e0b895e0b8b1e0b8a7e0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b887e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899-2-e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899e0b9822

You might also like

Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 15

1

บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เสียงเพลงกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทุกชาติทุกภาษาล้วนมีเสียงเพลงและดนตรีเป็ นลักษณะ
-เฉพาะของตัวเอง มีหลายประเภท เสียงเพลงสามารถบรรเทาความทุกข์ และความเครียดที่มีอยู่ภายในใจได้
ผู้ที่รักเสียงเพลง จะมีจิตใจที่อ่อนโยน เป็ นคนอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส สดชื่นมีชีวิตชีวา ส่วนผู้ที่ไม่มีเสียง
เพลงอยู่ในหัวใจ จะไม่มีความอ่อนโยนอยู่ในจิต ไม่มีสิ่งใดเป็ นเครื่องจรรโลงใจยามเศร้าหมอง ดังคำ
พังเพยที่ว่า“ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็ นคนชอบกลนัก” เสียงสวดมนต์ เป็ นเสียงสวดอ้อนวอนต่อ
พระผู้เป็ นเจ้า เสียงสวดมนต์ไม่ได้ทำให้สนุกสนาน บันเทิงใจ แต่มีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์ ทำให้รู้สึกมี
กำลังใจในการดำเนินชีวิต จิตใจสงบ เยือกเย็น และสามารถบำบัดโรคได้ และเสียงด่า เป็ นเสียงที่ทำให้ผู้รับ
ฟังรู้สึกเดือดดาล ไม่เกิดผลดีแต่อย่างไร เสียงด่าทำให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งผู้สื่อสารและผู้รับฟังและนำไปสู่
ความไม่สงบสุขทางสังคม เสียงด่าเมื่อได้ฟังแล้วผู้ที่รับฟังก็ไม่ได้แสดงกิริยาอะไรที่แสดงว่าไม่พอใจ แต่ยัง
ไงก็ต้องเจ็บใจอยู่ลึกๆ แสดงให้เห็นว่า เสียงด่าทำให้รู้สึกไม่ดีเลย
ผู้จัดทำโครงงานจึงเกิดข้อสงสัยว่าถ้านำเสียงทั้งสามประเภทมาทดลองกับพืช เพื่อเปรียบเทียบการ
เพิ่มความสูงของต้นพืช ว่าเสียงแต่ละประเภทจะมีอิทธิพลต่อพืช เหมือนกับที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์หรือไม่ ซึ่ง
เสียงทั้งสามประเภทมีความแตกต่างกันอย่างมาก ผู้จัดทำโครงงานจึงเลือกต้นผักบุ้งสำหรับทดลองศึกษา
ประเภทของเสียงที่มีผลต่อการเพิ่มความสูงของผักบุ้ง เนื่องจากต้นผักบุ้งสะดวกต่อการทดลองมากที่สุด มา
ศึกษาเปรียบเทียบการเพิ่มความสูงของการฟังเสียงประเภทต่างๆ
วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
1. เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบประเภทของเสียงที่มีผลต่ออัตราการเพิ่มความสูงของผักบุ้ง
2. เพื่อศึกษาอัตราการเพิ่มความสูงของผักบุ้งเมื่อให้ฟังเสียงประเภทต่างๆ
สมมติฐานของการศึกษา
ถ้านำผักบุ้งที่ปลูกทั้ง 3 กระถาง มาฟังเสียงเพลง เสียงสวดมนต์และเสียงด่า ตามลำดับ แล้วการเพิ่ม
ความสูงของผักบุ้งทั้ง 3 กระถางจะแตกต่างกัน โดยผักบุ้งในกระถางที่ 1 จะมีอัตราการเพิ่มความสูงมากกว่า
กว่ากระถางที่ 2 และ 3
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรตัน ประเภทของเสียง ได้แก่ เสียงเพลง เสียงสวดมนต์ เสียงด่า
ตัวแปรตาม อัตราการเพิ่มความสูงของผักบุ้ง
ตัวแปรควบคุม ชนิดของผักบุ้ง ชนิดของดินที่ปลูก ปริมาณดิน ปริมาณน้ำ ระยะเวลาในการปลูก
เวลาในการฟังเสียง ขนาดของกระถาง
2

นิยามเชิงปฏิบัติการ
อัตราการเพิ่มความสูง คือ อัตราส่วนระหว่างความสูงที่เปลี่ยนไป(เซนติเมตร)ต่อเวลา (วัน) หาได้
จากความชันของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มความสูงของผักบุ้งแต่ละกระถางกับเวลา
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ศึกษาทดลองวัดค่าเฉลี่ยการเพิ่มความสูงของผักบุ้งในหน่วยเซนติเมตรในระยะเวลา 30 วันจำนวน
3 กระถาง โดยให้แยกฟังเสียง 3 ประเภท ได้แก่ เสียงเพลง เสียงสวดมนต์ เสียงด่า ในระยะเวลา 15 นาทีใน
แต่ละกระถาง รดน้ำในปริมาณเท่ากันและไม่ใส่ปุ๋ ย
สถานที่ทำโครงงาน
1. โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน
2. บ้านเด็กหญิงปาริชาต แก้วด้วง

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เสียงดนตรี
ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผน
และโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์ เพื่อการบำบัด
-รักษา และเพื่อการศึกษา
ความหมายของดนตรีบำบัด คือ การวางแผนในการใช้กิจกรรมทางดนตรีควบคุม ในกลุ่มของคน
ทุกวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก จนถึงวัยสูงอายุ เพื่อให้เกิดผลบรรลุในการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดมาจากความ
บกพร่องต่างๆ เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ทางร่างกาย และสติปัญญา
3

ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการ


ศึกษาวิจัยพบว่าผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการ
เต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของ
เลือด จึงมีการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัด
(music therapy)
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีหลายประการ เช่น ช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุม
มองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้
และความจำ กระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสาร
และการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง
ๆ ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และช่วยเสริมใน
กระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุม
ตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
เสียงสวดมนต์
ไม่น่าเชื่อว่าหากเราสวดมนต์(ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม) เพื่อให้ใครสักคนหายป่ วย แม้จะอยู่ห่างกัน
คนละซีกโลก แต่พลังแห่งบทสวดนั้นจะเดินทางไปเยียวยาความเจ็บป่ วยของเขาได้ ??? เพราะการสวดมนต์
บำบัดทำให้เกิดทั้งคลื่นเสียงที่สามารถเดินทางลึกเข้าไปในสมอง และคลื่นไฟฟ้ าที่ส่งกระจายไปในชั้น
บรรยากาศไกลๆได้
การสวดมนต์บำบัด คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy หรือ Vibrational Medicine คือการ
ใช้คุณสมบัติของคลื่นบางคลื่นมาบำบัดความเจ็บป่ วย ซึ่งมีหลากหลายวิธี อาทิ เก้าอี้ไฟฟ้ า เครื่องนวดต่างๆ
ก็เป็น Vibrational Therapy เช่นกัน แต่เป็นคลื่นไฟฟ้ าเชิงฟิ สิกส์ ที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ต่างจาก สวดมนต์
บำบัดซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ดังนั้นมาดูพลังแห่งการสวดมนต์บำบัดกัน ว่าคืออะไรและมี
ประโยชน์อย่างไร
คลื่นแห่งการเยียวยา
การสวดมนต์ใช้หลักการทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความสม่ำเสมอ เพื่อเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดการ
เยียวยา ซึ่งหากคลื่นเสียงที่มากระทบดังแบบไร้ระเบียบ คือประกอบด้วยเสียงที่มีความถี่ต่างๆกัน ก็ไม่เกิด
ประโยชน์ต่อการบำบัดกลไกดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อหูของเราได้ยินเสียงบทสวด ก็จะส่งสัญญาณต่อไปยังศูนย์
การได้ยินที่อยู่บริเวณสมองกลีบขมับ ก่อนส่งไปบริเวณก้านสมอง ซึ่งเมื่อได้รับคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอ
ประมาณ 15 นาที ก็จะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์มากมาย
เสียงสวดมนต์ด้วยสมาธิเป็ นยา :ให้ผลกับร่างกายอเนกอนันต์
รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารสุข คณะ
สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเพิ่มเติมดังนี้ “สมองของเราเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่น
เสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาทีขึ้นไป จะทำให้เซลล์ประสาทของระบบประสาทสมองสังเคราะห์สาร
สื่อประสาทหลายๆชนิด บริเวณก้านสมองจะหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ ซีโรโทนิน (serotonin) เพิ่มขึ้น
ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ ช่วยการเรียนรู้ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ลดระดับน้ำตาลในเลือด และ
เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น เมลาโทนิน ซึ่งเปรียบคล้ายกับยาอายุวัฒนะ เพราะ
4

จะช่วยยึดอายุการทำงานของเซลล์ประสาท เซลล์ร่างกาย ให้ชีวิตยืนยาวขึ้น และยังมีคุณสมบัติช่วยให้นอน


หลับ เพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้เซลล์สดชื่นขึ้น รวมถึง โดปามีน มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าวและอาการพาร์กินสัน
นอกจากนี้ปริมาณของซีโรโทนินมีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น อะเซทิล
โคลีน ช่วยในกระบวนการเรียนรู้และความจำ ช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้ความดันลดลง และยังช่วยลด
ปริมาณ อาร์กินิน วาโซเปรสซิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความก้าวร้าว ความสมดุลของน้ำ และซีโรโทนินยัง
เข้าไปลดปริมาณของสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นของการทำงานของต่อมหมวกไตให้ลดลง ส่งผลให้
ระบบประสาทส่วนกลางทำงานน้อยลง ร่างกายจึงรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และไม่เครียด ภูมิต้านทาน
เพิ่มขึ้น” ดังนั้น จุดสำคัญจึงอยู่ที่ร่างกายจะสามารถสร้างสารสื่อประสาทได้หรือไม่ อาจารย์สมพรเสริมว่า
“หลักการสำคัญอยู่ที่หากมีสิ่งเร้า หลายๆประเภทเข้ามารบกวนกระบวนการทำงานของคลื่นสมองพร้อม ๆ
กัน ทำให้สัญญาณคลื่นสมองเปลี่ยนไป การหลั่งสารสื่อประสาทจะสับสน ไม่มีผลในการเยียวยา สิ่งเร้านี้มา
จากหลายส่วน ทั้งตัวเอง เช่น บางคนปากสวดมนต์ แต่คิดฟุ้ งซ่านไปเรื่องอื่น ก็ไม่ได้ประโยชน์ และการเกิด
เสียงดังอื่นๆ เข้ามารบกวนขณะสวดมนต์ เพราะประสาทสัมผัสของมนุษย์รับรู้ได้ไวและอ่อนไหวมาก เรามี
ตัวประสาทรับสัญญาณมากมาย เรารับสิ่งเร้าได้ทั้งจากทางปาก ตา หู จมูก การเคลื่อนไหว และใจ เหล่านี้
ทำให้สัญญาณคลื่นสมองสับสนและเปลี่ยนไป ร่างกายก็จะสร้างซีโรโทนินได้ไม่มากพอ”และไม่ใช่เฉพาะ
สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์เท่านั้นที่เราจะได้จากการสวดมนต์ แต่การสวดมนต์ยังทำให้อวัยวะต่างๆได้
รับการกระตุ้น คล้ายกับการนวดตัวเองจากการเปล่งเสียงสวดมนต์สวดมนต์กระตุ้นอวัยวะ
อาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต อธิบายหลักการนี้ว่า “เวลาเราสวดมนต์นานๆ คำแต่ละคำจะสร้าง
ความสั่นสะเทือนไม่เท่ากันตามฐานที่เกิดของเสียงหรือตามวิธีเปล่งเสียง แม้ว่าเสียงจะออกมาจากปาก
เหมือนกัน แต่ว่าเสียงบางเสียงออกมาจากริมฝีปาก บางเสียงออกมาจากปุ่ มเหงือก บางเสียงออกมาจากไรฟัน
บางเสียงออกมาจากคอ ดังนั้น ถ้าเราสวดมนต์ถูกต้องตามฐานกรณ์จึงเกิดพลังของการสั่น” และเมื่อเกิด
พลังของการสั่น การสั่นนี้จะเข้าไปเยียวยาอาการป่ วยได้อย่างไร อาจารย์เสถียรพงษ์อธิบายต่อว่า
“เวลาเราสวดมนต์ เสียงสวดจะไปช่วยกระตุ้นต่อมต่างๆ ซึ่งจะช่วยปราบเชื้อโรคบางชนิด เช่นการวิจัยของ
ฝรั่ง พบว่า อักษร เอ บี ซี ดี จะช่วยกระตุ้นระบบน้ำย่อย ส่วนบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระ
แต่ละตัวมีคำหนักเบาไม่เท่ากัน บางตัวสั่นสะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย ทำให้ต่อมต่างๆในร่างกาย
ถูกกระตุ้น เมื่อต่อมที่ฝ่ อถูกกระตุ้นบ่อยๆเข้า ก็คงคืนสภาพ อาการป่ วยก็จะดีขึ้น” นอกจากนี้ยังมีบทความที่
อธิบายเกี่ยวกับการฝึกเปล่งเสียงเพื่อรักษาโรคจากเสียงต่างๆ เช่น
โอม กระตุ้นหน้าผาก ฮัม กระตุ้นคอ ยัม กระตุ้นหัวใจ
ราม กระตุ้นลิ่นปี่ วัม กระตุ้นสะดือ ลัม กระตุ้นก้นกบ เป็นต้น
แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น การสวดมนต์ให้ประโยชน์ทางใจที่มีคุณค่ากับผู้สวด รองศาสตราจารย์จุฑาทิพย์
อุมะวิชนี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปว่ามี 2 ข้อคือ
1. การสวดมนต์เป็นเครื่องช่วยให้เกิดสมาธิ โดยต้องสวดเสียงดัง ให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้อง
จดจ่ออยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้ งไปที่อื่น ใจอยู่กับเสียงเดียว จึงเกิดสมาธิ
2. ถ้าเข้าใจความหมายของบทสวดนั้นๆ จะทำให้เรามีความเลื่อมใสศรัทธา เพราะบทสวดของทุก
ศาสนาเป็นเรื่องของความดีงาม จิตใจก็จะสะอาดขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวด
เมื่อร่างกายที่รับสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์และการกระตุ้นระบบอวัยวะต่างๆให้ทำงานเป็นปกติ เท่ากับ
ว่าเราได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ย่อมทำให้ภูมิชีวิตดีขึ้นเป็นลำดับ ความป่ วยก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่ง
5

สอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่อาจารย์สมพร สรุปให้ฟังว่า การสวดมนต์ช่วยบำบัดอาการป่ วยและ


โรคร้ายดังต่อไปนี้
1. หัวใจ 2. ความดันโลหิตสูง 3. เบาหวาน 4. มะเร็ง
5. อัลไซเมอร์ 6. ซึมเศร้า 7. ไมเกรน 8. ออทิสติก
9. ย้ำคิดย้ำทำ 10. โรคอ้วน 11. นอนไม่หลับ 12.พาร์กินสัน
สวดมนต์อย่างไรให้หายจากโรค
สวดมนต์บำบัดมีวิธีการและจุดประสงค์ที่หลากหลาย สรุปออกมาได้ 3 แบบ
1.การสวดมนต์ด้วยตัวเอง
เป็นการเหนี่ยวนำตัวเอง จึงเป็นที่มาของคำว่า Prayer Therapy ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะหากใคร
สักคนคิดที่จะสวดมนต์ นั่นหมายความว่าเขากำลังมีความปรารถนาดีต่อตนเอง วิธีการที่อาจารย์สมพร
แนะนำคือ
- ควรสวดด้วยตัวเอง และไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที ควรทิ้งช่วงให้ร่างกายเริ่มผ่อน
คลาย อาจเป็นเวลาก่อนเข้านอน
- หาสถานที่ที่สงบเงียบ
- สวดบทสั้น ๆ 3-4 พยางค์ โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายได้หลั่งสารซี
โรโทนิน แต่หากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา
- ขณะสวดมนต์ให้หลับตา สวดให้เกิดเสียงดังเพื่อให้ตัวเองได้ยิน
2.การฟังผู้อื่นสวดมนต์
เป็นการเหนี่ยวนำโดยคลื่นเสียงจากผู้อื่น เช่น การฟังเสียงพระสวดมนต์ เสียงผู้นำสวดในศาสนา
ต่างๆ หากผู้สวดมีสมาธิ เสียงสวดนั้นจะนุ่ม ทุ้ม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยา(Healing) ผู้ฟัง แต่หากผู้สวด
ไม่มีสมาธิ ไม่มีความเมตตา เสียงสวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นคลื่นขึ้นๆลงๆ นอกจากจะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่ วย
อาจทำให้เสียสุขภาพได้
3.การสวดมนต์ให้ผู้อื่น
ปรากฏการณ์มากมายที่เราเห็นในสังคม เมื่อใครสักคนเจ็บป่ วย เรามักสวดมนต์อธิษฐานขอให้ความ
เจ็บป่ วยของเขาหายไป บางครั้งอยู่ห่างกันคนละซีกโลก เสียงสวดมนต์เหล่านี้จะมีผลทำให้สุขภาพเขาดีขึ้น
จริงหรือไม่ อาจารย์สมพรอธิบายดังนี้ “คลื่นสวดมนต์ เป็นคลื่นบวก เพราะเกิดจากจิตใจที่ดีงาม ปรารถนาดี
ต่อผู้ป่ วย และเมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณนี้ออกไปสู่ที่ไกลๆ มันจะเดินทางไปในรูปของคลื่นไฟฟ้ า ซึ่งมนุษย์มี
เซลล์สมองที่สามารถส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้ าและสารเคมีได้ถึง สิบยกกำลังสิบ คลื่นนี้จึงเดินทางไปได้ไกลๆ
บางทีพ่อกำลังป่ วยหนักอยู่ที่นี่ แต่ลูกอยู่ต่างประเทศ ก็สามารถรับคลื่นนี้ได้และรู้ว่ามีใครกำลังไม่สบาย ที่เรา
เรียกว่า ลางสังหรณ์หรือสัมผัสที่หก”
“การรับรู้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้รับผู้ส่งด้วย ถ้าคนไหนรับสัญญาณคลื่นแห่งบทสวดมนต์ได้จึงได้ผล
เหมือนเราเปิ ดวิทยุ ถ้าคนฟังปิ ดหูก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นถ้าต่างฝ่ ายต่างเปิ ดรับคลื่นบวกที่เราส่งไปผู้ป่ วยก็จะได้
รับ และทำให้อาการป่ วยดีขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องของความมหัศจรรย์ แต่เป็นหลักธรรมชาติทั่วไปเลือกสวดมนต์
อย่างไรดี
แล้วบทสวดที่เลือกควรใช้บทไหนดี อาจารย์สมพรแนะนำว่า
“น่าแปลกที่บทสวดในศาสนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีจังหวะขึ้นๆ ลงๆ เหมือนจังหวะเพลง จะมีโทน
เสียงแค่ไม้เอกไม้โทเท่านั้น สักสามสี่พยางค์ มาสวดซ้ำไปมาได้ทั้งนั้น พระพุทธศาสนา มีบทสวดมากมาย
6

หลายบท ให้เลือกใช้ตามความชอบ ยกตัวอย่างเช่น อิติปิ โส หรือนะโมตัสสะ นะโมพุทธายะ หรือสัพเพสัต


ตา ฯลฯ เลือกท่อนใดท่อนหนึ่งแล้วสวดวนไปวนมา หรือโพชฌงค์ 7 ที่หลายคนนิยมสวดให้ตัวเองหรือ
คนไข้หายป่ วย“ข้อที่น่าสังเกตคือ บทสวดโพชฌงค์ 7 จะมีความแตกต่างจากบทสวดอื่นๆคือ คลื่นเสียงของ
บทสวดจะมีแค่เสียงสระ มีแค่สองจังหวะ คลื่นเสียงจากบทสวดจึงทำให้เกิดคลื่นที่เยียวยาได้ดีที่สุด”
เสียงด่า
เสียงด่า เป็นเสียงที่ทำให้ผู้รับฟังรู้สึกเดือดดาล ไม่เกิดผลดีแต่อย่างไร เสียงด่าทำให้เกิดความขัด
แย้ง ทั้งผู้สื่อสารและผู้รับฟังและนำไปสู่ความไม่สงบสุขทางสังคม เสียงด่าเมื่อได้ฟังแล้วผู้ที่รับฟังก็ไม่ได้
แสดงกิริยาอะไรที่แสดงว่าไม่พอใจ แต่ยังไงก็ต้องเจ็บใจอยู่ลึกๆ แสดงให้เห็นว่า เสียงด่าทำให้รู้สึกไม่ดี
ผักบุ้ง
ชื่อสามัญ : Thai Water Convolvulus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Foisk./ lpomoea reptans Poir. ( Syn. )
ชื่ออื่น : กรุงเทพฯเรียกว่า ผักทอดยอด ภาคกลางเรียกว่า ผักบุ้งไทย ทั่วไปเรียกว่า ผักบุ้ง ฉาน-แม่ฮ่องสอน
เรียกว่า ผักบุ้งแดง ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา กำจร
ถิ่นกำเนิด : ผักบุ้งเป็นผักพื้นบ้านของไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผักบุ้งเป็นพืชน้ำและเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำ หรือในที่ลุ่มที่มี
ความชื้น หรือในที่ดินแฉะ ลำต้นกลวงสีเขียว มีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบ
สลับ เช่น รูปไข่ รูปไข่แถบขอบขนาด รูปหอก รูปหัวลูกศร ขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อย ดอกตามช่อ
ออกประมาณ 1-5 ดอก
ฤดูกาล : ผักบุ้งทอดยอดตลอดปี โดยเฉพาะหน้าฝนจะให้ยอดมาก
แหล่งปลูก : ขึ้นได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำและบริเวณที่ชื้นแฉะ
การกิน : ผักบุ้งไทยกินยอดอ่อนและใบอ่อนเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกกินกับส้มตำหรือจะนำไปแกงก็ได้
สรรพคุณทางยา : ผักบุ้ง ใช้ถอนพิษเบื่อเมา ราก มีรสจืดเฝื่อนใช้ถอนพิษสำแดง
คุณค่าอาหาร : ผักบุ้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 22 กิโลแคลลอรี ประกอบด้วย เส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3
มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.17 มิลลิกรัม
วิตามินซี 14 มิลลิกรัม

รูปที่ 1 ผักบุ้ง
7

บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

วัสดุอุปกรณ์
1. เมล็ดผักบุ้ง
2. กระถางต้นไม้ 3 กระถาง
3. บัวรดน้ำ 1 อัน
4. โทรศัพท์มือถือ (แหล่งกำเนิดเสียง) 3 เครื่อง
5. ดินสำหรับปลูก
6. ไม้บรรทัด
วิธีการทดลอง
1. นำเมล็ดผักบุ้งมาปลูกในกระถาง 3 ใบกระถางละ 20 ต้น รดน้ำผักบุ้งที่ปลูกในปริมาณที่เท่ากัน เป็น
เวลา 15 วัน เพื่อให้ผักบุ้งเจริญเติบโตพอที่จะวัดความสูงได้
2. นำผักบุ้งแต่ละกระถางตั้งในบริเวณที่ห่างกัน 10 เมตรแล้วให้ผักบุ้งฟังเสียงประเภทต่างๆ ดังนี้
2.1 ผักบุ้งกระถางที่ 1 ฟังเสียงเพลง เป็นเวลา 15 นาที
2.2 ผักบุ้งกระถางที่ 2 ฟังเสียงสวดมนต์ เป็นเวลา 15 นาที
2.3 ผักบุ้งกระถางที่ 3 ฟังเสียงด่า เป็นเวลา 15 นาที
3. วัดความสูงของผักบุ้งในกระถางแต่ละกระถางทุกต้น แล้วหาค่าเฉลี่ยความสูงของผักบุ้งแต่ละ
กระถาง
4. ทำซ้ำแบบข้อ 2 และข้อ 3 เป็นเวลา 30 วัน
5. บันทึกผลการทดลอง
6. นำข้อมูลที่ได้มาเขียนกราฟแสดงการเพิ่มความสูงเฉลี่ยของผักบุ้งแต่ละกระถางในแต่ละวัน
7. หาอัตราการเพิ่มความสูงของผักบุ้งแต่ละกระถางจากความชันของกราฟที่ได้ในข้อ 6.
8. วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง

บทที่ 4
ผลการทดลอง

ตารางบันทึกผลการทดลอง
8

ตารางที่ 1 แสดงความสูงเฉลี่ยของผักบุ้งที่ฟังเสียงแต่ละประเภทในเวลา 30 วัน


ความสูงของผักบุ้งที่ฟังเสียงแต่ละประเภท ความสูงของผักบุ้งที่ฟังเสียงแต่ละประเภท
(เซนติเมตร) วัน (เซนติเมตร)
วันที่
เสียงสวด ที่ เสียงสวด
เสียงเพลง เสียงด่า เสียงเพลง เสียงด่า
มนต์ มนต์
1 6.6 7.2 6.8 16 8.0 8.5 7.7
2 6.7 7.3 6.8 17 8.1 8.6 7.8
3 6.8 7.4 6.9 18 8.2 8.6 7.8
4 6.9 7.4 7.0 19 8.3 8.7 7.9
5 7.0 7.5 7.0 20 8.4 8.8 8.0
6 7.1 7.6 7.0 21 8.5 8.9 8.0
7 7.2 7.6 7.1 22 8.6 9.0 8.1
8 7.3 7.8 7.1 23 8.6 9.1 8.1
9 7.3 7.8 7.2 24 8.7 9.2 8.2
10 7.4 7.8 7.2 25 8.8 9.3 8.3
11 7.5 8.0 7.3 26 8.9 9.6 8.4
12 7.6 8.0 7.3 27 9.1 9.8 8.4
13 7.7 8.1 7.4 28 9.2 10.0 8.5
14 7.8 8.2 7.5 29 9.3 10.1 8.5
15 7.9 8.4 7.6 30 9.4 10.3 8.6

กราฟแสดงการเพิ่มความสูงของผักบุ้งแต่ละกระถางในเวลา 30 วัน
ความสูง (เซนติเมตร)
9

12.00
y = 0.1006x + 6.9267
10.00
y = 0.0945x + 6.4989
8.00 y = 0.065x + 6.6428
6.00 ฟังเสียงสวดมนต์
4.00 ฟังเสียงเพลง
ฟังเสียงด่า
2.00
0.00
เวลา (วัน)
1 3 5 7 9 11 13 15 17 19 21 23 25 27 29

ตารางที่ 2 แสดงอัตราการเพิ่มความสูงของผักบุ้งแต่ละกระถางในเวลา 30 วัน


ผักบุ้งที่ฟังเสียงแต่ละประเภท อัตราการเพิ่มความสูง (เซนติเมตร/วัน)
เสียงเพลง 0.0945
เสียงสวดมนต์ 0.1006
เสียงด่า 0.065

บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
10

สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลองวัดความสูงเฉลี่ยของผักบุ้งที่ได้ฟังเสียงแต่ละประเภทในแต่ละกระถางแล้วนำความ
สูงเฉลี่ยที่ได้มาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มความสูงของผักบุ้งกับเวลา แล้วหาอัตราการ
เพิ่มความสูงของผักบุ้งจากความชันของกราฟ พบว่า ต้นผักบุ้งที่ได้ฟังเสียงเพลงมีอัตราการเพิ่มความสูง
0.0945 เซนติเมตรต่อวัน ต้นผักบุ้งที่ได้ฟังเสียงสวดมนต์มีอัตราการเพิ่มความสูง 0.1006 เซนติเมตรต่อวัน
ต้นผักบุ้งที่ได้ฟังเสียงด่า มีอัตราการเพิ่มความสูง 0.065 เซนติเมตรต่อวัน
ดังนั้น ถ้านำผักบุ้งที่ปลูกทั้ง 3 กระถาง มาฟังเสียงเพลง เสียงสวดมนต์และเสียงด่า ตามลำดับ แล้ว
การเพิ่มความสูงของผักบุ้งทั้ง 3 กระถางจะแตกต่างกัน โดยผักบุ้งที่ได้ฟังเสียงสวดมนต์จะมีอัตราการการ
เพิ่มความสูงมากที่สุด รองลงมาคือ ผักบุ้งในกระถางที่ 1 ให้ฟังเสียงเพลง และผักบุ้งในกระถางที่ 3 ให้ฟัง
เสียงด่า ตามลำดับ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพืชชนิดอื่น เพื่อจะได้ลดการใช้สารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์
และสิ่งแวดล้อม
2. ช่วยเร่งเวลาในการเก็บเกี่ยว หรือเพิ่มผลผลิตของพืชได้
ข้อเสนอแนะ
ควรเพิ่มกระถางปลูกต้นผักบุ้งอีก 1 กระถาง โดยไม่ให้ฟังเสียงใด ๆ เพื่อทดสอบว่าจะได้ผลเป็น
อย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อฟังเสียงเพลง เสียงสวดมนต์และเสียงด่า
11

ภาคผนวก

ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยความสูงของผักบุ้งในแต่ละวัน เป็ นเวลา 30 วัน ที่ได้ฟังเสียงเพลง 15 นาที/วัน


ความสูงของผักบุ้งแต่ละต้น (1 cm ) ความ
ต้นผักบุ้ง สูง
วันที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 เฉลี่ย
1 6.4 6.7 6.8 6.6 6.5 6.9 7.1 7.0 6.7 6.3 6.2 6.5 6.0 6.4 7.0 6.3 6.7 6.4 6.8 6.0 6.6
2 6.5 6.8 6.9 6.7 6.6 6.9 7.1 7.3 6.7 6.5 6.4 6.5 6.2 6.4 7.1 6.5 6.7 6.4 6.8 6.1 6.7
3 6.5 6.8 7.1 6.7 6.8 6.9 7.2 7.5 6.9 6.5 6.5 6.7 6.2 6.6 7.1 6.7 6.9 6.6 7.0 6.4 6.8
4 6.7 6.9 7.2 6.9 6.8 7.1 7.3 7.6 6.9 6.6 6.5 6.8 6.4 6.6 7.3 6.8 6.9 6.7 7.0 6.6 6.9
5 6.8 6.9 7.4 7.0 6.9 7.1 7.3 7.8 7.0 6.8 6.6 6.9 6.5 6.8 7.3 6.8 6.9 6.8 7.2 6.8 7.0
6 6.9 7.0 7.4 7.2 7.0 7.3 7.3 8.0 7.0 6.9 6.8 7.1 6.7 6.8 7.4 6.9 7.0 7.0 7.2 6.8 7.1
7 7.0 7.0 7.5 7.2 7.1 7.3 7.4 8.1 7.2 6.9 6.9 7.1 6.8 7.0 7.5 7.0 7.1 7.0 7.4 7.0 7.2
8 7.0 7.1 7.5 7.3 7.1 7.4 7.5 8.2 7.2 7.0 6.9 7.2 7.0 7.0 7.6 7.1 7.2 7.2 7.4 7.1 7.3
9 7.2 7.2 7.6 7.3 7.2 7.4 7.6 8.3 7.3 7.0 7.0 7.3 7.1 7.1 7.6 7.1 7.3 7.2 7.5 7.2 7.3
10 7.3 7.2 7.7 7.3 7.2 7.5 7.6 8.4 7.3 7.1 7.0 7.4 7.2 7.3 7.6 7.2 7.4 7.3 7.5 7.2 7.4
11 7.4 7.2 7.7 7.4 7.3 7.5 7.7 8.5 7.5 7.2 7.1 7.4 7.2 7.4 7.6 7.3 7.4 7.4 7.6 7.4 7.5
12 7.5 7.3 7.8 7.4 7.5 7.6 7.7 8.7 7.5 7.4 7.2 7.5 7.3 7.5 7.7 7.4 7.5 7.6 7.6 7.5 7.6
13 7.6 7.3 7.8 7.6 7.5 7.7 7.8 9.0 7.7 7.5 7.4 7.5 7.3 7.6 7.7 7.5 7.6 7.7 7.8 7.6 7.7
14 7.6 7.4 7.8 7.7 7.6 7.8 7.9 9.4 7.7 7.5 7.6 7.6 7.5 7.6 7.8 7.7 7.7 7.7 7.8 7.7 7.8
12

15 7.7 7.4 8.3 7.9 7.8 7.8 8.1 9.5 7.8 7.6 7.8 7.6 7.6 7.7 7.8 7.7 7.8 7.8 7.9 7.8 7.9
16 7.9 7.7 8.3 8.1 8.0 7.9 8.2 9.6 7.8 7.7 7.9 7.8 7.6 7.7 7.9 7.8 7.8 7.9 8.0 7.9 8.0
17 8.1 7.8 8.3 8.3 8.1 8.0 8.2 10 7.9 7.8 7.9 7.8 7.8 7.9 7.9 7.8 7.8 7.9 8.0 7.9 8.1
18 8.1 7.9 8.4 8.3 8.2 8.1 8.3 10.3 8.0 7.9 8.0 7.9 7.9 8.1 8.2 7.9 8.1 8.0 8.3 8.0 8.2
19 8.2 7.9 8.5 8.5 8.3 8.1 8.3 10.4 8.1 8.2 8.1 8.0 8.1 8.2 8.2 8.0 8.2 8.0 8.3 8.1 8.3
20 8.2 7.9 8.8 8.5 8.4 8.2 8.4 10.5 8.1 8.2 8.3 8.1 8.2 8.2 8.3 8.1 8.3 8.1 8.4 8.3 8.4
21 8.3 7.9 8.8 8.6 8.4 8.3 8.4 11.3 8.3 8.4 8.3 8.1 8.2 8.3 8.3 8.2 8.3 8.2 8.4 8.3 8.5
22 8.4 7.9 9.0 8.6 8.5 8.3 8.5 11.4 8.3 8.5 8.4 8.3 8.4 8.4 8.5 8.2 8.4 8.2 8.5 8.4 8.6
23 8.5 7.9 9.1 8.8 8.5 8.4 8.6 11.5 8.4 8.6 8.4 8.4 8.4 8.5 8.5 8.3 8.4 8.4 8.5 8.4 8.6
24 8.6 8.0 9.2 8.8 8.6 8.5 8.6 11.7 8.4 8.6 8.5 8.4 8.6 8.5 8.6 8.3 8.5 8.4 8.6 8.5 8.7
25 8.6 8.2 9.2 8.9 8.6 8.5 8.7 11.9 8.5 8.7 8.5 8.5 8.6 8.7 8.6 8.5 8.5 8.6 8.7 8.6 8.8
26 8.7 8.4 9.4 9.0 8.8 8.6 8.7 12.5 8.5 8.7 8.6 8.5 8.7 8.7 8.8 8.5 8.6 8.6 8.7 8.6 8.9
27 8.9 8.5 10.5 9.0 8.8 8.7 8.8 14.4 8.6 8.8 8.6 8.7 8.9 8.8 8.8 8.6 8.6 8.7 8.8 8.7 9.1
28 8.9 8.5 10.6 9.3 8.9 8.7 8.9 14.6 8.8 8.9 8.6 8.7 8.9 8.9 8.8 8.7 8.7 8.7 8.8 8.9 9.2
29 9.0 8.6 10.8 9.5 9.2 8.9 8.9 14.7 8.8 9.0 8.7 8.8 9.0 8.9 8.8 8.7 8.8 8.9 9.0 9.1 9.3
30 9.0 8.7 11.0 9.8 9.5 8.9 9.1 14.9 8.8 9.1 8.9 8.8 9.2 9.0 8.9 8.8 8.8 8.9 9.1 9.1 9.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยความสูงของผักบุ้งในแต่ละวัน เป็ นเวลา 30 วัน ที่ได้ฟังเสียงสวดมนต์15 นาที/วัน
ความสูงของผักบุ้งแต่ละต้น (1 cm ) ความ
วันที่ ต้นผักบุ้ง สูง
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 เฉลี่ย
1 6.9 7.6 7.4 7.5 7.0 7.1 7.3 7.4 6.8 6.9 7.2 7.6 7.5 7.3 7.4 7.6 7.0 7.1 6.7 7.0 7.2
2 7.0 7.8 7.6 7.5 7.1 7.2 7.3 7.4 6.9 6.9 7.2 7.6 7.5 7.4 7.5 7.6 7.0 7.2 6.8 7.0 7.3
3 7.2 7.8 7.8 7.6 7.1 7.2 7.4 7.6 7.0 7.1 7.3 7.7 7.5 7.4 7.5 7.7 7.1 7.2 6.8 7.1 7.4
4 7.2 8.0 7.8 7.7 7.2 7.2 7.4 7.6 7.0 7.1 7.4 7.8 7.6 7.5 7.6 7.7 7.2 7.3 7.0 7.2 7.4
5 7.3 8.2 7.9 7.7 7.3 7.4 7.5 7.6 7.1 7.1 7.4 7.8 7.7 7.5 7.7 7.7 7.2 7.4 7.1 7.2 7.5
6 7.3 8.4 7.9 7.8 7.3 7.5 7.5 7.7 7.1 7.2 7.4 7.9 7.7 7.6 7.7 7.8 7.2 7.5 7.1 7.4 7.6
7 7.4 8.5 8.0 7.8 7.5 7.5 7.6 7.7 7.2 7.2 7.5 7.9 7.9 7.6 7.7 7.8 7.3 7.5 7.2 7.5 7.6
8 7.6 8.6 8.1 8.0 7.5 7.6 7.6 7.8 7.3 7.4 7.5 8.1 7.9 7.7 7.9 7.8 7.4 7.5 7.2 7.6 7.8
9 7.7 8.7 8.3 8.0 7.6 7.6 7.8 7.8 7.4 7.5 7.7 8.1 8.0 7.7 7.9 7.9 7.4 7.6 7.3 7.6 7.8
10 7.8 8.9 8.3 8.1 7.6 7.7 7.8 7.9 7.6 7.5 7.7 8.2 8.2 7.9 8.0 7.9 7.6 7.7 7.5 7.7 7.8
11 7.8 9.0 8.5 8.2 7.8 7.9 7.9 7.9 7.6 7.6 7.8 8.2 8.2 8.0 8.0 8.1 7.6 7.7 7.5 7.8 8.0
12 8.0 9.2 8.6 8.2 7.9 7.9 8.0 8.1 7.7 7.6 7.9 8.3 8.2 8.0 8.2 8.2 7.8 7.8 7.6 7.8 8.0
13 8.3 9.3 8.7 8.3 7.9 8.1 8.0 8.2 7.7 7.8 7.9 8.3 8.3 8.1 8.2 8.2 7.8 7.8 7.7 7.9 8.1
14 8.4 9.5 8.8 8.5 8.0 8.1 8.0 8.2 7.9 7.8 8.0 8.4 8.4 8.1 8.2 8.3 7.9 7.9 7.7 7.9 8.2
15 8.7 10.0 9.8 8.7 8.3 8.2 8.1 8.3 8.0 7.8 8.0 8.4 8.4 8.2 8.3 8.4 8.0 7.9 7.8 8.0 8.4
16 8.8 10.4 10.5 8.7 8.3 8.3 8.1 8.4 8.0 7.9 8.1 8.5 8.4 8.2 8.3 8.5 8.1 8.0 8.1 8.0 8.5
17 8.9 10.5 11.0 8.8 8.5 8.3 8.2 8.4 8.2 8.0 8.2 8.5 8.5 8.3 8.4 8.5 8.1 8.0 8.1 8.1 8.6
18 8.9 10.5 11.0 9.0 8.5 8.4 8.3 8.5 8.2 8.2 8.3 8.6 8.5 8.3 8.4 8.6 8.2 8.1 8.2 8.2 8.6
19 8.9 10.5 11.0 9.1 8.6 8.4 8.5 8.5 8.3 8.4 8.3 8.6 8.7 8.5 8.6 8.7 8.2 8.1 8.2 8.2 8.7
20 8.9 10.6 11.2 9.1 8.6 8.5 8.5 8.7 8.4 8.4 8.5 8.6 8.8 8.6 8.7 8.8 8.3 8.3 8.4 8.3 8.8
21 9.0 10.7 11.5 9.3 8.7 8.6 8.7 8.7 8.5 8.5 8.5 8.7 8.8 8.6 8.7 8.8 8.4 8.3 8.4 8.3 8.9
13

22 9.1 10.7 11.6 9.4 8.7 8.6 8.8 8.9 8.7 8.5 8.7 8.8 8.9 8.8 9.0 8.9 8.6 8.4 8.5 8.6 9.0
23 9.2 10.7 11.6 9.6 8.9 8.7 8.8 8.9 8.7 8.7 8.7 8.8 8.9 8.8 9.1 8.9 8.8 8.5 8.5 8.6 9.1
24 9.4 10.9 12.0 9.6 8.9 8.9 9.0 9.0 8.8 8.8 8.9 8.9 9.1 8.9 9.2 9.0 8.9 8.6 8.6 8.7 9.2
25 9.6 11.1 12.1 9.8 9.1 9.0 9.0 9.1 8.9 8.8 8.9 9.0 9.1 9.0 9.2 9.0 8.9 8.8 8.6 8.8 9.3
26 10.3 12.4 13.5 10.0 9.4 9.2 9.2 9.1 8.9 8.9 9.1 9.0 9.2 9.0 9.2 9.3 9.0 8.9 8.8 8.9 9.6
27 11.3 12.9 13.9 10.0 9.6 9.5 9.4 9.1 9.1 9.0 9.3 9.1 9.3 9.2 9.4 9.3 9.0 9.1 8.9 9.0 9.8
28 11.5 13.2 14.3 10.2 9.8 9.5 9.4 9.4 9.3 9.2 9.3 9.1 9.3 9.2 9.5 9.6 9.2 9.1 9.0 9.2 10.0
29 11.7 13.4 14.5 11.0 10.2 9.7 9.5 9.4 9.4 9.3 9.5 9.2 9.5 9.4 9.5 9.6 9.2 9.4 9.5 9.3 10.1
30 11.8 14 14.6 11.4 10.6 9.9 9.6 9.5 9.6 9.7 9.5 9.4 9.6 9.4 9.6 9.7 9.5 9.4 9.5 9.4 10.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยความสูงของผักบุ้งในแต่ละวัน เป็ นเวลา 30 วัน ที่ได้ฟังเสียงด่า 15 นาที/วัน
ความสูงของผักบุ้งแต่ละต้น (1 cm ) ความ
วันที่ ต้นผักบุ้ง สูง
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 เฉลี่ย
1 6.9 6.8 6.9 6.7 6.6 6.7 6.8 7.0 6.9 7.1 6.8 6.5 6.9 6.4 6.7 6.6 7.0 6.5 6.8 6.6 6.8
2 7.0 6.9 7.0 6.8 6.7 6.7 6.8 7.0 7.0 7.1 6.8 6.6 6.9 6.5 6.7 6.6 7.0 6.6 6.8 6.7 6.8
3 7.1 7.1 7.1 6.9 6.7 6.8 6.9 7.1 7.1 7.2 6.9 6.6 6.9 6.5 6.8 6.7 7.1 6.6 6.9 6.8 6.9
4 7.2 7.2 7.2 6.9 6.8 6.9 7.0 7.2 7.1 7.2 6.9 6.7 7.0 6.6 6.8 6.7 7.1 6.7 6.9 6.8 7.0
5 7.3 7.2 7.3 7.0 6.8 6.9 7.0 7.2 7.1 7.3 6.9 6.7 7.0 6.6 6.9 6.7 7.2 6.7 7.0 6.8 7.0
6 7.3 7.2 7.3 7.0 6.9 7.0 7.0 7.2 7.2 7.3 6.9 6.7 7.0 6.7 6.9 6.8 7.2 6.7 7.0 6.8 7.0
7 7.4 7.3 7.4 7.1 6.9 7.0 7.0 7.3 7.2 7.4 7.0 6.8 7.1 6.7 6.9 6.8 7.3 6.8 7.0 6.9 7.1
8 7.5 7.4 7.5 7.1 7.0 7.1 7.1 7.3 7.2 7.4 7.0 6.8 7.1 6.8 7.0 6.8 7.3 6.8 7.1 6.9 7.1
9 7.5 7.4 7.6 7.1 7.1 7.1 7.1 7.4 7.2 7.5 7.1 6.8 7.2 6.8 7.1 6.9 7.4 6.9 7.1 7.0 7.2
10 7.6 7.5 7.7 7.2 7.2 7.2 7.2 7.4 7.3 7.5 7.1 6.9 7.3 6.9 7.1 6.9 7.4 6.9 7.2 7.1 7.2
11 7.6 7.6 7.7 7.2 7.2 7.2 7.3 7.5 7.4 7.6 7.2 6.9 7.3 6.9 7.1 6.9 7.4 7.0 7.2 7.1 7.3
12 7.7 7.6 7.8 7.3 7.3 7.4 7.3 7.5 7.4 7.6 7.3 7.0 7.3 7.0 7.2 7.0 7.5 7.1 7.3 7.1 7.3
13 7.8 7.6 7.8 7.4 7.4 7.5 7.4 7.6 7.5 7.7 7.4 7.1 7.3 7.1 7.2 7.1 7.5 7.1 7.3 7.2 7.4
14 7.9 7.6 7.9 7.5 7.4 7.5 7.5 7.6 7.5 7.7 7.4 7.2 7.4 7.2 7.3 7.2 7.6 7.2 7.4 7.3 7.5
15 8.4 7.7 8.6 7.5 7.6 7.7 7.5 7.7 7.6 7.8 7.5 7.3 7.5 7.2 7.3 7.3 7.7 7.3 7.4 7.4 7.6
16 8.4 7.7 8.8 7.7 7.6 7.8 7.6 7.7 7.6 7.8 7.5 7.3 7.5 7.3 7.4 7.3 7.8 7.4 7.5 7.6 7.7
17 8.4 7.7 9.1 7.8 7.7 7.9 7.8 7.8 7.9 7.9 7.5 7.4 7.6 7.5 7.4 7.3 7.8 7.5 7.6 7.6 7.8
18 8.5 7.7 9.3 7.9 7.7 7.9 7.8 7.8 7.9 8.0 7.7 7.4 7.7 7.5 7.4 7.5 7.9 7.6 7.7 7.8 7.8
19 8.5 7.7 9.4 8.0 7.8 7.9 7.9 7.9 8.0 8.0 7.7 7.5 7.7 7.6 7.4 7.6 7.9 7.7 7.7 7.8 7.9
20 8.5 7.8 9.4 8.1 7.8 8.0 8.0 8.1 8.0 8.0 7.7 7.5 7.8 7.6 7.5 7.6 8.0 7.7 7.8 7.9 8.0
21 8.5 7.8 9.4 8.1 7.9 8.0 8.0 8.2 8.1 8.1 7.8 7.6 7.8 7.7 7.5 7.7 8.0 7.8 7.9 8.0 8.0
22 8.6 7.8 9.5 8.2 8.0 8.1 8.1 8.3 8.1 8.2 7.8 7.7 7.8 7.8 7.6 7.8 8.1 7.9 7.9 8.1 8.1
23 8.7 7.9 9.5 8.2 8.1 8.2 8.1 8.3 8.2 8.2 7.9 7.8 7.9 7.9 7.7 7.8 8.1 7.9 8.0 8.1 8.1
24 8.7 8.0 9.7 8.3 8.1 8.2 8.2 8.4 8.2 8.3 8.0 7.9 7.9 8.0 7.8 7.9 8.2 8.0 8.1 8.2 8.2
25 8.7 8.0 9.8 8.5 8.2 8.3 8.3 8.4 8.3 8.4 8.2 8.0 7.9 8.1 7.8 7.9 8.2 8.0 8.2 8.3 8.3
26 8.7 8.1 10.0 8.6 8.3 8.4 8.4 8.5 8.4 8.4 8.3 8.1 8.0 8.2 8.0 7.9 8.2 8.0 8.3 8.3 8.4
27 8.8 8.3 10.1 8.6 8.3 8.5 8.5 8.6 8.4 8.5 8.3 8.1 8.0 8.2 8.1 8.0 8.3 8.2 8.3 8.4 8.4
14

28 8.9 8.3 10.1 8.7 8.4 8.5 8.6 8.7 8.5 8.5 8.4 8.1 8.1 8.2 8.1 8.1 8.4 8.3 8.4 8.5 8.5
29 8.9 8.3 10.2 8.7 8.4 8.6 8.7 8.7 8.5 8.5 8.5 8.2 8.2 8.3 8.2 8.1 8.5 8.3 8.4 8.5 8.5
30 8.9 834 10.2 8.8 8.5 8.7 8.8 8.8 8.6 8.6 8.5 8.2 8.2 8.4 8.2 8.1 8.6 8.4 8.5 8.6 8.6

รูปที่ 2 ต้นผักบุ้งที่เริ่มฟังเสียงเพลง

รูปที่ 3 ต้นผักบุ้งที่เริ่มฟังเสียงสวดมนต์
15

รูปที่ 4 ต้นผักบุ้งที่เริ่มฟังเสียงด่า
บรรณานุกรม
ดนตรีบำบัด.(21 มิถุนายน 2552).Available URL: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=
1715112e241aab28&fid=1715112e 241aab2800046a946705a4da
ผักบุ้ง.(21 มิถุนายน 2552).Available URL: http://www.adirek.com/stwork/fruitvet/bung.htm
สวดมนต์บำบัด. (21 มิถุนายน 2552).Available URL: http://watnamprai. igetweb.com
/index.php ?mo=3&art=214592

You might also like