Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 18

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน

จงเลือกข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ลำดับทางเดินอาหารในสัตว์พวก นก เป็นไปตามลักษณะใด
ก. ปาก หลอดอาหาร ถุงพักอาหาร ลำไส้ ค. ปาก หลอดอาหาร ถุงพักอาหาร กึ๋น
ข. ปาก ถุงพักอาหาร กึ๋น ลำไส้ ง. ปาก หลอดอาหาร กึ๋น ถุงพักอาหาร
2. น้ำย่อยชนิดใดมีการหลั่งที่ลำไส้เล็กของคน
ก. อะไมเลส เรนนิน ข. อะไมเลส ลิเพส ค. ไลเปส เพปซิน ง. เพปซิน ทริปซิน
3. ในการย่อยอาหารของคน ข้อความใดถูกต้องที่สุด
ก. ในหลอดอาหารมีการย่อยอาหารประเภทแป้ ง
ข. ในกระเพาะอาหารมีการย่อยอาหารเกิดขึ้น แต่ยังไม่มีการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วเหล่า
นั้น
ค. สารที่หลังจากกระเพาะช่วยย่อยอาหาร ประเภทโปรตีนเท่านั้น
ง. ในลำไส้เล็กการย่อยเกิดขึ้นมากที่สุดที่เจจูนัม และการดูดซึมมากที่สุดที่ไอเลียม
4. สารที่ระบบย่อยอาหารสร้างขึ้น แต่ไม่ใช่น้ำย่อย ได้แก่
ก. NaHCO3 , HCl , ptyalin ค. NaHCO3 , HCl , mucus , chymotrypsin
ข. NaHCO3 , HCl , mucus , bile ง. NaHCO3 , HCl , mucus , pepsinogen
5. ลำดับของสารจากโมเลกุลใหญ่ไปยังโมเลกุลเล็ก ที่ถูกต้องเป็นดังนี้
ก. โปรตีน ไดเพปไทด์ เพปไทด์ กรดอะมิโน
ข. โปรตีน เพปไทด์ ไดเพปไทด์ กรดอะมิโน
ค. กรดอะมิโน เพปไทด์ ไดเพปไทด์ โปรตีน
ง. เพปไทด์ โปรตีน ไดเพปไทด์ กรดอะมิโน
6. ลำไส้เล็กมีหน้าที่แตกต่างจากทางเดินอาหารส่วนอื่น คือ
ก. มีการดูดซึมน้ำและเกลือแร่ ค. มีการย่อยโปรตีนและน้ำตาล
ข. มีการย่อยแป้ งเป็นน้ำตาล ง. มีการย่อยไขมัน
7. เมื่อเคี้ยวข้าวไปนาน ๆ ข้าวที่เคี้ยวจะประกอบด้วยสารประเภทใด
ก. แป้ ง มอลโทส กลูโคส ค. เดกซ์ทริน ซูโครส กลูโคส
ข. มอลโทส กลูโคส เดกซ์ทริน ง. มอลโทส กลูโคส ซูโครส

8. ข้อใดที่ผิดจากความเป็นจริง
ก. เซลล์ที่บุผนังลำไส้ใหญ่สามารถดูดน้ำ เกลือแร่ และวิตามินได้ ยกเว้น กลูโคส
ข. การกินอาหารที่มีกาก เช่น ผลไม้ ผัก และการออกกำลังกายช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติดี
ค. วิธีตรวจสอบว่าไส้ติ่งอักเสบหรือไม่ อาจทำได้โดยกดบริเวณท้องน้อยด้านขวา
ง. การสำลักขณะกลืนอาหารมักเนื่องจากอาหารพลัดตกลงไปในหลอดลมและฝาปิ ดกล่อง
เสียงเปิ ด
9. ถ้ากระเพาะอาหารไม่สามารถสร้างกรดเกลือได้ อาหารประเภทใดจะได้รับความกระทบ
กระเทือนต่อกระบวนการย่อยมากที่สุด
ก. โปรตีน ข. ไขมัน ค. คาร์โบไฮเดรต ง. ไกลโคโปรตีน
ข้อมูล จงศึกษาแผนภาพการทดลองข้างล่างนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 10 - 11

10. การทดลองนี้ชุดใดเป็นชุดควบคุม ( control )


ก. ชุดที่ 1 ข. ชุดที่ 2
ค. ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ง. ชุดที่ 2 และ ชุดที่ 3
11. ทำไมเมื่อเวลามากขึ้น สารละลายในหลอดชุดที่ 1 เมื่อทำปฏิกิริยากับไอโอดีน จึงมีสีน้ำเงินจาง
ก. แป้ งในหลอดชุดที่ 1 ลดลง ค. น้ำตาลในหลอดชุดที่ 1 ลดลง
ข. น้ำตาลในหลอดชุดที่ 1 เพิ่มขึ้น ง. เอนไซม์ในน้ำลายทำงานดีขึ้น
12. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. นักเรียนจะรู้สึกปวดฟัน เมื่อสารเคลือบฟันถูกทำลาย
ข. ทางเดินอาหารของพลานาเรีย ซับซ้อนกว่าทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน
ค. เมื่ออาหารที่ย่อยแล้วถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ อาหารที่ย่อยไม่ได้จะถูกขจัดออกภายนอก
ร่างกายโดยเป็นกากอาหาร
ง. การย่อยในลำไส้เล็กนั้น น้ำย่อยที่สำคัญส่วนใหญ่มาจากตับ
13. ทางเดินอาหารส่วนใดของคนถือว่ามีกระบวนการย่อยทางเคมีที่แท้จริง เป็นส่วนแรก
ก. ปาก ข. กระเพาะอาหาร ค. ลำไส้เล็ก ง. ไส้ตรง
14. น้ำย่อยใดต่อไปนี้ไม่ใช่น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
ก. เรนนิน ข. ไลเปส ค. ทริปซิน ง. เพปซิโนเจน
15. ส่วนใดของลำไส้เล็ก ที่มีการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วมากที่สุด
ก. ดูโอดีนัม ข. เจจูนัม ค. ไอเลียม ง. พิลอริก
16. น้ำถือเป็นสารสำคัญที่จะต้องใช้ในร่างกายเพราะ
ก. ให้พลังงาน
ข. สร้างเสริมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเหมือนโปรตีน
ค. ช่วยในการย่อย ขับถ่ายของเสีย ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
ง. ส่งสารเคมี ที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย
17. epiglottis หรือฝาปิ ดกล่องเสียงทำหน้าที่อย่างใดในระบบย่อยอาหาร
ก. กั้นอาหารเอาไว้ในกระเพาะในช่วงย่อยอาหาร ค. เป็นแหล่งสร้างเอนไซม์สำคัญ
ข. กั้นอาหารไม่ให้ลงไปยังปอด ง. ทำหน้าที่ดูดซึมอาหาร
18. หน้าที่สำคัญของลำไส้ใหญ่คือ
ก. ดูดน้ำกลับเข้าร่างกาย ค. ย่อยโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮรเดรต
ข. ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยยาก เช่น เซลลูโลส ง. ย่อยวิตามิน เกลือแร่ และน้ำดี
19. ในการพัฒนาฟันกรามมีประโยชน์สำหรับสัตว์ในการ
ก. ส่งเสียงได้ดีขึ้น ค. หายใจได้ง่ายขึ้น
ข. ดูหน้าตาดีขึ้น ง. ปรับตัวได้กับอาหารต่างชนิด
20. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีเพดานอยู่ภายในปก เพื่อ
ก. เคี้ยวอาหารและหายใจในเวลาเดียวกัน ค. เก็บอาหารไว้ในปากได้นานขึ้น
ข. ลิ้มรสอาหารได้ดีขึ้น ง. ใช้ดมกลิ่นเหยื่อ
21. เมื่อกินขนมชั้นเข้าไปในร่างกายจะย่อยขนมชั้นเสร็จสมบูรณ์ที่บริเวณใด
ก. ปาก ข. ลำไส้เล็ก ค. กระเพาะ ง. ปากกับลำไส้เล็ก
22. อวัยวะใดที่สามารถผลิตได้ทั้งน้ำย่อยและฮอร์โมน
ก. ตับ ข. ตับอ่อน ค. ลำไส้เล็ก ง. ลำไส้ใหญ่
23. ข้อใดจะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงที่สุด
ก. โปรตีน 100 โมเลกุล , เพปซิน 1,000 โมเลกุล , pH 2
ข. โปรตีน 1,000 โมเลกุล , เพปซิน 1,000 โมเลกุล , pH 2
ค. โปรตีน 100 โมเลกุล , เพปซิน 1,000 โมเลกุล , pH 7
ง. โปรตีน 1,000 โมเลกุล , เพปซิน 1,000 โมเลกุล , pH 7
จงศึกษาแผนภาพนี้แล้วตอบคำถามข้อ 24 – 25
สารที่มีโมเลกุลซับซ้อนขึ้น
1 2
อาหารและสารอาหาร สารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กในเซลล์
3
หมายเลข 1 , 2 และ 3 หมายถึงกระบวนการ CO2 และน้ำ

24. การสังเคราะห์โปรตีนจัดอยู่ในกระบวนการข้อใด
ก. กระบวนการที่ 1 ค. กระบวนการที่ 1
ข. กระบวนการที่ 1 ง. กระบวนการที่ 1
25. กระบวนการใดที่จัดอยู่ในกระบวนการที่ 1
ก. การย่อยและการดูดซึมอาหาร ค. การขับถ่าย
ข. การหายใจ ง. การสังเคราะห์โปรตีน
26. เหตุที่เราไม่ถือน้ำดีเป็นเอนไซม์ เพราะ
ก. น้ำดีไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารตั้งต้น
ข. ปฏิกิริยาระหว่างน้ำดีกับสารตั้งต้นไม่มีน้ำเข้าร่วม
ค. เมื่อน้ำดีทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้นแล้ว สภาพของน้ำดีเปลี่ยนไป
ง. ปฏิกิริยาเคมีของน้ำดีกับสารตั้งต้นไม่ให้พลังงานออกมา
27. หากถุงน้ำดีถูกตัดออก ข้อบกพร่องของระบบทางเดินอาหารที่เกิดขึ้น คือ
ก. เป็นแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้ ค. ไม่สามารถสร้าง Lipase ได้
ข. เบื่ออาหาร ง. อาหารไขมันไม่สามารถถูกย่อยได้

28. ต่อไปนี้สิ่งใดไม่ใช่หน้าที่ของตับ
ก. สร้าง digestive enzyme ค. คุมระดับน้ำตาลในเลือด
ข. สร้าง urea ง. ทำลายสารพิษ
29. ท่านสามารถที่จะกลืนน้ำลายพร้อม ๆ กับหายใจได้หรือไม่
ก. ได้ เพราะมีหลอดลมกับหลอดอาหารแยกกัน ค. ไม่ได้ เพราะมี epiglottis ปิ ดหลอดลม
ข. ได้ เพราะมี epiglottis ปิ ดหลอดลม ง. ไม่ได้ เพราะมี epiglottis ปิ ดหลอดอาหาร
30. ในขณะเคี้ยวข้าว จะรู้สึกว่ามีรสหวานเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
ก. มีน้ำตาลอยู่ในข้าว ค. น้ำลายทำให้เกิดความหวาน
ข. ข้าวมีรสหวานอยู่แล้ว ง. เอนไซม์ในน้ำลายเปลี่ยนข้าวให้เป็นน้ำตาล
31. บริเวณของทางเดินอาหารที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นมากที่สุด คือ
ก. กระเพาะ ข. ดูโอดีนัม ค. ไอเลียม ง. โคลอน
32. หน้าที่สำคัญของตับอ่อน คือ
ก. สร้างเอนไซม์ ค. สร้างเอนไซม์และฮอร์โมน
ข. สร้างฮอร์โมน ง. สร้างน้ำดีและเอนไซม์
33. อวัยวะใดที่ไม่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการย่อยไขมัน
ก. ตับ ข. กระเพาะอาหาร ค. ลำไส้เล็ก ง. ตับอ่อน
34. แหล่งสะสมคาร์โบไฮเดรต
ก. ตับและตับอ่อน ค. กระดูกและพังผืดหน้าท้อง
ข. ตับอ่อนและไต ง. ตับและกล้ามเนื้อ
35. ฟันแท้ในจำนวนที่เต็มที่ของคนจะมีจำนวนดังในตารางข้อใด
ก ข ค ง
Incissor บน 6 ล่าง 6 บน 6 ล่าง 6 บน 4 ล่าง 4 บน 4 ล่าง 4
Canine บน 2 ล่าง 2 บน 2 ล่าง 2 บน 2 ล่าง 2 บน 2 ล่าง 2
Premolar บน 4 ล่าง 4 บน 2 ล่าง 2 บน 4 ล่าง 4 บน 4 ล่าง 4
Molar บน 5 ล่าง 5 บน 6 ล่าง 6 บน 5 ล่าง 5 บน 6 ล่าง 6
36. ถ้าในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ปราศจากแบคทีเรียชนิด Escherichia coil แล้วจะมีผลทำให้
ก. ร่างกายขาดวิตามินบางอย่าง ค. การสลายกากอาหารเป็นไปได้ช้า
ข. เกิดการสะสมสารพิษบางอย่าง ง. ร่างกายจะมีสุขภาพดีขึ้น
37. ขณะที่ท่านเคี้ยวข้าวอยู่ในปากเพียงชั่วครู่ ข้าวจะถูกย่อยสลายเป็น
ก. เดกซ์ทริน ข. เรนนิน ค. ไซม์ ง. เพปไทด์

38. น้ำย่อยจากตับอ่อนประกอบด้วยเอนไซม์
ก. ลิเพสและทริปซิน ค. ลิเพสและอะไมเลส
ข. ลิเพสและคาร์บอกซิเพปทิเดส ง. ลิเพส อะไมเลสและคาร์บอกซิเพปทิเดส
39. โซเดียมไบคาร์บอเนตที่ตับอ่อนส่งไปยัง ดูโอดีนัม นั้นเพื่อทำหน้าที่
ก. ย่อยอาหารโปรตีน ค. ทำให้ไขมันแตกตัว
ข. ย่อยอาหารไขมัน ง. ทำให้ pH ในลำไส้เหมาะสมกับการทำงานของเอนไซม์
40. ทริปซิน ( trypsin ) และไมโครทริปซิน ( chymotrypsin ) เป็นน้ำย่อยที่มีคุณสมบัติเหมือนกันคือ
ก. สร้างขึ้นโดยกระเพาะอาหาร เพื่อทำหน้าที่ย่อยโปรตีน
ข. เมื่อได้รับการกระตุ้นจากเกลือน้ำดีจะทำหน้าที่ทอนก้อนไขมันให้มีอนุภาคเล็กลง
ค. สร้างขึ้นจากลำไส้เล็กส่วนที่เรียกว่า ดูโอดีนัม เพื่อทำหน้าที่ย่อยไขมัน
ง. เป็นน้ำย่อยโปรตีน แต่อยู่ในสภาพที่ยังไม่พร้อมที่จะทำงานได้ จนกว่าจะได้รับการกระ
ตุ้นจากสารที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้นมา
41. อาหารประเภทใดที่สามารถซึมผ่านเส้นเลือดฝอยใน villus ของลำไส้เล็กได้
ก. เพปไทด์ ค. มอลโทส
ข. โมเลกุลของกรดไขมัน ง. วิตามิน
42. หากปราศจากกระเพาะอาหาร อาหารประเภทใดที่จะได้รับความกระทบกระเทือนต่อ
กระบวนการย่อยอาหารมากที่สุด
ก. คาร์โบไฮเดรต ค. ไขมัน
ข. โปรตีน ง. ข้อ ข และ ข้อ ค ถูก
43. อาหารพวกใดที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในคนไข้ที่เป็นโรคดีซ่าน
ก. ข้าวผัด ข. ไก่ย่าง ค. ถั่วลิสง ง. ผักสด
44. สิ่งที่จะถูกย่อยสลายได้ดีในน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารคน คือ
ก. เผือก ข. เนย ค. ปลา ง. น้ำผึ้ง
45. ตับทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดย
ก. หลั่งอินซูลินมากขึ้น เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ข. หลั่งน้ำย่อยและเกลือน้ำดีช่วยเร่งการย่อยคาร์โบไฮเดรตและการดูดซึมน้ำตาล
ค. ควบคุมปฏิกิริยา : ไกลโคเจน กลูโคส
ง. ควบคุมปฏิกิริยา : กรดอะมิโน น้ำตาล
46. ถ้าท่านทราบว่าโรคกระเพาะอาหารนั้นเกิดจากการที่กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยอาหารและกรด
ไฮโดรคลอริกออกมามากเกินไป ท่านจะแนะนำผู้ป่ วยเป็นโรคนี้ละเว้นการปฏิบัติข้อใด
ก. รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น ค. รับประทานเนื้อสัตว์
ข. ดื่มนมมาก ๆ ง. งดดื่มกาแฟ
น้ำ
47. ก้อนไขมัน ไขมันที่แตกตัว กรดไขมัน + กลีเซอรอล
( ก) (ข)
จากสมการแสดงการย่อยอาหารจำพวกไขมันในทางเดินอาหารนี้ สาร ก และ ข หลั่งมาจากที่ใด
ก. (ก) ตับ (ข) ลำไส้เล็ก
ข. (ก) ตับ (ข) ลำไส้เล็กและตับอ่อน
ค. (ก) ลำไส้เล็ก (ข) ตับอ่อน
ง. (ก) ตับอ่อน (ข) กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
48. การย่อยทางเคมีในทางเดินอาหารของคน ใช้เอนไซม์ (ก) ลิเพส (ข) เกลือน้ำดี (ค) ทริปซิน (ง)
คาร์บอกซิเพปทิเดส สำหรับปฏิกิริยาในสมการ
1 2
โปรตีน เพปไทด์ กรดอะมิโน และสมการ
4 3
ก้อนไขมัน ไขมันที่แตกตัว กรดไขมัน
เอนไซม์สำหรับปฏิกิริยา 1 , 2 , 3 , 4 ตามลำดับเป็นดังนี้
ก. ก , ข , ค , ง ข. ค , ง , ข , ก ค. ข , ก , ง , ค ง. ค , ง , ก , ข
49. แหล่งที่สร้างเอนไซม์อะไมเลส คือ
ก. ต่อมน้ำลาย ค. ตับอ่อน
ข. ต่อมที่ผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ ง. ก และ ค
50. เมื่อท่านรับประทานขนมปังทาเนย ตามด้วยหมูแฮม ไข่ดาว ท่านคิดว่าอาหารชนิดใดที่ถูกย่อย
เป็นอันดับแรกและอันดับสุดท้าย
ก. ขนมปัง เนย ค. หมูแฮม ไข่ดาว
ข. ขนมปัง หมูแฮม ง. ไข่ดาว เนย
51. ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
ก. น้ำดีเป็นน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ๆ สำหรับย่อยโปรตีน
ข. สารอาหารชนิดแรกที่ถูกย่อยคือ คาร์โบไฮเดรต
ค. ในกระเพาะอาหารมีการย่อยอาหารพวกโปรตีน
ง. เจจูนัมเป็นบริเวณที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุด
52. กำหนดให้
1 = ปาก 2 = คอหอย 3 = กระเพาะอาหาร 4 = ลำไส้เล็ก 5 = ลำไส้ใหญ่
การย่อยเชิงกลจะเกิดขึ้นที่ใดบ้าง
ก. 1 ข. 1 และ 2 ค. 1 , 2 และ 3 ง. 1 , 2 , 3 , 4 และ 5
53. คนเราจะหายใจและกลืนอาหารพร้อมกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ได้ เพราะหลอดลมและหลอดอาหารเป็นคนละช่อง
ข. ได้ เพราะระบบควบคุมการกลืนและระบบหายใจไม่เกี่ยวข้องกัน
ค. ไม่ได้ เพราะฝาปิ ดกล่องเสียงจะปิ ดหลอดลมเมื่อกลืนอาหาร
ง. ไม่ได้ เพราะเพดานอ่อนจะถูกลิ้นดันไปปิ ดช่องอากาศ ทำให้อากาศไม่เข้าหลอดลม
54. จากแผนภาพข้างล่างนี้

A และ B คือ
ก. A คลอโรฟิ ลล์ B ไมโทคอนเดรีย ค. A ไมโทรคอนเดรีย B คลอโรฟิ ลล์
ข. A คลอโรพลาสต์ B ไมโทคอนเดรีย ง. A ไมโทรคอนเดรีย B คลอโรพลาสต์
55. จากแผนภาพข้างล่างแสดงการใช้พลังงานในรูปต่าง ๆ อยากทราบว่า A คืออะไร B คืออะไร
ก. A คือ O2 B คือ CO2 ค. A คือ ATP B คือ ADP
ข. A คือ CO2 B คือ O2 ง. A คือ ADP B คือ ATP
56. ในไกลโคลิซิส และวัฏจักรเครบส์ มีสิ่งที่เหมือนกันคือ
ก. มีการใช้น้ำ ค. ได้ ATP
ข. สลายตัวให้คาร์บอนไดออกไซด์ ง. มีการใช้ออกซิเจน
57. ในไกลโคลิซิส และวัฏจักรเครบส์ มีสิ่งที่แตกต่างกันคือ
ก. มีการใช้น้ำ ค. ส่ง H+ ให้กับ NAD+
ข. สลายตัวให้คาร์บอนไดออกไซด์ ง. ทั้งข้อ ก และข้อ ข
จากแผนภาพข้างล่างนี้ ใช้ตอบคำถามข้อ 58 – 59

58. A คือ
ก. การสังเคราะห์ด้วยแสง ค. การสังเคราะห์ไขมัน
ข. การสังเคราะห์โปรตีน ง. ไกลโคลิซิส
59. B และ C คืออะไร
ก. B คือกลูโคส C คือกรดไพรูวิก ค. B คือคาร์โบไฮเดรต C คือกรดไพรูวิก
ข. B คือกลูโคส C คือกรดแลกติก ง. B คือโปรตีน C คือกรดแลกติก
สำหรับคำถามข้อ 60 – 61

60. ตามแผนภาพเป็นทางเดินลมหายใจในคน การแลกเปลี่ยนแก๊สจะเกิดขึ้นในบริเวณใด


ก. เฉพาะ E ข. E และ D ค. E , D และ C ง. E ,D , C และ B

61. C ควรจะเป็นอะไร
ก. Bronchus ข. Bronchiole ค. Bronchi ง. Alveoli
62. จากแผนภาพ A และ B คืออะไร

ก. A คือ Acetadehyde B คือ Pyruvic acid ค. A คือ Acetadehyde B คือ Lactic acid
ข. A คือ Pyruvic acid B คือ Acetadehyde ง. A คือ Lactic acid B คือ Acetadehyde
63. จากแผนภาพในข้อ 62 คือ
ก. การหายใจของยีสต์ชนิดใช้ออกซิเจน ค. การหายใจของกล้ามเนื้อลายชนิดไม่ใช้ออกซิเจน
ข. การหายใจของกล้ามเนื้อลายชนิดใช้ออกซิเจน ง. การหายใจของยีสต์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจน
64. ตัวรับไฮโดรเจนในกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน คือ
ก. NAD+ ข. FAD ค. O2 ง. ทั้งข้อ ก , ข และ ค
65. ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ ATP ซึ่งไม่ได้เกิดจากกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน
นั้น มีกี่โมเลกุลหากเริ่มต้นจากกลูโคส 1 โมเลกุล
ก. 2 ข. 4 ค. 6 ง. 8
66. จากแผนภาพข้างล่าง A คือ
ก. Acetadehyde ค. Ethanol
ข. Lactic acid ง. อาจเป็นได้ทั้งข้อ ก , ข และค
67. หากเริ่มต้นจากกรดอะมิโนเข้าสู่กระบวนการหายใจระดับเซลล์นั้น จะต้องผ่าน
กระบวนการใดมาก่อน
ก. เปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นแอซิติลโคเอนไซม์ เอ เสียก่อน
ข. เปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นกรดไพรูวิก
ค. ขจัดหมู่คาร์บอกซีลออกไปเสียก่อน
ง. ขนัดหมู่อะมิโน ( - NH2 ) ออกไปเสียก่อน
68. ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้ส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งใด
ก. ไกลโคลิซิส ค. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ
ข. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน ง. วัฏจักรเครบส์
69. ในการหายใจระดับเซลล์ ออกซิเจนเข้าไปเกี่ยวข้องในช่วงใด
ก. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน ค. วัฎจักรเครบส์
ข. ไกลโคลิซิส ง. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ
70. ในการหายใจระดับเซลล์หากเริ่มจากไขมัน จะต้องผ่านกระบวนการใด
ก. แตกตัวออกเป็นกรดไขมันกับกลีเซอรอลเสียก่อน ค. ดึงน้ำออกจากไขมัน
ข. ดึงคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากไขมัน ง. เข้าสู่วัฏจักเครบส์ได้โดยตรง
71. ในวัฏจักรเครบส์จะไม่เกิดอะไร
ก. H2 O ข. ATP ค. O2 ง. H+
72. ในวัฏจักรเครบส์มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนคาร์บอนอะตอมดังต่อไปนี้
ก. 6C  5C  4C
ข. 6C  5C  4C  2C
ค. 4C  2C  6C  5C
ง. 2C  4C  5C  6C
73. ในพืชมีเซลล์บางเซลล์ที่มี mitrocondria น้อย แต่มี ATP มาก อยากทราบว่าได้แก่เซลล์ใด
ก. Sieve tube member ข. Parenchyma ค. Palisade cell ง. Cambium cell
74. สารอาหารเมื่อรวมตัวกับออกซิเจนในเซลล์จะเกิดสิ่งใดขึ้นมากด้วย
ก. น้ำ ข. คาร์บอนไดออกไซด์ ค. พลังงาน ง. ทั้งข้อ ก ข และ ค
75. สารเคมีใดที่ให้พลังงานกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ก. ฮอร์โมน ข. DNA ค. ATP ง. RNA
76. เนื้อเยื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงที่สามารถเกิดการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนได้เป็นพิเศษ คือ
ก. กล้ามเนื้อหัวใจ ข. กล้ามเนื้อเรียบ ค. กล้ามเนื้อลาย ง. ม้าม
77. สิ่งมีชีวิตที่เป็นแอนาโรบิกต้องการออกซิเจนในการหายใจหรือไม่
ก. ไม่ต้องการออกซิเจน
ข. ไม่ต้องการออกซิเจนโมเลกุล ( O2 ) แต่ต้องการใช้ออกซิเจนอะตอม ( O )
จากวัตถุดิบในเซลล์
ค. ต้องการออกซิเจนโมเลกุล (O2 ) และออกซิเจนอะตอม (O ) จากวัตถุดิบในเซลล์
ง. ต้องการออกซิเจนโมเลกุล (O2 ) หรือออกซิเจนอะตอม (O ) อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้
78. ส่วนของไมโทรคอนเดรียที่มีสารประกอบเกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนใน
วัฏจักรเครบส์ คือ

ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4
79. แก๊สชีวภาพที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านหรือฟื นในการหุงต้มอาหารตามชนบทนั้น เกิดจาก
ปฏิกิริยาของมูลสัตว์กับ ( 1 ) และแก๊สที่ได้คือ ( 2 )
ก. ( 1 ) แบคทีเรียแอโรบิก ( 2 ) แก๊สมีเทน ( CH4 ) ค. (1) แบคทีเรียแอนาโรบิก (2) แก๊สมีเทน
ข. ( 1 ) แบคทีเรียแอโรบิก ( 2 ) แก๊สออกซิเจน ง. (1) แบคทีเรียแอนาโรบิก(2)แก๊สออกซิเจน
80. ในกระบวนการสลายกลูโคสของยีสต์ ถ้าขาดออกซิเจนมารับไฮโดรเจนสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ
ก. ปฏิกิริยาจะหยุดอยู่แค่การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
ข. กระบวนการหยุดแค่กรดไพรูวิก
ค.จะได้เอทิลแอลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซด์
ง. จะได้กรดแลกติกและคาร์บอนไดออกไซด์
81. สิ่งมีชีวิตเก็บพลังงานที่ได้จากการหายใจไว้ในรูปอินทรียสารที่มีพลังงานสูงชนิดหนึ่ง โดย
พลังงานนั้นอยู่ที่พันธะเคมีระหว่าง
ก. หมู่ฟอตเฟตกับหมู่น้ำตาลไรโบส ค. หมู่เบสอะดีนีนกับหมู่ฟอตเฟต
ข. หมู่น้ำตาลไรโบสกับหมู่เบสอะดีนีน ง. หมู่ฟอสเฟตกับหมู่ฟอตเฟต
82. การแยกสลายน้ำตาลกลูโคสในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง กระบวนการที่ทำให้เกิดพลังงานมากที่สุด
เกิดขึ้นที่บริเวณ
ก. ไรโบโซม ค. ผนังไมโทรคอนเดรียชั้นใน
ข. ผนังไมโทคอนเดรียชั้นนอก ง. ช่องว่างภายในไมโทรคอนเดรีย
83. การที่เราอาจหมักเหล้าไวน์ในขวดฝาปิ ดระบายแก๊สออกได้ แต่แก๊สภายนอกเข้าไปไม่ได้ เพราะ
ก. ยีสต์สามารถสลายอาหารได้โดยไม่ต้องออกซิเจน
ข. ออกซิเจนที่ละลายอยู่มีพอแก่ความต้องการของยีสต์
ค. ยีสต์สามารถสลายโมเลกุลของน้ำแล้วนำเอาออกซิเจนมาใช้
ง. ยีสต์สามารถสลายอาหารได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน
84. กระบวนการหายใจแบบใช้ออกซิเจน ให้พลังงานมากกว่าการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน
เพราะกระบวนการแบบหลัง
ก. เกิดขึ้นเฉพาะในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ยีสต์ และพืชซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่า
ข. ต้องการออกซิเจนเป็นตัวรับไฮโดรเจนอะตอม
ค. ย่อยสลายโมเลกุลอินทรียสารได้น้อยกว่ากระบวนการแรก
ง. เป็นกระบวนการเคมีที่เกิดกับสารประกอบคาร์โบไฮเดรต
85. ออร์แกเนลล์ชนิดหนึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากมายในไซโทพลาซึมของเซลล์ที่ต้องใช้พลังงาน
มาก เช่น เซลล์ตับ และเซลล์ไข่ของหอยเม่น ออร์แกเนลล์ชนิดนั้นคือ
ก. ไรโบโซม ค. ไมโทคอนเดรีย
ข. ไลโซโซม ง. คลอโรพลาสต์
86. เมื่อสิ้นสุดกระบวนการไกลโคลิซิสแล้ว จะได้กรดไพรูวิกซึ่งเปลี่ยนแปลงต่อไป ในการหายใจ
แลใช้ออกซิเจน คือ
ก. ทำปฏิกิริยากับโคเอนไซม์ เอ ค. เปลี่ยนเป็น CO2 หมด
ข. เปลี่ยนเป็นกรดซิตริก ง. เปลี่ยนเป็นกรดแลกติก
87. การหายใจระดับเซลล์ ไม่ควรมีลักษณะใด
ก. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน ค. การถ่ายทอดพลังงาน
ข. ไม่ปล่อยพลังงานออกมาทีละมาก ๆ ง. มีการกระตุ้นตลอดเวลา
88. ATP นอกจากจะได้จากการหายใจแล้ว ยังมีสิ่งมีชีวิตชนิดใดได้ ATP จากกระบวนการอื่น
ก. เห็ดรา ข. แบคทีเรีย ค. พืชสีเขียว ง. ทั้งข้อ ก , ข และ ค
89. การเขียนสมการการหายใจภายในเซลล์เขียนได้หลายสมการ แต่มีสมการหนึ่งดังต่อไปนี้
ไม่เกิดจริง
ก. 2H + 2 อิเล็กตรอน + 1/2 O2 H2O
ข. 2 กรดไพรูวิก + 2NAD + 2CoA
+
2 Acetyl CoA + 2 NADH + H+ + 2CO2
ค. กลูโคส + 2( ADP + Pi ) 2 กรดไพรูวิก + 2 ATP
ง. กลูโคส + 4( ADP + Pi ) 2 กรดแลกติก + 4 ATP

90. สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำจำพวกโมเนอราและโพรติสต์ มีกระบวนการไกลโคลิซิสหรือไม่


ก. มี เพราะสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการกระบวนการนี้
ข. ไม่มี เพราะเป็นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ
ค. ไม่มี เพราะใช้กระบวนการอย่างอื่นในการสลายกลูโคส
ง. ไม่มี เพราะเป็นเซลล์ขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานมาก
91. เมื่อสิ้นสุดกระบวนการหายใจแบบใช้ออกซิเจนในเซลล์ยูคาริโอต จากกลูโคส 1 โมเลกุล จะได้
พลังงาน ATP ทั้งหมดกี่โมเลกุล
ก. 30 ข. 36 ค. 38 ง. 32
92. กระบวนการหายใจแบบใช้ออกซิเจนที่เกิดในแบคทีเรียชนิดใดใช้ออกซิเจน จากกลูโคส 1
โมเลกุล ควรได้พลังงานจำนวนเท่าใด
ก. 2 ATP ข. 8 ATP ค. 36 ATP ง. 38 ATP
93. ผลผลิตที่ได้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการไกลโคลิซิส 1 ครั้งคือ
ก. 2 กรดไพรูวิก + 2ATP + 4H
ข. กรดไพรูวิก + 2ATP + 4H
ค. 2 แอซิติลโคเอนไซม์ เอ + 2 คาร์บอนไดออกไซด์ + 2ATP + 4H
ง. แอซิติลโคเอนไซม์ เอ + คาร์บอนไดออกไซด์ + 2ATP + 4H
94. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. กระบวนการไกลโคลิซิสเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม
ข. วัฏจักรเครบส์เกิดในไมโทคอนเดรียในชั้นเมทริกซ์ ( matrix )
ค. กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดที่เยื่อชั้นในของไมโทคอนเดรีย
ง. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ เกิดนอกไมโทคอนเดรีย
95. ในการหายใจระดับเซลล์ สารประกอบชนิดใดเป็นสารตัวแรกที่เข้าสู่ไมโทคอนเดรีย
ก. ไดไฮดรอกซีแอซิโตน ฟอสเฟต ค. กรดไพรูวิก
ข. ฟอสโฟอีนอลไพรูเวต ง. แอซิติลโคเอนไซม์ เอ
96. ส่วนใหญ่ของ CO2 เกิดขึ้นในกระบวนการใด
ก. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ ค. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
ข. วัฏจักรเครบส์ ง. ระบบลูกโซ่การหายใจ
97. เฉพาะในวัฏจักรเครบส์ 1 รอบ จะได้พลังงานเกิดขึ้นเท่าใด หลังจากผ่านการถ่ายทอด
อิเล็กตรอนแล้ว
ก. 15 ATP ข. 30 ATP ค. 2 ATP ง. 12 ATP
98. การคิดพลังงานที่ได้จากวัฏจักรเครบส์ ถ้าเริ่มจากกลูโคส 1 โมเลกุล จะได้พลังงานเท่าใด
ก. 22 ATP ข. 24 ATP ค. 32 ATP ง. 36 ATP
99. การสลายกลูโคส 1 โมเลกุล แบบใช้ออกซิเจน พลังงานที่เกิดขึ้นเนื่องจากการถ่ายทอด
อิเล็กตรอน มีค่าเท่าใด
ก. 32 ATP ข. 36 ATP ค. 38 ATP ง. 30 ATP
100. ในการหายใจแบบใช้ออกซิเจน แก๊สออกซิเจนทำหน้าที่ใด
ก. ตัวรับอิเล็กตรอน ข. ตัวให้อิเล็กตรอน ค. เป็นตัวรับโปรตอน ง. ทั้งข้อ ก และ ค
101. ในปัจจุบันความหมายของการหายใจระดับเซลล์ ( cellular respiration ) หมายถึง
ก. การย่อยสลายสารอาหารโดยใช้กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนเพื่อสร้าง ATP
ข. การใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย ( final electron acceptor )
ค. การใช้สารอื่นนอกจากออกซิเจนมาเป็นตัวรับอิเล็กตรอน
ง. การสลายอาหารโดยเริ่มต้นจากกลูโคส จนได้สารที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด
102. ข้อใดคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัฏจักรเครบส์
ก. การเปลี่ยนแปลงจากกรดไพรูวิก ได้ CO2 และน้ำ
ข. การเปลี่ยนสารประกอบแอซิติลให้เป็น CO2
ค. การสลายสารประกอบ C6 C5 C4
ง. มีการสร้าง ATP จำนวนมากขึ้น
103. การสลายกลูโคส 1 โมเลกุลอย่างสมบูรณ์ จะได้ไฮโดรเจนเกิดขึ้นกี่อะตอม
ก. 6 ข. 8 ค. 12 ง. 24
104. ไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจากวัฏจักรเครบส์ มีจำวนกี่อะตอม
ก. 4 อะตอม ข. 16 อะตอม ค. 24 อะตอม ง. 32 อะตอม
105. การสลายกลูโคส 1 โมเลกุล แบบใช้ออกซิเจน ต้องใช้สารประกอบ NAD กี่โมเลกุลเพื่อมารับ
+

อิเล็กตรอน
ก. 8 ข. 10 ค. 12 ง. 24
106. ในการสลายกลูโคสแบบใช้ออกซิเจนกระบวนการใดที่มีน้ำเกิดขึ้นมากที่สุด
ก. ไกลโคลิซิส ค. วัฏจักรเครบส์
ข. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ ง. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
107. ในกระบวนการหายใจแบบใช้ออกซิเจน กระบวนการใดที่ต้องเติมน้ำเข้าไปในปฏิกิริยามากที่สุด
ก. ไกลโคลิซิส ค. วัฏจักรเครบส์
ข. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ ง. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
108. ตัวนำอิเล็กตรอน ( electron carrier ) ที่สามารถนำโปรตอนได้ด้วย คือ
ก. NAD+ ข. FAD ค. cytochome ง. ทั้งข้อ ก และ ข

109. ในระหว่างที่มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากตัวนำอิเล็กตรอนหนึ่งไปยังตัวนำอิเล็กตรอนตัว
ต่อไปนั้น มีพลังงานจากอิเล็กตรอนปล่อยออกมาเป็นระยะ ๆ ช่วงใดที่มีพลังงานปล่อย
ออกมามากที่สุด
ก. จาก NAD FAD ค. จาก cytochrome b cytochrom c
ข. จาก FAD coenzyme Q ง. จาก cytochrome a3 O2
110. ในปฏิกิริยาของการหายใจแบบใช้ออกซิเจน ช่วงใดที่มี CO2 เกิดขึ้นมากที่สุด
ก. ไกลโคซิส ค. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ
ข. วัฏจักรเครบส์ ง. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
111. เมื่อสิ้นสุดกระบวนการไกลโคลิซิส จะได้ผลดังนี้
ก. กรดไพรูวิก + 2ATP + 2 H ค. แอซิติลโคเอนไซม์ เอ + CO2 + 4 H
ข. 2 กรดไพรูวิก + 2ATP + 4 H ง. 2 แอซิติลโคเอนไซม์ เอ+ 2CO2 + 4 H
112. การเปลี่ยนแปลงจากกรดไพรูวิกไปเป็นแอซิติลโคเอนไซม์ เอ มีสารประกอบต่าง ๆ เข้ามา
เกี่ยวข้องอย่างไร
ก. เติมโคเอนไซม์ เอ ได้ CO2 + 4 H ค. เติมซัคซินิลโคเอนไซม์ เอ ได้ CO2 + 4 H
ข. เติมโคเอนไซม์ เอ ได้ CO2+ H2O+ 4H ง. เติมโคเอนไซม์ เอ ได้ 2CO2 + 4 H
113. สารอินทรีย์ใดเป็นผลผลิตที่ได้จากไกลโคลิซิส
ก. CH3 CHOH COOH ค. C3 H4 O3
ข. CH3 CH2 OH ง. CH3 COH
114. NAD และ FAD เป็นตัวนำอิเล็กตรอน แต่มีความแตกต่างกันที่
+

ก. NAD+ นำอิเล็กตรอนและโปรตรอน FAD นำแต่อิเล็กตรอน


ข. NAD+ นำแต่อิเล็กตรอน FAD นำทั้งอิเล็กตรอนและโปรตรอน
ค. NAD มีค่าศักย์ไฟฟ้ ามาตรฐานของครึ่งเซลล์( E’ 0 ) ต่ำกว่า FAD
ง. FAD มีค่าศักย์ไฟฟ้ ามาตรฐานของครึ่งเซลล์ ( E’ 0 ) ต่ำกว่า NAD
115. สารประกอบ C3 ที่เกิดขึ้นเป็นตัวแรกและตัวสุดท้ายในไกลโคลิซิส คือสารใดตามลำดับ
ก. ไดไฮดรอกซีอะซีโตน, กรดไพรูวิก ค. กรดไพรูวิก , ไดไฮดรอกซีอะซีโตน
ข. กลีเซอราลดีไฮด์ – 3 ฟอสเฟต , กรดไพรูวิก ง. กรดไพรูวิก, กลีเซอราลดีไฮด์-3 ฟอตเฟต
116. ในการหายใจแบบใช้ออกซิเจน H อะตอมที่เกิดขึ้นถ้ามี NAD+ เป็นตัวรับไฮโดรเจนไป
เข้ากระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน จนได้เป็นน้ำ 1 โมเลกุล จะได้พลังงาน ATP กี่โมเลกุล
ก. 2 ข. 3 ค. 4 ง. 6
117. ในการถ่ายทอดอิเล็กตรอน NADH จะส่ง H อะตอมให้กับสารใดต่อไปนี้
ก. Flavoprotein ข. Coenzyme Q ค. cytochrome b ง. cytochrome c

118. ในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนระหว่างตัวนำอิเล็กตรอนชนิดต่าง ๆ นั้น มีพลังงานปลดปล่อย


ออกมาทุกขั้นตอน เหตุใดจึงไม่มีการสร้าง ATP ทุกขั้นตอน
ก. ไม่มี ADP และ Pi เป็นวัตถุดิบเพียงพอ
ข. พลังงานบางช่วงเกิดขึ้นไม่เพียงพอที่จะสร้าง ATP
ค. พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาสูญเสียในรูปความร้อนอย่างรวดเร็ว
ง. พลังงานที่ปล่อยออกมา จำเป็นต้องใช้ในการสร้างความร้อนให้แก่เซลล์ก่อน
119. FAD เมื่อรับไฮโดรเจนแล้วจะส่งไฮโดรเจนให้กับสารใดต่อไป
ก. cytochrome b ข. cytochrome c ค. O2 ง. cytochrome oxides
120. สารใดจะเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวที่มีพลังงานต่ำที่สุด
ก. NAD ข. FAD ค. cytochrome a ง. O2
121. ตัวนำอิเล็กตรอนตัวใดที่มีองค์ประกอบของวิตามิน B2 อยู่ด้วย
ก. NAD ข. FAD ค. cytochrome b ง. cytochrome c
122. ตัวนำอิเล็กตรอนตัวใดที่มี niacin เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
ก. NAD ข. FAD ค. cytochrome b ง. cytochrome c
123. H อะตอมที่เกิดขึ้นจากการสลายกลูโคส 1 โมเลกุล เมื่อผ่านการถ่ายทอดอิเล็กตรอน จะได้
พลังงานรวมทั้งสิ้นเท่าใด
ก. 32 ATP ข. 34 ATP ค. 36 ATP ง. 38 ATP
124. H 4 อะตอมที่เกิดขึ้นในกระบวนการไกลโคลิซิส เมื่อผ่านกระบวนถ่ายทอดอิเล็กตรอนแล้ว
จะได้พลังงาน
ก. 2 ATP ข. 3 ATP ค. 4 ATP ง. 6 ATP
125. ข้อใดไม่ใช่ผลผลิตที่เกิดในช่วงสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ
ก. CO2 ข. H อะตอม ค. ATP ง. Acetyl CoA
126. การสร้างพลังงาน ATP โดยวิธี oxidative pkosphorylation เกิดขึ้นในช่วงใด
ก. ไกลโคลิซิส ค. วัฏจักรเครบส์
ข. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ ง. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
127. การสร้างพลังงาน ATP โดยตรงโดยวิธี substrate phosphorylation จะเกิดขึ้นในช่วงใด
ก. ไกลโคลิซิส ค. วัฏจักรเครบส์
ข. การสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ ง. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน
128. ถ้าเปรียบเทียบเซลล์แบคทีเรียว่าคล้ายกับไมโทคอนเดรียแล้ว กระบวนการถ่ายทอด
อิเล็กตรอนควรเกิดที่บริเวณใดของเซลล์
ก. ผนังเซลล์ ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. ไรโบโซม ง. แคปซูล

จงใช้ตัวเลือกเหล่านี้เป็ นคำตอบของคำถาม 129 – 132


1. เยื่อชั้นนอกของไมโทคอนเดรีย
2. เยื่อชั้นในของไมโทคอนเดรีย
3. ที่เมทริกซ ( matrix ) ของไมโทคอนเดรีย
4. บริเวณระหว่างเยื่อชั้นนอกและชั้นใน ( intermembrane space )ของไมโทรคอนเดรีย
129. เกี่ยวกับตำแหน่งของปฏิกิริยาการสร้างแอซิติลโคเอนไซม์ เอ เกิดที่บริเวณใด
ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4
130. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดที่บริเวณใด
ก. 4 ข. 3 ค. 2 ง. 1
131. วัฏจักรเครบส์เกิดที่บริเวณใด
ก. 2 ข. 3 ค. 4 ง. 1
132. กระบวนการ oxidative pkosphorylation เกิดที่บริเวณใด
ก. 1 ข. 4 ค. 2 ง. 3
133. สารตัวนำอิเล็กตรอนชนิดหนึ่ง มีเหล็กเป็นองค์ประกอบในรูปของฮีม สารนี้คือ
ก. Coenzyme Q ข. NAD ค. FAD ง. Cytochrome
134. cytochrome ชนิดใดที่เป็นตัวนำอิเล็กตรอนไปพบกับออกซิเจน
ก. cytochrome a ข. cytochrome a3 ค. cytochrome b ง. cytochrome c
135. ในแต่ละครั้งที่มีตัวนำอิเล็กตรอนผ่านเข้ากระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนนั้นต้องใช้ O2 กี่
โมเลกุล
ก. 1 โมเลกุล ข. 2 โมเลกุล ค. 3 โมเลกุล ง. 1/2 โมเลกุล
136. ในกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนมีสารตัวนำอิเล็กตรอนเรียงลำดับกันเพื่อขนส่งอิเล็กตรอน
ไปถึงออกซิเจน ตัวนำอิเล็กตรอนตามลำดับคือ
ก. FAD NAD cytochrome
ข. NAD cytochrome FAD
ค. NAD FAD cytochrome
ง. cytochrome FAD NAD
137. หน้าที่โดยตรงของการหายใจระดับเซลล์
ก. สร้าง NADH ข. กำจัดกลูโคส ค. กำจัด CO2 ง. สร้าง ATP
138. ความแตกต่างของการสูดลมหายใจ ( breathing ) กับการหายใจระดับเซลล์ ( Cellular
respiration ) คือ

การสูดลมหายใจ การหายใจระดับเซลล์
ก รับออกซิเจนจากอากาศ แลก ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอน
เปลี่ยนกับเลือดแล้วปล่อย ลำดับสุดท้าย
คาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศ
ข ออกซิเจนรับอิเล็กตรอนเป็น รับออกซิเจนจากอากาศแลก
ลำดับสุดท้าย แล้วปล่อย เปลี่ยนกับเลือด
คาร์บอนไดออกไซด์
ค ออกซิเจนรับอิเล็กตรอนเป็น รับออกซิเจนจากอากาศแลก
ลำดับสุดท้าย เปลี่ยนกับเลือด แล้วปล่อย
คาร์บอนไดออกไซด์
ง รับออกซิเจนจากอากาศ แลก ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอน
เปลี่ยนกับเลือด ลำดับสุดท้ายแล้วปล่อย
คาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศ

139. จงกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสูดหายใจกับการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนของเซลล์
ก. สูดลมหายใจนำออกซิเจนไปยังปอด แล้วส่งออกซิเจนไปยังเซลล์
ข. สูดลมหายใจนำออกซิเจนไปยังปอด แล้วส่งคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์กลับมายัง
ปอด
ค. การสูดลมหายใจจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกกับลมหายใจออก หลังจากรับ
คาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์
ง. การสูดลมหายใจไม่เกี่ยวข้องกับการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนของเซลล์
140. ในกระบวนการไกลโคลิซิส glycerraldehyde phosphate จะถูกออกซิไดซ์ จะเกิดอะไรขึ้นกับ
ไฮโดรเจนอตอมและอิเล็กตรอน ซึ่งเปลี่ยนแปลงในขณะเกิดออกซิเดชัน
ก. รีดิวซ์ NAD+ ค. ถูกส่งไปยังกรดไพรูวิก
ข. ออกซิไดซ์ NAD +
ง. ถูกกำจัดออกในรูปมีเทน
141. ระหว่างกระบวนการไกลโคลิซิส ไฮโดรเจนอะตอมและอิเล็กตรอนถูกดึงจากซับสเตรต และ
มีสารใดรับไป
ก. ATP ข. ADP ค. NAD+ ง. NADH
142. ผลรวมในกระบวนการไกลโคลิซิสของน้ำตาลกลูโคส 1 โมเลกุล จะได้ NADH a โมเลกุล
และ ATP b โมเลกุล a และ b คือ
ก. 1 และ 2 ข. 1 และ 1 ค. 2 และ 2 ง. 2 และ 1
เฉลยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน

1ค 16. ค 31.ข 46.ค 61.ข 76.ค 91.ข 106. ง 121 ข 136 ค


2ข 17. ข 32.ค 47.ข 62.ข 77.ข 92. ง 107. ค 122 ก 137 ง
3ข 18. ก 33.ข 48.ข 63.ง 78.ข 93. ก 108 ง 123 ก 138 ก
4ข 19. ง 34.ง 49.ง 64.ง 79.ค 94. ง 109 ง 124 ค 139 ง
5ข 20. ก 35.ง 50.ก 65.ข 80.ค 95. ค 110 ข 125 ค 140 ก
6ง 21. ข 36.ก 51.ก 66.ข 81.ง 96 ข 111 ข 126 ง 141 ค
7ข 22. ข 37.ก 52.ค 67.ง 82.ค 97. ง 112 ก 127 ก 142 ค
8ก 23.ก 38. ง 53.ค 68.ง 83.ก 98. ข 113 ค 128 ข -
9ก 24.ข 39. ง 54.ข 69.ก 84.ก 99. ก 114 ค 129 ข -
10 ง 25.ก 40. ง 55.ค 70.ก 85.ค 100. ง 115 ข 130 ค -
11 ก 26. ค 41.ง 56.ค 71.ค 86.ก 101. ก 116 ข 131 ข -
12 ค 27.ง 42.ข 57.ง 72.ก 87.ค 102. ข 117 ก 132 ค -
13 ก 28.ก 43. ค 58.ง 73.ค 88.ค 103. ง 118 ข 133 ง -
14 ค 29.ค 44.ค 59.ก 74.ง 89.ง 104. ข 119 ค 134 ข -
15 ข 30.ง 45.ค 60. ก 75.ค 90.ก 105. ข 129 ง 135 ง -

You might also like