7 สมัยคะมะกุระ ประเภทตำนาน และเรื่องเล่าสงคราม

You might also like

Download as ppt, pdf, or txt
Download as ppt, pdf, or txt
You are on page 1of 67

วรรณกรรมประเภทตำนาน

『宇治拾遺物語』
うじしゅういものがたり
• อุจิฌูอิโมะโนะงะตะริเป็นวรรณกรรม
ประเภทตำนานที่รวบรวมตำนานหรือ
เรื่องเล่าโบราณไว้จำนวนมาก
• ตำนานในเชิงคำสอนทางศาสนามี
จำนวนน้อย
• ไม่ทราบชื่อผู้รวบรวม
• ต้นเรื่องมีข้อความระบุเกี่ยวกับการ
รวบรวมว่า “รวบรวมโดยแก้ไขเพิ่มเติม
จากเรื่องอุจิดะอินะงนโมะโนะงะตะริ (
宇治大納言物語 ) ซึ่งรวบรวมโดยมินะ

โมะโตะ โนะ ทะกะกุนิ ( 源隆国 )”


• สันนิษฐานว่ารวบรวมเสร็จสมบูรณ์ใน
ช่วงต้นศตวรรษที่ 13
• รูปแบบประโยคเป็ นประโยคภาษาญี่ปุ่ น และในบท
สนทนาของตัวละครมีการใช้ภาษาพูดที่เข้าใจง่าย
• เนื้อเรื่องประกอบด้วย 15 เล่มแต่ไม่มีการแบ่งหมวดหมู่
ของแต่ละเล่ม
• มีตำนาน 197 เรื่อง ทั้งที่เป็ นเนื้อเรื่องขนาดสั้นและ
ขนาดยาว ในจำนวนนี้มีเรื่องที่ซ้ำกับในคนจะกุโมะโนะงะ
ตะริฌูประมาณ 80 เรื่อง และมีตำนานทางพุทธศาสนา
ประมาณ 80 เรื่อง
• ตัวละครพระหรือนักบวชจำนวนมากมีลักษณะแตกต่าง
จากคำสอนทางพุทธศาสนาโดยทั่วไปคือ พระหรือ
นักบวชมีการแสดงอารมณ์ ความรู้สึกเหมือนกับฆราวาส
• ท้ายเรื่องส่วนมากไม่มีการเสริมข้อความแสดงการเตือน
สติหรือการทำให้รู้แจ้ง
• มีตำนานทางโลกที่สันนิษฐานว่านำมาจากเรื่องราวในหมู่
ชาวบ้าน
• ฉากที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมีทั้งที่ประเทศจีน อินเดีย และ
ญี่ปุ่ น
• อุจิฌูอิโมะโนะงะตะริได้รับความนิยมจากผู้อ่านตั้งแต่ยุค
กลางเป็ นต้นมา
ตัวอย่าง 『宇治拾遺物語』
• กาลครั้งหนึ่งมีนักบวชรูปหนึ่งได้พบกับยักษ์ตนหนึ่งขณะฝึก
ปฏิบัติตนบนภูเขา ยักษ์สูงกว่า 2 เมตร ตัวสีน้ำเงิน ผมสี
แดง
• ยักษ์ร้องไห้และเล่าให้นักบวชฟังว่า
ตนมีอายุกว่า 500 ปี สาเหตุที่
เกิดเป็นยักษ์เพราะมีความแค้นเคือง
มนุษย์
• ยักษ์ได้ฆ่าคนที่ตนเคืองแค้น และยังฆ่าลูก หลาน เหลน
จนถึงโหลน จนไม่เหลือแม้แต่คนเดียว
• ยักษ์ตั้งใจว่าหากลูกหลานของคนที่แค้นนั้นไปเกิดใหม่ก็
จะตามไปฆ่าให้หมด แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าไปเกิดใหม่ที่ใดบ้าง
• ไฟแห่งความโกรธแค้นของยักษ์ยังไม่หมดสิ้นไป
• หากไฟแค้นหมดลงยักษ์คงได้ไปเกิดในแดนสุขาวดีหรือ
บนสวรรค์
• ความแค้นต่อคนอื่นที่ยังเหลืออยู่จะย้อนกลับเข้าสู่ตนเอง
• ไฟบนหัวยักษ์ยังคงลุกโชนอยู่และยักษ์ได้หายร่างไปใน
ภูเขา
• นักบวชสงสารยักษ์อย่างยิ่งจึงได้อุทิศส่วนกุศลให้บาป
ของยักษ์ได้หมดสิ้นไป
ตัวอย่าง 『宇治拾遺物語』

• ชายชราคนหนึ่งมีเนื้องอกก้อนใหญ่เท่าผล
ส้มบนแก้มขวา วันหนึ่งเขาได้ยินเสียงยักษ์
ตีกลอง จึงออกไปเต้นรำ พวกยักษ์ชอบใจ
จึงเอาก้อนเนื้อบนแก้มชายชราเก็บไว้เป็ น
ของประกัน
• เมื่อชายชรา
กลับถึงบ้าน
ได้เล่าเรื่องราว
ต่าง ๆ ให้
เพื่อนบ้านฟัง
• ชายชราอีกคนหนึ่งมีเนื้องอกบนแก้มเช่น
กัน อยากให้เนื้องอกหาย จึงลองทำตามดู
บ้าง
• แต่ชายชราคนหลัง เต้นรำแย่มาก พวก
ยักษ์จึงคืนเนื้องอกของชายคนแรก โดยติด
ไว้กับชายคนที่สอง
อธิบาย

ญี่ปุ่น
โบราณ
ญี่ปุ่น
ปั จจุบัน
วรรณกรรมประเภทเรื่องเล่าสงคราม
• เรื่องเล่าสงครามหรือกุงกิโมะโนะงะตะริ
( 軍記物語 ) คือ ผลงานถ่ายทอดเรื่อง
ราวการสู้รบหรือการทำสงครามโดยอิงตาม
เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ แต่บางครั้งอาจ
เสริมเรื่องเล่าหรือตำนานเพิ่มเติม
• เป็นวรรณกรรมร้อยแก้ว และเป็นประเภทใหม่ที่
เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยคะมะกุระ
โฮเง็นโมะโนะงะตะริ
( 保元物語 )
• ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง
• แต่งจากมุมมองของผู้พ่ายแพ้สงคราม
• สันนิษฐานว่าแต่งเสร็จราวช่วงต้นของ
สมัยคะมะกุระ
•รูปแบบการเขียนเป็ นแบบ
ภาษาจีนสลับกับภาษาญี่ปุ่ น
หรือวะกังกงโกบุน
•เนื้อเรื่องประกอบด้วย 3 เล่ม
• เนื้อเรื่องกล่าวถึงสงครามโฮเง็น ( 保元の乱 ) ที่เริ่ม
ขึ้นใน ค.ศ. 1156
• เป็ นความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องสิทธิการขึ้นครองราชย์ที่
อดีตจักรพรรดิซุโตะกุ ( 崇徳上皇 ) ทรงมีต่อจักร
พรรดิโกะฌิระกะวะ ( 後白河天皇 )
• ตัวอย่างรายชื่อขุนนางที่อยู่ด้านฝ่ ายอดีตจักรพรรดิซุโตะกุ
เช่น ฟุจิวะระ โนะ โยะรินะงะ ( 藤原頼長 )
มินะโมะโตะ โนะ ทะเมะโยะฌิ ( 源為義 )
มินะโมะโตะ โนะ ทะเมะโตะโมะ ( 源為
朝 ) ทะอิระ โนะ ทะดะมะซะ ( 平忠正 )
• สงครามจบด้วยความพ่ายแพ้ของอดีตจักรพรรดิซุโตะกุ
• เนื้อเรื่องมีการบรรยายความคับแค้นพระทัยหลังจาก
พระองค์ทรงถูกเนรเทศไปที่ซะนุกิ ( 讃岐 ) และ
สวรรคต ณ สถานที่แห่งนั้น
• นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวของฝ่ ายพ่ายแพ้ เช่น
ทะเมะโตะโมะถูกเนรเทศไปที่อิสุ ( 伊豆 ) และ เสีย
ชีวิตที่นั่น โยะรินะงะถูกธนูยิงขณะอยู่บนหลังม้า
เฮะอิจิโมะโนะงะตะริ
( 平治物語 )
เฮะอิจิโมะโนะงะตะริ ได้ชื่อว่าเป็นเรื่องคู่
พี่น้องกับเรื่องโฮเง็นโมะโนะงะตะริ
• สันนิษฐานว่าแต่งโดยผู้แต่งคน
เดียวกันกับโฮเง็นโมะโนะงะตะริ
• แต่งจากมุมมองของผู้พ่ายแพ้สงคราม
• สันนิษฐานว่าแต่งเสร็จราวช่วงต้นของ
สมัยคะมะกุระ
•รูปแบบการเขียนเป็ นแบบ
ภาษาจีนสลับกับภาษาญี่ปุ่ น
หรือวะกังกงโกบุน
•เนื้อเรื่องประกอบด้วย 3 เล่ม
• เนื้อเรื่องกล่าวถึงสงครามเฮะอิจิ ( 平治の乱 ) ที่
เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1159 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากสงครามโฮเง็น
เพียง 3 ปี
• สงครามเฮะอิจิเป็ นความขัดแย้งระหว่างฝ่ ายของ
มินะโมะโตะ โนะ โยะฌิโตะโมะ ( 源義朝 ) กับฝ่ าย
ของทะอิระ โนะ คิโยะโมะริ ( 平清盛 )
• ฝ่ ายโยะฌิโตะโมะร่วมมือกับฟุจิวะระ โนะ โนะบุโยะริ
( 藤原信頼 )
• ฝ่ ายของคิโยะโมะริร่วมมือกับฟุจิวะระ โนะ มิชิโนะริ
( 藤原通憲 )
• สงครามเริ่มต้นจากพวกของโนะบุโยะริเข้าโจมตีพวก
คิโยะโมะริขณะเดินทางไปขอพรที่ศาลเจ้าคุมะโนะ ( 熊
野 ) และสามารถสังหารมิชิโนะริได้สำเร็จ
• แต่หลังจากพวกโนะบุโยะริกลับมาถึงเมืองหลวงแล้วพ่าย
แพ้ต่อกองกำลังของคิโยะโมะริ และโนะบุโยะริถูกลงโทษ
ด้วยการตัดศีรษะ
• นอกจากนี้ โยะฌิโตะโมะถูกสังหารที่แคว้นโอะวะริ ( 尾
張国 ) และคนในครอบครัวของโยะฌิโตะโมะ ทั้ง
ภรรยาคือ โทะกิวะ ( 常盤 ) ลูกชายสามคน ได้แก่
โยะฌิฮิระ ( 義平 ) โทะโมะนะงะ ( 朝長 ) และ
โยะริโตะโมะ ( 頼朝 ) ต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรม ส่ง
ผลให้ตระกูล มินะโมะโตะเสื่อมอำนาจลงชั่วคราว
• ต่อมาใน ค.ศ. 1167 คิโยะโมะริได้เลื่อนตำแหน่งเป็ น
ดะอิโจดะอิจิน ( 太政大臣 ( だいじょうだ
いじん )) ซึ่งเป็ นช่วงแห่งความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของ
ตระกูลทะอิระ
『平家物語』
へいけものがたり
“เฮะอิเกะ” หมายถึง ตระกูลทะอิระ
“โมะโนะงะตะริ” หมายถึง เรื่องเล่า
เฮะอิเกะโมะโนะงะตะริ หมายถึง เรื่องเล่าของตระ
กูลทะอิระ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับการสู้รบ
ระหว่างตระกูลทะอิระกับตระกูลมินะโมะโตะ
Heike monogatari 『平家物語』
• วรรณคดีประเภทนิยายสงคราม
• ไม่ทราบผู้แต่งแน่ชัดแต่ข้อสันนิษฐานหนึ่งคือเรื่องนี้
กำเนิดขึ้นจากเรื่องเล่าสืบทอดกันมาโดยพระดีดพิณบิวะ
琵琶法師
• ต้นฉบับเรื่องเฮะอิเกะโมะโนะงะตะริแบ่งเป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ต้นฉบับสำหรับอ่านหรือโยะ
มิฮน ( 読み本 ) แลสำหรับเล่าเรื่องหรือคะ
ตะริฮน ( 語り本 )
• ต้นฉบับสำหรับเล่าเรื่องเป็นการเล่าเรื่องประกอบ
บรรเลงพิณบิวะ ( 琵琶 ) ซึ่ง การเล่า
เรื่องแบบนี้เรียกว่าเฮะอิเกิยวกุ ( 平曲 )
• รูปแบบการเขียนเป็นแบบภาษาจีนสลับกับ
ภาษาญี่ปุ่ นหรือวะกังกงโกบุน
• ฉากสู้รบมีการใช้ประโยคภาษาจีน และใช้คำ
เลียนเสียงธรรมชาติหรือกิตะอิโงะ ( 擬態
語 ) กิองโงะ ( 擬音語 ) และคำอื่น ๆ
จำนวนมากเพื่อแสดงภาพความเข้มแข็ง
• ฉากแสดงอารมณ์ความรู้สึกหรือฉาก
โศกนาฏกรรมมีการใช้ประโยคภาษาญี่ปุ่ น และ
ใช้เอ็งโงะ คะเกะโกะโตะบะ ฯลฯ เพื่อสื่อ
อารมณ์ความรู้สึกแบบงดงาม
• เนื้อเรื่องประกอบด้วย 12 เล่ม แสดงความเป็น
อนิจจัง และแสดงบทบาทของชนชั้นนักรบใน
สังคมที่เข้ามาแทนที่ชนชั้นขุนนางซึ่งเคยเรือง
อำนาจมาก่อน
• เนื้อเรื่องกล่าวถึงการสู้รบระหว่างตระกูลทะอิระ
( 平 ) ซึ่งนำโดยทะอิระ โนะ คิโยะโมะริ ( 平
清盛 ) กับตระกูลมินะโมะโตะ ( 源 ) ซึ่ง
นำโดย มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ( 源
頼朝 )
• เนื้อเรื่องครึ่งแรกกล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองของ
ตระกูลทะอิระโดยเน้นเรื่องราวของคิโยะโมะริ
ขณะเดียวกัน ตระกูลทะอิระเป็ นปฏิปักษ์กับอดีต
จักรพรรดิโกะฌิระกะวะ ส่งผลให้เกิดการสู้รบกับ
ตระกูลมินะโมะโตะที่อยู่ฝ่ ายอดีตจักรพรรดิโกะฌิ
ระกะวะ
• สุดท้าย คิโยะโมะริเสียชีวิตเพราะความทุกข์
ทรมานจากอาการป่ วย
• หลังจากฌิเงะโมะริ ( 重盛 ) ซึ่งเป็นลูกชาย
คนโตของคิโยะโมะริเสียชีวิตลง ตระกูลทะอิระก็
เริ่มเสื่อมอำนาจ มีการสู้รบหลายครั้ง และเกิด
ความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ผู้คนเสื่อม
ศรัทธาในตระกูลทะอิระ
• เนื้อเรื่องครึ่งหลังกล่าวถึงชะตากรรมของตระกูล
ทะอิระที่ต้องเดินทางออกจากเมืองหลวงด้วย
ฝี มือของมินะโมะโตะ โนะ โยะฌินะกะ ( 源
義仲 )
• มีการสู้รบกันหลายสนามรบ เช่น อิชิโนะทะนิ (
一の谷 ) ยะฌิมะ ( 屋島 ) จนกระทั่ง
ถึงสนามรบที่ดันโนะอุระ ( 壇の浦 ) ซึ่ง
เป็นสนามรบสุดท้าย ตระกูลทะอิระเป็นฝ่ าย
พ่ายแพ้การสู้รบและล่มสลายไป
• เนื้อเรื่องที่ปรากฏในปัจจุบันนี้สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นราว
กลางศตวรรษที่ 13 มี 12 ม้วน เป็ นเรื่องราวการสู้รบ
ในช่วงปลายสมัยเฮอันระหว่างตระกูลMinamoto
源 หรือGenji 源氏 กับตระกูลTaira 平
หรือHeike 平家
• สุดท้ายตระกูลMinamotoเป็ นฝ่ ายชนะ
และYoritomoได้ต่อตั้งรัฐบาลทหารคะมะกุระ
• ในต้นฉบับสำหรับเล่าเรื่อง มีเล่มเสริมชื่อคันโจ (
灌頂巻 ) ซึ่งกล่าวถึงชีวิตความเป็ นอยู่อย่าง
เงียบสงบหลังออกบวชที่โอฮะระของเค็นเระอิมน
อิน ( 建礼門院 ) ซึ่งเป็ นลูกสาวของคิโยะ
โมะริ และเป็ นคนในตระกูลทะอิระเพียงคนเดียวที่
มีชีวิตรอดจากสนามรบที่ดันโนะอุระ อย่างไร
ก็ตาม บางต้นฉบับได้รวมเล่มคันโจไว้เป็ นเล่ม
สุดท้ายโดยไม่นับเป็ นเล่มเสริม
บทนำเรื่องที่แสดงความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่ง

• เสียงระฆังแห่งวัดเชตวันดังขึ้นบ่งบอกถึงความ
ไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง สีของดอกสาละที่
เปลี่ยนเป็นสีขาวขณะพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์
ปรินิพพานแสดงถึงความไม่ยั่งยืนในความ
รุ่งเรืองบนโลกนี้
• ผู้ที่ทะนงตนก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้นานตลอด
กาล เป็นความไม่จีรังดุจความฝันยามค่ำคืนใน
ฤดูใบไม้ผลิ
• ผู้ที่หาญกล้าย่อมมีวันดับสูญดังฝุ่ นผงที่ปลิวไป
ตามสายลม
• หากยกตัวอย่างในต่างแดนที่ไกลโพ้น เช่น
จ้าวกาวในราชวงศ์ฉิน หวังเหม่าในราชวงศ์ฮั่น
จูอี้ในราชวงศ์เหลียง อันลู่ซานในราชวงศ์ถัง
• ทุกคนที่กล่าวมานี้ล้วนไม่ยอมอยู่ภายใต้การ
ปกครองของจักรพรรดิพระองค์เดิม หลงระเริง
ในความสนุกสนาน ไม่เชื่อฟังคำเตือนของผู้คน
ไม่ตระหนักเรื่องความระส่ำระสายของบ้าน
เมือง ไม่คำนึงถึงความทุกข์โศกของราษฎร ทุก
คนจึงต้องพินาศลง ไม่รุ่งเรืองต่อเนื่องได้นาน
ตลอดกาล
• หากยกตัวอย่างใกล้ ๆ ในประเทศเรา (ญี่ปุ่น)
เช่น ทะอิระ โนะ มะซะกะโดะในรัชสมัย
โฌเฮะอิ ฟุจิวะระ โนะ ซุมิโตะโมะในรัชสมัย
เท็งเงียว มินะโมะโตะ โนะ โยะฌิชิกะในรัชสมัย
โควะ ฟุจิวะระ โนะ โนะบุโยะริในรัชสมัยเฮะอิจิ
• ทุกคนที่กล่าวมานี้มีความแตกต่างกันทั้งด้าน
ความทะนงตน ด้านพฤติกรรมไม่ดี แต่ในไม่ช้า
แล้วทุกคนล้วนต้องพินาศลง
• ถ้าจะให้กล่าวถึงความทะนงตนและการใช้
อำนาจปฏิบัติการรุนแรงของผู้บัญชาการสูงสุด
คนหนึ่งชื่อทะอิระ โนะ คิโยะโมะริซึ่งอาศัยอยู่
บริเวณโระกุฮะระ ไม่สามารถกล่าวถ้อยคำออก
มาได้และไม่สามารถจินตนาการได้
วัดเชตวัน ประเทศอินเดีย
ดอกสาละ
เนื้อเรื่องย่อ
• เนื้อเรื่องกล่าวถึงความรุ่งเรืองของ
ตระกูลTairaซึ่งมีอำนาจทางการเมือง
มากเพราะมีผู้หญิงในตระกูลหลายคนมี
ตำแหน่งสำคัญในพระราชวงศ์ เช่น พระ
ราชชนนีและพระมเหสีแห่ง
จักรพรรดิTakakura 高倉天皇
แต่ขณะเดียวกันก็ต้องต่อสู้กับอำนาจของ
อดีตจักรพรรดิพระนาม
ว่าGoshirakawa 後白河天

• Taira no Kiyomoriสั่งทหารเผาเมืองนะระและสร้างความปั่น
ป่ วนทางการเมืองอย่างมากทำให้ผู้คนเสื่อมศรัทธา
• ต่อมาKiyomoriป่ วยและเสียชีวิตยิ่งทำให้อำนาจของ
ตระกูลTairaเสื่อมถอยลง
• Minamoto no Yoshinakaนำกำลังเข้าโจมตีกองกำลังของ
ตระกูลTaira
• ต่อมาMinamoto no Yoritomoได้รับพระราชบัญชาจากอดีต
จักรพรรดิGoshirakaraให้ดำรงตำแหน่งเป็นโชกุนที่เมืองคะมะกุระ
• Minamoto no Yoshitsuneซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดา
ของYoritomoไปบุกโจมตีกองกำลังของMinamoto no
YoshinakaและพวกตระกูลTaira
• ในที่สุดYoshinakaเสียชีวิตเพราะถูกธนูยิง พวกตระกูลTairaก็ถูก
ไล่โจมตีและไปอยู่ที่Dan no ura 壇の浦 ซึ่งเป็นสนามรบ
สุดท้ายของสองตระกูล
• YoshitsuneจับพวกตระกูลTairaที่เหลือไปยังคะมะกุระ
แต่Yoritomoเข้าใจผิดว่าYoshitsuneคิดไม่ซื่อจึงสั่งทหารออก
ตามล่าYoshitsune
•www.youtube.com/
watch?
v=5HGe_MI3akM
• เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นกฎธรรมชาติ
ตามคำสอนทางพุทธศาสนา เช่น
ความเป็ นอนิจจังของชีวิต ความ
รุ่งโรจน์ ความเสื่อมถอย ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว
• ความเชื่อเรื่องการออกบวช
ความหวังของการไปสวรรค์ในภพ
หน้า
Yoshitsune

You might also like