Download as ppt, pdf, or txt
Download as ppt, pdf, or txt
You are on page 1of 40

ประวัติศาสตร์

กฎหมายไทยสมัยอยุธยา
1

อ.หทัยกาญจน์ กำเหนิดเพชร
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2
3

กฎหมายไทยในสมัยอยุธยา ศึกษาได้จากกฎหมายตราสามดวง
กฎหมายตราสามดวงเป็นกฎหมายที่รวบรวมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2348/
ค.ศ.1805)
เพื่อรวบรวมและตรวจสอบความคลาดเคลื่อนของกฎหมายในสมัยอยุธยาที่ยังหลงเหลือ
อยู่
กฎหมายตราสามดวงเป็นกฎหมายที่ร่วมสมัยกับกฎหมายแพ่งของพระเจ้านโปเลียนของ
ฝรั่งเศส (ค.ศ.1804)
4

โดยมีมูลเหตุมาจากการร้องทุกข์กล่าวโทษพระเกษมและนายราชาอรรถ ของนายบุญศรี –
ว่าอำแดงป้ อมภรรยามาทำชู้กับนายราชาอรรถ แล้วมาฟ้ องหย่านายบุญศรี พระเกษม (ลูก
ขุน) พิจารณาไม่เป็นธรรม ส่งเรื่องให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงตัดสิน

“ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็ นหญิงหย่าชาย หย่าได้”


สภาพสังคมสมัยอยุธยา
5

อาณาจักรอยุธยาเป็นราชธานี ระหว่าง พ.ศ.1893-2310


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทองเป็นปฐมกษัตริย์
การปกครองมีลักษณะเป็นแว่นแคว้น มีหัวเมืองชั้นใน คือ ลพบุรี นครนายก พระประแดง
และสุพรรณบุรี
มีหัวเมืองชั้นนอก ประกอบด้วย เมืองลูกหลวง เมืองเอก เมืองโท เมืองตรี และมีเมือง
ประเทศราชด้วย
เริ่มมีการจัดระเบียบทางสังคมมากขึ้น
สถานภาพของคนในสังคม อาจจัดได้เป็น 4 ประเภท คือ เจ้า ขุนนาง (ชนชั้นปกครอง)
ไพร่ และทาส (ชนชั้นใต้ปกครอง)
6

กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2209) วาดโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของ


เนเธอร์แลนด์
https://www.youtube.com/watch?v=O-n5hAqYqZo
7

ไพร่ = ราษฎร
ระบบไพร่ - สักเลข - มีเพื่อการควบคุมผู้คนให้เป็นหมู่เหล่า และเพื่อความสะดวกในการ
ทำสงคราม
ไพร่หลวง - ชายฉกรรจ์อายุระหว่าง 20-60 ปี ต้องสังกัดมูลนาย เพื่อเกณฑ์แรงงาน
ไปทำงานกับหลวง (ทำงานเดือนเว้นเดือน)
ไพร่สม – ไพร่ที่อยู่ภายใต้การปกครองของขุนนางในกรมต่าง ๆ โดยไม่ต้องไปทำงานให้
หลวง แต่มีหน้าที่รับใช้เจ้านาย
ไพร่ส่วย - จะส่งสินแร่ไปให้ทางราชการแทนการเกณฑ์แรงงาน เนื่องจากมีที่อยู่อาศัยใน
ที่ที่มีทรัพยากรมาก
8

ระบบศักดินา
หมายถึง อำนาจในการถือที่นา
เป็นระบบจัดชนชั้นในสังคม โดยอาศัยนาเป็นหน่วยนับที่จำแนกความต่างของบุคคล
และถือเป็นเกณฑ์ในการปรับไหมผู้กระทำความผิด โดยอาศัยหลักที่ว่ามีศักดินามาก ย่อม
ได้รับโทษมาก
แต่ไม่ใช่ระบบฟิ วดัลของตะวันตก เนื่องจากระบบศักดินาไทยมิได้มีการถือครองที่ดิน
จริงๆ และทาสของไทยเป็นบุคคลตามกฎหมายด้วย
ศักดินาแต่ละประเภทถูกบัญญัติไว้ใน พระอัยการนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาท
หารหัวเมือง พ.ศ. 1997
9

ตัวอย่าง ศักดินา
พระมหาอุปราช นา 100,000 ไร่
เจ้าพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหม นา 10,000 ไร่
ภิกษุสามเณร นา 200 – 2,400 ไร่
ข้าราชการ นา 50 – 10,000 ไร่
ไพร่หัวงาน นา 25 ไร่
ไพร่มีครัว นา 20 ไร่
ยาจก วณิพก ทาส ลูกทาส นา 5 ไร่ เป็นต้น
10

ข้อสังเกตเกี่ยวกับศักดินา
ข้าราชการที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป ถือว่าเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ หากมีคดีความให้แต่งทนาย
แก้ต่างแทนตัวได้ และมีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดเจรจาหยาบช้าอันมิดีแก่ผู้มีบรรดาศักดิ์
400 ขึ้นไป มีโทษทวน 50 ที
คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาข้าราชการที่มีศักดินา 400 - 10,000 ที่ยังไม่รับ
พระราชทานบรรดาศักดิ์ หรือเป็นหญิงไม่มีสามี ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ ส่วนภรรยา
ข้าราชการที่มีศักดินาต่ำกว่า 400 ลงมา ให้ใช้คำนำหน้าชื่อว่า “อำแดง” (พระราชบัญญัติ
ให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆ)
พยานในพินัยกรรม – ผู้มีบรรดาศักดิ์ นา 10,000 ไร่ ให้มีพยาน 9-10 คน ผู้มีศักดินา
800 – 1,000 ให้มีพยาน 7-8 คน เป็นต้น (กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 49)
อิทธิพลจากวัฒนธรรมและกฎหมายของอินเดีย
11

อยุธยาได้รับอิทธิพลอย่างมากในด้านวัฒนธรรมและกฎหมายจากฮินดู หรือ อินเดีย


เนื่องจากอยุธยาตีนครธมของเขมร และกวาดต้อนพราหมณ์และขุนนางเขมรเข้ามา
แต่จากหนังสือบางเล่มกล่าวว่า ไทยรับวัฒนธรรมนี้เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 1 และตกเป็น
เมืองขึ้นของพม่า เมื่อ พ.ศ. 2112

ทำให้ความคิดด้านการปกครองและวัฒนธรรมของเขมร (วัฒนธรรมฮินดู) เข้ามามี


อิทธิพลในสังคมไทยในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งด้านกฎหมายด้วย
เห็นได้ชัดจากบทบาทของผู้ปกครองแผ่นดินตามความเชื่อในลัทธิเทวราช
กฎหมายในสมัยอยุธยา
12

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ (มานวธรรมศาสตร์)
เป็นแม่บทของกฎหมายในสมัยอยุธยา/ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม

มีที่มาจากอินเดียตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ผ่านมาทางมอญ
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ (ฮินดู)  คัมภีร์ธรรมสัตถัม (มอญ/พม่า)
ความเชื่อแบบพราหมณ์  ความเชื่อแบบพุทธ

มีลักษณะเป็น “ธรรมนูญแห่งความยุติธรรม” หรือ Ratio scripta


13
14

พระพรหม  มนู  นักปราชญ์


กฎหมาย คือ ธรรมะ
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
แต่เป็นสิ่งที่มียู่แล้วตามธรรมชาติ มนุษย์ต้องปฏิบัติตาม
แม้แต่ผู้ปกครองก็ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
สอดคล้องกับแนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ
1. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์
15

ส่วนที่ 1 – ที่มาของคัมภีร์พระธรรมศาสตร์

เป็นกำเนิดแห่งคัมภีร์ว่า มหาอำมาตย์ของพระเจ้ามหาสมมติราชมีชื่อว่า พรหมเทวะ มีบุตร


2 คน ชื่อ ภัทระและมโนสาร ซึ่งเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด พระเจ้ามหาสมมติราช
แต่งตั้งให้มโนสารเป็นผู้ดูแลคดีทั้งปวง

ต่อมามาชาย 2 คน ทำไร่แตงใกล้กันเอาดินพูนเป็นถนนคั่นกลาง ต่อมาแตงเลื้อยข้ามฝั่ง


ไปออกผลในที่ดินของอีกฝ่ ายหนึ่ง ชายสองคนต่างเก็บแตง และเกิดทะเลาะวิวาทกัน จึงพา
กันมาหามโนสารให้ตัดสิน
16

มโนสารตัดสินว่าแตงอยู่ที่ไร่ของผู้ใดก็เป็ นของผู้นั้น ชายผู้หนึ่งไม่พอใจจึงนำคดีไป


กราบทูลพระเจ้ามหาสมมติราช ทรงสั่งให้อำมาตย์ผู้หนึ่งไปตัดสิน อำมาตย์ผู้นั้นเลิกแตง
ขึ้นดูไปตามปลายยอดแล้วจึงเอายอดกลับมาไว้ที่ต้น

คนต่างสรรเสริญพระเจ้ามหาสมมติราช และติฉินนินทามโนสารว่าตัดสินไม่เป็นธรรม

มโนสารจึงหนีไปบวชเป็ นฤาษี และเหาะไปยังกำแพงจักรวาล แล้วพบบาลีคัมภีร์พระ


ธรรมศาสตร์ จึงนำเอากลับมาแต่งเป็ นคัมภีร์พระธรรมศาสตร์
17

ส่วนที่ 2 – ตัวบทพระธรรมศาสตร์

1. ลักษณะของผู้ที่จะเป็นตระลาการ – ต้องปราศจากอคติ 4 ได้แก่ ฉันทาคติ (รัก) โทสาคติ


(โกรธ) ภยาคติ (กลัว) โมหาคติ (เขลา)

2. มูลคดีแห่งผู้พิพากษาและตระลาการ 10 ประการ – เป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับอำนาจ


ศาลและวิธีพิจารณาความ เช่น หลักอินทภาษ ลักษณะพยาน ลักษณะรับฟ้ อง
18

3. มูลคดีวิวาท 29 ประการ – เป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของบุคคลที่มีกรณี


พิพาทต่อกัน เช่น วิวาทด้วยกู้หนี้ถือสินกัน วิวาทด้วยซื้อขาย วิวาทด้วยโจร วิวาทด้วยที่
บ้านที่นา เป็นต้น

 พระมหากษัตริย์ต้องนำมูลคดีทั้ง 39 ประการมาเป็นหลักในการบัญญัติสาขาคดี หรือ


กฎหมายลักษณะต่าง ๆ เช่น ลักษณะอาญาหลวง ลักษณะโจร ลักษณะมรดก
2. พระราชศาสตร์
19

กฎหมายประเภทต่าง ๆ ในสมัยอยุธยา
1. พระอัยการ หรือ พระราชกำหนดบทพระอัยการ คือ กฎหมายพื้นฐานของแผ่นดิน เทียบ
ได้กับพระราชบัญญัติในปัจจุบัน

2. พระราชบัญญัติ เป็นคำวินิจฉัยของกษัตริย์ในแต่ละคดี

3. พระราชกำหนด เป็นคำวินิจฉัยของกษัตริย์ในองค์ก่อน ๆ ที่กษัตริย์องค์หลังนำมาใช้


1. พระราชกำหนดเก่า - เป็นพระราชกำหนดที่จดจำมาแต่สมัยอยุธยา
2. พระราชกำหนดใหม่ - เป็นการนำมาสะสางรวมกันในสมัยรัตนโกสินทร์
3. หลักอินทภาษ
20

เป็นหลักธรรมสำหรับผู้พิพากษา ตระลาการ ที่ต้องยึดถือปฏิบัติ


คำว่า อินทภาษ แปลว่า คำกล่าวของพระอินทร์ ที่มีต่อบุรุษผู้หนึ่งซึ่งเป็นตุลาการ ได้กล่าว
ไว้ว่า
การจะเป็ นตุลาการที่ดีได้นั้น ต้องไม่มีอคติ 4 ประการ คือ
1. ฉันทาคติ การลำเอียงเพราะรัก เห็นแก่อามิสสินจ้าง ลุ่มหลงในทรัพย์สินเงินทอง ละโมบ
โลภมาก เข้าด้วยฝ่ ายโจทก์หรือจำเลย ต้องทำใจให้เป็นกลาง

2. โทสาคติ การลำเอียงเพราะโกรธ พยาบาท มีความอาฆาตเคียดแค้นในใจ เพราะเป็น


ปฏิปักษ์ต่อกัน
21

3. โมหาคติ การลำเอียงเพราะความหลง ในลาภยศสรรเสริญ ให้ยึดมั่นในความสุจริตเที่ยง


ธรรม ตัดสินคดีด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ มีความรอบรู้ในกฎหมาย รู้เท่าทัน ไม่ตัดสินด้วย
ความหลง

4. ภยาคติ การลำเอียงเพราะความกลัว ไม่ว่ากลัวตาย กลัวเสื่อมลาภ กลัวเสื่อมยศ ผู้


พิพากษาต้องทำจิตใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพลใด

 หากผู้พิพากษาตัดสินคดีโดยปราศจากอคติทั้ง 4 ประการแล้ว ก็จะนำมาซึ่งเกียรติยศ


ชื่อเสียง ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ส่วนการตัดสินคดีด้วยอคติ 4
ถือว่าเป็นบาป
22

ปัจจุบัน หลักอินทภาษถูกกำหนดไว้ใน
ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ข้อ 3 และ 12

ข้อ 3
ในการนั่งพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจักต้องวางตนเป็นกลางและปราศจากอคติ ทั้ง
พึงสำรวมตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ แต่งกายเรียบร้อย ใช้วาจาสุภาพ ฟังความจาก
คู่ความและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ ายอย่างตั้งใจ ให้ความเสมอภาค และมีเมตตาธรรม
23

ข้อ 12
เมื่อจะพิจารณาหรือมีคำสั่งในคดีเรื่องใด ผู้พิพากษาจักต้องละวางอคติทั้งปวง
เกี่ยวกับคู่ความหรือคดีความเรื่องนั้น ทั้งจักต้องวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า และไม่เห็นแก่หน้าผู้
ใด คำพิพากษาและคำสั่งจักต้องมีคำวินิจฉัยที่ตรงตามประเด็นแห่งคดี ให้เหตุผลแจ้ง
ชัดเจน และสามารถปฏิบัติตามนั้นได้ การเรียงคำพิพากษาและคำสั่งพึงใช้ภาษาเขียนที่ดี
ใช้ถ้อยคำ ในกฎหมาย ใช้โวหารที่รัดกุม เข้าใจง่าย และถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน ข้อความอื่นใด อันไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีโดยตรง หรือ
ไม่ทำให้การวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวชัดแจ้งขึ้นไม่พึงปรากฏอยู่ในคำพิพากษา หรือคำสั่ง
24

ประมวลจริยธรรมตุลาการศาลปกครอง
ข้อ 3
ในการไต่สวนและการนั่งพิจารณาคดี ตุลาการศาลปกครองจักต้องวางตนเป็ นก
ลางและปราศจากอคติ สำรวมตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ แต่งกายให้เรียบร้อย ใช้
วาจาสุภาพ ทั้งพึงไต่สวน ซักถาม และฟังความจากคู่กรณีรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ าย
อย่างตั้งใจ ให้ความเสมอภาค และมีเมตาธรรม

ข้อ 7
เมื่อจะพิจารณาหรือมีคำสั่งในคดีเรื่องใด ตุลาการศาลปกครองจะต้องละวาง
อคติทั้งปวงเกี่ยวกับคู่กรณีหรือคดีเรื่องนั้น ทั้งจักต้องวินิจฉัยโดยไม่ชักช้าและไม่เห็นแก่ผู้
ใด
กฎหมายลักษณะต่าง ๆ
25

กฎหมายในสมัยอยุธยา สามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
1. กฎหมายสารบัญญัติ
2. กฎหมายวิธีพิจารณาความ
3. กฎหมายปกครอง
กฎหมายสารบัญญัติ
26

ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นส่วนแพ่ง ส่วนอาญา เพราะเป็นการบัญญัติรวมกันไป


ส่วนใหญ่เรียกว่า “มูลละเมิด”
กฎหมายสารบัญญัติส่วนอาญา ได้แก่
ลักษณะอาญาหลวง – ความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ราชการ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ฯลฯ

ลักษณะอาญาราษฎร์ – ความผิดที่ราษฎรทำต่อกัน เช่น ทำลายเรือนเขา ฟันกล้วยฟันอ้อย

ลักษณะโจร – ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ลอบวางเพลิง ทำร้ายสัตว์ ฆ่าผู้อื่น ทำร้ายร่างกาย


27

ลักษณะวิวาทตีด่ากัน – ความผิดต่อชีวิตร่างกาย กระทำอนาจาร หมิ่นประมาท (ด่าเขาว่า


ไอ้ขี้คุก อีดอกทอง) ผู้ใหญ่ยุ ให้เด็กตีกัน ฯลฯ

ลักษณะขบถศึก – ความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ความผิดฐานกบฏในและนอกราช


อาณาจักร ความผิดขณะไปทำสงคราม
28

ลักษณะกรมศักดิ์ – เป็นบทบัญญัติกำหนดโทษปรับสำหรับปรับไหมผู้กระทำความผิด
ฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือบาดเจ็บ (รับโทษทางอาญา + ปรับไหม)

เป็นการกำหนดพิกัดค่าคน แยกเป็นชาย-หญิง เมื่อแรกเกิดมีค่าต่ำสุดแล้วค่อยสูงขึ้น เช่น


ชายอายุ 33-40 ปี มีค่า 14 ตำลึง หญิงอายุ 21-30 ปี มีค่า 12 ตำลึง ค่าของคนที่
กำหนดไว้เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ สามารถเพิ่มได้ตามศักดินา
เหมือนกับกฎหมายโรมันที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ได้รับความ
เสียหาย (ในยุคแรกกำหนดไว้ตายตัว ต่อมาใช้หลักเกณฑ์กว้างๆ)
29

การลงโทษตามกฎหมายอาญา
1. โทษประหารชีวิต – “ให้ฆ่าคนร้ายนั้นเสีย ให้ฟันคอ ให้ฆ่าเสียเจ็ดชั่วโคตร หรอโทษถึง
ตาย” โดยใช้วิธีใช้ดาบฟันศีรษะ เจ้าหน้าที่ผู้ประหาร เรียกว่า เพชฌฆาต
2. โทษที่กระทำต่อร่างกาย – โทษตัดปาก แหวะปาก เอามะพร้าวห้าวยัดปาก ตัดมือ ตัดนิ้ว
สักแก้ม สักหน้า สักอก แต่โทษเหล่านี้ให้ไถ่โทษได้โดยเสียเงินเป็นค่าปรับแทนได้
โทษทวน คือ โทษเฆี่ยนตีโดยใช้หนังเส้นกลมหรือไม้หวายตีที่หลัง นับเป็นยกๆ
ละ 30 ที
โทษมัดแช่น้ำตากแดด ตอกเล็บบีบขมับ จำขื่อคา
รวมเรียกว่า “จารีตนครบาล” มายกเลิกใน ร.ศ. 115 (พ.ศ.2439)
30

3. โทษประจาน – ทัดดอกชบาแดงสองหู ให้ร้อยดอกชบาแดงเป็นมาลัยใส่ศีรษะ เอาขึ้นขา


หย่างประจาน สักแก้ม เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นโทษสำหรับหญิงที่นอกใจผัว แต่อาจไถ่
โทษได้เช่นเดียวกัน
4. โทษจำคุก – จำคุก เป็นโทษสำหรับผู้ต้องขังที่มีโทษตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ส่วนตะราง
เป็นโทษสำหรับผู้ต้องขังที่มีโทษตั้งแต่ 6 เดือนลงมา (แต่ไม่ค่อยนิยมลงโทษจำคุก)
5. โทษริบทรัพย์ หรือรับราชบาตร – เอาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษเข้าเป็นของหลวง
6. โทษปรับไหม – ปรับเป็นสนไหมชดใช้แก่ผู้เสียหาย และเป็นพินัยหลวง
31

กฎหมายสารบัญญัติส่วนแพ่ง เช่น
ลักษณะผัวเมีย – การเป็นสามีภริยา ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา การขาดจากการสมรส ชู้
เช่น ชายมีเมียได้หลายคน (เมียกลางเมือง เมียกลางนอก เมียกลางทาษี) ไม่ต้องมีการจด
ทะเบียนสมรสโดยถือเอาพิธีการสมรสตามประเพณีเป็นความสมบูรณ์แห่งการสมรส

ลักษณะทาส – ชนิดของทาส ความเกี่ยวพันระหว่างทาสกับนายเงิน การไถ่ทาส

ลักษณะลักพา – การลักพาลูกเมียหรือทาสท่านหนีไป มีบทปรับไหมและลงโทษเฆี่ยนผู้ที่


พาหนี
32

ลักษณะมรดก – การรับมรดก การเป็นทายาท การแบ่งมรดก การทำพินัยกรรม

ลักษณะกู้หนี้ – การกู้ยืมเงิน การคิดดอกเบี้ย หลักฐานการกู้ยืม การบังคับชำระหนี้

ลักษณะเบ็ดเสร็จ – มีบทบัญญัติหลายเรื่องรวมกัน เช่น เรื่องที่บ้านที่สวน

ลักษณะมูลคดีวิวาท - การแบ่งปันลูกอันเกิดจากบ่าวไพร่ของทหารพลเรือนในสังกัดว่า
ควรได้แก่นายของฝ่ ายใด
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
33

หมายถึง กฎหมายที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีของศาล เช่น


ลักษณะพระธรรมนูญ – เรื่องเขตอำนาจศาล

ลักษณะรับฟ้ อง – กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการฟ้ องคดี การแก้คดี

ลักษณะพยาน – เกี่ยวกับบุคคลที่จะฟังเป็นพยานไม่ได้ เช่น ญาติ คนหูหนวกตาบอด


พยานมี 3 แบบ คือ 1) ทิพยพยาน – พระภิกษุทรงธรรม นักปราชญ์ ขุนนาง
2) อุดรพยาน – จ่าเสมียรนักการ พ่อค้าแม่ค้า คนทำไร่ไถนา
3) อุตริพยาน – พี่น้อง ญาติ มิตรสหาย ผู้ยากไร้
34

ลักษณะพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง – การรับฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยไม่รับกันต้องอาศัยสักขี
พยาน แต่ถ้าไม่มีให้ท้าพิสูจน์ต่อกันโดยวิธีล้วงตะกั่ว สาบาน ดำน้ำลุยเพลิง ว่ายน้ำ

ลักษณะตระลาการ – อำนาจหน้าที่ของตระลาการ วิธีพิจารณาในชั้นสืบพยาน บทลงโทษ


คู่ความ

ลักษณะอุทธรณ์ - เป็นการกล่าวโทษผู้พิพากษาตระลาการ
กฎหมายปกครอง
35

กฎหมายที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการปกครองว่ามีการแบ่งเขตพื้นที่ในการปกครอง แบ่ง
ส่วนราชการ หรือกำหนดตำแหน่งหน้าที่ของข้าราชการไว้อย่างไร ได้แก่

พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน – ลักษณะศักดินาพลเรือน

พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง – กำหนดศักดินาข้าราชการทหาร และข้าราชการหัว


เมือง
บุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีและตัดสินคดี
36

1. สุภาตระลาการ – ผู้เป็นเจ้าของกระทรวงความ รับคดีไว้พิจารณา ทำหน้าที่สอบสวน


รวบรวมพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงทั้งหมด หรือชี้ข้อเท็จจริง แล้วส่งสำนวนไปให้ผู้
พิพากษา
2. ผู้พิพากษา – ทำการชี้ข้อกฎหมายส่งให้ลูกขุน
3. ลูกขุน – มีลูกขุน ณ ศาลา ที่ทำหน้าที่รับฟ้ อง และลูกขุน ณ ศาลหลวง ทำการชี้ขาดว่า
ฝ่ ายใดแพ้คดี ฝ่ ายใดชนะคดี เพราะเหตุใด
4. ผู้ปรับ – เป็นผู้ปรับบทลงโทษ หรือวางโทษตามกฎหมาย ภายหลังจากที่ลูกขุนทำคำ
ชี้ขาดแล้ว
สรุป
37
ศาล
38

ศาล ทำหน้าที่ทั้งชำระความ หรือพิจารณาคดีเพียงอย่างเดียว


ส่วนหน้าที่ในการพิพากษา หรือทำคำตัดสินนั้นเป็นหน้าที่ของลูกขุน ณ ศาลหลวง
ศาลจึงเป็นเพียงหน่วยงานที่ขึ้นอยู่กับกรมต่าง ๆ และพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับกรมนั้น ๆ
โดยมีศาลจำนวนมากขึ้นอยู่กับกรมต่าง ๆ อย่างกระจัดกระจาย รวมแล้วมีประมาณ 20
ศาล
สรุป
39

กฎหมายในสมัยอยุธยามีจำนวนมาก โดยมีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นเหมือนกฎหมาย
แม่บทในการออกกฎหมายต่าง ๆ กล่าวคือ พระราชศาสตร์ที่เป็นสาขาคดีต่าง ๆ ต้อง
สอดคล้องกับหลักในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์

นอกจากนี้ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ยังกำหนดหลักในการเป็นผู้พิพากษาไว้ใน
หลักอินทภาษ ว่าต้องปราศจากอคติ 4 ประการ อีกด้วย
สรุป
40

ในส่วนการพิจารณาคดี อยุธยามีศาลเป็นจำนวนมาก โดยเป็นศาลที่สังกัดกรมต่าง ๆ และ


มีกระบวนการพิจารณาคดีที่ค่อนข้างยุ่งยาก

กระบวนการในการพิสูจน์ความผิดหรือสืบพยาน ยังมีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิที่จะ
คุ้มครองผู้บริสุทธิ์อยู่ โดยเห็นได้จากมีการพิสูจน์แบบดำน้ำ ลุยไฟ กรณีที่คดีนั้นไม่มีพยาน
ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง

You might also like