Download as pptx, pdf, or txt
Download as pptx, pdf, or txt
You are on page 1of 15

2.

รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะสมัยฟื้ นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)


• เกิดขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในเมืองฟลอเรนซ์ทางภาคเหนือของ
ประเทศอิตาลี
• เป็ นช่วงเวลาที่ยุโรปเริ่มหันมาสนใจฟื้ นฟูความรู้ ความคิด รวมทั้งศิลปะ
วิทยาการของกรีกและโรมัน ทำให้งานศิลปะสมัยนี้มีการนำเอาแบบอย่าง
ศิลปะกรีกและโรมันมาปรับปรุงใหม่
• มีการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี หลักการ และเทคนิคต่าง ๆ ทางศิลปะขึ้นมา
ใหม่ เช่น หลักองค์ประกอบศิลป์ (composition) หลักกายวิภาค
(anatomy) หลักการเขียนภาพทัศนมิติ (perspective drawing) เป็ นต้น

1
วิหารเซนต์ปี เตอร์ นครวาติกัน ประเทศอิตาลี
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

งานสถาปัตยกรรม

• นิยมสร้างด้วยหินอ่อน
• มีการนำเอาลักษณะหลังคาโค้ง ซุ้ม
โค้งหรือโดมรูปทรงครึ่งวงกลม และ
เสาแบบต่าง ๆ ของกรีกมาปรับปรุง
ขึ้นใหม่ ทำให้มีลักษณะเฉพาะขึ้น

2
วิหารฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

งานประติมากรรม

• นิยมสร้างจากหินอ่อน ผลงานมีลักษณะเหมือนจริง
ตามธรรมชาติอย่างศิลปกรรมของกรีกและโรมัน
• เน้นสัดส่วน รายละเอียดตามธรรมชาติ ให้ความ
สำคัญกับลีลาท่าทาง
• มีการสอดแทรกอารมณ์ส่วนตนของศิลปิ นลงไปใน
ผลงาน ทำให้ผลงานมีเอกลักษณ์เฉพาะตน

ผลงานของมีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี
3
(Michelangelo Buonarroti)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

งานจิตรกรรม
• แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาน้อยลง
• เน้นเรื่องราวชีวิตปัจจุบันมากขึ้น
• มีการนำเอาตำนานสมัยกรีก โรมัน และเรื่องราวทาง
ประวัติศาสตร์มาสร้างเป็ นภาพ
• จิตรกรสมัยนี้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ
หลักองค์ประกอบศิลป์ หลักกายวิภาค หลักการ
เขียนภาพทัศนียวิทยา และมีการศึกษาค้นคว้า
ทฤษฎี หลักการ และเทคนิคทางศิลปะขึ้นมาใหม่

ผลงานของเลโอนาร์โด ดา วินชี
4
(Leonardo da Vinci)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะลัทธิประทับใจ (impressionism)

• นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง
ของแสงและสีมาใช้เพื่อแสดง
บรรยากาศธรรมชาติตามเวลาและ
ฤดูกาลต่าง ๆ
• ใช้สีสันสดใสและฉูดฉาด มีลักษณะ
คล้ายกับรอยพู่กันป้ ายไว้อย่างหยาบ ๆ

5
ผลงานของปี แยร์ โอกูสต์ เรอนัวร์ (Pierre Auguste Renoir)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง (post-impressionism)

• สืบเนื่องมาจากศิลปะลัทธิประทับใจ
แต่พัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานให้ดู
ง่ายยิ่งขึ้น
• ทิ้งส่วนละเอียดต่าง ๆ เน้นรูปทรงให้
เด่นชัดขึ้นพร้อมกับใส่อารมณ์ความ
รู้สึกเฉพาะตนของจิตรกรลงไปด้วย

ผลงานของ
ฟิ นเซนต์ ฟาน ก็อก 6
(Vincent van Gogh)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะลัทธิโฟวิสต์ (fauvism)

• เริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศส
• ผลงานจิตรกรรมมีจุดเด่นในการใช้สีที่
สว่างสดใสแสดงความรู้สึกรุนแรง ให้
ความสำคัญของสีทั้งในแง่การเร้าอารมณ์
สร้างจินตนาการและเพื่อความสวยงาม
ไปพร้อมกัน

7
ผลงานของอองรี มาตีส (Henri Matisse)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะลัทธิบาศกนิยม (cubism)

• เป็ นกระบวนการปฏิวัติรูปแบบทางศิลปะ เกิดขึ้น


เมื่อ ค.ศ. 1907
• มีพัฒนาการเป็ น 3 ระยะ คือ
– ระยะแรกเป็ นงานบาศกนิยมแบบหน้าตัด
– ระยะที่สองเป็ นงานบาศกนิยมแบบวิเคราะห์
– ระยะที่สามเป็ นงานบาศกนิยมแบบสังเคราะห์

ผลงานของ
ปาโบล ปี กัสโซ
8
(Pablo Picasso)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะลัทธิเหนือจริง (surrealism)
• สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในเรื่อง
จิตใต้สำนึก แสดงออกในแนวฝันเฟื่ อง
มายาแปลกประหลาดมหัศจรรย์
• จุดประสงค์ของลัทธินี้คือให้ศิลปิ นมีอิสระ
ในการแสดงออกทางจินตนาการอย่างใหม่
และต้องการปลดปล่อยรูปแบบเก่า ๆ ใน
การสร้างสรรค์ไปสู่อิสรเสรี

9
ผลงานของซาลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะนามธรรม (abstract art)


• เป็ นการขยายแนวคิดแนวปฏิบัติในการสร้างงานศิลปกรรม
• ผลงานไม่แสดงให้เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่ปรากฏจริง
• งานจิตรกรรมจะแสดงคุณค่าของศิลปะด้วยสี แสง ค่าต่าง
แสงและเงา ร่องรอยของพู่กัน
• งานประติมากรรมจะแสดงออกทางความงามของรูปร่าง รูป
ทรง แสง เงา พื้นระนาบ ลักษณะพื้นผิวและองค์ประกอบของ
งานประติมากรรม

10
ผลงานของวาซิลี คันดินสกี (Wassily Kandinsky)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะประชานิยม (pop art)


• ศิลปิ นสร้างผลงานโดยขยายให้มีขนาด
ใหญ่เกินกว่าที่ควรจะเป็ น
• สามารถแดงออกได้ทุกรูปแบบโดยถือว่า
เสรีภาพเป็ นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์
• ศิลปิ นมีเจตนารมณ์สะท้อนภาพชีวิต
สังคมปัจจุบัน

11
ผลงานของแอนดี วอร์โฮล (Andy Warhol)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ศิลปะลวงตา (op art)


• ศิลปะนามธรรมประเภทหนึ่งที่มีรูปทรง
แบบเรขาคณิต
• ศิลปะลวงตาเป็ นศิลปะที่นำสายตาให้
เคลื่อนไหว ไปตามเส้น สี และแนวคิดที่
ศิลปิ นจงใจให้เกิดขึ้น
• เกิดจากการสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลง
พื้นที่ว่างกับพื้นทึบให้เกิดลักษณะลวงตา
ให้เห็นว่ามีการเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง

12
ผลงานของวิกเตอร์ วาสซาเรลี (Victor Vasarely)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

มโนทัศน์ศิลป์ (conceptual art)

• เป็ นศิลปะที่ใช้แนวคิดนำร่อง
ก่อนที่จะสร้างสรรค์เป็ นผลงาน
• แนวคิดหรือความคิดมีความ
สำคัญที่สุดในการสร้างผลงาน
ศิลปะ

13
ผลงานของมาร์เซล ดูแชมป์ (Marcel Duchamp)
2. รูปแบบทัศนศิลป์ ตะวันตก
2.2 ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historic art)

ภูมิศิลป์ (earth art)

• เป็ นศิลปะที่สร้างสรรค์เป็ นรูปทรง


โดยใช้วัสดุต่างๆ ที่มีอยู่แล้วตาม
ธรรมชาติ
• ศิลปิ นภูมิศิลป์ จะสร้างสรรค์ผล
งานไว้ในที่โล่งกว้าง แล้วเปลี่ยน
สภาพจนสลายไปกับธรรมชาติ

14
ผลงานของคริสโต จาวาเชฟฟ์ (Christo Javacheff)
สรุป ศิลปะสมัยก่อน ได้แก่
ได้แก่
ยุคหิน

ประวัติศาสตร์
ยุคโลหะ

ศิลปะเมโสโปเตเมีย
รูปแบบ แบ่งออก
แบ่งออก
ศิลปะอียิปต์
ทัศนศิลป์ เป็น
เป็น
ศิลปะกรีก
ตะวันตก
ศิลปะโรมัน
• ศิลปะโรมาเนสก์
ศิลปะสมัยกลาง • ศิลปะกอทิก
ศิลปะสมัย ได้แก่
ได้แก่
• ศิลปะบาโรกหรือบารอก
ประวัติศาสตร์ ศิลปะสมัยฟื้ นฟูศิลปวิทยา • ศิลปะโรโกโก

• ศิลปะลัทธิคลาสสิกใหม่ • ศิลปะลัทธิประทับใจ
ศิลปะสมัยใหม่ • ศิลปะลัทธิจินตนิยม • ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง
• ศิลปะลัทธิสัจนิยม
• ศิลปะลัทธิโฟวิสต์ • ศิลปะประชานิยม
ศิลปะสมัยใหม่ • ศิลปะลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ • ศิลปะลวงตา
ศตวรรษที่ 20– • ศิลปะลัทธิบาศกนิยม • มโนทัศน์ศิลป์
• ศิลปะลัทธิเหนือจริง • ภูมิศิลป์
ปัจจุบัน • ศิลปะนามธรรม • ศิลปะดิจิทัล
• ศิลปะลัทธิสำแดงพลังอารมณ์
แนวนามธรรม 15

You might also like