แผนผังความคิดเรื่อง ศรัทธาแห่งพุทธและสังคมแห่งธรรม

You might also like

Download as pptx, pdf, or txt
Download as pptx, pdf, or txt
You are on page 1of 11

แผนผังความคิด เรื่อง

ศรัทธาแห่งพุทธและสังคมแห่งธรรม
ศาสนาพุทธมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้าได้
อย่างไร
สังคมไทยปัจจุบันมีปัญหามากมายหาความสงบมิได้ทั้งที่เป็ นแดนแห่งพระพุทธศาสนาเมื่อมีพิจารณาถึงเหตุที่แท้จริงจะพบว่ามูลเหตุของปัญหามี
จุดกำเนิดมาจากความเสื่อมทำจิตใจของคนในสังคมเป็ นเพราะการขาดคุณธรรมประจำใจ ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุดก็คือ ทำให้คนในสังคมมีศีลและ
ธรรมประจำใจการปลูกฝังศีลธรรมให้เกิดขึ้น พระพุทธศาสนาเป็ นหลักนำทางในการพัฒนาไว้อย่างน่าสนใจว่าปัจจุบันนี้ได้ยอมรอบรับ และได้ประสบการณ์
ในการพัฒนาตลอดเวลายาวนานที่ผ่านมาจะสอนให้เป็ นหลักการว่ามุ่งพัฒนา วัตถุภายนอกอย่างเดียวนั้นแม้จะร่วมทุนลงไปอย่างมากมายก็ไม่ทำให้สังคม
บรรลุมั่งคั่งรุ่งเรืองได้
ความสำคัญของพุทธศาสนากับสังคมไทย
1. เป็ นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย
2. เป็ นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย
3. ศูนย์รวมจิตใจให้ชนชาวไทยตั้งอยู่ในความสามัคคี
4. เป็ นหลักการแห่งเสรีภาพในการนับถือศาสนา
ศาสนาพุทธมีความสำคัญต่อการสรรสร้างวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ
และมรดกของชาติอย่างไร
การที่พระพุทธศาสนาอยู่กับคนไทยมาช้านาน จึงก่อให้เกิดการซึมซับเอาหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนาให้เป็ นส่วนหนึ่งของชีวิตก่อ
ให้เกิดความเป็ นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ไม่เหมือนกับชาติอื่นๆ ที่เป็ นเอกลักษณ์เด่นได้แก่
1.รักความเป็ นอิสระ ชาวไทยเป็ นชาติที่รักความเป็ นอิสรเสรี ไม่ยอมและทนไม่ได้ที่จะอยู่ใต้อำนาจบังคับของใคร ความเป็ นชาติและเป็ น
ชนที่รักอิสระ เสรีภาพของคนไทยนี้ จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาเรียกว่า”วิมุตติ”แปลว่า ความหลุดพ้นความปลอดพ้นจากสิ่งผูกมัด
จะเห็นได้ว่าศรัทธาจะต้องมีปัญญาควบคุมและจะต้องนำไปสู่ปัญญา และเป็ นเครื่องสนับสนุนให้คนไทยมีลักษณะนิสัยดำรงรักษาคุณลักษณะ
นั้นใช้ได้อย่างหนักแน่นชัดเจนตลอดมา
2. ความมีน้ำใจไมตรี ความมีน้ำใจเป็ นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของคนไทย เป็ นไมตรีจิตอย่างสากล คือแสดงออกแก่คนทั่วไปเสมอเหมือน
กันหรือคล้ายคลึงกัน ไม่แบ่งชาติ แบ่งหมู่เหล่า ไม่จำกัดชาติ ศาสนา ปลงใจได้ไม่เศร้าโศกเสียใจมากเกินไปหรือนานเกินควร แม้จะเกิดเรื่อง
ราวถูกเบียดเบียนบีบคั้นข่มเหงก็ลืมง่าย ไม่ผูกใจโกรธเกลียดนาน จึงเป็ นคนไม่เครียด จึงช่วยให้คนไทยเป็ นคนปรับตัวเข้ากับคนใหม่ สิ่งใหม่
ได้ง่ายพร้อมที่จะรับวัฒนธรรมจากภายนอกและรู้จักสานประโยชน์ พระพุทธศาสนาเป็ นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยและเป็ นมรดกของชาติ
นอกจากความเชื่อถือและคุณธรรมต่างๆที่ปลูกฝังถ่ายทอดกันมาจนติดเป็ นนิสัยใจคอ ดังเช่นเอกลักษณ์ทั้งหลายซึ่ง
เป็ นมรดกทางจิตใจและเป็ นสมบัติประจำตัวด้านในแล้วพระพุทธศาสนายังเป็ นมรดก ประวัติศาสตร์ของชาติแล้ว ยังเป็ น
ของมีค่าอย่างสูงอีกด้วยความมีค่าที่ว่านี้มิใช่เฉพาะคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมเท่านั้นแต่รวมถึงคุณค่าทางเศรษฐกิจกิจด้วย
ทั้งนี้ โดยเหตุผล 2 ประการ คือ
ประการแรก ในส่วนอดีตว่าด้วยต้นกำเนิดของโบราณวัตถุสถานที่เกิดจากแรงศรัทธาหรือผลงานสร้างสรรค์ของพระ
มหากษัตริย์คนมีฐานะหรือชุมชนทั้งหมด จึงมักสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่ดีที่สุดและสร้างอย่างดีที่สุด
ประการที่สอง ในส่วนปัจจุบันโบราณวัตถุสถานมีส่วนสำคัญยิ่งในการดึงดูดความสนใจ ทำให้คนต่างถิ่นและต่าง
ชาติเดินทางเข้ามาทัศนาจร จึงเป็ นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจ นั่นคือมีเงินตราไหลเวียนภายใน
ประเทศได้เป็ นอย่างดีนอกจากนั้น ก็มีวรรณคดี ศิลปกรรม และดนตรีทั้งหลายเหล่านี้ ในส่วนที่เกิดในสถาบันพระพุทธ
ศาสนา หรือไม่ก็เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นอกจากจะเป็ นเครื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้ว จิตรกรรม
ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม เป็ นต้น ก็เป็ นมรดกและเป็ นคลังสมบัติอันมีค่ายิ่งอยู่ในตัวของมันเอง ดังเช่นที่เป็ น
ปูชนียวัตถุและปูชนียสถานที่ได้กล่าวมาแล้ว
ศาสนาพุทธมีความสำคัญต่อการจัดระเบียบสังคมได้อย่างไร
การจัดระเบียบสังคมโดยทั่วไปหมายถึงการทำให้สังคมมีความเป็ นระเบียบเรียบร้อยดีงามรวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง
สันติสุของค์ประกอบการจัดการระเบียบในทางสังคมวิทยาประกอบด้วยวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามปัญหาวิกฤตทางสังคมต่างๆนั้นเกิดขึ้น
เกี่ยวกับคน การดำเนินการ จัดสังคมให้เป็ นระเบียบดำเนินการอยู่ ดังนี้
ระดับที่ 1 การควบคุมพฤติกรรมของคนในทางโลกเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของคนก็คือระเบียบข้อบังคับกฎหมาย
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
การฝึ กให้มีความประพฤติและความเป็ นอยู่เป็ นระเบียบแบบแผน หรือการบังคับควบคุมตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผน รวมทั้งการใช้
ระเบียบแบบแผนต่างๆ เป็ นเครื่องจัดระเบียบความประพฤติ ความเป็ นอยู่ของตนและกิจการของสังคม
ระเบียบแบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆ ที่วางไว้เป็ นหลักหรือเป็ นมาตรฐานสำหรับใช้ฝึ กคนหรือใช้บังคับควบคุมตนตลอดจนเป็ น
เครื่องจัดระเบียบความประพฤติ ความเป็ นอยู่ของคนและกิจการของสังคมให้เรียบร้อยดีงาม ดังนั้น ความสำนึกในการรักษาศีลหรือ
ปฏิบัติตามศีล แยกออกเป็ น 2 ด้าน คือ การฝึ กหัดขัดเกลาตนเอง และการคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นหรือของสังคม
ศีลในระดับวินัย เรียกว่า คิหิวินัย พระธรรมปิ ฏกกล่าวถึงวินัยชาวพุทธ ที่จะต้องปฏิบัติเป็ นมาตรฐาน ดังนี้คือ
กฎที่ 1: เว้นจากความชั่ว 14 ประการ คือ
1) กุศลกรรมบท 10 ได้แก่ ทางกาย 3 ประการ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากความประพฤติ
ผิดในกาม ทางวาจา 4 ประการ คือ เว้นจากการกล่าวเท็จ เว้นจากการกล่าวส่อเสียด เว้นจากการกล่าวคำหยาบ และ
เว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ ทางใจ 3 ประการ คือ เว้จากความโลภ เว้นจากการพยาบาท และเว้น จากความหลงผิด
2) เว้นจากอคติ 4 คือ ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะเขลา
3) เว้นจากอบายมุข 6 คือ ไม่ดื่มของมึนเมาทุกชนิด ไม่เที่ยวกลางคืน ไม่เที่ยวดูการมหรสพต่าง ๆ ไม่เล่นการพนัน
ไม่คบคนชั่ว เป็ นมิตรและไม่เกียจคร้านทำการงาน
4) ปฏิบัติตามทิศ 6 เป็ นต้น

กฎที่ 2 เตรียมทุนชีวิต 2 ด้าน คือ


เลือกสรรคนที่จะเสวนา คบคนที่จะนำชีวิตไปในทางแห่งความ
เจริญและสร้างสรรค์ โดยหลักเว้นมิตรเทียม คบหามิตรแท้คือ
1) รู้ทันมิตรเทียม 4 ประเภท คือ
(1) คนปอกลอก มีลักษณะ 4 คือ คิดเอาแต่ได้ฝ่ ายเดียว,ยอมเสียน้อย โดยหวังเอามาก, ตัวมี
ภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน และคบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์
(2) คนดีแต่พูด มีลักษณะ 4 คือ ดีแต่ใช้ของหมดแล้วมาปราศรัย ,สงค์เคราะห์ด้วยสิ่งที่หา
ประโยชน์มิได้ และเมื่อเพื่อนมีกิจอ้างแต่เหตุขัดข้อง
(3) คนหัวประจบ มีลักษณะ 4 คือ จะทำชั่วก็เห็นด้วย , จะทำดีก็เห็นด้วย,ต่อหน้าสรรเสริญ
และลับหลังนินทา
(4) คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ 4 คือ คอยเป็ นเพื่อนดื่มน้ำเมา, คอยเป็ นเพื่อนเที่ยวกลางคืน ,
คอยเป็ นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น และคอยเป็ นเพื่อนไปเล่นการพนัน

2) รู้ถึงมิตรแท้ 4 ประเภท คือ


(1) มิตรมีอุปการะ มีลักษณะ 4 คือ เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน , เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สิน
ของเพื่อน , เมื่อมีภัยเป็ นที่พึ่งพำนักได้ และมีกิจจำเป็ น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
(2) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ 4 คือ บอกความลับแก่เพื่อน,รักษาความลับของเพื่อน, มีภัยอันตราย
ไม่ละทิ้ง และแม้ชีวิตก็สละให้ได้
(3) มิตรแนะนำประโยชน์ มีลักษณะ 4 คือ จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปราม,แนะนำสนับสนุนให้ตั้งอยู่ใน
ความดี ,ให้ได้ฟัง ได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง และบอกทางสุขทางสวรรค์ให้
(4) มิตรมีใจรัก มีลักษณะ 4 คือ เพื่อนมีทุกข์ พลอยไม่สบายใจ,เพื่อนมีสุข พลอยยินดีด้วย, เขาติเตียน
เพื่อนช่วยยับยั้งแก้ให้และเขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน
จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ ด้วยสัมมาชีพ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขยันหมั่นทำงานเก็บออมทรัพย์ ดังผึ้งเก็บรวบรวมน้ำหวาน
ขั้นที่ 2 เมื่อทรัพย์มากมาย พึงวางแผนใช้จ่ายคือ
- แบ่ง 1 ส่วน เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว ดูแลคนเกี่ยวข้อง ทำความดี
- แบ่ง 2 ส่วน ใช้ทำหน้าที่การงานประกอบกิจการอาชีพ
- แบ่ง 3 ส่วน เก็บไว้เป็ นหลักประกันชีวิตและกิจการคราวจำเป็ น
Lorem ipsum
ศาสนาพุทธมีความสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไร
1) การสร้างสัมพันธ์ไมตรีตามหลักสาราณียธรรมสาราณียธรรมหมายถึงธรรมที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงหมายถึงมีความปรารถนาดีต่อกัน
1.เมตตากายกรรมได้แก่การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในประเทศเพื่อนบ้านต่อหน้าและลับหลัง
2.เมตตาวจีกรรมได้แก่การเข้าไปตั้งสติการประกอบด้วยเมตตาในประเทศเพื่อนบ้านทั้งต่อหน้าและลับหลังด้วยวาจา
3.เมตตามโนธรรมได้แก่การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในประเทศเพื่อนบ้านทั้งต่อหน้าและลับหลังคือคิดแต่สิ่งที่เป็ น
ประโยชน์แก่กันและกัน
4.แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่มีประเทศได้แก่การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในด้านอาหารเครื่องอุปโภค
บริโภคเครื่องมือการเกษตรตลอดจนวิทยากรความรู้ต่างๆให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน
5.รักษาความประพฤติหรือศีลเสมอกันกับมิตรประเทศไม่ตามประเทศของตนให้เป็ นที่รังเกียจประเทศอื่นได้แก่การดำเนินนโยบายต่าง
ประเทศต้องเป็ นไปในทางทิศเดียวกันมติสากล
6.มีความคิดเห็นร่วมกันในประเทศอื่นๆไม่ทะเลาะวิวาทเพราะมีความเห็นผิด กัน ได้แก่การอยู่ร่วมกันประเทศอื่นๆนั้นต้องยอมรับในกฎ
กติการะหว่างประเทศที่กำหนดไว้ ไม่กระทำตอนเสมือนว่าเป็ นการฝ่ าฝื นมติของสังคมโลกซึ่งประชา คมโลกนั้นไม่มีประเทศใดที่จะ
สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้แต่ละประเทศต้องพึ่งพากันซึ่งกันและกันการทำฝ่ าฝื นเอารัดเอาเปรียบหรือข่มเหงกันกีดกันประเทศอื่นๆมีแต่
จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประเทศของตนและไม่มีประเทศใดจะคบ ค้าสมาคมด้วย
2) การสร้างสัมพันธไมตรีตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังคหวัตถุ 4 แปลว่าเครื่องยึดเหนี่ยวมีความหมายว่า
คุณธรรมเหล่านี้เป็ นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้
1 ทาน แปลว่า การให้หมายถึงการแบ่งให้เฉลี่ยปันให้เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีผูกพันสามัคคีกันไว้เช่นมิตรประเทศประสบ
ภัยพิบัติเราก็ควรส่งอาหารสิ่งของยารักษาโรคไปให้ตามกำลังความสามารถของเรา
2 ปิ ยวาจา แปลว่า เจรจาอ่อนหวานหมายถึงคำพูดที่สุภาพอ่อนโยนและเป็ นคำที่มีประโยชน์ที่ผู้ฟังได้ฟังแล้วชื่นใจสบายใจ
เห็นประโยชน์ในคำพูดนั้น
3 อัตถจริยา แปลว่า ประพฤติประโยชน์หมายความว่าการบำเพ็ญตนให้เป็ นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่นได้แก่การไม่สร้างความ
เดือดร้อนให้แก่ประเทศต่างๆและไม่นิ่งดูดายเมื่อประเทศอื่นขอความช่วยเหลือ
4 สมานัตตา แปลว่า ความเป็ นคนมีตนสม่ำเสมอหมายความว่าไม่ถือตัวคือไม่หยิ่งจองหองอ่ะในเมื่อได้ดีมีฐานะซึ่งได้แก่
การให้ความนับถือประเทศต่างๆมีฐานะศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันกับประเทศของตนไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามว่าประเทศนั้นยากจน
ประเทศนั้นมีพื้นที่และฐานะทางเศรษฐกิจเล็กกว่า
รายชื่อสมาชิก
ด.ญ.เมธาวดี พ้นทุกข์ ม.2/2 เลขที่ 33

ด.ญ.กวินทิพย์ ภูอ่าว ม.2/2 เลขที่ 45

You might also like