Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

เอกสารประกอบการเรียน

รายวิชา ภาษาไทย ๕ ท๒๓๑๐๑


ภาคเรียนที ๑ ปการศึกษา ๒๕๖๓

หน่วยการเรียนรู้ที ๖ การอ่านต
ีความและประเมินคุณค่า

รวบรวมโดย
ด์ ิ นุ ช า ติ ก ล่ ุ ม ส า ร ะ ฯ ภ า ษ า ไ ท ย
ค รู ช น ะ ช น ม์ ส วั ส

เรียนรู้โดย
ide and Prejudice
Pr ชือ - ส ก ล
ุ ...... ......


...

...
..
..
..
..
..
..
.
..

..

..

.

..

.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ชันมัธยมศ ึ กษ า ป ท ี ๓ ห

โรงเรี ย นสวนกุ ห ลาบวิ ท ยาลั ย รั ง สิ ต


สํา นั ก งานเขตพื นที ก ารศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษาเขต ๔
เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาภาษาไทย ๕ ท๒๓๑๐๑ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อ – สกุล ................................................................................................... ชั้น ม.๓ ห้อง ................ เลขที่ ...................

...เรือ่ ง การอ่านตีความและประเมินคุ ณค่า...


มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ม.๓/๕ การวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบ
ท ๑.๑ ม.๓/๖ การประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ ม.๓/๘ การวิเคราะห์เพื่อแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ ม.๓/๙ การอ่านตีความและประเมินคุณค่าและแนวคิดทีไ่ ด้เพื่อนาไปใช้แก้ไขปัญหาในชีวิต
ท ๑.๑ ม.๓/๑๐ มีมารยาทในการอ่าน
ท ๒.๑ ม.๓/๖ เขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็นและโต้แย้งอย่างมีเหตุผล

 การอ่านตีความ
การอ่านตีความ คือ การอ่านเพื่อพยายามเข้าใจความหมาย และถอดความรู้สึกอารมณ์สะเทือนใจ จากข้อความ
ที่ผู้เขียนสื่อให้อ่านอาจจะตีความหมายได้ตรงกับความมุ่งหมายหรือเจตนาของผู้เขียนก็ได้ หรือบางครั้งอาจจะเข้าใจ
ความหมายตามวิธีของตนเอง โดยอาศัยพื้นความรู้เดิมความสนใจประสบการณ์ ระดับสติปัญญา และวัย
การอ่านตีความมีจุดมุ่ งหมายเพื่อพิจารณาข้อความหรือเรื่องนั้น ๆ ว่ามีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไรและ
สามารถที่จะอธิบายถึงเจตนา และความคิดของผู้เขียนได้อย่างชัดเจนการตีความจากการอ่านจะแตกต่างกันไปด้วยสาเหตุ
หลายประการ ได้แก่
๑. ความสามารถของแต่ละบุคคล
๒. วัย เพราะความรู้สึกนึกคิด ความซาบซึ้ง ความสนใจ ตลอดจนความรู้ย่อมแตกต่างกันไปตามวัยต่างๆ กัน ทั้ง ที่
เป็นเรื่องเดียวกัน
๓. ประสบการณ์ เนื่องจากความเข้าใจและความซาบซึ้งในเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่เหมือนกันเพราะคนที่ไม่เคยประสบ
กับเหตุการณ์ใด ก็จะเข้าใจและซาบซึ้งน้อยกว่าคนที่มีประสบการณ์เรื่องนั้นมาแล้ว
๔. ความเข้าใจถ้อยคา ซึ่งหมายถึง ความหมายของคา ซึ่งเป็นส่วนสาคัญของการตีความหากไม่เข้าใจถ้อยคา ก็จะ
ตีความได้ไม่ถูกต้องและไม่ลึกซึ้ง
๕. ความสามารถในการเปรียบเทียบกับเรื่องอื่น หมายถึง ความเข้าใจและสามารถนาไปเกี่ยวข้องกับข้อความอื่นที่
มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นการตีความตามตัวอักษร ตีความตามเนื้อหาหรือตีความตามน้าเสียงก็ตาม ตัวอย่าง
เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง
ตีความตามตัวอักษร : อันมูลช้างนั้นขนาดใหญ่กว่ามูลคน ฉะนั้นอย่าทาตามช้าง
ตีความหมายเนื้อหา : ให้รู้จักประมาณตน หรือ ทาสิ่งใดตามอัตภาพ
ตีความตามน้าเสียง : ทาอะไรควรดูตามฐานะของตนเอง ไม่ควรตามอย่างคนที่มีฐานะดีกว่า
หน้า ๒
๖. ความสามารถในการใช้ถ้อยคา คาบรรยายข้อความของการตีความ ซึ่งบางคนเข้าใจเรื่องได้ดี แต่อธิบายไม่ได้
เพราะไม่สามารถบรรยายให้ดีดังที่ตนรู้และเข้าใจได้

การอ่านเพื่อตีความนั้น ผู้อ่านต้องใช้สติปัญญา เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้เขียนสามารถที่จะสรุปความคิด จับ


ใจความสาคัญ และอธิบายขยายความได้ สิ่งที่ต้องคานึงถึงในการตีความนั้น คือ การตีความนั้นไม่ใช่การถอดคาประพันธ์
ซึ่งจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า การถอดคาประพันธ์นั้นเป็นการเรียบเรียงคาจากคาประพันธ์ที่เป็นร้อยกรองให้เป็นความเรียง
หรือร้อยแก้ว ซึ่งจะต้องครบทั้งคา ครบทั้งความ และครบทั้งสรรพนาม แต่การตีความนั้นเป็นการจับเอาแต่ใจความสาคัญ
จะคงไว้ซึ่งคาของข้อความเดิมไม่ได้ ถ้าข้อความนั้นมีสรรพนาม จะต้องเปลี่ยนเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ทันที
การตีความใด ๆ นั้น เราจะตีความ ๒ ด้าน คือ
๑. การตีความด้านเนื้อหา
๒. การตีความด้านน้าเสียง
ข้อสาคัญ คือ การตีความทั้งสองด้านนี้ เป็นการตีความตามความรู้และความคิดของเราเองคนอื่นไม่จาเป็นต้องเห็น
ด้วยกับความคิดของเราก็ได้ เราจะดูจากการให้เหตุผลของการตีความเป็นสาคัญ ดังตัวอย่าง
"จะหามณีรัตน์ รุจิเลิศก็อาจหา
เพราะมีวณิชค้า และก็คนก็มั่งมี
ก็แต่จะหาซึ่ง ภริยาและมิตรดี
ผิทรัพยะมากมี ก็มิได้ประดุจใจ" (มัทนะพาธา)
ตีความด้านเนื้อหา : จะหาอะไรก็หาได้ถ้ามีเงิน แต่เงินมิสามารถจะซื้อมิตรกับภริยาที่ดีได้
ตีความด้านน้าเสียง : ……………………………………………………………………………………………..
“กลิ่นหอมของดอกไม้ ทวนลมขึ้นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นมะลิวัลย์ แต่
กลิ่นคุณงามความดีของคน ย่อมหอมหวนทวนลมขึ้นไปได้ และย่อมหอมฟุ้ง ๆ ไปทั่วทุกทิศ”
ตีความด้านเนื้อหา : กลิ่นหอมแห่งคุณงามความดีของคนนั้น หอมยิ่งกว่ากลิ่นดอกไม้แ ละกลิ่นของ หอมใด ๆ
ตีความด้านน้าเสียง : …………………………………………………………………………………………….
จึงกล่าวได้ว่าการอ่านตีความ คือ การอ่านที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจความหมายแฝงของค าหรือ
ข้อความที่ไม่ได้บอกความหมายตรง

 การอ่านประเมินค่า
การประเมินค่า เป็นการตัดสินความถูกต้องเที่ยงตรงและคุณค่าของเรื่องที่อ่าน ว่าถูกต้องชัดเจนหรือไม่ เชื่อถือได้
มากน้อยเพียงใด มีคุณค่าหรือไม่ อย่างไร โดยพิจารณาเนื้อหา วิธีการนาเสนอ และการใช้ภาษา การประเมินค่า จึงต้องทา
อย่างผู้มีสติปัญญาคือจะต้องมีข้อมูล หลักเกณฑ์ และเหตุผล การประเมินค่าอาจพิจารณา ตามประเภทของงานเขียนได้ดังนี้
๑. งานเขียนประเภทสารคดี จะต้องเสนอความรู้ที่น่าสนใจ ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ เสนอความเห็นที่มีเหตุผล มี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จริงใจ และเป็นกลาง การเสนอเรื่องสนุกสนาน ชวนติดตาม ต่อเนื่อง ใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย
เหมาะกับผู้อ่าน
หน้า ๓

๒. งานเขียนประเภทบันเทิงคดี
๒.๑ พิจารณาองค์ประกอบของเรื่อง ดังนี้
- โครงเรื่องต้องแสดงการกระทา และเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยงต่อเนื่องกัน มีลักษณะสมจริง
- เนื้อเรื่องก่อให้เกิดความเพลิดเพลินและสติปัญญาแก่ผู้อ่าน
- แนวคิดของเรื่องชัดเจนและมีคุณค่าแก่ผู้อ่าน
- ตัวละครและฉากมีลักษณะสมจริง และช่วยเสนอแนวคิดของเรื่อง
๒.๒ การเสนอเรื่องชวนติดตาม เร้าความสนใจของผู้อ่าน
๒.๓ การใช้ภาษาชัดเจน และเข้าใจง่าย
แนวทางการอ่านประเมินคุณค่า
๑. พิจารณาเนื้อหาและองค์ประกอบของเนื้อหา ว่าเนื้อหาของสิ่งที่อ่านมีองค์ประกอบใดบ้าง เพื่อแยกแยะ
ว่าแต่ละส่วนมีลักษณะอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร
๒. พิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ เป็นการพิจารณาถึงการใช้ภาษาและความงามทางภาษาในงานเขียนว่างาน
เขียนนั้น มีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเนื้อหา มีความไพเราะงดงาม และมีการใช้เสียงและความหมายที่ช่วยให้เกิดจิตนาการ
ในการอ่านได้มากเพียงใด
๓. พิจารณาแนวคิด เป็นการพิจารณาว่าผู้เขียนนาเสนอเรื่องราวใด มีแง่คิดใดบ้างที่มีคุณค่า มีการเสนอแนวทางใน
การนาเสนอข้อมูลแนวคิดที่ดีที่มีคุณค่าไปใช้ในชีวิตประจาวันได้อย่างไร งานเขียนชิ้นหนึ่ง ๆ อาจมีผลต่อผู้อ่านได้ สอง
ประการใหญ่ๆ คือ ผลทางด้านความเพลิดเพลินและผลทางด้านสติปัญญา

 การใช้กลวิธีการเปรียบเทียบในการอ่าน
ในการอ่านบทความที่ปรากฏกลวิธีการเปรียบเทียบ ซึ่งการใช้สานวนเปรียบเทียบในการสื่อสารเป็นปกติวิสัยของ
มนุษย์ทั่วไป การเปรียบเทียบต้องอาศัยการใช้ภาษาที่มีความหมายให้มนุษย์สัมผัสได้ทั้ง ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจและเกิดภาพพจน์ตาม ทั้งการเปรียบเทียบโดยตรง และความหมายโดยนัย
โครงสร้างการเปรียบเทียบ : ……………….. เหมือน/เป็น/เสมือน/คล้าย/ .........................
ตัวอย่างการใช้กลวิธีการเปรียบเทียบ
- ตาแหน่งอยู่ไม่นาน เหมือนกับเก้าอี้ที่ต้องมีวันพัง แต่ตานานจะอยู่ตลอดไป
- ชีวิตฉันน่าเศร้าใจนักเปรียบได้กับละครน้าเน่า
- .......................................................................................................................
หน้า ๔
 การประเมินความถูกต้องของเรื่องที่อ่าน
การประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน เป็นการวิเคราะห์สารประเภทบทความ บทวิจารณ์
ข่าว เพลง บทร้อยกรอง เรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน ฯลฯ การพิจารณาสารจึงต้องพิจารณาตามแนวทางการเขียนสารนั้น ๆ
เช่น บทความ มีลักษณะการเขียนเป็น คานา เนื้อเรื่อง สรุป ส่วนข่าวมีลักษณะการเขียนเป็น พาดหัวข่าวหลัก หัวข่าวรอง
สรุปข่าว และรายละเอียดของข่าว และที่สาคัญที่สุดคือต้องพิจารณาภาษาหรือถ้อยคาที่ใช้ด้วย เพราะงานเขียนแต่ละ
ประเภทจะใช้ภาษาที่แตกต่างกันไป การวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าสารจึงควรยึดหลักดังนี้
๑. อ่านสารนั้นอย่างคร่าวๆ ครั้งหนึ่งก่อน ในครั้งต่อไปควรอ่านสารอย่างละเอียด
๒. วิเคราะห์ให้ได้ว่าสารที่อ่านเป็นสารประเภทใด เช่น ข่าว บทวิจารณ์ คานา เพลง หรือบทความ เป็นต้น
๓. วิจารณ์แนวความคิดและการนาเสนอตามลักษณะการเขียน ทั้งรูปแบบเนื้อหาและการใช้ภาษา
๔. ตีความและประเมินค่าสารอย่างมีเหตุผลตามลักษณะของสารแต่ละประเภทว่าดี มีคุณค่า มีประโยชน์ หรือไม่

 การวิเคราะห์เพือ่ แสดงความคิดเห็นโต้แย้ง
โดยปกติแล้วเรื่องของความชอบ หรือรสนิยมเป็นสิ่งที่แต่ละคนเห็นไม่ตรงกันอยู่แล้ว ทว่าแม้แต่การใช้เหตุผลเพื่อ
สืบสาวหาความถูกต้อง ก็ยังไม่อาจทาให้ได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกันได้อย่างแท้จริง เรื่องบางเรื่องสามารถใช้เหตุผลคนละ
ชุด เพื่อสนับสนุนความคิดที่ตรงกันข้ามได้อย่างมีน้าหนัก ดังนั้น การมีความเห็นที่แตกต่างกันจึงเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อเราไม่
เห็นด้วยกับเหตุผลของเรื่องที่อ่านก็สามารถแสดงความเห็นโต้แย้งได้เสมอ
การเขียนโต้แย้ง เป็นการเขียนแสดงความคิดเห็นลักษณะหนึ่ง โดยมุ่งที่จะโต้แย้งข้อมูล ข้อคิดเห็น หรือเหตุผล
ของเรื่องที่ได้อ่านด้วยความคิดเห็นในทางสร้างสรรค์ ด้วย ข้อมูล สถิติและการเรียบเรียงเหตุผลของเราเอง การเขียนโต้แย้ง
มีหลักการ ดังนี้
๑. กาหนดหัวข้อและขอบเขตของการโต้แย้ง เพื่อจะได้ไม่หลงประเด็น
๒. แบ่งเนื้อหาออกเป็นประเด็น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
๓. การโต้แย้งจะต้องมีพื้นความรู้ดีพอเกี่ยวกับหัวข้อที่จะโต้แย้ง
๔. เรียบเรียงและนาเสนอข้อโต้แย้งได้อย่างละเอียดชัดเจน
ข้อควรระวังในการเขียนโต้แย้ง
ไม่ควรเขียนโต้แย้งด้วยความเห็นที่รุนแรง จนก่อให้เกิดความแตกแยก ต้องระมัดระวังในการใช้ภาษา ไม่ควรใช้
ภาษาที่ไม่สุภาพ ไม่ใช้คาที่เสียดสี เยาะเย้ย ดูถูกหรือดูหมิ่นผู้เขียนบทความ ไม่เขียนด้วยอารมณ์ ไม่พาดพิงให้เกิดความ
กระทบกระเทือนแก่ผู้อื่น อันอาจเป็นบุคคลหรือเป็นสิ่งที่บุคคลจานวนมากเคารพนับถือ ซึ่งอาจกลายเป็นชนวนให้เกิดความ
แตกแยก หรือความเข้าใจผิดลุกลามต่อไปได้ เราควรพิจารณาโต้แย้งที่เหตุผลเป็นสาคัญเท่านั้น และควรเขียนเชิง
สร้างสรรค์
หน้า ๕
แบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่านตีความและประเมินคุณค่า

๑. “เมือ่ ลมฝนบนฟ้ามาลิว่ ต้นไม้พลิ้วลูก่ งิ่ ใบ เหมือนจะเอนรากคลอนถอนไป แต่เหล่าไม้ยงิ่ กลับงาม พระพรหม


ท่านบันดาลให้ฝนหลั่ง เพือ่ ประทังชีวติ มิทราม น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทัว่ เขตคามชื่นธารา สาดเป็น
สายพรายพลิว้ ทิวทุง่ แดดทอรุง้ อร่ามตา รุ้งเลือ่ มลายพร่างพรายนภา ยามเมือ่ ฝนมาแต่ไกล พระพรหมช่วยอำนวยให้
ชุ่มฉ่ำเพือ่ จะนำดับความร้อนใจ น้ำฝนหลัง่ ลงมาจากฟ้าแดนไกล พืชพันธุไ์ ม้ชื่นยืนยง
ข้อใดไม่สนับสนุนแนวคิดของบทเพลงข้างต้น
๑. อย่ายอมแพ้แม้หมดหวัง
๒. วันนี้หรือวันไหนอะไร ๆ ก็ยังเหมือนเดิม
๓. ครั้งนี้ไม่ใช่ทีของข้าครั้งหน้าขอบอกว่าไม่แน่
๔. วันนี้แม้ล้มไม่เป็นท่าแต่วันหน้าต้องยืนได้แน่
๒. เปิดหนังสือเพือ่ อ่านงานความคิด เปิดชีวติ เพือ่ อ่านความฝันใฝ่
เปิดทางทองเพือ่ อ่านการณ์กา้ วไกล เปิดทางใจเพือ่ อ่านสันติธรรม
จากบทร้อยกรองนี้ข้อใดกล่าวสรุปได้สมเหตุสมผล
๑. ความรักความชื่นชมคนที่อ่านหนังสือ ๒. การอ่านหนังสือสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน
๓. ความสาคัญของหนังสือที่สื่อความคิดและจินตนาการ ๔. การเลือกอ่านหนังสือเพื่อความเจริญก้าวหน้า
๓. “ไฟโทเคมิคอล” จากพืชผัก ผลไม้ที่เรารับประทานมีบทบาทใหม่ที่เป็นประโยชน์ตอ่ สุขภาพและทำให้คนเรา
อายุยนื ขึ้น จริง ๆ แล้วนักโภชนาการและนักวิชาการด้านอาหารเชือ่ ว่า การรับประทานอาหารสมดุลทีม่ ีพชื ผักผลไม้
ปริมาณมากจะช่วยลดความเสีย่ งต่อการเกิดโรคเรือ้ รังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
โรคมะเร็ง และต้อกระจก แต่ไฟโทเคมิคอลบางชนิดรสชาติไม่ดี และเป็นพิษ ไฟโทเคมิคอลทีไ่ ม่พึงประสงค์เหล่านี้
ส่วนใหญ่พบในพืชผัก ผลไม้ปา่ ไม่ค่อยพบในอาหารทีเ่ รารับประทานปกติ แต่กค็ วรระมัดระวังการรับประทานอาหาร
บางชนิด” ข้อใดไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อความข้างต้น
๑. รับประทานอาหารที่เหมาะสมและสมดุลมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
๒. รับประทานผลไม้ที่หลากหลายช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
๓. รับประทานผักและผลไม้มีประโยชน์ต่อร่างกายทาให้ไม่เป็นโรคหัวใจ
๔. รับประทานอาหารมาก ๆ จะช่วยลดการเกิดโรคเรื้อรังและทาให้สุขภาพดี
๔. “พ่อแม่ไม่ใช่เป็นเพียงพ่อพันธุแ์ ม่พันธุท์ ใี่ ห้ก ำเนิด เป็นผูท้ ี่เป็นอย่างนัน้ เป็นผู้ทเี่ ป็นอย่างนี้กระทั่งเป็นพระอรหันต์
ในครอบครัว ถ้าถือตามอุดมคติของพุทธบริษทั แล้ว พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ประจำครอบครัว”
ข้อใดเป็นแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวคิดของข้อความข้างต้นได้เหมาะสมที่สุด
๑. กราบพ่อแม่ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ของลูก
๒. กตัญญูและตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่สม่าเสมอ
๓. ยกย่องพ่อแม่ที่ทางานทุกอย่างในบ้านเพื่อลูก
๔. เทิดทูนและดูแลพ่อแม่เป็นประจาทุกปี
หน้า ๖
๕. “การเปลีย่ นชีวติ ไม่ตอ้ งถามใคร ให้ถามใจเราดู ว่ายน้ำไม่เป็นเปลี่ยนสระก็ชว่ ยไม่ได้ รักไม่เป็นเปลี่ยนแฟนก็
ดูแลไม่ได้ ทำงานไม่เป็นเปลี่ยนงานก็กา้ วหน้าไม่ได้ เรียนรูไ้ ม่เป็นเปลี่ยนครูกแ็ ก้ไม่ได้ เราเป็นต้นเหตุของทุกเรื่อง
จะเปลี่ยนทุกอย่าง สำคัญทีส่ ุดจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเรา”
ข้อใดเป็นการเขียนแสดงความเห็นโต้แย้งประเด็นที่ขีดเส้นใต้ได้อย่างมีเหตุผล
๑. การเปลี่ยนแปลงจะประสบความสาเร็จต้องร่วมมือกัน
๒. การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องง่ายแต่เราไม่พยายามเปลี่ยนเอง
๓. การเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะไม่เกิดขึ้นถ้าเราไม่คิดจะเปลี่ยน
๔. การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากการรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
๖. สาวสะคราญนางหนึ่งมีความเพียบพร้อมทุกด้านแต่ไร้ความสุข นางไปถามอาจารย์เซนถึงวิธีเพิ่มพูนเสน่หใ์ น
ตนเอง “ไม่ยากหากเจ้ามีปฏิสัมพันธ์กบั ผู้ใด จงเป็นไปด้วยจิตเมตตา พูดคำเซน ฟังเสียงเซน ปฏิบตั กิ จิ ของเซน มีจติ
แห่งเซน” นางจึงขอให้ทา่ นช่วยอธิบาย
“คำเซน” คือ พูดเรือ่ งดีงาม พูดความจริง พูดอ่อนน้อมพูดในสิ่งทีเ่ ป็นประโยชน์
“เสียงเซน” คือ การฟังเสียงทุกอย่างให้ลกึ ซึง้ ทำเสียงก่นด่าให้เป็นเสียงแห่งเมตตา ทำเสียงคำพูดให้รา้ ย
กลายเป็นคำชืน่ ชม หากเราฟังเสียงร้องไห้ เสียงคำพูดบิดเบือน เสียงหยาบคาย โดยไม่ถอื สานัน่ คือเสียงแห่งเซน
แล้ว “กิจของเซน” เล่าเป็นอย่างไร “การให้ทานเป็นกิจของเซน ทำสิง่ ต่าง ๆ
ด้วยความมีเมตตา ทำประโยชน์ให้สาธารณะล้วนเป็นกิจของเซน”
ส่วน “จิตของเซน คือจิตของเราท่าน จิตของปุถชุ น และอริยชน จิตทีบ่ รรลุทกุ สรรพสิ่ง จิตทีโ่ ปรดสรรพสัตว์
นั่นเอง”
เมือ่ หญิงสาวเข้าใจทัง้ หมดจึงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน ไม่โอ้อวดความมั่งมีตอ่ หน้าผูอ้ นื่ ไม่คดิ ว่าตน
สวยงามยิง่ กว่าใคร ปฏิบตั ติ อ่ ผูอ้ นื่ ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความเมตตาต่อผูอ้ นื่
บุคคลใดนาแนวคิดที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้กับชีวิตได้เหมาะสมที่สุด
๑. นิชาเข้าปฏิบัติธรรมลดละเลิกอบายมุข เพื่อความงามอย่างมีคุณค่า
๒. สมใจศึกษาหลักและแนวคิดของเซนเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
๓. สุดารักษาหุ่นด้วยการออกก าลังกายและควบคุมอาหารเพื่อคงความสวย
๔. อิงอรรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองให้รู้จักแบ่งปันความรักความเมตตาแก่ผู้อื่น
๗. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่า “ข้อใดสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับแนวคิดสาคัญของข้อความข้อ ๖ หรือไม่”
หน้า ๗
๘. ข้อใดไม่อาจสรุปความได้จากข้อความต่อไปนี้
การยอมแก้ไขเปลีย่ นแปลงอะไรก็ตามทีไ่ ม่ถกู ต้อง ไม่งดงาม ให้เป็นความถูกต้องเป็นความงดงาม ควรถือ
เป็นหน้าทีจ่ ะจัดการกับชีวติ ตนเองเป็นอันดับแรก และแผ่นำ้ ใจไปช่วยผูอ้ ื่นด้วยเมือ่ มีโอกาสทำได้ไม่ละทิง้ โอกาสที่
เปิดให้ทำความดี ในทางตรงกันข้าม ไม่ถอื โอกาสทีเ่ ปิดให้ทำความชัว่
๑. คนเราควรทาแต่ความดี อย่าทาความชั่วเป็นอันขาด
๒. หน้าที่อย่างหนึง่ ของคนเราคือดาเนินชีวิตด้วยการทาความดี
๓. ในชีวิตคนเราบางครั้งอาจต้องเลือกระหว่างการทาความดีกับความชั่ว
๔. เมื่อเราเป็นคนดีแล้ว เราควรแนะนาให้ผู้อื่นเป็นคนดีดว้ ย
๙. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของผูเ้ ขียนข้อความต่อไปนี้
เรือ่ งการอนุรกั ษ์นอี้ ติ าลีเขาถนัดมากมีหน้าทีท่ ี่เชีย่ วชาญและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ
ดังนัน้ เมืองประวัติศาสตร์ของเขาซึ่งมีอยูห่ ลายเมือง จึงล้วนแล้วแต่นา่ ไปเที่ยวชมทัง้ สิ้น ไม่เหมือนกับ บ้านเรา
ถึงมีผรู้ อู้ ยากอนุรกั ษ์กท็ ำไม่ได้ ถึงทำได้กเ็ ป็นไปอย่างทุลกั ทุเลเต็มประดา ของเก่าของใหม่ปนเปกันไปหมด
๑. ชื่นชมการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ที่อิตาลี
๒. ตาหนิการไม่อนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ของไทย
๓. กระตุ้นให้คนไทยรู้จักอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง
๔. เสนอขอเท็จจริงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์ในอิตาลี
๑๐. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของผู้ส่งสารในข้อความต่อไปนี้
"การศึกษาสมัยใหม่โดยมากได้ทำลายความมั่นใจในความเป็นมนุษย์ของผูเ้ รียน แยกผูเ้ รียนออกจากสภาพ
ที่เป็นจริงในสังคม ออกจากภูมิปญ ั ญาและวัฒนธรรมพืน้ บ้านของเยาวชน และออกจากสิง่ แวดล้อมทางธรรมชาติ
ทำให้เกิดความเข้าใจอันมิชอบว่าคนเราจะต้องประสบความสำเร็จในชีวติ ในทางยศศั กดิอ์ คั รฐาน โดยการแก่งแย่ง
แข่งดีกนั เองในหมู่มนุษย์ การเอาชนะธรรมชาติและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากทีส่ ุด"
๑. การแข่งขันเป็นหนทางไปสู่ความสาเร็จในชีวิต
๒. คนควรมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติและสังคม
๓. ระบบการศึกษาในปัจจุบันทาให้เกิดการเบียดเบียนกัน
๔. มนุษย์กาลังทาลายสังคม วัฒนธรรมและธรรมชาติเพียงเพื่อประโยชน์ส่วนตน
๑๑. ข้อความต่อไปนี้ให้ข้อคิดในเรื่องใดชัดเจนที่สดุ
สังเวชวัดธารมาทีอ่ าศัย ถึงสร้างใหม่ชอื่ ยังทารมาหมอง
เหมือนทุกข์พถี่ งึ จะมีจนิ ดาครอง มงกุฎทองสร้อยสะอิ้งมาใส่กาย
อันตัวงามยามนีก้ ต็ รอมอก แสนวิตกมาตามแควกระแสสาย
๑. เงินทองทาให้เกิดทุกข์ ๓. เงินทองซื้อความสุขไม่ได้
๒. เงินทองไม่ใช่สิ่งสาคัญที่สุดในชีวติ ๔. เงินทองเป็นของนอกกายหาใหม่ได้เสมอ
๑๒. "หากจะสร้างเทคโนโลยีขึ้นเพื่อให้ทางานแทนต้นไม้ ๑ ต้น ในแต่ละปีเข้าใจว่าจะต้องสิ้นค่าใช้จ่ายนับแสนบาท แต่ทเี่ งิน
มากมายกว่าจานวนนี้ แม้เพียงเสี้ยวของเรณูคนเราก็สร้างไม่ได้" ผู้เขียนข้อความนี้แสดงทรรศนะเรื่องใด
๑. มูลค่าของเทคโนโลยี ๓. ธรรมชาติของมหัศจรรย์ของต้นไม้
๒. คุณค่าอย่างยิ่งของธรรมชาติ ๔. ความสามารถด้านเทคโนโลยีของมนุษย์
หน้า ๘
๑๓. ข้อใดสอดคล้องกับสาระในข้อความต่อไปนี้มากที่สุด
"คนทีป่ ระสบความสำเร็จนัน้ คือคนทีไ่ ม่เพียงแต่เพลิดเพลินชืน่ ชมกับความคิดของตน
หากแต่ถลกแขนเสื้อลงลุยงานอย่างแท้จริงด้วย"
๑. ความสาเร็จเกิดจากความฝัน ๓. ความสาเร็จเกิดจากการปฏิบัติจริง
๒. ความสาเร็จเกิดจากการคิดและทาจริง ๔. ความสาเร็จเกิดจากความพอใจและความมุ่งมั่น
๑๔. สาระของข้อความต่อไปนีต้ รงตามข้อใด
"เราไม่อาจสอนให้เด็กรักธรรมชาติได้ดว้ ยการบอกให้ทอ่ งจำ แต่เด็กจะรักธรรมชาติได้ถา้ หากเด็กได้มโี อกาสสัมผัส
และเข้าใจได้เป็นส่วนหนึง่ ของธรรมชาติจริงๆ ความรักและความหวงแหนจึงจะบังเกิดขึ้นอย่างจีรงั ยั่งยืน "
๑. สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ๓. ให้รักจึงจักได้รักตอบ
๒. การกระทายังยืนกว่าคาพูดร้อยพันเท่า ๔. การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดจากการปฏิบัติ
๑๕. ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อโต้แย้งของข้อใด
"การตัดต่อพันธุกรรมพืชมีปญ
ั หาอยูไ่ ม่น้อย ทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาด้านเศรษฐกิจ
ถึงแม้จะมีขอ้ บ่งชีไ้ ม่ชัดทั้งหมด แต่กส็ ร้างความหวาดระแวงได้มาก"
๑. ปัญหาที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมพืชเป็นเรื่องที่แก้ไขได้เสมอ
๒. การปรับปรุงพันธุ์พชื เป็นวิทยาการที่น่าพอใจและมีประโยชน์มาก
๓. การปรับปรุงพันธุ์พชื แสดงความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ในตะวันตก
๔. เทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรมพืชเป็นสิ่งที่ต้องตามให้ทันและรูเ้ ท่าทัน
๑๖. ข้อใดเป็นแนวความคิดของข้อความต่อไปนี้
"การบำรุงพ่อแม่ไม่ตอ้ งรอจนพ่อแม่แก่เฒ่าประพฤติตวั ดีไม่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อนหรือหนักใจ
ตรงกันข้าม นำความปลืม้ ปีตมิ าสูพ่ อ่ แม่ แค่นนั้ ก็ถอื ได้วา่ เป็นการบำรุงพ่อแม่ได้อย่างหนึง่ คือบำรุงหัวใจ"
๑. ความภูมิใจของพ่อแม่ ๓. ความรับผิดชอบของลูก
๒. การตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ ๔. การแสดงความเคารพรักบุพการี
๑๗. ข้อใดเป็นเหตุผลของผู้พดู ข้อความต่อไปนี้
"ผมชอบรับประทานข้าวเหนียวน้ำกะทิทเุ รียนมาก แต่ปนี ี้ผมไม่รับประทานเลย
เพราะแพทย์ตรวจพบว่าผมเป็นโรคเบาหวาน"
๑. การรับประทานข้าวเหนียวน้ากะทิทุเรียนทาให้เป็นโรคเบาหวาน
๒. คนที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรรับประทานข้าวเหนียวน้ากะทิทุเรียน
๓. การไม่รับประทานข้าวเหนียวนา้ กะทิทุเรียนทาให้ไม่เป็นโรคเบาหวาน
๔. คนที่รับประทานข้าวเหนียวน้ากะทิทุเรียนคือคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน
๑๘. เหตุในข้อความต่อไปนี้น่าจะทาให้เกิดปัญหาใดมากที่สดุ
"งานก่อสร้างของประเทศไทยก้าวหน้าเร็วเกินควร ในขณะที่พฒ ั นาการทางด้านกฎหมายคุม้ ครองความปลอดภัย
ยังก้าวไปช้ามาก อีกทัง้ คนงานก่อสร้างก็มไิ ด้มปี ระสบการณ์
เพราะส่วนมากมักเป็นชาวนาชาวไร่ที่หนั มาทำงานก่อก่อสร้างในฤดูวา่ งงานเกษตรกรรม"
๑. การใช้แรงงานไร้ฝีมือ ๓. การอพยพแรงงานจากชนบท
๒. อุบัติเหตุในการก่อสร้าง ๔. การจ้างแรงงานที่ไม่ยตุ ิธรรม
หน้า ๙
๑๙. ข้อใดเป็นแนวคิดของผู้เขียนข้อความต่อไปนี้
"ถ้าหากคำพยากรณ์เกี่ยวกับการขยายตัวของประชากรโลกเป็นความจริงและแบบแผนของพฤติกรรมของมนุษย์
ไม่เปลีย่ นแปลง ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกไ็ ม่อาจช่วยให้สภาพความเสือ่ มโทรมของสิ่งแวดล้อมฟื้นตัว
กลับคืนมาได้ หรือแม้แต่ความยากจนทีเ่ กิดขึน้ กับคนส่วนใหญ่ในโลก ก็คงไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดขี นึ้ "
๑. อนาคตของโลกกาลังถดถอยเพราะประชากรเพิ่มมากขึ้น
๒. สิ่งแวดล้อมและความยากจนเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้
๓. อนาคตเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าคนเราปรับเปลี่ยนการกระทา
๔. เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสิง่ แวดล้อมได้ในอนาคต
๒๐. ข้อใดคือสารของข้อความต่อไปนี้
"ช้างเคยร่วมรบเคียงข้างกษัตริย์เพือ่ ปกป้องผืนแผ่นดินไทย วันนีช้ า้ งไทยใกล้สญ ู พันธุ์ เนื่องจากถูกใช้แรงงาน
อย่างหนัก การทารุณและการเลี้ยงดูอย่างผิดธรรมชาติทำให้ชา้ งไทยต้องเจ็บป่วย พิการและทยอยตายเฉลี่ยปีละ
๕๐ เชือก จากจำนวนช้างทัว่ ประเทศที่มไี ม่ถึง ๕๐๐๐ เชือก ช้างเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ การรักษาพยาบาลซับซ้อน
ยุ่งยาก มีขอ้ จำกัดเรือ่ งยาและอุปกรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงยิ่งทำให้ชา้ งมีจำนวนน้อยลง"
๑. ความสาคัญของช้างไทย ๓. สาเหตุที่ทาให้ช้างไทยลดจานวนลง
๒. ปัญหาเรือ่ งการรักษาพยาบาลช้างไทย ๔. สถานภาพของช้างไทยในปัจจุบัน
๒๑. ข้อใดไม่อาจสรุปความได้จากข้อความต่อไปนี้
"ฟังแล้วอย่าฟังเปล่า นำเอาสิ่งทีไ่ ด้ฟังมาคิดด้วย ตอนฟังแล้วคิดนีแ่ หละจะทำให้มเี รือ่ งได้โต้ตอบแลกเปลี่ยนกัน
การฟังได้ประโยชน์แก่ตนเองด้านเดียวไม่เหมือนพูดทีต่ อ้ งเสี่ ยงกับการเสียประโยชน์ตนอยู่ดว้ ย"
๑. บางครั้งการพูดอาจทาให้ผู้ฟังไม่พอใจหรือเข้าใจผิด
๒. การพูดอาจทาให้เสียประโยชน์ เราควรเลือกฟังอย่างเดียว
๓. ไม่ว่าเรื่องนั้นจะน่าสนใจหรือไม่ เราก็ควรฟังอย่างสนใจและคิดตาม
๔. การสนทนาจะดาเนินไปด้วยดี ถ้าเราคิดให้สัมพันธ์กับเรื่องที่กาลังฟัง
๒๒. ข้อใดคือจุดประสงค์ของการเขียนข้อความต่อไปนี้
"การฟังบรรยายของอาจารย์อย่างเดียวไม่เพียงพอ... นักเรียนจึงต้องขวนขวายอ่านเพิ่มเติมจากตำรา...
การค้นคว้าเพิม่ เติมด้วยตัวเองสามารถทำให้เรียนรูแ้ ละเข้าใจมายิ่งกว่าทีอ่ าจารย์บรรยายในห้องเรียน
และจดจำสิง่ ที่คน้ คว้าศึกษาได้แม่น ถ้าท่องจำโดยไม่เข้าใจจะจดจำได้ยาก"
๑. โน้มน้าวใจให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
๒. อธิบายวิธศี ึกษาหาความรู้ให้เกิดความเข้าใจ
๓. ชี้แจงให้เห็นว่าการศึกษาด้วยตนเองช่วยให้จดจาได้ง่าย
๔. เสนอแนะการศึกษาค้นคว้านอกจากการฟังบรรยาย
๒๓. ข้อความต่อไปนี้มีสาระสาคัญตรงกับข้อใด
"อดีตเป็นสิง่ ทีเ่ ราเปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว แต่ชว่ งขณะทีย่ งั เป็นปัจจุบนั เป็นความจริงและรอการกระทำของเรานัน้
ทำไมจึงไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วคอยทำลงไป มันอาจยากลำบากในขณะนั้น ทีก่ ค็ ุ้มค่าทีจ่ ะฝืนใจ
ข่มใจ ฝึกดัด ให้ตวั เองเป็นคนรอบคอบ ต่อไปจะไม่ตอ้ งวกคิดถึงเรือ่ งทีผ่ ่านไปแล้วทำให้ใจมัวหมองและท้อแท้"
๑. ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม ๓. คิดใคร่ครวญก่อนลงมือทา
๒. ไม่ควรคิดย้อนกลับถึงอดีต ๔. ลาบากก่อนจะสบายในภายหลัง
หน้า ๑๐
๒๔. ข้อความต่อไปนี้เสนอแนวคิดเรื่องใด
การคบหาสมาคมกับเพือ่ น การร่วมงานกันในหมูค่ ณะหรือแม้แต่การอยูใ่ นครอบครัวเดียวกัน
ย่อมมีการกระทบกระทัง่ กันบ้าง ทำสิง่ ทีส่ ร้างความไม่สบายใจแก่กนั และกันบ้าง ถ้าต่างฝ่ายต่างแข็ง
ไม่ยอมลงให้แก่กนั โต้ตอบกันแบบไม่ลดราวาศอกก็มแี ต่จะแตกหักกันไป
ถ้ารอให้ใจเย็นลงแล้วค่อย ๆปรึกษาหารือกันก็ยอ่ มผ่านปัญหาต่าง ๆ ได้ดว้ ยดี
๑. การยอมแพ้ ๒. การให้อภัย ๓. การประนีประนอม ๔. การป้องกันความขัดแย้ง
๒๕. ข้อใดเป็นจุดประสงค์ของผู้เขียนข้อความต่อไปนี้
หญ้าแม้เป็นพืชต้นเล็ก ๆ แต่เพราะมีความทนทรหด จึงสามารถแพร่พนั ธุไ์ ปได้ทวั่ โลกฉันใด
คนเราแม้กำลังทรัพย์ กำลังความรูค้ วามสามารถจะยังน้อย แต่ถา้ มีความตัง้ ใจจริงและไม่ย่อท้อแล้ว
ย่อมสามารถฝึกฝนตนเองให้ประสบความสำเร็จในชีวติ ได้ฉนั นัน้
๑. แนะนาวิธีการทางาน ๒. อธิบายสัจธรรมของชีวิต ๓. สอนให้คนมีความมุ่งมั่นอดทน ๔. เปรียบเทียบต้นหญ้ากับชีวิตคน
๒๖. ข้อใดเป็นประเด็นสาคัญของข้อความต่อไปนี้
การเที่ยวชมธรรมชาติในถ้ำเป็นกิจกรรมทีน่ า่ ตืน่ เต้น ผูเ้ ข้าชมได้เรียนรูเ้ กี่ยวกับ ธรณีวทิ ยา หินงอก หินย้อย และ
ประวัติศาสตร์จากภาพเขียนสี ถ้ำส่วนใหญ่สามารถเทีย่ ว ชมได้ตลอดปี ถ้ำบางประเภทที่มนี ำ้ ไหล
หรือลำธารลอด ควรเที่ยวเฉพาะฤดูร้อนเท่านัน้ ถ้ำทีต่ ดิ ทะเลบางแห่งจะเทีย่ วได้เฉพาะช่วงน้ำลง หากต้องไปเทีย่ ว
ควรศึกษาข้อมูลเพือ่ ความปลอดภัย เช่น ประวัติดนิ ถล่ม น้ำท่วม ไม่ควรเที่ยวถ้ำทีย่ ังไม่มกี ารสํารวจ
๑. ประเภทต่าง ๆ ของถ้า ๒. ประโยชน์ของการเที่ยวชมถา้ ๓. คาแนะนาในการเที่ยวชมถ้า ๔. ลักษณะของถ้าที่เป็นอันตราย
๒๗. ข้อความต่อไปนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องใด
ผู้ทที่ ำคุณงามความดีไว้แก่เราก่อน ภายหลังเขาจะทำหรือไม่ทำให้อกี ก็ตาม เขาก็คคู่ วรแก่การบูชาตลอดไป
๑. ความถูกต้อง ๒. ความกตัญญู ๓. ความยุติธรรม ๔. ความเสมอภาค
๒๘. ข้อใดเป็นประเด็นโต้แย้งของข้อความต่อไปนี้
ภูกระดึงเป็นอุทยานแห่งชาติที่มธี รรมชาติอดุ มสมบูรณ์ มีความหลากหลายในระบบนิเวศ
การมีนกั ท่องเทีย่ วจำนวนมากเข้ามาในพื้นทีจ่ ะเกิดการทำลายระบบนิเวศ หากมีกระเช้าลอยฟ้าขึน้ ภูกระดึง
จะเกิดอะไรขึน้ นอกจากนักท่องเทีย่ วจะเพิ่มขึน้ แล้ว ร้านค้าร้านอาหารก็จะเต็มไปหมด
๑. ภูกระดึงมีความสวยงามมากจริงหรือ ๓. ควรสร้างกระเช้าลอยฟ้าขึน้ ภูกระดึงหรือไม่
๒. ควรจากัดจานวนนักท่องเที่ยวบนภูกระดึงหรือไม่ ๔. ควรจากัดร้านค้าบนภูกระดึงหรือไม่
๒๙. ข้อใดมีการแสดงข้อคิดเห็นของผู้เขียน
๑. เทคนิคการทาเครื่องสังคโลกกลุ่มบ้านเกาะน้อย จังหวัดสุโขทัย ได้รับการถ่ายทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
๒. ผู้ผลิตเครื่องสังคโลกได้พยายามอนุรักษ์รูปแบบการทาทัง้ การหมักเนื้อดิน และการเขียนลวดลาย
๓. งานสังคโลกสุโขทัยยังเป็นทีต่ ้องการของตลาด แต่ชา่ งที่ทามีน้อย ไม่สามารถผลิตได้ครั้งละมาก ๆ
๔. การเพิ่มมูลค่าเครื่องสังคโลกต้องสร้างความรู้เกี่ยวกับลวดลาย และภาครัฐควรสนับสนุนให้มากขึ้น
๓๐. ข้อใดไม่มกี ารใช้เหตุผล
๑. มันสาปะหลังเป็นที่สะสมแป้ง เป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่มนุษย์และสัตว์
๒. ในหัวมันสาปะหลังมีแป้งเป็นองค์ประกอบอยู่มาก เรามักใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลได้
๓. แป้งมันสาปะหลังใช้เป็นอาหารของมนุษย์และเป็นสารสาคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การทากาว และกาวทากระดาษ
๔. ในอดีตการปลูกมันสาปะหลังมีปัญหาโรคและแมลงศัตรูไม่มากนัก เกษตรไม่ต้องใช้สารเคมีกาจัดแมลง
...การอ่านเป็นจุดเริม่ ต้นของทุกสิง่ ในชีวติ …

You might also like