Download as ppt, pdf, or txt
Download as ppt, pdf, or txt
You are on page 1of 38

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 :

การพิจารณาคดีโดยขาดนัด

อ.หทัยกาญจน์ กำเหนิดเพชร
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
การพิจารณาคดีโดยขาดนัด
การขาดนัดมี 2 กรณี
1. ขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. ม.197-ม.199ฉ
2. ขาดนัดพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. ม.200-ม.207
มาตรา 200
ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี ถ้าคู่ความฝ่ ายใดฝ่ าย
หนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่
ความฝ่ ายนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าคู่ความฝ่ ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความ
ฝ่ ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวน
พิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว
หลักเกณฑ์การขาดนัดพิจารณา
• ม.200 วรรคหนึ่ง
• 1. คู่ความฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งไม่มาศาล
• 2. ไม่มาศาลในวันสืบพยาน
• 3. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี
• วันสืบพยาน
• ต้องเป็นกรณีที่มีการนัดสืบพยานเนื่องจากจำเลยยื่นคำให้การและคำให้การจำเลย
ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทที่ต้องมีการสืบพยาน
• ต้องเป็นวันที่มีศาลเริ่มต้นการสืบพยาน ไม่ใช่วันนัดพิจารณาในการไต่สวนคำร้อง
ขอรับชำระหนี้จำนองและขอเฉลี่ยทรัพย์, วันนัดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการ
ขายทอดตลาด
• ไม่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดี
• คือ เมื่อมีการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี หากศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ก็
ถือว่าวันสืบพยานยังคงเป็นวันเดิม หากคู่ความไม่มาศาลย่อมถือว่าขาดนัด
พิจารณา
• คำร้องขอเลื่อนคดี ศาลจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หากไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจ
สั่งไม่อนุญาตได้
• ฎ.1840/2538 แม้ทนายจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนสืบพยาน
ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยสั่งในวันที่ทนายจำเลย
ทั้งสองยื่นคำร้องนั้นเอง ซึ่งในตอนท้ายคำร้องมีข้อความระบุว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำ
สั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ดังนี้ จึงถือว่าทนายจำเลยทั้งสองทราบคำสั่ง
ศาลโดยชอบแล้ว การที่ทนายจำเลยทั้งสองไม่ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวจึงเป็น
ความบกพร่องของทนายจำเลยทั้งสองเอง ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
• คู่ความไม่มาศาล
• คู่ความ หมายความรวมถึง ทนายความ ผู้รับมอบฉันทะจากตัวความหรือ
ทนายความ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้แทนนิติบุคคล

• กรณีคู่ความไม่มาศาลในวันนัดอื่นถัดจากวันสืบพยานวันแรก ไม่ถือว่าขาดนัด
พิจารณา ให้ถือว่าคู่ความฝ่ ายที่ไม่มาศาลสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณา
ของนัดนั้นๆ และถือว่ารับทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไป ตาม ม. 200
วรรคสอง
คู่ความทั้งสองฝ่ ายขาดนัดพิจารณา
มาตรา 201
ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ ายขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย
จากสารบบความ
• ต้องเป็นกรณีที่คู่ความทั้งสองฝ่ ายทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล
• ศาลต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
• กรณีมีโจทก์หรือจำเลยหลายคน ให้สั่งจำหน่ายคดีเฉพาะโจทก์จำเลยที่ไม่มาศาล
เท่านั้น ส่วนโจทก์จำเลยอื่นที่มาศาลก็ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยขาดนัด
สำหรับจำเลยเหล่านั้นต่อไป
• ฎ.6674/2541 คดีแพ่งระหว่างโจทก์ทั้งห้าและจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ในวันนัด
สืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7กับโจทก์ทั้งห้าต่างไม่ไปศาลตามวันเวลา
นัด ต้องถือว่าคู่ความ ทั้งสองฝ่ ายขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4แถลงไม่
ติดใจดำเนินคดีต่อไป จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีกรณีดังกล่าวบทบัญญัติ
กฎหมายให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ
โจทก์ขาดนัดพิจารณา
มาตรา 202
ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบ
ความ เว้นแต่จำเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดี
ต่อไปก็ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ ายเดียว

**โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยาน ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ไม่ใช่โจทก์ทิ้งฟ้อง


• มาตรา 202 เป็นกรณีโจทก์ไม่มาศาล (และไม่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดี) ในวันนัด
สืบพยานเพียงฝ่ ายเดียว ส่วนจำเลยมาศาล
• ผล คือ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
• เว้นแต่ จำเลยแจ้งต่อศาลว่าขอพิจารณาคดีต่อไป โดยต้องแจ้งต่อศาลในวัน
นั้น (แจ้งด้วยวาจาได้ ไม่จำต้องทำคำแถลงเป็ นหนังสือ)
• การดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ เป็นสิทธิของจำเลย โดยไม่ใช่หน้าที่ศาลที่ต้องถาม
จำเลย ศาลสามารถจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้แม้ไม่ได้ถามจำเลยก่อน
ว่าต้องการให้ดำเนินการพิจารณาต่อไปหรือไม่
ฎ.2867/2530
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์ทราบนัดแล้วศาลออก
นั่งพิจารณาเวลา 8.45 นาฬิกา ไม่ปรากฏต่อศาลในขณะนั้นว่าโจทก์มาถึงศาลแล้ว
หรือร้องขอเลื่อนคดี หรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดี
การที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ยกฟ้ องแล้วมีคำสั่งใหม่ว่าให้จำหน่ายคดี
จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การถึงที่ทำการของศาลกับการถึงห้องพิจารณาคดีนั้นต่างกันแม้โจทก์ไปถึง
ศาลก่อนเวลาแต่ไม่เข้าห้องพิจารณาก็ถือได้ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 มิได้บังคับให้ศาลต้อง
สอบถามจำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยต้องแจ้งต่อศาลว่าตนตั้งใจจะดำเนินการพิจารณาต่อ
ไป จำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเพื่อจะได้มีโอกาสซักค้าน
พยานโจทก์เป็นคนละกรณีกับการตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
• หากเป็นกรณีที่จำเลยฟ้ องแย้งโจทก์ด้วย และศาลมีคำสั่งรับฟ้ องแย้งแล้ว เมื่อ
โจทก์เดิม (จำเลยคดีฟ้ องแย้ง) ไม่มาศาล ส่วนจำเลยเดิม (โจทก์คดีฟ้ องแย้ง) มา
ศาล
• ศาลจึงมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเฉพาะส่วนฟ้ องเดิม ส่วน
ฟ้ องแย้งศาลชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
• กรณีนี้จึงถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา 204 ต่อไป
คือ ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ ายเดียว (ฎ.4499/2545)
• เมื่อจำเลยประสงค์จะดำเนินการพิจารณาต่อ หากวันสืบพยานนัดแรกเป็ นวัน
สืบพยานจำเลย จำเลยต้องนำพยานเข้าสืบในวันนั้น จะขอเลื่อนคดีไม่ได้
• หากศาลสืบพยานจำเลยเสร็จในวันนั้น ศาลก็พิพากษาคดีได้เลย ไม่ต้องนัดสืบ
พยานโจทก์ แต่หากระหว่างสืบพยานจำเลย โจทก์มาศาล หรือมาในนัดหน้า (กร
ณีสืบต่อ) โจทก์สามารถซักค้านพยานจำเลยได้ และเมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จ
แล้วศาลต้องสืบพยานโจทก์ต่อไป
• หากวันสืบพยานนัดแรกเป็ นวันสืบพยานโจทก์ และจำเลยไม่พร้อมนำพยาน
เข้าสืบ ศาลต้องสั่งงดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยฝ่ ายเดียวภายหลัง
• ในวันสืบพยานจำเลยนัดต่อมา หากโจทก์มาศาล โจทก์มีสิทธิซักค้านพยาน
จำเลยได้ แต่ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบ
• และเมือสืบพยานจำเลยเสร็จ ศาลก็พิพากษาคดีได้เลย โดยไม่ต้องสืบพยาน
โจทก์อีก เพราะพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์จะนำพยานหลักฐานเข้าสืบแล้ว
• ฎ.371/2506 การขาดนัดพิจารณาในนัดหนึ่งนัดใด ถ้าคู่ความอีกฝ่ ายหนึ่งนำ
พยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่หมด นัดต่อไปคู่ความที่ขาดนัดมาศาลก็ย่อมมีสิทธิที่
จะถามค้านได้ เพราะไม่ใช่เป็นพยานที่ได้สืบไปแล้ว
ทางแก้ของโจทก์กรณีศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เพราะโจทก์ขาด
นัดพิจารณาตามมาตรา 202
•โจทก์ต้องฟ้ องเป็นคดีใหม่ภายในอายุความ และไม่เป็นเหตุที่จะนำมาอ้างว่าอายุ
ความสะดุดหยุดลงด้วย (ฎ.2148/2520)
•โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีฯตามมาตรานี้ได้ ต้องห้ามตามมาตรา
203
•แต่หากเป็นกรณีโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและศาลจำหน่ายคดีฯ ทั้งที่จำเลยแจ้งต่อ
ศาลขอให้ดำเนินคดีต่อไปแล้ว ย่อมเป็นการจำหน่ายคดีโดยมิชอบ จำเลยสามารถ
อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีฯได้ ไม่ต้องห้าม (1591/2542)
• ฎ.2148/2520
โจทก์ยื่นฟ้ องจำเลยเป็นคดีก่อนเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดภายในอายุ
ความ 1 ปี แม้มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 173 แต่เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรก (ม.202
ปัจจุบัน)นั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งคดีและไม่นับว่าการฟ้ องคดีดังกล่าวเป็นเหตุ
ให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174(อ้
างคำพิพากษาฎีกาที่ท74/2512) การที่โจทก์มาฟ้ องจำเลยเป็นคดีหลังเมื่อเกิน
กำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์จึงขาดอายุความตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีโจทก์มีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้ องใหม่ได้ แต่ต้องอยู่ภายใน
บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ
ข้อสังเกต
• หากโจทก์มาศาลแล้ว แต่ติดการพิจารณาคดีอยู่ที่ห้องพิจาณาอื่น หรือเข้า
ห้องพิจารณาผิด ไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
• ฎ.9106/2538 โจทก์ยื่นคำร้องอ้างว่า โจทก์มาศาลแล้วแต่เข้าห้องพิจารณาผิด
แม้คำขอจะให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แต่ตามคำร้องก็เป็นเรื่องที่โจทก์ตั้งรูปคดี
อ้างว่า ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปโดยผิดหลง เป็ นการร้องขอให้เพิกถอนกระบวน
พิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ซึ่งโจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนได้ โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในเวลา
ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่เนื่องจากโจทก์และทนายโจทก์เข้าห้อง
พิจารณาผิด ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์มาศาลในวันสืบพยานแล้ว
• หากโจทก์ขาดนัดพิจารณา และจำเลยขอให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไป ตาม
มาตรา 202 เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีโดยยกฟ้ องโจทก์

• โจทก์มีทางแก้ คือ ขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา


199 ตรี หรืออุทธรณ์ต่อไปได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 203
จำเลยขาดนัดพิจารณา
มาตรา ๒๐๔
ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ าย
เดียว
• เมื่อจำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ ายเดียว
โดยโจทก์ไม่ต้องขอ และศาลไม่ต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
• ถ้าวันนัดสืบพยาน โจทก์มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบ ให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ าย
เดียว เมื่อสืบพยานเสร็จก็พิพากษาคดีได้เลยแต่ถ้าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมา
สืบ ศาลต้องพิพากษายกฟ้ อง เพราะคดีโจทก์ไม่มีมูลตามมาตรา 206
• ถ้าวันนัดนั้นเป็ นวันสืบพยานจำเลย หากโจทก์มีพยานหลักฐานมาพร้อมก็สืบไป
ฝ่ ายเดียว และพิพากษาคดีได้เลยโดยไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลยอีก แต่หากโจทก์
ไม่พร้อมที่จะนำพยานหลักฐานเข้าสืบ ให้ศาลสั่งเลื่อนคดีไปสืบพยานโจทก์ในนัด
หน้า
• แต่หากโจทก์ไม่มีภาระการพิสูจน์ โดยภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย โจทก์อาจ
แถลงไม่ติดใจสืบพยานก็ได้ คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ศาลสามารถพิพากษา
ได้เลย
การพิพากษาคดีโดยขาดนัดพิจารณา
มาตรา 206
คู่ความฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ าย
ชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ ายหนึ่งขาดนัดพิจารณานั้นหาได้ไม่ ให้ศาล
วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ ายชนะต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของคู่
ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพัง ซึ่งข้อ
กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติ
มาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดีของคู่ความฝ่ ายที่มาศาล
โดยอนุโลม
มาตรา 198 ทวิ วรรค 2, 3
เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบ
พยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็ นก็ได้
แต่ในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์
ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ ายเดียว และศาลอาจเรียกพยาน
หลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็ นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
(๑) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็ นเงินจำนวนแน่นอนให้ศาล
มีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็ นแทนการสืบพยาน
(๒) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็ นเงินอันไม่อาจกำหนด
จำนวนได้โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ ายเดียว และศาลอาจเรียกพยาน
หลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็ น
• การที่คู่ความฝ่ ายใดจะร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดให้ตนเป็ นฝ่ ายชนะคดีโดยขาด
นัด ต้องนำข้ออ้างของคู่ความมาพิจารณาว่ามีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย
• นอกจากนี้ ยังต้องนำหลักเรื่องภาระการพิสูจน์มาใช้ในการวินิจฉัยด้วย
• หากเป็นกรณีที่มีการชี้สองสถาน และกำหนดประเด็นพิพาทไว้ ก็วินิจฉัยไปตาม
ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ได้เลย ตามมาตรา 142
• แต่หากไม่ได้มีการชี้สองสถาน ต้องนำคำฟ้ องและคำให้การมาพิจารณาว่า
ประเด็นข้อพิพาทมีอย่างไร และวินิจฉัยให้ครบทุกข้อ
• การวินิจฉัยกรณีจำเลยขาดนัดพิจารณา
• ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา (จำเลยยื่นคำให้การแล้ว)
1. กรณีภาระการพิสูจน์ตกจำเลย ก็ไม่ต้องฟังพยานโจทก์ ถ้าคดีโจทก์มีมูล และไม่
ขัดต่อกฎหมาย ศาลก็พิพากษาได้เลย
2. กรณีภาระการพิสูจน์ตกโจทก์ ก็ต้องสืบพยานโจทก์ หากโจทก์ไม่นำพยานหลัก
ฐานเข้าสืบหรือนำสืบไม่สมตามฟ้ อง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้ อง
• กรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา และจำเลยขอให้ดำเนินคดีต่อไปก็ใช้หลักการ
เดียวกัน
• ส่วนการชั่งน้ำหนักพยาน เมื่อสืบพยานฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งไปฝ่ ายเดียวจึงไม่มีพยาน
หลักฐานของอีกฝ่ ายมาหักล้าง หากนำสืบในเบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงน่าจะเป็นดังที่
อ้าง ก็เพียงพอแล้ว
การขอให้พิจารณาคดีใหม่ กรณีขาดนัดพิจารณา
มาตรา 206 วรรค 3, 4
ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ ายเดียว ถ้าคู่ความฝ่ ายที่ขาดนัดพิจารณามาศาล
ภายหลังที่เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้ว และแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะ
ดำเนินคดีเมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นมิได้เป็ นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร
และศาลไม่เคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของคู่ความฝ่ ายนั้นมาก่อนตามมาตรา
199 ตรี ซึ่งให้นำมาใช้บังคับกับการขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 207 ด้วย ให้ศาลมีคำสั่ง
ให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ในกรณีเช่นนี้ หากคู่ความนั้นขาดนัดพิจารณาอีก จะขอให้พิจารณา
คดีใหม่ตามมาตรานี้ไม่ได้
ในกรณีตามวรรคสาม ถ้าคู่ความฝ่ ายที่ขาดนัดพิจารณามิได้แจ้งต่อศาลก็ดีหรือ
ศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นเป็ นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี หรือคำขอให้
พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมายก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่
(1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบถ้าคู่
ความนั้นมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบแล้ว
(2) ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณามาศาลเมื่อคู่ความอีกฝ่ ายหนึ่งได้นำพยาน
หลักฐานเข้าสืบไปแล้ว ห้ามไม่ให้ศาลยอมให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาคัดค้านพยาน
หลักฐานเช่นว่านั้น โดยวิธีถามค้านพยานของคู่ความอีกฝ่ ายหนึ่งที่ได้สืบไปแล้วหรือ
โดยวิธีคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือให้ตั้งผู้
เชี่ยวชาญของศาล แต่ถ้าคู่ความอีกฝ่ ายหนึ่งนำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่บริบูรณ์ ให้
ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่นำสืบ
ภายหลังที่ตนมาศาล
(3) ในกรณีเช่นนี้ คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณา
คดีใหม่
มาตรา 207
เมื่อศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ ายที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี ให้นำบทบัญญัติ
มาตรา 199 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และคู่ความฝ่ ายนั้นอาจมีคำขอให้พิจารณา
คดีใหม่ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 ตรี มาตรา 199 จัตวา และมาตรา 199
เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
• การขอให้พิจารณาคดีใหม่ มี 2 กรณี
1. การขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ตามมาตรา
206 วรรค 3
2. การขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ตาม
มาตรา 207
• ฎ.1165/2515
คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาโดยไม่จงใจ มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้เฉพาะ
ใน 2 กรณี คือ ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ ายเดียว ถ้าคู่ความที่ขาดนัดมาศาล
ภายหลังที่ศาลเริ่มต้นสืบพยานของคู่ความอีกฝ่ ายหนึ่งไปบ้างแล้วและศาลเห็นว่า
คู่ความฝ่ ายนั้นไม่จงใจขาดนัด หรือมีเหตุอันสมควร ศาลจึงจะสั่งให้พิจารณาคดี
ใหม่ ซึ่งถ้าเป็ นจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยขาดนัดยื่นคำให้การด้วยก็ยอมให้ยื่น
คำให้การได้ด้วย แต่ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณานั้นคงขาดนัดตลอดไปจนศาล
พิจารณาคดีฝ่ ายเดียวไปเสร็จสิ้นแล้ว และพิพากษาให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณา
แพ้คดีในประเด็นพิพาทคู่ความซึ่งแพ้คดีโดยไม่จงใจขาดนัด ยังมีสิทธิขอให้ศาล
พิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่จะต้องด้วยข้อห้ามตามกฎหมาย
การขอให้พิจารณาคดีใหม่ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ ขาดคดี
• หลักเกณฑ์
1. คู่ความที่ขาดนัดพิจารณามาศาลภายหลังเริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้ว
2. คู่ความฝ่ ายนั้นได้แสดงเจตนาต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะดำเนินคดี
3. การขาดนัดพิจารณามิได้เป้ นไปโดยจงใจ หรือมีเหตุอันสมควร - โดยศาลต้อง
ทำการไต่สวน
4. ศาลไม่เคยมีคำสั่งให้พิจารราใม่มาก่อนตาม ม.199 ตรี ประกอบมาตรา 207

• เมื่อศาลสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลต้องนัดสืบพยานอีกครั้ง วันนัดสืบพยานดัง


กล่าวถ้าคู่ความไม่มาศาล ต้องถือว่าขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
อีกครั้ง เช่นนี้จะขอให้พิจารณาคดีใหม่อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 206
• หากเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ ายที่ขาดนัดพิจารณาไม่ได้แจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่า
ประสงค์จะดำเนินคดี หรือศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณาเป็นไปโดยจงใจ หรือ
ไม่มีเหตุอันสมควร หรือเป็ นกรณีขาดนัดพิจารณาซ้ำ เช่นนี้เมื่อดำเนินกระบวน
พิจารณาต่อไป คู่ความฝ่ ายนั้นจะเสียสิทธิดังต่อไปนี้

1. ถ้าคู่ความนั้นมาศาลเมื่อพ้นเวลานำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบแล้ว ศาลจะ
อนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบไม่ได้
2. ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณามาศาลเมื่อคู่ความอีกฝ่ ายได้นำพยานหลักฐานเข้า
สืบไปแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถามค้านพยานของคู่ความอีกฝ่ ายที่สืบไปแล้ว
หรือคัดค้านการระบุเอกสาร หรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือให้
ตั้งผู้เชี่ยวชาญไม่ได้
แต่ถ้ายังสืบไม่เสร็จ คู่ความที่ขาดนัดพิจารณามีสิทธิถามค้านหรือนำสืบหักล้าง
ได้

3. คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายหลังศาลมีคำ
พิพากษาได้อีกต่อไป
• ฎ.3933/2529
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณา
ต่อไปโดยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณาและนัดฟัง
คำพิพากษา ก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา 1 วัน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดี
ใหม่อ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ดังนี้การพิจารณายังไม่เสร็จสิ้นอยู่ในระหว่าง
การพิจารณาคดีฝ่ ายเดียว ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง (ม.206 ว.3) ให้ได้ความว่าการขาดนัด
ของโจทก์เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการ
ไต่สวนแต่มีคำสั่งว่า ให้โจทก์ยื่นคำร้องเข้ามาเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว จึง
เป็นการไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่า
ด้วยการพิจารณา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนก็เป็ นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงต้อง
พิพากษายก คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวน
คำร้อง ของโจทก์ แล้วมีคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
การขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ ขาดคดี
• ต้องเป็นกรณีที่มีการพิจารณาคดีโจทก์หรือจำเลยไปฝ่ ายเดียว ตามมาตรา 202
หรือ มาตรา 204 และศาลมีคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ ายที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี
• ไม่ใช่กรณี ศาลสั่งจำหน่ายคดี หรือ ศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ ายที่ขาดนัด
พิจารณาชนะคดี หรือ มิใช่เป็ นการพิจารณาคดีโดยขาดนัดพิจารณา จะมีการขอ
ให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
• กรณีที่ขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ ตามมาตรา 199 ตรี
1. ศาลเคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่มาครั้งหนึ่งแล้ว
2. คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
• กรณีที่ขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ตามมาตรา 199 จัตวา มาตรา 199 เบญจ
1. ระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
1. การขอกรณีปกติ – ต้องยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำ
บังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่คู่ความฝ่ ายที่ขาดนัดพิจารณา (ถ้า
ส่งด้วยวิธีปิ ดหมาย +15 วัน)/ หากเป็นกรณีไม่มีการออกคำบังคับ (โจทก์
ขาดนัดพิจารณาและโจทก์แพ้คดี) จะยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
2. การขอกรณีพิเศษ – เป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้
ให้ยื่นคำขอภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นสิ้นสุดลง

You might also like