Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 17

โครงงานวิทยาศาสตร์ 1

บทที่ 1
ความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

สามารถสรุปความหมาย ของ
โครงงานวิทยาศาสตร์ได้

บอกประเภท ของ
โครงงานวิทยาศาสตร์ได้

1. อธิบายความสัมพันธ์
ของโครงงานวิทยาศาสตร์
ทั้ง 4 ประเภทได้

ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครง งานวิทยาศาสตร์
หมายถึง การทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
โครงงานวิทยาศาสตร์ 2

1. ผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจ
และตามระดับความรู้ความสามารถ
2. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. เป็นกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อตอบปัญหาที่สงสัย
4. งานวิจัยเล็ก ๆ ของผู้เรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ หรือการแก้ปัญหา
หรือข้อสงสัยของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
5. ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการปฏิบัติการทดลอง
หรือประดิษฐ์คิดค้นรวมทั้งแปรผลสรุปผล และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
ด้วยตนเอง โดยมีครูหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา

กล่าวโดยสรุปได้ว่า โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาค้นคว้า


เรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ
และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ภายใต้การให้คำปรึกษาและการดูแลของครูหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ

ผังกราฟิ กความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

1. ผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่อง
ที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความ
สนใจตามความสนใจและระดับความ 2. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับ
สามารถ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. กิจกรรมที่ใช้
โครงงานวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ในการศึกษาค้นคว้า
เพื่อตอบปัญหาที่สงสัย
โครงงานวิทยาศาสตร์ 3

5. ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการค้นคว้า
เก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการปฏิบัติทดลอง
หรือประดิษฐ์คิดค้นรวมทั้ง แปรผล สรุปผล
4. งานวิจัยเล็ก ๆ ของผู้เรียน
และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเอง
ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ
โดยมีครูหรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
วิทยาศาสตร์ หรือข้อ
สงสัยของผู้เรียนโดยใช้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเภทของโครงงาน
วิทยาศาสตร์

ในการแบ่งประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะของกิจกรรม
การแบ่งประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ ตามลักษณะของกิจกรรมแบ่งได้
4 ประเภทคือ
1. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการสำรวจ
2. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลอง
3. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี
2. แบ่งตามแหล่งที่มา
การแบ่งประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ ตามแหล่งที่มาแบ่งได้
2 ประเภท คือ
โครงงานวิทยาศาสตร์ 4
1. โครงงานวิทยาศาสตร์ตามสาระการเรียนรู้ เช่น โครงงานทางเคมี
ชีววิทยา ฟิ สิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. โครงงานวิทยาศาสตร์ตามความสนใจ เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์
การเกษตร โดยลักษณะของโครงงานจะเกี่ยวกับเกษตรทั้งสิ้น
3. แบ่งโดยใช้แบบแผนของโครงงานเป็ นเกณฑ์
การใช้แบบแผน หรือรูปแบบของโครงงานเป็นเกณฑ์ในการกำหนด แบ่งได้
2 รูปแบบ คือ
1. โครงงานที่ไม่เป็นแบบแผน เป็นโครงงานที่ไม่จำเป็นต้องเขียนโครงงาน
เพียงแต่ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ อาจเป็นใบงาน หรือชิ้นงานก็ได้
2. โครงงานตามแบบแผน เป็นโครงงานที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร มี
ระเบียบวิธีจัดทำเป็นขั้นตอนอย่างชัดเจน

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการสำรวจ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการสำรวจ

โครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภทการ
สำรวจ
โครง งานวิทยาศาสตร์ประเภท
การสำรวจ เป็น โครงงานที่ต้องศึกษา
ติดตามรวบรวมข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาเสนอใหม่ด้วยตนเองโดยจะมีวิธีการสำรวจ
และรวบรวมข้อมูลได้หลายแนวทาง ดังนี้
1. สำรวจข้อมูลภาคสนาม
เป็นการสำรวจข้อมูลในภาคสนาม ทั้งข้อมูลที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น
การสำรวจชนิดของพืชหรือสัตว์ในท้องถิ่น เป็นต้น

2. สำรวจและรวบรวมข้อมูลจากธรรมชาติมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ เช่น
การสำรวจความเป็นกรดเบสของแหล่งน้ำ เป็นต้น
โครงงานวิทยาศาสตร์ 5

3. สำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยจำลองแบบ
เป็นการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยจำลองแบบจากธรรมชาติ เช่น
การศึกษาพฤติกรรมการกินอาหารของหนอนต้นดอกรัก เป็นต้น

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลอง
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลอง

โครงงานวิทยาศาสตร์
ประเภทการทดลอง
เป็นโครง งานที่ต้องมีการออกแบบ
การทดลองเพื่อหาคำ ตอบของปัญหานั้น อาจ
เป็นปัญหาที่เคยเรียนใน ชั้นเรียน ซึ่งอาจมองในแง่
ว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นจริง ด้วยตนเอง แต่การทดลองควรคิดวิธีที่ต่างไปจากที่
เคยทำในชั้นเรียน
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลอง เช่น
- การศึกษาอิทธิพลของแสงสีต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด
- การศึกษาการเจริญเติบโตของพืชในสนามแม่เหล็ก
- การศึกษาอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายในสัตว์ตัวเมีย
- การทดลองใช้ผักตบชวาในการกำจัดน้ำเสีย
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลอง มีขั้นตอนสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดปัญหา
2. ตั้งสมมติฐาน
3. ออกแบบการทดลอง
4. ดำเนินการทดลอง
5. รวบรวมข้อมูล
6. แปลความหมายข้อมูลและสรุปผล
โครงงานวิทยาศาสตร์ 6

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์เป็นโครงงานที่มีการพัฒนา
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่มีการพัฒนา
หรือประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ต่างๆๆให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์
หรือประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์
โดยอาศัยความรู้หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อาจเป็นการ
โดยอาศัยความรู้หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ อาจเป็นการ
ประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี
สิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนหรือการปรับปรุงอุปกรณ์
หรือการปรับปรุงอุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่
หรือสิ่งประดิษฐ์ที่
ประดิษฐ์
มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพสูงขึ้นนอกจากนั้นอาจเป็นการเสนอ
มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนั้นอาจเป็นการเสนอหรือหรือ
สร้างแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งก็ได้ตัวอย่าง
สร้างแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเช่น
เช่น
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี
เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย เครื่องกรองคราบน้ำมันเป็นโครงงานที่นำเสนอทฤษฎี
การประดิษฐ์เครื่องร่อน หลักการ
เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย เครื่องกรองคราบน้ำมัน
หรือแนวคิดใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของสูตร การประดิษฐ์เครื่องร่อน
สมการ คำอธิบาย โดยผู้จัดทำโครงงาน
เครื่องเตือนอัคคีภัยระบบความดันแยก
เครื่องเตือนอัคคีภัยระบบความดันแยก รูปแบบการจัดการจราจรบริเวณ
รูปแบบการจัดการจราจรบริเวณ
ทาง ตั้งกติกา หรือข้อตกลงขึ้นมาแล้วนำเสนอทฤษฎี
บ้านยุคนิวเคลียร์ เป็นต้น หลักการแนวคิด จิตนาการของตนเอง
ทาง บ้านยุคนิวเคลียร์ เป็นต้น
ตามกติกา หรือข้อตกลงนั้นเป็นการจัดทำโดยการขยายทฤษฎี หรือแนวคิดเดิม โครง
งานประเภทนี้เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือ โครงงานคณิตศาสตร์ก็ได้ เช่น โครง
งาน เรื่อง “ กำเนิดของทวีปและมหาสมุทร ” เป็นการสร้างแบบจำลองทฤษฎี อธิบาย
การเกิดของทวีป และมหาสมุทรว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอ้างอิง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่แตกต่าง
ไปจากแนวความคิดเดิมที่เคยมีผู้เสนอไว้ก่อนแล้ว หรือ โครงงานทฤษฎีของจำนวน
เป็นต้น
ตัวอย่างโครงงานประเภททฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์
โครงงานประเภททฤษฎีของ ไอน์สไตน์
โครงงานประเภททฤษฎีของ เซอร์ ไอแซกนิวตัน
โครงงานประเภททฤษฎีของ ชาลส์ ดาร์วิน
ความสัมพันธ์ของโครงงานวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ประเภท
โครงงานวิทยาศาสตร์ 7

โครงงานวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ประเภท ไก้แก่ โครงงานประเภทสำรวจ


โครงงานประเภททดลอง โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ และโครงงานประเภททฤษฎี
มีความเชื่อมโยงกันเหมือนกับรูปสี่เหลี่ยมซึ่งประกอบด้วยด้านทั้ง 4 ด้านเพียงแต่โครง
งานแต่ละประเภทมีจุดประสงค์และวิธีการทำที่แตกต่างกัน แต่เมื่อทำโครงงานครบทั้ง 4
ประเภทก็จะกลายเป็นโครงงานที่สมบูรณ์เหมือนสีเหลี่ยมที่ต้องมีด้านทั้ง 4 ด้านมารวม
กันซึ่งกลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่สมบูรณ์
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 ประเภท
ประเภทของโครงงาน ตัวอย่างโครงงาน
1. โครงงานประเภทสำรวจ สำรวจพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการห้ามเลือด

2. โครงงานประเภททดลอง นำพืชสมุนไพรในข้อ 1 มาทดลองหาประสิทธิภาพ


3. โครงงาน
นำผลการทดลองในข้อ 2 มาประดิษฐ์เป็นยาห้ามเลือด
ประเภทสิ่งประดิษฐ์
ทบทวนผลสรุปของการทดลองจากข้อ 3 เพื่อยืนยัน
4. โครงงานประเภททฤษฎี
แนวคิดหรือปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่ายผู้ทำโครง
งานควรเริ่มต้นจากการทำโครงงานประเภทการสำรวจ จากนั้นก็ทำโครงงานประเภทการ
ทดลองแล้ว นำผลการทดลองนั้นมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ และสุดท้าย คือ การ
ทบทวนแนวคิดทฤษฎีของเรื่องนั้น เพื่อตรวจสอบว่าองค์ความรู้นั้นถูกต้องคงทนต่อการ
พิสูจน์หรือไม่

แผนภาพแสดงวัฏจักรของโครงงานวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ประเภท
โครงงานวิทยาศาสตร์ 8

1. สำรวจ

โครงงานวิทยาศาสตร์
4. ทฤษฎี 4 ประเภท 3. ทดลอง

3. สิ่ง
โครงงานวิทยาศาสตร์นั้นไซร้ประดิษฐ์ไม่ใช่เรื่องยาก
ต้องเริ่มจากรู้ความหมาย คลายสงสัย
จำให้ดี 4 ประเภทให้ขึ้นใจ จำแนกไปตามกิจกรรมคิดทำเอง
ทั้งขั้นตอนการทำจำให้เก่ง วางแผนเจ๋งก่อนปฏิบัติชัดแจ๋ว
เกือบเสร็จแล้วโครงงานสมานฉันท์ เร่งแบ่งปันเขียนรายงานการคิดทำ
สุดท้ายควรจดจำนำเสนอผลงาน จึงสำราญสำเร็จเสร็จโครงงาน

ตัวอย่าง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโครงงานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 ประเภท

ประเภทของโครงงาน ตัวอย่างโครงงาน
1.โครงงานประเภทสำรวจ สำรวจพืชที่มีคุณสมบัติในการใช้ทำอินดิเคเตอร์

นำพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ฝาง ดอกกุหลาบ กระเจี๊ยบ


2. โครงงาน
มาทดลองหาประสิทธิภาพ
ประเภททดลอง
นำผลการทดลองในข้อ 2 มาประดิษฐ์เป็นกระดาษ
3. โครงงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์ 9
ประเภทสิ่งประดิษฐ์ อินดิเคเตอร์ สำหรับทดสอบความเป็นกรด - เบสของสาร

4. โครงงานประเภททฤษฎี ทบทวนผลสรุปของการทดลองจากข้อ 3 เพื่อยืนยันแนวคิด

บทที่ 2
ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อธิบายสรุปขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

คิดและเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะทำโครงงานได้

จัดทำเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

ลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามที่วางแผนไว้ได้
โครงงานวิทยาศาสตร์10

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2543 : 301)


เสนอขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
a. สำรวจและตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
b. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำจากเอกสาร แหล่งข้อมูลต่าง ๆ
c. วางแผนการทดลอง การใช้วัสดุ อุปกรณ์ ระยะเวลาดำเนินงาน
d. เขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์
e. ลงมือศึกษาทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล
f. เขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
g. เสนอผลงานของโครงงานวิทยาศาสตร์

บูรชัย ศิริมหาสาคร (2548 : 105 - 114) ได้เสนอขั้นตอน


การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. การคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน
2. การวางแผนโครงงาน
3. การปฏิบัติการโครงงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์11
4. การเขียนรายงานโครงงาน
5. การนำเสนอโครงงาน
6. การพัฒนาโครงงาน

สำหรับผู้จัดทำได้พัฒนาขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ จากสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2543 : 301) และ บูรชัย ศิริมหาสาคร
(2548 : 105 - 114) จึงขอเสนอขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 6 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

การคิดและเลือกหัวข้อ
ที่จะทำโครงงาน
วิทยาศาสตร์

6. การนำเสนอผลงานโครงงาน
วิทยาศาสตร์
2. การศึกษาเอกสารที่
เกี่ยวข้อง
3. การจัดทำเค้าโครงของ

โครงงานวิทยาศาสตร์
การเขียนรายงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์

4. การลงมือทำโครงงาน
วิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์12
แนวทางการเรียนรู้ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนการทำ
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
โครงงานวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 1 การคิด และ สังเกตปัญหาต่าง ๆ รอบตัว เลือกปัญหาที่ตนเองสนใจ และ
เลือกหัวข้อโครงงาน พิจารณาความเป็นไปได้ เพื่อกำหนดหัวข้อที่จะทำโครงงาน
ขั้นที่ 2 การศึกษา ศึกษาค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทาง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบโครงงาน
ขั้นที่ 3 การจัดทำ นำแนวทางในการออกแบบโครงงานมาเขียนเป็นลายลักษณ์
เค้าโครง ของ อักษรที่เรียกว่า “ เค้าโครง ” ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
โครงงานวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษาโครง
งาน ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขต
ของโครงงาน สมมติฐาน วิธีดำเนินงาน ประโยชน์ที่ได้รับ
เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
ขั้นที่ 4 การลงมือทำ ดำเนินการตามที่เขียนเค้าโครงไว้ โดยใช้ทักษะต่อไปนี้
โครงงานวิทยาศาสตร์ - วิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ทักษะการบันทึกข้อมูล
- ทักษะการปฏิบัติงาน
ขั้นที่ 5 การเขียน ประมวลผลการทำโครงงานแล้วสรุปเป็นเอกสารรายงาน
รายงาน ซึ่งมี 5 บท ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 บทเอกสาร
โครงงานวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการ บทที่ 4 ผลการ
วิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
ขั้นที่ 6 การนำเสนอผล ประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงงานต่อสาธารณะชน
งาน ด้วยการบรรยายประกอบแผงโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ หรือนำผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ไปจัดนิทรรศการ

การคิดและเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ใบความรู้ที่
2
โครงงานวิทยาศาสตร์13

การคิดและเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นจากปัญหา หรือ


ความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนซึ่งจะต้องสำรวจตนเองว่ามีความสงสัย และอยากค้นหาคำ
ตอบเกี่ยวกับเรื่องใด แล้วนำปัญหานั้นมากำหนดเป็นหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน ซึ่งอาจ
จะมีมากกว่า 1 เรื่องก็ได้

การได้มาของปัญหา
ที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์
โดยทั่วไปจะได้มาจากปัญหา
คำถาม หรือ ความสนใจในเรื่อง
ต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ
รอบตัว

แหล่งปัญหา
ที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
โครงงานวิทยาศาสตร์14

แหล่งปัญหาที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
1. การอ่านค้นคว้าหนังสือเอกสารหนังสือพิมพ์วารสารต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น ต้อง
เป็นเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์
2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น วนอุทยาน สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์
โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่เพาะเลี้ยงพืช และสัตว์ หน่วยงานวิจัย ห้อง
ปฏิบัติการต่าง ๆ
3. การฟังบรรยายทางวิชาการ การฟังและชมรายการทางวิทยุ โทรทัศน์ ตลอด
จนการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็นระหว่างเพื่อน หรือ กับ
บุคคลอื่น
4. กิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น สมบัติของแม่เหล็ก
5. งานอดิเรกของผู้เรียนเอง เช่น การเลี้ยงปลา
6. การเข้าชมนิทรรศการหรือการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ต่าง ๆ
7. จากการสงสัยของผู้เรียนเอง เช่น เห็นแม่ลวกผักกวางตุ้งโดยการเติมเกลือ
ลงไปด้วยทำให้ผักลวกมีสีเขียวน่ารับประทาน จึงสงสัยว่าเกลือมีผลทำให้ผัก
มีสีเขียวได้อย่างไร
8. ปัญหาใกล้ตัว
9. ปัญหาในท้องถิ่น
10. การตั้งคำถามของครู

หลังจากได้ปัญหาหรือข้อสงสัยที่สนใจจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำมาคิดตั้งปัญหา
ซึ่งมีขั้นตอนการคิดตั้งปัญหาดังนี้
โครงงานวิทยาศาสตร์15

ขั้นตอนการคิดตั้งปัญหา
1. ต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้น ๆ ให้ได้ข้อมูลมากที่สุดเพื่อจะนำมาตั้งปัญหา
และมีข้อมูลเพียงพอที่จะตั้งสมมติฐานเพื่อคาดคะเนหาคำตอบล่วงหน้า
2. หลังจากได้หัวข้อแล้ว ให้หาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ๆ หรือที่เป็นสาเหตุ
ให้เกิดหัวข้อนั้น ๆ
3. เลือกจับคู่หัวข้อที่เกี่ยวข้องหรือสาเหตุที่เกี่ยวข้องที่สนใจที่สุดเพื่อนำมาตั้งปัญหา
โดยให้เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น

หัวข้อ สิ่งที่เกี่ยวข้อง/ ตั้งคำถาม


สาเหตุ

อากาศเสีย - การเผาขยะ - การเผาขยะทำให้อากาศเสียจริงหรือไม่


- ควันจากรถยนต์ - ควันจากรถยนต์มีผลทำให้อากาศเสียจริง
หรือไม่
การเจริญ - ปุ๋ ย - ปุ๋ ยมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชจริง
เติบโต - การให้น้ำ หรือไม่
ของพืช - ปุ๋ ยคอกกับปุ๋ ยเคมีชนิดใดพืชเติบโต
ได้ดีกว่ากันจริงหรือไม่
- น้ำทำให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดีใช่หรือไม่

ทราบหรือไม่ว่า!! แมรี่
ทราบหรือไม่ว่า แมรี่ คูรี่คูรี่ นักวิทยาศาสตร์หญิงผู้ค้นพบ
นักวิทยาศาสตร์หญิงผู้ค้นพบ
ธาตุเรเดียม
ธาตุเรเดียม เป็น ผู้อุตสาหะอดทน
เป็น ผู้อุตสาหะ อดทนและพยายามมาก
และพยายามมาก
โดยเธอ
โดยเธอ สามารถค้นพบ
สามารถค้นพบธาตุเรเดียม 0.1กรัม
ธาตุเรเดียม0.1 กรัมจาก
จาก
สินแร่ทั้งหมด
สินแร่ทั้งหมด11ตันตัน

เมื่อคิดตั้งปัญหาตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือก
ปัญหาที่เหมาะสมเพื่อนำไปทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้
การเลือกปัญหาที่เหมาะสมเพื่อนำทำโครงงานวิทยาศาสตร์
1. เป็นคำถามที่สามารถค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
ในการเลือกปัญหาที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ส่วนมากจะได้มาจาก
และไม่ใช่จากการเปิ
การตั้งคำถามก่อน ดตำราหรือถามใครเพื่อหาคำตอบ
ดังนั้น ในการคัดเลือกคำถามที่ดีมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
2. เป็นคำถามที่สามารถหาคำตอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่
ทดสอบ การวัด การชั่ง การนับ การสำรวจ
3. เป็นคำถามที่ชัดเจน รู้ว่าจะทดสอบ วัด ชั่ง นับ และสำรวจ
อะไร
โครงงานวิทยาศาสตร์16

เมื่อเลือกปัญหาได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
วิทยาศาสตร์ซึ่งควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้
1. ต้องมีความรู้พื้นฐานอย่างเพียงพอ
2. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
3. สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ซื้อหรือจัดทำขึ้นเองได้
4. มีเวลาเพียงพอที่จะทำโครงงาน
5. มีงบประมาณเพียงพอ
6. มีความปลอดภัย

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องในที่นี้จะรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ทรงคุณวุฒิ แหล่งข้อมูลอื่น ๆ ตลอดจนการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องด้วย
หลังจากที่ผู้เรียนได้หัวข้อเรื่องกว้าง ๆ ที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าแล้วขั้นตอนต่อไป
คือ ศึกษาแหล่งข้อมูล หาความรู้เพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยผู้ทำโครงงานจะต้องมีการจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูล รวมทั้งบันทึก
การให้คำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิไว้ด้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์17
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่จะกำหนดขอบข่าย
ของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และได้ความรู้ในเรื่องที่จะทำการ
ศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นจนสามารถออกแบบ และวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้น
ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องมีความ
รู้ความชำนาญในการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด สถานที่
ต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงไหม แหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ ยชีวภาพ
เกษตรที่สูงอำเภอด่านซ้าย หน่วยพิทักษ์ป่ าไม้ ตลอดจนการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบ
อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ในการเข้าไปใช้แหล่งค้นคว้านอกสถานที่ควรให้ที่ปรึกษา
ช่วยติดต่อขอใช้บริการล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการเข้าใช้สถานที่นั้น ๆ ด้วย

You might also like