Download as pptx, pdf, or txt
Download as pptx, pdf, or txt
You are on page 1of 58

บทที่ 3 การดูแลช่วยเหลือทารกและเด็กในภาวะเจ็บ

ป่ วยด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยากซับซ้อน
(CPN1111 รายวิชาการช่วยเหลือดูแลทารกและเด็ก)

Asst. Prof. Dr. Muntanavadee Maytapattana


ประมวลรายวิชา PNC1111 การช่วยเหลือดูแลทารกและเด็ก
(Newborn and Pediatric Nursing Assistant)

หน่วยกิต 2 หน่วยกิต 2(2-0-4)


คำอธิบายรายวิชา
การช่วยเหลือพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติการ
พยาบาล การดูแลกิจวัตรประจำวัน ขั้นพื้นฐานแก่ทารก
และเด็กในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่ วยด้วยโรคที่พบ
บ่อย และไม่ยุ่งยากซับซ้อน ศัพท์ทางการแพทย์ที่
เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
 เมื่อสิ้นสุดการศึกษาวิชานี้แล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้
ความสามารถ ดังนี้
1. อธิบายหลักการดูแลช่วยเหลือทารกและเด็กในภาวะ
ปกติและภาวะเจ็บป่ วยด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยาก
ซับซ้อน
2. อธิบายหลักการช่วยเหลือดูแลกิจวัตรประจำวันขั้นพื้น
ฐานแก่ทารกและเด็ก
3. บอกศัพท์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องได้
กิจกรรมการเรียนการสอน

 1. บรรยาย (Lecture)
 2. อภิปรายในชั้นเรียน (Discussion)

 3. ศึกษาด้วยตนเอง (Self Study)


การประเมินผล

 1. การสอบ 60%
 2. รายงานเดี่ยว รายงานกลุ่ม การนำเสนอ

และการเข้าเรียน 40%
หนังสือ/ตำรา/เอกสารอ้างอิง
พรทิพย์ ศิริบูรณพิพัฒนา. (2556). การพยาบาลเด็ก เล่ม 1: หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการพยาบาลเด็กของ
ครอบครัวการพยาบาลทารกแรกเกิด. โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชนก
กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
พรทิพย์ ศิริบูรณพิพัฒนา. (2556). การพยาบาลเด็ก เล่ม 2: การพยาบาลผู้ป่ วยเด็กที่มีความผิดปกติ
ทางอายุกรรมในระบบต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์.
พรทิพย์ ศิริบูรณพิพัฒนา. (2556). การพยาบาลเด็ก เล่ม 3: โรคติดเชื้อ ความผิดปกติที่เกี่ยวกับการเจริญ
ของ
เซลล์ ความผิดปกติทางศัลยกรรม อุบัติเหตุ และการประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ.
นนทบุรี:
บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. (2556). การพยาบาลเด็กป่ วยโรคเรื้อรังโดยใช้ครอบครัวเป็ นศูนย์กลาง (พิมพ์
ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชนก.
ศรีสมบูณ์ มุสิกสุคนธ์ . (บรรณาธิการ). (2555). ตำราการพยาบาลเด็ก เล่มที่ 1 ( พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :
โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีสมบูณ์ มุสิกสุคนธ์ . (บรรณาธิการ). (2555). ตำราการพยาบาลเด็ก เล่มที่ 2 ( พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :
โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
หนังสือ/ตำรา/เอกสารอ้างอิง (ต่อ)
Betty, J., A., Gail, B., L., Mary, B., F., M. (2017). Nursing Diagnosis Handbook: An Evidence-Based Guide to Planning Care (11th
ed.). USA: ELSEVIER.
Bowden, V. R. & Greenberg, C. S. (2014). Children and their Families: The Continuum of Nursing Care (3rd ed.).
Philadelphia: Wolters Kluwer Lippincott Williams & Wilkins.
Hockenberry, M. J., Wilson, D., & Rodgers, C. C. (2017). Study guide for Wong's essentials of pediatric nursing
(10th ed.). St. Louis: ELSEVIER.
Hockenberry, M. J., Wilson, D., & Rodgers, C. C. (2017). Wong’s Essentials of PEDIATRIC NURSING (10th ed.).
Canada: ELSEVIER.
Hockenberry, M. J., Wilson, D., & Rodgers, C. C. (2019). Wong's nursing care of infants and children (11th ed.).
St. Louis, Missouri: ELSEVIER.
Kyle, T. & Carman, S. (2017). Essentials of Pediatric Nursing (3rd ed). Philadelphia: Wolters Kluwer Lippincott
Williams & Wilkins.
Kyle, T., & Carman, S. (2017). Pediatric Nursing Clinical Guide. China: Wolters Kluwer.
Price, J. & McAlinden, O. (2018). Essentials of nursing children and young people. Los Angeles: SAGE.
สังเขปหัวข้อวิชา

บทที่ 1 การดูแลช่วยเหลือทารกและเด็กในภาวะ
ปกติ (5 ชั่วโมง)

บทที่ 2 ประเด็นและแนวโน้มในการพยาบาลเด็ก
(3 ชั่วโมง)
สิทธิเด็กและการละเมิดสิทธิในเด็ก
แนวโน้มปัญหาสุขภาพของทารกและ
เด็กไทย
สังเขปหัวข้อวิชา (ต่อ)
บทที่ 3 การดูแลช่วยเหลือทารกและเด็กในภาวะเจ็บป่ วยด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่
ยุ่งยาก
ซับซ้อน (20 ชั่วโมง)
ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก
ภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการ
ภาวะโภชนาการเกิน
ทารกและเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร
ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ในเด็ก / การดูแลเด็กที่มีภาวะขาดน้ำ
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคกระเพาะลำไส้อักเสบในเด็ก
การดูแลเด็กที่เป็ นโรคอุจจาระร่วงและกระเพาะลำไส้อักเสบ
โรคกระเพาะอาหารอักเสบในเด็ก / การดูแลเด็กที่เป็ นโรคกระเพาะอาหาร
อักเสบ
โรคปากแหว่งเพดานโหว่ในเด็ก / การดูแลเด็กที่เป็ นโรคปากแหว่งเพดาน
สังเขปหัวข้อวิชา (ต่อ)
บทที่ 3 การดูแลช่วยเหลือทารกและเด็กในภาวะเจ็บป่ วย
ด้วยโรคที่พบบ่อยและไม่ยุ่งยากซับซ้อน (ต่อ)

ทารกและเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
การดูแลเด็กที่มีภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วน
บน
การดูแลเด็กที่มีภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วน
ล่าง

บทที่ 4 คำศัพท์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง (2
Topics
 คลิปที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก
 การเจริญเติบโตของเด็ก

 ภาวะโภชนาการในเด็ก

 ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก

 ภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการ
 ภาวะโภชนาการเกิน
คลิปที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก

 การห่อตัวเด็ก https://youtu.be/8Y1pMHKlIXU
 การอุ้มเด็ก

https://www.youtube.com/watch?v=uRO_uj0Zep8&
feature=share
 การวัดไข้

https://youtu.be/IkESiNoTV2c
 การเช็ดตัวลดไข้

https://youtu.be/MJHVJ9o1cDo
https://youtu.be/95FJFq9BQ7c
การเจริญเติบโตของเด็ก
 การเจริญเติบโตด้านน้ำหนักตัว
 แรกเกิดน้ำหนักเด็กปกติจะเท่ากับ 3 กิโลกรัม ใน
สัปดาห์แรกหลังคลอด เด็กอาจมีน้ำหนักลดลงได้ไม่
เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักแรกเกิด และจะกลับมาเท่า
แรกเกิดภายใน 2 สัปดาห์ (ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์และ
คณะ, 2555)
 สูตรคำนวณหาน้ำหนักจากอายุเด็กตามช่วงวัยต่างๆ
(หน่วยเป็ นกิโลกรัม)
 อายุ 3 -12 เดือน = [อายุ (เดือน) + 9] / 2
 อายุ 1- 6 ปี = [อายุ (ปี ) × 2] + 8
 อายุ 7-12 ปี = [อายุ (ปี ) × 7] - 5 / 2
การเจริญเติบโตในเด็ก
 การเจริญเติบโตด้านความสูง
 เด็กแรกเกิดจะมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร
ส่วนเด็กอายุ 1 ปี จะมีความสูงเพิ่มขึ้นเป็ น 1.5
เท่าของความสูงแรกเกิด
 สูตรคำนวณหาความสูงจากอายุ 2 - 12 ปี (หน่วย
เป็ นเซนติเมตร)
= [อายุ (ปี) × 6] +77
กราฟแสดงการเจริญเติบโต (Growth Chart)
กราฟแสดงการเจริญเติบโต (Growth Chart)
ภาวะโภชนาการในเด็ก
 ความต้องการสารอาหารในเด็กแต่ละวัย
 วัยทารก (แรกเกิด-1ปี)
 พลังงาน ปกติทารกต้องการพลังงาน 100 กิโล
แคลอรี/กิโลกรัม/วัน
 น้ำ ทารกต้องการน้ำ 1.5 มิลลิลิตร/กิโลแคลอรี หรือ
150 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/วัน (ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์
และคณะ, 2555) ทารกอายุแรกเกิดถึง 6 เดือน ไม่
จำเป็ นต้องได้รับน้ำเสริม เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหาร
ครบสำหรับทารกและน้ำเพียงพอกับความต้องการ
 วิตามินและเกลือแร่ ทารกที่ได้รับน้ำนมแม่และนม
ผสมอย่างถูกสัดส่วนจะได้วิตามินและเกลือแร่เพียง
พอ
ภาวะโภชนาการในเด็ก
 นม
นมแม่เป็ นอาหารหลักสำหรับทารก โดยเฉพาะทารกแรก
เกิดถึง 6 เดือน หลังจากนั้นจะได้นมและอาหารตามวัยจนถึง
อายุ 1 ปี น้ำนมแม่ประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 87 และมีสาร
อาหารและสารต่าง ๆ นับพันชนิด มีปริมาณแตกต่างกันในช่วง
หัวน้ำนม (Colostrum) และน้ำนมระยะหลัง (mature milk) นมแม่
มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนสารอาหารให้
พลังงาน ได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้ำตาล และสารอาหรที่ไม่ให้
พลังงานได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ กับส่วนของสารที่เกี่ยวข้องกับ
การปกป้องร่างกาย ได้แก่ สารภูมิคุ้มกัน สารช่วยการเจริญ
เติบโต สารช่วยย่อย และระบบฮอร์โมนต่าง ๆ
ภาวะโภชนาการในเด็ก
 นมผสม
กรณีที่แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เช่น เป็ นวัณโรค ตับอักเสบ
ติดเชื้อ เอชไอ วี/เอดส์ (HIV/AIDS) แม่ติดยาหรือสารเสพติด หรือได้รับ
ยาที่มีโอกาสออกมาทางน้ำนม เป็ นมะเร็งเต้านม หรือมีเหตุที่ต้องการหยุด
ให้นมแม่
ก่อนอายุ 1 ปี จำเป็ นต้องให้นมผสมแทนนมแม่ แต่ควรระมัดระวังเลือกใช้
นมผสมที่
เหมาะสำหรับทารก
1) นมผสมสูตรมาตรฐาน เป็ นนมที่ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน มี
การควบคุมคุณภาพปริมาณ สารอาหารให้ใกล้เคียงน้ำนมแม่ ใช้นมวัวเป็ น
หลักโดยกำจัดไขมันออกใช้น้ำมันพืชแทน เติมวิตามิน เกลือแร่ พลังงาน
เท่าน้ำนมแม่ คือ 20 กิโลแคลอรี/ออนซ์
ภาวะโภชนาการในเด็ก

นมผสมที่ผลิตมีทั้งเติมและไม่เติมเหล็ก ควรเลือกใช้นมที่เติมเหล็ก จะ
ใช้สูตรถั่ว
เหลือง (soy base formula) ในทารกที่แพ้โปรตีน หรือน้ำตาล
แล็กโทสจากนมวัว
2) สูตรนมสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด เป็ นสูตรเฉพาะสำหรับ
ทารกที่
คลอดก่อน 37 สัปดาห์ จะให้จนกระทั่งทารกมีน้ำหนักตามต้องการ นม
สูตรนี้
ให้พลังงาน 22-24 กิโลแคลอรี/ออนซ์ ให้โปรตีน วิตามินอี แคลเซียม
ฟอสฟอรัสสูงกว่านมสูตรมาตรฐาน
3) สูตรต่อเนื่อง สูตรนี้สำหรับทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 3 ปี เป็ นนม
ที่
ดัดแปลงมาจากนมวัว มีปริมาณสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีน
คาร์โบไฮเดรต
ไขมันต่ำ
 Infant formula
20 kilocalorie / 1 oz.

 Premature formula
22-24 kilocalorie / 1 oz.

 Follow-on formula
For 6 months – 3 years
Protein 2-3 gram/ 100 ml.
ภาวะโภชนาการในเด็ก
*** 1 ช้อนตวง (ใช้ช้อนในกระป๋ องตวงนม) ต่อน้ำสุก 1 ออนซ์ (30 ซีซี)
จะให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี*** https://youtu.be/OOv0821eubk
การคำนวณนม (คำนวณพลังงาน)
ตัวอย่าง ทารกอายุ 1 เดือน น้ำหนัก 3,200 กรัม (3.2 กิโลกรัม)
ต้องการพลังงานต่อวันเท่าไร และควรเตรียมนมอย่างไร?
วิธีคำนวณใช้สูตร Holiday & Sagar
10 กิโลกรัมแรก เท่ากับ 100 กิโลแคลอรี่/ กิโลกรัม/ วัน
เด็กหนัก 3.2 กิโลกรัม ต้องการแคลอรี่เท่ากับ 100 × 3.2 = 320
กีโลแคลอรี่/ วัน
ทารกดูดนมวันละ 8 มื้อ ดังนั้น ทารกจะได้พลังงาน 320/8 = 40
กิโลแคลอรี/มื้อ (นม 1 ออนซ์ = 20 กิโลแคลอรี)
ดังนั้น การเตรียมนมผสมให้เด็กรายนี้คือ 2 ช้อนตวง เติมน้ำครบ 2
ออนซ์/ มื้อ
ภาวะโภชนาการในเด็ก
 เทคนิคการให้นม อุ้มกอดทารกและให้นอนศีรษะสูงบนตัก
แก้มชิดอกผู้อุ้ม เพื่อให้ทารกได้รับการสัมผัสและอบอุ่น ถือ
ขวดนมให้เกือบตรง ไม่ให้มีอากาศในหัวนมที่ทารกดูดเข้าไป
ไม่หนุนขวดนมให้ทารกนอนดูดนมเองเพราะจะทำให้ทารก
เสี่ยงต่อการสำลัก ฟันผุและการติดเชื้อที่หู และควรไล่ลม (จั
บเรอ) ภายหลังทารกดูดนมนาน 15 นาที
 นมผสมที่เปิดแล้ว ต้องใช้ให้หมดใน 30 วัน นมผสมเมื่อชง
แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ < 4 องศาเซลเซียส ได้นาน
48 ชั่วโมง การอุ่นนมที่ชงแล้วให้แช่ในน้ำอุ่น ไม่อุ่นในตู้
ไมโครเวฟ นมที่เหลือภายหลังการดูดควรทิ้ง ไม่ควรนำมาใช้
ในมื้อถัดไป
อาหารเสริมตามวัยของทารก
ภาวะโภชนาการในเด็ก
 เด็กอายุ 1 ปี ถึงเริ่มวัยรุ่น
 พลังงาน

คำนวณหาพลังงานโดยใช้สูตรของ Holiday & Sagar ซึ่งไม่คำนึงถึงเพศ


ดังนี้
10 กิโลกรัมแรก เท่ากับ 100 กิโลแคลอรี่/ กิโลกรัม/ วัน
10 กิโลกรัมต่อมา เท่ากับ 50 กิโลแคลอรี่/ กิโลกรัม/ วัน
น้ำหนักที่เหลือ เท่ากับ 20 - 30 กิโลแคลอรี่/ กิโลกรัม/ วัน
ตัวอย่าง เด็กชายหนัก 30 กิโลกรัม ความต้องการพลังงานต่อวันเป็ นเท่าไร
ความต้องการพลังงานเด็กวัยเรียน = (น้ำหนักร่างกาย 10 กิโลกรัมแรก × 100) +
(น้ำหนักร่างกาย 10 กิโลกรัมต่อมา × 50) + (น้ำหนักที่เกิน 10 กิโลกรัม × 20
หรือ 30)
แทนค่า = (10 × 100) + (10 × 50) + (10 × 20 หรือ 30)
= 1,000 + 500 + (200 หรือ 300)
ภาวะโภชนาการในเด็กวัยรุ่น
 วัยรุ่น คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 10-20 ปี เด็กวัยนี้เป็ นช่วงเวลา
ที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็ นผู้ใหญ่ทั้งร่างกาย
และจิตใจ ปัจจัยด้านกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม มี
ส่วนทำให้เด็กวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านโภชนาการ
ต่างๆ ที่สำคัญคือ โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน ไขมันใน
เลือดสูง และพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม
ภาวะโภชนาการในเด็กวัยรุ่น

Retrieve from https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetai


l.asp?id=1287
ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก
 ภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการ
ภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการในเด็ก

 ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor)
 มาราสมัส (Merasmus)

 ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron

Deficiency Anemia)
 ภาวะขาดวิตามิน (Vitamin Deficiency)
ภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการในเด็ก

 ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) เป็ นโรค


ขาดโปรตีนอย่างมาก เด็กจะมีอาการบวม
เห็นได้ชัดที่ขา 2 ข้าง เส้นผมเปราะและ
หลุดร่วงง่าย ผิวหนังบางลอกหลุดง่าย
ตับโต เด็กมีอาการซึมและดูเศร้า ไม่
สนใจต่อสิ่งแวดล้อม แย่ทั้งทางร่างกาย
และจิตใจ โรคนี้มักพบในเด็กอายุ
Retrieved from http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E
0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8

มากกว่า 1 ปีขึ้นไป
%B5%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1
%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.pdf
ภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการในเด็ก

 มาราสมัส (Merasmus) เป็ นโรคที่ขาดทั้งพลังงาน


และโปรตีน เด็กมีแขนขาลีบเล็ก เพราะทั้งไขมัน
และกล้ามเนื้อถูกเผาผลาญมาใช้เป็ นพลังงานเพื่อ
การอยู่รอด ลักษณะที่พบเห็นเป็ นแบบหนังหุ้ม
กระดูก ผิวหนัง เหี่ยวย่นเหมือนหนังคนแก่ ไม่มี
อาการบวม และตับไม่โต มารามัสมักพบในเด็กอา
ยุต่ากว่า 1 ปี เนื่องจากมีการหย่านมไว เด็กได้รับ
การเลี้ยงดูด้วยอาหารที่ไม่มีคุณค่าทาง
Retrieved from http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E
โภชนาการ
0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8
%B5%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1
%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.pdf
Kwashiorkor VS Marusmus

Retrieved from https://netterimages.com/kwashiokor-and-marasmus-labeled-florin-pediatrics-tiffany-s-davanz


o-61014.html
การดูแลเด็กที่มีภาวะขาดโปรตีนและพลังงาน

การรักษา
1. ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลถ้าเด็กมีอาการบวม เบื่อ
อาหาร มีท่าทางเซื่องซึม อาจต้องป้อนอาหารทางสายยาง
รักษาโรคติดเชื้อ และแก้ไขภาวะอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย
2. ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลเช่นเดียวกันถ้าสงสัยว่ามี
โรคติดเชื้อที่รุนแรง
3. หากไม่มีอาการใดๆ ให้ดูแลรักษาดังนี้
-แนะนำการให้อาหารและการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง
-ให้การรักษาตามสาเหตุของโรคที่พบร่วม เช่น ไข้หวัด
ท้องเสีย แผลพุพอง ทอนซิลอักเสบ เป็ นต้น
-ให้ยาบำรุงโลหิตหรือวิตามินรวม
การดูแลเด็กที่มีภาวะขาดโปรตีนและพลังงาน
(ต่อ)

การป้ องกัน
1. ควรเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างน้อย 6 เดือน โดยเฉพาะใน
ครอบครัวที่ยากจนและมีลูกมากไม่ควรหย่านมบุตรเร็วเกินไป
2. ให้อาหารเสริมอย่างเพียงพอและถูกต้องแก่ทารก
3. ให้วัคซีนป้องกันโรคแก่เด็กเล็ก
4. ควรแนะนำการเลี้ยงดูและการให้อาหารเสริมถ้าพบว่าน้ำหนักน้อย
กว่าเกณฑ์ปกติ จึงควรหมั่นชั่งน้ำหนักเด็กเป็ นระยะๆ หากยังไม่ได้
ผลควรแนะนำให้ไปพบแพทย์
5. ไม่ต้องงดของแสลงเมื่อเด็กเจ็บป่ วย เช่น มีบาดแผล
อักเสบ คางทูม หัด อีสุกอีใส เป็ นต้น เพื่อบำรุงร่างกายเด็กจึง
ควรให้กินอาหารประเภทโปรตีนมากๆ เช่น เนื้อ นม ไข่ และ
ถั่วต่างๆ
ภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการในเด็ก

 ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia)


เป็ นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยในเด็ก โดยอายุที่พบบ่อยในเด็กอยู่ใน
ช่วงอายุ
6 เดือนถึง 5ปี และในช่วงวัยรุ่นโดยเฉพาะในเพศหญิงที่เริ่มมีประจำเดือนโดยการขาด
ธาตุ
เหล็กในระยะแรกอาจจะยังไม่พบอาการซีดหรือความผิดปกติใดๆ ในเด็กบางราย แต่ถ้า
ขาด
ธาตุเหล็กมากขึ้นและนานขึ้น จะพบอาการซีด ลิ้นเลี่ยนรับประทานไม่อร่อย เนื่องจาก
การรับ
รสผิดปกติ มุมปากเป็ นแผล เล็บเป็ นรูปช้อน นอกจากนี้ ยังมีอาการผิดปกติทางสมอง
และ
พฤติกรรม เช่น ซึม ไม่ร่าเริง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม บางรายมี
อาการ
หงุดหงิด ไม่อยากรับประทานอาหาร และถ้ามีอาการซีดมากขึ้น จะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว
ใจ
ภาวะขาดสารอาหารและโภชนาการในเด็ก

 อาการลิ้นเลี่ยนและเล็บเป็ นรูปช้อนในเด็กที่มี
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

Retrieved from http://tsh.or.th/Knowledge/Details/36


การดูแลเด็กที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุ
เหล็ก
 เด็กคลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์ <37 สัปดาห์) หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แนะนำให้ธาตุเหล็กเสริมร่วมด้วย โดยเริ่มที่อายุ 1 เดือนจนถึงอายุ 12 เดือน
โดยอาจจะอยู่ในรูปของยาหรืออาหารเสริม
เด็กครบกำหนด จะได้รับธาตุเหล็กสะสมไว้จากรกของแม่ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์
จนถึง 4-6 เดือน หลังจาก 6 เดือน เด็กสามารถทานอาหารเสริมตามวัยที่มีธาตุ
เหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว เป็ นต้น
 ให้คำแนะนำเรื่องอาหารเป็ นส่วนสำคัญในการฝึกเด็กให้รับประทานอาหาร

ครบห้า
หมู่
 แก้ไขสาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก เช่น รักษาโรคกระเพาะอาหารกรณีที่เสีย

เลือด
จากมีแผลในกระเพาะอาหาร หรือให้ยาถ่ายพยาธิปากขอ ซึ่งเป็ นสาเหตุของการ
เสีย
เลือดทางลำไส้จากพยาธิ เป็ นต้น
ภาวะขาดวิตามิน (Vitamin Deficiency)

 ภาวะขาดวิตามิน (Vitamin Deficiency)


 สาเหตุเกิดจาก การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เลือกทาน
อาหาร ทานอาหารไม่มีประโยชน์ (Junk food) รับประทานอา
หารเดิมๆ ซ้ำๆ หรือเด็กมีความผิดปกติของการย่อยและการดูด
ซึม รับประทานยาบางชนิด ร่างกายขับถ่ายวิตามินมากผิดปกติ
 อาการไม่เฉพาะเจาะจง เช่น เบื่ออาการ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย โดยปกติเด็กจะไม่ขาดเพียงตัวใด
ตัวหนึ่งมักจะขาดวิตามินหลายชนิดร่วมกัน
 การป้องกันการขาดวิตามิน คือ ต้องแก้สาเหตุของปัญหาที่
กล่าวมาข้างต้น
ภาวะโภชนาการเกินในเด็ก
ภาวะโภชนาการเกินในเด็ก
 หมายถึง ภาวะที่เด็กมีน้ำหนักเทียบกับส่วนสูงไม่สอดคล้อง
กัน การวัดค่าความอ้วนทำได้ด้วยการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย
(Body Mass Index หรือ BMI) แล้วนำไปเปรียบเทียบกับ
กราฟ BMI แยกตามเพศและอายุว่าอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่เท่า
ไหร่ ถ้าเกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85-95 ของเกณฑ์ถือว่าอยู่ใน
ระยะอวบ แต่ถ้าเกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 ของเกณฑ์ถือว่าอ้วน
 ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี จะประเมินโดยใช้กราฟแสดงการ
เจริญเติบโต (Growth chart) โดยดูน้ำหนักและส่วนสูง (Age-
for-high) ตามอายุและเพศถ้าพรอตกราฟแล้ว
ค่าระหว่าง1.5 - 2 S.D. แปลว่า ท้วม
ค่าระหว่าง 2.0-3.0 S.D. แปลว่า เริ่มอ้วน
ค่ามากกว่า 3.0 S.D. แปลว่า อ้วน
ภาวะโภชนาการเกินในเด็ก
 สาเหตุ กินอาหารว่างมากกว่าอาหารหลัก เช่น ขนมกรุบ
กรอบ น้ำหวานน้ำอัดลม เบเกอรี่ อาหารไขมันสูง อาหาร
รสหวานกินผักผลไม้น้อย กินอาหารไม่เป็ นเวลา มี
กิจกรรมอยู่กับที่มาก ไม่ชอบขยับร่างกาย
ภาวะโภชนาการเกินในเด็ก
 ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ทุกระบบของร่างกาย
 ระบบประสาทและสมอง ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ความดันในสมองสูง ตาพร่ามัว
ได้
 ระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการนอนกรน ถ้าเป็ นมากอาจมีภาวะหยุดหายใจ
ต้องรีบรักษา
 ระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีไขมันไปเกาะตับ เกิดตับอักเสบ จนถึงตับวายได้
 ระบบหลอดเลือด ทำให้เกิดความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ
ได้
 ระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ซึ่งพบบ่อยขึ้นในเด็กอ้วน (กรรมพันธุ์)
เด็กอ้วนที่เสี่ยงที่จะเป็ นเบาหวานจะมี ภาวะผิวด้านหลังคอหรือตามข้อพับรักแร้ดำ
 อาจทำให้เป็ นหนุ่มสาวก่อนวัย อายุกระดูกไปเร็ว ทำให้สุดท้ายไม่สูงได้และในวัย
รุ่นผู้หญิงที่มีประจำเดือนแล้ว ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอได้
 ปัญหาสุขภาพจิต มักจะทำให้มีภาวะซึมเศร้า ไม่มั่นใจในตัวเอง ในการเข้าสังคม
 กระดูก พบมีปวดขา สะโพก ขาโก่งได้
 ผิวหนัง พบมีการติดเชื้อราตามข้อพับต่างๆ ได้บ่อย
การดูแลเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน

 แนะนำให้มารดาหรือผู้ดูแลปฏิบัติ ดังนี้
 ไม่ให้เด็กกินจุบจิบ ไม่ซื้อขนม นมปรุงรส และอาหารไข

มันสูงเก็บสะสมไว้ในบ้าน
 สอนให้เด็กกินผักและผลไม้ให้เป็ นนิสัย
 สอนให้เด็กมีวินัยในการกิน กินให้เป็ นเวลา
 ลดกิจกรรมที่เด็กไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยให้ดู

โทรทัศน์ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง
 ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เด็กมีการออกกำลังกาย โดยทำ

กันทั้งครอบครัว
 บิดามารดาหรือผู้ดูแลต้องเป็ นแบบอย่างที่ดี
ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออก
กำลังกาย
เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการพยาบาลเด็กและวัย
รุ่น. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการพยาบาลเด็กและวัย
รุ่น. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนาและคณะ. (2556). การพยาบาลเด็ก
เล่ม 1. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส
จำกัด.
ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์และคณะ. (2555). ตำราการพยาบาลเด็ก
เล่ม 1. (ฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้น
ส่วน จำกัด พรี-วัน.
Assignment
 นำเสนอและทำรายงานกลุ่ม
 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม
 หาคลิปวิดีโอหรือเวปไซต์ที่เกี่ยวกับการขาดสาร

อาหารและภาวะอ้วนในเด็กทั้งในและต่างประเทศ
ความยาวไม่เกิน 3-5นาที (ขาดสารอาหาร 2 กลุ่ม
ภาวะอ้วนในเด็ก 2 กลุ่ม เลือกกันเอง)
 นำเรื่องที่หามานำเสนอให้อาจารย์และเพื่อนกลุ่มอื่น

ฟังโดยนำเสนอตามแบบฟอร์ม (slide ถัดไป)


 ใช้เวลานำเสนอไม่เกิน 10 นาที (รวมดูคลิป)
 โดยทุกคนในกลุ่มต้องมีส่วนร่วม
 ให้ทำรายงานส่งตามแบบฟอร์มและนำเสนอ
ชื่อเรื่อง.................................................................(จากคลิปวีดีโอหรือเวปไซต์)
ของหน่วยงาน...................ประเทศ..................................................
1. สรุปเนื้อหาสาระสำคัญจากคลิปหรือเวปไซต์

........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
..................................................
2. ข้อเสนอแนะที่ได้จากเรื่องนี้

........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
.....
3. เปรียบเทียบปัญหานี้กับประเทศไทย (ถ้าเป็ นคลิปของต่างประเทศ) หรือ เปรียบเทียบปัญหานี้กับ
ประเทศอื่นๆ (ถ้าเป็ นคลิปหรือเวปของไทย)

........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
.................
4. ในฐานะผู้ช่วยพยาบาลจะให้การดูแลหรือช่วยเหลือเด็กในคลิปหรือเวปไซต์นี้อย่างไร

........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
......................................................................................
5. อ้างอิงจาก (นำมาจากคลิปหรือเวปใด copy link มาใส่)
ตัวอย่างคลิปที่น่าสนใจ

 ภาวะขาดสารอาหารในอินเดีย
https://youtu.be/Mu56qbyzT78

 ภาวะอ้วนในเด็กไทย
https://youtu.be/-Xp6J7i2RyU
THANK YOU

You might also like