Download as ppt, pdf, or txt
Download as ppt, pdf, or txt
You are on page 1of 38

การสร้างคำสมาสและคำสมาสที่มีสนธิ เป็ นวิธีการสร้าง

คำของภาษาบาลี สันสกฤต ไทยเรานำมาใช้ก็ปรับเปลี่ยน


วิธีให้เข้ากับภาษาไทย ทำให้เรามีวิธีเพิ่มคำใช้ในภาษาไทย
อีกวิธีหนึ่ง
การสร้างคำสมาส
คำภาษาบาลี สันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทยมี ๒ ลักษณะ คือ คำที่รับมาจากภาษา
บาลี สันสกฤตโดยตรง และคำที่ไทยสร้างขึ้นเองโดยอาศัยหลักการสมาสและ
สนธิของภาษาบาลี สันสกฤต การสร้างคำด้วยวิธีดังกล่าวมีการนำไปใช้อย่างแพร่
หลาย และมีแนวโน้มว่าจะใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในการบัญญัติศัพท์ อีกทั้ง
มีประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์เพื่อให้จำนวนคำถูกต้องตามคณะและข้อ
บังคับ โดยที่ความหมายเท่าเดิม
การสมาส เป็นวิธีสร้างคำในภาษาบาลี สันสกฤต ซึ่งคล้ายคลึงกับการประสม
คำในภาษาไทย คือเป็นการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมเป็นคำเดียว เกิดเป็นคำ
ใหม่โดยมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำเดิม
ลักษณะของคำสมาส
ลักษณะของคำสมาส
คำสมาสในภาษาไทยมีลักษณะดังนี้
๑. คำที่นำมาสมาสกันจะต้องเป็นคำภาษาบาลีและคำภาษาสันสกฤตเท่านั้น ใช้
คำภาษาอื่นไม่ได้ เช่น
คำบาลีสมาสกับบาลี
☺ กิตติ + คุณ → กิตติคุณ
☺ มหา + สาวก → มหาสาวก
☺ หิน + ชาติ → หินชาติ
คำสันสกฤตสมาสกับสันสกฤต
☻ ธรรม + จริยา → ธรรมจริยา
☻ ประถม + ศึกษา → ประถมศึกษา
☻ เศวต + ฉัตร → เศวตฉัตร
คำบาลีสมาสกับสันสกฤต
☺ วัฒน + ธรรม → วัฒนธรรม
☺ หัตถ + กรรม → หัตถกรรม
คำสันสกฤตสมาสกับบาลี
☻ อัคร + มเหสี → อัครมเหสี
☻ มัธยม + ศึกษา → มัธยมศึกษา
☻ ธรรม + ยุค → ธรรมยุค
ส่วนคำที่มีภาษาอื่นปนอยู่ด้วยไม่ใช่คำสมาส แต่เป็นคำประสม เช่น ผลไม้ (ผล
= บาลี ไม้ = ไทย) นงลักษณ์ (นง = ไทย ลักษณ์ = บาลี) กระยาสารท
(กระยา = เขมร สารท = บาลี) สบประมาท (สบ = เขมร ประมาท =
สันสกฤต) เป็นต้น
๒. เวลาอ่านคำสมาส จะอ่านออกเสียงสระที่พยัญชนะท้ายของคำแรก เช่น
☺ ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด
☺ บุตรภรรยา อ่านว่า บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา หรือ บุด-ตระ-พัน-ยา
☺ เกษตรศาสตร์ อ่านว่า กะ-เสด-ตระ-สาด
☺ คุณวุฒิ อ่านว่า คุน-นะ-วุด-ทิ
☺ ชาติภูมิ อ่านว่า ชาด-ติ-พูม
คำสมาสที่มีเสียง อะ ที่พยางค์ท้ายคำหน้า จะไม่ประวิสรรชนีย์ไม่มีเครื่องหมาย
ทัณฑฆาตรระหว่างคำสมาส เช่น ศิลปกรรม ไม่ใช่ ศิลปะกรรม คณบดี ไม่ใช่
คณะบดี ธุรการ ไม่ใช่ ธุรการ สุคนธชาติ ไม่ใช่ สุคนธ์ชาติ ฤทธิรณ ไม่ใช่ ฤทธิ์
รณ เยาวมาลย์ ไม่ใช่ เยาว์มาลย์
คำสมาสบางคำคำที่ไม่ออกเสียงพยางค์ท้ายของคำนำ เป็นการอ่านตามความ
นิยม เช่น
☻ สุภาพบุรุษ อ่านว่า สุ-พาบ-บุ-หรุด
☻ รูปการ อ่านว่า รูบ-กาน
☻ สัทธรรม อ่านว่า สัด-ทำ
☻ ชาตินิยม อ่านว่า ชาด-นิ-ยม
๓. คำหลักของคำสมาสมักจะอยู่หลัง คำขยายอยู่ข้างหน้า ดังนั้น การแปล
ความหมายศัพท์สมาสจึงมักจะแปลจากหลังมาหน้า เช่น
☺ ทิพ + โสต → ทิพโสต = หูเพียงดังทิพย์
☺ เทพ + บดี → เทพบดี = เจ้าแห่งเทวดา
☺ ประชา + มติ → ประชามติ = มติของประชาชน
☺ อากาศ + ยาน →อากาศยาน = เครื่องนำไปทางอากาศ
คำสมาสบางคำแปลเรียงคำ เนื่องจากคำหลักซึ่งมีความหมายสำคัญเท่ากัน ไม่มี
คำใดเป็ นคำขยาย เช่น
☻ บุตร + ภรรยา → บุตรภรรยา = บุตรและภรรยา
☻ สมณ + พราหมณ์ → สมณพราหมณ์ = สมณะและพราหมณ์
๔. คำว่า “วร” ไทยนำมาใช้แผลงเป็ น “พระ” ใช้เป็ นคำราชาศัพท์ หาก
ประกอบกับคำบาลี สันสกฤตก็นับเป็ นคำสมาส เช่น พระกรรณ พระบาท พระ
ราชา พระหัตถ์ แต่ถ้าประกอบกับคำภาษาอื่นไม่นับเป็ นคำสมาส เช่น พระเก้าอี้
(เก้าอี้ เป็ นคำภาษาจีน) พระอู่ (อู่ เป็ นคำไทย) พระขนง (ขนง เป็ นคำภาษา
เขมร)
คำสมาสบางคำมีการประสมกลมกลืนเสียงสระ พยัญชนะ หรือนฤคหิต
ระหว่างพยางค์ ทำให้คำมีพยางค์น้อยลง เรียกวิธีการกลมกลืนเสียงนี้ว่า “สนธิ”
การสนธิมี ๓ ลักษณะ คือ สระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนฤคหิตสนธิ
สระสนธิ
สระสนธิ

สระสนธิ คือ การกลมกลืนเสียงระหว่างสระท้ายพยางค์คำหน้ากับพยางค์หน้า


คำหลัง วิธีสนธิหรือกลมกลืนเสียงสระมี ๓ วิธี ดังนี้
๑. สระพยางค์ท้ายคำหน้า สนธิสระพยางค์หน้าคำหลัง รวมเป็ นสระพยางค์
หน้าของคำหลัง
คำหน้า คำหลัง คำสมาสที่มีการสนธิ
จตุร + องค์ → จตุรงค์
วิทย + อาลัย → วิทยาลัย
นิล + อุบล → นิลุบล
ธรณี + อินทร์ → ธรณินทร์
อิทธิ + อานุภาพ → อิทธานุภาพ
อน + เอก → อเนก
ปัจจ + เอกชน → ปัจเจกชน
พุทธ + โอวาท → พุทโธวาท
๒. สระพยางค์ท้ายคำหน้าสนธิสระพยางค์หน้าคำหลังแล้วมีการเปลี่ยนรูปสระ
พยางค์หน้าคำหลัง อะ เป็น อา, อิ เป็น เอ, อุ เป็น อู หรือ โอ เป็น เอา เช่น
อะ เป็ น อา

คำหน้า คำหลัง คำสมาสที่มีการสนธิ

ราช + อธิราช → ราชาธิราช

จุฬา + อลงกรณ์ → จุฬาลงกรณ์

ประชา + อธิปไตร → ประชาธิปไตร

ศาสตร + อาจารย์ → ศาสตราจารย์


อิ เป็ น เอ

คำหน้า คำหลัง คำสมาสที่มีการสนธิ

ราช + อินทร์ → ราเชนทร์

นร + อิศวร → นเรศวร

มหา + อิสี → มเหสี


อุ เป็ น อู
หรือ โอ เป็ น เอา

คำหน้า คำหลัง คำสมาสที่มีการสนธิ


ราช + อุปถัมภ์ → ราชูปถัมภ์
สาธารณ + อุปโภค → สาธารณูปโภค
ชล + อุทร → ชโลทร
ราช + อุบาย → ราโชบาย
มหา + อุฬาร → มโหฬาร,มเหาฬาร
๓. สระพยางค์ท้ายคำหน้าสนธิสระพยางค์หน้าคำหลัง แปลงสระพยางค์ท้าย
คำหน้าเป็นพยัญชนะ คือ อิ,อี เป็น ย ,อิย,อุ,อู เป็น ว แล้วใช้สระพยางค์หน้าคำ
หลังซึ่งเปลี่ยนรูปหรือไม่เปลี่ยนรูปก็ได้ ถ้าคำนั้นมีตัวสะกดตัวตาม ให้ตัดตัว
ตามออกก่อน เช่น
อิ,อี เป็ น ย,อิย

คำหน้า คำหลัง คำสมาสที่มีสนธิ


อธิ + อาศัย → อธย + อาศัย → อัธยาศัย
รังสี + โอภาส → รังสิย + โอภาส → รังสิโยภาส
สิริ + อากร → สิรย + อากร → สิรยากร
กิติ + อากร → กิตย + อากร → กิตยากร
อุ,อู เป็ น ว

คำหน้า คำหลัง คำสมาสที่มีสนธิ

เหตุ + อเนกรรถ → เหตว + อเนกรรถ → เหตวาเนกรรถ


ธนู + อาคม → ธนว + อาคม → ธันวาคม
จักขุ + อาพาธ → จักขว + อาพาธ → จักขวาพาธ
บอกให้รู้ อิ,อี เป็น ย เพราะ ย เป็นพยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียง
สระอิ,อี ด้วยครึ่งหนึ่ง อุ,อู เป็น ว เพราะ เป็นพยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะ
ที่มีเสียงสระอุ,อู ด้วยครึ่งหนึ่ง
พยัญชนะสนธิ

พยัญชนะสนธิ คือ การเชื่อมและการกลมกลืนเสียงพยัญชนะหรือสระของ


พยางค์ท้ายคำหน้ากับสียงพยัญชนะหรือสระของพยางค์คำหลัง วิธีการในภาษา
บาลี สันสกฤตมีหลักเกณฑ์ยุ่งยาก ไทยนำมาใช้เป็ นส่วนน้อย ส่วนใหญ่นำคำที่
สนธิแล้วในภาษาบาลี สันสกฤตมาใช้ เช่น
☺ กามนฺ + เทว → กามเทว (ไทยใช้ กามเทพ)
☺ มนสฺ + ภาว (ส.) มน + ภาว (บ.) → มโนภาว (ไทยใช้มโนภาพ)
☺ นิสฺ + นาม (ส.) นิ + นาม (บ.) → นิรนาม
☺ ทุสฺ + ขน (ส.) ทุ + ชน (บ.) → ทุรชน,ทรชน
นฤคหิตสนธิ

นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมต่อและกลมกลืนเสียงระหว่างคำต้นที่ลงท้ายด้วย


นฤคหิตกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระหรือพยัญชนะ ไทยไม่ได้นำนำวิธีการนี้มาใช้ แต่
นำคำที่สนธิแล้วมาใช้เลย ซึ่งในภาษาบาลี สันสกฤตมีหลักดังนี้
๑. นฤคหิตสนธิกับสระ จะต้องเปลี่ยนนฤคหิต เป็น ม เช่น
☻ สํ + โอ + สร → สโมสร
☻ สํ + อาทาน → สมาทาน
☻ สํ + อี → สม + ย (แผลง อี เป็น ย ) → สมัย
☻ ศุภํ + อสฺตุ → ศุภมัสตุ (ไทยใช้ ศุภมัสดุ)
๒. นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค เปลี่ยนนฤคหิตเป็นพยัญชนะท้ายวรรค
ของพยัญชนะตัวหน้าของคำหลัง ดังนี้
☺ วรรค ก เปลี่ยนเป็น ง เช่น
สํ + เกต → สังเกต
สํ + ขยา → สังขยา
☻ วรรค จ เปลี่ยนเป็น ญ เช่น
สํ + ชัย → สัญชัย
สํ + ชาติ → สัญชาติ
☺ วรรค ฏ เปลี่ยนเป็น ณ เช่น
สํ + ฐาน → สัณฐาน
สํ + ฐิต → สัณฐิต
☻ วรรค ต เปลี่ยนเป็น น เช่น
กิ ํ + นร → กินนร
สํ + ดาน → สันดาน
สํ + เทห → สันเท่ห์, สนเท่ห์
☺ วรรค ป เปลี่ยนเป็น ม เช่น
สํ + มน → สัมมนา
สํ + พันธ์ → สัมพันธ์
สํ + มติ → สมมติ, สมมุติ
สยํ + ภู → สยัมภู,สยมภู,สยุมภู
๓. นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ง เช่น
☻ สํ + หร → สังหรณ์
☻ สํ + วิช → สังเวช
☻ สํ + สาร → สังสาร,สงสาร
กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

กิจกรรม ๑ สมาส....คำชนคำ
๑. คำต่อไปนี้คำใดเป็ นคำสมาส หากคำใดไม่ใช่คำสมาสให้บอกด้วยว่าเป็ นคำ
ชนิดใด อธิบายบอกเหตุผล

บายศรี กามเทพ พิพิธภัณฑ์ หลักฐาน บรรณศาลา


เชาวเลข บุญฤทธิ์ ศีลธรรม ปริญญาบัตร สภากาชาด
นงลักษณ์ ศาสนจักร พุทธเจดีย์ วิทยากล เยาวยอด
๒. หาศัพท์มาสมาสเพิ่มเติมข้อละ ๓ คำ พร้อมบอกความหมาย
๑. ............สาร.............สาร............สาร
๒. ...........กร..............กร..............กร
๓. ............จร..............จร.............จร
๔. ............กิจ.............กิจ..............กิจ
๕. ..............ศาสตร์.............ศาสตร์..............ศาสตร์
๖. ..............ธรรม..............ธรรม...............ธรรม
๗. เทว............เทว...............เทว................
๘. ศิลป...............ศิลป..................ศิลป.................
๙. กรรม................กรรม...............กรรม...............
๑๐. โทร...............โทร..............โทร.................
๑๑. มหา................มหา...............มหา................
๑๒. ภูมิ...............ภูมิ...................ภูมิ....................
กิจกรรม ๒ สนธิ...เชื่อม กลมกลืนเสียง

๑. สนธิเชื่อมคำต่อไปนี้
๑. สาธารณ + อุปโภค
๒. สํ + ฤทธ
๓. ราช + อุบาย
๔. อน +อันต
๕. อัคคิ + อาคาร
๖. มนัส + คติ
๗. พุทธ + อังกูร
๘. สยํ +วร
๙. ขีณ + อาสว
๑๐. สาร + อนุกรม
๑๑. ปรม + อีศวร
๑๒. คช + อินทร์
๑๓. ทุส + ชาติ
๑๔. สํ + อาจาร
๑๕. นิสฺ +เทศ
๑๖. สต + องฺค
๒. แยกคำสมาสที่มีสนธิต่อไปนี้ และบอกด้วยว่าเป็ นสนธิชนิดใด

อดุลยานุภาพ ชโลทร กฤดาภินิหาร ธานินทร์


ไพรินทร์ พราหมณาจารย์ สัญจร อศิรพิษ
เพศยันดร อเรนทร์ สันนิบาต สมิทธิ
พุทธางกูร กริทร์ เนรคุณ วโนทยาน
เบญจางค สังวาส ธนานุบาล มโนมัย
ทิวงคต นิรภัย บดินทร์ มาตยากร
๓. ข้อความต่อไปนี้มีคำสมาสและคำใดเป็ นคำสมาสที่มีสนธิ พร้อมทั้งแยกคำ
สมาสและคำสมาสที่มีสนธิเหล่านั้น
๑. “สมัยเมื่อล่วงแล้วแต่ปางหลัง ครั้งยังมีพระชนมายุอยู่ในพระเยาวกาล เมื่อ
พระเกศายังดำเป็ นมันขลับ เสวยอิฏฐารมณ์ผงมต่อความบันเทิงสุขโดยอุดม
พระองค์ยังทรงสละสรรพสุขศฤงคารเสียได้แล้ว เสด็จออกจากพระราชสกุลวงศ์
แห่งศากยชนบทในอุตตรประเทศเข้าสู่เขตลุ่มแม่น้ำคงคา บรรลุถึงเชิงเวภาร
บรรพตอันสูงลิ่ว ได้เสด็จประทับอยู่ที่นั้น เป็ นปฐมกาลตลอดเวลาได้ช้านาน
และเสด็จภิกาจารในกรุงราชคฤห์ทุกบุพพันหเวลา”
(กามนิต ภาคพื้นดิน)
๒. “อิว สาคโร มิฉะนั้นประดุจหนึ่งว่าห้วงมหาสาครชลาลัย เป็ นที่ชลธีถั่ง
หลั่งไหลล่วงล้นมา แต่มหาคงคาทุกถิ่นประเทศเขตกุนนทีธาร ก็เหมือนพระ
บวรสันดานของพระองค์ ซึ่งทรงพระราชศรัทธามหาปิ ยบุตรบริจาคอันยอด
ยากที่จะกระทำได้ทรงสละให้เป็ นทาน อันนี้แหลางอ้างเอาต่างพยานของธชี
เป็ นความสัตย์ดั่งนี้นี่แล้วแล”
(มหาเวสสันดร)
การสร้างคำสมาสและคำสมาสที่มีสนธิ

๔. ให้นักเรียนหาคำสมาสและคำสมาสที่มีสนธิจากหนังสือวรรณคดีนอก
เหนือจากคำที่ยกมาเป็ นตัวอย่าง อย่างน้อยคนละ ๑๕ คำ บอกด้วยว่าเป็ นคำ
สมาสหรือคำสมาสที่มีสนธิ
๓. ให้นักเรียนลองคิดคำบัญญัติเรียกสิ่งใหม่ หรือชื่อของบุคคล หรือชื่อร้าน
ค้า โดยใช้ความรู้เรื่องการสมาสและการสมาสที่มีสนธิ คนละ ๑๐ ชื่อ
จัดทำโดย
นางสาว จิราภรณ์ แจ่มมี
เลขที่ ๓ มัธยมศึกษาปี ที ๖/๑๐
เสนอ
อาจารย์ จรัสศรี จอนเจิดสิน
โรงเรียน กาญจนานุเคราะห์
จบการนำเสนอ

สวัสดีค่ะ

You might also like