02

You might also like

Download as pptx, pdf, or txt
Download as pptx, pdf, or txt
You are on page 1of 23

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ.

พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ความเป็ นมาของบทละคร
เรื่องอิเหนา
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ
หล้านภาลัย เป็ นช่วงที่บ้านเมืองมีความ
สงบสุขมากขึ้น เนื่องจากว่างศึกสงคราม จึงมี
เวลาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้มาก
ทำให้พระองค์ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
ต่างๆ เก็บไว้เป็ นจำนวนมาก
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

พระราชนิพนธ์บทละครที่ได้รับการ
ยกย่องอย่างมาก คือ บทละครในเรื่อง
อิเหนา ซึ่งได้รับการตัดสินจากวรรณคดี
สโมสร ให้เป็ นยอดของบทละครรำ ในปี
พ.ศ. ๒๔๕๙ เพราะเป็ นวรรณคดีที่ดี
ทั้งเนื้อความและกระบวนกลอน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรง
ราชานุภาพ ทางกล่าวไว้ว่า ทางพระราช
นิพนธ์ไว้แค่สึกชี ต่อจากนั้นมีผู้แต่งเพิ่มเข้ามา
ภายหลังจนจบ ซึ่งน่าจะเป็ นกรมหมื่นเจษฎา-
บดินทร์ เจ้าฟ้ ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี กรม
หมื่นสุทธิรักษ์ ขุนสุนทรโวหาร(ภู่) และพระยา
ไชยวิชิต(เผือก)
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

บทละครเรื่องอิเหนา มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยามี
เรื่อ.เล่าสืบกันมาว่า พระราชธิดาในพระเจ้าบรมโกศ
๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้ าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้ าหญิง
มงกุฎ ทางให้นางข้อหลวงซึ่งเป็ นแขกมาจาก
ปัตตานี เรียกว่าชาวยะวอและเพี้ยนไปเป็ นยะโว
ข้าหลวงชาวยะวอเล่านิทานเป็ นที่พอพระทัยทั้ง ๒
พระองค์ จึงทรงนำเค้าเรื่องมาแต่งบทละครขึ้น
พระองค์ละเรื่อง
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

บทละครของเจ้าฟ้ าหญิงกุณฑล พระ


ราชดาองค์ใหญ่ คือเรื่องดาหลัง เรียกกัน
สามัญว่า อิเหนาใหญ่
ส่วนบทละครของเจ้าฟ้ าหญิงมงกุฎ
พระราชธิดาองค์เล็ก คือเรื่องอิเหนา เรียก
กันสามัญว่า อิเหนาเล็ก
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ปัจจุบันไม่ปรากฏต้นฉบับทั้งสองสำนวน ดังที่
ปรากฏในตอนท้ายเพลงยาวท้ายพระราชนิพนธ์บท
ละครเรื่องอิเหนา ฉบับรัชกาลที่ ๒ ว่า
“อันอิเหนาเอามาทำเป็ นคำร้อง
สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์
แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป ”
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอด-ฟ้ าจุฬาโลกมหาราช
มีพระราชประสงค์ฟื้ นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
ที่เสื่อมโทรม จงโปรดเกล้าฯ ให้กวีแต่งบท
ละครในขึ้น ได้แก่เรื่อง รามเกียรติ์ อุณรุท
ดาหลัง และอิเหนา (แต่งตามอิเหนาเล็ก)
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพุทธเลิศ
หล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บท
ละครในเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ โดยการ
ปรับปรุงให้เหมาะแก่การแสดง แล้วนำไป
ซ้อมประกอบท่ารำจนได้สอดคล้องกัน
และถือเป็ นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบัน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

เรื่องอิเหนาได้โครงเรื่องมาจากนิยายของชวา ชื่อ
ว่า นิยายปันหยี หรือระดินอินูแห่งกุริปัน ซึ่งมีหลาย
สำนวน แต่มีเนื้อเรื่องตรงกันที่ว่า พระโอรสเมือง
กุเรปันหมั้นกับพระธิดาเมืองดาหา แต่ไปหลงรักหญิง
เมืองอื่นจนเกิดเรื่องยุ่งยาก ต้องปลอมตัวเร่รอนไปตี
หัวเมืองน้อยใหญ่ จนดินแดนกว้างขวางขึ้น ในที่สุด
ตัวละครสำคัญก้ได้บกันและกลับคืนบ้านเมืองอย่างมี
ความสุข
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

เรื่องอิเหนาได้โครงเรื่องมาจากนิยายของชวา ชื่อ
ว่า นิยายปันหยี หรือระดินอินูแห่งกุริปัน ซึ่งมีหลาย
สำนวน แต่มีเนื้อเรื่องตรงกันที่ว่า พระโอรสเมือง
กุเรปันหมั้นกับพระธิดาเมืองดาหา แต่ไปหลงรักหญิง
เมืองอื่นจนเกิดเรื่องยุ่งยาก ต้องปลอมตัวเร่รอนไปตี
หัวเมืองน้อยใหญ่ จนดินแดนกว้างขวางขึ้น ในที่สุด
ตัวละครสำคัญก็ได้พบกันและกลับคืนบ้านเมืองอย่าง
มีความสุข
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

เรื่องย่อ บทละครเรื่องอิเหนา
มีกษัตริย์สูงศักดิ์ ๔ พระองค์พี่น้อง ซึ่งเชื่อกันว่า
สืบเชื้อสายมาจากเทวดา ทั้ง ๔ พระองค์ต่างครอบ
ครองเมืองอันรุ่งเรืองคนละเมือง คือ กุเรปัน ดาหา
กาหลังและสิงหัดส่าหรี ได้ตกลงกันว่าจะจัดให้โอรส
ธิดาอภิเษกสมรสกันเองเฉพาะในวงศ์นี้คือวงศ์เทวา
หรือที่รู้จักกันในเรื่องว่า “วงศ์อสัญแดหวา”
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

เมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่งชื่อเมืองหมันหยา เจ้า
เมืองมีธิดา ๓ พระองค์
ธิดาองค์ใหญ่ได้เป็ นมเหสีเอก คือประไหมสุหรี
แห่งเมืองกุเรปัน เป็ นพระมารดาของอิเหนาและวิยะดา

ธิดาองค์ที่สองเป็ นประไหมสุหรีของท้าวดาหา
เป็ นพระมารดาของบุษบาและสียะตรา
ธิดาองค์ที่สาม ได้สมรสกับระตูเมืองเล็ก ซึ่งต่อ
มาได้ครองเมืองหมันหยา มีธิดาชื่อจินตะหรา
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ท้าวกุเรปันและท้าวดาหาจัดการหมั้นอิเหนากับ
บุษบา และสียะตรากับวิยะดา ตามประเพณีของวงศ์เท
วา โดยที่เจ้าชายเจ้าหญิงไม่เคยพบหน้ากันเลย
อิเหนาได้รับการฝึ กอบรมด้านเพลงอาวุธจน
ชำนาญตั้งแต่เด็ก เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี พระอัยกีที่
เมืองหมันหยาทิวงคต อิเหนาจึงเป็ นผู้แทนพระมารดา
และประไหมสุหรีเมืองดาหาไปในพิธีปลงศพ อิเหนาได้
พบ จินตะหราก็หลงรัก จินตะหรามีทีท่าสนองตอบ แต่
อิเหนาก็ถูกเรียกตัวกลับก่อน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ท้าวกุเรปันนัดหมายกับท้าวดาหา เพื่อ
เตรียมการวิวาห์ อิเหนากับบุษบา อิเหนาทำ
อุบายลาไปเที่ยวป่ าปลอมตัวเป็ นโจรป่ า
ระหว่างทางเกิดต่อสู้กับระตูเมืองต่างๆ อิเหนา
ชนะศึกจึงได้โอรสธิดามาเป็ นเชลย คือ สการะ
วาตีและมาหยารัศมี ซึ่งอิเหนารับเป็ นชายา
ส่วนสังคามาระตา อิเหนารับเลี้ยงเป็ นอนุชา
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

กิตติศัพท์ฝี มือการรบของอิเหนาใน
ฐานะโจรป่ าที่เลื่องชื่อ ตามรายทางที่เดินทาง
ผ่านก็พากันมาเป็ นเมืองขึ้น อิเหนาไปถึงเมือง
หมันหยา ได้จินตะหราเป็ นชายา แล้วไม่ยอม
กลับแต่งงานกับบุษบา ท้าวดาหาโกรธมาก
ประกาศว่าถ้าใครมาขอบุษบาก็จะยกให้
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

มีเจ้าเมืองเล็กๆ ชื่อระตูจรกา มี
ลักษณะเป็ นคนที่ขี้เหร่มาก แต่อยากมีหญิง
งามมาเป็ นชายา จึงส่งช่างเขียนภาพไปวาด
ภาพธิดาเมืองต่างๆ จรกาได้เห็นรูปบุษบาก็
พอใจมากจึงให้พี่ชายไป สู่ขอ ท้าวดาหาก็
ยกให้และกำหนดแต่งงานในเวลา ๓ เดือน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

แต่เรื่องไม่ได้ราบรื่นสมใจจรกา เพราะก่อน
หน้านี้ช่างเขียนภาพได้วาดภาพบุษบา ๒ ภาพ
องค์ปะตาระกาหลา ซึ่งเป็ นเทวดาและเป็ นต้น
ตระกูลวงศ์เทวา ได้ขโมยภาพวาดไป โกรธที่
อิเหนาบังอาจทอดทิ้งคู่หมั้น องค์ปะตาระกาหลา
จึงทำให้อิเหนาเดือดร้อนโดยการนำรูปบุษบาไปทิ้ง
ไว้กลางป่ า แล้วให้วิหยาสะกำมาพบซึ่งเป็ นโอรส
ของระตูกะหมังกุหนิง
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

วิหยาสะกำได้รูปมาแล้วก็หลงรูปจนจะฆ่าตาย
ถ้าไม่ได้ นางในรูป ท้าวกะหมังกุหนิงจึงส่งสาร
ไปขอบุษบาจากท้าวดาหา ทั้งที่รู้ว่าบุษบาเตรียม
แต่งงานกับจรกาแล้ว พร้อมทั้งเตรียมการล่วงหน้า
ว่าถ้าไม่ได้ก็จะรบชิงนาง ท้าวดาหาปฏิเสธคำสู่ขอ
และเตรียมการพร้อมรบ โดยส่งข่าวสารไปให้เครือ
ญาติ บรรดาเมืองขึ้นและจรกา ให้ยกทัพมาช่วยรบ
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ท้าวกุเรปันบังคับให้อิเหนามาช่วยรบ กองทัพ
ทั้งสองฝ่ ายมาต่อสู้กัน วิหยาสะกำถูกสังคามาระตา
ฆ่าตาย และท้าวกะหมัง- กุหนิงถูกอิเหนาฆ่าตาย
เสร็จศึก อิเหนาได้พบบุษบาครั้งแรก อิเหนาหลงรัก
บุษบามากว่าครั้งแรกที่เจอจินตะหรา อิเหนาจึงทำ
อุบายลักพานางไปอยู่ในถ้ำ เพื่อไม่ให้นางแต่งงาน
กับจรกา แล้วอิเหนาก็กลับมาเมืองดาหา เพื่อแก้ข้อ
สงสัยว่าตนไม่ได้ลักพาตัวนางบุษบา
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

องค์ปะตาระกาหลาโกรธอิเหนามาก
จึงบันดาลให้ลมหอบนางบุษบาและพี่เลี้ยงไป
แล้วแสดงตัวให้นางเห็น แล้วให้นางบุษบา
แต่งตัวเป็ นชายให้ชื่อใหม่ว่า อุณากรรณ
พร้อมสาปว่าแม้แต่อิเหนาพบบุษบา อย่าให้
ทั้งสองจำกันได้ แต่เมื่อญาติพี่น้องมาพบกัน
พร้อมหน้าจึงให้จำกันได้
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

เมื่ออิเหนากลับมาถ้ำ โดยพาวิยะดามา
ด้วย พอรู้ว่าบุษบาหายไปอิเหนาก็เศร้าโศกมาก
ตัดสินใจตามหานาง โดยปลอมตัวเป็ นโจรป่ า
ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่างๆ ส่วนสียะตราปลอม
ตัวเป็ นย่าหรันตามมาพบวิยะดาที่เมืองกาหลัง
แต่ก็จำกันไม่ได้ อิเหนาและบุษบาพบกันหลาย
ครั้งในเมืองกาหลังและที่อื่นๆ ก็ยังจำกันไม่ได้
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ในตอนท้ายบุษบาได้บวชชี ประสันตาพี่เลี้ยง
ของอิเหนา ได้ประดิษฐ์หนังใหญ่ขึ้น และจัด
แสดงโดยแต่งบทพากย์ตามเรื่องความหลังของ
อิเหนาและบุษบา บุษบามาดูหนังใหญ่ฟังบท
พากย์แล้วก็เข้าใจเรื่อง ทุกคนจำกันได้ เนื่องจาก
ทุกคนอยู่พร้อมหน้ากันในเมืองกาหลัง คำสาป
ของปะตาระกาหลาจึงสิ้นสุดลง ต่อมาจึงจัดงาน
แต่งให้แก่คู่รักแต่ละคู่ เรื่องจบลงด้วยความสุข

You might also like