การอ่านตีความ™ 2

You might also like

Download as ppt, pdf, or txt
Download as ppt, pdf, or txt
You are on page 1of 16

การอ่านตีความ

การอ่านตีความเป็ นการอ่านที่ต้องอาศัยประสบการณ์
ความสามารถ สติปัญญา เพื่อทำความเข้าใจกับข้อเขียนที่อ่าน
และพยายามเข้าถึง “สาร” ที่ผู้เขียนต้องการ “สื่อ” ให้ผู้อ่าน
ทราบ และหาคำตอบจากงานเขียนนั้น
โดยใช้หลักในการพิจารณาดังนี้
1. ถ้อยคำ ข้อความ น้ำเสียง
2. ข้อมูลที่เป็ นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น
3. ทัศนคติของผู้เขียน
*** การอ่านตีความเป็ นขั้นตอนต่อเนื่องจากการอ่านจับใจความ
ประโยชน์ของการอ่านตีความ
1. ทำให้เข้าใจงานเขียนได้หลายแง่มุม
2. ได้เห็นคุณค่าของวรรณกรรมที่หลากหลาย
3. ทำให้เป็ นคนรู้คิดและมีเหตุผล
4. ทำให้ผู้อ่านมีวิจารณญาณในการอ่าน
5. เป็ นการฝึ กการใช้เหตุผล ไตร่ตรอง
6. การตีความทำให้เข้าถึงวรรณคดีได้ลุ่มลึก

*การอ่านสร้างปัญญา ปัญญาสร้างคน คนสร้างชาติ**


คุณสมบัติที่ดีของผู้อ่านตีความ
1. เป็ นคนช่างสังเกต ช่างคิด
2. เป็ นผู้มีความละเอียดรอบคอบ
3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4. ยอมรับเหตุผลของผู้อื่น ยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์
ของผู้อื่น
5. มีทัศนคติและมองโลกในแง่ดี มีโลกทัศน์กว้างขวาง
6. มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่มีอคติ
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านตีความ
๑. ต้องเข้าใจคำในความหมายเชิงอุปมาอุปไมย
๒. มีความเข้าใจสำนวนไทยหรือคำพังเพย
๓. มีความเข้าใจศัพท์เทคนิคหรือศัพท์บัญญัติ
๔. มีความเข้าใจคำทับศัพท์
๕. เข้าใจภาษาในเชิงสัญลักษณ์
แนวปฏิบัติในการอ่านตีความ
1. การวิเคราะห์งานเขียนและลักษณะเนื้อหา
2. ทำความเข้าใจศัพท์ สำนวน
3. จับใจความสำคัญ
4. การพิจารณารายละเอียด จับเจตนาของผู้เขียนและ
ตีความเนื้อหาได้
5. การพิจารณาความคิดแทรกและความคิดเสริม
นาฏการ คือ การแสดงความเคลื่อนไหวต่างๆที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่าง เช่น

“พอคอเหวอะมีดเลอะเลือดตกเปรี้ยง ก็แว่วเสียงผัวเรียกสำเหนียกได้
แค้นก็แค้นรักก็รักสลักใจ เหลืออาลัยแล้วคลานซานออกมา
โลหิตไหลกายสั่นอยู่ริกๆ เหงื่อซิกๆซมซวนกำสรวลหา
หน้ามืดหวึงจวนจะถึงทวารา สาวเครือฟ้ าสิ้นชีวาตม์ขาดใจเอยฯ”
(สาวเครือฟ้ า : กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ )

จากบทร้องข้างต้นเป็ นบทร้องที่กล่าวถึงช่วงก่อนที่สาวเครือฟ้ า
จะขาดใจตาย สาวเครือฟ้ านั้นตัวสั่นแล้วก็พยายาม ไปเปิ ดประตูเพื่อพบ
หน้าสามีเป็ นครั้งสุดท้ายแต่ก็ไม่สำเร็จ เธอขาดใจตายเสียก่อน เป็ นต้น
a.
การใช้โวหารในเชิงเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบ เช่น
เศรษฐกิจบิดผันทุกวันนี้ กระดูกซี่โครงของชาติอาจผุ
แหว่ง
การปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ของเจ๊กแพงของไทยถูกทุกประเด็น
๒. การเปรียบเทียบในเชิงอุปลักษณ์ เช่น
- ในน้ำมีปลาในนามีข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
- ลูกคือแก้วตาดวงใจของพ่อแม่
๓. การเปรียบเทียบนามนัย คือ การเปรียบเทียบโดยกล่าวถึงสิ่งหนึ่ง แต่
หมายถึงสิ่งหนึ่ง เช่น
- ไม่มีข่าวคราวจากรั้วแม่โดม
- ไม่มีปฏิกิริยาจากรั้วจามจุรี
๔. การเปรียบเทียบเชิงสมพจน์นัย คือ การกล่าวถึงส่วนใด
ส่วนหนึ่งของสิ่งที่จะต้องกล่าวถึงโดยหมายรวมถึงทั้งหมด
เช่น - “จะพลิกพลิ้วชิวหาเป็นอาวุธ”โวหารนี้ไม่ได้หมายถึงคำ
พูดเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงสติปัญญาด้วย

- “ยังมีสิบปากที่เขาต้องหาเลี้ยง” หมายถึง เขาต้องเลี้ยงดู


คนถึง สิบคน
- ยืมจมูกคนอื่นหายใจ, รู้ไส้รู้พุง , ร้อยลิ้นกะลาวน
๕. การเปรียบเทียบเชิงอติพจน์ เป็ นการเปรียบเทียบที่
เกินจริง เช่น
- ฉันรอเธอมาตั้งโกฏิปี , “ขอให้อายุยืนหมื่นปี ”
- ฉันรักเธอเท่าฟ้ า
- คอยนานตั้งปี
- เขาเป็ นนักการเมืองที่ลิ้นตวัดถึงใบหู
- คิดถึงใจจะขาดแล้วเอย
- จะเอาโลกมาทำปากกา เอานภามาแทนกระดาษ เอา
น้ำหมึกมหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศพระคุณไม่
พอ
การเปรียบเทียบเชิงอติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริง
เพื่อให้เห็นอารมณ์ หรือความรู้สึกที่รุนแรง เช่น
- จะเจ็บจำไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ
(เสียเจ้า : อังคาร กัลยาณพงศ์ )
- ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัคร
สมาน
- สอบเอ๋ยสอบคัดเลือกอ่อนทิ้งเปลือก เลือกแต่ เนื้อเหลือหลีกเลี่ยง
คัดแต่คนเรียนเก่งก็พอเพียง หวังชื่อเสียงเกียรติก้องสิ่งต้องการ
แล้วเปลือกล่ะทิ้งไหนใครรับบ้าง ต้องปลิวคว้างร่อนไปไกล
สถาน
ก่อคดีก่อปัญหาเหลือประมาณ นักวิชาการช่วยด้วยเถิดเอย
(สตรีสาร :ป. ถิ่น นคร)

ในบทประพันธ์ของ ป. ถิ่นนคร เรียกเด็กกลุ่มที่เรียน


เก่งสามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในสถานศึกษา ต่างๆ ได้ว่า เป็ น
พวก “เนื้อ” ส่วนเด็กกลุ่มที่เรียนไม่เก่ง และไม่สามารถสอบเข้า
เรียนต่อในสถาบันใดได้เลยนั้นเรียกว่าเป็ นพวก “เปลือก”
คำประชด เป็ นการกล่าวเชิงเปรียบเปรยประชด
ประชัน เช่น
- แม้นแผ่นดินสิ้นชายที่พึงเชย อย่ามีคู่เสียเลยจะดีกว่า
(อิเหนา)
- เธอสวยราวนางฟ้ า (กล่าวเปรียบโดยตรง)
- ปากกามีอำนาจมากกว่าดาบ (กล่าวเปรียบโดยนัย)
- เขาคนนั้นคือฮิตเลอร์กลับชาติมาเกิด (กล่าวเปรียบโดยนัย)
ปฏิวาทะ เช่น คือการนำคำที่มีความหมายขัดแย้งกันมา
รวมกัน เพื่อให้เกิดคำซึ่งมีความหมายใหม่ ที่ให้ความรู้สึกกินใจ หรือ
เกิดอารมณ์สะเทือนใจ เช่น
- หน้าเขาหนาหน้าเขาด้านมานานนัก งานเขาเหนื่อยงานเขาหนัก -
(หนักชิบหา-)

- “สงครามเย็น” , “ความหวานชื่นอันขมขื่น”
“ใกล้หัวใจแต่ไกลสุดฟ้ า”,“ในความมืดอันเวิ้งว้างสว่างไสว”
- “ไฟใต้น้ำ”
- “แค้นเสน่ห์หา”
การใช้คำตรงกันข้าม เป็ นวิธีการใช้ถ้อยคำที่มี
ความกลับกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ดังคำประพันธ์
ชีวิตก็เป็ นเช่นนี้
เดี๋ยวมีทุกข์ เดี๋ยวมี สุข โศกศัลย์
เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ รำพัน
เดี๋ยวแข็งขัน เดี๋ยวอ่อนแรงแกร่งกร้าน
(ชีวิต :ถนอม ไชยวงษ์แก้ว)
ในบทประพันธ์กล่าวถึงชีวิตของคนเราว่า ต้องพบกับ
ความทุกข์ เสียงร้องไห้ และเสียงหัวเราะ
อติพจน์ คือ โวหารกล่าวเกินจริง มักกล่าวเพื่อให้ได้คุณค่า
ทางด้านอารมณ์เป็ นสิ่งสำคัญจึงไม่เพ่งเล็งข้อเท็จจริงแต่ประการใด เช่น
กล่าวถึงความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ของคนที่ต้อง“สูญเสียบุคคลผู้เป็ นที่รัก”
ด้วยโวหารเกินจริงว่า

- เสียงฟ้ ากรีดหวีดไหวตอนไกลฟ้ า เสียงคนร่ำร้องไห้แข่งสายฝน


น้ำตาฟ้ าท่วมโลกเพราะโศกดล น้ำตาคนท่วมฟ้ าเพราะอาลัย
(“แด่....มาลัย” ในดอกไม้ใกล้หมอน)

- รักเธอชั่วนิรันดร์
- ร้องไห้จนน้ำตาท่วมโลก ก็ไม่มีวันที่เขาจะกลับมา
สัญลักษณ์ คือ การนำสิ่งที่เป็ นรูปธรรมมาแทนสิ่งที่เป็ นนามธรรม โดยต้องตีความ
หรือต้องนำสิ่งอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงหรือเหมือนกันมาเปรียบ เช่น
สีดำ แทน ความชั่วร้าย ความตาย , ลา แทน คนโง่
สีขาว แทน ความบริสุทธิ์ , แก้ว แทน ของมีค่า
รวงข้าว แทน ความอ่อนน้อม , หงส์ แทน คนชั้นสูง
เมฆหมอก แทน อุปสรรค, เพชร แทน แข็งแกร่งความเป็ นเลิศ
รุ่งอรุณ แทน การเริ่มต้น, สุนัขจิ้งจอก แทน คนเจ้าเล่ห์
ผึ้ง มด ปลวก แทน ความขยัน, ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ
ตราชู แทน ความยุติธรรม, นกพิราบ แทน สันติภาพ
“ทรงจับซึ่งใบรุกขชาติทั้งหลายในป่ า และใบไม้นั้นก็กลับกลายเป็ นทองไปสิ้น”
(พระปฐมสมโพธิกถา)

You might also like