Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 26

เอกสารประกอบการเรียน

เรือ่ ง สารละลายน่ารู้

องค์ประกอบของสารละลาย

สภาพละลายได้และปัจจัยทีม
่ ผี ลต่อสภาพละลายได้

ความเข้มขันของสารละลาย

โครงการห้องเรียนพิเศษ

วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

เทคโนโลยี และสิง่ แวดล้อม

(SMTE) ชัน
้ มัธยมศึกษาปีที่ 2

ครูผส
ู้ อน

นายทรงพล หมัน
่ ประสงค์ (ครูแชมป์)

โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกลู จังหวัดกระบี่

ชือ่ - สกุล ชัน


้ เลขที่
คำนำ

เอกสารประกอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายน่ารู้ สาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้


วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อม (SMTE) โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ตามศักยภาพ และ
ความสามารถของผู้เรียนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยให้นักเรียนศึกษาวีดิทัศน์จากสื่อต่าง ๆ ในระบบดิจิตอล เพื่อให้
ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อีกทั้งพัฒนา
ผู้เรียนให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ และดำรงชีวิตในโลกของการเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน เอกสารประกอบการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ที่ 1 สารละลาย เรื่อง สารละลายน่ารู้ ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้ องค์ประกอบของ
สารละลาย สภาพละลายได้และปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ และความเข้มขันของสารละลาย

เมื่อผู้เรียนได้ใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นี้แล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้ความเข้าใจ เพราะได้ เรียนรู้


เป็นระบบเป็นขั้นตอน สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถได้เต็มศักยภาพ และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

ผู้จัดทำขอขอบพระคุณทางโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม


(SMTE) โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ผู้เชี่ยวชาญ คณะครู นักเรียน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ให้คำแนะนำในการ
จัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียน ครูผู้สอน และ ผู้ที่สนใจนำไปใช้ในการพั ฒนานัก เรียนไทย
ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

นายทรงพล หมั่นประสงค์

ผู้จัดทำ
สารบัญ

เรือ่ ง หน้า

องค์ประกอบของสารละลาย 1
การจัดจำแนกสาร โดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ 2
กิจกรรม ระบุตัวละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร 3
สารละลาย ทั้ง 3 สถานะ 4

สภาพละลายได้และปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ 5
กิจกรรม สารละลายอิ่มตัวคืออะไร 5
กิจกรรม ชนิดของตัวละลายและตัวทำละลายมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารอย่างไร 7
กิจกรรม อุณหภูมิมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารอย่างไร 9

ความเข้มข้นของสารละลาย 12
ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ 12
กิจกรรม ระบุความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละได้อย่างไร 13
การระบุความเข้มข้นของสารละลาย ที่ตัวละลายเป็นของแข็งในของเหลว 15
การระบุความเข้มข้นของสารละลาย ที่ตัวละลายเป็นของเหลวและแก๊ส 16
การระบุความเข้มข้นของสารละลาย ที่ทั้งตัวละลายและตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง 16
แบบฝึกหัด ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ 18

บรรณานุกรม 21
โครงสร้างรายวิชา
รหัสวิชา ว22101 รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชัน
้ มัธยมศึกษาปีที่ 2
เวลารวม 60 ชัว่ โมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ภาคเรียนที่ 1
มาตรฐานการ
หน่วย ชือ่ เวลา น้ำหนัก
เรียนรู/้ ตัวชีว้ ด
ั / สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
ที่ หน่วยการเรียนรู้ (ชัว่ โมง) คะแนน
ผลการเรียนรู้

1 สารละลาย ว 3.2 ม.2/1 – 2/3 ศึกษาองค์ประกอบของสารละลายด้วยตัวละลายและตัวทำละลาย ปัจจัยที่ 12 10


มีผลต่อการละลายได้ ชนิดตัวทำละลายที่อุณหภูมิมีผลต่อสภาพละลายได้
ว 8.1 ม.2/1 - 2/9
ของสาร รวมทั้งอธิบายผลของความดัน ที่ มีต่ อสภาพละลายได้ ของสาร
ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลาย ในหน่วยความเข้มข้นเป็น ร้ อ ยละ
ปริ ม าตรต่ อ ปริ ม าตรมวลต่ อ มวล และมวลต่ อ ปริ ม าตร ตระหนั ก ถึ ง
ความสำคั ญ ของการนำความรู ้ เ รื ่ อ งความเข้ ม ข้ น ของสารไปใช้ โ ดย
ยกตัวอย่างการใช้สารละลายในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและปลอดภัย
2 ร่างกายมนุษย์ ว 1.1 ม.2/1 - 2/4 ระบุ อ วั ย วะและบรรยายหน้ าที ่ ของอวัย วะที ่เ กี่ ยวข้อ ง ในระบบหายใจ 18 20
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบขับถ่าย ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ โดย
ว 8.1 ม.2/1 - 2/9
อธิ บ ายกลไกกระบวนการทำงาน โดยใช้ แ บบจำลอง ตระหนั ก ถึ ง
ความสำคัญ อวัยวะในระบบต่าง ๆ ของมนุษย์และสัตว์ในแต่ละระบบมี
การทำงานที่สัมพันธ์กันทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ ถ้าระบบ
ใดระบบหนึ่งทำงานผิดปกติ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ดังนั้นจึ ง
ต้ อ งมี ก ารดู แ ลรั ก ษาสุ ข ภาพ เลื อ กวิ ธ ี ก ารคุ ม กำเนิ ด ที ่ เ หมาะสมกั บ
สถานการณ์ที่กำหนด ตระหนักถึงผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอัน
ควร โดยการประพฤติตนให้เหมาะสม
3 การเคลื่อนที่และแรง ว 4.1 ม.2/1 - 2/3 ศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เกี่ยวกับตำแหน่งของวัตถุ ระยะทาง และการ 30 20
กระจัด อัตราเร็วและความเร็ว เพื่อศึกษาการเดินทางมาโรงเรียนได้เร็ว
ว 8.1 ม.2/1 - 2/9
หรือช้า ศึกษาแรงในชีวิตประจำวัน ความเร่งและผลของความแรงลัพธ์ที่
ว 4.2 ม.2/1 - 2/3 ทำต่อวัตถุ แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัต ถุและนำความรู้ไ ปใช้
ประโยชน์ ความแตกต่างระหว่างแรงเสียดทานสถิตกับแรงเสียดทาน
ว 8.1 ม.2/1 - 2/9
จลน์ แ ละนำความรู ้ ไ ปใช้ แรงและความดั น ของของเหลว แรงพยุ ง ของ
ของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ วิเคราะห์โมเมนต์ของแรง แรงและสนามของ
แรงและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
รวมระหว่างภาค - 70

ปลายภาค - 30

รวม 60 100
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 1

องค์ประกอบของสารละลาย
ชื่อ สกุล ชั้น เลขที่

จุดประสงค์บทเรียน : ระบุองค์ประกอบของสารละลายได้ว่าสารใดเป็นตัวละลายหรือตัวทำละลาย QR Code ประกอบบทเรียน


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
องค์ประกอบของสารละลาย
คำถามกระตุ้นความสนใจของนักเรียน และร่วมกันอภิปราย ความยาว 17.07 นาที
ให้นักเรียนสังเกต ยาแก้ไอแบบน้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำยาบ้วนปาก หรือสังเกตภาพในหนังสือ

นักเรียนเคยรับประทานยาแก้ไอแบบน้ำเชื่อมหรือไม่ ยาแก้ไอมีลักษณะและรสชาติอย่างไร

.........................................................................................................................................................................................................
คำถาม ยาแก้ไอแบบน้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำยาบ้วนปาก หรือสังเกตภาพในหนังสือ จัดเป็นสารชนิดใด

❑ สารเนื้อผสม ❑ สารเนื้อเดียว ❑ ไม่สามารถระบุได้

องค์ประกอบของสารละลาย

น้ำอัดลม

น้ำอัดลมมีองค์ประกอบ อะไรบ้าง

รวมกันเป็น

เพราะ

น้ำอัดลมต่างยี่ห้อกัน ทำไมถึงหวานไม่เท่ากัน
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 2

สารละลายมีทั้งที่เป็นสารเนื้อเดียวละสารเนื้อผสม ใช่หรือไม่

สาร 2 ชนิด เมื่อผสมเป็นเนื้อเดียวกันแสดงว่าเกิดการละลายเสมอ

น้ำแข็งเมื่อเปลี่ยนเป็นน้ำ แสดงว่ามีการละลายเกิดขึ้น

จากภาพ จงร่วมกันสรุปความหมายของคำว่า สารละลาย (solution)

เป็นสารผสมเนื้อ ที่ประกอบด้วย solute : และ solvent :

โดยที่อนุภาคของตัวละลายกระจายตัวอยู่ในอนุภาคของตัวทำละลายอย่าง จึงมองเห็น

สารละลายมีทั้ง สถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

การจัดจำแนกสาร โดยใช้เนือ้ สารเป็นเกณฑ์

ชวนคิด นักเรียนคิดว่าในสารละลายแต่ละชนิด สามารถระบุได้หรือไม่ว่า สารใดเป็นตัวละลาย และสารใดเป็นตัวทำละลาย ?

และนักเรียนใช้เกณฑ์ใดในการระบุ ถ้าใช้เกณฑ์ตา่ งกันจะได้ผลต่างกันหรือไม่


เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 3

กิจกรรม ระบุตวั ละลายและตัวทำละลายได้อย่างไร

จุดประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายเกณฑ์ที่ใช้ในการระบุตัวละลายและตัวทำละลาย

วัสดุอป
ุ กรณ์ -

วิธด
ี ำเนินกิจกรรม วิเคราะห์สถานะและปริมาณเป็นร้อยละขององค์ประกอบแต่ละชนิดของสารละลายในตาราง เพื่ออธิบายเกณฑ์ที่ใช้
ในการระบุว่าองค์ประกอบใดเป็นตัวละลายและตัวทำละลาย

สารละลายในตารางที่ 1

สารละลายในตารางที่ 2

คำถามท้ายกิจกรรม

1. การระบุตัวละลายและตัวทำละลายในสารละลายน้ำหวาน น้ำเชื่อมเมเปิ้ล น้ำโซดา มีเกณฑ์อย่างไร

2. การระบุตัวละลายและตัวทำละลายในสารละลายทองชมพู 18 เค น้ำส้มสายชู และอากาศ มีเกณฑ์อย่างไร

3. ถ้าองค์ประกอบในสารละลายมีสถานะต่างกัน จะมีเกณฑ์อย่างไรในการระบุว่าสารใดเป็นตัวละลาย หรือ ตัวทำละลาย

4. ถ้าองค์ประกอบในสารละลายมีสถานะเหมือนกัน จะมีเกณฑ์อย่างไรในการระบุวา่ สารใดเป็นตัวละลาย หรือ ตัวทำละลาย

สรุปผลการทำกิจกรรม
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 4

ให้นกั เรียนสืบค้นข้อมูล สารละลาย ทัง้ 3 สถานะ

1. สารละลายทีม
่ ส
ี ถานะของแข็ง

ตัวอย่างสารละลาย องค์ประกอบของสารละลาย ตัวทำละลาย ตัวละลาย


ทองเหลือง

นาก

ฟิวส์

เหล็กกล้าไร้สนิม

2. สารละลายทีม
่ ส
ี ถานะของเหลว

ตัวอย่างสารละลาย องค์ประกอบของสารละลาย ตัวทำละลาย ตัวละลาย


น้ำโซดา

แอลกอฮอล์ลา้ งแผล

น้ำมันแก๊สโซฮอล์

3. สารละลายทีม
่ ส
ี ถานะแก๊ส

ตัวอย่างสารละลาย องค์ประกอบของสารละลาย ตัวทำละลาย ตัวละลาย


อากาศ

แก๊สหุงต้ม

ภาพแผนภูมิวงกลมแสดงปริมาณองค์ประกอบในอะมัลกัมอุดฟัน (ของแข็ง)

สารใดเป็นตัวละลาย สารใดเป็นตัวทำละลาย ทราบได้อย่างไร


เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 5

สภาพละลายได้และปัจจัยทีม
่ ผี ลต่อสภาพละลายได้
จุดประสงค์บทเรียน : อธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย อุณหภูมิ และความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สารละลายอิม
่ ตัว
ทบทวนความรู้

เขียนเครื่องหมาย ✓ หน้าข้อความที่ถกู ต้อง เขียนเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ไม่ถกู ต้อง

❑ สารละลายเกิดจากสาร 2 ชนิดขึ้นไปละลายเข้าด้วยกันในอัตราส่วนผสมต่าง ๆ

❑ สารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลวจะมีน้ำเป็นตัวทำละลาย

❑ สารละลายที่มีสถานะเป็นแก๊ส แก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดเป็นตัวทำละลาย

คำถามกระตุ้นความสนใจ ถ้าละลายตัวละลายจำนวนมากในน้ำ แล้วตัวละลายจะละลายหมดหรือไม่ เพราะเหตุใด

QR Code ประกอบกิจกรรม
กิจกรรม สารละลายอิม
่ ตัวคืออะไร
สารละลายอิ่มตัวคืออะไร
ความยาว 4.33 นาที
จุดประสงค์ สังเกตและบรรยายการละลายของสาร

วัสดุอป
ุ กรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม

วิธด
ี ำเนินกิจกรรม
1. เติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตครั้งละ 1 ช้อนเบอร์หนึ่ง ลงในน้ำ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใช้แท่งแก้วคนจนละลายหมด
2. เติมเพิ่มลงไปทีละช้อนจนโซเดียมไฮโดรเจน คาร์บอเนตเริ่มละลายไม่หมด
3. สังเกตและบันทึกจำนวนช้อนของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่ใช้ทั้งหมด
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 6

ตารางบันทึกผล
จำนวนช้อนของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ผลการสังเกตการละลายของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตในน้ำ

คำถามท้ายกิจกรรม
1. เมื่อเติมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตลงในน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. ใช้โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตทั้งหมดกีช
่ ้อน ตัง้ แต่เริ่มต้นจนเริม
่ เห็นโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเหลืออยู่

3. สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตเริ่มอิม
่ ตัวเมื่อใช้โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตกีช
่ ้อน ทราบได้อย่างไร

สรุปผลการทำกิจกรรม

ใช้ตาราง สภาพละลายได้ของสารบางชนิดในน้ำ 100 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส แล้วตอบคำถามต่อไปนี้


1. จากตาราง สารใดละลายได้มากที่สุดในน้ำที่อุณหภูมิ 20 oC

2. ถ้าใช้น้ำ 300 กรัมจะสามารถละลายจุนสีได้สูงสุดกี่กรัม


จึงจะได้สารละลายอิ่มตัวพอดีที่อุณหภูมิ 20 oC

3. จากตารางสามารถสรุปได้ว่าอย่างไร

ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติม แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า QR Code ประกอบบทเรียน


สารละลายอิม
่ ตัว (saturated solution) คือ
สารละลายอิ่มตัว
และสภาพละลายได้ของสาร
ความยาว 16.12 นาที

สภาพละลายได้ของสาร (solubility) คือ


เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 7

ปัจจัยทีม
่ ผี ลต่อสภาพละลายได้ของสาร
กิจกรรม ชนิดของตัวละลายและตัวทำละลายมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารอย่างไร
จุดประสงค์ QR Code ประกอบกิจกรรม
ทดลองและอธิบายผลของชนิดตัวละลายและตัวทำละลายที่มีต่อสภาพละลายได้ ความยาว 8.22 นาที
ของแมกนีเซียมซัลเฟตและพิมเสน ในตัวทำละลายที่เป็นน้ำและเอทานอล
วัสดุอป
ุ กรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม

วิธด
ี ำเนินกิจกรรม
1. ใส่น้ำ 5 cm3 ลงในหลอดทดลอง หลอดที่ 1 เติมแมกนีเซียมซัลเฟต จำนวน 1 ช้อนเบอร์สอง เขย่าจนละลายหมด
เติมแมกนีเซียมซัลเฟต ลงไปอีกทีละช้อน จนเริม
่ ไม่ละลาย นับจำนวนช้อนของสารที่ใช้ทั้งหมด และบันทึกผล
2. ใส่น้ำ 5 cm3 ลงในหลอดทดลอง หลอดที่ 2 เติมพิมเสน จำนวน 1 ช้อนเบอร์สอง เขย่าจนละลายหมด
3. ใส่เอทานอล 5 cm3 ลงในหลอดทดลอง หลอดที่ 3 เติมแมกนีเซียมซัลเฟต จำนวน 1 ช้อนเบอร์สอง เขย่าจนละลายหมด
4. ใส่เอทานอล 5 cm3 ลงในหลอดทดลอง หลอดที่ 4 เติมพิมเสน จำนวน 1 ช้อนเบอร์สอง เขย่าจนละลายหมด
เติมพิมเสน ลงไปอีกทีละช้อน จนเริ่มไม่ละลาย นับจำนวนช้อนของสารที่ใช้ทั้งหมด และบันทึกผล
5. เปรียบเทียบผลการทดลองแล้วบันทึกลงในตารางบันทึกผล
ภาพวิธด
ี ำเนินกิจกรรม

คำถามก่อนทำกิจกรรม
1. ตัวละลายที่ใช้ในกิจกรรมนี้คืออะไร

2. ตัวทำละลายที่ใช้ในกิจกรรมนี้คืออะไร

ตารางบันทึกผล
ชนิดของตัวทำละลาย ปริมาตรตัวทำละลาย (cm3) ชนิดของตัวละลาย ปริมาณตัวละลายทีล่ ะลายได้ (ช้อน)
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 8

คำถามท้ายกิจกรรม
1. สภาพละลายได้ของแมกนีเซียมซัลเฟต มีค่าประมาณกี่กรัมในน้ำ 100 กรัม
(แมกนีเซียมซัลเฟต 1 ช้อนเบอร์สอง มีมวล 0.61 กรัม และน้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีมวล 1 กรัม)

2. สภาพละลายได้ของพิมเสน มีค่าประมาณกีก่ รัมในน้ำ 100 กรัม


(พิมเสน 1 ช้อนเบอร์สอง มีมวล 0.34 กรัม และน้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีมวล 1 กรัม)

3. ชนิดของตัวละลายมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารในตัวทำละลายหนึ่ง ๆ หรือไม่ ทราบได้อย่างไร

4. เมื่อเปลี่ยนตัวทำละลายจากน้ำกลั่นเป็นเอทานอล สภาพละลายได้ของแมกนีเซียมซัลเฟต และพิมเสนเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร

สรุปผลการทำกิจกรรม

การนำไปใช้ในชีวต
ิ ประจำวัน
สารหลายชนิดละลายได้ดีในน้ำ จึงใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เช่น
แต่สารบางชนิด
เช่น สีทาเล็บ ละลายในน้ำได้

แต่ละลายได้ดี โดยใช้

ซึ่งมีส่วนผสมหลักเป็นแอซีโตน

การล้างสีทาเล็บ จึงใช้

แอลกอฮอล์ นอกจากล้างแผลแล้ว ป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้แล้ว ยังสามารถใช้ทำอะไร


ได้อีกบ้าง เพราะอะไร

คำถามชวนคิด
บางครั้ง ถ้าเราเปลี่ยนตัวทำละลายไม่ได้ เราจะทำอย่างไรให้ตัวทำละลายเดิมสามารถละลายตัวละลายได้มากขึ้น
เช่น ในการชงเครื่องดื่มต่าง ๆ ถ้าต้องการให้ตัวละลายละลายในน้ำมากขึ้น ควรทำอย่างไร
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 9

กิจกรรม อุณหภูมมิ ผี ลต่อสภาพละลายได้ของสารอย่างไร


จุดประสงค์ ออกแบบการทดลอง ทดลอง และอธิบายผลของอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของจุนสีในน้ำ
วัสดุอป
ุ กรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม

QR Code ประกอบกิจกรรม
อุณหภูมิมีผลต่อสภาพ
ละลายได้ของสารอย่างไร
ความยาว 15.42 นาที

วิธด
ี ำเนินกิจกรรม
1. ระบุปัญหา ตั้งสมมติฐาน กำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม
2. ออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีตอ่ สภาพละลายได้ของจุนสี และออกแบบตารางบันทึกผล
3. ลงมือทดลอง บันทึกผล อภิปราย สรุปผลการทดลอง และนำเสนอผล
คำถามก่อนทำกิจกรรม
1. ปัญหาของการทดลองนี้ คืออะไร

2. สมมติฐานของการทดลองนี้ คืออะไร

3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการทดลองนี้ คืออะไร

4. วิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานทำอย่างไร

ตารางบันทึกผล
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 10

คำถามท้ายกิจกรรม
1. ผลการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร

สรุปผลการทำกิจกรรม

กราฟผลของอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของสารต่าง ๆ แล้วตอบคำถามจากกราฟ ดังนี้


1. อุณหภูมิมีผลอย่างไรต่อสภาพละลายได้ของสารแต่ละชนิด

2. ถ้าละลายโซเดียมคลอไรด์ 20 กรัม ในน้ำ 100 กรัม


ที่อุณหภูมิ 40 oC โซเดียมคลอไรด์จะละลายหมดหรือไม่

3. ถ้าละลายโพแทสเซียมไนเทรต 20 กรัม ในน้ำ 50 กรัม


ที่อุณหภูมิ 50 oC แล้วลดอุณหภูมิลงเหลือ 20 oC
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

กราฟผลของอุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของแก๊สต่าง ๆ
1. จากกราฟสรุปได้ว่าอย่างไร

2. ถ้าโลกมีอุณหภูมส
ิ ูงขึ้น น้ำในแหล่งน้ำมีอุณหภูมิสงู ขึ้น
แก๊สออกซิเจนจะเป็นอย่างไร และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร

ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน เกีย
่ วกับองค์ประกอบที่ละลายในน้ำอัดลม ตามเนื้อหาในหนังสือเรียนหน้า 24
เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า → แก๊สที่อยู่ในน้ำอัดลม คือ
เมื่อเปิดขวด ความดันภายในขวดจะ ความดันบรรยากาศ
ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายในน้ำอัดลมได้
มีบางส่วนแยกตัวออกจากสารละลาย ทำให้เห็น
คำถามชวนคิด
ถ้านักเรียนต้องการเก็บรักษาความซ่าของน้ำอัดลมไว้ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 11

คำถามสำคัญของบทเรียน
1. สารละลายมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

2. การละลายของสารขึ้นอยู่กบ
ั ปัจจัยใดบ้าง

ให้นักเรียนเขียนผังมโนทัศน์ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนองค์ประกอบของสารละลายและปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 12

ความเข้มข้นของสารละลาย
ชื่อ สกุล ชั้น เลขที่

จุดประสงค์บทเรียน :
1. ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลายในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร โดยมวลต่อมวล และโดยมวลต่อ
ปริมาตร
2. ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้เรื่องความเข้มข้นของสารละลายไปใช้ โดยยกตัวอย่างการใช้ สารละลายในชีวิตประจำวัน
อย่างถูกต้องปลอดภัย

ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ

ทบทวนความรู้

เขียนเครื่องหมาย ✓ หน้าข้อความที่ถกู ต้อง เขียนเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ไม่ถกู ต้อง

❑ ทองรูปพรรณมีทองคำเป็นองค์ประกอบมากที่สุด ดังนั้นทองรูปพรรณจึงมีทองคำเป็นตัวทำละลาย

❑ สารละลายอิม
่ ตัว เป็นสารละลายที่มีอัตราส่วนปริมาณของตัวละลายกับปริมาณสารละลายสูงสุดที่อณ
ุ หภูมิหนึ่ง ๆ

❑ สารที่มม
ี วล 100 กรัมจะมีปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

คำถามกระตุ้นความสนใจ
1. การทำน้ำหวานจำนวนมากจากน้ำหวานเข้มข้น มีวิธีการอย่างไร

2. ทำอย่างไรจึงจะทำน้ำหวานที่มีรสหวาน และความเข้มของสีเท่ากันทุกครั้ง

ภาพแสดงน้ำยาล้างห้องน้ำชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีสารละลายของกรด
ซึ่งมีคุณสมบัตอิ ย่างไร

ดังนั้น ในการเลือกน้ำยาล้างห้องน้ำที่ดี
ควรมีวิธีการเลือกอย่างไร

คำถามชวนคิด
เครื่องดื่มชนิดนี้มีสารแต่งสีและกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติอยู่ ร้อยละ 2 โดยมวลต่อปริมาตร มีความหมายว่าอย่างไร
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 13
QR Code ประกอบกิจกรรม
กิจกรรม ระบุความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละได้อย่างไร ความยาว 8.30 นาที
จุดประสงค์ สังเกตและระบุปริมาณตัวละลายในสารละลาย ในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละ
โดยมวลต่อปริมาตร และโดยปริมาตรต่อปริมาตร
วัสดุอป
ุ กรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อห้อง

วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม

วิธด
ี ำเนินกิจกรรม
ตอนที่ 1 เตรียมสารละลายจากตัวละลายทีม
่ ส
ี ถานะเป็นของแข็ง
1. ใส่จุนสี 2 กรัม ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 cm3 เติมน้ำกลั่นประมาณ 20 cm3 คนจุนสีละลายหมด ด้วยแท่งแก้วคน
2. เติมน้ำกลั่น เพื่อทำให้ปริมาตรสุดท้ายของสารละลาย เป็น 100 cm3 คนสารละลายให้เข้ากัน
3. ทำซ้ำ แต่เปลี่ยนเป็น ใส่จุนสีเพิ่มเป็น 4 กรัม ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 cm3 เติมน้ำกลั่นประมาณ 20 cm3 คนจุนสีละลายหมด
เติมน้ำกลั่น จนทำให้ปริมาตรสุดท้ายของสารละลาย เป็น 200 cm3 คนสารละลายให้เข้ากัน
4. เปรียบเทียบความเข้มของสี และปริมาณของสารละลายจุนสีในบีกเกอร์ ทั้ง 2 ใบ แล้วบันทึกผล
ภาพวิธด
ี ำเนินกิจกรรม ตอนที่ 1

ตารางบันทึกผล
บีกเกอร์ใบที่ มวลของจุนสี (กรัม) ปริมาตรของสารละลาย (cm3) สีของสารละลาย
1

2
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 14

คำถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 1
1. สารละลายในบีกเกอร์ทั้ง 2 ใบ มีความเข้มของสีเหมือนกันหรือต่างกัน อย่างไร

2. การเตรียมสารละลายบีกเกอร์ทั้ง 2 ใบ ใช้ปริมาณจุนสีเท่ากันหรือไม่ และปริมาตรสุดท้ายของสารละลาย เท่ากันหรือไม่ อย่างไร

3. สารละลายจุนสีในบีกเกอร์ทั้ง 2 ใบ มีความเข้มข้นในหน่วยร้อยละโดยมวลต่อปริมาตรเท่ากันหรือไม่ อย่างไร

สรุปผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 1

ตอนที่ 2 เตรียมสารละลายจากตัวละลายทีม
่ ส
ี ถานะเป็นของเหลว
1. ตวงเอทานอลผสมสี 20 cm3 ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 cm3 เติมกับน้ำกลั่น ประมาณ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร คนให้เข้ากัน
2. เติมน้ำกลั่นเพิ่ม จนได้สารละลายมีปริมาตรสุดท้ายเป็น 100 cm3 คนสารละลายให้เข้ากันด้วยแท่งแก้วคน
3. ทำซ้ำ แต่ตวงเอทานอลผสมสี 10 cm3 ลงในบีกเกอร์ขนาด 250 cm3 เติมกับน้ำกลั่น ประมาณ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร คนให้เข้ากัน
แล้วเติมน้ำกลั่นเพิ่ม จนได้สารละลายมีปริมาตรสุดท้ายเป็น 100 cm3 คนสารละลายให้เข้ากันด้วยแท่งแก้วคน
4. เปรียบเทียบความเข้มของสี และปริมาณของสารละลายเอทานอลผสมสี ในบีกเกอร์ทั้ง 2 ใบ แล้วบันทึกผล
ภาพวิธด
ี ำเนินกิจกรรม ตอนที่ 2

ตารางบันทึกผล
บีกเกอร์ใบที่ ปริมาตรของเอทานอลผสมสี (cm3) ปริมาตรของสารละลาย (cm3) สีของสารละลาย
1

คำถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 2
1. สารละลายในบีกเกอร์ทั้ง 2 ใบ มีความเข้มของสีเหมือนกันหรือต่างกัน อย่างไร

2. การเตรียมสารละลายในบีกเกอร์ทั้ง 2 ใบ ใช้ปริมาตรเอทานอลผสมสี และปริมาตรสุดท้ายของสารละลาย เท่ากันหรือไม่


เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 15

3. สารละลายเอทานอลผสมสีในบีกเกอร์ทั้ง 2 ใบ มีความเข้มข้นในหน่วยร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร เท่ากันหรือไม่ อย่างไร

4. ความเข้มข้นของสารละลายมีผลต่อความเข้มของสีสารละลายหรือไม่ อย่างไร

สรุปผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 2

การระบุความเข้มข้นของสารละลาย ทีต
่ วั ละลายเป็นของแข็งในของเหลว QR Code ประกอบบทเรียน
การเตรียมสารละลายโดยละลายตัวละลายที่เป็นของแข็งในของเหลว ความเข้มข้นของสารละลาย
นิยมระบุความเข้มข้นของสารละลาย โดยบอกมวลตัวละลายที่อยู่ในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร ในหน่วยร้อยละ ตอนที่ 1
เรียกหน่วยความเข้มข้นนี้ว่า ความยาว 31.06 นาที
การใช้หน่วยของมวลต้องสอดคล้องกับหน่วยของปริมาตร โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ดังนี้

โจทย์ชวนคิด ความเข้มข้นของสารละลายที่มีหน่วยเป็น ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร


1. มีด่างทับทิม 2 gในสารละลายปริมาตร 250 cm3 สารละลายนี้มีความเข้มข้นร้อยละเท่าใด โดยมวลต่อปริมาตร

2. ต้องการเตรียมสารละลายเกลือแกง เข้มข้นร้อยละ 0.9 โดยมวลต่อปริมาตร ปริมาตร 50 cm3 จะต้องใช้เกลือแกงกีก่ รัม


เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 16

การระบุความเข้มข้นของสารละลาย ทีต
่ วั ละลายเป็นของเหลวและแก๊ส
สารละลายที่ตัวละลายมีสถานะของเหลวและแก๊ส ตัวทำละลายมีสถานะของเหลวหรือแก๊ส
นิยมระบุความ เข้มข้นของสารละลายโดยบอกปริมาตรตัวละลายที่อยู่ในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตรเดียวกัน
เรียกหน่วยความเข้มข้นนี้ว่า
ความเข้มข้นของสารละลาย เขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้

โจทย์ชวนคิด ความเข้มข้นของสารละลายที่มีหน่วยเป็น ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร


1. น้ำส้มสายชูที่มีความเข้มข้นของกรดน้ำส้ม ร้อยละ 5 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ปริมาตร 3 ลิตร จะมี กรดน้ำส้มเป็นองค์ประกอบ
กี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

2. อากาศมีแก๊สออกซิเจนอยูร
่ ้อยละ 21 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ถ้าต้องการแยกแก๊สออกซิเจนปริมาตร 63,000 ลิตร ออกจากอากาศ
จะต้องใช้อากาศกี่ลิตร

การระบุความเข้มข้นของสารละลาย ที่ทงั้ ตัวละลายและตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง


นิยมระบุความเข้มข้นของสารละลาย โดยบอก มวลของตัวละลายที่อยู่ในสารละลาย 100 หน่วยมวลเดียวกัน
เรียกหน่วยความเข้มข้นนี้ว่า
ความเข้มข้นของสารละลาย เขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้ QR Code ประกอบบทเรียน
ความเข้มข้นของสารละลาย
ในหน่วยร้อยละ ตอนที่ 2
ความยาว 17.07 นาที
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 17

โจทย์ชวนคิด ความเข้มข้นของสารละลายที่มีหน่วยเป็น ร้อยละโดยมวลต่อมวล


1. ถ้านำทองเหลือง 5 กรัม มาแยกองค์ประกอบ พบว่า ทองเหลืองชิ้นนี้มีสังกะสีเป็นองค์ประกอบ 1.2 กรัม ทองเหลืองชิ้นนี้มีความเข้มข้น
ของสังกะสีเป็นเท่าใด ในหน่วยร้อยละโดยมวลเป็นเท่าใด

เกร็ดน่ารู้ ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยส่วนในล้านส่วน
ซึ่งนิยมใช้กับ สารละลายที่มีตัวละลายอยู่ในปริมาณน้อย ๆ เช่น ปริมาณคลอรีนในน้ำประปา ปริมาณสิ่งปนเปื้อนในอากาศ
ความเข้มข้นของสารละลาย เขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้

ดังนั้น เมื่อจะใช้สารละลายแต่ละชนิด ต้องคำนึงถึงความเข้มข้นของสาร โดยใช้สารละลายที่มีปริมาณตัวละลาย


และตัวทำละลายถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากสารละลายได้เต็มประสิทธิภาพ

ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียน หน้า 40 ในเกร็ดน่ารู้ และอภิปรายร่วมกัน เกีย


่ วกับความหมายของ อัลลอย (Alloy)
อัลลอย (Alloy) คือ

ให้นักเรียนเขียนผังมโนทัศน์ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนความเข้มข้นของสารละลาย
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 18

แบบฝึกหัด ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ

1. น้ำส้มสายชูเป็นสารละลายของกรดน้ำส้มกับน้ำ ถ้าต้องการน้ำส้มสายชูที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยปริมาตรต่อปริมาตร


มีปริมาตร 20 ลิตร จะต้องใช้กรดน้ำส้มกี่ลิตร

2. ถ้าต้องการเตรียมน้ำเชือ่ ม ปริมาตร 3 ลิตร โดยการละลายกลูโคสในน้ำให้มีความเข้มข้นร้อยละ 40 โดยมวลต่อปริมาตร


ต้องใช้กลูโคสกี่กิโลกรัม

3. เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดหนึ่ง มีโครเมียมเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 9 โดยมวลต่อมวล ถ้าต้องการเหล็กกล้าไร้สนิม 3 ตัน


ต้องใช้โครเมียมอย่างน้อยกีก่ ิโลกรัม

4. ถ้ามีโพแทสเซียมคลอไรด์ 45 กรัม จะสามารถเตรียมสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์เข้มข้นร้อยละ 15 โดยมวลต่อปริมาตร


ได้สูงสุดกี่ลิตร

5. ถ้านักเรียนมีกลูโคส 36 กรัม จะสามารถเตรียมสารละลายกลูโคสร้อยละ 8 โดยมวลต่อปริมาตร ได้มากที่สุด


กี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
ก. 350 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข. 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ค. 450 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ง. 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 19

6. ด่างทับทิมเมื่อละลายในน้ำ จะได้สารละลายใสสีม่วงแดง การเตรียมสารละลายด่างทับทิม 3 ครั้ง โดยใช้ปริมาณด่างทับทิม


และได้ปริมาตรสารละลาย ดังตาราง

ลำดับความเข้มของสีสารละลาย จากมากไปน้อยเป็นอย่างไร

7. กรดไฮโดรคลอริก เป็นองค์ประกอบหลักของน้ำยาล้างห้องน้ำบางประเภท กรดไฮโดรคลอริกนอกจากจะช่วย กำจัดคราบสะสมต่าง ๆ


ในห้องน้ำแล้ว ยังทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ถ้าเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ น้ำยาล้างห้องน้ำ 3 ยี่หอ้ มีความเข้มข้นและปริมาตร
ดังนี้

จากตาราง น้ำยาล้างห้องน้ำยี่ห้อใด มีมวลของกรดไฮโดรคลอริกมากที่สุด และน้ำยาล้างห้องน้ำยี่ห้อใด มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตราย


ต่อร่างกายมากที่สุด เพราะเหตุใด
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 20

บันทึกความรูเ้ พิม
่ เติม
เอกสารประกอบการเรียนการสอน สารละลายน่ารู้ ห้องเรียน SMTE ผูส
้ อน : ครูทรงพล หมัน
่ ประสงค์ 21

บรรณานุกรม
โครงการสอนออนไลน์ – Project 14. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564,
จาก https://proj14.ipst.ac.th/m2/m2-sci-book1/
ฝ่ายวิชาการ บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน (ชุดสัมฤทธิ์มาตรฐาน)
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัทไทยร่มเกล้า จำกัด.
พิเชษฐ์ อยู่ยงค์. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สารละลาย. นครปฐม :
โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย.
วีระ อินศรี. (2557). หนังสือชุดเทคนิคการเรียนวิทยาศาสตร์ : สารและสมบัติของสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564,
จาก https://www.scimath.org/ebook-science/item/8923-2018-10-01-01-59-16
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
“ความรูท
้ ต
ี่ กตะกอนนัน
้ ต้องขยันและตั้งใจ
ก็คล้ายกับสารละลายสีมว่ งใสกำลังอิม
่ ตัว”
- ครูแชมป์ -

โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิง่ แวดล้อม (SMTE)

โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกลู จังหวัดกระบี่

You might also like