Download as ppt, pdf, or txt
Download as ppt, pdf, or txt
You are on page 1of 43

การเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

Factory Planning
จัดเตรียมโดย รองศาสตราจารย์ ดร. วิมลิน สุขถมยา
โรงงาน
“อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้
เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ห้าแรงม้าหรือกำลังเทียบ
เท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งเจ็ดคนขึ้น
ไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สำหรับทำ ผลิต
ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง
แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ”

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535


ที่ตั้ง
หมายถึง สถานที่สำหรับประกอบกิจกรรม
ทางธุรกิจขององค์กร เช่น โรงงาน โกดังสินค้า
สำนักงานใหญ่หรือสาขา
ทำไมถึงต้องมีการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน
 ตลาดขยายตัว (Market Expansion)
 ตลาดสินค้าได้เปลี่ยนไป (Change in Market)
 วัตถุดิบหมดไป (Material Exhaustion)
 การกีดกันทางการค้า (Trade Barrier)
 ค่าครองชีพเปลี่ยนไป (Change in Expense)
ขั้นตอนของการเลือกทำเลที่ตั้งใหม่
 ตั้งข้อกำหนด ขอบข่าย และขีดจำกัดเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งและที่ดิน
ที่ต้องการ (Requirement and limits, location and land
requirement)
 วิเคราะห์เลือกเขตที่จะไปตั้งอย่างกว้างๆ (Location research)
 วิเคราะห์ทางเลือกที่เฉพาะเจาะจง (Research on Approach)
 ดำเนินการจัดการเพื่อให้ได้ที่ดินนั้น (Location Management)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงาน
1. แหล่งวัตถุดิบ 5. การขนส่ง (Transport)
(Resources) 6. พลังงาน (Power)
2. แหล่งแรงงาน 7. สาธารณูปโภค
(Labour) (Utilities)
3. ที่ตั้งของตลาด 8. นโยบายของรัฐบาล
(Market) (Government Policy)
4. ที่ดิน (Land) 9. ปัจจัยอื่น ๆ (Other)
1. แหล่งวัตถุดิบ
 โรงงานที่มีการใช้วัตถุดิบที่เมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิต
แล้วน้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลง เช่นโรงงานโม่หิน
(Mining)
 โรงงานที่มีการผลิตโดยลดน้ำหนักจากวัตถุดิบไปเป็น
สินค้าสำเร็จรูปได้มาก
 วัตถุดิบเป็นของเน่าเสียง่าย
2. แหล่งแรงงาน
 ลักษณะอุตสาหกรรม
 ค่าจ้างแรงงาน
 ที่พักอาศัย
 สหภาพแรงงาน
 ค่าใช้จ่ายในการฝึ กอบรม
3. ที่ตั้งของตลาด
 ตลาดรวม
 ตลาดกระจาย
4. ที่ดิน
 ลักษณะ
 ราคาที่ดิน
 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง
5. การขนส่ง
 วิธีการในการขนส่ง
 ระยะทาง
 ระยะเวลา
 ลักษณะเส้นทาง ความสะดวก
 แนวโน้มในอนาคต
6. พลังงาน
 ไฟฟ้ า
 น้ำมัน
 แก๊ส
 ถ่านหิน
7. สาธารณูปโภค
 น้ำ
 ไฟฟ้ า
 ระบบบำบัดน้ำเสีย
 การจัดการมลภาวะ
 การจัดการกับของเสียจากกระบวนการผลิต
8. นโยบายของรัฐบาล
 กฎหมาย
 ภาษี
 การกำหนดเขตนิคมอุตสาหกรรม
9. ปัจจัยอื่นๆ
 ทัศนคติของประชาชนในพื้นที่
 การต่อต้านของท้องถิ่น
สรุป
1. แหล่งวัตถุดิบ
2. แหล่งแรงงาน
3. ที่ตั้งของตลาด
4. ที่ดิน
ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
5. การขนส่ง
6. พลังงาน
7. สาธารณูปโภค
8. นโยบายของรัฐบาล
9. ปัจจัยอื่น ๆ
การเลือกที่ตั้งโรงงาน
 ตั้งในเมือง
 ตั้งนอกเมือง
 ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม
ข้อดีของการเลือกทำเลในเมือง
 มีแรงงานให้เลือกได้มาก
 ขนส่งง่าย
 สถานศึกษาโรงพยาบาล สถานที่พักผ่อนหย่อนใจมีมาก
 ที่พักอาศัยมีมาก
 ความปลอดภัยมีมากกว่า
 ใกล้ตลาด
 ติดต่อแหล่งการเงินได้สะดวก
 ติดต่อฝ่ ายจัดหาได้สะดวก
ข้อเสียของการเลือกทำเลในเมือง
 มีค่าที่ดินสูง
 ค่าแรงสูง
 แรงงานสัมพันธ์อาจไม่ดีเท่าที่ควร
 มีโอกาสเลือกสถานที่ได้ไม่มาก
 ขยายโรงงานยาก
ข้อดีของการเลือกทำเลนอกเมือง
 แรงงานสัมพันธ์ดีกว่า
 ค่าแรงโดยทั่วไปต่ำ การย้ายแรงงานน้อย
 มีสถานทีให้เลือกได้มาก และราคาต่ำ
 สภาพแวดล้อมดี
 ข้อบังคับทางกฎหมายน้อยกว่า
ข้อเสียของการเลือกทำเลนอกเมือง
 ชนิดของแรงงานมีให้เลือกจำกัด
 ส่วนมากมักขาดสถานศึกษา โรงพยาบาล แหล่งบันเทิง
 การคมนาคม และการขนส่งมีน้อย
 การติดต่อสื่อสารมีความยากลำบาก
 ห่างไกลตลาด
 การป้ องกันโจรผู้ร้าย และอัคคีภัยมีประสิทธิภาพต่ำ
 ขาดการบริการสนับสนุนต่างๆ
ข้อดีของการเลือกทำเลในนิคมอุตสาหกรรม
 ข้อดี
– พื้นที่ได้รับการตระเตรียมเรียบร้อยแล้ว
– สิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม
– สะดวกต่อการจ้างผู้รับเหมาช่วง
– ไม่มีปัญหาการสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน
– สถาบันการเงิน และการขนส่งพร้อม
– แรงงานสัมพันธ์ในนิคมมักจะดี
ข้อเสียของการเลือกทำเลในนิคมอุตสาหกรรม

 ข้อเสีย
– เนื้อที่จำกัดจึงจำกัดการขยายตัวของโรงงาน
– โรงงานใกล้กันมีปัญหาแรงงาน อาจเป็นชนวนให้
เกิดปัญหาในอีกโรงงาน
– อาจเกิดปัญหาจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน
การวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกที่ตั้งโรงงาน
 วิธีการให้คะแนน (Rating Plan)
 วิธีการเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย (Cost comparison)
 วิธีวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของทำเลที่ตั้ง (Location break-even
analysis)
 วิธีเปรียบเทียบระยะทาง (Distance Comparison)
 วิธีวิเคราะห์ด้วยตัวแบบการขนส่ง (Transportation Model)
วิธีการให้คะแนน (Rating Plan)
วิธีการเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย (Cost comparison)
วิธีการเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย (Cost comparison)
ค่าใช้จ่ายเทียบเท่า = 81+ 14.5 x 6.145
= 170.10 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายเทียบเท่า = 63+ 19.25 x 6.145


= 181.29 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายเทียบเท่า = 100+ 12.75 x 6.145


= 178.35 ล้านบาท
วิธีวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของทำเลที่ตั้ง
(Location break-even analysis)
 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จะต้องพิจารณาจากต้นทุนคงที่
(Fixed cost) และต้นทุนผันแปร (Variable cost)
– ต้นทุนคงที่ (Fc) คือต้นทุนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามปริมาณ
การผลิต
– ต้นทุนผันแปร (Vc) คือต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงเป็นสัดส่วนกับ
ปริมาณการผลิต
– ต้นทุนรวม (Total cost, TC) = ต้นทุนคงที่+ ต้นทุนผันแปร x
ปริมาณการผลิต
วิธีวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของทำเลที่ตั้ง
(Location break-even analysis)

ถ้าขายสินค้าในราคาหน่วยละ 40 บาท
วิธีวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของทำเลที่ตั้ง
(Location break-even analysis)
 คำนวณหาต้นทุนรวมจาก
– ตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรม ต้นทุนรวม = 1000 + 20 x
ปริมาณที่ผลิต
– ตั้งโรงงานที่ชานเมือง ต้นทุนรวม = 1700 + 17 x ปริมาณที่ผลิต
– ตั้งโรงงานที่ในเมือง ต้นทุนรวม = 2000 + 10 x ปริมาณที่ผลิต
 คำนวณหารายได้จาก
รายได้รวม = 40 x ปริมาณที่ผลิต
วิธีวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของทำเลที่ตั้ง
(Location break-even analysis)
นิคมอุตสาหกรรม
หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงาน
อุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน อันประกอบด้วย
พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และ
สาธารณูปการครบครัน เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสีย
ส่วนกลาง ระบบป้ องกันน้ำท่วม ไฟฟ้ า น้ำประปา โทรศัพท์
นอกจากนั้น ยังประกอบด้วย บริการอื่นๆ ที่จำเป็นอีก อาทิ เช่น
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับ
คนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น
กำเนิดนิคมอุตสาหกรรม
 นิคมอุตสาหกรรมได้มีกำเนิดในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
ในประมาณปี พ.ศ. 2439
 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเป็นแห่งแรกในตำบล
บางชัน เขตมีนบุรีในปี พ.ศ. 2511
 ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลได้จัดตั้ง การนิคมอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (Industrial Estate Authority of Thailand: IEAT) ขึ้น
เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทั้งในส่วนภูมิภาค
และส่วนกลาง จัดเป็นนิคมอุตสาหกรรมเขต 1, เขต 2 และเขต 3
วัตถุประสงค์ของการนิคมอุตสาหกรรม
1. อำนวยความสะดวกให้ในด้านที่ตั้งโรงงาน
อุตสาหกรรม
2. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรม สามารถพึ่งพาและสนับสนุน
ซึ่งกันและกันได้
3. การย้ายโรงงานอุตสาหกรรมจากแหล่งชุมชน
4. การกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค
5. จัดวางผังเมือง
การนิคมอุตสาหกรรม
 กนอ. ดำเนินบทบาทและภารกิจภายใต้กฎหมายจัดตั้ง เพื่อ
พัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้สมบูรณ์แบบ ด้วยระบบ
โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งระบบ
บริหารจัดการครบวงจรและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้
นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตที่ช่วยเสริมสร้างขีดความ
สามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
สาระสำคัญของ พรบ กนอ ปี 2550
1.จำแนกนิคมอุตสาหกรรมออกเป็น 2 เขต คือ เขตอุตสาหกรรมทั่วไป และ เขตประกอบการเสรี ซึ่ง
กำหนดขึ้นแทนที่ เขตอุตสาหกรรมส่งออก โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการส่งออกในเขตประกอบการเสรี
เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีว่าด้วย ความตกลงขององค์การการค้าโลก
2.กำหนดให้สามารถประกอบกิจการบริการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปและผู้ประกอบกิจการบริการมี
กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้
3.ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเพิ่มเติม
4.ปรับปรุงขั้นตอนเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการประกอบการต่าง ๆ ในเขตประกอบการเสรี
5.ปรับปรุงขั้นตอนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และการจัดสรรที่ดินให้เป็ นไปอย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
การลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
1.การประกอบกิจการบริการต่างๆ จะสามารถดำเนินการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปได้
กนอ. ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป โดยให้
มีการบริการที่ครบวงจร และจำเป็นต่อการประกอบอุตสาหกรรม อาทิเช่น การบริการด้าน
ขนส่ง คลังสินค้าศูนย์ฝึกอบรม สถานพยาบาล ฯลฯ โดยผู้ประกอบการจะสามารถถือ
ครองกรรมสิทธิ์ ที่ดินในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปได้
2. สิทธิประโยชน์ทั่วไป (Non Tax) สำหรับผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
• สิทธิการถือครองกรรมสิทธิ์ ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม • สิทธิในการนำช่างฝีมือต่างชาติ
เข้ามาทำงานและนำคู่สมรส และบุคคลในอุปการะเข้ามา และอยู่ในประเทศ • สิทธิในการ
ส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ
การลงทุนในเขตการค้าเสรี
 1. สิทธิประโยชน์
• ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการส่งออกสินค้าออกไปนอก
ราชอาณาจักร และได้รับความสะดวกมากขึ้นในการนำของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรี
• ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเพิ่มขึ้น
• ลดภาระภาษี สำหรับการนำผลิตภัณฑ์ออกจากเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศโดยที่หากวัตถุดิบ
ที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนผสมหรือส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเดิมไม่มีสิทธิ์ได้คืนหรือ
ยกเว้นอากร ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำราคาวัตถุดิบนั้น ๆ มาคิดค่าภาษีอากร
• ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี ได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ. กนอ. เช่นเดิมด้วย ดังนี้
 สิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ การยกเว้นภาษีนำเข้า ส่งออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตสำหรับ
เครื่องจักร อุปกรณ์ ส่วนประกอบ วัตถุดิบ ของที่นำเข้ามาผลิต และสินค้า
 สิทธิประโยชน์ทั่วไป ประกอบด้วย สิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดิน การนำช่างเทคนิค ผู้ชำนาญการเข้ามา
ทำงาน การนำครอบครัวและผู้อยู่ในอุปการะเข้ามาอยู่ในประเทศ และการโอนเงินตราต่างประเทศกลับประเทศได้
การลงทุนในเขตการค้าเสรี
2 ความสะดวกในการประกอบการ
• อำนวยความสะดวกในการนำสินค้าและวัตถุดิบเข้ามาในประเทศและเข้าไปในเขต
ประกอบการเสรี เพื่อผลิตสินค้าหรือเพื่อการค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องระบุความเป็น
เจ้าของ
• อำนวยความสะดวก ในการดำเนินการส่งออกสินค้าจากเขตประกอบการเสรีไปต่าง
ประเทศ ด้วยการกำหนดให้การนำของหรือวัตถุดิบเข้าไปในเขตประกอบการเสรี เพื่อ
การผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใด ได้รับความสะดวกมากขึ้น โดยมิ
ต้องขอหรือมีใบอนุญาตนำเข้าและการควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐานตามกฎหมายอื่น
ตลอดจนการประทับตราหรือเครื่องหมายใด ๆ ทั้งนี้ไม่รวมถึงกฎหมายศุลกากร
สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี
 ได้รับอนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ ในที่ดิน (มาตรา 44)
 ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ
คู่สมรส และบุคคลในอุปการะเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร
(มาตรา 45)
 ได้รับอนุญาตให้ทำงานเฉพาะตำแหน่ง สำหรับช่างฝีมือ
และผู้ชำนาญการ (มาตรา 46)
 อนุญาตให้ส่งเงินออกไปนอกราชอาณาจักร (มาตรา 47)
สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษี
 ได้รับยกเว้นภาษีอากรขาเข้าฯ สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ รวมทั้ง
ส่วนประกอบ (มาตรา 48)
 ได้รับยกเว้นภาษีอากรขาเข้าฯ สำหรับของที่ใช้ในการผลิตสินค้า
(มาตรา 49)
 ได้รับยกเว้นภาษีอากรขาออกฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ฯ ที่ส่งออก
(มาตรา 50)
 ของที่นำเข้าเขตอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อใช้ตามมาตรา 48 / 49 มี
สิทธิได้รับยกเว้น /
QUIZ
 ทำเลที่ตั้งโรงงานมีบทบาทต่อการดำเนินกิจการ
อุตสาหกรรมในแง่ใดบ้าง
 จงอธิบายถึงความสำคัญของการเลือกทำเลที่ตั้ง
Questions?

Thank You

NEXT WEEK:
การวางแผนและควบคุมการผลิต
Production Planning

You might also like