6 การนำสืบพยานหลักฐาน

You might also like

Download as pptx, pdf, or txt
Download as pptx, pdf, or txt
You are on page 1of 53

การนำสืบพยานหลักฐาน

อ.พินิจนันท์ พรหมารัตน์
• การจะนำสืบพยานหลักฐานใดจำเป็นต้องกระทำให้ถูกต้องตามกระบวนการที่
กฎหมายบัญญัติ ผู้มีสิทธิยื่นพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนคดีเพื่อใช้พิจารณา
ปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้นมีเพียงคู่ความและศาลเท่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 85
และมาตรา 86 วรรคสาม
• ป.วิ.พ. มาตรา 85 “คู่ความฝ่ ายใดมีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะ
นำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือ
กฎหมายอื่นว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน”
หน้าที่และสิทธิของคู่ความในการนำสืบพยาน
• “คู่ความฝ่ ายใดมีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้...”
• หน้าที่ : คู่ความมีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริง
• ไม่ว่าจะเป็นการนำสืบในความหมายของภาระการพิสูจน์ (Legal Burden of Proof) หรือ
• หน้าที่นำสืบก่อน (Order of Proof) หรือ
• หน้าที่นำสืบตามพยานหลักฐาน (การสืบหักล้าง มาตรา 89)
• หรือหน้าที่นำสืบให้เข้าข้อสันนิษฐาน

• สิทธิ : คู่ความย่อมมีสิทธิในการนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ


หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
• ฎ.5197/2558 การที่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยานบุคคล แต่ขอส่งคำเบิกความของพยานที่เคยเบิกไว้ในอีกคดีหนึ่งเป็น
พยานเอกสาร ย่อมถือเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ประกอบทนายจำเลยแถลงยอมรับความถูกต้องของ
เอกสารว่า พยานเคยเบิกความดังคำเบิกความตามที่โจทก์อ้างส่งจริง ศาลย่อมมีอำนาจจะรับฟังข้อเท็จจริงตามพ
ยานเอกสารดดังกล่าวได้
• ฎ.5453/2539 โจทก์มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 85
เมื่อ ณ. และ ก. พยานบุคคลของโจทก์เป็นผู้รู้เห็นในเรื่องที่โจทก์ได้ส่งผลิตภัณฑ์ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยตามที่
ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตัวเองโดยตรง ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังทั้งปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว อีกทั้งไม่มี
กฎหมายบังคับว่าต้องมีใบส่งของที่ผู้รับของลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารมาแสดง ดังนั้นการสืบพยานบุคคลว่าจำเลย
ได้รับใบส่งของดังกล่าวครบถ้วนแล้ว โดยที่ใบส่งของไม่มีลายมือชื่อผู้รับของลงไว้ ย่อมไม่ต้องห้าม ตาม มาตรา
94(ข) (คดีนี้มีประเด็นปัญหาว่า โจทก์ได้ส่งสินค้าครบถ้วนตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยหรือไม่ (ปัญหาข้อเท็จจริง))
• ดังนั้น เมื่อคู่ความฝ่ ายมีสิทธิแล้ว แต่นำพยานมาสืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่ (ภาระการพิสูจน์) คู่
ความฝ่ ายนั้นย่อมต้องแพ้ไปในประเด็นนั้น
• ฎ. 5368/2558 จำเลยที่ 8 อ้างว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดฉ้อฉลกับจำเลยที่ 1 นั้น
จำเลยที่ 8 มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลจำเลยที่ 8 อย่างไร แต่จำเลยที่ 8
นำสืบมาเพียงว่า จำเลยที่ 8 ให้จำเลยที่ 6 ยืมเช็คพิพาทไปค้ำประกันการขายลดเช็คโดยที่จำเลยที่ 6
สั่งจ่ายเช็คของตนเองมาแลกเปลี่ยนเท่านั้น จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ตามที่ จำเลยที่ 8 กล่าวอ้าง
จำเลยที่ 8 ในฐานผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับย่อมต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวต่อ
โจทก์
• หรือ คู่ความฝ่ ายใดมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงใด แล้วไม่นำพยานหลัก
ฐานเข้าสืบ ทั้ง ๆ ที่มีสิทธินำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ย่อมตกเป็ นฝ่ ายแพ้คดี เช่นกัน
• ฎ. 543/2512 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม ครอบครองที่ดินมรดกมาแต่เพียงผู้เดียวเกินกว่า
1 ปี ฟ้ องขอให้ห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับมรดก จำเลยให้การต่อสู้ว่าอายุความเรียกร้อง
ของจำเลยยังไม่ขาด เมื่อจำเลยไม่สืบพยาน จำเลยต้องแพ้คดี
• อย่างไรก็ดี แม้คู่ความฝ่ ายนั้นมีหน้าที่ หรือมีภาระการพิสูจน์ แต่เมื่อไม่มีสิทธิในการสืบพยาน คู่
ความฝ่ ายนั้นย่อมต้องแพ้ในประเด็นนั้นอยู่ดี
• ตัวอย่างเช่น โจทก์ฟ้ องให้จำเลยรับผิดตามสัญญา จำเลยให้การต่อสู่ว่าสัญญาไม่สมบูรณ์ หรือตก
เป็นโมฆียะ โดยไม่ได้ให้เหตุแห่งการปฏิเสธเช่นว่านั้นว่า ไม่บริบูรณ์หรือตกเป็นโมฆียะอย่างไร
ถือว่าคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นที่จะสามารถนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยมีภาระการพิสูจน์แล้วแต่
ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในประเด็นเรื่องสัญญาไม่สมบูรณ์ หรือ โมฆียะ ซึ่งหากโจทก์สามารถ
นำสืบได้ตามฟ้ องโดยมีพยานหลักฐานชัดเจน จำเลยต้องรับผิดตามฟ้ องโจทก์
• มาตรา 85 นอกจากจะบัญญัติให้คู่ความสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้แล้ว ยังบัญญัติให้ต้องนำ
พยานหลักฐานมาสืบให้ถูกต้องตามกระบวนการทั้งตาม ป.วิ.พ. และกฎหมายอื่นด้วย เช่น
• 1. ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
• ฎ.692/2546 โจทก์ฟ้ องจำเลยโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การว่ากู้เงินจากโจทก์จริงแต่รับเงินไม่ถึงจำนวนที่ระบุ
ไว้ในสัญญา จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาบางส่วนไม่สมบูรณ์ ศาลจำต้องใช้สัญญากู้ยืมเงินมาเป็นพยานหลักฐานใน
คดี การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวโจทก์ต้องปิ ดอากรแสตมป์ บนสัญญากู้ยืมเงินให้ถูกต้องบริบูรณ์ตามประมวล
รัษฎากรฯ มาตรา 118 เมื่อสัญญากู้ยืมเงินปิ ดอากรแสตมป์ เพียง 20 บาท ซึ่งตามบัญชีอากรแสตมป์ ท้ายประมวล
รัษฎากรฯ ต้องปิ ดอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท สัญญากู้ยืมเงินจึงปิ ดอากรแสตมป์ ไม่บริบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐาน
ในคดีแพ่งไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
จึงฟ้ องร้องให้บังคับจำเลยไม่ได้
• 2. อำนาจของศาลในคดีผู้บริโภค
• ที่จะมีคำสั่งให้ถือว่าข้อเท็จจริงในประเด็นนั้น เป็นอันยุติเช่นเดียวกับคดีผู้บริโภคในคดีก่อนโดยไม่ต้องสืบพยาน
ทั้งนี้ ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
• หลักการของกฎหมายลักษณะพยานนั้น พยานหลักฐานทุกชนิดที่มีคุณสมบัติบ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงที่พิพาทกันในคดี
ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนั้นได้ ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่หลักการนี้ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่มี
กฎหมายบัญญัติวางหลักเกณฑ์ ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานชนิดใด ประเภทใดไว้ พยานหลักฐานชนิดนั้นประเภท
นั้นก็จะเข้าลักษณะเป็นพยานที่รับฟังไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกรณีเรียกรวมกันว่า บทตัดพยานหลักฐาน
(exclusionary rules) เช่น กรณีของ ป.วิ.พ. มาตรา 86 และ มาตรา 87 เป็นต้น
• มาตรา 85 “...ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นว่าด้วยการรับฟังพยานหลัก
ฐานและการยื่นพยานหลักฐาน”
• พยานหลักฐานที่สามารถรับฟังได้ต้องอยู่ภายใต้บังคับ 2 ประการ คือ
• 1. ต้องอยู่ภายใต้หลักการรับฟังพยานหลักฐาน
• 2. ต้องอยู่ภายใต้หลักการยื่นบัญชีพยาน
หลักเกณฑ์ในการนำสืบพยานหลักฐาน
• 1. ศาลมีอำนาจในการรับฟังหรือไม่รับพยานหลักฐาน
• 2. พยานหลักฐานต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อเท็จจริงและประเด็นคดี
• 3. ต้องมีการยื่นบัญชีระบุพยาน
๑. อำนาจศาลในการจะรับหรือไม่รับพยานหลักฐานใด
• ป.วิ.พ.มาตรา 104 “ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะ
เกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาไปตามนั้น”
• ป.วิ.พ. มาตรา 86 “เมื่อศาลเห็นว่า พยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ ก็ดี หรือเป็น
พยานหลักฐานที่รับฟังได้แต่ได้ยื่นฝ่ าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับ
พยานหลักฐานนั้นไว้
เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่ มเฟื อยเกินสมควร หรือประวิงให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่
ประเด็น ให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป
เมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่น
อันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะ
เรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ ายใดร้องขอ”
๑.๑ ศาลมีอำนาจปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐาน
• การปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐาน หมายถึง ปฏิเสธไม่รับเข้ามาเป็นพยานหลักฐานในสำนวนคดีตั้งแต่
แรก เช่น หากเป็นพยานบุคคลศาลย่อมปฏิเสธไม่ให้นำเข้าสืบ ถ้าเป็นพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ
ศาลอาจปฎิเสธไม่รับเข้ารวมไว้ในสำนวน หรือ รับพยานหลักฐานนั้นไว้ หรือยอมให้นำพยานบุคคล
เข้าสืบ แต่ปฏิเสธไม่รับฟังในภายหลัง โดยอาศัยบทบัญญัติว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน หรือ บท
ตัดพยานที่มีการกำหนดไว้ชัดแจ้ง
๑.๒ ศาลมีอำนาจงดสืบพยานหลักฐาน
• มาตรา 86 วรรคสอง “เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่ มเฟื อยเกินสมควร หรือประวิงให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยว
แก่ประเด็น ให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป”
• ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ 3 กรณี ตามมาตรา 86 วรรคสอง คือ
• ก. พยานหลักฐานฟุ่ มเฟื อยเกินสมควร
• ข. พยานหลักฐานที่มีลักษณะประวิงคดี
• ค. พยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นคดี
(ก) พยานหลักฐานที่ฟุ่ มเฟื อยเกินสมควร
• แม้เป็นพยานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นคดี แต่หากเป็นรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ย่อมถือเป็นพยานหลักฐานที่ฟุ่ มเฟื อย
เกินสมควรได้
• ตัวอย่างเช่น โจทก์ฟ้ องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ ไม่เคยรับเงิน โจทก์
มีหน้าที่นำสืบในประเด็นที่ว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมจริงหรือไม่ โดยนำพยานหลักฐาน เช่น สัญญากู้ยืม พยาน
บุคคลที่เห็น หรือลงลายมือชื่อในสัญญา มาสืบให้ศาลเห็นว่ามีการกู้ยืมกันจริง แต่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบให้ศาล
เห็นว่า เงินที่เอาให้จำเลยกู้มีที่มาที่ไปจากไหน โจทก์ต้องไปยืมของใครมาให้ หรือต้องเก็บเงินนานแค่ไหนกว่า
จะได้และให้จำเลยยืมไป บางส่วนเป็นธนบัตรรุ่นเก่าที่หาไม่ได้แล้ว กรณีเช่นนี้แม้ยังเกี่ยวข้องในประเด็นของ
สัญญากู้ยืม แต่เป็นรายละเอียดขอเงิน หรือที่มาของเงินไม่จำเป็นต้องสืบ ถือเป็นพยานหลักฐานที่ฟุ่ มเฟื อยเกิน
ควร ศาลสั่งงดสืบพยานได้
(ข) พยานหลักฐานที่มีลักษณะประวิงคดี
• เป็ นพยานหลักฐานที่คู่ความอาจไม่มีเจตนาในการนำสืบจริง แต่ต้องการประวิงให้การพิจารณาคดี
ล่าช้าออกไป
• ฎ.278/2547 ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบ แต่ล่วงเลยเป็นระยะเวลา 1 ปี แต่จำเลยไม่
สามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ โดยอ้างเหตุว่า พยานติดธุระ ส่งหมายเรียกไม่ได้ และใช้
เหตุผลเดิมวนไปวนมาซ้ำ ๆ ศาลจึงมีคำสั่งงดสืบพยานของจำเลย ย่อมถือเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
• ฎ. 6434/2544 แม้พฤติการณ์ในการประวิงคดีจะสืบเนื่องมาจากการกระทำของทนาย แต่จำเลยต้อง
รับรู้และหาหนทางแก้ไขในฐานะที่เป็นผู้แต่งตั้งทนายความให้กระทำการแทนตน เมื่อจำเลยเพิก
เฉยปล่อยให้ทนายความของตนที่ยืนยันว่าอาจมาศาลได้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลชั้นต้นนัด
ล่วงหน้าไว้ทั้งสามครั้ง ยังคงรับผิดชอบคดีของตนต่อไปถือได้ว่าเป็นการประวิงคดีแล้ว
(ค) พยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นคดี
• โดยหลักการแห่งการนำสืบพยานหลักฐาน คู่ความต้องนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นคดีเข้ามา
นำสืบในคดีเท่านั้น กล่าวคือ ไม่มีการพิจารณาคดีใดในโลกที่จะยอมให้คู่ความนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลได้
โดยไม่จำกัด ศาลย่อมต้องการที่จะรับฟังพยานหลักฐานเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องในคดีเท่านั้นคู่ความจะถือโอกาส
ระบายเรื่องราวต่าง ๆให้ศาลรับรู้ไม่ได้
• คำว่า “ไม่เกี่ยวกับประเด็น” อาจเป็นไปได้ทั้งกรณีไม่เกี่ยวแก่ประเด็นคดี แต่ไม่รวมถึงการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อ
หักล้างพยานอีกฝ่ ายหนึ่ง
• คำว่า “ไม่เกี่ยวกับประเด็น” ไม่จำเป็นต้องเป็นประเด็นข้อพิพาท อาจเป็นเพียงประเด็นคดีตามข้ออ้างของโจทก์ฝ่ าย
เดียวก็ได้ (ในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลพิจารณาคดีไปฝ่ ายเดียว)
๑.๓ ศาลมีอำนาจเรียกให้มีการสืบเพิ่มเติม
• ในส่วนนี้ถือเป็นข้อยกเว้นในหลักการยื่นบัญชีพยาน กล่าวคือ แม้ไม่ใช่พยานหลักฐานที่ได้ระบุใน
บัญชีพยานโดยชอบ ตามมาตรา 88 แต่เมื่อศาลพิจารณาถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจะรับฟัง
พยานหลักฐานที่ยื่นโดยฝ่ าฝฝืน รวมทั้งพยานหลักฐานที่ศาลเห็นว่าสำคัญและเกี่ยวกับประเด็นคดีได้
• ข้อสังเกต
• 1. การสืบพยานเพิ่มเติมอาจะเป็นพยานเอกสาร หรือพยานวัตถุก็ได้
• 2. อำนาจในการสืบพยานเพิ่มเติม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 ใช้ได้ทุกชั้นศาล
• ฎ.6150/2553 จำเลยที่ 3 ขาดนัดพิจารณา และยื่นกรมธรรม์ประกันภัยก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่
ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐาน
ดังกล่าวโดยถือว่าเป็นพยานของศาลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ ตาม มาตรา 86
ฎ.1565/2550 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์
แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งบทมาตราดังกล่าวนี้ศาลสามารถ
สั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ ายใดร้องขอ แม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติม ศาลก็สามารถรับฟัง
พยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ส่วนพยานหลักฐาน
นั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน หาใช่เรื่องนอก
ประเด็นนอกคำฟ้ องไม่ แม้จำเลยและผู้ร้องสอดจะไม่ได้ลงชื่อรับรองแผนที่พิพาท แต่จำเลย
และผู้ร้องสอดก็มิได้โต้แย้งว่าแผนที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงกับระวางโฉนดที่ดินแต่
อย่างไร ศาลจึงรับฟังแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำขึ้นดังกล่าวประกอบพยานหลักฐาน
อื่นได้
ตามมาตรา 86 ให้อำนาจศาลปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานได้ แต่การปฏิเสธไม่รับ
ฟังพยานหลักฐานมิใช่เรื่องที่ศาลสามารถใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ แต่ต้องปฏิบัติตามหลัก
เกณฑ์ของกฎหมาย
ในการปฏิเสธไม่รับฟังพยานหลักฐานของศาลนี้ อาจปฏิเสธได้ตั้งแต่ต้น ในกรณีที่
พยานหลักฐานนั้นไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมาย (กล่าวคือ ปฏิเสธขณะที่มีการกล่าวอ้าง หรือ
ก่อนศาลสืบพยาน) หรือ ศาลจะรับฟังพยานชิ้นนั้นก่อน และปฏิเสธในภายหลัง
โดยพยานหลักฐานที่ให้ศาลปฏิเสธไม่รับ มี 2 กรณี คือ
1. พยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ (ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟัง)
2. พยานหลักฐานที่รับฟังได้ (แต่เข้ากรณีมาตรา 86 ศาลใช้ดุลยพินิจไม่รับฟังได้)
พยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้
พยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ หมายถึง กรณีมีกฎหมายบัญญัติมิให้รับฟังพยานหลักฐานชิ้นนั้น ซึ่งมี
ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ประมวลรัษฎากร ป.วิ.พ. ป.วิ.อ. และกฎหมายอื่น ๆ ที่มีบทตัดพยาน เช่น พยานที่
มิได้สาบานตนก่อนเบิกความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 ตราสารที่ไม่ปิ ดอากรแสตมป์ ตาม ป.รัษฎากร
มาตรา 118 (ศาลต้องปฏิเสธไม่รับฟัง)
ฎ.907/2542 ในคำให้การของจำเลยบรรยายเพียงว่า ที่ดินพิพาทยังเป็น ของจำเลยซึ่งถูกโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก.ทำ
กลฉ้อฉลเท่านั้นมิได้บรรยายว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก.กระทำการอย่างใดอันเป็นเหตุแห่งกลฉ้อฉลไว้โดยชัดแจ้ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้นำสืบข้ออ้างดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะให้จำเลยนำสืบถึงราย
ละเอียดเหล่านี้ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก. ทำกลฉ้อฉลจำเลย
พยานหลักฐานที่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
• มาตรา 87 ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่
(1) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ ายหนึ่งฝ่ ายใดในคดีจะต้องนำสืบ และ
(2) คู่ความฝ่ ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดังที่
บัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบ
พยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่ าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้
ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้
• ตามบทบัญญัติในมาตรา 87 ประกอบไปด้วย 2 กรณี
• 1. พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ ายหนึ่งฝ่ ายใดในคดีจะต้องนำสืบ ซึ่งควรพิจารณาร่วมกับ มาตรา 104
วรรคหนึ่ง
• ไม่มีการพิจารณาคดีใดในโลกที่จะยอมให้คู่ความนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลได้โดยไม่จำกัด ศาลย่อมต้องการ
ที่จะรับฟังพยานหลักฐานเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องในคดีเท่านั้นคู่ความจะถือโอกาสระบายเรื่องราวต่างๆให้ศาลรับรู้ไม่ได้
• 2. คู่ความฝ่ ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 88 และ
มาตรา 90 หมายความว่า แม้จะเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานให้ถูกต้องตามมาตรา 88 และยื่น
สำเนาเอกสารที่อ้างอิงเป็นพยานต่อศาล ตามมาตรา 90
• ดังนี้ พยานหลักฐานที่รับฟังได้ คือ
• 1. พยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งในคดีจะต้องนำสืบ และ
• 2. เป็นพยานหลักฐานที่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการยื่นบัญชีพยาน ตามมาตรา 88 และ มาตรา 90
๒.พยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งในคดี
จะต้องนำสืบ
• หมายถึง พยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทนั้นเอง ดังนั้นข้อสำคัญในส่วนนี้ จึงต้องย้อนกลับ
ไปพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดี โดยพิจารณาจากคำฟ้ อง คำให้การ และพยานหลักฐานที่สามารถนำสืบและเข้าสู่
คดีได้ต้องเป็นพยานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทเท่านั้น
• ตัวอย่างเช่น โจทก์ฟ้ องจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ จำเลยให้การว่า สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม
• ประเด็นข้อพิพาทในคดี มีเพียงว่าสัญญากู้ปลอมหรือไม่
• หน้าที่ในการนำสืบประเด็นว่าสัญญากู้ปลอมหรือไม่เป็นหน้าที่ของโจทก์ โดยโจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานที่
เกี่ยวข้องกับความถูกต้องแท้จริงของสัญญามาสืบได้ ทั้งพยานเอกสาร และพยานบุคคล
• ในส่วนของจำเลย มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานของตนมาสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ แต่ไม่สามารถ
นำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อแสดงว่าจำเลยมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เพราะถือว่าไม่ใช่พยานหลักฐานที่เกี่ยวถึง
ข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาท
• ในส่วนคดีที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาท (คดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ) พยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ าย
ใดฝ่ ายหนึ่งในคดีจะต้องนำสืบ คือ พยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีที่โจทก์กล่าวอ้างมาตาม
คำฟ้ อง
• ตัวอย่างเช่น โจทก์ฟ้ องขอถอนคืนการให้โดยอ้างเหตุว่าผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
• ประเด็นคดีที่ศาลต้องพิจารณามีเพียงประเด็นที่ว่า ผู้รับปฏิเสธไม่ให้สิ่งของที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้อย่างไร
โจทก์ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบในประเด็นนี้
• การที่โจทก์นำสืบพร้อมนำพยานหลักฐานเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าจำเลยมีการประทุษร้าย หรือหมิ่นประมาท
โจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงในประเด็น
คดีที่โจทก์กล่าวอ้างมาตามฟ้ องนั่นเอง
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา
• ฎ. 5044/2549 โจทก์ฟ้ องว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ เมื่อครบ
กำหนดจำเลยไม่ชำระหนี้คืน โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย แต่โจทก์กลับนำสืบว่า จำเลยทำธุรกิจ
รับเหมาก่อสร้างและชักชวนให้โจทก์ร่วมลงทุน โจทก์จึงนำเงินไปร่วมลงทุนกับจำเลย หลังจากนั้น
จำเลยไม่คืนเงินลงทุนและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ โดยโจทก์ทวงถามและต่อมาโจทก์ได้นำหนังสือ
รับสภาพหนี้และนำไปให้จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ไป แต่เมื่อ
ครบกำหนดตาหนังสือรับสภาพหนี้แล้วจำเลยเพิกเฉยไม่ชำระเงินคืน การนำสืบในประเด็นดังกล่าว
เป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์นำสืบไม่สมสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งตามคำฟ้ อง
ของโจทก์ และเป็นการนำสืบนอกฟ้ องนอกประเด็นซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา
87(1) ศาลไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้
• ฎ. 670/2549 จำเลยให้การเพียงว่า ส. นำที่ดิน 2 แปลงไปจดทะเบียนขายฝากจำนวน
715,000 บาท เพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระแก่โจทก์ แต่มิได้ให้การถึงการขายฝากที่ดิน
แปลงอื่นอีก การที่จำเลยนำสืบว่า ส. นำที่ดินแปลงอื่นจำนวน 3 แปลง ไปขายฝากแก่
บุคคลภายนอกแล้วนำเงินที่ได้จากการขายฝากจำนวน 200,000 บาท ไปชำระหนี้ให้แก่
โจทก์ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ เป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 87
• ฎ.334/2534 จำเลยให้การว่าไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ โจทก์สมคบบุคคลอื่นทำสัญญา
กู้เงินขึ้นและลงลายมือชื่อจำเลย แต่จำเลยกลับนำสืบว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นของจำเลย
ที่ลงไว้ในกระดาษเปล่าตอนกู้เงินจากบุคคลอื่น เป็นการนำสืบนอกคำให้การรับฟังไม่ได้
(หรือ ต่อสู้ว่าไม่เคยกู้ยืมเท่านั้น มิได้ต่อสู้ว่าชำระหนี้แล้ว จำเลยจะนำสืบว่าได้ชำระหนี้ให้
แก่โจทก์แล้วไม่ได้ ฎ.5385/2548)
ฎ.8917/2550 โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้ องว่าจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท โดยจำเลยให้การ
ยอมรับว่ากู้เงินโจทก์ที่ 2 จำนวน 104,600 บาท จึงเป็นการรับข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง การที่
จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสองเพียง 50,000 บาท จึงนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย
แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาล
ล่างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎ.583/2506(ญ) จำเลยเท่านั้นมีหน้าที่รับหรือปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ฉะนั้นในการที่จำเลย
ต่อสู้คดีมีข้ออ้างบางประการขึ้นนั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแถลงรับหรือปฏิเสธ และเมื่อจำเลยมีสิทธินำสืบตามข้อ
อ้างของจำเลย โจทก์ก็ย่อมนำสืบหักล้างได้ เพราะถ้าพยานหลักฐานใดเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่ฝ่ ายใดจะต้องนำสืบ
พยานหลักฐานนั้น ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 87(1) มิใช่ว่าจะมีสิทธินำสืบแต่เฉพาะข้อที่ตนอ้างและมีหน้าที่ตาม
มาตรา 84,85 เท่านั้น ข้อความที่ฝ่ ายหนึ่งอ้างขึ้นฝ่ ายเดียว อีกฝ่ ายหนึ่งแม้จะไม่ได้อ้างข้อความนั้นก็สืบหักล้างได้
การนำสืบไม่ว่าจะเป็นการสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนหรือหักล้างข้ออ้างของอีกฝ่ ายหนึ่ง ก็คงเป็นพยานใน
ประเด็นเดียวกันซึ่งต่างนำสืบโต้เถียงกันนั่นเอง
• สำหรับฝ่ ายจำเลยก็มีสิทธินำสืบหักล้างพยานหลักฐานของฝ่ ายโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องตั้ง
ประเด็นไว้
ฎ.411/2520 ข้อที่โจทก์อ้างและจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีหนี้ โจทก์ต้องสืบตามข้ออ้าง จำเลยนำสืบหักล้างได้ แม้ไม่อ้างข้อ
ต่อสู้ เมื่อได้ถามค้านตาม ป.วิ.พ. ม.89 แล้ว ก็เท่ากับเป็นการโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
(การนำสืบในกรณีเช่นทำได้เพียงทำลายน้ำหนักพยานโจทก์ หรือจับเท็จพยานโจทก์เท่านั้น จะนำสืบเพื่อตั้งประเด็นขึ้น
ใหม่นอกเหนือคำให้การไม่ได้)
• แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบฯ ที่ศาลอาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองก็ตามก็ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่
ปรากฏจากพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นตามมาตรา 87(1) (ฎ.6822/2541)
๓. การยื่นบัญชีระบุพยาน
• มาตรา ๘๘ เมื่อคู่ความฝ่ ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความของพยานคนใด หรือมีความจำนงที่จะให้ศาล
ตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งหรือความเห็นของผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นพยานหลัก
ฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยแสดง
เอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง และรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคล ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ วัตถุ หรือสถานที่ซึ่งคู่ความฝ่ ายนั้นระบุอ้าง
เป็นพยานหลักฐาน หรือขอให้ศาลไปตรวจ หรือขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวในจำนวน
ที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ ายอื่นมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล
• ถ้าคู่ความฝ่ ายใดมีความจำนงจะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมให้ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุ
พยานเพิ่มเติมและสำเนาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยาน
• เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ได้สิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ ายใด
ซึ่งได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว มีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่าตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อ
ประโยชน์ของตน หรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด หรือถ้าคู่ความฝ่ ายใดซึ่งมิได้ยื่นบัญชี
ระบุพยานแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ คู่ความฝ่ าย
นั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวไม่ว่า
เวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่า เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบ
พยานหลักฐานเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง
การยื่นบัญชีระบุพยาน
• พยานที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
• พยานเอกสาร
• พยานบุคคล
• พยานวัตถุ
• พยานผู้เชี่ยวชาญ
• เดินเผชิญสืบ (สถานที่)
หลักเกณฑ์การยื่นบัญชีระบุพยาน ตามมาตรา 88
• 1 การยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก
• ต้องยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7วันพร้อมสำเนา
• วันสืบพยาน ป.วิ.พ.มาตรา 1 (10)
• ไม่น้อยกว่า 7 วัน “วันยื่นไม่นับวันสืบไม่คิด”
• การอ้างพยานบุคคลต้องระบุชื่อและที่อยู่ด้วย
ฎ.856/2532 จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน จำเลยจะอ้างตนเองเป็นพยานเข้าสืบไม่ได้ จำเลยจะอ้างว่า
จำเลยเป็นคู่ความไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุอ้างตนเองเป็นพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ไม่ได้
• วันสืบพยาน (ป.วิ.พ. มาตรา 1(10)) หมายถึง วันที่ศาลเริ่มทำการสืบพยาน
• 1. การพิจารณากำหนดเวลาในการยื่นบัญชีระบุพยานให้พิจารณา “วันสืบพยาน” เป็นหลัก มิใช่วันชี้สองสถาน
• 2. ต้องเป็นวันสืบพยานที่เริ่มต้นสืบพยานจริงในนัดแรกด้วย (โดยไม่คำนึงว่าเป็นวันสืบพยานของคู่ความฝ่ าย
ใด)
• ทางปฏิบัติ >> ศาลอาจจะกำหนดวันชี้สองสถานและวันสืบพยานไปในวันเดียวกันเลย (เผื่อกรณีจำเลยขาดนัด
ยื่นคำให้การ หรือกรณีคดีมโนสาเร่) เช่นนี้โจทก์ต้องยื่นบัญชีพยานก่อนวันชี้สองสถานด้วย
• โดยปกติโจทก์มักจะยื่นบัญชีระบุพยานมาพร้อมคำฟ้ องตั้งแรกเพื่อให้ศาลส่งสำเนาคำฟ้ องพร้อมบัญชีพยานให้แก่จำเลย
ย่อมไม่มีปัญหา
• ในส่วนจำเลย เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้ องจะมีการแจ้งกำหนดวันนัดชี้สองสถานให้จำเลยทราบ หรือกรณีที่ศาลกำหนดให้มี
การชี้สองสถานพร้อมสืบพยานไปในวันเดียวกันเลย จำเลยจำต้องยื่นบัญชีพยานครั้งแรกให้ทันโดยก่อนวันสืบพยานไม่
น้อยกว่า 7 วันเช่นเดียวกับโจทก์ด้วย
• 3. ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน
• ต้องมีกำหนดเวลา 7 วันเต็มก่อนวันสืบพยานจริงในนัดแรกโดยไม่คำนึงว่าเป็นการนำสืบพยาน
ของคู่ความฝ่ ายใด
• ตัวอย่างเช่น ศาลกำหนดวันสืบพยานในวันที่ 10 มีนาคม ทั้งโจทก์และจำเลยต้องยื่นบัญชีระบุ
พยานอย่างช้าที่สุด คือ วันที่ 2 มีนาคม และหากวันที่ 2 มีนาคม เป็นวันหยุดต้องยื่นก่อนวันที่ 2
มีนาคมด้วย
• 4. การอ้างพยานเอกสารในบัญชีระบุพยาน
• “โดยแสดงเอกสาร หรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง” กล่าวคือ ต้องมีการระบุว่าจะอ้างเอกสารอะไรมา
แสดง เช่น เอกสารสัญญากู้ โฉนดที่ดิน สัญญาจ้าง ฯลฯ
• ในชั้นยื่นบัญชีพยาน คู่ความจะระบุเอกสารว่าเป็นต้นฉบับเอกสาร หรือสำเนาเอกสารก็ได้ (แต่ตอนสืบต้องนำ
ต้นฉบับเอกสารมาสืบ เว้นแต่เข้าข้อยกเว้น)
• เช่น ในบัญชีพยานระบุอ้างต้นฉบับสัญญากู้ยืม แต่ในวันสืบพยานมีเหตุที่ต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของ
บุคคลอื่น สามารอ้างสำเนาได้
• แต่หากในบัญชีพยานระบุอ้างสำเนาเอกสาร แต่วันสืบจริงนำต้นฉบับมาแสดง เช่นนี้ถือว่าต้องห้ามไม่สามารถ
ทำได้ เนื่องจากถือว่ามีเจตนาหลีกเลี้ยงไม่ส่งสำเนาให้อีกฝ่ ายตรวจสอบ (ฎ.2581/2515)
• 5. ในกรณีอ้างพยานบุคคล หรือผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ
• ต้องมีการระบุรายชื่อ และที่อยู่ของพยานในบัญชีระบุพยานด้วย
• ในส่วนพยานบุคคลถ้าเป็นกรณีอาศัยตำแหน่ง จะระบุเพียงตำแหน่งอย่างเดียวก็ได้ เช่น ผู้กำกับการสถานีตำรวจ
ภูธรเมืองราชบุรี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี
• 6. กรณีอ้างพยานวัตถุ หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่ขอให้ศาลตั้ง
• พยานวัตถุต้องระบุว่าเป็นอะไร เช่น ภาพถ่ายที่ดินพิพาท เทปบันทึกเสียง ฯลฯ
• หากประสงค์จะขอให้ศาลตั้งพยานผู้เชี่ยวชาญให้ระบุคำขอไว้ในบัญชีพยานได้เลย โดยระบุว่าต้องการให้ตั้ง
พยานผู้เชี่ยวชาญในด้านใดเป็นการเฉพาะ
• 7. ต้องมีการจัดทำสำเนาบัญชีในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความมารับไปจากเจ้าพนักงาน
การเป็ นพยานเป็ นเรื่องเฉพาะตัว
ฎ.1972/2525 การเบิกความต่อศาลเป็นกิจเฉพาะตัวโดยสภาพ ไม่อาจตั้งให้ผู้อื่นทำแทนได้ ตาม
บัญชีพยานระบุว่าจำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน ไม่ได้ระบุ ส.เป็นพยาน ดังนี้แม้ปรากฏว่า ส.ได้รับ
มอบอำนาจจากจำเลยให้ยื่นคำให้การและเบิกความแทนจำเลย และศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำ ส.เข้า
เบิกความ ศาลก็จะรับฟังคำเบิกความของ ส.เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2) และ
มาตรา 88
ฎ.4046/2546 โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานว่า ผู้รับมอบอำนาจขออ้างตนเองเป็นพยาน เป็นการระบุ
สถานะของพยานโจทก์ที่จะนำมาเบิกความว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจ แต่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจจาก
โจทก์คือ ข. ส่วน ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ข. แม้ตามหนังสือมอบอำนาจ โจทก์จะให้อำนาจ
ข. มอบอำนาจให้ตัวแทนช่วงดำเนินการแทนได้ แต่สถานะของผู้รับมอบกับผู้รับมอบอำนาจช่วง
ต่างกัน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ระบุ ป. ผู้รับมอบอำนาจช่วงเป็นพยาน
แต่อาจอ้างตำแหน่งในการยื่นบัญชีระบุพยานก็ได้
ฎ.167/2528 จำเลยยื่นบัญชีพยานระบุตำแหน่งของพยานว่า “หัวหน้าแผนกทะเบียนและสถิติกอง
ตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ” แสดงว่าจำเลยประสงค์จะอ้างบุคคลที่ดำรงตำแหน่งขณะนั้นเป็นพยาน
ถือได้ว่าจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุพยานโดยระบุชื่อและที่อยู่ของพยาน ที่ประสงค์จะอ้างเป็นพยานของ
จำเลยแล้ว บัญชีระบุพยานของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อศาลออกหมายเรียกไปตามบัญชีระบุ
พยานแล้วมี พ.ต.ท. พ. ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวในขณะนั้นมาศาล จึงรับฟังคำเบิกความของพยานปาก
นี้ได้

**การอ้างพยานเอกสารนั้น ควรอ้างให้ชัดเจนว่าจะอ้างสำเนาหรือต้นฉบับ**
ฎ.2581/2515 คดีมีปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ในบัญชีระบุพยานจำเลยระบุอ้างสำเนา
พินัยกรรมที่จำเลยรับรองและยื่นไว้ให้ จพง.ที่ดินเป็นผู้เก็บรักษาเป็นพยาน โดยมิได้อ้างต้นฉบับ
พินัยกรรม จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะส่งต้นฉบับเป็นพยานต่อศาลได้ และจำเลยนำต้นฉบับมาส่งศาลหลัง
สืบพยานจำเลยเสร็จสิ้นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีโอกาสซักค้านต้นฉบับพินัยกรรมนี้ ซึ่งโจทก์ก็อ้างอยู่ว่า
ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และเมื่อจำเลยยื่นต้นฉบับโจทก์ก็คัดค้านทันทีว่าจำเลยมิได้ระบุพยานอ้าง
เอกสารฉบับนี้ไว้ ทั้งคัดค้านด้วยว่าไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ ศาลย่อมรับฟังต้นฉบับพินัยกรรมดังกล่าว
เป็นพยานไม่ได้ สำเนาที่จำเลยอ้างไว้ก็รับฟังไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. ม.93 และจะรับฟังพยาน
บุคคลว่ามีการทำพินัยกรรมก็ไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
และไม่ใช่กรณีที่หาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ ขัดต่อ ป.วิ.พ. ม.94 คดีจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตามทำพินัยกรรม
ฎ.8489/2551 คำเบิกความของพยานในคดีอื่นก็ถือว่าเป็นพยานเอกสาร หากคู่ความประสงค์จะอ้าง
เป็นพยานหลักฐานแห่งตนจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88
• 2. การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม (มาตรา 88 วรรคสอง)
• หมายถึง กรณีคู่ความเคยยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกภายในกำหนดเวลาแล้ว และประสงค์จะระบุเพิ่มเติมไม่ว่า
ด้วยเหตุใด
• คู่ความสามารถยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่มีการสืบพยาน โดยยื่นเป็นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติม พร้อม
บัญชีระบุพยาน และสำเนาโดยไม่ต้องขออนุญาตต่อศาล
• ข้อสังเกต
• กรณีเคยยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว แถลงไม่ติดใจสืบพยาน แต่ต่อมากลับขอสืบพยาน ถือเป็นกรณีที่เคยยื่นบัญชี
พยานแล้ว ไม่ต้องยื่นเพิ่มเติมใหม่ ฎ.2295/2543
• 3. การขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน (มาตรา 88 วรรคสาม) ได้แก่
• กรณีที่คู่ความฝ่ ายใดได้ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกไว้แล้ว และต้องการยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมแต่เกินกำหนด
เวลา หรือ
• กรณีคู่ความไม่เคยยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก หรือยื่นเกินกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
• คู่ความฝ่ ายที่ประสงค์จะขอยื่นบัญชีระบุพยานต้องยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้น
ต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี
• คู่ความต้องแสดงเหตุอันสมควรต่อศาลด้วย อันได้แก่
• ตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่ออประโยชน์ของตน
• ไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างมีอยู่
• เหตุอันสมควรอื่นใด
ฎ.470/2518 จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารไว้แล้ว เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วจึง
ทราบว่าเอกสารนั้นถูกทำลายไปแล้ว ดังนี้ จำเลยย่อมยื่นคำร้องขออ้างพยานบุคคลแทน
พยานเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม (ถือว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าต้อง
นำพยานบุคคลมาสืบ)
การยื่นบัญชีพยานครั้งแรก (มาตรา 88 วรรคแรก) ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน
- ยื่นบัญชีพยาน
- สำเนาบัญชีพยาน

การยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติม (มาตรา 88 วรรคสอง ) หลังวันสืบพยาน 15 วัน


- ยื่นคำแถลงเป็นคำขอ
- แนบบัญชีระบุพยาน
- แนบสำเนาบัญชีระบุพยาน

การขออนุญาตยื่น (มาตรา 88 วรรคสาม) ก่อนศาลมีคำพิพากษา


- ยื่นเป็นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีพยาน พร้อมเหตุ
- แนบบัญชีระบุพยาน
- แนบสำเนาบัญชีระบุพยาน
ผลของการไม่ยื่นบัญชีระบุพยาน
• หากคู่ความนำพยานเข้าสืบโดยฝ่ าฝื นมาตรา 88 ศาลก็ไม่ยอมให้นำพยานเข้าสืบ ตาม
มาตรา 86 วรรคแรก และแม้มีการนำสืบพยานมาก็ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตามมาตรา 87 (2)
ฎ.2043/2540 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ
การที่โจทก์ไม่ระบุอ้างประกาศกระทรวงการคลัง ดังกล่าวเป็นพยานในบัญชีระบุพยานจึงเป็นการไม่
ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ประกาศดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ต้องห้ามตาม มาตรา 86
วรรคแรก ทั้งพยานที่ว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราเท่าใดก็มิใช่พยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวแก่
ประเด็นข้อสำคัญของคดี เพราะมิใช่เป็นข้อที่จะทำให้โจทก์แพ้หรือชนะคดี ที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟัง
ประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวเป็นพยานจึงชอบแล้ว
ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
• (1) ข้อยกเว้นตาม มาตรา 87 (2) ประกอบด้วย
1. พยานหลักฐานชิ้นนั้นต้องเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญ
2. เป็นพยานเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี
3. ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานชิ้นนั้น
ฎ.8707/2543 เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าภาพถ่ายสัญญาเช่า ซึ่งโจทก์ส่งต้นฉบับต่อศาลในภายหลังโดยโจทก์
มิได้ส่งสำเนาให้จำเลย เป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะนำข้อเท็จจริงไปสู้การวินิจฉัยประเด็นสำคัญแห่งคดี
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจให้สืบและรับฟังพยานหลักฐานนี้ได้
แต่หากศาลเห็นว่าการที่คู่ความไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 88 และ 90 นี้ เป็นการเอาเปรียบกันในเชิงคดี ศาล
ไม่รับฟังเอกสารนั้นได้
ฎ.4882/2543 โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานและมิได้ส่งสำเนาของหนังสือรับสภาพหนี้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 88 และ 90 ซึ่งศาลมีอำนาจรับฟังได้ตาม มาตรา 87 แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า
โจทก์มิได้อ้างส่งเอกสารดังกล่าวในขณะสืบพยานโจทก์ กลับนำมาอ้างส่งในขณะถามค้าน
พยานจำเลยทั้งสองปากสุดท้ายหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ทั้ง ๆ ที่เอกสารดังกล่าวอยู่ที่
โจทก์ เป็นการเอาเปรียบกันในเชิงคดี ไม่ให้จำเลยมีโอกาสต่อสู้เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่สมควรรับฟังหนังสือรับสภาพหนี้เป็นพยาน
กรณีที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
• พยานหลักฐานที่ศาลเรียกมาสืบเอง (ม.86 วรรคท้าย)
ฎ.2301/2545 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทำแผนที่พิพาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. ม.86 วรรค
ท้าย ซึ่งสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ ายใดร้องขอ แม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็สามารถรับ
ฟังพยานหลักฐานนั้นได้ตาม มาตรา 87 (2)
• มีการแนบสำเนาเอกสารมาท้ายคำฟ้ อง คำให้การ หรือคำคู่ความแล้ว
ฎ.901/2493 โจทก์ได้กล่าวถึงสัญญาซื้อขายมาในคำฟ้ องและแนบตัวสัญญามาท้ายฟ้ องโดยมิได้อ้างไว้ใน
บัญชีระบุพยาน หนังสือสัญญานั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้ อง ไม่จำต้องระบุไว้ในบัญชีระบุพยานอีกศาลก็รับ
ฟังได้ (มี ฎ.9501/2542 วินิจฉัยตาม)
• เคยยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนคำร้องปลีกย่อยมาแล้ว
ฎ.583/2532 โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยมิได้ระบุว่าเป็นการ
ระบุพยานเฉพาะในชั้นไต่สวนอนาถาเท่านั้น แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ให้เป็นบัญชีระบุพยานของโจทก์ตลอดไป
ทั้งคดี จึงถือว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานในคดีหลักไว้แล้วด้วย (ในคดีอาญาก็ใช้ในเรื่องไต่สวนมูลฟ้ องด้วย)
• คำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศ (ฎ.3698/2545)
• การยื่นพยานเอกสารเพื่อถามค้านพยานอีกฝ่ ายหนึ่ง
ฎ.7812/2547 ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเอกสารที่โจทก์ใช้ในการถามค้านจำเลยที่อ้างตนเองเป็นพยาน เมื่อจำเลยเบิก
ความรับรองเอกสารนั้นแล้ว โจทก์จึงอ้างส่งเป็นพยานหลักฐานต่อศาล จึงมิใช่พยานหลักฐานที่ใช้สนับสนุนข้อ
อ้างหรือข้อเถียงของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุเอกสารดังกล่าวไว้ในบัญชีพยานของโจทก์ และมิได้ส่งสำเนา
เอกสารตาม มาตรา 88 และ 90 ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
การยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญา
• แยกเป็ น 2 กรณี
• 1. กรณีที่ไม่มีการกำหนดวันตรวจพยาน การยื่นบัญชีระบุพยานเป็ นไปตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 229/1
• 2. กรณีที่มีการกำหนดวันตรวจพยาน ป.วิ.อ. มาตรา 173/1
1. กรณีไม่มีการกำหนดวันตรวจพยาน ป.วิ.อ. มาตรา 229
• การยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ป.วิ.อ. มาตรา 229/1 วรรคแรก
• กรณีโจทก์ ยื่นบัญชีพร้อมสำเนา ก่อนวันสืบไต่สวนมูลฟ้ อง หรือสืบพยาน ไม่น้อยกว่า 15 วัน
• กรณีจำเลย ยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนาก่อนวันสืบพยานจำเลย
• การยื่นบัญชีระบุพยานกรณีคำร้องขอคืนของกลาง ป.วิ.อ. มาตรา 229/1 วรรคสอง
• คู่ความที่เกี่ยวข้องยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ก่อนวันไต่สวนไม่น้อยกว่า 7 วัน
• การขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน ป.วิ.อ. มาตรา 229/1 วรรคสาม
• ยื่นคำร้องก่อนการสืบพยานเสร็จสิ้น
2. กรณีศาลกำหนดวันนัดตรวจพยาน ป.วิ.อ. มาตรา 173/1
• การยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก
• คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ก่อนวันตรวจพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน
• การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม
• คู่ความยื่นบัญชีพร้อมสำเนาก่อนการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้น
• การขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน
• คู่ความจะสามารถทำได้ต่อเมื่อศาลอนุญาตเท่านั้น
• การยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก
ผลของการไม่ยื่นบัญชีระบุพยาน
• “ห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้นำสืบและรับฟังพยานหลักฐาน” ป.วิ.อ. มาตรา 229/1 วรรคท้าย
• เว้นแต่ศาลเห็นว่า
• 1. จำเป็นต้องคุ้มครองพยาน
• 2. จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นคดีโดยเที่ยงธรรม
• 3. เพื่อให้โอกาสจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
• ศาลจะอนุญาตให้นำสืบพยานดังกล่าวได้

You might also like