฯ
2. ประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มด้วยแบบคัดกรองความเสี่ ยงในชุมชน Thai
fall risk assessment test (Thai-FRAT) และประเมินการทรงตัวด้วยวิธี (Time Up and Go Test :
TUGT)
91

แผนการจัดกิจกรรม
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

3. ผูว้ ิจยั ใช้วิธีการสะท้อนความคิด เป็ นการให้ขอ้ มูลย้อนกลับผลการประเมินความเสี่ ยง


รายบุคคลด้วยแบบประเมิน Thai – FRAT และประเมินการทรงตัว Timed Up and Go Test เพื่อ
วิเคราะห์และชี้ให้ผเู ้ ข้าร่ วมวิจยั เห็นถึงความเชื่อมโยงของพฤติกรรมปัจจุบนั กับโอกาสของการพลัด
ตกหกล้มของตนเอง เปิ ดโอกาสให้ผเู ้ ข้าร่ วมวิจยั สอบถามและแสดงความคิดเห็ นร่ วมกัน
ขั้นตอนสรุ ปกิจกรรมการเรียนรู้
ผูว้ ิจยั และผูส้ ูงอายุสรุ ปความเสี่ ยงจากการประเมิน Thai-FRAT และทดสอบการทรงตัว
ร่ วมกัน โดยผูว้ ิจยั แจกคู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้ม และให้ผสู ้ ูงอายุบนั ทึกผลการวิเคราะห์ความ
เสี่ ยงของตนเองลงในคู่มือ
สื่ อและอุปกรณ์
1. Power point
2. แบบประเมินความเสี่ ยง Thai-FRAT และแบบบันทึกผลการประเมินการทรงตัวด้วย
วิธี (Time Up and Go Test : TUGT)
3. เก้าอี้ที่มีที่วางแขน /นาฬิกาจับเวลา/ สติ๊กเกอร์สีติดพื้นสาหรับการทดสอบการทรงตัว
4. คู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้ม / ปากกา
การประเมินผล
ผูว้ ิจยั สังเกตพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มทดลอง จากการให้ความร่ วมมือในการ
ทากิจกรรม การพูดคุยซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ การร่ วมแสดงความคิดเห็นและการสรุ ปประเด็น
สาคัญลงในคู่มือของตนเอง
92

แผนการจัดกิจกรรม
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

กิจกรรมที่ 2 ล้มลาพังล้มทั้งบ้ าน
สาระสาคัญ
สร้างเสริ มการรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหก ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
(Health Belief Model) ผูว้ ิจยั เน้นให้ผรู ้ ่ วมวิจยั ตระหนักถึงผลกระทบของการพลัดตกหกล้ม โดยให้
กลุ่มทดลองร่ วมกันเรี ยนรู ้จากประสบการณ์ของผูอ้ ื่น
วัตถุประสงค์ การเรียนรู้
ผูส้ ูงอายุรับรู ้ถึงความรุ นแรงและผลกระทบของการพลัดตกหกล้ม
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. ผูว้ ิจยั บรรยายประกอบสื่ อวิดีทศั น์เกี่ยวกับสถานการณ์การพลัดตกหกล้ม สาเหตุและ
ปัจจัยเสี่ ยง แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม โดยใช้สื่อ Power point และวิดีโอ (Youtube)
2. กรณีศึกษา (Case study) คือ ผูส้ ู งอายุในพื้นที่ (1-2 ราย) ที่มีประสบการณ์พลัดตกหก
ล้ม โดยผูว้ ิจยั ใช้ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ผสู ้ ูงอายุและญาติในการถ่ายทอดเรื่ องราว
ความรุ นแรงและผลกระทบหลังจากผูส้ ู งอายุในบ้านพลัดตกหกล้ม หลังจากนั้นให้ผสู ้ ู งอายุวิเคราะห์
สาเหตุ ผลกระทบต่าง ๆ ร่ วมกัน พร้อมทั้งบันทึกผลการวิเคราะห์ความรุ นแรงและผลกระทบลงใน
คูม่ ือ แล้วผูว้ ิจยั สรุ ปผลตอนท้ายกิจกรรม
ขั้นตอนสรุ ปกิจกรรมการเรียนรู้
ผูส้ ู งอายุวิเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบต่าง ๆ ร่ วมกัน พร้อมทั้งบันทึกผลการวิเคราะห์ความ
รุ นแรงและผลกระทบ โดยให้จดสรุ ปประเด็นสาคัญลงในคู่มือ แล้วผูว้ ิจยั สรุ ปผลตอนท้ายกิจกรรม
สื่ อและอุปกรณ์
1. สื่ อวิดีทศั น์/ภาพประกอบ
2. กระดาษ ปากกา
การประเมินผล
93

แผนการจัดกิจกรรม
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

ผูว้ ิจยั สังเกตพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มทดลอง จากการให้ความร่ วมมือในการทา


กิจกรรม การพูดคุยซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ การร่ วมแสดงความคิดเห็นและการสรุ ปประเด็นสาคัญ
ลงในคู่มือของตนเอง
กิจกรรมที่ 3 รู้ อุปสรรค รู้ ทัน ป้ องกันล้ ม
สาระสาคัญ
สร้างเสริ มการรับรู ้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้ องกันการพลัดตกหกล้ม ตามแบบ
แผนความเชื่อด้านสุ ขภาพ (Health belief model )โดยเน้นถึงผลดีและอุปสรรคหรื อข้อจากัดในการ
ปฏิบตั ิโดยให้แนวทางเลือกปฏิบตั ิที่สะดวก ลดขั้นตอนที่ยงุ่ ยากหรื อค่าใช้จ่ายลง
วัตถุประสงค์ การเรียนรู้
1. สร้างเสริ มการรับรู ้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
2. ผูส้ ูงอายุเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ อย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
3. ผูส้ ู งอายุออกกาลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องและเกิดความมัน่ ใจ สามารถกลับไปออก
กาลังกายด้วยตัวเองที่บา้ นได้
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ผูว้ ิจยั บรรยายถึงสถานการณ์การพลัดตกหกล้ม สาเหตุ /ปั จจัยเสี่ ยง และการป้ องกันการ
พลัดตกหกล้ม เนื่องด้วยข้อจากัดของสถานที่และเวลาจึงเน้ นกิจกรรมการสาธิ ตและฝึ กปฏิบตั ิจริ ง
ดังนี้
1. การเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ โดยฝึ กปฏิบตั ิการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ไม่รีบร้อนในการ
เปลี่ยนอิริยาบถ เกี่ยวกับการนัง่ การลุกจากเก้าอี้ การนัง่ และการลุกจากพื้น การนอนพื้นและลุกจากที่
นอนบนพื้น การนอนเตียงและการลุกจากเตียง การยกของและวางของกับพื้น การเดินขึ้นและลง
บันได
2. การออกกาลังกาย ประกอบด้วย
2.1 ท่าฝึ กกล้ามเนื้อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ
2.2 ท่าฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
2.3 ท่าฝึ กการเดินและการทรงตัว
94

ขั้นตอนสรุ ปกิจกรรมการเรียนรู้
ผูว้ ิจยั และผูส้ ูงอายุสรุ ปการเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ และการออกกาลังกาย โดยให้ผสู ้ ูงอายุ
จดสรุ ปประเด็นสาคัญลงในคู่มือ
95

แผนการจัดกิจกรรม
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

สื่ อและอุปกรณ์
1. Power point /วิดีโอ/เพลงประกอบการออกกาลังกาย
2. เก้าอี้
3. เสื่ อปูพ้นื
การประเมินผล
ผูว้ ิจยั สังเกตพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มทดลอง จากการให้ความร่ วมมือในการ
ทากิจกรรม การพูดคุยซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ การร่ วมแสดงความคิดเห็นและการสรุ ปประเด็น
สาคัญลงในคู่มือของตนเอง
96

แผนการจัดกิจกรรม
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

กิจกรรมที่ 4 มั่นใจว่าไม่ล้ม
สาระสาคัญ
เพื่อสร้างเสริ มการรับรู ้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้มตาม
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model)
วัตถุประสงค์ การเรียนรู้
ผูส้ ู งอายุมีความมัน่ ใจว่าสามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. นาเสนอตัวแบบ (Modeling) คือ ตัวแทนกลุ่มทดลองที่สามารถปฏิบตั ิพฤติกรรม
ป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผา่ นมาได้เป็ นอย่างดี ซึ่งคัดเลือกจากการติดตามเยีย่ ม
บ้าน ให้ออกมาเล่าถึงแนวทางและการแก้ปัญหาที่ทาให้ประสบความสาเร็จ โดยเปิ ดโอกาสให้ผู ้
ทดลองท่านอื่นสอบถามในประเด็นที่สนใจ
2. ตั้งเป้าหมาย ประเมินความสามารถของตนเองและตั้งเป้าหมายในการออกกาลังกาย
และการวางแผนการปฏิบตั ิตามแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ขั้นตอนสรุ ปกิจกรรมการเรียนรู้
ผูส้ ูงอายุจดบันทึกเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ลงในคู่มือ
สื่ อและอุปกรณ์
1. Power Point / คลิปวิดีโอ
2. กระดาษ / ปากกา
การประเมินผล
ผูว้ ิจยั สังเกตพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มทดลอง จากการให้ความร่ วมมือในการ
ทากิจกรรม การพูดคุยซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ การร่ วมแสดงความคิดเห็นและการสรุ ปประเด็น
สาคัญลงในคู่มือของตนเอง
97

แผนการจัดกิจกรรม
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

ครั้งที่ 2
(สัปดาห์ ที่ 2-12)

กิจกรรมที่ 5 เยี่ยมด้วยใจ ห่ วงใยไม่ให้ ล้ม


สาระสาคัญ
สร้างเสริ มให้คนในครอบครัว เพื่อน อสม. รวมถึงบุคลากรสาธารณสุขใช้แรงสนับสนุน
ทางสังคม (Social support) ด้านการให้ขอ้ มูลข่าวสารและด้านอารมณ์ ด้วยการใช้ทกั ษะให้
คาแนะนาหรื อคาตักเตือนกระตุน้ ผูส้ ูงอายุ รวมถึงการชักจูงด้วยวาจา (Verbal persuasion) เพื่อโน้ม
น้าวจิตใจ ให้กาลังใจ โดยพูดชักจูงให้บุคคลเชื่อว่าตนเองสามารถทาได้ และมีความมัน่ ใจในการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มให้ดีข้ นึ
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทาให้
กิจกรรมเยีย่ มบ้านเน้นการติดตามทางโทรศัพท์ และลงเยีย่ มบ้านผูส้ ูงอายุเฉพาะรายที่สมัครใจและมี
ประวัติฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้วเท่านั้น
วัตถุประสงค์ การเรียนรู้
1. ใช้แรงสนับ สนุ นทางสังคม(Social support) ด้านอารมณ์ และข้อมูลข่าวสารในการ
กระตุน้ พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
2. ประเมินสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้านที่เสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มและหาแนว
ทางแก้ไขปรับปรุ งร่ วมกัน
ผู้ร่วมกิจกรรม
คนในครอบครัว ตัวแทนผูส้ ูงอายุ (กลุ่มทดลอง) อสม. และบุคลากรสาธารณสุข
สถานที่
บ้านผูส้ ูงอายุ (กลุ่มทดลอง)
ระยะเวลา
สัปดาห์ที่ 2-7 โทรศัพท์ติดตามเยีย่ ม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง , สัปดาห์ที่ 8-12 ลงเยีย่ ม
บ้านผูส้ ูงอายุที่สมัครใจ และมีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19)
98

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1. ใช้โ ทรศัพ ท์ติ ด ตามเยี่ย มผู ้สู ง อายุ เพื่ อ ติ ด ตามความต่ อ เนื่ อ งของพฤติ ก รรม และ
สอบถามปั ญ หาและอุ ป สรรค แนะน าและให้ ข ้อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ในประเด็ น ที่ ส งสั ย เพื่ อ กระตุ ้น
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2. การเยีย่ มบ้าน การกระตุน้ และผลักดันให้คนในครอบครัว กลุ่มเพื่อน อสม.และ
บุคลากรสาธารณสุข ได้ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทาง ซักถามถึงอุปสรรคหรื อปัญหาต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นและหาแนวทางปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้านร่ วมกัน
ขั้นตอนสรุ ปกิจกรรมการเรียนรู้
ผูส้ ูงอายุ และคนในครอบครัวร่ วมกันวิเคราะห์ปัญหา และสรุ ปปัจจัยเสี่ ยงด้าน
สิ่ งแวดล้อมและแนวทางปรับปรุ งแก้ไขเพื่อลดความเสี่ ยง ให้บนั ทึกเป้าหมายและแนวทางปรับปรุ ง
แก้ไขลงในคู่มือ
สื่ อและอุปกรณ์
1. โทรศัพท์มือถือ
2. พาหนะเดินทาง
การประเมินผล
ผูว้ ิจยั สังเกตพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มทดลอง คนในครอบครัว เพื่อน และ
อสม. จากการให้ความร่ วมมือในการทากิจกรรม การพูดคุยซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ การร่ วมแสดง
ความคิดเห็นและการสรุ ปประเด็นสาคัญลงในคู่มือของตนเอง
99

ภาคผนวก ค
คู่มือสูงวัยไม่ลม้
100
101
102
103
104

ภาคผนวก ง
แบบสอบถามงานวิจยั
105

เลขที่ 
แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยเรื่ องผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกพลัดตกหกล้ม
โดยประยุกต์ ตามแบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสั งคมต่ อพฤติกรรม
ป้ องกันการพลัดตกหกล้ มของผู้สูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

คาชี้แจง
1. ให้ผสู ้ ัมภาษณ์แนะนาตนเอง และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสอบถามต่อผูถ้ ูก
สอบถามก่อนการพูดคุย
2. แบบสัมภาษณ์น้ ีเป็ นการศึกษาวิจยั ในกลุ่มผูส้ ู งอายุ โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบ
แผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของ
ผูส้ ู งอายุ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มฯ และระยะติดตามระหว่างกลุ่มที่
ได้รับโปรแกรมฯ กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ แบบสัมภาษณ์ชุดนี้ประกอบด้วย 4 ส่วน
ส่ วนที่ 1 ข้ อมูลส่ วนบุคคล
ส่ วนที่ 2 แบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ
1. ด้านการรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้ม
2. ด้านการรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม
3. ด้านการรับรู ้ประโยชน์ของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
4. ด้านการรับรู ้อุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
5. ด้านการรับรู ้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ส่ วนที่ 3 แรงสนับสนุนทางสั งคม
1. แรงสนับสนุนด้านอารมณ์
2. แรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร
ส่ วนที่ 4 พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
1. การปรับปรุ งสิ่ งแวดล้อม
2. การเปลี่ยนอิริยาบถ
3. การออกกาลังกาย
4. การแต่งกาย
106

ส่ วนที่ 1 ข้ อมูลส่ วนบุคคล

คาชี้แจง ผูส้ ัมภาษณ์ สัมภาษณ์ผสู ้ ูงอายุและทาเครื่ องหมาย √ ลงในช่อง  ที่ตรงกับคาตอบของ


ผูส้ ูงอายุมากที่สุด หรื อเติมข้อความลงในช่องว่าง (.........) ให้สมบูรณ์
ชื่อ - สกุล...................................................................ชุมชนย่อย.............บ้านเลขที่....................หมู่.................ตาบล............
1. เพศ
 (1) ชาย  (2) หญิง
2. อายุ………………..ปี
3. สถานภาพสมรส
 (1) โสด  (2) สมรส
 (3) หม้าย  (4) หย่า/แยก
4. ระดับการศึกษา
 (1) ไม่ได้เรี ยนหนังสื อ  (2) ประถมศึกษา
 (3) มัธยมศึกษาต้น  (4) มัธยมศึกษาปลาย/อนุปริ ญญา
 (5) ปริ ญญาตรี  (6) สูงกว่าปริ ญญาตรี
5. ปัจจุบนั ท่านอาศัยอยูก่ บั ใคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
 (1) อยูค่ นเดียว  (2) สามี/ภรรยา
 (3) บุตรหลาน /ญาติพี่นอ้ ง
6. อาชีพ
 (1) ไม่ได้ทางาน  (2) เกษตรกรรม
 (3) รับจ้าง  (4) ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
 (5) ข้าราชการบานาญ  (6) อื่น ๆ ระบุ..........................................
7. รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
 (1) น้อยกว่า 5,000 บาท  (2) 5,000-10,000 บาท
 (3) 10,001-15,000 บาท  (4) อื่น ๆ ระบุ.........................................
8. โรคประจาตัวและการเจ็บป่ วย
 (0) ไม่มี  (1) มี ระบุ.......................
9. ยาที่รับประทานเป็ นประจา
 (0) ไม่มี  (1) มี ระบุ........................
107

ส่ วนที่ 2
แบบแผนความเชื่ อด้านสุ ขภาพ

คาชี้แจง แบบสัมภาษณ์น้ ี มีวตั ถุประสงค์เพื่อประเมินแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผูส้ ูงอายุ


โดยให้ผสู ้ ัมภาษณ์เป็ นผูอ้ ่านคาถามและทาเครื่ องหมาย √ ในช่องที่ตรงกับการรับรู ้หรื อความเชื่อ
ความเข้าใจของผูส้ ู งอายุมากที่สุดเพียงข้อเดียว ดังนี้

ลาดับ เนื้อหา มาก ปานกลาง น้ อย


1. การรับรู ้โอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้ม
1 เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสพลัดตกหกล้มก็เพิ่มขึ้นตาม
การเปลี่ยนแปลงของร่ างกาย และโรคประจาตัว
2 สิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้านของท่าน เช่น
การจัดวางสิ่ งของกีดขวางทางเดิน มีขอบธรณี
ประตู พื้นบ้านลื่น พื้นห้องน้ าเปี ยก พื้นต่างระดับ
แสงสว่างไม่เพียงพอ ล้วนเป็ นปัจจัยเสี่ ยงต่อการ
พลัดตกหกล้ม
3 การไม่ออกกาลังกาย หรื อการเคลื่อนไหวร่ างกาย
น้อย จะทาให้กล้ามเนื้อและข้อต่อไม่แข็งแรง ทาให้
พลัดตกหกล้มง่าย
4 ถ้าสวมใส่ เสื้ อผ้าและรองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น
เสื้ อผ้ามีสายรุ่ มร่ าม ใส่ รองเท้าแตะหลวม ๆ อาจทา
ให้พลัดตกหกล้มได้ง่าย
5 การเปลี่ยนอิริยาบถจากการนัง่ การลุก การนอน
การยกของและการเดินขึ้นลงบันได ไม่ใช่ความ
เสี่ ยงของการพลัดตกหกล้ม
108

ลาดับ เนื้อหา มาก ปานกลาง น้ อย


2. การรับรู ้ความรุ นแรงของการพลัดตกหกล้ม
1 เมื่อพลัดตกหกล้ม จะทาให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ
ตั้งแต่ ฟกช้ า เคล็ดขัดยอก แผลฉี กขาด กระดูกหัก
หรื อสมองได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทาให้
พิการและเสี ยชีวิตได้
2 การพลัดตกหกล้ม แม้เพียงหนึ่งครั้งอาจทาให้ท่าน
สูญเสี ยความสามารถในการทากิจวัตรประจาวัน
ต่าง ๆ ทาให้กลายเป็ นผูส้ ูงอายุติดบ้าน ติดเตียงได้
3 หากเคยพลัดตกหกล้มจะเกิดความกลัว วิตกกังวล
ตลอดจนสู ญเสี ยความมัน่ ใจในการใช้ชีวิต บางคน
รู ้สึกอับอาย เสี ยใจ และรู ้สึกว่าตนเองเป็ นภาระ
ให้กบั บุตรหลาน ทาให้เกิดความเครี ยดซึ่งอาจ
นาไปสู่ภาวะซึมเศร้า
4 เมื่อพลัดตกหกล้มจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของ
ครอบครัว ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง
ค่าจ้างคนดูแล การสู ญเสี ยเวลาทางานและรายได้
จากการหยุดงาน และค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาว
หากพิการ
5 การพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุเป็ นเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นทัว่ ไป ไม่ทาให้เกิดความรุ นแรงแต่อย่างใด
3. การรับรู ้ประโยชน์ของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
1 การปรับสภาพแวดล้อมในบ้านและบริ เวณบ้านให้
ปลอดภัย เป็ นวิธีการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่
จาเป็ น
2 การสวมใส่ เสื้ อผ้าขนาดพอดีตวั ไม่คบั หรื อหลวม
เกินไป และไม่มีสายรุ่ มร่ าม เลือกใส่รองเท้าแบบ
หุม้ ข้อ แทนการเดินเท้าเปล่าหรื อรองเท้าแตะ
หลวม ๆ จะสามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
109

ลาดับ เนื้อหา มาก ปานกลาง น้ อย


3 การเปลี่ยนอิริยาบถที่ถูกต้อง คือการนัง่ การลุก การ
นอน การยกของ และการเดินขึ้นลงบันได ด้วย
ความระมัดระวังและเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ
สามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
4 การออกกาลังกายเป็ นประจาและสม่าเสมอ จะช่วย
สร้างเสริ มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรง
ตัว สามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
5 ท่านเชื่อว่าเมื่อมีการป้องกันการพลัดตกหกล้ม จะ
ทาให้ท่านและครอบครัวไม่ตอ้ งเสี ยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าจ้างคนดูแล
การสูญเสี ยเวลาทางานและรายได้จากการหยุดงาน
และค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาวหากพิการ
4. การรับรู ้อุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
1 การปรับสภาพแวดล้อมในบ้านและบริ เวณบ้าน
อาจมีค่าใช้จ่าย และต้องขอความร่ วมมือจากคนใน
ครอบครัว
2 การเลือกสวมใส่ เสื้ อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสม อาจ
มีค่าใช้จ่าย และความไม่เคยชินจึงต้องใช้เวลาใน
การปรับตัว
3 การออกกาลังกายเป็ นเรื่ องยาก ทาให้เกิดการปวด
เมื่อย เสี ยเวลา และขาดความต่อเนื่อง
4 การออกกาลังกายด้วยการทางานบ้านเป็ นประจา
ถือว่าเพียงพอแล้วที่จะช่วยสร้างเสริ มความแข็งแรง
ของกล้ามเนื้อและการทรงตัว เพื่อป้องกันการพลัด
ตกหกล้ม
5 การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง
จะช่วยลดโอกาสเสี่ ยงของการพลัดตกหกล้มใน
ชีวิตประจาวัน ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึ กปฏิบตั ิให้
เกิดทักษะจนเคยชิน
110

ลาดับ เนื้อหา มาก ปานกลาง น้ อย


5. การรับรู ้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
1 ท่านสามารถปรับสภาพแวดล้อมในบ้านและ
บริ เวณบ้านให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้มได้
ด้วยตนเอง
2 ท่านสามารถแต่งกายรัดกุม ไม่มีสายรุ่ มร่ าม และ
เลือกใส่รองเท้าแบบหุม้ ข้อ แทนการเดินเท้าเปล่า
หรื อรองเท้าแตะหลวม ๆ
3 ท่านสามารถเปลี่ยนอิริยาบถช้า ๆ ด้วยความ
ระมัดระวัง ในการนัง่ การเดิน การลุก การยกของ
และการเดินขึ้นลงบันไดได้อย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้
เกิดการพลัดตกหกล้ม
4 ท่านสามารถออกกาลังกายเพื่อสร้างเสริ มความ
แข็งแรงของกล้ามเนื้ อและการทรงตัว ด้วยการ
เคลื่อนไหว หรื อออกกาลังระดับปานกลาง อย่าง
น้อย 30 นาที หรื อช่วงละ 10-15 นาที สัปดาห์ละ 5
วัน
5 คนในครอบครัวของท่านสามารถสนับสนุน
ช่วยเหลือท่านในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
111

ส่ วนที่ 3
แรงสนับสนุนทางสังคม

คาชี้แจง แบบสัมภาษณ์น้ ี มีวตั ถุประสงค์เพื่อประเมินแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์และด้าน


ข้อมูลข่าวสาร โดยให้ผสู ้ ัมภาษณ์เป็ นผูอ้ ่านคาถามและทาเครื่ องหมาย √ ในช่องที่ตรงกับระดับ
ความคิดเห็นของผูส้ ูงอายุมากที่สุดเพียงข้อเดียว

ลาดับ เนื้อหา มาก ปาน น้ อย


กลาง
1. แรงสนับสนุนด้านอารมณ์
1 เมื่อท่านมีเรื่ องไม่สบายใจ ท่านมีคนในครอบครัว คอยให้
กาลังใจ
2 ท่านมีเพื่อนที่สามารถให้คาปรึ กษาและไว้ใจได้
3 ท่านมักจะได้รับคาชื่นชมจากคนรอบข้างว่ามีสุขภาพแข็งแรง
สามารถดูแลสุขภาพได้เป็ นอย่างดี
4 ครอบครัวของท่านยินดีให้ความร่ วมมือในการสภาพแวดล้อม
ในบ้านและบริ เวณบ้านให้ปลอดภัยจากการพลัดตกหกล้ม
5 ท่านสามารถปรึ กษาและสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพต่าง ๆ
รวมถึงการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้จากเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข หรื อ อสม.ได้
2. แรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร
1 ท่านปรึ กษา/สอบถามข้อมูลข่าวสาร ด้านสุขภาพและการ
ป้องกันการพลัดตกหกล้มจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ
อสม. เสมอ
2 คนในครอบครัวของท่านสามารถให้ขอ้ มูลข่าวสารเกี่ยวกับ
การป้องกันการพลัดตกหกล้มได้
3 ท่านได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการป้องกันการ
พลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุผา่ นเสี ยงตามสายในชุมชน
โทรทัศน์ สื่ อออนไลน์ หรื อได้รับแจกเอกสารความรู ้
112

ลาดับ เนื้อหา มาก ปาน น้ อย


กลาง
4 ท่านเข้าร่ วมกิจกรรมประชาคม และ/หรื อกิจกรรมของชุมชน
เช่น ชมรมผูส้ ูงอายุอย่างสม่าเสมอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม
5 ท่านเคยได้รับการฝึ กอบรม/ให้ความรู ้เรื่ องการป้องกันการ
พลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
113

ส่ วนที่ 4
แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม

คาชี้แจง: ให้ผสู ้ ัมภาษณ์เป็ นผูอ้ ่านคาถามและทาเครื่ องหมาย √ ในช่องที่ตรงกับพฤติกรรมของ


ผูส้ ูงอายุมากที่สุด
ปฏิบตั ิเป็ นประจา หมายถึง ผูส้ ู งอายุกระทาตามข้อความนั้นตั้งแต่ 3 ครั้งต่อ1สัปดาห์
ขึ้นไป
ปฏิบตั ิบางครั้ง หมายถึง ผูส้ ูงอายุ กระทาตามข้อความนั้น 1-2 ครั้งใน 1สัปดาห์
ไม่ปฏิบตั ิเลย หมายถึง ผูส้ ูงอายุ ไม่เคยกระทาตามข้อความนั้นเลย

ลาดับ พฤติกรรม ปฏิบัติ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ


เป็ น บางครั้ง เลย
ประจา
1 ท่านจัดเก้าอี้สาหรับนัง่ ขับถ่าย หรื อนัง่ พักอาบน้ าและ
เปลี่ยนเสื้ อผ้าในห้องน้ าห้องส้วม
2 ท่านจัดวางสิ่ งของเครื่ องใช้ภายในบ้านอย่างเป็ น
ระเบียบไม่กีดขวางทางเดิน
3 ท่านดูแลพื้นบ้านและพื้นห้องน้ าห้องส้วมให้แห้งอยู่
เสมอ
4 ท่านเปิ ดไฟภายในบ้านให้สว่างเพียงพอต่อการทา
กิจกรรม
5 ท่านทาแถบสี หรื อสัญลักษณ์พ้นื ต่างระดับ และบันได
ที่บา้ น
6 ท่านเปลี่ยนท่าทางจากการนอนเป็ นนัง่ จากการนัง่ เป็ น
ยืนอย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง
7 ท่านเดินขึ้นลงบันได โดยยืนชิดราวบันไดด้านหนึ่ง ใช้
มือข้างที่ถนัดหรื อทั้งสองข้างจับราวบันได
8 ท่านยกของจากพื้น ด้วยท่ายืนกางขาเล็กน้อยแล้วก้ม
ลงไปยกหรื อวางของที่พ้ืน โดยไม่ตอ้ งย่อขาและเข่า
114

ลาดับ พฤติกรรม ปฏิบัติ ปฏิบัติ ไม่ ปฏิบัติ


เป็ น บางครั้ง เลย
ประจา
9 ท่านออกกาลังกายหรื อเคลื่อนไหวร่ างกายระดับปาน
กลาง อย่างน้อย 30 นาที หรื อช่วงละ 10-15 นาที
สัปดาห์ละ 5 วัน
10 ท่านอบอุ่นร่ างกายเพื่อเตรี ยมความพร้อมก่อนออก
กาลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของระบบข้อต่อและ
กล้ามเนื้อ
11 ท่านสวมใส่ เสื้ อผ้าขนาดพอดีตวั ไม่คบั /หลวมเกินไป
ไม่มีสายรุ่ มร่ าม
12 ท่านเลือกใส่รองเท้าแบบหุม้ ข้อ แทนการเดินเท้าเปล่า
หรื อรองเท้าแตะหลวม ๆ
115

ภาคผนวก จ
คุณภาพของเครื่ องมือ
116

ผลการตรวจหาค่าความสอดคล้อง
(Index of Item-Objective Congruence : IOC)

การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) เป็ นการหาค่าความเที่ยงตรงที่


ให้ผเู ้ ชี่ยวชาญหรื อผูท้ รงคุณวุฒิพิจารณาเครื่ องมือ(แบบสัมภาษณ์)แต่ละข้อ ว่าวัดได้ตรงตาม
วัตถุประสงค์ของการวิจยั หรื อไม่ โดยนาข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาของผูเ้ ชี่ยวชาญ หาค่าความ
สอดคล้องระหว่างข้อคาถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์ของการวิจยั (Index of item-objective
congruence : IOC) จากสูตร

∑𝑅
IOC =
𝑁

เมื่อ  แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผูเ้ ชี่ยวชาญ


R แทน คะแนนความคิดเห็นของผูผ้ ทู ้ รงคุณวุฒิต่อคาถามแต่ละข้อ
N แทน จานวนผูท้ รงคุณวุฒิหรื อผูเ้ ชี่ยวชาญ
สาหรับเกณฑ์การให้คะแนน มีดงั นี้
ให้คะแนน+1 คือ คาถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจยั หรื อนิยามศัพท์
ให้คะแนน -1 คือ คาถามนั้นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจยั หรื อนิยามศัพท์
ให้คะแนน 0 คือ ไม่แน่ใจว่าคาถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจยั หรื อนิยามศัพท์
เกณฑ์การตัดสิ นค่า IOC มีดงั นี้
ค่า IOC ≥ 0.50 หมายความว่า คาถามนั้นตรงวัตถุประสงค์ของการวิจยั แสดงว่าข้อ
คาถามนั้นสามารถนาไปใช้ได้
ค่า IOC < 0.50 หมายความว่า คาถามนั้นไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการวิจยั
ผลการวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงของแบบสัมภาษณ์ของการวิจยั เรื่ องผลของ
โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์
จังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของเครื่ องมือ(แบบสัมภาษณ์) เท่ากับ 0.844
ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละข้อคาถาม ดังนี้
117

ตารางค่า IOC ในการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา


ส่ วนที่ 1 ข้ อมูลส่ วนบุคคล
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ
ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
2 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
3 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
4 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
5 0 1 1 0 1 3 0.60 นาไปใช้ได้
6 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
7 0 1 1 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
8 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
9 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้

ส่ วนที่ 2
แบบแผนความเชื่ อด้ านสุ ขภาพ
1. การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการพลัดตกหกล้ม

ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ


ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
2 0 1 0 1 1 3 0.60 นาไปใช้ได้
3 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
4 1 1 0 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
5 1 1 0 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
118

2. การรับรู้ ความรุนแรงของการพลัดตกหกล้ ม
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ
ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 1 1 0 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
2 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
3 1 1 0 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
4 1 1 0 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
5 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้

3. การรับรู้ ประโยชน์ ของการป้ องกันการพลัดตกหกล้ ม


ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ
ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 0 1 1 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
2 0 0 0 -1 1 0 0.00 ต้องปรับปรุ ง
3 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
4 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
5 1 1 0 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้

4. การรับรู้ อุปสรรคของการป้ องกันการพลัดตกหกล้ ม


ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ
ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 1 1 0 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
2 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
3 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
4 0 0 0 1 1 2 0.40 ต้องปรับปรุ ง
5 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
119

5. การรับรู้ ความสามารถของตนเองในการป้ องกันการพลัดตกหกล้ ม


ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ
ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 0 1 1 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
2 0 1 1 0 1 3 0.60 นาไปใช้ได้
3 1 0 0 1 1 3 0.60 นาไปใช้ได้
4 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
5 1 1 1 0 0 3 0.60 นาไปใช้ได้

ส่ วนที่ 3
แรงสนับสนุนทางสั งคม
1. แรงสนับสนุนด้ านอารมณ์
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ
ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
2 1 1 1 -1 1 3 0.60 นาไปใช้ได้
3 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
4 1 1 1 -1 1 3 0.60 นาไปใช้ได้
5 0 1 1 1 0 3 0.60 นาไปใช้ได้

2. แรงสนับสนุนด้ านข้ อมูลข่ าวสาร


ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ
ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
2 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
3 1 1 0 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
4 0 1 1 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
5 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
120

ส่ วนที่ 4
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลรวม สรุปความ
ข้อที่ ค่า IOC
1 2 3 4 5 คะแนน สอดคล้อง
1 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
2 0 1 1 1 1 4 0.80 นาไปใช้ได้
3 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
4 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
5 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
6 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
7 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
8 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
9 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
10 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
11 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
12 1 1 1 1 1 5 1.00 นาไปใช้ได้
121

ภาคผนวก ฉ
เอกสารชี้แจงผูเ้ ข้าร่ วมวิจยั
122

เอกสารชี้แจงผู้เข้ าร่ วมโครงการวิจัย


(Participant Information Sheet)
สาหรับผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง
รหัสโครงการวิจัย : G-HS 114/2563
(สานักงานคณะกรรมการพิจารณาจริ ยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็ นผูอ้ อกรหัส
โครงการวิจยั )

โครงการวิจัยเรื่ อง : ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อ
ด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตก
หกล้มของผูส้ ูงอายุ ใน อาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

เรียน ผูร้ ่ วมโครงการวิจยั


ข้าพเจ้า นางสาวโสภิตตา แสนวา นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา ขอเรี ยนเชิญท่านเข้าร่ วมโครงการวิจยั เรื่ องผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตก
หกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อ
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ก่อนที่ท่านจะ
ตกลงเข้าร่ วมการวิจยั ขอเรี ยนให้ท่านทราบรายละเอียดของโครงการวิจยั ดังนี้
โครงการนี้มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดย
ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการ
พลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ
การศึกษาวิจยั ครั้งนี้ เป็ นการศึกษากึ่งทดลอง โดยศึกษาในผูส้ ู งอายุ 60-70 ปี ที่เป็ นสมาชิก
ชมรมผูส้ ูงอายุ และอาศัยในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็ นสองกลุ่มคือ กลุ่ม
ทดลอง 32 ราย กลุ่มควบคุม 32 ราย รวมทั้งหมด 64 ราย หากท่านตกลงที่จะเข้าร่ วมการศึกษาวิจยั นี้
ข้าพเจ้าขอความร่ วมมือให้ท่านร่ วมกิจกรรมของโครงการฯ ด้วยการเข้าร่ วมกิจกรรมชมรมผูส้ ูงอายุ
ประจาเดือนเมษายน-กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ อย่างต่อเนื่อง โดยผูว้ ิจยั จะจัดกิจกรรมในกลุ่มทดลอง
ตามโปรแกรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มฯ ทั้งหมด 6 ครั้ง เป็ นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ดังนี้
ครั้งที่ 1 สัปดาห์ที่ 1 ณ ชมรมผูส้ ูงอายุเดือนเมษายน พ.ศ. 2564
เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง (Pre-test)
123

ครั้งที่ 2 สัปดาห์ที่ 2 ผูว้ ิจยั นัดกลุ่มทดลองมาจัดกิจกรรมที่ห้องประชุมเทศบาล


ตาบลเกาะจันทร์
ครั้งที่ 3 สัปดาห์ที่ 3-5 กิจกรรมเยีย่ มบ้าน
ครั้งที่ 4 สัปดาห์ที่ 6 ณ ชมรมผูส้ ูงอายุเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564)
ครั้งที่ 5 สัปดาห์ที่ 8 ณ ชมรมผูส้ ูงอายุเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564)
เก็บข้อมูลหลังการทดลอง (Post-test)
ครั้งที่ 6 สัปดาห์ที่ 12 ณ ชมรมผูส้ ูงอายุเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
เก็บข้อมูลระยะติดตามผล (Follow up)
โดยรายละเอียดกิจกรรมตามโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มฯที่ท่านจะได้รับในแต่
ละครั้งมีรายละเอียด ดังนี้

ครั้งที่ 1
ณ ชมรมผู้สูงอายุ เดือนเมษายน พ.ศ. 2564
กิจกรรมรู้ ไหมใครเสี่ ยงล้ ม
1. ผูว้ ิจยั เก็บรวบรวมข้อมูลแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและ
พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้มก่อนได้รับโปรแกรมฯ (Pre-Test) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่
ผูว้ ิจยั พัฒนาขึ้นเอง
2. ผูว้ ิจยั และผูช้ ่วยวิจยั จะประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของท่านด้วย
2.1 แบบคัดกรองความเสี่ ยงในชุมชน Thai fall risk assessment test (Thai-FRAT)
2.2 ประเมินการทรงตัวของผูส้ ูงอายุ ด้วยวิธี Time Up and Go Test : (TUGT) วิธี
ทดสอบคือ ให้ท่านนัง่ ที่เก้าอี้ จากนั้นให้ลุกขึ้นแล้วเดินตรงไป 3 เมตร หมุนตัวแล้วเดินกลับมานัง่ ที่
เดิม วัดผลจากการจับเวลาที่ใช้ในการทดสอบ
2.3 ท่านจะได้รับคู่มือป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ
2.4 ท่านจะได้ทราบความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มของตนเอง

กิจกรรมที่ร้ ู อุปสรรค รู้ ทัน ป้ องกันล้ ม


ผูว้ ิจยั ให้ความรู ้เรื่ องความเสี่ ยงและการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผูส้ ูงอายุ โดยจะมี
การสาธิตและฝึ กปฏิบตั ิจริ ง (Demonstrating) เน้นเรื่ องการเปลี่ยนอิริยาบถ และการออกกาลังกาย
เพื่อสร้างเสริ มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว ดังนี้
124

1. การเปลี่ยนอิริยาบถ โดยฝึ กปฏิบตั ิการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ไม่รีบร้อนในการเปลี่ยน


อิริยาบถ เกี่ยวกับการนัง่ การลุกจากเก้าอี้ การนัง่ และการลุกจากพื้น การนอนพื้นและลุกจากที่นอน
บนพื้น การนอนเตียงและการลุกจากเตียง การยกของและวางของกับพื้น การเดินขึ้นและลงบันได
2. การออกกาลังกาย
2.1 ท่าฝึ กกล้ามเนื้อและฝึ กความยืดหยุน่ ของข้อ 4 ท่า
2.2 ท่าฝึ กความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 4 ท่า
2.3 ท่าฝึ กการเดินและการทรงตัว 8 ท่า

ครั้งที่ 2
ณ ห้ องประชุมเทศบาลตาบลเกาะจันทร์
กิจกรรมล้มลาพังล้มทั้งบ้ าน
1. ผูว้ ิจยั ให้ความรู ้ความเข้าใจสถานการณ์การพลัดตกหกล้ม สาเหตุและปัจจัยเสี่ ยง
แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม สร้างความตระหนักถึงอัตรายและผลกระทบของการพลัดตกหก
ล้มต่อผูส้ ูงอายุและครอบครัว
2. การสร้างความตระหนักถึงอัตรายและผลกระทบของการพลัดตกหกล้ม โดยเรี ยนรู ้
จากประสบการณ์จริ งของผูส้ ู งอายุที่เคยพลัดตกหกล้ม

กิจกรรมรู้ อุปสรรค รู้ ทัน ป้ องกันล้ ม


การสาธิตและฝึ กปฏิบตั ิจริ ง (Demonstrating) เน้นเรื่ องการเปลี่ยนอิริยาบถ และการออก
กาลังกายเพื่อสร้างเสริ มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ อและการทรงตัว

ครั้งที่ 3
การติดตามเยี่ยมบ้ าน
กิจกรรมเยี่ยมด้วยใจ ห่ วงใย ไม่ให้ ล้ม
1. การติดตามเยีย่ มทางโทรศัพท์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จากผูว้ ิจยั และ อสม.เพื่อติดตาม
พฤติกรรมป้ องกันการพลัดตกหกล้ม เช่น การออกกาลังกาย พร้อมทั้งให้ขอ้ มูลข่าวสาร พูดคุย
ซักถามถึงอุปสรรคหรื อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไข ให้คาแนะนาและตอบข้อสงสัย
2. การติดตามเยีย่ มบ้านท่าน โดยผูว้ ิจยั อสม.และผูส้ ูงอายุที่ตวั แทนจากกลุ่มทดลอง
(1-2 คน)
125

3. ประเมินสิ่ งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้านที่มีความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้ม หา


แนวทางแก้ไขปรับปรุ งร่ วมกัน

ครั้งที่ 4
ณ ชมรมผู้สูงอายุ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564
กิจกรรมมั่นใจว่าไม่ล้ม
1. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่ วมกัน เพื่อสะท้อนปัญหาและอุปสรรคในการ
ปฏิบตั ิพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มที่ผา่ นมา
2. การตั้งเป้าหมาย ประเมินความสามารถของตนเองและตั้งเป้าหมายในการออกกาลัง
กาย และการวางแผนการปฏิบตั ิตามแนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มด้วยตนเองลงในคู่มือ

กิจกรรมรู้ อุปสรรค รู้ ทัน ป้ องกันล้ม


การสาธิตและฝึ กปฏิบตั ิจริ ง (Demonstrating) เน้นเรื่ องการเปลี่ยนอิริยาบถ และการออก
กาลังกายเพื่อสร้างเสริ มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ อและการทรงตัว

ครั้งที่ 5
ณ ชมรมผูส้ ูงอายุ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564
ผูว้ ิจยั เก็บรวบรวมข้อมูลแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและ
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มหลังได้รับโปรแกรมฯ (Post-test) โดยใช้แบบสัมภาษณ์(ชุด
เดิม)

ครั้งที่ 6
ณ ชมรมผูส้ ูงอายุ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
ผูว้ ิจยั เก็บรวบรวมข้อมูลแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและ
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มเพื่อติดตามหลังได้รับโปรแกรมฯ (Follow up) โดยใช้แบบ
สัมภาษณ์ (ชุดเดิม)
กิจกรรมการประเมินความเสี่ ยงต่อการพลัดตกหกล้มด้วยวิธีการทดสอบการทรงตัวขณะ
เคลื่อนไหว (Time Up and Go Test) และการออกกาลังกาย ผูว้ ิจยั มีวิธีป้องกันอุบตั ิเหตุต่อการหกล้ม
โดยจะมีผชู ้ ่วยวิจยั ซึ่งเป็ นบุคลากรสาธารณสุข (เช่น พยาบาล นักกายภาพบาบัด นักวิชาการ
สาธารณสุข) และ อสม. ติดตามการทดสอบอย่างใกล้ชิด มีการจัดเตรี ยมกระเป๋ าพยาบาลสาหรับ
126

ปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ทุกครั้ง หากผูส้ ู งอายุมีอาการไม่พึงประสงค์ เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็ น


ลม ระหว่างการออกกาลังกาย หรื อกรณีฉุกเฉินจะประสานส่งต่อโรงพยาบาลเกาะจันทร์ที่มี
ระยะทางห่างจากสถานที่จดั กิจกรรมเพียง 1 กิโลเมตรทันที
สาหรับกิจกรรมครั้งที่ 2 (สัปดาห์ที่ 2) ที่ผวู ้ ิจยั นัดหมายท่านเข้าร่ วมกิจกรรมที่ห้อง
ประชุมเทศบาลตาบลเกาะจันทร์ ผูว้ ิจยั จะจัดเตรี ยมอาหารและเครื่ องดื่ม และอานวยความสะดวก
โดยจัดหารถรับ-ส่ งท่าน โดยมีมาตรการป้ องกันการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิ
ร่ างกาย การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือ
ด้วยเจลแอลกอฮอล์ตลอดการเดินทางและเข้าร่ วมกิจกรรมอย่างเคร่ งครัด
การเข้าร่ วมกิจกรรมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มฯ เป็ นไปโดยสมัครใจ ท่านอาจ
ปฏิเสธที่จะเข้าร่ วม และถ้ากิจกรรมนี้ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน ท่านสามารถถอนตัวจากการ
เข้าร่ วมโครงการได้ตลอดเวลา โดยไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อท่านทั้งสิ้ น
ผลของการวิจยั นี้ จะเป็ นประโยชน์เพื่อเป็ นแนวทางป้ องกันการพลัดตกหกล้มของ
ผูส้ ู งอายุ รวมทั้งประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นต่อไป การเข้าร่ วมโครงการวิจยั นี้ไม่มี
ความเสี่ ยงแต่อย่างใด ข้อมูลต่าง ๆ ของท่านจะถูกเก็บไว้เป็ นความลับ ไม่มีการเปิ ดเผยชื่อของท่าน
การนาเสนอข้อมูลจะเป็ นในภาพรวม ทั้งนี้ขอ้ มูลจะถูกเก็บไว้ในเครื่ องคอมพิวเตอร์ที่มีรหัสผ่าน
ของผูว้ ิจยั เท่านั้น ส่ วนเอกสารจะเก็บไว้ ในตูเ้ อกสารที่ใส่กุญแจไว้เป็ นเวลา 1 ปี หลังการเผยแพร่
ผลการวิจยั และจะถูกนาไปทาลายหลังจากนั้น
หากท่านมีคาถามหรื อข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อข้าพเจ้า นางสาวโสภิตตา
แสนวา หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โทร 038-102730 โทรศัพท์มือถือ
หมายเลข 061-4707909 ข้าพเจ้ายินดีตอบคาถาม และข้อสงสัยของท่านทุกเมื่อ และถ้าผูว้ ิจยั ไม่
ปฏิบตั ิตามที่ได้ช้ ีแจงไว้ในเอกสารชี้แจงผูเ้ ข้าร่ วมโครงการวิจยั สามารถแจ้งมายัง คณะกรรมการ
พิจารณาจริ ยธรรมการวิจยั ในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา กองบริ หารการวิจยั และนวัตกรรม
หมายเลข โทรศัพท์ 038-102561-62
เมื่อท่านพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้าร่ วมในการวิจยั นี้ ขอความกรุ ณาลงนามในใบ
ยินยอมร่ วมโครงการที่แนบมาด้วย และขอขอบพระคุณในความร่ วมมือของท่านมา ณ ที่น้ ี
127

เอกสารชี้แจงผู้เข้ าร่ วมโครงการวิจัย


(Participant Information Sheet)
สาหรับผู้สูงอายุกลุ่มควบคุม

รหัสโครงการวิจัย : G-HS 114/2563


(สานักงานคณะกรรมการพิจารณาจริ ยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็ นผูอ้ อกรหัส
โครงการวิจยั )
โครงการวิจัยเรื่ อง : ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อ
ด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตก
หกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี
เรียน ผูร้ ่ วมโครงการวิจยั
ข้าพเจ้า นางสาวโสภิตตา แสนวา นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา ขอเรี ยนเชิญท่านเข้าร่ วมโครงการวิจยั เรื่ องผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตก
หกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อ
พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ก่อนที่ท่านจะ
ตกลงเข้าร่ วมการวิจยั ขอเรี ยนให้ท่านทราบรายละเอียดของโครงการวิจยั ดังนี้
โครงการนี้มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มฯ โดย
ศึกษาในผูส้ ูงอายุติดสังคม อายุ 60-70 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ที่เป็ นสมาชิกชมรมผูส้ ูงอายุและอาศัย
ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็ นสองกลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
หากท่านตกลงที่จะเข้าร่ วมการศึกษาวิจยั นี้ ข้าพเจ้าขอความร่ วมมือให้ท่านร่ วมเป็ นกลุ่มควบคุม ซึ่ง
ท่านจะไม่ได้เข้าร่ วมกิจกรรมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มฯ แต่ขอให้ท่านดูแลสุขภาพ
ตามปกติ และเข้าร่ วมกิจกรรมชมรมผูส้ ูงอายุประจาเดือนเมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2564 อย่างต่อเนื่อง
โดยผูว้ ิจยั จะเข้าไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบแผน
ความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม(ชุดเดียวกับ
กลุ่มทดลอง) ทั้งหมด 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ชมรมผูส้ ูงอายุ เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 2 ชมรม
ผูส้ ูงอายุ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 และครั้งที่ 3 ชมรมผูส้ ูงอายุ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564
การเข้าร่ วมกิจกรรมโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มฯ เป็ นไปโดยสมัครใจ ท่านอาจ
ปฏิเสธที่จะเข้าร่ วม และถ้ากิจกรรมนี้ ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน ท่านสามารถถอนตัวจากการ
เข้าร่ วมโครงการได้ตลอดเวลา โดยไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อท่านทั้งสิ้ น
128

ผลของการวิจยั นี้ จะเป็ นประโยชน์เพื่อเป็ นแนวทางป้ องกันการพลัดตกหกล้มของ


ผูส้ ู งอายุ รวมทั้งประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นต่อไป การเข้าร่ วมโครงการวิจยั นี้ไม่มี
ความเสี่ ยงแต่อย่างใด ข้อมูลต่าง ๆ ของท่านจะถูกเก็บไว้เป็ นความลับ ไม่มีการเปิ ดเผยชื่อของท่าน
การนาเสนอข้อมูลจะเป็ นในภาพรวม ทั้งนี้ขอ้ มูลจะถูกเก็บไว้ในเครื่ องคอมพิวเตอร์ที่มีรหัสผ่าน
ของผูว้ ิจยั เท่านั้น ส่วนเอกสารจะเก็บไว้ ในตูเ้ อกสารที่ใส่กุญแจไว้เป็ นเวลา 1 ปี หลังการเผยแพร่
ผลการวิจยั และจะถูกนาไปทาลายหลังจากนั้น
หากท่านมีคาถามหรื อข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อข้าพเจ้า นางสาวโสภิตตา
แสนวา หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โทร 038-102730 โทรศัพท์มือถือ
หมายเลข 061-4707909 ข้าพเจ้ายินดีตอบคาถาม และข้อสงสัยของท่านทุกเมื่อ และถ้าผูว้ ิจยั ไม่
ปฏิบตั ิตามที่ได้ช้ ีแจงไว้ในเอกสารชี้แจงผูเ้ ข้าร่ วมโครงการวิจยั สามารถแจ้งมายัง คณะกรรมการ
พิจารณาจริ ยธรรมการวิจยั ในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา กองบริ หารการวิจยั และนวัตกรรม
หมายเลขโทรศัพท์ 038-102561-62
เมื่อท่านพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้าร่ วมในการวิจยั นี้ ขอความกรุ ณาลงนามในใบ
ยินยอมร่ วมโครงการที่แนบมาด้วย และขอขอบพระคุณในความร่ วมมือของท่านมา ณ ที่น้ ี
129

เอกสารแสดงความยินยอม
ของผู้เข้ าร่ วมโครงการวิจัย (Consent Form)

รหัสโครงการวิจัย : G-HS 114/2563


(สานักงานคณะกรรมการพิจารณาจริ ยธรรมในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็ นผูอ้ อกรหัส
โครงการวิจยั )
โครงการวิจัยเรื่ อง : ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อ
ด้านสุ ขภาพร่ วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตก
หกล้มของผูส้ ูงอายุ ในอาเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

ให้คายินยอม วันที่ ……......….. เดือน ………….......…….……… พ.ศ. ……………….

ก่อนที่จะลงนามในเอกสารแสดงความยินยอมของผูเ้ ข้าร่ วมโครงการวิจยั นี้ ข้าพเจ้าได้รับ


การอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของโครงการวิจยั วิธีการวิจยั และรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่ระบุใน
เอกสารข้อมูลสาหรับผูเ้ ข้าร่ วมโครงการวิจยั ซึ่งผูว้ ิจยั ได้ให้ไว้แก่ขา้ พเจ้า และข้าพเจ้าเข้าใจ
คาอธิบายดังกล่าวครบถ้วนเป็ นอย่างดีแล้ว และผูว้ ิจยั รับรองว่าจะตอบคาถามต่าง ๆ ที่ขา้ พเจ้าสงสัย
เกี่ยวกับการวิจยั นี้ดว้ ยความเต็มใจ และไม่ปิดบังซ่อนเร้นจนข้าพเจ้าพอใจ
ข้าพเจ้าเข้าร่ วมโครงการวิจยั นี้ดว้ ยความสมัครใจ และมีสิทธิที่จะบอกเลิกการเข้าร่ วม
โครงการวิจยั นี้ เมื่อใดก็ได้ การบอกเลิกการเข้าร่ วมการวิจยั นั้นไม่มีผลกระทบต่อการเข้าร่ วม
กิจกรรมชมรมผูส้ ู งอายุ และขั้นตอนการรักษาอาการเจ็บป่ วยและโรคประจาตัว ที่ขา้ พเจ้าจะพึง
ได้รับต่อไป
ผูว้ ิจยั รับรองว่าจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวข้าพเจ้าเป็ นความลับ จะเปิ ดเผยได้เฉพาะในส่วน
ที่เป็ นสรุ ปผลการวิจยั การเปิ ดเผยข้อมูลของข้าพเจ้าต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องได้รับ
อนุญาตจากข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าได้อ่านข้อความข้างต้นแล้วมีความเข้าใจดีทุกประการ และได้ลงนามในเอกสาร
แสดงความยินยอมนี้ ดว้ ยความเต็มใจ
130

กรณีที่ขา้ พเจ้าไม่สามารถอ่านหรื อเขียนหนังสื อได้ ผูว้ ิจยั ได้อ่านข้อความในเอกสาร


แสดงความยินยอมให้แก่ขา้ พเจ้าฟังจนเข้าใจดีแล้ว ข้าพเจ้าจึงลงนามหรื อประทับลายนิ้วหัวแม่มือ
ของข้าพเจ้าในเอกสารแสดงความยินยอมนี้ดว้ ยความเต็มใจ

ลงนาม …………………..……………………..ผูย้ นิ ยอม


(……………………………………….)
ลงนาม ……………….……………………..…..พยาน
(……………………………………….)

หมายเหตุ กรณี ที่ผเู ้ ข้าร่ วมโครงการวิจยั ให้ความยินยอมด้วยการประทับลายนิ้วหัวแม่มือ ขอให้มีพยานลง


ลายมือชื่อรับรองด้วย
131

ภาคผนวก ช
รู ปกิจกรรม
132
133
134
135
136
ประวัติย ่อของผู้วิจัย

ประวัติย่อของผู้วิจัย

ชื่ อ-สกุล โสภิตตา แสนวา


วัน เดือน ปี เกิด 4 มิถุนายน 2531
สถานที่เกิด มหาสารคาม
สถานที่อยู่ปัจจุบัน พฤกษ์ลดา การ์เด้น เลขที่ 66/54 หมู่ที่ 4 ตาบลคลองตาหรุ
อาเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ตาแหน่ งและประวัติการ พ.ศ. 2565 นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบตั ิการ
ทางาน โรงพยาบาลเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี
ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2553 วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์ )
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
พ.ศ. 2565 สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยบูรพา

You might also like