แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 อ่านได้ไพเราะเพราะรู้คำ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

หน่วยการจัดการเรียนรู้ที่ 2 บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา และสามัคคีเสวก

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย รหัสวิชา ท 22101


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา.............
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา และสามัคคีเสวก เวลา 18 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 อ่านได้ไพเราะเพราะรู้คำ เวลา 1 ชั่วโมง
วันที่……….. เดือน ………………………………………….. พ.ศ. …………. ครูผู้สอน……………………………………………….

1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหา
ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

2. ตัวชี้วัด
2.1 ตัวชี้วัดระหว่างทาง
ท ๑.๑ ม.๒/๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง
ท ๑.๑ ม.๒/๒ จับใจความสำคัญ สรุปความ และอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ ม.๒/๘ มีมารยาทในการอ่าน
2.2 ตัวชี้วัดปลายทาง
-

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. บอกคำอ่านและความหมายของคำศัพท์ในบทเสภาสามัคคีเสวก (K)
๒. สรุปความบทเสภาสามัคคีเสวก (K)
๓. อ่านออกเสียงบทเสภาสามัคคีเสวก (P)
๔. เห็นความสำคัญของการอ่านอย่างเข้าใจและมีมารยาทในการอ่าน (A)

4. สาระสำคัญ
การเข้าใจความหมายของคำศัพท์จะทำให้อ่านออกเสียงได้ถูกต้องและสรุปความเรื่องที่อ่านได้

5. สาระการเรียนรู้
๑. คำศัพท์ในบทเสภาสามัคคีเสวก
๒. การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
- ทักษะการอ่าน
- ทักษะการเขียน
- ทักษะการฟัง การดู และการพูด
2. ความสามารถในการคิด
- การวิเคราะห์
- การสรุปความรู้

7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู้
- ตัวชี้วัดที่ ๔.๑ ตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
- ตัวชี้วัดที่ ๔.๒ แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม บันทึกความรู้ วิเคราะห์ สรุปเป็น
องค์ความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน
- ตัวชี้วัดที่ ๖.๑ ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่การงาน
- ตัวชี้วัดที่ ๖.๒ ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
3. รักความเป็นไทย
- ตัวชี้วัดที่ ๗.๒ เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

8. ชิ้นงาน/ภาระงาน
การอ่านออกเสียงบทเสภาสามัคคีเสวก

9. กิจกรรมการเรียนรู้
๑. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนา โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนมีความรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการขับเสภา
๒. ให้นักเรียนอ่านบทนำเรื่องและที่มาของบทเสภาสามัคคีเสวก จากนั้นให้สรุปสาระสำคัญ ครูอธิบาย
เพิ่มเติมและตอบข้อซักถามของนักเรียน
๓. ให้นักเรียนศึกษาเนื้อเรื่องย่อบทเสภาสามัคคีเสวกแล้วร่วมกันตอบคำถามต่อไปนี้
- บทเสภาสามัคคีเสวกมีกี่ตอน อะไรบ้าง (มี ๔ ตอน ได้แก่ ตอนที่ ๑ กิจการแห่งพระนนที
ตอนที่ ๒ กรีนิรมิต ตอนที่ ๓ วิศวกรรมา ตอนที่ ๔ สามัคคีเสวก)
- แต่ละตอนมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร (ตอนที่ ๑ กล่าวสรรเสริญพระนนที เทพเสวกของพระ
อิศวรผู้ทำหน้าที่รับใช้อย่างซื่อสัตย์ ตอนที่ ๒ กล่าวสรรเสริญพระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาและเทพผู้สร้าง
ช้างตระกูลต่าง ๆ ตอนที่ ๓ กล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรม เทพผู้ให้กำเนิดการก่อสร้าง
และช่างนานาชนิด ตอนที่ ๔ กล่าวสรรเสริญความสามัคคีและความจงรักภักดีในหมู่ราชเสวก)
๔. ให้นักเรียนอ่านสำรวจบทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมาและสามัคคีเสวก บันทึกคำศัพท์
ที่ไม่แน่ใจคำอ่านและความหมาย
๕. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับคำอ่านและความหมายของคำศัพท์ที่บันทึกไว้เพื่อแลกเปลี่ยน
ความรู้กัน ถ้าคำใดไม่แน่ใจและต้องการตรวจสอบให้เปิดพจนานุกรมที่ครูเตรียมไว้
๖. ให้นักเรียนช่วยกันอธิบายความหมายของคำศัพท์ในบัตรคำที่ครูกำหนด ได้แก่
ไพรัช (ต่างประเทศ)

เฉโก (ฉลาดแกมโกง)

เสวก (ข้าราชการในราชสำนัก)

รัชดา (เงิน)

นาริน (ผู้หญิง)

วิลาส (งามมีเสน่ห์)

ศรีวิไล (มีวัฒนธรรม)

สำอาง (งามสะอาดหมดจด)

โอสถ (ยา)

นรชน (คน)

๗. ให้นักเรียนช่วยกันอธิบายเนื้อหาของบทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา และสามัคคีเสวก


๘. ให้นักเรียนช่วยกันอ่านแถบข้อความที่ครูกำหนดต่อไปนี้
- ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม (คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า อะ – หฺริ – พน)
- ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก (คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า สิน – ละ – ปะ – กำ)
- จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป (คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า สิน – ละ – ปะ – กัน)
- ทั้งช่างรูปพรรณสุวรณกิจ
(คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า รูบ – ปะ – พัน – สุ – วัน – นะ – กิด)
- ช่างประดิษฐ์รัชดาสง่าผ่อง (คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า รัด – ชะ – ดา)
- ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี (คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า ราด – ชะ – บอ – ริ – พาน)
- จำต้องมีมิตรจิตสนิทกัน (คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า มิด – ตฺระ – จิด)
- ในพระราชสำนักพระภูธร (คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า พฺระ – ราด – ชะ – สำ – นัก)
- เหล่าเสวกตกที่กะลาสี (คำที่ขีดเส้นใต้อ่านว่า เส – วก)
๙. ให้นักเรียนช่วยกันแบ่งจังหวะการอ่านบทเสภาทั้ง ๒ บท แล้วอ่านออกเสียงแบบธรรมดาให้ถูกต้อง
๑๐. ให้นักเรียนอ่านบทเสภาทั้ง ๒ บท เป็นทำนองเสนาะตามทำนองการอ่านกลอนสุภาพ
๑๑. ให้นักเรียนฟังตัวอย่างการขับเสภาจากครูหรือแถบบันทึกเสียงแล้วฝึกขับเสภา
๑๒. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้
- การเข้าใจความหมายของคำศัพท์จะทำให้อ่านออกเสียงได้ถูกต้องและสรุปความเรื่องที่อ่านได้

10. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. บัตรคำ
2. แถบข้อความ
3. แถบบันทึกเสียง

11. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
11.1 วิธีการวัดและประเมินผล
- สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
- ตรวจผลงานของนักเรียน
11.2 เครื่องมือ
- แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
11.3 เกณฑ์การประเมิน
- การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย  ลงในช่องรายการสังเกตพฤติกรรมที่นักเรียนปฏิบัติ

รายการ
เข้าร่วม
กล้าออกมา กิจกรรม สรุปผลการ
ร่วมมือในการ
เลขที่ ชื่อ-สกุล แสดง ด้วยความ ประเมิน
ทำกิจกรรม
ความสามารถ สนุกสนาน
เพลิดเพลิน
ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน

เกณฑ์การประเมิน
ผ่านตั้งแต่ 2 รายการถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน
ลงชื่อ ....................................... ผู้ประเมิน
(.........................................)
............./............./.............
การประเมินตามสภาพจริง (Rubrics)

การประเมินกิจกรรมนี้ให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics)
เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

ระดับคะแนน
๔ ๓ ๒ ๑
เกณฑ์การประเมิน
การอ่านออกเสียง อ่านออกเสียงได้ถูกต้อง อ่านออกเสียงได้ถูกต้อง อ่านออกเสียงได้ถูกต้อง อ่านออกเสียง
บทร้อยกรอง ตามอักขรวิธี ตามอักขรวิธี ตามอักขรวิธี ได้ถูกต้อง
เสียงดังชัดเจน เสียงดังชัดเจน เสียงดังชัดเจน ตามอักขรวิธี
เว้นจังหวะเหมาะสม เว้นจังหวะเหมาะสม เว้นจังหวะเหมาะสม เสียงดังชัดเจน
สามารถทอดเสียง มีการทอดเสียง พยายามทอดเสียง แต่ยังต้องปรับปรุง
เอื้อนเสียง เอื้อนเสียง เอื้อนเสียง เรื่องการเว้นจังหวะและ
และใช้น้ำเสียง และใช้น้ำเสียง และใช้น้ำเสียง ท่วงทำนอง
แสดงอารมณ์ได้ไพเราะ แสดงอารมณ์ แสดงอารมณ์ ในการอ่าน
ในบางจังหวะได้ดี ในบางจังหวะ
แต่ยังทำได้ไม่ดีนัก
แบบบันทึกคะแนน
กิจกรรม เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

ระดับคะแนน รวม
เลขที่ ชื่อ
4 3 2 1 10 คะแนน

ลงชื่อ ....................................... ผู้ประเมิน


(.........................................)
............./............./.............
การประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ใฝ่เรียนรู้
ชื่อ ชื่อ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน
(3) (2) (1) (0)

ลงชื่อ ....................................... ผู้ประเมิน


(.........................................)
............./............./.............
การประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

มุ่งมั่นในการทำงาน
ชื่อ ชื่อ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน
(3) (2) (1) (0)

ลงชื่อ ....................................... ผู้ประเมิน


(.........................................)
............./............./.............
การประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

รักความเป็นไทย
ชื่อ ชื่อ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน
(3) (2) (1) (0)

ลงชื่อ ....................................... ผู้ประเมิน


(.........................................)
............./............./.............
12. บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
12.1 สรุปผลหลังการจัดการเรียนรู้
1. นักเรียนจำนวน..................คน
ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้......................คน คิดเป็นร้อยละ..................
ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้..................คน คิดเป็นร้อยละ..................
นักเรียนนี่ไม่ผ่าน มีดังนี้
1............................................................ 2............................................................
3............................................................ 4............................................................
5............................................................ 6............................................................
แนวทางแก้ไขนักเรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
............................................................................................................................. ..........................
............................................................................................................................. ...........................
2. บอกคำอ่านและความหมายของคำศัพท์ในบทเสภาสามัคคีเสวก (K)
............................................................................................................................. ..........................
............................................................................................................................. ...........................
3. สรุปความบทเสภาสามัคคีเสวก (K)
............................................................................................................................. ..........................
............................................................................................................................. ...........................
4. อ่านออกเสียงบทเสภาสามัคคีเสวก (P)
............................................................................................................................. ..........................
............................................................................................................................. ...........................
5. เห็นความสำคัญของการอ่านอย่างเข้าใจและมีมารยาทในการอ่าน (A)
............................................................................................................................. ..........................
............................................................................................................................. ...........................
12.2 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
............................................................................................................................. ..............................
............................................................................................................................. .............................
12.3 ข้อเสนอแนะ
............................................................................................................................. ..............................
............................................................................................................................. ..............................

ลงชื่อ...........................................................
(..........................................................)
ตำแหน่ง..............................................
13. ความคิดเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
1. ความเหมาะสมของกิจกรรม
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง ........................................................................................................................................
2. ความเหมาะสมของเนื้อหา
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง ........................................................................................................................................
3. ความเหมาะสมของเวลา
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง ........................................................................................................................................
4. ความเหมาะสมของสื่อ
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง ........................................................................................................................................
5. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ..........................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...........................................................
(..........................................................)
ตำแหน่ง.........................................……..

You might also like